คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2551 ของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) และมอบหมายให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบต่อไป ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสหัส บัณฑิตกุล) ประธานกรรมการ/ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนเสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
รองนายกรัฐมนตรี (นายสหัส บัณฑิตกุล) ประธานกรรมการ/ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) รายงานว่า คณะกรรมการ ศปถ. ได้ประชุม ครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2551 เพื่อกำหนดแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2551 ที่ประชุมคณะกรรมการ ศปถ. ได้มีมติเห็นชอบแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2551 ตามที่ฝ่ายเลขานุการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนเสนอ ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ
1. ห้วงเวลาการดำเนินการช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2551 ระหว่างวันที่ 11-17 เมษายน 2551 (7 วันระวังอันตราย)
2. เป้าหมายการดำเนินการ เพื่อคำนึงถึงความปลอดภัยและลดความสูญเสียของประชาชนทุกคนให้กำหนดเป้าหมายจำนวนผู้เสียชีวิตเป็นศูนย์และให้กำหนดเป้าหมายในการดำเนินการร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
2.1 เป้าหมายการดำเนินการในภาพรวม ดำเนินการให้สามารถลดจำนวนครั้งของการเกิดอุบัติเหตุ จำนวนผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บ (admit) ระหว่างวันที่ 11-17 เมษายน 2551 ให้ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2550 (วันที่ 11-17 เมษายน 2550)
2.2 เป้าหมายเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถประเมินผลและพัฒนาประสิทธิภาพร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงกำหนดเป้าหมายการปฏิบัติงานให้ลดจำนวนครั้งของการเกิดอุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิต
ผู้บาดเจ็บลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของค่าประมาณการ ทั้งในภาพรวมของประเทศและระดับจังหวัด
2.3 มาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ให้ดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์หลัก 5 ด้าน (ด้านการบังคับใช้กฎหมาย ด้านวิศวกรรมจราจร ด้านการให้ความรู้ การประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วม ด้านการบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน ด้านการประเมินผลและระบบสารสนเทศ) โดยกำหนดมาตรการเน้นหนักในการดำเนินการที่สำคัญ 10 มาตรการ ได้แก่ มาตรการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วม มาตรการด้านการป้องปรามผู้กระทำผิดกฎหมายจราจร มาตรการด้านการบังคับใช้กฎหมาย มาตรการด้านสังคมและชุมชน มาตรการตรวจสอบคุณภาพ มาตรการช่วยเหลือ กู้ชีพ กู้ภัย มาตรการด้านการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย มาตรการรณรงค์ปลุกจิตสำนึกและสร้างแบบอย่างที่ดี มาตรการด้านการรายงานผลและวิเคราะห์ข้อมูล
2.4 แนวทางการปฏิบัติ โดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และมอบหมายให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในการบูรณาการการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยใช้กลไกของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัด เป็นหน่วยงานหลักในการอำนวยการให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติ ภายใต้ยุทธศาสตร์หลัก 5 ด้าน (ด้านการบังคับใช้กฎหมาย ด้านวิศวกรรมจราจร ด้านการให้ความรู้ การประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วม ด้านการบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน ด้านการประเมินผลและระบบสารสนเทศ) ดำเนินการใน 2 ช่วง คือ
2.4.1 ช่วงเตรียมความพร้อม (วันที่ 24 มีนาคม-10 เมษายน 2551) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่รับผิดชอบงานความปลอดภัยทางถนน เตรียมความพร้อม และดำเนินงานในภารกิจต่าง ๆ โดยจัดประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัด วางแนวทางการดำเนินงาน จัดทำแผนการดำเนินงานในภาพรวมของจังหวัดเพื่อเตรียมความพร้อมทั้งด้านการปฏิบัติและงบประมาณ เพื่อการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2551 ตามยุทธศาสตร์หลัก 5 ด้าน และมาตรการเน้นหนัก กำหนดตัวบุคคล หน่วยงานรับผิดชอบให้ชัดเจนเพื่อสามารถติดตามประเมินผลได้อย่างครบถ้วนถูกต้องโดยการพิจารณามอบหมาย ภารกิจสำคัญต่าง ๆ
2.4.2 ช่วงปฏิบัติการเข้มข้น (วันที่ 11-17 เมษายน 2551) ปฏิบัติตามแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนภายใต้ยุทธศาสตร์หลัก 5 ด้านอย่างต่อเนื่อง โดยให้มีการดำเนินการ ดังนี้
2.4.2.1 จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วมป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ระดับจังหวัด อำเภอ และศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2551 ณ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
2.4.2.2 การตั้งจุดตรวจ/ด่านตรวจร่วมแบบบูรณาการบนเส้นทางสายหลัก (เส้นทางหลวงแผ่นดิน) สายรอง (เส้นทางหลวงชนบทและเส้นทางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง โดยให้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำจุดตรวจ/ด่านตรวจร่วมอย่างน้อย 4 นาย
2.4.2.3 การตั้งจุดสกัดกั้นชุมชน หมู่บ้าน โดยมอบหมายให้เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหัวหน้าชุมชน หมู่บ้าน ภาคประชาชน เพื่อเป็นการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนเบื้องต้นในระดับพื้นที่
2.4.2.4 การจัดตั้งหน่วยสนับสนุนและบริการประชาชนระดับพื้นที่เพื่อเป็นการสนับสนุนการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 เมษายน 2551--จบ--
สาระสำคัญของเรื่อง
รองนายกรัฐมนตรี (นายสหัส บัณฑิตกุล) ประธานกรรมการ/ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) รายงานว่า คณะกรรมการ ศปถ. ได้ประชุม ครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2551 เพื่อกำหนดแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2551 ที่ประชุมคณะกรรมการ ศปถ. ได้มีมติเห็นชอบแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2551 ตามที่ฝ่ายเลขานุการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนเสนอ ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ
1. ห้วงเวลาการดำเนินการช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2551 ระหว่างวันที่ 11-17 เมษายน 2551 (7 วันระวังอันตราย)
2. เป้าหมายการดำเนินการ เพื่อคำนึงถึงความปลอดภัยและลดความสูญเสียของประชาชนทุกคนให้กำหนดเป้าหมายจำนวนผู้เสียชีวิตเป็นศูนย์และให้กำหนดเป้าหมายในการดำเนินการร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
2.1 เป้าหมายการดำเนินการในภาพรวม ดำเนินการให้สามารถลดจำนวนครั้งของการเกิดอุบัติเหตุ จำนวนผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บ (admit) ระหว่างวันที่ 11-17 เมษายน 2551 ให้ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2550 (วันที่ 11-17 เมษายน 2550)
2.2 เป้าหมายเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถประเมินผลและพัฒนาประสิทธิภาพร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงกำหนดเป้าหมายการปฏิบัติงานให้ลดจำนวนครั้งของการเกิดอุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิต
ผู้บาดเจ็บลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของค่าประมาณการ ทั้งในภาพรวมของประเทศและระดับจังหวัด
2.3 มาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ให้ดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์หลัก 5 ด้าน (ด้านการบังคับใช้กฎหมาย ด้านวิศวกรรมจราจร ด้านการให้ความรู้ การประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วม ด้านการบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน ด้านการประเมินผลและระบบสารสนเทศ) โดยกำหนดมาตรการเน้นหนักในการดำเนินการที่สำคัญ 10 มาตรการ ได้แก่ มาตรการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วม มาตรการด้านการป้องปรามผู้กระทำผิดกฎหมายจราจร มาตรการด้านการบังคับใช้กฎหมาย มาตรการด้านสังคมและชุมชน มาตรการตรวจสอบคุณภาพ มาตรการช่วยเหลือ กู้ชีพ กู้ภัย มาตรการด้านการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย มาตรการรณรงค์ปลุกจิตสำนึกและสร้างแบบอย่างที่ดี มาตรการด้านการรายงานผลและวิเคราะห์ข้อมูล
2.4 แนวทางการปฏิบัติ โดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และมอบหมายให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในการบูรณาการการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยใช้กลไกของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัด เป็นหน่วยงานหลักในการอำนวยการให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติ ภายใต้ยุทธศาสตร์หลัก 5 ด้าน (ด้านการบังคับใช้กฎหมาย ด้านวิศวกรรมจราจร ด้านการให้ความรู้ การประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วม ด้านการบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน ด้านการประเมินผลและระบบสารสนเทศ) ดำเนินการใน 2 ช่วง คือ
2.4.1 ช่วงเตรียมความพร้อม (วันที่ 24 มีนาคม-10 เมษายน 2551) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่รับผิดชอบงานความปลอดภัยทางถนน เตรียมความพร้อม และดำเนินงานในภารกิจต่าง ๆ โดยจัดประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัด วางแนวทางการดำเนินงาน จัดทำแผนการดำเนินงานในภาพรวมของจังหวัดเพื่อเตรียมความพร้อมทั้งด้านการปฏิบัติและงบประมาณ เพื่อการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2551 ตามยุทธศาสตร์หลัก 5 ด้าน และมาตรการเน้นหนัก กำหนดตัวบุคคล หน่วยงานรับผิดชอบให้ชัดเจนเพื่อสามารถติดตามประเมินผลได้อย่างครบถ้วนถูกต้องโดยการพิจารณามอบหมาย ภารกิจสำคัญต่าง ๆ
2.4.2 ช่วงปฏิบัติการเข้มข้น (วันที่ 11-17 เมษายน 2551) ปฏิบัติตามแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนภายใต้ยุทธศาสตร์หลัก 5 ด้านอย่างต่อเนื่อง โดยให้มีการดำเนินการ ดังนี้
2.4.2.1 จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วมป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ระดับจังหวัด อำเภอ และศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2551 ณ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
2.4.2.2 การตั้งจุดตรวจ/ด่านตรวจร่วมแบบบูรณาการบนเส้นทางสายหลัก (เส้นทางหลวงแผ่นดิน) สายรอง (เส้นทางหลวงชนบทและเส้นทางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง โดยให้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำจุดตรวจ/ด่านตรวจร่วมอย่างน้อย 4 นาย
2.4.2.3 การตั้งจุดสกัดกั้นชุมชน หมู่บ้าน โดยมอบหมายให้เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหัวหน้าชุมชน หมู่บ้าน ภาคประชาชน เพื่อเป็นการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนเบื้องต้นในระดับพื้นที่
2.4.2.4 การจัดตั้งหน่วยสนับสนุนและบริการประชาชนระดับพื้นที่เพื่อเป็นการสนับสนุนการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 เมษายน 2551--จบ--