คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานกรณีปลาในกระชังตายบริเวณยางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้
ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์ปลาในกระชังตาย บริเวณตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอ่างทอง สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 6 ประมงจังหวัดอ่างทอง ชลประทานจังหวัดอ่างทอง อำเภอป่าโมก องค์การบริหารส่วนตำบลบางเสด็จ และกรมควบคุมมลพิษ ได้ออกสำรวจและตรวจสอบข้อเท็จจริงเหตุการณ์ดังกล่าวในวันที่ 28-30 มีนาคม 2551
ผลการตรวจสอบสภาพปัญหา
จากการตรวจสอบคุณภาพน้ำ พบว่า ค่าออกซิเจนละลายในน้ำในกระชังเลี้ยงปลา มีค่าอยู่ระหว่าง 4-7 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนค่าออกซิเจนในแม่น้ำเจ้าพระยานอกกระชังเลี้ยงปลามีค่าเท่ากับ 6.5 มิลลิกรัมต่อลิตร (มาตรฐานกำหนดให้มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 4.0 มิลลิกรัมต่อลิตร) ค่าความเป็นกรด-ด่าง ในกระชังเลี้ยงปลา มีค่าอยู่ระหว่าง 6-7 และในแม่น้ำเจ้าพระยามีค่าเท่ากับ 6.7 (มาตรฐานกำหนดให้มีค่าอยู่ในช่วง 5-9) ส่วนพารามิเตอร์อื่น ๆ ได้แก่ ค่าบีโอดี สารไนโตเจน ซัลไฟด์ และโลหะหนัก สำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาคที่ 6 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำลังทำการตรวจสอบในห้องปฏิบัติการและจะแจ้งผลให้ทราบภายใน 1 สัปดาห์
ทั้งนี้ จากการการสำรวจสภาพแวดล้อมในเบื้องต้นพบว่าสิ่งมีชีวิตในแม่น้ำเจ้าพระยาในบริเวณตำบลบางเสด็จ อาทิ ปลา และกุ้ง ยังไม่มีการตายเหมือนปลาในกระชังแต่อย่างใด แต่สีของน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาค่อนข้างเขียวขุ่นเนื่องจากมีปริมาณน้ำน้อย และมีสภาพน้ำนิ่ง สำหรับปลาที่ตายนั้นประมงจังหวัดอ่างทองได้นำไปผ่าพิสูจน์เพื่อหาสาเหตุการตายและจะแจ้งผลให้ทราบผลภายหลัง ส่วนจำนวนปลาที่ตายในกระชังรับทราบข้อมูล จาก อบต. ท่าเสด็จ มีปลาตายประมาณ 110 กระชัง และเป็นปลาทับทิมแดงทั้งหมด จำนวนผู้ประกอบการเสียหายจำนวน 3 ราย และกรมควบคุมมลพิษจะได้ดำเนินการติดตามสถานการณ์เพื่อรายงานผลให้ทราบอย่างต่อเนื่องต่อไป
ข้อสรุป เมื่อพิจารณาในภาพรวมทั้งด้านค่าออกซิเจนละลายน้ำ ค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในเกณฑ์เหมาะสมไม่น่าจะเป็นสาเหตุทำให้ปลาตายเนื่องจากสภาวะขาดออกซิเจนได้ ทั้งนี้ พบว่าเกษตรกรมีการเลี้ยงปลาในกระชังจำนวนถึง 2,200 ตัว ในกระชังที่มีขนาด 3X5 เมตร ซึ่งขนาดกระชังดังกล่าวนี้ควรเลี้ยงปลาได้ในปริมาณสูงสุดไม่เกิน 800 ตัว การสะสมของสิ่งปฏิกูลที่ขับถ่ายจากตัวปลาและทับถมรวมกับเศษอาหารที่ใส่ลงในกระชังในปริมาณมากเกินควร ทำให้เกิดสภาวะเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต จึงทำให้สันนิษฐานในเบื้องต้นได้ว่าน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ปลาในกระชังตาย ทั้งนี้ ต้องรอผลการพิสูจน์เนื้อเยื่อของปลาตาย รวมทั้งผลการวิเคราะห์สารประกอบอินทรีย์ สารเคมีอื่น ๆ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
ข้อเสนอแนะ
