คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูแล้งปี 2551 ช่วงวันที่ 25-31
มีนาคม 2551 ประกอบด้วย สถานการณ์น้ำ ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ผลกระทบด้านการเกษตร และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร สรุปได้
ดังนี้
สถานการณ์น้ำ
1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ (31 มีนาคม 2551) มีปริมาณน้ำในอ่างฯทั้งหมด 45,194 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิด
เป็นร้อยละ 66 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 21,881 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 48 ความจุน้ำใช้การได้)
น้อยกว่าปี 2550 (50,081 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 4,887 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น ร้อยละ 7 ปริมาณน้ำลดลงจากสัปดาห์ก่อน 1,081
ล้านลูกบาศก์เมตร
เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 7,609 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 57 ของความจุอ่างฯ คิดเป็นปริมาณน้ำใช้
การได้ 3,809 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 39 ของความจุใช้การได้ ไม่มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ และปริมาณน้ำระบายวันนี้ 36.22 ล้าน
ลูกบาศก์เมตร (ปี 2550 มีปริมาตรน้ำในอ่าง 9,696 ล้านลูกบาศก์เมตร) ปริมาตรน้ำในอ่างฯลดลงจากสัปดาห์ก่อน 278 ล้านลูกบาศก์เมตร
เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 4,940 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น ร้อยละ 52 ของความจุอ่างฯ คิดเป็น
ปริมาณน้ำใช้การได้ 2,054 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 31 ของความจุใช้การได้ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ 8 ล้านลูกบาศก์เมตร และปริมาณน้ำ
ระบายวันนี้ 22.06 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปี 2550 มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 6,524 ล้านลูกบาศก์เมตร ) ปริมาตรน้ำลดลงจากสัปดาห์ก่อน 158 ล้าน
ลูกบาศก์เมตร โดยมีปริมาตรน้ำใช้การรวมกันทั้งสองอ่างในปี 2551 จำนวน 5,863 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลลง ทั้งสองอ่างฯ 8 ล้าน
ลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำระบายรวมกันทั้งสองอ่างฯ วันนี้ 58.28 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งสองรวมกันลดลงจากสัปดาห์ก่อน 472
ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 40 ของความจุอ่างฯ จำนวน 9 อ่างฯ ได้แก่
อ่างเก็บน้ำ จังหวัด ปริมาตรน้ำ ปริมาณน้ำ คาดว่าสิ้นเดือน พ.ค.2551
(ล้าน ลบ.ม.) ใช้การได้ จะมีปริมาตรน้ำใช้การได้
(ล้าน ลบ.ม.) คงเหลือ
(ล้าน ลบ.ม.)
1) แม่กวง เชียงใหม่ 56 (21%) 42 (17%) 48 (19%)
2) กิ่วลม ลำปาง 39 (35%) 35 (32%) 51 (47%)
3) ลำปาว กาฬสินธุ์ 521 (36%) 436 (32%) 402 (30%)
4) ลำตะคอง นครราชสีมา 122 (39%) 95 (33%) 60 (21%)
5) ลำนางรอง บุรีรัมย์ 38 (32%) 35 (30%) ปัจจุบันยังไม่มีการใช้น้ำจาก
อ่างลำนางรอง โดยวางแผน
การใช้น้ำจากอ่างคลองมะนาว
มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 1.51
ล้าน ลบ.ม. (53%)
คาดว่าสิ้นเดือนพ.ค. 2551
จะมีปริมาตรน้ำเหลือในอ่างฯ
คลองมะนาว 1.7 ล้าน ลบ.ม.
