คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รายงานการส่งเสริมการตลาดต่างประเทศโดยการเข้าร่วมงาน Internationale Tourismus Borse (ITB) 2008 ณ กรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ดังนี้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์) ได้เป็นหัวหน้าคณะนำการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และหน่วยงานเอกชนไทย จำนวน 141 หน่วยงาน (รวม 250 คน) เข้าร่วมงาน Internationale Tourismus Borse (ITB) หรือ International Tourism Exchange ที่จัดขึ้น ณ กรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งเป็นงานส่งเสริมการขายด้านการท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลกและผู้จัดงานคือ Messe Berlin จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 และในปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 43 ในระหว่างวันที่ 5 — 9 มีนาคม 2551 โดยกำหนดให้สามวันแรกเป็นวันทำธุรกิจระหว่างผู้ขาย (Exhibitor/Seller) กับผู้ซื้อหรือบริษัทนำเที่ยว (Buyer)และสองวันหลังเปิดให้ประชาชนทั่วไป (Consumer) เข้าชมงาน และเนื่องด้วยงาน ITB ได้รับความสนใจจากผู้ที่อยู่ในธุรกิจท่องเที่ยวทั่วโลก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จึงได้เข้าร่วมงาน ITB มาโดยตลอดและการเข้าร่วมงานในปีนี้นับเป็นครั้งที่ 34
ในปีนี้ ททท. เช่าพื้นที่ขนาด 540 ตารางเมตร ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 36 ตารางเมตร หรือมีพื้นที่เพิ่มขึ้นจากเดิม 7 % เพื่อให้สามารถรองรับหน่วยงานธุรกิจเอกชนไทยได้มากขึ้น โดย ททท. ได้ก่อสร้างคูหาประเทศไทย (Thailand Stand) และได้ตกแต่งให้มีความสวยงาม ในรูปแบบที่ดูเรียบง่ายและทันสมัย เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานทั้งในด้านการอำนวยความสะดวกในการทำการเจรจาทางธุรกิจของหน่วยงานเอกชนไทยและการนำเสนอสินค้า ทางการท่องเที่ยวที่จัดกลุ่มเป็น 7 สิ่งมหัศจรรย์ของไทย (The Seven Wonders of Amazing Thailand) เพื่อเป็นการสร้างชื่อ AMAZING THAILAND .ให้เป็นที่จดจำในตลาดโลก ด้วยการแสดงภาพขนาดใหญ่ของประเทศไทยที่ปรากฏบนเพดานโดยรอบทั้งสี่ด้านของคูหา รวมทั้งมีการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยให้ชาวต่างประเทศชมด้วยการจัดการสาธิตศิลปะและหัตถกรรมไทย โดยจัดแสดงการไหว้ครูและชกมวยไทย การวาดร่มจากเชียงใหม่ การนวดแผนไทยและสปาไทย เพื่อเป็นการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย และเพื่อดึงดูดผู้เข้าร่วมงานให้มายังคูหาประเทศไทย พร้อมกับให้บริการด้านข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยว และมีเอกสารและซีดีแจกทั้งภาษาอังกฤษและภาษาเยอรมันให้กับผู้เข้าชมงาน ITB ด้วย
ภายในคูหาประเทศไทยมีผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไทย (Seller) จำนวน 141 หน่วยงาน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มี 126 หน่วยงาน หรือมีหน่วยงานเพิ่มขึ้น 12 % หน่วยงานทั้งหมดประกอบด้วย ผู้ประกอบการโรงแรมและรีสอร์ท จำนวน 117 หน่วยงาน บริษัทนำเที่ยวจำนวน 20 หน่วยงาน และอื่น ๆ จำนวน 4 หน่วยงาน (บริการรถเช่า สยามนิรมิต โรงพยาบาล และสายการบินพีบีแอร์) ในจำนวนนี้เป็นหน่วยงานใหม่ที่ไม่เคยเข้าร่วมงานมาก่อน จำนวน 28 หน่วยงาน และเป็นผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs) ได้แก่ โรงแรมขนาดเล็กที่มีจำนวนห้องประมาณ 10 —50 ห้อง จำนวน 40 หน่วยงาน
