คณะรัฐมนตรีรับทราบแผนอำนวยความสะดวก มั่นคง และปลอดภัยเพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนช่วง เทศกาลสงกรานต์ ปี 2551 (ระหว่างวันที่ 11-17 เมษายน 2551) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ เพื่อให้หน่วยงานในสังกัดนำไปเป็นกรอบในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยแผนอำนวยความสะดวกฯ แบ่งออกเป็น 3 แผนงาน คือ แผนงานการให้บริการและอำนวยความสะดวก แผนงานอำนวยการด้านความมั่นคง และแผนงานอำนวยการด้านความปลอดภัย ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1) แผนงานการให้บริการและอำนวยความสะดวก
1.1) การจัดเตรียมยานพาหนะให้เพียงพอ
1) กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) และบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ดำเนินการจัดรถโดยสารสาธารณะให้เพียงพอ โดยได้จัดเตรียมรถโดยสารของบริษัทฯ และรถร่วมไว้ให้บริการผู้โดยสารเที่ยวขาไปช่วงวันที่ 10 — 13 เมษายน 2551 รวม 21,726 เที่ยววิ่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเที่ยววิ่งปกติ 6,750 เที่ยววิ่ง หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.07 เพื่อให้รองรับประมาณการณ์ผู้โดยสารได้รวม 912,492 คน โดยบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เปิดให้บริการท่ารถชั่วคราวเพิ่มเติมเพื่อให้บริการแก่ประชาชนที่เดินทางไปยังภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อีก 4 แห่ง ได้แก่ กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) สถานีนวนคร พื้นที่ 35 ไร่ติดกับสถานีขนส่งกรุงเทพ (จตุจักร) และสถานตากอากาศบางปู จังหวัดสมุทรปราการ สำหรับรถร่วมที่มีเที่ยววิ่งจำนวนมากให้จำหน่ายตั๋วล่วงหน้าและนำรถไปจอดที่สำนักงานหรืออู่ของแต่ละบริษัท
2) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จัดขบวนรถเพิ่มหน่วยลากจูงและขบวนรถพิเศษจำนวน 24 ขบวน (เที่ยวไป 12 ขบวน เที่ยวกลับ 12 ขบวน) เพื่อรองรับการเดินทางเฉลี่ยวันละ 115,550 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.93 (ปกติรองรับผู้โดยสาร วันละ 95,550 คน) รวมทั้งจัดขบวนพิเศษเส้นทางสถานีพหลโยธิน-อุบลราชธานี วันละ 1 ขบวน เพื่อรองรับ ผู้โดยสารที่ตกค้างจากสถานีขนส่งกรุงเทพ (จตุจักร) ระหว่างวันที่ 11-12 เมษายน 2551
3) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (บกท.) ได้จัดเพิ่มเที่ยวบินภายในประเทศ และเพิ่มความจุของที่นั่ง จำนวน 4 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-เชียงราย กรุงเทพฯ-ภูเก็ต และกรุงเทพฯ-กระบี่ (ทั้งไปและกลับ) มีจำนวนที่นั่งไป-กลับในเที่ยวบินปกติ 73,465 ที่นั่ง และมีจำนวนที่นั่งไป-กลับที่จัดเพิ่มขึ้น 7,206 ที่นั่ง หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.81 โดยคาดการณ์ว่าสามารถรองรับประชาชนตลอดช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2551 ประมาณ 130,000 คน
4) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จัดให้บริการรถโดยสาร โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ขาออก (9-12 เมษายน 2551) จัดรถวิ่งเฉลี่ยวันละ 29,200 เที่ยว และขาเข้า (15-17 เมษายน 2551) จัดรถวิ่งเฉลี่ยวันละ 26,350 เที่ยว พร้อมทั้งจัดรถ Shuttle Bus ให้บริการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าจากบริเวณตรงข้ามหมอชิตเดิมไปยังพื้นที่ 35ไร่ และสถานีขนส่งกรุงเทพ (จตุจักร) ในวันที่ 11, 12 และ 16 เมษายน 2551 ตั้งแต่เวลา 16.00-22.00 น. นอกจากนี้ ยังจัดรถโดยสารปรับอากาศยูโรทูให้บริการในเส้นทางสายสั้น 3 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ- สระบุรี กรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยา และกรุงเทพฯ- กำแพงแสน
