คณะรัฐมนตรีพิจารณาการขอนำเข้าเอทานอลเพิ่มเติมเพื่อนำมาผลิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์เป็นการชั่วคราวตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ แล้วมีมติอนุมัติให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นผู้นำเข้าเอทานอล 99.5% โดยได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต อากรขาเข้า และกฎระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) สำหรับเอทานอลที่นำเข้าเพื่อใช้ผลิตแก๊สโซฮอล์ในประเทศจำนวนไม่เกิน 20 ล้านลิตร โดยให้ดำเนินการนำเข้าให้แล้วเสร็จภายใน 31 มกราคม 2549 และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) เป็นเจ้าภาพรับไปพิจารณาร่วมกับรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินการผลิตแก๊สโซฮอล์ทั้งระบบ โดยให้ครอบคลุมถึงการส่งเสริมสนับสนุนการผลิตแก๊สโซฮอล์ในประเทศตลอดจนการส่งออก การนำเข้าวัตถุดิบที่เกี่ยวข้อง เช่น มันสำปะหลัง และกากน้ำตาล (molasse) ให้เหมาะสมด้วย
เดิมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2548 เห็นชอบให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นำเข้าเอทานอล 99.5% ตั้งแต่เดือนกันยายน-ธันวาคม 2548 จำนวน 17.8 ล้านลิตร เพื่อแก้ไขปัญหาเอทานอลขาดแคลนเป็นการชั่วคราว โดยบริษัท ปทต. จำกัด (มหาชน) ได้นำเข้าเอทานอลแล้ว 2 ครั้ง ปริมาณรวม 15.4 ล้านลิตร โดยที่ประชาชนมีความต้องการใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นจากเฉลี่ย 2.2 ล้านลิตรต่อวันในเดือนสิงหาคม 2548 เป็นเฉลี่ยเกือบ 3.0 ล้านลิตรต่อวันในเดือนตุลาคมและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 3.5 ล้านลิตรต่อวันในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 ส่งผลให้ความต้องการใช้เอทานอลเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 350,000 ลิตรต่อวัน ซึ่งปัจจุบันมีโรงงานเอทานอลเพียง 2 แห่ง กำลังการผลิตรวม 375,000 ลิตรต่อวัน ได้แก่ บริษัท ไทย อะโกร เอ็นเนอร์ยี่ กำลังผลิต 175,000 ลิตรต่อวัน และบริษัท ไทยแอลกอฮอล์ กำลังผลิต 200,000 ลิตรต่อวัน แต่บริษัท ไทย อะโกร เอ็นเนอร์ยี่ ได้หยุดปรับปรุงเครื่องจักรตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2548 และจะเริ่มผลิตใหม่ในเดือนมกราคม 2549 ทำให้ขณะนี้คงเหลือบริษัท ไทยแอลกอฮอล์ เป็นผู้ผลิตเพียงรายเดียว ซึ่งกระทรวงพลังงานได้เชิญบริษัทผู้ค้าน้ำมันและผู้ประกอบการเอทานอลมาหารือ เรื่อง อุปสงค์และอุปทานของเอทานอลในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2548 และไตรมาสแรกของปี 2549 สรุปได้ดังนี้
1. ข้อเท็จจริง
1.1 ผู้ประกอบการเอทานอล ปัจจุบันเหลือผู้ผลิตเอทานอลเพียงรายเดียว ได้แก่ บริษัท ไทยแอลกอฮอล์ กำลังผลิตรวม 200,000 ลิตรต่อวัน ส่วนผู้ประกอบการเอทานอลใหม่อีก 3 ราย ได้แก่ขอนแก่นแอลกอฮอล์ ไทยง้วนเอทานอล และอินเตอร์เนชั่นแนลแก๊สโซฮอล์ ได้แจ้งเลื่อนกำหนดการจำหน่ายจากเดิมเดือนตุลาคม 2548 เป็นเดือนธันวาคม 2548
1.2 อุปสงค์และอุปทานของเอทานอล
กรณี 1 : ผู้ประกอบการเอทานอลใหม่ผลิตได้ตามแผน
ผู้ผลิต 2 รายหลัก ได้แก่ บริษัท ไทย อะโกร เอ็นเนอร์ยี่ และบริษัทไทยแอลกอฮอล์ กับ ผู้ประกอบการเอทานอลใหม่ 3 ราย จะสามารถผลิตเอทานอลได้ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548 โดยจะมีกำลังการผลิตและสามารถจำหน่ายได้ในช่วงเดือนธันวาคม 2548-มีนาคม 2549 ประมาณ 72.55 ล้านลิตร ขณะที่บริษัทน้ำมันมีความต้องการเอทานอลรวม 89.87 ล้านลิตร ทำให้ยังขาดเอทานอลอีกประมาณ 9.34 ล้านลิตร