นอกจากเอกชนไทย 141 หน่วยงานในคูหาประเทศไทย ยังมีกลุ่มหน่วยงานเอกชนไทยที่เช่าพื้นที่แยกต่างหากโดยใช้ชื่อของแหล่งท่องเที่ยวเป็นชื่อของคูหานั้น ๆ และตั้งอยู่โดยรอบคูหาประเทศไทย ได้แก่ คูหาของจังหวัดภูเก็ตที่มีเอกชน 18 หน่วยงาน คูหาของจังหวัดกระบี่มีเอกชน 14 หน่วยงาน คูหาของจังหวัดพังงา (เขาหลัก) มีเอกชน 8 หน่วยงาน คูหาของพัทยามีเอกชน 18 หน่วยงาน คูหาของเกาะสมุยมีเอกชน 17 หน่วยงาน และยังมีคูหาของสายการบินแห่งชาติคือการบินไทย และการบินกรุงเทพ ฯ ด้วย
ในการเข้าร่วมงานครั้งนี้ ททท. ได้รับพระกรุณาธิคุณจากทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสร็จทรงเป็นองค์ประธานในงานเลี้ยง Happy Hour ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2551 ณ คูหาประเทศไทย เพื่อให้บริษัทนำเที่ยวที่เป็นผู้ซื้อจากทั่วโลกและเอกชนไทยที่เป็นผู้ขาย ได้พบปะสังสรรค์ทำความคุ้นเคยระหว่างกันในบรรยากาศแบบไทย ๆ และในวันที่ 7 มีนาคม 2551 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้เป็นประธานงานแถลงข่าว (Press Conference) ณ Hall 7.3 ห้อง Saal Berin
2.ผลการดำเนินงาน
ในโอกาสของการแถลงข่าวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งมีผู้สื่อข่าวนานาชาติเข้ารับฟังประมาณ 100 คนนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้สร้างความเชื่อมั่นในการเข้าบริหารประเทศของรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งที่มีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทยให้มีการพัฒนาก้าวไปข้างหน้ามากยิ่งขึ้น โดยประกาศให้ปีพุทธศักราช 2551 — 2552 เป็นปีท่องเที่ยวไทยเพื่อให้ไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่กล่าวขวัญของนักท่องเที่ยวทั่วโลก และให้ความมั่นใจกับนานาชาติถึงศักยภาพของประเทศไทยที่มีความเหมาะสมในการที่จะเข้ามาลงทุนโครงการใหญ่ ๆ ทางด้านการท่องเที่ยวและอื่น ๆ ภายใต้การบริหารของรัฐบาลชุดนี้
ทั้งนี้จะเห็นได้จากการที่ประเทศไทยได้รับรางวัลด้านการท่องเที่ยวในหลาย ๆ โอกาส รวมทั้งในระหว่างการจัดงาน ITB 2008 นี้ ประเทศไทยได้รับรางวัลถึง 3 รางวัล โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. รางวัล “ประเทศเป้าหมายทางการท่องเที่ยวในเอเชีย” (Best Destination in Asia)รางวัลที่ 1 ประเทศไทย รางวัลที่ 2 ประเทศเมียนมาร์ รางวัลที่ 3 ประเทศมัลดีฟส์
2. รางวัล “หน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวดีเด่น” (Best National Tourism Board)รางวัลที่ 1 ประเทศสิงคโปร์ รางวัลที่ 2 ประเทศฮ่องกง รางวัลที่ 3 ประเทศไทย
ทั้งสองรางวัลเป็นรางวัลในโครงการ “Go Asia Award 2008” จัดโดยนิตยสาร Reise und Prise ซึ่งเป็นนิตยสารชื่อดังติด 1 ใน 5 อันดับที่ได้รับความนิยมในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยนิตยสารเปิดให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและประชาชนชาวเยอรมันโหวตผ่านระบบ Internet และทำการประกาศผลในงาน TIB
3. รางวัลจากการประกวดภาพยนตร์โฆษณาส่งเสริมการท่องเที่ยวยอดเยี่ยม( The World Best Tourism Film of the Year)รางวัลที่ 1 ประเทศมอนเตเนโกร รางวัลที่ 2 ประเทศอังกฤษ และประเทศไอร์แลนด์ รางวัลที่ 3 ประเทศไทย และอินเดีย