1.2) การอำนวยความสะดวกด้านการจราจร
กรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ได้ขอความร่วมมือบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างหยุดงาน ก่อสร้างบนทางระหว่างเทศกาลสงกรานต์ และคืนพื้นผิวการจราจร รวมทั้งติดตั้งป้ายแนะนำ แผนที่แนะนำ เพื่อประชาสัมพันธ์ทางเลี่ยง เส้นทางท่องเที่ยวและเส้นทางสำคัญ และประสานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ตำรวจทางหลวง ตำรวจภูธร/ท้องที่ช่วยระบายการจราจร นอกจากนี้ จะยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนต์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และ 9 ระหว่างเวลา 16.00 น. วันที่ 10 เมษายน 2551 ถึง 24.00 น. ของวันที่ 16 เมษายน 2551 สำหรับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) จะจัดเจ้าหน้าที่และประสานกองบังคับการตำรวจจราจร กองบังคับการตำรวจทางหลวง และตำรวจจราจรในพื้นที่ช่วยอำนวยความสะดวกด้านการจราจรทั้งภายในสถานีและบริเวณโดยรอบ
1.3) การจัดตั้งจุดและให้บริการประชาชนบนสายทาง
ให้บริการจุดพักริมทางหลวงโดยร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในการให้บริการรถยก ซ่อมรถแจกผ้าเย็น น้ำดื่ม แนะนำเส้นทาง และอื่นๆ นอกจากนี้ ศูนย์ปลอดภัยคมนาคมร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้บริการอำนวยความสะดวกประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านทางโทรศัพท์สายด่วน 1356 และร่วมกับสมาชิกเครือข่าย ตั้งจุดอำนวยความสะดวกและบริการประชาชนในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี และนครสวรรค์
1.4) การจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกภายในสถานี/อาคารรับ-ส่งผู้โดยสาร
จัดเตรียมห้องสุขา ลิฟต์ บันไดเลื่อน เครื่องปรับอากาศ ที่นั่ง รถเข็น และอื่นๆ รวมทั้ง เพิ่มช่องจำหน่ายตั๋วโดยสาร ประชาสัมพันธ์ข้อมูลแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ
1.5) การจัดตั้งศูนย์วิทยุและโทรศัพท์สายด่วน
หน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกระทรวงคมนาคมจัดตั้งศูนย์วิทยุและโทรศัพท์สายด่วน โดยมีศูนย์ปลอดภัยคมนาคม กระทรวงคมนาคม (ศปภ.คค) เป็นหน่วยงานประสานงานการปฏิบัติกับหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกระทรวงคมนาคม ผ่านโทรศัพท์สายด่วน 1356 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
1.6) การให้บริการทางการแพทย์
จัดหน่วยแพทย์และพยาบาลเตรียมพร้อมให้บริการทางการแพทย์ภายในสถานีขนส่ง สถานีรถไฟ และท่าอากาศยาน
2) แผนงานอำนวยการด้านความมั่นคง
จัดเจ้าหน้าที่อยู่เวรยามและเพิ่มพนักงานรักษาความปลอดภัย รวมทั้งประสานขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจและสารวัตรทหารมาดูแลรักษาความปลอดภัย ประจำสถานีขนส่งผู้โดยสาร สถานีรถไฟ และท่าอากาศยาน เข้มงวดในการเฝ้าระวังจากโทรทัศน์วงจรปิด เพิ่มความถี่และความเข้มงวดในการออกตรวจพื้นที่ จัดถังขยะเป็นแบบใส เข้มงวดการรับฝากสิ่งของสัมภาระจะต้องระบุชื่อ ที่อยู่ให้ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน และประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือจากประชาชนให้เฝ้าดูแลสัมภาระของตนอย่างใกล้ชิด
3) แผนงานอำนวยการด้านความปลอดภัย
3.1) มาตรการผู้ขับขี่ / ผู้โดยสารปลอดภัย ตรวจความพร้อมของพนักงานขับรถโดยสารสาธารณะ/รถไฟ ตรวจการมีใบอนุญาตขับรถ ตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในลมหายใจ ตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ จัดพนักงานขับรถ 2 นายประจำรถโดยสารที่มีเส้นทางเดินรถมากกว่า 4 ชั่วโมง หรือ 400 กิโลเมตรขึ้นไปทุกคัน
3.2) มาตรการยานพาหนะปลอดภัย จัดกิจกรรม "ตรวจรถก่อนใช้ ปลอดภัยแน่นอน" ตรวจความพร้อมของรถโดยสารประจำทาง รถโดยสารไม่ประจำทาง รถขนาดเล็ก และรถโดยสารอื่นๆ ที่วิ่งเข้า-ออกหรือผ่านจังหวัด พร้อมอุปกรณ์ส่วนควบ ตรวจซ่อมแซมรถจักร รถพ่วง อุปกรณ์เครื่องล้อต่างๆให้มีสภาพสมบูรณ์ ตรวจสภาพตัวเรือ เครื่องจักรเรือ และอุปกรณ์ประจำเรือ เช่น เสื้อชูชีพ และเข้มงวดการบรรทุกผู้โดยสารเกินกว่าที่ได้กำหนดไว้ รวมทั้งตรวจและซ่อมบำรุงรักษาเครื่องบินตามมาตรฐาน
3.3) มาตรการถนน/ทางปลอดภัย ดูแลบำรุงรักษาทางหลวงเพื่อให้อยู่ในสภาพดี แก้ไขจุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และติดป้ายจราจรและเครื่องหมายบนทางระหว่างก่อสร้าง
3.4) มาตรการบังคับใช้กฎหมาย ประสานกับกองบังคับการตำรวจทางหลวง กองบังคับการตำรวจจราจรในการตรวจจับความเร็ว ตรวจวัดแอลกอฮอล์ และกวดขันรถกระบะบรรทุกคนท้ายกระบะที่ไม่มีหลังคาห้ามใช้ทางพิเศษ
3.5) การประชาสัมพันธ์ หน่วยงานต่างๆ ประชาสัมพันธ์รณรงค์ด้านความปลอดภัยผ่านสื่อช่องทางต่างๆ ติดตั้งป้ายรณรงค์ จัดทำเอกสารแผ่นพับ กรมการขนส่งทางบกประชาสัมพันธ์ข้อมูลจราจร/อุบัติเหตุผ่านสถานีวิทยุให้ประชาชนได้รับทราบ กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทจัดทำแผนที่แนะนำเส้นทาง ข้อมูลทางลัด ทางเลี่ยงต่างๆ
3.6) การประเมินผล กระทรวงคมนาคมมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรจัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สังเกตและติดตามการปฏิบัติงานตามแผนอำนวยความสะดวกฯ และให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมจัดทำการประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อนำมาสรุปผลรายงานให้ผู้บริหารระดับสูง และใช้เป็นข้อมูลในการเตรียมการจัดทำแผนรองรับการเดินทางของประชาชนในช่วงเทศกาลต่าง ๆ ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 เมษายน 2551--จบ--
1) แผนงานการให้บริการและอำนวยความสะดวก
1.1) การจัดเตรียมยานพาหนะให้เพียงพอ
1) กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) และบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ดำเนินการจัดรถโดยสารสาธารณะให้เพียงพอ โดยได้จัดเตรียมรถโดยสารของบริษัทฯ และรถร่วมไว้ให้บริการผู้โดยสารเที่ยวขาไปช่วงวันที่ 10 — 13 เมษายน 2551 รวม 21,726 เที่ยววิ่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเที่ยววิ่งปกติ 6,750 เที่ยววิ่ง หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.07 เพื่อให้รองรับประมาณการณ์ผู้โดยสารได้รวม 912,492 คน โดยบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เปิดให้บริการท่ารถชั่วคราวเพิ่มเติมเพื่อให้บริการแก่ประชาชนที่เดินทางไปยังภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อีก 4 แห่ง ได้แก่ กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) สถานีนวนคร พื้นที่ 35 ไร่ติดกับสถานีขนส่งกรุงเทพ (จตุจักร) และสถานตากอากาศบางปู จังหวัดสมุทรปราการ สำหรับรถร่วมที่มีเที่ยววิ่งจำนวนมากให้จำหน่ายตั๋วล่วงหน้าและนำรถไปจอดที่สำนักงานหรืออู่ของแต่ละบริษัท
2) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จัดขบวนรถเพิ่มหน่วยลากจูงและขบวนรถพิเศษจำนวน 24 ขบวน (เที่ยวไป 12 ขบวน เที่ยวกลับ 12 ขบวน) เพื่อรองรับการเดินทางเฉลี่ยวันละ 115,550 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.93 (ปกติรองรับผู้โดยสาร วันละ 95,550 คน) รวมทั้งจัดขบวนพิเศษเส้นทางสถานีพหลโยธิน-อุบลราชธานี วันละ 1 ขบวน เพื่อรองรับ ผู้โดยสารที่ตกค้างจากสถานีขนส่งกรุงเทพ (จตุจักร) ระหว่างวันที่ 11-12 เมษายน 2551
3) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (บกท.) ได้จัดเพิ่มเที่ยวบินภายในประเทศ และเพิ่มความจุของที่นั่ง จำนวน 4 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-เชียงราย กรุงเทพฯ-ภูเก็ต และกรุงเทพฯ-กระบี่ (ทั้งไปและกลับ) มีจำนวนที่นั่งไป-กลับในเที่ยวบินปกติ 73,465 ที่นั่ง และมีจำนวนที่นั่งไป-กลับที่จัดเพิ่มขึ้น 7,206 ที่นั่ง หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.81 โดยคาดการณ์ว่าสามารถรองรับประชาชนตลอดช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2551 ประมาณ 130,000 คน
4) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จัดให้บริการรถโดยสาร โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ขาออก (9-12 เมษายน 2551) จัดรถวิ่งเฉลี่ยวันละ 29,200 เที่ยว และขาเข้า (15-17 เมษายน 2551) จัดรถวิ่งเฉลี่ยวันละ 26,350 เที่ยว พร้อมทั้งจัดรถ Shuttle Bus ให้บริการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าจากบริเวณตรงข้ามหมอชิตเดิมไปยังพื้นที่ 35ไร่ และสถานีขนส่งกรุงเทพ (จตุจักร) ในวันที่ 11, 12 และ 16 เมษายน 2551 ตั้งแต่เวลา 16.00-22.00 น. นอกจากนี้ ยังจัดรถโดยสารปรับอากาศยูโรทูให้บริการในเส้นทางสายสั้น 3 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ- สระบุรี กรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยา และกรุงเทพฯ- กำแพงแสน
1.2) การอำนวยความสะดวกด้านการจราจร
กรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ได้ขอความร่วมมือบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างหยุดงาน ก่อสร้างบนทางระหว่างเทศกาลสงกรานต์ และคืนพื้นผิวการจราจร รวมทั้งติดตั้งป้ายแนะนำ แผนที่แนะนำ เพื่อประชาสัมพันธ์ทางเลี่ยง เส้นทางท่องเที่ยวและเส้นทางสำคัญ และประสานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ตำรวจทางหลวง ตำรวจภูธร/ท้องที่ช่วยระบายการจราจร นอกจากนี้ จะยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนต์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และ 9 ระหว่างเวลา 16.00 น. วันที่ 10 เมษายน 2551 ถึง 24.00 น. ของวันที่ 16 เมษายน 2551 สำหรับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) จะจัดเจ้าหน้าที่และประสานกองบังคับการตำรวจจราจร กองบังคับการตำรวจทางหลวง และตำรวจจราจรในพื้นที่ช่วยอำนวยความสะดวกด้านการจราจรทั้งภายในสถานีและบริเวณโดยรอบ
1.3) การจัดตั้งจุดและให้บริการประชาชนบนสายทาง
ให้บริการจุดพักริมทางหลวงโดยร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในการให้บริการรถยก ซ่อมรถแจกผ้าเย็น น้ำดื่ม แนะนำเส้นทาง และอื่นๆ นอกจากนี้ ศูนย์ปลอดภัยคมนาคมร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้บริการอำนวยความสะดวกประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านทางโทรศัพท์สายด่วน 1356 และร่วมกับสมาชิกเครือข่าย ตั้งจุดอำนวยความสะดวกและบริการประชาชนในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี และนครสวรรค์
1.4) การจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกภายในสถานี/อาคารรับ-ส่งผู้โดยสาร
จัดเตรียมห้องสุขา ลิฟต์ บันไดเลื่อน เครื่องปรับอากาศ ที่นั่ง รถเข็น และอื่นๆ รวมทั้ง เพิ่มช่องจำหน่ายตั๋วโดยสาร ประชาสัมพันธ์ข้อมูลแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ
1.5) การจัดตั้งศูนย์วิทยุและโทรศัพท์สายด่วน
หน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกระทรวงคมนาคมจัดตั้งศูนย์วิทยุและโทรศัพท์สายด่วน โดยมีศูนย์ปลอดภัยคมนาคม กระทรวงคมนาคม (ศปภ.คค) เป็นหน่วยงานประสานงานการปฏิบัติกับหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกระทรวงคมนาคม ผ่านโทรศัพท์สายด่วน 1356 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
1.6) การให้บริการทางการแพทย์
จัดหน่วยแพทย์และพยาบาลเตรียมพร้อมให้บริการทางการแพทย์ภายในสถานีขนส่ง สถานีรถไฟ และท่าอากาศยาน
2) แผนงานอำนวยการด้านความมั่นคง
จัดเจ้าหน้าที่อยู่เวรยามและเพิ่มพนักงานรักษาความปลอดภัย รวมทั้งประสานขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจและสารวัตรทหารมาดูแลรักษาความปลอดภัย ประจำสถานีขนส่งผู้โดยสาร สถานีรถไฟ และท่าอากาศยาน เข้มงวดในการเฝ้าระวังจากโทรทัศน์วงจรปิด เพิ่มความถี่และความเข้มงวดในการออกตรวจพื้นที่ จัดถังขยะเป็นแบบใส เข้มงวดการรับฝากสิ่งของสัมภาระจะต้องระบุชื่อ ที่อยู่ให้ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน และประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือจากประชาชนให้เฝ้าดูแลสัมภาระของตนอย่างใกล้ชิด
3) แผนงานอำนวยการด้านความปลอดภัย
3.1) มาตรการผู้ขับขี่ / ผู้โดยสารปลอดภัย ตรวจความพร้อมของพนักงานขับรถโดยสารสาธารณะ/รถไฟ ตรวจการมีใบอนุญาตขับรถ ตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในลมหายใจ ตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ จัดพนักงานขับรถ 2 นายประจำรถโดยสารที่มีเส้นทางเดินรถมากกว่า 4 ชั่วโมง หรือ 400 กิโลเมตรขึ้นไปทุกคัน
3.2) มาตรการยานพาหนะปลอดภัย จัดกิจกรรม "ตรวจรถก่อนใช้ ปลอดภัยแน่นอน" ตรวจความพร้อมของรถโดยสารประจำทาง รถโดยสารไม่ประจำทาง รถขนาดเล็ก และรถโดยสารอื่นๆ ที่วิ่งเข้า-ออกหรือผ่านจังหวัด พร้อมอุปกรณ์ส่วนควบ ตรวจซ่อมแซมรถจักร รถพ่วง อุปกรณ์เครื่องล้อต่างๆให้มีสภาพสมบูรณ์ ตรวจสภาพตัวเรือ เครื่องจักรเรือ และอุปกรณ์ประจำเรือ เช่น เสื้อชูชีพ และเข้มงวดการบรรทุกผู้โดยสารเกินกว่าที่ได้กำหนดไว้ รวมทั้งตรวจและซ่อมบำรุงรักษาเครื่องบินตามมาตรฐาน
3.3) มาตรการถนน/ทางปลอดภัย ดูแลบำรุงรักษาทางหลวงเพื่อให้อยู่ในสภาพดี แก้ไขจุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และติดป้ายจราจรและเครื่องหมายบนทางระหว่างก่อสร้าง
3.4) มาตรการบังคับใช้กฎหมาย ประสานกับกองบังคับการตำรวจทางหลวง กองบังคับการตำรวจจราจรในการตรวจจับความเร็ว ตรวจวัดแอลกอฮอล์ และกวดขันรถกระบะบรรทุกคนท้ายกระบะที่ไม่มีหลังคาห้ามใช้ทางพิเศษ
3.5) การประชาสัมพันธ์ หน่วยงานต่างๆ ประชาสัมพันธ์รณรงค์ด้านความปลอดภัยผ่านสื่อช่องทางต่างๆ ติดตั้งป้ายรณรงค์ จัดทำเอกสารแผ่นพับ กรมการขนส่งทางบกประชาสัมพันธ์ข้อมูลจราจร/อุบัติเหตุผ่านสถานีวิทยุให้ประชาชนได้รับทราบ กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทจัดทำแผนที่แนะนำเส้นทาง ข้อมูลทางลัด ทางเลี่ยงต่างๆ
3.6) การประเมินผล กระทรวงคมนาคมมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรจัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สังเกตและติดตามการปฏิบัติงานตามแผนอำนวยความสะดวกฯ และให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมจัดทำการประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อนำมาสรุปผลรายงานให้ผู้บริหารระดับสูง และใช้เป็นข้อมูลในการเตรียมการจัดทำแผนรองรับการเดินทางของประชาชนในช่วงเทศกาลต่าง ๆ ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 เมษายน 2551--จบ--