คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งตลอดจนการให้ความ
ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจนถึงปัจจุบัน (วันที่ 4 เมษายน 2551) สรุปสถานการณ์และการให้ความช่วยเหลือ ดังนี้
1. สรุปสถานการณ์ภัยแล้งและการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 ถึงวันที่ 4 เมษายน 2551)
1.1 พื้นที่ประสบภัย 55 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ น่าน เชียงราย อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ ลำปาง ตาก กำแพงเพชร
สุโขทัย พิษณุโลก ลำพูน พะเยา นครสวรรค์ แม่ฮ่องสอน อุทัยธานี พิจิตร ศรีสะเกษ ขอนแก่น เลย บุรีรัมย์ นครพนม อุดรธานี
มหาสารคาม ยโสธร อุบลราชธานี มุกดาหาร กาฬสินธุ์หนองบัวลำภู สุรินทร์ ชัยภูมิ สกลนคร หนองคาย นครราชสีมา อำนาจ
เจริญ ร้อยเอ็ด สระบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี ชัยนาท ระยอง ตราด นครนายก
สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี จันทบุรี ระนอง ตรัง ภูเก็ต สตูล และสุราษฎร์ธานี รวม 487 อำเภอ 3,138 ตำบล 24,936 หมู่บ้าน
(คิดเป็น 41.58 % ของหมู่บ้านใน 55 จังหวัด และคิดเป็น 33.50 % ของหมู่บ้านทั้งประเทศ) แยกเป็น
พื้นที่ประสบภัย ราษฎรประสบภัย
ที่ ภาค จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน รายชื่อจังหวัด ครัวเรือน คน
1 เหนือ 16 137 733 5,084 แพร่ น่าน เชียงราย ลำปาง กำแพงเพชร 500,872 1,512,831
สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก เชียงใหม่ พิษณุโลก
ลำพูน พะเยา นครสวรรค์ แม่ฮ่องสอน
อุทัยธานี และพิจิตร
2 ตะวันออก 19 242 1,943 16,916 ศรีสะเกษ ขอนแก่น เลย บุรีรัมย์ นครพนม 1,811,223 8,017,458
เฉียงเหนือ อุดรธานี มหาสารคาม ยโสธร มุกดาหาร
หนองบัวลำภู อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ สุรินทร์
ชัยภูมิ สกลนคร ร้อยเอ็ด หนองคาย
นครราชสีมา และอำนาจเจริญ
3 กลาง 8 43 177 1,204 สระบุรี เพชรบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี 70,248 250,567
ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี กาญจนบุรี
และชัยนาท
4 ตะวันออก 7 47 225 1,417 ระยอง ตราด นครนายก สระแก้ว ปราจีนบุรี 141,577 418,433
ฉะเชิงเทรา จันทบุรี
5 ใต้ 5 18 60 315 ระนอง ตรัง ภูเก็ต สตูล และสุราษฎร์ธานี 58,572 160,517
รวมทั้งประเทศ 55 487 3,138 24,936 2,582,492 10,359,806
ตารางข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งเปรียบเทียบกับจำนวนพื้นที่ประสบภัยแล้งใน 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา
จำนวน 14 มี.ค. 2551 21 มี.ค. 2551 28 มี.ค. 2551 4 เม.ย. 2551
ที่ ภาค หมู่บ้าน
ทั้งหมด หมู่บ้าน + เพิ่ม หมู่บ้าน + เพิ่ม หมู่บ้าน + เพิ่ม หมู่บ้าน + เพิ่ม
- ลด - ลด - ลด - ลด
1 เหนือ 16,440 3,204 + 563 4,353 + 1,149 4,697 + 344 5,084 + 387
2 ตะวันออก 32,830 9,187 + 2,477 12,677 + 3,490 14,482 + 1,805 16,916 + 2,434
เฉียงเหนือ
3 กลาง 11,703 1,014 + 56 1,137 + 123 1,137 - 1,204 + 67
4 ตะวันออก 4,836 1,199 + 31 1,365 + 166 1,383 + 18 1,417 + 34
5 ใต้ 8,618 102 + 30 274 + 172 302 + 28 315 + 13
เปรียบเทียบกับสถานการณ์ภัยแล้งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2551 (รวม 55 จังหวัด 462 อำเภอ 2,950 ตำบล