จากภาพยนตร์ที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 78 เรื่องจาก 32 ประเทศ ไทยได้รับรางวัลจากชุดชื่อ “Amazing Thailand ” ส่งผลให้แคมเปญดังกล่าวเป็นที่รู้จักของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว สื่อมวลชน และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งสอดรับกับวัตถุประสงค์หลักประการหนึ่งของ ททท. ในการเข้าร่วมงาน ITB 2008 คือการได้เผยแพร่และประชาสัมพันธ์แคมเปญ Amazing Thailand โดยการสร้างการรับรู้สินค้าการท่องเที่ยว 7 กลุ่ม ตามแคมเปญ “7 สิ่งมหัศจรรย์ของไทย” (The Seven Wonders of Amazing Thailand) อันประกอบด้วย 1.วิถีไทย หัวใจแผ่นดิน (Thainess) 2.มรดกแห่งแผ่นดิน (Treasure) 3.หลากหลายทะเลไทย (Beaches) 4.รักห่วงใยใส่ใจธรรมชาติ (Nature) 5.สุขภาพนิยม (Health and Wellness) 6.ชีวิตร่วมสมัย ความสุขใจที่แตกต่าง (Trendy) และ 7.เทศกาลความสุข สีสันหรรษา (Festiviteis)
วัตถุประสงค์หลักในการเข้าร่วมงาน ITB 2008 อีกประการหนึ่งคือการเพิ่มศักยภาพความพร้อมด้านการท่องเที่ยวให้ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศรับทราบ และเพื่อสนับสนุนและสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวจากประเทศไทยในการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจกับบริษัทนำเที่ยวรายใหญ่ (Wholesaler) และบริษัทนำเที่ยวรายย่อย (Retail Travel Agent) นั้น เห็นได้ว่าผู้ประการธุรกิจท่องเที่ยวไทยต่างพึงพอใจกับการเข้าร่วมงาน ITB 2008 การเจรจาธุรกิจในงานประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไทยมีโอกาสติดต่อเจรจาแลกเปลี่ยนธุรกิจกับผู้ซื้อ (บริษัทนำเที่ยว) เฉลี่ย 32 คน/หน่วยงาน รวมแล้วประมาณ 4,512 คน (อาจจะซ้ำหน่วยงาน) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาถึง 60% ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้ซื้อ (บริษัทนำเที่ยว) รายเดิม 59 % และเป็นผู้ซื้อ (บริษัทนำเที่ยว) รายใหม่ 41%
ทั้งนี้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไทย 52% มีการตกลงทำสัญญาซื้อขายภายในงาน และผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไทย 45% จะติดต่อเจรจาในเงื่อนไขทางธุรกิจอีกครั้งภายหลังการเข้าร่วมงาน และในด้านรายได้ของหน่วยงานเอกชนจากการเข้าร่วมงานนี้โรงแรมที่เป็นเครือใหญ่ ๆ (Chain Hotels) ที่มีห้องพักตั้งแต่ 300 ห้องขึ้นไปได้ธุรกิจประมาณ 600 — 800 ล้านบาทต่อหน่วยงาน และบางหน่วยงานได้รับรายได้จากการติดต่อในงานนี้จนถึงเดือนเมษายน 2533 และโรงแรมรายย่อยแจ้งว่าได้ธุรกิจเกิน 100 ล้านบาทต่อหน่วยงาน ทั้งนี้ในภาพรวมยอดซื้อขายภายในงานเฉพาะของภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยที่ร่วมเดินทางมากับททท.มีการซื้อขายแบบเหมาห้องพักโรงแรมล่วงหน้าไปถึงเดือนมกราคม 2533 ทำให้มียอดสูงถึง 30,000 ล้านบาท ซึ่งรายได้จำนวนดังกล่าวนี้ยังไม่รวมรายได้ของผู้ขายที่เป็นบริษัทนำเที่ยว สายการบิน โรงพยาบาล และหน่วยงานเอกชนไทยที่มีคูหาอยู่โดยรอบคูหาประเทศไทย (Thailand Stand)
ในโอกาสนี้ ททท.ได้นำศิลปวัฒนธรรมไปเผยแพร่แก่ชาวต่างชาติด้วย คือ ได้จัดกิจกรรมสาธิตด้านศิลปะไทยและหัตถกรรมไทยในคูหาประเทศไทย ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก มีบริษัทนำเที่ยวที่เป็นผู้ซื้อและนักท่องเที่ยวทั่วไปเข้าชมการสาธิตทั้งการแสดงศิลปะมวยไทย การนวดแผนไทยและการวาดร่มจากเชียงใหม่ในแต่ละวันประมาณ 2,000 คน รวมประมาณ 10,000 คน ตลอดงาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 เมษายน 2551--จบ--
