คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงานรายงานการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากคลื่นสึนามิในระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2547 — 23 มกราคม 2548 สรุปได้ดังนี้
กรมการจัดหางานได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากคลื่นสึนามิ ในส่วนกลางแต่งตั้งคณะทำงานช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมทั้งส่งหน่วยบริการจัดหางานเคลื่อนที่ (Mobile Unit) ชุดสำรวจและชุดติดตามผลการบรรจุงานจากส่วนกลางไปปฏิบัติงานร่วมกันส่วนภูมิภาคและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้งานตามภารกิจของกรมการจัดหางานเป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพตามนโยบายของรัฐบาล
ผลการดำเนินการสรุปได้ดังนี้ รับขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงานที่ประสบภัยจำนวน 4,838 คน การให้บริการจัดหางานผู้ประสบภัยที่แจ้งความประสงค์สมัครงานจำนวน 4,957 คน ได้รับการบรรจุงานในสถานประกอบการ จำนวน 1,432 คน ทำให้เกิดรายได้ต่อเดือนรวมทั้งสิ้นประมาณ 8,003,324 บาท และผู้ประสบภัยที่ได้รับการบรรจุงานมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 5,589 บาท ให้คำปรึกษาแนะนำจำนวน 3,157 คน รับเรื่องร้องทุกข์จำนวน 28 คน ประสานส่งผู้ประสบภัยเดินทางกลับภูมิลำเนาจำนวน 317 คน สำนักงานจัดหางานจังหวัดปลายทาง 37 จังหวัด ให้บริการรับสมัครผู้ประสบภัยที่เดินทางกลับภูมิลำเนาจำนวน 467 คน ส่งตัวพบนายจ้างและรอการบรรจุงาน 37 คน สามารถบรรจุงานได้ 4 คน ประสานส่งแรงงานต่างด้าวกลับประเทศจำนวน 1,995 คน โดยศูนย์ควบคุมส่งกลับแรงงานสัญชาติพม่าที่จังหวัดระนอง ได้ส่งกลับประเทศพม่าแล้วจำนวน 853 คน
แผนงานการช่วยเหลือฟื้นฟูการดำรงชีพของผู้ตกงาน/ว่างงาน จากธรณีพิบัติใน 6 จังหวัดภาคใต้ และได้รับอนุมัติงบกลาง 3 โครงการคือ
1. โครงการให้บริการจัดหางานเคลื่อนที่แก่ผู้ว่างงานในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ที่ประสบธรณีพิบัติ
2. โครงการให้บริการเคลื่อนย้ายแรงงานแก่ผู้ว่างงานในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ที่ประสบธรณีพิบัติ
3. โครงการสร้างอาชีพใหม่ให้ผู้ประสบภัยในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ที่ประสบธรณีพิบัติ
4. จัดมหกรรมแรงงานเพื่อผู้ประสบภัยธรณีพิบัติจังหวัดภูเก็ต ในวันที่ 27 มกราคม 2548
ปัญหาอุปสรรค ผู้ประสบภัยส่วนใหญ่มีสภาพจิตใจไม่พร้อมที่จะทำงาน บางส่วนไม่มีวุฒิการศึกษา และมีอายุเกินกว่าเงื่อนไขที่นายจ้างระบุ ทำให้ไม่ได้รับการบรรจุงาน บางรายต้องรอทำงานกับนายจ้างเดิม ซึ่งงขณะนี้ยังปิดกิจการอยู่ ผู้ประกอบอาชีพประมงไม่ต้องการเปลี่ยนอาชีพจำนวนมาก ส่วนสถานประกอบการบางแห่งอยู่ในระหว่างซ่อมแซม ยังไม่เปิดดำเนินการ
สำหรับแนวทางแก้ไข กรมการจัดหางานได้ใช้วิธีการด้านจิตวิทยา ให้คำปรึกษา แนะนำ ปลอบขวัญให้กำลังใจและให้ความร่วมมือ อำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ แก่ผู้ประสบภัยที่มาใช้บริการ ให้ความช่วยเหลือผู้ที่ไม่สามารถทำงานในสถานประกอบการ โดยให้คำปรึกษาแนะนำการประกอบอาชีพอิสระ ประสานนายจ้างเพื่อรับแจ้งตำแหน่งงานว่างไว้รองรับและให้บริการจัดหางานแก่ผู้ประสบภัยที่เดินทางกลับภูมิลำเนาเป็นการเร่งด่วน ประสานกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อให้ความช่วยเหลือซ่อมแซมเรือและอุปกรณ์การประมงแก่ผู้ประสบภัย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 มกราคม 2548--จบ--
