http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ (28 กุมภาพันธ์ 2566) เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาลซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนด กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การยกเว้นภาษี กรณีการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินขององค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นเพื่อชำระหนี้ ให้กระทรวงการคลัง) 2. เรื่อง ร่างกฎหมายตามมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อย คุณภาพของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ [ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ] 3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุย วิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับ พลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลก้ามปู อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม พ.ศ. .... เศรษฐกิจ-สังคม 5. เรื่อง แนวทางการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ (พื้นที่เพิ่มเติม) 6. เรื่อง ขออนุมัติคณะรัฐมนตรีนำเงินค่าปรับที่อยู่ในอำนาจเปรียบเทียบปรับคดีอาญาที่ เป็นอำนาจของข้าราชการตำรวจ เงินค่าปรับตามกฎหมายว่าด้วยการจราจร ทางบกเฉพาะส่วนที่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน และเงินค่าปรับทางปกครองที่ ข้าราชการตำรวจสั่งปรับตามกฎหมาย สมทบเข้ากองทุนเพื่อการสืบสวน สอบสวน การป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา ของสำนักงานตำรวจ แห่งชาติ 7. เรื่อง ขออนุมัติใช้เงินบำรุงโรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ก่อสร้างอาคารหอผู้ป่วย ใน 7 ชั้น (จำนวน 156 เตียง) โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 1 หลัง 8. เรื่อง ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน
1 : 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 3 จำนวน 11 จังหวัด
9. เรื่อง การดำเนินงานด้านการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยด้านอินเทอร์เน็ต สำหรับเด็กในประเทศไทย 10. เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการสินเชื่อ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา
(COVID - 19)
11. เรื่อง ขออนุมัติจัดสรรเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรโครงการโคบาลชายแดนใต้ ของกรมปศุสัตว์ 12. เรื่อง ขอความเห็นชอบกู้ยืมเงินเพื่อสำรองเผื่อสภาพคล่องขององค์การส่งเสริมกิจการ
โคนมแห่งประเทศไทย
13. เรื่อง โครงการพัฒนาระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลไปยังบริเวณอำเภอเกาะสมุย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า
14. เรื่อง ขออนุมัติโครงการปรับปรุงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ เครื่องที่ 4-5 และ โครงการปรับปรุงโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนรัชชประภา เครื่องที่ 1-3 15. เรื่อง ขออนุมัติหลักการสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการ ?สานใจไทย สู่ใจใต้? โดยการ สนับสนุนงบประมาณอุดหนุนให้กับมูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ 16. เรื่อง รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 4 ปี 2565 17. เรื่อง รายงานเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับกับการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริงกับ ประมาณการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. 2561
18. เรื่อง รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565 และรายงานผลการติตตาม การดำเนินงานตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในรายงานสถานการณ์คุณภาพ
สิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2563
19. เรื่อง ขอผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อดำเนินการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 101 สายน่าน - อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ตอน บ้านปอน - อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน 20. เรื่อง ขออนุมัติทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2560 เรื่อง อนุมัติให้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ดำเนินงานก่อสร้างงานโยธาโครงการ รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) 21. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559 เรื่อง โครงการผลิตครูเพื่อ พัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2559 - 2572) 22. เรื่อง การเร่งรัดออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่ง พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของ กฎหมาย พ.ศ. 2562 23. เรื่อง ขออนุมัติ (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ.2566-2570 24. เรื่อง ขอทบทวนการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2559 เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวทาง เรื่อง ค่าบริการทางการแพทย์และเงินเหมาจ่ายช่วยเหลือ ในการรักษาพยาบาล กรณีผู้บาดเจ็บจากสถานการณ์เหตุระเบิดแยกราชประสงค์ วันที่ 17 สิงหาคม 2558 ของกระทรวงสาธารณสุข 25. เรื่อง รายงานผลการผลักดันทรัพย์สินออกจากระบบการบังคับคดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไตรมาสที่ 1 ของกรมบังคับคดี 26. เรื่อง ข้อเสนอโครงการอาสาสมัครกระทรวงศึกษาธิการ (อส.ศธ.) 27. เรื่อง สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนมกราคม 2566 28. เรื่อง รายงานผลการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนโครงการลงทะเบียนเพื่อ สวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 และประชารัฐสวัสดิการใหม่แก่ผู้ที่ผ่านการตรวจสอบ คุณสมบัติ 29. เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) 30. เรื่อง มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 10 31. เรื่อง การเสนอผ้าขาวม้า : ผ้าอเนกประสงค์ในวิถีชีวิตไทย เป็นรายการตัวแทนมรดก วัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อยูเนสโก 32. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการ เงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายโครงการ ช่วยเหลือผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดของศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมจังหวัดฯ 33. เรื่อง ขออนุมัติให้จ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 เพิ่มเติม สำหรับกรณีพื้นที่ประสบอุทกภัย ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2566 ภายใต้กรอบวงเงินที่ได้รับการจัดสรร ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 34. เรื่อง ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการนำ ร่องตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 35. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อสมทบเป็นค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินแผนงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสภาองค์กรของผู้บริโภค 36. เรื่อง ขออนุมัติดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ตาช้าง จังหวัดเชียงราย 37. เรื่อง ขอความเห็นชอบให้กรมป่าไม้ส่งมอบพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเสื่อมโทรม ?ป่าสวนเมี่ยง? เนื้อที่ประมาณ 361 ไร่ ให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรม นำไปดำเนินการตามกฎหมายปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 38. เรื่อง การสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ต่างประเทศ 39. เรื่อง ผลการประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Meeting) ของการประชุม the 3rd World Conference on Creative Economy (WCCE) 40. เรื่อง ปฏิญญาเสียมราฐว่าด้วยอนาคตของการท่องเที่ยวในกรอบ ACMECS 41. เรื่อง รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย-กาตาร์ รายงานผลการเจรจาการบิน ระหว่างไทย-จอร์เจีย และรายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทยและสหราช อาณาจักร 42. เรื่อง การดำเนินการจัดทำหนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยพนักงานวิทยุสมัครเล่นไทย - ฟินแลนด์ 43. เรื่อง รางวัลบีซีจีของเอเปค (APEC BCG Award) 44. เรื่อง การเพิ่มทุนในโครงการเหมืองแร่โพแทชของอาเซียน 45. เรื่อง การประชุมระดับรัฐมนตรีบิมสเทค ครั้งที่ 19 46. เรื่อง การถอนคำแถลงตีความของอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการประติบัติหรือ การลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and other Cruel, Inhuman or degrading Treatment or Punishment : CAT) 47. เรื่อง การเข้าร่วมเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (CEPA) ระหว่างไทยกับ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) 48. เรื่อง ร่างยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมกรอบความร่วมมือล้านช้าง - แม่โขง และแผนการดำเนินงานพ.ศ. 2566 ? 2570 49. เรื่อง ร่างเอกสารที่จะมีการรับรองและลงนามในระหว่างการประชุม The 1st Asia Zero Emission Community (AZEC) Ministerial Meeting แต่งตั้ง 50. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง) 51. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) 52. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข) 53. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข) 54. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข) 55. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี) 56. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ) 57. เรื่อง ขอความเห็นชอบการแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ 58. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงยุติธรรม) 59. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงศึกษาธิการ) 60. เรื่อง แต่งตั้งอะมีรุ้ลฮัจย์ หรือรออิสบิซาตุลฮัจย์ อัลรัสมียะห์ (หัวหน้าคณะผู้แทนฮัจย์ ทางการ) ประจำปี พ.ศ. 2566 (ฮ.ศ. 1444) 61. เรื่อง การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญ (พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร) เพื่อแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 62. เรื่อง การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญ (นางสาวสุลักขณา ธรรมานุสติ) เพื่อแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 63. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี) 64. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี 65. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ 66. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการการประปานครหลวง 67. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 68. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม
การฟอกเงินแทนตำแหน่งที่ว่าง
กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การยกเว้นภาษีกรณีการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินขององค์การอุตสาหกรรม ห้องเย็นเพื่อชำระหนี้ให้กระทรวงการคลัง) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ที่ กค. เสนอ เป็นการกำหนดให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่กิจการขององค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น (อ.ย.) เฉพาะการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อชำระหนี้ให้แก่กระทรวงการคลัง หลังจากที่ได้มีการยุบเลิกองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น (โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจำนวน 4 แปลง ได้แก่ 1) ที่ดินเลขที่ 6924 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 2) ที่ดินเลขที่ 12345 ตำบลวัดเกษ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 3) ที่ดินเลขที่ 6609 ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ และ 4) ที่ดินเลขที่ 325211 ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ) โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2563 ซึ่งเป็นวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินขององค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นเพื่อชำระหนี้ให้กระทรวงการคลัง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดภาระการจ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา เป็นการกำหนดให้กิจการของ อ.ย. เฉพาะการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อชำระหนี้ให้แก่ กค. ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2563 ซึ่งเป็นวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินของ อ.ย. เพื่อชำระหนี้ให้ กค. 2. เรื่อง ร่างกฎหมายตามมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ [ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ] คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา 1. ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัท บริหารสินทรัพย์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จำกัด (บสอ.) โดยย้อนหลังไปตั้งแต่ปี 2561 ที่ บสอ. ได้รับจัดสรรเงินอุดหนุนจากรัฐบาล] เป็นการกำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ บสอ. สำหรับเงินอุดหนุนที่ได้รับจากรัฐบาลเพื่อชดเชยเงินต้น ดอกเบี้ย ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง และสำรองเพื่อการดำเนินงานในส่วนที่เกินจากรายรับในแต่ละปี ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 พฤษภาคม 2560 2. ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ให้เหมือนกับบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ถือหุ้นโดยตรงหรือโดยอ้อม) โดยแก้ไขเพิ่มเติม พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 362) พ.ศ. 2542 ดังนี้ พ.ร.ฎ. ฯ (ฉบับที่ 362) พ.ศ. 2542 ร่าง พ.ร.ฎ. ฯ 1. ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์สำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่รับซื้อหรือรับโอนจากสถาบันการเงิน โดยบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นจะต้องมีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ถือหุ้นโดยตรงหรือโดยอ้อมไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง (มาตรา 5 วรรคแรก) 1. ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์สำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่รับซื้อหรือรับโอนจากสถาบันการเงิน โดยบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นจะต้องมีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือ กค. เป็นผู้ถือหุ้นโดยตรงหรือโดยอ้อมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 95 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง 2. ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่สถาบันการเงิน หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถือหุ้นโดยตรงหรือโดยอ้อมเกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง สำหรับเงินได้เป็นจำนวนเท่ากับเงินสำรองที่บริษัทบริหารสินทรัพย์กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ตั้งเพิ่มขึ้นจากเงินสำรองประเภทดังกล่าวที่ปรากฏในงบดุลของรอบระยะเวลาบัญชีก่อน (มาตรา 6 วรรคแรก) 2. ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่สถาบันการเงิน กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือ กค. ถือหุ้นโดยตรงหรือโดยอ้อมเกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง สำหรับเงินได้เป็นจำนวนเท่ากับเงินสำรองที่บริษัทบริหารสินทรัพย์กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคาร แห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ตั้งเพิ่มขึ้นจากเงินสำรองประเภทดังกล่าวที่ปรากฏใน งบดุลของรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ทั้งนี้ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป (จะไปใช้ในปีภาษี 2566 เป็นต้นไป) กค. ได้รายงานประมาณการการสูญเสียรายได้ตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยคาดว่ามาตรการทางภาษีดังกล่าวจะมีผลทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลปีละประมาณ 720 ล้านบาท แต่จะเป็นการทำให้บริษัท บริหารสินทรัพย์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จำกัด ใช้จ่ายเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรเพื่อชำระคืนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยเป็นไปตามวัตถุประสงค์ทั้งจำนวน (ปัจจุบันคงเหลือตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 2 ฉบับ รวมเป็นเงินประมาณ 10,071 ล้านบาท) 3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา พ.ศ. 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อกำหนดปริญญาในสาขาวิชา และอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาอุตสาหกรรมศาสตร์ และเพิ่มระดับชั้นปริญญาโทในสาขาวิชาเทคโนโลยี รวมทั้งกำหนดสีประจำสาขาวิชาการจัดการ และสาขาวิชาอุตสาหกรรมศาสตร์ ซึ่งสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว 4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลก้ามปู อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้ 1. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลก้ามปู อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ 2. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย 3. ให้สำนักงานศาลยุติธรรมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เป็นการถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลก้ามปู อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ 35 ตารางวา ซึ่งปัจจุบันราษฎรได้เลิกใช้ประโยชน์ที่ดินแปลงนี้ทั้งแปลงแล้ว เพื่อมอบหมายให้สำนักงานศาลยุติธรรมใช้เป็นที่ตั้งที่ทำการศาลแขวงพยัคฆภูมิพิสัย (จังหวัดมหาสาคาม) พร้อมที่พักและสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ เศรษฐกิจ-สังคม 5. เรื่อง แนวทางการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ (พื้นที่เพิ่มเติม) คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบดังนี้ 1. รับทราบรายงานผลการศึกษาแนวทางการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ 2. ส่วนการขอความเห็นชอบในหลักการให้กระทรวงยุติธรรมและการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยร่วมกันขับเคลื่อนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมนั้น เป็นเรื่องที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของกระทรวงยุติธรรมและการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยที่จะพิจารณาดำเนินการประสาน ความร่วมมือกันโดยต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 3. ให้กระทรวงยุติธรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร. และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงคมนาคมไปดำเนินการด้วย สาระสำคัญของเรื่อง ยธ. รายงานว่า 1. ยธ. ร่วมกับสถานบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทำการศึกษาทบทวนความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการนิคมฯ โดยเพิ่มการศึกษาแนวทางการดำเนินการจัดตั้งนิคมฯ ในลักษณะการร่วมดำเนินการกับภาคเอกชนและการขยายผลการศึกษาพื้นที่นิคมฯ ไปยังพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ พร้อมนำความเห็น ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่าง ๆ มาประกอบการพิจารณาซึ่งโครงการจัดตั้งนิคมฯ เป็นกรอบแนวคิดการพัฒนาระบบพัฒนาพฤตินิสัย โดย ยธ. ร่วมกับ กนอ. ในการสร้างงาน สร้างอาชีพ และคืนคนดีสู่สังคมอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ยธ. (กรมราชทัณฑ์) จะดำเนินการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการรองรับระบบงานภาคนิคมอุตสาหกรรมและเตรียมความพร้อมทักษะอาชีพของผู้ต้องขังตั้งแต่อยู่ในเรือนจำ และ กนอ. จะประสานสถานประกอบการในการกำกับดูแล ของ กนอ. สถานประกอบการหรือ นิคมอุตสาหกรรมที่ยังมีพื้นที่เหลือในการเข้าร่วมโครงการทั้งในส่วนของการพัฒนาทักษะแรงงานและการพัฒนาเป็นแรงงานทางเลือกเพื่อขับเคลื่อนให้แนวคิดและนโยบายโครงการจัดตั้งนิคมฯ ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ประเด็น ผลการศึกษาแนวทางการจัดตั้งนิคมฯ (1) รูปแบบของนิคมฯ (1.1) จัดตั้งนิคมฯ โดยใช้ที่ราชพัสดุในลักษณะร่วมดำเนินการกับ กนอ. โดยให้ กนอ. เป็นผู้พัฒนาพื้นที่โดยจัดหาที่ราชพัสดุแล้วนำมาพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานและเปิดพื้นที่ให้สถานประกอบการเช่าใช้ประกอบการ หรือเป็นการเปิดเชิญชวนเอกชนผู้สนใจมาเช่าพื้นที่เป็นค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์พื้นที่ในระยะยาวโดยอาจมีสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อจูงใจหากมีการจ้างงานผู้พ้นโทษหรือผู้ถูกคุมประพฤติที่อยู่ระหว่างพักการลงโทษหรือลดวันต้องโทษ (1.2) จัดตั้งนิคมฯ โดยใช้พื้นที่เอกชน ประกาศเชิญชวนเอกชนมาร่วมลงทุน โดยเอกชนนำที่ดินของเอกชนมาพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานและเปิดพื้นที่ให้สถานประกอบการเช่าใช้ประกอบการเป็นรายได้ตอบแทนให้กับเอกชนผู้ลงทุน โดยรัฐไม่ต้องเป็นผู้จัดหาที่ดินและแหล่งเงินทุนในการก่อสร้าง ซึ่งอาจมีการให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อจูงใจหากมีการจ้างงานผู้พ้นโทษหรือผู้ถูกคุมประพฤติที่อยู่ระหว่างพักการลงโทษหรือลดวันต้องโทษ สำหรับผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมด้วย ทั้งนี้ หากสามารถเชิญชวนเอกชนนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นิคมอุตสาหกรรมมาลงทุนได้ก็อาจไม่จำเป็นต้องเป็นภาระงบประมาณภาครัฐในการดำเนินการ (1.3) จัดตั้งนิคมฯ ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเดิม โดยใช้พื้นที่เดิมที่มีอยู่แล้วในการเปิดให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ว่างที่ยังเหลืออยู่ และยังไม่มีผู้ประกอบการมาจับจอง ทั้งนี้ อาจใช้การเปิดเขตพื้นที่พิเศษภายในนิคมอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรมราชทัณฑ์เฉพาะ รวมทั้งให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการเพื่อจูงใจในการเข้ามาลงทุนในนิคมฯ (1.4) จัดตั้งเขตอุตสาหกรรมภายในพื้นที่เรือนจำ โดยขอใช้ที่ดินราชพัสดุของเรือนจำซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมราชทัณฑ์ แต่ยังมีขนาดไม่เพียงพอที่จะจัดตั้งเป็นนิคมอุตสาหกรรม โดย ยธ. จะเป็นผู้ขอใช้ที่ราชพัสดุจากกรมธนารักษ์แล้วเชิญชวนเอกชนมาร่วมลงทุนโดยรัฐจะเป็นผู้ลงทุนด้านพื้นที่ การก่อสร้างอาคาร และพื้นที่พักอาศัยสำหรับดูแลผู้กระทำผิดและให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนเครื่องจักร วิธีการผลิต และแหล่งรับซื้อผลิตภัณฑ์ หรือหากมีผู้ประกอบการรายใดพร้อมลงทุนทั้งหมดอาจเป็นการร่วมลงทุนในรูปแบบอื่น ๆ (1.5) จัดตั้งเขตอุตสาหกรรมการเกษตร โดยนำพื้นที่ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อการจัดตั้งเป็นนิคมอุตสาหกรรมแต่สามารถพัฒนาพื้นที่เหลือใช้ของเรือนจำต่าง ๆ ให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมโดยเน้นที่การพัฒนาเกษตรสมัยใหม่ที่ใช้พื้นที่น้อยแต่มีมูลค่าสูง (1.6) จัดตั้งเขตอุตสาหกรรมเชิงท่องเที่ยวและสุขภาพ โดยนำพื้นที่ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อการจัดตั้งเป็นนิคมอุตสาหกรรมแต่มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ซึ่งสามารถเชิญชวนบุคคลภายนอกมาเยี่ยมชมหรือประกอบกิจกรรมเชิงสันทนาการต่าง ๆ ในพื้นที่ได้ และหากมีผู้สนใจมาเยี่ยมชมเพียงพอจะสามารถช่วยเพิ่มรายได้ให้กับนิคมอุตสาหกรรมในด้านการท่องเที่ยว รวมทั้งยังช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการฝึกอาชีพให้กับผู้กระทำผิดในส่วนที่เป็นอาชีพค้าขายและอาชีพบริการได้ด้วย (1.7) จัดตั้งเขตอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ในพื้นที่เอกชน อาจสามารถดำเนินการในลักษณะของบ้านกึ่งวิถีหรือสถานที่พักพิงดูแลผู้ถูกคุมประพฤติในระหว่างพักการลงโทษและลดวันต้องโทษในพื้นที่เอกชนได้โดยไม่จำเป็นจะต้องมีการลงทุนของรัฐเพิ่ม (2) หลักเกณฑ์และองค์ประกอบของนิคมฯ (2.1) ใช้การลงทุนร่วมกับภาคธุรกิจเอกชน เพื่อให้สามารถเลี้ยงตัวเองได้โดยพึ่งพางบประมาณภาครัฐให้น้อยที่สุด และบริหารจัดการองค์กรโดยการเก็บค่าบริการบริหารพื้นที่ในระยะยาว รวมทั้งใช้การสนับสนุนภาครัฐให้เกิดแรงจูงใจของภาคธุรกิจในการร่วมลงทุน (2.2) คัดเลือกผู้ประกอบการธุรกิจที่เน้นนวัตกรรม แรงงานใช้ฝีมือ และรูปแบบธุรกิจสมัยใหม่ เพื่อช่วยสร้างงานสร้างอาชีพสุจริตที่มีรายได้เพียงพอให้กับผู้พ้นโทษเป็นทุนตั้งต้นมากกว่าที่จะจูงใจผู้ประกอบการโดยกดค่าจ้างแรงงานให้ต่ำหรือใช้แรงงานไร้ฝีมือในสถานประกอบการ (2.3) จัดองค์ประกอบพื้นที่ อาจใช้พื้นที่การฝึกตั้งแต่เป็นผู้ต้องขังภายในแดนควบคุมและจัดพื้นที่นิคมฯ นอกแดนควบคุมเพื่อรองรับผู้พ้นโทษหรือผู้ถูกคุมประพฤติที่อยู่ระหว่าง พักการลงโทษหรือลดวันต้องโทษ โดยควรมีการจัดหาที่พักอาศัยเป็นที่พักพิงให้กับผู้กระทำผิดในระหว่างที่เข้าฝึกงานและทำงานภายในนิคมฯ ด้วย (2.4) จัดพื้นที่สำหรับการฝึกอาชีพค้าขายและอาชีพบริการอิสระต่าง ๆ ในพื้นที่นิคมฯ ที่มีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการมากเพียงพอหรือเป็นนิคมอุตสาหกรรมเพื่อการท่องเที่ยวเพื่อให้บริการภายในนิคมอุตสาหกรรมและส่งเสริมทักษะอาชีพด้านการประกอบอาชีพอิสระ โดยอาจมีการสนับสนุนเงินทุนประกอบอาชีพให้ด้วย (2.5) ยธ. (กรมราชทัณฑ์) จะเตรียมความพร้อมตั้งแต่การคัดกรองและฝึกอาชีพผู้ต้องขังให้สอดคล้องกับความต้องการแรงงาน รวมทั้งการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยตัว โดยจัดให้มีศูนย์เตรียมความพร้อมฝึกทักษะฝีมือแรงงานรองรับในช่วงเตรียมความพร้อมและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานก่อนปล่อยตัว รวมทั้งพยายามส่งตัวผู้ต้องขังที่มีความประพฤติดีและต้องการประกอบอาชีพสุจริตให้ออกมาทำงานในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมผ่านการ พักการลงโทษกรณีพิเศษ ซึ่งจะส่งผลให้มีผู้ต้องขังในเรือนจำลดน้อยลงโดยอาจใช้อุปกรณ์ควบคุมตัวอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Monitoring: EM) (3) มาตรการและสิทธิประโยชน์เพื่อสร้างแรงจูงใจในการลงทุนในนิคมฯ (3.1) สิทธิประโยชน์ทางภาษีทั้งในส่วนของสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีเงินได้ สิทธิประโยชน์ในการลดภาษีการนำเข้าเครื่องจักรสำหรับเข้าร่วมโครงการ และสิทธิการลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมสำหรับค่าใช้จ่ายในการจ้างงานผู้ต้องขังหรือผู้พ้นโทษ (3.2) สนับสนุนส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนหรือวิสาหกิจขนาดย่อมในการผลิตสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อจำหน่ายให้กับเรือนจำ หรือการผลิตสินค้าเพื่อใช้ในหน่วยงานของรัฐ โดยผ่านข้อยกเว้นการจัดซื้อแบบเฉพาะเจาะจงผ่านหน่วยงานของรัฐได้ หรือสิทธิการนำสินค้าและผลิตภัณฑ์มาเข้าร่วมโครงการสวัสดิการของรัฐ (3.3) สนับสนุนด้านพื้นที่ การก่อสร้างอาคาร และพื้นที่พักอาศัยสำหรับดูแลผู้กระทำผิดหรือการสนับสนุนด้านการจัดหาวัตถุดิบและการขนส่งโดยให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนเครื่องจักร วิธีการผลิต และแหล่งรับซื้อผลิตภัณฑ์ (3.4) สิทธิการใช้ประโยชน์พื้นที่กรณีเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ดำเนินการซึ่งลักษณะของพื้นที่เรือนจำบางแห่งเป็นพื้นที่เหมาะสม เช่น กิจการคัดแยกขยะและโรงไฟฟ้าชีวมวล (3.5) สิทธิประโยชน์ในการจัดหาและฝึกอาชีพแรงงานสาขาขาดแคลนและช่างฝีมือและสิทธิประโยชน์ในการสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านการจ้างแรงงานบางส่วนในระยะฝึกหัดงานและแรงงานยังขาดทักษะฝีมือ (4) องค์กรในการบริหารจัดการ ยธ. ได้เสนอขอจัดตั้งองค์การส่งเสริมการกลับคืนสู่สังคม ในลักษณะขององค์การมหาชนแทนการบริหารแบบส่วนราชการ เพื่อเป็นองค์กรบริหารกลางมาทำหน้าที่ในการบริหารจัดการนิคมฯ และประสานการรับส่งต่อผู้ต้องขังและการดูแลผู้พันโทษ ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (กพม.) เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 มีมติยังไม่เห็นควรให้จัดตั้งในขณะนี้ แต่เสนอให้มีการดำเนินการในรูปแบบหน่วยบริการรูปแบบพิเศษภายใต้สำนักงานปลัด ยธ. (5) พื้นที่นำร่องต้นแบบ การลงพื้นที่สำรวจความพร้อมของเรือนจำ 21 แห่ง พบว่ามีพื้นที่ซึ่งมีความพร้อมสูงมีศักยภาพและมีความเป็นไปได้ที่ดำเนินการโครงการนำร่องต้นแบบในทุกภูมิภาค ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ลำพูน และสงขลา ซึ่งในระยะแรกอาจดำเนินการจัดตั้งนิคมฯ ภูมิภาคละ 1 แห่ง และอาจพิจารณาหาพื้นที่ที่เหมาะสมก่อนดำเนินโครงการร่วมกับ กนอ. ต่อไป (6) การวิเคราะห์ความคุ้มค่า ต้นทุนและผลประโยชน์ (6.1) การจัดตั้งศูนย์เตรียมความพร้อมฝึกทักษะฝีมือแรงงานรองรับในช่วงเตรียมความพร้อมและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานก่อนปล่อยตัว การฝึกอบรมและการสูญเสียรายได้ภาครัฐจากการให้สิทธิประโยชน์ โดยจะมีงบประมาณการก่อสร้างและพัฒนาระบบสาธารณูปโภคเมื่อเทียบเคียงกับการก่อสร้างเรือนจำโครงสร้างเบาอยู่ที่ 25 ล้านบาท โดยในส่วนของการฝึกอบรมจะใช้งบประมาณ 500,000 บาทต่อปี ซึ่งการสูญเสียรายได้ภาครัฐจากสิทธิประโยชน์การรับผู้พ้นโทษเข้าทำงานซึ่งเป็นสิทธิประโยชน์หลักที่สามารถคำนวณได้เป็นความสูญเสียรายได้ภาครัฐประมาณ 9,252 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งต้องใช้งบประมาณภาครัฐในการดำเนินการ ในส่วนนี้หากสามารถส่งตัวผู้ต้องขังที่มีความประพฤติดีและต้องการประกอบอาชีพสุจริตให้ออกมาทำงานในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมผ่านการพักการลงโทษกรณีพิเศษ สามารถลดงบประมาณในการดูแลผู้ต้องขังได้โดยเฉลี่ยประมาณ 21,961 บาทต่อคนต่อปี จากการประเมินความคุ้มค่าพบว่า รูปแบบนิคมอุตสาหกรรมที่สามารถรองรับแรงงานผู้พ้นโทษได้มาก ยิ่งจะทำให้เกิดความคุ้มค่า โดยหากสามารถลดจำนวนผู้ต้องขังในเรือนจำได้ประมาณ 2,000 คนต่อการจัดตั้งนิคมฯ 1 แห่ง จะสามารถประหยัดงบประมาณภาครัฐได้ถึง 99.95 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 5 ปี (6.2) การลงทุนในการจัดตั้งนิคมฯ พบว่า หากเป็นการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ซึ่งมีฐานอุตสาหกรรมและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ มีความน่าสนใจเพียงพอและหากสามารถเชิญชวนผู้ประกอบการเข้าลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมเต็มพื้นที่จะมีรายได้จากการเช่าพื้นที่ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมในระยะยาวเกินกว่าต้นทุนการดำเนินการของ กนอ. (ใช้ตัวแบบการคำนวณในลักษณะเดียวกับการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม ขนาดพื้นที่ 1,500 ไร่ จะมีผลกำไรเกินกว่าต้นทุนประมาณ 2 พันล้านบาท ภายใน 30 ปี) 6. เรื่อง ขออนุมัติคณะรัฐมนตรีนำเงินค่าปรับที่อยู่ในอำนาจเปรียบเทียบปรับคดีอาญาที่เป็นอำนาจของข้าราชการตำรวจ เงินค่าปรับตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกเฉพาะส่วนที่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน และเงินค่าปรับทางปกครองที่ข้าราชการตำรวจสั่งปรับตามกฎหมาย สมทบเข้ากองทุนเพื่อการสืบสวน สอบสวน การป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป็นหลักการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) นำเงินค่าเปรียบเทียบปรับคดีอาญาที่เป็นอำนาจของข้าราชการตำรวจ เงินค่าปรับตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกเฉพาะส่วนที่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน และเงินค่าปรับทางปกครองที่ข้าราชการตำรวจสั่งปรับตามกฎหมาย (เงินค่าเปรียบเทียบปรับและเงินค่าปรับฯ) ให้เป็นของกองทุนเพื่อการสืบสวน สอบสวน การป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา (กองทุนฯ) โดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับ 17 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ตามที่ ตช. เสนอ สาระสำคัญ 1. โดยที่พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565* มาตรา 156 และ 157 วรรคสอง บัญญัติให้จัดตั้งกองทุนฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินไปใช้จ่ายในงานสืบสวน สอบสวน และการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญาซึ่งคณะรัฐมนตรีมีอำนาจในการอนุมัติให้นำเงินค่าเปรียบเทียบปรับคดีอาญาที่เป็นอำนาจของข้าราชการตำรวจ เงินค่าปรับตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก เฉพาะส่วนที่จะต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน และเงินค่าปรับทางปกครองที่ข้าราชการตำรวจสั่งปรับตามกฎหมายให้เป็นของกองทุนฯ โดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินได้ 2. ตช. เห็นว่า เงินดังกล่าวถือเป็นแหล่งที่มาของเงินกองทุนฯ ที่สามารถนำมาใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในการทำหน้าที่สืบสวน สอบสวน การป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา ซึ่งเงินงบประมาณที่ได้รับอุดหนุนจากรัฐบาลหรือจากแหล่งอื่นตามที่กฎหมายกำหนดไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ ประกอบกับ ตช. มีค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถเบิกจ่ายจากงบประมาณได้ เช่น ค่าสายลับ ค่าการข่าว ค่าติดตามคนร้าย เป็นต้น ดังนั้น ตช. จึงขอหักเงินค่าเปรียบเทียบปรับและเงินค่าปรับฯ ให้เป็นของกองทุนฯ โดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ทั้งนี้ ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติ (1 สิงหาคม 2549) อนุมัติในหลักการให้นำเงินค่าปรับที่อยู่ในอำนาจเปรียบเทียบปรับของข้าราชการตำรวจในส่วนที่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญาได้ [ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 (ฉบับเดิม)] โดยให้ ตช. ตกลงในรายละเอียดกับกระทรวงการคลัง (กค.) ว่าจะสมควรส่งเป็นรายได้แผ่นดินในอัตราร้อยละเท่าใด เพื่อให้ กค. ทราบสถานะของเงินส่วนนี้และเพื่อประโยชน์ในการเชื่อมโยงระบบบัญชี แล้วรายงานผลให้คณะรัฐมนตรีทราบด้วย (ข้อเสนอครั้งนี้ได้ขอเพิ่มในส่วนของเงินค่าปรับทางปกครองที่ข้าราชการตำรวจสั่งตามกฎหมายด้วย เพื่อให้เป็นไปตามพะราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2565) 3. ที่ผ่านมา กค. ได้อนุญาตให้ ตช. นำเงินค่าปรับที่อยู่ในอำนาจเปรียบเทียบปรับของข้าราชการตำรวจและเงินค่าปรับตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกเฉพาะส่วนที่จะต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญาในอัตราร้อยละ 99 หรือร้อยละ 5 ส่งผลให้กองทุนฯ มีรายได้ในส่วนดังกล่าวนำส่งเข้ากองทุนฯ สรุปได้ ดังนี้ ปีงบประมาณ พ.ศ. ร้อยละที่นำส่งเข้ากองทุนฯ วงเงิน (ล้านบาท) 2563 99 433.62 2564 99 363.40 2565 99* หรือ 5** 471.28 หมายเหตุ * กรณีที่มิใช่การจับกุมผู้กระทำผิดด้วยเครื่องอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ให้สมทบเข้ากองทุนฯ อัตราร้อยละ 99 **กรณีที่จับกุมผู้กระทำผิดด้วยเครื่องอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ให้สมทบเข้ากองทุนฯ อัตรา ร้อยละ 5 * มาตรา 156 บัญญัติให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งใน ตช. เรียกว่า ?กองทุนเพื่อการสืบสวน สอบสวน การป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา? โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้จ่ายในงานสืบสวน สอบสวน และการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา มาตรา 157 วรรคสอง บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีจะอนุมัติให้นำเงินค่าเปรียบเทียบปรับคดีอาญาที่เป็นอำนาจของข้าราชการตำรวจ เงินค่าปรับตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก เฉพาะส่วนที่จะต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินและเงินค่าปรับทางปกครองที่ข้าราชการตำรวจสั่งปรับตามกฎหมาย ให้เป็นของกองทุนโดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินก็ได้ 7. เรื่อง ขออนุมัติใช้เงินบำรุงโรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ก่อสร้างอาคารหอผู้ป่วยใน 7 ชั้น (จำนวน 156 เตียง) โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 1 หลัง คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติใช้เงินบำรุงโรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ก่อสร้างอาคารหอผู้ป่วยใน 7 ชั้น (จำนวน 156 เตียง) โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 1 หลัง ในวงเงิน 153.77 ล้านบาท ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ ทั้งนี้ โรงพยาบาลร้อยเอ็ดพบปัญหาความแออัดจากจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น1 ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลร้อยเอ็ด ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2564 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2564 จึงมีมติอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารหอผู้ป่วยใน 7 ชั้น (จำนวน 156 เตียง) จำนวน 1 หลัง โดยใช้เงินบำรุงโรงพยาบาลร้อยเอ็ด วงเงินงบประมาณ 156 ล้านบาท ระยะเวลาในการก่อสร้าง ประมาณ 690 วัน (1 ปี 11 เดือน) ซึ่งสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (จังหวัดร้อยเอ็ด) ได้ขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณเพื่อขออนุมัติใช้เงินบำรุงโรงพยาบาลร้อยเอ็ดเพื่อก่อสร้างอาคารดังกล่าว2 ทั้งนี้ สำนักงบประมาณพิจารณาแล้วเห็นชอบให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการก่อสร้างอาคารดังกล่าว ในวงเงิน 153.77 ล้านบาท จากเงินบำรุงโรงพยาบาลร้อยเอ็ด 1 ปัจจุบัน โรงพยาบาลร้อยเอ็ดเป็นโรงพยาบาลศูนย์ ระดับ เอ ขนาด 820 เตียง แต่มีปริมาณเตียงจริง จำนวน 988 เตียงและมีอัตราครองเตียงอยู่ที่ ร้อยละ 110 2 ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2565 มีเงินบำรุงคงเหลือ จำนวน 1,130.5968 ล้านบาท 8. เรื่อง ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 3 จำนวน 11 จังหวัด คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) เสนอดังนี้ 1. เห็นชอบผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) (แผนที่ One Map) พื้นที่กลุ่มที่ 3 จำนวน 11 จังหวัด ประกอบด้วย นครราชสีมา บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ สระแก้ว สุรินทร์ อุบลราชธานี เพชรบูรณ์ และเลย (ยกเว้นกรณีอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา และปราจีนบุรี1) และให้หน่วยงานที่มีที่ดินอยู่ในความรับผิดชอบปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่ One Map โดยใช้แผนที่ One Map ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วแทนแผนที่แนบท้ายกฎหมาย และใช้เป็นแนวเขตที่ดินของรัฐตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จภายใน 360 วัน โดยอาจขอขยายระยะเวลาการดำเนินการต่อคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ได้ตามเหตุผลความจำเป็นแต่ไม่เกิน 180 วัน ทั้งนี้ แนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 [เรื่อง ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตรส่วน 1 : 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด] ที่ให้นำไปใช้กับทุกกลุ่มจังหวัดเพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน 2. รับทราบแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน จังหวัดนครราชสีมา และปราจีนบุรี (กรณีเร่งด่วน) ดังนี้ 2.1 การดำเนินการปรับปรุงแผนที่ One Map กรณีพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับซ้อนกับเขตปฏิรูปที่ดิน [ซึ่งกรมป่าไม้ส่งมอบพื้นที่ให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ดำเนินการ] ให้ยึดเส้นแนวเขตของ ส.ป.ก. ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงแผนที่ One Map ข้อ 5.1 และข้อ 6.1 ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้ หลักเกณฑ์ สาระสำคัญ ข้อ 5.1 กรณีป่าสงวนแห่งชาติทับซ้อนกับเขตปฏิรูปที่ดิน ให้ใช้แนวเขตตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินที่มีแผนงานดำเนินการแล้วเป็นหลัก และอยู่ในเขตพื้นที่กรมป่าไม้ส่งมอบ ส.ป.ก. กรณีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินทั้งตำบล อำเภอ ให้ใช้แนวเขตปฏิรูปที่ดินตามแผนที่ที่กรมป่าไม้ส่งมอบพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติให้ ส.ป.ก. รวมทั้งพื้นที่ที่ ส.ป.ก. กันคืนตามบันทึกข้อตกลงระหว่างกรมป่าไม้และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติในการกันพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติกลับคืนกรมป่าไม้ เมื่อวันที่ 14 กันยายน 25382 ข้อ 6.1 กรณีกรมป่าไม้ส่งมอบพื้นที่ให้ ส.ป.ก. และได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็น เขตปฏิรูปที่ดินก่อนการกำหนดให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ สวนรุกขชาติ เขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ให้ใช้แนวเขตปฏิรูปที่ดินเป็นหลัก เว้นแต่เป็นพื้นทที่ที่ไม่สมควรนำไปปฏิรูปที่ดิน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 25373 (เรื่อง ขออนุมัติดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติในเขตเศรษฐกิจที่เสื่อมโทรม) ให้ใช้แนวเขตอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ สวนรุกขชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า เป็นหลัก 2.2 มอบหมายให้คณะอนุกรรมการนโยบาย แนวทางและมาตรการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน รับเรื่องไปพิจารณากรณีพื้นที่นอกแนวเขตที่กรมป่าไม้ส่งมอบให้ ส.ป.ก. ดำเนินการ (แต่อยู่ภายในเขตเส้นปรับปรุงปี 2543) ว่าควรใช้แนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมอย่างไร เมื่อผลเป็นประการใดให้นำเสนอ คทช. และคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป 1 เนื่องจาก สคทช. ได้รับหนังสือร้องเรียนขอคัดค้านและขอให้ทบทวนการใช้แผนที่แนวเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยอ้างว่าแผนที่ที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ใช้ในการดำเนินการปรับปรุงแผนที่ One Map ไม่เป็นไปตามแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ฉบับปี พ.ศ. 2505 ขณะนี้ สคทช. อยู่ระหว่างการตรวจสอบความถูกต้อง ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เกิดความรอบคอบ ชัดเจน จึงขอให้มีการชะลอการพิจารณาเรื่องดังกล่าวไว้ก่อนจนกว่าจะดำเนินการตรวจสอบแล้วเสร็จ 2 พื้นที่ที่ ส.ป.ก. กันคืนตามบันทึกข้อตกลงฯ ให้ปฏิบัติดังนี้ (1) พื้นที่ที่ ส.ป.ก. ได้ทำการรังวัดแปลงที่ดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส.ป.ก. จะส่งมอบพื้นที่ที่ไม่สมควรจะนำไปปฏิรูปที่ดินคืนกรมป่าไม้ พร้อมแผนที่แสดงรายละเอียดพื้นที่ ทั้งนี้ กรมป่าไม้ และ ส.ป.ก. จะออกไปร่วมกันตรวจสอบในพื้นที่ โดยกรมป่าไม้เป็นผู้ดำเนินการรังวัดพื้นที่ที่ ส.ป.ก. ส่งมอบคืนมา เพื่อดำเนินการสงวนต่อไป (2) พื้นที่ที่ ส.ป.ก. ยังไม่ได้รังวัดแปลงที่ดิน กรมป่าไม้ และ ส.ป.ก. จะร่วมกันดำเนินการตรวจสอบพื้นที่เพื่อกันพื้นที่ที่ไม่สมควรจะนำไปปฏิรูปที่ดินออกก่อนที่ ส.ป.ก. จะรังวัดแปลงที่ดิน โดย ส.ป.ก. จะส่งมอบพื้นที่ที่ร่วมกันตรวจสอบและได้กันออกคืนกรมป่าไม้ เพื่อกรมป่าไม้ดำเนินการสงวนต่อไปโดยเร็วที่สุด 3 พื้นที่ที่ไม่สมควรนำไปปฏิรูปที่ดินตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2537 ได้แก่ พื้นที่ที่ยังไม่มีราษฎรถือครองทำกิน พื้นที่ที่มีสภาพและศักยภาพ ทำการเกษตรไม่คุ้มค่า พื้นที่ล่อแหลม คุกคามต่อระบบนิเวศน์ และพื้นที่ที่ควรอนุรักษ์รักษาไว้เพื่อให้ชุมชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดยให้กันไว้ใช้ในกิจกรรมของกรมป่าไม้ ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ เช่น สนับสนุนให้เอกชนและประชาชนในท้องถิ่นปลูกสร้างสวนป่า จัดเป็นที่เพาะชำกล้าไม้ จัดเป็นป่าชุมชนสำหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกัน จัดเป็นสวนรุกขชาติ เป็นต้น 9. เรื่อง การดำเนินงานด้านการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยด้านอินเทอร์เน็ตสำหรับเด็กในประเทศไทย คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอให้การสนับสนุนการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยด้านอินเทอร์เน็ตสำหรับเด็กในประเทศไทย และกำหนดให้วันอังคาร สัปดาห์ที่ 2 ในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันอินเทอร์เน็ตปลอดภัยแห่งชาติ (ตรงกับ วันส่งเสริมอินเทอร์เน็ตปลอดภัยสากล) สาระสำคัญ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชนร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรมสำคัญซึ่งเป็นจุดริเริ่มของการส่งเสริมความตระหนักรู้ให้กับประชาชน เด็ก เยาวชน และองค์กรที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยด้านอินเทอร์เน็ตสำหรับเด็กในประเทศไทย โดยมีสาระสำคัญของการขับเคลื่อนประเด็นดังกล่าว ดังนี้ 1. เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ร่วมกับยูนิเซฟ ประเทศไทย และภาคีเครือข่าย Thailand Safe Internet Coalition ร่วมกันจัดกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้วันส่งเสริมอินเทอร์เน็ตปลอดภัยแห่งชาติ (Thailand Safer Internet Day) ขึ้นมาอย่างเป็นทางการครั้งแรก ณ บริเวณตึกสันติไมตรี หน้าห้องประชุมคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ร่วมประชาสัมพันธ์กิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักต่อภัยออนไลน์ที่เกิดกับเด็กและเยาวชน และให้ความรู้เรื่องการใช้สื่อออนไลน์อย่างปลอดภัยสร้างสรรค์ พร้อมกับการประชาสัมพันธ์วันส่งเสริมอินเทอร์เน็ตปลอดภัยแห่งชาติ เพื่อยกระดับและพัฒนามาตรฐานด้านความปลอดภัยออนไลน์ให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันสร้างสรรค์อินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัย โดยวางระบบคัดกรอง ป้องกัน เฝ้าระวัง เตือนภัย ไม่ให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงข้อมูลที่ผิดกฎหมายหรือเนื้อหาที่เป็นอันตราย จัดระบบคุ้มครองช่วยเหลืออย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ทุกคนในสังคมรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ Safer Internet Day เกิดขึ้นครั้งแรกในสหภาพยุโรป เมื่อปี ค.ศ. 2004 โดยกำหนดให้วันอังคาร สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันส่งเสริมอินเทอร์เน็ตปลอดภัยสากล เพื่อส่งเสริมและสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย และสร้างสรรค์ ปัจจุบันมีประเทศต่าง ๆ ที่ร่วมและจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองกว่า 200 ประเทศและเขตปกครอง 2. ในระหว่างวันที่ 8 - 9 กุมภาพันธ์ 2566 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (นายจุติ ไกรฤกษ์) ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (นายอนุกูล ปีดแก้ว) รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดร.เวทางค์ พ่วงทรัพย์) สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็ก แห่งประเทศไทย (นางสาวธันยพร กริชติทายาวุธ) ผู้แทนยูนิเซฟ ประเทศไทย (นางคยองซอน คิม) อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน (นางจตุพร โรจนพานิช) ผู้แทนจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ และองค์การเอ็คแพท อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ร่วมกันจัดการประชุมระดับชาติครั้งที่ 1 เรื่อง เด็กในยุคดิจิทัล : ร่วมกันสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตสำหรับเด็กในประเทศไทย ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ สาทร กรุงเทพฯ โดยมีเป้าหมายเพื่อแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัย ผลกระทบต่อเด็กและมาตรการตอบโต้ในปัจจุบัน ทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาคอาเซียน เพื่อผู้เข้าร่วมประชุมได้ทราบถึงสถานการณ์ที่เป็นข้อท้าทายของรัฐบาล ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรมไอซีที ที่ดำเนินการในปัจจุบัน เล็งเห็นและให้การสนับสนุนเพื่อสร้างสังคมและสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ตสำหรับเด็กและยาวชน ซึ่งเด็กและเยาวชนจะได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอความคิดเห็นและข้อเรียกร้องผ่านกิจกรรมการประชุม การนำเสนอแนวคิดผ่านผลงานศิลปะภาพวาดด้วยเทคนิคต่าง ๆ ที่สื่อถึงการสร้างภูมิคุ้มกันที่ปลอดภัยสำหรับเด็กและเยาวชนในมุมมองที่แตกต่างกัน 3. ผลลัพธ์ที่ได้จากการประชุมระดับชาติ ในระหว่างวันที่ 8 - 9 กุมภาพันธ์ 2566 คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลการทำงานสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องการคุ้มครองเด็กทางออนไลน์ การแสวงหาประโยชน์ทางเพศและการล่วงละเมิดทางเพศออนไลน์ในประเทศไทย โดยมีเนื้อหาที่คลอบคลุมในเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย สายด่วน และการให้ความช่วยเหลือ การให้ความรู้เรื่องดิจิทัลและความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ ไปจนถึงแพลตฟอร์มผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและบริษัทไอซีที และการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังเป็นการเชื่อมเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง (Thailand Safe Internet Coalition) เพื่อแลกเปลี่ยนและรับทราบถึงข้อท้าทายในปัจจุบัน พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางที่เป็นไปได้ในการทำให้ประเทศไทยมีสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นสำหรับเด็ก ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้แทนภาครัฐ องค์กรด้านการพัฒนา องค์กรภาคเอกชน และอุตสาหกรรมไอซีที เด็กและเยาวชน สถานทูตและองค์กรระหว่างประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 300 คน 4. เพื่อให้การเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยด้านอินเทอร์เน็ตสำหรับเด็กและเยาวชนไทยได้รับการพิจารณาอย่างรอบด้าน และหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคมและให้บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต และภาคประชาสังคม ได้มีส่วนร่วมรับรู้ถึงภัยออนไลน์ ภัยคุกคามทางไซเบอร์ และเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังและป้องกันมิให้เด็กและเยาวชนไทยได้รับผลกระทบจากการใช้อินเทอร์เน็ตไม่เหมาะสม ภาคีเครือข่ายร่วมดำเนินงานในทุกภาคส่วนจึงมีเจตนารมณ์ร่วมกันในการผลักดันให้เกิดการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยด้านอินเทอร์เน็ตสำหรับเด็กไทย โดยมีเป้าหมายในการขับเคลื่อนเพื่อให้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลและมีการประกาศให้มีวันอินเทอร์เน็ตปลอดภัยแห่งชาติเป็นประจำทุกปี 10. เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID - 19) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี (เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 วันที่ 31 มีนาคม 2563 วันที่ 12 มกราคม 2564 และวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564) เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID - 19) (โรคโควิด 19) ดังนี้ โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 คณะรัฐมนตรีมีมติ (เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 วันที่ 31 มีนาคม 2563 วันที่ 12 มกราคม 2564 และวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564) กค. เสนอขอทบทวนในครั้งนี้ เห็นชอบโครงการฯ โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ (1) วัตถุประสงค์: เพื่อเพิ่มสภาพคล่องชั่วคราวในการดำรงชีวิตแก่ประชาชนที่มีอาชีพอิสระไม่มีรายได้ประจำ เช่น หาบเร่แผงลอย ลู กจ้างภาคการเกษตร เป็นต้น แต่ยังมีภาระค่าใช้จ่ายประจำที่จำเป็น/ภาระหนี้ที่ต้องชำระ เช่น สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อที่อยู่อาศัยหรือบางรายมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายฉุกเฉินในช่วงเวลาที่มีรายได้ลดลง รวมถึงเพื่อป้องกันการผิดนัดชำระหนี้หรือพึ่งพาสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงหรือสินเชื่อนอกระบบ (2) กลุ่มเป้าหมาย: ประชาชนที่มีอาชีพอิสระไม่มีรายได้ประจำ หรืออาจตกงานเนื่องจากได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 หรือเกษตรกรที่ไม่มีรายได้ประจำที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินฉุกเฉิน (3) วิธีดำเนินงาน: ธนาคารออมสิน (ธ.ออมสิน) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส) สนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 40,000 ล้านบาท) (ธ.ออมสิน 20,000 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. 20,000 ล้านบาท โดยให้วงเงินสินเชื่อ 10,000 บาท/ราย และคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่เกินร้อยละ 0.10/เดือน ระยะเวลากู้ไม่เกิน 3 ปี (สิ้นสุดระยะเวลากู้วันที่ 24 มีนาคม 2566) (ระยะเวลาปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 12 เดือน) (4) ระยะเวลารับคำขอสินเชื่อ: ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2565 (5) งบประมาณ: ไม่เกิน 21,600 ล้านบาท โดยขอรับชดเชยจากรัฐบาล ดังนี้ (5.1) ชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans: NPLs) ร้อยละ 100 สำหรับ NPLs ที่ไม่เกินร้อยละ 50 ของสินเชื่อที่อนุมัติทั้งหมด รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 20,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นของ ธ.ออมสินไม่เกิน 10,000 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. ไม่เกิน 10,000 ล้านบาท (5.2) ชดเชยต้นทุนการดำเนินงานร้อยละ 2/ปี เป็นระยะเวลา 2 ปี รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 1,600 ล้านบาท (วงเงิน 40,000 ล้านบาท *ร้อยละ 2 *ระยะเวลา 2 ปี) 1. ขยายระยะเวลากู้เพิ่มอีก 2 ปี จากเดิม ไม่เกิน 3 ปี เป็น ไม่เกิน 5 ปี (จากเดิม สิ้นสุดระยะเวลากู้วันที่ 24 มีนาคม 2566 เป็น สิ้นสุดระยะเวลากู้ วันที่ 24 มีนาคม 2568) และให้ ธ.ออมสินและ ธ.ก.ส. รับเงินชดเชยความเสียหายที่เกิดจาก NPLs ร้อยละ 100 สำหรับ NPLs ที่ไม่เกินร้อยละ 50 ของสินเชื่อที่อนุมัติทั้งหมด โดยให้ ธ.ออมสิน และ ธ.ก.ส. เบิกจ่ายตามที่เกิดขึ้นจริงและทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปีตามความเหมาะสมและความจำเป็นต่อไป 2. ให้ ธ.ออมสิน และ ธ.ก.ส. สามารถนำค่าใช้จ่ายในส่วนของต้นทุนเงินในอัตราร้อยละ 2 ของภาระหนี้คงเหลือในปัจจุบันนำบวกกลับในการคำนวณโบนัสประจำปีของพนักงานได้ รวมถึงไม่นำ NPLs ที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการฯ มาเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดตัวชี้วัดทางการเงินที่เกี่ยวข้องตามบันทึกข้อตกลงประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจเป็นระยะเวลา 2 ปี สาระสำคัญ เรื่องนี้เป็นการขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 (มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 วันที่ 31 มีนาคม 2563 วันที่ 12 มกราคม 2564 และวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564) โดยขยายระยะเวลากู้เพิ่มอีก 2 ปี จากเดิม ไม่เกิน 3 ปี (สิ้นสุดระยะเวลากู้วันที่ 24 มีนาคม 2566) เป็น ไม่เกิน 5 ปี (สิ้นสุดระยะเวลากู้วันที่ 24 มีนาคม 2568) เนื่องจากปัจจุบันโครงการดังกล่าวได้สิ้นสุดระยะเวลาดำเนินโครงการไปแล้วตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2564 แต่ยังมีลูกหนี้ในโครงการฯ บางส่วนที่จะครบกำหนดชำระหนี้แต่ยังประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินและมีรายได้ไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ได้ตามกำหนด (กค. แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมว่า ข้อมูล ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 ธ.