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์) ได้เป็นหัวหน้าคณะนำการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และหน่วยงานเอกชนไทย จำนวน 141 หน่วยงาน (รวม 250 คน) เข้าร่วมงาน Internationale Tourismus Borse (ITB) หรือ International Tourism Exchange ที่จัดขึ้น ณ กรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งเป็นงานส่งเสริมการขายด้านการท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลกและผู้จัดงานคือ Messe Berlin จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 และในปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 43 ในระหว่างวันที่ 5 — 9 มีนาคม 2551 โดยกำหนดให้สามวันแรกเป็นวันทำธุรกิจระหว่างผู้ขาย (Exhibitor/Seller) กับผู้ซื้อหรือบริษัทนำเที่ยว (Buyer)และสองวันหลังเปิดให้ประชาชนทั่วไป (Consumer) เข้าชมงาน และเนื่องด้วยงาน ITB ได้รับความสนใจจากผู้ที่อยู่ในธุรกิจท่องเที่ยวทั่วโลก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จึงได้เข้าร่วมงาน ITB มาโดยตลอดและการเข้าร่วมงานในปีนี้นับเป็นครั้งที่ 34
ในปีนี้ ททท. เช่าพื้นที่ขนาด 540 ตารางเมตร ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 36 ตารางเมตร หรือมีพื้นที่เพิ่มขึ้นจากเดิม 7 % เพื่อให้สามารถรองรับหน่วยงานธุรกิจเอกชนไทยได้มากขึ้น โดย ททท. ได้ก่อสร้างคูหาประเทศไทย (Thailand Stand) และได้ตกแต่งให้มีความสวยงาม ในรูปแบบที่ดูเรียบง่ายและทันสมัย เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานทั้งในด้านการอำนวยความสะดวกในการทำการเจรจาทางธุรกิจของหน่วยงานเอกชนไทยและการนำเสนอสินค้า ทางการท่องเที่ยวที่จัดกลุ่มเป็น 7 สิ่งมหัศจรรย์ของไทย (The Seven Wonders of Amazing Thailand) เพื่อเป็นการสร้างชื่อ AMAZING THAILAND .ให้เป็นที่จดจำในตลาดโลก ด้วยการแสดงภาพขนาดใหญ่ของประเทศไทยที่ปรากฏบนเพดานโดยรอบทั้งสี่ด้านของคูหา รวมทั้งมีการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยให้ชาวต่างประเทศชมด้วยการจัดการสาธิตศิลปะและหัตถกรรมไทย โดยจัดแสดงการไหว้ครูและชกมวยไทย การวาดร่มจากเชียงใหม่ การนวดแผนไทยและสปาไทย เพื่อเป็นการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย และเพื่อดึงดูดผู้เข้าร่วมงานให้มายังคูหาประเทศไทย พร้อมกับให้บริการด้านข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยว และมีเอกสารและซีดีแจกทั้งภาษาอังกฤษและภาษาเยอรมันให้กับผู้เข้าชมงาน ITB ด้วย
ภายในคูหาประเทศไทยมีผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไทย (Seller) จำนวน 141 หน่วยงาน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มี 126 หน่วยงาน หรือมีหน่วยงานเพิ่มขึ้น 12 % หน่วยงานทั้งหมดประกอบด้วย ผู้ประกอบการโรงแรมและรีสอร์ท จำนวน 117 หน่วยงาน บริษัทนำเที่ยวจำนวน 20 หน่วยงาน และอื่น ๆ จำนวน 4 หน่วยงาน (บริการรถเช่า สยามนิรมิต โรงพยาบาล และสายการบินพีบีแอร์) ในจำนวนนี้เป็นหน่วยงานใหม่ที่ไม่เคยเข้าร่วมงานมาก่อน จำนวน 28 หน่วยงาน และเป็นผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs) ได้แก่ โรงแรมขนาดเล็กที่มีจำนวนห้องประมาณ 10 —50 ห้อง จำนวน 40 หน่วยงาน
