คณะรัฐมนตรีรับทราบและเห็นชอบตามที่ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามข้อเสนอของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดังนี้
1.1 การกำหนดยุทธศาสตร์ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และสงขลา
1.2 กรอบแนวคิด ยึดนโยบายรัฐบาลเป็นสำคัญ โดยน้อมนำแนวยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ในการแก้ไขปัญหา โดยยึดหลักภูมิสังคมที่คำนึงถึงอัตลักษณ์ของพื้นที่ในการพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของประชาชน น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาจังหวัด ชายแดนภาคใต้และการพัฒนาแบบองค์รวมที่บูรณาการทุกมิติของการพัฒนาบนพื้นฐานความหลากหลายทางความคิดและวัฒนธรรมให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์และสันติสุขยึดหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการผนึกพลังสังคมขับเคลื่อนการพัฒนาโดยยึดหลักธรรมาภิบาลและประชาธิปไตย
1.3 หลักการ กำหนด ดังนี้
ให้ความสำคัญกับการบรรเทาความเดือดร้อนและฟื้นฟูเศรษฐกิจและกระจายผลการพัฒนาสังคมของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา (อำเภอจะนะ เทพานาทวี และสะบ้าย้อย) โดยเฉพาะการกำหนดมาตรการพิเศษเพื่อรักษาฐานการลงทุนเดิมและจูงใจการลงทุนใหม่ที่มีศักยภาพพัฒนาสตูลเป็นพื้นที่กันชนและเฝ้าระวังการลุกลามของเหตุการณ์ความไม่สงบและเป็นพื้นที่ตัวอย่างการพัฒนาบนพื้นฐานความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงสู่ฐานเศรษฐกิจหลักและประเทศเพื่อนบ้านพัฒนาสงขลาเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกับนานาชาติและกระจายผลการพัฒนาสู่ พื้นที่อื่นใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่
1.4 เป้าประสงค์ มีดังนี้
กลุ่มผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบได้รับการช่วยเหลือและพัฒนาให้สามารถพึ่งตนเองได้
กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อการถูกชักจูงให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาความไม่สงบได้รับการ ดูแลป้องกันและมีกระบวนการพัฒนาให้ปลอดจากภาวะเสี่ยงได้อย่างถาวร
คนในพื้นที่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพทั้งทางร่างกาย จิตใจ ความรู้ ทักษะการประกอบอาชีพ และมีความมั่นคงในการดำรงชีวิตที่จะนำไปสู่ความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชน และความสมานฉันท์ของสังคม
พัฒนาเศรษฐกิจให้มีฐานที่เข้มแข็ง มีความสมดุล เป็นธรรม สามารถเติบโตอย่างมั่นคงในระดับที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มโอกาสการพัฒนาอาชีพ รายได้ และการมีงานทำ สร้างความหวังแก่ประชาชนให้มีความมั่นใจที่จะอยู่ในพื้นที่ อันจะนำไปสู่สันติสุขของสังคม
1.5 บทบาทการพัฒนาพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้
สงขลา - สตูล เป็นศูนย์เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าภายในและระหว่างประเทศ
สงขลา — เป็นศูนย์กลางยางพาราโลก ศูนย์กลางการศึกษานานาชาติ ศูนย์กลางการท่องเที่ยวและกีฬาในระดับสากล
ปัตตานี — เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ศูนย์กลางอิสลามศึกษานานาชาติ
ยะลา - เป็นศูนย์กลางการเกษตรและตลาดสินค้าเกษตร
นราธิวาส — เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงกับพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ด้านตะวันออกของมาเลเซีย
1.6 ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การคุ้มครองความปลอดภัยและการอำนวยความเป็นธรรม เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในอำนาจรัฐ และสร้างภูมิคุ้มกันแก่คนกลุ่มเสี่ยง
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การแก้ไขปัญหาผู้มีรายได้น้อยและเสริมสร้างความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ในการพึ่งพาตนเองได้
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาคุณภาพคนเพื่อสร้างโอกาสการมีงานทำและยกระดับคุณภาพชีวิต
ยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างความเข้มแข็งฐานเศรษฐกิจของพื้นที่และการพัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การบริหารจัดการเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
1.7 แนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติได้มีการกำหนดแนวคิด แผนงาน โครงการ และมาตรการที่สำคัญในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินการพัฒนาให้สอดรับตามกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อไป
2. รับทราบการมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อเสนอเชิงมาตรการและแผนงานโครงการเพื่อตอบสนองนโยบายเร่งด่วนของรัฐ ดังนี้
