http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ (6 กันยายน 2565) เวลา 09.00 น. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน พ.ศ. .... 2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลสระแก้ว และ ตำบลท่าเกษม อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว พ.ศ. .... 3. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีจราจร พ.ศ. .... เศรษฐกิจ-สังคม 4. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อสนับสนุนการจัดการศพ ผู้สูงอายุตามประเพณี 5. เรื่อง ขออนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็น ค่าใช้จ่ายโครงการจัดหาเครื่องจักรกลสูบน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหา อุทกภัยและภัยแล้ง 6. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการ รักษาความสงบเรียบร้อยการชุมนุม ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ถึงวันที่
31 มีนาคม 2565
7. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน 8. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2537 เรื่อง การตั้งโรงงานแปร รูปไม้ (โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์ กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี และไม้ตาล 9. เรื่อง โครงการพัฒนาเมืองต้นแบบด้านศิลปวัฒนธรรม : เมืองเก่าสงขลา (Culture Smart City : Songkhla Old Town) 10. เรื่อง สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการ นายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 15 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564-30 มิถุนายน 2565) 11. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนมิถุนายน 2565 12. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับการปฏิบัติงานของศูนย์ ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 รวม 59 วัน (ห้วงที่ 5-6) 13. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม ครั้งที่ 15/2565 และผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 24/2565 และครั้งที่ 25/2565 14. เรื่อง มาตรการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา 15. เรื่อง การกู้เงินเพื่อบริหารภาระค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (Ft) ตามนโยบายของรัฐบาล ประจำปี งบประมาณ 2566 16. เรื่อง ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชนใน พื้นที่ป่าชายเลน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ในท้องที่ 13 จังหวัดชายฝั่ง ทะเล 17. เรื่อง การพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้าน
ยาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
18. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการ เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2565 และการกักเก็บน้ำ
เพื่อฤดูแล้ง ปี 2565/2566 เพิ่มเติม
ต่างประเทศ
19. เรื่อง การเสนองบประมาณและแผนการดำเนินงานประจำปี 2566 ขององค์กรร่วมไทย- มาเลเซีย 20. เรื่อง การให้การยอมรับในข้อแก้ไขอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้าย ข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด (Ban Amendment) 21. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อมเอเปค ครั้งที่ 28 และเอกสารที่เกี่ยวข้อง 22. เรื่อง การลงนามความตกลงของอาเซียนว่าด้วยกรอบการกำกับดูแลด้านยาแผนโบราณ (ASEAN Agreement on Regulatory Framework for Traditional Medicines; TM Agreement) และความตกลงของอาเซียนว่าด้วยกรอบการ กำกับดูแลผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ASEAN Agreement on Regulatory Framework for Health Supplements; HS Agreement) 23. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ประจำปี 2565 (Ministers Responsible for Trade Meeting 2022) และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง 24. เรื่อง การร่วมลงนาม รับรอง และให้ความเห็นชอบเอกสาร รวมถึงท่าทีในการประชุม รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Minister: AEM) ครั้งที่ 54 และ การประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง 25. เรื่อง ร่างแถลงการณ์การประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2565 และร่างแถลงการณ์ประธานการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและ เศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ.2565 26. เรื่อง การร่วมรับรองเอกสารชุดเครื่องมือการกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการ ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการสตรีวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ในระดับชาติ (Strengthening Women?s Entrepreneurship in National MSME Policies and Action Plans) แต่งตั้ง 27. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงคมนาคม) 28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) 29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา) 30. เรื่อง การโอนข้าราชการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 31. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี) 32. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี 33. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการประเมินผล การดำเนินงานของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ 34. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืช 35. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ ฟอกเงิน
? กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ ทส. รับความเห็นขององค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรม ราชูปภัมถ์ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ทส. เสนอว่า 1. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 มาตรา 4 บัญญัติบทนิยามคำว่า ?สัตว์ป่าสงวน? หมายความว่า สัตว์ป่าหายากหรือสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์จำเป็นต้องสงวนและอนุรักษ์ไว้อย่างเข้มงวด และ บทนิยามคำว่า ?สัตว์ป่าคุ้มครอง? หมายความว่า สัตว์ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ หรือจำนวนประชากรของ สัตว์ป่าชนิดนั้นมีแนวโน้มลดลงอันอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ประกอบกับ มาตรา 6 วรรคสอง บัญญัติให้กรณีที่อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเห็นว่าสัตว์ป่าชนิดใดสมควรกำหนดเป็นสัตว์ป่าสงวนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ในท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้กระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ซึ่งสัตว์ป่าสงวนท้ายพระราชบัญญัตินี้ มี 4 จำพวก รวม 19 ชนิด ได้แก่ (1) สัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น กระซู่ กวางผา (2) สัตว์ป่าจำพวกนก เช่น นกกระเรียน (3) สัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลื้อยคลาน เช่น เต่ามะเฟือง (4) สัตว์ป่าจำพวกปลา เช่น ปลาฉลามวาฬ เป็นต้น 2. นกชนหิน (Rhinoplax vigil) ซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ลำดับที่ 410 ตามกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546 แต่โดยที่ปัจจุบันนกชนหินมีจำนวนในสภาพธรรมชาติเหลืออยู่น้อยมาก (ประมาณไม่เกิน 100 ตัว) และมีปัจจัยคุกคามสูง อีกทั้งนกชนหินมีโหนกที่ตันและสวยงามเหมือนลักษณะของงาช้างทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดค้าสัตว์ป่า ส่งผลให้เกิดการลักลอบล่านกชนหินอย่างมากจนกระทั่งมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เป็นอย่างยิ่ง แม้จะได้กำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองแล้วก็ตาม ดังนั้น เพื่อเป็นการยกระดับ การคุ้มครองทางกฎหมายที่เข้มงวดและเป็นการสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การอนุรักษ์สัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ในระดับนานาชาติ ประกอบกับประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาที่กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องมีมาตรการในการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าอย่างเหมาะสม 3. ในคราวประชุมคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2564 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบกำหนดให้นกชนหิน (Rhinoplax vigil) เป็นสัตว์ป่าสงวน 4. ทส. จึงได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน พ.ศ. .... เพื่อกำหนดให้นกชนหิน (Rhinoplax vigil) เป็นสัตว์ป่าสงวน เพิ่มเติม สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา กำหนดให้นกชนหิน (Rhinoplax vigil) เป็นสัตว์ป่าสงวน เพิ่มเติม ดังนี้ ลำดับที่ สัตว์ป่าสงวน (ตาม พ.ร.บ.) สัตว์ป่าสงวน (ตาม ร่าง พ.ร.ฎ.) 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 1. 2. 3. 4. 1. 1. สัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กระซู่ (Didermocerus sumatraensis) กวางผา (Naemorhedus griseus) กูปรีหรือโคไพร (Bos sauveli) เก้งหม้อ (Muntiacus feae) ควายป่า (Bubalus bubalis) พะยูนหรือหมูน้ำ (Dugong dugon) แมวลายหินอ่อน (Pardofelis marmorata) แรด (Rhinoceros sondaicus) ละองหรือละมั่ง (Cervus eldi) เลียงผาหรือเยืองหรือกูรำหรือโครำ (Capricornis sumatraensis) วาฬบรูด้า (Balaenoptera sdeni) วาฬโอมูระ (Balaenoptera omurai) สมเสร็จ (Tapirus indicus) สมันหรือเนื้อสมัน (Cervus schomburgki) สัตว์ป่าจำพวกนก นกกระเรียน (Grus antigone) นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (Pseudochelidon sirintarae) นกแต้วแล้วท้องดำ (Pitta gurneyi) - สัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลื้อยคลาน เต่ามะเฟือง (Dermochelys coriacea) สัตว์ป่าจำพวกปลา ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) นกชนหิน (Rhinoplax vigil) 2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลสระแก้ว และตำบลท่าเกษม อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ ตำบลสระแก้ว และตำบลท่าเกษม อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ คค. รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ที่ คค. เสนอ เป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ ตำบลสระแก้ว และตำบลท่าเกษม อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว เพื่อสร้างและขยายทางหลวงชนบท ถนนสาย ก ตามโครงการผังเมืองรวมเมืองสระแก้ว สามารถรองรับการเจริญเติบโตของชุมชนเมือง รวมทั้งสนับสนุนยุทธศาสตร์ของจังหวัดด้านประตูสู่อินโดจีน เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการค้าการท่องเที่ยวบริเวณชายแดนตามนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งเป็นการดำเนินการเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจและเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่แล้วเสร็จ ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลสระแก้ว และ ตำบลท่าเกษม อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว พ.ศ. 2561 ซึ่งสิ้นผลบังคับใช้ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 โดยกรมการปกครองได้ตรวจสอบร่างแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้แล้ว ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 (เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการตราร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัติที่ต้องจัดให้มีแผนที่ท้าย) และสำนักงบประมาณเห็นควรที่กรมทางหลวงชนบทจะเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ต่อคณะรัฐมนตรี สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลสระแก้ว และตำบลท่าเกษม อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว เพื่อสร้างและขยายทางหลวงชนบท ถนนสาย ก ตามโครงการผังเมืองรวมเมืองสระแก้ว มีกำหนดใช้บังคับ 5 ปี โดยให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืน ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ 3. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีจราจร พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีจราจร พ.ศ. .... และรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตาม ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรม (ศย.) เสนอ สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีกฎหมายวิธีพิจารณาคดีจราจรและจัดตั้งแผนกคดีจราจรขึ้นโดยเฉพาะต่างหากจากคดีอาณาทั่วไป โดยกำหนดประเภทคดีที่เป็นคดีจราจรซึ่งจะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ กำหนดขั้นตอนดำเนินงานเป็นการเฉพาะสำหรับคดีจราจรโดยให้พนักงานสอบสวนออกใบนัดให้ผู้กระทำความผิดคดีจราจรไปศาล และกำหนดให้ศาลมีอำนาจออกคำสั่งให้ใช้มาตรการลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดคดีจราจรนอกจากที่กำหนดไว้ในกฎหมายเรื่องนั้น ๆ รายละเอียดดังนี้ 1. กำหนดให้จัดตั้งและเปิดทำการแผนกคดีจราจรขึ้นในศาลแขวงในกรุงเทพมหานคร ศาลแขวงนครปฐม ศาลแขวงนนทบุรี และศาลแขวงสมุทรปราการ ส่วนศาลแขวงในจังหวัดอื่นและศาลจังหวัดสำหรับท้องที่ที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแขวง ให้จัดตั้งแผนกคดีจราจรขึ้นในศาลดังกล่าวทุกศาล แต่จะเปิดทำการเมื่อใดให้ออกเป็นประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม 2. กำหนดประเภทคดีที่เป็นคดีจราจร ดังนี้ 2.1 คดีความผิดตามมาตรา 64 และมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 กล่าวคือ คดีขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถ คดีขับรถเมื่อใบอนุญาตขับรถสิ้นอายุ และคดีขับรถระหว่างถูกสั่งพักใช้หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ และคดีความผิดตามมาตรา 16 มาตรา 17 วรรคหนึ่ง มาตรา 22 มาตรา 44 มาตรา 45 มาตรา 46 และมาตรา 67 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 กล่าวคือ คดีไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติเกี่ยวกับการขับขี่ของรถบรรทุกของเหลวไวไฟ ก๊าซไวไฟ วัตถุระเบิด หรือวัตถุอันตรายชนิดอื่นใด คดีไม่ปฏิบัติตามสัญญาณไฟจราจร คดีการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติเกี่ยวกับการแซงเพื่อขึ้นหน้ารถอื่นและคดีขับรถด้วยความเร็วที่ไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด 2.2 คดีความผิดที่เปรียบเทียบปรับได้ตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยขนส่งทางบก กฎหมายว่าด้วยทางหลวง และกฎหมายว่าด้วยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ซึ่งผู้ฝ่าฝืนไม่ชำระค่าปรับ แต่ไม่ให้รวมถึงในกรณีที่ผู้ฝ่าฝืนได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น 2.3 คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบกนอกจากที่ระบุไว้ในข้อ 2.2 เช่น คดีความผิดขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น เป็นต้น 3. กำหนดให้แผนกคดีจราจรเปิดทำการนอกเวลาราชการและนำวิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในคดีจราจร ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา 4. กำหนดให้ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีอำนาจออกข้อบังคับเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติตามพระราชบัญญัตินี้และข้อบังคับดังกล่าว ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงหรือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติ ตามพระราชบัญญัตินี้ 5. กำหนดขั้นตอนดำเนินงานเป็นการเฉพาะสำหรับคดีจราจร โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ 5.1 กรณีคดีความผิดตามข้อ 2.1 ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปรียบเทียบปรับหรือออกใบสั่งแก่ผู้ฝ่าฝืน แต่ให้ผู้นั้นไปพบพนักงานสอบสวนเพื่อให้พนักงานสอบสวนดำเนินการออกใบนัดให้ผู้นั้นไปศาลต่อไป 5.2 กรณีคดีความผิดตามข้อ 2.2 หากผู้ฝ่าฝืนแจ้งว่าตนไม่ได้กระทำความผิด ไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ หรือไม่ประสงค์ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ โดยไม่ปรากฏหลักฐานโดยชัดแจ้งว่าไม่มีเหตุ ตามกฎหมายที่จะออกใบสั่ง ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการออกใบนัดให้ผู้นั้นไปศาลต่อไป 5.3 กรณีคดีความผิดตามข้อ 2.3 ให้สอบสวนและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง แล้วแต่กรณี โดยศาลสามารถนำมาตรการตามข้อ 5.8 มาใช้ในคดีได้ 5.4 กำหนดให้พนักงานสอบสวนส่งคู่ฉบับใบนัดให้ไปศาลตามข้อ 5.1 และ 5.2 พร้อมพยานหลักฐานไปยังศาลภายในสามวันนับแต่วันที่ออกใบนัด โดยให้พนักงานอัยการลงชื่อในคู่ฉบับใบนัดนั้น และให้ถือว่าคู่ฉบับดังกล่าวเป็นคำฟ้องโดยไม่ต้องทำการสอบสวน โดยในกรณีที่ผู้ต้องหาตามใบนัดดังกล่าวยินยอมชำระค่าปรับในอัตราที่พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบก่อนวันที่ระบุให้ไปศาล ก็ให้คดีเป็นอันเลิกกัน 5.5 กำหนดให้ในกรณีที่ศาลประทับรับฟ้องแล้ว หากจำเลยไม่มาศาลตามวันและเวลาที่ระบุในใบนัด ให้ศาลมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยได้ไม่เกิน 90 วัน 5.6 กำหนดให้ในกรณีที่จำเลยมาศาล หากจำเลยให้การรับสารภาพศาลจะพิพากษาโดยไม่ต้องสืบพยานต่อไปก็ได้ แต่ถ้าจำเลยไม่ยอมให้การหรือให้การปฏิเสธให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าพยานหลักฐานเท่าที่ปรากฏเพียงพอที่จะพิพากษาคดีไปทันทีหรือไม่ หากเพียงพอก็ให้ศาลพิพากษาคดีทันที แต่ถ้าเห็นว่าจำเป็นต้องไต่สวนพยานหลักฐานเพิ่มเติมก็ให้ศาลกำหนดนัดพิจารณาเพื่อสืบพยานต่อไป 5.7 กำหนดให้ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ถ้าโจทก์หรือพยานโจทก์มาศาล ก็ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป แต่ถ้าโจทก์และพยานโจทก์ไม่มาศาล ก็ให้ศาลยกฟ้องเว้นแต่ในกรณีที่ศาลเห็นว่ามีเหตุสมควรที่โจทก์และพยานโจทก์มาศาลไม่ได้ จะสั่งเลื่อนคดีไปก็ได้ โดยในกรณีที่ยกฟ้อง ถ้าโจทก์มาร้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลยกฟ้องโดยแสดงให้ศาลเห็นว่ามีเหตุสมควรที่มาศาลไม่ได้ ก็ให้ศาลยกคดีนั้นขึ้นพิจารณาใหม่ 5.8 กำหนดให้ศาลมีอำนาจออกคำสั่งให้ใช้มาตรการลงโทษแก่จำเลยซึ่งมีความผิดนอกจากที่กำหนดไว้ในกฎหมายเรื่องนั้น ๆ ได้ เช่น ยึด พักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ ให้ทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ ให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใดที่สามารถตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางหรือตรวจสอบปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกาย ให้เข้ารับการศึกษาอบรมด้านการจราจร เป็นต้น 5.9 กำหนดห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลในปัญหาข้อเท็จจริง เว้นแต่เป็นคดีจราจรตามข้อ 2.3 และกรณีที่ศาลมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่หรือมีคำสั่งให้ทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ 6. กำหนดบทเฉพาะกาลให้บรรดาคดีจราจรที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลใดในวันที่พระราชบัญญัติใช้บังคับ ให้ศาลซึ่งคดีนั้นค้างพิจารณาอยู่คงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไป และให้นำกฎหมายซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับมาใช้บังคับจนกว่าคดีนั้นจะถึงที่สุด เศรษฐกิจ-สังคม 4. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อสนับสนุนการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เป็นเงินทั้งสิ้น 279,381,000 บาท เพื่อเป็นเงินอุดหนุนสนับสนุนการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี* ที่ค้างจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวนเงินทั้งสิ้น 93,127 ราย สาระสำคัญของเรื่อง พม. รายงานว่า 1. พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 มาตรา 11 (12) บัญญัติให้ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนในด้านการสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี และประกาศ พม. เรื่อง การสนับสนุนการสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี ข้อ 4 กำหนดให้การสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี หมายถึง การช่วยเหลือเป็นเงินในการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณีรายละ 3,000 บาท (เดิม 2,000 บาท) ประกาศ ณ วันที่ 25 มีนาคม 2563 2. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานครได้สำรวจข้อมูลและพบว่า ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2565 มีผู้สูงอายุที่เสียชีวิตและรอรับการช่วยเหลือค่าจัดการศพ จำนวนทั้งสิ้น 93,127 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 279,381,000 บาท (93,127 ราย x 3,000 บาท) ซึ่งเป็นยอดค้างจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 - เดือนพฤษภาคม 2565 โดยในปีงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 พม. ได้รับการจัดสรรงบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายในการสงเคราะห์ในการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี จำนวน 69,713 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 209,139,000 บาท ซึ่งงบประมาณดังกล่าวได้ถูกจัดสรรเพื่อเป็นเงินอุดหนุนสนับสนุนการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณีที่ค้างจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 แล้ว จึง ไม่เพียงพอต่อการให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุที่เสียชีวิตและรอรับการช่วยเหลือค่าจัดการศพจำนวนดังกล่าวข้างต้น ดังนั้น พม. (กรมกิจการผู้สูงอายุ) จึงเสนอสำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 3. สงป. ได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแล้ว ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ พม. (กรมกิจการผู้สูงอายุ) ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 279,381,000 บาท เพื่อเป็นเงินอุดหนุนสนับสนุนการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณีที่ค้างจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ระยะเวลา 8 เดือน (เดือนตุลาคม 2564 - เดือนพฤษภาคม 2565) จำนวน 93,127 ราย และให้ พม. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติตามนัยระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 ข้อ 9 (3) ด้วย * การสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี ผู้สูงอายุที่เสียชีวิตต้องเข้าหลักเกณฑ์ ดังนี้ 1) อายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป 2) สัญชาติไทย 3) ผู้สูงอายุที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (หากผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แต่ยังไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือยังไม่ได้ลงทะเบียน จะต้องมีหนังสือรับรองตามแบบที่อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุกำหนด) และ 4) ผู้สูงอายุซึ่งอยู่ในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ สถานสงเคราะห์ สถานดูแล สถานคุ้มครอง หรือสถานใด ๆ ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ดำเนินการจัดการศพตามประเพณี โดยมูลนิธิ สมาคมวัด มัสยิด โบสถ์ ทั้งนี้ ผู้ยื่นคำขอรับการสงเคราะห์ในการจัดการศพ (เช่น ครอบครัวผู้เสียชีวิต ญาติ ผู้รับผิดชอบจัดการศพ) ต้องยื่นคำขอในท้องที่ที่ผู้สูงอายุมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ภายใน 6 เดือนนับตั้งแต่วันที่ออกใบมรณบัตรพร้อมเอกสารสำคัญ เช่น ใบมรณบัตรของผู้สูงอายุ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐของผู้สูงอายุหรือหนังสือรับรอง บัตรประจำตัวประชาชน สมุดบัญชีหรือเลขที่บัญชีธนาคารของผู้ยื่นคำขอ (กรณีประสงค์จะขอรับเงินสด ให้ดำเนินการตามระเบียบของทางราชการ) เป็นต้น (กรุงเทพมหานครยื่นคำขอที่สำนักงานเขต และจังหวัดอื่น ยื่นคำขอในท้องที่ เช่น สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ที่ว่าการอำเภอ เป็นต้น) 5. เรื่อง ขออนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการจัดหาเครื่องจักรกลสูบน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทานใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 663,879,300 บาท เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายโครงการจัดหาเครื่องจักรกลสูบน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแก้ปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง รวม 3 รายการ จำนวน 203 เครื่อง ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง กษ. รายงานว่า 1. ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งรุนแรงมากขึ้นก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก ซึ่งที่ผ่านมา กษ. โดยกรมชลประทานที่มีภารกิจหลักในการบริหารจัดการน้ำได้มีความพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาโดยตลอด โดยเฉพาะเมื่อเกิดปัญหาระยะเร่งด่วน ได้กำหนดแนวทางในการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการปฏิบัติงาน เร่งรัดการจัดหาอุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือ ที่ทันสมัยมาใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อลดความเสียหายเนื่องมาจากอุทกภัยและภัยแล้ง แต่การดำเนินงานที่ผ่านมาพบปัญหาและอุปสรรคในบางพื้นที่ คือ เครื่องสูบน้ำที่มีอยู่ไม่เหมาะสมกับภูมิประเทศหรือลักษณะการใช้งาน เช่น ระยะยกน้ำไม่เพียงพอทำให้ต้องแก้ปัญหาด้วยการสูบน้ำแบบหลายตอน ทำให้ไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเท่าที่ควร รวมถึงปัจจุบันเครื่องสูบน้ำของกรมชลประทานที่มีอยู่มีอายุการใช้งานมานานมีปัญหาการชำรุดบ่อยครั้งเป็นผลทำให้การช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชนมีความล่าช้า 2. กรมชลประทานมีความจำเป็นต้องดำเนินโครงการจัดหาเครื่องจักรกลสูบน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแก้ปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง เพื่อให้มีเครื่องจักรกลสูบน้ำเพียงพอพร้อมสนับสนุนภารกิจของ กรมชลประทาน เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานป้องกันความเสียหายและบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำให้รวดเร็วขึ้น ดังนี้ 2.1 วัตถุประสงค์ 2.1.1 เพื่อให้มีเครื่องสูบน้ำที่มีสมรรถนะสูงและมีคุณลักษณะเฉพาะตรงกับความจำเป็นใช้งาน เพียงพอพร้อมสนับสนุนภารกิจของกรมชลประทาน นโยบายรัฐบาลตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี 2.1.2 เพื่อทดแทนเครื่องสูบน้ำที่มีอายุการใช้งานมากและมีประสิทธิภาพ การทำงานต่ำ ซ่อมแซมไม่คุ้มค่า 2.1.3 เพื่อปรับแผนวิธีการหรือแนวทางการเผชิญเหตุอุทกภัย และภัยแล้ง เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานป้องกันความเสียหาย และบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำ การช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชนที่รวดเร็วขึ้น 2.2 แผนงานโครงการ กรมชลประทานขอใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 663,879,300 บาท ลำดับ ประเภทรายการ เครื่องสูบน้ำชนิดหอยโข่งขับด้วยเครื่องยนต์ดีเซล จำนวน (เครื่อง) งบประมาณ (บาท) 1 ขนาดท่อส่งไม่น้อยกว่า 8 นิ้ว 27 67,130,100 2 ขนาดท่อส่งไม่น้องกว่า 10 นิ้ว 34 99,749,200 3 ขนาดท่อส่งไม่น้อยกว่า 14 นิ้ว 142 497,000,000 รวมทั้งสิ้น 203 663,879,300 2.3 ผลลัพธ์ของโครงการ กรมชลประทานมีเครื่องจักรกลสูบน้ำที่มีสมรรถนะสูงและ มีคุณลักษณะเฉพาะตรงกับความจำเป็นใช้งาน เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน พร้อมปฏิบัติงานในภารกิจของ กรมชลประทานทั้งในด้านบริหารจัดการน้ำ การเผชิญเหตุอุทกภัย แก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากอุทกภัย ภัยแล้ง การเพิ่มพื้นที่ชลประทานตลอดจนการสนับสนุนนโยบายรัฐบาล 6. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาความสงบเรียบร้อยการชุมนุม ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (งบกลางฯ) ภายในวงเงิน 141.42 ล้านบาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาความสงบเรียบร้อยการชุมนุมระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 สาระสำคัญของเรื่อง สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (งบกลางฯ) ภายในวงเงิน 141.42 ล้านบาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาความสงบเรียบร้อยการชุมนุม ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 เนื่องจากเกิดสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มประชาชนเพื่อเรียกร้องทางการเมือง รวมไปถึงการชุมนุมของกลุ่มที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาเศรษฐกิจและสังคม โดยมีการจัดชุมนุมอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันทั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและนอกกรุงเทพมหานคร ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีหน้าที่ในการปฏิบัติภารกิจแก้ไขปัญหาสถานการณ์ฉุกเฉินอันเนื่องมาจากสถานการณ์การชุมนุม และรักษาความสงบเรียบร้อยใน การชุมนุม และเพื่อให้การปฏิบัติภารกิจเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และไม่ให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณดังกล่าว ทั้งนี้ สำนักงบประมาณแจ้งว่า นายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นชอบให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลางฯ ภายในกรอบวงเงินดังกล่าวแล้ว โดยขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณาการจัดอัตรากำลังพล ในการปฏิบัติภารกิจดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยการชุมนุมดังกล่าวให้มีความเหมาะสม ประหยัด และสอดคล้องกับสถานการณ์ด้วย 7. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอรายงานผล การดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน ประจำเดือนเมษายน - มิถุนายน 2565 [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (23 มกราคม 2561) ที่ให้ สปน. รายงานความคืบหน้าในการดำเนินโครงการจิตอาสาพระราชทานให้คณะรัฐมนตรีทราบทุกเดือน] โดยมีส่วนราชการรายงานผลการดำเนินการที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้ 1. กระทรวงมหาดไทย (มท.) ได้รายงานผลการลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทาน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2565) โดยมีประชาชนที่ลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทานแล้ว 6,940,844 คน จำแนกได้ ดังนี้ กรุงเทพมหานคร 454,778 คน และส่วนภูมิภาค 6,486,066 คน โดยแบ่งออกเป็น เพศชาย 3,108,784 คน เพศหญิง 3,832,060 คน 2. การจัดกิจกรรมจิตอาสาของส่วนราชการต่าง ๆ 19 หน่วยงาน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งสิ้น 1,210,124 คน ประกอบด้วย จิตอาสาพัฒนา จิตอาสาภัยพิบัติ จิตอาสาเฉพาะกิจ และวิทยากรจิตอาสา 904 สรุปได้ ดังนี้ การดำเนินการ/กิจกรรม ส่วนราชการ จำนวน (ครั้ง) 1) จิตอาสาพัฒนา ได้แก่ (1) การปรับปรุงภูมิทัศน์และทำความสะอาดศาสนสถาน โรงเรียน สถานที่ราชการ และบริเวณโดยรอบ (2) การอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน (3) การบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม (4) การบริจาคโลหิตและหน่วยบริการทางการแพทย์เคลื่อนที่ (5) การมอบสิ่งของให้แก่ผู้ยากไร้ และผู้ป่วยติดเตียง (6) การปลูกต้นไม้ และพัฒนาแหล่งน้ำ (ขุดลอกคลอง การฉีดจุลินทรีย์ลดปัญหาน้ำเน่าเสีย และกำจัดวัชพืช) และ (7) จัดอบรมหลักสูตรการพัฒนาในด้านต่าง ๆ เช่น การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และวิชาชีพ กระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ มท. กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงบประมาณ กรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) กองอำนวบการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร 17,885 2) จิตอาสาภัยพิบัติ ได้แก่ (1) การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย และภัยแล้ง (มอบถุงยังชีพ บริจาคสิ่งของ แจกจ่ายน้ำ และซ่อมแซมบ้านเรือน) (2) การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (การคัดกรองเชิงรุก การพ่นยาฆ่าเชื้อ และการฉีดวัคซีน) และ (3) การอบรมการป้องกันและระงับอัคคีภัย กห. กค. กษ. มท. ยธ. ศธ. สธ. อก. กปส. และ ตช. 1,144 3) จิตอาสาเฉพาะกิจ ได้แก่ (1) การอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่เข้าร่วมรับเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์ (2) การจัดเตรียมสถานที่และร่วมพิธีเนื่องในวันสำคัญ และ (3) การบริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศล กห. พม. อว. กษ. ยธ. วธ. ศธ. สธ. อก. และ ตช. 40 4) วิทยากรจิตอาสา 904 โดยเป็นการบรรยายความรู้หลักสูตรจิตอาสา สถาบันพระมหากษัตริย์กับประเทศไทย จิตอาสาเพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหายาเสพติด และโครงการจิตอาสาพระราชทานตามพระราชดำริ พม. กษ. ทส. ยธ. รง. วธ. วธ. สธ. อก. และ ตช. 34 รวม 19,103 3. สปน. ได้ดำเนินการติดตามความก้าวหน้าโครงการในภารกิจของศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน (ศอญ. จอส. พระราชทาน) โดยการลงพื้นที่ และรวบรวมรายงานผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 3.1 โครงการในภารกิจของ ศอญ. จอส. พระราชทาน ซึ่ง สปน. ได้รายงานผลการดำเนินงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบแล้ว ได้แก่ โครงการที่ได้รับเงินพระราชทานบริจาคช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติภาคใต้ 3.2 เข้าร่วมการประชุมติดตามงานประจำสัปดาห์ร่วมกับ ศอญ. จอส. พระราชทาน พร้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวม 10 ครั้ง และลงพื้นที่ติดตามความต่อเนื่องของโครงการจิตอาสาพระราชทาน จำนวน 4 โครงการ รวม 5 จังหวัด [ได้แก่ (1) โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครพนม (2) โครงการจิตอาสาพระราชทานในการดูแลป่าชุมชนของประชาชนจิตอาสาประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น (3) โครงการ 1 จังหวัด 1 ถนนเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จังหวัดขอนแก่น สระแก้ว ระยอง และปราจีนบุรี และ (4) โครงการสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกจังหวัดขอนแก่น สระแก้ว ระยอง และปราจีนบุรี]1 รวมทั้งตรวจเยี่ยมให้กำลังใจจิตอาสาภาครัฐ จิตอาสาพระราชทาน และประชาชนจิตอาสาที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เดินทางกลับภูมิลำเนาช่วงเทศกาล จำนวน 17 จังหวัด (กรุงเทพมหานคร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว นครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น นครนายก สระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม)2 3.3 จัดกิจกรรมและสนับสนุนการดำเนินงานจิตอาสา จำนวน 2 กิจกรรม มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 390 คน [ได้แก่ (1) กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมเพื่อความสุขของประชาชน ครั้งที่ 2 ณ สถานปฏิบัติธรรมสมเด็จพระสังฆราช (อมฺพรมหาเถร) จังหวัดปทุมธานี มีผู้เข้าร่วมจำนวน 300 คน และ (2) กิจกรรมฝึกอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (AED) เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 3 มิถุนายน 2565 มีผู้เข้าร่วม จำนวน 90 คน]3 และรวบรวมรายชื่อผู้ประสานงานภารกิจจิตอาสาระดับกระทรวง ระดับกรมหรือเทียบเท่า 104 หน่วยงาน แจ้งให้ ศอญ. จอส. พระราชทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ 3.4 จัดกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์และบำเพ็ญสาธารณกุศลเฉลิม พระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 โดยมีหน่วยงานจัดกิจกรรมและรายงานผลการดำเนินงานให้ สปน. ทราบ จำนวน 5 หน่วยงาน 3.5 ประสานการดำเนินการจัดกิจกรรมจิตอาสาของหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้เกิดความรู้รัก สามัคคี เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ชุมชน สังคม และประเทศชาติโดยรวมอย่างต่อเนื่อง 1 และ 2 เป็นข้อมูลที่ได้รับจากการประสานงานอย่างไม่เป็นทางการ (ซึ่งมิได้ระบุในเอกสารรายงานที่เสนอคณะรัฐมนตรี) 3 เป็นข้อมูลที่ได้รับจากการประสานงานอย่างไม่เป็นทางการ (ซึ่งมิได้ระบุในเอกสารรายงานที่เสนอคณะรัฐมนตรี) 8. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2537 เรื่อง การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์ กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี และไม้ตาล คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2537 เรื่อง การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ1 จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์ กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี และไม้ตาล ดังนี้ มติคณะรัฐมนตรีเดิม ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเป็น เห็นควรให้ความเห็นชอบในหลักการอนุญาตให้ตั้งโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์ กระถินณรงค์ กระดินยักษ์ มะพร้าว มะขาม มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน กระถินเทพา จามจุรี และไม้ตาล ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ โดยให้ทดลองดำเนินการในบางพื้นที่ก่อน เช่นเดียวกับการแปรรูปไม้ยางพาราตามหลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2524 ทั้งนี้ ในการอนุญาตให้ กษ. และกระทรวงอุตสาหกรรม(อก.) ร่วมกันพิจารณาตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการอนุญาตและมาตรการตรวจสอบควบคุมเช่นเดียวกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2532 เห็นควรให้ความเห็นชอบในหลักการอนุญาตให้ตั้งโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์ กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี ไม้ตาล และไม้ผลทุกชนิดที่ปลูกขึ้นในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน โดยมีหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และมาตรการตรวจสอบควบคุมตามที่คณะกรรมการพิจารณาอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้กำหนด สาระสำคัญของเรื่อง ทส. รายงานว่า 1. ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติวันที่ 25 มกราคม 2537 อก. ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้ และกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และมาตรการป้องกันการควบคุม เพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตให้ตั้งโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ โดยใช้ไม้ยางพาราและไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ 13 ชนิด ได้แก่ ยูคาลิปตัส สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์ กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี และไม้ตาล 2. ปัจจุบันเกษตรกรในทุกภูมิภาคของประเทศ มีการทำสวนผลไม้ ซึ่งปลูกขึ้นในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน แต่เมื่อต้นผลไม้มีการเจริญเติบโตจะต้องมีการตัดแต่งกิ่งต้นผลไม้เพื่อบำรุงรักษาต้นผลไม้นั้นหรือตัดต้นผลไม้ที่มีอายุมากที่ไม่ให้ผลผลิตออกจากสวนเป็นประจำทุกปี ซึ่งต้นไม้ผลและเศษไม้ผลเหล่านี้บางส่วนสามารถนำมาผลิตเป็นไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับได้ เป็นการใช้ประโยชน์จากไม้ประเภทต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 3. ในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2561 ณ จังหวัดจันทบุรี ระหว่างวันที่ 5 - 6 กุมภาพันธ์ 2561 จังหวัดตราดได้รับแจ้งข้อเสนอจากสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตราดว่า เห็นควรให้มีการเพิ่มชนิดไม้จากสวนผลไม้ที่หมดอายุแล้ว ให้สามารถนำเข้ามาแปรรูปในโรงงานแปรรูปไม้ยางพาราและไม้ ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2537 กรมป่าไม้จึงมีหนังสือแจ้งทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจด้านอุตสาหกรรมไม้ เพื่อระบุชนิดไม้และข้อเสนอแนะในการเพิ่มชนิดไม้ ซึ่งทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้เสนอชนิดไม้จากสวนผลไม้ต่าง ๆ มาเป็นจำนวนมากและไม่ได้คัดค้านการเพิ่มชนิดไม้จากสวนผลไม้ในกรณีนี้ 4. ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2564 [รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน] ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ไม้ยางพารา ยูคาลิปตัส สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์ กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี ไม้ตาล และไม้ผลทุกชนิดที่ปลูกในที่ดินกรรมสิทธิ์นำเข้าเป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานแปรรูปไม้ได้ และมอบหมายให้ ทส. โดยกรมป่าไม้นำความเห็นของคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องดังกล่าวตามขั้นตอนต่อไป 5. ปัจจุบันมีผู้ได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยใช้เครื่องจักร (โรงเลื่อย) เพื่อทำการแปรรูปไม้และผลิตชิ้นไม้สับจากไม้ยางพาราและไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ 13 ชนิด จำนวนทั้งสิ้น 1,028 โรงงาน หากอนุญาตให้เพิ่มชนิดไม้ผลที่ปลูกขึ้นในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน ให้เข้ามาแปรรูปในโรงงานประเภทดังกล่าวได้ จะเป็นการเพิ่มโอกาสให้แก่ผู้ได้รับอนุญาตรายเดิมให้สามารถเพิ่มวัตถุดิบการผลิตอันจะเป็นการส่งเสริมและขยายตลาดภาคอุตสาหกรรมไม้ให้เติบโตมากยิ่งขึ้น และเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ทำสวนผลไม้และผู้ปลูกผลไม้รายย่อยที่ต้องการตัดแต่งกิ่งไม้ผลเพื่อบำรุงรักษาต้นผลไม้หรือต้นไม้ผลที่หมดอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิต ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการแปรรูปไม้หรือทำเป็นชิ้นไม้สับส่งขายให้แก่โรงงานฯ เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้อย่างคุ้มค่า 6. นอกจากนี้ เพื่อป้องกันการลักลอบตัดไม้และนำไม้มิชอบด้วยกฎหมายเข้ามาเป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานฯ การอนุญาตให้เพิ่มชนิดไม้ผลที่ปลูกขึ้นในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินให้เข้ามาแปรรูปในโรงงานประเภทดังกล่าวได้ เห็นควรมีหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และมาตรการตรวจสอบควบคุมตามที่คณะกรรมการพิจารณาอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้ (อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นประธาน) กำหนด 1โรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย) คือ โรงงานที่มีวัตถุประสงค์ทำไม้แปรรูปในลักษณะเป็นไม้ซุง ไม้ท่อน ไม้แผ่น ฟืน หรือถ่าน โดยไม่ได้เข้าสู่กระบวนการทำเป็นสิ่งประดิษฐ์หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ เช่น เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น 9. เรื่อง โครงการพัฒนาเมืองต้นแบบด้านศิลปวัฒนธรรม : เมืองเก่าสงขลา (Culture Smart City : Songkhla Old Town) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการดำเนินโครงการพัฒนาเมืองต้นแบบด้านศิลปวัฒนธรรม : เมืองเก่าสงขลา (Culture Smart City : Songkhla Old Town) (โครงการพัฒนาเมืองต้นแบบฯ) ในนามรัฐบาล ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ โดยวงเงินงบประมาณสำหรับการดำเนินโครงการพัฒนาเมืองต้นแบบฯ ปี พ.ศ. 2565 ? 