คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างกฎกระทรวงการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ซึ่งได้รับการยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ พ.ศ. ....
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) ตรวจพิจารณาแล้วเห็นว่ามีหลักการที่เกินขอบอำนาจตามที่กฎหมายกำหนด แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบความเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
2. มอบให้กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงการต่างประเทศ รับความเห็นและ ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) ไปประกอบการพิจารณากำหนดแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจลงตราสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ซึ่งจะเข้ามาทำงานในราชอาณาจักรโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นการนำร่อง (กรณีพิเศษ) ต่อไป
3. ให้ยุติการตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ซึ่งได้รับการยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ พ.ศ. .... ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2550
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแจ้งว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) ได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ซึ่งได้รับการยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ พ.ศ. .... เสร็จแล้ว โดยมีความเห็นดังนี้
1. บทบัญญัติมาตรา 12 (1) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 กำหนดว่าคนต่างด้าวซึ่งจะเข้ามาในราชอาณาจักรต้องได้รับการตรวจลงตรา (Visa) ในหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางจากสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศหรือจากกระทรวงการต่างประเทศ เว้นแต่กรณีที่ไม่ต้องมีการตรวจลงตราสำหรับคนต่างด้าวบางประเภทเป็นกรณีพิเศษ ประกอบกับมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และข้อ 1 (4) แห่งกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. 2545 กำหนดให้กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจลงตราและเอกสารการเดินทางสำหรับคนต่างด้าว ดังนั้น การตรา กฎกระทรวงตามมาตรา 12 (1) วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 จึงกระทำได้เพียงการกำหนด หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการตรวจลงตราโดยสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศหรือจากกระทรวงการต่างประเทศ โดยไม่ อาจกำหนดให้หน่วยงานอื่นเป็นผู้ตรวจลงตราสำหรับผู้ที่จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรที่แตกต่างไปจากมาตรา 12 (1) ได้ การที่หลักการของร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ได้กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองมีอำนาจตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา จำนวนประเทศละ 10,000 คน ที่ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้ คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ลงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549 จึงเป็นการกำหนดที่เกินขอบเขตอำนาจตามมาตรา 12 (1) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2552 และ ขัดต่อมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และข้อ 1 (4) แห่งกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. 2545 และจะปรับปรุงหลักการของร่างกฎกระทรวงให้เป็นกรณียกเว้นการตรวจลงตราตามมาตรา 12 (1) วรรคสอง โดยใช้วิธีอื่นที่มิใช่การตรวจลงตราก็มิอาจกระทำได้เช่นเดียวกัน
2. แม้ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้จะไม่อาจกำหนดขึ้นได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ยังคงสามารถดำเนินนโยบายใน การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2550 และเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2550 ได้ต่อไป โดยมีรายละเอียดดังนี้
2.1 กรณีแรงงานต่างด้าวสัญชาติลาวและกัมพูชาซึ่งจะเข้ามาทำงานในราชอาณาจักรโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นการนำร่อง (กรณีพิเศษ) จำนวนประเทศละ 10,000 คน ควรขอรับการตรวจลงตรา ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวหรือราชอาณาจักรกัมพูชาก่อนที่จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน
2.2 กรณีแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า เมื่ออำนาจในการตรวจลงตราของกระทรวงการต่างประเทศเป็นอำนาจตามที่กฎหมายกำหนดตามข้อ 1 และโดยที่บทบัญญัติตามกฎหมายดังกล่าวมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่นและมิได้ห้ามเรื่องการมอบอำนาจไว้ ดังนั้น กระทรวงการต่างประเทศอาจมอบอำนาจให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง) เป็นผู้ดำเนินการตรวจลงตราแทนกระทรวงการต่างประเทศ ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง สำหรับ แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าซึ่งจะเข้ามาทำงานในราชอาณาจักรโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นการนำร่อง (กรณีพิเศษ) จำนวน 10,000 คน ได้ หากเห็นว่าการมอบอำนาจดังกล่าวจะสามารถแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการพิสูจน์สัญชาติของแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าในประเทศไทยได้
2.3 สมควรให้กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงรับความเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) ดังกล่าว ไปประกอบการพิจารณากำหนดแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจลงตราสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ซึ่งจะเข้ามาทำงานในราชอาณาจักรโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นการนำร่อง (กรณีพิเศษ) ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 เมษายน 2551--จบ--