ออมสิน มียอดอนุมัติสินเชื่อจำนวน 1,980,464 ราย เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 19,804.64 ล้านบาท โดยมียอดสินเชื่อคงค้าง 6,669 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. มียอดอนุมัติสินเชื่อจำนวน 913,548 ราย เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 9,086 ล้านบาท โดยมียอดสินเชื่อคงค้าง 2,349 ล้านบาท) เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อย่างต่อเนื่องและยาวนาน ซึ่งหากไม่สามารถชำระหนี้ได้จะส่งผลต่อประวัติการชำระหนี้ในระบบเครดิตบูโรและอาจทำให้ขาดโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบสถาบันการเงินได้ ดังนั้น เพื่อแบ่งเบาภาระหนี้ของประชาชนกลุ่มดังกล่าว จึงต้องมีการขยายระยะกู้ภายใต้โครงการฯ ออกไป เพื่อให้ลูกหนี้มีเวลาในการผ่อนชำระหนี้มากขึ้นและสามารถทยอยชำระหนี้ได้ตามศักยภาพ รวมทั้งขอให้ ธ.ออมสิน และ ธ.ก.ส. รับเงินชดเชยความเสียหายที่เกิดจาก NPLs ร้อยละ 100 สำหรับ NPLs ที่ไม่เกินร้อยละ 50 ของสินเชื่อที่อนุมัติทั้งหมด โดยให้ ธ.ออมสิน และ ธ.ก.ส. เบิกจ่ายตามที่เกิดขึ้นจริงและทำความตกลงกับ สงป. เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปีตามความเหมาะสมและความจำเป็น และให้ ธ.ออมสิน และ ธ.ก.ส. สามารถนำค่าใช้จ่ายในส่วนของต้นทุนเงินในอัตราร้อยละ 2 ของภาระหนี้คงเหลือในปัจจุบันนำบวกกลับในการคำนวณโบนัสประจำปีของพนักงานได้ รวมถึงไม่นำ NPLs ที่เกิดจากการดำเนินโครงการฯ มาเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดตัวชี้วัดทางการเงินที่เกี่ยวข้องตามบันทึกข้อตกลงประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจเป็นระยะเวลา 2 ปี 11. เรื่อง ขออนุมัติจัดสรรเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรโครงการโคบาลชายแดนใต้ของกรมปศุสัตว์ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการจัดสรรเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรให้กรมปศุสัตว์ยืม เพื่อนำไปดำเนินการตามโครงการโคบาลชายแดนใต้ ของกรมปศุสัตว์ มีกำหนดชำระคืนภายใน 7 ปี ระยะเวลาโครงการ พ.ศ. 2565 - 2572 โดยอนุมัติวงเงิน ทั้งสิ้น 1,566.20 ล้านบาท แยกเป็นเงินยืมจำนวน 1,550 ล้านบาท และเงินจ่ายขาด 16.20 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการโคบาลชายแดนใต้ ของกรมปศุสัตว์ เพื่อดำเนินการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อที่สอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง โครงการโคบาลชายแดนภาคใต้ ของกรมปศุสัตว์ เป็นหนึ่งในกิจกรรมของโครงการเมืองปศุสัตว์ภายใต้กรอบระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งโครงการเมืองปศุสัตว์ฯ ได้รับการอนุมัติหลักการจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ในการประชุม กพต. ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 และอนุมัติโครงการโคบาลชายแดนใต้ เป็นโครงการนำร่องภายใต้โครงการเมืองปศุสัตว์ฯ ในการประชุม กพต. ครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพ สร้างอาชีพที่เกี่ยวเนื่องในห่วงโซ่การผลิตโค สร้างพื้นที่ปลอดโรคปากและเท้าเปื่อย เพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงโคของเกษตรกรสู่มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ GFM/GAP และเพื่อเพิ่มปริมาณโค/ปรับปรุงสายพันธุ์ให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาด โดยมีรายละเอียดโครงการ ดังนี้ ประเด็น สาระสำคัญ การดำเนินงาน แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ระดับ 1. ระดับต้นน้ำ มีกิจกรรมสำคัญคือ ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงโคเนื้อให้กลุ่มวิสาหกิจโคไทยในหมู่บ้าน จำนวน 1,000 กลุ่ม ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา) จัดทำคอกกลางในหมู่บ้านแห่งละ 1 คอก สำหรับเลี้ยงแม่โคพื้นเมืองกลุ่มละ 50 ตัว เพื่อผลิตโคลูกผสมไทยทาจิ และปลูกพืชอาหารสัตว์ จำนวน 20 ไร่ (หญ้าสยาม หญ้าแพงโกล่า หญ้าซิกแนล หญ้าเนเปียร์ และข้าวโพด) แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1.1 ระยะนำร่อง เกษตรกร 60 กลุ่ม แม่โคพื้นเมือง 3,000 ตัว 1.2 ระยะที่ 2 เกษตรกร 440 กลุ่ม แม่โคพื้นเมือง 22,000 ตัว 1.3 ระยะที่ 3 เกษตรกร 500 กลุ่ม แม่โคพื้นเมือง 25,000 ตัว โดยการดำเนินกิจกรรมระดับต้นน้ำ ใช้เงินยืมจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ในการจัดหาปัจจัยการผลิตตามที่กำหนดในโครงการ 2. ระดับกลางน้ำ มีกิจกรรมสำคัญคือ จัดตั้งศูนย์ผลิตอาหารสัตว์ (Feed Center) เพื่อส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์คุณภาพดี การแปรรูปอาหารสัตว์ และอาหารผสมครบส่วน (TMR) เพื่อลดต้นทุนอาหารสัตว์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงโคขุน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 2.1 โรงผลิตอาหารสัตว์ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ดำเนินงาน โดยภาคเอกชน รับผิดชอบส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์และแปรรูปอาหารสัตว์คุณภาพดีจำหน่ายในพื้นที่จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา 2.2 ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์สตูล อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล ดำเนินงานโดยกรมปศุสัตว์ รับผิดชอบส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์และแปรรูปอาหารสัตว์คุณภาพดีจำหน่ายในพื้นที่จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา 2.3 ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นราธิวาส อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ดำเนินงานโดยกรมปศุสัตว์ รับผิดชอบส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์และแปรรูปอาหารสัตว์คุณภาพดีจำหน่ายในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส 3. ระดับปลายน้ำ มีกิจกรรมสำคัญคือ ส่งเสริมร้านตัดแต่ง แปรรูปและจำหน่าย ผลิตภัณฑ์เนื้อโค (Butcher Shop) จำนวน 5 แห่ง (จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา และสตูล) ดำเนินการโดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ใช้เงินลงทุนของกลุ่มเองหรือกลุ่มขอกู้ยืมเงินโดยตรงจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ระยะเวลาดำเนินการ 7 ปี นับตั้งแต่วันที่กรมปศุสัตว์ได้รับเงินยืมจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรโดยแบ่งระยะเวลาการดำเนินงานออกเป็น 3 ช่วงเวลา ดังนี้ ช่วงปีที่ 1 - 2 : คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ ระดับจังหวัดคัดเลือกหมู่บ้านที่มีความพร้อมและสมัครใจเข้าร่วมโครงการฯ รวมกลุ่มสมาชิกในหมู่บ้านไม่น้อยกว่า 10 คน จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจโคไทย โดยมีคณะกรรมการหมู่บ้านเป็นกลไกขับเคลื่อนในระดับหมู่บ้าน มีกิจกรรมสำคัญประกอบด้วย 1. กลุ่มวิสาหกิจโคไทยจัดหาพื้นทีประมาณ 1-2 ไร่ สำหรับสร้างคอกกลางประจำหมู่บ้าน จำนวน 1 คอก รองรับแม่โคของโครงการที่จะนำไปเลี้ยงกลุ่มละ 50 ตัว และจ้างเจ้าหน้าที่ฟาร์มซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจโคไทยเพื่อดูแลแม่โคในคอกกลาง 2. กลุ่มวิสาหกิจโคไทยจัดหาพื้นที่สำหรับปลูกพืชอาหารสัตว์ไม่น้อยกว่า 20 ไร่ แบ่งเป็น 2.1 พื้นที่ 15 ไร่ สำหรับปลูกพืชอาหารสัตว์เลี้ยงโคในคอกกลาง ได้แก่ หญ้าสยาม หญ้าแพงโกล่า หญ้าชิกแนลเลื้อย หรือหญ้าเนปียร์ปากช่อง 1 2.2 พื้นที่ 5 ไร่ สำหรับปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตัดเป็นต้นข้าวโพดพร้อมฝัก หรือนำมาสับจำหน่ายแก่ศูนย์ผลิตอาหารสัตว์ (Feed Center) ที่กำหนดในโครงการ 3. เจ้าหน้าที่ฟาร์มเก็บรวบรวมมูลโคผลิตปุ๋ยอินทรีย์จำหน่าย ในช่วงนี้กลุ่มวิสาหกิจโคไทยจะมีรายได้จากจำหน่ายต้นข้าวโพดพร้อมฝักและปุ๋ยอินทรีย์เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับจ้างเจ้าหน้าที่ฟาร์มและบริหารคอกกลาง ทั้งนี้ การดำเนินงานจะอยู่ภายใต้การกำกับติดตามของหน่วยงานปกครองเป็นหลัก ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดย ศอ.บต. ได้มอบหมายให้บัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิประจำหมู่บ้านดำเนินงานพัฒนาร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจโคไทยในหมู่บ้าน ช่วงปีที่ 3 - 6 : ในช่วงนี้นอกจากรายได้จากการจำหน่ายต้นข้าวโพดพร้อมฝักและปุ๋ยอินทรีย์แล้ว กลุ่มวิสาหกิจโคไทยเริ่มมีรายได้จากการจำหน่ายลูกโคอายุ 10 - 12 เดือน น้ำหนัก 150 - 200 กิโลกรัม หรือกลุ่มวิสาหกิจโคไทยจะเลี้ยงโคขุนต่อให้ได้น้ำหนัก 350 กิโลกรัม เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลผลิตโคเนื้อ โดยจำหน่ายให้แก่กลุ่มเกษตรกรที่ดำเนินธุรกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อโค ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงโคเนื้อช่องเขต วิสาหกิจชุมชนโคเนื้อบ้านบูเกะจือฆา และกลุ่มวิสาหกิจโคแปลงใหญ่อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยกลุ่มวิสาหกิจโคไทยจะเริ่มมีกำไรในปีที่ 3 ทั้งนี้ รายได้จากการจำหน่ายลูกโค รุ่นแรกให้เกษตรกรรายอื่นนำไปเลี้ยงต่อหรือรายได้จากการเลี้ยงโคขุนและรายได้อื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมในคอกกลาง ให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโคไทยนำส่งกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรเพื่อคืนเงินกู้ในส่วนค่าใช้จ่ายอื่น ได้แก่ ค่าก่อสร้างคอกกลาง ค่าจัดทำแปลงพืชอาหารสัตว์ และค่าจ้างเจ้าหน้าที่ฟาร์ม ช่วงปีที่ 7 : กลุ่มวิสาหกิจโคไทยเลี้ยงแม่พันธุ์โครุ่นแรกทุกตัวในคอกกลางหมู่บ้านโดยมีคณะกรรมการหมู่บ้านกำกับดูแล เพื่อป้องกันการนำแม่พันธุ์โคไปจำหน่ายก่อนครบระยะเวลาโครงการ เมื่อครบระยะเวลา 7 ปีแล้ว จึงจะจำหน่ายแม่พันธุ์โครุ่นแรกและให้นำเงินส่งคืนกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เพื่อคืนเงินกู้ยืมในส่วนค่าแม่พันธุ์โค งบประมาณ เงินงบประมาณจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร วงเงินทั้งสิ้น 1,566.20 ล้านบาทแยกเป็นเงินยืม จำนวน 1,550 ล้านบาท (สำหรับเป็นค่าก่อสร้างโรงเรือน ค่าแม่โค ค่าจัดทำแปลงพืชอาหารสัตว์ ค่าจ้างเจ้าหน้าที่ฟาร์ม รวมกลุ่มละ 1.55 ล้านบาท) และเงินจ่ายขาด 16.20 ล้านบาท (สำหรับเป็นค่าฝึกอบรมเกษตรกร ค่าจ้างนักวิชาการประจำโครงการ และค่าติดตามการดำเนินโครงการ) โดยมีรายละเอียดการใช้จ่ายในแต่ละระยะของโครงการ ดังนี้ 1. ระยะนำร่อง (60 กลุ่มวิสาหกิจโคไทย) งบประมาณ 94.20 ล้านบาท เป็นเงินยืม 93 ล้านบาท และเงินจ่ายขาด 1.20 ล้านบาท 2. ระยะที่ 2 (440 กลุ่มวิสาหกิจโคไทย) งบประมาณ 690 ล้านบาท เป็นเงินยืม 682 ล้านบาท และเงินจ่ายขาด 8 ล้านบาท 3. ระยะที่ 3 (500 กลุ่มวิสาหกิจโคไทย) งบประมาณ 782 ล้านบาท เป็นเงินยืม 775 ล้านบาท และเงินจ่ายขาด 7 ล้านบาท แผนการใช้จ่ายเงินและแผนส่งเงินคืนกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร แผนการใช้จ่ายเงิน : กรมปศุสัตว์ขอเบิกจ่ายเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อนำเงินกู้ไปจ่ายให้แก่กลุ่มวิสาหกิจโคไทยโดยแบ่งการใช้งบประมาณเป็น 3 ระยะ ตามแผนดำเนินการ (ระยะนำร่อง ระยะที่ 2 และระยะที่ 3) แผนส่งเงินคืน : ชำระคืนภายใน 7 ปี โดยกรมปศุสัตว์จะนำเงินกู้ที่ได้รับคืนจากกลุ่มวิสาหกิจโคไทยที่เข้าร่วมโครงการ ส่งคืนกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร แบ่งออกเป็น 4 งวด ตั้งแต่ปีที่ 4 - 7 ของโครงการ ดังนี้ งวดที่ 1 ชำระคืนสิ้นปีที่ 4 ส่งคืนเงินต้นร้อยละ 25 งวดที่ 2 ชำระคืนสิ้นปีที่ 5 ส่งคืนเงินต้นร้อยละ 25 งวดที่ 3 ชำระคืนสิ้นปีที่ 6 ส่งคืนเงินต้นร้อยละ 25 งวดที่ 4 ชำระคืนสิ้นปีที่ 7 ส่งคืนเงินต้นร้อยละ 25 โดยในครั้งนี้ กษ. นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติจัดสรรเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรเพื่อดำเนินโครงการโคบาลชายแดนใต้ ของกรมปศุสัตว์ สำหรับการดำเนินโครงการฯ ในระดับต้นน้ำ วงเงินทั้งสิ้น 1,566.20 ล้านบาท ประกอบด้วย เงินที่ให้กลุ่มวิสาหกิจยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย จำนวน 1,550 ล้านบาท สำหรับนำมาลงทุน และเป็นค่าใช่จ่ายในการเลี้ยงโค และเงินจ่ายขาด จำนวน 16.20 ล้านบาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเกษตรกร ค่าจ้างนักวิชาการประจำโครงการ และค่าติดตามประเมินผลโครงการ ทั้งนี้ คณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกรได้มีมติอนุมัติโครงการดังกล่าวในการประชุม ครั้งที่ 8/2565 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 12. เรื่อง ขอความเห็นชอบกู้ยืมเงินเพื่อสำรองเผื่อสภาพคล่องขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอการกู้ยืมเงินเบิกเกินบัญชีเพื่อสำรองเผื่อสภาพคล่องทางการเงินขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) โดยให้กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน 250 ล้านบาท ระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2566 สาระสำคัญ 1. เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 เห็นชอบการกู้ยืมเงินเบิกเกินบัญชีฯ ของ อ.ส.ค. ในปีงบประมาณ 2565 ระยะเวลา 1 ปีตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2565 ถึงวันที่ 27 เมษายน 2566 โดยให้กระทรวงการคลังค้ำประกันจำนวน 250 ล้านบาท และ อ.ส.ค. ได้ลงนามสัญญาเงินกู้เบิกเกินบัญชีกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2565 ซึ่งที่ผ่านมา อ.ส.ค. ได้มีการเบิกเงินเกินบัญชีเพื่อใช้จ่ายในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม - กันยายน 2565 โดย ณ สิ้นเดือนกันยายน 2565 อ.ส.ค. คงเหลือเงินที่ยังไม่ได้ชำระจำนวน 120,579 บาท (อ.ส.ค. แจ้งอย่างไม่เป็นทางการว่าปัจจุบันได้ชำระเงินกู้คืนทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว) 2. อ.ส.ค. มีบทบาทด้านส่งเสริมการเลี้ยงโคนมให้แก่เกษตรกร รวมถึงการรับซื้อผลผลิตน้ำนมดิบจากเกษตรกรในราคาประกัน เพื่อนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์นมจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา อ.ส.ค. ได้รับผลกระทบทางด้านการเงินจากปัจจัยหลายประการ เช่น กำลังซื้อของผู้บริโภคและตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ลดลงเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 การเกิดโรคติดต่อในโคกระบือ (ลัมปี สกิน) มีการปรับราคาวัตถุดิบและวัสดุที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์นมสูงขึ้น เนื่องจากมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2565 ให้ปรับราคาน้ำนมดิบเพิ่มขึ้น1 อีกทั้งปริมาณน้ำนมดิบจะสูงสุดในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมของทุกปีซึ่งเป็นช่วงปิดภาคเรียน ทำให้มีผลิตภัณฑ์นมรอการจำหน่ายในคลังสินค้าเป็นจำนวนมาก ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ อ.ส.ค. ประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องและบางช่วงเวลามีเงินสดไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระเป็นประจำทุกเดือน เช่น จ่ายค่านมดิบให้แก่เกษตรกรประมาณเดือนละ 220 ล้านบาท ถึง 420 ล้านบาท เป็นต้น 3. กษ. จึงเสนอเรื่องขอความเห็นชอบกู้ยืมเงินเพื่อสำรองเผื่อสภาพคล่องทางการเงินในวงเงิน 250 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2566 อายุสัญญา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2566 ถึงวันที่ 27 เมษายน 2567 และขอให้กระทรวงการคลังค้ำประกันการกู้ยืมเงิน ซึ่งเป็นการขยายระยะเวลากู้ยืมเงินเบิกเกินบัญชีฯ จากปีงบประมาณ 2565 ที่กำหนดเวลาสิ้นสุดในวันที่ 27 เมษายน 2566 เพื่อให้ อ.ส.ค. มีแหล่งเงินเพียงพอรองรับการบริหารงานได้อย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดชะงักในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่องค์กรมีเงินสดไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระตามกำหนด และลดความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องทางการเงินในระยะสั้น โดยคณะกรรมการ อ.ส.ค. มีมติเห็นชอบขยายระยะเวลากู้ยืมเงินเบิกเกินบัญชี ดังกล่าว ในการประชุมครั้งที่ 9/2565 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 1 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2565 เห็นชอบการปรับเพิ่มราคาน้ำนมโคจาก 19 บาท/กิโลกรัม เป็น 20.50 บาท/กิโลกรัม ตามที่ กษ. เสนอ 13. เรื่อง โครงการพัฒนาระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลไปยังบริเวณอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอดังนี้ 1. เห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินการก่อสร้างโครงการพัฒนาระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลไปยังบริเวณอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า (โครงการฯ) ในวงเงินรวมทั้งสิ้น 11,230 ล้านบาท และมอบหมายให้ กฟผ. บริหารจัดการลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อนและบริหารจัดการดำเนินการปรับปรุงอุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานในอนาคต รวมทั้งการดำเนินการลดผลกระทบที่อาจมีต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมโดยรวม 2. อนุมัติงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2566 ตามแผนประมาณการเบิกจ่ายสำหรับโครงการฯ จำนวนเงินทั้งสิ้น 395.5 ล้านบาท 3. ขอผ่อนผันการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2535 เรื่อง มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง แผนแม่บทการจัดการปะการังของประเทศ เพื่อให้ กฟผ. สามารถดำเนินโครงการฯ ได้ สาระสำคัญ พน. โดย กฟผ. ได้จัดทำโครงการฯ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการส่งพลังงานไฟฟ้าไปอำเภอ เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และพื้นที่เกาะข้างเคียง ซึ่งจะช่วยตอบสนองต่อความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นและเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าในระยะยาวโดยโครงการฯ มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 - 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (แผน PDP2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1) (ที่ผ่านมาในพื้นที่อำเภอเกาะสมุยเคยเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับนานเป็นบริเวณกว้างและส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้า) มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ หัวข้อ สาระสำคัญ 1. วัตถุประสงค์ของโครงการฯ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของการส่งกำลังไฟฟ้าไปยังผู้ใช้ไฟฟ้า (ครัวเรือน ภาคธุรกิจการท่องเที่ยว และภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว) บริเวณอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และบริเวณใกล้เคียงอย่างมีความมั่นคงและเชื่อถือได้ในระยะยาว 2. ขอบเขตงานก่อสร้าง เช่น - ก่อสร้างสายเคเบิ้ลใต้ทะเล 230 kV ขนอม - เกาะสมุย จำนวน 2 วงจร รวมระยะทางประมาณ 52.5 กิโลเมตร และติดตั้ง Fiber Optic - ขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง 230 kV ขนอม พร้อมปรับปรุงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง - ก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูง 230/115 kV เกาะสมุย (สถานีไฟฟ้าแรงสูงแห่งใหม่) พร้อมติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าขนาด 230/115 kV ขนาน 300 MVA จำนวน 2 ชุด - จัดซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูง 230/115 kV เกาะสมุย (สถานีไฟฟ้าแรงสูง แห่งใหม่) 3. ระยะเวลาดำเนินโครงการฯ 7 - 8 ปี โดยมีกำหนดแล้วเสร็จประมาณเดือนมิถุนายน 2572 4. วงเงินลงทุน รวมทั้งสิ้น 11,230 ล้านบาท ประกอบด้วย (1) ค่าใช้จ่ายเพื่อซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ 4,969.5 ล้านบาท (เทียบเท่า 150.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 33 บาท) และ (2) ค่าใช้จ่ายเพื่อซื้ออุปกรณ์ในประเทศและการก่อสร้างอีก 6,260.5 ล้านบาท 5. แหล่งเงินทุน (1) เงินรายได้ของ กฟผ. ร้อยละ 25 (2) แหล่งเงินทุนอื่น ๆ ร้อยละ 75 โดย กฟผ. จะพิจารณาแหล่งเงินทุนสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายโครงการ ดังนี้ - ค่าใช้จ่ายเพื่อซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ เช่น สถาบันการเงินต่างประเทศ ธนาคาร/สถาบันเพื่อการส่งออก - นำเข้า ธนาคารพาณิชย์/สถาบันการเงินเอกชน ต่างประเทศและ/หรือในประเทศไทย การออกพันธบัตรลงทุนต่างประเทศ และ/หรือในประเทศ เงินรายได้ของ กฟผ. และสินเชื่อผู้ขาย เป็นต้น - ค่าใช้จ่ายเพื่อซื้ออุปกรณ์ในประเทศและการก่อสร้าง เช่น ธนาคารพาณิชย์/สถาบันการเงิน เอกชนในประเทศ การออกพันธบัตรหรือลงทุนในประเทศ และเงินรายได้ของ กฟผ. เป็นต้น 6. ผลตอบแทนทางการเงิน - มีอัตราผลตอบแทนทางการเงิน (Financial Internal Rate of Return) อยู่ที่ร้อยละ 2.87 - มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV) ณ อัตราคิดลดเท่ากับต้นทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Cost of Capital: WACC) ร้อยละ 5.51 อยู่ที่ติดลบ 2,944 ล้านบาท 7. ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ - มีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (Economic Internal Rate of Return) อยู่ที่ร้อยละ 12.13 - มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV) ณ อัตราคิดลดเท่ากับต้นทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Cost of Capital: WACC) ร้อยละ 5.51 อยู่ที่ 10,130.7 ล้านบาท 8. ผลกระทบต่ออัตราค่าไฟฟ้า โครงการฯ จะทำให้อัตราค่าไฟฟ้าขายส่งเพิ่มขึ้น 0.0025 บาทต่อหน่วย ตลอดอายุโครงการฯ 9. การดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม (1) โครงการฯ ต้องจัดทำรายงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination : IEE) เนื่องจากแนวระบบเคเบิ้ลใต้ทะเล จากอำเภอขนอม - อำเภอสมุย ของโครงการฯ ระยะทาง 31 กิโลเมตร พาดผ่านพื้นที่ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางในการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น และรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในบริเวณท้องที่ตำบลตลิ่งงาม ตำบลบ่อผุด ตำบลมะเร็ต ตำบลแม่น้ำ ตำบลหน้าเมือง ตำบลอ่างทอง ตำบลลิปะน้อย อำเภอ เกาะสมุย และตำบลเกาะพะงัน ตำบลบ้านใต้ ตำบลเกาะเต่า อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2557 ซึ่งปัจจุบัน กฟผ. อยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาและจัดทำ IEE คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงเดือนมกราคม 2566 (2) เนื่องจากมีแนวระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลจากอำเภอขนอม - อำเภอสมุย ของโครงการฯ บางส่วนเข้าใกล้แนวปะการังในระยะ 1 กิโลเมตร ช่วงบริเวณอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี1 ดังนั้น เพื่อให้ กฟผ. สามารถดำเนินการก่อสร้างระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลไปยังเกาะสมุยได้ จึงเสนอขออนุมัติผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2535 เรื่อง แผนแม่บทการจัดการปะการังของประเทศซึ่งได้เห็นชอบในหลักการของแผนแม่บทการจัดการปะการังของประเทศตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งรวมถึงการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในแนวปะการังในเขตท่องเที่ยวหนาแน่นโดยห้ามขุดร่องน้ำหรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่ท้องทะเลในระยะ 1 กิโลเมตร จากแนวปะการัง ยกเว้นการกระทำเพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ 10. คณะกรรมการ กฟผ. ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2562 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562 มีมติเห็นชอบโครงการฯ 1 จุดขึ้นหาดเฉวง เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี บริเวณจุดขึ้นลงสายเคเบิ้ล มีระยะห่าง จากด้านเหนือของแนวปะการัง ประมาณ 163 เมตร 14. เรื่อง ขออนุมัติโครงการปรับปรุงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ เครื่องที่ 4-5 และโครงการปรับปรุงโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนรัชชประภา เครื่องที่ 1-3 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอดังนี้ 1. โครงการปรับปรุงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ เครื่องที่ 4-5 (โครงการโรงไฟฟ้า เขื่อนศรีนครินทร์ฯ) 1.1 เห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้า เขื่อนศรีนครินทร์ฯ โดยมีวงเงินค่าใช้จ่ายลงทุนรวม 4,218 ล้านบาท แบ่งเป็น เงินตราต่างประเทศ 2,215 ล้านบาท และเงินบาท 2,003 ล้านบาท 1.2 อนุมัติงบประมาณประจำปี 2566 ตามแผนประมาณการเบิกจ่ายสำหรับโครงการโรงไฟฟ้าเขื่อนศรีนครินทร์ฯ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 373 ล้านบาท 2. โครงการปรับปรุงโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนรัชชประภา เครื่องที่ 1-3 (โครงการโรงไฟฟ้าเขื่อน รัชชประภาฯ) 2.1 เห็นชอบให้ กฟผ. ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าเขื่อนรัชชประภาฯ โดยมีวงเงินค่าใช้จ่ายลงทุนรวม 2,654 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินตราต่างประเทศ 1,196 ล้านบาท และเงินบาท 1,458 ล้านบาท 2.2 อนุมัติงบประมาณประจำปี 2566 ตามแผนประมาณการเบิกจ่ายสำหรับโครงการโรงไฟฟ้าเขื่อนรัชชประภาฯ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 237 ล้านบาท สาระสำคัญ พน. โดย กฟผ. ได้จัดทำโครงการโรงไฟฟ้าเขื่อนศรีนครินทร์ฯ ตั้งอยู่ที่บ้านเจ้าเณร ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี และโครงการโรงไฟฟ้าเขื่อนรัชชประภาฯ ตั้งอยู่ที่บ้านเชี่ยวหลาน ตำบลเขาพัง อำเภอตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อซ่อมแซมอุปกรณ์ในส่วนสำคัญต่าง ๆ ที่มีการเสื่อมสภาพและใกล้หมดอายุการใช้งาน ซึ่งสอดคล้องตามนโยบายส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) รวมถึงเป็นการรักษาสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศไทย โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ หัวข้อ สาระสำคัญ โครงการโรงไฟฟ้าเขื่อนศรีนครินทร์ฯ โครงการโรงไฟฟ้าเขื่อนรัชชประภาฯ 1. ความจำเป็นของโครงการ ปัจจุบัน อุปกรณ์หลักของโรงไฟฟ้าทั้งสองเขื่อนได้เสื่อมสภาพตามระยะเวลาการใช้งานและมีอายุการใช้งานถึงรอบการปรับปรุงตามเกณฑ์ที่ กฟผ. กำหนด โดยมีอายุการใช้งานระหว่าง 30 - 35 ปี ประกอบกับบางอุปกรณ์ไม่สามารถหาอะไหล่สำหรับซ่อมบำรุงรักษาได้ ทำให้มีประสิทธิภาพลดลงและมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดปัญหาในการผลิตไฟฟ้า ดังนั้น จึงจำเป็นต้องปรับปรุงไฟฟ้าพลังน้ำทั้งสองแห่งให้สามารถกลับมาใช้งานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อไป โรงไฟฟ้าพลังน้ำ เครื่องที่ 4 - 5 มีอายุการใช้งานถึงปัจจุบัน (ปี 2564) 35 ปี และ 30 ปี ตามลำดับ ซึ่งจะหมดอายุการใช้งานในปี 2568 และ 2569 ตามลำดับ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ เครื่องที่ 1-3 มีอายุการใช้งานถึงปัจจุบัน (ปี 2564) 34 ปี ซึ่งถือว่าใกล้จะหมดอายุการใช้งานในปี 2567 - 2569 2. ขอบเขตงาน - เปลี่ยนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) - เปลี่ยนกังหันน้ำ (Runner) - ปรับอุปกรณ์บังคับทิศทางการไหลของน้ำ (Stay Vane) - ปรับปรุงและเปลี่ยนส่วนอุปกรณ์อื่น ๆ (Auxiliary Equipment) - เปลี่ยนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) - ปรับปรุงและเปลี่ยนส่วนอุปกรณ์อื่น ๆ (Auxiliary Equipment) 3. ระยะเวลาดำเนินโครงการฯ 5 ปี โดยมีกำหนดการแล้วเสร็จและจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบภายในปี 2570 4. วงเงินลงทุน รวมทั้งสิ้น 4,217.77 ล้านบาท 2,654.10 ล้านบาท เงินลงทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ 2,214.80 ล้านบาท (เทียบเท่า 70.31 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)1 1,196.28 ล้านบาท (เทียบเท่า 37.98 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เงินลงทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์ในประเทศและก่อสร้าง 2,002.97 ล้านบาท 1,457.82 ล้านบาท 5. แหล่งเงินทุน (1) เงินลงทุนของ กฟผ. ร้อยละ 40 (2) เงินกู้ ร้อยละ 60 โดย กฟผ. จะใช้แหล่งเงินทุนสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายโครงการ ดังนี้ - ค่าใช้จ่ายในส่วนเงินตราต่างประเทศ ใช้จากแหล่งใดแหล่งหนึ่งหรือหลายแหล่งรวมกันจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ธนาคาร/สถาบันเพื่อการนำเข้า-ส่งออกธนาคาร/สถาบันการเงินต่างประเทศและ/หรือในประเทศ การออกพันธบัตรลงทุนต่างประเทศและ/หรือในประเทศการระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และเงินรายได้ของ กฟผ. - ค่าใช้จ่ายในส่วนเงินบาท ใช้จากแหล่งใดแหล่งหนึ่งหรือหลายแหล่งรวมกันจากธนาคาร/สถาบันการเงินในประเทศ การออกพันธบัตรลงทุนในประเทศ การระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และเงินรายได้ของ กฟผ. 6. ผลตอบแทนทางการเงิน อัตราผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR)2 ร้อยละ 6.40 ร้อยละ 6.34 มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV)3 4 357.53 ล้านบาท 321.31 ล้านบาท 7. ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR)5 ร้อยละ 20.07 ร้อยละ 27.36 มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV)6 7,927.47 ล้านบาท 7,473.18 ล้านบาท 8. ผลกระทบต่ออัตราค่าไฟฟ้า ทั้ง 2 โครงการฯ จะทำให้ราคาอัตราค่าไฟฟ้าขายส่งเพิ่มขึ้น 0.0011 บาทต่อหน่วย 9. การดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม เป็นการดำเนินการปรับปรุงในพื้นที่เดิมที่มีการก่อสร้างอยู่แล้ว มิได้มีการขยายหรือเพิ่มพื้นที่การก่อสร้างใหม่และมีการบริหารจัดการน้ำเป็นไปตามนโยบายเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง จึงไม่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน 10. ผลประโยชน์ เมื่อมีการปรับปรุงไฟฟ้าพลังน้ำแล้ว จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้า ดังนี้ พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ 529.84 ล้านหน่วย/ปี (เพิ่มขึ้น 76.13 ล้านหน่วย/ปี) ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 422.43 ล้านหน่วย/ปี (เพิ่มขึ้น 3.19 ล้านหน่วย/ปี) อายุการใช้งาน ยืดอายุการใช้งานโรงไฟฟ้าฯ ให้สามารถใช้งานได้อีก 30 ปี ประสิทธิภาพของกังหันน้ำ จากเดิมร้อยละ 88.36 เป็น ร้อยละ 92 ประสิทธิภาพของกังหันน้ำเดิมอยู่ที่ร้อยละ 90.14 คณะกรรมการ กฟผ. ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2564 เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2564 มีมติเห็นชอบทั้ง 2 โครงการฯ 1 อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 31.5 บาท 2 ผลตอบแทนด้านการเงินของโครงการ (Financial Internal Rate of Return: FIRR) 3 มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV) 4 ณ อัตราคิดลดเท่ากับต้นทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Cost of Capital: WACC) ร้อยละ 5.85 5 ผลตอบแทนด้านเศรษฐศาสตร์ของโครงการ (Economic Internal Rate of Return: EIRR) 6 ณ อัตราคิดลดเท่ากับต้นทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Cost of Capital: WACC) ร้อยละ 5.85 15. เรื่อง ขออนุมัติหลักการสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการ ?สานใจไทย สู่ใจใต้? โดยการสนับสนุนงบประมาณอุดหนุนให้กับมูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการการสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการ ?สานใจไทย สู่ใจใต้? และเห็นชอบให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี เป็นเงินอุดหนุนให้แก่มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ภายในกรอบวงเงิน 11,082,000 บาทต่อปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เห็นควรให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ตามระเบียบว่าด้วยการโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการและงบประมาณรายจ่ายบุคลากรระหว่างหน่วยรับงบประมาณ พ.ศ. 2562 ต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ สาระสำคัญ 1. เดิมคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธาน) ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2561 เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2561 ได้มีมติเห็นชอบและมอบหมายให้ ศอ.บต. พิจารณาจัดสรรงบประมาณ สนับสนุนการดำเนินโครงการฯ ซึ่งต่อมา ศอ.บต. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการขับเคลื่อนโครงการฯ กับมูลนิธิฯ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2562 [ภายใต้บันทึกข้อตกลงดังกล่าว ศอ.บต. ได้มีการสนับสนุนงบประมาณให้กับมูลนิธิฯ ในส่วนของการดำเนินกิจกรรมต้นทางและปลายทาง ตามข้อ 2.1 (1) และ (3) มาโดยตลอด] แต่โดยที่มูลนิธิฯ เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร มีภารกิจดำเนินกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐจึงไม่สามารถจัดตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีของทางราชการตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ ทำให้มีปัญหาและอุปสรรคเรื่องงบประมาณ ดังนั้น กพต. (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธาน) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2565 จึงได้มีมติเห็นชอบในหลักการสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการฯ โดยการอุดหนุนงบประมาณให้กับมูลนิธิฯ [จะเป็นการอุดหนุนงบประมาณในส่วนของกิจกรรมกลางทาง [ตามข้อ 2.1 (2)] รวมทั้งอนุมัติในหลักการสนับสนุนงบประมาณ หมวดเงินอุดหนุน ปีละ 12 ล้านบาท ให้มูลนิธิฯ เพื่อขับเคลื่อนโครงการฯ โดยเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป (คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565 รับทราบผลการประชุม กพต. ดังกล่าวแล้ว) 2. โครงการฯ ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นโครงการที่สร้างโอกาสและส่งเสริมให้เยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้มีโอกาสเรียนรู้และเข้าใจในบริบทของสังคมไทย ตลอดจนเพิ่มพูนทักษะประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรม ทักษะความเป็นผู้นำและผู้ตามในการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายของเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม ที่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข สอดคล้องตามแนวคิดด้านพหุวัฒนธรรม โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ 2.1 กระบวนการทำงาน ประกอบด้วย (1) ต้นทาง : การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาวชน ที่นับถือทุกศาสนาเข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งมีคุณสมบัติการคัดเลือก คือ เป็นเด็กและเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 16 - 18 ปี มีผลการเรียนคะแนนเฉลี่ย 3.00 ขึ้นไป กำลังศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและเอกชนทั้งในระบบและนอกระบบ มีสถานภาพทางครอบครัวยากจนหรือกำพร้า ขาดโอกาสทางการศึกษา ประสบเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 640 คนต่อปี โดยแบ่งเป็นจำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 320 คน (2) ปานกลาง : การฝึกอบรมและพัฒนาการเรียนรู้ของเยาวชนในโครงการฯ ด้วยการร่วมใช้ชีวิตกับครอบครัวอุปถัมภ์ในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียงรวมทั้งทัศนศึกษาและเข้าค่ายสิ่งแวดล้อม/ประวัติศาสตร์/วิทยาศาสตร์ (รวมระยะเวลาทั้งหมด 30 วัน) เพื่อให้เกิดการแลกแปลี่ยนเรียนรู้สภาพความเป็นอยู่ของชุมชนสังคมพหุวัฒนธรรม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้เด็กและเยาวชนได้รับการพัฒนาตนเอง เสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ วิสัยทัศน์ ทัศนคติ และประสบการณ์ชีวิตที่ดี ตลอดจนเกิดการสร้างความเข้าใจบริบทในสังคมของประเทศไทยเพื่อนำไปสู่การพัฒนาแนวคิด การปฏิบัติตนให้เป็น ?ผู้นำที่ดี? ของครอบครัวและชุมชนในอนาคตอันจะนำไปสู่การเป็นแกนนำบุคคลที่สำคัญในการร่วมมือร่วมใจสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคม ทั้งในระดับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศไทย (3) ปลายทาง : การจัดตั้งสมาคมเยาวชนสานใจไทย สู่ใจใต้ โดยขยายผลเป็นลักษณะเครือข่ายเด็กและเยาวชนรวมถึงประชาชนทั่วไป เพื่อร่วมกันทำกิจกรรมจิตอาสาทำความดีเพื่อแผ่นดิน สร้างความเชื่อมโยงการทำงานเป็นเครือข่ายสมาชิก ผ่านระบบการจัดการข้อมูลในระดับพื้นที่ สมาชิกเครือข่าย ครอบครัวอุปถัมภ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยจะมีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานเป็นประจำทุกปี 2.2 งบประมาณ : ปีละ 12 ล้านบาท สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการ ฯ รวมทั้งสิ้น 720 คน แบ่งเป็น ครูพี่เลี้ยง จำนวน 40 คน คณะกรรมการดำเนินการโครงการฯ จำนวน 40 คน และเด็กและเยาวชน จำนวน 640 คน (ทั้งหมดแบ่งเป็นจำนวน 2 รุ่น รวมรุ่นละ 320 คน) โดยคิดเป็นค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคน จำนวน 16,670 บาท สำหรับระยะเวลาการฝึกอบรม (กลางทาง) 30 วัน ประกอบด้วย (1) ค่าอาหารเช้า กลางวัน และเย็น จำนวน 5.90 ล้านบาท (2) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 0.76 ล้านบาท (3) ค่าที่พัก จำนวน 2.52 ล้านบาท (4) ค่าเช่าเหมารถบัสปรับอากาศ จำนวน 2.79 ล้านบาท และ (5) ค่าเอกสารประกอบกิจกรรม จำนวน 0.03 ล้านบาท 2.3 ผลที่จะได้รับของโครงการฯ (1) ผลผลิต : เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับการพัฒนาความรู้ความเข้าใจและทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม เกิดเป็นเครือข่ายของเด็กและเยาวชนที่เข้มแข็ง (2) ผลลัพธ์ : เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการฯ สามารถเป็นแกนนำเพื่อสร้างสังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็งและส่งผลให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการเสริมสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 (3) ผลกระทบ : เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการฯ เกิดการตระหนักและไม่ถูกชักจูงไปในทางที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งส่งผลทางอ้อมต่อการลดจำนวนเหตุการณ์ความไม่สงบของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 16. เรื่อง รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 4 ปี 2565 คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 4 ปี 2565 (เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2565) ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (5 พฤษภาคม 2563) ที่ให้ กนง. ประเมินภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มของประเทศและรายงานต่อคณะรัฐมนตรีเป็นรายไตรมาส] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. การประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจการเงินเพื่อประกอบการดำเนินนโยบายการเงิน 1.1 เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทยมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 2.9 ร้อยละ 2.5 และร้อยละ 3.1 ในปี 2565 2566 และ 2567 ตามลำดับซึ่งการขยายตัวที่ชะลอลงในปี 2566 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงและเศรษฐกิจของสาธารณรัฐประชาชนจีนมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงจากการบังคับใช้มาตรการโควิดเป็นศูนย์ส่วนอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงตามราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์โลกที่ทยอยลดลง อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ของประเทศเศรษฐกิจหลักในปี 2566 ยังสูงกว่ากรอบเป้าหมายส่งผลให้นโยบายการเงินของประเทศส่วนใหญ่ยังเข้มงวด 1.2 เศรษฐกิจไทย 1.2.1 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.2 ร้อยละ 3.7 และ ร้อยละ 3.9 ในปี 2565 2566 และ 2567 ตามลำดับ เนื่องจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน ทั้งนี้ คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เป็น 10.5 ล้านคน 22 ล้านคน และ 31.5 ล้านคน ในปี 2565 2566 และ 2567 ตามลำดับ 1.2.2 การบริโภคภาคเอกชนในปี 65 มีแนวโน้มขยายตัวที่ร้อยละ 6.1 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคบริการ ส่วนการบริโภคภาคเอกชนในปี 2566 และ 2567 คาคว่าจะขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.4 และร้อยละ 3.2 ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับรายได้แรงงานที่มีแนวโน้มปรับดีขึ้นและอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงส่งผลให้กำลังซื้อของภาคครัวเรือนมีแนวโน้มปรับดีขึ้น 1.2.3 การส่งออกของไทย มีแนวโน้มขยายตัวที่ร้อยละ 7.4 ในปี 2565 (ขยายตัวชะลอลงจากประมาณการในเดือนกันยายน 2565 ที่ร้อยละ 8.2) เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้าในปี 2566 และ 2567 มีแนวโน้มชะลอลงจากปัจจัยด้านปริมาณ โดยคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.0 และร้อยละ 2.6 ตามลำดับ 1.2.4 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 6.3 และร้อยละ 3.0 ในปี 2565และ 2566 ตามลำดับ ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบและสินค้าโภคภัณฑ์โลกที่ปรับลดลงจากอุปสงค์โลกที่ชะลอตัว โดยในปี 2567 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.1 2. ภาวะการเงิน 2.1 ภาวะการเงินโดยรวมยังผ่อนคลาย โดยอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวมีแนวโน้มปรับลดลง ส่วนปริมาณสินเชื่อและการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ 2.2 ค่าเงินบาทในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 4 ปี 2565 (ตุลาคม-พฤศจิกายน 2565) เฉลี่ยอยู่ที่ 37.12 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และแข็งค่าขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2565 เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาอาจชะลอการเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อเริ่มมีแนวโน้มชะลอลง 2.3 การดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดของธนาคารกลางประเทศเศรษฐกิจหลักส่งผลให้ต้นทุนกู้ยืมต่างประเทศปรับสูงขึ้น และค่าเงินบาทที่เคลื่อนไหวผันผวนอาจส่งผลกระทบต่อการกู้ยืมหนี้ต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ภาคธุรกิจไทยได้รับผลกระทบในปริมาณจำกัดเนื่องจากมีการกู้ยืมหนี้ต่างประเทศเพียงร้อยละ 20 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศซึ่งอยู่ในระดับต่ำและจำนวนครึ่งหนึ่งเป็นหนี้ระยะสั้น 3. การดำเนินนโยบายการเงินในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2565 สรุปได้ ดังนี้ (1) กนง. มีมติเป็น เอกฉันท์เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 1.25 ต่อปี เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง (2) ระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพแต่ฐานะทางการเงินของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและภาคครัวเรือนบางส่วนยังมีความเปราะบางโดยการทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายควบคู่กับการดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างต่อเนื่องจะช่วยเอื้อต่อการฟื้นตัวของกลุ่มเปราะบาง และ (3) เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องแต่ยังคงมีความเสี่ยงจากเงินเฟ้อที่ต้องติดตามโดยเฉพาะการส่งผ่านต้นทุนที่อาจเพิ่มขึ้นและการปรับราคาพลังงาน โดยควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเข้าสู่ระดับที่เหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาวอย่างค่อยเป็นค่อยไป 17. เรื่อง รายงานเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับกับการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริงกับประมาณการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ รายงานเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับกับการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริงกับประมาณการ จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการบรรเทาผลกระทบราคาน้ำมันกลุ่มเบนซิน สำหรับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ และ (2) โครงการยกระดับความช่วยเหลือส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มแก่ผู้มีรายได้น้อย ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาตรา 27 วรรคสาม บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการ จัดทำรายงานเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับกับการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริงกับประมาณการที่ได้จัดทำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบเป็นประจำทุกสิ้นปีงบประมาณ จนกว่าการดำเนินการดังกล่าวจะแล้วเสร็จ) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. โครงการบรรเทาผลกระทบราคาน้ำมันกลุ่มเบนซิน สำหรับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ เป็นการสนับสนุนเงินในรูปแบบรัฐร่วมจ่ายค่าน้ำมันเบนซินร้อยละ 50 ไม่เกิน 50 บาทต่อคนต่อวัน และไม่เกิน 250 บาทต่อคนต่อเดือน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบอาชีพในภาคขนส่ง ระหว่างวันที่ 8 พฤษภาคม- 31 กรกฎาคม 2565 โดยโครงการดังกล่าวได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 79,991,250.00 บาท มีการใช้จ่ายงบประมาณ จำนวน 18,003,586.27 บาท และส่งคืนเงินแก่สำนักงบประมาณ (สงป.) จำนวน 61,987,663.73 บาท โดยมีผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะเข้าร่วมโครงการ จำนวน 44,651 ราย ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวไม่ได้ทำให้สูญเสียรายได้แต่เป็นการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบอาชีพในภาคขนส่ง ซึ่งสามารถบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะและลดภาระของประชาชนจากการปรับขึ้นค่าโดยสารรถจักรยานยนต์สาธารณะ 2. โครงการยกระดับความช่วยเหลือส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มแก่ผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการ แห่งรัฐ เป็นการให้สิทธิส่วนลดค่าก๊าซหุงต้มแก่ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มเติมอีก 55 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน (จากเดิมที่ให้สิทธิส่วนลด 45 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน) รวมเป็น 100 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน ระหว่างวันที่ 1 เมษายน-30 กันยายน 2565 โดยได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลางฯ ซึ่งมีผลการดำเนินการแบ่งเป็น 2 ช่วง สรุปได้ ดังนี้ 2.1 ช่วงที่ 1 (1 เมษายน-30 มิถุนายน 2565) ได้รับจัดสรรงบประมาณจำนวน 207,017,140.00 บาท มีการใช้จ่ายงบประมาณ จำนวน 197,910,359.32 บาท และส่งคืนเงินแก่ สงป. จำนวน 9,106,780.68 บาท โดยมีผู้ใช้สิทธิ จำนวน 3,599,368 ราย 2.2 ช่วงที่ 2 (1 กรกฎาคม-30 กันยายน 2565) ได้รับจัดสรรงบประมาณ จำนวน 268,552,350.00 บาท มีการใช้จ่ายงบประมาณ จำนวน 243,164,233.38 บาท และส่งคืนเป็นรายได้แผ่นดิน จำนวน 25,388,116.62 บาท โดยมีผู้ใช้สิทธิ จำนวน 4,421,481 ราย อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวไม่ได้ทำให้รัฐสูญเสียรายได้แต่เป็นการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อลดภาระค่าครองชีพสำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย รวมจำนวน 441,074,592.70 บาท และสำหรับการดำเนินโครงการวันที่ 25 ตุลาคม-31 ธันวาคม 2565 ได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลางฯ จำนวน 302,500,000.00 บาท มีการใช้จ่ายงบประมาณ จำนวน 227,687,497.89 บาท เหลืองบประมาณ จำนวน 74,812,502.11 บาท 18. เรื่อง รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565 และรายงานผลการติตตามการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวลล้อม พ.ศ. 2563 คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565 และรายงานผลการติตตามการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวลล้อม พ.ศ. 2563 ตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ในการประชุมครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2565 [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 13 (13) ที่บัญญัติให้ กก.วล.เสนอรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศต่อคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563 ที่ให้ ทส. รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมในปีก่อนหน้า] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565 1.1 สถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลกและภูมิภาค อุณหภูมิโลกมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกิดความร้อนสะสม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ เช่น น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตและสร้างความเสียหายในหลายพื้นที่ โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับการประเมินว่า มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและจะประสบปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้วและเกิดคลื่นความร้อนมากที่สุด ขณะพื้นที่ป่าไม้ลดลงอย่างรวดเร็วจากการเพิ่มขึ้นของประชากรและการแผ้วถาง (เผาป่า) พื้นที่ป่าเพื่อการเกษตร ในส่วนของประเทศไทยได้มีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ โดยมีการจัดสรรงบประมาณสำหรับยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จำนวน 119,107.46 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.84 ของงบประมาณ ประจำปี 2565 (3,100,000 ล้านบาท) (เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2564) 1.2 สถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมรายสาขา ในช่วง พ.ศ. 2564-2565 มีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น เช่น (1) พลังงาน การผลิตพลังงานขั้นต้น1 และการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายลดลง2โดยเฉพาะน้ำมันสำเร็จรูป ทำให้สัดส่วนการใช้พลังงานในภาพรวมมีประสิทธิภาพดีขึ้น ส่งผลให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคพลังงานลดลง (2) ทรัพยากรน้ำ ปริมาณน้ำฝนและน้ำท่าเฉลี่ยทั้งประเทศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้กักเก็บน้ำเพิ่มมากขึ้นปริมาณน้ำบาดาลคงที่และมีคุณภาพดีอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้บริโภคได้ (3) ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรประมงเพิ่มขึ้น พื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้น แนวปะการังมีสภาพสมบูรณ์ดี และสัตว์ทะเลหายากเกยตื้นลดลง (4) ความหลากหลายทางชีวภาพ สำรวจพบสิ่งมีชีวิตพันธุ์ใหม่ในประเทศไทย ได้แก่ พืช 29 ชนิด สัตว์ 13 ชนิด และจุลินทรีย์ 2 ชนิด และ (5) สิ่งแวดล้อมชุมชน ชุมชนแออัดมีแนวโน้มลดลง สัดส่วนพื้นที่สีเขียวต่อจำนวนประชากรในกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้น และสาขาที่มีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ควรเฝ้าติดตาม เช่น (1) ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า พื้นที่ป่าไม้ลดลงโดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือและสัตว์ป่ายังถูกคุกคามโดยเฉพาะสัตว์ป่าคุ้มครอง (2) ทรัพยากรดินและการใช้ดิน คุณภาพดินส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และการนำเข้าปุ๋ยเคมีและวัตถุอันตรายทางเกษตรเพิ่มขึ้นและ (3) สถานการณ์มลพิษ พบว่า ปริมาณขยะมูลฝอยลดลงแต่ปริมาณขยะพลาสติกของเสียอันตรายจากชุมชน กากของเสียจากอุตสาหกรรม และมูลฝอยติดเชื้อเพิ่มขึ้น 1.3 การคาดการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เช่น ระยะสั้น (1-2 ปีข้างหน้า) ระยะยาว (ในช่วง 10 ปี ข้างหน้า) (1) การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจากการขยายตัวของพืชเศรษฐกิจและชุมชน ซึ่งผันแปรตามราคาผลผลิตและความต้องการพลังงานในตลาด โดยเฉพาะปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง และอ้อย (2) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคพลังงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในสาขาการจราจรขนส่งและการผลิตไฟฟ้า และ (3) ปัญหาขยะ ปริมาณขยะบรรจุภัณฑ์และมูลฝอยติดเชื้อจากชุมชนเพิ่มขึ้นจากการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ การไม่คัดแยกขยะรวมถึงการท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัวที่เป็นปัจจัยกระตุ้นให้ขยะในแหล่งท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยขับเคลื่อนด้านต่าง ๆ เช่น (1) ด้านสังคมและวัฒนธรรม การนิยมสั่งซื้อสินค้าและอาหารแบบเดลิเวอรี่ ส่งผลให้มีปริมาณขยะบรรจุภัณฑ์เพิ่มขึ้นและกระจายในพื้นที่เป็นบริเวณกว้างและ (2) ด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวที่เริ่มฟื้นตัวจะมีโอกาสทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเกิดความเสื่อมโทรม 1.4 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนี้ 1.4.1 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายระยะสั้น (1-2 ปี) ได้แก่ ประเด็น ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1. การจัดการขยะมูลฝอยในแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลและชายฝั่ง ควรมีกฎ ระเบียบเพื่อบังคับใช้กับผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง สร้างกลไก การประสานงานในระดับพื้นที่ ส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญ จูงใจให้เกิดการลดและ คัดแยกขยะที่ต้นทาง เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างเป็นระบบเพื่อไม่ให้มีขยะมูลฝอยตกค้างและหลุดรอดสู่สิ่งแวดล้อม 2. การประเมินพื้นที่และกำหนดมาตรการคุ้มครองพื้นที่ที่มีความสำคัญหรือมีความอ่อนไหวทางสิ่งแวดล้อม ควรมีการจัดทำเกณฑ์ประเมินพื้นที่ที่มีความสำคัญหรือมีความอ่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมและมาตรการจัดการที่เชื่อมโยงกับการประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดการนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่หรือการกำหนดมาตรการเพิ่มเติมโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายทางการปกครองหรือกฎหมายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 3. การเผยแพร่และส่งเสริม การบริหารจัดการน้ำ ในระดับพื้นที่ ควรส่งเสริมกลไกและรูปแบบการจัดการน้ำที่มีอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ให้มีความเข้มแข็งมีการนำมาตรการปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศ (Eco-based Adaptation: EbA)3 มาปรับใช้ รวมทั้งการเผยแพร่และขยายผลรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสร้างความพร้อมในการปรับตัวของกลุ่มเปราะบางและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมป่าไม้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) 1.4.2 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายระยะยาว (10 ปีข้างหน้า) ได้แก่ ประเด็น ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1. การเพิ่มพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่สีเขียวเพื่อดูดซับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ เปิดโอกาสและจูงใจให้ภาคเอกชนและชุมชนที่มีความตื่นตัวมีส่วนร่วมในการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้เพื่อผลักดันให้การพัฒนาประเทศเข้าใกล้สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนตามที่กำหนดไว้ 2. การส่งเสริมบทบาทของภาคธุรกิจเอกชนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ควรส่งเสริมและจูงใจภาคธุรกิจเอกชนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งส่วนใหญ่ยังมีข้อจำกัดในการปรับเปลี่ยน รูปแบบการผลิตและการบริการ โดยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงกลไกทางการเงินเพื่อการลงทุนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์และบริการให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน และสร้างโอกาสในการเข้าถึงระบบการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวของภาครัฐ 3. การส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ ควรสร้างความร่วมมือในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและเชื่อมโยงเครือข่ายแหล่งท่องเที่ยวชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกับแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเพื่อลดการกระจุกตัวในแหล่งท่องเที่ยวหลัก และพัฒนาการจัดการสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยกำกับดูแลและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการท่องเที่ยวทุกระดับกำหนดมาตรการป้องกันและลดผลกระทบต่อสิ่งเวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวอย่างเข้มงวด 4. ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคให้เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม ควรสื่อสารข้อมูลหรือให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย ออกแบบทางเลือก สร้างแบบอย่างและจูงใจให้เลือกกระทำในทิศทางที่ออกแบบไว้โดยไม่บังคับ โดยเน้นกลุ่มผู้บริหารองค์กร ผู้สูงอายุ สตรี คนรุ่นใหม่ และประชาชนทั่วไป เพื่อเป็นการลดผลกระทบจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การกิน การอยู่ การซื้อของใช้ของประชาชนที่ต้องการความสะดวกสบายเพิ่มขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมป่าไม้ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมควบคุมมลพิษ กรมประชาสัมพันธ์ อบก. และองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) 2. รายงานผลการติดตามการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2563 2.1 ผลการติดตามการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายฯ จำนวน 65 ข้อเสนอแนะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวม 52 หน่วยงาน ได้ดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 468 โครงการ แบ่งการดำเนินโครงการเป็น 3 ด้าน คือ (1) ด้านกฎหมายและนโยบาย (2) ด้านการบริหารจัดการ และ (3) ด้านการสนับสนุน มีผลการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น ด้านกฎหมาย ด้านการบริหารจัดการ ด้านการสนับสนุน ข้อเสนอแนะ (ทรัพยากรดินและการใช้ที่ดิน) : เร่งรัดการพิสูจน์สิทธิที่ดินและออกเอกสารสิทธิ์ให้กับประชาชน โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตร สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) จัดที่ดินทำกินให้ชุมชน เพื่อให้ราษฎรผู้ยากไร้และไม่มีที่ดินทำกินได้รับการจัดที่ดินทำกินในลักษณะแปลงรวม โดยรัฐรับรองการจัดการสิทธิของชุมชนให้ถูกต้องตามกฎหมายในรูปแบบสหกรณ์หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม ซึ่งที่ดินนั้นยังคงเป็นของรัฐ กรมที่ดินได้ดำเนินโครงการสำรวจออกโฉนดที่ดินและรังวัดรูปแปลงโฉนดที่ดินให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและโครงการสำรวจการออกโฉนดที่ดินเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองสิทธิในที่ดินและการใช้ประโยชน์ในที่ดินลดปัญหาข้อพิพาทในเรื่องแนวเขตที่ดิน สคทช. สร้างความรู้ความเข้าใจการขับเคลื่อนโยบายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน เพื่อให้หน่วยงานเจ้าของพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถขับเคลื่อนการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ข้อเสนอแนะ (ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง) : ส่งเสริมและรณรงค์ให้มีการใช้เครื่องมือประมง วิธีการทำประมงและพื้นที่ทำการประมงที่เหมาะสม เพื่อป้องกันและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อแหล่งที่อยู่อาศัย แนวปะการัง หญ้าทะเล สัตว์ทะเลหายาก และสัตว์ทะเลอื่น กรมประมงได้ออกประกาศ กรมประมงเรื่อง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงจระเข้ซึ่งเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมภายในเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ตามมาตรา 77 แห่งพระราชกำหนดการประมงพ.ศ. 2558 ต้องแจ้งการประกอบกิจการ พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2563 และได้จัดทำร่างแผนการบริหารจัดการประมงของไทย (Marine Fisheries Management Plan: FMP) [คณะรัฐมนตรีมีมติ (3 พฤษภาคม 2565) เห็นชอบแผนฯ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ] กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ดำเนินโครงการป้องกันและปราบปรามรองรับแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย โดยลงพื้นที่ติดตามการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทำการประมง ผิดกฎหมายและปฏิบัติการเก็บกู้เครื่องมือประมง ประเภทอวนขนาดใหญ่ที่ตกปกคลุมแนวปะการัง กรมประมงได้ดำเนินโครงการศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาเครื่องมือประมงที่มีผลกระทบต่อพะยูนเพื่อลดสาเหตุการตายของพะยูนที่เกิดจากการติดเครื่องมือของชาวประมง และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ และสัตว์ทะเลหายากและสนับสนุนเศรษฐกิจ สีน้ำเงิน4 ของอ่าวไทยผ่านวิธีการเข้าถึงเชิงนิเวศวิทยาด้านการประมง เพื่อให้การบริหารจัดการประมงในอ่าวไทยได้รับการปรับปรุง โดยจะช่วยแก้ไขปัญหาในสิ่งที่ภาคการประมงในพื้นที่อ่าวไทยกำลังเผชิญ ข้อเสนอแนะ [สถานการณ์มลพิษ (ขยะมูลฝอย ของเสียอันตราย มูลฝอยติดเชื้อ และสารอันตราย)] : ส่งเสริม การเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน โดยเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ เช่น เตาเผาขยะ การผลิตก๊าซชีวภาพจากหลุมฝังกลบ และการผลิตเชื้อเพลิงขยะ และส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนในการจัดการขยะเพื่อเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน เนื่องจากมีความเชี่ยวชาญในการบริหารเทคโนโลยีและงบประมาณ โดยภาครัฐต้องสร้างแรงจูงใจ ผลตอบแทนทางธุรกิจกฎหมาย เพื่อให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น รวมถึงพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สป. ทส.) จัดทำประกาศจังหวัด เรื่อง มาตรการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ เพื่อแจ้งส่วนราชการภูมิภาคให้ลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว แก้วน้ำ พลาสติกใช้ครั้งเดียว โฟมบรรจุอาหารและหลอดพลาสติก คัดแยกขยะต้นทาง ในหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงดำเนินการเก็บข้อมูลและรายงานผ่านระบบ E-Report รายเดือน สป. ทส. สำรวจข้อมูลและติดตามการจัดการสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำจัดขยะที่ไม่ถูกหลักสุขาภิบาลเพื่อกำหนดเป็นนโยบายของจังหวัดในการปิดบ่อขยะที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อนำขยะเข้าสู่โรงไฟฟ้าขยะร้อยละ 100 และประสานความร่วมมือในการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายในพื้นที่จังหวัด โดยตรวจประเมินคุณภาพน้ำชะขยะ5 น้ำผิวดิน และน้ำใต้ดินเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่บ่อ สป. ทส. ดำเนินงานจัดกิจกรรมโครงการคนไทยไร้ e-waste โดยประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนและหน่วยงานราชการรวบรวมซากโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์ต่อพ่วง เพื่อส่งบริษัทเอกชนกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการไม่ให้มีขยะอิเล็กทรอนิกส์ตกค้างและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 2.2 อุปสรรคและข้อจำกัดในการดำเนินโครงการและกิจกรรมและแนวทางการแก้ไขปัญหาและการดำเนินโครงการในระยะต่อไป เช่น อุปสรรคและข้อจำกัด แนวทางแก้ไขปัญหา 1. รูปแบบการจัดเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูลของแต่ละหน่วยงานแตกต่างกัน จึงไม่สามารถเชื่อมโยงกันได้ พัฒนาระบบฐานข้อมูลที่มีรูปแบบหรือแพลตฟอร์มที่เป็นสากลมีความปลอดภัย และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศในการเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกและใช้งานได้ง่าย 2. การปฏิบัติตามข้อกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมมี การบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องค่อนข้างน้อย ควรทำความเข้าใจเรื่องขอบเขตความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานให้ชัดเจน และสร้างความเข้าใจระหว่างหน่วยงานให้สามารถร่วมสนับสนุนกันในการปฏิบัติงานพร้อมจัดทำวิธีการและขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบ 3. การจัดสรรงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่ซึ่งได้รับงบประมาณจำกัดตลอดจนการโอนงบประมาณล่าช้า ทำให้ไม่สามารถดำเนินงานได้ตามแผนงานและไม่ต่อเนื่อง ทำให้เกิดข้อจำกัดในการสำรวจพื้นที่และการศึกษาวิจัย ตรวจสอบช่วงเวลาการจัดสรรงบประมาณ พร้อมวางแผนการเบิกจ่ายให้เหมาะสมตั้งแต่ก่อนเริ่มดำเนินการ เพื่อลดข้อจำกัดการเบิกจ่ายงบประมาณ 4. อุปกรณ์ สิ่งก่อสร้าง เทคโนโลยีที่ใช้ในการปฏิบัติงานชำรุดและเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานและไม่ได้รับการบำรุงดูแลรักษาอย่างเหมาะสมทำให้ไม่สามารถเดินระบบและนำมาใช้แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น อุปกรณ์การขุดเจาะน้ำบาดาลและระบบบำบัดน้ำเสียรวม ควรจัดสรรงบประมาณเพื่อการซ่อมบำรุงหรือดูแลรักษาไว้ด้วยเพื่อให้การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยใช้อุปกรณ์ดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 1พลังงานขั้นต้น หมายถึง พลังงานเชื้อเพลิงที่ปรากฏในธรรมชาติ อาจยังไม่อยู่ในรูปที่ใช้ประโยชนได้ โดยการผลิตพลังงานขั้นต้นหมายรวมถึงการผลิตน้ำมันดิบ คอนเดนเสท (ก๊าซธรรมชาติที่อยู่ในสถานะก๊าซเมื่ออยู่ใต้ดิน แต่เปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวเมื่ออยู่บนผิวดิน) ก๊าซธรรมชาติ ลิกไนต์ (ถ่านหิน ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงสำหรับให้ความร้อน) และพลังน้ำ 2พลังงานขั้นสุดท้าย หมายถึง พลังานที่เกิดจากการนำพลังงานขั้นต้นมาแปรรูป ปรับปรุงคุณภาพให้สามารถใช้งานได้หลากหลายหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น พลังงานปิโตรเลียมและพลังงานไฟฟ้า 3การปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศ (Eco-based Adaptation: EbA หมายถึง การใช้ความหลากหลายทางชีวภาพและประโยชน์ต่าง ๆ จากระบบนิเวศเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางปรับตัวในภาพรวม เพื่อช่วยให้มนุษย์สามารถรับมือกับผลกระทบเชิงลบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ 4เศรษฐกิจสีน้ำเงิน หมายถึง แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืนโดยให้ความสำคัญกับท้องถิ่นและชุมชนเพื่อให้มีการดำรงชีพและดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน 5น้ำชะขยะ คือ น้ำเสียที่มีความเข้มข้นสูงที่มาจากการซึมของน้ำฝนและความชื้นผ่านของเสียในหลุมฝังกลบ ซึ่งน้ำชะขยะนั้นเป็นตัวกลางในการดูดซับสารอาหารและสารปนเปื้อนจากของเสียซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อแหล่งน้ำที่รองรับ 19. เรื่อง ขอผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อดำเนินการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 101 สายน่าน - อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ตอน บ้านปอน - อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2529 (ที่เห็นชอบให้ใช้หลักเกณฑ์ วิธีการ และแผนที่แสดงชั้นคุณภาพลุ่มน้ำยมและน่าน และเห็นชอบข้อเสนอแนะมาตรการใช้ที่ดินในเขตลุ่มน้ำยมและน่าน โดยสำหรับพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ กำหนดให้ห้ามมิให้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะพื้นที่ป่าไม้เป็นรูปแบบอื่นอย่างเด็ดขาด ทั้งนี้ เพื่อรักษาไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารอย่างแท้จริง) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2532 (ที่ระบุว่า ต่อไปจะไม่อนุมัติให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ อีกไม่ว่ากรณีใด) เพื่อให้ คค. โดยกรมทางหลวงใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ดำเนินโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 101 สายน่าน - อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ตอน บ้านปอน ? อำภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน (โครงการฯ) ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (รายงาน EIA) เพื่อใช้ประกอบการดำเนินโครงการฯ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เห็นชอบให้ดำเนินโครงการฯ ด้วยแล้ว สาระสำคัญ 1. โครงการทางหลวงหมายเลข 101 สายน่าน - อำเภอเฉลิมพระเกียรติมีจุดเริ่มต้นที่อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน สิ้นสุดที่จุดผ่านแดนถาวรบ้านห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน ระยะทาง 132.170 กิโลเมตร อยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ตามโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 101 หรือโครงการก่อสร้างทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างประเทศ (ไทย - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว - สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม - สาธารณรัฐประชาชนจีน) ตามแนวทางหลวงอาเซียนหมายเลข 13 (AH 13) ซึ่ง คค. (กรมทางหลวง) มีแผนก่อสร้างและปรับปรุงให้เป็นทางหลวงมาตรฐานทางชั้น 1 และมาตรฐานทางชั้นพิเศษขนาด 4 ช่องจราจร ตลอดสายเพื่อพัฒนาโครงข่ายทางหลวงแผ่นดินให้สมบูรณ์ เพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่งให้มีความสะดวก ปลอดภัย และรวดเร็วในการเดินทาง รองรับการพัฒนาระบบโครงข่ายคมนาคมภายในประเทศและที่เชื่อมต่อระหว่างประเทศ ยกระดับคุณภาพชีวิตและการเดินทางของประชาชนในพื้นที่ รวมถึงระบบการขนส่งสินค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน 2. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กรมทางหลวงได้รับจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการโครงการฯ ระยะทางประมาณ 34 กิโลเมตร ในท้องที่ตำบลปอน อำเภอทุ่งช้างถึงจุดผ่านแดนถาวรบ้านห้วยโก๋น ตำบลห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน โดยจากการสำรวจพบว่า มีแนวเส้นทางตัดผ่านพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำยาวและป่าน้ำสวด พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยภูคาและป่าผาแดง และพื้นที่ลุ่มน้ำ ทั้งนี้ บริเวณที่ตัดผ่านพื้นที่ลุ่มน้ำ ชั้นที่ 1 เอ อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน เป็นช่วง ๆ ตลอดโครงการ ระยะทางรวม 17.98 กิโลเมตร คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 552 ไร่ จึงจำเป็นต้องขอผ่อนผันการใช้พื้นที่ต่อคณะรัฐมนตรี 3. โครงการฯ เข้าข่ายต้องจัดทำ รายงาน EIA ตามประกาศ ทส. เรื่อง กำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2561 ซึ่งกรมทางหลวงได้จัดทำ รายงาน EIA เรียบร้อยแล้ว ซึ่ง กก.วล. ในการประชุมครั้งที่ 7/2563 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 ได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว 20. เรื่อง ขออนุมัติทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2560 เรื่อง อนุมัติให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ดำเนินงานก่อสร้างงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2560 เกี่ยวกับการอนุมัติให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินงานก่อสร้างงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) (โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง) กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้ 1. ขอเปลี่ยนแปลงกรอบวงเงินรายการภายใต้กรอบวงเงินโครงการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2560 โดยปรับลดวงเงินรายการค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำนวน 1,323 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) จากแหล่งเงินที่สำนักงบประมาณ (สงป.) จัดสรร เพื่อไปปรับเพิ่มเป็นรายการค่าสิ่งก่อสร้างทดแทนหน่วยงานที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้าง จำนวน 1,323 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) จากแหล่งเงินกู้ 2. ให้กระทรวงการคลัง (กค.) จัดหาแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสมสำหรับรายการค่าก่อสร้างทดแทนหน่วยงานที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้าง โดยวิธีการให้กู้เงินต่อหรือค้ำประกันเงินกู้ รวมทั้งเห็นชอบให้ รฟม. กู้เงินในกรอบวงเงินดังกล่าวในแต่ละกรณีตามพระราชบัญญัติ รฟม. พ.ศ. 2543 มาตรา 75 (3) โดยให้ รฟม. ทยอยกู้เงินดังกล่าวเป็นงวด ๆ ตามความเหมาะสมและความจำเป็น 3. ให้ สงป. พิจารณาจัดสรรงบประมาณให้แก่ รฟม. เป็นรายปี สำหรับการชำระหนี้เงินกู้ ทั้งในส่วนของเงินต้น ดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมในการกู้เงินและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ กค. จะได้ตกลงกับ รฟม.ต่อไป 4. อนุมัติให้ รฟม. ก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างทดแทนของกองทัพบก (ทบ.) ในพื้นที่ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้หน่วยของ ทบ. สามารถดำรงสภาพความเป็นหน่วยต่อไปได้ โดยให้ รฟม. และ ทบ. รับความเห็นของ กค. สงป. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในส่วนของการบริหารต้นทุนให้เกิดความคุ้มค่า รอบคอบ เหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อภาครัฐ รวมทั้งให้การดำเนินการเป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมาภิบาล อย่างเคร่งครัดต่อไป 21. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559 เรื่อง โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2559 - 2572) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559 เรื่อง โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2559 - 2572) (โครงการฯ) ในประเด็นอัตราค่าใช้จ่ายทุนการศึกษาระดับปริญญาโท ในต่างประเทศ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ดังนี้ โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2559-2572) มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559 อว. เสนอขอทบทวนในครั้งนี้ เหตุผลความจำเป็น อนุมัติค่าใช้จ่ายทุนการศึกษาปริญญาโททางการสอนในต่างประเทศในอัตรา 1,547,500 บาท/คน/ ปี ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) (ในขณะนั้น) เสนอ ค่าใช้จ่ายทุนการศึกษาปริญญาโททางการสอนในต่างประเทศให้เป็นไปตามอัตราค่าใช้จ่ายนักเรียนทุนรัฐบาลที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด ดังนี้ - ประเทศสหรัฐอเมริกา 2,702,470 บาท/คน/ปี - ประเทศอังกฤษ 2,163,740 บาท/คน/ปี - ประเทศออสเตรเลีย 1,795,550 บาท/คน/ปี - ประเทศนิวซีแลนด์ 1,357,080 บาท/คน/ปี ค่าใช้จ่ายทุนการศึกษาปริญญาโททางการสอนในต่างประเทศ (อัตรา 1,547,500 บาท/คน/ปี ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559) ไม่สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายของนักเรียนทุนรัฐบาลที่ต้องไปศึกษาในต่างประเทศในปัจจุบันตามที่สำนักงาน ก.พ. ได้ประมาณการค่าใช้จ่ายของผู้รับทุนโครงการฯ ที่ไปศึกษาต่อต่างประเทศเป็นรายปี หมายเหตุ: อัตราค่าใช้จ่ายที่ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวไม่เกินกรอบวงเงินเดิมของโครงการฯ ที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559 (จำนวนรวมทั้งสิ้น 4,693.97 ล้านบาท) 22. เรื่อง การเร่งรัดออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบแนวทางการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 22 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 2. มอบมายให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยเร่งรัดออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ตามแนวทางการดำเนินการโดยเร็วเพื่อที่ประชาชนจะสามารถปฏิบัติตามกฎหมายหรือได้รับสิทธิประโยชน์จากกฎหมายนั้นได้ ทั้งนี้ เพื่อมิให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายแก่การบริหารราชการแผ่นดิน หรือต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน สาระสำคัญของเรื่อง 1. แนวทางการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 22 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1.1 ให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยเร่งตรวจสอบกฎหมายในความรับผิดชอบของตน ซึ่งมีผลใช้บังคับก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 ว่ามีบทอาศัยอำนาจหรือบทบัญญัติใดที่เข้าข่ายเป็นกรณีที่ต้องมีการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อที่ประชาชนจะสามารถปฏิบัติตามกฎหมายหรือได้รับสิทธิประโยชน์จากกฎหมายนั้นได้แต่ยังมิได้มีการออกกฎหรือดำเนินการดังกล่าว หลงเหลืออยู่หรือไม่ แล้วรวบรวมให้ครบถ้วนทุกฉบับ และทุกมาตราที่ให้อำนาจในการออกกฎหรือดำเนินการดังกล่าว 1.2 ให้หน่วยงานของรัฐเร่งดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำร่างกฎตามข้อ 1.1 ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นกฎที่หน่วยงานสามารถออกได้เองหรือดำเนินการได้เอง หรือสามารถเสนอรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงพิจารณาลงนามในร่างกฎหรือดำเนินการใดๆ ตามที่กฎหมายกำหนดได้เอง ให้เร่งรัดจัดทำร่างกฎหรือดำเนินการนั้นภายในขอบหน้าที่และอำนาจของตนโดยเร็ว ให้แล้วเสร็จไม่เกินวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ทั้งนี้ ให้หน่วยงานคำนึงถึงระยะเวลาในการส่งร่างกฎที่ต้องนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลใช้บังคับด้วย (2) ในกรณีที่เป็นร่างกฎหรือการดำเนินการที่ต้องผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้เร่งเสนอเรื่องต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว ทั้งนี้ ภายในเดือนพฤษภาคม 2566 (3) ในกรณีที่เป็นร่างกฎที่ต้องผ่านการตรวจพิจารณาของ สคก. ให้ดำเนินการตาม (2) ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถส่งร่างกฎให้ สคก. พิจารณาได้ภายในเดือนกรกฎาคม 2566 เนื่องจากต้องคำนึงถึงระยะเวลาในการส่งร่างกฎไปนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย 1.3 ในกรณีที่หน่วยงานใดดำเนินการตามข้อ 1.1 แล้วพบว่าต้องมีการออกกฎหรือการดำเนินการใด ๆ หลงเหลืออยู่จำนวนมาก ซึ่งอาจดำเนินการให้แล้วเสร็จไม่ทันภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 หรือเป็นกรณีที่อยู่ระหว่างดำเนินการตามข้อ 1.2 แล้วปรากฏในภายหลังว่าอาจดำเนินการให้แล้วเสร็จหรือครบถ้วนไม่ทันกำหนดวันดังกล่าว ให้พิจารณาดำเนินการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ ออกไปอีก 1 ปี ทั้งนี้ โดยให้ระบุเหตุผลความจำเป็นของการขอขยายระยะเวลาดังกล่าวประกอบด้วย 1.4 โดยที่มาตรา 22 วรรคสอง กำหนดให้มติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบหรืออนุมัติการขยายระยะเวลานั้น จะต้องมีมติก่อนครบกำหนดระยะเวลาเท่านั้น (สำหรับกรณีนี้คือ ก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566) ดังนั้น ในกรณีที่หน่วยงานใดพิจารณาดำเนินการขอขยายระยะเวลาตามข้อ 1.2 ให้คำนึงถึงระยะเวลาที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งขั้นตอนในการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณามีมติด้วย ทั้งนี้ กำหนดระยะเวลาในการเสนอเรื่องขอขยายระยะเวลาตามข้อ 1.3 ให้เป็นไปตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีกำหนด 1.5 ในการเสนอร่างกฎต่อคณะรัฐมนตรีตามข้อ 1.2 (2) และ (3) นอกจากร่างกฎที่เสนอนั้น หากยังมีร่างกฎที่ต้องหรืออาจต้องออกหรือการดำเนินการอื่นที่ต้องดำเนินการให้ทันภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 เหลือคงค้างอยู่อีก หน่วยงานผู้เสนออาจเสนอขอขยายระยะเวลาตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ ตามข้อ 1.3 และข้อ 1.4 ไปพร้อมกันด้วยก็ได้ 1.6 ให้หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบกฎหมายซึ่งมีผลใช้บังคับภายหลังวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 เร่งรัดออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ ภายใน 2 ปีนับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ ให้นำแนวทางตามข้อ 1.1 ข้อ 1.3 ข้อ 1.4 และข้อ 1.5 มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม 23. เรื่อง ขออนุมัติ (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ.2566-2570 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ.2566-2570 [(ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566-2570 (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลฯ] เพื่อกำหนดกรอบและทิศทางการบริหารงานภาครัฐและการจัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบของเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาประเทศต่อไป ตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเสนอ สาระสำคัญ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลได้จัดทำ (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลฯเพื่อเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการบริหารงานของภาครัฐไปสู่ระบบดิจิทัลและสามารถยกระดับการให้บริการประชาชนให้มีความสะดวกและเปิดเผยมากขึ้น โดยแผนดังกล่าวเป็นแผนต่อเนื่องจากแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563-2565 ซึ่งสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินงานแล้ว ทั้งนี้ ภายใต้การดำเนินการตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลฉบับที่ผ่านมาได้มีการดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่เป็นรูปธรรม เช่น โครงการ Digital Transcript ซึ่งเป็นโครงการจัดทำเอกสารสำคัญทางการศึกษาในรูปแบบดิจิทัลที่มีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือ โดยในปีการศึกษา 2563 สามารถออกเอกสาร Digital Transcript แก่ผู้สำเร็จการศึกษาได้แล้วกว่า 100,000 คน นอกจากความสำเร็จของโครงการตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยพ.ศ. 2563-2565 ในช่วงเวลาที่ผ่านมาแล้วนั้น หน่วยงานภาครัฐทั่วไปยังได้มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อการบริหารจัดการและการบริการประชาชนในวงกว้าง โดยมีโครงการที่ประสบความสำเร็จและสร้างผลประโยชน์ให้กับภาคเศรษฐกิจและสังคมที่โดดเด่น ได้แก่ พร้อมเพย์ และระบบภาษีออนไลน์ ทั้งนี้ คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2565 มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลฯ ด้วยแล้ว โดยแผนดังกล่าวมีแนวทางการพัฒนาที่มุ่งเน้นความสำคัญ (Focus Area) 10 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการศึกษา (2) ด้านสุขภาพและการแพทย์ (3) ด้านการเกษตร (4) ด้านความเหลื่อมล้ำทางสิทธิสวัสดิการประชาชน (5) ด้านการมีส่วนร่วม โปร่งใสและตรวจสอบได้ของประชาชน (6) ด้านการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small And Medium Enterprises : SMEs) (7) ด้านสิ่งแวดล้อม (8) ด้านแรงงาน (9) ด้านท่องเที่ยว และ (10) ด้านยุติธรรม และผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่าง ๆ ด้วยแล้ว โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1. วัตถุประสงค์ วิสัยทัศน์ เป้าหมาย ตัวชี้วัดความสำเร็จและค่าเป้าหมาย มีสาระสำคัญ ดังนี้ หัวข้อ สาระสำคัญ วัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาบริการดิจิทัลสาธารณะของรัฐที่มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ สามารถอำนวยความสะดวกในการให้บริการและเป็นที่ยอมรับของประชาชน (2) เพื่อเป็นแนวทางสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการยกระดับการบริหารจัดการและการดำเนินงานภาครัฐให้มีความยืดหยุ่นคล่องตัว มีการบูรณาการแบบไร้รอยต่อ เปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้ และสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน (3) เพื่อเป็นกรอบทิศทางให้หน่วยงานภาครัฐจัดทำแผนการดำเนินงานที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 และสร้างความต่อเนื่องในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย วิสัยทัศน์ ?บริการภาครัฐสะดวก โปร่งใส ทันสมัย ตอบโจทย์ประชาชน? เป้าหมาย - ให้บริการที่ตอบสนองประชาชนและลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการ - เพิ่มความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันของภาคธุรกิจ - โปร่งใส เปิดเผยข้อมูล ประชาชนเชื่อถือและมีส่วนร่วม - ภาครัฐที่ปรับตัวทันการณ์ ตัวชี้วัดความสำเร็จและ ค่าเป้าหมาย - ระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการใช้บริการออนไลน์ภาครัฐ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 - อันดับดัชนีรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E - Government Development Index: EGDI) ของไทย ไม่ต่ำกว่าอันดับที่ 40 ของโลก 2. ยุทธศาสตร์ของ (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลฯ ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ยกระดับการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลภาครัฐเพื่อการบริหารงานที่ยืดหยุ่น คล่องตัว และขยายสู่หน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่น (ประกอบด้วย 5 เป้าหมาย 5 ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย 9 มาตรการ และ 14 โครงการสำคัญ) ยุทธศาสตร์ที่ 2 : พัฒนาบริการที่สะดวกและเข้าถึงง่าย (ประกอบด้วย 2 เป้าหมาย 3 ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย 5 มาตรการ และ 8 โครงการสำคัญ) ยุทธศาสตร์ที่ 3 : สร้างมูลค่าเพิ่มและอำนวยความสะดวกแก่ภาคธุรกิจ (ประกอบด้วย 1 เป้าหมาย 3 ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย 3 มาตรการ และ 7 โครงการสำคัญ) ยุทธศาสตร์ที่ 4 : ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ (ประกอบด้วย 2 เป้าหมาย 5 ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย 3 มาตรการ และ 9 โครงการสำคัญ) 3. การขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย หน่วยงานรัฐควรดำเนินการตามกลไกการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งจะต้องอาศัยกลไกการขับเคลื่อนสำคัญ ได้แก่ (1) กลไกด้านนโยบาย (2) กลไกการทำงานร่วมกัน (3) กลไกด้านงบประมาณ (4) กลไกการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานภาคีและเอกชน (5) กลไกการปรับปรุงโครงสร้างระบบราชการด้านบุคลากรภาครัฐ (6) กลไกการติดตามและประเมินผลโครงการ และ (7) กลไกการร่วมงานกับรัฐบาลท้องถิ่น 4. สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 13/2565 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2565 มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลฯ โดยมีความเห็นเพิ่มเติมว่า (1) ควรพิจารณา แนวทางการดำเนินการให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับแต่ละกลุ่มเป้าหมายที่มีความแตกต่างกัน อาทิ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และกลุ่มคนรุ่นใหม่ (2) การดำเนินการตามโครงการสำคัญที่กำหนดไว้ในร่างแผน ควรหารือร่วมกับหน่วยงานผู้รับผิดชอบเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และ (3) ควรส่งเสริมและให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลผ่านระบบดิจิทัลมากขึ้น ทั้งนี้ สพร. ได้ดำเนินการปรับปรุง (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลฯ ตามข้อเสนอแนะดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว 24. เรื่อง ขอทบทวนการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2559 เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวทาง เรื่อง ค่าบริการทางการแพทย์และเงินเหมาจ่ายช่วยเหลือในการรักษาพยาบาล กรณีผู้บาดเจ็บจากสถานการณ์เหตุระเบิดแยกราชประสงค์วันที่ 17 สิงหาคม 2558 ของกระทรวงสาธารณสุข คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ทบทวนการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2559 ดังนี้ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2559 ข้อเสนอในครั้งนี้ มอบหมายให้ กค. เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดทำกฎหมายหรือระเบียบ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความช่วยเหลือเยียวยาที่ครอบคลุมในทุกกรณีทั้งเหตุการณ์ภัยพิบัติ สาธารณภัย เหตุการณ์ทางการเมือง หรือการก่อ การร้าย ครอบคลุมการให้ความช่วยเหลือเยียวยา ทุกประเภท เช่น กรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพ บาดเจ็บ และครอบคลุมบุคคลทุกกลุ่ม เช่น เจ้าหน้าที่รัฐ ประชาชน ชาวต่างชาติ เพื่อให้การให้ความช่วยเหลือเยียวยาของภาครัฐมีหลักเกณฑ์มาตรฐานและเกิดความชัดเจน เห็นควรมอบหมายให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองและเหตุการณ์ความรุนแรงอื่น ๆ เนื่องจาก 2 กรณีดังกล่าวยังไม่มีกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ในการให้ความช่วยเหลือเยียวยาที่ชัดเจนในขณะที่กรณี อื่น ๆ (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2559) มีกฎหมาย ระเบียบหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือเยียวยาแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้การช่วยเหลือเยียวยาประชาชนเป็นไปอย่างมีมาตรฐาน เหมาะสม และ เป็นธรรม และ สปน.เป็นหน่วยงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว 25. เรื่อง รายงานผลการผลักดันทรัพย์สินออกจากระบบการบังคับคดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไตรมาสที่ 1 ของกรมบังคับคดี คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอรายงานผลการผลักดันทรัพย์สินออกจากระบบการบังคับคดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไตรมาสที่ 1 สามารถผลักดันทรัพย์สินรวมคิดเป็นเงินจำนวน 57,743,843,816.58 บาท ประกอบด้วย การขายทอดตลาด คิดเป็นเงินจำนวน 20,149,400,232.18 บาท การงดการบังคับคดี คิดเป็นเงินจำนวน 14,848,635,800.48 บาท และการถอนการบังคับคดี คิดเป็นงิน 22,745,807,783.92 บาท ทั้งนี้ ผลการดำเนินการที่ผ่านมา กระทรวงยุติธรรม ได้ดำเนินการผลักดันทรัพย์สินออกจากระบบการบังคับคดี (การขายทอดตลาด การงดการบังคับคดี และการถอนการบังคับคดี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 คิดเป็นเงินรวมทั้งปีงบประมาณจำนวน 147,010,951,016 บาท ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 คิดเป็นเงินรวมทั้งปีงบประมาณ จำนวน 160,164,524,851 บาท ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 คิดเป็นเงินรวมทั้งปีงบประมาณ จำนวน 178,246,240,853 บาท ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คิดเป็นเงินรวมทั้งปีงบประมาณ จำนวน 198,869,293.838 บาท และปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คิดเป็นเงินรวมทั้งปีงบประมาณ จำนวน 226,306,802,462.97 บาท กระทรวงยุติธรรม ได้ดำเนินการผลักดันทรัพย์สินออกจากระบบการบังคับคดีมาโดยตลอดซึ่งเป็นการอำนวยความยุติธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ส่งผลให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้และลูกหนี้สามารถชำระหนี้ได้ รวมทั้งมีส่วนสนับสนุนการเสริมสร้างสภาพคล่องและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศรวมถึงการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนทั้งในและนอกประเทศ 26. เรื่อง ข้อเสนอโครงการอาสาสมัครกระทรวงศึกษาธิการ (อส.ศธ.) คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบในหลักการดำเนินโครงการอาสาสมัครกระทรวงศึกษาธิการ (อส.ศธ.) ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ สาระสำคัญของโครงการ สืบเนื่องจากสถานการณ์ที่ประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มจะกลายเป็นวิกฤตหนักของประเทศ ซึ่งจะส่งผลกระทบกับภาคการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ ตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) ที่มีความห่วงใยในเรื่องนี้ ต้องการให้ทุกภาคส่วนวางแผนแก้วิกฤตดังกล่าวอย่างยั่งยืน ดังนั้น คาดว่าในอีก 11 ปีข้างหน้า ผู้สูงอายุของไทยจะสูงขึ้นเป็น 28% ถือเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด ส่วนด้านผลิตภาพแรงงานของไทยอยู่ในอันดับที่ 40 จาก 64 ประเทศ มีแรงงานนอกระบบมากถึง 52% ซึ่งแรงงานกลุ่มนี้ไม่มีสวัสดิการ ในระยะยาวจะกระทบต่อรัฐในการจัดสรรงบประมาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงบประมาณด้านสุขภาพ ขณะที่กลุ่มผู้ว่างงานและอยู่นอกระบบการศึกษา (Non Education Employer Development : NEED) มีมากถึง 1.3 ล้านคน หากปล่อยทุกอย่างเป็นไปตามภาวะปกติในทศวรรษหน้าประเทศไทยจะเผชิญปัญหาหนัก ซึ่งช่องว่างดังกล่าวสามารถเข้าไปพัฒนาได้ คือ การเตรียมพัฒนากำลังคนให้ทำงานได้เต็มตามศักยภาพ ซึ่งต้องใช้เวลาและเตรียมการตั้งแต่วัยเด็ก ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ได้มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมพัฒนากำลังคนอย่างเต็มกำลังเพื่อให้ประเทศก้าวผ่านวิกฤตนี้ กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้กำหนดแนวทางการขับเคลื่อนระยะสั้น ในช่วง 3-6 เดือน ข้างหน้าของปี 2566 ภายใต้แนวคิด ?สร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างคุณค่า? เพื่อสร้างความสุขให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ คือ ครูเกษียณอายุราชการ กลุ่มแรงงานไม่มีสวัสดิการ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางวิชาชีพ กลุ่มที่ต้องการอาชีพเสริมและมีแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานในระยะสั้น โดยจะเปิดรับสมัครอาสาสมัครกระทรวงศึกษาธิการ (อส.ศธ.) ผ่านระบบออนไลน์ วางเป้าหมายมีผู้สมัครกว่า 30,000 คน ซึ่งกระจายทุกพื้นที่ทั่วประเทศ และจะเป็นบุคลากรสำคัญในการดำเนินการร่วมกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการช่วยพัฒนากำลังคนทุกกลุ่มวัยในระดับพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อเตรียมคนในอนาคตและกลุ่มผู้สูงวัย เช่น เป็นครูอาสาสมัครจิตอาสา เพื่อเข้ามาช่วยงานการศึกษา โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา ระหว่างสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง ชุมชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา ฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนทุกระดับ และช่วยสนับสนุนในการพัฒนาศักยภาพเด็กที่อยู่ในวัยเรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและมีความสุขทั้งในด้านทักษะต่าง ๆ อารมณ์ สังคม คุณธรรม จริยธรรม รวมถึงดูแลปกป้องคุ้มครองนักเรียนให้มีความปลอดภัยด้านร่างกายและจิตใจ มีพฤติกรรมที่เหมาะสม และมีโอกาสด้านการศึกษาอย่างเท่าเทียมด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย ภายใต้โครงการอาสาสมัครกระทรวงศึกษาธิการ (อส.ศธ.) วัตถุประสงค์โครงการ 1) เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีงานทำและมีรายได้ โดยสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม 2) เพื่อส่งเสริมการสร้างอาสาสมัครกระทรวงศึกษาธิการ (อส.ศธ.) ทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อช่วยงานด้านการศึกษา 3) เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ/ทักษะชีวิตเพื่อสอนวิชาชีพ 4) เพื่อยกระดับห้องสมุดประชาชนเฉลิมพระเกียรติ ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี หอสมุดรัชมังคลาภิษก ห้องสมุดประชาชนจังหวัด ห้องสมุดประชาชนอำเภอ กศน.ตำบล และศูนย์การเรียนชุมชน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวิชาชีพ/ทักษะชีวิต และเป็นสถานที่ส่งเสริมการรู้หนังสือ เพื่อสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนของสังคมเอกชนในการส่งเสริมให้ผู้สูงวัย 5) เพื่อส่งเสริมการสร้างรายได้จากวิชาชีพชุมชน ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ 27. เรื่อง สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนมกราคม 2566 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนมกราคม 2566 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ สาระสำคัญ 1. สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าเดือนมกราคม 2566 ดังนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนมกราคม 2566 เท่ากับ 108.18 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเท่ากับ 103.01 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป สูงขึ้นร้อยละ 5.02 (YoY) ชะลอตัวจากเดือนธันวาคม 2565 ที่สูงขึ้นร้อยละ 5.89 อยู่ระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือน ตามการชะลอตัวของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานและอาหาร ขณะที่อุปสงค์ในประเทศปรับตัวดีขึ้นจากภาคการท่องเที่ยว เทศกาลปีใหม่ และตรุษจีน ส่งผลให้การใช้จ่ายคึกคักกว่าปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อต่างประเทศ (ข้อมูลล่าสุดเดือนธันวาคม 2565) พบว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยอยู่ในระดับที่ดีกว่าหลายเขตเศรษฐกิจ อาทิ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร อิตาลี และเม็กซิโก รวมถึงประเทศในอาเซียน ลาว ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ โดยเงินเฟ้อไทยต่ำเป็นอันดับที่ 32 จาก 129 เขตเศรษฐกิจที่มีการประกาศตัวเลข ส่วนอัตราเงินเฟ้อไทยเฉลี่ยทั้งปี 2565 สูงขึ้นร้อยละ 6.08 (AoA) ต่ำเป็นอันดับที่ 33 จาก 129 เขตเศรษฐกิจที่มีการประกาศตัวเลข อัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้ สูงขึ้นร้อยละ 5.02 (YoY) เป็นการสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวของสินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 3.18 (YoY) (เดือนธันวาคม 2565 สูงขึ้นร้อยละ 3.87) ตามราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นทุกประเภท ค่าไฟฟ้า และก๊าซหุงต้ม รวมทั้งค่าโดยสารสาธารณะ (รถเมล์เล็ก/รถสองแถว รถแท็กซี่ เครื่องบิน) นอกจากนี้ วัสดุก่อสร้าง ค่าแรงช่าง ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล (สบู่ถูตัว ยาสีฟัน ค่าแต่งผมชาย) สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (น้ำยาล้างจาน น้ำยาปรับผ้านุ่ม ผงซักฟอก) ราคาสูงขึ้น สำหรับสินค้าที่ปรับลดลง อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า (เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า) เสื้อและกางเกง ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว แป้งผัดหน้า ผ้าอ้อมสำเร็จรูป และค่าสมาชิกเคเบิลทีวี และหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 7.70 (YoY) (เดือนธันวาคม 2565 สูงขึ้นร้อยละ 8.87) โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูป (กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว ข้าวแกง/ข้าวกล่อง อาหารเช้า) ผักและผลไม้สด (ต้นหอม มะเขือ ผักบุ้ง แตงโม ส้มเขียวหวาน มะม่วง) ข้าวสาร และไข่ไก่ สาเหตุสำคัญยังคงเป็นต้นทุนที่อยู่ระดับสูง และอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลและวันหยุดยาว ตามสถานการณ์เศรษฐกิจของไทยที่ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง อาทิ เนื้อสุกร จากปริมาณที่มีเพียงพอต่อความต้องการ ผักสดและผลไม้บางชนิด (ขิง ถั่วฝักยาว พริกสด แครอท ทุเรียน) เงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก สูงขึ้นร้อยละ 3.04 (YoY) ชะลอตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่สูงขึ้นร้อยละ 3.23 (YoY) ตามต้นทุนการผลิตที่ยังอยู่ในระดับสูง ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนนี้ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 0.30 (MoM) ตามการสูงขึ้นของสินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 0.41 สาเหตุสำคัญมาจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้ค่าโดยสารสาธารณะปรับสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าสำคัญหลายรายการที่ราคาลดลง อาทิ สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก) เสื้อผ้าบุรุษและสตรี ตู้เย็น และหม้อหุงข้าวไฟฟ้า และหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.13 อาทิ ผลไม้สด (ส้มเขียวหวาน องุ่น มะม่วง) จากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาล และไข่ไก่ เนื่องจากปริมาณมีไม่มากนัก สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง อาทิ ผักสด (ผักบุ้ง ผักชี ต้นหอม) เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยทำให้ผลผลิตกลับเข้ามาสู่ภาวะปกติ ข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียว เนื่องจากการจัดโปรโมชัน น้ำมันพืชปรับลดลงตามราคาปาล์มดิบ และซอสหอยนางรมปรับลดลงตามโปรโมชัน 2. แนวโน้มเงินเฟ้อ แนวโน้มเงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์ 2566 คาดว่าจะขยายตัวในอัตราที่ลดลง ปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อขยายตัวยังคงเป็นราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน ทั้งน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้า และก๊าซหุงต้ม ที่ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเงินเฟ้อ และราคาสินค้าในกลุ่มอาหารที่ปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตที่ยังอยู่ในระดับสูง เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งค่าวัตถุดิบ ค่าขนส่ง และค่าจ้างแรงงาน ประกอบกับอุปสงค์ในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นจากภาคการท่องเที่ยว และนโยบายกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัว ซึ่งจะทำให้ความต้องการบริโภคโดยรวมและราคาน้ำมันเชื้อเพลิงชะลอตัว และเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจะส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าของไทยลดลง ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่กดดันให้อัตราเงินเฟ้อของไทยไม่สูงมากนัก ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2566 อยู่ระหว่างร้อยละ 2.0 ? 3.0 ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจของไทย และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีการทบทวนอีกครั้ง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนมกราคม 2566 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 51.3 จากระดับ 50.4 ในเดือนก่อนหน้า อยู่ในช่วงความเชื่อมั่นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และอยู่ระดับสูงสุดในรอบ 44 เดือน เป็นการปรับเพิ่มขึ้นทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันและในอนาคต โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) อยู่ในระดับที่มีความเชื่อมั่น คือยังสูงกว่าระดับ 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 15 สาเหตุของการปรับเพิ่มขึ้นมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวที่มีการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบ และการเปิดประเทศของจีน ประกอบกับมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ รวมถึงราคาสินค้าเกษตรสำคัญอยู่ในเกณฑ์ดี ส่งผลให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจสูงขึ้น ขณะที่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและน้ำมันเชื้อเพลิงชะลอตัวลง จะเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป 28. เรื่อง รายงานผลการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 และประชารัฐสวัสดิการใหม่แก่ผู้ที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมกระทรวงการคลัง (คณะกรรมการฯ) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบรายงานผลการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 และประชารัฐสวัสดิการใหม่แก่ผู้ที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติและกรอบระยะเวลาในการดำเนินโครงการฯ ปี 2565 โดยในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงกรอบระยะเวลาในการดำเนินการและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องให้คณะกรรมการฯ พิจารณาปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมต่อไป ทั้งนี้ ให้รายงานคณะรัฐมนตรีทราบในโอกาสแรกด้วย 2. เห็นชอบการจัดสรรประชารัฐสวัสดิการใหม่ 3. มอบหมายให้คณะกรรมการฯ เป็นผู้รับผิดชอบกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประชารัฐสวัสดิการสำหรับผู้ใด้รับสิทธิ์ตามโครงการฯ และผู้ที่ได้รับมอบอำนาจให้ใช้สิทธิ์แทน รวมถึงการกำหนดแนวทาง การดำเนินการกับผู้ได้รับสิทธิ์ตามโครงการฯ ที่กระทำผิดหลักเกณฑ์การจัดสรรประชารัฐสวัสดิการ 4. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกฉินหรือจำเป็น จำนวน 9,140.3511 ล้านบาท ให้แก่กองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม สาระสำคัญ รายงานผลการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนโครงการฯ ปี 2565 กรอบระยะเวลาในการดำเนินโครงการฯ ปี 2565 และข้อเสนอประชารัฐสวัสดิการใหม่ มีรายละเอียด ดังนี้ 1. รายงานผลการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนโครงการฯ ปี 2565 1.1 จำนวนผู้ลงทะเบียนที่ผ่านการตรวจสอบข้อมูลกับกรมการปกครอง โครงการฯ ปี 2565 ได้เปิดรับลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2565และเปิดให้มีการแก้ไขข้อมูลในระหว่างวันที่ 5 กันยายน - 17 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งมีผู้ลงทะเบียนจำนวนทั้งสิ้น 22,295,265 ราย โดยมีผู้ลงทะเบียนที่ลงทะเบียนสำเร็จ จำนวนทั้งสิ้น 21,018,640 ราย (มีสถานะแสดงข้อความว่า ?กระทรวงการคลังได้รับข้อมูลการลงทะเบียนของท่านครบถ้วนแล้ว?) และเมื่อตรวจสอบข้อมูลกับกรมการปกครองแล้ว พบว่า มีผู้ผ่านการตรวจสอบข้อมูลกับกรมการปกครอง มีจำนวนทั้งสิ้น 19,647,241 ราย (มีสถานะแสดงข้อความว่า ?สถานะการลงทะเบียนสมบูรณ์?) คิดเป็นร้อยละ 93.48 ของผู้ลงทะเบียนที่ลงทะเบียนสำเร็จ ทั้งนี้ จำนวนผู้ที่ไม่ผ่านการตรวจสอบข้อมูลกับกรมการปกครอง มีจำนวนทั้งสิ้น 1,371,399 ราย (มีสถานะแสดงข้อความว่า ?สถานะการลงทะเบียนไม่สมบูรณ์?) คิดเป็นร้อยละ 6.52 ของผู้ลงทะเบียนที่ลงทะเบียนสำเร็จ 1.2 ผลการตรวจสอบคุณสมบัติกับหน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติ จำนวนผู้ลงทะเบียนตามโครงการฯ ปี 2565 ที่ส่งตรวจสอบคุณสมบัติกับหน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติ 46 หน่ายงาน มีจำนวน 19,647,241 ราย เป็นผู้ลงทะเบียนที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติตามโครงการฯ ปี 2565 จำนวน 14,596,820 ราย และผู้ลงทะเบียนที่ไม่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติตามโครงการฯ ปี 2565 จำนวน 5,050,421 ราย ทั้งนี้ รายละเอียดผู้ลงทะเบียนที่ไม่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ จำนวน 5,050,421 ราย แบ่งตามเกณฑ์การตรวจสอบคุณสมบัติได้ ดังนี้ 1) เป็นบุคคลที่ไม่เข้าข่ายได้รับสิทธิ์มีจำนวน 42,785 ราย 2) ไม่ผ่านเกณฑ์รายได้ มีจำนวน 1,250,072 ราย 3) ไม่ผ่านเกณฑ์ทรัพย์สินทางการเงิน มีจำนวน 1,331,764 ราย 4) ไม่ผ่านเกณฑ์อสังหาริมทรัพย์ มีจำนวน 2,919,610 ราย และ 5) ไม่ผ่านเกณฑ์หนี้สิน มีจำนวน 434,362 ราย 2. กรอบระยะเวลาในการดำเนินโครงการฯ ปี 2565 การกำหนดการประกาศผลการตรวจสอบคุณสมบัติและเริ่มกระบวนการยืนยันตัวตน กระบวนการอุทธรณ์ และการเริ่มใช้สิทธิ์สวัสดิการมีรายละเอียดปรากฏตามตาราง ดังนี้ ตารางกำหนดการประกาศผลการตรวจสอบคุณสมบัติ และเริ่มกระบวนการยืนยันตัวตน กระบวนการอุทธรณ์ และการเริ่มใช้สิทธิ์สวัสดิการ การดำเนินการ ระยะเวลาดำเนินการ 1. การประกาศผลการตรวจสอบคุณสมบัติและเริ่มกระบวนการยืนยันตัวตน 1 มีนาคม 2566 2. กระบวนการอุทธรณ์ (กรณีผู้ลงทะเบียนไม่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ) 1 มีนาคม - 1 พฤษภาคม 2566 (62 วัน) 3. การเริ่มใช้สิทธิ์สวัสดิการ1/ 1 เมษายน 2566 4. การประกาศผลการตรวจสอบคุณสมบัติรอบอุทธรณ์และเริ่มกระบวนการยืนยันตัวตน 20 มิถุนายน 2566 5. การเริ่มใช้สิทธิ์สวัสดิการสำหรับผู้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติรอบอุทธรณ์ 2/ 1 กรกฎาคม 2566 หมายเหตุ: 1/ 2/หลักเกณฑ์การเริ่มใช้สิทธิ์และการได้รับสิทธิ์ย้อนหลังเป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการ ฯ ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 3. ข้อเสนอประชารัฐสวัสดิการใหม่ 3.1 วงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น สินค้าเพื่อการศึกษาและวัตถุดิบเพื่อเกษตรกรรม 1) ผลการดำเนินการที่ผ่านมา: จำนวนผู้ใช้สิทธิ์มีจำนวนสูงถึงกว่าร้อยละ 98 ของจำนวนผู้มีบัตรฯ ทั้งหมด และผู้มีบัตรฯ ใช้สิทธิ์โดยเฉลี่ยกว่าร้อยละ 99 ของวงเงินสวัสดิการที่ได้รับในแต่ละเดือน ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีการใช้จ่ายเงินจากกองทุนฯ ประมาณ 43,270.92 ล้านบาท 2) วัตถุประสงค์: เพื่อสนับสนุนการลดภาระค่าใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภคให้แก่ ผู้มีบัตรฯ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเป็นการปรับปรุงสวัสดิการให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน เนื่องจากวงเงินสิทธิ์ ณ ปัจจุบันเป็นการคำนวณตามสภาวะทางเศรษฐกิจและระดับราคาในอดีต (ก่อนช่วงเวลาของโครงการฯ ปี 2560 และปี 2561) และยังไม่เคยมีการปรับปรุงใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับระดับราคาที่มีการปรับเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี ซึ่งจากการพิจารณาใช้ช้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภคชุดรายได้น้อย (Low Income Price Index : LPI) ของกระทรวงพาณิชย์ หากพิจารณาเฉพาะหมวดสินค้าที่จำเป็น ได้แก่ (1) ข้าว แป้ง (2) ไข่และผลิตภัณฑ์นม (3) เครื่องประกอบอาหาร (4) เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ (5) ผักและผลไม้ และ (6) อาหารบริโภค-ในบ้าน พบว่า ระดับราคาสินค้ากลุ่มดังกล่าวปรับเพิ่มขึ้นมากเกือบถึงอัตราร้อยละ 10 ในช่วงเวลาปี 2563-2565 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของระดับราคาในช่วงเวลาปี 2556-2558 อีกทั้ง พบว่า ภาพรวมทุกรายการของดัชนีราคาผู้บริโภคชุดรายได้น้อยที่รวมหมวดหมู่อื่น ๆ เช่น หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษา และการศาสนา หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ เป็นต้น ในช่วงเวลาปี 2563-2565 ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของระดับราคาในช่วงเวลา ปี 2556-2558 ดังนั้น จึงเห็นควรเสนอให้มีการคงสวัสดิการ และปรับเพิ่มวงเงินสวัสดิการให้ใกล้เคียงกับการเปลี่ยนระดับราคาสินค้าและภาวะทางเศรษฐกิจมากขึ้น 3) สวัสดิการใหม่: วงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น สินค้าเพื่อการศึกษาและวัตถุดิบเพื่อเกษตรกรรม จากร้านธงฟ้าฯ และร้านอื่น ๆ ตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดเป็นจำนวน 300 บาทต่อคนต่อเดือนเท่ากันทุกคน และกำหนดช่วงเวลาการใช้จ่ายเป็นระหว่าง 05.00 น. ? 