หน่วย : ล้านลิตร
พ.ย.48 ธ.ค.48 ม.ค.49 ก.พ.49 มี.ค.49 รวม
ปริมาณการผลิตเอทานอลในประเทศ 7.20 9.05 18.40 18.40 19.50 72.55
ความต้องการเอทานอลของบริษัท 15.62 17.24 18.07 18.81 20.13 89.87
น้ำมัน
เอทานอลคงเหลือจาก ต.ค.48 7.98 - - - - 7.98
จำนวนที่ขาด -0.44 -8.19 -0.33 -0.41 -0.63 -9.34
กรณี 2 : ผู้ประกอบการเอทานอลใหม่ผลิตไม่ได้ตามแผน
ผู้ผลิต 2 รายหลักสามารถผลิตได้ตามกำหนด แต่ผู้ประกอบการเอทานอลใหม่ 3 รายไม่สามารถผลิตเอทานอลได้ตามกำหนด โดยเลื่อนการผลิตออกไป 3 เดือนเป็นเริ่มผลิตในเดือนมีนาคม 2549 มีกำลังการผลิตรวม 52.80 ล้านลิตร ขณะที่บริษัทน้ำมันมีความต้องการเอทานอลรวม 89.87 ล้านลิตร ซึ่งยังขาดอีกประมาณ 29.09 ล้านลิตร
หน่วย : ล้านลิตร
พ.ย.48 ธ.ค.48 ม.ค.49 ก.พ.49 มี.ค.49 รวม
ปริมาณการผลิตเอทานอลในประเทศ 7.20 6.00 10.20 9.90 19.50 52.80
ความต้องการเอทานอลของบริษัท 15.62 17.24 18.07 18.81 20.13 89.87
น้ำมัน
เอทานอลคงเหลือจาก ต.ค.48 7.98 - - - - 7.98
จำนวนที่ขาด -0.44 -11.24 -7.87 -8.91 -0.63 -29.09
2. แนวทางการดำเนินการ
จากข้อมูลข้างต้น ปริมาณเอทานอลจะเริ่มขาดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2548 ถึงมีนาคม 2549 จำนวน 10-30 ล้านลิตร (ตามกรณี 1 และกรณี 2) โดยสาเหตุหลักเกิดจากประชาชนนิยมใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มมากขึ้นเป็นจำนวนมาก ประกอบกับผู้ผลิตเอทานอลรายใหม่ไม่สามารถผลิตได้ตามกำหนด ทำให้การผลิตเอทานอลไม่เพียงพอกับความต้องการ ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ จึงมีความจำเป็นในการนำเข้าเอทานอล 99.5% เฉพาะส่วนที่ขาดแคลนเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2548- มีนาคม 2549 ภายในจำนวนไม่เกิน 30 ล้านลิตร
โดยให้คำนึงถึงปริมาณการผลิตภายในประเทศเป็นลำดับแรก และมอบหมายให้ บริษัท ปตท. จำกัด เป็นผู้ดำเนินการนำเข้ามาจัดสรรให้กับบริษัทน้ำมันรายอื่น ๆ (ในราคาต้นทุน) เพื่อสะดวกต่อการควบคุมปริมาณการนำเข้าต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 พฤศจิกายน 2548--จบ--
เดิมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2548 เห็นชอบให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นำเข้าเอทานอล 99.5% ตั้งแต่เดือนกันยายน-ธันวาคม 2548 จำนวน 17.8 ล้านลิตร เพื่อแก้ไขปัญหาเอทานอลขาดแคลนเป็นการชั่วคราว โดยบริษัท ปทต. จำกัด (มหาชน) ได้นำเข้าเอทานอลแล้ว 2 ครั้ง ปริมาณรวม 15.4 ล้านลิตร โดยที่ประชาชนมีความต้องการใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นจากเฉลี่ย 2.2 ล้านลิตรต่อวันในเดือนสิงหาคม 2548 เป็นเฉลี่ยเกือบ 3.0 ล้านลิตรต่อวันในเดือนตุลาคมและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 3.5 ล้านลิตรต่อวันในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 ส่งผลให้ความต้องการใช้เอทานอลเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 350,000 ลิตรต่อวัน ซึ่งปัจจุบันมีโรงงานเอทานอลเพียง 2 แห่ง กำลังการผลิตรวม 375,000 ลิตรต่อวัน ได้แก่ บริษัท ไทย อะโกร เอ็นเนอร์ยี่ กำลังผลิต 175,000 ลิตรต่อวัน และบริษัท ไทยแอลกอฮอล์ กำลังผลิต 200,000 ลิตรต่อวัน แต่บริษัท ไทย อะโกร เอ็นเนอร์ยี่ ได้หยุดปรับปรุงเครื่องจักรตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2548 และจะเริ่มผลิตใหม่ในเดือนมกราคม 2549 ทำให้ขณะนี้คงเหลือบริษัท ไทยแอลกอฮอล์ เป็นผู้ผลิตเพียงรายเดียว ซึ่งกระทรวงพลังงานได้เชิญบริษัทผู้ค้าน้ำมันและผู้ประกอบการเอทานอลมาหารือ เรื่อง อุปสงค์และอุปทานของเอทานอลในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2548 และไตรมาสแรกของปี 2549 สรุปได้ดังนี้