22,001 หมู่บ้าน) ปรากฏว่ามีจำนวนหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งมีจำนวนเพิ่มขึ้น 2,935 หมู่บ้าน
ตารางเปรียบเทียบข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งปี 2550 กับปี 2551 ในห้วงเวลาเดียวกัน
ที่ ภาค จำนวน ข้อมูลปี 2550 ข้อมูลปี 2551 เปรียบเทียบข้อมูลภัยแล้ง
หมู่บ้าน (ณ วันที่ 4 เมษายน 2550) (ณ วันที่ 4 เมษายน 2551) ปี 2550 กับปี 2551
ทั้งหมด หมู่บ้านที่ คิดเป็นร้อยละ หมู่บ้านที่ คิดเป็นร้อยละ จำนวน คิดเป็น
ประสบ (ของหมู่บ้าน ประสบ (ของหมู่บ้าน หมู่บ้าน ร้อยละ
ภัยแล้ง ทั้งประเทศ) ภัยแล้ง ทั้งประเทศ) +เพิ่ม —ลด
1 เหนือ 16,440 5,280 32.12 5,084 30.92 - 196 - 3.71
2 ตะวันออก 32,830 17,686 53.87 16,916 51.53 - 770 - 4.35
เฉียงเหนือ
3 กลาง 11,703 931 7.96 1,204 10.29 + 273 + 29.32
4 ตะวันออก 4,836 1,233 25.50 1,417 29.30 + 184 + 14.92
5 ใต้ 8,618 1,590 18.45 315 3.66 - 1,275 - 80.19
รวม 74,427 26,720 35.90 24,936 33.50 - 1,784 - 6.68
เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2550 มีจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง รวม 56 จังหวัด 527 อำเภอ 59 กิ่งฯ 3,322ตำบล
26,720 หมู่บ้าน (พื้นที่ประสบภัยแล้ง 26,720 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 43.34 ของหมู่บ้านทั้งหมดใน 56 จังหวัด ที่ประสบภัยแล้ง และคิดเป็นร้อย
ละ 35.90 ของหมู่บ้านทั้งหมดของประเทศ) น้อยกว่าปี 2550 จำนวน 1,784 หมู่บ้าน
1.2 ความเสียหาย
1) ราษฎรเดือดร้อน 2,582,492 ครัวเรือน 10,359,806 คน (คิดเป็น 20.96 % ของครัวเรือนทั้งหมด จำนวน
12,321,369 ครัวเรือน ใน 55 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง)
2) พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหาย 150,077 ไร่ (พื้นที่นา 128,430 ไร่ พื้นที่ไร่ 21,535 ไร่ พื้นที่สวน 112 ไร่)
1.3 การให้ความช่วยเหลือ
1) การจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตร
- ใช้รถบรรทุกน้ำ 111 คัน แจกจ่ายน้ำ 1,919 เที่ยว 12,064,200 ลิตร
- ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเพื่อการเพาะปลูก รวม 1,011 เครื่อง
- จังหวัด/อำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างทำนบ/ฝายเก็บกักน้ำ (ชั่วคราว) 5,961 แห่ง
- การขุดลอกแหล่งน้ำ 506 แห่ง
2) การแจกจ่ายน้ำอุปโภค/บริโภค
- ใช้รถบรรทุกน้ำ 933 คัน แจกจ่ายน้ำ 31,463 เที่ยว 221,068,973 ลิตร
3) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว 396,860,606.68 บาท แยกเป็น
- งบทดรองราชการของจังหวัด (50 ล้านบาท) 339,946,718.90 บาท
- งบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 30,375,416.78 บาท
- งบอื่นๆ 26,538,471 บาท
4) การประปาส่วนภูมิภาค สนับสนุนน้ำฟรีให้แก่รถบรรทุกน้ำของทางราชการที่นำไปช่วยเหลือประชาชน จำนวน
61,361,000 ลิตร เป็นเงิน 836,903.75 บาท
2. การประชุมติดตามสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ภาคกลาง
กระทรวงมหาดไทยได้จัดให้มีการสัมมนาผู้บริหารในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนระดับจังหวัด ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี
2551 และการประชุมติดตามสถานการณ์ปัญหาภัยแล้งภาคกลาง เมื่อวันศุกร์ที่ 4 เมษายน 2551 ณ โรงแรมเฟลิกซ์ รีเวอร์แคว รีสอร์ท
จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง) เป็นประธาน และ มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