2570 เป็นจำนวนเงิน 60 ล้านบาท ทั้งนี้ ให้ปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เป็นลำดับแรกก่อน หากไม่เพียงพอและมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการก็ให้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เท่าที่จำเป็นเหมาะสม สำหรับค่าใช้จ่ายในปีต่อ ๆ ไป เห็นควรให้กรมส่งเสริมวัฒนธรรมจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ สาระสำคัญของเรื่อง วธ. รายงานว่า 1. วธ. โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (กรมส่งเสริมฯ) มีภารกิจหลักที่สำคัญเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาต่อยอดและเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมไทยสู่ระดับนานาชาติ เพื่อผลักดัน ?Soft Power? ความเป็นไทย เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจ สร้างรายได้และภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศ ผ่านการมีส่วนร่วมของภาคีทุกภาคส่วน และเครือข่ายต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และสถาบันการศึกษา ดังนั้น การนำทุนทางวัฒนธรรม1 ที่เป็นต้นทุนสำคัญ คือ มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage : ICH) มาประยุกต์ใช้เพื่อขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมในท้องถิ่นให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG (เศรษฐกิจชีวภาพ - เศรษฐกิจหมุนเวียน - เศรษฐกิจสีเขียว) ซึ่งจะช่วยผลักดันอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพ 5 ด้าน หรือ 5F ได้แก่ อาหาร (Food) ภาพยนตร์และวิดิทัศน์ (Film) ผ้าไทยและการออกแบบแฟชั่น (Fashion) มวยไทย (Fighting) และเทศกาลประเพณี (Festival) เพื่อสะท้อนภาพลักษณ์ใหม่ของประเทศไทยและการนำอัตลักษณ์ท้องถิ่นและของดีของประเทศไทยให้ไปสู่ระดับโลก โดยเฉพาะบทบาทสำคัญของกระบวนการ Soft Power ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านภารกิจการใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นต้นทุนแก่คนไทย เช่น การพลิกฟื้นย่านเก่าให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง 2. วธ. (กรมส่งเสริมฯ) ได้เห็นความสำคัญในการฟื้นฟูฐานด้านความมั่นคงของชุมชน ที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยมีนโยบายที่จะผลักดันและส่งเสริมงานวัฒนธรรม เชิงพื้นที่ จังหวัดสงขลา โดยพัฒนาเป็นเมืองต้นแบบด้านศิลปวัฒนธรรม (Culture Smart City) เพื่อพัฒนาต่อยอดให้เป็นเมืองต้นแบบในการทำกิจกรรมและพัฒนาพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศไทย โดยเห็นว่าย่านเมืองเก่าและบริบทโดยรวมของเมืองสงขลา มีต้นทุนทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน จากองค์ประกอบหลักของเมืองสงขลาไม่ว่าจะเป็นศาสนสถาน ชุมชน อาคารบ้านเรือนทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมที่เก่าแก่ ถนน ตรอก ซอก ซอย รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยังคงมีกลิ่นอายของชุมชนที่เหลือร่องรอยทางประวัติศาสตร์ย่านการค้าสมัยโบราณที่มีอายุมากกว่า 200 ปี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ถือว่าเป็นสินทรัพย์ทางกายภาพและเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ นับเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมในการพัฒนาเมืองสงขลาให้เป็นเมืองต้นแบบด้านวัฒนธรรมที่สามารถสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับเมืองและชุมชนในอนาคตได้ 3. ที่ผ่านมา วธ. (กรมส่งเสริมฯ) ได้ร่วมกับมูลนิธิเมืองเก่าสงขลาและภาคีเครือข่ายทางวัฒนธรรม ทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดสงขลา (ตามที่ระบุในข้อ 5) ดำเนินการขับเคลื่อนงานทางด้านวัฒนธรรมเพื่อกระตุ้น การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อาทิ 3.1 การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความจงรักภักดีในสถาบันพระมหากษัตริย์และรักบ้านเกิดย่านเมืองเก่าสงขลา 3.2 งานมหกรรมศิลปะนานาชาติ สงขลา (New Gen Connected Art Fest) เป็นการจัดแสดงนิทรรศการผลงานศิลปะในสถานที่ทรงคุณค่า โดดเด่น ในพื้นที่ของชุมชนเมืองเก่าสงขลา 3.3 การเปิดตลาดนัดศิลปวัฒนธรรมเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในจังหวัดและชุมชน 3.4 การจัดงานมหกรรมมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ?สาระศิลป์ถิ่นสงขลา? เป็นการนำทุนทางวัฒนธรรมที่สำคัญ เช่น อาหารไทยท้องถิ่น นำมาพัฒนาต่อยอดสู่อาหารฟิวชั่น (Fushion Food) 3.5 การจัดงานศิลป์สุวรรณภูมิ (Silp Suvarnabhumi & The Maritime Silk Road) เพื่อให้คนในท้องถิ่นเกิดความรู้ความเข้าใจในรากเหง้าของตนเอง และตระหนักรู้ถึงความเชื่อมโยงกันทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม 3.6 การจัดงานเฉลิมฉลองการขึ้นทะเบียนโนรา (Nora, Dance Drama in Southern Thailand) เป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ เพื่อสร้างการรับรู้และการพัฒนาต่อยอดมรดก ภูมิปัญญาศิลปะการแสดงโนรา 3.7 การจัดงานมรดกโนรา (SPIRIT OF NORA) ?โนรา? ศิลปะการแสดงไร้พรมแดน กรีดกรายร่ายรำให้โลกจำ ?The Ultimate Performance Art of NORA Deliberate Dance to Remember? ณ สงขลาพาวิเลียน เมืองเวนิส สาธารณรัฐอิตาลี เนื่องในเทศกาลศิลปะร่วมสมัยเบียนนาเล่ ผ่านนิทรรศการ Spirit of NORA: Intangible Cultural Heritage of Thailand 3.8 การพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือ ?Treasure Thailand? สำหรับบริการนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ 4. จากดำเนินกิจกรรมข้างต้นพบว่า มีนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะชาวมาเลเซียและสิงคโปร์นิยมเดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดสงขลาเป็นจำนวนมาก และยิ่งไปกว่านั้น ยังพบว่ามีนักท่องเที่ยวจากประเทศในพื้นที่ทวีปยุโรปและเอเชียเพิ่มมากขึ้น เช่น อังกฤษ สเปน โปรตุเกส จีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ซึ่งทำให้เกิดรายได้จากการท่องเที่ยวและช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของชุมชนในพื้นที่จังหวัดสงขลาประมาณ 100 ล้านบาทต่อปี 5. วธ. (กรมส่งเสริมฯ) จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาเมืองต้นแบบฯ เพื่อสร้างพื้นที่ให้ทุกคนได้แสดงออกทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ ผลักดัน Soft Power อันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น และทำให้วัฒนธรรมสามารถอยู่ร่วมกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปเพื่อตอบสนองคนรุ่นใหม่ และสร้างให้เกิดเครือข่ายเป็นพลังในการขับเคลื่อน รวมทั้งผลักดันให้ ?เมืองสงขลาเป็นเมือง Culture Smart City? ในมิติทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสังคม สร้างชุมชนที่เข้มแข็ง อันจะนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน โดยมีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้ ประเด็น รายละเอียด วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 ในพระราชกรณียกิจที่ทรงมีคุณูปการและเป็นอัครา ภิรักษศิลปินที่ส่งเสริมงานด้านประเพณีและศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของชาติเป็นที่ประจักษ์ 2. เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และ Soft Power ให้กลายเป็นสินค้าส่งออกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของท้องถิ่น นำรายได้เข้าประเทศและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย 3. เพื่อผลักดันให้ ?เมืองสงขลาเป็นเมืองต้นแบบด้านศิลปวัฒนธรรม? เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้ภายในพื้นที่ โดยการนำภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นมาเชื่อมโยงเป็นเรื่องราว เกิดเป็นเอกลักษณ์ของเมืองที่จะสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่คนในท้องถิ่นและประเทศชาติได้ 4. เพื่อเพิ่มช่องทางให้ประชาชนมีพื้นที่ในการจำหน่ายสินค้าทางวัฒนธรรม กิจกรรมการแสดงและบริการทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ผ่านกระบวนการปลุกจิตสำนึกร่วมของคนในชุมชน 5. สร้างพลังการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น และ ภาคประชาชน 6. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมให้แก่ชุมชน สาธารณชน ตลอดจนสถาบันการศึกษา 7. เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการดำเนินกิจการร้านค้า ศิลปินพื้นบ้านรวมถึงเครือข่ายทางวัฒนธรรมในพื้นที่ รูปแบบ/ แนวทางการจัดกิจกรรม กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตามรอยประวัติศาสตร์ศิลป์สุวรรณภูมิ สงขลาเมืองเก่าสู่การเป็นเมืองต้นแบบด้านศิลปวัฒนธรรม ชมย่านเมืองเก่า สัมผัสวิถีชีวิตไทย จีน และมลายู ประกอบด้วย (1) เส้นทางอาหารถิ่นบนถนนนางงาม (2) เส้นทางสถาปัตยกรรมของย่านเมืองเก่าสงขลา (3) เส้นทางศิลปะการแสดง และ (4) เส้นทางแหล่งเรียนรู้มีชีวิต บ้านในกำแพงแหลมสน ชุมชนตำบลหัวเขา แผ่นดินพ่อค้าชาวจีนฟื้นฟูเมือง กิจกรรมที่ 2 การจัดงานเทศกาลศิลปวัฒนธรรมนานาชาติ ?เชื่อมโยงจากรุ่นสู่รุ่น New Gen Connected Art and Culture festival? ย่านเมืองเก่าสงขลา รวมถึงการสร้างเวทีศิลปวัฒนธรรมระดับนานาชาติ นิทรรศการศิลปะระดับนานาชาติ ร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบการร้านค้าต่าง ๆ ในพื้นที่ โดยใช้อาคาร ร้านค้า หอศิลป์ พื้นที่สาธารณะบริเวณย่านเมืองเก่าสงขลา เป็นพื้นที่จัดแสดงสาธิตการสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม ประกอบด้วย (1) กิจกรรม Street Food (2) กิจกรรม Thai Show (3) กิจกรรม Street Show และ (4) กิจกรรม Street Craft กิจกรรมที่ 3 การจัดงานมหกรรมมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (Intangible Cultural Heritage) กับการมีส่วนร่วมของเครือข่ายวัฒนธรรมในการบริหารจัดการงานวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ซึ่งมีจุดเน้นกิจกรรมทางวัฒนธรรมของภาคใต้ ยกระดับการสร้างความรู้ความเข้าใจสู่การพัฒนาเป็นพื้นที่เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ของประเทศ กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมส่งเสริม Soft Power ในระดับนานาชาติ ณ Songkhla Pavilion นครเวนิส สาธารณรัฐอิตาลี เพื่อส่งเสริมในการนำมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอันเป็นวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ท้องถิ่นของประเทศไทยได้เผยแพร่สู่สายตาชาวโลก กิจกรรมที่ 5 การพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือ ?Treasure Thailand? รูปแบบของการให้บริการออนไลน์ สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ โดยเฉพาะ Metaverse2 เที่ยวทิพย์ผ่านโลกเสมือนจริง ระบบ 3 มิติ ในรูปแบบ VR (VR: Virtual Reality คือ การจำลองภาพให้เสมือนจริงแบบ 360 องศา โดยอาจต้องใช้อุปกรณ์เสริมอย่างแว่นตา VR เพื่อจำลองการรับรู้ การมองเห็น และการได้ยินเสียงในโลกเสมือนจริง เช่น จำลองการกระโดดร่ม, การขับเครื่องบิน, การเล่นเกมแนวต่อสู้ เป็นต้น) มีตัวละครในวรรณคดีของประเทศไทย พาชม พาชิม สร้างแรงจูงใจ ในการท่องเที่ยว ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย Soft Power กิจกรรมที่ 6 การประชาสัมพันธ์กิจกรรมและการบริหารจัดการอื่น ๆ ได้แก่ การบันทึกภาพระบบ HD การตัดต่อภาพเคลื่อนไหว (วีดิทัศน์) และการจัดทำรายการสถานีวัฒนธรรมสัญจร แผนการดำเนินงาน แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ แผนระยะสั้น: วงเงิน 10 ล้านบาท เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยมีการจัดกิจกรรม ดังนี้ กิจกรรม งบประมาณ (ล้านบาท) 1. การประชุม ศึกษา และสำรวจเพื่อหาแนวทางการจัดกิจกรรมร่วมกับพันธมิตรเครือข่ายทางวัฒนธรรม 0.50 2. การจัดนิทรรศกาลโนราและส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องภายใต้แนวคิด ?โลกของโนรา? 2.00 3. การจัดการแสดงมโนราห์ผสมผสาน วัฒนธรรมวิถีชีวิตพื้นถิ่นใต้อย่างสร้างสรรค์ เพื่อเทิดพระเกียรติฯ 0.50 4. การจัดสาธิตกระบวนการ/ขั้นตอนการผลิตเครื่องแต่งกายโนรา 2.00 5. ตามรอยประวัติศาสตร์ศิลป์สุวรรณภูมิ สงขลาเมืองเก่าสู่การเป็นเมืองต้นแบบด้านศิลปวัฒนธรรม 2.00 6. กิจกรรมงานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมนานาชาติ 1.00 7. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมและการบริหารจัดการอื่น ๆ 1.00 8. การจัดทำสรุปผลการดำเนินงานรูปแบบดิจิทัล/จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ 1.00 รวมทั้งสิ้น 10.00 แผนระยะยาว : วงเงิน 50 ล้านบาท (พ.ศ. 2566 - 2570) เพื่อผลักดันให้ ?เมืองสงขลาสู่เมืองต้นแบบด้านศิลปวัฒนธรรม? ในมิติทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสังคม สร้างชุมชนที่เข้มแข็ง อันจะนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ ดังนี้ กิจกรรม งบประมาณ (ล้านบาท) 1. ตามรอยประวัติศาสตร์ศิลป์สุวรรณภูมิ สงขลาเมืองเก่า สู่การเป็นเมืองต้นแบบด้านศิลปวัฒนธรรม 5.00 2. การจัดงานเทศการศิลปวัฒนธรรมนานาชาติ ?เชื่อมโยงจากรุ่นสู่รุ่น New Gen Connected Art and Culture festival? 15.00 3. การจัดงานมหกรรมมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกับการมีส่วนร่วมของเครือข่ายวัฒนธรรมในการบริหารจัดการงานวัฒธรรมอย่างยั่งยืน 5.00 4. การส่งเสริม Soft Power ในระดับนานาชาติ 15.00 5. การพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือ ?Treasure Thailand? 5.00 6. การประชาสัมพันธ์กิจกรรมและการบริหารจัดการอื่น ๆ 5.00 รวมทั้งสิ้น 50.00 หน่วยงานที่ร่วมบูรณาการ วธ. (กรมส่งเสริมฯ) ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา สภาวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา และภาคีเครือข่ายทางวัฒนธรรมทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย มูลนิธิเมืองเก่าสงขลา หอศิลป์สงขลา มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โรงเรียนมหาวชิราวุธ สงขลา พาวิเลียน (Songkhla Pavilion) สถาบันธัชชา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สภาวัฒนธรรมไทยในสาธารณรัฐอิตาลี แห่งเมืองเวนิส และศิลปินพื้นถิ่น ตลอดจนผู้ประกอบการร้านค้าและธุรกิจโรงแรม ผลที่คาดว่าจะได้รับ เชิงคุณภาพ 1. การผลักดันให้เมืองสงขลาเป็น ?เมืองต้นแบบด้านศิลปวัฒนธรรม? ในมิติทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจและสังคม สร้างชุมชนที่เข้มแข็ง อันจะนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2. การเปิดพื้นที่/เพิ่มช่องทางให้ประชาชนมีพื้นที่ในการจำหน่ายสินค้าทางวัฒนธรรม มีกิจกรรมการแสดงและบริการทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ ผ่านกระบวนการปลุกจิตสำนึกร่วมของคนในชุมชนภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) 3. เป็นการสร้างความสามัคคี และการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น และภาคประชาชน 4. เป็นการสร้างขวัญกำลังใจในการดำเนินกิจการร้านค้า ศิลปินพื้นบ้าน รวมถึงเครือข่ายทางวัฒนธรรมในพื้นที่ 5. ประชาชนมีความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่น 6. เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างความเข้มแข็งทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของชุมชน 7. ได้มีการยกระดับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมด้วยนวัตกรรมดิจิทัลให้เป็นฐานข้อมูลออนไลน์ ด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบนระบบแพลตฟอร์มออนไลน์ เชิงปริมาณ 1. ผู้ประกอบการด้านวัฒนธรรมเข้าร่วมสาธิตและจำหน่ายสินค้ากว่า 500 ร้านค้า 2. รายได้ของจังหวัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี 3. ศิลปินพื้นบ้านในพื้นที่จังหวัดสงขลาและจังหวัดใกล้เคียงกว่า 1,500 คณะ มีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ต่อปี 4. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ กว่า 1 ล้านคนและเพิ่มจำนวนขึ้นร้อยละ 20 ในทุก ๆ ปี 5. เกิดรายได้หมุนเวียนกว่า 100 ล้านบาท และเพิ่มจำนวนขึ้นร้อยละ 30 ใน ทุก ๆ ปี 6. วธ. แจ้งว่า โครงการพัฒนาเมืองต้นแบบฯ เป็นโครงการสำคัญที่จะช่วยสร้างพื้นที่ให้ทุกคนได้แสดงออกทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ ผลักดัน Soft Power อันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น รวมทั้งทำให้วัฒนธรรมสามารถอยู่ร่วมกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป และปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นเพื่อตอบสนองคนรุ่นใหม่ สร้างให้เกิดเครือข่ายเพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อน ซึ่งทุกภาคส่วนต้องช่วยกันดำเนินการเพื่อสืบสาน รักษา และต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมสู่การสร้างคุณค่าและมูลค่าทางสังคมและเศรษฐกิจต่อไป 1ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) หมายถึง ผลผลิตทางวัฒนธรรมทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ ทุนทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ เช่น โบราณสถาน มรดกทางวัฒนธรรม ผลงานศิลปะแขนงต่าง ๆ ทั้งภาพวาด หัตถกรรม ดนตรี ภาพยนตร์ วรรณกรรม เหล่านี้มักจะวัดมูลค่าเป็นตัวเงินได้ ส่วนทุนวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ได้แก่ ความเชื่อ จารีต ประเพณี วิถีชีวิต 2Metaverse เป็นแอปพลิเคชันแบบใหม่ ที่มีการประสานกันของเทคโนโลยีใหม่ ๆ มากมาย โดยเปิดให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์ที่สมจริงจาก reality technology ที่สร้างภาพสะท้อนของความเป็นจริงโดยอิงจาก digital twin technology สร้างระบบเศรษฐกิจจากเทคโนโลยี block chain และเชื่อมต่อโลกเสมือนกับโลกแห่งความเป็นจริงเข้าด้วยกัน บนระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม และระบบอัตลักษณ์ โดยอนุญาตให้ผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ และปรับแต่งโลกเสมือนได้ 10. เรื่อง สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 15 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564-30 มิถุนายน 2565) คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 15 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564-30 มิถุนายน 2565) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. นโยบายหลัก 9 ด้าน ประกอบด้วย นโยบายหลัก มาตรการ/ผลการดำเนินงานที่สำคัญ 1) การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ 1.1) ดำเนินโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ?Giving Light มอบแว่นตา มอบแสงแห่งชีวิต? เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ที่ประสบปัญหาทางสายตาได้เข้ารับบริการตรวจวัดสายตาประกอบแว่นตาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 1,200 คน 1.2) น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร มีครัวเรือนปลูกผักอย่างน้อย 10 ชนิด 9,757,250 ครัวเรือน เลี้ยงสัตว์/ประมง 3,345,957 ครัวเรือน 2) การสร้างความมั่นคง ความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ 2.1) จับกุมผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายผ่านชายแดนทางบก ในเดือนมิถุนายน 2565 จำนวน 324 ครั้ง ผู้ต้องหา 3,478 คน 2.2) จัดกิจกรรมสร้างความสุขและผ่อนคลาย เสริมสร้างความสามัคคีและการมีส่วนร่วมของคนในชาติด้วยรูปแบบการใช้สื่อผสม ในพื้นที่สาธารณะทั่วประเทศ เพื่อสร้างความสุขให้กับประชาชนในช่วงวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ 135 ครั้ง มีประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมฯ 32,490 คน 3) การทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม 3.1) รับมอบโบราณวัตถุ ?ครอบพระเศียรทองคำ? มูลค่า 1 ล้านบาท กลับคืนสู่ประเทศไทย และโบราณวัตถุชิ้นเอกและหนังสือบัญชีโบราณวัตถุเครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรีจากแหล่งเตาโบราณในจังหวัดบุรีรัมย์ 164 รายการ มูลค่า 82 ล้านบาท โดยได้นำไปจัดแสดงนิทรรศการถาวร ห้องประวัติศาสตร์โบราณคดีสมัยลพบุรี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เพื่อเผยแพร่ต่อไป 3.2) ประกาศยกย่อง ?พระยาศรีสุนทรโวหาร? (น้อย อาจารยางกูร) เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษาและวัฒนธรรม ประจำปี 2565 เนื่องในวาระครบรอบ 200 ปี ชาตกาลในปี 2565 3.3) ยกระดับเทศกาลประเพณีไปสู่ระดับชาติและนานาชาติ เช่น งานประเพณีสืบสานวัฒนธรรมสี่เผ่าไทศรีสะเกษในงานเทศกาลทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษประจำปี 2565 ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้จากการจำหน่ายผ้าพื้นเมือง ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม 2.9 ล้านบาท และจากการจำหน่ายทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ผลไม้ต่าง ๆ และเครื่องจักรกลทางการเกษตรรวมกว่า 30 ล้านบาท และงานมหกรรมวันสุนทรภู่ กวีเอกของโลก จังหวัดระยอง ประจำปี 2565 มีผู้เข้าร่วมงาน 60,000 คน และสร้างรายได้จากการจำหน่ายสินค้าและบริการ 16.84 ล้านบาท 4) การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก 4.1) เป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เพื่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาอย่างยั่งยืนกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) นายกรัฐมนตรีได้ให้การต้อนรับนายกรัฐมนตรี สปป.ลาว ในโอกาสการเยือนไทยอย่างเป็นทางการ โดยมีประเด็นหารือความร่วมมือด้านต่าง ๆ เช่น การฟื้นฟูทางเศรษฐกิจจากผลกระทบของสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สนับสนุนโครงการก่อสร้างสะพานเชียงแมน-หลวงพระบาง และแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามแดนและความร่วมมือด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์ 4.2) สานต่อความร่วมมือไทย-ไนจีเรีย ผลักดันอุตสาหกรรมการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน นายโอวีคูโรมา โอโรกุน เจบะฮ์ เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรียประจำประเทศไทยได้เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสเข้ารับหน้าที่ โดยมีการหารือความร่วมมือด้านต่าง ๆ เช่น การผลักดันความร่วมมือที่เป็นประโยชน์แก่ภาคธุรกิจ การขยายช่องทางการค้าและเพิ่มโอกาสการค้าการลงทุนระหว่างกัน และการส่งเสริมความร่วมมือเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรดิน น้ำ และการเกษตร 4.3) ประชุมกรอบความร่วมมือ BRICS Plus (BRICS Plus High-level Dialogue on Global Development) ครั้งที่ 14 มุ่งฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน ผลักดันระบบพหุภาคีให้มีความสมดุลในทุกมิติ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมฯ เกี่ยวกับแนวคิดสำคัญที่จะให้เกิดความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ เช่น การพลิกฟื้นระบบพหุภาคีให้มีความเข้มแข็งเพื่อรับมือกับความท้าทายอุบัติใหม่และผลักดันการปฏิรูประบบพหุภาคีและปรับกระบวนทัศน์ใหม่ไปสู่ความเป็นหุ้นส่วน เพื่อการพัฒนาระดับโลกในการบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 4.4) เพิ่มพูนความร่วมมือในสาขาที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและวัฒนธรรม และความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ประธานาธิบดีสาธารณรัฐคอซอวอเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีในโอกาสเดินทางเยือนไทย โดยได้มีการหารือความร่วมมือด้านต่าง ๆ เช่น ส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์สินค้าฮาลาล ผลักดันการแลกเปลี่ยนด้านการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมระหว่างกัน และส่งเสริมความร่วมมือในสาขาที่ไทยมีความเชี่ยวชาญ (เช่น การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน) 4.5) ประชุมประจำปีองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Conference: ILC) สมัยที่ 110 ได้มีการนำเสนอตัวอย่างการรับมือกับสถานการณ์โรคโควิด-19 เช่น มาตรการรักษาการจ้างงานสำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และการดำเนินโครงการ Factory Sand Box ซึ่งช่วยรักษาการจ้างงานได้มากกว่า 400,000 ตำแหน่ง 5) การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย 5.1) เศรษฐกิจมหภาค การเงินและการคลัง เช่น ?