23.00 น. กรณีมีวงเงินคงเหลือในเดือนใดจะไม่มีการสะสมไปในเดือนถัดไป ทั้งนี้ ผู้ได้รับสิทธิ์ตามโครงการฯ และผู้ที่ได้รับมอบอำนาจให้ใช้สิทธิ์แทน จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการฯ กำหนด 4) กลุ่มเป้าหมาย: จำนวน 15.50 ล้านคน ซึ่งเป็นการประมาณการจากจำนวนผู้มีบัตรฯ ที่คาดว่าจะผ่านคุณสมบัติตามโครงการฯ ปี 2565 (รวมจำนวนผู้ที่คาดว่าจะได้รับสิทธิ์เพิ่มจากการอุทธรณ์) 5) งบประมาณ: 55,800 ล้านบาทต่อปี โดยใช้เงินจากกองทุนฯ 3.2 วงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 1) ผลการดำเนินการที่ผ่านมา: จำนวนผู้ใช้สิทธิ์มีจำนวนประมาณร้อยละ 15-30 ของจำนวนผู้มีบัตรฯ ทั้งหมด และผู้มีบัตรฯ ใช้สิทธิ์โดยเฉลี่ยกว่าร้อยละ 98 ของวงเงินสวัสดิการที่ได้รับใน แต่ละเดือน ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีการใช้จ่ายเงินจากกองทุนฯ ประมาณ 620.40 ล้านบาท 2) วัตถุประสงค์: เพื่อให้การสนับสนุนการลดภาระค่าใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภคให้แก่ผู้มีบัตรฯ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเป็นการปรับปรุงสวัสดิการให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยข้อมูลของกระทรวงพลังงานและคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน พบว่า ระดับราคาก๊าซธรรมชาติของโลกปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงในระยะต่อไป จากปัญหาอุปทานด้านพลังงานที่อยู่ในภาวะตึงตัว โดยราคาขายปลีกก๊าซหุงต้มตามข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2565 อยู่ที่ 393 บาทต่อถัง ปรับราคาสูงขึ้นเป็น 408 บาทต่อถังในเดือนกันยายน 2565 และยังคงตรึงราคาไว้ถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ดี กระทรวงพลังงานได้มีการประเมินว่าราคาก๊าซหุงต้มจะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้น เพื่อปรับปรุงให้สวัสดิการสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันจึงควรมีการปรับเพิ่มวงเงินสวัสดิการให้ใกล้เคียงกับการเปลี่ยนระดับราคาสินค้าและภาวะทางเศรษฐกิจมากขึ้น ดังนั้น จึงเห็นควรเสนอให้มีการคงสวัสดิการ และปรับเพิ่มวงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 3) สวัสดิการใหม่: วงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มจากร้านค้าตามที่กระทรวงพลังงานกำหนดจำนวน 80 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน (คำนวณจากร้อยละ 20 ของราคาก๊าซหุงต้มในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ที่เท่ากับ 408 บาท) และกำหนดช่วงเวลาการใช้จ่ายเป็นระหว่าง 05.00 น. - 23.00 น. กรณีมีวงเงินคงเหลือจะไม่มีการสะสมไปในรอบถัดไป ทั้งนี้ ผู้ได้รับสิทธิ์ตามโครงการฯ และผู้ที่ได้รับมอบอำนาจให้ใช้สิทธิ์แทน จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการฯ กำหนด 4) กลุ่มเป้าหมาย: จำนวน 7.50 ล้านคน ซึ่งเป็นการประมาณการจากจำนวนผู้ใช้สิทธิ์สูงสุดในปัจจุบัน และผู้มีบัตรฯ ที่คาดว่าจะใช้สิทธิ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 จากโครงการฯ ปี 2565 5) งบประมาณ: 2,400 ล้านบาทต่อปี โดยใช้เงินจากกองทุนฯ 3.3 วงเงินค่าเดินทางผ่านระบบขนส่งสาธารณะ 1) ผลการดำเนินการที่ผ่านมา: จำนวนผู้ใช้สิทธิ์มีจำนวนประมาณร้อยละ 10 ของจำนวนผู้มีบัตรฯ ทั้งหมด ซึ่งใช้สิทธิ์โดยเฉลี่ยร้อยละ 30 - 90 ของวงเงินสวัสดิการที่ได้รับในแต่ละเดือน ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 วงเงินค่าโดยสารรถ ขสมก. และรถไฟฟ้า มีการใช้จ่ายเงินจากกองทุนฯ ประมาณ 257.20 ล้านบาท วงเงินค่าโดยสารรถ บขส. มีการใช้จ่ายเงินจากกองทุนฯ ประมาณ 65.79 ล้านบาท และวงเงินค่าโดยสารรถไฟ มีการใช้จ่ายเงินจากกองทุนฯ ประมาณ 154.40 ล้านบาท 2) วัตถุประสงค์: เพื่อให้การสนับสนุนการลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางผ่านระบบขนส่งสาธารณะให้แก่ผู้มีบัตรฯ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ควรปรับปรุงข้อจำกัดของสวัสดิการปัจจุบัน ได้แก่ ประเภทรถโดยสารสาธารณะที่สามารถใช้สวัสดิการได้มีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับระบบขนส่งสาธารณะทั่วไปที่ผู้มีบัตรฯ สามารถใช้ได้ ข้อจำกัดด้านพื้นที่การใช้บริการ โดยปัจจุบันผู้มีบัตรฯ ที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ปี 2560 และปี 2561 นอกเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑล จะไม่สามารถใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะใน กทม. ได้ ส่งผลให้มีผู้ใช้ระบบขนส่งมวลชนใน กทม. น้อย แม้ว่าจะเป็นระบบขนส่งสาธารณะที่สำคัญของ กทม. และการกำหนดวงเงินแยกรายประเภทรถโดยสารส่งผลให้ผู้มีบัตรฯ สูญเสียวงเงินรถโดยสารสาธารณะในส่วนที่ไม่ได้ใช้ไป ดังนั้นจึงเห็นควรเสนอให้คงสวัสดิการวงเงินค่าเดินทางผ่านระบบขนส่งสาธารณะ และปรับปรุงเงื่อนไขสวัสดิการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มีบัตรฯ 3) สวัสดิการใหม่: วงเงินรวมค่าเดินทางผ่านระบบขนส่งสาธารณะ 750 บาทต่อคนต่อเดือน โดยสามารถใช้โดยสารได้รับระบบขนส่ง 8 ประเภท ได้แก่ (1) รถ ขสมก. (2) รถ บขส. (3) รถไฟฟ้า บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (Bangkok Mass Transit System : BTS) รถไฟฟ้ามหานคร (Metropolitan Rapid Transit : MRT) และบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (4) รถไฟ (5) รถเอกชนร่วม ขสมก. รถเอกชน และส่วนราชการ กทม. (6) รถเอกชนร่วม บขส. และรถเอกชน (7) รถสองแถวรับจ้าง และ (8) เรือโดยสารสาธารณะ โดยไม่จำกัดวงเงินตามประเภทรถ กรณีมีวงเงินคงเหลือในเดือนใดจะไม่มีการสะสมไปในเดือนถัดไป ทั้งนี้ ผู้ได้รับสิทธิ์ตามโครงการฯ และผู้ที่ได้รับมอบอำนาจให้ใช้สิทธิ์แทน จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการฯ กำหนด 4) กลุ่มเป้าหมาย: จำนวน 390,000 คน ซึ่งเป็นการประมาณการจากจำนวนผู้ใช้สิทธิ์สูงสุดในปัจจุบัน และผู้มีบัตรฯ ที่คาดว่าจะใช้สิทธิ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 จากโครงการฯ ปี 2565 5) งบประมาณ: 3,510 ล้านบาทต่อปี โดยใช้เงินจากกองทุนฯ 3.4 มาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา 1) ผลการดำเนินการ: วงเงินค่าไฟฟ้ามีจำนวนผู้ลงทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิ์จำนวนประมาณร้อยละ 56 ของผู้มีบัตรฯ ทั้งหมด โดยผู้ใช้สิทธิ์มีจำนวนประมาณร้อยละ 10 ของจำนวนผู้ได้รับสิทธิ์ทั้งหมด ซึ่งใช้สิทธิ์โดยเฉลี่ยร้อยละ 78 ของวงเงินสวัสดิการที่ได้รับในแต่ละเดือนซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีการใช้จ่ายเงินจากกองทุนฯ ประมาณ 1,783.46 ล้านบาท และวงเงินค่าน้ำประปามีจำนวนผู้ลงทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิ์จำนวนประมาณร้อยละ 8 ของผู้มีบัตรฯ ทั้งหมด โดยผู้ใช้สิทธิ์มีจำนวนประมาณร้อยละ 17 ของจำนวนผู้ได้รับสิทธิ์ ซึ่งใช้สิทธิ์โดยเฉลี่ยร้อยละ 95 ของวงเงินสวัสดิการที่ได้รับในแต่ละเดือน ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีการใช้จ่ายเงินจากกองทุนฯ ประมาณ 159.96 ล้านบาท 2) วัตถุประสงค์: เพื่อบรรเทาค่าครองชีพและลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้มีบัตรฯ ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และกำหนดให้เป็นสวัสดิการหลักที่ไม่มีเวลาหมดอายุ เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการชำระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปาเป็นค่าใช้จ่ายประจำที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีพของผู้มีบัตรฯ รวมถึงปรับเปลี่ยนวิธีการได้รับเงินช่วยเหลือโดยวิธีการจ่ายตรงระหว่างกระทรวงการคลังโดยกรมบัญชีกลางกับผู้ให้บริการโดยตรง ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือให้ผู้มีบัตรฯ มีเงินสดเพื่อนำไปใช้จ่ายในการดำรงชีพในเรื่องอื่น ดังนั้น จึงเห็นควรเสนอให้กำหนดให้สวัสดิการค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปาเป็นสวัสดิการหลักที่ไม่มีวันหมดอายุ และปรับปรุงวิธีการให้สวัสดิการ 3) สวัสดิการใหม่: (1) กรณีค่าไฟฟ้า ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือนติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 เดือน ให้ใช้สิทธิ์ค่าไฟฟ้าฟรีตามมาตรการที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่หากใช้ไฟฟ้าเกิน 50 หน่วยต่อเดือน ให้ผู้มีบัตรฯ ได้รับวงเงินสำหรับชำระค่าไฟฟ้า วงเงิน 315 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน กรณีที่ใช้เกินวงเงินที่กำหนด ผู้มีบัตรฯ จะเป็นผู้รับภาระค่าไฟฟ้าทั้งหมด (2) กรณีค่าน้ำประปา สนับสนุนค่าน้ำประปาวงเงิน 100 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน กรณีใช้น้ำประปาเกิน 100 บาท แต่ไม่เกิน 315 บาท ผู้มีบัตรฯ ยังคงได้รับการสนับสนุนในวงเงิน 100 บาท และจะต้องชำระส่วนที่เกิน 100 บาท ด้วยตนเองแต่หากผู้มีบัตรฯ มีการใช้น้ำประปาเกิน 315 บาท ผู้มีบัตรฯ จะเป็นผู้รับภาระค่าน้ำประปาทั้งหมด ทั้งนี้ กระทรวงการคลังโดยกรมบัญชีกลางจะจ่ายค่าบริการให้ผู้ให้บริการโดยตรง ในการนี้ ผู้ได้รับสิทธิ์ตามโครงการฯ และผู้ที่ได้รับมอบอำนาจให้ใช้สิทธิ์แทน จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการฯ กำหนด 4) กลุ่มเป้าหมาย: (1) ค่าไฟฟ้า ประมาณการกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 910,000 ครัวเรือน (2) ค่าน้ำประปา ประมาณการกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 220,000 ครัวเรือน ทั้งนี้ เป็นการประมาณการจากจำนวนผู้ใช้สิทธิ์สูงสุดในปัจจุบัน และผู้มีบัตรฯ ที่คาดว่าจะใช้สิทธิ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 จากโครงการฯ ปี 2565 5) งบประมาณ: (1) ค่าไฟฟ้า คาดว่าจะใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 3,439.80 ล้านบาทต่อปี (2) ค่าน้ำประปา คาดว่าจะใช้งบประมาณรวมจำนวนทั้งสิ้น 264 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ ผู้มีบัตรฯ ต้องลงทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิ์กับผู้ให้บริการ ได้แก่ สำนักงานการไฟฟ้านครหลวง สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กิจการไฟฟ้า สวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ สำนักงานการประปานครหลวง และสำนักงานการประปาภูมิภาค (ผู้ให้บริการ) โดยผู้ให้บริการจะต้องตรวจสอบความเป็นผู้มีสิทธิ์ตามโครงการฯ กับศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง และหากผู้มีบัตรฯ ลงทะเบียนและได้รับสิทธิ์เรียบร้อยแล้ว ในกรณีที่มีการใช้ค่าไฟฟ้าและน้ำประปาภายในวงเงินที่กำหนด ผู้ให้บริการจะต้องส่งข้อมูลให้กรมบัญชีกลาง เพื่อที่กรมบัญชีกลางจะใช้เงินจากกองทุนฯ ชำระให้ผู้ให้บริการโดยตรง 3.5 งบประมาณสำหรับข้อเสนอประชารัฐสวัสดิการใหม่ งบประมาณสำหรับการจัดสรรประชารัฐสวัสดิการใหม่ ประมาณการรวมทั้งสิ้น 65,413.80 ล้านบาทต่อปี โดยขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 9,140.3511 ล้านบาท เพื่อนำมาสมทบกับเงินกองทุนฯ สำหรับการดำเนินการตามข้อเสนอประชารัฐสวัสดิการใหม่ต่อไป ผลกระทบ 1. สามารถระบุตัวผู้มีรายได้น้อย ทำให้มีฐานข้อมูลของผู้มีรายได้น้อยที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้รัฐบาลสามารถนำไปใช้กำหนดนโยบายเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 2. สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภคให้แก่ผู้มีบัตรฯ เป็นไปอย่างต่อเนื่องและกำหนดให้เป็นสวัสดิการหลักที่ไม่มีเวลาหมดอายุ อีกทั้งเป็นการปรับปรุงสวัสดิการให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน 3. สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางผ่านระบบขนส่งสาธารณะให้แก่ผู้มีบัตรฯ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และกำหนดให้เป็นสวัสดิการหลักที่ไม่มีเวลาหมดอายุ รวมถึงปรับปรุงประสิทธิภาพสวัสดิการให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มีบัตรฯ 4. สามารถบรรเทาค่าครองชีพและลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้มีบัตรฯ ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และกำหนดให้เป็นสวัสดิการหลักที่ไม่มีเวลาหมดอายุ รวมถึงปรับปรุงวิธีการให้สวัสดิการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 29. เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (กพม.) เสนอดังนี้ 1. รับทราบผลการทบทวนการโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี (สชน.) ไปเป็นขององค์การสวนสัตว์ (อสส.) 2. เห็นชอบในหลักการการจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) และมอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. ดำเนินการร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ในการจัดทำร่างกฎหมายเพื่อการจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารีฯ และปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป สาระสำคัญ 1. คณะรัฐมนตรีมีมติ (23 สิงหาคม 2565) เห็นชอบให้ทบทวนการโอน สชน. ไปเป็นของ อสส. ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2560 และให้พิจารณาการจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารีฯ ต่อไป ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) เสนอ 2. สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวโดยรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวกับการทบทวนการโอน สชน. ไปเป็นของ อสส. มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 2.1 การเปรียบเทียบลักษณะองค์กรระหว่าง สชน. และ อสส. ประเด็น สาระสำคัญ 1) วัตถุประสงค์การจัดตั้ง/ลักษณะภารกิจ - สชน. เปิดให้บริการทั้งกลางวันและกลางคืนและมีการให้บริการอื่นที่นอกเหนือจากการเป็นเพียงสวนสัตว์ โดยมุ่งเน้นดำเนินกิจการในรูปแบบแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมบนพื้นฐานทางธรรมชาติ (Nature Theme Park) ที่สร้างจุดขายของแหล่งท่องเที่ยวอย่างหลากหลาย สร้างรายได้ และส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานแก่ประชาชนในพื้นที่ - อสส. เป็นแหล่งเรียนรู้ ดำเนินกิจการมุ่งเน้นเพื่อประโยชน์ในการศึกษา วิจัยอนุรักษ์ บำรุงและเพาะขยายพันธุ์สัตว์ รวมทั้งเป็นสถานที่ให้ประชาชนได้ศึกษาหาความรู้และเป็นสถานที่พักผ่อน - กรณีการโอน สชน. หน่วยงานจะต้องปรับบทบาทภารกิจให้สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียว ซึ่งต้องอาศัยทักษะในการบริหารจัดการที่แตกต่างกันจึงอาจเกิดความล่าช้าในการปรับตัวเพื่อรองรับบทบาทใหม่ 2) สถานะของหน่วยงาน - สชน. มีสถานะเป็นองค์การมหาชน - อสส. มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ - กรณีการโอน สชน. จะทำให้ สชน. มีสถานะเปลี่ยนจากองค์การมหาชนเป็นรัฐวิสาหกิจ ส่งผลให้ต้องเปลี่ยนรูปแบบการจ้างงานและการบริหารงานบุคคล เช่น โครงสร้างเงินเดือน การประเมิน และสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ1 3) โครงสร้างองค์กรและบุคลากร - สชน. เป็นองค์กรเดี่ยวขนาดเล็กและมีสายบังคับบัญชาสั้น (4 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบริการ ฝ่ายบริหารจัดการสัตว์ ฝ่ายปฏิบัติการและซ่อมบำรุง และฝ่ายขายและวิจัยการตลาด) และมีกรอบอัตรากำลัง 239 อัตรา ทำให้มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน - อสส. เป็นองค์กรขนาดใหญ่และมีสายบังคับบัญชายาว (11 สำนักและ 7 สวนสัตว์) มีกรอบอัตรากำลัง 1,942 อัตรา - กรณีการโอน สชน. อาจทำให้การบริหารงานขาดความยืดหยุ่น ไม่คล่องตัวเท่ากับ อสส. และบุคลากรต้องใช้เวลาในการเรียนรู้และปรับแนวทางปฏิบัติงานเพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบใหม่ที่แตกต่างไปจากองค์การมหาชน 4) สถานะทางการเงิน - สชน. สามารถหารายได้มาเป็นทุนสะสม โดยมีรายได้จากการดำเนินงานสูงกว่าเงินอุดหนุน (มีสัดส่วนโดยเฉลี่ยของเงินรายได้จากการดำเนินงานร้อยละ 54.35 ต่อเงินอุดหนุน ร้อยละ 45.65) - อสส. พึ่งพางบประมาณจากรัฐค่อนข้างสูง โดยมีรายได้จากเงินอุดหนุนสูงกว่ารายได้จากการดำเนินงานทุกปี (มีสัดส่วนโดยเฉลี่ยของเงินรายได้จากการดำเนินงาน ร้อยละ 36.56 ต่อเงินอุดหนุน ร้อยละ 63.44) - กรณีการโอน สชน. ดังกล่าวทำให้ อสส. ได้รับการส่งเสริมสภาพคล่องทางการเงิน แต่ในทางกลับกันก็อาจทำให้ อสส. มีต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเนื่องจากต้องบำรุงรักษาและพัฒนาสวนสัตว์เพิ่มอีกหนึ่งแห่ง - อสส. อยู่ระหว่างการลงทุนเพื่อก่อสร้างสวนสัตว์แห่งใหม่จึงยังขาดความพร้อมในการบริหารจัดการ 2.2 การเปรียบเทียบระหว่างการโอน สชน. ไปเป็นของ อสส. และการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารไนท์ซาฟารีฯ พบว่า กรณีจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารีฯ เป็นทางเลือกที่มีความเหมาะสมกว่าการโอนไปเป็นของ อสส. มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ ประเด็น เหตุผลของการจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารีฯ 1) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ การโอน สชน. ไปเป็นหน่วยงานหนึ่งใน อสส. มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น อาจทำให้ เป็นภาระด้านงบประมาณแก่ อสส. เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากสวนสัตว์เช่น ค่าใช้จ่ายในการจัดหาสัตว์และค่าใช้จ่ายในการแลกเปลี่ยนสัตว์ ทั้งนี้ อาจจำเป็นต้องพึ่งพางบประมาณรัฐมากยิ่งขึ้น 2) ค่าใช้จ่ายบุคลากร ค่าใช้จ่ายบุคลากรกรณีจัดตั้งเป็นองค์การมหาชน ต่ำกว่ากรณีโอนไปเป็นของ อสส. เนื่องจากการจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารีฯ กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงาน ขององค์การบริหารไนท์ซาฟารีฯ จะได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทน ตามตำแหน่ง อัตราร้อยละ 70 ของอัตราเงินเดือน ค่าจ้างหรือค่าตอบแทน ตามตำแหน่งที่ได้รับอยู่เดิม (ที่เคยเป็นผู้ปฏิบัติงาน สพค.) ดังนั้น การจัดตั้ง องค์การบริหารไนท์ซาฟารีฯ จึงมีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรลดลง 3) การประมาณความคุ้มค่าในระยะ 5 ปี การประมาณการจากรายได้และค่าใช้จ่ายกรณีการโอน สชน. ไปเป็นของ อสส. พบว่า มีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย แต่กรณีจัดตั้งองค์การบริหาร ไนท์ซาฟารีฯ พบว่า มีรายได้ (ทั้งทางตรงและทางอ้อม) สูงกว่าค่าใช้จ่ายในแต่ละปี (มากกว่า 10 เท่า) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีรายได้เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในปีที่ 4 4) ผลดี/ผลกระทบ ผลดี : เกิดความต่อเนื่องในการทำงานในภารกิจที่ยังคงเดิมในการจัดสวนสัตว์กลางคืนในลักษณะ Natural Theme Park และการบริหารงานในรูปแบบองค์การมหาชนซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมาย ระเบียบ/ข้อบังคับเดิม และมีโอกาสปรับโครงสร้างการบริหารจัดการองค์กรใหม่ให้เหมาะสมสอดรับกับบริบทแวดล้อมในปัจจุบันและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมทั้งปรับลดขนาดของอัตรากำลังด้านบุคลากรให้เหมาะสม ส่งผลให้สามารถบริหารจัดการองค์กรได้คล่องตัว ผลกระทบ : ผู้ปฏิบัติงาน สพค. ที่ได้รับบรรจุและแต่งตั้งเป็นผู้ปฏิบัติงาน ขององค์การบริหารไนท์ซาฟารีฯ จะได้รับเงินเดือนลดลง 3. หลักการการจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารีฯ สพค. ได้จัดทำคำขอจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารีฯ2 โดยมีเหตุผลความจำเป็นเนื่องมาจากผลการวิเคราะห์ทบทวนการโอนไปเป็นของ อสส. พบว่า การจัดตั้งองค์การมหาชนขึ้นใหม่เป็นทางเลือกที่ดีกว่า มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ หัวข้อ สาระสำคัญ 1) วัตถุประสงค์การจัดตั้งองค์การมหาชน เช่น (1) พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในรูปแบบ Natural Theme Park และไนท์ซาฟารี ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายและมีมาตรฐานในระดับสากล (2) บริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมและพื้นฟูเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวทั้งภาคการท่องเที่ยวของเอกชนและชุมชนให้เกิดการสร้างร้ายได้ (3) ส่งเสริมให้ประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและกาคเอกชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ รวมทั้งพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดการจ้างงานและยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของท้องถิ่นให้ดีขึ้น (4) ประสานงานและสนับสนุนการสร้างเครือข่ายการเชื่อมโยงภาคการท่องเที่ยวในทุกภาคส่วน รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวให้เป็นการท่องเที่ยวคุณภาพสูงและรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และ (5) ส่งเสริมและจัดให้มีการบำรุงและเพาะพันธุ์สัตว์ป่าเพื่อรักษาและอนุรักษ์ไว้มิให้สูญพันธุ์ และเพื่อการศึกษา การวิจัย รวมถึงดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับกิจการสวนสัตว์และธุรกิจอื่นเพื่อประโยชน์แก่องค์การ 2) ประโยชน์จากการจัดตั้ง ด้านเศรษฐกิจ : เกิดรายได้ทางตรงจากเชียงใหม่ในท์ซาฟารี (เช่น รายได้จากการขายสินค้าและรายได้จากการให้บริการ) และรายได้ทางอ้อม (เช่น รายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวและรายได้ของผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจ) เกิดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวต่อเนื่อง รวมถึงมีการจ้างงานและกระจายรายได้ในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ด้านสังคม : มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชุมชน รวมทั้งการกระจายรายได้ไปยังทุกกลุ่มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทำให้ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางสังคมและทำให้ชุมชนเข้มแข็ง มีอาชีพมั่นคง และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ด้านสิ่งแวดล้อม : มีการอนุรักษ์รักษาและหวงแหนในทรัพยากรธรรมชาติท่องเที่ยวบนฐานทรัพยากรที่ยั่งยืนเชิงนิเวศ 3) แผนการจัดตั้ง ด้านการเงิน : ขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐในปีที่ 1-3 และตั้งแต่ปีที่ 4 เป็นต้นไป ไม่ต้องขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐ เนื่องจากสามารถสร้างรายรับได้สูงกว่ารายจ่าย ด้านบุคลากร : ปรับขนาดองค์กรให้เล็กลง โดยปรับลดตำแหน่งผู้บริหารระดับ รองผู้อำนวยการและกำหนดปรับกรอบอัตรากำลังเป็น 263 อัตรา (เดิม สพค. มีกรอบอัตรากำลัง 360 อัตรา) ทั้งนี้ ได้จัดทำแผนการถ่ายโอนบุคลากรของ สพค. รองรับแล้ว โดยมีสาระสำคัญ เช่น (1) บรรจุผู้ปฏิบัติงาน อัตรากำลัง 256 อัตราไปเป็นขององค์การบริหารไนท์ซาฟารีฯ (2) ผู้ที่ได้รับการบรรจุเป็นผู้ปฏิบัติงานขององค์การบริหารไนท์ซาฟารีฯ ให้เริ่มนับเวลาการทำงานใหม่ และให้ได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนตามตำแหน่ง ในอัตราร้อยละ 70 ของอัตราเงินเดือนค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนตามตำแหน่งที่ได้รับอยู่เดิม ทั้งนี้ ต้องไม่ต่ำกว่าอัตราเงินเดือนขั้นต่ำในแต่ละระดับ รวมทั้งได้รับสวัสดิการและประโยชน์อย่างอื่น ตามที่คณะกรรมการองค์การมหาชนกำหนด และ (3) กำหนดให้จ่ายเงินเยียวยาแก่ผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับผลกระทบจากการปรับลดอัตราเงินเดือนและการเริ่มนับอายุงานใหม่โดยเบิกจ่ายจากเงินทุนสะสมของ สพค. ตามระยะเวลาการปฏิบัติงาน 4 กพม. ในการประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 ได้พิจารณาการทบทวนการโอน สชน. ไปเป็นของ อสส. และการจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารีฯ แล้ว มีความเห็นว่า การปรับเปลี่ยนหน่วยงานภายใน สพค. ล่วงเลยเวลามากว่า 5 ปี ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จในส่วนของการโอนศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา ไปเป็นของกรมธนารักษ์ และมีการตราพระราชกฤษฎีกายุบเลิก สพค. พ.ศ. 2562 โดยกำหนดให้มีการโอน สชน. ไปเป็นของ อสส. ภายในระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ซึ่ง อสส. ได้แก้ไขและประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2563 แล้ว (โดยปรับแก้ไขวัตถุประสงค์ หน้าที่และอำนาจของ อสส. ให้สอดคล้องกับขอบเขตงานที่ขยายเพิ่มขึ้น และกำหนดให้โอนเงินและทรัพย์สินจาก สพค. ในส่วนของ สชน. มาเป็นทุนของ อสส.) แต่ด้วยรูปแบบของรัฐวิสาหกิจที่แตกต่างจากองค์การมหาชน ทำให้เกิดปัญหาการโอนหน่วยงานไม่แล้วเสร็จ สพค. ก็ต้องดำเนินการตามภารกิจซึ่งเป็นต้นทุนของภาครัฐ แต่ขาดทิศทางที่ชัดเจนในรูปแบบและกรอบเวลาการโอน ทำให้บุคลากรขาดขวัญกำลังใจและเกิดผลกระทบด้านอื่น ๆ จึงเห็นควรให้รายงานผลการทบทวนการโอนและจัดตั้ง สชน. เป็นองค์การมหาชนเสนอฝ่ายบริหารและอนุมัติในหลักการให้มีการจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารีฯ ในส่วนของการพิจารณาบทบัญญัติของร่างกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารีฯ ให้ดำเนินการตามกระบวนการตรวจพิจารณาร่างกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ต่อไป กพม. จึงมีมติเห็นชอบให้เสนอคณะรัฐมนตรี 1 โครงสร้างเงินเดือนของสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) (สพค.) เป็นไปตามที่คณะกรรมการองค์การมหาชนกำหนด เช่น ผู้อำนวยการ สชน. มีอัตราเงินเดือนขั้นสูงอยู่ที่ 220,000 บาท สำหรับ อสส. เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เช่น ผู้อำนวยการ อสส. มีอัตราเงินเดือนขั้นสูงอยู่ที่ 99,970 บาท ในส่วนของสวัสดิการ/สิทธิประโยชน์ของสองหน่วยงานแตกต่างกันเล็กน้อย โดย สชน. ไม่มีเงินค่าช่วยเหลือบุตร แต่ อสส. มีเงินค่าใช้จ่ายช่วยเหลือบุตร 2 สพค. ได้จัดทำคำขอฯ เสนอรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ผ่านรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) เพื่อพิจารณา ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ได้ส่งเรื่องดังกล่าวให้สำนักงาน ก.พ.ร. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กพม. ด้วยแล้ว 30. เรื่อง มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 10 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme (โครงการ PGS) ระยะที่ 10 และอนุมัติงบประมาณวงเงินรวมไม่เกิน 7,125 ล้านบาท สำหรับการดำเนินโครงการดังกล่าว รวมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป สาระสำคัญ 1. โครงการ PGS ระยะที่ 10 มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากระบบสถาบันการเงินได้มากขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และผู้ประกอบการ SMEs ที่ประสบกับปัญหาด้านสภาพคล่องและยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างเพียงพอ ให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ โดยโครงการดังกล่าวมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ หลักเกณฑ์และเงื่อนไข รายละเอียด วัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ผ่านกลไกการค้ำประกันสินเชื่อของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่สถาบันการเงินในการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ SMEs และเพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่มีศักยภาพที่ต้องการสินเชื่อแต่หลักประกันไม่เพียงพอหรือมีปัญหาด้านสภาพคล่อง ให้มีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อจากสถาบันการเงินและสามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้ วงเงินค้ำประกันรวม 50,000 ล้านบาท โดย บสย. สามารถกำหนดเงื่อนไขและวงเงินค้ำประกันสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการ SMEs แต่ละกลุ่ม หรือแต่ละสถาบันการเงิน หรือโครงการย่อยแต่ละโครงการได้ตามความเหมาะสม วงเงินค้ำประกันสินเชื่อต่อราย ไม่เกิน 40 ล้านบาทต่อรายรวมทุกสถาบันการเงิน และการยื่นขอค้ำประกันขั้นต่ำครั้งละไม่น้อยกว่า 10,000 บาท อายุการค้ำประกัน ไม่เกิน 10 ปี ระยะเวลารับคำขอค้ำประกันสินเชื่อ 2 ปี นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ ค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อ รวมทั้งโครงการเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 1.75 ต่อปี และสามารถจัดสรรอัตราค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อที่รัฐบาลจ่ายแทนผู้ประกอบการ SMEs ในแต่ละโครงการย่อยได้ตามความเหมาะสม การจ่ายค่าประกันชดเชย บสย. จ่ายค่าประกันชดเชยตลอดโครงการ (10 ปี) ไม่เกินค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อที่ได้รับจากผู้ประกอบการ SMEs รวมกับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล เฉลี่ยทั้งโครงการไม่เกินร้อยละ 30 (รัฐบาลร้อยละ 14.5 บสย. ร้อยละ 15.75) โดย บสย. สามารถจัดสรรเงินสำหรับการจ่ายค่าประกันชดเชยให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ในแต่ละกลุ่มและสามารถกำหนดเงื่อนไขในการแบ่งจ่ายค่าประกันชดเชยในแต่ละปีให้แก่สถาบันการเงินและกลไกการจัดสรรวงเงินค้ำประกันให้กับสถาบันการเงินได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ บสย. จะเริ่มจ่ายค่าประกันชดเชยครั้งแรกในปีที่ 2 ของการค้ำประกันและในปีถัดไปจนสิ้นสุดการค้ำประกัน การขอรับการชดเชย บสย. ขอรับเงินงบประมาณชดเชยจากรัฐบาลสำหรับการชดเชยค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs และการชดเชยการจ่ายค่าประกันชดเชยจากรัฐบาลเป็นเงินรวมทั้งสิ้น ไม่เกิน 7,125 ล้านบาท (ร้อยละ 14.25*50,000 ล้านบาท) (บสย. ร่วมจ่ายค่าประกันชดเชยร้อยละ 15.75 คิดเป็นจำนวนเงิน 7,875 ล้านบาท) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ มีผู้ประกอบการ SMEs ได้รับสินเชื่อเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 76,900 ราย (เฉลี่ย 0.65 ล้านบาทต่อราย) และก่อให้เกิดสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินไม่ต่ำกว่า 60,000 ล้านบาท (1.2 เท่า) 2. กค.