แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
สำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงบประมาณ
คณะรัฐมนตรี
ธรรมาภิบาล
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักเกณฑ์และแนวทางการคัดเลือกแผนงาน/โครงการในการวิเคราะห์ความเสี่ยงตามหลักธรรมาภิบาลที่สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ร่วมกันกำหนดขึ้นและให้หน่วยงานดังกล่าว แนบผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงไปพร้อมกับคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ทั้งนี้ ให้รวมถึงการ ของบประมาณ งบกลางของหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ
หลักเกณฑ์การคัดเลือกแผนงาน/โครงการ
1. เป็นแผนงาน/โครงการที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการบรรลุผลตามเป้าหมายกระทรวง ส่วนราชการ/ รัฐวิสาหกิจภายใต้กระทรวง กลุ่มจังหวัด หรือจังหวัด และ
2. เป็นแผนงาน/โครงการที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน สิ่งแวดล้อมหรือการให้บริการขั้นพื้นฐานของประชาชน และ
3. เป็นแผนงาน/โครงการที่ใช้งบประมาณสูงเมื่อเปรียบเทียบกับแผนงาน/โครงการอื่นของส่วนราชการ / รัฐวิสาหกิจหรือต่างส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจ ภายใต้กระทรวงเดียวกัน และ
4. เป็นแผนงาน/โครงการอื่นที่ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจหรือผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีหรือผู้ตรวจราชการกระทรวงเห็นควรให้มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงตามหลักธรรมาภิบาล
แนวทางการวิเคราะห์ความเสี่ยง
การวิเคราะห์ความเสี่ยงตามหลักธรรมาภิบาลควรทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงของแผนงาน/โครงการตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีใน 2 ลักษณะ คือ
1. ความเสี่ยงเชิงยุทธศาสตร์มี 3 ประเภท ได้แก่
(1) ความเสี่ยงด้านแนวทางการดำเนินงานที่ไม่สอดคล้องกัน (Key Risk Area)
(2) ความเสี่ยงด้านภาพลักษณ์ทางการเมือง (Political Risk)
(3) ความเสี่ยงด้านการตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของประชาชน (Negotiation Risk)
2. ความเสี่ยงตามหลักธรรมาภิบาลมี 8 ประเภท ได้แก่
(1) ความเสี่ยงต่อการไม่เป็นไปตามหลักภาระรับผิดชอบ (Accountability)
(2) ความเสี่ยงต่อการไม่เป็นไปตามหลักการมีส่วนร่วมของหน่วยรับผิดชอบโครงการ (Participation)
(3) ความเสี่ยงต่อการไม่เป็นไปตามหลักคุณธรรม (Virture)
(4) ความเสี่ยงต่อการไม่เป็นไปตามหลักความโปร่งใส (Transparancy)
(5) ความเสี่ยงต่อการไม่เป็นไปตามหลักความคุ้มค่าในการลงทุนของโครงการ (Value for Money)
(6) ความเสี่ยงต่อการไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม (Rules of Law)
(7) ความเสี่ยงต่อการไม่เป็นไปตามหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้เสีย (Participation)
(8) ความเสี่ยงต่อการไม่เป็นไปตามหลักความคุ้มค่าในเรื่องของการกระจายผลประโยชน์ของโครงการอย่างเป็นธรรมไปยังภาคส่วนต่าง ๆ (Value for Money)
พร้อมทั้งควรพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก และวิเคราะห์ความเสี่ยงประเภทอื่น ๆ ได้แก่
1. ความเสี่ยงด้านการเมืองและสังคม เช่น ความไม่มั่นคงของรัฐบาล การแทรกแซงจากผู้มีอิทธิพลทางการเมือง เป็นต้น
2. ความเสี่ยงด้านการเงินและเศรษฐกิจ เช่น ความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย ความผันผวนของอัตราเงินเฟ้อ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา เป็นต้น
3. ความเสี่ยงด้านกฎหมาย เช่น ความคลุมเครือของกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบต่าง ๆ ความไม่ มั่นใจในการบังคับใช้กฎหมาย เป็นต้น
4. ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี เช่น การเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม การล้าหลังของเทคโนโลยีเนื่องจาก มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ความผิดพลาดของเทคโนโลยีที่ใหม่จนเกินไป เป็นต้น
5. ความเสี่ยงด้านการดำเนินการ เช่น การขาดแคลนบุคลากร การขาดแคลนทรัพยากร การขาดแคลนวัตถุดิบ เป็นต้น
6. ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม/ธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว เป็นต้น