พาณิชย์? ร่วมมือกับองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกเพิ่มทางเลือกให้ธุรกิจไทยในการระงับข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ และจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเพิ่มโอกาสในการส่งออกสินค้าไทยสู่ตลาด สหราชอาณาจักร โดยสินค้าที่ได้รับให้ความสนใจ เช่น ข้าวหอมมะลิ เครื่องปรุงรส ไก่แปรรูป และอาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง คาดมูลค่าการสั่งซื้อภายใน 1 ปี 4,600 ล้านบาท 5.2) พัฒนาภาคอุตสาหกรรม เช่น ส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรและพืชผักสวนครัวในนิคมสร้างตนเองในพื้นที่ 1,298 ไร่ มีผลผลิตโดยรวมประมาณ 600-1,200 กิโลกรัม สร้างรายได้ขั้นต่ำ 500 บาทต่อเดือนต่อคน และส่งเสริมปลูกไม้มีค่าและไม้ยืนต้น 10,129 ต้น คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจเฉลี่ยขั้นต่ำต้นละ 1,000-10,000 บาท 5.3) พัฒนาภาคเกษตร เช่น สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและเครือรัฐออสเตรเลีย ในโอกาสครบรอบ 70 ปี พร้อมผลักดันการเปิดสินค้าเกษตรคุณภาพ และจัดกิจกรรม ?ประกวดเส้นไหม ผ้าไหม ผลิตภัณฑ์จากหม่อน และส่งเสริมตลาดผ้าไหม ประจำปี 2565? ภายใต้งาน ?เทิดไท้ 90 พรรษา พระมารดาแห่งไหมไทย? 5.4) พัฒนาภาคการท่องเที่ยว เช่น กิจกรรม ?Meet & Greet Thailand Moving Together กอด กิน บิน เที่ยว ใช้ชีวิตใกล้ชิดอีกครั้ง? มุ่งขับเคลื่อนประเทศไทย เข้าสู่ระยะหลังการระบาดของโรคโควิด-19 5.5) พัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น เปิดท่าเรือท่าช้าง-สาทรเป็น SMART PIER SMART CONNECTION เพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการท่าเรือโดยสารสาธารณะในแม่น้ำเจ้าพระยาให้มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย เชื่อมโยงกับระบบขนส่งรูปแบบอื่นได้อย่างไร้รอยต่อ 5.6) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและมุ่งสู่การเป็นประเทศอัจฉริยะ เช่น การจัดงานสัมมนาและนิทรรศการ ?Thailand 5G Summit 2022? ภายใต้แนวคิด The 5G Leader in the Region เพื่อผลักดัน 5G สู่โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลสำคัญของประเทศ และการดำเนินโครงการ Chiangmai Web3 City and Metaverse เปิดสปอตไลต์ส่องหา UNICORN เพื่อเสริมสร้างและส่งเสริมความร่วมมือระดับประเทศในการร่วมกันนำเทคโนโลยี Web3.0 และ Blockchain มาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาเมือง 6) การพัฒนาสร้างความเข้มแข็งของฐานราก 6.1) ยกระดับผู้ประกอบการรายย่อย (MSME Step up) โดยเฉพาะผู้ประกอบการ OTOP ทั้งนี้ มีผู้ประกอบการได้รับการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเข้าสู่ระบบของภาครัฐ 1,564 ราย 6.2) ศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร (SME One-stop Service Center : OSS) บริการให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้นในการดำเนินธุรกิจแก่ผู้ประกอบ SMEs ในด้านต่าง ๆ เช่น การตลาด การบริหารจัดการ และการผลิต มีผู้เข้ารับบริการ 130,567 ราย ขึ้นทะเบียนและปรับปรุงข้อมูลผู้ประกอบการ 77,962 ราย 6.3) สร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตด้านการเกษตร เช่น พัฒนาความเข้มแข็งกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 20 กลุ่ม และจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพให้แก่กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตรกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรและกลุ่มยุวเกษตรกร 6.4) บูรณาการแนวทางการให้ความช่วยเหลือการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน โดยใช้กลไกศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอซึ่งให้ความช่วยเหลือครัวเรือนเป้าหมายแล้ว 581,549 ครัวเรือน คิดเป็น ร้อยละ 89.12 7) การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย 7.1) บูรณาการองค์ความรู้การจัดทำบัญชีควบคู่กิจกรรมสหกรณ์ เพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีต้นกล้าเศรษฐกิจพอเพียง บัญชีรับ-จ่ายในครัวเรือน และสหกรณ์นักเรียนให้แก่เด็กและเยาวชน โดยมีเป้าหมายดำเนินการตั้งแต่ปี 2565-2569 ในโรงเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 19,795 แห่ง นักเรียน 1,023,243 คน 7.2) กำหนดมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาที่อาจเกิดจากการใช้กัญชาหรือกัญชง ได้มีประกาศ เรื่อง แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับกัญชาหรือกัญชงในสถานศึกษา ส่วนราชการ หรือหน่วยงานในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2565 7.3) ดำเนินโครงการพาน้องกลับมาเรียน โดยค้นหา ติดตามเด็กตกหล่นและออกจากการศึกษากลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา มีนักเรียน นักศึกษา นักเรียนพิการ และผู้พิการที่ตกหล่นและออกกลางคัน 121,642 คน ในจำนวนนี้เป็นนักเรียน นักศึกษา ที่สังกัด ศธ. 67,129 คน และกลับเข้าระบบแล้ว 31,446 คน 8) การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม 8.1) ดำเนินนโยบาย ?พาหมอไปหาคนไข้? โดยการจัดหน่วยแพทย์เฉพาะทางอาสาดูแลประชาชนในพื้นที่ห่างไกล จังหวัดหนองบัวลำภู ให้เข้าถึงการรักษาเฉพาะทาง 7 สาขา ได้แก่ ผิวหนัง ทันตกรรม พัฒนาการเด็ก การดูแลผู้ป่วยกึ่งเฉียบพลันและการฟื้นฟูสมรรถภาพ โรคมะเร็ง โรคทางเดินปัสสาวะ และการดูแลผู้สูงอายุให้ได้รับการดูแลใกล้บ้าน พร้อมมีระบบส่งต่อการรักษารองรับ 8.2) พัฒนาฟังก์ชันของแอปพลิเคชัน ?หมอพร้อม? เพื่อประเมินภาวะลองโควิด อาการผิดปกติ และระดับความรุนแรง พร้อมคำแนะนำการปฏิบัติตัวและตรวจสุขภาพใจ เพื่อประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้นจากผลกระทบโรคโควิด-19 เพื่อนำไปสู่ Digital Health Platform ของประเทศไทย 9) การฟื้นฟูทรัพยากรธรรม ชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน 9.1) สนับสนุนการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของประเทศ เช่น แก้ไขปัญหาราษฎรในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เร่งรัดการออกกฎหมายลำดับรอง เพิ่มพื้นที่สีเขียวสร้างความยั่งยืนของฐานทรัพยากรเพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) และสังคมคาร์บอนต่ำ เสนอแหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามันเป็นมรดกโลก และยกระดับมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยว ?การท่องเที่ยวสีเขียว? 9.2) จัดงานวันทะเลโลก ประจำปี 2565 ?Revitalization : Action for the Ocean? หรือ ?รวมพลังฟื้นฟู กอบกู้มหาสมุทร? เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2565 ณ บริเวณสวนสาธารณะลานโลมา ชายหาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการดูแลและอนุรักษ์ธรรมชาติแห่งมหาสมุทรไปทั่วโลก 9.3) บริหารจัดการที่ดินในรูปแบบสวัสดิการสังคม เพื่อช่วยเหลือราษฎรยากจนที่ขาดแคลนที่ดินทำกิน และออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (นค.3) ให้แก่สมาชิกนิคม 4,108 คน (เป้าหมาย 5,000 คน) 2. นโยบายเร่งด่วน 8 เรื่อง ประกอบด้วย นโยบายเร่งด่วน มาตรการ/ผลการดำเนินงานที่สำคัญ 1) การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน เช่น (1) จัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือนและยุติธรรมพบประชาชน 39 ครั้ง มีลูกหนี้ขอไกล่เกลี่ย 30,708 ราย ดำเนินการไกล่เกลี่ย 28,654 ราย ไกล่เกลี่ยสำเร็จ 28,314 ราย รวมทุนทรัพย์ 6,602.30 ล้านบาท สามารถลดค่าใช้จ่ายประชาชนได้ 2,382.89 ล้านบาท (2) ช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีหนี้เงินกู้เพื่อการเกษตรให้ได้รับการลดภาระดอกเบี้ย 973 แห่ง 353,267 ราย และ (3) จัดที่ดินให้เกษตรกรได้รับสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน 16,400 ราย 2) การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม เช่น (1) พัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลด้านการเกษตร เช่น ระบบข้อมูลทะเบียนเกษตรกรและข้อมูลทางด้านการเกษตรแบบเปิด และพัฒนา API Engine สำหรับเชื่อมโยงเพื่อตรวจสอบเอกสารสิทธิ์พื้นที่เกษตร (น.ส.4) (2) ดำเนินโครงการต้นแบบเกษตรอัจฉริยะเพื่อพัฒนาแปลงปลูก/โรงเรือนเกษตรอัจฉริยะต้นแบบสำหรับถ่ายทอดเทคโนโลยีต้นแบบสู่เกษตรกร และ (3) พัฒนาที่ดินเพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสมตาม Agri-Map จำนวน 65,358 ไร่ 3) การยกระดับศักยภาพของแรงงาน ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 กำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ สาขาอาชีพก่อสร้าง สาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์ และสาขาอาชีพภาคบริการ รวม 16 สาขา สอดคล้องกับทักษะฝีมือ ความรู้ ความสามารถ และการจ้างงานในตลาดแรงงาน โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2565 4) การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต เช่น (1) พัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ได้ปรับพื้นที่สำหรับก่อสร้างทางขับ ระยะที่ 1 และลานจอดของศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานสนามบินอู่ตะเภา มีความก้าวหน้าร้อยละ 86.93 (2) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อพัฒนาทักษะบุคลากรในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ร่วมกับศิริราช พยาบาล และภาคเอกชน ด้านระบบอัตโนมัติ โซลูชั่น การจ่ายกระแสไฟฟ้าและระบบชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีการแพทย์แม่นยำขั้นสูง (3) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพทย์และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพครบวงจรในเขต EEC ระหว่าง สกพอ. ร่วมกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เพื่อยกระดับการให้บริการทางการแพทย์ครบวงจร การให้บริการด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ (4) ลงทุนในเขต EEC มีการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน 2565 จำนวน 217 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 104,856 ล้านบาท 5) การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 เช่น (1) บันทึกข้อตกลงยกระดับความร่วมมือการพัฒนาศักยภาพเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 เพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่าง 12 กระทรวง ในการพัฒนาศักยภาพเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 อย่างมีคุณภาพตามหลักกลยุทธ์ 4H [เก่ง (Head) ดี (Heart) มีทักษะ (Hand) และแข็งแรง (Health)] มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายในระดับเด็กและเยาวชนอายุ 6-25 ปี (2) พัฒนามหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยเพื่อการจัดการเรียนการสอนในระบบเปิด (Thai-MOOC) สามารถรองรับผู้เรียนได้อย่างไม่จำกัด 549 รายวิชา มีผู้เรียน 1.4 ล้านคน และมีผู้เรียนจบจนได้รับใบประกาศนียบัตร 1.3 ล้านใบ (3) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) หรือ โครงการ ?มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG? ในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2565 เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเป็นรายตำบลทั่วประเทศ และจะนำผลงานเสนอในการประชุมเอเปคให้ได้เห็นโมเดลทางเศรษฐกิจใหม่ของไทยที่ขับเคลื่อนด้วย BCG มีบัณฑิตจบใหม่และประชาชนลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ 68,350 คน 6) การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ เช่น (1) ดำเนินโครงการตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยปรับปรุงพื้นที่ปลูกข้าวให้มีความเหมาะสม 1,645 ไร่ (2) ปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับคนยากจนและผู้ด้อยโอกาส ได้ซ่อมแซมบ้านให้กับประชาชนในนิคมสร้างตนเอง 7 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา (อำเภอจะนะ นาทวี เทพา สะบ้าย้อย) 1,235 หลัง (3) ให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ 5,364 ราย เป็นเงิน 91.71 ล้านบาท และ (4) สกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติดบริเวณพื้นที่ชายแดน สามารถจับกุมผู้กระทำผิด 107 ครั้ง ผู้ต้องหา 138 คน ยึดได้ของกลางยาบ้า 21,395,448 เม็ด ไอซ์ 5.03 กิโลกรัม เฮโรอีน 10.5 กิโลกรัม คีตามีน 76 กิโลกรัม และฝิ่น 14.75 กิโลกรัม 7) การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน อำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจให้แก่บุคลากรทักษะสูง/ผู้เชี่ยวชาญ นักลงทุน ผู้บริหาร และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานหรือลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศผ่านวีซ่าประเภทพิเศษ (SMART Visa) ตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน 2565 มีผู้ผ่านการรับรองคุณสมบัติทั้งสิ้น 205 คำขอ 8) การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 เช่น ติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง จัดทำแอปพลิเคชัน ?THAI DISASTER ALERT? เพื่อแจ้งเตือนภัยแบบเจาะลึกเข้าถึงเฉพาะพื้นที่ที่คาดว่าจะเกิดภัยพิบัติ และเปิดช่องทางการแจ้งเหตุและรับความช่วยเหลือผ่านสายด่วนสาธารณภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง แอปพลิเคชัน Line ?ปภ. รับแจ้งเหตุ 1784? 11. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนมิถุนายน 2565 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนมิถุนายน 2565 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม เสนอดังนี้ สาระสำคัญ ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2565 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งส่วนหนึ่งยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาข้อจำกัดในห่วงโซ่อุปทานโลก ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบบางรายการ อย่างไรก็ตาม กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศทยอยปรับตัวดีขึ้น ส่วนหนึ่งสะท้อนได้จากการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน นอกจากนี้ดัชนีในกลุ่มสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีเช่นกัน อาทิ เครื่องประดับ อัญมณี รองเท้า กระเป๋า และเบียร์ อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนมิถุนายน 2565 หดตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของ ปีก่อน คือ 1. Hard Disk Drive หดตัวร้อยละ 30.63 จากความต้องการที่ลดลง รวมถึงมีการยกเลิกการผลิตสินค้าเก่าในบางรุ่น 2. เม็ดพลาสติก หดตัวร้อยละ 15.35 จากการปิดซ่อมบำรุงของผู้ผลิตบางราย 3. เหล็กและเหล็กกล้า หดตัวร้อยละ 16.72 จากราคาเหล็กในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวลดลงทำให้ลูกค้าใช้เหล็กที่มีอยู่ในคลังสินค้าแทนการสั่งซื้อเพิ่ม รวมถึงผู้ผลิตส่วนหนึ่งงดผลิตสินค้าบางรายการชั่วคราวและระบายสินค้าเก่าที่มีอยู่แทน อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนมิถุนายน 2565 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 1. การกลั่นปิโตรเลียม เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.53 ตามการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว การเปิดประเทศ รับนักท่องเที่ยวต่างชาติเต็มรูปแบบ และการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 2. เครื่องปรับอากาศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.26 จากการขยายตัวของตลาดส่งออกเป็นหลัก ตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 อาทิ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ประกอบกับภูมิอากาศแปรปรวนและมีอุณหภูมิสูงขึ้นในหลายประเทศส่งผลให้มีคำสั่งซื้อเพิ่มมากขึ้น 12. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับการปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 รวม 59 วัน (ห้วงที่ 5-6) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในวงเงิน 146.94 ล้านบาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 มีนาคม 2565 รวม 59 วัน หรือจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคโควิด 19 จะยุติลง ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เสนอ 13. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 15/2565 และ ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 24/2565 และครั้งที่ 25/2565 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ในคราวประชุมครั้งที่ 15/2565 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2565 และผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 24/2565 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2565 และครั้งที่ 25/2565 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2565 ดังนี้ 1. ผลการพิจารณาของ คกง. ในคราวประชุมครั้งที่ 15/2565 1.1 อนุมัติให้จังหวัดสกลนคร จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดชัยนาท เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว ภายใต้เงื่อนไขว่าในกรณีที่จังหวัดไม่สามารถลงนามและผูกพันสัญญาในโครงการที่ได้รับอนุมัติภายในเดือนกันยายน 2565 ให้จังหวัดเสนอขอยกเลิกโครงการให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป 1.2 อนุมัติให้จังหวัดสกลนคร จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดเชียงใหม่ ยกเลิก การดำเนินโครงการ จำนวน 14 โครงการ และ 5 กิจกรรมย่อย กรอบวงเงิน 48.76 ล้านบาท ตามที่รัฐมนตรีว่า การกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว 1.3 อนุมัติให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเราเที่ยวด้วยกัน (เฟส 3) โดยขยายระยะเวลาสิ้นสุดการเบิกจ่ายงบประมาณโครงการ จากเดิมเดือนสิงหาคม 2565 เป็นเดือนธันวาคม 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว 1.4 มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 1.1 - 1.3 เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR) (ระบบ eMENSCR) ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว และเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ทั้งนี้ เมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จให้เร่งดำเนินการตามขั้นตอนข้อ 19 และข้อ 20 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกู้เงินฯ พ.ศ. 2563) 1.5 มอบหมายให้กระทรวงการคลัง [สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.)] ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563) และพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พิจารณาจัดเตรียมแหล่งเงินและกรอบวงเงินเพื่อรองรับกรณีการตรวจสอบเหตุทุจริต (Fraud List) ในโครงการเราเที่ยวด้วยกัน และโครงการอื่น ๆ ที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบการทุจริต อาทิ โครงการเราไม่ทิ้งกัน โครงการเราชนะ โครงการคนละครึ่ง เสนอให้ คกง. พิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 8 (3) แห่งพระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 ต่อไป 1.6 รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 ราย 3 เดือน ครั้งที่ 9 (1 พฤษภาคม - 31 กรกฎาคม 2565) พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ คกง. ตามขั้นตอนของข้อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด 2. ผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 24/2565 และครั้งที่ 25/2565 2.1 อนุมัติให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ม.เกษตรศาสตร์) ยุติโครงการเสริมสร้าง ความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าเกษตรสู่ผู้บริโภค (โครงการเสริมสร้าง ความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรฯ) ทำให้กรอบวงเงินโครงการปรับลดลง จาก 221.3820 ล้านบาท 221.3820 ล้านบาท เป็น 9.0500 ล้านบาท ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว ตามที่กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ 2.2 มอบหมายให้ ม.เกษตรศาสตร์เร่งดำเนินการคืนเงินกู้เหลือจ่ายจำนวน 212.3320 ล้านบาท ตามขั้นตอนข้อ 22 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2564 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) โดยเร็ว พร้อมทั้งดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อพิจารณาแนวทางการจัดทำฐานข้อมูลสินค้าเกษตรที่จะนำเข้าสู่ระบบแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์ให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์จากการพัฒนาระบบแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 2.3 รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ราย 3 เดือน ครั้งที่ 4 (1 พฤษภาคม - 31 กรกฎาคม 2565) พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด 2.4 รับทราบรายงานผลการคืนเงินกู้เหลือจ่ายของหน่วยงานรับผิดชอบโครงการจำนวน 7 โครงการ รวม 9,992.3656 ล้านบาท ที่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนข้อ 22 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี กู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 แล้ว ทำให้กรอบวงเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 คงเหลือ ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2565 เพิ่มขึ้นจาก 25,732.0543 ล้านบาท เป็น 35,724.4199 ล้านบาท 2.5 อนุมัติให้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทย จำนวน 30,002,310 โดส (Pfizer) ปี พ.