(1) เกษตรกรผู้เลี้ยงปลา ควรจำกัดปริมาณของปลาที่เลี้ยงในกระชังให้มีจำนวนที่เหมาะสมกับขนาดของกระชัง เพราะเท่าที่ผ่านมาพบว่าเกษตรกรเลี้ยงปลาในปริมาณที่หนาแน่นเกินขนาดของกระชังจนส่งผลกระทบให้แหล่งน้ำมีสภาพไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตและตายลงในที่สุด
(2) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษ ได้จัดฝึกอบรมให้แก่เครือข่ายภาคประชาชนที่ประกอบอาชีพเลี้ยงปลา ในหลายพื้นที่และได้จัดทำ “คู่มือฉบับประชาชนในการป้องกันและแก้ไขมลพิษจากการเลี้ยงปลาในกระชัง” ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการเลี้ยงปลาในกระชังอย่างไรให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ขอให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องทั้งจากส่วนกลางและท้องถิ่น เร่งประชาสัมพันธ์ถึงแนวทางที่ถูกต้องในการเลี้ยงปลาในกระชัง โดย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อช่วยเผยแผ่องค์ความรู้และให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
(3) ขอความร่วมมือให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการเพิ่มปริมาณการระบายน้ำเพื่อให้เกิดการไหลเวียนของน้ำในพื้นที่เกิดเหตุ ซึ่งจะสามารถชะล้างสิ่งสกปรกและปรับสภาพน้ำให้มีความเหมาะสมในการนำมาใช้เลี้ยงปลาในกระชังรอบใหม่ ซึ่งในขณะนี้รับทราบว่าสำนักชลประทานที่ 12 กรมชลประทานได้ระบายน้ำที่ประตูระบายน้ำยางมณี จังหวัดอ่างทอง ในปริมาณ 18.68 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2551)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 เมษายน 2551--จบ--
ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์ปลาในกระชังตาย บริเวณตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอ่างทอง สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 6 ประมงจังหวัดอ่างทอง ชลประทานจังหวัดอ่างทอง อำเภอป่าโมก องค์การบริหารส่วนตำบลบางเสด็จ และกรมควบคุมมลพิษ ได้ออกสำรวจและตรวจสอบข้อเท็จจริงเหตุการณ์ดังกล่าวในวันที่ 28-30 มีนาคม 2551
ผลการตรวจสอบสภาพปัญหา
จากการตรวจสอบคุณภาพน้ำ พบว่า ค่าออกซิเจนละลายในน้ำในกระชังเลี้ยงปลา มีค่าอยู่ระหว่าง 4-7 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนค่าออกซิเจนในแม่น้ำเจ้าพระยานอกกระชังเลี้ยงปลามีค่าเท่ากับ 6.5 มิลลิกรัมต่อลิตร (มาตรฐานกำหนดให้มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 4.0 มิลลิกรัมต่อลิตร) ค่าความเป็นกรด-ด่าง ในกระชังเลี้ยงปลา มีค่าอยู่ระหว่าง 6-7 และในแม่น้ำเจ้าพระยามีค่าเท่ากับ 6.7 (มาตรฐานกำหนดให้มีค่าอยู่ในช่วง 5-9) ส่วนพารามิเตอร์อื่น ๆ ได้แก่ ค่าบีโอดี สารไนโตเจน ซัลไฟด์ และโลหะหนัก สำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาคที่ 6 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำลังทำการตรวจสอบในห้องปฏิบัติการและจะแจ้งผลให้ทราบภายใน 1 สัปดาห์