นอกจากเอกชนไทย 141 หน่วยงานในคูหาประเทศไทย ยังมีกลุ่มหน่วยงานเอกชนไทยที่เช่าพื้นที่แยกต่างหากโดยใช้ชื่อของแหล่งท่องเที่ยวเป็นชื่อของคูหานั้น ๆ และตั้งอยู่โดยรอบคูหาประเทศไทย ได้แก่ คูหาของจังหวัดภูเก็ตที่มีเอกชน 18 หน่วยงาน คูหาของจังหวัดกระบี่มีเอกชน 14 หน่วยงาน คูหาของจังหวัดพังงา (เขาหลัก) มีเอกชน 8 หน่วยงาน คูหาของพัทยามีเอกชน 18 หน่วยงาน คูหาของเกาะสมุยมีเอกชน 17 หน่วยงาน และยังมีคูหาของสายการบินแห่งชาติคือการบินไทย และการบินกรุงเทพ ฯ ด้วย
ในการเข้าร่วมงานครั้งนี้ ททท. ได้รับพระกรุณาธิคุณจากทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสร็จทรงเป็นองค์ประธานในงานเลี้ยง Happy Hour ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2551 ณ คูหาประเทศไทย เพื่อให้บริษัทนำเที่ยวที่เป็นผู้ซื้อจากทั่วโลกและเอกชนไทยที่เป็นผู้ขาย ได้พบปะสังสรรค์ทำความคุ้นเคยระหว่างกันในบรรยากาศแบบไทย ๆ และในวันที่ 7 มีนาคม 2551 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้เป็นประธานงานแถลงข่าว (Press Conference) ณ Hall 7.3 ห้อง Saal Berin
2.ผลการดำเนินงาน
ในโอกาสของการแถลงข่าวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งมีผู้สื่อข่าวนานาชาติเข้ารับฟังประมาณ 100 คนนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้สร้างความเชื่อมั่นในการเข้าบริหารประเทศของรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งที่มีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทยให้มีการพัฒนาก้าวไปข้างหน้ามากยิ่งขึ้น โดยประกาศให้ปีพุทธศักราช 2551 — 2552 เป็นปีท่องเที่ยวไทยเพื่อให้ไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่กล่าวขวัญของนักท่องเที่ยวทั่วโลก และให้ความมั่นใจกับนานาชาติถึงศักยภาพของประเทศไทยที่มีความเหมาะสมในการที่จะเข้ามาลงทุนโครงการใหญ่ ๆ ทางด้านการท่องเที่ยวและอื่น ๆ ภายใต้การบริหารของรัฐบาลชุดนี้
ทั้งนี้จะเห็นได้จากการที่ประเทศไทยได้รับรางวัลด้านการท่องเที่ยวในหลาย ๆ โอกาส รวมทั้งในระหว่างการจัดงาน ITB 2008 นี้ ประเทศไทยได้รับรางวัลถึง 3 รางวัล โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. รางวัล “ประเทศเป้าหมายทางการท่องเที่ยวในเอเชีย” (Best Destination in Asia)รางวัลที่ 1 ประเทศไทย รางวัลที่ 2 ประเทศเมียนมาร์ รางวัลที่ 3 ประเทศมัลดีฟส์
2. รางวัล “หน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวดีเด่น” (Best National Tourism Board)รางวัลที่ 1 ประเทศสิงคโปร์ รางวัลที่ 2 ประเทศฮ่องกง รางวัลที่ 3 ประเทศไทย
ทั้งสองรางวัลเป็นรางวัลในโครงการ “Go Asia Award 2008” จัดโดยนิตยสาร Reise und Prise ซึ่งเป็นนิตยสารชื่อดังติด 1 ใน 5 อันดับที่ได้รับความนิยมในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยนิตยสารเปิดให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและประชาชนชาวเยอรมันโหวตผ่านระบบ Internet และทำการประกาศผลในงาน TIB
3. รางวัลจากการประกวดภาพยนตร์โฆษณาส่งเสริมการท่องเที่ยวยอดเยี่ยม( The World Best Tourism Film of the Year)รางวัลที่ 1 ประเทศมอนเตเนโกร รางวัลที่ 2 ประเทศอังกฤษ และประเทศไอร์แลนด์ รางวัลที่ 3 ประเทศไทย และอินเดีย
