คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานพิจารณาลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
โดยสาระสำคัญของร่างกฎหมายมีดังนี้
1. ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่ายตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 พ.ศ. 2548
(ร่างข้อ 1)
2. แก้ไขค่ารักษาพยาบาลในเบื้องต้น จากที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 35,000 บาท เป็นไม่เกิน 45,000 บาท (ร่างข้อ 2)
3. แก้ไขค่ารักษาพยาบาลในระดับต่อมาหากค่ารักษาพยาบาลในเบื้องต้นไม่เพียงพอ ในกรณีที่ลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่รุนแรง จากเดิมกำหนดให้จ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มอีกไม่เกิน 50,000 บาท เป็นเพิ่มอีกไม่เกิน 65,000 บาท
(ร่างข้อ 3)
4. เพิ่มค่ารักษาพยาบาลในกรณีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยซึ่งรุนแรงหรือเรื้อรังในกรณีค่ารักษาพยาบาลเกินจำนวน 200,000 บาท ให้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง แต่รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 300,000 บาท โดยให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการการแพทย์พิจารณา และคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนให้ความเห็นชอบ (ร่างข้อ 5)
5. แก้ไขอัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าห้อง ค่าอาหาร จากเดิมกำหนดให้จ่ายได้เท่าที่ได้จ่ายจริงไม่เกินวันละ 700 บาท แก้ไขเป็นค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาล และค่าบริการทั่วไป ให้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินวันละ 1,300 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 เมษายน 2551--จบ--
โดยสาระสำคัญของร่างกฎหมายมีดังนี้
1. ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่ายตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 พ.ศ. 2548
(ร่างข้อ 1)
2. แก้ไขค่ารักษาพยาบาลในเบื้องต้น จากที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 35,000 บาท เป็นไม่เกิน 45,000 บาท (ร่างข้อ 2)
3. แก้ไขค่ารักษาพยาบาลในระดับต่อมาหากค่ารักษาพยาบาลในเบื้องต้นไม่เพียงพอ ในกรณีที่ลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่รุนแรง จากเดิมกำหนดให้จ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มอีกไม่เกิน 50,000 บาท เป็นเพิ่มอีกไม่เกิน 65,000 บาท
(ร่างข้อ 3)
4. เพิ่มค่ารักษาพยาบาลในกรณีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยซึ่งรุนแรงหรือเรื้อรังในกรณีค่ารักษาพยาบาลเกินจำนวน 200,000 บาท ให้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง แต่รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 300,000 บาท โดยให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการการแพทย์พิจารณา และคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนให้ความเห็นชอบ (ร่างข้อ 5)
5. แก้ไขอัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าห้อง ค่าอาหาร จากเดิมกำหนดให้จ่ายได้เท่าที่ได้จ่ายจริงไม่เกินวันละ 700 บาท แก้ไขเป็นค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาล และค่าบริการทั่วไป ให้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินวันละ 1,300 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 เมษายน 2551--จบ--