6) ป่าสักชลสิทธิ์ ลพบุรี 330 (34%) 327 (34%) 261 (27%)
7) น้ำทับเสลา อุทัยธานี 56 (35%) 48 (32%) 48 (32%)
8) คลองสียัด ฉะเชิงเทรา 124 (30%) 94 (24%) 66 (17%)
9) บางพระ ชลบุรี 43 (36%) 28 (27%) 26 (25%)
สถานการณ์น้ำของอ่างเก็บน้ำ ภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง
จังหวัดชลบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำ 7 แห่ง รวมกัน ปัจจุบัน มีปริมาตรน้ำ 69.58 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 39
(คิดเป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 48 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 31 ของความจุใช้การได้) ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำบางพระ 42.66 ล้าน
ลูกบาศก์เมตร หนองค้อ 6.35 ล้านลูกบาศก์เมตร มาบประชัน 7.70 ล้านลูกบาศก์เมตร หนองกลางดง 4.96 ล้านลูกบาศก์เมตร ชากนอก
3.01 ล้านลูกบาศก์เมตร ห้วยขุนจิต 2.84 ล้านลูกบาศก์เมตร ห้วยสะพาน 2.06 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้ง 7 แห่งลดลงจาก
สัปดาห์ก่อน 1.986 ล้านลูกบาศก์เมตร คาดว่าเมื่อถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2551 จะมีปริมาตรน้ำใช้การได้คงเหลือ จำนวน 45 ล้านลูกบาศก์เมตร
( 28 % ของความจุใช้การได้ทั้งหมด)
จังหวัดระยอง ลุ่มน้ำระยอง และ ลุ่มน้ำประแสร์ มีปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำ 4 แห่ง รวมกัน ปัจจุบัน มีปริมาตรน้ำ 301.26 ล้าน
ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 58 ( คิดเป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 272 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 55 ของความจุใช้การได้) ประกอบด้วย
อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล 87.40 ล้านลูกบาศก์เมตร ดอกกราย 26.64 ล้านลูกบาศก์เมตร และ คลองใหญ่ 16.72 ล้านลูกบาศก์เมตร และ ประ
แสร์ 171 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้ง 4 แห่งลดลงจากสัปดาห์ก่อน 10.28 ล้านลูกบาศก์เมตร คาดว่าเมื่อสิ้นเดือนพฤษภาคม
2551 จะมีปริมาตรน้ำใช้การได้ คงเหลือ จำนวน 125 ล้านลูกบาศก์เมตร( 25 % ของความจุใช้การได้ทั้งหมด)
2. สภาพน้ำท่า
แม่น้ำปิง สถานี P.7A ที่สะพานบ้านห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น และ
สถานี P.17 บ้านท่างิ้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำวัง สถานี W.4A บ้านวังหมัน อำเภอสามเงา จังหวัดตาก กำแพงเพชร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มทรงตัว
แม่น้ำยม สถานี Y.1C สะพานบ้านน้ำโค้ง อำเภอ เมือง จังหวัดแพร่ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย แนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานี Y.4
สะพานตลาดธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย แนวโน้มลดลง สถานี Y.17 บ้านสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดสุโขทัย
ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำน่าน สถานี N.5A สะพาน เอกาทศรถ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง สถานี N.67
สะพานบ้านเกยไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มทรงตัว
แม่น้ำเจ้าพระยา สัปดาห์ที่ผ่านมีปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) 398-435 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ปัจจุบันปริมาณน้ำ
ไหลผ่าน 435 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา (C.13) 45 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีโดยมีระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา
+15.41 เมตร.(รทก.) ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา + 5.98 เมตร.(รทก.) เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ สัปดาห์ที่ผ่านปริมาณน้ำการระบาย 45-79 ลูกบาศก์
เมตรต่อวินาที ปัจจุบันปริมาณน้ำการระบาย 79 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เขื่อนพระรามหก ปริมาณน้ำไหลผ่าน 4 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำอยู่ใน
เกณฑ์ปกติ
3. คุณภาพน้ำ
แม่น้ำ จุดเฝ้าระวัง ความเค็ม วันที่ เกณฑ์
(กรัม/ลิตร) ตรวจวัด
เจ้าพระยา ท่าน้ำจังหวัดนนทบุรี 0.34 29 มีนาคม 2551