กรมการจัดหางานได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากคลื่นสึนามิ ในส่วนกลางแต่งตั้งคณะทำงานช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมทั้งส่งหน่วยบริการจัดหางานเคลื่อนที่ (Mobile Unit) ชุดสำรวจและชุดติดตามผลการบรรจุงานจากส่วนกลางไปปฏิบัติงานร่วมกันส่วนภูมิภาคและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้งานตามภารกิจของกรมการจัดหางานเป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพตามนโยบายของรัฐบาล
ผลการดำเนินการสรุปได้ดังนี้ รับขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงานที่ประสบภัยจำนวน 4,838 คน การให้บริการจัดหางานผู้ประสบภัยที่แจ้งความประสงค์สมัครงานจำนวน 4,957 คน ได้รับการบรรจุงานในสถานประกอบการ จำนวน 1,432 คน ทำให้เกิดรายได้ต่อเดือนรวมทั้งสิ้นประมาณ 8,003,324 บาท และผู้ประสบภัยที่ได้รับการบรรจุงานมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 5,589 บาท ให้คำปรึกษาแนะนำจำนวน 3,157 คน รับเรื่องร้องทุกข์จำนวน 28 คน ประสานส่งผู้ประสบภัยเดินทางกลับภูมิลำเนาจำนวน 317 คน สำนักงานจัดหางานจังหวัดปลายทาง 37 จังหวัด ให้บริการรับสมัครผู้ประสบภัยที่เดินทางกลับภูมิลำเนาจำนวน 467 คน ส่งตัวพบนายจ้างและรอการบรรจุงาน 37 คน สามารถบรรจุงานได้ 4 คน ประสานส่งแรงงานต่างด้าวกลับประเทศจำนวน 1,995 คน โดยศูนย์ควบคุมส่งกลับแรงงานสัญชาติพม่าที่จังหวัดระนอง ได้ส่งกลับประเทศพม่าแล้วจำนวน 853 คน
แผนงานการช่วยเหลือฟื้นฟูการดำรงชีพของผู้ตกงาน/ว่างงาน จากธรณีพิบัติใน 6 จังหวัดภาคใต้ และได้รับอนุมัติงบกลาง 3 โครงการคือ
1. โครงการให้บริการจัดหางานเคลื่อนที่แก่ผู้ว่างงานในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ที่ประสบธรณีพิบัติ
2. โครงการให้บริการเคลื่อนย้ายแรงงานแก่ผู้ว่างงานในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ที่ประสบธรณีพิบัติ
3. โครงการสร้างอาชีพใหม่ให้ผู้ประสบภัยในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ที่ประสบธรณีพิบัติ
4. จัดมหกรรมแรงงานเพื่อผู้ประสบภัยธรณีพิบัติจังหวัดภูเก็ต ในวันที่ 27 มกราคม 2548
ปัญหาอุปสรรค ผู้ประสบภัยส่วนใหญ่มีสภาพจิตใจไม่พร้อมที่จะทำงาน บางส่วนไม่มีวุฒิการศึกษา และมีอายุเกินกว่าเงื่อนไขที่นายจ้างระบุ ทำให้ไม่ได้รับการบรรจุงาน บางรายต้องรอทำงานกับนายจ้างเดิม ซึ่งงขณะนี้ยังปิดกิจการอยู่ ผู้ประกอบอาชีพประมงไม่ต้องการเปลี่ยนอาชีพจำนวนมาก ส่วนสถานประกอบการบางแห่งอยู่ในระหว่างซ่อมแซม ยังไม่เปิดดำเนินการ
สำหรับแนวทางแก้ไข กรมการจัดหางานได้ใช้วิธีการด้านจิตวิทยา ให้คำปรึกษา แนะนำ ปลอบขวัญให้กำลังใจและให้ความร่วมมือ อำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ แก่ผู้ประสบภัยที่มาใช้บริการ ให้ความช่วยเหลือผู้ที่ไม่สามารถทำงานในสถานประกอบการ โดยให้คำปรึกษาแนะนำการประกอบอาชีพอิสระ ประสานนายจ้างเพื่อรับแจ้งตำแหน่งงานว่างไว้รองรับและให้บริการจัดหางานแก่ผู้ประสบภัยที่เดินทางกลับภูมิลำเนาเป็นการเร่งด่วน ประสานกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อให้ความช่วยเหลือซ่อมแซมเรือและอุปกรณ์การประมงแก่ผู้ประสบภัย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 มกราคม 2548--จบ--