2.1 ด้านเศรษฐกิจ จำนวน 9 มาตรการ คือ การจัดสร้างโรงงานอุตสาหกรรมทหารใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มาตรการในการรักษาผู้ประกอบการในพื้นที่ให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ และสนับสนุนเอกชนรายใหญ่นอก พื้นที่เข้ามาลงทุนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาตรการในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบสัตว์น้ำ การพัฒนาด่านชายแดนภาคใต้ตามกรอบการพัฒนา JDS มาตรการดูแลและแก้ไขปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำ มาตรการในการส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล มาตรการในการเพิ่มประสิทธิภาพยางพารา มาตรการพัฒนาปาล์มน้ำมันและพลังงานทดแทนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการพัฒนาท่าอากาศยานหาดใหญ่เป็นท่าอากาศยานนานาชาติ
2.2 ด้านการศึกษาและสังคม จำนวน 2 มาตรการ 1 โครงการ คือ มาตรการเร่งรัดการแปลงยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมมาตรการเพิ่มสมรรถนะการดูแลโรงเรียนเอกชน สถาบันปอเนาะ ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด และโครงการก่อสร้างโรงพยาบาลอำเภอกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
2.3 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 3 โครงการ คือ โครงการการแก้ไขปัญหาที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี โครงการจัดตั้งศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลปัตตานี และโครงการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
2.4 ด้านการบริหารจัดการ จำนวน 3 โครงการ 2 มาตรการ ได้แก่ โครงการจัดตั้งศูนย์สันติประชาธรรม โครงการพัฒนาศูนย์นิติวิทยาศาสตร์จังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาตรการชดเชยรายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ลดลงเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบ มาตรการเร่งรัดการออกแนวทางตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยบำเหน็จความชอบสำหรับผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2550
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 เมษายน 2551--จบ--
1. เห็นชอบกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามข้อเสนอของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดังนี้
1.1 การกำหนดยุทธศาสตร์ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และสงขลา
1.2 กรอบแนวคิด ยึดนโยบายรัฐบาลเป็นสำคัญ โดยน้อมนำแนวยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ในการแก้ไขปัญหา โดยยึดหลักภูมิสังคมที่คำนึงถึงอัตลักษณ์ของพื้นที่ในการพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของประชาชน น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาจังหวัด ชายแดนภาคใต้และการพัฒนาแบบองค์รวมที่บูรณาการทุกมิติของการพัฒนาบนพื้นฐานความหลากหลายทางความคิดและวัฒนธรรมให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์และสันติสุขยึดหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการผนึกพลังสังคมขับเคลื่อนการพัฒนาโดยยึดหลักธรรมาภิบาลและประชาธิปไตย
1.3 หลักการ กำหนด ดังนี้
ให้ความสำคัญกับการบรรเทาความเดือดร้อนและฟื้นฟูเศรษฐกิจและกระจายผลการพัฒนาสังคมของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา (อำเภอจะนะ เทพานาทวี และสะบ้าย้อย) โดยเฉพาะการกำหนดมาตรการพิเศษเพื่อรักษาฐานการลงทุนเดิมและจูงใจการลงทุนใหม่ที่มีศักยภาพพัฒนาสตูลเป็นพื้นที่กันชนและเฝ้าระวังการลุกลามของเหตุการณ์ความไม่สงบและเป็นพื้นที่ตัวอย่างการพัฒนาบนพื้นฐานความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงสู่ฐานเศรษฐกิจหลักและประเทศเพื่อนบ้านพัฒนาสงขลาเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกับนานาชาติและกระจายผลการพัฒนาสู่ พื้นที่อื่นใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่
1.4 เป้าประสงค์ มีดังนี้
กลุ่มผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบได้รับการช่วยเหลือและพัฒนาให้สามารถพึ่งตนเองได้
กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อการถูกชักจูงให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาความไม่สงบได้รับการ ดูแลป้องกันและมีกระบวนการพัฒนาให้ปลอดจากภาวะเสี่ยงได้อย่างถาวร
คนในพื้นที่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพทั้งทางร่างกาย จิตใจ ความรู้ ทักษะการประกอบอาชีพ และมีความมั่นคงในการดำรงชีวิตที่จะนำไปสู่ความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชน และความสมานฉันท์ของสังคม