โดยให้ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจใช้แนวทางการวิเคราะห์ความเสี่ยงตามคู่มือการวางแผนและบริหารโครงการของสำนักงบประมาณที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแล้วในวันที่ 27 มีนาคม 2550 มาประกอบการพิจารณาการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้วย ทั้งนี้ ถ้ามีความเสี่ยงประเภทใด จะต้องระบุถึงแนวทางการจัดการกับความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสมด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 เมษายน 2551--จบ--
หลักเกณฑ์การคัดเลือกแผนงาน/โครงการ
1. เป็นแผนงาน/โครงการที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการบรรลุผลตามเป้าหมายกระทรวง ส่วนราชการ/ รัฐวิสาหกิจภายใต้กระทรวง กลุ่มจังหวัด หรือจังหวัด และ
2. เป็นแผนงาน/โครงการที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน สิ่งแวดล้อมหรือการให้บริการขั้นพื้นฐานของประชาชน และ
3. เป็นแผนงาน/โครงการที่ใช้งบประมาณสูงเมื่อเปรียบเทียบกับแผนงาน/โครงการอื่นของส่วนราชการ / รัฐวิสาหกิจหรือต่างส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจ ภายใต้กระทรวงเดียวกัน และ
4. เป็นแผนงาน/โครงการอื่นที่ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจหรือผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีหรือผู้ตรวจราชการกระทรวงเห็นควรให้มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงตามหลักธรรมาภิบาล
แนวทางการวิเคราะห์ความเสี่ยง
การวิเคราะห์ความเสี่ยงตามหลักธรรมาภิบาลควรทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงของแผนงาน/โครงการตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีใน 2 ลักษณะ คือ
1. ความเสี่ยงเชิงยุทธศาสตร์มี 3 ประเภท ได้แก่
(1) ความเสี่ยงด้านแนวทางการดำเนินงานที่ไม่สอดคล้องกัน (Key Risk Area)
(2) ความเสี่ยงด้านภาพลักษณ์ทางการเมือง (Political Risk)
(3) ความเสี่ยงด้านการตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของประชาชน (Negotiation Risk)
2. ความเสี่ยงตามหลักธรรมาภิบาลมี 8 ประเภท ได้แก่
(1) ความเสี่ยงต่อการไม่เป็นไปตามหลักภาระรับผิดชอบ (Accountability)
(2) ความเสี่ยงต่อการไม่เป็นไปตามหลักการมีส่วนร่วมของหน่วยรับผิดชอบโครงการ (Participation)
(3) ความเสี่ยงต่อการไม่เป็นไปตามหลักคุณธรรม (Virture)
(4) ความเสี่ยงต่อการไม่เป็นไปตามหลักความโปร่งใส (Transparancy)
(5) ความเสี่ยงต่อการไม่เป็นไปตามหลักความคุ้มค่าในการลงทุนของโครงการ (Value for Money)
(6) ความเสี่ยงต่อการไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม (Rules of Law)
(7) ความเสี่ยงต่อการไม่เป็นไปตามหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้เสีย (Participation)
(8) ความเสี่ยงต่อการไม่เป็นไปตามหลักความคุ้มค่าในเรื่องของการกระจายผลประโยชน์ของโครงการอย่างเป็นธรรมไปยังภาคส่วนต่าง ๆ (Value for Money)
พร้อมทั้งควรพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก และวิเคราะห์ความเสี่ยงประเภทอื่น ๆ ได้แก่
1. ความเสี่ยงด้านการเมืองและสังคม เช่น ความไม่มั่นคงของรัฐบาล การแทรกแซงจากผู้มีอิทธิพลทางการเมือง เป็นต้น
2. ความเสี่ยงด้านการเงินและเศรษฐกิจ เช่น ความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย ความผันผวนของอัตราเงินเฟ้อ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา เป็นต้น
3. ความเสี่ยงด้านกฎหมาย เช่น ความคลุมเครือของกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบต่าง ๆ ความไม่ มั่นใจในการบังคับใช้กฎหมาย เป็นต้น
4. ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี เช่น การเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม การล้าหลังของเทคโนโลยีเนื่องจาก มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ความผิดพลาดของเทคโนโลยีที่ใหม่จนเกินไป เป็นต้น
5. ความเสี่ยงด้านการดำเนินการ เช่น การขาดแคลนบุคลากร การขาดแคลนทรัพยากร การขาดแคลนวัตถุดิบ เป็นต้น
6. ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม/ธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว เป็นต้น
โดยให้ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจใช้แนวทางการวิเคราะห์ความเสี่ยงตามคู่มือการวางแผนและบริหารโครงการของสำนักงบประมาณที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแล้วในวันที่ 27 มีนาคม 2550 มาประกอบการพิจารณาการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้วย ทั้งนี้ ถ้ามีความเสี่ยงประเภทใด จะต้องระบุถึงแนวทางการจัดการกับความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสมด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 เมษายน 2551--จบ--