ศ. 2565 (โครงการจัดหาวัคซีน Pfizer ปี พ.ศ. 2565) โดยปรับกลุ่มเป้าหมายในกลุ่มที่ 5 เพิ่มกลุ่มเป้าหมายในการฉีด Pfizer (Maroon cap) สำหรับเด็กอายุ 6 เดือน ถึงอายุน้อยกว่า 5 ปี และขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการจากเดิมเดือนกันยายน 2565 เป็นเดือนธันวาคม 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว 2.6 มอบหมายให้กรมควบคุมโรคเร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว และรับความเห็นของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ไปพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด 14. เรื่อง มาตรการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคี ปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) เสนอมาตรการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาตามที่คณะกรรมการดำเนินการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วนเสนอ และมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง สำนักงาน ป.ย.ป. รายงานว่า 1. การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคนให้มีศักยภาพและมีคุณภาพสามารถดำรงชีวิตในสังคมและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเป็นเป้าหมายหนึ่งที่สำคัญของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development: SDG) ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 54 ซึ่งบัญญัติให้รัฐมีหน้าที่ในการจัดให้ประชาชนไทยได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ โดย ไม่เก็บค่าใช้จ่าย รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้การจัดการศึกษาดังกล่าวมีคุณภาพได้มาตรฐานสากล รวมทั้งต้องดำเนินการให้ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการศึกษาตามความถนัดของตน อย่างไรก็ดี สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทำให้ความเหลื่อมล้ำทางสังคมใน ด้านการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษามีความรุนแรงและชัดเจนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสถานศึกษาต้องดำเนินการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งส่งผลเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ปกครองในการจัดหาอุปกรณ์และการเข้าถึงบริการสื่อสารจนในบางกรณีเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงการศึกษาสำหรับเด็กจำนวนมาก 2. คณะกรรมการฯ ได้ศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นการเข้าถึงทางการศึกษาของเยาวชนไทย ตลอดจนได้หารือร่วมกับคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมภายใต้การกำกับของสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พบว่า ประเทศไทยมีนักเรียนยากจนจำนวนมาก โดยในปีการศึกษา 2564 มีนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษประมาณ 1.8 ล้านคน (ตั้งแต่ระดับชั้นก่อนประถมศึกษา - ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า) ซึ่งนักเรียนในกลุ่มดังกล่าวเพียงแค่ร้อยละ 20 ที่มีคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการเรียน และร้อยละ 61 ที่มีอินเทอร์เน็ตที่บ้าน จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ยังคงมีนักเรียนจำนวนมากที่ไม่มีความพร้อมด้านฐานะทางการเงินที่ขาดแคลนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับใช้เพื่อการเรียนและมีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่บ้านต่ำมาก 3. คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วเห็นควรเสนอมาตรการทางกฎหมายและมาตรการอื่น ๆ (ตามมติคณะกรรมการฯ ในการประชุมครั้งที่ 11/2564 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564) พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการต่อไป สรุปได้ ดังนี้ 3.1 มาตรการทางกฎหมาย ควรเพิ่มบทบัญญัติในร่างพระราชบัญญัติทางการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... (อยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา) เพื่อกำหนดให้การเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไทย ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้เสนอความเห็นต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... รัฐสภาแล้ว และคณะกรรมาธิการฯ ได้มีมติเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2565 รับทราบข้อเสนอและจะได้นำไปประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯ ต่อไป 3.2 มาตรการช่วยเหลือเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา แบ่งเป็น 1) มาตรการสนับสนุนอินเทอร์เน็ต : คาดว่าจะใช้วงเงินงบประมาณทั้งหมดประมาณ 126 ล้านบาทต่อเดือนหรือ 1,512 ล้านบาทต่อปี ระยะเร่งด่วน ให้สำนักงาน กสทช. พิจารณาการต่ออายุมาตรการสนับสนุนอินเทอร์เน็ตให้กับนักเรียนออกไปอีกเป็นเวลา 1 ปี ระยะกลาง ให้ สพฐ. พิจารณาขอรับเงินสนับสนุนจาก กสศ. เพื่อสนับสนุนนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษที่ต้องการได้รับความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน และในระยะต่อไปให้พิจารณาแนวทางการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กองทุน USO) มาดำเนินการ ระยะยาว ให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) และ กสศ. พิจารณาศึกษามาตรการสนับสนุนอินเทอร์เน็ตในระยะยาวเพื่อใช้ในการเรียนออนไลน์สำหรับนักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน 2) มาตรการสนับสนุนคอมพิวเตอร์ขนาดพกพาเพื่อการศึกษา : คาดว่าใช้งบประมาณทั้งหมดประมาณ 8,000 - 10,000 ล้านบาท สำหรับนักเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ป.1 - ม.6) และเทียบเท่า ที่มีฐานะยากจนและยากจนพิเศษ ตามหลักเกณฑ์ของ กสศ. ประมาณ 1.6 ล้านคน (5,000 บาทต่อเครื่อง) ระยะเร่งด่วน สนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามาช่วยสนับสนุนเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ขนาดพกพาเพื่อใช้ในการเรียนออนไลน์สำหรับเด็กนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษ เพื่อให้เด็กนักเรียนที่ขาดแคลนสามารถมีอุปกรณ์ในการเรียนออนไลน์ได้มากขึ้น โดยอาจมอบหมายให้ ศธ. หารือร่วมกับกระทรวงการคลัง (กค.) เพื่อพิจารณานโยบายทางภาษีและมาตรการอื่น ๆ ในการสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมสนับสนุนการเรียนรู้เทคโนโลยีในทุกมิติ เช่นการลดหย่อนภาษีอุปกรณ์บริจาคที่มีความครอบคลุมมากขึ้น และให้สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทยดำเนินการรวบรวมความเห็นและข้อเสนอแนะมาตรการที่จูงใจของภาคเอกชน และนำเสนอรัฐบาลเพื่อประกอบการพิจารณาในการออกมาตรการเพื่อจูงใจให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ระยะกลาง - ให้ กสศ. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการสนับสนุนเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ขนาดพกพาเพื่อใช้ในการเรียนออนไลน์สำหรับเด็กนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษแก่นักเรียนทุกคนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ป.1 - ม.6) และเทียบเท่า และให้ สพฐ. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมร่วมสนับสนุนการดำเนินการตามพื้นที่ที่แต่ละหน่วยงานรับผิดชอบ โดยยึดหลักการที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและหลักพื้นที่ของสุขภาวะและความจำเป็นของเด็กแต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ สำหรับการสนับสนุนของ อปท. นั้น กระทรวงมหาดไทย (มท.) อาจพิจารณาออกระเบียบเพื่อกำหนดให้สามารถนำเงินสะสมมาใช้ในการดำเนินการเฉพาะกรณีดังกล่าวได้ รวมทั้งให้กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ร่วมจัดทำแอปพลิเคชันเสริมประกอบการเรียนออนไลน์ที่สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียน - ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาสนับสนุนค่าไฟฟ้าเพื่อการเรียนการสอนออนไลน์สำหรับนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษร่วมด้วย ระยะยาว ให้ ศธ. พิจารณาแนวทางการขอรับการจัดสรรเงินงบประมาณแผ่นดินเพื่อเป็นหลักประกันในการจัดให้มีอุปกรณ์ให้แก่นักเรียนยากจนและยากจนพิเศษในการเรียนการสอนออนไลน์อย่างยั่งยืน โดยเป็นมาตรการถาวรและสามารถใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต โดยเงื่อนไขในการสนับสนุนคอมพิวเตอร์ขนาดพกพาเพื่อการศึกษาต้องเป็นไปอย่างรัดกุม มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกนักเรียนที่ได้รับสิทธิเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม โปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ ควรให้สิทธิแก่นักเรียนทุกคนในระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ป.1 - ม.6) และเทียบเท่าที่มีฐานะยากจนและยากจนพิเศษ ตามเกณฑ์ของ กสศ. โดยยึดหลักการ Student-Centric ที่เป็นการให้เงินอุดหนุนแก่นักเรียนโดยตรง อาจให้ในลักษณะ Voucher1 หรือ e-voucher ผ่านแอปพลิเคชันของรัฐเพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียนนำไปใช้ซื้อคอมพิวเตอร์ขนาดพกพาเพื่อการศึกษาได้โดยตรงตามความต้องการของนักเรียนแต่ละคนในแต่ละระดับชั้น และรัฐควรมีบทบาทในการกำหนดประเภทและมาตรฐานของอุปกรณ์2 ประเภทของซอฟท์แวร์ที่บรรจุอยู่ในเครื่อง รวมถึงเงื่อนไข ในการรับประกันของผู้จำหน่ายให้เหมาะสมกับการเรียนในแต่ละระดับชั้น มาตรการเพิ่มเติมสำหรับครู : ให้ ศธ. พิจารณาดำเนินการสนับสนุนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดพกพา เพื่อการศึกษาให้กับครูผู้สอนควบคู่ไปกับการสนับสนุนเด็กนักเรียนที่มีฐานะยากจนและยากจนพิเศษ เนื่องจากในปัจจุบันครูผู้สอนมีภาระที่ต้องแบกรับจากการสอนในรูปแบบออนไลน์ทั้งค่าใช้จ่ายในด้านอุปกรณ์การสอนและค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากความรับผิดชอบของทางราชการ ทำให้การเข้าถึงการเรียนการสอนออนไลน์ของครูผู้สอนอาจไม่ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะในต่างจังหวัดหรือโรงเรียนในชนบทที่มีความขาดแคลนทั้งบุคลากร งบประมาณ และการเข้าถึงทางเทคโนโลยี 1 Voucher จะสามารถนำไปซื้อคอมพิวเตอร์ขนาดพกพาเพื่อการศึกษาที่ผ่านการรับรองแล้วเท่านั้น และอาจใช้แนวทางเช่นกรณี การแจกคูปองทีวิดิจิทัลที่เปลี่ยนผ่านจากระบบอนาล็อคเป็นระบบดิจิทัลของ กสทช. เมื่อปี 2557 ซึ่งมีข้อดีคือป้องกันการทุจริต คอร์รัปชัน เนื่องจากเป็นการแจกคูปองทางไปรษณีย์ตามทะเบียนบ้านของประชาชนโดยตรง 2 คุณสมบัติของอุปกรณ์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดพกพาเพื่อการศึกษาที่เหมาะสมกับเด็กนักเรียน คือ คอมพิวเตอร์แบบ Notebook หรือ คอมพิวเตอร์ขนาดพกพาแบบ All in one (Tablet) โดยควรเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อการศึกษาโดยเฉพาะ (for education purposes only) ส่วนระบบ Hardware และ Software ของอุปกรณ์ประเภทนี้จะถูกจำกัดการใช้งานไว้สำหรับแอปพลิเคชัน เพื่อการศึกษาเท่านั้น เพื่อป้องกันการนำอุปกรณ์ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ 15. เรื่อง การกู้เงินเพื่อบริหารภาระค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (Ft) ตามนโยบายของรัฐบาล ประจำปีงบประมาณ 2566 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอดังนี้ 1. เห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กู้เงินเพื่อบริหารภาระค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ตามนโยบายของรัฐบาล ประจำปีงบประมาณ 2566 ภายใต้กรอบวงเงินไม่เกิน 85,000 ล้านบาท ประกอบด้วย สัญญากู้ยืมเงิน (Term Loan) กู้เบิกเกินบัญชี ตั๋วสัญญาใช้เงิน การทำ Trust Receipt (T/R) และการทำสัญญากู้เงินเมื่อทวงถาม (Call Loan) หรือรูปแบบอื่นที่กระทรวงการคลัง (กค.) เห็นชอบ โดยขอให้ กค. ค้ำประกันเงินกู้ให้แก่ กฟผ. 2. เห็นชอบให้ กฟผ. สามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้จนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น ในกรณีที่ กฟผ. มีรายได้ไม่เพียงพอสำหรับชำระหนี้ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมตามสภาพคล่องของ กฟผ. ตามสภาวะตลาดการเงินในขณะนั้น และประโยชน์ในการบริหารจัดการภาระหนี้ สาระสำคัญของเรื่อง พน. รายงานว่า 1. จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตั้งแต่ปี 2563 และสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องมาจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรปตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 ได้ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของประชาชนและราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบจากราคาพลังงานต่อภาระค่าครองชีพของประชาชนและผู้ประกอบการ พน. และหน่วยงานภายใต้การกำกับของ พน. จึงได้มีการบริหารจัดการราคาพลังงานและมาตรการช่วยเหลือด้านพลังงานตามมติคณะรัฐมนตรีและนโยบายของรัฐบาลในการช่วยเหลือประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมถึงการบริหารอัตราค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ซึ่งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้กำกับดูแลอัตราค่าบริการพลังงานไฟฟ้าตามนโยบายของภาครัฐ โดยได้มอบหมายให้ กฟผ. ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงาน และเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจช่วยรับภาระอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ที่เพิ่มขึ้น โดยชะลอการนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงตั้งแต่งวดเดือนกันยายน ? ธันวาคม 2564 จนถึงงวดเดือนพฤษภาคม ? สิงหาคม 2565 รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 87,849 ล้านบาท (ค่าประมาณการ ณ เดือนมีนาคม 2565) มาเรียกเก็บกับประชาชนในระยะนี้ไว้ก่อน และ กกพ. จะพิจารณาส่งผ่านค่าใช้จ่ายดังกล่าวในการพิจารณาค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ในระยะต่อไป มติ กกพ. รายละเอียด ภาระค่า Ft - กกพ. ครั้งที่ 27/2564 (วันที่ 7 กรกฎาคม 2564) - กกพ. ครั้งที่ 29/2564 (วันที่ 21 กรกฎาคม 2564) งวดเดือนกันยายน ? ธันวาคม 2564 มีมติเห็นชอบค่า Ft เท่ากับ ? 15.32 สตางค์ต่อหน่วย ตามแนวทางการพิจารณาเกลี่ยค่า Ft ให้คงที่ตลอดปี 2564 (ค่า Ft ตามผลการศึกษาอยู่ที่ ? 15.30 สตางค์ต่อหน่วย) 38,943 ล้านบาท - กกพ. ครั้งที่ 49/2564 (วันที่ 3 พฤศจิกายน 2564) - กกพ. ครั้งที่ 51/2564 (วันที่ 17 พฤศจิกายน 2564) งวดเดือนมกราคม ? เมษายน 2565 มีมติเห็นชอบค่า Ft เท่ากับ 1.39 สตางค์ต่อหน่วย (ค่า Ft ตามผลการศึกษาอยู่ที่ 48.01 สตางค์ต่อหน่วย) 22,244 ล้านบาท - กกพ. ครั้งที่ 12/2565 (วันที่ 9 มีนาคม 2565) - กกพ. ครั้งที่ 15/2565 (วันที่ 30 มีนาคม 2565) งวดเดือนพฤษภาคม ? สิงหาคม 2565 มีมติเห็นชอบค่า Ft เท่ากับ 24.77 สตางค์ต่อหน่วย (ค่า Ft ตามผลการศึกษาอยู่ที่ 129.91 สตางค์ต่อหน่วย) 26,662 ล้านบาท รวม 87,849 ล้านบาท 2. การรับภาระอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ค่า (Ft ) ได้ส่งผลต่อสภาพคล่องทางการเงินของ กฟผ. ในปี 2565 ลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่า กฟผ. จะได้รับอนุมัติให้กู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน วงเงินไม่เกิน 55,000 ล้านบาทตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2565 และวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 แต่ยังคงไม่เพียงพอรองรับการขาดสภาพคล่องดังกล่าว ทั้งนี้ จากการประมาณการกระแสเงินสดของ กฟผ. ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 ? 30 เมษายน 2566 พบว่า กฟผ. จะขาดเงินสูงสุดในวันที่ 30 มีนาคม 2566 จำนวนเงินประมาณ 74,000 ล้านบาท ดังนั้น กฟผ. จึงต้องกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อบริหารภาระค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (ค่า Ft) ตามนโยบายรัฐบาล ภาตใต้กรอบวงเงินไม่เกิน 85,000 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย สัญญากู้ยืมเงิน (Term Loan) กู้เบิกเกินบัญชี ตั๋วสัญญาใช้เงิน การทำ Trust Receipt (T/R) และการทำสัญญากู้เงินเมื่อทวงถาม (Call Loan) หรือรูปแบบอื่น ๆ ที่สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะเห็นชอบ โดยขอให้ กค. ค้ำประกันเงินกู้ให้แก่ กฟผ. ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการค้ำประกันการชำระหนี้ของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินของภาครัฐ ข้อ 2 (7)1 เพื่อเป็นการยกเว้นการนับรวมวงเงินกู้ดังกล่าวตามหลักเกณฑ์การกำกับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit: SLL) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งจะช่วยให้ กฟผ. และบริษัทในเครือ/บริษัทร่วมทุน ยังคงสามารถกู้เงินสำหรับการดำเนินโครงการตามภารกิจของหน่วยงานได้ต่อไป และ กฟผ. จะยังคงมีความสามารถในการระดมทุนครอบคลุมวงเงินกู้ข้างต้น รวมทั้งส่งผลให้ต้นทุนในการกู้เงินลดลงและยังเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ธนาคารต่าง ๆ มากขึ้นอีกด้วย ซึ่งคณะกรรมการ กฟผ. ในการประชุมครั้งที่ 8/2565 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2565 ได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว 3. คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 4/2565 (ครั้งที่ 159) เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2565 มีมติรับทราบผลการบริหารอัตราค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ของกฟผ. ซึ่ง กฟผ. ช่วยรับภาระค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ที่เพิ่มขึ้น โดยชะลอการนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงที่สูงขึ้นมาเรียกเก็บกับประชาชนในระยะนี้ไว้ก่อน เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563 และวันที่ 29 มีนาคม 2565 และมอบ พน. นำเรื่องการกู้เงินเพื่อบริหารภาระค่า Ft ตามนโยบายของรัฐ ประจำปี 2566 ของ กฟผ. ในวงเงิน 85,000 ล้านบาท โดยให้ กค. ค้ำประกันเงินกู้ เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป 4. ปัจจุบัน กฟผ. อยู่ระหว่างดำเนินการเสนอแผนการกู้เงินฯ ต่อคณะกรรมการ นโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อพิจารณาและจัดทำแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปี 2566 ต่อไป 1หนี้อันเนื่องมาจากการกู้เงินเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนหรือเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินภาครัฐที่ราคาสินค้าและบริการอยู่ภายใต้การควบคุมตามนโยบายรัฐบาล หรือเพื่อดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล 16. เรื่อง ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชนในพื้นที่ป่าชายเลน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ในท้องที่ 13 จังหวัดชายฝั่งทะเล คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 (เรื่อง รายงานการศึกษาสถานภาพปัจจุบันของป่าไม้ชายเลนและปะการังของประเทศไทย) วันที่ 22 สิงหาคม 2543 (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าไม้ชายเลน) และวันที่ 17 ตุลาคม 2543 (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ครั้งที่ 3/2543 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน) เพื่อดำเนินการจัดการที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชน ในพื้นที่ป่าชายเลน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ในท้องที่ 13 จังหวัดชายฝั่งทะเล เพื่อนำที่ดินที่เป็นป่าชายเลน เนื้อที่รวม 573-3-78 ไร่ ไปดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชน ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง ทส. รายงานว่า 1. ที่ผ่านมา ทส. โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้ดำเนินการจัดที่ดินในพื้นที่ป่าชายเลนให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล โดยมีผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ดังนี้ ปีงบประมาณ (พ.ศ.) ผลการดำเนินการ 2559 (มติคณะรัฐมนตรี 30 กันยายน 2558) จัดที่ดินอำเภอเมือง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 27,000 ไร่ - จัดที่ดินทำกินให้ชุมชน จำนวน 11,000 ไร่ - ปลูกป่าฟื้นฟูป่าชายเลน 16,000 ไร่ จังหวัดนครศรีธรรมราชได้รับหนังสืออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติแล้ว จำนวน 10,979-0-69 ไร่ 695 ครัวเรือน 2560 (มติคณะรัฐมนตรี 23 พฤษภาคม 2560) จัดที่ดินอำเภอท่าศาลา อำเภอเมือง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 12,000 ไร่ - จัดที่ดินทำกินให้ชุมชน จำนวน 5,000 ไร่ - ปลูกป่าฟื้นฟูระบบนิเวศ 7,000 ไร่ จังหวัดนครศรีธรรมราชได้รับอนุญาตเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 3,397 ไร่ 363 ครัวเรือน จัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยในท้องที่จังหวัดชายฝั่งทะเล 9 จังหวัด1 28 ชุมชน เนื้อที่ 287-2-82.80 ไร่ ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์แล้ว 26 ชุมชน เนื้อที่ 285-3-15.79 ไร่ 995 ครัวเรือน 2561 (มติคณะรัฐมนตรี 23 พฤษภาคม 2560) จัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยในท้องที่จังหวัดชายฝั่งทะเล 18 จังหวัด2 252 ชุมชน ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์แล้ว 79 ชุมชน เนื้อที่ 626-0-32 ไร่ 3,041 ครัวเรือน 2562 (มติคณะรัฐมนตรี 16 พฤศจิกายน 2564) จัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยในท้องที่จังหวัดชายฝั่งทะเล 21 จังหวัด3 เนื้อที่ 3,116-1-28 ไร่ จำนวน 189 ชุมชน หมายเหตุ : ปัจจุบันอยู่ระหว่างกระบวนการอนุญาตใช้ประโยชน์ 2563 (มติคณะรัฐมนตรี 16 พฤศจิกายน 2564) จัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยในท้องที่จังหวัดชายฝั่งทะเล 14 จังหวัด4 เนื้อที่ 988-2-76 ไร่ 67 ชุมชน หมายเหตุ : ปัจจุบันอยู่ระหว่างกระบวนการอนุญาตใช้ประโยชน์ 2. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ข้อเสนอในครั้งนี้) ทส. มีเป้าหมายจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยในพื้นที่ป่าชายเลน ในท้องที่ 13 จังหวัด5 จำนวน 64 พื้นที่ เนื้อที่รวม 573-3-78 ไร่ ซึ่งต้องขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีที่ห้ามใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลนก่อน ในการนี้ ทช. ได้ลงพื้นที่สำรวจรังวัดและขึ้นรูปแปลงแล้ว โดยพื้นที่ทั้งหมดอยู่ในความรับผิดชอบของ ทส. ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 ไม่ทับซ้อนกับพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่น และไม่กระทบต่อการปฏิบัติตามกฎหมายในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่น และเมื่อกำหนดพื้นที่เป้าหมายแล้ว เจ้าหน้าที่จะลงสำรวจพื้นที่ร่วมกับผู้นำหรือผู้แทนชุมชนผู้ที่อยู่อาศัยใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นผู้นำตรวจและนำชี้เป็นรายแปลง ทั้งนี้ การจัดที่ดินป่าชายเลนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ข้อเสนอในครั้งนี้) คณะอนุกรรมการจัดหาที่ดิน (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานอนุกรรมการ) มีมติเห็นชอบการกำหนดให้พื้นที่ป่าชายเลนดังกล่าวเป็นพื้นที่เป้าหมายที่จะดำเนินการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนแล้ว ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 และคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ) มีมติรับทราบผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการจัดหาที่ดินข้างต้นแล้ว ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2564 3. ทช. จะดำเนินการต่อไปให้เป็นไปตามระเบียบ ทช. ว่าด้วยการปลูกและบำรุงป่าชายเลนทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อม กรณีการดำเนินการโครงการใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐที่มีความจำเป็นต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน พ.ศ. 2556 ซึ่งกำหนดให้ หน่วยงานรัฐที่เข้าใช้ประโยชน์ป่าชายเลนต้องจัดสรรงบประมาณให้ ทช. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปลูกและบำรุงรักษาป่าชายเลนทดแทน ไม่น้อยกว่า 20 เท่า ของพื้นที่ป่าชายเลนที่ใช้ประโยชน์ 1พื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช เพชรบุรี ระนอง ระยอง สตูล และสุราษฎร์ธานี 2พื้นที่ 18 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จันทบุรี ชลบุรี ชุมพร ตรัง ตราด นครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พังงา เพชรบุรี ภูเก็ต ระนอง สงขลา สตูล สมุทรสงคราม ระยอง และสุราษฎร์ธานี 3พื้นที่ 21 จังหวัด จังหวัดกระบี่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชุมพร ตรัง ตราด นครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พังงา เพชรบุรี ภูเก็ต ระนอง ระยอง สงขลา สตูล สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และสุราษฎร์ธานี 4พื้นที่ 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชุมพร ตรัง ตราด นครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันธ์ พังงา ภูเก็ต ระนอง ระยอง สงขลา และสตูล 5พื้นที่ 13 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จันทบุรี ชลบุรี ชุมพร ตราด นครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันธ์ พังงา ภูเก็ต ระนอง ระยอง สตูล และสุราษฎร์ธานี 17. เรื่อง การพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอให้มีการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในอัตราไม่เกิน 12,309 อัตรา โดยแบ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดโดยตรง และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกื้อกูลต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด ดังนี้ 1. ให้มีการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ระดับดีเด่น ดังนี้ ประเภท ผู้ปฏิบัติงาน ด้านยาเสพติด (อัตรา) ร้อยละ ที่ขอปรับเพิ่ม จำนวนผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ที่ได้รับบำเหน็จความชอบ (อัตรา) ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดโดยตรง 343,968 ไม่เกิน 2.5 ไม่เกิน 8,599 ผู้ปฏิบัติงานเกื้อกูลต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด 247,327 ไม่เกิน 1.5 ไม่เกิน 3,710 รวม (อัตรา) 591,295 - ไม่เกิน 12,309 2. สำหรับงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดังกล่าว ให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของส่วนราชการต้นสังกัดเป็นลำดับแรกก่อน หากไม่สามารถดำเนินการได้ ให้เบิกจ่ายจากงบกลาง รายการเงินเลื่อนเงินเดือนและเงินปรับวุฒิข้าราชการเป็นลำดับต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้มีการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นจากการเลื่อนเงินเดือนกรณีปกติในแต่ละครึ่งปี อัตราร้อยละ 1 ของฐานในการคำนวณ ทั้งนี้ เมื่อรวมกับการเลื่อนเงินเดือนกรณีปกติ จะต้องไม่เกินร้อยละ 6 ของฐานในการคำนวณ) ในอัตราไม่เกิน 12,309 อัตรา โดยแบ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดโดยตรง ไม่เกิน 8,599 อัตรา (ร้อยละ 2.5 จากจำนวนผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดโดยตรงทั้งหมด) และผู้ปฏิบัติงานเกื้อกูลต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด ไม่เกิน 3,710 อัตรา (ร้อยละ 1.5 จากจำนวนผู้ปฏิบัติงานเกื้อกูลต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดทั้งหมด) ซึ่งได้มีการดำเนินการเพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากปัญหายาเสพติดในสังคม สร้างความมั่นคงปลอดภัย และลดความเดือดร้อนของประชาชนจากผลกระทบดังกล่าว เช่น (1) มาตรการความร่วมมือระหว่างประเทศ : ร่วมกับประเทศสมาชิกภายใต้แผนปฏิบัติการร่วมแม่น้ำโขงปลอดภัยเพื่อควบคุมยาเสพติด 6 ประเทศ โดยสามารถจับกุมคดียาเสพติดได้ทั้งสิ้น 957 คดี จำนวนผู้ต้องหา 1,617 คน (2) มาตรการปราบปรามและบังคับใช้กฎหมาย : โดยปฏิบัติการสกัดกั้นยาเสพติดเพื่อไม่ให้มีการลักลอบนำเข้าสู่ตอนในของไทยหรือใช้ไทยเป็นทางผ่านไปยังประเทศที่สาม โดยสามารถสกัดกั้นยาเสพติด เช่น ยาบ้า ได้ทั้งสิ้น 43.85 ล้านเม็ด ไอซ์ 2,013.69 กิโลกรัม เป็นต้น รวมทั้งดำเนินการยึด/อายัดทรัพย์สินคดียาเสพติดได้ทั้งสิ้น 9,215.33 ล้านบาท ซึ่งการอนุมัติบำเหน็จความชอบในครั้งนี้มีประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 80.87 ล้านบาท (6,570 บาท/คน/ปี) โดยจะใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของส่วนราชการต้นสังกัดเป็นลำดับแรกก่อน หากไม่สามารถดำเนินการได้ ให้เบิกจ่ายจากงบกลาง รายการเงินเลื่อนเงินเดือนและเงินปรับวุฒิข้าราชการเป็นลำดับต่อไป ทั้งนี้ ยธ. ได้ประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติราชการหรือสมรรถนะของผู้รับการประเมินบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2552 แล้ว 18. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2565 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2565/2566 เพิ่มเติม คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายใต้กรอบวงเงิน 911.7120 ล้านบาท ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2565 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2565/2566 เพิ่มเติม จำนวน 576 รายการ โดยรายละเอียดของแผนการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ สามารถจำแนกตามกระทรวงและหน่วยงาน ได้ดังนี้ ลำดับ กระทรวง/หน่วยงาน จำนวน (โครงการ) วงเงิน (ล้านบาท) รวมทั้งสิ้น 576 911.7120 1 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 4 192.0700 กรมชลประทาน 4 192.0700 2 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 519 619.7137 กรมทรัพยากรน้ำบาดาล 496 376.4279 กรมทรัพยากรน้ำ 23 243.2858 3 กระทรวงมหาดไทย 53 99.9283 จังหวัด 1 4.5790 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 40 62.1180 องค์การบริหารส่วนตำบล 11 31.6313 เทศบาลตำบล 1 1.6000 ต่างประเทศ 19. เรื่อง การเสนองบประมาณและแผนการดำเนินงานประจำปี 2566 ขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบงบประมาณ จำนวน 5,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ และแผนการดำเนินงานประจำปี 2566 ขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย (องค์กรร่วมฯ) ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ และให้ พน. เร่งรัดการเสนองบประมาณและแผนการดำเนินงานขององค์กรร่วมไทย?มาเลเซียให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2536) ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย พ.ศ. 2533 อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันมิให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์กรร่วมฯ สาระสำคัญของเรื่อง 1. การดำเนินงานขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย (องค์กรร่วมฯ) ได้รับการยอมรับจากชุมชนระหว่างประเทศว่าเป็นการแสวหาผลประโยชน์ด้านปิโตรเลียมร่วมกันและแก้ไขข้อพิพาทอย่างสันติ นอกจากนี้ จากการประเมินศักยภาพปิโตรเลียม พบว่าในพื้นที่ขององค์กรร่วมฯ จะยังคงมีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่สามารถสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้ไทยและมาเลเซียต่อไปอีกไม่น้อยกว่า 20 ปี และยังก่อให้เกิดประโยชน์ทางอ้อมสู่ประชาชนและชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียงของทั้งสองประเทศด้วย อาทิ ส่งเสริมให้มีการใช้วัตถุดิบและการจ้างแรงงาน กระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่นานาประเทศในการแก้ปัญหาเรื่องเขตพื้นที่ทับซ้อนในทะเลอย่างเป็นรูปธรรม 2. กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2536) ออกตามความในมาตรา 5 และมาตรา 18 วรรคหนึ่ง (8) และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย พ.ศ. 2533 ข้อ 3 กำหนดให้องค์กรร่วมฯ เสนองบประมาณประจำปีหลังจากได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการองค์กรร่วมฯ แล้ว โดยให้เสนอต่อรัฐบาลแต่ละฝ่ายเพื่อให้เป็นไปตามความตกลงว่าด้วยรัฐธรรมนูญการจัดตั้งองค์กรร่วมไทย-มาเลเซียฯ พ.ศ. 2533 ก่อนวันเริ่มต้นปีงบประมาณไม่น้อยกว่าห้าเดือน (ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม) ทั้งนี้ ปีงบประมาณขององค์กรร่วมฯ เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม และสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี 3. องค์กรร่วมฯ ได้เสนองบประมาณและแผนการดำเนินงานประจำปี 2566 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการองค์กรร่วมฯ แล้ว ในคราวประชุมครั้งที่ 138 เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2565 สรุปได้ ดังนี้ งบประมาณปี 2566 รวมทั้งสิ้นจำนวน 5,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2565 จำนวน 900,000 ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ งบประมาณปี 2566 ที่เสนอขอในครั้งนี้ เป็นการจัดทำรายละเอียดคำขอขึ้น ตามพื้นฐานกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กรร่วมฯ ในสถานการณ์ปกติ ซึ่งสูงกว่างบประมาณปี 2565 ที่ได้รับอนุมัติภายใต้สภาวะเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ร้อยละ 22 ซึ่งค่าใช้จ่ายประจำปี 2566 ที่เพิ่มขึ้น/ลดลง ประกอบด้วย (1) ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ค่าใช้จ่ายบุคลากร ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าเช่า ค่าบริการและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม และค่าใช้จ่ายที่เป็นทุน และ (2) ค่าใช้จ่ายที่ลดลง ได้แก่ ค่าบำรุงรักษาและซ่อมแซม 4. ที่มาของงบประมาณประจำปี 2566 จำนวน 5,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ องค์กรร่วมฯ ได้เสนอขอใช้เงินที่ได้รับจากการขายปิโตรเลียมส่วนที่เป็นกำไรในไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 จำนวน 4,271,916 ดอลลาร์สหรัฐ และงบประมาณเหลือจ่ายของปี 2564 จำนวน 728,084 ดอลลาร์สหรัฐ 5. ประมาณการรายได้รวมขององค์กรร่วมฯ ในปีงบประมาณ 2566 จำนวน 667,600,000 ดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วย ค่าภาคหลวง จำนวน 181,500,000 ดอลลาร์สหรัฐ และปิโตรเลียมส่วนที่เป็นกำไร จำนวน 486,100,000 ดอลลาร์สหรัฐ 6. แผนการดำเนินงานในปี 2566 ประกอบด้วย ด้านการสำรวจเพื่อการประเมินผลด้านการพัฒนาปิโตรเลียม และด้านการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย สรุปได้ ดังนี้ แปลง ผู้ดำเนินงาน ตัวอย่างกิจกรรมสำคัญ A-18 Carigali Hess Operating Company Sdn. Bhd. - เจาะหลุมประเมินผล จำนวน 1 หลุม ในแหล่ง Senja (แท่นหลุมผลิต Senja C) - เจาะหลุมปิโตรเลียมในแหล่ง Bumi Deep Phrase 1 and 2 จำนวน 7 หลุม ประกอบด้วย (1) แท่นผลิต Suriya-A (SYA) จำนวน 3 หลุม และ (2) แท่นผลิต Bumi-B (BMB) จำนวน 4 หลุม - รักษาระดับอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติที่เรียกรับสูงสุด (CDC) ในอัตรา 869 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน - ประสานงานกับบริษัท ทรานส์ไทย - มาเลเซีย (TTM) เพื่อให้การผลิตก๊าซเป็นไปตามสัญญาการซื้อขายก๊าซธรรมชาติ B-17 และ C-19 Carigali ? PTTEPI Operating Company Sdn. Bhd - ประเมินผลการพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติ จากการเจาะหลุมสำรวจและประเมินผล จำนวน 2 หลุม ได้แก่ หลุม Jengka-5 และหลุม Mali-2 ในแปลง - เจาะหลุมตามแผนพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมระยะที่ 5 จำนวน 3 หลุม ที่แท่นผลิต Muda-G (MDG) รวมถึงเจาะหลุม Infill ที่แท่นผลิต Jengka-B (UKB) จำนวน 3 หลุมและที่แท่นผลิต Jengka-A (JKA) จำนวน 4 หลุม - วางแผนการศึกษาและพัฒนาปิโตรเลียมระยะที่ 7 - ศึกษาวิธีการออกแบบวิศวกรรม (Front End Engineering Design: FEED) การใช้หลุมผลิตในไตรมาสที่ 3 ปี 2566 - รักษาระดับอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติที่เรียกรับสูงสุด (CDC) ในอัตรา 308 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน B-17-01 - ดำเนินงานด้านวิศวกรรม การจัดซื้อจัดจ้าง และการก่อสร้างแท่นหลุมผลิตตามแผนพัฒนาโครงการระยะที่ 6 - ซ่อมแซมหลุมผลิตเดิมและเจาะผนังหลุมเพิ่ม เพื่อรักษาอัตราการผลิตของหลุม 20. เรื่อง การให้การยอมรับในข้อแก้ไขอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของ เสียอันตรายและการกำจัด (Ban Amendment) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อการให้การยอมรับในข้อแก้ไขอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุม การเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด (Ban Amendment) รวมทั้งมอบหมายให้กระทรวง การต่างประเทศ (กต.) จัดทำตราสารการยอมรับ (Instrument of Acceptance) และส่งมอบให้เลขาธิการสหประชาชาติ ณ สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกาต่อไปตามที่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง 1. คณะรัฐมนตรีมีมติ (2 มีนาคม 2533) เห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าร่วมลงนามเป็นภาคีสมาชิกในอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด (อนุสัญญาบาเซลฯ) และต่อมาได้มีมติ (8 กรกฎาคม 2540) เห็นชอบให้ประเทศไทยให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาบาเซลฯ 2. อนุสัญญาบาเซลฯ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2535 มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อมจากการจัดการของเสียอันตราย ลดการเกิดของเสียอันตรายและส่งเสริมการจัดการของเสียอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จำกัดการเคลื่อนย้ายของเสียอันตราย และมีระบบกฎหมายที่ใช้ในกรณีที่มีการเคลื่อนย้ายของเสียอันตรายข้ามแดน ปัจจุบันมีภาคีสมาชิกทั้งหมด 189 ประเทศ โดยประเทศไทยเป็นภาศีสมาชิก ในลำดับที่ 115 ตั้งแต่ปี 2541 3. ภายใต้อนุสัญญาบาเซลฯ ประเทศไทยมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติ เช่น ต้องมีกฎหมายรองรับเพื่อควบคุมการนำเข้า ส่งออก และการนำผ่านของเสียอันตรายข้ามแดนให้สามารถดำเนินการอย่างปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม 4. ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาศีสมาชิกอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด (Ban Amendment) ตั้งแต่ปี 2541 ต่อมาในปี 2538 และปี 2562 ที่ประชุม รัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลฯ สมัยที่ 3 และสมัยที่ 14 ได้รับรองการแก้ไขอนุสัญญาบาเซลฯ และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2562 และวันที่ 1 มกราคม 2564 ตามลำดับ โดยการแก้ไขอนุสัญญาบาเซลฯ มีสาระสำคัญหลัก 2 ประเด็น ดังนี้ ประเด็น สาระสำคัญ 1) การห้ามนำเข้า/ส่งออก ของเสียอันตราย (1) ห้ามประเทศในกลุ่ม (Organization for Economic Cooperation and Development: OECD) ประชาคมยุโรป (European Communities: EC) และลิกเตน สไตน์ ส่งของเสียอันตรายทุกประเภทไปยังประเทศอื่นเพื่อนำไปกำจัดโดยวิธีการที่อนุสัญญาบาเซลฯ กำหนด (เช่น การฝังกลบ การเผา) (2) ห้ามประเทศในกลุ่ม OECD ประชาคมยุโรป และลิกเตนสไตน์ส่งของเสียอันตราย (เช่น ของเสียจากการรักษาพยาบาลทางการแพทย์ และของเสียจากการกำจัดของเสียอุตสาหกรรม ที่มีคุณลักษณะความอันตรายตามที่กำหนด (เช่น ระเบิดได้ ของเหลวไวไฟ สารติดเชื้อ) ไปยังประเทศอื่น 2) การเพิ่มประเภทของเสียอันตราย เป็นการเพิ่มให้ขยะพลาสติก เช่น โพลีเอทิลีน (PE) โพลีโพรพีลีน (PP) โพลีเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) ถือเป็นของเสียอันตรายตามอนุสัญญาบาเซลฯ ซึ่งตามอนุสัญญาบาเซลฯ จะมีการกำหนดเงื่อนไขในการนำเข้า/ส่งออก เช่น ห้ามนำเข้า/ส่งออก นำเข้า/ส่งออกได้เฉพาะขยะที่สะอาดและจะนำมารีไซเคิลอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น เป็นต้น ทั้งนี้ หากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ประเทศไทยให้การยอมรับในครั้งนี้ จะส่งผลให้ประเทศไทยถูกห้ามมิให้นำเข้าของเสียอันตรายตามข้อ 1) รวมทั้งจะต้องพิจารณาการนำเข้าขยะพลาสติกตามข้อ 2) ตามเงื่อนไขที่อนุสัญญาบาเชลฯ กำหนด ในครั้งนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงขอให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อการให้การยอมรับในข้อแก้ไขอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด (Ban Amendment) และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำตราสารการยอมรับ (Instrument of Acceptance) และส่งมอบให้เลขาธิการสหประชาชาติ ณ สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกาต่อไป ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 แล้ว 21. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 28 และเอกสารที่เกี่ยวข้อง คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบในหลักการต่อเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 28 (เอกสารผลลัพธ์ฯ) และหากมีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปรับปรุงเอกสารผลลัพธ์ฯ ในประเด็นที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ สสว. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก 2. มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) ดำเนินการ ดังนี้ 2.1 ร่วมรับรองแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 28 ในการประชุมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 28 (ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ) หรือ 2.2 ออกประกาศแถลงการณ์ประธานรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค สำหรับการประชุมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ประจำปี 2565 (แถลงการณ์ประธานฯ) [กรณีที่เขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปค (สมาชิกฯ) ไม่สามารถเห็นชอบร่วมกันเพื่อรับรองเอกสารผลลัพธ์ฯ ในข้อ 2.1 ในกรณีที่มีประเด็นอ่อนไหวหรือประเด็นที่ยังไม่มีฉันทามติจากทุกสมาชิกฯ เพื่อสะท้อนเหตุการณ์การเมืองระหว่างประเทศและแสดงจุดยืนของไทยต่อเอเปค] หรือ 2.3 ร่วมรับรองแถลงการณ์ร่วมฯ พร้อมทั้งออกประกาศแถลงการณ์ประธานฯ เพื่อเสริมแถลงการณ์ร่วมฯ (ในกรณีที่มีประเด็นอ่อนไหวหรือประเด็นที่ยังไม่มีฉันทามติจากทุกสมาชิกฯ เพื่อสะท้อนเหตุการณ์การเมืองระหว่างประเทศและแสดงจุดยืนของไทยต่อเอเปค) ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค (APEC Small and Medium Enterprise Ministerial Meeting) ครั้งที่ 28 (การประชุมฯ) สาระสำคัญของเรื่อง 1) การประชุมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปคเป็นการประชุมระดับนโยบายด้านการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยในปีนี้ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งที่ 28 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 - 10 กันยายน 2565 ณ จังหวัดภูเก็ต ภายใต้หัวข้อหลักเรื่อง ?