น้ำสำหรับการเกษตร
ท่าจีน ที่ว่าการอำเภอสามพราน 0.14 29 มีนาคม 2551 และ อุปโภค-บริโภค
จังหวัดนครปฐม ไม่เกิน 2 กรัม/ลิตร
แม่กลอง ปากคลองดำเนินสะดวก 0.44 22 มีนาคม 2551
จังหวัดราชบุรี
การเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง
ผลการเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้งทั้งประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 — 24 มีนาคม 2551 มีพื้นที่ปลูกรวม จำนวน 17.57 ล้าน
ไร่ (เกินกว่าพื้นที่คาดการณ์ 13%) แยกเป็น ข้าวนาปรัง จำนวน 11.26 ล้านไร่ (เกินกว่าพื้นที่คาดการณ์ 12%) และพืชไร่-ผัก จำนวน 2.42
ล้านไร่ (86%ของพื้นที่คาดการณ์) และอื่นๆ จำนวน 3.89 ล้านไร่ (เกินกว่าพื้นที่คาดการณ์ 12%) รายละเอียดดังนี้
เขตเพาะปลูก ข้าวนาปรัง พืชไร่-พืชผัก อื่นๆ รวม
คาดการณ์ ผล คาดการณ์ ผล คาดการณ์ ผล คาดการณ์ ผล
ในเขตชลประทาน 7.53 8.68 0.9 0.74 3.47 3.89 11.9 13.31
นอกเขตชลประทาน 2.5 2.58 1.9 1.68 - - 4.4 4.26
รวม 10.03 11.26 2.8 2.42 3.47 3.89 16.3 17.57
หมายเหตุ : อื่นๆ หมายถึง อ้อย ไม้ผล ไม้ยืนต้น บ่อปลา บ่อกุ้ง และพืชอื่นๆ
ผลกระทบด้านการเกษตร ช่วงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 - 28 มีนาคม 2551
1. ด้านพืช พื้นที่ประสบภัย จำนวน 7 จังหวัด 10 อำเภอ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ชัยนาท นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว และ
กาญจนบุรี เกษตรกรประสบภัย จำนวน 12,452 ราย พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย 141,932 ไร่ แยกเป็น ข้าว 120,466 ไร่ พืชไร่
21,354 ไร่ และพืชสวน 112 ไร่
2. ด้านปศุสัตว์ พื้นที่ประสบภัย จำนวน 2 จังหวัดได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ และสุโขทัย เกษตรกรประสบภัย จำนวน 160 ราย สัตว์ได้
รับผลกระทบ 3,001 ตัว แยกเป็นโค 1,918 ตัว และ แพะ 1,083 ตัว
การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร
1. การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำและรถบรรทุกน้ำ
สนับสนุนเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือ ด้านอุปโภคบริโภค และ การปลูกพืชฤดูแล้งในเขตชลประทาน ทั้งประเทศ ปี 2550/2551 แล้ว
58 จังหวัด จำนวน 805 เครื่อง โดยแยกเป็น ภาคเหนือ 15 จังหวัด จำนวน 219 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 จังหวัด จำนวน 303
เครื่อง ภาคกลาง 11 จังหวัด จำนวน 128 เครื่อง ภาคตะวันออก 6 จังหวัด จำนวน 64 เครื่อง ภาคตะวันตก 3 จังหวัด จำนวน 46 เครื่อง
และภาคใต้ 5 จังหวัด จำนวน 45 เครื่อง
สนับสนุนรถบรรทุกน้ำช่วยเหลือแล้ว จำนวน 32 คัน เป็นการช่วยเหลือเพื่ออุปโภคบริโภค 1 จังหวัด คือ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน
10 คัน คิดเป็นปริมาณน้ำทั้งหมด 19.72 ล้านลิตร เป็นการช่วยเหลือสวนผลไม้ในภาคตะวันออก 4 จังหวัด จำนวน 22 คัน ได้แก่ จังหวัด
ฉะเชิงเทรา 2 คัน จันทบุรี 14 คัน นครนายก 1 คัน และตราด 5 คัน
2. การสนับสนุนเสบียงสัตว์และดูแลสุขภาพสัตว์ สนับสนุนเสบียงสัตว์ 36,520 กิโลกรัม และดูแลสุขภาพสัตว์ 300 ตัว
3. การปฏิบัติการฝนหลวง ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 27 มีนาคม 2551 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง
เริ่มปฏิบัติแล้ว จำนวน 7 ศูนย์ (7 หน่วยปฏิบัติการ) ได้แก่ ภาคเหนือตอนบน หน่วยฯเชียงใหม่ ภาคเหนือตอนล่าง หน่วยฯ พิษณุโลก ภาคกลาง
หน่วยฯนครสวรรค์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง หน่วยฯนครราชสีมา ภาคตะวันออก หน่วยฯระยอง ภาคใต้ตอนบน หน่วยฯหัวหิน และภาคใต้ตอน
ล่าง หน่วยฯสุราษฎร์ธานี เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร เพิ่มความชุ่มชื่นให้กับป่าไม้ในภาคต่างๆ รวมทั้งเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาตรน้ำ
น้อย(ต่ำกว่า 30% ของความจุอ่างฯ) คือ อ่างเก็บน้ำแม่กวง จังหวัดเชียงใหม่ และการบรรเทาปัญหามลภาวะในภาคเหนือ
ผลการปฏิบัติการฝนหลวง ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ —27 มีนาคม 2551 ขึ้นบินปฏิบัติการรวม จำนวน 51 วัน 831 เที่ยวบิน มีฝนตก
รวม วัดปริมาณน้ำฝนได้ 327 สถานี ปริมาณน้ำฝน 0.1-98.3 มิลลิเมตรในพื้นที่ 55 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปาง
แม่ฮ่องสอน ตาก ลำพูน พิษณุโลก สุโขทัย น่าน กำแพงเพชร พิจิตร แพร่ เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ ชัยนาท ลพบุรี กาญจนบุรี ปทุมธานี
สุพรรณบุรี กรุงเทพฯ นครปฐม สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ระยอง ชลบุรี
ตราด จันทบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช ยะลา นราธิวาส พังงา
ภูเก็ต กระบี่ พัทลุง สงขลา ปัตตานี ระนอง ตรัง สตูล
4. การประชุมเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ภัยแล้งปี 2551
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2551 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดให้มีการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี
2551 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนส่วนราชการต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบสถานการณ์น้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำ แนวโน้มสถานการณ์ และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร รวมทั้งกำหนดแนวทาง
และมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2551 โดยให้ จัดตั้งศูนย์ป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อติดตามสถานการณ์และแจ้งเตือนภัย รับเรื่องราวร้องทุกข์ และการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยอย่างรวด
เร็ว ทันต่อสถานการณ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 เมษายน 2551--จบ--
มีนาคม 2551 ประกอบด้วย สถานการณ์น้ำ ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ผลกระทบด้านการเกษตร และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร สรุปได้
ดังนี้
สถานการณ์น้ำ
1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ (31 มีนาคม 2551) มีปริมาณน้ำในอ่างฯทั้งหมด 45,194 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิด
เป็นร้อยละ 66 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 21,881 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 48 ความจุน้ำใช้การได้)
น้อยกว่าปี 2550 (50,081 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 4,887 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น ร้อยละ 7 ปริมาณน้ำลดลงจากสัปดาห์ก่อน 1,081
ล้านลูกบาศก์เมตร
เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 7,609 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 57 ของความจุอ่างฯ คิดเป็นปริมาณน้ำใช้
การได้ 3,809 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 39 ของความจุใช้การได้ ไม่มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ และปริมาณน้ำระบายวันนี้ 36.22 ล้าน
ลูกบาศก์เมตร (ปี 2550 มีปริมาตรน้ำในอ่าง 9,696 ล้านลูกบาศก์เมตร) ปริมาตรน้ำในอ่างฯลดลงจากสัปดาห์ก่อน 278 ล้านลูกบาศก์เมตร
เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 4,940 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น ร้อยละ 52 ของความจุอ่างฯ คิดเป็น
ปริมาณน้ำใช้การได้ 2,054 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 31 ของความจุใช้การได้ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ 8 ล้านลูกบาศก์เมตร และปริมาณน้ำ
ระบายวันนี้ 22.06 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปี 2550 มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 6,524 ล้านลูกบาศก์เมตร ) ปริมาตรน้ำลดลงจากสัปดาห์ก่อน 158 ล้าน
ลูกบาศก์เมตร โดยมีปริมาตรน้ำใช้การรวมกันทั้งสองอ่างในปี 2551 จำนวน 5,863 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลลง ทั้งสองอ่างฯ 8 ล้าน
ลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำระบายรวมกันทั้งสองอ่างฯ วันนี้ 58.28 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งสองรวมกันลดลงจากสัปดาห์ก่อน 472
ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 40 ของความจุอ่างฯ จำนวน 9 อ่างฯ ได้แก่
อ่างเก็บน้ำ จังหวัด ปริมาตรน้ำ ปริมาณน้ำ คาดว่าสิ้นเดือน พ.ค.2551
(ล้าน ลบ.ม.) ใช้การได้ จะมีปริมาตรน้ำใช้การได้
(ล้าน ลบ.ม.) คงเหลือ
(ล้าน ลบ.ม.)