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) ตรวจพิจารณาแล้วเห็นว่ามีหลักการที่เกินขอบอำนาจตามที่กฎหมายกำหนด แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบความเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
2. มอบให้กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงการต่างประเทศ รับความเห็นและ ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) ไปประกอบการพิจารณากำหนดแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจลงตราสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ซึ่งจะเข้ามาทำงานในราชอาณาจักรโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นการนำร่อง (กรณีพิเศษ) ต่อไป
3. ให้ยุติการตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ซึ่งได้รับการยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ พ.ศ. .... ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2550
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแจ้งว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) ได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ซึ่งได้รับการยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ พ.ศ. .... เสร็จแล้ว โดยมีความเห็นดังนี้
1. บทบัญญัติมาตรา 12 (1) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 กำหนดว่าคนต่างด้าวซึ่งจะเข้ามาในราชอาณาจักรต้องได้รับการตรวจลงตรา (Visa) ในหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางจากสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศหรือจากกระทรวงการต่างประเทศ เว้นแต่กรณีที่ไม่ต้องมีการตรวจลงตราสำหรับคนต่างด้าวบางประเภทเป็นกรณีพิเศษ ประกอบกับมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และข้อ 1 (4) แห่งกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. 2545 กำหนดให้กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจลงตราและเอกสารการเดินทางสำหรับคนต่างด้าว ดังนั้น การตรา กฎกระทรวงตามมาตรา 12 (1) วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 จึงกระทำได้เพียงการกำหนด หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการตรวจลงตราโดยสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศหรือจากกระทรวงการต่างประเทศ โดยไม่ อาจกำหนดให้หน่วยงานอื่นเป็นผู้ตรวจลงตราสำหรับผู้ที่จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรที่แตกต่างไปจากมาตรา 12 (1) ได้ การที่หลักการของร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ได้กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองมีอำนาจตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา จำนวนประเทศละ 10,000 คน ที่ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้ คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ลงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549 จึงเป็นการกำหนดที่เกินขอบเขตอำนาจตามมาตรา 12 (1) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2552 และ ขัดต่อมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และข้อ 1 (4) แห่งกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. 2545 และจะปรับปรุงหลักการของร่างกฎกระทรวงให้เป็นกรณียกเว้นการตรวจลงตราตามมาตรา 12 (1) วรรคสอง โดยใช้วิธีอื่นที่มิใช่การตรวจลงตราก็มิอาจกระทำได้เช่นเดียวกัน
2. แม้ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้จะไม่อาจกำหนดขึ้นได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ยังคงสามารถดำเนินนโยบายใน การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2550 และเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2550 ได้ต่อไป โดยมีรายละเอียดดังนี้
2.1 กรณีแรงงานต่างด้าวสัญชาติลาวและกัมพูชาซึ่งจะเข้ามาทำงานในราชอาณาจักรโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นการนำร่อง (กรณีพิเศษ) จำนวนประเทศละ 10,000 คน ควรขอรับการตรวจลงตรา ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวหรือราชอาณาจักรกัมพูชาก่อนที่จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน
2.2 กรณีแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า เมื่ออำนาจในการตรวจลงตราของกระทรวงการต่างประเทศเป็นอำนาจตามที่กฎหมายกำหนดตามข้อ 1 และโดยที่บทบัญญัติตามกฎหมายดังกล่าวมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่นและมิได้ห้ามเรื่องการมอบอำนาจไว้ ดังนั้น กระทรวงการต่างประเทศอาจมอบอำนาจให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง) เป็นผู้ดำเนินการตรวจลงตราแทนกระทรวงการต่างประเทศ ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง สำหรับ แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าซึ่งจะเข้ามาทำงานในราชอาณาจักรโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นการนำร่อง (กรณีพิเศษ) จำนวน 10,000 คน ได้ หากเห็นว่าการมอบอำนาจดังกล่าวจะสามารถแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการพิสูจน์สัญชาติของแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าในประเทศไทยได้
2.3 สมควรให้กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงรับความเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) ดังกล่าว ไปประกอบการพิจารณากำหนดแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจลงตราสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ซึ่งจะเข้ามาทำงานในราชอาณาจักรโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นการนำร่อง (กรณีพิเศษ) ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 เมษายน 2551--จบ--