มหาดไทย (นายสิทธิชัย โควสุรัตน์) ปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายพงศ์โพยม วาศภูติ) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อธิบดีกรมการ
ปกครอง อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง และอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนร่วมประชุมและมอบนโยบาย ชี้แจง
แนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง มาตรการลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์และนโยบายสำคัญของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย
ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่รับผิดชอบงานด้านสาธารณภัย ผู้บังคับการตำรวจภูธร
จังหวัด ปลัดจังหวัด รองผู้บังคับการตำรวจ ภูธรจังหวัด ท้องถิ่นจังหวัด หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด 19 จังหวัดในภาค
กลาง หัวหน้าส่วน ราชการและนายอำเภอทุกอำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี รวม 500 คน เพื่อให้จังหวัด/อำเภอ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามและแก้ปัญหาสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้น รวมทั้งเร่งระดมการให้ความช่วยเหลือในเรื่องการจัดหาน้ำอุปโภคบริโภคให้
เพียงพอและทั่วถึง การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรให้เหมาะสมกับน้ำต้นทุนที่มีอยู่ การส่งเสริมฝึกอาชีพระยะสั้น การดูแลรักษาสุขภาพอนามัย/
ป้องกันโรคระบาดในช่วงฤดูแล้งและการดูแลป้องกันและปราบปรามโจรผู้ร้ายในช่วงฤดูแล้งเพื่อมิให้ราษฎรผู้ประสบภัยได้รับความเดือดร้อนซ้ำเติมอีก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 เมษายน 2551--จบ--
ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจนถึงปัจจุบัน (วันที่ 4 เมษายน 2551) สรุปสถานการณ์และการให้ความช่วยเหลือ ดังนี้
1. สรุปสถานการณ์ภัยแล้งและการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 ถึงวันที่ 4 เมษายน 2551)
1.1 พื้นที่ประสบภัย 55 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ น่าน เชียงราย อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ ลำปาง ตาก กำแพงเพชร
สุโขทัย พิษณุโลก ลำพูน พะเยา นครสวรรค์ แม่ฮ่องสอน อุทัยธานี พิจิตร ศรีสะเกษ ขอนแก่น เลย บุรีรัมย์ นครพนม อุดรธานี
มหาสารคาม ยโสธร อุบลราชธานี มุกดาหาร กาฬสินธุ์หนองบัวลำภู สุรินทร์ ชัยภูมิ สกลนคร หนองคาย นครราชสีมา อำนาจ
เจริญ ร้อยเอ็ด สระบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี ชัยนาท ระยอง ตราด นครนายก
สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี จันทบุรี ระนอง ตรัง ภูเก็ต สตูล และสุราษฎร์ธานี รวม 487 อำเภอ 3,138 ตำบล 24,936 หมู่บ้าน
(คิดเป็น 41.58 % ของหมู่บ้านใน 55 จังหวัด และคิดเป็น 33.50 % ของหมู่บ้านทั้งประเทศ) แยกเป็น
พื้นที่ประสบภัย ราษฎรประสบภัย
ที่ ภาค จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน รายชื่อจังหวัด ครัวเรือน คน
1 เหนือ 16 137 733 5,084 แพร่ น่าน เชียงราย ลำปาง กำแพงเพชร 500,872 1,512,831
สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก เชียงใหม่ พิษณุโลก
ลำพูน พะเยา นครสวรรค์ แม่ฮ่องสอน
อุทัยธานี และพิจิตร
2 ตะวันออก 19 242 1,943 16,916 ศรีสะเกษ ขอนแก่น เลย บุรีรัมย์ นครพนม 1,811,223 8,017,458