1) แม่กวง เชียงใหม่ 56 (21%) 42 (17%) 48 (19%)
2) กิ่วลม ลำปาง 39 (35%) 35 (32%) 51 (47%)
3) ลำปาว กาฬสินธุ์ 521 (36%) 436 (32%) 402 (30%)
4) ลำตะคอง นครราชสีมา 122 (39%) 95 (33%) 60 (21%)
5) ลำนางรอง บุรีรัมย์ 38 (32%) 35 (30%) ปัจจุบันยังไม่มีการใช้น้ำจาก
อ่างลำนางรอง โดยวางแผน
การใช้น้ำจากอ่างคลองมะนาว
มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 1.51
ล้าน ลบ.ม. (53%)
คาดว่าสิ้นเดือนพ.ค. 2551
จะมีปริมาตรน้ำเหลือในอ่างฯ
คลองมะนาว 1.7 ล้าน ลบ.ม.
6) ป่าสักชลสิทธิ์ ลพบุรี 330 (34%) 327 (34%) 261 (27%)
7) น้ำทับเสลา อุทัยธานี 56 (35%) 48 (32%) 48 (32%)
8) คลองสียัด ฉะเชิงเทรา 124 (30%) 94 (24%) 66 (17%)
9) บางพระ ชลบุรี 43 (36%) 28 (27%) 26 (25%)
สถานการณ์น้ำของอ่างเก็บน้ำ ภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง
จังหวัดชลบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำ 7 แห่ง รวมกัน ปัจจุบัน มีปริมาตรน้ำ 69.58 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 39
(คิดเป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 48 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 31 ของความจุใช้การได้) ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำบางพระ 42.66 ล้าน
ลูกบาศก์เมตร หนองค้อ 6.35 ล้านลูกบาศก์เมตร มาบประชัน 7.70 ล้านลูกบาศก์เมตร หนองกลางดง 4.96 ล้านลูกบาศก์เมตร ชากนอก
3.01 ล้านลูกบาศก์เมตร ห้วยขุนจิต 2.84 ล้านลูกบาศก์เมตร ห้วยสะพาน 2.06 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้ง 7 แห่งลดลงจาก
สัปดาห์ก่อน 1.986 ล้านลูกบาศก์เมตร คาดว่าเมื่อถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2551 จะมีปริมาตรน้ำใช้การได้คงเหลือ จำนวน 45 ล้านลูกบาศก์เมตร
( 28 % ของความจุใช้การได้ทั้งหมด)
จังหวัดระยอง ลุ่มน้ำระยอง และ ลุ่มน้ำประแสร์ มีปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำ 4 แห่ง รวมกัน ปัจจุบัน มีปริมาตรน้ำ 301.26 ล้าน
ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 58 ( คิดเป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 272 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 55 ของความจุใช้การได้) ประกอบด้วย
อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล 87.40 ล้านลูกบาศก์เมตร ดอกกราย 26.64 ล้านลูกบาศก์เมตร และ คลองใหญ่ 16.72 ล้านลูกบาศก์เมตร และ ประ
แสร์ 171 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้ง 4 แห่งลดลงจากสัปดาห์ก่อน 10.28 ล้านลูกบาศก์เมตร คาดว่าเมื่อสิ้นเดือนพฤษภาคม
2551 จะมีปริมาตรน้ำใช้การได้ คงเหลือ จำนวน 125 ล้านลูกบาศก์เมตร( 25 % ของความจุใช้การได้ทั้งหมด)
2. สภาพน้ำท่า
แม่น้ำปิง สถานี P.7A ที่สะพานบ้านห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น และ
สถานี P.17 บ้านท่างิ้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำวัง สถานี W.4A บ้านวังหมัน อำเภอสามเงา จังหวัดตาก กำแพงเพชร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มทรงตัว
แม่น้ำยม สถานี Y.1C สะพานบ้านน้ำโค้ง อำเภอ เมือง จังหวัดแพร่ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย แนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานี Y.4
สะพานตลาดธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย แนวโน้มลดลง สถานี Y.17 บ้านสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดสุโขทัย
ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำน่าน สถานี N.5A สะพาน เอกาทศรถ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง สถานี N.67
สะพานบ้านเกยไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มทรงตัว
แม่น้ำเจ้าพระยา สัปดาห์ที่ผ่านมีปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) 398-435 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ปัจจุบันปริมาณน้ำ
ไหลผ่าน 435 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา (C.13) 45 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีโดยมีระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา
+15.41 เมตร.(รทก.) ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา + 5.98 เมตร.(รทก.) เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ สัปดาห์ที่ผ่านปริมาณน้ำการระบาย 45-79 ลูกบาศก์
เมตรต่อวินาที ปัจจุบันปริมาณน้ำการระบาย 79 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เขื่อนพระรามหก ปริมาณน้ำไหลผ่าน 4 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำอยู่ใน
เกณฑ์ปกติ
3. คุณภาพน้ำ
แม่น้ำ จุดเฝ้าระวัง ความเค็ม วันที่ เกณฑ์
(กรัม/ลิตร) ตรวจวัด
เจ้าพระยา ท่าน้ำจังหวัดนนทบุรี 0.34 29 มีนาคม 2551
น้ำสำหรับการเกษตร
ท่าจีน ที่ว่าการอำเภอสามพราน 0.14 29 มีนาคม 2551 และ อุปโภค-บริโภค
จังหวัดนครปฐม ไม่เกิน 2 กรัม/ลิตร
แม่กลอง ปากคลองดำเนินสะดวก 0.44 22 มีนาคม 2551
จังหวัดราชบุรี
การเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง
ผลการเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้งทั้งประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 — 24 มีนาคม 2551 มีพื้นที่ปลูกรวม จำนวน 17.57 ล้าน
ไร่ (เกินกว่าพื้นที่คาดการณ์ 13%) แยกเป็น ข้าวนาปรัง จำนวน 11.26 ล้านไร่ (เกินกว่าพื้นที่คาดการณ์ 12%) และพืชไร่-ผัก จำนวน 2.42
ล้านไร่ (86%ของพื้นที่คาดการณ์) และอื่นๆ จำนวน 3.89 ล้านไร่ (เกินกว่าพื้นที่คาดการณ์ 12%) รายละเอียดดังนี้
เขตเพาะปลูก ข้าวนาปรัง พืชไร่-พืชผัก อื่นๆ รวม
คาดการณ์ ผล คาดการณ์ ผล คาดการณ์ ผล คาดการณ์ ผล
ในเขตชลประทาน 7.53 8.68 0.9 0.74 3.47 3.89 11.9 13.31
นอกเขตชลประทาน 2.5 2.58 1.9 1.68 - - 4.4 4.26
รวม 10.03 11.26 2.8 2.42 3.47 3.89 16.3 17.57
หมายเหตุ : อื่นๆ หมายถึง อ้อย ไม้ผล ไม้ยืนต้น บ่อปลา บ่อกุ้ง และพืชอื่นๆ
ผลกระทบด้านการเกษตร ช่วงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 - 28 มีนาคม 2551
1. ด้านพืช พื้นที่ประสบภัย จำนวน 7 จังหวัด 10 อำเภอ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ชัยนาท นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว และ
กาญจนบุรี เกษตรกรประสบภัย จำนวน 12,452 ราย พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย 141,932 ไร่ แยกเป็น ข้าว 120,466 ไร่ พืชไร่
21,354 ไร่ และพืชสวน 112 ไร่
2. ด้านปศุสัตว์ พื้นที่ประสบภัย จำนวน 2 จังหวัดได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ และสุโขทัย เกษตรกรประสบภัย จำนวน 160 ราย สัตว์ได้
รับผลกระทบ 3,001 ตัว แยกเป็นโค 1,918 ตัว และ แพะ 1,083 ตัว
การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร
1. การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำและรถบรรทุกน้ำ
สนับสนุนเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือ ด้านอุปโภคบริโภค และ การปลูกพืชฤดูแล้งในเขตชลประทาน ทั้งประเทศ ปี 2550/2551 แล้ว
