เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้หินเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. ....
(การเปิดตลาดหินอ่อนและหินแกรนิตตามพันธกรณี AFTA และ WTO)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้หินเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. .... (การเปิดตลาดหินอ่อนและหินแกรนิตตามพันธกรณี AFTA และ WTO) ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงพาณิชย์เสนอว่า สินค้าหินเป็นสินค้าควบคุมการนำเข้าของกระทรวงพาณิชย์ตามพระราชกฤษฎีกาควบคุมการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2496 ซึ่งการนำเข้าจะต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ก่อน จึงจะสามารถนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้ โดยมีรายละเอียดประเภทหินที่อยู่ในข่ายควบคุม ดังนี้
1. หินอ่อน หินแกรนิตที่ตกแต่งแล้ว และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากหินดังกล่าวเป็นสินค้าควบคุมการนำเข้าตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ (ฉบับที่ 86) พ.ศ. 2521 ลงวันที่ 31 มกราคม 2521
2. หินที่ยังไม่ได้ตกแต่งหรือหินก้อน (Block) เป็นสินค้าควบคุมการนำเข้าตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2525) ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2525 ยกเว้นหินที่มีขนาดกว้าง ยาว และสูงไม่น้อยกว่าด้านละ 50 เซนติเมตร ไม่ต้องขออนุญาตนำเข้า หากเป็นผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้ถือประทานบัตรหินอ่อนหรือหินประดับ หรือเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแปรรูปหินอ่อน ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 142 (พ.ศ. 2546) ลงวันที่ 15 มกราคม 2546
ประเทศไทยมีข้อผูกพันที่ต้องเปิดตลาดหิน ตามความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และพันธกรณี องค์การการค้าโลก (WTO) ตั้งแต่ปี 2538 แต่ได้ชะลอการเปิดตลาดไว้เพื่อให้อุตสาหกรรมการผลิตหินอ่อน หินแกรนิตในประเทศมีเวลาปรับตัวให้สามารถแข่งขันกับหินที่นำเข้าจากต่างประเทศได้ และในช่วงปีที่ผ่านมาประเทศสมาชิกอาเซียนและ WTO บางประเทศ กระตุ้นให้ประเทศไทยเปิดตลาดหิน มิฉะนั้นอาจดำเนินการตอบโต้ประเทศไทยที่ไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ได้มีการประชุมหารือกับสมาคมหินอ่อนและแกรนิตไทยและกลุ่มอุตสาหกรรมแกรนิตและหินอ่อน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและหน่วยงานภาครัฐ เพื่อพิจารณาแนวทางและกรอบระยะเวลาการยกเลิกมาตรการขอใบอนุญาตนำเข้าหิน (Import Licensing) มาเป็นระยะและได้ข้อยุติแนวทางและกรอบการยกเลิกมาตรการขอใบอนุญาตนำเข้า จึงได้เสนอร่างประกาศดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ โดยมีสาระสำคัญของร่างประกาศดังนี้
1. ยกเลิกมาตรการขอใบอนุญาตนำเข้า
1.1 วัตถุดิบหินอ่อน/หินอ่อนก้อน (Block) ภายใต้พิกัดศุลกากรอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 2515.12.10 ที่มีรูปทรงเป็นแท่งตันมีขนาดและด้านไม่น้อยกว่าด้านละ 50 เซนติเมตร
1.2 หินวัดระดับและหินแกะสลักอื่น ๆ ภายใต้พิกัดศุลกากรอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 6802.91.00, 6802.92.00, 6802.93.00 และ 6802.99.00
2. ยังคงมาตรการขอใบอนุญาตนำเข้าต่อไปอีกระยะหนึ่ง สำหรับวัตถุดิบหินอ่อน/หินอ่อนก้อน (Block) ภายใต้พิกัดศุลกากรประเภทที่ 2515.12.10 ที่มีรูปทรงเป็นแท่งตัน มีขนาดและด้านน้อยกว่าด้านละ 50 เซนติเมตร และหินอ่อน/หินแกรนิตสำเร็จรูปอื่น ๆ ภายใต้พิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 6802.21.00,6802.23.00,6802.29.00 ทั้งนี้ เพื่อช่วยเหลือ อุตสาหกรรมภายในประเทศซึ่งยังไม่สามารถแข่งขันได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 เมษายน 2551--จบ--