การฟื้นตัวโดยรวมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและรายย่อย (Micro, Small and Medium Enterprise: MSME) ในเอเปค ผ่านการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (Bio - Circular - Green Economy : BCG Model) และระบบนิเวศที่มีผลกระทบสูง? ซึ่งในการประชุมรัฐมนตรีฯ นี้ จะมีเอกสารสำคัญที่ใช้เป็นเอกสารผลลัพธ์ฯ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ (1) แถลงการณ์ร่วมฯ กรณีที่รัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปคทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ (สมาชิกฯ) ไม่มีข้อขัดข้อง และ (2) แถลงการณ์ประธานฯ กรณีที่สมาชิกไม่สามารถเห็นชอบร่วมกันเพื่อรับรองเอกสารผลลัพธ์ตามข้อ (1) ซึ่งเอกสารผลลัพธ์ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ (1) แถลงการณ์ร่วมฯ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถของ MSME ในการเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล การส่งเสริม MSME เข้าสู่ระบบการปรับโครงสร้างหนี้ การเพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน และการเตรียมความพร้อมรับมือกับตลาดที่กำลังพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้ MSME ของสมาชิกเอเปคสามารถฟื้นตัวจากวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) และมีศักยภาพในการปรับตัวและเติบโตได้อย่างยั่งยืนท่ามกลางความท้าทายในบริบทโลกยุคใหม่ (2) แถลงการณ์ประธานฯ กรณีที่ประชุมรัฐมนตรีฯ ไม่สามารถมีฉันทามติรับรองเอกสารผลลัพธ์ฯ (แถลงการณ์ร่วมฯ ตามข้อ (1)) (ในกรณีที่มีประเด็นอ่อนไหวหรือประเด็นที่ยังไม่มีฉันทามติจากสมาชิกเพื่อสะท้อนเหตุการณ์การเมืองระหว่างประเทศและแสดงจุดยืนของไทยต่อเอเปค) จะมีเอกสารผลลัพธ์ฯ ได้แก่ แถลงการณ์ประธานฯ ซึ่งมีรายละเอียดเนื้อหาเดียวกับแถลงการณ์ร่วมฯ [ต่างกันที่บทนำ 2 บทแรก คือ ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ จะกล่าวในนามสมาชิกฯ โดยจะใช้ถ้อยคำขึ้นต้นว่า ?WE? ส่วนแถลงการณ์ประธานฯ จะกล่าวในนามของการประชุม ?The meeting? และในนามของไทย ?WE, Thailand? (ซึ่งเป็นประเทศเจ้าภาพ)] 2) สสว. แจ้งว่า เอกสารผลลัพธ์ฯ (ตามข้อ 1)) เป็นการแสดงเจตจำนงทางการเมือง โดยเวทีเอเปคเป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ยึดหลักของความสมัครใจและไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย จึงไม่เข้าข่ายเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 22. เรื่อง การลงนามความตกลงของอาเซียนว่าด้วยกรอบการกำกับดูแลด้านยาแผนโบราณ (ASEAN Agreement on Regulatory Framework for Traditional Medicines; TM Agreement) และความตกลงของอาเซียนว่าด้วยกรอบการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ASEAN Agreement on Regulatory Framework for Health Supplements; HS Agreement) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบและอนุมัติการลงนามความตกลงของอาเซียนว่าด้วยกรอบการกำกับดูแลด้านยาแผนโบราณ (ASEAN Agreement on Regulatory Framework for Traditional Medicines; TM Agreement) (ความตกลงฯ การกำกับดูแลด้านยาแผนโบราณ) และความตกลงของอาเซียนว่าด้วยกรอบการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ASEAN Agreement on Regulatory Framework for Health Supplements; HS Agreement) (ความตกลงฯ การกำกับดูแลผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) 2. มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ลงนามในความตกลงทั้ง 2 ฉบับ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญในความตกลงทั้ง 2 ฉบับ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ให้คณะรัฐนตรีมอบหมายให้ผู้ลงนามเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจพิจารณาตามสถานการณ์ตามความเหมาะสมที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยต่อไป และรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบ 3. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายอื่นเป็นผู้ลงนามในความตกลงทั้ง 2 ฉบับ 4. ภายหลังการลงนามแล้ว ให้นำเสนอรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบในความตกลงทั้ง 2 ฉบับ 5. มอบหมายให้ กต. จัดทำสัตยาบันสารสำหรับความตกลงทั้ง 2 ฉบับ และยื่นต่อเลขาธิการอาเซียน เมื่อรัฐสภามีมติเห็นชอบความตกลงทั้ง 2 ฉบับแล้ว และ สธ. ได้มีหนังสือแจ้งยืนยันมายัง กต. ว่า ฝ่ายไทยได้ดำเนินกระบวนการต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการมีผลบังคับใช้ของความตกลงเสร็จสิ้นแล้ว สาระสำคัญของเรื่อง 1) ร่างความตกลงฯ การกำกับดูแลด้านยาแผนโบราณและร่างความตกลงฯ การกำกับดูแลผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้รับการรับรองจากคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านมาตรฐานและคุณภาพของอาเซียน (ASEAN Consultive Committee on Standards and Quality: ACCQ) (คณะกรรมการ ACCSQ) ในคราวประชุมครั้งที่ 56 ระหว่างวันที่ 23 ? 25 พฤศจิกายน 2564 และได้รับความเห็นชอบในที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน (Senior Economics Officials Meeting - SOM) เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2564 2) สำนักเลขาธิการอาเซียนและคณะกรรมการ ACCSQ ได้แจ้งยืนยันกำหนดการลงนามความตกลงฯ การกำกับดูแลด้านยาแผนโบราณและความตกลงฯ การกำกับดูแลผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในเดือนกันยายน 2565 ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 54 โดยในเบื้องต้นได้กำหนดไว้ระหว่างวันที่ 5 -11 กันยายน 2565 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา 3) ร่างความตกลงฯ การกำกับดูแลด้านยาแผนโบราณและร่างความตกลงฯ การกำกับดูแลผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในการสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัย คุณภาพและประสิทธิผล หรือการกล่าวอ้างคุณประโยชน์ของยาแผนโบราณ/ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่วางจำหน่ายในภูมิภาคอาเซียน และเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าผ่านข้อกำหนดทางเทคนิคและแนวทางต่าง ๆ ที่สอดคล้องกัน (กำหนดให้ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องรับประกันว่า ยาแผนโบราณ/ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เป็นไปตามความตกลงและภาคผนวกที่เกี่ยวข้อง สามารถจำหน่ายในตลาดของประเทศสมาชิกได้) 23. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ประจำปี 2565 (Ministers Responsible for Trade Meeting 2022) และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ประจำปี 2565 (Ministers Responsible for Trade Meeting 2022) และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง และมอบหมายให้หน่วยงาน ต่าง ๆ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ทั้งนี้ให้ พณ. รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย สาระสำคัญของเรื่อง พณ. รายงานว่า ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ประจำปี 2565 และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 19 - 22 พฤษภาคม 2565 ณ กรุงเทพมหานคร โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. การประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ประจำปี 2565 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2565 ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความเห็นและดำเนินการในประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1.1 การหารือภาครัฐ-ภาคเอกชนระหว่างรัฐมนตรีการค้าเอเปคกับสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค (APEC Business Advisory Council: ABAC) เกี่ยวกับการจัดทำเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิค (Free Trade Area of the Asia-Pacific: FTAAP) จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และการขับเคลื่อนการจัดทำ FTAAP โดยมีผู้แทน ABAC จากเขตเศรษฐกิจต่าง ๆ เข้าร่วม เช่น สาธารณรัฐสิงคโปร์ เครือรัฐออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน และสหรัฐอเมริกา ซึ่งที่ประชุมเห็นพ้องประเด็นต่าง ๆ เช่น (1) การรับมือกับโควิด-19 ผ่านการสนับสนุนการลดมาตรการที่มิใช่ภาษีที่มีผลในการกีดกันทางการค้าและการปรับปรุงกฎระเบียบด้านศุลกากรเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าให้มากขึ้น (2) การใช้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) และความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership: CPTPP) เป็นแนวทางในการจัดทำ FTAAP และ (3) การจัดทำแผนงาน FTAAP โดยพิจารณาประเด็นที่ภาคเอกชนให้ความสำคัญ เช่น การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมดิจิทัล การเสริมสร้างกฎระเบียบทางการค้าที่มีความโปร่งใส การปรับปรุงข้อบทความตกลงการค้าเสรีเดิมให้มีคุณภาพสูง การให้สัตยาบันและปฏิบัติตามความตกลง RCEP การจัดทำกฎระเบียบการค้า/การลงทุนยุคใหม่ให้มีคุณภาพสูง การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Micro, Small and Medium Enterprises: MSMEs) และการปรับปรุงนโยบายทางการค้าเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 1.2 วาระระบบการค้าพหุภาคี ผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ได้รายงานสถานการณ์เจรจาล่าสุดในประเด็นสำคัญที่กำลังดำเนินการใน WTO และมีการขอรับการสนับสนุนจากเขตเศรษฐกิจเพื่อผลักดันให้การประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 12 (The 12th WTO Ministerail Conference: MC12) เมื่อต้นเดือนมิถุนายน 25651 ประสบความสำเร็จ ซึ่งแต่ละเขตเศรษฐกิจต่างเห็นพ้องกับผู้อำนวยการใหญ่ WTO ในการหาข้อสรุปการเจรจาเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การอุดหนุนประมง การเกษตรที่เชื่อมโยงกับความมั่นคงทางอาหาร การบรรลุความก้าวหน้าในการหารือด้านการค้ากับสุขภาวะ และการปฏิรูป WTO นอกจากนี้ ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นหรือแนวนโยบายการค้าที่สนับสนุนการอำนวยความสะดวกทางการค้าเพื่อเร่งรัดการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 1.3 วาระการอยู่ร่วมกับโควิด-19 และอนาคต โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นสำคัญที่จะเป็นแนวนโยบาย/มาตรการเพื่อส่งเสริมให้เขตเศรษฐกิจสามารถฟื้นตัวจากโควิด-19 และการปรับตัวต่อความท้าทายต่าง ๆ ในอนาคต รวมทั้งเห็นพ้องถึงความสำคัญของการสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจด้านต่าง ๆ เช่น การค้า การอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าจำเป็น การเสริมสร้างการฟื้นตัวของห่วงโซ่อุปทาน การเชื่อมโยงระหว่างประชาชนและการเดินทางข้ามพรมแดน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของสตรีและ MSMEs ในระบบเศรษฐกิจโลก เพื่อบรรลุเป้าหมายการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนและครอบคลุมตามวิสัยทัศน์ปุตราจายา2 ของเอเปค ค.ศ. 2040 รวมทั้งให้ความสำคัญกับประเด็นการค้าและสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม พลังงานและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ 2. การลงนามพิธีสารเพิ่มเติมฉบับที่ 4 ภายใต้พิธีสารระหว่างไทยกับเปรูเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2565 ระหว่างผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ พณ. (นายสรรเสริญ สมะลาภา) และรัฐมนตรีช่วยว่าการด้านการค้าต่างประเทศของกระทรวงการค้าต่างประเทศและการท่องเที่ยวเปรู เพื่อปรับปรุงและอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างกัน โดยมีการยอมรับหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ลงนามและประทับตราด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ การยกเลิกข้อกำหนดให้การขนส่งสินค้าผ่านประเทศนอกภาคีต้องเป็นไปตามเหตุผลด้านภูมิศาสตร์ และการเพิ่มเติมข้อบทให้รองรับการจัดทำหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ในอนาคต ซึ่งการลงนามดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยและเปรูสามารถค้าขายได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้นและช่วยสนับสนุนการบูรณาการทางเศรษฐกิจภายในเอเปค 3. การจัดงานเสวนานานาชาติ APEC BCG Symposium 2022 และนิทรรศการเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว [Bio Circular Green (BCG) Economy] เพื่อส่งเสริมให้ MSMEs นำโมเดลเศรษฐกิจ BCG ไปปรับใช้ในการขับเคลื่อนธุรกิจและเพิ่มมูลค่าสินค้าอย่างยั่งยืน โดยผู้เข้าร่วมการเสวนาฯ จากเขตเศรษฐกิจที่มีนโยบายสอดรับกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลนโยบายที่สอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG ของไทย เช่น นโยบายกลยุทธ์พลังงานสีเขียวของญี่ปุ่นและโครงการยุทธศาสตร์ เศรษฐกิจหมุนเวียนของสาธารณรัฐชิลี รวมทั้งมีการนำเสนอตัวอย่างสินค้าที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG จากนักธุรกิจไทยและเขตเศรษฐกิจ 4. การสัมมนาการขับเคลื่อนการจัดทำ FTAAP ในช่วงโควิด-19 และอนาคต เพื่อให้ทุกภาคส่วนรับทราบและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการจัดทำ FTAAP และความตกลงการค้าเสรีในยุคหลังโควิด-19 รวมทั้งประเด็นการค้าใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปจากความตกลงการค้าเสรีในปัจจุบัน โดยมีการแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับการขับเคลื่อน FTAAP ระหว่างวิทยากรจากภาครัฐของเขตเศรษฐกิจต่าง ๆ และภาคเอกชนของไทย ได้แก่ การอำนวยความสะดวกทางการค้าการลงทุน การลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน การแลกเปลี่ยนแรงงานที่จำเป็นระหว่างกัน การสนับสนุนให้มีการผลิตที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน การกำหนดข้อตกลงที่เอื้อต่อธุรกิจ MSMEs และการปฏิรูปเชิงโครงสร้างภายในประเทศหลังวิกฤตเศรษฐกิจ ทั้งนี้ เพื่อให้การขับเคลื่อน FTAAP สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์โลกในปัจจุบันได้ 5. เอกสารผลลัพธ์การประชุม เขตเศรษฐกิจเห็นพ้องกันในทุกประเด็นที่เกี่ยวกับการค้าการลงทุนภายใต้เอเปค ซึ่งสะท้อนความเห็นของเขตเศรษฐกิจ เป้าหมายและกิจกรรมความร่วมมือที่เขตเศรษฐกิจจะผลักดันร่วมกันต่อไป อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเหตุการณ์การเมืองระหว่างประเทศ ที่ประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคจึงไม่สามารถมีฉันทามติรับรองแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ประจำปี 2565 ได้ โดยปรากฏเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังนี้ (1) แถลงการณ์ประธานรัฐมนตรีการค้าเอเปค (2) ภาคผนวก เรื่อง คำนิยามของเอเปคบริการที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ (3) ภาคผนวก เรื่อง หลักการตามความสมัครใจเพื่อส่งเสริมความสอดคล้องกันของใบรับรองการฉีดวัคซีนในภูมิภาคเอเปค และ (4) แถลงการณ์ประธานรัฐมนตรีการค้าเอเปค เรื่องการจัดทำเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก ในช่วงโควิด-19 และอนาคต ทั้งนี้ มีการปรับเปลี่ยนหรือระบุเพิ่มเติมที่สำคัญในเอกสารผลลัพธ์โดยไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 และเป็นประโยชน์ต่อไทยเนื่องจากทำให้มีดุลพินิจในการกำหนดนโยบายมากขึ้น รวมถึงสามารถสะท้อนหัวข้อหลักและสนับสนุนการขับเคลื่อนผลลัพธ์ในการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย ??????????????????_________________________________ - 1การประชุม MC12 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 - 15 มิถุนายน 2565 ซึ่งการประชุมดังกล่าวมีกำหนดจัดขึ้นเป็นประจำทุก 2 ปี เพื่อใช้ในการตัตสินใจในประเด็นสำคัญและกำหนดทิศทางการทำงานของ WTO ในอนาคต - 2วิสัยทัศน์ปุตราจายา ค.ศ. 2040 เป็นการกำหนดทิศทางความร่วมมือของเอเปคในอีก 20 ปีข้างหน้า เพื่อนำไปสู่ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่เปิดกว้าง มีพลวัต พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงและมีสันติภาพ ภายใน ค.ศ. 2040 24. เรื่อง การร่วมลงนาม รับรอง และให้ความเห็นชอบเอกสาร รวมถึงท่าทีในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Minister: AEM) ครั้งที่ 54 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารในข้อ 1 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำในร่างเอกสารดังกล่าว ที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก 2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมลงนามเอกสารในข้อ 1.1 และรับรองเอกสารในข้อ 1.2 และให้ความเห็นชอบเอกสารในข้อ 1.3 ในฐานะรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน 3. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายลงนามในร่างพิธีสารเพื่อแก้ไขความตกลงว่าด้วยการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดาของอาเซียน (ตามเอกสาร 1.1) และแจ้งต่อสำนักเลขาธิการอาเซียนว่าไทยพร้อมที่จะให้ร่างพิธีสารฯ มีผลผูกพันต่อไปภายหลังจากที่ประเทศสมาชิกลงนามครบทุกประเทศแล้วและกระทรวงพาณิชย์ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการปฏิบัติตามพันธกรณีที่กำหนดในร่างพิธีสารฯ แล้ว 4. ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในฐานะคณะรัฐมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้การรับรองเอกสารในข้อ 1.3.3 ต่อไป 5. เห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมประกาศการสรุปผลการเจรจายกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (AANZFTA) อย่างมีนัยสำคัญ และการจัดตั้งคณะกรรมการร่วม (JC) ภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน-อินเดีย สาระสำคัญของร่างเอกสาร 1. ร่างเอกสารที่จะมีการลงนาม รับรอง และให้ความเห็นชอบ กระทรวงพาณิชย์ขอเสนอเอกสาร จำนวน 12 ฉบับ ที่จะมีการลงนาม จำนวน 1 ฉบับ รับรอง จำนวน 1 ฉบับ และให้ความเห็นชอบ จำนวน 10 ฉบับ ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 54 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ ดังนี้ 1.1 ร่างเอกสารที่จะมีการลงนาม คือ ร่างพิธีสารเพื่อแก้ไขความตกลงว่าด้วยการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดาของอาเซียน (Protocol to Amend the ASEAN Agreement on the Movement of Natural Persons) เป็นการปรับปรุงตารางข้อผูกพันการเปิดตลาดการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดาให้อยู่ในรูปแบบเดียวกันของทุกประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่ออำนวยความสะดวกผู้ให้บริการและนักลงทุนอาเซียนในการเข้าถึงข้อมูลการเปิดตลาดฯ โดยมิได้มีการเปิดตลาดเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของข้อผูกพันใด ๆ ที่ประเทศสมาชิกอาเซียนผูกพันไว้ในความตกลงว่าด้วยการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดาของอาเซียน ที่อาเซียนลงนามเมื่อปี พ.ศ. 2555 1.2 ร่างเอกสารที่จะให้การรับรอง คือ ร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังโควิด ของการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-จีน ครั้งที่ 21 (The Twenty-First AEM-MOFCOM Consultation Joint Statement on Cooperation for Post-COVID Economic Recovery) เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ระหว่างอาเซียนกับจีนในการเสริมสร้างความร่วมมือในการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผ่านการดำเนินมาตรการ 5 ด้าน ได้แก่ (1) การพัฒนาความสอดคล้องของแผนยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาของอาเซียนกับจีน (2) การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคในเชิงลึก (3) การเสริมสร้างความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน (4) การสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคี และ (5) การเสริมสร้างความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทาน 1.3 ร่างเอกสารที่จะให้ความเห็นชอบ จำนวน 10 ฉบับ ดังนี้ 1.3.1 ร่างบัญชีกฎเฉพาะรายสินค้าและบัญชีรายการสินค้าสิ่งทอ ภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน ในระบบพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์อาเซียน ฉบับปี 2022 (The Transposed ATIGA Product Specific Rules (PSRs) and its Attachment of Textile Single List in AHTN 2022) - อาเซียนได้ดำเนินการปรับโอนพิกัดศุลกากรของบัญชีกฎเฉพาะรายสินค้า และบัญชีรายการสินค้าสิ่งทอ ซึ่งเป็นภาคผนวก 3 และเอกสารแนบของภาคผนวก 3 ภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน จากระบบพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์อาเซียน ฉบับปี 2017 เป็นฉบับปี 2022 ตามการปรับโอนพิกัดฯ ขององค์การศุลกากรโลก ทำให้มีสินค้าที่ใช้กฎเฉพาะรายสินค้า รวมทั้งสิ้น 2,868 รายการ ซึ่งการปรับโอนพิกัดฯ ดังกล่าว เป็นการดำเนินการเป็นประจำทุก ๆ 5 ปี และเป็นการดำเนินการทางเทคนิคซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อพันธกรณีที่ไทยผูกพันไว้เดิม 1.3.2 ร่างบัญชีรายการสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ ภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน ในระบบพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์อาเซียน ฉบับปี 2022 (The Transposed ATIGA List of Information Technology Agreement (ITA) Products in AHTN 2022) - อาเซียนได้ดำเนินการปรับโอนพิกัดศุลกากรของบัญชีรายการสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นภาคผนวก 4 ภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน จากระบบพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์อาเซียน ฉบับปี 2017 เป็นฉบับปี 2022 รวมทั้งสิ้น 457 รายการ ซึ่งการปรับโอนพิกัดฯ ดังกล่าว เป็นการดำเนินการทางเทคนิคซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อพันธกรณีที่ไทยผูกพันไว้เดิม 1.3.3 ร่างแผนดำเนินงานตามกรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปี ค.ศ. 2023-2030 (Implementation Plan for the Framework for Circular Economy for the ASEAN Economic Community 2023-2030) - เป็นแผนดำเนินงานภายใต้กรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนฯ โดยกำหนดขอบเขตงานและกิจกรรมความร่วมมือ อาทิ การจัดทำบัญชีสินค้าและบริการหมุนเวียน การจัดตั้งกลไกติดตามตรวจสอบเพื่อเพิ่มความโปร่งใสของการเคลื่อนย้ายสินค้าหมุนเวียนตลอดห่วงโซ่มูลค่า และได้กำหนดแผนงานสำหรับอุตสาหกรรมนำร่อง 3 สาขา ได้แก่ การเกษตร พลังงาน และขนส่ง ทั้งนี้ แผนดำเนินงานดังกล่าวมีการกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะสั้น (5 ปี) ระยะกลาง (10 - 15 ปี) และระยะยาว (15 ปีขึ้นไป) 1.3.4 ร่างแผนงานว่าด้วยการขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าอาเซียน-จีน ในเชิงลึก ปี ค.