58 จังหวัด จำนวน 805 เครื่อง โดยแยกเป็น ภาคเหนือ 15 จังหวัด จำนวน 219 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 จังหวัด จำนวน 303
เครื่อง ภาคกลาง 11 จังหวัด จำนวน 128 เครื่อง ภาคตะวันออก 6 จังหวัด จำนวน 64 เครื่อง ภาคตะวันตก 3 จังหวัด จำนวน 46 เครื่อง
และภาคใต้ 5 จังหวัด จำนวน 45 เครื่อง
สนับสนุนรถบรรทุกน้ำช่วยเหลือแล้ว จำนวน 32 คัน เป็นการช่วยเหลือเพื่ออุปโภคบริโภค 1 จังหวัด คือ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน
10 คัน คิดเป็นปริมาณน้ำทั้งหมด 19.72 ล้านลิตร เป็นการช่วยเหลือสวนผลไม้ในภาคตะวันออก 4 จังหวัด จำนวน 22 คัน ได้แก่ จังหวัด
ฉะเชิงเทรา 2 คัน จันทบุรี 14 คัน นครนายก 1 คัน และตราด 5 คัน
2. การสนับสนุนเสบียงสัตว์และดูแลสุขภาพสัตว์ สนับสนุนเสบียงสัตว์ 36,520 กิโลกรัม และดูแลสุขภาพสัตว์ 300 ตัว
3. การปฏิบัติการฝนหลวง ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 27 มีนาคม 2551 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง
เริ่มปฏิบัติแล้ว จำนวน 7 ศูนย์ (7 หน่วยปฏิบัติการ) ได้แก่ ภาคเหนือตอนบน หน่วยฯเชียงใหม่ ภาคเหนือตอนล่าง หน่วยฯ พิษณุโลก ภาคกลาง
หน่วยฯนครสวรรค์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง หน่วยฯนครราชสีมา ภาคตะวันออก หน่วยฯระยอง ภาคใต้ตอนบน หน่วยฯหัวหิน และภาคใต้ตอน
ล่าง หน่วยฯสุราษฎร์ธานี เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร เพิ่มความชุ่มชื่นให้กับป่าไม้ในภาคต่างๆ รวมทั้งเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาตรน้ำ
น้อย(ต่ำกว่า 30% ของความจุอ่างฯ) คือ อ่างเก็บน้ำแม่กวง จังหวัดเชียงใหม่ และการบรรเทาปัญหามลภาวะในภาคเหนือ
ผลการปฏิบัติการฝนหลวง ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ —27 มีนาคม 2551 ขึ้นบินปฏิบัติการรวม จำนวน 51 วัน 831 เที่ยวบิน มีฝนตก
รวม วัดปริมาณน้ำฝนได้ 327 สถานี ปริมาณน้ำฝน 0.1-98.3 มิลลิเมตรในพื้นที่ 55 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปาง
แม่ฮ่องสอน ตาก ลำพูน พิษณุโลก สุโขทัย น่าน กำแพงเพชร พิจิตร แพร่ เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ ชัยนาท ลพบุรี กาญจนบุรี ปทุมธานี
สุพรรณบุรี กรุงเทพฯ นครปฐม สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ระยอง ชลบุรี
ตราด จันทบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช ยะลา นราธิวาส พังงา
ภูเก็ต กระบี่ พัทลุง สงขลา ปัตตานี ระนอง ตรัง สตูล
4. การประชุมเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ภัยแล้งปี 2551
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2551 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดให้มีการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี
2551 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนส่วนราชการต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบสถานการณ์น้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำ แนวโน้มสถานการณ์ และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร รวมทั้งกำหนดแนวทาง
และมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2551 โดยให้ จัดตั้งศูนย์ป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อติดตามสถานการณ์และแจ้งเตือนภัย รับเรื่องราวร้องทุกข์ และการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยอย่างรวด
เร็ว ทันต่อสถานการณ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 เมษายน 2551--จบ--