1. ข้อเท็จจริง
1.1 ผู้ประกอบการเอทานอล ปัจจุบันเหลือผู้ผลิตเอทานอลเพียงรายเดียว ได้แก่ บริษัท ไทยแอลกอฮอล์ กำลังผลิตรวม 200,000 ลิตรต่อวัน ส่วนผู้ประกอบการเอทานอลใหม่อีก 3 ราย ได้แก่ขอนแก่นแอลกอฮอล์ ไทยง้วนเอทานอล และอินเตอร์เนชั่นแนลแก๊สโซฮอล์ ได้แจ้งเลื่อนกำหนดการจำหน่ายจากเดิมเดือนตุลาคม 2548 เป็นเดือนธันวาคม 2548
1.2 อุปสงค์และอุปทานของเอทานอล
กรณี 1 : ผู้ประกอบการเอทานอลใหม่ผลิตได้ตามแผน
ผู้ผลิต 2 รายหลัก ได้แก่ บริษัท ไทย อะโกร เอ็นเนอร์ยี่ และบริษัทไทยแอลกอฮอล์ กับ ผู้ประกอบการเอทานอลใหม่ 3 ราย จะสามารถผลิตเอทานอลได้ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548 โดยจะมีกำลังการผลิตและสามารถจำหน่ายได้ในช่วงเดือนธันวาคม 2548-มีนาคม 2549 ประมาณ 72.55 ล้านลิตร ขณะที่บริษัทน้ำมันมีความต้องการเอทานอลรวม 89.87 ล้านลิตร ทำให้ยังขาดเอทานอลอีกประมาณ 9.34 ล้านลิตร
หน่วย : ล้านลิตร
พ.ย.48 ธ.ค.48 ม.ค.49 ก.พ.49 มี.ค.49 รวม
ปริมาณการผลิตเอทานอลในประเทศ 7.20 9.05 18.40 18.40 19.50 72.55
ความต้องการเอทานอลของบริษัท 15.62 17.24 18.07 18.81 20.13 89.87
น้ำมัน
เอทานอลคงเหลือจาก ต.ค.48 7.98 - - - - 7.98
จำนวนที่ขาด -0.44 -8.19 -0.33 -0.41 -0.63 -9.34
กรณี 2 : ผู้ประกอบการเอทานอลใหม่ผลิตไม่ได้ตามแผน
ผู้ผลิต 2 รายหลักสามารถผลิตได้ตามกำหนด แต่ผู้ประกอบการเอทานอลใหม่ 3 รายไม่สามารถผลิตเอทานอลได้ตามกำหนด โดยเลื่อนการผลิตออกไป 3 เดือนเป็นเริ่มผลิตในเดือนมีนาคม 2549 มีกำลังการผลิตรวม 52.80 ล้านลิตร ขณะที่บริษัทน้ำมันมีความต้องการเอทานอลรวม 89.87 ล้านลิตร ซึ่งยังขาดอีกประมาณ 29.09 ล้านลิตร
หน่วย : ล้านลิตร
พ.ย.48 ธ.ค.48 ม.ค.49 ก.พ.49 มี.ค.49 รวม
ปริมาณการผลิตเอทานอลในประเทศ 7.20 6.00 10.20 9.90 19.50 52.80
ความต้องการเอทานอลของบริษัท 15.62 17.24 18.07 18.81 20.13 89.87
น้ำมัน
เอทานอลคงเหลือจาก ต.ค.48 7.98 - - - - 7.98
จำนวนที่ขาด -0.44 -11.24 -7.87 -8.91 -0.63 -29.09
2. แนวทางการดำเนินการ
จากข้อมูลข้างต้น ปริมาณเอทานอลจะเริ่มขาดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2548 ถึงมีนาคม 2549 จำนวน 10-30 ล้านลิตร (ตามกรณี 1 และกรณี 2) โดยสาเหตุหลักเกิดจากประชาชนนิยมใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มมากขึ้นเป็นจำนวนมาก ประกอบกับผู้ผลิตเอทานอลรายใหม่ไม่สามารถผลิตได้ตามกำหนด ทำให้การผลิตเอทานอลไม่เพียงพอกับความต้องการ ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ จึงมีความจำเป็นในการนำเข้าเอทานอล 99.5% เฉพาะส่วนที่ขาดแคลนเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2548- มีนาคม 2549 ภายในจำนวนไม่เกิน 30 ล้านลิตร
โดยให้คำนึงถึงปริมาณการผลิตภายในประเทศเป็นลำดับแรก และมอบหมายให้ บริษัท ปตท. จำกัด เป็นผู้ดำเนินการนำเข้ามาจัดสรรให้กับบริษัทน้ำมันรายอื่น ๆ (ในราคาต้นทุน) เพื่อสะดวกต่อการควบคุมปริมาณการนำเข้าต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 พฤศจิกายน 2548--จบ--