ศ. 2022-2026 (Work Programme on Further Deepening ASEAN-China Trade Economic Cooperation 2022-2026) - เป็นแผนการดำเนินงานระหว่างอาเซียนกับจีน ในช่วงระยะเวลา 5 ปี ประกอบด้วย (1) การขยายความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนอาเซียน-จีน (2) การขยายความร่วมมือในการต่อต้านการระบาดใหญ่ในด้านเศรษฐกิจและการค้า (3) การยกระดับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจอาเซียน-จีน และ (4) การเสริมสร้างความร่วมมือในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) โดยจะมีการติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานเป็นประจำทุกปี รวมทั้งมีการทบทวนการดำเนินงานในระยะกลางและในระยะสุดท้าย 1.3.5 ร่างรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ร่วมกันในการยกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน (Joint Feasibility Study Report to Further Enhance the ASEAN-China Free Trade Area) - เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ร่วมกันระหว่างอาเซียนและจีนในการยกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน ซึ่งประกอบด้วยการเปิดเสรีเพิ่มเติมด้านการค้าสินค้า การเปิดเสรีด้านการลงทุนและการคุ้มครองการลงทุน และความร่วมมือสาขาอื่น ๆ ได้แก่ เศรษฐกิจดิจิทัล เศรษฐกิจสีเขียว การเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทาน การแข่งขันทางการค้า การคุ้มครองผู้บริโภค วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและทางเทคนิค และความร่วมือด้านอื่น ๆ ที่ตกลงกัน ทั้งนี้ หลังจากที่รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-จีน ได้ให้ความเห็นชอบเอกสารดังกล่าวแล้ว จะเสนอผู้นำอาเซียนและจีนประกาศเริ่มการเจรจายกระดับความตกลงฯ ต่อไป 1.3.6 ร่างแผนงานด้านการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป ปี ค.ศ. 2022-2023 (ASEAN-EU Trade and Investment Work Programme 2022-2023) - เป็นแผนการดำเนินงานระหว่างอาเซียนและสหภาพยุโรปในช่วงระยะเวลา 2 ปี เพื่อขยายโอกาสและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ตลอดจนแลกเปลี่ยนความเห็นและแนวปฏิบัติที่ดีในประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน รวมถึงการทำงานร่วมกันเพื่อนำไปสู่ระบบการค้าพหุภาคีและระดับภูมิภาค โดยประกอบด้วยกิจกรรม 5 ส่วน ได้แก่ (1) การหารือระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (2) การหารือระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจ (3) การจัดทำกรอบกำหนดขอบเขตความตกลงการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป (4) การหารือกับภาคเอกชน และ (5) การเสริมสร้างขีดความสามารถและความช่วยเหลือด้านเทคนิค 1.3.7 ร่างแผนงานความร่วมมือด้านเศรษฐกิจอาเซียนบวกสาม ปี ค.ศ. 2023-2024 (ASEAN Plus Three Economic Cooperation Work Programme 2023-2024) - เป็นแผนการดำเนินงานระหว่างสมาชิกอาเซียนบวกสาม ในช่วงระยะเวลา 2 ปี ประกอบด้วยการดำเนินกิจกรรมสำคัญ 12 หัวข้อ ได้แก่ (1) การจัดประชุมระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนบวกสามเพื่อหารือเกี่ยวกับการเพิ่มความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างกัน (2) การจัดประชุมประจำปีของเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจของอาเซียนบวกสาม (3) การส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีอาเซียนกับคู่เจรจา โดยเฉพาะความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน อาเซียน-เกาหลีใต้ และอาเซียน-ญี่ปุ่น (4) การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นด้านการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนบวกสาม (5) การส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (6) การจัดทำวิจัยร่วมกันด้านการค้าและการลงทุน (7) การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (8) การสร้างการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน (9) การอำนวยความสะดวกทางการค้า (10) การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล โดยเฉพาะพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (11) การติดตามการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการอาเซียนบวกสามเพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และ (12) พลังงานทดแทนและเศรษฐกิจสีเขียว 1.3.8 ร่างแผนดำเนินงานระหว่างอาเซียนกับสหราชอาณาจักร เพื่อดำเนินการตามปฏิญญาประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) และสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (สหราชอาณาจักร) (ASEAN-UK Work Plan to Implement the ASEAN-UK Joint Ministerial Declaration on Future Economic Cooperation) - เป็นเอกสารกำหนดแผนการดำเนินงานระหว่างอาเซียนกับสหราชอาณาจักรภายใต้ปฏิญญาฯ ประกอบด้วยสาขาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ 11 ด้าน ได้แก่ (1) การหารือด้านนโยบายระดับสูง (2) การเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานระหว่างอาเซียนกับสหราชอาณาจักร และการรักษาการเปิดตลาด (3) ความเป็นเลิศด้านกฎระเบียบ (4) นวัตกรรมดิจิทัล (5) การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (6) การเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐและเอกชน (7) บริการทางการเงิน (8) การเติบโตอย่างยั่งยืน (9) โครงสร้างพื้นฐาน (10) ทักษะและการศึกษา และ (11) การส่งเสริมบทบาททางเศรษฐกิจของสตรี รวมถึงโครงการที่ได้รับทุน สัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ การสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน และการหารือระหว่างคณะทำงานระหว่างอาเซียนกับสหราชอาณาจักร คณะทำงานรายสาขาหรือองค์กรในเครือข่ายอาเซียน 1.3.9 ร่างแผนดำเนินงานภายใต้กรอบความตกลงด้านการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนกันสหรัฐอเมริกา และการขยายการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ ปี ค.ศ. 2022-2023 (2022-2023 ASEAN-U.S. Trade and Investment Framework Arrangement (TIFA) and Expanded Economic Engagement (E3) Workplan) - เป็นแผนการดำเนินงานระหว่างอาเซียนกับสหรัฐอเมริกา ในช่วงระยะเวลา 2 ปี ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือในด้านต่าง ๆ อาทิ เศรษฐกิจดิจิทัล การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย การอำนวยความสะดวกทางการค้า ทรัพย์สินทางปัญญา แรงงาน ความร่วมมือกฎระเบียบด้านเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตรสิ่งแวดล้อม และแนวทางการจัดทำกฎระเบียบที่ดี 1.3.10 ร่างรายงานการประเมินของคณะค้นหาความจริงเยือนติมอร์-เลสเตของเสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Assessment Report of the ASEAN Economic Community (AEC) Fact-Finding Mission (FFM) to Timor-Leste) ? เป็นรายงานการประเมินเชิงลึกเกี่ยวกับความคืบหน้าการดำเนินงานในด้าน ต่าง ๆ ของติมอร์-เลสเตเพื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียน อาทิ การค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน พลังงาน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนขีดความสามารถด้านทรัพยากรบุคคล ความท้าทายที่ติมอร์-เลสเตกำลังเผชิญ และประเด็นที่ต้องปรับปรุง รวมทั้งข้อเสนอแนะในการดำเนินการต่อไปในส่วนของเสาเศรษฐกิจ 2. การแสดงท่าทีไทยในการประชุมฯ ได้แก่ 2.1 การประกาศสรุปผลการเจรจายกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (AANZFTA) อย่างมีนัยสำคัญ และ 2.2 การประกาศจัดตั้งคณะกรรมการร่วม (JC) ภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน-อินเดีย ทั้งนี้ ร่างเอกสารทั้ง 12 ฉบับภายใต้ข้อ 1 และท่าทีไทยในข้อ 2 มีสาระไม่ก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เข้าข่ายเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 25. เรื่อง ร่างแถลงการณ์การประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2565 และ ร่างแถลงการณ์ประธานการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ.2565 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์การประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจประจำปี พ.ศ. 2565 (Ministerial WEF Statement 2022) และร่างแถลงการณ์ประธานการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2565 (WEF Chair?s Statement 2022) โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดผลประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก รวมทั้งให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พิจารณารับรองร่างแถลงการณ์การประชุมรัฐมนตรี เอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2565 (Ministerial WEF Statement 2022) หรือร่างแถลงการณ์ประธานการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2565 (WEF Chair?s Statement 2022) ในการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022) (APEC Women and the Economy Forum: WEF) ในวันพุธที่ 7 กันยายน 2565 ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม. ) เสนอ สาระสำคัญ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ขอสรุปสาระสำคัญของร่างแถลงการณ์การประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2565 (Ministerial WEF Statement 2022) และร่างแถลงการณ์ประธานการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2565 (WEF Chair?s Statement 2022) ดังนี้ 1. ร่างแถลงการณ์การประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2565 (Ministerial WEF Statement 2022) เช่น 1) การฟื้นฟูทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกันอย่างมีความครอบคลุม สมดุล และยั่งยืน 2) การเน้นย้ำความมุ่งมั่นในการผลักดันความก้าวหน้าในด้านความเสมอภาคระหว่างเพศ การเสริมพลังสตรี และระบบเศรษฐกิจที่มีความครอบคลุม ยั่งยืน สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ปุตราจายา 2040 ของเอเปค และแผนปฏิบัติการอาทีโอรา ปณิธานที่จะประสบความสำเร็จในการเป็นสังคมเอเชีย-แปซิฟิกที่เปิดกว้าง ยืดหยุ่น มีพลัง และสงบสุข ในปี 2040 เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของทุกคนและคนรุ่นต่อไปการตระหนักถึงสันติภาพและความมั่นคงซึ่งเป็นสิ่งที่พึงมีสำหรับความเป็นอยู่ที่ดีและการเสริมพลังทางเศรษฐกิจของสตรี เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสันติภาพ ความมั่นคง และกฎหมายระหว่างประเทศจะถูกยึดถือไว้ในภูมิภาคนี้ 3) การดำเนินการตามแผนลา เซเรนา เพื่อสตรีและการเจริญเติบโตที่ครอบคลุมความพยายามในการเสริมพลังทางเศรษฐกิจของสตรีผ่านการเปิดช่องทางเข้าถึงแหล่งเงินทุนและตลาด ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสตรีในภาคแรงงาน พัฒนาโอกาสในการเข้าถึงความเป็นผู้นำในทุกระดับการตัดสินใจสนับสนุนการให้ความสำคัญกับการเข้าถึงการศึกษาที่ครอบคลุมและมีคุณภาพ การฝึกฝนและพัฒนาทักษะสำหรับเด็กหญิงและสตรี ผลักดันความก้าวหน้าในการเสริมพลังทางเศรษฐกิจของสตรีผ่านการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ผ่านการจำแนกเพศอย่างตรงเวลา เชื่อถือได้ และมีคุณภาพ ฯลฯ 2. ร่างแถลงการณ์ประธานการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2565 (WEF Chair?s Statement 2022) ได้สะท้อนถึงความเห็นของเขตเศรษฐกิจเอเปคที่มีการหารือ ในที่ประชุม เช่น 1) การฟื้นฟูทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกันอย่างมีความครอบคลุม สมดุล และยั่งยืน 2) การเน้นย้ำความมุ่งมั่นในการผลักดันความก้าวหน้าในด้านความเสมอภาคระหว่างเพศ การเสริมพลังสตรี และระบบเศรษฐกิจที่มีความครอบคลุม ยั่งยืน สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ปุตราจายา 2040 ของเอเปค และแผนปฏิบัติการอาทีโอรา ปณิธานที่จะประสบความสำเร็จในการเป็นสังคมเอเชีย-แปซิฟิกที่เปิดกว้าง ยืดหยุ่น มีพลัง และสงบสุข ในปี 2040 เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของทุกคนและคนรุ่นต่อไปการตระหนักถึงสันติภาพและความมั่นคงซึ่งเป็นสิ่งที่พึงมีสำหรับความเป็นอยู่ที่ดีและการเสริมพลังทางเศรษฐกิจของสตรี เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสันติภาพ ความมั่นคง และกฎหมายระหว่างประเทศจะถูกยึดถือไว้ในภูมิภาคนี้ 3) การดำเนินการตามแผนลา เซเรนา เพื่อสตรีและการเจริญเติบโตที่ครอบคลุมความพยายามในการเสริมพลังทางเศรษฐกิจของสตรีผ่านการเปิดช่องทางเข้าถึงแหล่งเงินทุนและตลาด ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสตรีในภาคแรงงาน พัฒนาโอกาสในการเข้าถึงความเป็นผู้นำในทุกระดับการตัดสินใจ สนับสนุนการให้ความสำคัญกับการเข้าถึงการศึกษาที่ครอบคลุมและมีคุณภาพ การฝึกฝนและพัฒนาทักษะสำหรับเด็กหญิงและสตรี ผลักดันความก้าวหน้าในการเสริมพลังทางเศรษฐกิจของสตรีผ่านการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ผ่านการจำแนกเพศอย่างตรงเวลา เชื่อถือได้ และมีคุณภาพ 4) การยินดีกับระบบเศรษฐกิจและสังคมที่มีความยั่งยืน ยืดหยุ่น ผ่านแนวคิดของแถลงการณ์ร่วมด้านสตรีและเศรษฐกิจ ปี 2565 ?การเสริมพลังทางเศรษฐกิจของสตรีผ่านระบบเศรษฐกิจชีวภาพ หมุนเวียน และสีเขียว? โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยในการสร้างมูลค่า ลดของเสีย และส่งเสริมระบบเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นความยั่งยืน การมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ และความเป็นผู้นำของสตรี ฯลฯ 26. เรื่อง การร่วมรับรองเอกสารชุดเครื่องมือการกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการสตรีวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ในระดับชาติ (Strengthening Women?s Entrepreneurship in National MSME Policies and Action Plans) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้การรับรองเอกสารชุดเครื่องมือการกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการสตรีวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ในระดับชาติ (Strengthening Women?s Entrepreneurship in National MSME Policies and Action Plans) ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers Meeting - AEM) ระหว่างวันที่ 5 ? 11 กันยายน 2565 ตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง สสว. ขอเสนอให้ร่วมรับรองเอกสารชุดเครื่องมือการกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการสตรีวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ในระดับชาติ (Strengthening Women?s Entrepreneurship in National MSME Policies and Action Plans)ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers Meeting - AEM) ระหว่างวันที่ 5 ? 11 กันยายน 2565 ซึ่งมีสาระสำคัญโดยสรุป คือ เพื่อการเตรียมกรอบและวิธีการดำเนินงานการบูรณาการนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการสตรีเข้าไว้กับนโยบายและแนวปฏิบัติหลักในการส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (Micro, Small and Medium Enterprise ? MSME) ของประเทศ โครงการนี้จะช่วยให้ผู้กำหนดนโยบาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานหรือกระทรวงที่รับผิดชอบในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาผู้ประกอบการ MSME สามารถประเมินการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการสตรีได้ ผลของการประเมินจะทำให้เกิดข้อมูลเชิงลึกที่จะช่วยในการกำหนดนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการสตรีได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งจะเป็นการสร้างระบบนิเวศในการช่วยเหลือที่เป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการสตรี การใช้ชุดเครื่องมือกำหนดนโยบายนี้ จะสามารถสร้างมาตรฐานในการติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานในระยะยาวได้ และเพื่อส่งเสริมให้สตรีได้เป็นผู้ประกอบการ MSME และเกิดความก้าวหน้าในการเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ นอกจากนี้ การใช้ชุดเครื่องมือกำหนดนโยบายนี้ จะนำไปสู่การพัฒนาการกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงคนทุกเพศ (Gender Responsive) และเปิดโอกาสให้มีการสนับสนุนอย่างเต็มรูปแบบและส่งเสริมการเป็นผู้นำหรือเจ้าของกิจการเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมในเชิงเศรษฐกิจ ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวได้รับการรับรองหลักการจากคณะกรรมการด้านวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยอาเซียน (ASEAN Coordinating Committee on Micro, Small, and Medium Enterprise หรือ ACCMSME) แล้ว แต่งตั้ง 27. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงคมนาคม) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงคมนาคม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้ 1. นายวีรเดช ชีวาพัฒนานุวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญวิชาชีพเฉพาะด้านวิศวกรรมโยธา (ด้านออกแบบทาง) (วิศวกรโยธาเชี่ยวชาญ) สำนักสำรวจและออกแบบ กรมทางหลวงชนบท ดำรงตำแหน่ง วิศวกรใหญ่ที่ปรึกษาวิชาชีพเฉพาะด้านวิศวกรรมโยธา (ด้านสำรวจและออกแบบ) (วิศวกรโยธาทรงคุณวุฒิ) กรมทางหลวงชนบท ตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2565 2. นายอภิชัย ธีระรังสิกุล ผู้อำนวยการสำนักงาน [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (วิศวกรรมโยธา) ระดับสูง] สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 13 กรมทางหลวงชนบท ดำรงตำแหน่ง วิศวกรใหญ่ที่ปรึกษาวิชาชีพเฉพาะ ด้านวิศวกรรมโยธา (ด้านควบคุมการก่อสร้าง) (วิศวกรโยธาทรงคุณวุฒิ) กรมทางหลวงชนบท ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2565 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอแต่งตั้ง นางสมศรี หอกันยา ผู้อำนวยการศูนย์ [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (วิชาการคอมพิวเตอร์) ระดับสูง] ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการสื่อสาร (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กลุ่มที่ปรึกษา สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2565 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอแต่งตั้ง นายอารัญ บุญชัย รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง 30. เรื่อง การโอนข้าราชการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอรับโอน นายธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหารระดับสูง เงินประจำตำแหน่ง 21,000 บาท) สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี มาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (นักบริหารระดับสูง เงินประจำตำแหน่ง 21,000 บาท) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งเกษียณอายุราชการ โดยผู้มีอำนาจสั่งบรรจุทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมการโอนแล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง 31. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอแต่งตั้ง นายวรณัฐ คงเมือง ที่ปรึกษาด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง 32. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง จำนวน 5 ราย ดังนี้ 1. นายทศพล เพ็งส้ม 2. นายธีระทัศน์ เตียวเจริญโสภา 3. นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ 4. นายอภิวัฒน์ ขันทอง 5. นายชื่นชอบ คงอุดม 33. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ รวม 7 คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี ดังนี้ 1. ศาสตราจารย์ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ ประธานกรรมการ 2. นายสุริยะ วงศ์คงคาเทพ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ) 3. รองศาสตราจารย์ชยันต์ ตันติวัสดาการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการเงิน) 4. รองศาสตราจารย์ชโยดม สรรพศรี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการเงิน) 5. รองศาสตราจารย์พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการประเมินผล) 6. รองศาสตราจารย์จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการประเมินผล) 7. นางสาวสุพัตรา ศรีวณิชชากร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2565 เป็นต้นไป 34. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืช คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืช จำนวน 12 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2565 ดังนี้ 1. นายคงรัฐ ก้อนทอง ผู้แทนเกษตรกรภูมิภาคเหนือ 2. นายณรงค์ศักดิ์ กิจบำรุง ผู้แทนเกษตรกรภูมิภาคกลาง 3. นายบุญถม วงศรีเทพ ผู้แทนเกษตรกรภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4. นายไพริน นพกัณฑ์ ผู้แทนเกษตรกรภูมิภาคตะวันออก 5. นายณรงค์ มาลัยทอง ผู้แทนเกษตรกรภูมิภาคตะวันตก 6. นายธีรพงศ์ ตันติเพชราภรณ์ ผู้แทนเกษตรกรภูมิภาคใต้ 7. นางสาวจรีรัตน์ ฉันทวุฒิพร ผู้แทนนักวิชาการด้านปรับปรุงพันธุ์พืช 8. นางสาววิมล พรหมทา ผู้แทนนักวิชาการด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 9. นางกนกพร ดิษฐกระจันทร์ ผู้แทนองค์การพัฒนาเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรที่มีกิจกรรมเกี่ยวกับการเกษตร 10. นายกฤษฎา บุญชัย ผู้แทนองค์การพัฒนาเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรที่มีกิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 11. รองศาสตราจารย์สุรวิช วรรณไกรโรจน์ ผู้แทนสมาคมที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์พืช 12. นางฐะปานี อาตมางกูร ผู้แทนสมาคมที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์พืช ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2565 เป็นต้นไป 35. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ครบวาระการดำรงตำแหน่งแล้ว โดยแต่งตั้งบุคคล จำนวน 4 ราย ดังนี้ 1. พลตำรวจตรี ปิยะพันธ์ ปิงเมือง 2. นายวรวิทย์ สุขบุญ 3. นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ 4. นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป