สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 ธันวาคม 2565

ข่าวการเมือง Tuesday December 20, 2022 18:15 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (20 ธันวาคม 2565)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
                    1.           เรื่อง            ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองพังงา                                             พ.ศ. ....
                    2.           เรื่อง            ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมนนทบุรี                                                        พ.ศ. ....
                    3.           เรื่อง           ร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. ....
                    4.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุย                                        วิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏ                                                  ร้อยเอ็ด (ฉบับที่..) พ.ศ. ....
                    5.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุย                                        วิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง                                         (ฉบับที่..) พ.ศ. ....
                    6.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับ                                                  พลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. ....
                    7.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข                                         7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กำหนด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....                                         (ยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษในช่วงเทศกาลปีใหม่ของ                                        ปี พ.ศ. 2566)
เศรษฐกิจ-สังคม
                    8.           เรื่อง           การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ชุ่มน้ำ
                    9.           เรื่อง           รายงานความคืบหน้าโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์องค์ความรู้เรื่องไม้มีค่าเพื่อ                                                  ประโยชน์ของแผ่นดิน และหอประชุมอเนกประสงค์นานาชาติเฉลิมพระเกียรติ                                                   เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
                    10.           เรื่อง           สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ประจำปี                                                  งบประมาณ พ.ศ.2565
                    11.           เรื่อง           มาตรการเร่งด่วนด้านพลังงานเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์                                        ราคาพลังงาน สำหรับค่าไฟฟ้าประจำเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2565
                    12.           เรื่อง           ขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2559 เพื่อให้การ                                        ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยยุติการดำเนินโครงการไฟฟ้าพลังน้ำบ้านจันเดย์
                    13.           เรื่อง           การจัดทำโครงการบ้านพักข้าราชการ (บ้านหลวง) ของกระทรวงการพัฒนาสังคม                                        และความมั่นคงของมนุษย์ ภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะ 20 ปี                                                   (พ.ศ. 2560 - 2579)
                    14.           เรื่อง           วาระแห่งชาติ เรื่อง การป้องกันและแก้ไขปัญหาการข่มขืนกระทำชำเราและการ                                        ล่วงละเมิดทางเพศ
                    15.           เรื่อง           การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการให้ความ                                        ช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปรับปรุง                                        ใหม่)
                    16.           เรื่อง           การจัดตั้งกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
                    17.           เรื่อง           การขยายระยะเวลามาตรการบรรเทาผลกระทบราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)                                         โครงการยกระดับความช่วยเหลือส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มแก่ผู้มีรายได้น้อย ผ่าน                                                  บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
                    18.           เรื่อง           การดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 ให้แก่ประชาชน
                    19.           เรื่อง           ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้ง                                        ที่ 20/2565 และผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้                                                   ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 31/2565
                    20.           เรื่อง           การยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษตามประกาศกระทรวงคมนาคมกำหนดอัตราค่าผ่าน                                        ทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถี และทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี ? สุข                                                  สวัสดิ์) ในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2566
                    21.           เรื่อง           ของขวัญปีใหม่ ปี 2566 (จำนวน 19 หน่วยงาน)
                    22.           เรื่อง           การดำเนินโครงการบรรพชาอุปสมบทถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าลูก                                        เธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชร                                        ราชธิดา
                    23.           เรื่อง           ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง                                                   รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (กระทรวงพลังงาน)

ต่างประเทศ
                    24.           เรื่อง            แผนการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ไทยตอบรับและคำมั่นโดยสมัครใจภายใต้กลไก                                         Universal Periodic Review (UPR) รอบที่ 3 (พ.ศ. 2564 ? 2568)
                    25.           เรื่อง            ขอความเห็นชอบแผนการดำเนินงาน กรอบงบประมาณ การจัดงาน Expo 2025                                         Osaka Kansai ณ นครโอซากา ประเทศญี่ปุ่น
                    26.           เรื่อง            การจัดทำร่างโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างรัฐบาลแห่ง                                                            ราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินเดีย ระหว่างปี พ.ศ. 2565 ?                                                   2570

แต่งตั้ง
                    27.           เรื่อง            การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงวัฒนธรรม)
                    28.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    29.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (กระทรวงยุติธรรม)
                    30.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (กระทรวงแรงงาน)
                    31.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (กระทรวงศึกษาธิการ)
                    32.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    33.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
                    34.           เรื่อง           การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ                                                  สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
                    35.           เรื่อง           แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้                                        รถใช้ถนน
                    36.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ตาม                                                  พระราชบัญญัติส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย พ.ศ. 2551
                    37.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (กระทรวงพาณิชย์)
                    38.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง                                                   (กระทรวงอุตสาหกรรม)
                    39.           เรื่อง           แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

__________________________________________

?
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองพังงา พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองพังงา พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ตามที่ มท. เสนอเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลนบปริง ตำบลถ้ำน้ำผุด ตำบลท้ายช้าง ตำบลตากแดด และตำบลเกาะปันหยี อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมือง และบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรวมทั้งสอดคล้องกับนโยบายของจังหวัดพังงาและมาตรการในการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนเมืองให้เป็นศูนย์กลางการบริหารและการปกครอง การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวโดยดำรงรักษารูปแบบการตั้งถิ่นฐานที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน และได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น 9 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แล้ว และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว

สาระสำคัญของร่างประกาศ

กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองพังงา ในท้องที่ตำบลนบปริง ตำบลถ้ำน้ำผุด ตำบลท้ายช้าง ตำบลตากแดด และตำบลเกาะปันหยี อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา และการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

1. กำหนดให้ผังเมืองรวมเมืองพังงา มีนโยบายและมาตรการเพื่อจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายคมนาคมขนส่งและบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพสามารถรองรับและสอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

1.1 ส่งเสริมและพัฒนาชุมชนเมืองให้เป็นศูนย์กลางการบริหารและการปกครองของจังหวัด

1.2 ส่งเสริมการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนและระบบเศรษฐกิจของจังหวัด

1.3 ส่งเสริมและพัฒนาการบริการทางสังคม การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน รวมทั้งขยายพื้นที่เพื่อการพัฒนาเมืองให้สัมพันธ์กับถนนและการให้บริการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ

1.4 ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว

1.5 ดำรงรักษารูปแบบการตั้งถิ่นฐาน วิถีชีวิตดั้งเดิม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน

1.6 อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2. กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 9 ประเภท ดังนี้

ประเภท          วัตถุประสงค์
1. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง)          - เป็นพื้นที่รอบนอกชุมชนเมืองต่อจากพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยที่เบาบางที่มีสภาพแวดล้อมที่ดี รวมทั้งรองรับการขยายตัวด้านการอยู่อาศัยในอนาคตซึ่งมีการก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว หอพัก อาคารชุด อาคารอยู่อาศัยรวม โดยมีข้อจำกัดเรื่องขนาดพื้นที่ของอาคารซึ่งต้องไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่ และมีความสูงของอาคารไม่เกิน 15 เมตร เว้นแต่ในบริเวณหมายเลข 1.4 ให้มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตร
2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม)           - เป็นพื้นที่บริเวณต่อเนื่องหรือล้อมรอบพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางในการรองรับการอยู่อาศัยบริเวณที่ต่อเนื่องจากศูนย์กลางพาณิชยกรรมซึ่งมีการสร้างที่อยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด              ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว หอพัก อาคารชุด อาคารอยู่อาศัยรวม โดยมีข้อจำกัดขนาดพื้นที่อาคารอยู่อาศัยต้องไม่ใช่อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่สำหรับในระยะ 50 เมตร จากริมถนนมนตรีกำหนดให้มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตร
3. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง)           - เป็นพื้นที่ศูนย์กลางด้านพาณิชยกรรมของเมืองพังงามีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมหลักเพื่อส่งเสริมความเป็นศูนย์กลางทางการค้า และการบริการของชุมชน ประกอบด้วย ตลาด ศูนย์การค้าสำนักงาน โรงแรม โดยมีข้อจำกัดเรื่องความสูงของอาคารซึ่งต้องไม่ใช่อาคารสูง รวมทั้งกำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากเพื่อรองรับการประกอบกิจการดังกล่าว
4. ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว)           - เป็นพื้นที่ฉนวน (Buffer Zone) ของชุมชนให้คงสภาพชนบทและประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เช่น การทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ การสงวนรักษาพื้นที่เกษตรกรรม และการส่งเสริมเศรษฐกิจการเกษตรโดยมีข้อจำกัดเรื่องความสูงของอาคารซึ่งต้องมีความสูงไม่เกิน 9 เมตร
5. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน)           - เป็นพื้นที่โล่ง และพื้นที่ตามธรรมชาติที่มีวัตถุประสงค์ในการกำหนดพื้นที่ไว้เพื่อให้ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ มีที่พักผ่อนหย่อนใจ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่สมบูรณ์ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ประกอบด้วยที่โล่ง 3 ลักษณะ คือ บริเวณเขาวง เขาช้าง เขาหลักเมือง และเขางุ้ม ให้ใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อนันทนาการ                 การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมสภาพภูมิทัศน์ของเมือง และการท่องเที่ยวเท่านั้น  บริเวณสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สวนกาญจนาภิเษก เทศบาลเมืองพังงา และสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ จังหวัดพังงา ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและสวนสุขภาพเท่านั้น และบริเวณสนามกีฬากลางองค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงาและหนองน้ำสาธารณะ ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อสนามกีฬาและการพักผ่อนหย่อนใจเท่านั้น
6. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้ (สีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีขาว)           - เป็นพื้นที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ และพื้นที่ของเอกชนที่อยู่ในบริเวณดังกล่าว กรณีที่ดินของป่าไม้มีวัตถุประสงค์ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการสงวนและคุ้มครองดูแลรักษาหรือบำรุงป่าไม้ สัตว์ป่า ต้นน้ำลำธาร และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ สำหรับที่ดินซึ่งเอกชนเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายกำหนดให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อให้สอดคล้องกับป่าไม้โดยมีการผ่อนปรนให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการดำรงอยู่ได้ เช่น การอยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ซึ่งมิใช่การจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยและต้องไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่สำหรับที่ดินซึ่งเอกชนเป็นเจ้าของหรือ                      ผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย มีข้อกำหนดให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการท่องเที่ยว โดยมีข้อจำกัดเรื่องขนาดของอาคารซึ่งต้องไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่และมีที่ว่างไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของแปลงที่ดินที่ยื่นขออนุญาต
7. ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก)           - มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน เช่น ศูนย์พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพังงา โรงเรียนอนุบาลช้างวิทยาลัยเทคนิคพังงา
8. ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน)           -มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่สถาบันศาสนาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน เช่น วัดมะปริง วัดสราภิมุข วัดประชุมโยธี สำนักสงฆ์ถ้ำตาปาน (ที่ธรณีสงฆ์วัดประชุมโยธี)
9. ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน)           - มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดินเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐบาลเพื่อการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เช่น สถานีตำรวจทางหลวงที่ 1 กองกำกับการ 7 สำนักงานประกันสังคมจังหวัดพังงาโรงพยาบาลพังงา

3. กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท

                    4. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณแนวถนนสาย ก 1 ถนนสาย ก 2 ถนนสาย ก 3                  ถนนสาย ก 4 ถนนสาย ก 5 ถนนสาย ก 6 ถนนสาย ข 1 ถนนสาย ข 2 ถนนสาย ค 1 ถนนสาย ค 2 และถนนสาย              ค 3 ตามแผนผังแสดงโครงการคมนาคม และขนส่งท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยให้ใช้ประโยชน์เพื่อกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้

4.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ

4.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง

4.3 เกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตร หรือไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่

2. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมนนทบุรี พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมือง                      รวมนนทบุรี  พ.ศ. ....   ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่จังหวัดนนทบุรี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาจังหวัดนนทบุรีให้เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัย มีคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมที่ดี มีการพัฒนาบริการสาธารณะที่ได้มาตรฐาน และมีการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับการขยายตัวของภาคการผลิต การค้า การบริการและการลงทุน ตลอดจนดำรงรักษาพื้นที่เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น และวิถีชีวิตดั้งเดิมที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน โดยมีแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาจังหวัดนนทบุรีให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น 14 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น 1 รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แล้ว และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว

สาระสำคัญของร่างประกาศ

1. กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่จังหวัดนนทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาจังหวัดนนทบุรี ให้เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัยมีคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมที่ดี มีการพัฒนาบริการสาธารณะที่ได้มาตรฐาน และมีการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับการขยายตัวของภาคการผลิต การค้า การบริการและการลงทุน ตลอดจนดำรงรักษาพื้นที่เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น และวิถีชีวิตดั้งเดิมที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน โดยมีแนวทางในการพัฒนาและดำรงรักษาจังหวัดนนทบุรี ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

                              1.1 ส่งเสริมและพัฒนาเมืองให้เป็นศูนย์กลางการบริหารการปกครอง และการค้า                   การบริการของจังหวัด

1.2 ส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นเมืองน่าอยู่อาศัยที่ดี ในสภาพแวดล้อมที่ดีมีมาตรฐาน

                              1.3 ส่งเสริมและพัฒนาด้านที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม อุตสาหกรรมและเกษตรกรรม        ให้มีความสอดคล้องและสมดุลกับการพัฒนาเมือง

1.4 ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยการพัฒนาสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และบริการทางสังคมขั้นพื้นฐานให้เพียงพอและได้มาตรฐาน

1.5 พัฒนาระบบโครงข่ายการคมนาคมขนส่ง ให้สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน และเชื่อมโยงกับระบบขนส่งมวลชน ตลอดจนระบบคมนาคมขนส่งของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ

1.6 ดำรงรักษาพื้นที่เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นที่มีความอุดมสมบูรณ์ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน

1.7 ส่งเสริมและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตลอดจนป้องกันปัญหาจากภัยธรรมชาติ และภัยพิบัติ

1.8 อนุรักษ์ ฟื้นฟู และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม แหล่งศิลปกรรม สถาปัตยกรรมท้องถิ่น ที่มีคุณค่าให้คงความงดงาม และกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม

2. กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 14 ประเภท ดังนี้

ประเภท          วัตถุประสงค์
1. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) จำแนกเป็นที่ดินประเภท ย. 1 ถึง ย. 3 ดังนี้
1.1 ที่ดินประเภท ย. 1

- มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและดำรงรักษาสภาพแวดล้อมที่ดี ของการอยู่อาศัยบริเวณเขต            ชานเมือง และบริเวณต่อเนื่องกับพื้นที่ที่สงวนรักษาไว้สำหรับพื้นที่เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นที่มีการก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยได้ทุกประเภท และไม่ให้ก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยประเภทอาคารชุด หอพัก อาคารอยู่อาศัย หรืออาคารขนาดใหญ่  รวมทั้งห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่อาศัยที่ดี ได้แก่ การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน คลังเชื้อเพลิง สุสาน ฌาปนสถาน โรงแรม และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น การล้าง ชำแหละ แกะ ต้ม นึ่ง ทอด หรือบดเนื้อสัตว์ เป็นต้น
1.2 ที่ดินประเภท ย. 2          - มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการขยายตัวของที่อยู่อาศัยบริเวณโดยรอบศูนย์กลางชุมชนชานเมือง และพื้นที่ต่อเนื่องกับเขตชานเมืองที่มีการก่อสร้างที่อยู่อาศัยได้ทุกประเภท รวมทั้งห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่อาศัยที่ดี ได้แก่ การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน คลังเชื้อเพลิง สุสาน ฌาปนสถาน โรงแรม และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น การทำน้ำดื่ม  การซ่อมแซมเครื่องยนต์    เป็นต้น
1.3 ที่ดินประเภท ย. 3          - มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการขยายตัวของการอยู่อาศัย ที่มีสภาพแวดล้อมที่ดีบริเวณใกล้กับเขตการให้บริการของระบบขนส่งมวลชนและโครงข่ายคมนาคมและขนส่ง ที่มีการก่อสร้างที่อยู่อาศัยได้ทุกประเภท รวมทั้งห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่อาศัยที่ดี ได้แก่ การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน คลังเชื้อเพลิง และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น การทำน้ำดื่ม น้ำแร่ เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เป็นต้น
2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) จำแนกเป็นที่ดินประเภท ย. 4 ถึง ย. 6
2.1 ที่ดินประเภท ย. 4







- มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการขยายตัวของที่อยู่อาศัย   ที่มีสภาพแวดล้อมที่ดี ซึ่งอยู่ใกล้แหล่งงาน และเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับศูนย์กลางพาณิชยกรรม ของชุมชนชานเมือง ที่มีการก่อสร้างที่อยู่อาศัยทุกประเภท รวมทั้งห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่อาศัยที่ดี ได้แก่ คลังเชื้อเพลิง การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน สุสาน ฌาปนสถาน และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น การเพาะเชื้อเห็ด กล้วยไม้ เป็นต้น
2.2 ที่ดินประเภท ย. 5          - มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการอยู่อาศัยที่ยังคงสภาพแวดล้อมที่ดี ในบริเวณพื้นที่ต่อเนื่องกับเขตเมืองชั้นใน ศูนย์กลางชุมชนชานเมือง และอยู่ใกล้เขตการให้บริการ  ของระบบขนส่งมวลชน ที่มีการก่อสร้างที่อยู่อาศัยทุกประเภท รวมทั้งห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่อาศัยที่ดี ได้แก่ โรงฆ่าสัตว์ สวนสัตว์ สนามแข่งรถ และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้  เช่น การทำน้ำดื่ม น้ำแร่ การผลิตรองเท้า    เป็นต้น
2.3 ที่ดินประเภท ย. 6          - มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการอยู่อาศัยที่มีสภาพแวดล้อมที่ดี ในบริเวณพื้นที่ชั้นใน ศูนย์กลางหลักของเมืองและอยู่ในเขตการให้บริการของระบบขนส่งมวลชน ที่มีการก่อสร้างที่อยู่อาศัยทุกประเภทรวมทั้งห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่อาศัยที่ดี ได้แก่ คลังสินค้า สถานที่สงเคราะห์สัตว์ กำจัดมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น การเพาะเห็ด กล้วยไม้หรือถั่วงอก เป็นต้น
3. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีน้ำตาล) จำแนกเป็นที่ดินประเภท ย. 7 ถึง ย. 8
3.1 ที่ดินประเภท ย. 7

- มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการขยายตัวของที่อยู่อาศัยภายใต้ สภาพแวดล้อมที่ดี ซึ่งอยู่บริเวณพื้นที่ศูนย์กลางชุมชนที่ต่อเนื่องกับศูนย์กลางพาณิชยกรรมหลักของเมือง และอยู่ใกล้เขตการให้บริการของระบบขนส่งมวลชนที่มีการก่อสร้างที่อยู่อาศัยทุกประเภท รวมทั้ง ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่อาศัยที่ดี ได้แก่ คลังเชื้อเพลิง สถานีบริการเชื้อเพลิง การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน สุสาน และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น การซ่อมรองเท้า การซ่อมนาฬิกา เป็นต้น
3.2 ที่ดินประเภท ย. 8          - มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการอยู่อาศัยและ                  การบริการ ในบริเวณพื้นที่เมืองชั้นในและศูนย์กลางชุมชนชานเมือง โดยส่งเสริมและดำรงรักษาทัศนียภาพของเมือง ให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีซึ่งอยู่ในเขตบริการของระบบขนส่งมวลชน ที่มีการก่อสร้างที่อยู่อาศัยทุกประเภท รวมทั้งห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่อาศัยที่ดี ได้แก่ คลังเชื้อเพลิง สถานีบริการเชื้อเพลิง การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน สุสาน และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น               การซ่อมรองเท้าหรือเครื่องหนัง การล้างอัดฉีด เป็นต้น
4. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม (สีแดง) จำแนกเป็นที่ดินประเภท พ. 1 ถึง พ. 4
4.1 ที่ดินประเภท พ. 1

- มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมของชุมชน ที่อยู่อาศัยบริเวณชานเมือง เพื่อกระจายกิจกรรมการค้า การบริการที่อำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิตประจำวัน และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่พาณิชยกรรม ได้แก่ คลังเชื้อเพลิง สถานีบริการเชื้อเพลิง การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน สุสาน และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น การทำอาหารสำเร็จรูปจากเนื้อสัตว์ การทำน้ำดื่ม น้ำแร่ เป็นต้น
4.2 ที่ดินประเภท พ. 2          - มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางชุมชนชานเมืองที่รองรับ และส่งเสริมกิจกรรมทางการค้า การบริการ และนันทนาการที่ก่อให้เกิดความสมดุลระหว่างที่อยู่อาศัย และแหล่งงาน รวมทั้งห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่พาณิชยกรรม ได้แก่ คลังเชื้อเพลิง สถานีบริการเชื้อเพลิง การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน สุสาน และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น                      การทำอาหารสำเร็จรูปจากเนื้อสัตว์ การทำน้ำดื่ม น้ำแร่ เป็นต้น
4.3 ที่ดินประเภท พ. 3          - มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรม             รองของจังหวัด ที่รองรับการขยายตัวของกิจกรรมทางการค้า การบริการ และนันทนาการที่ให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ และในบริเวณโดยรอบเขต                 การให้บริการของระบบขนส่งมวลชน รวมทั้งห้าม            การใช้ประโยชน์ที่ดินที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่พาณิชยกรรม ได้แก่ คลังเชื้อเพลิง สถานีบริการเชื้อเพลิง การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน สุสาน และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น    การทำขนมปังขนมเค้ก ขนมอบแห้ง การทำน้ำดื่ม น้ำแร่      การพิมพ์ การซ่อมรองเท้า ซ่อมนาฬิกา เป็นต้น
4.4 ที่ดินประเภท พ. 4          - มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมหลักของจังหวัด ที่รองรับการพัฒนาการขยายตัวของกิจกรรมทางการค้า การลงทุน และการบริการ สำหรับประชาชนทั่วไป และพื้นที่บริเวณโดยรอบเขตการให้บริการของระบบขนส่งมวลชน ซึ่งเชื่อมต่อกับกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่พาณิชยกรรม ได้แก่ คลังเชื้อเพลิง สถานีบริการเชื้อเพลิง การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน สุสาน และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น การทำขนมปังขนมเค้ก ขนมอบแห้ง เป็นต้น
5. ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (สีม่วง) จำแนกเป็นที่ดินประเภท อ. 1           - มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เป็นเขตอุตสาหกรรมทั่วไป ซึ่งสามารถบริหารจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่อาจได้รับผลกระทบจากพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินที่อาจได้รับผลกระทบจากพื้นที่อุตสาหกรรมนี้ ได้แก่ การอยู่อาศัยประเภทอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ อาคารชุด หอพัก และสามารถประกอบกิจการโรงงาน อุตสาหกรรมได้ทุกประเภท
6. ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมเฉพาะกิจ (สีม่วงอ่อน) จำแนกเป็นที่ดินประเภท อ. 2          - มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการกำจัดขยะมูลฝอย             สิ่งปฏิกูล และส่งเสริมการพัฒนาโรงงานที่เกี่ยวเนื่องกับการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล รวมทั้งห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดิ้นที่อาจได้รับผลกระทบจากพื้นที่อุตสาหกรรมนี้ ได้แก่ ศูนย์ประชุม อาคารแสดงสินค้า นิทรรศการ และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น การบำบัดน้ำเสีย การคัดแยกหรือฝังกลบ
สิ่งปฏิกูล เป็นต้น
7. ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมทั่วไปที่ไม่เป็นมลพิษต่อชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมและคลังสินค้า (สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีม่วง) จำแนกเป็นที่ดินประเภท อ. 3           - มีวัตถุประสงค์ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษต่อชุมชนหรือสิ่งแวดล้อม และรองรับการขยายตัวของกิจกรรม การเก็บและการกระจายสินค้า รวมทั้งห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่อาจได้รับผลกระทบจากพื้นที่อุตสาหกรรมนี้ ได้แก่ สถานศึกษา สถานพยาบาล การซื้อขายหรือเก็บชิ้นส่วนเครื่องจักรกลเก่า และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน เป็นต้น
8. ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) จำแนกเป็นที่ดินประเภท ก. 1 ถึง ก. 3
8.1 ที่ดินประเภท ก.1

- มีวัตถุประสงค์เพื่อสงวนรักษาสภาพทางธรรมชาติ
ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการส่งเสริมและสนับสนุนพื้นที่เกษตรอัตลักษณ์พื้นที่ถิ่นของจังหวัดรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมดั้งเดิมของพื้นที่ มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การปลูกทุเรียน กระท้อน มะม่วง และพืชผลเอกลัษณ์ของจังหวัดนนทบุรีเป็นหลักโดยสามารถก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวได้แต่ไม่สามารถก่อสร้างบ้านแฝด บ้านแถว ห้องแถว ตึกแถว อาคารอยู่อาศัยรวม อาคารชุด หอพัก หรืออาคารขนาดใหญ่ได้ รวมทั้งห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคต่อการทำเกษตรกรรม ได้แก่ โรงงานทุกจำพวกคลังเชื้อเพลิง สุสาน และไม่สามารถประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมได้
8.2 ที่ดินประเภท ก. 2          - มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนพื้นที่เกษตรกรรม ส่งเสริมเศรษฐกิจการเกษตรและรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติให้มีความสมดุลมีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเภษตรกรรม การเพาะปลูกและเป็นแนวกันชน (Buffer Area) โดยสามารถก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวได้แต่ไม่สามารถก่อสร้างบ้านแฝด บ้านแถว ห้องแถว ตึกแถว อาคารอยู่อาศัยรวม อาคารชุด หรือหอพักได้รวมทั้งห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคต่อการทำเกษตรกรรม ได้แก่ โรงแรม โรงมหรสพ และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น การทำน้ำตาล ไซโล การฆ่าสัตว์ เป็นต้น
8.3 ที่ดินประเภท ก.3          - มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นชุมชนและศูนย์กลาง                การให้บริการทางสังคม ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน              ในพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม ตลอดจนรองรับกิจการอื่นที่จำเป็นสำหรับชุมชน และเป็นแนวกันชน (Buffer  Area) โดยสามารถก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว ได้ แต่ไม่สามารถก่อสร้างห้องแถว ตึกแถว อาคารอยู่อาศัยรวม อาคารชุด หรือหอพักได้ รวมทั้งห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคต่อการทำเกษตรกรรม ได้แก่ สวนสนุก สวนสัตว์ และโรงงานอุตสาหกรรม ที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น การอบเมล็ดพืช การฟักไข่ เป็นต้น
9. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม                 (สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว) จำแนกเป็นที่ดินประเภท ก. 4            - มีวัตถุประสงค์เพื่อสงวนรักษาสภาพทางธรรมชาติของพื้นที่ธรรมชาติในบริเวณที่มีข้อจำกัดด้านการระบายน้ำ และมีความสี่ยงต่อการกิดอุทกภัย ส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นและวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชน คือ พื้นที่เกาะเกร็ดโดยสามารถก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวได้แต่ไม่สามารถก่อสร้างบ้านแฝด บ้านแถว ห้องแถว ตึกแถว อาคารอยู่อาศัยรวม อาคารชุด หรือหอพักได้รวมทั้งห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคต่อการอนุรักษ์พื้นที่ ได้แก่ การจัดสรรที่ดินเพื่ออยู่อาศัยและโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ คือ การทำผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาและการบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน
10. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน) จำแนกเป็นที่ดินประเภท ล. 1 และ ล. 2  โดยมีวัตถุประสงค์จำแนกเป็นบริเวณ ดังต่อไปนี้
10.1 ที่ดินประเภท ล. 1          - มีวัตถุประสงค์ให้เป็นพื้นที่โล่งริมแม่น้ำ ลำคลอง เพื่อเป็นการส่งเสริมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมสภาพแวดล้อมทางภูมิทัศน์ริมฝั่ง และเป็นแนวพื้นที่กันชน (Buffer Area) และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่จะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ ได้แก่ การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ การจัดสรรที่ดิน สถานสงเคราะห์ รับเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
10.2 ที่ดินประเภท ล. 2          - มีวัตถุประสงค์เพื่อการนันทนาการ หรือเกี่ยวข้องกับการนันทนาการ สาธารณประโยชน์ และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีที่พักผ่อนหย่อนใจเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ประกอบด้วยสวนสาธารณะที่เป็นปอดของเมือง ได้แก่ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ นนทบุรี และอุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษก
11. ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก)           - มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาหรือเกี่ยวข้องกับการศึกษา สถาบันราชการ การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ หรือกิจการสาธารณประโยชน์ เช่น โรงเรียนนนทบุรีวิทยาลัย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนนทบุรี โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นนทบุรี เป็นต้น
12. ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย (สีน้ำตาลอ่อน)           - วัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์ ส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรมท้องถิ่น การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การอยู่อาศัย การศาสนา สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เช่น                        วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (วัดเล่งเน่ยยี่ 2)              พุทธสถานเชิงท่าหน้าโบสถ์ วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร    วัดอัมพวัน วัดปรางค์หลวง ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี   (หลังเก่า) เป็นต้น
13. ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน)           - มีวัตถุประสงค์เพื่อการศาสนา หรือเกี่ยวข้องกับ                การศาสนา กิจการเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาของชุมชน สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ หรือสาธารณประโยชน์ เช่น วัดชลประทานรังสฤษฏ์     วัดสวนแก้ว วัดบัวขวัญ วัดลาดปลาดุก วัดปรมัยยิกาวาส วัดโบสถ์ดอนพรหม วัดเขมาภิรตาราม วัดกู้ วัดกลางเกร็ด วัดส้มเกลี้ยง วัดสังฆทาน สุสานบางบัวทองมูลนิธิ เป็นต้น
14. ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน)           - มีวัตถุประสงค์ให้ใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อเป็นสถาบันราชการ และการดำเนินกิจการของรัฐที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ หรือสาธารณประโยชน์ เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราบการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เรือนจำกลางบางขวาง ที่ว่าการอำเภอปากเกร็ด โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า เป็นต้น

3. กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นป่านกลาง (สีส้ม) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีน้ำตาล) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม (สีแดง) ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมเฉพาะกิจ (สีม่วงอ่อน) และที่ดินประเภทอุตสาหกรรมทั่วไปที่ไม่เป็นมลพิษต่อชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมและคลังสินค้า (สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีม่วง) ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท

4. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณแนวถนนตามแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ให้ใช้ประโยชน์เพื่อกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้

4.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ

4.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง

4.3 เกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตร หรือไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่

3. เรื่อง ร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. .... ตามที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เสนอ และให้รายงานต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อทราบ แล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

คสช. เสนอว่า

1. มาตรา 25 (1) และมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 บัญญัติให้ คสช. มีหน้าที่และอำนาจจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติจะใช้เป็นกรอบและแนวทางในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และการดำเนินงานด้านสุขภาพของประเทศ ในการจัดทำธรรมนูญดังกล่าว ให้ คสช. นำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของสมัชชาสุขภาพมาประกอบด้วย และเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในธรรมนูญดังกล่าวแล้ว ให้รายงานต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อทราบและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ ให้ คสช. ทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติอย่างน้อยทุกห้าปี

2. โดยที่ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติฉบับปัจจุบัน กล่าวคือ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2559 ได้ถึงกำหนดที่จะต้องมีการทบทวนตามบทบัญญัติในข้อ 1 แล้ว ประกอบกับมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 บัญญัติให้ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญตามที่กำหนด อาทิ ปรัชญาและแนวคิดหลักของระบบสุขภาพ คุณลักษณะที่พึงประสงค์และเป้าหมายของระบบสุขภาพ การจัดให้มีหลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ การบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพ การผลิตและการพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุข เป็นต้น ดังนั้น เพื่อให้ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 คสช. จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 เพื่อทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันและจัดทำร่างธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวได้ดำเนินการยกร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. .... โดยได้มีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่าง ๆ และสมัชชาสุขภาพด้วยแล้ว

3. ในคราวประชุม คสช. ครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2565 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างธรรมนูญตามข้อ 2 และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เสนอร่างธรรมนูญดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนเสนอรายงานต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อทราบ และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

สาระสำคัญของร่างธรรมนูญ

ร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. .... มีสาระสำคัญแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน สรุปได้ดังนี้

1. ส่วนที่ 1 สถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อระบบสุขภาพ ในระยะ 5 ปี

สาระสำคัญในส่วนนี้เป็นการสรุปข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อระบบสุขภาพในระยะ 5 ปี ภายใต้แนวคิดว่าการสร้างความแข็งแกร่งของระบบสุขภาพไทยในระยะ 5 ปี ต่อจากนี้ จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระบบสุขภาพของไทยเพื่อออกแบบกลไกให้สนับสนุนการฟื้นคืน ตอบสนอง และก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคงมุ่งไปสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์ คือ ?ระบบสุขภาพที่เป็นธรรม? โดยสถานการณ์และปัจจัยดังกล่าว ประกอบด้วย (1) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและความแตกต่างระหว่างวัย (2) การเปลี่ยนแปลงทางระบาดวิทยาของโรคและปัญหาสุขภาพ (3) การเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมือง (4) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว (5) การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม สภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน (6) การขาดแคลนทรัพยากรและงบประมาณ และ (7) การแบ่งขั้วทางการเมืองของโลกและการค้าระหว่างประเทศ

ทั้งนี้ แนวโน้มสถานการณ์และปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้นได้ส่งผลให้เกิดปัญหากับประชาชนและระบบสุขภาพที่ล้วนเป็นไปในทิศทางที่ทำให้เกิดช่องว่างทางสังคมเพิ่มขึ้น และได้ทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ทิศทางการพัฒนาควรให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเชิงระบบที่มุ่งไปสู่การขจัดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยยึดหลักธรรมาภิบาล (good governance) และการปกครองด้วยหลักนิติธรรม (rule of law)

2. ส่วนที่ 2 กรอบแนวคิด ปรัชญาและเป้าหมายร่วมของระบบสุขภาพในธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3

การดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน หรือ sustainable livelihoods ถือเป็นเป้าหมายสูงสุดตามแนวคิดในเรื่องของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนนี้หมายรวมถึง ความสามารถ ทักษะ ทุน (ทั้งทางวัตถุและสังคม) และวิธีหรือกิจกรรมที่บุคคลและชุมชนนำไปใช้เพื่อการอยู่รอดอย่างยั่งยืน โดย ?สุขภาพ? ถือเป็นเงื่อนไขอย่างหนึ่งสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และในขณะเดียวกันสุขภาพก็ยังจัดเป็นผลลัพธ์ของการพัฒนาอย่างยั่งยืนอีกด้วย โดยเชื่อว่าหากมีการจัดการได้ดีในเรื่องของปัจจัยที่กำหนดสุขภาพ (Determinants of Health) ในกลุ่มประชากรต่าง ๆ โดยเฉพาะกับกลุ่มประชากรที่ยากจนและกลุ่มประชากรที่อยู่ในสภาวะเปราะบางแล้ว ก็จะเกิดสังคมที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เป็นธรรม มีสภาพเศรษฐกิจที่พัฒนา และเป็นสังคมที่มีสุขภาวะ

ดังนั้น ร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. .... จึงมีกรอบแนวคิดที่มุ่งสู่ ?ระบบสุขภาพที่เป็นธรรม? ซึ่งหมายถึง ?ระบบสุขภาพที่มุ่งให้เกิด ?ความเป็นธรรมด้านสุขภาพ? ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง คือ ภาวะที่ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ตลอดทุกช่วงวัย ไม่มีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งกลุ่มทางสังคม เศรษฐกิจ ลักษณะ ประชากร เชื้อชาติ ถิ่นที่อยู่อาศัย พื้นที่ หรือการเข้าถึงสิทธิหน้าที่ด้านสุขภาพตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 หากความแตกต่างนั้น ๆ เป็นความแตกต่างที่สามารถหลีกเลี่ยงหรือป้องกันได้? โดยมีแนวคิดหลักว่า ?ระบบสุขภาพมีความยืดหยุ่น สามารถปรับตัว ปรับเปลี่ยน คงอยู่ได้ ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว และเป็นระบบสุขภาพที่มีการดำเนินงานอย่างมีธรรมาภิบาล? ซึ่งได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานสู่เป้าหมายในระยะ 5 ปี ได้แก่ การให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การทำสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดี และการให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ในทุกกลุ่มวัยและทุกระดับ

3. ส่วนที่ 3 มาตรการสำคัญสู่เป้าหมายระบบสุขภาพที่พึงประสงค์

3.1 กระบวนการนโยบายสาธารณะที่ดีและมีส่วนร่วมของภาคีทุกภาคส่วน โดยมาตรการในเรื่องนี้มีเป้าหมายให้ระบบสุขภาพของประเทศไทยเป็นระบบสุขภาพที่สร้างเสริมให้เกิดความเป็นธรรมด้วยกระบวนการนโยบายสาธารณะทางเศรษฐกิจและสังคมที่คำนึงถึงผลต่อสุขภาพตามหลักทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ มีการจัดการด้วยระบบธรรมาภิบาลที่ดี โดยให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับกระบวนการมีส่วนร่วมที่เท่าเทียมอย่างแท้จริงของทุกภาคส่วนในสังคม โดยเฉพาะผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อให้เกิดการเข้าถึงทรัพยากรเพื่อการพัฒนาอย่างทั่วถึง มีชุมชนเข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองและพึ่งพากันเองได้ มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้ ซึ่งประกอบด้วยมาตรการ ต่าง ๆ เช่น การสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านกระบวนการนโยบายสาธารณะจากชุมชนและนโยบายของรัฐในระดับ ต่าง ๆ การส่งเสริมบทบาทของภาคส่วนต่าง ๆ ในการจัดการสังคมและสุขภาพในประเทศและระดับพื้นที่ สร้างกลไก เครื่องมือ และพื้นที่กลาง เพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีความร่วมมือกันและสร้างความเป็นเจ้าของในสังคมและสุขภาพทุกระดับอย่างกว้างขวางมากขึ้น เป็นต้น

3.2 การสร้างเสริมสุขภาพและการจัดการปัจจัยสังคมที่กำหนดสุขภาพ โดยมาตรการในเรื่องนี้มีเป้าหมายให้ระบบสุขภาพของประเทศไทยเป็นระบบสุขภาพที่กำหนดนโยบายสนับสนุนให้มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยสังคมที่กำหนดสุขภาพที่เอื้อให้ประชาชนทุกคนบนผืนแผ่นดินไทยที่เกิด เติบโต ทำงาน ดำรงชีวิตอยู่ จนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต สามารถดำรงตนและพัฒนาสุขภาพตนเองอย่างสมดุลทั้งกาย จิต ปัญญา และสังคม อย่างมีศักยภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ได้รับและเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพ (นอกเหนือจากเรื่องการรับบริการสุขภาพ) มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่เหมาะสม สามารถสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรคและปัจจัยคุกคามสุขภาพได้ในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ รวมทั้งสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพได้อย่างเป็นธรรมและสอดคล้องตามบริบท ซึ่งประกอบด้วยมาตรการต่าง ๆ เช่น การส่งเสริมแนวคิดการสร้างทุนสังคมและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคมสู่การสร้างชุมชนและเมืองสุขภาวะ (healthy city) การส่งเสริมการสร้างชุมชน นโยบายและพื้นที่สาธารณะทั้งทางกายภาพ และโลกเสมือนจริง ที่ส่งเสริมและตระหนักถึงความสำคัญกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ สร้างการรับรู้และตระหนักรู้ในหน้าที่ของประชาชนในการดูแลสุขภาพ เป็นต้น

3.3 การจัดการระบบบริการสุขภาพ โดยมาตรการในเรื่องนี้มีเป้าหมายให้ระบบสุขภาพของประเทศไทยเป็นระบบทุกคนบนผืนแผ่นดินไทยสามารถเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ ซึ่งเป็นการบริการต่าง ๆ อันเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ การตรวจวินิจฉัยและบำบัดสภาวะความเจ็บป่วยและการฟื้นฟูสมรรถภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชนที่เชื่อมโยงและสมดุลทั้งสุขภาพทางกาย จิต ปัญญาและสังคมที่เป็นธรรม ตอบสนอง มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และเน้นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกันของบุคลากรและผู้รับบริการ ด้วยการบูรณาการตั้งแต่ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ จนถึง ตติยภูมิ ซึ่งประกอบด้วยมาตรการต่าง ๆ เช่น การนำนโยบายทางการเงินการคลังมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนและกระจายทรัพยากรด้านสุขภาพ การพัฒนาและใช้ระบบบริการปฐมภูมิเป็นฐานของหลักประกันสร้างการเข้าถึงบริการที่เป็นธรรม การพัฒนาและออกแบบรูปแบบการจัดบริการสุขภาพชุมชน เมือง หรือพื้นที่จำเพาะ ซึ่งรวมไปถึงชุมชนเสมือน (virtual community) และชุมชนออนไลน์ เป็นต้น

3.4 แนวทางการวัดผลสำเร็จของระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ ได้แก่

(1) รายงานการวัดผลสำเร็จและการมีส่วนร่วมในกระบวนการกำหนดและดำเนินนโยบายการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ที่คำนึงถึงหรือส่งผลต่อสุขภาพไปพร้อมกัน

(2) ข้อมูลสภาวการณ์และแนวโน้มความเป็นธรรมของระดับสุขภาพ รวมทั้งปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อสุขภาพ ปัจจัยคุกคามสุขภาพ และการกระจายการลงทุนและทรัพยากร

(3) ข้อมูลสถานการณ์และแนวโน้มความเป็นธรรมด้านการเข้าถึงบริการสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรค การรักษาพยาบาลของบุคคลกลุ่มต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่มีปัจจัยความเสี่ยงทางสุขภาพสูงหรืออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เปราะบางต่อสุขภาพ

(4) ข้อมูลการมีส่วนร่วมในกลไกการอภิบาลและกำกับคุณภาพในระบบบริการสุขภาพ การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ และมาตรการทางสังคมอื่น ๆ

(5) ตัวอย่างรูปธรรมของการจัดบริการสุขภาพที่แสดงความจำเพาะและสามารถตอบสนองความต้องการของคนทุกกลุ่มในพื้นที่ รวมทั้งรูปธรรมพื้นที่ต้นแบบหรือพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคมในการคลี่คลายความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์และผลลัพธ์เชิงบวกต่อการบรรลุสุขภาพที่ดีอย่างเป็นธรรม

4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด (ฉบับที่..) พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

ทั้งนี้ อว. เสนอว่า

                    1. โดยที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดรวม 10 สาขาวิชา ได้แก่ (1) สาขาวิชาการบัญชี (2) สาขาวิชาครุศาสตร์ (3) สาขาวิชานิติศาสตร์ (4) สาขาวิชานิเทศศาตร์ (5) สาขาวิชาบริหารธุรกิจ           (6) สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ (7) สาขาวิชารัฐประศาสนศาตร์ (8) สาขาวิชารัฐศาสตร์ (9) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์       (10) สาขาวิชาศิลปศาสตร์

2. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดได้กำหนดปริญญาในสาขาเพิ่มขึ้น 2 สาขาวิชา ได้แก่ (1) สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (2) สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม โดยได้เปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต ตามลำดับซึ่งในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ครั้งที่ 10 (157)/2563 เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2563 และครั้งที่ 2(160)/2564 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ประชุม ได้มีมติเห็นชอบหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564) และหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาไฟฟ้า (4 ปี) (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564) โดยสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตรดังกล่าวด้วยแล้ว

3. อว. จึงได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด (ฉบับที่..) พ.ศ. .... เพื่อกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาและสีประจำสาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรมและสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ดังนี้

3.1 กำหนดปริญญาในสาชาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา

3.1.1 สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม มีปริญญาสามชั้น คือ

(ก) เอก เรียกว่า ?ครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ค.อ.ด.? และ ?ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ปร.ด.?

(ข) โท เรียกว่า ?ครุศาสตร์อุตสาหกรรมหาบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ค.อ.ม.?

(ค) ตรี เรียกว่า ?ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ค.อ.บ.?

3.1.2 สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ

(ก) เอก เรียกว่า ?สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ส.ด.? และ ?ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ปร.ด.?

(ข) โท เรียกว่า ?สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ส.ม.?

(ค) ตรี เรียกว่า ?สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ส.บ.?

3.2 กำหนดสีประจำสาขาวิชา

3.2.1 สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม สีแดงเลือดนก

3.2.2 สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ สีชมพูกุหลาบ

4. ในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ครั้งที่ 1(172)/2565 เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2565 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 3 แล้ว

สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา

กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา และสีประจำสาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรมและสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์

5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง (ฉบับที่..) พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

ทั้งนี้ อว. เสนอว่า

1. โดยที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง รวม 14 สาขาวิชา ได้แก่ (1) การจัดการ (2) การบัญชี (3) ครุศาสตร์ (4) เทคโนโลยี (5) นิติศาสตร์ (6) นิเทศศาสตร์ (7) บริหารธุรกิจ (8) รัฐประศาสนศาสตร์ (9) รัฐศาสตร์ (10) วิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ (11) วิทยาศาสตร์ (12) วิศวกรรมศาสตร์ (13) ศิลปศาสตร์ และ (14) สาธารณสุขศาสตร์

2. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางได้กำหนดปริญญาในสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์เพิ่มขึ้น โดยได้เปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ซึ่งในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2565 และสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตรดังกล่าวด้วยแล้ว

3. อว. จึงได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง (ฉบับที่..) พ.ศ. .... เพื่อกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ รวมทั้งสีประจำสาขาวิชา ดังนี้

3.1 กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มีปริญญาวามชั้น คือ

(ก) เอก เรียกว่า ?พยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?พย.ด.? และ ?ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ปร.ด.?

(ข) โท เรียกว่า ?พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?พย.ม.?

(ค) ตรี เรียกว่า ?พยาบาลศาสตรบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?พย.บ.?

3.2 กำหนดสีประจำสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ สีน้ำเงิน

4. ในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2565 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 3 แล้ว

สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา

กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา และสีประจำสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์

6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้

1. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา [แล้วดำเนินการต่อไปได้]

2. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงคมนาคม ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

3. ให้สำนักงานอัยการสูงสุดรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

สาระสำคัญของเรื่อง

มท. เสนอว่า

1. สำนักงานอัยการสูงสุดขอถอนสภาพที่ดินสาธารณประโยชน์ แปลง ?ที่เลี้ยงสัตว์สาธารณประโยชน์? ตามหลักฐานหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ 8196 ตำบลนาจอมเทียน อำเภอวัตหีบ จังหวัดชลบุรี เนื้อที่ประมาณ 24 ไร่ 1 งาน 73 ตารางวา เพื่อใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานอัยการและบ้านพักข้าราชการฝ่ายอัยการ ต่อมาที่ดินสาธารณประโยชน์แปลงดังกล่าวถูกกันออกเป็นแนวถนนสุขุมวิท เนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ 3 งาน 21 ตารางวา สำนักงานอัยการสูงสุดจึงขอถอนสภาพที่ดิน บางส่วน เนื้อที่ประมาณ 20 ไร่ 2 งาน 52 ตารางวา

2. ที่ดินสาธารณประโยชน์ตามข้อ 1 เดิมราษฎรใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ร่วมกันมาก่อนปี พ.ศ. 2486 และราษฎรได้เลิกใช้ประโยชน์ร่วมกันแล้วทั้งแปลง เนื่องจากไปใช้เครื่องจักรแทนจึงไม่มีการนำสัตว์เข้าไปเลี้ยงในที่ดินสาธารณประโยชน์แปลงนี้ โดยทางราชการได้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงเลขที่ 8196 ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2521 เนื้อที่ประมาณ 24 ไร่ 1 งาน 73 ตารางวา ที่ดินดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ที่จะถอนสภาพตามมาตรา 8 วรรคสอง (1) แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการถอนสภาพ การจัดขึ้นทะเบียน และการจัดหาผลประโยชน์ที่ดินของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2550 จึงเห็นควรให้มีการตราพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เพื่อมอบหมายให้สำนักงานอัยการสูงสุดใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานอัยการและบ้านพักข้าราชการฝ่ายอัยการ

3. มท. ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

3.1 จังหวัดได้ประสานขอความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ราษฎรในพื้นที่ สภาเทศบาลตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และคณะกรรมการกำกับการใช้ที่ดินของรัฐ จังหวัดชลบุรี ต่างเห็นชอบให้ถอนสภาพที่ดินสาธารณประโยชน์ดังกล่าว

3.2 กรมที่ดินได้ประสานกรมโยธาธิการและผังเมืองเพื่อพิจารณาให้ความเห็นด้านผังเมือง ซึ่งกรมโยธาธิการและผังเมืองแจ้งว่า พื้นที่ดังกล่าวตั้งอยู่ในเขตผังเมืองรวม เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินไว้เป็นประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ จึงเห็นว่าการถอนที่ดินสาธารณประโยชน์แปลงดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองพัทยา พ.ศ. 2556 แต่อย่างใด และกรมการปกครองได้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของท้องที่การปกครองและแนวเขตการปกครองในแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา ตามมติคณะรัฐมนตรี (22 มีนาคม 2565) [เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการตราร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัติที่ต้องจัดให้มีแผนที่ท้าย] ด้วยแล้ว

4. คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมาย มท. คณะที่ 2 ในคราวประชุม ครั้งที่ 6/2565 เมื่อวันพุธที่ 20 เมษายน 2565 มีมติให้กรมที่ดินตรวจสอบความถูกต้องของแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ อีกครั้งหนึ่ง แล้วดำเนินการต่อไปได้ พร้อมทั้งให้รับความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมาย ฯ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ซึ่งกรมที่ดินได้ดำเนินการตามมติคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของ มท. ต่อไป

สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา

กำหนดให้ถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เนื้อที่ประมาณ 20 ไร่ 2 งาน 52 ตารางวา เพื่อมอบหมายให้สำนักงานอัยการสูงสุดใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานอัยการและบ้านพักข้าราชการฝ่ายอัยการ

7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กำหนด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษในช่วงเทศกาลปีใหม่ของปี พ.ศ. 2566)

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กำหนด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้

ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ ที่ คค. เสนอ เป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ในช่วงเทศกาลปีใหม่ของปี พ.ศ. 2566 ตั้งแต่เวลา 00.01 นาฬิกา ของวันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม 2565 ถึงเวลา 24.00 นาฬิกา ของวันพุธที่ 4 มกราคม 2566 เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเดินทางบนทางหลวงพิเศษในช่วงเทศกาลดังกล่าวและช่วยสนับสนุนให้ประชาชนสามารถเดินทางได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นทำให้การจราจรมีความคล่องตัว รวมทั้งเป็นการลดการใช้พลังงานของประเทศ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการล่วงหน้าแล้ว

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

ยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร - บ้านฉาง ตอนกรุงเทพมหานคร - เมืองพัทยา รวมทางแยกไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 (บางวัว) ทางแยกเข้าชลบุรี ทางแยกเข้าท่าเรือแหลมฉบัง ทางแยกเข้าพัทยา และตอนบ้านหนองปรือ - บ้านฉาง รวมทางแยกไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (บ้านอำเภอ) และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนพระประแดง - บางแค ช่วงพระประแดง - ต่างระดับบางขุนเทียน และตอนบางปะอิน - บางพลี ตั้งแต่เวลา 00.01 นาฬิกา ของวันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม 2565 ถึงเวลา 24.00 นาฬิกา ของวันพุธที่ 4 มกราคม 2566

เศรษฐกิจ-สังคม
8. เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ชุ่มน้ำ

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอการทบทวนมติคณะรัฐมนตรี ดังนี้

มติคณะรัฐมนตรี          จากเดิม          แก้ไขเป็น
26 สิงหาคม 2540
(ปรับปรุงหน่วยงานรับผิดชอบการประสานงานระดับชาติและการตั้งงบประมาณ)          เห็นชอบให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม* (สผ.) รับผิดชอบเป็นหน่วยงานประสานงานระดับชาติและตั้งงบประมาณสำหรับเป็นเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ ตามอัตราที่กำหนด          ให้กรมทรัพยากรน้ำเป็นหน่วยงานรับผิดชอบแทน สผ.
3 พฤศจิกายน 2552
(ปรับปรุงหน่วยงานสนับสนุนตามมาตรการอนุรักษ์พื้นที่  ชุ่มน้ำ)          ข้อ 1 ประกาศกำหนดให้พื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นที่สาธารณะทุกแห่งทั่วประเทศโดยเฉพาะพื้นที่ชุ่มน้ำแหล่งน้ำจืดเป็นพื้นที่สีเขียวและมิให้ส่วนราชการเข้าไปใช้ประโยชน์เพื่อสงวนไว้เป็นแหล่งรองรับน้ำและกักเก็บน้ำต่อไป โดยมี สผ. เป็นหน่วยงานสนับสนุน ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมประมง กรมที่ดิน กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง          ยกเลิก สผ. จากหน่วยงานสนับสนุน

ข้อ 3 ให้มีการติดตาม ตรวจสอบและดำรงรักษาพื้นที่ชุ่มน้ำตามทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับท้องถิ่นเพื่อสงวนเพื่อสงวนไว้เป็นแหล่งรองรับน้ำตามธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ชุ่มน้ำที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งน้ำสาธารณประโยชน์ ตลอดจนควบคุมและป้องกันการบุกรุกเข้าใช้ประโยชน์ที่จะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์โดยมี สผ. เป็นหน่วยงานสนับสนุน ร่วมกับกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี กรมที่ดิน กรมทรัพยากรน้ำ สำนักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สถาบันการศึกษา

          ข้อ 11 ให้มีการศึกษาวิจัยระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติและเผยแพร่ข้อมูลแก่สาธารณชนอย่างต่อเนื่อง โดยมี สผ. เป็นหน่วยงานสนับสนุน ร่วมกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม          ให้กรมทรัพยากรน้ำเป็นหน่วยงานสนับสนุนแทน สผ.

ข้อ 17 ให้จัดทำรายงานการประเมินผลการปฏิบัติงานตามมติคณะรัฐมนตรี ข้อ 1 -16 โดยติดตามตรวจสอบจากหน่วยงานหลักเสนอต่อคณะอนุกรรมการการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นประจำ โดยมี สผ. เป็นหน่วยงานสนับสนุน

                    และให้แก้ไขชื่อหน่วยงานในมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่          3 พฤศจิกายน 2552 (เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 1 สิงหาคม 2543 เรื่อง ทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และระดับชาติของประเทศไทย และมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ) จากเดิม ?กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี? เป็น ?กรมเจ้าท่า? ตามความเห็นของกระทรวงคมนาคม รวมทั้งให้ ทส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย

สาระสำคัญของเรื่อง

ทส. รายงานว่า

1. ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ (อนุสัญญาแรมซาร์) ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2541 โดยเป็นข้อตกลงระหว่างรัฐบาลซึ่งกำหนดกรอบการทำงานสำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนุรักษ์และยับยั้งการสูญหายของพื้นที่ชุ่มน้ำในโลกและสนับสนุนให้มีการใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาด

2. ที่ผ่านมา สผ. ได้ดำเนินงานเกี่ยวกับเรื่องพื้นที่ชุ่มน้ำ สรุปได้ดังนี้

2.1 ด้านต่างประเทศ ได้ตั้งงบประมาณสำหรับเป็นเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นประจำทุกปี และประสานการอนุวัตและติดตามการดำเนินงานตามพันธกรณีของอนุสัญญา โดยเป็นผู้แทนประเทศไทยในการเข้าร่วมการประชุมเจรจา เพื่อกำหนดนโยบายและกรอบการดำเนินงานในเวทีระดับสากล ระดับภูมิภาค ระดับทวิภาคี และความร่วมมือระหว่างองค์กรระหว่างประเทศ ตลอดจนผลักดันและขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้พันธกรณีของอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำและความร่วมมือระหว่างประเทศในประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ การเสนอพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญของประเทศไทยเข้าร่วมเป็น Ramsar Site จำนวน 15 แห่ง การเสนอเมืองแห่งพื้นที่ชุ่มน้ำ จำนวน 1 แห่ง เป็นต้น

2.2 ภายในประเทศ เช่น (1) การศึกษา สำรวจ และติดตตามสถานภาพพื้นที่ชุมน้ำที่มีความสำคัญของประเทศไทย ได้แก่ Ramsar Site พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ ตลอดจนพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเสนอเป็น Ramsar Site เพิ่มเติม (2) การจัดทำเครื่องมือ กลไกในการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย (3) ส่งเสริมการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นที่ชุ่มน้ำ เพื่อให้สาธารณชนเกิดความตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำ (4) เพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำโดยส่งผู้แทนหน่วยงานที่กำกับดูแลพื้นที่ชุ่มน้ำเข้าร่วมการฝึกอบรมในระดับสากล (5) ให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทางวิชาการเพื่อประกอบการดำเนินโครงการในพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย และ (6) ดำเนินงานในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำและคณะทำงานวิชาการพื้นที่ชุ่มน้ำ

3. ทส. ได้ตระหนักถึงข้อจำกัดในการผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่เป้าหมาย เนื่องจาก สผ. ไม่มีหน่วยงานในสังกัดในพื้นที่จึงมีนโยบายในการถ่ายโอนภารกิจพื้นที่ชุ่มน้ำจาก สผ. ไปยังกรมทรัพยากรน้ำ ซึ่งมีหน้าที่ในการกำกับ ดูแล และเสนอแนะมาตรการ หลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรน้ำสาธารณะและพื้นที่ชุ่มน้ำ รวมทั้งยังเป็นหน่วยงานที่มีสำนักงานทรัพยากรน้ำภาคเป็นหน่วยงานขับเคลื่อนการดำเนินงานในพื้นที่ ทส. จึงได้ถ่ายโอนภารกิจงานพื้นที่ชุ่มน้ำจาก สผ. ไปยังกรมทรัพยากรน้ำแล้วตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2565) ทั้งนี้ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2565 มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว

9. เรื่อง รายงานความคืบหน้าโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์องค์ความรู้เรื่องไม้มีค่าเพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน และหอประชุมอเนกประสงค์นานาชาติเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอรายงานความคืบหน้าโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์องค์ความรู้เรื่องไม้มีค่าเพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน และหอประชุมอเนกประสงค์นานาชาติ เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี              (4 มกราคม 2565) ที่เห็นชอบให้ สปน. เสนอขอทบทวนหน่วยงานรับผิดชอบการเสนอตั้งงบประมาณการดำเนินโครงการตามมติคณะรัฐมนตรี (30 เมษายน 2562) โดยมอบหมายให้กระทรวงกลาโหม (กห.) (กองทัพบก) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบเสนอขอตั้งงบประมาณโครงการจัดสร้างหอประชุมอเนกประสงค์ฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องในปีงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2566 เป็นต้นไป รวมถึงงบประมาณในการบริหารจัดการและบำรุงรักษารายปีหลังจากที่โครงการฯ แล้วเสร็จด้วย และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบเสนอขอตั้งงบประมาณโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ฯ ตั้งแต่ปีงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป] โดยมีความคืบหน้าการดำเนินโครงการฯ สรุปได้ ดังนี้

1. โครงการสร้างพิพิธภัณฑ์ฯ

1.1 ย้ายพื้นที่ก่อสร้างโครงการไปจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ฯ จากพื้นที่ก่อสร้างเดิม ณ บริเวณหอประชุมกองทัพบก เขตดุสิต เนื้อที่ 19 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ในการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ฯ 8 ไร่ และพื้นที่ในการก่อสร้างอาคารหอประชุมกองทัพบก 11 ไร่ ไปยังที่ดินพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ เขตวังทองหลาง เนื้อที่ 79 ไร่ 2 งาน 60.9 ตารางวา แบ่งเป็นพื้นที่ก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ฯ 36 ไร่ และอาคารหอประชุมอเนกประสงค์ฯ 43 ไร่ จึงต้องมีการพิจารณาปรับปรุงการออกแบบพิพิธภัณฑ์ฯ และงบประมาณในการก่อสร้างใหม่ โดยปรับปรุงรูปแบบ รายการแบบ รายละเอียด และปรับวงเงินงบประมาณ เพิ่มกรอบวงเงินโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ฯ ประกอบด้วย

(1) พื้นที่ที่เปลี่ยนไปมีขนาดใหญ่ขึ้น จึงต้องขยายขนาดอาคารให้เหมาะสมกับขนาดพื้นที่ (ตามแบบเดิมมีพื้นที่ใช้สอยภายในอาคารประมาณ 13,300 ตารางเมตร โดยในพื้นที่แห่งใหม่มีพื้นที่ประมาณ 25,000 ตารางเมตร)

(2) ปรับปรุงแนวคิดในการออกแบบ เพื่อรองรับการเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และรองรับการสื่อความหมายในเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากร ป่าไม้และคุณค่าของทรัพยากรป่าไม้

(3) สถานที่ตั้งอาคารแห่งใหม่มีสภาพภูมิทัศน์โดยรอบแตกต่างจากพื้นที่เดิม ทำให้ต้องเพิ่มขนาดสัดส่วนความสูงเพื่อให้สอดคล้องกับภูมิทัศน์และประโยชน์ใช้สอยและความงาม

(4) กรอบวงเงินที่เสนอคณะรัฐมนตรีเมื่อปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เป็นเพียงการประเมินเบื้องต้นโดยใช้แบบจากพื้นที่เดิม ยังไม่ได้ออกแบบรายละเอียดสำหรับพื้นที่ใหม่ ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ออกแบบและประมาณการราคาแล้วเสร็จ โดยมีองค์ประกอบของอาคารทั้งภายนอกและภายในครบถ้วน เช่น ด้านสถาปัตยกรรม ด้านวิศวกรรม (ระบบไฟฟ้าและระบบปรับอากาศ) ด้านภูมิทัศน์และงานจัดสวนพฤกษศาสตร์พันธุ์ไม้มีค่า และการจัดแสดงนิทรรศการ/ตกแต่งภายใน (จัดแสดงงานศิลปาชีพ ข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับไม้ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ชาติไทย และวัฒนธรรม)

1.2 ในการประชุมคณะกรรมการฝ่ายโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ฯ ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2565 มีมติเห็นชอบกรอบวงเงินโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ฯ ในส่วนของงานก่อสร้างและตกแต่งตามผลการออกแบบของกรมศิลปากร 4,055.32 ล้านบาท และเห็นชอบวงเงินที่จะจัดทำคำของบประมาณก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2570 ซึ่งเสนอตั้งงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 วงเงิน 874 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 4 หมวด ดังนี้

(1) ค่าก่อสร้างโครงสร้างอาคารสถาปัตยกรรมและงานระบบไฟฟ้า ระบบงานที่เกี่ยวข้อง และค่าควบคุมงาน 1,277.31 ล้านบาท ได้สนอตั้งงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 วงเงิน 372 ล้านบาท โดย ทส. ตั้งงบประมาณ และให้ กห. (กองทัพบก) เป็นหน่วยงานเบิกจ่ายแทน

(2) ค่าตกแต่งสถาปัตยกรรม การตกแต่งภายใน ระบบสาธารณูปโภคทั้งภายในและภายนอกอาคาร และค่าควบคุมงาน 2,169.63 ล้านบาท ได้เสนอตั้งงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 วงเงิน 350 ล้านบาท โดย ทส. ตั้งงบประมาณและเป็นหน่วยงานดำเนินการ

(3) ค่าปรับปรุงภูมิทัศน์และค่าควบคุมงาน 418.39 ล้านบาท ได้เสนอตั้งงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 วงเงิน 110 ล้านบาท โดย ทส. ตั้งงบประมาณและเป็นหน่วยงานดำเนินการ

(4) ค่าจัดแสดงนิทรรศการองค์ความรู้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร 189.98 ล้านบาท ได้เสนอตั้งงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 วงเงิน 25 ล้านบาท โดย ทส. ตั้งงบประมาณ และให้กรมศิลปากรเป็นหน่วยเบิกจ่ายแทน

                              1.3 ระยะเวลาก่อสร้างและตกแต่งตามแบบของกรมศิลปากร รวม 5 ปี เริ่มจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2570 โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กองทัพบกจะเริ่มการก่อสร้างตามรายการที่        (1) (ตามสัญญาที่ได้ก่อหนี้ผูกพันงบประมาณไว้แล้ว) และให้ ทส. ดำเนินการก่อสร้างในรายการที่ (2) และสำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ทส. จะดำเนินการในรายการที่ (3) และ (4)

2. โครงการจัดสร้างหอประชุมอเนกประสงค์ฯ (ประกอบด้วย อาคารหอประชุมอเนกประสงค์ฯ และอาคารกรมสวัสดิการทหารบก) กองทัพบกได้ดำเนินการสรุปได้ ดังนี้

2.1 หอประชุมอเนกประสงค์ฯ เป็นอาคารสูง 3 ชั้น และชั้นใต้ดิน 1 ชั้น ประกอบด้วย สำนักงานห้องแถลงข่าว โถงพักคอย ห้องจัดเลี้ยง และห้องประชุมขนาดใหญ่ โดยมีผลการก่อสร้างคิดเป็นร้อยละ 91.24 ช้ากว่าแผนร้อยละ 6.16 (กำหนดแล้วเสร็จตามสัญญา วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565)

2.2 อาคารกรมสวัสดิการทหารบก เป็นอาคารสำนักงานสูง 7 ชั้น ที่จอดรถพร้อมหลังคา 33 คัน โรงอาหารจุคนได้ 250 คน มีผลการก่อสร้างดำเนินการแล้วเสร็จตามสัญญา

10. เรื่อง สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอสรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2565 พร้อมผลการวิเคราะห์เรื่องราวร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็น และแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคเพื่อขอความร่วมมือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน และการบริหารจัดการเรื่องร้องทุกข์ต่อไป [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (29 พฤศจิกายน 2548) ที่รับทราบแนวทางการจัดระเบียบของระบบกระบวนการแก้ไขปัญหาตามข้อร้องเรียนของประชาชนและมอบหมายให้ทุกกระทรวงดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว โดยให้ สปน. เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการติดตามผลการดำเนินการและสรุปรายงานผลความคืบหน้าในการดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบทุก 3 เดือน] สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

1. สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

1.1 สถิติการแจ้งเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นของประชาชน ที่ยื่นเรื่องผ่านช่องทางการร้องทุกข์ 1111 รวมทั้งสิ้น 67,919 เรื่อง สามารถดำเนินการจนได้ข้อยุติ 62,112 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 91.45 และรอผลการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5,807 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 8.55

1.2 หน่วยงานที่ได้รับการประสานงานเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นมากที่สุด 5 ลำดับแรก ดังนี้

(1) ส่วนราชการ ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 4,405 เรื่อง กระทรวงสาธารณสุข 2,252 เรื่อง กระทรวงการคลัง 2,071 เรื่อง กระทรวงแรงงาน 1,644 เรื่อง และกระทรวงคมนาคม 1,372 เรื่อง

(2) รัฐวิสาหกิจ ได้แก่ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 673 เรื่อง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 465 เรื่อง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ 432 เรื่อง การไฟฟ้านครหลวง 352 เรื่อง และการประปาส่วนภูมิภาค 320 เรื่อง

(3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร 3,522 เรื่อง จังหวัดนนทบุรี 851 เรื่อง สมุทรปราการ 830 เรื่อง ปทุมธานี 735 เรื่อง และชลบุรี 651 เรื่อง

2. การประมวลผลและวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สรุปได้ ดังนี้

                              2.1 สถิติจำนวนเรื่องร้องทุกข์เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณที่ผ่านมา มีการติดต่อแจ้งเรื่องร้องทุกข์ 134,575 ครั้ง ซึ่งน้อยกว่าปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 33,129 ครั้ง          (มีการติดต่อแจ้งเรื่องร้องทุกข์ 167,704 ครั้ง)

2.2 ประเด็นเรื่องร้องทุกข์ที่ประชาชนยื่นเรื่องมากที่สุด 10 ลำดับแรก ได้แก่

                                        (1) การรักษาพยาบาล เช่น ขอให้มีการยกระดับมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สายพันธุ์ใหม่และยังคงให้มีความเข้มงวดในการปฏิบัติตามมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดต่อไป โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลต่าง ๆ รวมถึงขอให้ดำเนินการจัดสรรและฉีดวัคซีนให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม รวม 4,893 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 4,654 เรื่อง             (ร้อยละ 95.12)

(2) เสียงรบกวน/สั่นสะเทือน เช่น การเปิดสถานบันเทิงและร้านอาหารเป็นแหล่งก่อให้เกิดเสียงดังรบกวน รวมทั้งการมั่วสุมของกลุ่มวัยรุ่นแข่งรถจักรยานยนต์ รวม 4,730 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 4,598 เรื่อง (ร้อยละ 97.21)

(3) ไฟฟ้า เช่น ขอให้แก้ปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้อง และซ่อมแซมไฟฟ้าส่องสว่าง ริมทาง หม้อแปลงไฟฟ้า สายไฟฟ้า และเสาไฟฟ้า รวมทั้งขอให้ขยายเขตการให้บริการไฟฟ้า 3,247 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 3,141 เรื่อง (ร้อยละ 96.74)

(4) การเสนอและตรากฎหมาย เช่น ขอให้มีการปรับปรุงกฎหมายการห้ามจุดพลุและดอกไม้ไฟ รวมทั้งร่างพระราชบัญญัติสุราก้าวหน้า ซึ่งขอให้ผู้ผลิตรายย่อยสามารถผลิตและจำหน่ายสุราได้เพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันที่เท่าเทียม รวม 2,972 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 2,949 เรื่อง (ร้อยละ 99.23)

(5) โทรศัพท์ เช่น การให้บริการทางโทรศัพท์หมายเลข 1422 ของกรมควบคุมโรค หมายเลขสายด่วน 1506 ของสำนักงานประกันสังคม และหมายเลขโทรศัพท์พื้นฐานของสำนักงานเขตและหน่วยงาน อื่น ๆ ในส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นการสอบถามเกี่ยวกับมาตรการการรักษาโควิด-19 ซึ่งรอสายนาน การต่อสายหลายครั้ง และสายหลุด รวม 2,627 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 2,363 เรื่อง (ร้อยละ 89.95)

(6) ถนน เช่น ขอให้ปรับปรุงซ่อมแซมถนนชำรุดซึ่งมีสาเหตุมาจากถนนเก่ามีอายุการใช้งานมาเป็นระยะเวลานาน ถนนมีสภาพเป็นหลุมเป็นบ่อจากน้ำท่วมขังในฤดูฝน รวมทั้งขอให้ปรับปรุงถนนลูกรังเป็นถนนลาดยางแอสฟัลต์หรือถนนคอนกรีต รวม 1,922 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 1,759 เรื่อง (ร้อยละ 91.52)

                                        (7) น้ำประปา เช่น น้ำประปาไม่ไหลและไหลอ่อน น้ำประปาไม่มีคุณภาพ          มีลักษณะเป็นสีขุ่น รวมทั้งการขอขยายเขตการให้บริการน้ำประปา รวม 1,844 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 1,790 เรื่อง (ร้อยละ 97.07)

(8) การเมือง เช่น การเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมือง และการเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานของรัฐบาล 1,742 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 1,719 เรื่อง (ร้อยละ 98.68)

(9) ประเด็นเกี่ยวกับทรัพย์สิน เช่น ขอให้ตรวจสอบ ระงับ ตัดสายกรณีเป็นสายโทรศัพท์จากต่างประเทศ ซึ่งคาดว่าจะเป็นการโทรศัพท์แอบอ้างจากกลุ่มมิจฉาชีพและการตรวจสอบเว็บไซต์และ แอปพลิเคชันที่มีลักษณะหลอกลวงประชาชน รวมทั้งขอให้แก้ไขปัญหากลุ่มมิจฉาชีพหลอกลวงด้วยความเด็ดขาดเพื่อให้ปัญหาได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม รวม 1,687 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 1,366 เรื่อง (ร้อยละ 80.97)

(10) การเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายและโครงการของรัฐ เช่น มาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน (ค่าน้ำ-ค่าไฟ) และขอให้เพิ่มสิทธิและขยายระยะเวลาโครงการคนละครึ่ง รวมทั้งขอให้ตรวจสอบการดำเนินโครงการเราเที่ยวด้วยกัน รวม 1,511 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 1,414 เรื่อง (ร้อยละ 93.58)

2.3 รายงานสรุปการสอบถามข้อมูล แจ้งเหตุ ร้องขอความช่วยเหลือและเสนอข้อคิดเห็น ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ผ่านสายด่วน 1111 (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 30 กันยายน 2565) สรุปได้ ดังนี้ หน่วย : เรื่อง

ลำดับที่          ประเภทเรื่อง          เรื่องร้องทุกข์          ดำเนินการ
จนได้ข้อยุติ          รอผลการพิจารณา
1          การสอบถามข้อมูลและเสนอข้อคิดเห็น          128,694          128,694          -
2          ขอความช่วยเหลือและแจ้งเหตุ          9,239          8,657          582
รวมทั้งสิ้น          137,933          137,351          582

2.4 การแจ้งเบาะแสการกระทำผิดกฎหมายและการร้องเรียน ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผ่านสายด่วน 1111 (ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2565) สรุปได้ ดังนี้ หน่วย : เรื่อง

ลำดับที่          ประเภทเรื่อง          แจ้งเบาะแส/ร้องเรียน          ดำเนินการ
จนได้ข้อยุติ          รอผลการพิจารณา
1          แจ้งเบาะแสการกระทำผิดกรณีบ่อนการพนัน          1,501          1,016          485
2          แจ้งเบาะแสการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน            พ.ศ. 2548 และการแจ้งเบาะแสแรงงานเข้าเมืองผิดกฎหมาย          712          529          183
รวมทั้งสิ้น          2,213          1,545          668

3. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์

3.1 การติดต่อและยื่นเรื่องร้องทุกข์ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ลดลงร้อยละ 19.75 เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ทั้งนี้ พบว่าประชาชนใช้บริการผ่านช่องทางสายด่วนของรัฐบาล 1111 มากที่สุด เนื่องจากเป็นช่องทางที่สะดวก เข้าถึงได้ง่ายและสามารถพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง ในขณะที่ช่องทางออนไลน์อื่นมีขั้นตอนการลงทะเบียนยืนยันตัวตนหลายขั้นตอน ซึ่งอาจไม่สะดวกกับผู้ใช้บริการ ทำให้ปริมาณงานของเจ้าหน้าที่ Call Center เพิ่มมากขึ้น

3.2 การร้องเรียน ร้องทุกข์/เสนอข้อคิดเห็นส่วนใหญ่เป็นเรื่องการรักษาพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับมาตรการในการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ถึงแม้ว่ารัฐบาลได้กำหนดให้เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังแทนโรคติดต่ออันตราย แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงมีความกังวลและต้องการทราบเกี่ยวกับการปฏิบัติตนภายใต้แนวทางที่ถูกต้องตามสถานการณ์ที่ปรับเปลี่ยนไป ตลอดจนข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

3.3 เรื่องร้องทุกข์ที่เกี่ยวข้องกับระบบออนไลน์ซึ่งเกิดจากการนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จหรือข้อมูลที่บิดเบือนไม่เป็นความจริง ข้อความในลักษณะ Hate Speech ตามกระแสสังคมสู่ระบบคอมพิวเตอร์และผ่านสื่อออนไลน์ซึ่งมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง เนื่องจากปัจจุบันสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าถึงประชาชนได้ง่ายมากขึ้นทำให้ประชาชนหลงเชื่อข้อความหลอกลวงประชาชนให้มีการลงทุน การโอนเงิน หรือการบริจาค

3.4 ประชาชนส่งเรื่องร้องทุกข์มาอย่างต่อเนื่องและติดตามผลการดำเนินการเป็นระยะ ยังคงเป็นปัญหาเกี่ยวกับสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น ปัญหาน้ำประปาและไฟฟ้า เหตุเดือดร้อนรำคาญเสียงดังรบกวนจากบ้านเรือนใกล้เคียง และการให้บริการทางโทรศัพท์ของหน่วยงาน สะท้อนให้เห็นว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาอาจมีข้อจำกัดบางประการที่ยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม

4. ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ/การปฏิบัติงาน ดังนี้

4.1 สปน. จะนำข้อมูลผลการใช้บริการไปปรับปรุงประสิทธิภาพแต่ละช่องทางเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงช่องทางออนไลน์ที่มีความสะดวก ง่าย ลดขั้นตอน และเกิดสมดุลของปริมาณงานในแต่ละช่องทาง

4.2 ขอให้หน่วยงานประชาสัมพันธ์สร้างความรับรู้เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน ข้อมูลผลการดำเนินงานและข้อมูลข่าวสารที่สำคัญของทางราชการให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่ส่งผลต่อประชาชน ซึ่งต้องสื่อสารด้วยความถูกต้องรวดเร็ว เป็นไปในเชิงบวกเพื่อลดความขัดแย้งและป้องกันปัญหาเรื่องร้องทุกข์ที่อาจตามมา

4.3 ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการการแก้ไขปปัญหาร่วมกับทุกภาคส่วนมุ่งเน้นการทำงานเชิงรุก วิเคราะห์ปัญหาในทุกมิติ แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องและบังคับใช้กฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ทั้งนี้ หน่วยงานควรกำหนดระยะเวลาการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์เพื่อให้เป็นมาตรฐานและประชาสัมพันธ์ขั้นตอนและระยะเวลาการดำเนินการให้ประชาชนทราบ

4.4 ขอให้หน่วยงานให้ความสำคัญกับผู้ปฏิบัติงานเรื่องร้องทุกข์โดยจัดอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานและจิตบริการอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

11. เรื่อง มาตรการเร่งด่วนด้านพลังงานเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงาน สำหรับค่าไฟฟ้าประจำเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2565

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอให้การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ใช้จ่ายในวงเงิน 6,693.31 ล้านบาท โดยใช้แหล่งเงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับค่าไฟฟ้าเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2565 เพื่อให้ส่วนลดอัตราค่าไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 หน่วยต่อเดือน โดยเป็นกรอบวงเงินของ กฟน. จำนวน 1,259.99 ล้านบาท และเป็นกรอบวงเงินของ กฟภ. จำนวน 5,433.32 ล้านบาท โดยให้ กฟน. และ กฟภ. เบิกจ่ายเงินจากสำนักงบประมาณ (สงป.) ต่อไป

สาระสำคัญของเรื่อง

1. มท. (กฟน. และ กฟภ.) ได้ดำเนินมาตรการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2565 เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาพลังงานที่สูงขึ้น สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 หน่วยต่อเดือน สำหรับค่าไฟฟ้าประจำเดือนตุลาคม - เดือนธันวาคม 2565 และใช้แหล่งเงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น โดยให้ กฟน. และ กฟภ. เบิกจ่ายเงินจาก สงป. ต่อไป ซึ่งมีประมาณการงบประมาณที่ใชในการดำเนินการ ดังนี้ ใบแจ้งค่าไฟฟ้า

ประจำเดือน          กฟน.          กฟภ.          รวม
          ล้านราย          ล้านบาท          ล้านราย          ล้านบาท          ล้านราย          ล้านบาท
ตุลาคม - ธันวาคม 2565          3.04          1,259.99          18.39          5,433.32          21.43          6,693.31

2. สงป. แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ มท. (กฟน. และ กฟภ.) ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 6,693.31 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินมาตรการบรรเทาผลกระทบด้านไฟฟ้า โดยให้ส่วนลดค่าไฟฟ้าแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยไม่เกิน 500 หน่วยต่อเดือน สำหรับค่าไฟฟ้าประจำเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2565 โดยให้ กฟน. ในกรอบวงเงิน 1,259.99 ล้านบาท และให้ กฟภ. ในกรอบวงเงิน 5,433.32 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายในงบเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป และขอให้ มท. (กฟน. และ กฟภ.) จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อขอทำความตกลงกับ สงป. ตามขั้นตอนต่อไป

3. มท. แจ้งว่า การช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและลดภาระค่าไฟฟ้า/ค่าครองชีพแก่กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของราคาไฟฟ้าซึ่งเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน รวมถึงเป็นการจูงใจให้มีการลดการใช้ไฟฟ้าลง ซึ่งจะช่วยลดการนำเข้าพลังงานราคาสูงจากต่างประเทศได้ส่วนหนึ่งและช่วยให้เศรษฐกิจไทยในภาพรวมสามารถขับเคลื่อนได้ในระยะต่อไป

* คณะรัฐมนตรีมีมติ (10 พฤษภาคม 2565) เห็นชอบให้ มท. (กฟน. และ กฟภ.) ดำเนินมาตรการให้ส่วนลดอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่า Ft) ให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยและประเภทกิจการขนาดเล็กที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน เป็นระยะเวลา 4 เดือน (เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2565) โดยให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในกรอบวงเงินจำนวนทั้งสิ้น 1,724.950 ล้านบาท

12. เรื่อง ขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2559 เพื่อให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยยุติการดำเนินโครงการไฟฟ้าพลังน้ำบ้านจันเดย์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอการขอยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2559 [เรื่อง โครงการไฟฟ้าพลังน้ำบ้านจันเดย์ (โครงการฯ)] ที่ได้เห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินโครงการฯ เพื่อให้ กฟผ. ยุติการดำเนินโครงการฯ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พน. รายงานว่า
                    1. โครงการฯ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อก่อสร้างเขื่อนและโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เพื่อจ่ายไฟใช้ในภาคตะวันตก มีขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 2 x 9 เมกะวัตต์ (รวม 18 เมกะวัตต์) โดยโครงการฯ ได้รับการบรรจุในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2558 - 2579 (แผน PDP 2015) มีกำหนดการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ในปี 2562 และต่อมาโครงการฯ ได้รับการบรรจุในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 - 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (แผน PDP 2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1) มีกำหนดการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ในปี 2566 ทั้งนี้ โครงการฯ ตั้งอยู่บนลำน้ำแควน้อย บริเวณตอนล่างของเขื่อนวชิราลงการณ โดยอยู่ห่างจากท้ายเขื่อนวชิราลงกรณ เป็นระยะทางตามลำน้ำประมาณ 22.5 กิโลเมตร และอยู่เหนือบ้านจันเดย์ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ประมาณ 2 กิโลเมตร โดยโครงการฯ จะใช้พื้นที่ก่อสร้างประมาณ 180 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ทั้งหมด
                    2. ที่ผ่านมา กฟผ. ได้ดำเนินกระบวนการจัดซื้อที่ดินที่จะใช้ในการก่อสร้างเขื่อนและโรงไฟฟ้าตามพื้นที่ที่ได้ระบุไว้ในรายงานการศึกษาความเหมาะสมโครงการฯ แต่ไม่สามารถจัดซื้อที่ดินได้ เนื่องจากเจ้าของที่ดินมีความประสงค์จะขายในราคาที่ต่อรองจนถึงที่สุดและสูงกว่าราคาที่ประเมินไว้ในรายงานการศึกษาความเหมาะสมโครงการฯ ถึง 2 เท่า1 ประกอบกับ กฟผ. มีข้อจำกัดด้านเทคนิคในการคัดเลือกพื้นที่ที่มีความเหมาะสมทางวิศวกรรม2 สำหรับก่อสร้างเขื่อนสำหรับโครงการฯ ทำให้ไม่สามารถหาพื้นที่อื่นทดแทนได้ ทั้งนี้ กฟผ. ได้เจรจากับเจ้าของที่ดินอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน แต่ไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ และเนื่องจากโครงการฯ ต้องใช้ระยะเวลาเตรียมการและก่อสร้างประมาณ 5 ปี โดยจากสถานภาพของโครงการฯ ในปัจจุบัน จึงไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ ให้แล้วเสร็จเพื่อจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ได้ทันภายในปี 2566 ตามที่แผน PDP 2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 กำหนด
                    3. กฟผ. พิจารณาถึงประเด็นความคุ้มค่าของการลงทุนโครงการฯ ในสถานการณ์ด้านพลังงานในปัจจุบันและผลกระทบหากไม่ดำเนินโครงการฯ สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
ความคุ้มค่า
ของการลงทุนโครงการฯ          - ตามผลการศึกษาในรายงานการศึกษาความเหมาะสมโครงการฯ เมื่อปี 2556 โครงการฯ มีราคาค่าไฟฟ้า 4.74 บาทต่อหน่วย ซึ่งเป็นราคาที่มีความคุ้มค่าในการลงทุนเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้พลังงานหมุนเวียนอื่น ๆ ณ ช่วงเวลาในขณะนั้น แต่จากการทบทวนการศึกษาความเหมาะสมโครงการฯ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยคำนึงถึงต้นทุนการจัดซื้อที่ดินที่เพิ่มขึ้นจากที่ประเมินไว้เดิมและการปรับแบบก่อสร้างใหม่เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายลงทุนให้อยู่ในวงเงินที่ได้รับอนุมัติ รวมถึงการวิเคราะห์ค่าไฟฟ้าด้วยแบบจำลองทางการเงินที่ปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน พบว่า ราคาค่าไฟฟ้าของโครงการฯ ลดลงเป็น 3.73 บาทต่อหน่วย แต่อย่างไรก็ตาม ราคาค่าไฟฟ้าของโครงการฯ ยังคงมีราคาสูงเมื่อเปรียบเทียบกับค่าไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนอื่น ๆ เช่น โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าเขื่อนสิริธร (ราคาค่าไฟ 1.52 บาทต่อหน่วย) โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเศรษฐกิจฐานรากที่มีกำลังผลิตมากกว่า 3 เมกะวัตต์ (ราคาไฟฟ้าที่เสนอขายเฉลี่ยที่ 2.53 บาทต่อหน่วย) ดังนั้น การลงทุนโครงการฯ ในสถานการณ์ด้านพลังงานในปัจจุบันจึงไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
ผลกระทบ
หากไม่ดำเนินโครงการฯ          - ไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้า เนื่องจากระบบไฟฟ้าในภาคตะวันตกมีโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่หลายแห่งและมีปริมาณสำรองไฟฟ้าเพียงพอกับความต้องการใช้ไฟฟ้า
- ประเทศไทยมีศักยภาพทางด้านพลังงานหมุนเวียนอื่น ๆ อีกมาก ซึ่ง กฟผ. ได้วางแผนพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนอื่น ๆ ซึ่งมีเสถียรภาพและความคุ้มค่าในการลงทุนมากกว่า ซึ่งในปัจจุบัน พน. อยู่ในระหว่างการทบทวนแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ โดยจะมีการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนเป็นร้อยละ 50
                    4. คณะกรรมการ กฟผ. ในคราวประชุมครั้งที่ 17/2564 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564 มีมติเห็นชอบการขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2559 เพื่อให้ กฟผ. ยุติการดำเนินโครงการฯ และให้นำเสนอ พน. และคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
1 ข้อมูลในรายงานการศึกษาความเหมาะสมโครงการฯ ประเมินค่าที่ดินอยู่ที่ 1 ล้านบาทต่อไร่ ในขณะที่ ณ ปี 2564 ราคาเสนอขายอยู่ที่ 2 ล้านบาทต่อไร่
2 พื้นที่ดำเนินโครงการฯ มีลักษณะเป็นพื้นที่คุ้งแม่น้ำ หรือมีลักษณะเป็นพื้นที่กระเพาะหมู คล้ายกับพื้นที่บางกะเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการก่อสร้างโครงการฯ เนื่องจาก กฟผ. สามารถพัฒนาอาคารต่าง ๆ อาทิ อาคารโรงไฟฟ้า อาคารระบายน้ำล้น ทางรับน้ำเข้าและทางระบายน้ำออกจากโรงไฟฟ้าเฉพาะส่วนที่ไม่เชื่อมต่อกับแม่น้ำแควน้อยได้ทันที โดยไม่ต้องก่อสร้างทำนบดินชั่วคราว (Cofferdam) และผันน้ำระหว่างก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ในระยะเริ่มต้น ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนโครงการฯ และระยะเวลาในการพัฒนาโครงการฯ

13. เรื่อง การจัดทำโครงการบ้านพักข้าราชการ (บ้านหลวง) ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ ดังนี้
                    1. หลักการโครงการบ้านพักข้าราชการ (บ้านหลวง) (โครงการฯ บ้านหลวง) ภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) ดำเนินการโดย พม. จำนวน 5 โครงการ รวม 55 หน่วย ภายในวงเงินงบประมาณ 62.28 ล้านบาท
                    2. วงเงินสนับสนุนจากรัฐบาลเต็มจำนวน จำนวน 62.28 ล้านบาท โดยมอบสำนักงบประมาณ (สงป.) จัดสรรเงินสนับสนุนจำนวนดังกล่าว
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พม. รายงานว่า
                    1. ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) ซึ่งรวมถึงโครงการฯ บ้านหลวงด้วย โดย พม. (กคช.) เป็นผู้ดำเนินโครงการแทนส่วนราชการที่มีความต้องการจัดทำที่อยู่อาศัยในรูปแบบรัฐสวัสดิการ โดยปัจจุบันมีหน่วยงานที่มีความพร้อมในการดำเนินโครงการ จำนวน 1 หน่วยงาน ได้แก่ พม. โดย พม. ได้เสนอขอจัดทำโครงการฯ บ้านหลวง จำนวน 5 โครงการ รวม 55 หน่วย (55 ครัวเรือน หรือคิดเป็นจำนวนข้าราชการและครอบครัวประมาณ 220 คน) วงเงินงบประมาณ 62.28 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี
                    2. โครงการฯ บ้านหลวงของ พม. มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
                              2.1 วัตถุประสงค์
                                        2.1.1 เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตด้านที่อยู่อาศัยให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยของหน่วยงานของรัฐ โดยการจัดเตรียมที่อยู่อาศัยในรูปแบบบ้านหลวงที่ได้มาตรฐาน มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม พร้อมสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่จำเป็น
                                        2.1.2 เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยของหน่วยงานของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ห่างไกลจากภูมิลำเนาของตน ให้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มกำลังความสามารถจากการได้รับการสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัย
                                        2.1.3 เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐในการเสริมสร้างโอกาสในการเข้าถึงสวัสดิการสังคมและที่อยู่อาศัย เป็นการลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคม
                              2.2 รายละเอียดของโครงการสรุปได้ ดังนี้
ที่ตั้งโครงการ
(ประเภทอาคาร)          จำนวน
(หน่วย)          วงเงิน
งบประมาณ
(ล้านบาท)          ขนาด (กว้างxยาว) (เมตร)
= พื้นที่ใช้สอย (ตารางเมตร)          หมายเหตุ
1) สถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ (บ้านสองแคว) จังหวัดพิษณุโลก
(อาคารพักอาศัยสูง 3 ชั้น จำนวน 1 อาคาร)          12          8.50          6 x 7.8 = 46.8          งบประมาณ ปี 2565 จำนวน 8.50 ล้านบาท
2) สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดกาฬสินธุ์
(อาคารพักอาศัยสูง 4 ชั้น จำนวน 1 อาคาร)          12          16.24          6.5 x 9.85 = 64          ผูกพันงบประมาณ 3 ปี
งบประมาณ ปี 2564 จำนวน 3.71 ล้านบาท
งบประมาณ ปี 2565 จำนวน 8.89 ล้านบาท
งบประมาณ ปี 2566 จำนวน 3.64 ล้านบาท
(ปรับลดงบประมาณ จำนวน 1.76 ล้านบาท จากเดิม 5.40 ล้านบาท)
3) สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
(อาคารพักอาศัยสูง 3 ชั้น จำนวน 1 อาคาร)          12          9.62          ขนาดของห้องพักมี 3 ขนาด
11.35 x 7 = 79.45
9.35 x 7 = 65.45
9.35 x 3.5 = 32.72          ผูกพันงบประมาณ 2 ปี
งบประมาณ ปี 2564 จำนวน 2.69 ล้านบาท
งบประมาณ ปี 2565 จำนวน 6.93 ล้านบาท
4) สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดอุบลราชธานี
(อาคารพักอาศัยสูง 3 ชั้น จำนวน 1 อาคาร)          11          9.11          ขนาดของห้องพักมี 5 ขนาด
3.5 x 8 = 28
3.5 x 6 = 21
6 x 7 = 42
7 x 6 = 42
7 x 8 = 56          งบประมาณ ปี 2565
จำนวน 9.11 ล้านบาท
5) สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดศรีสะเกษ
(อาคารพักอาศัยสูง 3 ชั้น จำนวน 1 อาคาร)          8          18.81          8 x 12 = 96          - งบประมาณ ปี 2565 จำนวน 18.81 ล้านบาท
- วงเงินงบประมาณสูงเนื่องจากพื้นที่จัดทำโครงการมีอาคารเดิมที่ต้องรื้อถอนและพื้นที่ลาดต่ำกว่าถนนต้องมีการปรับสภาพพื้นที่ให้มีความพร้อมก่อนเริ่มดำเนินโครงการ
รวม 5 โครงการ          55          62.28          -          -
                    3. พม. แจ้งว่า สงป. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อสร้างขวัญกำลังใจและเป็นสวัสดิการให้แก่ข้าราชการเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยของหน่วยงานของรัฐที่ได้เสียสละไปปฏิบัติหน้าที่นอกภูมิลำเนาของตน รวมทั้งตอบสนองนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ตลอดจนสร้างโอกาสการเข้าถึงสวัสดิการสังคมและที่อยู่อาศัย จึงเห็นสมควรที่ พม. จะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบในหลักการโครงการฯ บ้านหลวง ซึ่งดำเนินโครงการโดย พม. จำนวน 5 โครงการ รวม 55 หน่วย ภายในวงเงิน 64.05 ล้านบาท โดยเห็นควรให้ดำเนินโครงการดังกล่าวให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงและเป็นธรรม พร้อมจัดทำรายละเอียดแบบรูปรายการ ประมาณการค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในแต่ละระดับ โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัด เป้าหมายประโยชน์ที่จะได้รับและผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ รวมทั้งจัดลำดับความสำคัญของโครงการ แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม ตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ โครงการฯ บ้านหลวงดังกล่าวได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีรองรับการดำเนินโครงการไว้แล้ว โดยผูกพันงบประมาณรายจ่ายตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2566 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติรายการและวงเงินก่อหนี้ผูกพันของโครงการตามมาตรา 41 ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 แล้ว

14. เรื่อง วาระแห่งชาติ เรื่อง การป้องกันและแก้ไขปัญหาการข่มขืนกระทำชำเราและการล่วงละเมิดทางเพศ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบวาระแห่งชาติ เรื่อง การป้องกันและแก้ไขปัญหาการข่มขืนกระทำชำเราและการล่วงละเมิดทางเพศ (วาระแห่งชาติฯ)
                    2. มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำวาระแห่งชาติฯ ไปขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พม. รายงานว่า
                    1. ปัจจุบันมีอาชญากรรมการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับเพศและความรุนแรงทางเพศเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากและต่อเนื่อง ทั้งจากครอบครัว การทำงาน ชุมชน และความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งนับเป็นปัญหาสำคัญที่บั่นทอนสวัสดิภาพของประชาชนและสังคมโดยรวม และเป็นภัยสังคมที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนและทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ส่งผลต่อร่างกาย จิตใจ และสังคมของผู้เสียหาย โดยความรุนแรงทางเพศที่เกิดขึ้นนั้น ได้แก่ การข่มขืนกระทำชำเราและการล่วงละเมิดทางเพศซึ่งสถานการณ์ความรุนแรงทางเพศในประเทศไทยนั้นก็มักจะถูกเชื่อมโยงเข้ากับปัจจัยแวดล้อมอื่น เช่น การบริโภคแอลกอฮอล์ การเสพสื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ส่งผลให้การรับโทษของผู้กระทำความผิดลดลง นอกจากนี้ความผิดบางประเภท เช่น การล่วงละเมิดทางเพศ เป็นต้น สามารถยอมความกันได้ และในกรณีที่ผู้ถูกกระทำเป็นเด็กจะมีความกลัวและความอับอายจึงอาจส่งผลให้อัตราการแจ้งความลดลง และทำให้สถิติความรุนแรงทางเพศที่เกิดขึ้นนั้นน้อยกว่าความเป็นจริง คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการข่มขืนกระทำชำเราและการล่วงละเมิดทางเพศ สภาผู้แทนราษฎรจึงได้จัดทำรายงานเรื่องแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการข่มขืนฯ และ ยธ. ได้เสนอรายงานดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบและมอบหมายให้ พม. โดย คณะกรรมการและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานภาพสตรีแห่งชาติ (กยส.) ดำเนินการขับเคลื่อนแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการข่มขืนกระทำชำเราและการล่วงละเมิดทางเพศโดยยกระดับให้เป็นวาระแห่งชาติ พม. จึงได้นำรายงานดังกล่าวมาใช้เป็นเอกสารหลักในการจัดทำวาระแห่งชาติฯ โดยนำมาศึกษา วิเคราะห์ และประมวลข้อมูล และนำมาจัดทำเป็นแบบสอบถามเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ได้แก่ เครือข่ายการทำงานสตรีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐ และรวบรวมผลการรับฟังความคิดเห็นของภาคส่วนต่าง ๆ แล้วจึงนำมากำหนดเป็นแผนปฏิบัติการเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการข่มขืนกระทำชำเราและการล่วงละเมิดทางเพศ (แผนปฏิบัติการฯ) เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติฯ ซึ่ง กยส. ในการประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2565 [รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน] มีมติเห็นชอบวาะแห่งชาติฯ ด้วยแล้ว และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
                    2. แผนปฏิบัติการฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการข่มขืนกระทำชำเราและการล่วงละเมิดทางเพศ และเพื่อกระตุ้นให้สังคมรับรู้เรื่องความรุนแรงทางเพศที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสังคมให้มั่นคง พร้อมรับการพัฒนาโดยมีระยะเวลาดำเนินการ 6 ปี (พ.ศ. 2565 ? 2570) ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 ปรับความรู้และทัศนคติของสังคม กลยุทธ์ที่ 2 ปรับปรุงระบบงานเพื่อสร้างความเป็นธรรม และกลยุทธ์ที่ 3 ปรับมาตรการทางวินัย กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้เสียหาย แนวทางการดำเนินงาน ตัวชี้วัด กิจกรรมที่สำคัญ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
กลยุทธ์/เป้าหมาย/แนวทางการดำเนินงาน/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง          ตัวชี้วัด          กิจกรรมที่สำคัญ เช่น
กลยุทธ์ที่ 1 ปรับความรู้และทัศนคติของสังคม
มีเป้าหมายคือ 1) ปรับระบบความคิดที่ไม่เพิกเฉยต่อปัญหาการข่มขืนกระทำชำเรา/ล่วงละเมิดทางเพศ (ปัญหาฯ) และลดมายาคติ1 ของสังคม 2) สร้างกลไกการป้องกันที่มีคุณภาพและเฝ้าระวังความรุนแรงทางเพศ/การข่มขืนกระทำชำเรา และการล่วงละเมิดทางเพศ (ความรุนแรงทางเพศฯ) และ 3) สร้างพื้นที่สาธารณะที่ปลอดภัย
แนวทางการดำเนินงาน:
1) ปรับระบบความคิดที่ไม่เพิกเฉยต่อปัญหาฯ และลดมายาคติของสังคม










1.1) มีจำนวนโครงการ/กิจกรรมที่สร้างความรู้ละความเข้าใจ ปรับระบบความคิดที่ไม่เพิกเฉยต่อปัญหาฯ มีกฎหมาย สิทธิและกลไกการป้องกันภัย/ความเสี่ยงโดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมผ่านการประเมินไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

- อบรม/ถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเพื่อปรับระบบความคิดที่ไม่เพิกเฉยต่อปัญหาฯ กฎหมาย สิทธิ และกลไกการป้องกันภัย/ความเสี่ยง
- รณรงค์สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่มีการบังคับใช้หรือกฎหมายที่มีการแก้ไข และสิทธิต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ผ่านสื่อหลากหลายประเภท เช่น โปสเตอร์ การให้ข้อมูลด้วยภาพ
- เผยแพร่ความรู้/ข้อมูลในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยและการจัดหาทนายอาสา และสิทธิที่ผู้เสียหายจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย กรณีถูกล่วงละเมิดทางเพศ
- จัดทำคู่มือมาตรฐาน/แนวทางที่เหมาะสม
(ไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น/คุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหาย) ในการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชน
- จัดอบรม/ให้ความรู้แก่บุคลากรทุกระดับ/ส่วนกลาง
- ภูมิภาค เพื่อถ่ายทอดความรู้ สร้างความเข้าใจกลไกการป้องกัน ปัญหาฯ ให้เครือข่ายระดับชุมชน/ท้องถิ่น
          1.2) มีหลักสูตร/โปรแกรมเพศวิถีศึกษา เพื่อปรับมายาคติ เรื่องเพศในสังคมไทยร่วมกับสถาบันการศึกษาทุกสถาบัน/ทุกระดับเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 10 ต่อปี          - ปรับเนื้อหาหลักสูตร/โปรแกรมการสอนเพศวิถีให้เหมาะสมกับผู้เรียนและประชาชนทั่วไป เพื่อให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องสามารถทำความเข้าใจได้ง่าย
- บูรณาการหลักสูตรการปกป้องคุ้มครองสิทธิของตนเองและผู้อื่น เคารพสิทธิของกันและกัน เน้นความเสมอภาคระหว่างเพศ (หญิง ? ชาย ? ผู้มีความหลากหลายทางเพศ) โดยกำหนดให้เป็นวิชา/ความรู้พื้นฐานสำหรับทุกคน ทุกช่วงวัย
- สร้างความรู้ความเข้าใจในสิทธิ ความเท่าเทียมกัน ไม่เลือกปฏิบัติ/ขจัดมายาคติในองค์กรภาคเอกชน และภาคธุรกิจ ให้ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยเข้าถึงสิทธิที่พึงมี (ขจัดการเลือกปฏิบัติในกลุ่มแรงงานหญิงชายและผู้มีความหลากหลายทางเพศ เช่น ค่าจ้าง ค่าตอบแทน สิทธิการลาพัก/ลาคลอด)
2) สร้างกลไกการป้องกันที่มีคุณภาพและเฝ้าระวังความรุนแรงทางเพศฯ          มีกลไกการเฝ้าระวังในการป้องกันความรุนแรงทางเพศฯ โดยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและเครือข่ายในระดับจังหวัดและท้องถิ่นร้อยละ 100 ภายใน 3 ปี          - ประชุม/สัมมนา เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทุกระดับ (หน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน และภาคประชาสังคมรวมทั้งเครือข่ายในระดับชุมชน/ท้องถิ่น) เพื่อกำหนดกรอบ/กระบวนการและกลไกการทำงาน/แผนปฏิบัติการเพื่อการเฝ้าระวังเตือนภัย และป้องกันความรุนแรงทางเพศฯ
- จัดกิจกรรมการเฝ้าระวัง เตือนภัย และป้องกันความรุนแรงทางเพศฯ ร่วมกับเครือข่ายในระดับชุมชนและหน่วยงานภาครัฐทั้งระยะสั้นและระยะยาว (โดยรัฐให้การสนับสนุนงบประมาณ)
                    - จัดกิจกรรมการเยี่ยมบ้าน โดยมีเป้าหมายเป็นบุคคล/ครอบครัว/ชุมชนที่มีความเสี่ยง
3) สร้างพื้นที่สาธารณะที่ปลอดภัย          มีชุมชนต้นแบบหรือพื้นที่ปลอดภัยสำหรับการเฝ้าระวังปัญหาความรุนแรงทางเพศฯ ทั้งในเมืองและชนบทเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 10 ต่อปี          - กำหนดมาตรฐานระดับชาติเพื่อวางแนวทาง/มาตรการในการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยจากความรุนแรงทางเพศฯ ในพื้นที่สาธารณะ และการขนส่งสาธารณะ รวมถึงสถานศึกษา/ตลาด/พื้นที่สาธารณะอื่น ๆ
- จัดให้มีช่วงทางการร้องทุกข์ ? ร้องเรียน แจ้งข้อมูลพื้นที่ที่ไม่ปลอดภัย/พื้นที่เสี่ยง โดยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานทุกฝ่าย ทุกระดับ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานหลัก : พม.
หน่วยงานสนับสนุน : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและวัฒนธรรม (อว.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) ยธ. กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กรทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักนายกรัฐมนตรี (นร.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และเครือข่ายในระดับชุมชน/ท้องถิ่น
กลยุทธ์ที่ 2 ปรับปรุงระบบงานเพื่อสร้างความเป็นธรรม
มีเป้าหมายคือ 1) ผู้เสียหายได้รับการคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพ เข้าถึงบริการที่เป็นมิตรและเป็นธรรม และ       2) ปรับพฤติกรรมผู้กระทำความผิดและป้องกันการกระทำผิดซ้ำ
แนวทางการดำเนินงาน :
1) ผู้เสียหายได้รับการคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพ เข้าถึงบริการที่เป็นมิตรและเป็นธรรม







1.1) ร้อยละของผู้เสียหายเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพได้รับการบริการที่เป็นมิตรและเป็นธรรมผู้เสียหายไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ได้รับการแก้ไข ฟื้นฟูเยียวยากลับคืนสู่สังคม









- พัฒนาระบบการให้บริการบำบัด ฟื้นฟู และเยียวยา (ช่วยเหลือ/คุ้มครองสิทธิ) แก่ผู้เสียหายจากความรุนแรงทางเพศฯ เช่น จัดให้มีสายด่วนหรือเบอร์กลางให้ผู้เสียหายเข้าถึงได้สะดวกทุกวัน บริการสายด่วน 24 ชั่วโมง/วัน จัดให้มีการบริการช่วยเหลือที่มีช่องทางให้เข้าถึงได้สะดวก พร้อมให้บริการในทุกระดับ (ระดับประเทศ/จังหวัด/ชุมชนและท้องถิ่น)
- ปรับ/พัฒนากลไกการบริการช่วยเหลือผู้เสียหาย เช่น เพิ่มระบบการแจ้งเหตุในรูปแบบต่าง ๆ พัฒนาผู้ให้คำปรึกษาให้มีทักษะในการให้ความช่วยเหลือ บูรณาการการทำงานในรูปแบบทีมสหวิชาชีพเพื่อให้ความช่วยเหลือ ปรับปรุง ห้องสอบสวน และระบบการสอบสวนผู้เสียหาย
          1.2) จำนวนพนักงานเจ้าหน้าที่/ผู้ให้คำปรึกษามีทักษะเฉพาะในการช่วยเหลือผู้เสียหายจากความรุนแรงทางเพศฯ เพิ่มมากขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ต่อปี          - จัดกิจกรรมการอบรม/เพิ่มพูนทักษะผู้ปฏิบัติงาน/พนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อรองรับการบริการช่วยเหลือผู้เสียหายจากความรุนแรงทางเพศฯ
          1.3) ช่องทางในการร้องทุกข์ร้องเรียน แจ้งเหตุไว้รองรับหลายช่องทาง ทั้งโดยผ่านหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน ในชุมชน/ท้องถิ่น รวมทั้งองค์กรธุรกิจร้อยละ 100 ภายใน 3 ปี
          - จัดทำโครงการ/กิจกรรมเผยแพร่ความรู้ตามกระบวนการบริการช่วยเหลือ/ร้องทุกข์ ร้องเรียน แจ้งเหตุ โดยให้ประชาชนรับรู้และสามารถเข้าถึงบริการได้สะดวก ปลอดภัย
- จัดทำโครงการ/กิจกรรมร่วมกับหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชนและภาคธุรกิจ โดยกำหนดแนวทางและจัดให้มีช่องทางร้องทุกข์ ร้องเรียน และแจ้งเหตุ กรณีการล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงานที่สามารถเข้าถึงได้อย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพและมีความละเอียดอ่อนต่อเพศภาวะ
2) ปรับพฤติกรรมผู้กระทำความผิดและป้องกันการกระทำผิดซ้ำ          2.1) มีหลักสูตร/โปรแกรมการปรับพฤติกรรมผู้กระทำความผิดทางเพศ/กระทำรุนแรงทางเพศ/การข่มขืนกระทำชำเราและการล่วงละเมิดทางเพศ (ผู้กระทำความผิดทางเพศฯ) ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับผ่านความเห็นชอบจากองค์กรหรือสมาคมนักวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง          - ศึกษาวิจัยอย่างเร่งด่วน และกำหนดแนวทางในการประเมินผลผลการปรับพฤติกรรมผู้กระทำผิดทางเพศ (จำแนกตามการกระทำความผิด/คดีเพศ/ผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้ใหญ่ เด็กและเยาวชน)
- พัฒนาแนวทางปฏิบัติหลักสูตร/โปรแกรมการปรับพฤติกรรมผู้กระทำความผิด/กระทำรุนแรงทางเพศที่มีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับโดยจัดทำโปรแกรมที่ใช้ในการบำบัดฟื้นฟูผู้กระทำผิดคดีทางเพศเป็นการเฉพาะ
- จัดอบรม/พัฒนาทักษะพนักงานเจ้าหน้าที่/ผู้ปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐและเครือข่าย โดยรเข้าร่วมกิจกรรมในหลักสูตร/โปรแกรมการปรับพฤติกรรมผู้กระทำความผิดทางเพศฯ
- พัฒนาแนวทางปฏิบัติหลักสูตร/โปรแกรมการปรับพฤติกรรมผู้กระทำความผิดทางเพศฯ ที่มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับโดยจัดทำโปรแกรมที่ใช้ในการบำบัดฟื้นฟูผู้กระทำผิดคดีทางเพศเป็นการเฉพาะ
          2.2) จำนวนของผู้กระทำความผิดได้รับการประเมินว่าผ่านกระบวนการปรับพฤติกรรมตามหลักสูตร/โปรแกรมที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของผู้เข้ารับการประเมิน
          - จัดทำแบบประเมินความเสี่ยงในการกระทำผิดซ้ำของผู้กระทำผิดคดีทางเพศ โดยศึกษาวิจัยอย่างเร่งด่วนเพื่อประเมินความเสี่ยง
- กำหนดมาตรการ/วางแผนการคุมประพฤติแก่ผู้กระทำความผิดที่มีความเสี่ยงต่ำ
- ทดลองใช้แบบประเมินความเสี่ยงและปรับให้ได้มาตรฐาน
- จัดอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่/ผู้ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่ปรับทัศนคติและพฤติกรรมของผู้กระทำผิดคดีทางเพศและเพื่อวางแผนการคุมประพฤติแก่ผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำ
          2.3) ค่าร้อยละของผู้กระทำความผิดซ้ำ (ที่ผ่านหลักสูตร/โปรแกรมการปรับพฤติกรรม) ภายใน 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษ จะต้องไม่กระทำความผิดซ้ำเกินร้อยละ 20          - จัดทำฐานข้อมูลบันทึกประวัติผู้กระทำความผิด/พัฒนาแบบบันทึกข้อมูล
- เพิ่มมาตรการลงโทษคดีเกี่ยวกับเพศ กรณีการใช้ยาเพื่อปรับฮอร์โมนของผู้กระทำความผิด โดยเฉพาะลักษณะคดีที่ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเพศมีพฤติการณ์กระทำผิดซ้ำ หรือมีลักษณะการกระทำที่เป็นภัยต่อสังคม หรือเป็นคดีที่กระทำต่อเด็กและเยาวชน
- ศึกษาวิจัย/จัดทำข้อมูลประกอบการผลักดันให้ออกกฎหมายรองรับการจัดเก็บข้อมูลตัวอย่างสารพันธุกรรมเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีและติดตามมิให้กระทำความผิดซ้ำ
- ประสานความร่วมมือ เพื่อให้เกิดระบบการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกระบวนการยุติธรรม/ประวัติอาชญากร/ผู้กระทำความผิดเพื่อให้เกิดการป้องกันและแก้ไขปัญหาการข่มขืนกระทำชำเราและการล่วงละเมิดทางเพศ


หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานหลัก : พม.
หน่วยงานสนับสนุน : ดศ. มท. ยธ. ศธ. สธ. นร. ตช. กทม. อปท. และเครือข่ายในระดับชุมชน/ท้องถิ่น
กลยุทธ์ที่ 3 ปรับมาตรการทางวินัย กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้เสียหาย
มีเป้าหมายคือ 1) ปรับปรุงเนื้อหาของกฎหมายคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพผู้เสียหายในความผิดเกี่ยวกับเพศ 2) ปรับกระบวนการยุติธรรมเพื่อคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพผู้เสียหายให้มีประสิทธิภาพ และ 3) มีมาตรการให้สามารถลงโทษทางวินัยร้ายแรงแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ล่วงละเมิดทางเพศ
แนวทางการดำเนินงาน :
1) ปรับปรุงเนื้อหาของกฎหมายคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพผู้เสียหายในความผิดเกี่ยวกับเพศ
          1.1) รายงานความก้าวหน้าของผลการติดตามการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการในการปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความผิดเกี่ยวกับเพศให้เป็นไปตามที่กำหนดในแผนปฏิบัติการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ต่อปี
          - ศึกษาเพื่อเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย และผลกระทบจากการนำตัวบทกฎหมายไปปรับใช้ทั้งบทนิยามตามกฎหมายเดิมและที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ เพื่อให้การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเป็นไปอย่างเป็นระบบ
- เผยแพร่ความรู้ด้านกฎหมายและเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมในการแจ้งสิทธิให้ผู้เสียหายได้รับทราบถึงสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลย/เผยแพร่ข้อมูลการช่วยเหลือต่าง ๆ เช่น จัดหาทนายอาสาเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายในการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน/ค่าใช้จ่ายในการจ้างทนายความ กรณีผู้เสียหายไม่มีทุนทรัพย์ ฯลฯ
- เผยแพร่ข้อมูลแนวทางการดำเนินการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ
          1.2) จำนวนกฎหมายและแนวปฏิบัติที่มีการปรับแก้ไขในระยะสั้นและระยะยาวให้เป็นไปตามที่กำหนดในแผนปฏิบัติการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ต่อปี
          - ปรับแก้ไขกฎหมายต่าง ๆ/มาตรา 1 (18) ?กระทำชำเรา? แห่งประมวลกฎหมายอาญา/บทนิยามคำว่าคุกคามทางเพศ/กฎหมายการลงโทษผู้กระทำความผิดที่เป็นเด็ก (อายุไม่เกิน 18 ปี)
- ทบทวน/แนวทางการปฏิบัติตามข้อกฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรม และการลงทะเบียนข้อมูลของผู้ต้องขังคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ โดยศึกษาถึงข้อดีและข้อเสียในทางปฏิบัติอย่างละเอียดรอบคอบ
- จัดให้มีการทบทวน/ปรับปรุงบทนิยามและบทลงโทษของการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ/คุกคามทางเพศในประมวลกฎหมายอาญา
- ทบทวน/ปรับปรุง/ตีความพฤติการณ์ความผิดเกี่ยวกับเพศกรณีผู้กระทำกับผู้ถูกกระทำเป็นบุคคลอายุไม่เกิน 18 ปี มีความสัมพันธ์ในเชิงชู้สาว ใน 2 กรณี คือ    (1) พิจารณาพฤติการณ์ของผู้กระทำกับผู้ถูกกระทำในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ โดยมีเพศสัมพันธ์กันในลักษณะที่เป็นคู่รักกับการกระทำความผิดทางอาญา รวมถึงนำเรื่องระยะห่างช่วงอายุของเด็กหรือผู้เยาว์มาประกอบการพิจารณาสืบสวน สอบสวนและพิจารณาดำเนินคดีและ (2) กรณีเด็ก/ผู้เยาว์มีเพศสัมพันธ์ระหว่างเป็นคู่รักและบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล แจ้งความดำเนินคดีความผิดต่อเสรีภาพ ในความผิดฐานพรากเด็กหรือพรากผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 และมาตรา 319 ซึ่งผู้ต้องหาอาจไม่ได้มีพฤติการณ์ในการกระทำความผิดอาญาแต่เป็นการมีเพศสัมพันธ์โดยการสมยอมระหว่างคู่รัก (ควรนำถ้อยคำตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคห้าและวรรคหก มาพิจารณาในกระบวนการของการดำเนินคดีต่อผู้ต้องหาที่มีพฤติการณ์นี้)
2) ปรับกระบวนการยุติธรรมเพื่อคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพของผู้เสียหายให้มีประสิทธิภาพ
          มีแนวปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพของผู้เสียหายที่มีมาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของงานที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ
          - จัดประชุม/สัมมนา เพื่อจัดทำคู่มือมาตรฐานและแนวทางที่เหมาะสมในการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับกรณีเกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิและป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดผู้เสีย (ทั้งที่เป็นเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุหรือคนพิการ หรือกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ)
- กำหนดแนวทาง/แนวปฏิบัติ/คู่มือในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้เสียหายในความผิดเกี่ยวกับเพศ รวมถึงการกำหนดมาตรการดำเนินการกับทนายความ ในกรณีไม่ให้ความช่วยเหลือหรือทอดทิ้งผู้เสียหายในระหว่างการดำเนินคดี
- จัดทำโครงการ/กิจกรรมเพื่อเผยแพร่แนวทางการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้เสียหายให้ประชาชนรับรู้ผ่านช่องทางในการติดต่อขอรับความช่วยเหลือ
- ปรับปรุงระบบการสอบสวน  โดยให้พนักงานสอบสวนคำนึงถึงความละเอียดอ่อนของคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ และมีนักจิตวิทยา/นักสังคมสงเคราะห์ในการสอบสวนและการดำเนินคดีเพื่อป้องกันการล่วงละเมิดซ้ำต่อผู้เสียหาย
- สนับสนุนศูนย์ปฏิบัติการหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบคดีความผิดเกี่ยวกับเพศที่มีอยู่แล้วในจังหวัด สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3) มีมาตรการให้สามารถลงโทษทางวินัยร้ายแรงแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐล่วงละเมิดทางเพศ          3.1) ร้อยละของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่กระทำความผิดทางเพศ/ล่วงละเมิดทางเพศได้รับการลงโทษร้อยละ 100 หรือทุกกรณีตามระดับความรุนแรงของการกระทำความผิด
          - จัดทำกรอบ/แนวทางการกำหนดโทษทางวินัยร้ายแรงแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ/ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาที่กระทำความผิดกรณีล่วงละเมิดทางเพศ
- สนับสนุนให้ผู้หญิงเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการสอบสวนวินัยเจ้าหน้าที่ของรัฐ/ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม
          3.2) จำนวนคดีความผิดเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศที่ผู้กระทำความผิดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ (รวมทั้งครูและบุคลากรทางการศึกษาอื่น ๆ) มีจำนวนลดลงโดยมีการจัดเก็บสถิติ/ข้อมูลให้สามารถติดตามผลได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ต่อปี          - เผยแพร่ข้อมูล/ช่องทางการร้องทุกข์ ร้องเรียน และแจ้งเหตุกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐ/ข้าราชการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาที่กระทำความผิดกรณีล่วงละเมิดทางเพศ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานหลัก : ยธ.
หน่วยงานสนับสนุน : พม. ดศ. มท. ศธ. สธ. นร. ตช. กทม. อปท. และเครือข่ายที่ทำงานเกี่ยวข้อง

1 มายาคติ หมายถึง เป็นรูปแบบสัญลักษณ์ที่คนในสังคมสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดการขัดเกลาทางสังคม และเป็นกระบวนการลวงให้เกิดความหลงผิดจึงทำให้ยากต่อการเข้าถึงความจริง

15. เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปรับปรุงใหม่)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปรับปรุงใหม่) (มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 28 พฤศจิกายน 2560) และอนุมัติงบประมาณวงเงินรวม 1,250 ล้านบาทจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปรับปรุงใหม่) พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงการคลังเสนอการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปรับปรุงใหม่) มีรายละเอียด ดังนี้                              1. ความเป็นมา
                    คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 เห็นชอบโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปรับปรุงใหม่) ภายใต้มาตรการด้านการเงินสำหรับเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ วงเงินโครงการ 25,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินให้สินเชื่อแก่สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการในอัตราร้อยละ 0.01 ต่อปี และสถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อปี และธนาคารออมสินสามารถใช้วงเงินโครงการเพื่อให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการโดยตรงในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อปี ระยะเวลาโครงการ 5 ปี โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2565 ทั้งนี้ ธนาคารออมสินขอรับงบประมาณชดเชยสูงสุดไม่เกิน 567.5 ล้านบาทต่อปี รวม 5 ปี จำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 2,837.5 ล้านบาท โดยข้อมูล ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 อนุมัติสินเชื่อไปแล้ว จำนวน 3,890 ราย จำนวนเงิน 20,872 ล้านบาท ยังมีวงเงินคงเหลืออีกจำนวน 4,128 ล้านบาท
                    2. การปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการ
                    เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภายใต้ให้มีเงินทุนเพียงพอสำหรับการดำเนินธุรกิจ เกิดความมั่นใจในการประกอบกิจการ และมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง จึงเห็นควรทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 ดังนี้
                              2.1 ปรับปรุงคุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ ดังนี้
                                        1) ขยายความช่วยเหลือให้ครอบคลุมผู้ประอบการที่มีสถานประกอบการอยู่ในพื้นที่ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา ได้แก่ อำเภอเทพา อำเภอจะนะ อำเภอนาทวี และอำเภอสะบ้าย้อย เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
                                        2) เป็นผู้ที่ยังไม่เคยได้รับสินเชื่อตามโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือเคยได้รับสินเชื่อตามโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาแล้วไม่เกิน 5 ปี เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเป็นไปอย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
                              2.2) กำหนดวงเงินกู้สูงสุดต่อราย ไม่เกิน 20 ล้านบาท เพื่อให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น
                              2.3) ขยายระยะเวลาโครงการ เป็นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2568 หรือจนกว่าวงเงินที่กำหนดไว้จะถูกจัดสรรหมด แล้วแต่อย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน และธนาคารออมสินเบิกจ่ายสินเชื่อให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2566 เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินโครงการ
                              2.4) การชดเชยจากรัฐบาล รัฐชดเชยต้นทุนเงินให้กับธนาคารออมสินในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี 6 เดือน รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 1,250 ล้านบาท (วงเงิน 25,000 ล้าน * ร้อยละ 2 ต่อปี * ระยะเวลา 2.5 ปี) โดยให้ธนาคารออมสินเบิกจ่ายตามที่เกิดขึ้นจริงและทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปีตามความเหมาะสมและความจำเป็นต่อไป
                              2.5) เงื่อนไขอื่น ๆ
                                        1) ให้ธนาคารออมสินแยกบัญชีโครงการเป็นบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account : PSA)
                                        2) ให้ธนาคารออมสินสามารถนำส่วนต่างระหว่างค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริงและค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่ได้รับชดเชย เพื่อบวกกลับในการคำนวณโบนัสประจำปีของพนักงานได้และเป็นส่วนหนึ่ง ในการปรับตัวชี้วัดทางการเงินที่เกี่ยวข้องตามบันทึกข้อตกลงประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจได้
                                        3) หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่น ๆ ยังคงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้เคยให้ความเห็นชอบไว้เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 ตามที่กล่าวในข้อ 1
                              นอกจากนี้ เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างแท้จริง เห็นควรขอความร่วมมือจากธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าตรวจสอบการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์โครงการ รวมถึงประเด็นอื่น ๆ เช่น มีสถานประกอบการและประกอบธุรกิจในพื้นที่จริงหรือไม่ มีการขายพ่วงประกันหรือสินเชื่ออื่นของสถาบันการเงินหรือไม่ เป็นต้น
                              การดำเนินโครงการดังกล่าวเข้าข่ายลักษณะของกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการตามบทบัญญัติในมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 (พ.รบ. วินัยการเงินการคลังฯ) และประกาศคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ (คณะกรรมการฯ) เรื่อง การดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการทีไม่ก่อให้เกิดภาระต่องบประมาณหรือภาระทางการคลังในอนาคต พ.ศ. 2561 โดยกระทรวงการคลังได้จัดทำรายละเอียดข้อมูลที่ต้องนำเสนอตามบทบัญญัติในมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ เรียบร้อยแล้ว
                              การดำเนินมาตรการดังกล่าวยังเข้าข่ายตามบทบัญญัติในมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ ซึ่งธนาคารออมสินในฐานะหน่วยงานของรัฐที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินมาตรการดังกล่าวและกระทรวงการคลังในฐานะผู้เสนอเรื่องดังกล่าว ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าสามารถดำเนินการได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กล่าวข้างต้น ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้จัดทำรายละเอียดข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเสนอพร้อมกับการขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติในมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ ธนาคารออมสินต้องจัดทำบัญชีสำหรับการดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการที่ได้รับมอบหมายแยกต่างหากจากบัญชีการดำเนินงานทั่วไป พร้อมทั้งเสนอรายงานผลการดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและผลสัมฤทธิ์ต่อรัฐมนตรี เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และเปิดเผยให้สาธารณชนทราบ รวมทั้งเผยแพร่ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตามนัยบทบัญญัติมาตรา 29 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ
                                        ประกาศคณะกรรมการฯ เรื่อง กำหนดอัตราชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ของหน่วยงานของรัฐในการดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 28 พ.ศ. 2565 ได้กำหนดอัตรายอดคงค้างรวมทั้งหมดของภาระที่รัฐต้องชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ในการดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 28 แห่ง พ.รบ. วินัยการเงินการคลังฯ ต้องมียอดคงค้างทั้งหมดรวมกันไม่เกินร้อยละ 32 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยกระทรวงการคลังเรียนว่า ณ สิ้นวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 ภาระที่รัฐต้องรับชดเชยตามมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ มียอดคงค้างจำนวน 1,010,694.617 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 31.73 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (วงเงิน 3,185,000 ล้านบาท) ดังนั้น หากมีการดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปรับปรุงใหม่) จำนวน 1,250 ล้านบาท จะส่งผลให้ภาระที่รัฐต้องรับชดเชยมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 1,011,944.617 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 31.77 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งยังคงไม่เกินอัตราร้อยละ 32 ที่คณะกรรมการฯ ได้ประกาศกำหนดไว้

16. เรื่อง การจัดตั้งกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการจัดตั้งกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                    ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอว่าการจัดตั้งกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เพื่อรับมือกับสถานการณ์แลกที่เปลี่ยนแปลงไป สอดคล้องกับถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรี ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP26) ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร และเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 ที่มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดเตรียมการดำเนินงานตามภารกิจเพื่อใหบรรลุเป้าหมายของประเทศด้านการลดก๊าซเรือนกระจก และการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรีในการประชุมดังกล่าว
                    สาระสำคัญ
                    การจัดตั้งกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม มีรายละเอียด ดังนี้
                    1. ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจ และเปลี่ยนชื่อ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็น ?กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม? (Department of Climate Change and Environment)
                    2. ตัดโอนหน่วยงานระหว่างกรมในกระทรวง ตัดโอนกองประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไป กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
                    3. โครงสร้างของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
                              3.1 สำนักงานเลขานุการกรม
                              3.2 กองยุทธศาสตร์และความร่วมมือระหว่างประเทศ
                              3.3 กองขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจก
                              3.4 กองขับเคลื่อนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
                              3.5 กองส่งเสริมการมีส่วนร่วมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
                              3.6 ศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
                              โดยมีหน่วยงานกลุ่มตรวจสอบภายในและกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร โครงสร้างกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมมีอัตรากำลัง ประกอบด้วย ข้าราชการ จำนวน 219 คน พนักงานราชการ จำนวน 309 คน และลูกจ้างประจำ จำนวน 19 คน
                    4. หน้าที่และอำนาจของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ดังนี้
                              4.1 เสนอแนะและจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผน และมาตรการเกี่ยวกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ การลดก๊าซเรือนกระจก และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม
                              4.2 ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย แผน และมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ ประเมินความเสี่ยงและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และจัดทำรายงานสถานการณ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ
                              4.3 ดำเนินการตามพันธกรณีของอนุสัญญา พิธีสาร และความตกลงระหว่างประเทศ และระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้ง เสนอแนะแนวทาง และท่าทีในการเจรจาความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องและรายงานข้อมูลตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
                              4.4 ประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศและต่างประเทศ ในการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ
                              4.5 รวบรวม จัดทำ และให้บริการข้อมูลและข้อสนเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ
                              4.6 จัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศ และสนับสนุนการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกในระดับจังหวัด
                              4.7 ส่งเสริม เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ พัฒนาศักยภาพ ส่งเสริมกลไกการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองสร้างเครือข่ายความร่วมมือและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
                              4.8 ศึกษา วิจัย พัฒนา ถ่ายทอด และส่งเสริมเทคโนโลยีการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นศูนย์เทคโนโลยีสะอาดและศูนย์ปฏิบัติการอ้างอิงด้านสิ่งแวดล้อม
                              4.9 ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

17. เรื่อง การขยายระยะเวลามาตรการบรรเทาผลกระทบราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) โครงการยกระดับความช่วยเหลือส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มแก่ผู้มีรายได้น้อย ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้ขยายระยะเวลาโครงการยกระดับความช่วยเหลือส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มแก่ผู้มีรายได้น้อย ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (โครงการฯ) ต่อไปในเดือนมกราคม 2566 ถึงเดือนมีนาคม 2566 ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการเริ่มใช้สิทธิแก่ผู้ได้รับสิทธิจากโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี 2565 ก่อนสิ้นเดือนมีนาคม 2566 ให้โครงการดังกล่าวสิ้นสุดลงในวันที่จะเริ่มให้สิทธิ ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พน. รายงานว่า
                    1. มาตรการบรรเทาผลกระทบด้านราคา LPG โครงการยกระดับความช่วยเหลือส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มแก่ผู้มีรายได้น้อย ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาผลกระทบจากราคา LPG ที่อยู่ในระดับสูงจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องมาจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป และลดภาระค่าครองชีพสำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนเมษายน 2565 เป็นต้นมา โดยมีผลการดำเนินการ สรุปได้ ดังนี้
ระยะเวลาดำเนินการ          จำนวนผู้ใช้สิทธิ (ราย)          ใช้งบประมาณ
(ล้านบาท)          ส่งคืนเงิน
(ล้านบาท)
1 เมษายน ถึง 30 มิถุนายน 2565          3,599,368          197.91          9.11
1 กรกฎาคม ถึง 30 กันยายน 2565          4,421,481          243.16          25.39
25 ตุลาคม ถึง 20 พฤศจิกายน 2565          3,131,083          170.161          -
ทั้งนี้ คงเหลืองบประมาณอีก 132.34 ล้านบาท สำหรับการใช้สิทธิถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565
                    2. อย่างไรก็ดี เนื่องจากมาตรการดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2565 แต่สถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องมาจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป ยังคงมีแนวโน้มยืดเยื้อ ส่งผลให้ราคา LPG ยังอยู่ระดับที่สูง ดังนั้น พน. ขอเสนอการขยายระยะเวลามาตรการบรรเทาผลกระทบราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) โครงการยกระดับความช่วยเหลือส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มแก่ผู้มีรายได้น้อย ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐต่อไปในเดือนมกราคม 2566 ถึงมีนาคม 25662 มีรายละเอียด ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ
กลุ่มเป้าหมาย          ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 6.5 ล้านราย
ระยะเวลาดำเนินการ          เดือนมกราคม 2566 ถึงเดือนมีนาคม 2566 ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการเริ่มใช้สิทธิแก่ผู้ได้รับสิทธิจากโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 ก่อนสิ้นเดือนมีนาคม 2566 ให้โครงการดังกล่าวสิ้นสุดในวันที่จะเริ่มให้สิทธิ
งบประมาณ          โดยในเบื้องต้น พน. จะขอรับสรรงบกลางฯ ปี 2566 จำนวน 357.5 ล้านบาท
แนวทางดำเนินการ          - กรมบัญชีกลางจะเป็นผู้ดำเนินการแทนกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ผ่านวิธีการเบิกจ่ายงบประมาณแทนกัน โดยกรมบัญชีกลางจะดำเนินการเบิกจ่ายส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 100 บาท/คน/3 เดือน ให้กับร้านค้าก๊าซหุงต้มที่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไปใช้สิทธิในช่วงเดือนมกราคม 2566 ถึงเดือนมีนาคม 2566 โดยแบ่งเป็นส่วนลด 45 บาท เบิกจ่ายจากกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม และส่วนลดอีก 55 บาท เบิกจ่ายจากงบกลางฯ ปี 2566
- เมื่อสิ้นสุดโครงการแล้ว ให้กรมบัญชีกลางส่งเงินคืน ธพ. ทั้งนี้ กรณีโอนเงินไม่สำเร็จให้ดำเนินการติดตามเพื่อโอนเงินให้แก่ร้านค้าก๊าซหุงต้ม จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2566

1 เป็นการเบิกจ่ายระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม ? 20 พฤศจิกายน 2565 โดยมีงบประมาณคงเหลือ จำนวน 132.34 ล้านบาท สำหรับการใช้สิทธิถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565
2 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ในคราวประชุมครั้งที่ 17/2565 เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 พิจารณาแล้วและมีมติเห็นชอบ

18. เรื่อง การดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 ให้แก่ประชาชน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบมาตรการ ?ช้อปดีมีคืน ปี 2566? และร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
                    2. เห็นชอบมาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2566 และร่างพระราชกฤษฎีกาลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภท (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และให้สำนักงบประมาณ (สงป.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สำหรับการลดภาษีที่ดินฯ ในปี 2564 และปี 2566 ตามความเหมาะสมเพื่อให้เพียงพอต่อการดำเนินภารกิจปกติของ อปท.
                    3. เห็นชอบมาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัยปี 2566 และร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการโอนและการจำนองอสังหาริมทรัพย์เพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์และการจำนองห้องชุดเพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
                    4. เห็นชอบมาตรการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินไอพ่นที่นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับอากาศยานภายในประเทศ และร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    5. เห็นชอบมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมการอนุญาตขายสุรา ยาสูบ และไพ่ ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 และร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุรา ใบอนุญาตขายยาสูบ และใบอนุญาตขายไพ่ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    6. รับทราบมาตรการ/โครงการของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และมาตรการ/โครงการอื่นของ กค. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                    ข้อเท็จจริง
                    กค. เสนอว่า
                    1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (18 ตุลาคม 2565) ให้ทุกส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ เร่งพิจารณาแผนงาน/โครงการในความรับผิดชอบที่สมควรดำเนินการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 ให้แก่ประชาชน โดยแผนงาน/โครงการดังกล่าวต้องสามารถดำเนินการให้มีผลในทางปฏิบัติต่อส่วนรวมได้ทันในช่วงเทศกาลปีใหม่อย่างแท้จริง ไม่ขัดต่อกฎหมายและประกาศเตือนของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศด้วย เช่น โครงการคนละครึ่ง โครงการเราเที่ยวด้วยกัน ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐนำแผนงาน/โครงการดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรีโดยเร็วเพื่อพิจารณาความเหมาะสมและสอดคล้องในภาพรวมก่อน
                    2. กค. พิจารณาแล้วเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีตามข้อ 1 จึงได้เสนอเรื่อง การดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 ให้แก่ประชาชน ดังนี้
                              2.1 มาตรการภาษีและค่าธรรมเนียม รวม 5 มาตรการ และร่างกฎหมาย รวม 6 ฉบับ ได้แก่ ร่างพระราชกฤษฎีกา รวม 1 ฉบับ และร่างกฎกระทรวง รวม 5 ฉบับ
                              2.2 มาตรการ/โครงการของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และมาตรการ/โครงการอื่นของ กค. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวม 2 มาตรการ
                    3. กค. ได้พิจารณาการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยคาดว่ามาตรการดังกล่าวจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ทั้งสิ้นประมาณ 18,690 ล้านบาท
                    สาระสำคัญของมาตรการและร่างกฎหมาย
                    1. มาตรการภาษีและค่าธรรมเนียม รวม 5 มาตรการ และร่างกฎหมาย รวม 6 ฉบับ ได้แก่ ร่างพระราชกฤษฎีกา รวม 1 ฉบับ และร่างกฎกระทรวง รวม 5 ฉบับ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. มาตรการ ?ช้อปดีมีคืน ปี 2566?
1.1 วัตถุประสงค์          เพื่อรักษาระดับการบริโภคในประเทศ และสนับสนุนผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษี ส่งเสริมการผลิตสินค้าท้องถิ่น/การอ่าน และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบภาษี และการใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์
1.2 กลุ่มเป้าหมาย          ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
1.3 ระยะเวลาดำเนินงาน          ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 66 ถึงวันที่ 15 ก.พ. 66
1.4 วิธีดำเนินการ          กค. ได้ยกร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรโดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้
   1) กำหนดให้ผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการเท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการสำหรับการซื้อสินค้าหรือการรับบริการในราชอาณาจักร ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 40,000 บ. ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 66 ถึงวันที่ 15 ก.พ. 66 ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
   2) สินค้าที่เข้าร่วมมาตรการ เช่น ค่าซื้อสินค้า และค่าบริการทุกประเภทที่ซื้อจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงค่าสินค้า OTOP แต่ไม่รวมถึงสินค้าและบริการ 10 ประการ ดังนี้
          - ค่าซื้อสุรา เบียร์ ไวน์
          - ค่าซื้อยาสูบ
          - ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
          - ค่าซื้อหนังสือพิมพ์และนิตยสาร
          - ค่าบริการหนังสือพิมพ์และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
          - ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว และมัคคุเทศก์
          - ค่าที่พักในโรงแรมที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม
          - ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
          - ค่าบริการสำหรับบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการระยะยาวซึ่งเริ่มต้นก่อนวันที่ 1 ม.ค. 66 หรือสิ้นสุดหลังวันที่ 15 ก.พ. 66 แม้ว่าจะจ่ายค่าบริการระหว่างวันที่ 1 ม.ค. 66 ถึงวันที่ 15 ก.พ. 66
          - ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
1.5 การสูญเสียรายได้          คาดว่าจะสูญเสียรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประมาณ 8,232 ล้านบาท
1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ          จะทำให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมูลค่าประมาณ 56,000 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.16 และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะเป็นการขยายฐานภาษี และสนับสนุนการใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์
2. มาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2566
2.1 วัตถุประสงค์          เพื่อลดภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้เสียภาษี เนื่องจาก
   1) สนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19
   2) สิ้นสุดระยะเวลาการยกเว้นและบรรเทาภาระภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 (การจัดเก็บภาษีสำหรับเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมใน 3 ปีแรกของการจัดเก็บภาษีที่ดินฯ (ปี 2563 - 2565) และการบรรเทาการชำระภาษีใน 3 ปีแรกของการจัดเก็บภาษีที่ดินฯ ให้แก่ผู้เสียภาษีที่มีภาระภาษีที่ดินฯ สูงกว่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ ในปี 2562)
   3) การเพิ่มขึ้นของราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างในปี 2566 ซึ่งใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีที่ดินฯ
2.2 กลุ่มเป้าหมาย          ผู้เสียภาษีที่ดินฯ (ผู้เป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง หรือครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ในวันที่ 1 ม.ค. 66)
2.3 ระยะเวลาดำเนินงาน          การจัดเก็บภาษีที่ดินฯ ของปีภาษี 2566 (เริ่ม 1 ม.ค. 66)
2.4 วิธีดำเนินการ          กค. ได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภท (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ดังนี้
   1) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ได้รับการลดภาษีตามพระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2563 ให้ลดภาษีในอัตราร้อยละ 15 ของจำนวนภาษีที่คำนวณได้ ตัวอย่างกรณีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่เคยได้รับการลดภาษี ได้แก่ โรงพยาบาล ร้านทำผม ร้านอาหาร ร้านล้างรถ และห้างสรรพสินค้า
   2) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับการลดภาษีร้อยละ 50 ตามพระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2563 เมื่อคำนวณลดภาษีในอัตราร้อยละ 50 ของจำนวนภาษีที่จะต้องเสียแล้ว ให้ลดภาษีลงอีกในอัตราร้อยละ 15 ของจำนวนภาษีที่ลดไปแล้วร้อยละ 50 เช่น
          ตัวอย่างกรณีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่ได้รับการลดภาษีร้อยละ 50 ได้แก่
          - ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เฉพาะทรัพย์สินที่บุคคลดังกล่าวได้มาทางมรดกและได้จดทะเบียนแล้วก่อนวันที่ 13 มี.ค. 62
          - ที่ดินที่ตั้งของโรงผลิตไฟฟ้า
          - ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นเขื่อน
   3) กรณีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่ได้รับการลดภาษีร้อยละ 90 ตามพระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2563 แล้ว จะไม่ได้รับการลดภาษีเพิ่มอีก เนื่องจากมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 จะมีอัตราการลดภาษีสูงสุดอยู่ที่ร้อยละ 90 ได้แก่
          - โรงเรียนในระบบ
          - โรงเรียนนอกระบบ (ประเภทสอนศาสนา ตาดีกา ปอเนาะ)
          - สวนสัตว์ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
          - สวนสนุกที่มีเครื่องเล่นที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
2.5 การสูญเสียรายได้          คาดว่าจะทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สูญเสียรายได้ ประมาณ 6,288 ล้านบาท
2.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ          ส่งผลให้เศรษฐกิจในท้องถิ่นมีการลงทุนที่เพิ่มขึ้นรัฐบาลจัดเก็บรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะได้เพิ่มขึ้น ทำให้ อปท. ได้รับการจัดสรรรายได้เพิ่มขึ้น และผู้เสียภาษีได้รับการบรรเทาภาระภาษีบางส่วน และมีระยะเวลาในการปรับตัว แต่อย่างไรก็ดี มาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจะส่งผลให้ อปท. จัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลดลง ทำให้สูญเสียรายได้เพิ่มเติมอีกจำนวนประมาณ 6,288 ล้านบาท จึงเห็นควรมอบหมายให้ สงป. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยรายได้ให้แก่ อปท. ตามความเหมาะสม เพื่อให้เพียงพอต่อการดำเนินภารกิจปกติของ อปท.
3. มาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัย ปี 2566
3.1 วัตถุประสงค์          เพื่อสนับสนุนและลดภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ส่งเสริมการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ
3.2 กลุ่มเป้าหมาย          ผู้ซื้อที่เป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองและผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ และห้องชุดในราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกินมูลค่า 3 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาท
3.3 ระยะเวลาดำเนินงาน          ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาถึงวันที่ 31 ธ.ค. 66
3.4 วิธีดำเนินการ          กค. ได้ประสานกระทรวงมหาดไทย (มท.) ยกร่างกฎกระทรวง รวม 2 ฉบับ ดังนี้
   1) ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการโอนและการจำนองอสังหาริมทรัพย์เพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง พ.ศ. .... โดยลดค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์ ที่มีราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาท ต่อสัญญา (จากเดิมร้อยละ 2) เหลือร้อยละ 1 (เดิมปี 65 จัดเก็บในอัตราร้อยละ 0.01) และลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์ อันเนื่องมาจากการจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวในคราวเดียวกัน (จากเดิมร้อยละ 1) เหลือร้อยละ 0.01 (อัตราคงเดิมเหมือนในปี 65) สำหรับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และบ้านแถว หรืออาคารพาณิชย์หรือที่ดินพร้อมอาคารดังกล่าว โดยไม่รวมถึงกรณีการขายเฉพาะส่วน
   2) ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์และการจำนองห้องชุดเพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง พ.ศ. .... โดยลดค่าจดทะเบียนการโอนห้องชุดที่จดทะเบียนอาคารชุดที่มีราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาท ต่อสัญญา (จากเดิมร้อยละ 2) เหลือร้อยละ 1 (เดิมปี 65 จัดเก็บในอัตราร้อยละ 0.01) และลดค่าจดทะเบียนจำนองห้องชุดอันเนื่องมาจากการจดทะเบียนการโอนในคราวเดียวกัน เหลือร้อยละ 0.01 (อัตราคงเดิมเหมือนในปี 65) โดยไม่รวมถึงกรณีการขายเฉพาะส่วน
3.5 การสูญเสียรายได้          คาดว่าจะทำให้ อปท. สูญเสียรายได้ประมาณ 1,989 ล้านบาท
3.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ           ช่วยสนับสนุนและลดภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ส่งเสริมการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ และคาดว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เพิ่มการบริโภคภายในประเทศ และเพิ่มการลงทุน ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.60 เมื่อเทียบกับกรณีไม่มีมาตรการ
4. มาตรการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินไอพ่นที่นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับอากาศยานภายในประเทศ
4.1 วัตถุประสงค์          เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวและสายการบินจนขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ และส่งเสริมการท่องเที่ยวตามนโยบายของรัฐบาล
4.2 กลุ่มเป้าหมาย          ธุรกิจสายการบิน
4.3 ระยะเวลาดำเนินงาน          ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 66 ถึงวันที่ 30 มิ.ย. 66 (6 เดือน)
4.4 วิธีดำเนินการ          กค. ได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยมีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินไอพ่นที่นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับอากาศยานในประเทศ โดยกำหนดอัตราภาษีตามปริมาณ 0.20 บาทต่อลิตรออกไปอีก 6 เดือน (เป็นมาตรการต่อเนื่องโดยกฎกระทรวงเดิม (ฉบับที่ 24) จะสิ้นผลใช้บังคับวันที่ 31 ธ.ค. 65 หากไม่ปรับลดจะมีอัตราภาษีตามปริมาณ 4,726 บาทต่อลิตร)
4.5 การสูญเสียรายได้          คาดว่าจะสูญเสียรายได้ประมาณ 1,800 ล้านบาท เนื่องจากมาตรการนี้จะมีผลใช้บังคับเป็นระยะเวลา 6 เดือน
4.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ          อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมสายการบินในประเทศมีการฟื้นตัวเนื่องจากมีสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจส่งผลให้ยังคงมีการจ้างงานและไม่ต้องปิดตัวหรือระงับเส้นทางการบิน
5. มาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมการอนุญาตขายสุรา ยาสูบ และไพ่ ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560
5.1 วัตถุประสงค์          เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบที่ผู้ประกอบการได้รับจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง โดยลดภาระในการประกอบกิจการให้ผู้ประกอบการ โดยให้สิทธิยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุรา ยาสูบ และไพ่ สำหรับผู้ประกอบการที่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อเนื่อง ณ สถานประกอบการเดิม ประเภทใบอนุญาตเดิมที่ยื่นคำขอระหว่างวันที่ 1 ม.ค. 66 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 66
5.2 กลุ่มเป้าหมาย          ผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุรา ยาสูบ และไพ่ ประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 เฉพาะ    ผู้ได้รับอนุญาตขายรายเดิมซึ่งได้รับผลกระทบที่ประสงค์จะขอใบอนุญาตขายต่อเนื่องในปีถัดไปเท่านั้น
หมายเหตุ: ประเภทใบอนุญาตขายสุรา ยาสูบ และไพ่
          - ใบอนุญาตขายสุรา
            ประเภทที่ 1 การขายสุราทุกชนิด ครั้งหนึ่งจำนวนตั้งแต่ 10 ลิตรขึ้นไป
            ประเภทที่ 2 การขายสุราทุกชนิด ครั้งหนึ่งจำนวนต่ำกว่า 10 ลิตร
          - ใบอนุญาตขายยาสูบ
            ประเภทที่ 1 การขายส่งยาสูบ ครั้งหนึ่งจำนวน 1,000 มวนขึ้นไป
            ประเภทที่ 2 การขายปลีกยาสูบ ครั้งหนึ่งต่ำกว่า 1,000 มวน
          - ใบอนุญาตขายไพ่
            ประเภทที่ 1 การขายไพ่ ครั้งหนึ่งจำนวนตั้งแต่ 40 สำรับขึ้นไป
            ประเภทที่ 2 การขายไพ่ ครั้งหนึ่งจำนวนต่ำกว่า 40 สำรับ
5.3 ระยะเวลาดำเนินงาน          ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 66 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 66 (1 ปี)
5.4 วิธีดำเนินการ          กค. ได้ยกร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุรา ใบอนุญาตขายยาสูบ และใบอนุญาตขายไพ่ ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยมีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุรา ยาสูบ และไพ่ แล้วแต่กรณี ให้เฉพาะผู้ได้รับอนุญาตขายรายเดิมซึ่งได้รับผลกระทบที่ประสงค์จะขอใบอนุญาตขายต่อเนื่องในปีถัดไป เป็นระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 66 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 66 เพื่อเป็นการช่วยเหลือและลดภาระให้แก่ผู้ประกอบการ (เป็นมาตรการต่อเนื่องจากกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุราใบอนุญาตขายยาสูบ และใบอนุญาตขายไพ่ ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต พ.ศ 2564)
5.5 การสูญเสียรายได้          คาดว่าจะมีการใช้สิทธิยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประมาณ 1.45 ล้านฉบับ        (ผู้ได้รับสิทธิดังกล่าวประมาณ 8 แสนราย) โดยรัฐจะสูญเสียรายได้จากค่าธรรมเนียมประมาณ 381.72 ล้านบาท
5.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ          เพื่อเยียวยาและบรรเทาผลกระทบที่ผู้ได้รับอนุญาตในการขายสุรา ยาสูบ และไพ่ได้รับจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19
                    2. มาตรการ/โครงการของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และมาตรการ/โครงการอื่นของ กค. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวม 2 มาตรการ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. มาตรการ/โครงการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
1.1 วัตถุประสงค์          เพื่อเสริมสภาพคล่อง ลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย และเสริมสร้างวินัยทางการเงินให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการ
1.2 กลุ่มเป้าหมาย          ประชาชนและผู้ประกอบการ
1.3 วิธีดำเนินการ          มาตรการคืนเงินหรือลดอัตราดอกเบี้ย สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษ รางวัลพิเศษของสลากออมสิน การลดค่างวดการผ่อนชำระและการยกเว้นค่าดำเนินการค้ำประกันสินเชื่อ รวมทั้งสิ้นจำนวน 15 โครงการ [โครงการฯ ของ ธนาคารออมสิน/ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)/ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)] เช่น โครงการวินัยดี มีเงิน โครงการสลากออมสิน ดิจิทัล 2 ปี ฉลองปีใหม่ 2566 โครงการชำระดีมีคืน ปีบัญชี 2565 และโครงการลดดอกเบี้ยแก้หนี้ภาคครัวเรือน ปีบัญชี 2565 เป็นต้น
2. มาตรการ/โครงการอื่น โดยหน่วยงานในสังกัดฯ มีการจัดทำมาตรการ/โครงการของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 รวมทั้งสิ้น จำนวน 2 มาตรการ/5 โครงการ ได้แก่
1) มาตรการช่วยเหลือผู้กู้ยืมเงินเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 [กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)]
2) มาตรการของขวัญปีใหม่ปี 66 ให้กับลูกค้ารายย่อยที่ไม่มีหลักประกัน/ผู้ค้ำประกัน [บริษัท บริหารสินทรัพย์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จำกัด (บสอ.)]
3) โครงการเที่ยวปีใหม่สุขใจไปกับพิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 ให้แก่ประชาชน (กรมธนารักษ์)
4) โครงการสนับสนุนตลาดทุนและเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืนลดภาระแก่ผู้ประกอบธุรกิจเพื่อความสุขที่มั่นคงของทุกภาคส่วน [สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.)]
5) โครงการส่งเสริมให้ประชาชนและผู้ลงทุนมีศักยภาพในการสร้างสุขภาพทางการเงินที่ดี และมีภูมิคุ้มกันไม่ถูกหลอกลวง (สำนักงาน ก.ล.ต.)
6) โครงการกรมธรรม์ประกันภัยรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) สำหรับเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2566 [สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.)] และ
7) โครงการ ?ชม ชิม ช้อป ยาสูบเชียงราย? [การยาสูบแห่งประเทศไทย (กสท.)]

19. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 20/2565 และผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 31/2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ในคราวประชุมครั้งที่ 20/2565 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2565 และผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 31/2565 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2565 ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ดังนี้
                    1. ผลการพิจารณาของ คกง. ในคราวประชุมครั้งที่ 20/2565
                              1.1 อนุมัติให้จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดราชบุรีเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งบ้านแพะแม่คือ หมู่ที่ 1 ตำบลแม่คือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ และโครงการติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง จังหวัดราชบุรี ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                              1.2 อนุมัติให้กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการปรับปรุงพัฒนาแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร (โครงการปรับปรุง พัฒนาแหล่งน้ำฯ) โดยขยายระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินโครงการฯ จากเดือนพฤศจิกายน 2565 เป็นเดือนธันวาคม 2565 สำหรับการดำเนินงานในส่วนที่เหลือเห็นควรให้กรมทรัพยากรน้ำ พิจารณาดำเนินการโดยใช้จ่ายจากแหล่งเงินอื่นในการดำเนินงานต่อไป
                              1.3 มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 1.1 และ 1.2 เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR) (ระบบ eMENSCR) ให้สอดคล้องกับผลการพิจารณาอนุมัติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการของคณะรัฐมนตรีและเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายใต้กรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว ทั้งนี้ เมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จให้เร่งดำเนินการตามขั้นตอนข้อ 19 และข้อ 20 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563
                    2. ผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 31/2565
                              2.1 อนุมัติให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ จำนวน 4 โครงการ ประกอบด้วย (1) โครงการพัฒนาห้องปฏิบัติการ ABSL 3 คณะสัตว์แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสากล (2) โครงการเพิ่มขีดความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีนก่อนทดลองในมนุษย์ (3) โครงการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและทดสอบวัคซีนและเภสัชภัณฑ์ในลิงมาร์โมเส็ท และ (4) โครงการการศึกษาความปลอดภัย (Safety) ความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (Immunogenicity) และประสิทธิภาพ (Vaccine Efficacy) ของแคนดิเดตซับยูนิตวัคซีน สำหรับป้องกันโรคโควิด-19 ที่ใช้พืชเป็นแหล่งผลิตในมนุษย์ระยะที่ 2 โดยขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการในแต่ละโครงการออกไปจากเดือนมีนาคม 2566 เป็นกรณีพิเศษ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้เห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว เนื่องจากเป็นโครงการที่จะช่วยยกระดับการวิจัยและพัฒนาวัคซีนของประเทศไทย รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จะเป็นส่วนสนับสนุนให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านวัคซีนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ มอบหมายให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ไปพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดต่อไป
                              2.2 อนุมัติให้จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม และจังหวัดกระบี่ กระทรวงมหาดไทย (มท.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ ประกอบด้วย 1) การยกเลิกการดำเนินโครงการของจังหวัดอุทัยธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครปฐม และจังหวัดกระบี่ จำนวน 6 โครงการ กรอบวงเงิน 18.7708 ล้านบาท และ 2) การขอขยายระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินโครงการของจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดกระบี่ จำนวน 15 โครงการ กรอบวงเงิน 61.2846 ล้านบาท ทั้งนี้ มอบหมายให้ มท. รับความเห็นของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ไปพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดต่อไป
                              2.3 มอบหมายให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการตามข้อ 2.1 และ 2.2 เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว และเร่งรัดการดำเนินโครงการฯ ให้เป็นไปตามระยะเวลาที่ขอขยายตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด

20. เรื่อง การยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษตามประกาศกระทรวงคมนาคมกำหนดอัตราค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถี และทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) ในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษตามประกาศกระทรวงคมนาคมกำหนดอัตราค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถี และทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) ในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2566 ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    เนื่องจากรัฐบาลโดยกระทรวงคมนาคมได้มีนโยบายในการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดของทางพิเศษบูรพาวิถี และทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและรวดเร็วในการเดินทางของประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2566 ให้สอดคล้องกับการยกเว้นค่าธรรมเนียมผ่านทางหลวงพิเศษของกรมทางหลวง โดยให้ยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถี (ทางพิเศษสายบางนา - ชลบุรี) ทางยกระดับด้านทิศใต้สนามบินสุวรรณภูมิเชื่อมทางพิเศษบูรพาวิถีและทางเชื่อมต่อทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) กับทางพิเศษบูรพาวิถี และทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) และทางพิเศษสายเชื่อมระหว่างถนนวงแหวนอุตสาหกรรมกับทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) โดยคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 13/2565 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบการกำหนดอัตราค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถี (ทางพิเศษสายบางนา - ชลบุรี) ทางยกระดับด้านทิศใต้สนามบินสุวรรณภูมิเชื่อมทางพิเศษบูรพาวิถี และทางเชื่อมต่อทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) กับทางพิเศษบูรพาวิถี และทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) และทางพิเศษสายเชื่อมระหว่างถนนวงแหวนอุตสาหกรรมกับทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) ในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2566 โดยไม่มีการจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2565 เวลา 00.01 นาฬิกา ถึงวันที่ 4 มกราคม 2566 เวลา 24.00 นาฬิกา ตามที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เสนอและอนุมัติให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยนำเรื่องการยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษทั้งสองสายทางดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป

21. เรื่อง ของขวัญปีใหม่ ปี 2566 (จำนวน 19 หน่วยงาน)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบโครงการ/กิจกรรมที่จะดำเนินการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ ปี 2566 ให้แก่ประชาชนตามที่ 19 หน่วยงานเสนอ เช่น
                    กระทรวงการต่างประเทศ (กต.)
                    กต. มอบของขวัญปีใหม่ ปี 2566 ให้แก่ประชาชน ดังนี้
                    1. การให้บริการหนังสือเดินทางด่วนภายในวันเดียว (ทำเช้า รับบ่าย) โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมเล่มด่วน ตั้งแต่วันที่ 3 - 13 มกราคม 2565 (ยกเว้นวันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดราชการ)
                    2. การให้บริการหนังสือเดินทางวันหยุดสุดสัปดาห์ (วันเสาร์ - อาทิตย์) ตลอดปี 2566          ณ สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราวปทุมวัน (ศูนย์การค้า MBK Center) และบางใหญ่ (ศูนย์การค้า Central Plaza West Gate) ทั้งในรูปแบบบูธปกติและเครื่องทำหนังสือเดินทางด้วยตัวเอง (kiosk) จำนวน 20 เครื่อง
                    3. การให้บริการกงสุลสัญจร ?ของขวัญตลอดปี? เพื่อให้บริการหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ในพื้นที่ต่างจังหวัดทั่วประเทศ เดือนละ 1 ครั้ง รวม 12 ครั้ง ตลอดปี 2566 เพื่อบริการประชาชนในพื้นที่จังหวัดที่ไม่มีสาขาสำนักงานหนังสือเดินทางตั้งอยู่
                    4. การให้บริการแปลเอกสารภาษาอังกฤษ โดยไม่คิดค่าบริการ (จำกัดคนละ 1 เอกสาร โดยต้องเป็นเอกสารของตัวเองและเอกสารนั้นแปลเพื่อทำนิติกรณ์เอกสารเท่านั้น) ตั้งแต่วันที่ 3 - 31 มกราคม 2566       (วันจันทร์ - ศุกร์) ณ กรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราวภูเก็ตและเชียงใหม่ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายแก่ประชาชนในการจัดจ้างเอกชนแปลเอกสาร
                    5. การบริการรถทะเบียนเคลื่อนที่ของกรุงเทพมหานคร ณ กรมการกงสุล โดยเปิดให้บริการรถทะเบียนเคลื่อนที่กรุงเทพมหานคร (Bangkok Mobile Service) 3 - 31 มกราคม 2566 (วันจันทร์ - ศุกร์) ณ ลานจอดรถกรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ เพื่อให้บริการทำบัตรประชาชนใหม่ และคัดสำเนาเอกสารทะเบียนราษฎรภาษาไทยและอังกฤษ 3 ประเภท ได้แก่ ทะเบียนบ้าน (ทร.14/1) สูติบัตร และมรณบัตร
                    กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.)
                    กก. มอบของขวัญปีใหม่ ปี 2566 จำนวน 19 โครงการ/กิจกรรม แบ่งเป็น ด้านการท่องเที่ยว 14 โครงการ และด้านกีฬา 5 กิจกรรม ดังนี้
                    1. ด้านการท่องเที่ยว เช่น
                              1.1 มาตรการเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศเพื่อกระจายรายได้และยกระดับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เช่น มาตรการ ?เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5? และมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทย (Tourism Stimulus Package) โดยมุ่งใช้ Soft Power
                              1.2 การจัดหลักสูตร ?การให้บริการแก่นักท่องเที่ยวกลุ่มคนพิการและผู้สูงอายุ? ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมการท่องเที่ยว โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
                              1.3 โครงการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย ด้วยการประชาสัมพันธ์และรณรงค์สร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัย และโครงการพัฒนาระบบสายตรวจจักรยานอัจฉริยะและการฝึกอบรมยุทธวิธีการสายตรวจจักรยานระบบ E-Learning
                              1.4 กิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนและสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน เช่น (1) ออกบูธในงาน FD Expo 2022 โดยมีกิจกรรมเวิร์คช็อปจากชุมชนและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากชุมชน (2) จัดงานเดินกินถิ่นนาเกลือ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี (3) กิจกรรมกินลมชมว่าวนานาชาติ เทศกาลอาหารทะเลและอาหารพื้นบ้านตราด และ (4) โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยการออกบูธนิทรรศการของชุมชนและ Business Matching ณ ลานวัฒนธรรมเชียงคาน จังหวัดเลย
                    2. ด้านกีฬา เช่น
                               2.1 โครงการปรับลดอัตราค่าบริการศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย ณ อาคารกีฬานิมิบุตร สนามกีฬาแห่งชาติ และศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 60 พรรษา จังหวัดปทุมธานี
                              2.2 การจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้ออกกำลังกาย โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์การกีฬาพร้อมให้บริการ ?Safe Stadium? ณ สนามกีฬาหัวหมาก ศูนย์กีฬาแห่งชาติ และสนามกีฬาจังหวัดที่การกีฬาแห่งประเทศไทยดูแลทั่วประเทศ
                              2.3 โครงการ 1 จังหวัด 1 Sport Event เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงานในท้องถิ่นด้วยการใช้กลไกการท่องเที่ยวเชิงกีฬากระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวทั้งภายในและระหว่างจังหวัด
                    กระทรวงพลังงาน (พน.)
                    พน. มอบของขวัญปีใหม่ ปี 2566 สรุปได้ ดังนี้
                    1. เตรียมการขอขยายระยะเวลาคงราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นก๊าซหุงต้ม (Liquefied Petroleum Gas: LPG) โดยกำหนดราคาขายปลีกอยู่ที่ 408 บาท/ถัง 15 กิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 1 - 31 มกราคม 2566
                    2. ให้ส่วนลดค่าซื้อ LPG แก่ผู้ที่มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 100 บาท/คน/3 เดือน และให้แก่กลุ่มร้านค้าหาบเร่ จำนวน 100 บาท/คน/เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2566
                    3. ตรึงราคาน้ำมันทุกชนิดในช่วงวันที่ 24 ธันวาคม 2565 - 3 มกราคม 2566 เพื่อลดค่าใช้จ่ายระหว่างการเดินทางช่วงปีใหม่
                    4. ตรวจสภาพรถยนต์โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายที่สถานีบริการ FIT Auto จำนวน 35 รายการ ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2565 - 15 มกราคม 2566
                    5. แจกคูปองส่วนลดครึ่งราคาที่พักที่เขื่อนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 30,000 สิทธิ์
                    กระทรวงแรงงาน (รง.)
                    รง. มอบของขวัญปีใหม่ ปี 2566 ให้แก่ผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศ จำนวน 6 กิจกรรม ภายใต้โครงการ ?ให้ ฟรี ลด แรงงานสุขใจ? ดังนี้
                    1. ให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ตาม ม. 33 ดอกเบี้ยต่ำ ไม่เกินรายละ 2 ล้านบาท วงเงิน 30,000 ล้านบาท มีเป้าหมาย 15,000 ราย ตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 เป็นต้นไป
                    2. ให้เข้าถึงสิทธิรักษา 5 โรค ตามโรงพยาบาลที่กำหนด 7,500 คน ได้แก่ โรคมะเร็งเต้านม ก้อนเนื้อที่มดลูก โรคนิ่ว โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจและหลอดเลือด ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป
                    3. ให้งานทำ ?ต้องการทำงาน ต้องได้งานทำ? โดยมีตำแหน่งงานว่างที่หลากหลายไว้ให้บริการ รวม 613,784 อัตรา แบ่งเป็นในประเทศ 563,784 อัตรา และต่างประเทศ 50,000 อัตรา
                    4. ฟรี ค้นหาความเสี่ยงโรคหลอดเลือดและโรคหัวใจในสถานประกอบการใน 7 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ จ. สมุทรปราการ ชลบุรี นนทบุรี ปทุมธานี ระยอง พระนครศรีอยุธยา และสมุทรสาคร มีเป้าหมายผู้ประกันตน 300,000 คน ให้ได้รับการตรวจสุขภาพ โดยสามารถลดค่าใช้จ่ายของผู้ประกันตนต่อหัวเฉลี่ยรายละ 910 บาท (กลุ่มเสี่ยง) 340 บาท (กลุ่มไม่เสี่ยง) วงเงินรวมทั้งสิ้น 187.50 ล้านบาท ตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 เป็นต้นไป
                    5. ฟรี อบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ 10,000 คน โดยมีหลักสูตรการอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน เช่น กฎหมายความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และทักษะการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน ตั้งแต่เดือนมกราคม - มีนาคม 2566
                    6. ลดอัตราค่าทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ คงเหลือ 1 - 3 บาท นาน 3 เดือน มีผู้เข้าทดสอบ 5,000 คน ทั่วประเทศ คิดเป็นมูลค่าของขวัญกว่า 1 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2566
                    กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)
                    วธ. มอบของขวัญปีใหม่ ปี 2566 ในช่วงเดือนธันวาคม 2565 - มกราคม 2566 จำนวน 11 กิจกรรม โดยแบ่งเป็นกิจกรรมทางศาสนา กิจกรรมท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม ดังนี้
                    1. กิจกรรมทางศาสนาเสริมสร้างความเป็นสิริมงคล 2 โครงการ ได้แก่ (1) กิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี เสริมสิริมงคลทั่วไทย ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับศักราชใหม่ 2566 ระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2565 - 1 มกราคม 2566 เพื่ออุทิศถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช ถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ รวมทั้งประเทศชาติ และสร้างแรงจูงใจให้ประชาชน ลด ละ เลิก อบายมุขในเทศกาลปีใหม่ ซึ่งประชาชนสามารถสวดมนต์ข้ามปีได้ทุกที่ผ่านระบบโซเชียลมีเดีย โดยในต่างประเทศได้ขอความร่วมมือให้วัดไทยและวัดต่าง ๆ ทั่วโลกมีส่วนร่วมจัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปีฯ ด้วย และ (2) กิจกรรมตักบาตรต้อนรับปีใหม่ 2566 ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร เพื่อเริ่มต้นวันใหม่ด้วยการพัฒนาจิตใจด้วยกิจกรรมทางศาสนา เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต และเป็นแบบอย่างที่ดีงามแก่สังคมไทย
                    2. กิจกรรมท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ทางศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ 7 กิจกรรม เช่น (1) จัดงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ ?วิถีถิ่น วิถีไทย? ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 24 - 27 ธันวาคม 2565 ณ วัดพระธาตุนาดูน ตำบลพระธาตุ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เพื่อสนับสนุนการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมของชาติและท้องถิ่น (2) เปิดให้บริการเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทุกแห่งเป็นกรณีพิเศษ โดยงดเก็บค่าเข้าชม และเปิดโอกาสให้ประชาชนสักการะพระพุทธปฏิมา ณ พระที่นั่งพุทไธยสวรรย์ ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2565 - 8 มกราคม 2566 และ (3) เปิดบ้านศิลปินแห่งชาติและผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมให้เป็นแหล่งเรียนรู้มรดกภูมิปัญญาด้านศิลปวัฒนธรรมทั่วประเทศ
                    3. กิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม ส่งความสุขแบบไทย 2 กิจกรรม ได้แก่ (1) จัดกิจกรรมการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมในพื้นที่ของหน่วยงานในสังกัด วธ. เช่น กิจกรรม ?ดนตรีในสวน? ต้อนรับลมหนาว ณ บริเวณลานละลาน ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) และการแสดงและกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรมของนักเรียน นักศึกษาของสถาบันการศึกษาในสังกัด วธ เช่น การแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ รวมถึงนาฏศิลป์ไทย และดนตรีไทย ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย การแสดงโนรา ดนตรีไทย และเพลงพื้นบ้านภาคใต้ และ (2) มอบของขวัญปีใหม่ทางวัฒนธรรมให้แก่ประชาชน เช่น บัตรอวยพรปีใหม่ 2566 ในรูปแบบของ E-Card เพื่อให้ประชาชนเข้ามา Download ผ่านทางเว็บไซต์ www.m-culture.go.th และ www.ocac.go.th ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 เป็นต้นไป

22. เรื่อง การดำเนินโครงการบรรพชาอุปสมบทถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ                    เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
                    คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอให้ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว ของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ลาเข้าร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบท 99 รูป ถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ  เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ณ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก โดยไม่ถือเป็นวันลา เสมือนเป็นการปฏิบัติราชการและได้รับเงินเดือนตามปกติ ระหว่างวันที่ 23 ธันวาคม 2565 ถึงวันที่ 9 มกราคม 2566 ต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    1. กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา กำหนดดำเนินโครงการบรรพชาอุปสมบทถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา จำนวน 99 รูป โดยกำหนดจัดระหว่างวันที่ 23 ธันวาคม 2565 ถึงวันที่ 9 มกราคม 2566 ณ วัดพระราม9 กาญจนาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร เพื่อถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ให้ทรงหายจากพระอาการประชวรและมีพระพลานามัยแข็งแรงโดยเร็ววัน และได้ร่วมแสดงความจงรักภักดี โดยการเจริญจิตภาวนาอีกทั้งให้ผู้เข้าร่วมอุปสมบทได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมวินัยและปฏิบัติธรรมตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาซึ่งข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ    ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ที่มีความประสงค์จะร่วมแสดงความจงรักภักดี ร่วมทำความดีถวายแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา มีโอกาสเข้าร่วมบรรพชาอุปสมบททั่วกัน โดยให้ได้รับสิทธิในการเข้าร่วมบรรพชาอุปสมบทเป็นกรณีพิเศษโดยไม่ถือเป็นวันลาเสมือนเป็นการปฏิบัติราชการและได้รับเงินเดือนตามปกติ ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ใดเคยลาบรรพชาอุปสมบทระหว่างรับราชการมาแล้ว ก็สามารถบรรพชาอุปสมบทในครั้งนี้ได้อีกและการบรรพชาอุปสมบทในครั้งนี้ไม่เป็นเหตุให้เสียสิทธิในการลาบรรพชาอุปสมบทตามปกติในอนาคต ซึ่งเป็นการใช้สิทธิการลาบรรพชาอุปสมบทครั้งแรกตามระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555 การจะได้รับสิทธิดังกล่าวและการยกเว้นระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555 กระทำได้โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เท่านั้น
2. งบประมาณในการดำเนินโครงการ : งบประมาณจากกระทรวงวัฒนธรรมโดยกรมการศาสนา
                    3. การบรรพชาอุปสมบทฯ ครั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรมเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบให้ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ลาเข้าร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบท 99 รูป ถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ   เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ณ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก โดยไม่ถือเป็นวันลา เสมือนเป็นการปฏิบัติราชการและได้รับเงินเดือนตามปกติ

23. เรื่อง ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (กระทรวงพลังงาน)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 302,500,000 บาท ให้กรมธุรกิจพลังงาน โดยให้กรมบัญชีกลางเป็นผู้อนุมัติและดำเนินการแทนกรมธุรกิจพลังงาน ผ่านวิธีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณแทนกัน และให้กระทรวงพลังงานดำเนินมาตรการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ
                    ทั้งนี้ กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอว่าเนื่องจากราคา LPG ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่โครงการดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2565 จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการขยายระยะเวลาโครงการต่อไปเพื่อให้การบรรเทาผลกระทบแก่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบการขยายระยะเวลาโครงการต่อไปในเดือนมกราคม 2566 ถึงเดือนมีนาคม 2566 ทั้งนี้       ในกรณีที่มีการเริ่มใช้สิทธิแก่ผู้ได้รับสิทธิจากโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการรัฐ ปี 2565 ก่อนสิ้นเดือนมีนาคม 2566    ให้โครงการดังกล่าวสิ้นสุดลงในวันที่จะเริ่มให้สิทธิ
                    สาระสำคัญ
                    มาตรการบรรเทาผลกระทบด้านราคา LPG โครงการยกระดับความช่วยเหลือส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มแก่ผู้มีรายได้น้อย ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาผลกระทบจากราคา LPG ที่ยังสูงอย่างต่อเนื่องและลดภาระค่าครองชีพสำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย โดยจะเพิ่มการช่วยเหลือผู้ใช้ก๊าซหุงต้ม ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
                    1. การกำหนดสิทธิและวงเงินงบประมาณ
                              การใช้สิทธิส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มเดือนมกราคม 2566 ถึงเดือนมีนาคม 2566 จำนวน 5,500,000 ราย คิดเป็นเงินงบประมาณ 302,500,000 บาท ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการเริ่มใช้สิทธิแก่ผู้ได้รับสิทธิจากโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 ก่อนสิ้นเดือนมีนาคม 2566 ให้โครงการดังกล่าวสิ้นสุดลงในวันที่จะเริ่มให้สิทธิ
                    2. การดำเนินการภายหลังได้รับงบประมาณ
                              กรมบัญชีกลางจะเป็นผู้ดำเนินการแทนกรมธุรกิจพลังงาน ผ่านวิธีการเบิกจ่ายงบประมาณแทนกัน โดยกรมบัญชีกลางจะดำเนินการเบิกจ่ายส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม จำนวน 100 บาท/คน/3 เดือน ให้กับร้านค้าก๊าซหุงต้มที่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไปใช้สิทธิในช่วงเดือนมกราคม 2566 ถึงเดือนมีนาคม 2566 โดยแบ่งเป็นส่วนลด 45 บาท เบิกจ่ายจากกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม และส่วนลดเพิ่ม 55 บาท เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เมื่อสิ้นสุดโครงการแล้ว ให้กรมบัญชีกลางส่งเงินคืนกรมธุรกิจพลังงาน ทั้งนี้ กรณีโอนเงินไม่สำเร็จ ให้ดำเนินการติดตามเพื่อโอนเงินให้แก่ร้านค้าก๊าซหุงต้ม จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2566
                    3. การใช้ส่วนลดของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
                              ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566 ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการเริ่มใช้สิทธิแก่ผู้ได้รับสิทธิจากโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 ก่อนสิ้นเดือนมีนาคม 2566 ให้โครงการดังกล่าวสิ้นสุดลงในวันที่จะเริ่มใช้สิทธิ
                    4. งบประมาณ
                              ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 302,500,000 บาท ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้ว

ต่างประเทศ
24. เรื่อง  แผนการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ไทยตอบรับและคำมั่นโดยสมัครใจภายใต้กลไก Universal Periodic Review (UPR) รอบที่ 3 (พ.ศ. 2564 ? 2568)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการเข้าร่วมการรับรองผลการนำเสนอรายงานประเทศตามกลไก Universal Periodic Review (UPR) (รายงานประเทศฯ) รอบที่ 3 ในการประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council ? UNHRC) สมัยที่ 49 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2565 รวมทั้งการดำเนินการภายหลังการรับรองผลการนำเสนอรายงานประเทศฯ ซึ่งรวมถึงการยกร่างแผนการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ไทยตอบรับและคำมั่นโดยสมัครใจภายใต้กลไก UPR รอบที่ 3 (พ.ศ. 2564 - 2568) (ร่างแผนการปฏิบัติตามฯ) รวมทั้งเห็นชอบต่อร่างแผนการปฏิบัติตามฯ พร้อมมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนการปฏิบัติตามดังกล่าวไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไปตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1.  เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2565 คณะผู้แทนไทยได้ร่วมรับรองรายงานผลการนำเสนอรายงานประเทศฯ รอบที่ 3 ระหว่างการประชุม UNHRC สมัยที่ 49 ณ นครเจนีวา โดยผู้แทนคณะผู้แทนถาวรไทย ณ นครเจนีวา ได้แจ้งตอบรับข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 25 ข้อ ทำให้โดยสรุปไทยตอบรับข้อเสนอแนะ รวม 218 ข้อ และรับทราบ (ไม่ตอบรับ) ข้อเสนอแนะ 60 ข้อ1 อีกทั้งได้ให้คำมั่นโดยสมัครใจรวม 8 ข้อ (ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565)
                    2. กต. ได้ยกร่างแผนการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ไทยตอบรับและคำมั่นโดยสมัครใจภายใต้กลไก UPR รอบที่ 3 (พ.ศ. 2564 - 2568) และได้ขอรับความคิดเห็นจากหน่วยงานต่าง ๆ ก่อนนำร่างแผนการปฏิบัติตามฯ เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับดูแลการจัดทำรายงานประเทศและติดตามการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะภายใต้กลไก UPR ของ UNHRC (คณะกรรมการกำกับดูแลฯ) (มีอธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศปฏิบัติหน้าที่ประธานแทนปลัดกระทรวงการต่างประเทศ) เพื่อให้หน่วยงานและผู้ทรงคุณวุฒิร่วมกันพิจารณา ซึ่งในคราวประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลฯ ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2565 ที่ประชุมฯ ได้มีมติรับทราบและให้ความคิดเห็น ตลอดจนร่วมรับรองร่างแผนการปฏิบัติตามฯ ในหลักการด้วยแล้ว
                    3. ภายหลังการประชุมตามข้อ 2 กต. ได้ปรับแก้ร่างแผนการปฏิบัติตามฯ ตามข้อคิดเห็นใน          ที่ประชุมฯ และจากข้อมูลที่ได้รับเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยในร่างแผนการปฏิบัติตามฯ จะประกอบด้วยตารางมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนดเพื่อให้สอดคล้องกับข้อเสนอจากประเทศต่าง ๆ และคำมั่นโดยสมัครใจของไทยภายใต้กลไก UPR ซึ่งร่างแผนการปฏิบัติตามฯ จะประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ได้แก่
                              ส่วนที่ 1 ร่างแผนการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ไทยตอบรับภายใต้กลไก UPR ซึ่งแบ่งเป็น 12 หมวด รวม 218 ข้อ  และส่วนที่ 2 ร่างแผนการปฏิบัติตามคำมั่นโดยสมัครใจภายใต้กลไก UPR ซึ่งมีจำนวน 8 ข้อ มีกรอบเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี 2564 - 2568 ดังนี้
                                        (1) ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งรวมถึงอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี และอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ ซึ่งมี ยธ. เป็นหน่วยงานหลักรับไปดำเนินการ
                                        (2) ศึกษาความเป็นไปได้ของการเข้าเป็นภาคีตราสารระหว่างประเทศเพิ่มเติม รวมทั้งอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 189 (ว่าด้วยแรงงานทำงานบ้าน) ซึ่งมี รง.           เป็นหน่วยงานหลักรับไปดำเนินการ
                                        (3) จัดทำรายงานระยะกลางรอบ (midterm update) เพื่อรายงานความคืบหน้าของการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ได้รับ รวมทั้งจะหารือกับภาคส่วนต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง รวมถึงในประเด็นตามข้อเสนอแนะที่ไทยไม่ได้ตอบรับ ซึ่งมี กต. และ ยธ. เป็นหน่วยงานหลักรับไปดำเนินการ
                                        (4) เสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสาธารณสุขและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิในสุขภาพอย่างทั่วถึง และผลักดันความร่วมมือระหว่างประเทศและพหุภาคีเพื่อการเตรียมความพร้อมและการรับมือกับโรคระบาดอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมี สธ. สปสช. และ กต. เป็นหน่วยงานหลักรับไปดำเนินการ
                                        (5) ดำเนินความร่วมมือในการขจัดความไร้รัฐและส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของกลุ่มคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ โดยเฉพาะในด้านการศึกษา การคุ้มครองทางสังคม การเข้าถึงบริการในการจดทะเบียนเกิดและทะเบียนราษฎรของคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ และการพิจารณาให้สัญชาติและสิทธิความเป็นพลเมือง      ซึ่งมี พม. มท. ศธ. และ สมช. เป็นหน่วยงานหลักรับไปดำเนินการ
                                        (6) เร่งส่งเสริมสิทธิมนุษยชนศึกษาและการสร้างความตระหนักรู้ด้านสิทธิมนุษยชนให้กับทุกภาคส่วน รวมทั้งจะเพิ่มความเข้มข้นในการศึกษาและจัดกิจกรรมฝึกอบรมให้เจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวกับพิธีสารมินนิโซตา [Minnesota Protocol on Investigation on Potentially Unlawful Death (2016)] และพิธีสารอิสตันบูล (Istanbul Protocol: manual on the effective investigation and documentation of torture and other cruel, inhuman or degrading treatment or punishment) เพื่อเสริมความพยายามในการปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี โดยเฉพาะการป้องกันการทรมาน และจะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคมในการปฏิบัติตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนและข้อเสนอแนะที่ได้ตอบรับจากกระบวนการ UPR รวมทั้งแสวงหาความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ซึ่งมี ยธ. เป็นหน่วยงานหลัก และ กห. กต. และ ตช. เป็นหน่วยงานรองรับไปดำเนินการ
                                        (7) พิจารณาแนวทางส่งเสริมมาตรการบังคับสำหรับภาคธุรกิจในการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ซึ่งมี ยธ. เป็นหน่วยงานหลักรับไปดำเนินการ
                                        (8) ยืนยันการประกาศ standing invitation ต่อกลไกพิเศษของ UNHRC ซึ่งมี กต. พม. และ ยธ. เป็นหน่วยงานหลักรับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
                    4. การจัดทำร่างแผนการปฏิบัติตามฯ เป็นไปในแนวทางเดียวกับการดำเนินการของไทยในกระบวนการ UPR รอบที่ 1 และ 2 ที่ผ่านมา โดยร่างแผนดังกล่าวจะเป็นเอกสารอ้างอิงสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ในการผลักดันการดำเนินการตามข้อเสนอแนะที่ไทยตอบรับและคำมั่นโดยสมัครใจได้อย่างครบถ้วนและเป็นรูปธรรมผ่านแผนงานและโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผ่านความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ นอกจากนี้ร่างแผนการปฏิบัติตามฯ ยังจะเป็นประโยชน์ต่อภาคประชาสังคมและสาธารณชนในการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับกลไก UPR และการร่วมติดตามความคืบหน้าของการดำเนินการต่าง ๆ ของไทยต่อไป
                    ทั้งนี้กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงยุติธรรมจะได้เผยแพร่แพร่แผนการปฏิบัติตามฯ เพื่อสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องสิทธิมนุษยชนและกระบวนการ UPR ให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม ตลอดจนภาคส่วนอื่น ๆ ที่สนใจ ต่อไป
1เช่น การระงับ การบังคับใช้โทษประหารชีวิตอย่างสมบูรณ์ การเข้าเป็นภาคีตราสารระหว่างประเทศที่ไทยไม่มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนท่าทีในอนาคตอันใกล้ เช่น ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951

25. เรื่อง  ขอความเห็นชอบแผนการดำเนินงาน กรอบงบประมาณ การจัดงาน Expo 2025 Osaka Kansai    ณ นครโอซากา ประเทศญี่ปุ่น
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบแผนการดำเนินงานเข้าร่วมการจัดงาน Expo 2025 Osaka Kansai ณ นครโอซากา ประเทศญี่ปุ่น
                    2. เห็นชอบให้อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยตำแหน่งเป็น Commissioner General of Section (CG) ของประเทศไทย เป็นผู้ลงนามในสัญญาต่าง ๆ สำหรับการเข้าร่วมงาน Expo 2025 Osaka Kansai
                    ทั้งนี้ สำหรับกรอบงบประมาณจำนวนทั้งสิ้น 973.48 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2569 เพื่อใช้จัดงานนิทรรศการ Expo 2025 Osaka Kansai ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในการบริหารและเตรียมงาน จำนวน 105.60 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดงานนิทรรศการ Expo 2025 Osaka Kansai จำนวน 867.88 ล้านบาท ตามแผนการดำเนินงานดังกล่าว ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 89.64 ล้านบาท เห็นควรให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณโดยคำนึงถึงความครอบคลุมของทุกแหล่งเงินเป็นลำดับแรกก่อนหากไม่เพียงพอและมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการก็ให้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เท่าที่จำเป็นและเหมาะสม ตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 - 2569 จำนวน 883.84 ล้านบาท เห็นควรให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยคำนึงถึงความประหยัดและประโยชน์ที่ประเทศชาติจะได้รับเป็นสำคัญ ตลอดจนพิจารณานำแหล่งเงินนอกงบประมาณมาสมทบ รวมทั้งการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนมาร่วมดำเนินการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ประเทศไทยมีกำหนดเข้าร่วมงาน Expo 2025 Osaka Kansai ระหว่างวันที่ 13 เมษายน -     13 ตุลาคม 2568 ณ เกาะยูเมะชิมะ นครโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นงานแสดงนิทรรศการระดับโลกที่จัดขึ้นในทุก 5 ปี ภายใต้การกำกับดูแลขององค์การนิทรรศการนานาชาติ (Bureau International des Expositions: BIE) โดย สธ. เป็นหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบการเข้าร่วมงาน ภายใต้แนวคิด ?สร้างสรรค์ชีวิตเพื่อความสุขที่ยิ่งใหญ่ (THAILAND Empowering Lives for Greatest Happiness)?
                    2. รูปแบบการจัดงานนิทรรศการ
                              1) ประเทศไทยได้รับเลือกให้จัดแสดงศาลาไทย (Thailand Pavilion) บนพื้นที่ A13 โซน Connecting Lives ขนาดพื้นที่ 3,500 ตารางเมตร ในรูปแบบ Type A Pavilion: Self - Built Pavilion ซึ่งเป็นอาคารประเภทที่ผู้เข้าร่วมงานจะต้องก่อสร้างอาคารจัดนิทรรศการเองตามผังของผู้จัดงาน รวมถึงรับผิดชอบในการรื้อถอน เคลื่อนย้ายอาคาร ปรับภูมิทัศน์ เมื่อเสร็จสิ้นงาน
                              2) อาคารจัดนิทรรศการของประเทศไทยในงาน Expo 2025 Osaka Kansai เป็นอาคารทรงไทยชื่อว่า วิมานไทย (VIMANA THAI) โดยจัดแสดงกิจกรรมในรูปแบบผสม (Hybrid Event) ทั้งแบบ On Site และ Online ทั้งนี้ มีการนำศิลปกรรมชั้นสูงมาใช้ในการออกแบบอาคารการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ การรักษาความปลอดภัย และการประหยัดพลังงาน (Energy Saving) ใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Concept Building) เน้นการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) และพลังงานสะอาด (Clean Energy) ให้ความสำคัญการจัดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้มากและคุ้มค่าที่สุดตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ ตลอดจนการนำวัสดุกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse, Refurbish sharing) (ไม่ใช้ตะปู แต่จะใช้สลักและเดือยในการประกอบ สามารถถอดออกมาเป็นชั้น ๆ ได้) และแปรสภาพวัสดุกลับมาใช้ใหม่ (Recycle, Upcycle) ภายใต้กรอบแนวคิด (1) ธีมหลัก : THAILAND Empowering Live for Greatest Happiness (สร้างสรรค์ชีวิตเพื่อความสุขที่ยิ่งใหญ่) (2) ธีมรอง :Thai-Smile Empowering Happiness World Destination (ยิ้มสยามที่ก่อให้เกิดความสุขเป็นเป้าหมายปลายทางของคนทั่วโลก) และ (3) แนวคิด: SMILE (ยิ้ม)
                    ทั้งนี้การเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการในงาน Expo 2025 Osaka Kansai ถือเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยในฐานศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hab) ในภูมิภาคบนเวทีโลก ส่งเสริมความสัมพันธ์ และขยายความร่วมมือกับนานาประเทศ เปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์กับนานาชาติ การขยายตลาดอุตสาหกรรมด้านสุขภาพและการแพทย์ให้กับผู้ประกอบการไทย รวมทั้งเป็นต้นแบบของการก่อสร้างศาลาไทย พร้อทั้งส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตในอนาคต

26. เรื่อง  การจัดทำร่างโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินเดีย ระหว่างปี พ.ศ. 2565 ? 2570
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อการจัดทำร่างโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินเดีย ระหว่างปี พ.ศ. 2565 ? 2570 (Cultural Exchange Programme between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the Republic of India for the years 2022 - 2027) รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยในร่างโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินเดีย ระหว่างปี พ.ศ. 2565 ? 2570  ทั้งนี้หากมีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำของร่างโครงการฯ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญหรือที่ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงวัฒนธรรมสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    ฝ่ายไทยและฝ่ายอินเดียได้เห็นชอบเนื้อหาในร่างโครงการฯ ที่ได้จัดทำร่วมกันแล้ว โดยจัดทำเป็นภาษาไทย ภาษาฮินดี และภาษาอังกฤษ สาระสำคัญของร่างโครงการฯ เป็นการส่งเสริมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างไทยกับอินเดียให้ขยายผลยิ่งขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่องครอบคลุมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนการเยือนและจัดกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมระหว่างกัน มุ่งเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในด้านที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกันและมีศักยภาพ อาทิ ดนตรีและการเต้นรำ การจัดนิทรรศการการสัมมนา และการประชุม โบราณคดี และจดหมายเหตุ รวมทั้งการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 75 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐอินเดียในปี พ.ศ. 2565 และครบรอบ 80 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐอินเดียในปี พ.ศ. 2570 ตามลำดับ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างให้ประซาชนสองฝ่ายมีความเข้าใจด้านวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน และเป็นประโยชน์ต่อการขยายผลทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างสองฝ่ายต่อไป
                    ทั้งนี้ ร่างโครงการแลกเปลี่ยนฯ ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีในระดับรัฐบาลภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้นจึงไม่ป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

แต่งตั้ง
27. เรื่อง  การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                    (กระทรวงวัฒนธรรม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้ง นายมณเฑียร                  ชูเสือหึง  ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจิตรกรรม (จิตรกรเชี่ยวชาญ) สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านช่างศิลปกรรม (ช่างศิลปไทย) (นักวิชาการช่างศิลป์ทรงคุณวุฒิ)  กรมศิลปากร                       กระทรวงวัฒนธรรม ตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2563 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์  ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้งข้าราชการ    พลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
                     1. ร้อยโท พรหเมศ พหลพลพยุหเสนา รองอธิบดีกรมอาเซียน ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                     2. นางสาวพินท์สุดา ชัยนาม รองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงยุติธรรม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงยุติธรรม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
                    1. นายเสกสรร สุขแสง รองอธิบดีกรมบังคับคดี ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                     2. นางสาวพัชรศรี ศรีเมือง ผู้ช่วยปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

30. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงแรงงาน)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงแรงงาน ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้
                    1. นางสาวบุปผา เรืองสุด รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
                    2. นายประทีป ทรงลำยอง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

31. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงศึกษาธิการ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง นายวัลลพ    สงวนนาม เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอแต่งตั้ง นายบุญสม            ชลพิทักษ์วงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

33. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอการแต่งตั้ง นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2565 เป็นต้นไป

34. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง จำนวน 7 คน เพื่อบริหารและดำเนินกิจการของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงให้เกิดความต่อเนื่อง และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของสถาบันอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
                    1. นายชวลิต ชูขจร                      เป็น           ประธานกรรมการ
                    2. นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ           เป็น           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเกษตร
                    3. นายดนุชา สินธวานนท์           เป็น           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาสังคม
                    4. นางสาวลดาวัลย์ คำภา           เป็น            กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ
                    5. นายฉันทานนท์ วรรณเขจร           เป็น           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐกิจและการตลาด
                    6. นายสมชาย พฤติกัลป์                     เป็น           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหารจัดการ
                    7. นายนนทิกร กาญจนะจิตรา           เป็น          กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงบประมาณ
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2565 เป็นต้นไป

35. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน จำนวน 2 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2565 ดังนี้ 1. นายอนุชา เศรษฐเสถียร 2. นางจันทิรา    บุรุษพัฒน์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2565 เป็นต้นไป
                     ทั้งนี้ ในครั้งต่อ ๆ ไป ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเคร่งครัดด้วย ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 (เรื่อง การดำเนินการแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาตามกฎหมาย)

36. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย พ.ศ. 2551
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย จำนวน 12 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2565 ดังนี้
                     1. ผู้ทรงคุณวุฒิจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านศิลปะร่วมสมัย
                              1.1 นางกนกวลี กันไทยราษฎร์ สาขาวรรณศิลป์
                              1.2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์โสภาวรรณ บุญนิมิตร สาขาภาพยนตร์
                              1.3 นายพิชิต วีรังคบุตร สาขาเรขศิลป์
                               1.4 นายศิริชัย ทหรานนท์ สาขาออกแบบเครื่องแต่งกาย
                               1.5 นายสมเถา สุจริตกุล สาขาดนตรี
                              1.6 นางมาริษา เจียรวนนท์ สาขาทัศนศิลป์
                              1.7 นางเยาวณี นิรันดร สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม ประติมากรรม)
                              1.8 นายณรงค์ ปรางค์เจริญ สาขาดนตรี
                      2. ผู้ทรงคุณวุฒิจากนักวิชาการด้านศิลปะร่วมสมัยจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน
                              2.1 ศาสตราจารย์พรรัตน์ ดำรุง สาขาศิลปะการแสดง
                              2.2 ศาสตราจารย์เอกชาติ จันอุไรรัตน์ สาขามัณฑนศิลป์
                              2.3 ศาสตราจารย์ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์ สาขาทัศนศิลป์ (มีเดียอาร์ตและสื่อผสม)
                              2.4 ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญเสริม เปรมธาดา สาขาสถาปัตยกรรม
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2565 เป็นต้นไป

37. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพาณิชย์)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ดังนี้
                    1. นายเอกฉัตร ศีตวรรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง
                     2. นายนันทพงษ์ จิระเลิศพงษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
                    3. นางสาวโชติมา เอี่ยมสวัสดิกุล รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

38. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงอุตสาหกรรม)
                    คณะรัฐมนตรีมติอนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง จำนวน 4 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งว่าง และสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้
                    1. นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดี (นักบริหาร ระดับต้น) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงอุตสาหกรรม
                    2. นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดี (นักบริหาร ระดับต้น) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงอุตสาหกรรม
                    3. นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวง (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงอุตสาหกรรม ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม
                    4. นายเอกภัทร วังสุวรรณ เลขาธิการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงอุตสาหกรรม
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้น

39. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ดังนี้
                    1. นายแสน บานแย้ม           ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายสุนทร ปานแสงทอง))
                    2. นายพิริยะ โตสกุลวงศ์ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายสุนทร ปานแสงทอง))

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