(การเปิดตลาดหินอ่อนและหินแกรนิตตามพันธกรณี AFTA และ WTO)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้หินเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. .... (การเปิดตลาดหินอ่อนและหินแกรนิตตามพันธกรณี AFTA และ WTO) ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงพาณิชย์เสนอว่า สินค้าหินเป็นสินค้าควบคุมการนำเข้าของกระทรวงพาณิชย์ตามพระราชกฤษฎีกาควบคุมการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2496 ซึ่งการนำเข้าจะต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ก่อน จึงจะสามารถนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้ โดยมีรายละเอียดประเภทหินที่อยู่ในข่ายควบคุม ดังนี้
1. หินอ่อน หินแกรนิตที่ตกแต่งแล้ว และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากหินดังกล่าวเป็นสินค้าควบคุมการนำเข้าตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ (ฉบับที่ 86) พ.ศ. 2521 ลงวันที่ 31 มกราคม 2521
2. หินที่ยังไม่ได้ตกแต่งหรือหินก้อน (Block) เป็นสินค้าควบคุมการนำเข้าตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2525) ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2525 ยกเว้นหินที่มีขนาดกว้าง ยาว และสูงไม่น้อยกว่าด้านละ 50 เซนติเมตร ไม่ต้องขออนุญาตนำเข้า หากเป็นผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้ถือประทานบัตรหินอ่อนหรือหินประดับ หรือเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแปรรูปหินอ่อน ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 142 (พ.ศ. 2546) ลงวันที่ 15 มกราคม 2546
ประเทศไทยมีข้อผูกพันที่ต้องเปิดตลาดหิน ตามความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และพันธกรณี องค์การการค้าโลก (WTO) ตั้งแต่ปี 2538 แต่ได้ชะลอการเปิดตลาดไว้เพื่อให้อุตสาหกรรมการผลิตหินอ่อน หินแกรนิตในประเทศมีเวลาปรับตัวให้สามารถแข่งขันกับหินที่นำเข้าจากต่างประเทศได้ และในช่วงปีที่ผ่านมาประเทศสมาชิกอาเซียนและ WTO บางประเทศ กระตุ้นให้ประเทศไทยเปิดตลาดหิน มิฉะนั้นอาจดำเนินการตอบโต้ประเทศไทยที่ไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ได้มีการประชุมหารือกับสมาคมหินอ่อนและแกรนิตไทยและกลุ่มอุตสาหกรรมแกรนิตและหินอ่อน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและหน่วยงานภาครัฐ เพื่อพิจารณาแนวทางและกรอบระยะเวลาการยกเลิกมาตรการขอใบอนุญาตนำเข้าหิน (Import Licensing) มาเป็นระยะและได้ข้อยุติแนวทางและกรอบการยกเลิกมาตรการขอใบอนุญาตนำเข้า จึงได้เสนอร่างประกาศดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ โดยมีสาระสำคัญของร่างประกาศดังนี้
1. ยกเลิกมาตรการขอใบอนุญาตนำเข้า
1.1 วัตถุดิบหินอ่อน/หินอ่อนก้อน (Block) ภายใต้พิกัดศุลกากรอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 2515.12.10 ที่มีรูปทรงเป็นแท่งตันมีขนาดและด้านไม่น้อยกว่าด้านละ 50 เซนติเมตร
1.2 หินวัดระดับและหินแกะสลักอื่น ๆ ภายใต้พิกัดศุลกากรอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 6802.91.00, 6802.92.00, 6802.93.00 และ 6802.99.00
2. ยังคงมาตรการขอใบอนุญาตนำเข้าต่อไปอีกระยะหนึ่ง สำหรับวัตถุดิบหินอ่อน/หินอ่อนก้อน (Block) ภายใต้พิกัดศุลกากรประเภทที่ 2515.12.10 ที่มีรูปทรงเป็นแท่งตัน มีขนาดและด้านน้อยกว่าด้านละ 50 เซนติเมตร และหินอ่อน/หินแกรนิตสำเร็จรูปอื่น ๆ ภายใต้พิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 6802.21.00,6802.23.00,6802.29.00 ทั้งนี้ เพื่อช่วยเหลือ อุตสาหกรรมภายในประเทศซึ่งยังไม่สามารถแข่งขันได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 เมษายน 2551--จบ--