จากภาพยนตร์ที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 78 เรื่องจาก 32 ประเทศ ไทยได้รับรางวัลจากชุดชื่อ “Amazing Thailand ” ส่งผลให้แคมเปญดังกล่าวเป็นที่รู้จักของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว สื่อมวลชน และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งสอดรับกับวัตถุประสงค์หลักประการหนึ่งของ ททท. ในการเข้าร่วมงาน ITB 2008 คือการได้เผยแพร่และประชาสัมพันธ์แคมเปญ Amazing Thailand โดยการสร้างการรับรู้สินค้าการท่องเที่ยว 7 กลุ่ม ตามแคมเปญ “7 สิ่งมหัศจรรย์ของไทย” (The Seven Wonders of Amazing Thailand) อันประกอบด้วย 1.วิถีไทย หัวใจแผ่นดิน (Thainess) 2.มรดกแห่งแผ่นดิน (Treasure) 3.หลากหลายทะเลไทย (Beaches) 4.รักห่วงใยใส่ใจธรรมชาติ (Nature) 5.สุขภาพนิยม (Health and Wellness) 6.ชีวิตร่วมสมัย ความสุขใจที่แตกต่าง (Trendy) และ 7.เทศกาลความสุข สีสันหรรษา (Festiviteis)
วัตถุประสงค์หลักในการเข้าร่วมงาน ITB 2008 อีกประการหนึ่งคือการเพิ่มศักยภาพความพร้อมด้านการท่องเที่ยวให้ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศรับทราบ และเพื่อสนับสนุนและสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวจากประเทศไทยในการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจกับบริษัทนำเที่ยวรายใหญ่ (Wholesaler) และบริษัทนำเที่ยวรายย่อย (Retail Travel Agent) นั้น เห็นได้ว่าผู้ประการธุรกิจท่องเที่ยวไทยต่างพึงพอใจกับการเข้าร่วมงาน ITB 2008 การเจรจาธุรกิจในงานประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไทยมีโอกาสติดต่อเจรจาแลกเปลี่ยนธุรกิจกับผู้ซื้อ (บริษัทนำเที่ยว) เฉลี่ย 32 คน/หน่วยงาน รวมแล้วประมาณ 4,512 คน (อาจจะซ้ำหน่วยงาน) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาถึง 60% ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้ซื้อ (บริษัทนำเที่ยว) รายเดิม 59 % และเป็นผู้ซื้อ (บริษัทนำเที่ยว) รายใหม่ 41%
ทั้งนี้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไทย 52% มีการตกลงทำสัญญาซื้อขายภายในงาน และผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไทย 45% จะติดต่อเจรจาในเงื่อนไขทางธุรกิจอีกครั้งภายหลังการเข้าร่วมงาน และในด้านรายได้ของหน่วยงานเอกชนจากการเข้าร่วมงานนี้โรงแรมที่เป็นเครือใหญ่ ๆ (Chain Hotels) ที่มีห้องพักตั้งแต่ 300 ห้องขึ้นไปได้ธุรกิจประมาณ 600 — 800 ล้านบาทต่อหน่วยงาน และบางหน่วยงานได้รับรายได้จากการติดต่อในงานนี้จนถึงเดือนเมษายน 2533 และโรงแรมรายย่อยแจ้งว่าได้ธุรกิจเกิน 100 ล้านบาทต่อหน่วยงาน ทั้งนี้ในภาพรวมยอดซื้อขายภายในงานเฉพาะของภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยที่ร่วมเดินทางมากับททท.มีการซื้อขายแบบเหมาห้องพักโรงแรมล่วงหน้าไปถึงเดือนมกราคม 2533 ทำให้มียอดสูงถึง 30,000 ล้านบาท ซึ่งรายได้จำนวนดังกล่าวนี้ยังไม่รวมรายได้ของผู้ขายที่เป็นบริษัทนำเที่ยว สายการบิน โรงพยาบาล และหน่วยงานเอกชนไทยที่มีคูหาอยู่โดยรอบคูหาประเทศไทย (Thailand Stand)
ในโอกาสนี้ ททท.ได้นำศิลปวัฒนธรรมไปเผยแพร่แก่ชาวต่างชาติด้วย คือ ได้จัดกิจกรรมสาธิตด้านศิลปะไทยและหัตถกรรมไทยในคูหาประเทศไทย ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก มีบริษัทนำเที่ยวที่เป็นผู้ซื้อและนักท่องเที่ยวทั่วไปเข้าชมการสาธิตทั้งการแสดงศิลปะมวยไทย การนวดแผนไทยและการวาดร่มจากเชียงใหม่ในแต่ละวันประมาณ 2,000 คน รวมประมาณ 10,000 คน ตลอดงาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 เมษายน 2551--จบ--