เฉียงเหนือ อุดรธานี มหาสารคาม ยโสธร มุกดาหาร
หนองบัวลำภู อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ สุรินทร์
ชัยภูมิ สกลนคร ร้อยเอ็ด หนองคาย
นครราชสีมา และอำนาจเจริญ
3 กลาง 8 43 177 1,204 สระบุรี เพชรบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี 70,248 250,567
ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี กาญจนบุรี
และชัยนาท
4 ตะวันออก 7 47 225 1,417 ระยอง ตราด นครนายก สระแก้ว ปราจีนบุรี 141,577 418,433
ฉะเชิงเทรา จันทบุรี
5 ใต้ 5 18 60 315 ระนอง ตรัง ภูเก็ต สตูล และสุราษฎร์ธานี 58,572 160,517
รวมทั้งประเทศ 55 487 3,138 24,936 2,582,492 10,359,806
ตารางข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งเปรียบเทียบกับจำนวนพื้นที่ประสบภัยแล้งใน 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา
จำนวน 14 มี.ค. 2551 21 มี.ค. 2551 28 มี.ค. 2551 4 เม.ย. 2551
ที่ ภาค หมู่บ้าน
ทั้งหมด หมู่บ้าน + เพิ่ม หมู่บ้าน + เพิ่ม หมู่บ้าน + เพิ่ม หมู่บ้าน + เพิ่ม
- ลด - ลด - ลด - ลด
1 เหนือ 16,440 3,204 + 563 4,353 + 1,149 4,697 + 344 5,084 + 387
2 ตะวันออก 32,830 9,187 + 2,477 12,677 + 3,490 14,482 + 1,805 16,916 + 2,434
เฉียงเหนือ
3 กลาง 11,703 1,014 + 56 1,137 + 123 1,137 - 1,204 + 67
4 ตะวันออก 4,836 1,199 + 31 1,365 + 166 1,383 + 18 1,417 + 34
5 ใต้ 8,618 102 + 30 274 + 172 302 + 28 315 + 13
เปรียบเทียบกับสถานการณ์ภัยแล้งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2551 (รวม 55 จังหวัด 462 อำเภอ 2,950 ตำบล
22,001 หมู่บ้าน) ปรากฏว่ามีจำนวนหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งมีจำนวนเพิ่มขึ้น 2,935 หมู่บ้าน
ตารางเปรียบเทียบข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งปี 2550 กับปี 2551 ในห้วงเวลาเดียวกัน
ที่ ภาค จำนวน ข้อมูลปี 2550 ข้อมูลปี 2551 เปรียบเทียบข้อมูลภัยแล้ง
หมู่บ้าน (ณ วันที่ 4 เมษายน 2550) (ณ วันที่ 4 เมษายน 2551) ปี 2550 กับปี 2551
ทั้งหมด หมู่บ้านที่ คิดเป็นร้อยละ หมู่บ้านที่ คิดเป็นร้อยละ จำนวน คิดเป็น
ประสบ (ของหมู่บ้าน ประสบ (ของหมู่บ้าน หมู่บ้าน ร้อยละ
ภัยแล้ง ทั้งประเทศ) ภัยแล้ง ทั้งประเทศ) +เพิ่ม —ลด
1 เหนือ 16,440 5,280 32.12 5,084 30.92 - 196 - 3.71
2 ตะวันออก 32,830 17,686 53.87 16,916 51.53 - 770 - 4.35
เฉียงเหนือ
3 กลาง 11,703 931 7.96 1,204 10.29 + 273 + 29.32
4 ตะวันออก 4,836 1,233 25.50 1,417 29.30 + 184 + 14.92
5 ใต้ 8,618 1,590 18.45 315 3.66 - 1,275 - 80.19
รวม 74,427 26,720 35.90 24,936 33.50 - 1,784 - 6.68
เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2550 มีจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง รวม 56 จังหวัด 527 อำเภอ 59 กิ่งฯ 3,322ตำบล
26,720 หมู่บ้าน (พื้นที่ประสบภัยแล้ง 26,720 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 43.34 ของหมู่บ้านทั้งหมดใน 56 จังหวัด ที่ประสบภัยแล้ง และคิดเป็นร้อย
ละ 35.90 ของหมู่บ้านทั้งหมดของประเทศ) น้อยกว่าปี 2550 จำนวน 1,784 หมู่บ้าน
1.2 ความเสียหาย
1) ราษฎรเดือดร้อน 2,582,492 ครัวเรือน 10,359,806 คน (คิดเป็น 20.96 % ของครัวเรือนทั้งหมด จำนวน
12,321,369 ครัวเรือน ใน 55 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง)
2) พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหาย 150,077 ไร่ (พื้นที่นา 128,430 ไร่ พื้นที่ไร่ 21,535 ไร่ พื้นที่สวน 112 ไร่)
1.3 การให้ความช่วยเหลือ
1) การจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตร
- ใช้รถบรรทุกน้ำ 111 คัน แจกจ่ายน้ำ 1,919 เที่ยว 12,064,200 ลิตร
- ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเพื่อการเพาะปลูก รวม 1,011 เครื่อง
- จังหวัด/อำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างทำนบ/ฝายเก็บกักน้ำ (ชั่วคราว) 5,961 แห่ง
- การขุดลอกแหล่งน้ำ 506 แห่ง
2) การแจกจ่ายน้ำอุปโภค/บริโภค
- ใช้รถบรรทุกน้ำ 933 คัน แจกจ่ายน้ำ 31,463 เที่ยว 221,068,973 ลิตร
3) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว 396,860,606.68 บาท แยกเป็น
- งบทดรองราชการของจังหวัด (50 ล้านบาท) 339,946,718.90 บาท
- งบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 30,375,416.78 บาท
- งบอื่นๆ 26,538,471 บาท
4) การประปาส่วนภูมิภาค สนับสนุนน้ำฟรีให้แก่รถบรรทุกน้ำของทางราชการที่นำไปช่วยเหลือประชาชน จำนวน
61,361,000 ลิตร เป็นเงิน 836,903.75 บาท
2. การประชุมติดตามสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ภาคกลาง
กระทรวงมหาดไทยได้จัดให้มีการสัมมนาผู้บริหารในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนระดับจังหวัด ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี
2551 และการประชุมติดตามสถานการณ์ปัญหาภัยแล้งภาคกลาง เมื่อวันศุกร์ที่ 4 เมษายน 2551 ณ โรงแรมเฟลิกซ์ รีเวอร์แคว รีสอร์ท
จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง) เป็นประธาน และ มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
มหาดไทย (นายสิทธิชัย โควสุรัตน์) ปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายพงศ์โพยม วาศภูติ) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อธิบดีกรมการ
ปกครอง อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง และอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนร่วมประชุมและมอบนโยบาย ชี้แจง
แนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง มาตรการลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์และนโยบายสำคัญของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย
ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่รับผิดชอบงานด้านสาธารณภัย ผู้บังคับการตำรวจภูธร
จังหวัด ปลัดจังหวัด รองผู้บังคับการตำรวจ ภูธรจังหวัด ท้องถิ่นจังหวัด หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด 19 จังหวัดในภาค
กลาง หัวหน้าส่วน ราชการและนายอำเภอทุกอำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี รวม 500 คน เพื่อให้จังหวัด/อำเภอ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามและแก้ปัญหาสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้น รวมทั้งเร่งระดมการให้ความช่วยเหลือในเรื่องการจัดหาน้ำอุปโภคบริโภคให้
เพียงพอและทั่วถึง การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรให้เหมาะสมกับน้ำต้นทุนที่มีอยู่ การส่งเสริมฝึกอาชีพระยะสั้น การดูแลรักษาสุขภาพอนามัย/
ป้องกันโรคระบาดในช่วงฤดูแล้งและการดูแลป้องกันและปราบปรามโจรผู้ร้ายในช่วงฤดูแล้งเพื่อมิให้ราษฎรผู้ประสบภัยได้รับความเดือดร้อนซ้ำเติมอีก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 เมษายน 2551--จบ--