พัฒนาเศรษฐกิจให้มีฐานที่เข้มแข็ง มีความสมดุล เป็นธรรม สามารถเติบโตอย่างมั่นคงในระดับที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มโอกาสการพัฒนาอาชีพ รายได้ และการมีงานทำ สร้างความหวังแก่ประชาชนให้มีความมั่นใจที่จะอยู่ในพื้นที่ อันจะนำไปสู่สันติสุขของสังคม
1.5 บทบาทการพัฒนาพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้
สงขลา - สตูล เป็นศูนย์เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าภายในและระหว่างประเทศ
สงขลา — เป็นศูนย์กลางยางพาราโลก ศูนย์กลางการศึกษานานาชาติ ศูนย์กลางการท่องเที่ยวและกีฬาในระดับสากล
ปัตตานี — เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ศูนย์กลางอิสลามศึกษานานาชาติ
ยะลา - เป็นศูนย์กลางการเกษตรและตลาดสินค้าเกษตร
นราธิวาส — เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงกับพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ด้านตะวันออกของมาเลเซีย
1.6 ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การคุ้มครองความปลอดภัยและการอำนวยความเป็นธรรม เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในอำนาจรัฐ และสร้างภูมิคุ้มกันแก่คนกลุ่มเสี่ยง
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การแก้ไขปัญหาผู้มีรายได้น้อยและเสริมสร้างความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ในการพึ่งพาตนเองได้
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาคุณภาพคนเพื่อสร้างโอกาสการมีงานทำและยกระดับคุณภาพชีวิต
ยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างความเข้มแข็งฐานเศรษฐกิจของพื้นที่และการพัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การบริหารจัดการเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
1.7 แนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติได้มีการกำหนดแนวคิด แผนงาน โครงการ และมาตรการที่สำคัญในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินการพัฒนาให้สอดรับตามกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อไป
2. รับทราบการมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อเสนอเชิงมาตรการและแผนงานโครงการเพื่อตอบสนองนโยบายเร่งด่วนของรัฐ ดังนี้
2.1 ด้านเศรษฐกิจ จำนวน 9 มาตรการ คือ การจัดสร้างโรงงานอุตสาหกรรมทหารใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มาตรการในการรักษาผู้ประกอบการในพื้นที่ให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ และสนับสนุนเอกชนรายใหญ่นอก พื้นที่เข้ามาลงทุนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาตรการในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบสัตว์น้ำ การพัฒนาด่านชายแดนภาคใต้ตามกรอบการพัฒนา JDS มาตรการดูแลและแก้ไขปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำ มาตรการในการส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล มาตรการในการเพิ่มประสิทธิภาพยางพารา มาตรการพัฒนาปาล์มน้ำมันและพลังงานทดแทนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการพัฒนาท่าอากาศยานหาดใหญ่เป็นท่าอากาศยานนานาชาติ
2.2 ด้านการศึกษาและสังคม จำนวน 2 มาตรการ 1 โครงการ คือ มาตรการเร่งรัดการแปลงยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมมาตรการเพิ่มสมรรถนะการดูแลโรงเรียนเอกชน สถาบันปอเนาะ ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด และโครงการก่อสร้างโรงพยาบาลอำเภอกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
2.3 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 3 โครงการ คือ โครงการการแก้ไขปัญหาที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี โครงการจัดตั้งศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลปัตตานี และโครงการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
2.4 ด้านการบริหารจัดการ จำนวน 3 โครงการ 2 มาตรการ ได้แก่ โครงการจัดตั้งศูนย์สันติประชาธรรม โครงการพัฒนาศูนย์นิติวิทยาศาสตร์จังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาตรการชดเชยรายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ลดลงเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบ มาตรการเร่งรัดการออกแนวทางตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยบำเหน็จความชอบสำหรับผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2550
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 เมษายน 2551--จบ--