สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 มกราคม 2566

ข่าวการเมือง Tuesday January 17, 2023 16:51 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (17 มกราคม 2566)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.          เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลลำพะยา                                                อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา พ.ศ. ....
                    2.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ไม้ท่อนและไม้แปรรูปเป็นสินค้าที่                                        ต้องห้ามหรือต้องมีหนังสือรับรอง และให้สิ่งประดิษฐ์ของไม้เป็นสินค้าที่ต้องมี                                                  หนังสือรับรองในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. ....
                    3.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ไม้พะยูงเป็นสินค้าที่ต้องห้าม ให้ไม้                                        ท่อน ไม้แปรรูป และไม้ล้อมบางชนิด เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาต และให้                                                  สิ่งประดิษฐ์ของไม้และถ่านไม้เป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรองในการส่งออกไป                                                  นอกราชอาณาจักร พ.ศ. ....
                    4.          เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. ....
                    5.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลป่าตอง และ                                                  ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ-สังคม
                    6.           เรื่อง           การขอรับการจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นรายปีเป็นการจ่ายขาดให้แก่สภาองค์กรของ                                        ผู้บริโภค (งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567)
                    7.           เรื่อง           ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน ในการขอใช้ประโยชน์พื้นที่                                        ป่าชายเลนบริเวณตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เพื่อขยายพื้นที่                                                  สำหรับการดำเนินการจัดการเรียนการสอนของสถาบันวิทยาลัยชุมชน วิทยาลัย                                                  ชุมชนปัตตานี
                    8.           เรื่อง           การพิจารณากำหนด ?วันความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน?
                    9.           เรื่อง           ภาวะสังคมไทยไตรมาสสาม ปี 2565
                    10.           เรื่อง           รายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด ประจำปี                                                  งบประมาณ พ.ศ. 2565
                    11.           เรื่อง           หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วย                                                  ฉุกเฉินวิกฤต (ฉบับที่ 4)
                    12.           เรื่อง           ขออนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อใช้เป็น                                                  ค่าใช้จ่ายในการจัดหาเครื่องสูบน้ำแบบเคลื่อนที่เร็วขับเคลื่อนด้วยระบบไฮดรอลิค
                    13.           เรื่อง           ขออนุมัติดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำกิ จังหวัดน่าน
                    14.           เรื่อง            (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570)
                    15.           เรื่อง           (ร่าง) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566 - 2580) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)
                    16.           เรื่อง           สรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2565
                    17.           เรื่อง           การกำหนดสินค้าควบคุมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ                                              พ.ศ. 2542

ต่างประเทศ
                    18.           เรื่อง           การรับรองแผนพัฒนาร่วมระหว่างยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-                                                  เจ้าพระยา-แม่โขงกับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา
                    19.           เรื่อง           ผลการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 12 และการประชุมที่                                                  เกี่ยวข้องและการเป็นประธานการประชุมด้านการศึกษาอาเซียน ระหว่างปี                                                       พ.ศ. 2567-2568
                    20.           เรื่อง           การจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐตุรกี                                                      ฉบับที่ 2 (ค.ศ. 2023 - 2028)
                    21.           เรื่อง           เอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ                                                  และวิชาการ ไทย-ตุรกี ครั้งที่ 4

แต่งตั้ง
                    22.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                    23.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน)
                    24.           เรื่อง            การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    25.           เรื่อง            การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง  (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
                    26.           เรื่อง           การพิจารณาแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาวิศวกร
                    27.           เรื่อง            ขอยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 เรื่อง การแต่งตั้ง                                                  ข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ราย นายวัลลพ                                         สงวนนาม
                    28.           เรื่อง           แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุข และ                                                  คณะอนุกรรมการพิจารณาพื้นที่พิเศษสำหรับค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย                                                      ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย                                        สำหรับกำลังคนด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. 2548


















กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา และดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างพระกฤษฎีกาฯ ที่ กษ. เสนอ เป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา เพื่อก่อสร้างทำนบดิน อาคารหัวงาน และอาคารประกอบพร้อมส่วนประกอบอื่น    ตามโครงการอ่างเก็บน้ำลำพะยาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา มีกำหนดใช้บังคับ 3 ปี โดยให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืน ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แก่การชลประทานสำหรับพื้นที่การเกษตร การอุปโภค  และบริโภค ตลอดจนการป้องกันและบรรเทาอุทกภัย รวมทั้งเพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปสำรวจและเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องได้มาโดยแน่ชัด ซึ่งเมื่อโครงการนี้แล้วเสร็จจะเป็นแหล่งกักเก็บน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกของราษฎรที่ใช้น้ำจากโครงการฝายทดน้ำลำพะยาทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้งประมาณ 8,100 ไร่ และเป็นแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคในฤดูแล้งของราษฎร และสัตว์เลี้ยงที่อาศัยอยู่ในเขตโครงการ และบริเวณใกล้เคียงที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ประมาณ 690 ครัวเรือน ประชากรประมาณ 3,450 คน รวมทั้งบรรเทาอุทกภัยบริเวณพื้นที่เพาะปลูกซึ่งอยู่ตอนล่างของพื้นที่โครงการในช่วงฤดูน้ำหลาก โดยกรมการปกครองได้ตรวจสอบความถูกต้องของท้องที่การปกครองและแนวเขตการปกครองตามมติคณะรัฐมนตรี (22 มีนาคม 2565) [เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการตราร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัติที่ต้องจัดให้มีแล้วแผนที่ท้าย] แล้วซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แก้ไขรายละเอียดแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาตามผลการตรวจสอบของกรมการปกครองด้วยแล้ว และสำนักงบประมาณแจ้งว่าจะจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็น    และเหมาะสมต่อไป เมื่อร่างพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา เพื่อประโยชน์แก่การชลประทาน ในการก่อสร้างทำนบดิน อาคารหัวงาน และอาคารประกอบพร้อมส่วนประกอบอื่น ตามโครงการอ่างเก็บน้ำลำพะยาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา มีกำหนดใช้บังคับ 3 ปี โดยให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืน ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

2. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ไม้ท่อนและไม้แปรรูปเป็นสินค้าที่ต้องห้ามหรือต้องมีหนังสือรับรอง และให้สิ่งประดิษฐ์ของไม้เป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรองในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร       พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ไม้ท่อนและไม้แปรรูปเป็นสินค้าที่ต้องห้ามหรือต้องมีหนังสือรับรอง และให้สิ่งประดิษฐ์ของไม้เป็นสินค้า ที่ต้องมีหนังสือรับรองในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างประกาศฯ ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ เป็นการปรับปรุงมาตรการในการนำเข้าไม้ท่อน        ไม้แปรรูปบางชนิด และสิ่งประดิษฐ์จากไม้เข้ามาในราชอาณาจักรให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
                    สาระสำคัญของร่างประกาศ
                    1. ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 92)     พ.ศ. 2535 และประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่องการนำไม้และไม้แปรรูป รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใดที่ทำด้วยไม้เข้ามาในราชอาณาจักรตามแนวชายแดนจังหวัดตาก และจังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. 2548
                    2. ปรับปรุงประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
ประเด็น          ตามประกาศ พณ.ฯ (ฉบับที่ 92) ปี 2535 และ ประกาศ พณ. เรื่อง การนำไม้และไม้แปรรูป ฯ ปี 2548          ร่างประกาศ พณ. เรื่อง กำหนดให้ไม้ท่อนและไม้แปรรูป ฯ
1. การนำเข้าไม้ท่อนและไม้แปรรูปเฉพาะที่มีชื่อหรือชนิดตรงกับไม้หวงห้ามตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้          ห้ามนำเข้าไม้ท่อน ไม้แปรรูปทางด่านศุลกากรในเขตจังหวัดตามแนวชายแดนจังหวัดตากและจังหวัดกาญจนบุรี          ? ห้ามนำเข้าเฉพาะไม้ท่อนทางด่านศุลกากรในเขตจังหวัดตาก และจังหวัดกาญจนบุรี (คงเดิม)
? ห้ามนำเข้าไม้ท่อนและไม้แปรรูปทางด่านศุลกากรในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน        (เพิ่มจังหวัดแม่ฮ่องสอนขึ้นใหม่ตามคำร้องขอของกรมป่าไม้ เนื่องจากจังหวัดดังกล่าวมีทรัพยากรป่าไม้สมบูรณ์ และมีการบุกรุกตัดไม้ในพื้นที่จำนวนมาก อาจมีปัญหาการสวมรอยไม้ขึ้นได้)
2. มาตรการนำเข้าไม้อื่น ๆ นอกเหนือจากที่ห้ามนำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้และด่านศุลกากรที่ พณ. กำหนดให้นำเข้า          ? ไม้และไม้แปรรูปทุกชนิด รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใด ที่ทำด้วยไม้ที่นำเข้ามาทางด่านศุลกากรที่ พณ. กำหนด ต้องมีใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า หรือหลักฐานการอนุญาตให้ส่งออกแสดงต่อกรมศุลกากรประกอบการนำเข้า
? ไม้ซุงต้องมีตราประทับของประเทศผู้ผลิต
? สิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใดที่ทำด้วยไม้กรณีนำเข้าตามแนวชายแดนจังหวัดตากและจังหวัดกาญจนบุรี โดยผู้ที่ได้จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและจดทะเบียนขออนุญาตตั้งโรงค้าสิ่งประดิษฐ์กับกรมป่าไม้ ได้รับยกเว้นไม่ต้องมีใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า หรือหลักฐานการอนุญาตให้ส่งออกประกอบการนำเข้า          ? ไม้ท่อน (เดิมเรียกไม้ซุง) ไม้แปรรูป และสิ่งประดิษฐ์ของไม้ ต้องมีใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า หรือหลักฐานการอนุญาตให้ส่งออกแสดงต่อกรมศุลกากรประกอบการนำเข้าทุกด่านศุลกากร (ยกเลิกการมีตราประทับและยกเลิกด่านศุลกากรที่ พณ. กำหนด)
3. การห้ามนำเข้าไม้พะยูงจากประเทศเพื่อนบ้าน          เดิมไม่มี
[เป็นมติคณะรัฐมนตรี (11 พ.ย. 51) เรื่อง ห้ามการนำเข้าไม้และสิ่งประดิษฐ์ที่ทำด้วยไม้พะยูง รวมทั้งห้ามการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร โดยกำหนดห้ามการนำเข้าไม้และสิ่งประดิษฐ์ที่ทำด้วยไม้พะยูงจากประเทศกัมพูชา และประเทศลาว รวมทั้งห้ามการส่งออกไม้พะยูงทุกกรณีออกไปนอกราชอาณาจักร และให้ พณ. รับไปพิจารณาในการออกประกาศห้ามนำเข้า และส่งออกไม้พะยูงตาม พ.ร.บ. การส่งออกไปและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 ต่อไป]          ? ห้ามนำเข้าไม้พะยูงท่อน ไม้พะยูงแปรรูป หรือสิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากไม้พะยูงที่นำเข้าจากประเทศกัมพูชาและประเทศลาว     (เพิ่มใหม่ เดิมเป็นมติคณะรัฐมนตรี           ซึ่งที่ประชุม คปช. เห็นชอบให้นำมาใส่เพิ่มเติมเพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายเป็นการทั่วไป)
4. วันที่ให้มีผลใช้บังคับ                    ? เมื่อพ้นกำหนด 60 วันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
5. อื่น ๆ           เดิมไม่มี          ? กำหนดนิยามคำว่า ?สิ่งประดิษฐ์? หมายความว่า ตู้ โต๊ะ เตียง เก้าอี้             บานประตู บานหน้าต่าง ไม้วงกบ ไม้คิ้ว     ไม้บัว และอาคารสำเร็จรูปที่ทำจากไม้ทุกชนิด แผ่นชิ้นไม้อัด (พาร์ติเคิลบอร์ด)     แผ่นชิ้นไม้อัดเรียงแถว (โอเอสบี) แผ่นไม้ที่คล้ายกันทำด้วยไม้หรือวัตถุอื่น ๆ จำพวกไม้ไฟเบอร์บอร์ด ไม้อัดพลายวูด ไม้อัดวีเนียร์ และลามิเนเต็ดวูดที่คล้ายกัน เครื่องประกอบอาคารทำด้วยไม้เสาเหลากลม แผ่นไม้สำหรับทำไม้วีเนียร์ที่ได้จากการฝานลามิเนเต็ดวูดที่มีความหนาไม่เกิน 6 มิลลิเมตร และให้หมายความรวมถึงไม้ประสาน       ไม้ปาร์เกต์ ไม้ปูพื้นรางลิ้นรอบตัว            และไม้โมเสกที่มีลักษณะตามที่ พณ. กำหนด
6. บัญชีท้ายร่างประกาศฯ          เดิมไม่มีบัญชีท้าย
[ไม่ได้ระบุพิกัดศุลกากรของสินค้าไม้ที่มีการควบคุมการนำเข้า]          ? ระบุพิกัดศุลกากรของไม้แต่ละประเภทตามคำขอของกรมศุลกากร เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบกลางของกรมศุลกากร และเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้นำเข้าไม้และเจ้าหน้าที่ในการตีความประเภทไม้ตามร่างประกาศฉบับนี้


3. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ไม้พะยูงเป็นสินค้าที่ต้องห้าม ให้ไม้ท่อน ไม้แปรรูป            และไม้ล้อมบางชนิด เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาต และให้สิ่งประดิษฐ์ของไม้และถ่านไม้เป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรองในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ไม้พะยูงเป็นสินค้าที่ต้องห้าม ให้ไม้ท่อน ไม้แปรรูป และไม้ล้อมบางชนิด เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาต และให้สิ่งประดิษฐ์ของไม้และถ่านไม้เป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรองในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา         โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วยแล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ ที่ พณ. เสนอ เป็นการปรับปรุงมาตรการในการส่งออกไม้ท่อน ไม้แปรรูป ไม้ล้อมบางชนิด สิ่งประดิษฐ์ของไม้และถ่านไม้ออกไปนอกราชอาณาจักรให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
                    สาระสำคัญของร่างประกาศ
                    1. ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ไม้เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2555 ลงวันที่ 11 เมษายน 2555 และประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การส่งถ่านไม้ออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2549
                    2. ปรับปรุงประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
ประเด็น          ตามประกาศ พณ. เรื่อง การส่งถ่านไม้ออกไปนอกราชอาณาจักร ปี 2549 และ ประกาศ พณ.ฯ เรื่องกำหนดให้ไม้เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ปี 2555          ร่างประกาศ พณ. เรื่อง กำหนดให้ไม้พะยูงเป็นสินค้าที่ต้องห้าม ให้ไม้ท่อน
 ไม้แปรรูป ฯ
1. มาตรการส่งออกไม้ท่อน ไม้แปรรูป ไม้ล้อมบางชนิด สิ่งประดิษฐ์ของไม้และถ่านไม้          ? ไม้ท่อน และไม้แปรรูป ตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ (ไม้ยางพารา ไม้สน และไม้ที่ทำออกจากสวนป่า) เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
เดิมไม่มี



เดิมไม่มี




? ถ่านไม้เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ ผงถ่าน ถ่านอัด และถ่านที่ได้จากวัสดุอื่นที่ไม่ใช่ไม้ เช่น ถ่านกะลามะพร้าว ถ่านเปลือกผลไม้          ? ไม้ท่อน และไม้แปรรูปเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (เพิ่มเติมคำอธิบายเพื่อให้ชัดเจนขึ้นว่าไม้หมายถึงไม้ประเภทใด)
? ไม้ล้อมบางชนิดเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (เพิ่มใหม่ เพื่อให้ครอบคลุมไม้ทุกประเภท)
? สิ่งประดิษฐ์ของไม้เป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรองเพื่อการค้าหรือการส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ เพื่อแสดงต่อศุลกากรประกอบการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (เพิ่มใหม่)
? ถ่านไม้ต้องมีหนังสือรับรองเพื่อการค้าหรือการส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้เพื่อแสดงต่อศุลกากรประกอบการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ถ่านที่ได้จากวัสดุอื่นที่ไม่ใช่ไม้ผงถ่าน และถ่านอัด (เปลี่ยนจากขออนุญาต เป็นมีหนังสือรับรอง)
2. ข้อยกเว้นกรณีการส่งออก          ? ไม้ท่อน ไม้แปรรูป และถ่านไม้กรณีที่นำออกไปเพื่อใช้เฉพาะตัว หรือนำออกไปเพื่อเป็นตัวอย่าง ทั้งนี้ ในปริมาณเท่าที่จำเป็นไม่ต้องขออนุญาต
? การส่งออกไม้ยางพารา (ไม่จำกัดปริมาณ) ต้องขออนุญาต          ? ไม้ท่อน ไม้แปรรูป ไม้ล้อม สิ่งประดิษฐ์และถ่านไม้กรณีที่นำติดตัวออกไปเพื่อใช้เฉพาะตัว หรือนำออกไปเพื่อเป็นตัวอย่าง ทั้งนี้ ในปริมาณเท่าที่จำเป็น (คงเดิม)
? กำหนดให้การส่งออกไม้ยางพารา      (ไม่จำกัดปริมาณ) ไม่ต้องขออนุญาต     (เดิมต้องขออนุญาต ที่ให้ส่งออกไม่จำกัดปริมาณเนื่องจากไม้ยางพาราเป็นไม้ปลูก   ไม่มีการลักลอบตัด)
3. การห้ามส่งออกไม้พะยูงออกไปนอกราชอาณาจักร          เดิมไม่มี
? [เป็นมติคณะรัฐมนตรี (11 พ.ย. 51) เรื่อง ห้ามการนำเข้าไม้และสิ่งประดิษฐ์ที่ทำด้วยไม้พะยูง รวมทั้งห้ามการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร โดยกำหนดห้ามการนำเข้าไม้และสิ่งประดิษฐ์ที่ทำด้วยไม้พะยูงจากประเทศกัมพูชา และประเทศลาว รวมทั้งห้ามการส่งออกไม้พะยูงทุกกรณีออกไปนอกราชอาณาจักร และให้ พณ. รับไปพิจารณาในการออกประกาศห้ามนำเข้า และส่งออกไม้พะยูง ตาม พ.ร.บ. การส่งออกไปและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 ต่อไป]           ? ห้ามส่งออกไม้พะยูงท่อน ไม้พะยูงแปรรูป ไม้พะยูงล้อม และสิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากไม้พะยูงออกไปนอกราชอาณาจักร [เพิ่มใหม่ เดิมเป็นมติคณะรัฐมนตรี (11 พ.ย. 51) ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ (คปช.) เห็นชอบให้นำมาใส่เพิ่มเติมเพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายเป็นการทั่วไป]
4. วันที่ให้มีผลใช้บังคับ          ? ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป          ? เมื่อพ้นกำหนด 90 วันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
5. อื่น ๆ          เดิมไม่มี          ? กำหนดคำนิยาม ดังนี้
? ?สิ่งประดิษฐ์? หมายความว่า ตู้ โต๊ะ เตียง เก้าอี้ บานประตู บานหน้าต่าง          ไม้วงกบ ไม้คิ้ว ไม้บัว และอาคารสำเร็จรูปที่ทำจากไม้ทุกชนิด แผ่นชิ้นไม้อัด (พาร์ติเคิลบอร์ด) แผ่นชิ้นไม้อัดเรียงแถว (โอเอสบี) แผ่นไม้ที่คล้ายกัน ทำด้วยไม้หรือวัตถุอื่น ๆ จำพวกไม้ ไฟเบอร์บอร์ด ไม้อัดพลายวูด     ไม้อัดวีเนียร์และลามิเนเต็ดวูดที่คล้ายกัน เครื่องประกอบอาคารทำด้วยไม้เสาเหลากลม แผ่นไม้สำหรับทำไม้วีเนียร์ที่ได้จากการฝานลามิเนเต็ดวูดที่มีความหนาไม่เกิน 6 มิลลิเมตร และให้หมายความรวมถึงไม้ประสาน ไม้ปาร์เกต์ ไม้ปูพื้นรางลิ้นรอบตัว และไม้โมเสกที่มีลักษณะตามที่ พณ. กำหนด
? ?ไม้ล้อม? หมายความว่า ไม้ยืนต้นเฉพาะที่มีชื่อหรือชนิดตรงกับไม้หวงห้ามตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ที่มีชีวิต          ที่ถูกขุดล้อมขึ้นมาทั้งรากเพื่อให้สามารถเคลื่อนย้ายไปปลูกในสถานที่แห่งอื่นได้ เช่น ต้นจำปีป่า ต้นตะเคียนทอง ต้นประดู่ และต้นจันทน์หอม
6. บัญชีท้ายร่างประกาศฯ          เดิมไม่มีบัญชีท้าย
[ไม่ได้ระบุพิกัดศุลกากรของสินค้าไม้ที่มีการควบคุมการส่งออก]          ? ระบุพิกัดศุลกากรของไม้แต่ละประเภทตามคำขอของกรมศุลกากร เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบกลางของกรมศุลกากรและเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ส่งออกไม้และเจ้าหน้าที่ในการตีความประเภทไม้ตามร่างประกาศฉบับนี้

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว           และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ ที่ อก. เสนอ เป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักร รวม 3 รายการ ได้แก่ 1) ค่าจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร (เครื่องละ 1,000 บาท หรือถ้า  จดทะเบียนหลายเครื่องในโรงงานหรือสถานที่เดียวและคราวเดียวกัน ไม่เกิน 20,000 บาท) 2) ค่าเครื่องหมายการ   จดทะเบียนซึ่งเจ้าพนักงานได้ประทับหรือทำไว้ที่เครื่องจักร (เครื่องหมายละ 200 บาท หรือถ้าประทับหรือทำไว้หลายเครื่องในโรงงานหรือสถานที่เดียวกันและคราวเดียวกันไม่เกิน 2,000 บาท) และ 3) ค่าคัดสำเนาเอกสารพร้อมด้วยคำรับรองว่าถูกต้อง เฉพาะในคราวเดียวกับการจดทะเทียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร (หน้าละ 10 บาท) ออกไปอีก 1 ปี โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 21 มกราคม 2567 (กฎกระทรวงเดิมจะสิ้นผลใช้บังคับในวันที่ 21 มกราคม 2566) ทั้งนี้ เพื่อจูงใจให้เจ้าของเครื่องจักรนำเครื่องจักรมาจดทะเบียนกรรมสิทธิ์และสามารถนำเครื่องจักรนั้นไปจดจำนองเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินในการจัดหาทุนมาใช้ในการประกอบกิจการได้      รวมทั้งเป็นการช่วยเหลือ เยียวยา และบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่ผู้ประกอบกิจการที่เป็นเจ้าของเครื่องจักรในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และโดยที่เรื่องนี้เป็นการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องจักรโดยเร่งด่วน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการล่วงหน้าเสร็จแล้ว
                    อก. ได้รายงานประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่จะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยคาดว่าการยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักรรวม 3 รายการ ตามร่างกฎกระทรวงนี้จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ ประมาณ 2,871,840 บาท อย่างไรก็ตาม จะเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนจากการประกอบกิจการของเจ้าของเครื่องจักรที่ได้รับผลกระทบภาวะเศรษฐกิจกรณีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเพื่อเป็นการพยุงสถานะของเจ้าของเครื่องจักรให้สามารถประกอบกิจการได้อย่างต่อเนื่องและที่ผ่านมาตั้งแต่มีการยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักร รวม 3 รายการดังกล่าว มีผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของเครื่องจักรที่นำมาจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรและได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าว จำนวน 2,392 ราย และมีจำนวนเครื่องจักรที่นำมา      จดทะเบียนกรรมสิทธิ์ รวม 13,786 เครื่อง
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    เป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักร รวม 3 รายการ ได้แก่ 1) ค่าจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร 2) ค่าเครื่องหมายการจดทะเบียนซึ่งเจ้าพนักงานได้ประทับหรือทำไว้ที่เครื่องจักร และ 3) ค่าคัดสำเนาเอกสารพร้อมด้วยคำรับรองว่าถูกต้อง เฉพาะในคราวเดียวกับการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร ออกไปอีก 1 ปีโดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 21 มกราคม 2567 ดังนี้

ประเด็น          กฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2565          ร่างกฎกระทรวงฯ ที่ อก. เสนอ
1. สิทธิประโยชน์          ?          ยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักร ดังต่อไปนี้ ให้แก่เจ้าของเครื่องจักรเป็นระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
1) ค่าจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร
2) ค่าเครื่องหมายจดทะเบียนซึ่งเจ้าพนักงานได้ประทับหรือทำไว้ที่เครื่องจักร
3) ค่าคัดสำเนาเอกสารพร้อมด้วยคำรับรองว่าถูกต้อง เฉพาะในคราวเดียวกับการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร          ?           คงเดิม
2. ระยะเวลาการใช้บังคับ          ?          ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 21 มกราคม 2565           ?          ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 21 มกราคม 2567

5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลป่าตอง และตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่       ตำบลป่าตอง และตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ     และสังคมแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ที่กระทรวงคมนาคมเสนอ เป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน        ในท้องที่ตำบลป่าตอง และตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต เพื่อสร้างทางพิเศษสายกะทู้ ? ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต และอาคารศูนย์บริหารทางพิเศษ จุดพักรถ (Rest Area) และสิ่งจำเป็นอื่น ตามโครงการทางพิเศษสายกะทู้ ? ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติโครงการดังกล่าวแล้ว (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 18 มกราคม 2565) โดยร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีกำหนดใช้บังคับ 5 ปี และให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืน ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ มีที่ดินที่ต้องเวนคืนจำนวน 192 แปลง และสิ่งปลูกสร้างจำนวน 222 หลัง ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการทางพิเศษ และเพื่อนำที่ดินไปชดเชยให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืน รวมทั้งเพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปสำรวจ    และเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องได้มาโดยแน่ชัด และเมื่อการก่อสร้างตามโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จ จะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจร และอุบัติเหตุบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4029 รวมทั้งสามารถใช้เป็นเส้นทางอพยพในกรณีเกิดภัยพิบัติ เช่น สึนามิ ตลอดจนอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับคนในพื้นที่ นักท่องเที่ยว อีกทั้งยังส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตมีศักยภาพในการรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น     ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามัน (ภูเก็ต ? พังงา ? กระบี่) ที่จะช่วยพัฒนาพื้นที่ภาคใต้และประเทศไทยในอนาคต โดยกรมการปกครองได้ตรวจสอบแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้แล้ว ตามมติคณะรัฐมนตรี (22 มีนาคม 2565) [เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการตราร่างกฎหมายหรือ                  ร่างอนุบัญญัติที่ต้องจัดให้มีแผนที่ท้าย] ด้วยแล้ว และสำนักงบประมาณแจ้งว่าจะจัดสรรงบประมาณให้เมื่อ              ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับแล้ว
                    กระทรวงคมนาคมได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ได้รับผลกระทบตามร่างพระราชกฤษฎีกา  นี้แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว ร้อยละ 70 และได้ดำเนินการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ด้วยแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลป่าตอง และตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต      เพื่อสร้างทางพิเศษสายกะทู้ ? ป่าตอง และอาคารศูนย์บริหารทางพิเศษ จุดพักรถ (Rest Area) และสิ่งจำเป็นอื่น      มีกำหนดใช้บังคับ 5 ปี โดยให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืน     ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

เศรษฐกิจ-สังคม
6. เรื่อง การขอรับการจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นรายปีเป็นการจ่ายขาดให้แก่สภาองค์กรของผู้บริโภค (งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติกรอบวงเงินการขอรับการจัดสรรอุดหนุนเป็นรายปี เป็นการจ่ายขาดให้แก่สภาองค์กรของผู้บริโภค งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวนทั้งสิ้น 322.52 ล้านบาท       ตามนัยมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562 ทั้งนี้ เพื่อให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) นำไปจัดทำคำของบประมาณเพื่อจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นรายปีเป็นการจ่ายขาดให้แก่สภาองค์กรของผู้บริโภคในคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของ สปน. ต่อไป ตามที่ สปน. เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สปน. รายงานว่า
                    1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 46 บัญญัติให้สิทธิของผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครอง บุคคลย่อมมีสิทธิรวมกันจัดตั้งเป็นองค์กรของผู้บริโภคเพื่อคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค และองค์กรของผู้บริโภคมีสิทธิรวมกันจัดตั้งเป็นองค์กรที่มีความเป็นอิสระเพื่อให้เกิดพลังในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคโดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐ ซึ่งต่อมาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562 โดยมาตรา 16 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของ สปน. ที่จะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นรายปีเป็นการจ่ายขาดให้แก่สภาองค์กรของผู้บริโภคตามที่สภาองค์กรของผู้บริโภคเสนอ
                    2. สปน. ได้เบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ค. 2564 งบกลางฯ จำนวน 350 ล้านบาท เพื่อเป็นทุนประเดิมเบื้องต้นให้แก่สภาองค์กรของผู้บริโภค และได้โอนเงินอุดหนุนจำนวนดังกล่าวให้แก่สภาองค์กรของผู้บริโภคเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนการดำเนินการต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เรียบร้อยแล้ว ต่อมาสภาองค์กรของผู้บริโภคเสนอคำขอแปรญัตติเพิ่มงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565     จำนวนทั้งสิ้น 222.87 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของสภาองค์กรของผู้บริโภค โดย สปน. ได้ดำเนินการขอแปรญัตติเพิ่มงบประมาณจำนวนดังกล่าวแล้ว แต่ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณสภาองค์กรของผู้บริโภคจึงขอให้ สปน.     เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลางฯ ให้แก่สภาองค์กรของผู้บริโภค จำนวนทั้งสิ้น 159.67 ล้านบาทซึ่งสำนักงบประมาณ (สงป.) แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาให้ สปน. แจ้งสภาองค์กรของผู้บริโภคให้พิจารณาใช้จ่ายจากเงินทุนประเดิมที่มีเหลือจ่ายในโอกาสแรกก่อน และ/หรือพิจารณาใช้จ่ายจากเงินรายได้ของสภาองค์กรของผู้บริโภคตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
                    3. สภาองค์กรของผู้บริโภคได้เสนอคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวนทั้งสิ้น 395.15 ล้านบาท โดย สปน. ได้เสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติจัดสรรเงินอุดหนุนดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว (มติคณะรัฐมนตรี 8 มีนาคม 2565) สปน. จึงขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ให้แก่สภาองค์กรของผู้บริโภค แต่ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณดังกล่าว สภาองค์กรของผู้บริโภคจึงได้เสนอคำขอแปรญัตติเพิ่มงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566        จำนวนทั้งสิ้น 395.15 ล้านบาท ซึ่ง สปน. ได้เสนอคำขอเพิ่มงบประมาณดังกล่าวตามที่สภาองค์กรของผู้บริโภคเสนอขอรับแล้วแต่ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณดังกล่าว ต่อมาสภาองค์กรของผู้บริโภคจึงเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลางฯ ให้แก่สภาองค์กรของผู้บริโภคจำนวนทั้งสิ้น 345.17 ล้านบาท ซึ่ง สปน. ได้ดำเนินการส่งเรื่องการขอรับจัดสรรงบประมาณฯ งบกลางฯ ดังกล่าว ให้ สงป.พิจารณาดำเนินการต่อไปแล้ว
                    4. สภาองค์กรของผู้บริโภคได้ดำเนินการตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่ได้กำหนดไว้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยใช้จ่ายเงินอุดหนุนคงเหลือที่ยกยอดมาจากทุนประเดิมที่ให้แก่สภาองค์กรของผู้บริโภค งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลางฯ จำนวน 218.56 ล้านบาท ไปแล้วทั้งสิ้น 168.58 ล้านบาท คงเหลือ 49.98 ล้านบาท ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
ลำดับ          แผนการดำเนินงาน          ทุนประเดิมยกมา          งบประมาณที่ใช้จ่าย          คงเหลือเงินสด
1          แผนงานสนับสนุนและดำเนินการคุ้มครองและพิทักษ์ผู้บริโภค          33.24          12.77          20.47
2          แผนพัฒนานโยบายและมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค          26.89          22.32          4.57
3          แผนสนับสนุนหน่วยประจำจังหวัดและองค์กรผู้บริโภค          79.42          72.17          7.25
4          แผนสื่อสารเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค          16.5          15.29          1.21
5          แผนงานจัดตั้งสำนักงานและพัฒนากำลังคนของสภาองค์กรของผู้บริโภค          62.51          46.03          16.48
6          แผนเงินสำรองกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น          -          -          -
          รวมงบประมาณ          218.56          168.58          49.98

                    5. ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสภาองค์กรของผู้บริโภค ในปี 2565 เช่น
                              5.1 ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคแบบเบ็ดเสร็จ สภาองค์กรของผู้บริโภคได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564-30 กันยายน 2565 รวม 8,356 ราย ผู้บริโภคได้รับการชดเชย 222.21 ล้านบาท ส่วนหน่วยงานประจำจังหวัดมีการรับเรื่องร้องเรียนทั้งสิ้น 6,308 ราย ผู้บริโภคได้รับการชดเชย 64.20 ล้านบาท     โดยสามารถช่วยเจรจา ไกล่เกลี่ยและแก้ไขปัญหาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจให้เกิดการตกลงได้ข้อยุติ      รวม 7,690 กรณี (ร้อยละ 92.03) นอกจากนี้ ยังช่วยให้ข้อพิพาทของผู้บริโภคจำนวนมากยุติไปโดยเร็ว ไม่ต้องเป็นคดีสู่ศาล และปริมาณคดีในศาลลดลง
                              5.2 มีการดำเนินคดีเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค รวม 19 คดี มูลค่าความเสียหาย 70.45 ล้านบาท เช่น เป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนผู้บริโภคในกรณีคดีเกี่ยวกับผิดสัญญาให้บริการทางการแพทย์ คดีถูกริบเงินดาวน์/เงินจอง กรณีผู้บริโภคซื้อบ้านแต่กู้ไม่ผ่านและช่วยเหลือผู้บริโภคที่ถูกฟ้องจากการใช้สิทธิในฐานะผู้บริโภค เช่น กรณีผู้บริโภคถูกฟ้องให้รับผิดในสัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์และใช้ข้อสัญญาไม่เป็นธรรม
                              5.3 จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐ            และผู้ประกอบการที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาของผู้บริโภค เช่น กรณีการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว     ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก และมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคต่อการนำกัญชามาใช้ในอาหารและเครื่องดื่ม
                              5.4 จัดให้มี รวบรวม และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือใช้บริการ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก รวมทั้งงานสื่อสารสาธารณะเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ผ่านสื่อออนไลน์ ช่องทางต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์สภาองค์กรของผู้บริโภค เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม
                    6. สภาองค์กรของผู้บริโภคได้เสนอคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวนทั้งสิ้น 322.52 ล้านบาท สำหรับ 5 แผนงาน สรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
แผนงาน          งบประมาณที่เสนอขอ
(1) แผนสนับสนุนและดำเนินการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค
          (1.1) แผนงานการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคของศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคแบบเบ็ดเสร็จและการไกล่เกลี่ยของสภาองค์กรของผู้บริโภค
                    (1.1.1) การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคของศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคแบบเบ็ดเสร็จและการไกล่เกลี่ยของสภาองค์กรของผู้บริโภค
                    (1.1.2) การพัฒนาศักยภาพและยกระดับมาตรการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค
          (1.2) แผนงานสนับสนุนการฟ้องคดีเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค          32.03


10.98

14.07

6.98
(2) แผนพัฒนานโยบายและมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค
          (2.1) แผนงานศึกษาเพื่อพัฒนานวัตกรรมและการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
                    - การศึกษาเพื่อพัฒนานวัตกรรมและการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
          (2.2) แผนงานพัฒนานโยบายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคโดยคณะกรรมการนโยบายและคณะอนุกรรมการ 8 ด้าน
                    - การพัฒนานโยบายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคโดยคณะกรรมการนโยบายและคณะอนุกรรมการ 8 ด้าน
          (2.3) แผนงานผลักดันและติดตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค
                    - การผลักดันและติดตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค
          (2.4) แผนงานรายงานการละเมิดสิทธิผู้บริโภคระดับจังหวัดประจำปี
                    - การรายงานการละเมิดสิทธิผู้บริโภค
          (2.5) แผนงานรายงานประจำปีและการประเมินผล          43.55


17.14



6.56



16.47


1.60
1.78
(3) แผนสนับสนุนหน่วยงานประจำจังหวัด หน่วยงานเขตพื้นที่ สมาชิกและองค์กรผู้บริโภค
          - โครงการพัฒนากลไกสภาองค์กรของผู้บริโภคประจำจังหวัด เขตพื้นที่สมาชิกและองค์กรผู้บริโภคในการรักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภค          128.70

128.70
(4) แผนสื่อสารเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
          (4.1) การสื่อสารเพื่อสร้างวัฒนธรรมใหม่ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
          (4.2) การเผยแพร่ความรู้ให้ผู้บริโภคเท่าทันปัญหาและเพิ่มอำนาจต่อรองในยุคดิจิทัล
          (4.3) การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค          54.37
20.64
23.86

9.87
(5) แผนบริหารจัดการสำนักงานและพัฒนาศักยภาพสภาองค์กรของผู้บริโภค
          (5.1) การบริหารจัดการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค
          (5.2) พัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงาน สำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค
          (5.3) ประเมินผลและปรับปรุงวิธีการทำงาน          63.87
59.90
2.36
1.61
รวมงบประมาณที่เสนอขอ          322.52

*จากการประสานงานกับ สงป. เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2566 ได้รับแจ้งว่า เนื่องจากในขณะนั้น สงป. ยังไม่มีข้อมูลประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณที่สมบูรณ์ เช่น รายงานการเงินของสภาองค์กรผู้บริโภคฉบับสมบูรณ์

7. เรื่อง ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน ในการขอใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลนบริเวณตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เพื่อขยายพื้นที่สำหรับการดำเนินการจัดการเรียนการสอนของสถาบันวิทยาลัยชุมชน วิทยาลัยชุมชนปัตตานี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ การขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2530 วันที่ 23 กรกฎาคม 2534 วันที่ 22 สิงหาคม 2543 และวันที่ 17 ตุลาคม 2543 ในการขอใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลน เนื้อที่จำนวน 1.08 ไร่ (1 ? 0 ? 32 ไร่)       บริเวณตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เพื่อขยายพื้นที่สำหรับการดำเนินการจัดการเรียนการสอนของสถาบันวิทยาลัยชุมชน วิทยาลัยชุมชนปัตตานี (สถาบันฯ)
                    สำหรับค่าใช้จ่ายในการปลูกและบำรุงรักษาป่าชายเลนทดแทนไม่น้อยกว่า 20 เท่า ของพื้นที่ป่าชายเลนที่ใช้ประโยชน์ ตามระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งฯ พ.ศ. 2556 ให้สถาบันวิทยาลัยชุมชนพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 หรือเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม แล้วแต่กรณี ตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกมิติ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญของเรี่อง
                    อว. รายงานว่า
                    1. ปัจจุบันสถาบันฯ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี มีการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรอนุปริญญา จำนวน 6 หลักสูตร (ได้แก่ สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน และสาขาวิชาอิสลามศึกษา) มีจำนวนนักศึกษา     รวมทั้งสิ้น 1,125 คน (ข้อมูล ณ ปีการศึกษา 2564) ตั้งอยู่บนพื้นที่ 8.75 ไร่ (8 ? 3 ? 0 ไร่) ซึ่งได้มีการใช้ประโยชน์  ในการจัดสร้างอาคารต่าง ๆ สำหรับการจัดการเรียนการสอนจนเต็มพื้นที่แล้ว โดยวิทยาลัยชุมชนปัตตานีมีแผน     การจัดการเรียนการสอนเพิ่มเติมอีก 5 หลักสูตร [ได้แก่ สาขาวิชาการจัดการสุขภาวะผู้สูงอายุในชุมชน                (เริ่มรับนักศึกษามาแล้วตั้งแต่ปีการศึกษา 2563) สาขาวิชาเกษตรและการแปรรูป สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยว สาขาวิชาการประกอบอาหารฮาลาล และสาขาวิชาการจัดการธุรกิจดิจิทัลและนวัตกรรม) จึงได้ขอขยายการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณด้านหลังของวิทยาลัยชุมชนปัตตานีไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี จำนวน 6.52 ไร่     (6 ? 2 ? 8 ไร่) เพื่อขยายพื้นที่สำหรับการดำเนินการจัดการเรียนการสอนของสถาบันฯโดยจังหวัดปัตตานีแจ้งว่า พื้นที่ 6.52 ไร่ (6 ? 2 ? 8 ไร่) ดังกล่าวอยู่ในเขตพื้นที่ป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2530 สถาบันฯ จึงได้มีหนังสือถึงกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นในการขอใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนเนื้อที่ประมาณ 6.52 ไร่ (6 ? 2 ? 8 ไร่) ตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
                    2. ทส. (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง) พิจารณาแล้วมีความเห็นสรุปได้ ดังนี้
                              2.1 จากการตรวจสอบพบว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ทับซ้อนกับแปลงที่ศาลจังหวัดปัตตานีได้ดำเนินการขออนุญาตใช้ที่ดินต่อผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีแล้วซึ่งให้ศาลจังหวัดปัตตานีเป็นผู้ใช้ประโยชน์         เพื่อสร้างศาลแขวงปัตตานี และพื้นที่ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 2.3 ไร่ (2 ? 1 ? 20 ไร่) ให้วิทยาลัยชุมชนปัตตานีพิจารณาดำเนินการขออนุญาตใช้ประโยชน์ โดยมีพื้นที่อยู่ในเขตป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่               15 ธันวาคม 2530 และวันที่ 22 สิงหาคม 2543 เนื้อที่ 1.08 ไร่ (1 ? 0 ? 32 ไร่) ประกอบกับพื้นที่ดังกล่าวมีสภาพเป็นป่าชายเลนเสื่อมโทรม มีวัชพืชและไม้พื้นล่างปกคลุมเต็มพื้นที่ และมีพันธุ์ไม้ป่าชายเลนขนาดเล็กขึ้นอยู่กระจัดกระจายเล็กน้อย จึงไม่ขัดข้องให้สถาบันฯ เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน
                              2.2 การดำเนินโครงการในพื้นที่ป่าชายเลน หน่วยงานเจ้าของเรื่องจะต้องดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                                        2.2.1 เสนอเรื่องขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน      ได้แก่ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2530 วันที่ 23 กรกฎาคม 2534 วันที่ 22 สิงหาคม 2543 และวันที่     17 ตุลาคม 2543 โดยหน่วยงานเจ้าของโครงการต้องดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556       โดยจัดสรรงบประมาณให้กับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อมไม่น้อยกว่า 20 เท่า ของพื้นที่ป่าชายเลนที่ใช้ประโยชน์ ตามระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ว่าด้วยการปลูกและบำรุงรักษาป่าชายเลนทดแทนเพื่อการอนุรักษ์ หรือรักษาสภาพแวดล้อม กรณีการดำเนินการโครงการใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐที่มีความจำเป็นต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน     พ.ศ. 2556 (ระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งฯ พ.ศ. 2556) อย่างเคร่งครัด
                                        2.2.2 เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ยกเว้นแล้ว จึงเสนอเรื่องต่อกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเพื่อขออนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่าชายเลน โดยหากเป็นโครงการที่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้แนบรายงานผลการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ได้รับความเห็นชอบแล้วเสนอกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งดำเนินการตามขั้นตอนและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
                    3. วิทยาลัยชุมชนปัตตานีได้มีหนังสือถึงสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 9 เพื่อขอให้ตรวจสอบพื้นที่จำนวน 1.08 ไร่ (1 ? 0 ? 32 ไร่) ดังกล่าว (เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565) ผลการตรวจสอบ           พบว่าพื้นที่ของวิทยาลัยชุมชนปัตตานีอยู่ในเขตป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรี เนื้อที่ 1.08 ไร่ (1 ? 0 ? 32 ไร่)    โดยไม่ทับซ้อนกับพื้นที่ที่ศาลจังหวัดปัตตานีขอใช้พื้นที่
                    4. การประชุมสภาเทศบาลตำบลรูสะมิแล สมัยสามัญ สมัยที่ 2 ประจำปี 2565 เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2565 มีมติเห็นชอบกรณีวิทยาลัยชุมชนปัตตานีขอถอนสภาพและขออนุญาตใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินและขออนุญาตแผ้วถางป่าตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้       พ.ศ. 2484 เนื้อที่ 2.3235 ไร่ (2 ? 1 ? 29.4 ไร่) รวมถึงได้ผ่านการประชุมประชาคมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2565 ด้วยแล้ว
                    5. สถาบันฯ จึงได้จัดทำข้อมูลโครงการการใช้ประโยชน์ที่ดินเพิ่มเติมบนเนื้อที่ 2.29 ไร่ (2 ? 1 ? 16 ไร่) [จากการตรวจสอบพื้นที่ของ ทส. พบว่า มีพื้นที่ที่สามารถขออนุญาตใช้ประโยชน์ได้อีกประมาณ 2.3 ไร่ (2 ? 1 ? 20 ไร่)     โดยมีพื้นที่อยู่ในเขตป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 1.08 ไร่ (ตามข้อ 2.1)] โดยโครงการดังกล่าวเป็นการก่อสร้าง (1) อาคารเรียน 4 ชั้น จำนวน 1 หลัง เนื้อที่ประมาณ 1.29 ไร่ (1 ? 1 ? 16 ไร่) เพื่อใช้ใการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรระดับอนุปริญญาเพิ่มเติมทั้ง 5 หลักสูตร และ (2) อาคารศูนย์การเรียนรู้ชุมชน จำนวน 1 หลัง               เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ เพื่อดำเนินภารกิจ 4 ด้าน ได้แก่ การบริการวิชาการ การสนับสนุนและการดำเนินการวิจัย           การสนับสนุนการเรียนการสอน และเป็นแหล่งแสดงสาธิตการทำเกษตรแบบครบวงจรที่มีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตลอดจนเป็นศูนย์การแสดงผลิตภัณฑ์ชุมชน รวมถึงได้จัดทำแผนการจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อม ไม่น้อยกว่า 20 เท่าของพื้นที่ป่าชายเลนที่ใช้ประโยชน์ ตามระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งฯ พ.ศ. 2556 ทั้งนี้ มีแผนจะเริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ 2566

8. เรื่อง การพิจารณากำหนด ?วันความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน?
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกำหนดให้วันที่ 21 มกราคมของทุกปี เป็น ?วันความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน? ตามที่ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ศปถ. รายงานว่า
                    1. ปัจจุบันการเกิดอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทยอยู่ในภาวะวิกฤติซึ่งปัจจัยสำคัญเกิดจากพฤติกรรมของคนไทยที่ขาดระเบียบวินัยและขาดจิตสำนึกในการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของคนไทยเป็นอย่างมาก
                    2. จากกรณีข่าวการเกิดอุบัติเหตุทางถนนเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2565 กรณีแพทย์หญิงวราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล (หมอกระต่าย) แพทย์ผู้ชำนาญการด้านจักษุวิทยา ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถูกรถจักรยานยนต์ชนขณะเดินข้ามถนนบนทางม้าลาย บริเวณหน้าโรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร จนเป็นเหตุให้หมอกระต่ายเสียชีวิต เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ (นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช) จึงได้เข้าพบนายกรัฐมนตรีเพื่อหารือเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน       โดยมูลนิธิเมาไม่ขับ จึงขอเสนอรัฐบาลพิจารณากำหนดให้วันที่ 21 มกราคมของทุกปี เป็น ?วันถนนปลอดภัยแห่งชาติ?
                    3. คณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (คณะกรรมการ ศปถ.)
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน) ในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31  มีนาคม 2565      ได้มีมติเห็นชอบในหลักการเรื่องการกำหนดให้วันที่ 21 มกราคมของทุกปี เป็นวันเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัย โดยให้ฝ่ายเลขานุการดำเนินการสอบถามความคิดเห็นจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในคณะอนุกรรมการชุดต่าง ๆ แล้วให้นำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ ศปถ. เพื่อพิจารณาต่อไป
                    4. ต่อมาในคราวประชุมคณะกรรมการ ศปถ. ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2565       ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกำหนดให้วันที่ 21 มกราคมของทุกปี เป็น ?วันความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน?
                    5. ต่อมาคณะกรรมการนโยบายการป้องกันและอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ [รองนายกรัฐมนตรี     (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน] ในคราวประชุม ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2565          ที่ประชุมมีมติรับทราบเรื่อง การกำหนดให้มีวันเกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนนของประเทศ และมอบหมายให้      ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการ ศปถ. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบกำหนดให้วันที่ 21 มกราคมของทุกปีเป็น ?วันความปลอดภัยของใช้ถนน?
                    6. เพื่อเป็นการหยุดความสูญเสียจากการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนและไม่ให้เกิดเหตุการณ์รถชน    คนข้ามทางม้าลายเกิดขึ้นซ้ำอีก และเพื่อกระตุ้นเตือน สร้างความตระหนักให้มีจิตสำนึกรักความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ถนน    ทุกเพศ ทุกวัย และผู้ขับขี่ยานพาหนะทุกประเภท ตลอดจนส่งเสริมและสร้างการรับรู้ให้เกิดเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัย มีระเบียบวินัยในการใช้รถ ใช้ถนน ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันมิให้เกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนขึ้นอีก จึงเห็นควรกำหนดให้วันที่ 21 มกราคมของทุกปี เป็น ?วันความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน?

9. เรื่อง ภาวะสังคมไทยไตรมาสสาม ปี 2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอภาวะสังคมไทยไตรมาสสาม (เดือนกรกฎาคม-กันยายน ) ปี 2565 [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2561 มาตรา 20 (5) ที่บัญญัติให้ สศช. รายงานสภาวะเศรษฐกิจ       และสังคมของประเทศเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ความเคลื่อนไหวทางสังคมไตรมาสสาม ปี 2565
                        1.1 สถานการณ์ด้านแรงงาน โดยด้านการจ้างงานมีจำนวน 39.6 ล้านคนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม จำนวน 27.2 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เช่น สาขาค้าส่งค้าปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 และสาขาโรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3    ซึ่งเป็นผลมาจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น และสาขาการผลิตเพิ่มขึ้น          ร้อยละ 1.4 สอดรับกับอัตราการใช้กำลังการผลิตและการส่งออกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ภาคการเกษตรมีการจ้างงานลดลงร้อยละ 2.4 เนื่องจากปัญหาอุทกภัย ส่วนด้านค่าจ้างแรงงานปรับเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องแต่ค่าจ้างที่แท้จริงหดตัวลงร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันของปี 2564 ขณะที่อัตราการว่างงานปรับตัวลดลงเหลือเพียงร้อยละ 1.23   โดยมีผู้ว่างงาน 4.9 แสนคน ทั้งนี้ ประเด็นที่ต้องติดตามในระยะถัดไป เช่น การบรรเทาภาระค่าครองชีพโดยเฉพาะแรงงานนอกระบบ การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยโดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่ยากจน             และการสนับสนุนให้ผู้ว่างงานเข้าสู่ระบบการอบรมและพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพเกี่ยวกับภาคการท่องเที่ยว
                        1.2 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 14.76 ล้านบาท ชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 3.5 และสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์รวมในประเทศ (Gross domestic product: GDP) ลดลงเป็นร้อยละ 88.2 ตามการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจและการชะลอตัวของการก่อหนี้ของครัวเรือนซึ่งเกิดจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ด้านคุณภาพสินเชื่อในภาพรวมปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากมาตรการส่งเสริมการปรับโครงสร้างหนี้     และการบริหารคุณภาพสินเชื่ออย่างต่อเนื่องของสถาบันการเงิน โดยสัดส่วนสินเชื่ออุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 2.62 อย่างไรก็ตาม มีความจำเป็นต้องเฝ้าระวังคุณภาพสินเชื่อยานยนต์อย่างใกล้ชิดเนื่องจากมีสัดส่วนสินเชื่อค้างชำระน้อยกว่า 3 เดือนต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง นอกจากนี้หนี้เสียขยายตัวในระดับสูง โดยเฉพาะกลุ่มลูกหนี้สูงอายุเนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019     (โควิด-19) ทั้งนี้ ปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อหนี้ครัวเรือน เช่น ภาระค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น อุทกภัย และอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีประเด็นที่ต้องติดตามและให้ความสำคัญ เช่น การเร่งรัดการปรับโครงสร้างหนี้ โดยเฉพาะกลุ่มสินเชื่อยานยนต์และกลุ่มลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้เสียจากผลกระทบโควิด-19 การมีมาตรการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือครัวเรือนให้มีสภาพคล่องมากขึ้น และการมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับประชาชน
                        1.3 การเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวัง โดยมีจำนวนผู้ป่วยโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ275.4 หรือเพิ่มขึ้นเป็น 195,976 ราย (จากเดิม 52,200 ราย) โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก และโรคไข้หวัดใหญ่       ซึ่งเป็นผลจาก น้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ นอกจากนี้ควรให้ความสำคัญกับระบบรักษาผู้ป่วยด้านสุขภาพจิต โดยเฉพาะผู้ที่มีความเครียด ผู้ป่วยซึมเศร้าและผู้ป่วยยาเสพติด ซึ่งมีแนวโน้มเข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้น โดยในระยะสั้นควรเร่งขยายผลการบูรณาการร่วมกับกลไกในชุมชนและในระยะยาวจะต้องหาแนวทางการเพิ่มจำนวนจิตแพทย์หรือเพิ่มบทบาทของบุคลากรด้านสุขภาพจิตเพื่อรักษาหรือยกระดับคุณภาพบริการ รวมถึงยังต้องเฝ้าระวังโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่ระบาดในต่างประเทศในช่วงที่ไทยมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ทั้งนี้ ประชาชนควรรักษาระดับการป้องกันโรคส่วนบุคคลและเข้ารับวัคซีนอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่ระบาดของโควิด-19
                        1.4 การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 โดยการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ขณะที่การบริโภคบุหรี่ลดลงร้อยละ 1.2 อย่างไรก็ตามยังคงต้องให้ความสำคัญกับการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ที่ถูกต้อง และสร้างการตระหนักถึงโทษของบุหรี่ไฟฟ้าแก่เด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง โดยบูรณาการความร่วมมือกับสถานศึกษารวมถึงจะต้องเร่งดำเนินการทางกฎหมายแก่ผู้ขายบุหรี่ไฟฟ้าอย่างจริงจังและเข้มงวดเพื่อป้องกันการเข้าถึงและทดลองสูบของเยาวชน
                        1.5 คดีอาญา มีการรับแจ้งคดีอาญา จำนวน 105,407 คดี ลดลงร้อยละ 15.7 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 โดยส่วนใหญ่เป็นคดียาเสพติด จำนวน 88,850 คดี ซึ่งมีปัจจัยจากพัฒนาการของเทคโนโลยีการผลิตที่สามารถผลิตได้เพิ่มขึ้น 10 เท่า รวมถึงสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์มีราคาถูกและรูปแบบการค้ายาเสพติดมีช่องทางมากขึ้น ดังนั้น ควรให้ความสำคัญกับการบังคับใช้กฎหมายและการทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดตามแนวชายแดน
                        1.6 การเกิดอุบัติเหตุทางบก มีการรับแจ้งการเกิดอุบัติเหตุ จำนวน 18,458 ราย ลดลงร้อยละ 2.6 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 มีผู้เสียชีวิต 1,276 ราย ลดลงร้อยละ 3 และผู้บาดเจ็บรวม 9,389 ราย ลดลงร้อยละ 9.3 โดยสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ คือ การขับรถตัดหน้ากระชั้นชิดและการขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น ควรให้ความสำคัญในการบังคับใช้ความเร็วของรถยนต์ตามที่กฎหมายกำหนด
                        1.7 การรับเรื่องร้องเรียนผ่านสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค มีจำนวน 6,045 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.8 จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 ขณะที่การร้องเรียนผ่านสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ มีจำนวน 502 เรื่อง ลดลงร้อยละ 22.9 โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่มากที่สุด สำหรับประเด็นให้ความสำคัญ เช่น การติดตามและเฝ้าระวังไม่ให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อการหลอกให้เปิดบัญชีม้า* ซึ่งมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องถึงร้อยละ 231.34 และปัญหาการเอาเปรียบผู้บริโภค เช่น การไม่แสดงราคาสินค้าและบริการและการคิดค่าบริการ (Service charge) ดังนั้น                ควรตรวจสอบอย่างเข้มงวดและเพิ่มบทลงโทษแก่ผู้กระทำผิด และอาจต้องกำหนดประเภทร้านค้าที่สามารถเก็บค่าบริการดังกล่าวได้
                    2. สถานการณ์ทางสังคมที่สำคัญ
                        2.1 เมื่อโลกร้อนไม่ใช่เรื่องไกลตัว : เราจะรับมืออย่างไร ในอดีตคนทั่วไปคิดว่าภัยพิบัติต่าง ๆ เป็นเพียงปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ แต่จากการศึกษาวิจัยพบว่า ภัยพิบัติต่าง ๆ เป็นผลจากภาวะโลกร้อนซึ่งเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้นและเกิดปราฏการณ์ก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นและทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น จนก่อให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทั้งนี้ คนทั่วโลกรวมถึงคนไทยส่วนใหญ่รับรู้ถึงผลกระทบของภาวะโลกร้อน แต่ส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นหน้าที่ของภาครัฐและภาคธุรกิจที่ต้องรับผิดชอบแก้ไขปัญหา ซึ่งสะท้อนความตระหนักและความใส่ใจของคนไทยต่อการแก้ไขปัญหาที่ยังมีไม่มากนัก ทั้งนี้ มีเรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการและจัดการอย่างเร่งด่วน  เช่น การอนุรักษ์ป่าไม้เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน     การปรับรูปแบบการทำเกษตรเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด อย่างไรก็ตาม การรับมือของไทยยังมีความท้าทาย เช่น การขาดทิศทางการวิจัยด้านการเกษตรเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้พลังงานทดแทนมีสัดส่วนต่ำและลดลง และการขาดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะช่วยลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ดังนั้น ไทยต้องให้ความสำคัญในประเด็นต่าง ๆ เช่น การปรับรูปแบบการทำเกษตรกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดโดยเฉพาะในภาคการขนส่งและการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนที่ถูกต้องให้กับประชาชนโดยการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
                        2.2 กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) : การส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาของเด็กไทยให้ยั่งยืน กยศ. มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาให้กับนักเรียนและนักศึกษา โดยข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 กยศ. ให้นักเรียนและนักศึกษากู้ยืมแล้ว ทั้งสิ้น 6.4 ล้านราย คิดเป็นเงินให้กู้ยืม 706,357 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม มีผู้กู้ยืมที่ผิดนัดชำระหนี้คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 65 ซึ่งสาเหตุการผิดนัดชำระหนี้แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ (1) ปัญหาจากลูกหนี้ ได้แก่ การขาดวินัยทางการเงินและการประสบปัญหาหรือวิกฤตต่าง ๆ (2) ปัญหาจากกลไกการชำระหนี้ของ กยศ. ที่กำหนดให้มีการชำระหนี้คืนรูปแบบเดียวเป็นขั้นบันไดและไม่สามารถปรับได้             (3) ปัญหาการดำเนินงานของ กยศ. เช่น ระเบียบ/กฎเกณฑ์ที่ไม่เอื้อให้มีการดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้กับกลุ่มลูกหนี้ที่มีคำพิพากษาแล้ว และ (4) ปัญหาเชิงโครงสร้างของการศึกษา เนื่องจากมีการเลือกเรียนสาขาวิชาที่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาด ทำให้ยังไม่สามารถยกระดับรายได้ของตนเองภายหลังเรียนจบ จึงควรมีแนวทางการแก้ไขปัญหา เช่น การนำลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระหนี้เข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ การปรับรูปแบบการชำระหนี้ให้สอดคล้องกับรายได้และการทำงานของลูกหนี้ และการเพิ่มความรู้ทางการเงินให้แก่ลูกหนี้
                        2.3 เสรีกัญชา : มุมมองที่ควรเรียนรู้จากต่างประเทศ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ไทย        เป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียที่สามารถใช้กัญชาและกัญชงได้อย่างถูกกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันอุตสาหกรรมกัญชาและกัญชงตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำของไทยมีมูลค่ารวมกว่า 2.8 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม การใช้กัญชาอย่างไม่เหมาะสมสามารถส่งผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพได้ จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายในการควบคุมดูแลเพื่อป้องกันผลกระทบทางสังคมที่รัดกุมและรอบด้าน ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกัญชา กัญชง พ.ศ. .... พบว่า ไทยต้องให้ความสำคัญกับประเด็นต่าง ๆ เช่น (1) การควบคุมการผลิตและการเพาะปลูก โดยต้องกำหนดปริมาณที่สามารถผลิตหรือเพาะปลูกในครัวเรือนให้มีความเหมาะสม (2) การควบคุมการซื้อขายและการครอบครอง ซึ่งควรกำหนดให้มีการลงทะเบียนร้านค้าหรือร้านขายยา ผู้จำหน่าย และผู้ใช้กัญชา และกำหนดปนิมาณกัญชาที่สามารถซื้อขายหรือถือครองได้                   (3) การป้องกันการเข้าถึงของเด็กและการคุ้มครองผู้บริโภคกลุ่มอื่น ๆ และ (4) การบังคับใช้กฎหมายและการติดตามตรวจสอบ
                    3. บทความเรื่อง ?มองคนจนหลายมิติ ปี 2564 ปัญหาที่ไม่ใช่แค่เรื่องเงินเท่านั้น? นิยามของความยากจนไม่ได้มีเพียงเรื่องตัวเงินอย่างเดียวแต่ยังรวมถึงการขาดแคลน ขัดสน หรือขาดโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็นต่อการดำรงชีพที่อาจส่งผลต่อปัญหาความยากจนหลายด้าน เช่น ด้านการศึกษา สุขภาพ ความเป็นอยู่ และการไม่มีหลักประกันทางสังคมและไม่มีเงินออมที่เพียงพอ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาความยากจนหลายมิติในแต่ละมิติจะพบประเด็นปัญหาที่สำคัญ คือ มิติด้านการศึกษา พบว่ามีการออกนอกระบบการศึกษาเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มเด็กที่ไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ มิติด้านการใช้ชีวิตในแบบที่ดีต่อสุขภาพ พบว่าการเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดยังจำกัดอยู่ในบางพื้นที่ที่มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีและมีปัญหาทุพโภชนาการในครัวเรือนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี มิติด้านความเป็นอยู่ พบว่าคนจนหลายมิติกว่า 2.8 ล้านคน ไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้เนื่องจากสัญญาณอินเทอร์เน็ตยังไม่ครอบคลุมและ           มีข้อจำกัดในด้านค่าใช้จ่าย มิติด้านความมั่นคงทางการเงิน พบการไม่มีหลักประกันของแรงงาน และการมีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย ซึ่งกระทบต่อการออมและอาจส่งผลให้มีหนี้สินเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงควรมีแนวทางแก้ปัญหาความยากจน ดังนี้ (1) พัฒนาระบบข้อมูลระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ให้มีการบูรณาการร่วมกันและครอบคลุมประชากรทุกคนเพื่อใช้เป็นเครื่องมือและการชี้ทิศทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชุมชน และ (2) จัดทำมาตรการในรูปแบบชุดของนโยบาย (Policy package) เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาความยากจนโดยเฉพาะความยากจนหลายมิติที่มีปัญหาที่หลากหลายได้อย่างครอบคลุม
* บัญชีม้า หมายถึง บัญชีฝากธนาคารของบุคคลอื่นซึ่งถูกมิจฉาชีพผู้กระทำผิดนำมาใช้เป็นช่องทางในการรับเงินและถ่ายโอนเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิด เพื่อป้องกันไม่ให้มีพยานหลักฐานเชื่อมโยงมาถึงตัว

10. เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอรายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด (ก.ธ.จ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (เป็นการดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด พ.ศ. 2552 ข้อ 31 ที่กำหนดให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของ ก.ธ.จ. ในภาพรวมเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ภายในเดือนธันวาคมของทุกปีแล้วเผยแพร่ต่อสาธารณะ) โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีผลการปฏิบัติงานของ ก.ธ.จ.        สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ผลการดำเนินการของ ก.ธ.จ.
                       1.1 ก.ธ.จ. ทั้ง 76 คณะ/จังหวัด* ได้มีการประชุมเพื่อติดตามสอดส่องการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐในจังหวัดให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี จำนวน 253 ครั้ง โดยมีผลการสอดส่องและข้อเสนอแนะของ ก.ธ.จ. สรุปได้ ดังนี้
การสอดส่อง
ของ ก.ธ.จ.          จำนวนแผนงาน/โครงการ/เรื่อง
ที่ ก.ธ.จ. สอดส่อง (เรื่อง)          จำนวนแผนงาน/โครงการ/เรื่อง
ที่ไม่เป็นไปตาม
หลักการบริหาร
กิจการบ้านเมืองที่ดี (เรื่อง)          จำนวน
ข้อเสนอแนะของ
ก.ธ.จ.
(ข้อ)          จำนวน
ข้อเสนอแนะ
ที่จังหวัดรับไปดำเนินการแล้ว
(ข้อ)
(1) แผนงาน/โครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด          962          298          445          145
(2) แผนงาน/โครงการของส่วนราชการในจังหวัด          101          39          65          29
(3) แผนงาน/โครงการของหน่วยงานของรัฐอื่น ๆ          1,193          246          346          186
(4) เรื่องร้องเรียน          64          48          64          51
รวม          2,320          631          920          411
ทั้งนี้ จำนวนเรื่องที่ ก.ธ.จ. สอดส่อง มีจำนวนทั้งสิ้น 2,320 เรื่อง โดย ก.ธ.จ. มีมติเป็นข้อเสนอแนะ จำนวน 920 ข้อ และจังหวัด/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะไปดำเนินการแล้ว จำนวน 411 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 44.67 ซึ่ง ก.ธ.จ.    จะได้ติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะในส่วนที่เหลือต่อไป และในส่วนแผนงาน/โครงการ/เรื่องที่ไม่เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีนั้น โครงการส่วนใหญ่มีปัญหา เช่น ล่าช้ากว่าแผนงาน และไม่ตรงกับความต้องการของประชาชน จึงไม่เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด พ.ศ. 2552 เช่น ข้อ 23 (2) ที่กำหนดให้ ก.ธ.จ. ปฏิบัติภารกิจเพื่ออำนวยความสะดวก ให้บริการ และสนองความต้องการของประชาชน และข้อ 23 (4) ที่กำหนดให้ ก.ธ.จ. ปฏิบัติภารกิจให้เกิดผลสัมฤทธิ์มีประสิทธิภาพ และมีความคุ้มค่า ทั้งนี้ ก.ธ.จ. ได้มีข้อเสนอแนะต่อปัญหาดังกล่าว เช่น ให้จัดลำดับความสำคัญของการดำเนินกิจกรรมก่อน-หลังในโครงการให้เหมาะสมและสอดคล้องกับช่วงเวลา สถานการณ์       และสภาพพื้นที่ เพื่อให้การดำเนินโครงการต่าง ๆ เป็นไปตามแผนที่กำหนด และควรมีหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพหลักเข้ามาบริหารจัดการพื้นที่ให้เป็นระบบและเกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งควรมีการรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วนทั้งภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนด้วย
                        1.2 เรื่องที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนมากที่สุด คือ ด้านสาธารณูปโภค จำนวน 1,577 เรื่อง     คิดเป็นร้อยละ 67.97 (เช่น โครงการติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างจังหวัดชัยนาท จำนวน 5 งาน พบว่า ยังไม่มีการจัดทำอัตลักษณ์หรือสัญลักษณ์บนเสาไฟฟ้า ทั้งนี้ ก.ธ.จ. ชัยนาทพิจารณาแล้วมีมติให้แขวงทางหลวงชัยนาทจัดทำอัตลักษณ์ สัญลักษณ์บนเสาไฟฟ้าทุกต้นเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา ซึ่งแขวงทางหลวงชัยนาทได้ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องเรียบร้อยแล้ว) และรองลงมา คือ ด้านเศรษฐกิจ จำนวน 359 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 15.47              (เช่น โครงการพัฒนาศักยภาพการค้าและ  การลงทุน ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม พบว่า        มีปัญหาการใช้รถใช้ถนนอันเนื่องมาจากการจัดระบบจราจรของถนน เช่น ไม่มีการติดตั้งสัญญาณไฟจราจรในบางช่วงถนนที่เป็นทางแยกเข้าสถานที่ให้บริการประชาชน ซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ และบางช่วงถนนมีสัญญาณไฟจราจรถี่เกินไปทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด ทั้งนี้ ก.ธ.จ. นครปฐม พิจารณาแล้วมีมติให้ปรับปรุงการจัดระบบการจราจรในบางช่วงถนนให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ปริมาณการจราจร และจุดเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการจราจร รวมทั้งเข้มงวดกวดขันไม่ให้ประชาชนลักลอบการแก้ไขสิ่งกีดกั้นบนถนนเพื่อจัดระบบการจราจรที่หน่วยงานจัดวางไว้ ซึ่งแขวงทางหลวงชนบทนครปฐมจะดำเนินการตรวจสอบปริมาณการจราจร บริเวณแยกดังกล่าว เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการเสนอของบประมาณสำหรับติดตั้งไฟสัญญาณจราจร ส่วนปัญหาการจราจรติดขัดสามารถแก้ไขได้โดยการปรับระยะเวลาสัญญาให้เหมาะสมกับปริมาณรถ) สรุปได้ ดังนี้
                    2. ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญและแนวทางการแก้ไขของ ก.ธ.จ. เช่น
ปัญหาอุปสรรค/ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ          แนวทางการแก้ไข
2.1 การปฏิบัติหน้าที่ของ ก.ธ.จ. เช่น
การเสนอเรื่องเข้าที่ประชุม ก.ธ.จ. กรณีการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐในจังหวัด (เรื่องร้องเรียน) ควรจะมีการตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องก่อนนำเสนอเข้าที่ประชุม ก.ธ.จ. และควรมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเรื่องดังกล่าวก่อนจะมีมติเป็นข้อเสนอแนะหรือส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป          สปน. ได้กำหนดมาตรฐานกลางในการปฏิบัติงานของ ก.ธ.จ. กรณีการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน              (เรื่องร้องเรียน) โดยการรับเรื่องร้องเรียนไว้พิจารณาดำเนินการ    ควรเป็นเรื่องที่เข้าลักษณะหรือเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เช่น     เป็นเรื่องที่ได้จัดทำคำร้องเป็นลายลักษณ์อักษร หรือหนังสือร้องเรียนหรือมีการบันทึกปากคำข้อร้องเรียนไว้ และเป็นการร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไม่เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือกรณีทุจริตของเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ ในการพิจารณารับเรื่องร้องเรียนให้อยู่ในดุลยพินิจของที่ประชุม  ก.ธ.จ.  และหากพิจารณาแล้วเห็นว่าเรื่องร้องเรียนยังมีข้อมูลไม่ครบถ้วนสมบูรณ์จะดำเนินการประสานหาข้อเท็จจริงในพื้นที่เพิ่มเติมก่อนนำเข้าที่ประชุม ก.ธ.จ. ต่อไป
2.2 การขอรับการสนับสนุนงบประมาณ เช่น
ก.ธ.จ. ควรได้รับสิทธิและสวัสดิการต่าง ๆ เช่น การประกันชีวิต การรักษาพยาบาล เนื่องจากกรรมการ ก.ธ.จ. หลายท่านไม่มีสวัสดิการในการรักษาพยาบาล หรือการประกันชีวิตซึ่งในการออกปฏิบัติหน้าที่สอดส่องในพื้นที่อาจประสบอุบัติเหตุหรือเกิดปัญหาสุขภาพ          สปน. แจ้งว่ากรณีสวัสดิการรักษาพยาบาลจะเป็นไปตามสิทธิของกรรมการแต่ละคนตามที่กฎหมายกำหนด เช่น สิทธิผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ สิทธิบัตรทอง สิทธิประกันสังคม หรือเป็นสวัสดิการของบริษัทที่ทำงานอยู่ ซึ่งกรรมการ ก.ธ.จ. เป็นบุคคลที่มาจากภาคประชาชนที่ไม่ใช่ข้าราชการ จึงไม่สามารถสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นสวัสดิการในการเบิกค่ารักษาพยาบาลให้แก่กรรมการได้ ประกอบกับการจัดให้มีสวัสดิการดังกล่าวให้กับคณะกรรมการที่มีอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 1,083 คน นั้น          จะต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก ซึ่งงบประมาณ ที่ สปน.         ได้รับการจัดสรรเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานของ ก.ธ.จ. ในแต่ละปี มีไม่เพียงพอที่จะดำเนินการในเรื่องดังกล่าว
2.3 การจัดสัมมนา ฝึกอบรม และการประชาสัมพันธ์
สปน. ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงการปฏิบัติงานร่วมกันในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบในส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ (MOU) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ซึ่งปัจจุบัน บทบาทและอำนาจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปจึงควรที่จะมีการจัดสัมมนาหรือจัดฝึกอบรมให้กับ ก.ธ.จ. เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในบทบาทอำนาจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานและรับทราบแนวทางปฏิบัติงานร่วมกัน ซึ่งจะส่งผลให้การปฏิบัติงานของ ก.ธ.จ. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ          สปน. ได้จัดทำโครงการอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ ก.ธ.จ. เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่ร่วมลงนามใน MOU ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีการจัดการฝึกอบรม จำนวน 4 ครั้ง เพื่อให้ ก.ธ.จ. และส่วนที่เกี่ยวข้องได้รับทราบเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติงานร่วมกันในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบในส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ จากหน่วยงานที่ร่วมลงนามใน MOU          เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับบทบาท อำนาจหน้าที่ของ       ก.ธ.จ. กับหน่วยงานดังกล่าวให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น
                    3. แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานของ ก.ธ.จ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เช่น
                        3.1 ให้ ก.ธ.จ. สอดส่องและเสนอแนะการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่รัฐในจังหวัดโดยให้ใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยสอดส่องแผนงาน/โครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด แผนงาน/โครงการของส่วนราชการในจังหวัด และการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐในจังหวัด รวมทั้งสอดส่องแผนงาน/โครงการที่เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลให้มากยิ่งขึ้น
                        3.2 ให้ ก.ธ.จ. มีส่วนร่วมตรวจสอบความถูกต้องในการดำเนินโครงการและการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค กรณีที่รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเห็นสมควรให้มีการตรวจสอบความถูกต้องในการดำเนินโครงการ และการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐให้    ก.ธ.จ. มีส่วนร่วมในการแสวงหาข้อเท็จจริงหรือเอกสารหลักฐานต่าง ๆ แล้วนำเสนอที่ประชุม ก.ธ.จ. เพื่อมีมติให้เสนอรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีโดยเร็ว
                        3.3 ให้ ก.ธ.จ. มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบในส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่าง ก.ธ.จ. และหน่วยงาน 4 หน่วยงาน ที่ร่วมลงนามใน MOU ได้แก่ สำนักงาน ป.ป.ช. สตง. สำนักงาน ป.ป.ท. และ DSI โดยร่วมลงพื้นที่สอดส่องแผนงาน/โครงการ รวมทั้งการส่งเรื่องที่พบว่ากระทำการทุจริตประพฤติมิชอบหรือไม่โปร่งใสให้หน่วยงานข้างต้นดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
                        3.4 การส่งเสริมและสนับสนุนให้ ก.ธ.จ. มีส่วนร่วมตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยขอให้ ก.ธ.จ. ได้เข้าร่วมดำเนินงานกิจกรรมตามแนวทางการปฏิบัติงานร่วมกันในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตของสำนักงาน ป.ป.ช. และ ก.ธ.จ. ที่ได้กำหนดแนวทางให้สอดรับกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการผลักดันการดำเนินงานตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบจังหวัด ซึ่งมีผู้แทนคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด เป็นกรรมการอยู่ในทุกจังหวัดด้วย
* ก.ธ.จ. ประกอบด้วย ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ผู้แทนภาคประชาสังคม ผู้แทนสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้แทนภาคธุรกิจเอกชนในจังหวัดเป็นกรรมการ และข้าราชการ สปน. เป็นเลขานุการ โดยมีอำนาจหน้าที่ เช่น สอดส่องการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐในจังหวัดให้ใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีรวมทั้งเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติ            และการส่งเสริมตามหลักคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานของรัฐในจังหวัด

11. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (ฉบับที่ 4)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (ฉบับที่ 4) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สธ. รายงานว่า
                    1. คณะอนุกรรมการพัฒนาการดำเนินการตามนโยบาย ?เจ็บป่วย ฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่? (Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP) ครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2565 มีมติเห็นชอบ (ร่าง) บัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายที่แนบท้ายหลักเกณฑ์ UCEP ซึ่งปรับปรุงแก้ไขการจัดทำรายการยา อัตราค่ายาในหมวดที่ 3 ค่ายาและสารอาหารทางเส้นเลือด และค่าธรรมเนียมแพทย์ ในหมวดที่ 12 ค่าบริการวิชาชีพ
                    2. การปรับปรุงแก้ไขบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายที่แนบท้ายหลักเกณฑ์ UCEP ที่ สธ. เสนอในครั้งนี้มีรายละเอียดสรุปได้ (ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป) ดังนี้
                              2.1 การจัดทำรายการยา (หมวดที่ 3 ค่ายาและสารอาหารทางเส้นเลือด)
                              การปรับรายการยาในบัญชีแนบท้ายหลักเกณฑ์ UCP จำนวน 3,138 รายการ จากเดิม กำหนดตามชื่อการค้า (Trade name) ของยา ทั้งหมด (3,138 รายการ) ปรับเป็น ดังนี้
ประเภทยา          จำนวน          การกำหนดชื่อยา
ยาต้นแบบ (Original drug)          227 รายการ          ใช้ระบุทั้ง 2 ชื่อ ได้แก่
(1) ชื่อสามัญทางยา (Generic name)
(2) ชื่อการค้า (Trade name)
ยาสามัญ1 (Generic drug)          1,060 รายการ          ใช้เฉพาะชื่อสามัญทางยา (Generic name)
รวมทั้งสิ้น          1,287 รายการ
เพื่อลดปัญหาของการเบิกจ่าย เนื่องจากการใช้ชื่อทางการค้าจะทำให้ยาที่มีตัวยาสามัญชนิดเดียวกันแต่ต่างยี่ห้อหรือไม่อยู่ในบัญชีแนบท้ายของหลักเกณฑ์ UCEP จะไม่สามารถเบิกจ่ายได้ ทั้งนี้ ภายหลังจากการปรับชื่อรายการยา คงเหลือจำนวนทั้งสิ้น 1,287 รายการ ได้มีการปรับอัตราค่ายาดังกล่าวเพื่อให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายในปัจจุบันด้วย โดยคำนวณจากค่ามัธยฐานของราคาจัดซื้อยาของภาคเอกชน (ข้อมูลจากกรมการค้าภายใน) และราคาจัดซื้อยาของโรงพยาบาลภาครัฐ
                              2.2 การปรับค่าธรรมเนียมแพทย์2 (หมวดที่ 12 ค่าบริการวิชาชีพ)
                              ค่าปรับค่าธรรมเนียมแพทย์ ในครั้งนี้เป็นการปรับอัตราค่าบริการทางการแพทย์ (ค่าตรวจวินิจฉัยและทำหัตถการโดยแพทย์) เพื่อให้เป็นไปตามคู่มือแนวทางการกำหนดค่าธรรมเนียมการแพทย์ พ.ศ. 2563 ของแพทยสภา ซึ่งปรับปรุงมาจากคู่มือแนวทางการกำหนดค่าธรรมเนียมการแพทย์ พ.ศ. 2549 โดยปรับเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 303 ดังนี้
                                        2.2.1 ภาพรวม
ค่าธรรมเนียมเดิม
อัตราปี พ.ศ. 2549 (บาท)          ค่าธรรมเนียมที่ปรับใหม่
อัตราปี พ.ศ. 2563 (บาท)          เพิ่มขึ้น
(ร้อยละ)
225,266,743.33          294,677,120          30.81
                                        2.2.2 แยกเป็นรายการ เช่น
รายการ          ค่าธรรมเนียมเดิม
(บาท)          ค่าธรรมเนียมที่ปรับใหม่ (บาท)          เพิ่มขึ้น
(ร้อยละ)
(1) Suture of laceration or wound od scalp
การเย็บแผลฉีกขาดหรือบาดแผลของหนังศีรษะ          6,000          9,000          33.34
(2) Repair of aneurysm of cerebral artery
การซ่อมแซมหลอดเลือดแดงโป่งพองในสมอง          60,000          90,000          33.34
(3) Endotracheal intubation
การใส่ท่อช่วยหายใจ          1,500          2,250          33.34
(4) Non-operative removal of foreign body from esophagus
การกำจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากหลอดอาหารโดยไม่ต้องผ่าตัด          5,000          7,500          33.34
(5) Ultrasonography of whole abdomen
อัลตราซาวนด์ของช่องท้องทั้งหมด          800          920          13.04
(6) Repair of sympathetic nerve or ganglion
การซ่อมแซมเส้นประสาทซิมพาเทติกหรือปมประสาท          22,000          33,000          33.34
ยกเว้นบางรายการที่อาจตัดออกหรือเพิ่มใหม่ เนื่องจากมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น เช่น มีการระบุตำแหน่งซึ่งรหัสเดิมของค่าธรรมเนียมแพทย์เมื่อปี 2549 บางรหัสไม่ได้ระบุตำแหน่งของการเจ็บป่วย ทำให้ไม่สามารถหารหัสมาทดแทนได้
1 ยาชื่อสามัญ (Generic name) 1 ชนิด สามารถมีชื่อทางการค้า (Trade name) ได้หลายชื่อ เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol) เป็นชื่อสามัญของยาแก้ปวด ลดไข้ ซึ่งมีชื่อทางการค้าหลายชื่อ เช่น SARA (ไทยนครพัฒนา) CEMOL (ฟาร์มาสันต์แล็บบอราตอรี่ส์) PARA GPO (องค์การเภสัชกรรม) และ PARACAP (มาซา แลบ)
2 ค่าธรรมเนียมแพทย์ เป็นค่าบริการที่โรงพยาบาลเอกชนกำหนดให้มีการเรียกเก็บเมื่อมีการรักษาพยาบาล ซึ่งเมื่อมีการจัดทำบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ UCEP กลุ่มโรงพยาบาลเอกชนจึงได้เสนอให้เพิ่มรายการค่าธรรมเนียมแพทย์นี้เข้าไปในบัญชีดังกล่าว โดยจัดอยู่ในหมวดที่ 12 ค่าบริการวิชาชีพ โดยอ้างอิงอัตราจากคู่มือแนวทางการกำหนดค่าธรรมเนียมแพทย์
3 ค่าธรรมเนียมแพทย์ (ค่าบริการวิชาชีพ) คิดเป็นร้อยละ 45 ของค่าบริการผู้ป่วย UCEP ทั้งหมด (ค่าบริการผู้ป่วย UCEP เช่น    ค่าห้องและค่าอาหาร ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา ค่าทำหัตถการ และค่าบริการวิชาชีพ) ดังนั้น การปรับเพิ่มขึ้นของค่าธรรมเนียมแพทย์ตามที่ สธ. เสนอในครั้งนี้ จะส่งผลให้ค่าบริการผู้ป่วย UCEP ในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5

12. เรื่อง ขออนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหาเครื่องสูบน้ำแบบเคลื่อนที่เร็วขับเคลื่อนด้วยระบบไฮดรอลิค
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 395.50 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหาเครื่องสูบน้ำแบบเคลื่อนที่เร็วขับด้วยระบบไฮดรอลิค รวม 2 รายการ จำนวน 25 เครื่อง ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กษ. รายงานว่า
                    1. ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งรุนแรงมากขึ้น ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก ซึ่งที่ผ่านมา กษ. โดยกรมชลประทานที่มีภารกิจหลักในการบริหารจัดการน้ำได้มีความพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาโดยตลอด โดยเฉพาะการเตรียมการก่อนเกิดเหตุภัยแล้งและอุทกภัย รวมถึงการเผชิญเหตุและฟื้นฟูหลังเกิดเหตุ ซึ่ง กษ. โดยกรมชลประทานมีความจำเป็นต้องมีเครื่องจักรเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับปฏิบัติภารกิจดังกล่าว อย่างไรก็ดี เครื่องจักรเครื่องมือที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะเครื่องจักรที่ใช้ในการสูบน้ำมีสภาพเก่ามากเกือบทั้งหมดและใช้เทคโนโลยีดั้งเดิม ถึงแม้ว่า กษ. โดยกรมชลประทานจะมีการดำเนินการซ่อมใหญ่เพื่อเป็นตัวช่วยในการยืดอายุการใช้งานและฟื้นฟูประสิทธิภาพได้เพียงส่วนหนึ่ง รวมทั้งเมื่อเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีปัจจุบันนั้นมีความแตกต่างกันมากทั้งในด้านประสิทธิภาพ คุณภาพงาน และความคุ้มค่าด้านต้นทุนและผลผลิต นอกจากนี้ เครื่องจักรกลที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอต่อความจำเป็นในการใช้งานในกรณีเร่งด่วนและการเผชิญเหตุอุทกภัยและภัยแล้ง กษ. จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการจัดหาเครื่องสูบน้ำแบบเคลื่อนที่เร็วด้วยระบบไฮดรอลิคที่มีสมรรถนะสูงและเพียงพอต่อความจำเป็นในการใช้งานเพื่อเตรียมความพร้อมในปฏิบัติภารกิจของกรมชลประทานทั้งในด้านการบริหารจัดการน้ำการแก้ไขและบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ สรุปได้ ดังนี้


                              1.1 วัตถุประสงค์
                                        1.1.1 เพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำและสนับสนุนการป้องกันบรรเทาและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ อุทกภัย ภัยแล้ง หรือภัยอื่น ๆ อันเกิดจากน้ำ
                                        1.1.2 เพื่อให้มีเครื่องสูบน้ำที่เพียงพอพร้อมปฏิบัติงานตามภารกิจของกรมชลประทาน
                              1.2 แผนงานโครงการ กรมชลประทานขอใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 395.50 ล้านบาท
ลำดับ          ประเภทรายการ
เครื่องสูบน้ำแบบเคลื่อนที่เร็วขับด้วยระบบไฮดรอลิค          จำนวน
(เครื่อง)          งบประมาณ
(ล้านบาท)
1.          ขนาด 30 นิ้ว          15          176.70
2.          ขนาด 42 นิ้ว          10          218.80
รวมทั้งสิ้น          25          395.50
                              1.3 ผลลัพธ์ของโครงการ กรมชลประทานมีเครื่องจักรกลสูบน้ำที่มีสมรรถนะสูงและมีคุณลักษณะเฉพาะตรงกับความจำเป็นในการใช้งาน เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในภารกิจของกรมชลประทานทั้งในด้านบริหารจัดการน้ำ การเผชิญเหตุอุทกภัย ภัยแล้ง การเพิ่มพื้นที่ชลประทานตลอดจนการสนับสนุนนโยบายรัฐบาล
                    2. กษ. โดยกรมชลประทานได้ขอให้สำนักงบประมาณ (สงป.) พิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหาเครื่องจักรกลดังกล่าว ซึ่ง สงป. แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้กรมชลประทานจัดหาเครื่องจักรกลประเภทเครื่องสูบน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำและการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง รวม 2 รายการ จำนวน 25 เครื่อง โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566      งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 395.50 ล้านบาท และเห็นควรให้กรมชลประทานจัดทำแผนการบริหารจัดการเครื่องจักรกลประเภทเครื่องสูบน้ำให้เกิดประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์

13. เรื่อง ขออนุมัติดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำกิ จังหวัดน่าน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทานดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำกิ จังหวัดน่าน (โครงการฯ) มีกำหนดแผนงานโครงการ 7 ปี (ปีงบประมาณ 2567 - 2573) กรอบวงเงินงบประมาณโครงการทั้งสิ้น 6,200 ล้านบาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กษ. รายงานว่า
                    1. จังหวัดน่านมีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงและมีปริมาณฝนตกในพื้นที่อยู่ในเกณฑ์สูง         จึงเกิดปัญหาน้ำป่าไหลหลากในฤดูฝนเป็นประจำทุกปี แต่เนื่องจากไม่มีแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้จึงประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ในปี 2555 องค์การบริหารส่วนตำบลผาทองจึงขอรับการสนับสนุนโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำกิพร้อมระบบส่งน้ำจากกรมชลประทาน กษ. ซึ่งกรมชลประทานได้เข้าตรวจสอบพื้นที่โครงการดังกล่าวและเห็นว่าสามารถพัฒนาโครงการเป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในลุ่นน้ำน่านตอนบนได้
                    2. โครงการอ่างเก็บน้ำน้ำกิ จังหวัดน่าน มีรายละเอียดดังนี้
ประเด็น          รายละเอียด
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ          เป็นแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูกและอุปโภคบริโภคของประชาชนในฤดูแล้ง ตลอดจนช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยในฤดูฝน รวมถึงสามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวและขยายพันธุ์ปลาน้ำจืดได้
องค์ประกอบโครงการฯ          1. เขื่อนชนิดหินถมแกนดินเหนียว ความจุ 52.31 ล้านลูกบาศก์เมตร ความยาวเขื่อน 845 เมตร ความสูงเขื่อน 81.5 เมตร ความกว้างสันเขื่อน 12 เมตร พร้อมอาคารประกอบ (เช่น อาคารส่งน้ำ อาคารทางระบายน้ำล้น)
2. ระบบชลประทานแบบท่อส่งน้ำและคลองส่งน้ำดาดคอนกรีตยาว ความยาวรวม 88.133 กิโลเมตร
ที่ตั้งโครงการฯ          1. เขื่อนหัวงานและอ่างเก็บน้ำของโครงการฯ
          ตั้งอยู่ในบริเวณบ้านวังผา หมู่ที่ 2 ตำบลผาทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติน้ำยาวและป่าน้ำสวด จำนวน 1,733 ไร่ 84 ตารางวา [คณะกรรมการพิจารณาการใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ (ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธานกรรมการ) เห็นชอบให้กรมชลประทานใช้พื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 รวมถึงกรมป่าไม้ได้ออกประกาศกรมป่าไม้ เรื่อง กำหนดบริเวณพื้นที่ให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐเข้าใช้ประโยชน์ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ฉบับที่ 44/2565 ประกาศ ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2565 ซึ่งกำหนดให้กรมชลประทานสามารถใช้พื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำยาวและป่าน้ำสวดเพื่อดำเนินโครงการฯ แล้ว]
2. พื้นที่ชลประทาน
          โครงการฯ สามารถส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทาน 35,558 ไร่ (พื้นที่ชลประทานเดิม 19,558 ไร่ และพื้นที่ชลประทานเปิดใหม่ 16,000 ไร่) ครอบคลุมพื้นที่ 8 ตำบล ได้แก่ ตำบลผาทอง ตำบลผาตอ ตำบลป่าคา ตำบลแสงทอง ตำบลศรีภูมิ ตำบลริม ตำบลตาลชุม และเทศบาลตำบลท่าวังผา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน มีครัวเรือนที่ได้รับประโยชน์ 6,305 ครัวเรือน)
ระยะเวลา
ดำเนินโครงการ          7 ปี (ปีงบประมาณ 2567 - 2573)
แผนปฏิบัติการ          ภายหลังคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการฯ กษ. มีแผนการดำเนินการ ดังนี้
1. ระยะเวลา 3 เดือน : ดำเนินการตรวจสอบบัญชีค่ารื้อย้ายทรัพย์สิน1 เพื่อการชลประทานบริเวณที่จะก่อสร้างโครงการทั้งหมด
2. ระยะเวลา 6 เดือน : จ่ายค่ารื้อย้ายทรัพย์สินบริเวณที่ดินและเตรียมความพร้อมในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
3. ระยะเวลา 9 - 12 เดือน : ดำเนินการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำกิ จังหวัดน่าน
สถานภาพโครงการฯ          1. การออกแบบโครงการฯ
          เขื่อนหัวงานออกแบบแล้วเสร็จเมื่อปี 2561 ในส่วนระบบส่งน้ำคาดว่าจะสำรวจและออกแบบแล้วเสร็จในปี 2566
2. การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่
          กรมชลประทานได้จัดทำเวทีประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่โครงการฯ จำนวน 11 ครั้ง ระหว่างปี 2558 - 2559 ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยและต้องการให้ดำเนินการโดยเร็ว
3. รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
          จัดทำรายงาน EIA แล้วเสร็จเมื่อเดือนกรกฎาคม 2560 และคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการพัฒนาแหล่งน้ำได้เห็นชอบรายงาน EIA ของโครงการฯ แล้วเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564 ทั้งนี้ กษ. ได้จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIMP)2            (แผน EIMP) ด้วยแล้ว ซึ่งประกอบด้วย (1) แผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม มีกิจกรรมที่สำคัญ เช่น การปลูกป่าทดแทน การผลักดันสัตว์ป่าออกจากพื้นที่ การส่งเสริมอาชีพประชาชนในพื้นที่ เป็นต้น และ (2) แผนปฏิบัติการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม มีกิจกรรมที่สำคัญ เช่น การตรวจสอบคุณภาพน้ำผิวดิน - ใต้ดิน                          การตรวจสอบทรัพยากรสัตว์ป่า การติดตามควบคุมและเฝ้าระวังด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม  เป็นต้น ทั้งนี้ การดำเนินการตามแผน EIMP จะใช้การบูรณาการจากหลายหน่วยงาน เช่น              กรมชลประทาน กรมป่าไม้ กรมอนามัย เป็นต้น
การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์          วิเคราะห์ ณ อัตราคิดลดร้อยละ 8 ดังนี้
1. มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) 369.79 ล้านบาท
2. อัตราผลประโยชน์ต่อค่าลงทุน (B/C Ratio) 1.08
3. อัตราผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ (EIRR) ร้อยละ 8.53
งบประมาณ          ใช้งบลงทุนรวม 6,200 ล้านบาท ประกอบด้วย
1. ค่าชดเชยที่ดิน3 228.6526 ล้านบาท
2. ค่าสิ่งก่อสร้าง 5,971.3474 ล้านบาท ประกอบด้วย
     2.1 ค่าก่อสร้างแหล่งน้ำ (เขื่อนหัวงาน ระบบท่อส่งน้ำ และอาคารประกอบ) 5,550.0669 ล้านบาท
     2.2 ค่าปรับปรุงสิ่งก่อสร้าง (บูรณะสิ่งก่อสร้างและถนน) 5.33 ล้านบาท
     2.3 ค่าก่อสร้างส่วนประกอบอื่น (เช่น ถนนเข้าหัวงาน อาคารสำนักงานของโครงการฯ   ในพื้นที่ เป็นต้น) 225.8405 ล้านบาท
     2.4 ค่าสำรวจออกแบบ 4.5 ล้านบาท
     2.5 งบประมาณตามแผน EIMP 185.61 ล้านบาท
                    3. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) พิจารณาแล้วเห็นชอบให้ กษ. ดำเนินโครงการฯ แล้ว และให้ผู้ขออนุญาตปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด และปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 กรณีการดำเนินโครงการใด ๆ ของหน่วยงานรัฐที่มีความจำเป็นต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่า และจะต้องมีการปลูกป่าทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่ ให้พิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าทดแทนให้กับหน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการหรือหน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้ดำเนินการปลูกป่าตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกำหนด โดยถือเป็นค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งของโครงการนั้น ๆ ด้วย (กษ. ตั้งงบประมาณในการปลูกป่าทดแทนไว้แล้วในแผน EIMP จำนวน 56.68 ล้านบาท โดยให้กรมป่าไม้เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ)
                    4. คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ในการประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 30 มิถุนยายน 2565 มีมติเห็นชอบในหลักการให้กรมชลประทานดำเนินโครงการฯ แล้ว
1 กษ. แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมอย่างไม่เป็นทางการว่า พื้นที่ของโครงการฯ อาจกระทบถนน ท่อส่งน้ำ หรือระบบสาธารณูปโภคอื่น ๆ บางส่วนในพื้นที่ กษ. จึงตั้งงบประมาณให้ครอบคลุมกรณีดังกล่าวไว้
2 แผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIMP) คือแผนที่กำหนดการดำเนินงานแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามรายงาน EIA รวมถึงกำหนดการติดตามการดำเนินงานแก้ไขดังกล่าว
3 กษ. แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมอย่างไม่เป็นทางการว่า การชดเชยดังกล่าวเป็นไปตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่            11 กรกฎาคม 2532 โดยรัฐจะจ่ายค่าขนย้ายทรัพย์สินแก่ประชาชนที่เข้าไปครอบครองหรือใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่มีเอกสารสิทธิ ซึ่งสำหรับกรณีโครงการฯ มีประชาชนบางส่วนเข้าไปใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติน้ำยาวและป่าน้ำสวดเพื่อปลูกไร่ข้าวโพดหรือทำสวนยางพารา เป็นต้น

14. เรื่อง  (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570)
(แผนแม่บทแร่ ฉบับที่ 2) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป และให้ขยายการบังคับใช้แผนแม่บทแร่ ฉบับที่ 1 จากวันที่ 31 ธันวาคม 2565 เป็นวันที่ 16 มกราคม 2566
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) (แผนแม่บทแร่ ฉบับที่ 2) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแร่ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) (ยุทธศาสตร์แร่) ต่อจาก    แผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ พ.ศ. 2560-2564 (แผนแม่บทแร่ ฉบับที่ 1) ที่สิ้นสุดในปี 2565  และมีเป้าหมาย     เพื่อสร้างบัญชีทรัพยากรแร่ที่สมบูรณ์เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดนโยบายรวมทั้งเพื่อพัฒนากลไกการกำกับ ดูแล และอำนวยความสะดวกเกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากแร่ เช่น ระบบการอนุมัติอนุญาตเกี่ยวกับกิจกรรมเหมืองแร่ ตลอดจนมุ่งสร้างความรู้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริหารจัดการแร่ของประเทศต่อประชาชน     โดยร่างแผนแม่บทแร่ ฉบับที่ 2 ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาไว้ 4 ด้าน 10 เป้าประสงค์ 18 ตัวชี้วัด 29 กิจกรรมหลัก และมีหน่วยงานขับเคลื่อนประมาณ 35 หน่วยงาน ซึ่งคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ (คนร.)
และสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เห็นชอบร่างแผนแม่บทแร่ ฉบับที่ 2  เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ ร่างแผนแม่บทเร่ ฉบับที่ 2 มีสาระสำคัญใกล้เคียงกับแผนแม่บทแร่ ฉบับที่ 1 ทั้งประเด็นการจัดทำบัญชีทรัพยากรแร่     การสำรวจพื้นที่ศักยภาพแร่ การพัฒนากลไกกำกับ ดูแล อนุมัติ อนุญาตต่าง ๆ การจัดทำระบบข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องตลอดจนการส่งเสริมความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการต่าง ๆ เกี่ยวกับเหมืองแร่ ซึ่งเป็นการดำเนินการและกำหนดตัวชี้วัดที่ต่อเนื่องจากแผนแม่บทแร่ ฉบับที่ 1 โดยได้เพิ่มเติมรายละเอียด         และการต่อยอด หรือปรับปรุงเนื้อหาของแผนให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ส่วนเนื้อหาสำคัญที่มีการเพิ่มเติมจากแผนแม่บทแร่ ฉบับที่ 1 เช่น การดำเนินการเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนและ BCG ในการทำเหมือง การส่งเสริม      การลงทุนสำหรับการสำรวจแหล่งแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง สรุปดังนี้

ประเด็น          สาระสำคัญ
เหตุผลในการปรับปรุง
          แผนแม่บทแร่ ฉบับที่ 1          ร่างแผนแม่บทแร่
ฉบับที่ 2
การเพิ่มประเด็นใหม่
เศรษฐกิจหมุนเวียน          ไม่มีเนื้อหาในประเด็นดังกล่าว          กำหนดในเป้าประสงค์และตัวชี้วัดตามแนวทางการพัฒนาด้านที่ 3          เป็นไปตามแนวทาง
การพัฒนาของ
ยุทธศาสตร์แร่
การส่งเสริม
การลงทุนสำหรับ                   การสำรวจแหล่งแร่                 และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง          ไม่มีเนื้อหาในประเด็นดังกล่าว          กำหนดในกิจกรรมหลักของตัวชี้วัดที่ 3 จำนวนนโยบายบริหารจัดการแร่รายชนิดในแนวทางการพัฒนาด้านที่ 1           เพิ่มเนื้อหาตามมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2565
การเพิ่มเติมรายละเอียด
รายละเอียดของตัวชี้วัด          กำหนดเฉพาะตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน (เช่น เพิ่มขึ้น ลดลง)          กำหนดคำอธิบายตัวชี้วัดวิธีประเมินตัวชี้วัด  และค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดในแต่ละปีเป็นค่าร้อยละหรือจำนวน          นำปัญหาอุปสรรคจาก
การขับเคลื่อนแผนแม่บทแร่
ฉบับที่ 1 มาปรับปรุง
ให้แผนแม่บทแร่ ฉบับที่ 2
มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
กิจกรรมหลักและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง          กำหนดแนวทาง/มาตรการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับเป้าหมาย          กำหนดกิจกรรมหลักหน่วยงานขับเคลื่อนหลักและหน่วยงานสนับสนุนในระดับตัวชี้วัด          นำปัญหาอุปสรรคจาก
การขับเคลื่อนแผนแม่บทแร่
ฉบับที่ 1 มาปรับปรุง
ให้แผนแม่บทแร่ ฉบับที่ 2
มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
การต่อยอด หรือปรับปรุงเนื้อหา
วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)          ไม่มีเนื้อหาในประเด็นดังกล่าว          กำหนดตัวชี้วัดจากวิธี
ปฏิบัติที่เป็นเลิศ
(Best Practice)          เป็นการดำเนินการ
ต่อเนื่องจากกลไก
ที่เกิดขึ้นตามแผนแม่บทแร่
ฉบับที่ 1 เช่น กองทุน
เฝ้าระวังสุขภาพ
สำหรับโครงการเหมืองแร่
การกำหนดเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมือง          กำหนดในเป้าหมายของยุทธศาสตร์ที่ 1 การจำแนกเขตแหล่งแร่          ตัดออกจากตัวชี้วัด          มีการกำหนด
เขตแหล่งแร่
เพื่อการทำเหมือง
เรียบร้อยแล้ว

15. เรื่อง (ร่าง) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566 - 2580) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566 - 2580)             (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) (แผนแม่บทฯ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) และการมอบหมายหน่วยงานเจ้าภาพ1 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ         และคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติเสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สศช. ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ รายงานว่า
                    1. ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (วันที่ 10 พฤษภาคม 2565) เห็นชอบแนวทาง หลักการ      และการดำเนินการปรับแผนแม่บทฯ สศช. ได้จัดทำ (ร่าง) แผนแม่บทฯ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม2 และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น (ร่าง) แผนแม่บทฯ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมในระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 - 3 สิงหาคม 2565         ผ่านรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุง (ร่าง) แผนแม่บทฯ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ให้มีความครบถ้วน สมบูรณ์
                    2. (ร่าง) แผนแม่บทฯ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
                              (ร่าง) แผนแม่บทฯ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ยังคงมี 23 ประเด็นเดิม (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 12 มีนาคม 2562) โดยทั้ง 23 ประเด็น มีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน ได้แก่ (1) ประเด็นของแผนแม่บทฯ (Y2) ประกอบด้วย เป้าหมายระดับประเด็น ตัวชี้วัดของเป้าหมายระดับประเด็น และค่าเป้าหมายระดับประเด็น เพื่อใช้ติดตามประเมินผลการดำเนินงานในระดับผลลัพธ์ขั้นกลาง และ (2) แผนย่อยของแผนแม่บทฯ (Y1) ประกอบด้วยเป้าหมายแผนแม่บทย่อย ตัวชี้วัดของเป้าหมายแผนแม่บทย่อย ค่าเป้าหมายแผนแม่บทย่อย เพื่อใช้ติดตามประเมินผลการดำเนินงานในระดับผลลัพธ์ขั้นต้น รวมทั้งได้กำหนดแนวทางการพัฒนาในแต่ละแผนย่อยของแผนแม่บทฯ        เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายแผนแม่บทย่อย ทั้งนี้ (ร่าง) แผนแม่บทฯ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ได้ปรับรายการต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้
                              2.1.1 ปรับเป้าหมายแผนแม่บทย่อย (Y1) เพื่อให้เกิดความชัดเจนและมีความครอบคลุมกับประเด็นการพัฒนา รวมทั้งลดความซ้ำซ้อนกับเป้าหมายระดับประเด็นของแผนแม่บทฯ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการยุบรวม เพิ่มเติม หรือยกเลิกเป้าหมายแผนแม่บทย่อยฯ จำเป็นต้องมีการพิจารณามอบหมายหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนฯ โดยยึดหลักการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2562 ด้วย (ตามข้อ 3)
                              2.1.2 ปรับตัวชี้วัดทั้งในส่วนของประเด็นของแผนแม่บทฯ (Y2) และแผนย่อยของแผนแม่บทฯ (Y1) เพื่อให้สามารถสะท้อนเป้าหมายได้อย่างชัดเจน ครอบคลุม และเป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งมีตัวชี้วัดที่ทำหน้าที่ในการ ?ชี้? และ ?วัด? ความก้าวหน้าการดำเนินการตามเป้าหมายแผนแม่บทฯ
                              2.1.3 ปรับค่าเป้าหมายทั้งในส่วนของประเด็นของแผนแม่บทฯ (Y2) และแผนย่อยของแผนแม่บทฯ (Y1) เพื่อให้มีความท้าทายมากขึ้นและสอดคล้องกับบริบทของสถานการณ์ในปัจจุบันและปรับคำหรือกำหนดคำนิยามของค่าเป้าหมายให้มีความชัดเจน
                              2.1.4 ปรับแนวทางการพัฒนา เพื่อให้มีความครอบคลุม และสอดคล้องกับห่วงโซ่คุณค่าของประเทศไทย (Final Value Chain Thailand: FVCT)
รายการ          จำนวน
ตามเดิม          คงเดิม          ปรับเปลี่ยน/
ปรับถ้อยคำ          เพิ่มเติม          ยกเลิก          จำนวน
ใหม่
ประเด็นของแผนแม่บทฯ (Y2)
เป้าหมายระดับประเด็น          37          37          -          -          -          37
ตัวชี้วัดของเป้าหมายระดับประเด็น          39          23          14          4          2          41
ค่าเป้าหมายระดับประเด็น          39          18          19          4          2          41
แผนย่อย ของแผนแม่บทฯ (Y1)
เป้าหมายแผนแม่บทย่อย          140          125          9          6          6          140
ตัวชี้วัดของเป้าหมายแผนแม่บทย่อย          171          66          83          18          22          167
ค่าเป้าหมายแผนแม่บทย่อย          166          50          100          22          16          172
แนวทางการพัฒนา          376          279          84          28          13          391
                    3. การมอบหมายหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนฯ
                              สศช. ได้ดำเนินการทบทวนความเหมาะสมของหน่วยงานเจ้าภาพทั้ง 3 ระดับ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2562 ให้สอดคล้องกับการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมาย รวมทั้งการยุบรวมและการเพิ่มเติมเป้าหมาย เพื่อทำหน้าที่ประสานและบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยให้เกิดการถ่ายระดับเป้าหมายและประเด็นการพัฒนาของยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม สรุปได้ ดังนี้
ระดับ          สาระสำคัญ
หน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อน
ประเด็นแผนแม่บทฯ (จ.1)          - เปลี่ยนแปลง จำนวน 1 ประเด็นแผนแม่บทฯ ได้แก่ ประเด็น (04) อุตสาหกรรมบริการแห่งอนาคต จากเดิม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) และกระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เป็น อก.
หน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อน
เป้าหมายระดับประเด็นของแผนแม่บทฯ (จ.2)          - เปลี่ยนแปลง จำนวน 2 เป้าหมายระดับประเด็นของแผนแม่บทฯ ได้แก่ ประเด็น (04) อุตสาหกรรมบริการแห่งอนาคต รหัสเป้าหมาย 040001 (การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในสาขาอุตสาหกรรมและบริการ) และ 040002 (ผลิตภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการเพิ่มขึ้น) : จากเดิม อก. และ พณ. เป็น อก.
หน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อน
เป้าหมายแผนแม่บทย่อย
 (จ.3)          - เปลี่ยนแปลง จำนวน 1 เป้าหมายแผนแม่บทย่อย ได้แก่ ประเด็น (01) ความมั่นคง รหัสเป้าหมายแผนแม่บทย่อย 010103 (การเมืองมีเสถียรภาพและธรรมาภิบาลสูงขึ้น) : จากเดิม สศช. และ พณ. เป็น สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
- เพิ่มเติม จำนวน 6 เป้าหมายแผนแม่บทย่อย
(1) ประเด็น (04) อุตสาหกรรมบริการแห่งอนาคต รหัสเป้าหมายแผนแม่บทย่อย 040403 (ประเทศไทยเป็นหนึ่งในฐานการผลิตยานยนต์สมัยใหม่ที่สำคัญของโลก) : อก.
(2) ประเด็น (09) เขตเศรษฐกิจพิเศษ รหัสเป้าหมายแผนแม่บทย่อย 090204 (การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมของพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มขึ้น) และ 090205 (การลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มขึ้น) : สศช.
(3) ประเด็น (20) การบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ รหัสเป้าหมายแผนแม่บทย่อย 200202 (ภาษีที่จัดเก็บถูกนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ) : กระทรวงการคลัง และรหัสเป้าหมายแผนแม่บทย่อย 200203 (หน่วยงานของรัฐดำเนินการโครงการตามห่วงโซ่คุณค่าของประเทศไทยเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ) : สศช.
(4) ประเด็น (22) กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม รหัสเป้าหมายแผนแม่บทย่อย 220104 (การมีกฎหมายที่ดีและเท่าที่จำเป็น) : สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.)
          - ยกเลิก จำนวน 6 เป้าหมายระดับแผนแม่บทย่อย ได้แก่
(1) ประเด็น (04) อุตสาหกรรมบริการแห่งอนาคต รหัสเป้าหมายแผนแม่บทย่อย 040402 [ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตชิ้นส่วนอากาศยานสูงขึ้น (Tier)] : อก.
(2) ประเด็น (09) เขตเศรษฐกิจพิเศษ รหัสเป้าหมายแผนแม่บทย่อย 090201 (การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมของพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพิ่มขึ้น) 090202 (การลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพิ่มขึ้น) และ 090203 (เมืองในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ที่ได้รับการพัฒนาให้เป็นเมืองน่าอยู่มากขึ้น) : สศช. และรหัสเป้าหมายแผนแม่บทย่อย 090303 (เมืองในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่ได้รับการพัฒนาให้เป็นเมืองน่าอยู่มากขึ้น) : กระทรวงมหาดไทย
(3) ประเด็น (19) การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ รหัสเป้าหมายแผนแม่บทย่อย 190203 (ผลิตภาพจากการใช้น้ำเพิ่มขึ้น) : สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
                    4. แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินการในระยะถัดไป
                    สศช. ยึดหลักวงจรบริหารงานคุณภาพ (PDCA) เป็นกรอบแนวทางในการขับเคลื่อนการดำเนินการในระยะถัดไป เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการให้สามารถบรรลุผลสัมฤทธิ์ของเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ และผลลัพธ์ตามเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างเป็นรูปธรรม สรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ
4.1 การวางแผน (Plan)          สศช. ร่วมกับหน่วยงานเจ้าภาพสร้างความเข้าใจในการถ่ายระดับของแผนระดับที่ 1 และ 2 ไปสู่การปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ เพื่อการบรรลุเป้าหมายของแผนทั้งสองระดับ
4.2 การปฏิบัติ (Do)          (1) หน่วยงานของรัฐจัดทำแผนระดับที่ 3 หลักของหน่วยงาน ประกอบด้วย แผนปฏิบัติราชการ ราย 5 ปี และรายปี รวมทั้งโครงการ/การดำเนินงานต่าง ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564
(2) หน่วยงานกลางทำความเข้าใจหลักการและแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ โดยเฉพาะการขับเคลื่อนการดำเนินการตามเป้าหมายแผนแม่บทย่อย (Y1)
(3) หน่วยงานของรัฐปรับปรุงการดำเนินงานต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายและทิศทางการพัฒนาประเทศ ที่ต้องมุ่งเน้นการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อยแบบพุ่งเป้าไม่ใช่มุ่งที่ตัวชี้วัด โดยมีการถ่ายระดับเป้าหมาย ตัวชี้วัดและ           ค่าเป้าหมายไปสู่ระดับความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน
(4) สำนักงบประมาณ (สงป.) พิจารณาจัดสรรงบประมาณที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อย
4.3 การติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล (Check)           (1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการการจัดเก็บ/จัดทำข้อมูลสำหรับการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลอย่างต่อเนื่องและนำเข้าข้อมูลในระบบฐานข้อมูลเปิดภาครัฐเพื่อสนับสนุนการติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ (Open Data Portal for Monitoring and Evaluating Government : Open-D) อย่างต่อเนื่อง
(2) กลไกการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลหน่วยงานของรัฐตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 ดำเนินการติดตามการดำเนินการตามแผนแม่บทฯ อย่างเคร่งครัด มุ่งเน้นผลลัพธ์การดำเนินการของหน่วยงานที่สามารถส่งผลต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายแผนแม่บทฯ ได้อย่างเป็นรูปธรรม
(3) หน่วยงานของรัฐนำเข้าข้อมูลโครงการ/การดำเนินงาน รวมถึงแผนระดับที่ 3 และรายงานผลสัมฤทธิ์แผนระดับที่ 3 ในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR) ตามระยะเวลาที่กำหนด
4.4 การปรับปรุงการดำเนินงาน (Act)          สศช. ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในทุกวงจรบริหารงานคุณภาพ (PDCA)
                    5. ในคราวการประชุมหารือร่วมประธานกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ 6 คณะ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2565 ได้มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทฯ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม และต่อมา คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ   ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทฯ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ข้อ 2) พร้อมทั้งเห็นชอบการมอบหมายหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนฯ (ข้อ 3) และเห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินการในระยะถัดไป (ข้อ 4) ตามที่ สศช. เสนอ
1 หน่วยงานเจ้าภาพในการขับเคลื่อนประเด็นแผนแม่บท (จ.1) เป้าหมายระดับประเด็นของแผนแม่บทฯ (จ.2)       และเป้าหมายแผนแม่บทย่อย (จ.3) (หน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนฯ)
2 สศช. ได้ปรับชื่อ (ร่าง) แผนแม่บทฯ จากเดิม ?แผนแม่บทฯ ฉบับปรับปรุง? เป็น ?แผนแม่บทฯ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม? เพื่อให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายตามนัยของมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 ที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมแผนแม่บทให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงหรือความจำเป็นของประเทศ ทั้งนี้ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติมีมติเห็นชอบการปรับชื่อ (ร่าง) แผนแม่บทฯ โดยยังคงมีสาระสำคัญตามที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติมีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 (ตามข้อ 5) (ด้วยวิธีการแจ้งเวียน)     รวมทั้งมอบหมายให้ สศช. เสนอ (ร่าง) แผนแม่บทฯ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป

16. เรื่อง สรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ประธานกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (ประธาน กนป.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบให้เปิดตลาดน้ำมันปาล์มและน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์มและบริหารการนำเข้าคราวละ 3 ปี (ปี 2566 - 2568) โดยให้เป็นไปตามข้อผูกพันของทุกกรอบการค้า และมีการบริหารการนำเข้าเช่นเดียวกับความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) คือ ให้องค์การคลังสินค้า (อคส.)   เป็นผู้นำเข้าและกระจายให้ผู้ผลิตภายในประเทศตามที่สมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์มเป็นผู้จัดสรร ยกเว้นความตกลงการค้าเสรีไทย - ออสเตรเลีย (Thailand - Australia Free Trade Agreement : TAFTA) และความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นไทย - นิวซีแลนด์ (Thailand - New Zealand Closer Economic Partnership : TNZCEP) (ตามข้อ 2)
                    2. รับทราบสรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2565 และรับความเห็นของประธาน กนป. และผู้แทนสำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในเรื่อง การขอขยายระยะเวลาโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์ม     เพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี 2565 และโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี 2566
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ประธาน กนป. รายงานว่า
                    1. ที่ประชุม กนป. ครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2565 ได้มีมติเห็นชอบให้มีการดำเนินการ 6 เรื่อง ดังนี้
เรื่อง          มติ กนป. ครั้งที่ 3/2565
1. การกำหนดมาตรฐานการรับซื้อผลปาล์ม          เห็นชอบในหลักการของการกำหนดมาตรการซื้อขายปาล์มคุณภาพ ที่สามารถปฏิบัติได้จริงและไม่เป็นภาระต่อผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมมากเกินสมควร        โดยมอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดมาตรการซื้อขายปาล์มคุณภาพ และนำเสนอ กนป. ให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการต่อไป ดังนี้
     1.1 ห้ามรับซื้อผลปาล์มทะลายดิบ (เนื่องจากไม่มีคุณภาพ)
     1.2 กำหนดให้รางเททะลายปาล์มน้ำมันต้องเป็นรางทึบไม่มีการติดตั้งตะแกรง อุปกรณ์สำหรับแยกผลปาล์มร่วง หรือดำเนินการใด ๆ เพื่อแยกผลปาล์มร่วง      หรือทำให้ผลปาล์มร่วงอย่างไม่เป็นธรรมชาติ
     1.3 ห้ามรดน้ำทะลายปาล์มเพื่อเพิ่มน้ำหนักทะลายปาล์ม
     1.4 กำหนดให้มีเครื่องชั่งที่ได้มาตรฐาน
ทั้งนี้ เห็นควรมอบหมายให้กรมวิชาการเกษตรและสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติร่วมกันกำหนดเกณฑ์การพิจารณามาตรฐานผลปาล์มสุก/ผลปาล์มดิบทางกายภาพในการรับซื้อทะลายปาล์มสุกตามชั้นคุณภาพ                เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำมาใช้ประกอบการพิจารณาบังคับใช้ในทางกฎหมายได้ต่อไป
2. โครงการติดตั้งเครื่องมือวัดปริมาณน้ำมันปาล์มเพื่อบริหารจัดการและควบคุมสต็อกน้ำมันปาล์ม           มอบหมาย พณ. เร่งรัดการตรวจรับการติดตั้งเครื่องมือวัดปริมาณน้ำมันปาล์ม โครงการติดตั้งเครื่องมือวัดปริมาณน้ำมันปาล์ม เพื่อบริหารจัดการและควบคุม    สต็อกน้ำมันปาล์มให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการติดตาม ตรวจสอบ และกำกับดูแลความเคลื่อนไหวของปริมาณสต็อกน้ำมันปาล์มดิบที่ถูกต้อง เที่ยงตรง เป็นปัจจุบันและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
3. การเปิดตลาดน้ำมันปาล์มและน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์มภายใต้กรอบการค้าระหว่างประเทศ ปี 2566 - 2568               3.1 เห็นชอบให้เปิดตลาดน้ำมันปาล์มและน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์มและบริหารการนำเข้าคราวละ 3 ปี (ปี 2566 - 2568) โดยให้เป็นไปตามข้อผูกพันของทุกกรอบการค้า และมีการบริหารการนำเข้าเช่นเดียวกับความตกลงการเกษตรภายใต้ WTO คือ ให้ อคส. เป็นผู้นำเข้าและกระจายให้ผู้ผลิตภายในประเทศตามที่สมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์มเป็นผู้จัดสรร ยกเว้นความตกลง TAFTA และความตกลง TNZCEP
     3.2 มอบหมายฝ่ายเลขานุการ กนป. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ และมอบ พณ. และกระทรวงการคลัง (กค.) ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
4. การขอขยายระยะเวลาโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี 2565               4.1 เห็นชอบการขยายระยะเวลาดำเนินการตามโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี 2565 เป้าหมาย 150,000 ตัน โดยขยายระยะเวลาส่งออก จากเดิม สิ้นสุดเดือนกันยายน 2565 เป็น สิ้นสุดเดือนธันวาคม 2565 และระยะเวลาโครงการ จากเดิม สิ้นสุดเดือนธันวาคม 2565 เป็น          สิ้นสุดเดือนมีนาคม 2566 หรือจนกว่าคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการดำเนินโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี 2566 ทั้งนี้                          ในการดำเนินการโครงการฯ จะพิจารณาสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสำหรับการส่งออกเฉพาะน้ำมันปาล์มดิบ ในอัตราไม่เกิน 2 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อระดับสต็อกน้ำมันปาล์มดิบในประเทศสูงกว่า 300,000 ตัน และราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศสูงกว่าราคาตลาดโลก ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเมื่อวันที่          5 กรกฎาคม 2565
     4.2 สำหรับกรอบวงเงินงบประมาณ ให้ สงป. พิจารณาจัดสรรกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการในช่วงระยะเวลาดังกล่าว วงเงินรวมทั้งสิ้น 309 ล้านบาท
5. โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2565 - 2566 และมาตรการคู่ขนาน ปี 2566                5.1 เห็นชอบการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2565 - 2566 ตามที่ พณ. เสนอ ระยะเวลาการจ่ายเงินเดือนกันยายน 2565 - สิงหาคม 2566 กรอบวงเงินดำเนินการ 6,128.18 ล้านบาท โดยคงหลักการเช่นเดียวกับโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2564 - 2565 ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องจากโครงการฯ ปี 2564 - 2565 กำหนดให้เริ่มจ่ายเงินชดเชยประกันรายได้ งวดที่ 1 ให้แก่เกษตรกรตั้งแต่เดือนกันยายน 2565
     5.2 เห็นชอบการดำเนินโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี 2566 ตามที่ พณ. เสนอ เป้าหมาย 150,000 ตัน ระยะเวลาส่งออกตั้งแต่เดือนมกราคม - ธันวาคม 2566 ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 - มีนาคม 2567 กรอบวงเงินดำเนินการ 309 ล้านบาท           จากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อลดปริมาณสต็อกน้ำมันปาล์มดิบส่วนเกินและรักษาเสถียรภาพราคาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มในประเทศ โดยในการดำเนินการโครงการฯ จะพิจารณาสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสำหรับการส่งออกเฉพาะน้ำมันปาล์มดิบในอัตราไม่เกิน      2 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อระดับสต็อกน้ำมันปาล์มดิบในประเทศสูงกว่า 250,000 ตัน และราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศสูงกว่าราคาตลาดโลก ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารสมดุลน้ำมันปาล์มภายในประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การกำหนดเงื่อนไขในการพิจารณาสนับสนุนค่าใช้จ่ายฯ ในส่วนของระดับสต็อกน้ำมันปาล์มดิบ สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยให้เป็นอำนาจของ กนป. เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ
     5.3 มอบหมาย พณ. โดยกรมการค้าภายใน นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน     ปี 2565 - 2566 และโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี 2566 รวมทั้งอนุมัติกรอบวงเงินดำเนินการ
     5.4 เห็นชอบมอบหมาย พณ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กระทรวงมหาดไทย กค. และ สงป. ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
     5.5 เห็นชอบมอบหมายฝ่ายเลขานุการ กนป. พิจารณาเสนอร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน      ปี 2565 - 2566 เพื่อนำเรียนประธาน กนป. ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งต่อไป
6. การสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ใน กนป.               6.1 เห็นชอบการยกเว้นการใช้หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ พ.ศ. 2563 ข้อ 4       (4) ให้คณะอนุกรรมการสรรหาฯ ดำเนินการคัดเลือกผู้ที่ได้รับการสรรหาให้เหลือจำนวน 2 เท่า ของจำนวนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ ที่กำหนด (20 คน)
     6.2 เห็นชอบผลการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ ซึ่งเป็นบุคคลผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านที่พึงประสงค์ให้มีในกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ จำนวน 10 ราย ดังนี้
          6.2.1 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ ตามความรู้ความเชี่ยวชาญของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 7 ด้าน (1) ด้านการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (นายธนิตย์ ธรรมจรัส) (2) ด้านการตลาดผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง (นายศุภชัย จินตนาเลิศ) (3) ด้านนวัตกรรมการเพิ่มอุปสงค์น้ำมันปาล์มและผลิตภัณฑ์ (นายพิพัฒน์ วีระถาวร) (4) ด้านระบบขนส่งและการกระจายสินค้า (นายต่อพงษ์ ตริยานนท์) (5) ด้านพลังงานทางเลือกใหม่ (นายพงษ์ชัย ชัยจิรวัฒน์) (6) ด้านการส่งเสริมขีดความสามารถทางการแข่งขันและการลงทุน (ผศ.ดร.ธีรศักดิ์ ปั้นวิชัย) และ       (7) ด้านสิ่งแวดล้อม (ดร.วิจารย์ สิมาฉายา)
          6.2.2 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ ในส่วนของผู้ประกอบการสวนปาล์มน้ำมัน (เกษตรกร) จำนวน 3 คน ได้แก่ (1) นายวิรัตน์ ธรรมบำรุง (2) นายสุทธิพันธ์ นุรักษ์ และ (3) นายวิโรช เพ็ชรร่วง
     6.3 เห็นชอบให้ฝ่ายเลขานุการ กนป. นำรายชื่อผู้ที่มีความเหมาะสมในลำดับถัดไปสำรองไว้เพื่อเสนอเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต่อไป ในกรณีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ โดยให้อยู่ในตำแหน่งได้เท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้
     6.4 มอบหมายฝ่ายเลขานุการดำเนินการเพื่อการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ ต่อไป
                    2. กนป. ขอให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบให้เปิดตลาดน้ำมันปาล์มและน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์มและบริหารการนำเข้าคราวละ 3 ปี (ปี 2566 - 2568) โดยให้เป็นไปตามข้อผูกพันของทุกกรอบการค้า และมีการบริหารการนำเข้าเช่นเดียวกับความตกลงการเกษตรภายใต้ WTO คือ ให้ อคส. เป็นผู้นำเข้าและกระจายให้ผู้ผลิตภายในประเทศตามที่สมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์มเป็นผู้จัดสรร ยกเว้นความตกลง TAFTA และความตกลง TNZCEP โดยมีรายละเอียด ดังนี้



กรอบการค้าระหว่างประเทศและการบริหารการนำเข้า1
กรอบการค้าระหว่างประเทศที่ไทยมีข้อผูกพัน          ปริมาณ
(ตัน)          อัตราภาษี (%)          การบริหารการนำเข้า
                    ในโควตา          นอกโควตา
1) WTO           4,860          20          143          ให้ อคส. เป็นผู้มีสิทธินำเข้าแต่ผู้เดียว
2) ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดไทย - ญี่ปุ่น (Japan - Thailand Economic Partnership Agreement: JTEPA)          ใช้กรอบเดียวกับ WTO          0          143
3) ความตกลงการค้าเสรีไทย - ชิลี (Thailand - Chile Free Trade Agreement: TCFTA)                    0          143
4) ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน - เกาหลี (ASEAN - Republic of Korea Free Trade Agreement: AKFTA)                     0          143
5) ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน - ญี่ปุ่น (ASEAN - Japan Comprehensive Economic Partnership: AJCEP) (เฉพาะน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์ม)                    0          143
6) เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA)                    0
7) TAFTA          เสรี          0          ไม่ต้องขออนุญาตนำเข้า ไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรการการบริหารการนำเข้า
8) TNZCEP          เสรี
                              ทั้งนี้ ทุกความตกลงสามารถนำเข้าด่านที่กำหนดตามประกาศ พณ. เรื่อง กำหนดให้น้ำมันปาล์ม เปิดตลาดน้ำมันปาล์มและน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์ม และบริหารการนำเข้า คราวละ 3 ปี เป็นการดำเนินการตามพันธกรณี และไม่ขัดกับข้อผูกพันตามความตกลงการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งเป็นไปตามแนวทางเดิมเช่นเดียวกับการเปิดตลาดน้ำมันปาล์มและน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์มและบริหารการนำเข้า ปี 2563 - 2565
1 ทั้งนี้ ฝ่ายเลขา กนป. แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมว่า การบริหารโควตาการนำเข้าและอัตราภาษีสำหรับปี 2566 - 2568 ยังคงดำเนินการเช่นเดียวกับการบริหารโควตาการนำเข้าและอัตราภาษีในปี 2562 - 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบความตกลงด้านการค้าระหว่างประเทศที่ไทยมีข้อผูกพันทุกฉบับ ทั้งนี้ ในส่วนของความตกลง TAFTA และความตกลง TNZCEP ที่เปิดเสรีโดยมิได้มีการกำหนดโควตาและไม่ต้องขออนุญาตนำเข้านั้น ยังไม่เคยมีการนำเข้าแต่อย่างใดเนื่องจากทั้งสองประเทศไม่ใช่ประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันปาล์ม

17. เรื่อง การกำหนดสินค้าควบคุมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอการกำหนดสินค้าควบคุมปี 2566 จำนวน 5 รายการ ได้แก่ 1. หน้ากากอนามัย 2. ใยสังเคราะห์ Polypropylene (Spunbond) เพื่อใช้ในการผลิตหน้ากากอนามัย 3. ผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบเพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ 4. เศษกระดาษ             และกระดาษที่นำกลับมาใช้ได้อีก และ 5. ไก่ เนื้อไก่ ตามมติคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ        ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันพุธที่ 11 มกราคม 2566
                    ทั้งนี้ พณ. เสนอว่า ประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2565 เรื่อง การกำหนดสินค้าควบคุมเพิ่มเติม จะสิ้นสุดการบังคับใช้ในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2566 ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็นต้องออกประกาศใหม่ โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อน และนำลงประกาศราชกิจจานุเบกษาก่อนวันสิ้นสุดผลการบังคับใช้ รวมทั้งกำหนดมาตรการกำกับดูแลสินค้าควบคุมให้มีกำหนดระยะเวลาต่อเนื่องในการบังคับใช้ จึงเห็นควรกำหนดสินค้าควบคุม โดยมีรายละเอียดดังนี้
                    1. เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การกำกับดูแล ติดตาม ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมีปริมาณเพียงพอ และมีราคาอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม จึงเห็นควรกำหนดสินค้าควบคุม จำนวน 3 รายการ คือ 1) หน้ากากอนามัย 2) ใยสังเคราะห์ Polypropylene (Spunbond) เพื่อใช้ในการผลิตหน้ากากอนามัย และ 3) ผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบเพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ
                    2. เศษกระดาษ และกระดาษที่นำกลับมาใช้ได้อีก เป็นสินค้าควบคุม เพื่อให้การกำกับดูแลปริมาณและราคารับซื้อเศษกระดาษ และกระดาษที่นำกลับมาใช้ได้อีกให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเป็นธรรม
                    3. ไก่ เนื้อไก่ เป็นสินค้าควบคุม เพื่อให้การกำกับดูแล ติดตาม ปริมาณไก่ เนื้อไก่ที่เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญต่อการบริโภคของประชาชนมีอย่างเพียงพอ และราคาอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเป็นธรรม
                    ในคราวประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันพุธที่       11 มกราคม 2566 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบกำหนดสินค้าควบคุม     จำนวน 5 รายการ ได้แก่ 1) หน้ากากอนามัย 2) ใยสังเคราะห์ Polypropylene (Spunbond) เพื่อใช้ในการผลิตหน้ากากอนามัย 3) ผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบเพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ 4) เศษกระดาษ             และกระดาษที่นำกลับมาใช้ได้อีก และ 5) ไก่ เนื้อไก่ เพื่อกำหนดมาตรการกำกับดูแลให้สินค้ามีปริมาณเพียงพอ      และราคาอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเป็นธรรมต่อประชาชนผู้บริโภค

ต่างประเทศ
18. เรื่อง การรับรองแผนพัฒนาร่วมระหว่างยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง     กับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอแผนพัฒนาร่วมระหว่างยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) กับสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน)       และแผนพัฒนาร่วมระหว่าง ACMECS กับสาธารณรัฐอินเดีย (อินเดีย) [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี          (15 พฤศจิกายน 2565) ที่เห็นชอบต่อร่างแผนพัฒนาร่วมระหว่าง ACMECS กับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาของ ACMECS กลุ่มที่ 1 รายประเทศ (เครือรัฐออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และสหรัฐอเมริกา) จำนวน 6 ฉบับ และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแผนพัฒนาร่วมฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการได้ โดยให้เสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว] โดยเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565      ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส ACMECS กับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาได้มีการหารือแนวทางการดำเนินการความร่วมมือระหว่าง ACMECS กับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาและมีการรับรองแผนพัฒนาร่วมระหว่าง ACMECS กับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา กลุ่มที่ 1 รายประเทศ จำนวน 6 ฉบับ ทั้งนี้ ได้มีการเจรจาปรับแก้ถ้อยคำเพิ่มเติมในร่างแผนพัฒนาร่วมฯ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างแผนพัฒนาร่วมฯ กับจีน และร่างแผนพัฒนาร่วมฯ กับอินเดีย ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) พิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อความที่ปรับแก้ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. ร่างแผนพัฒนาร่วมฯ กับจีน
                              1.1 จีนเสนอเพิ่มถ้อยคำให้การดำเนินการของ ACMECS ส่งเสริมข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI) และกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (Mekong-Langcang Cooperation: MLC) โดยประเทศสมาชิก ACMECS และจีนเจรจาได้ข้อสรุปให้ปรับถ้อยคำจาก การที่ ACMECS ส่งเสริม BRI และ MLC เป็น การเสริมสร้างการสอดประสานระหว่างกันของ ACMECS BRI และ MLC แทน
                              1.2 จีนขอตัดถ้อยคำเกี่ยวกับรายการโครงการที่มีความสำคัญลำดับต้น (List of Prioritized Projects: LOPP) ของ ACMECS และขอไม่ให้บรรจุ LOPP เป็นภาคผนวกของแผนพัฒนาร่วมฯ กับจีน เนื่องจากจีน  มีข้อจำกัดว่า หากจีนเห็นชอบและรับรองเอกสารระหว่างประเทศใด ๆ แล้ว เอกสารนั้นจะมีผลผูกพันกับจีน ซึ่งรวมถึงการรับรายการโครงการ LOPP โดยประเทศสมาชิก ACMECS และจีนเจรจาได้ข้อสรุปไม่ขัดข้องต่อข้อเสนอของจีนและให้เพิ่มถ้อยคำที่ระบุว่า ACMECS ยังสามารถเสนอ LOPP ให้จีนพิจารณาให้การสนับสนุนต่อไปได้
                              1.3 จีนขอเพิ่มถ้อยคำให้ ACMECS ส่งเสริมข้อริเริ่มด้านการพัฒนาระดับโลก (Global Development Initiative: GDI) ของจีน โดยประเทศสมาชิก ACMECS ไม่ขัดข้องและเสนอถ้อยคำให้รวมถึงข้อริเริ่มอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนในกรอบอนุภูมิภาค/ภูมิภาคด้วย
                    2. ร่างแผนพัฒนาร่วมฯ กับอินเดีย โดยอินเดียขอเพิ่มถ้อยคำให้ชัดเจนยิ่งขึ้นที่สะท้อนว่าอินเดีย   จะมีบทบาทในการพิจารณาว่าจะสนับสนุนโครงการใดของ ACMECS ซึ่งทั้งสองฝ่ายเจรจาได้ข้อสรุปว่า ให้อินเดียและ ACMECS ร่วมกันจัดทำรายการโครงการร่วมอินเดีย-ACMECS โดยคัดเลือกจากรายการโครงการใน LOPP          หรือสามารถริเริ่มโครงการใหม่ได้
ทั้งนี้ กต. จะแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาใช้ประโยชน์จากผลการประชุมดังกล่าวและรายละเอียดของแผนพัฒนาร่วมฯ ต่อไป

19. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 12 และการประชุมที่เกี่ยวข้องและการเป็นประธานการประชุมด้านการศึกษาอาเซียน ระหว่างปี พ.ศ. 2567-2568
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 12 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ระหว่างวันที่ 11-14 ตุลาคม 2565 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมฯ [คณะรัฐมนตรีมีมติ              (11 ตุลาคม 2565) เห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วม 3 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษา ครั้งที่ 12 (2) ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียนบวกสาม1 ครั้งที่ 6 และ                      (3) ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกด้านการศึกษา2 ครั้งที่ 6 รวมถึงอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้แทนให้ความเห็นชอบและรับรองร่างเอกสารดังกล่าว] และรับทราบการเป็นประธานการประชุมด้านการศึกษาอาเซียน ระหว่างปี พ.ศ. 2567 ? 2568 และเป็นเจ้าภาพการจัดการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 13 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ในปี พ.ศ. 2567 โดยผลการประชุมฯ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ที่ประชุมฯ ได้มีการหารือเชิงนโยบายเกี่ยวกับการจัดการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในกรอบอาเซียน อาเซียนบวกสาม และอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา และติดตาความก้าวหน้าการดำเนินกิจกรรม/โครงการภายใต้แผนงานด้านการศึกษาของอาเซียน พ.ศ. 2564 - 2568 แผนงานด้านการศึกษาของอาเซียนบวกสาม พ.ศ. 2561 - 2568 และแผนปฏิบัติการมะนิลา พ.ศ. 2561 - 2565 รวมทั้งร่วมกำหนดนโยบายเพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้ยึดเป็นแนวทางขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการศึกษาภายใต้กรอบต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
                    2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของการศึกษาอันเนื่องมาจาก  โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่มีการใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลมากขึ้น รวมทั้งได้กล่าวถึงนโยบาย             ที่สอดคล้องกับแผนงานด้านการศึกษาของอาเซียนโดยเห็นว่าในอนาคตเทคโนโลยีจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศ ซึ่ง ศธ. ได้มีโครงการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาคนเก่ง คนดี และมีความสามารถ โดยมีการดำเนินนโยบาย     ที่สำคัญ ได้แก่ โรงเรียนคุณภาพ Active Learning พื้นที่นวัตกรรม พาน้องกลับมาเรียน อาชีวะอยู่ประจำเรียนฟรี และ MOE Safety Center
                    3. ที่ประชุมฯ ได้รับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ 3 ฉบับ ดังนี้
เอกสารผลลัพธ์          สาระสำคัญ เช่น
1. ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 12          รับทราบวิกฤตการเรียนรู้และผลกระทบต่อนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและขอให้อาเซียนเพิ่มความพยายามและจัดการกับวิกฤตด้วยแนวทางที่ครอบคลุมและยั่งยืน เช่น การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของระบบการศึกษาในอาเซียน    และการส่งเสริมประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านการศึกษา
2. ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 6          สนับสนุนบทบาทของอาเซียนบวกสามในการแก้ไขปัญหาวิกฤตการเรียนรู้ รวมทั้งความจำเป็นในการเร่งฟื้นฟูการเรียนและสร้างความยืดหยุ่นในการศึกษาภายหลังโควิด-19 และความก้าวหน้าในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการอาเซียนบวกสาม ปี พ.ศ. 2561 - 2568
3. ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกด้านการศึกษา ครั้งที่ 6          รับทราบการมีส่วนร่วมของประเทศสมาชิก EAS ในการดำเนินงานร่วมกันด้านการศึกษา เผนปฏิบัติการด้านการศึกษาอาเซียน-รัสเซีย พ.ศ. 2565 ? 2569 การเปิดตัวโครงการแลกเปลี่ยนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน-อินเดีย       และความมุ่งมั่นในการบรรลุวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านการศึกษา

                    4. ที่ประชุมฯ ได้รับทราบเอกสาร ?แนวทางการเปิดเรียน ฟื้นฟูและปรับตัวด้านการศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน? และปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของระบบการศึกษาในอาเชียน*   (ได้มีการนำเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 40 และ 41 ในระหว่างวันที่ 10 - 13 พฤศจิกายน 2565 ด้วยแล้ว) โดยปฏิญญาฯ มีสาระสำคัญ เช่น การเข้าถึงการศึกษาและการมีส่วนร่วมในการศึกษาของประชากรชายขอบผ่านการเรียนทางไกลและการเรียนออนไลน์โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การพัฒนาระบบนิเวศดิจิทัลที่ปลอดภัย ทั่วถึง และเท่าเทียมสำหรับประชาชนในภูมิภาคอาเซียนและการขยายโครงสร้างพื้นฐานทางอินเทอร์เน็ตและโครงสร้างพื้นฐานทางไฟฟ้าเพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ดิจิทัล
                    5. การเป็นประธานการประชุมด้านการศึกษาอาเซียน ระหว่างปี พ.ศ. 2567 ? 2568* ซึ่งประเทศไทยรับเป็นประธานการประชุมด้านการศึกษาอาเซียนฯ โดยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาของอาเซียนครั้งที่ 19 การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 14 การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาในกรอบสุดยอดเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 9 รวมถึงการเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 13 การประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 7 และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกด้านการศึกษา ครั้งที่ 7 ในปี พ.ศ. 2567 ในหัวข้อ ?Transforming Education to fit in the Digital Era (พลิกโฉมการศึกษาสู่ยุคดิจิทัล)?
                    6. การเจรจาหารือความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทยและสิงคโปร์ โดยสิงคโปร์ให้ความสำคัญในเรื่องระบบการศึกษาของไทย โดยเฉพาะกระบวนการผลิตครู การฝึกอบรมครู การจัดสวัสดิการของครู การสับเปลี่ยนหรือเคลื่อนย้ายครู และการก้าวสู่ตำแหน่งผู้บริหาร (ครูใหญ่) นอกจากนี้ สิงคโปร์ต้องการดำเนินการแลกเปลี่ยนกับไทยในทุกระดับ ได้แก่ โรงเรียน ครูผู้สอน ผู้บริการสถานศึกษา มหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันมากขึ้น ซึ่งไทยได้ให้ความสำคัญกับการใช้และออกแบบแพลตฟอร์มการเรียนเพื่อช่วยลดช่องว่างด้านการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กที่อยู่ห่างไกล และให้ความสำคัญกับเรื่องการจัดการฝึกอบรมให้แก่ครูไทย โดยเฉพาะการจัดการการอบรมให้แก่ครูอาชีวศึกษาในสาขาอุตสาหกรรมการบินและอุตสาหกรรมการเกษตรสมัยใหม่ โดยไทยและสิงคโปร์จะมีการหารือในรายละเอียดการดำเนินงานระหว่างกันต่อไป
????????
1กลุ่มอาเซียนบวกสาม ประกอบด้วย 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน สาธารณรัฐประซาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี                โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความร่วมมือของกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจขนาดใหญ่อีก 3 ประเทศ ซึ่งรวมกัน เรียกว่า ชุมชนเอเชียตะวันออก และมีข้อตกลงกันเพื่อความร่วมมือในด้านต่าง ๆ 5 ด้าน ดังนี้ (1) ด้านการเมืองและความมั่นคง        (2) ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงิน (3) ด้านพลังงาน (4) ด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศโลก    และ (5) ด้านสังคมและวัฒนธรรม
2การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit: EAS) เป็นข้อริเริ่มที่ต่อยอดจากอาเซียนบวกสาม โดยเห็นว่าควรเปิดกว้างให้ประเทศคู่เจรจาที่อยู่นอกกลุ่มอาเซียนบวกสามเข้าร่วมด้วย ปัจจุบันมีประเทศที่เข้าร่วมใน EAS จำนวน 18 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน 10 ประเทศ เครือรัฐออสเตรเลีย จีน สาธารณรัฐอินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ราชอาณาจักรนิวซีแลนด์ สหพันธรัฐรัสเชีย และสหรัฐอเมริกา ณ ประเทศไทย
หมายเหตุ : *คณะรัฐมนตรีมีมติ (25 ตุลาคม 2565) เห็นชอบให้ ศธ. เป็นเจ้าภาพและประธานการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 13 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างปี พ.ศ. 2567-2568 และเห็นชอบปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของระบบการศึกษา รวมถึงอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายรับรองปฏิญญาอาเซียนดังกล่าว



20. เรื่อง การจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐตุรกี ฉบับที่ 2 (ค.ศ. 2023 - 2028)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแผนปฏิบัติการร่วมระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐตุรกี ฉบับที่ 2 (ค.ศ. 2023 - 2028) (The Second Joint Plan of Action between the Kingdom of Thailand and the Republic of T?rkiye  (2023-2028) ทั้งนี้หากมีความจำป็นต้องแก้ไขร่างแผนปฏิบัติการร่วมระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐตุรกี ฉบับที่ 2 (ค.ศ. 2023 - 2028) ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก รวมทั้งให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ลงนามแผนปฏิบัติการร่วมระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐตุรกี ฉบับที่ 2 (ค.ศ. 2023 - 2028) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    ร่างแผนปฏิบัติการร่วมระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐตุรกี ฉบับที่ 2 (ค.ศ. 2023 - 2028)  มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับตุรกีในห้วงระยะเวลา 5 ปี ระหว่างปี 2566 - 2571 (ค.ศ. 2023 - 2028) โดยเน้นความร่วมมือในสาขาและประเด็นที่หลากหลายและรอบด้าน บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ เพื่อยกระดับความสัมพันธ์และความร่วมมือทวิภาคีระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐตุรกีไปสู่การเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ภายในปี 2571
                    ทั้งนี้ ร่างแผนปฏิบัติการร่วมระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐตุรกี ฉบับที่ 2 (ค.ศ. 2023 - 2028) มีเนื้อหาสาระเพิ่มเติมจากแผนปฏิบัติการร่วมระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐตุรกี ฉบับที่ 1       (ค.ศ. 2013 - 2018) โดยให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้นกับความร่วมมือในกรอบพหุภาคีที่หลากหลายและครอบคลุมประเด็นร่วมสมัยที่สอดรับกับบริบทของยุคปัจจุบัน อาทิ ความร่วมมือด้านการพัฒนา ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม การส่งเสริมพหุวัฒนธรรม ตลอดจนการป้องกันการแพร่ขยายของแนวคิดสุดโต่ง       ที่นิยมความรุนแรง ตลอดจนปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ นอกจากนี้แผนปฏิบัติการร่วมระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐตุรกี ฉบับที่ 2 (ค.ศ. 2023 - 2028) ยังมุ่งสานต่อความร่วมมือเดิมภายใต้แผนปฏิบัติการร่วมระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐตุรกี ฉบับที่ 1 (ค.ศ. 2013 - 2018)เช่น การเจรจาการจัดทำความตกลงการค้าเสรี การจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยกับตุรกีว่าด้วยความร่วมมือด้านการอุดศึกษา และบันทึกความเข้าใจระหว่างกรมความร่วมมือระหว่างประเทศกับหน่วยงานความร่วมมือและการประสานงานตุรกี (Turkish Cooperation and Coordination Agency: TIKA) ของตุรกี

21. เรื่อง เอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ ไทย-ตุรกี ครั้งที่ 4
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการไทย-ตุรกี ครั้งที่ 4 (Agreed Minutes of the Fourth Meeting of the Thai -Turkish Joint Committee on Economic and Technical Cooperation) ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการไทย-ตุรกี ครั้งที่ 4 ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก รวมทั้ง ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ลงนามเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการไทย-ตุรกี ครั้งที่ 4    ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการไทย-ตุรกี ครั้งที่ 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกรอบกำหนดแนวทางการดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐตุรกี โดยเน้นการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน
                    2. ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการไทย-ตุรกี ครั้งที่ 4 ระบุความร่วมมือที่สำคัญใน 3 ส่วนที่ทั้งสองฝ่ายสามารถดำเนินการร่วมกันได้ ได้แก่
                              2.1 ส่วนที่ 1 การเน้นย้ำความสำเร็จของความตกลงที่ทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินการร่วมกัน อาทิ การจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับองค์การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของตุรกี (KOSGEB) เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2555 และการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสาธารณรัฐตุรกี (T?B?TAK) เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2561
                              2.2 ส่วนที่ 2 การส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านการค้าและการลงทุน โดยกล่าวถึงความสัมพันธ์ด้านการค้าทวิภาคีรวมถึงการจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-ตุรกี การส่งเสริมกิจกรรมทางการค้า การลงทุนต่างตอบแทน ความเป็นหุ้นส่วนในภาคเอกชน ความร่วมมือในภาคการบริการ และภาคเทคโนโลยี การป้องกันประเทศและอุตสาหกรรม
                              2.3 ส่วนที่ 3 การส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ โดยมีเนื้อหาที่ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ อาทิ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม ความร่วมมือด้านพลังงาน ความร่วมมือด้านการรับรองมาตรฐานฮาลาล ความร่วมมือด้านการศึกษา สาธารณสุข และการพัฒนาในระดับภูมิภาค

แต่งตั้ง
22. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
                    1. นายทศเทพ บุญทอง สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์เชี่ยวชาญ) สำนักงานปลัดกระทรวง    ดำรงตำแหน่ง สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2564
                     2. นางสาวอังคณา นรเศรษฐ์ธาดา นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม)        กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2565
                    3. นางอุษณีย์ สังคมกำแหง นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาสูติ ? นรีเวชกรรม)        กลุ่มงานสูติ ? นรีเวชกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น สำนักงานปลัดกระทรวง            ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาสูติ ? นรีเวชกรรม) โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2565
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เสนอแต่งตั้ง นายนพดล อุเทน ผู้อำนวยการกองข่าวกรองทางการเงิน สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านกฎหมายและพัฒนามาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (นิติกรทรงคุณวุฒิ) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2565 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

24. เรื่อง  การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้งข้าราชการ    พลเรือนสามัญ  สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
                    1. นายศิระ สว่างศิลป์ อัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา เครือรัฐออสเตรเลีย ให้ดำรงตำเหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโดฮา รัฐกาตาร์
                    2. นายฟาบีโอ จินดา กงสุลใหญ่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงราบัต ราชอาณาจักรโมร็อกโก
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ซึ่งการแต่งตั้งข้าราชการให้ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศทั้งสองรายดังกล่าว ได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ

25. เรื่อง  การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง  (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี  จำนวน 2 ราย ดังนี้
                    1. นายสยาม บางกุลธรรม
2. นายเนวินธุ์ ช่อชัยทิพฐ์
ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2566 เป็นต้นไป

26. เรื่อง การพิจารณาแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาวิศวกร
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาวิศวกร  ดังนี้
                    1. นายพิศุทธิ์ สุขุม คุณวุฒิวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ปัจจุบันดำรงตำแหน่งวิศวกรใหญ่กรมโยธาธิการและผังเมือง
                    2. นายประเสริฐ วรปัญญา คุณวุฒิวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทองมาคอนแทรคเตอร์ จำกัด
                    3. นายสมเกียรติ ศิลวัฒนาวงศ์ คุณวุฒิวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สโตนเฮ้นจ์ อินเตอร์ จำกัด (มหาชน)
                    4. นายเอนก ศิริพานิชกร คุณวุฒิวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
                    5. นายอาทร สินสวัสดิ์ คุณวุฒิวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง                               โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2566 เป็นต้นไป

27. เรื่อง  ขอยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ราย นายวัลลพ สงวนนาม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอ ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง    ราย นายวัลลพ สงวนนาม เนื่องจาก นายวัลลพฯ ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566

28. เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุข และคณะอนุกรรมการพิจารณาพื้นที่พิเศษสำหรับค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายสำหรับกำลังคนด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. 2548
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอแต่งตั้ง ดังนี้
                    1. คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุข
                    2. คณะอนุกรรมการพิจารณาพื้นที่พิเศษสำหรับค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายสำหรับกำลังคนด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงาน      ในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. 2548
                    โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2566 เป็นต้นไป
                    ทั้งนี้ ให้กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (โรงพยาบาลตำรวจ) รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุข
องค์ประกอบ          ตำแหน่ง
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข          ประธานกรรมการ
2. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข          รองประธานกรรมการ
3. ปลัดกระทรวงการคลัง          รองประธานกรรมการ
4. ปลัดกระทรวงกลาโหมหรือผู้แทน          กรรมการ
5. ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้แทน          กรรมการ
6. ปลัดกรุงเทพมหานครหรือผู้แทน          กรรมการ
7. เลขาธิการ ก.พ. หรือผู้แทน          กรรมการ
8. เลขาธิการ ก.พ.ร. หรือผู้แทน          กรรมการ
9. ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมหรือผู้แทน          กรรมการ
10. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณหรือผู้แทน          กรรมการ
11. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้แทน          กรรมการ
12. รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขมอบหมาย          กรรมการและเลขานุการ
13. รองปลัดกระทรวงการคลัง ที่ปลัดกระทรวงการคลังมอบหมาย          กรรมการและเลขานุการร่วม
14. อธิบดีกรมบัญชีกลาง          กรรมการและเลขานุการร่วม
15. ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล สำนักงาน ก.พ.           กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
16. ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข          กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่และอำนาจ
1. กำกับดูแล และวินิจฉัยปัญหา ที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายสำหรับกำลังคนด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. 2548
2. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานได้ตามความเหมาะสม
3. ปฏิบัติงานหรือดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้อง


คณะอนุกรรมการพิจารณาพื้นที่พิเศษสำหรับค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายสำหรับกำลังคนด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. 2548
องค์ประกอบ          ตำแหน่ง
1. รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขมอบหมาย          ประธานอนุกรรมการ
2. ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 1 ? 13           อนุกรรมการ
3. ผู้แทนกระทรวงกลาโหม          อนุกรรมการ
4. ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย          อนุกรรมการ
5. ผู้แทนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม          อนุกรรมการ
6. ผู้แทนสำนักงาน ก.พ.          อนุกรรมการ
7. ผู้แทนสำนักงบประมาณ          อนุกรรมการ
8. ผู้แทนสำนักงาน ก.พ.ร.           อนุกรรมการ
9. ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ          อนุกรรมการ
10. ผู้แทนกรมบัญชีกลาง          อนุกรรมการ
11. ผู้แทนกรุงเทพมหานคร          อนุกรรมการ
12. ผู้แทนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ          อนุกรรมการ
13. นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด จำนวน 2 ราย ที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขมอบหมาย          อนุกรรมการ
14. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป จำนวน 2 ราย ที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขมอบหมาย          อนุกรรมการ
15. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 2 ราย ที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขมอบหมาย          อนุกรรมการ
16. ผู้อำนวยการกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข          อนุกรรมการ
17. ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข          อนุกรรมการและเลขานุการ
18. ผู้อำนวยการกองกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข          อนุกรรมการและเลขานุการร่วม
19. หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายด้านสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข          อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่และอำนาจ
1. พิจารณากำหนดพื้นที่พิเศษสำหรับค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายทั้งพื้นที่ระดับจังหวัด และระดับอำเภอตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายสำหรับกำลังคนด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. 2548
2. ปฏิบัติงานหรือดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