ทั้งนี้ จากการการสำรวจสภาพแวดล้อมในเบื้องต้นพบว่าสิ่งมีชีวิตในแม่น้ำเจ้าพระยาในบริเวณตำบลบางเสด็จ อาทิ ปลา และกุ้ง ยังไม่มีการตายเหมือนปลาในกระชังแต่อย่างใด แต่สีของน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาค่อนข้างเขียวขุ่นเนื่องจากมีปริมาณน้ำน้อย และมีสภาพน้ำนิ่ง สำหรับปลาที่ตายนั้นประมงจังหวัดอ่างทองได้นำไปผ่าพิสูจน์เพื่อหาสาเหตุการตายและจะแจ้งผลให้ทราบผลภายหลัง ส่วนจำนวนปลาที่ตายในกระชังรับทราบข้อมูล จาก อบต. ท่าเสด็จ มีปลาตายประมาณ 110 กระชัง และเป็นปลาทับทิมแดงทั้งหมด จำนวนผู้ประกอบการเสียหายจำนวน 3 ราย และกรมควบคุมมลพิษจะได้ดำเนินการติดตามสถานการณ์เพื่อรายงานผลให้ทราบอย่างต่อเนื่องต่อไป
ข้อสรุป เมื่อพิจารณาในภาพรวมทั้งด้านค่าออกซิเจนละลายน้ำ ค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในเกณฑ์เหมาะสมไม่น่าจะเป็นสาเหตุทำให้ปลาตายเนื่องจากสภาวะขาดออกซิเจนได้ ทั้งนี้ พบว่าเกษตรกรมีการเลี้ยงปลาในกระชังจำนวนถึง 2,200 ตัว ในกระชังที่มีขนาด 3X5 เมตร ซึ่งขนาดกระชังดังกล่าวนี้ควรเลี้ยงปลาได้ในปริมาณสูงสุดไม่เกิน 800 ตัว การสะสมของสิ่งปฏิกูลที่ขับถ่ายจากตัวปลาและทับถมรวมกับเศษอาหารที่ใส่ลงในกระชังในปริมาณมากเกินควร ทำให้เกิดสภาวะเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต จึงทำให้สันนิษฐานในเบื้องต้นได้ว่าน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ปลาในกระชังตาย ทั้งนี้ ต้องรอผลการพิสูจน์เนื้อเยื่อของปลาตาย รวมทั้งผลการวิเคราะห์สารประกอบอินทรีย์ สารเคมีอื่น ๆ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
ข้อเสนอแนะ
(1) เกษตรกรผู้เลี้ยงปลา ควรจำกัดปริมาณของปลาที่เลี้ยงในกระชังให้มีจำนวนที่เหมาะสมกับขนาดของกระชัง เพราะเท่าที่ผ่านมาพบว่าเกษตรกรเลี้ยงปลาในปริมาณที่หนาแน่นเกินขนาดของกระชังจนส่งผลกระทบให้แหล่งน้ำมีสภาพไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตและตายลงในที่สุด
(2) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษ ได้จัดฝึกอบรมให้แก่เครือข่ายภาคประชาชนที่ประกอบอาชีพเลี้ยงปลา ในหลายพื้นที่และได้จัดทำ “คู่มือฉบับประชาชนในการป้องกันและแก้ไขมลพิษจากการเลี้ยงปลาในกระชัง” ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการเลี้ยงปลาในกระชังอย่างไรให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ขอให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องทั้งจากส่วนกลางและท้องถิ่น เร่งประชาสัมพันธ์ถึงแนวทางที่ถูกต้องในการเลี้ยงปลาในกระชัง โดย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อช่วยเผยแผ่องค์ความรู้และให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
(3) ขอความร่วมมือให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการเพิ่มปริมาณการระบายน้ำเพื่อให้เกิดการไหลเวียนของน้ำในพื้นที่เกิดเหตุ ซึ่งจะสามารถชะล้างสิ่งสกปรกและปรับสภาพน้ำให้มีความเหมาะสมในการนำมาใช้เลี้ยงปลาในกระชังรอบใหม่ ซึ่งในขณะนี้รับทราบว่าสำนักชลประทานที่ 12 กรมชลประทานได้ระบายน้ำที่ประตูระบายน้ำยางมณี จังหวัดอ่างทอง ในปริมาณ 18.68 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2551)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 เมษายน 2551--จบ--