ได้จัดทำรายละเอียดการดำเนินการตามมาตรา 27 และมาตรา 28 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เพื่อประกอบการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว โดยในส่วนของการดำเนินการตามมาตรา 28 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 กค. แจ้งว่า ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 ภาระที่รัฐต้องรับชดเชยมียอดคงค้าง จำนวน 1,000,616.357 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 31.42 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (วงเงิน 3,185,000 ล้านบาท) ดังนั้น หากมีการอนุมัติโครงการ PGS ระยะที่ 10 จำนวน 7,125 ล้านบาท จะส่งผลให้ภาระที่รัฐต้องรับชดเชย ซึ่งเมื่อรวมโครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีด้วยแล้วจะมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 1,009,935.117 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 31.71 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งยังคงไม่เกินอัตราร้อยละ 32 ที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐกำหนดไว้ และเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 29 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการดำเนินโครงการดังกล่าว บสย. จะจัดทำบัญชีสำหรับการดำเนินกิจกรรม มาตรการหรือโครงการที่ได้รับมอบหมายแยกต่างหากจากบัญชีการดำเนินงานทั่วไป พร้อมทั้งเสนอรายงานผลการดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและผลสัมฤทธิ์ต่อรัฐมนตรี เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและเปิดเผยให้สาธารณชนทราบ รวมทั้งเผยแพร่ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่อไป 31. เรื่อง การเสนอผ้าขาวม้า : ผ้าอเนกประสงค์ในวิถีชีวิตไทย เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อยูเนสโก คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอดังนี้ 1. เห็นชอบเอกสารนำเสนอรายการผ้าขาวม้า : ผ้าอเนกประสงค์ในวิถีชีวิตไทยขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อยูเนสโก 2. เห็นชอบให้อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เป็นผู้ลงนามในเอกสารนำเสนอรายการผ้าขาวม้า : ผ้าอเนกประสงค์ในวิถีชีวิตไทย ในฐานะตัวแทนของประเทศไทย เพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อยูเนสโก สาระสำคัญ 1. สาระสำคัญของการนำเสนอ รายการ ผ้าขาวม้า : ผ้าอเนกประสงค์ในวิถีชีวิตไทย (Pha Khao Ma : Multifunctional cloths in Thai life) 1) คุณค่าความสำคัญ ผ้าขาวม้าเป็นผ้าทอพื้นเมือง มีลวดลายตารางสี่เหลี่ยมโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์มีขนาดกว้างประมาณ 60 - 80 เซนติเมตร และยาวประมาณ 120 - 180 เซนติเมตร สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ซึ่งจะมีลวดลายหรือสีแตกต่างกันไปตามเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่น ผ้าขาวม้าเป็นผ้าสารพัดประโยชน์ เข้าถึงง่ายและผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยในหลายมิติมีการทอผ้าขาวม้าใช้เองในครัวเรือน แลกเปลี่ยนกันในหมู่บ้านและชุมชน มอบเป็นของขวัญให้แก่ผู้ใหญ่ และใช้ในงานพิธีกรรมต่าง ๆ โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของไทยบ่งชี้ว่า มีการใช้ผ้าขาวม้าตั้งแต่ในสมัยเชียงแสนจนถึงในปัจจุบันมีการปรับปรุงและต่อยอดภูมิปัญญา พัฒนาคุณภาพและแปรรูปให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายมากขึ้น 2) ชื่อชุมชน/คณะ/กลุ่มบุคคลหรือปัจเจกบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ชุมชน สังคมเกษตรกรรมทั่วทุกภาคของประเทศไทย และในชุมชนชาติพันธุ์ เช่น กลุ่มไทลื้อ ไทยวน ไทยลาว ภูไท ส่วย และกูย เป็นต้น 3) พื้นที่และขอบเขตอาณาบริเวณของเรื่องที่นำเสนอ ได้แก่ ชุมชนผู้ถือปฏิบัติใช้ผ้าขาวม้าเป็นชุมชนสังคมเกษตรกรรมทั่วทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันยังคงใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในชีวิตประจำวันและในพิธีกรรม โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของไทย 4) คุณสมบัติที่ตรงตามหลักเกณฑ์การพิจารณา ข้อที่ 1 เรื่องที่นำเสนอนี้สอดคล้องกับลักษณะของมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ตามที่นิยามไว้ในมาตรา 2 ของอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ. 2003 (1) การปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม งานเทศกาล ผ้าขาวม้าเป็นผ้าที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนไทยมาแต่อดีต โดยเฉพาะในชุมชนเกษตรกรรมและในชนบทที่ใช้ผ้าขาวม้ากันตั้งแต่เกิดจนตาย ในชีวิตประวัน ใช้เป็นเครื่องแต่งกายสำหรับผู้ชายทั้งแบบลำลองและทางการ ส่วนผู้หญิงจะใช้ในครัวเรือน เช่น ผ้าม่าน ผ้าปูโต๊ะ เปลเด็ก ในพิธีกรรม งานเทศกาลต่าง ๆ ใช้ประกอบในงานประเพณีหรือพิธีกรรม เช่น พิธีแต่งงาน พิธีศพ รวมถึงเป็นสื่อในการแสดงความรัก ความปรารถนาดี การต้อนรับแขกที่มาเยือน (2) ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล ผ้าขาวม้าสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตที่เรียบง่าย (simple) และยั่งยืน (sustainable) เนื่องจากผ้าขาวม้าหนึ่งผืนสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (reuse) และใช้หมุนเวียน (recycle) เปลี่ยนหน้าที่และประโยชน์ใช้สอยไปตามสภาพอันแสดงถึงภูมิปัญญาของชุมชนในการเลือกใช้ผ้าที่เหมาะกับสภาพอากาศ โดยผ้าขาวม้าเป็นผ้าเนื้อบางซักตากง่ายและแห้งไว (3) งานช่างฝีมือดั้งเดิม ผ้าขาวม้าเป็นผ้าทอพื้นฐาน ใช้เทคนิคการทอที่ธรรมดาไม่ซับซ้อนจึงสามารถทอใช้กันเองได้ในครัวเรือนนอกจากการทอเป็นลายตารางหรือลายทางแล้วในบางกลุ่ม/ชุมชน มักจะเพิ่มลวดลายที่แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์และวิถีชีวิตของชุมชนนั้น ๆ เช่น การทอลายช้าง ลายม้า ลายนก หรือลายเกวียนลงบนผืนผ้าด้วย ข้อที่ 2 การขึ้นทะเบียนเรื่องที่นำเสนอนี้จะส่งเสริมความประจักษ์และตระหนักรู้ถึงความสำคัญของมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ อีกทั้งกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อนำไปสู่การสะท้อนถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมในระดับโลก และแสดงถึงความสร้างสรรค์ของมนุษยชาติ การขึ้นทะเบียนเรื่องผ้าขาวม้า : ผ้าอเนกประสงค์ในวิถีชีวิตไทย จะช่วยสร้างความตระหนักถึงความสำคัญในคุณค่าความสำคัญของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมรายการ ?ผ้าขาวม้า : ผ้าอเนกประสงค์ในวิถีชีวิตไทย? ให้กับมวลมนุษยชาติในทุกระดับ (1) ระดับท้องถิ่น การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจะช่วยกระตุ้นและสร้างความตระหนักรู้ให้ชุมชนในท้องถิ่น เกิดความรัก ความหวงแหนที่จะปกป้องมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของตน (2) ระดับชาติ การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจะส่งเสริมให้คนในประเทศเห็นความสำคัญของการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้อย่างกว้างขวางมากขึ้นโดยเฉพาะผู้มีบทบาททางสังคมในระดับประเทศ เช่น หน่วยงานทางการศึกษา หน่วยงานทางสังคม หน่วยงานทางเศรษฐกิจ รวมทั้งองค์กรไม่แสวงหากำไร จะช่วยสนับสนุนการปกป้องและสืบทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม รวมทั้งช่วยส่งเสริมคุณภาพ การผลิต การบริโภค และการตลาด เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (3) ระดับนานาชาติ การขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติจะส่งเสริมให้เกิดความชื่นชมในคุณค่าของวัฒนธรรมที่เรียบง่ายของสังคมชนบทและชุมชนเกษตรกรรมในทั่วทุกภาคของโลก แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับผ้า ในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ของความผูกพันในครัวเรือน ความใกล้ชิดกับธรรมชาติ และการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนที่ปรากฏอยู่ทั่วทุกมุมโลกจะร่วมชื่นชม ยกย่อง และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้มากขึ้น ข้อที่ 3 มาตรการสงวนรักษาที่เสนอมานั้น ได้พิจารณากันมาอย่างละเอียดรอบคอบเพื่อการป้องกันและส่งเสริมเรื่องดังกล่าว โดยการเสนอมาตรการสงวนรักษา เพื่อการสงวนรักษารายการผ้าขาวม้า : ผ้าอเนกประสงค์ในวิถีชีวิตไทย ได้แก่ (1) การถ่ายทอด ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนถ่ายทอดภายในและระหว่างชุมชน ส่งเสริมด้านการศึกษา มีการเรียนการสอนผ่านการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (2) การส่งเสริมและยกระดับ โดยส่งเสริมการใช้ผ้าขาวม้าในชีวิตประจำวัน โดยคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม การลดการทิ้งของเหลือ และการใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติ ส่งเสริมผ้าทอท้องถิ่น และยกระดับการใช้ผ้าขาวม้าอย่างสร้างสรรค์ในสังคมร่วมสมัย ตามโอกาสต่าง ๆ ส่งเสริมการออกแบบ จัดแสดง แข่งขัน โดยเน้นผู้มีส่วนร่วมทุกเพศทุกวัย (3) การวิจัยและเก็บข้อมูล โดยสนับสนุนให้มีการค้นคว้ารวบรวมศึกษา วิเคราะห์ วิจัยอย่างต่อเนื่องในประเด็นการนำมาใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ ในช่วงชีวิต ส่งเสริมการวิจัยพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ การปรับปรุงคุณภาพ เผยแพร่ผลงานการวิจัยสร้างโอกาสการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (4) การอนุรักษ์และการปกป้อง โดยให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ และเทคนิคการทอ เพื่อให้เกิดการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ส่งเสริมความเข้มแข็งทั้งในระดับจังหวัด และระดับชาติ นานาชาติ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนร่วมกันกำหนดแนวทางส่งเสริมให้เป็นรูปธรรม (5) การฟื้นฟู ฟื้นฟูแนวคิดการใช้ผ้าขาวม้าเป็นผ้าอเนกประสงค์ใช้ได้ทุกเพศทุกวัย ใช้ได้ในหลากหลายโอกาสแม้ในสังคมร่วมสมัย ฟื้นฟูคุณค่าและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับผ้าขาวม้าในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ข้อที่ 4 เรื่องที่นำเสนอนี้ เกิดจากชุมชน กลุ่มบุคคล หรือปัจเจกบุคคลที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ พร้อมกับได้รับความเห็นชอบซึ่งมาจากความรับรู้เข้าใจอย่างเป็นอิสระเสียก่อน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กรมส่งเสริมวัฒนธรรมได้ลงพื้นที่เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้ปฏิบัติสืบทอด 4 ภาค ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี มหาสารคาม บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุดรธานี หนองบัวลำภู ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ลำปาง และกรุงเทพมหานคร โดยได้รวบรวมและจัดเก็บข้อมูล ในรูปแบบการสัมภาษณ์ การอภิปรายและประชุมระดมความคิดเห็นของชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง อาทิ สภาวัฒนธรรวม ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มทอผ้าขาวม้า ศูนย์หัตถกรรม ทอผ้าพื้นบ้าน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน แปรรูป เครือข่ายผู้ประกอบการ โรงงานทอผ้า ร้านผ้าไทยผ้าพื้นเมือง นักวิชาการและอาจารย์จากสถาบันการศึกษา ข้อที่ 5 เรื่องที่นำเสนอนี้ปรากฏและดำรงอยู่ในดินแดนของรัฐภาคีสมาชิกที่นำเสนอ โดยบรรจุอยู่แล้วในบัญชีมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของรัฐภาคีสมาชิกตามที่นิยามไว้ในอนุสัญญา มาตรา 11 และ 12 รายการผ้าขาวม้า : ผ้าอเนกประสงค์ในวิถีชีวิตไทย ได้รับการประกาศขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2556 ในสาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม 32. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายโครงการช่วยเหลือผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดของศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมจังหวัดฯ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 826,680,000 บาท ให้กับกระทรวงมหาดไทย (กรมการปกครอง) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการช่วยเหลือผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดของศูนย์พื้นฟูสภาพทางสังคมจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ สาระสำคัญ 1. กระทรวงมหาดไทยโดยกรมการปกครอง ได้สำรวจและรวบรวมรายชื่อผู้ค้ายาเสพติดและผู้เสพยาเสพติด ด้วยการค้นหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ผู้ค้าและผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ตำบล/หมู่บ้านอย่างเร่งด่วน และจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด โดยมีจำนวนผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด จำนวน 119,195 ราย ที่ต้องได้รับความช่วยเหลือต่อไปโดยยึดหลัก ?ผู้เสพ คือ ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษาและป้องกันไม่ให้กลุ่มเสี่ยงเข้าไปเป็นเหยื่อของยาเสพติด โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชนและในสังคม ให้ร่วมดำเนินการในลักษณะบูรณาการ ควบคู่กับมาตรการทางกฎหมาย ซึ่งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเสพติดในประเทศไทย พบว่า มีเยาวชน และประชาชน จำนวนไม่น้อยที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งเกิดจากความตั้งใจ และเกิดจากการหลงผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนั้นกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคมในส่วนภูมิภาค ที่สามารถเป็นที่พึ่งให้กับประชาชนในด้านการแก้ไขปัญหายาเสพติดที่ได้จากประชาชนหรือผู้ปกครองแจ้งเบาะแสผู้ค้ายาเสพติดหรือผู้ที่ติดยาเสพติดในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการช่วยเหลือผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ของศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมจังหวัด โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อให้ความช่วยเหลือ ผู้เสพ/ผู้ติด กลับคืนสู่ชุมชนและใช้ชีวิตอย่างปกติสุข 2. นายกรัฐมนตรีจึงได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 268/2565 ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดและอาวุธปืน โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการ ซึ่งมีหน้าที่และอำนาจในการกำหนดมาตรการด้านการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และการกำหนดมาตรการและกรอบเวลาด้านการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะต่อเนื่อง โดยในระยะเร่งด่วน 3 เดือน กำหนดให้กระทรวงมหาดไทยค้นหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติดในหมู่บ้านชุมชน และจัดตั้ง ?ศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม? ให้ครบทุกจังหวัด เพื่อให้ผู้เสพยาเสพติดสามารถกลับคืนสู่สังคม ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย ในฐานะหน่วยงานและมีภารกิจในการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายในประเทศ ประกอบกับบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 มาตรา 118 กำหนดให้กระทรวงมหาดไทยจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ติดยาเสพติดหรือผู้ผ่านการบำบัดรักษาเพื่อฟื้นฟูสภาพทางสังคมแก่ผู้ติดยาเสพติดหรือผู้ผ่านการบำบัดรักษาเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การศึกษา การติดตามปัญหาสุขภาพและการให้การสงเคราะห์อื่น ๆ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข โดยไม่กลับมากระทำความผิดซ้ำอีก 3. สำนักงบประมาณแจ้งว่า ได้นำโครงการช่วยเหลือผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดของศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแล้วนายกรัฐมนตรีมีบัญชาเห็นชอบให้กรมการปกครองใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 826,680,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการช่วยเหลือ ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดของศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 33. เรื่อง ขออนุมัติให้จ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 เพิ่มเติม สำหรับกรณีพื้นที่ประสบอุทกภัย ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2566 ภายใต้กรอบวงเงินที่ได้รับการจัดสรร ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอให้จ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 เพิ่มเติม สำหรับกรณีพื้นที่ประสบอุทกภัย ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2566 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัด 15 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร ตรัง นครปฐม นครศรีธรรมราช นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พัทลุง ยะลา ระนอง สงขลา สตูล สมุทรสาคร สุราษฎร์ธานี และจังหวัดอ่างทอง โดยใช้จ่ายจากวงเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น งบเงินอุดหนุน ลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไปจากสำนักงบประมาณแล้ว และใช้หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือ เช่นเดียวกันกับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ทั้งนี้ ครัวเรือนที่จะได้รับความช่วยเหลือในกรณีนี้จะต้องไม่เป็นครัวเรือนที่ได้รับความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 มาแล้ว โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำรวจ หรือผู้ประสบภัยยื่นคำร้องขอรับความช่วยเหลือภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ และให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับธนาคารออมสินเร่งรัดการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ สาระสำคัญ 1. จากผลการดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ที่ได้อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณในการดำเนินการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติฉุกเฉิน กรณีอุทกภัย จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 วงเงิน 6,258,540,000 บาท เพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 2565 ถึงวันที่ 28 ตุลาคม 2565 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัด 66 จังหวัด ซึ่งได้ดำเนินการจ่ายเงินให้แก่ผู้ประสบภัยแล้ว รวมจำนวน 553,795 ครัวเรือน เป็นเงิน 3,503,555,000 บาท และอยู่ระหว่างรอโอนจ่ายเงินให้แก่ผู้ประสบภัย วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 จำนวน 19,175 ครัวเรือน เป็นเงิน 110,193,000 บาท อยู่ระหว่างกระบวนการจ่ายเงินและคาดว่าจะต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้ประสบภัย จำนวน 6,772 ครัวเรือน เป็นเงิน 37,596,000 บาท 2. เนื่องจากภายหลังที่ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งเป็นการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 2565 ถึงวันที่ 28 ตุลาคม 2565 แล้ว แต่ลักษณะอากาศของประเทศไทยยังคงมีฝนตกในหลายพื้นที่ โดยยังคงมีประชาชนที่ได้รับผลกระทบและได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์อุทกภัย น้ำท่วมโดยฉับพลัน น้ำไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง รวมถึงการระบายน้ำ และจากการสำรวจเบื้องต้นมีครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2566 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัด 15 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร ตรัง นครปฐม นครศรีธรรมราช นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พัทลุง ยะลา ระนอง สงขลา สตูล สมุทรสาคร สุราษฎร์ธานี และจังหวัดอ่างทอง รวมจำนวน 237,048 ครัวเรือน ดังนั้น เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สามารถบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างรวมเร็ว ทั่วถึง และเป็นธรรม ซึ่งเป็นมาตรการช่วยเหลือประชาชนที่สำคัญของรัฐบาลประกอบกับผลการดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ปี 2565 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 คาดว่าวงเงินที่ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น งบเงินอุดหนุน ลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไปจากสำนักงบประมาณ จะเพียงพอต่อการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 ที่ประสบภัยตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2566 กระทรวงมหาดไทยจึงเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติให้จ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 เพิ่มเติม สำหรับกรณีพื้นที่ประสบอุทกภัย ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2566 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัด 15 จังหวัดดังกล่าว 34. เรื่อง ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการนำร่องตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 1,037,482,800 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการนำร่องตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ตามที่สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเสนอ สาระสำคัญ สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น โครงการนำร่องตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง วงเงินงบประมาณ 1,037,482,800 บาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายโครงการนำร่องตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยให้เบิกจ่ายในงบรายจ่ายอื่น ซึ่งมีรายละเอียดโครงการสรุปได้ ดังนี้ 1. วัตถุประสงค์โครงการ 1.1 เพื่อส่งเสริมให้เกิดกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองนำร่องตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่เป็นรูปธรรม และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองสำหรับการนำนโยบายแนวคิดเศรษฐกิจ BCG จากการประชุมเอเปค (APEC 2022) มาดำเนินการ 1.2 เพื่อให้มีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองนำร่องตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG ตัวอย่างสำหรับนักศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ ปรับประยุกต์ ขยายผลและต่อยอดการดำเนินโครงการต่อไป 1.3 เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้กับสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองและผู้ประกอบการชุมชน ด้วยการยกระดับการผลิต การค้า และการบริการในระดับชุมชน 1.4 เพื่อกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนของชุมชนจากผลผลิต ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ก่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เข้มแข็งและยั่งยืน 1.5 เพื่อให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองนำร่องตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG สามารถกระตุ้นการรักษาระดับการจ้างงานของผู้ประกอบการ การพัฒนาเศรษฐกิจแบบใหม่ ต่อยอดและเพิ่มมูลค่าผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ สร้างความเข้มแข็งในระดับฐานรากต่อไป 2. แผนดำเนินกิจกรรม สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติจะดำเนินการแต่งตั้งคณะทำงานโครงการฯ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องและบรรลุวัตถุประสงค์โครงการ โดยมีการแบ่งกระบวนการดำเนินงานออกเป็น 2 ช่วง ดังนี้ 2.1 กระบวนการดำเนินงานก่อนการได้รับอนุมัติงบประมาณ - คณะทำงานฯ หรือคณะอนุกรรมการฯ จะกำหนดมาตรการดำเนินงานของโครงการในภาพรวมทั้งหมดตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการเพื่อรวบรวมและศึกษารายละเอียดของความจำเป็นและวิเคราะห์แนวทางแก้ไขปัญหาจนถึงเมื่อโครงการแล้วเสร็จ - คณะทำงานฯ หรือคณะอนุกรรมการฯ เพื่อช่วยปฏิบัติหน้าที่บริหารงานโครงการ, ประชาสัมพันธ์ และการประเมินผลการดำเนินโครงการ - คณะทำงานฯ กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข คุณสมบัติของหมู่บ้านที่ดำเนินโครงการ 2.2 กระบวนการดำเนินงานหลังการได้รับอนุมัติงบประมาณ - กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ติดตั้งเทคโนโลยีและดำเนินโครงการด้วยตนเองตามที่ได้รับอนุมัติโครงการและงบประมาณโครงการ - ที่ปรึกษาลงพื้นที่ สนับสนุนเตรียมความพร้อม แนะนำการใช้เทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อมูลกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองตั้งแต่การเริ่มต้นจนการติดตั้งเทคโนโลยีแล้วเสร็จ และจัดทำรายงานสรุปผลการให้คำปรึกษาเสนอต่อ สทบ. เพื่อรับทราบการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ - สทบ. นำผลรายงาน ข้อเสนอแนะของที่ปรึกษามาประชุมพิจารณาแนวทางการกำหนดนโยบายการขับเคลื่อนโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ต่อไป 3. พื้นที่ดำเนินการตามโครงการ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทั่วประเทศ จำนวน 786 กองทุน 35. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อสมทบเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินแผนงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสภาองค์กรของผู้บริโภค คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 153,555,900 บาท สมทบเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินแผนงานของสภาองค์กรของผู้บริโภคต่อไป ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ สาระสำคัญ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นว่า สภาองค์กรของผู้บริโภคเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562 มีอำนาจดำเนินการตามวัตถุประสงค์ในฐานะเป็นผู้แทนผู้บริโภครวมถึงมีอำนาจดำเนินการให้ความคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ตรวจสอบ ติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์ปัญหาสินค้าและบริการ แจ้งเตือนภัยเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่กระทบสิทธิหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้บริโภค สนับสนุนและช่วยเหลือองค์กรผู้บริโภคในการรักษาประโยชน์ของผู้บริโภค ดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ตลอดจนรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการ อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 มาตรา 46 สิทธิของผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครอง และเป็นไปตามที่พระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562 กำหนด รวมทั้งมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติด้านความเสมอภาคและหลักประกันทางสังคม แผนแม่บทย่อยการคุ้มครองทางสังคม ขั้นพื้นฐานและหลักประกันทางเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ แนวทางการพัฒนาปรับปรุงระบบและกลไกในการคุ้มครองผู้บริโภค แต่เนื่องจากสภาองค์กรของผู้บริโภค ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และได้ตรวจสอบงบประมาณที่เหลืออยู่แล้ว ว่ามีจำนวนไม่เพียงพอต่อการดำเนินการดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้สภาองค์กรของผู้บริโภคสามารถดำเนินการตามแผนงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการเป็นผู้แทนผู้บริโภคและ การคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับเป็นการดำเนินการตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562 จึงจำเป็นต้องขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 153,555,900 บาท เพื่อสมทบเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินแผนงานประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสภาองค์กรของผู้บริโภค 36. เรื่อง ขออนุมัติดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ตาช้าง จังหวัดเชียงราย คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ กษ. โดยกรมชลประทานดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ตาช้าง จังหวัดเชียงราย มีกำหนดแผนงานโครงการ 3 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 - 2569) กรอบวงเงินงบประมาณโครงการทั้งสิ้น 1,325.285 ล้านบาท และมอบหมายให้สำนักงบประมาณ (สงป.) พิจารณาสนับสนุนงบประมาณเพื่อการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามแผนงานต่อไป สาระสำคัญ 1. กษ. โดยกรมชลประทานได้ดำเนินการจัดทำโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ตาช้าง จังหวัดเชียงราย เพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำต้นทุนเพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคของราษฎร จำนวน 4,775 ครัวเรือน ในพื้นที่ตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ในช่วงฤดูแล้ง รวมทั้งเป็นการบรรเทาปัญหาอุทกภัยอันเนื่องมาจากปริมาณน้ำที่หลากลงมาที่ห้วยแม่ตาช้างและล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่เกษตรของราษฎรใน 8 หมู่บ้าน ของตำบลป่าแดด และบางส่วนของตำบลศรีถ้อยและตำบลแม่พริก โดยคาดว่า มีพื้นที่รับประโยชน์ในฤดูฝนกว่า 17,200 ไร่ ซึ่งโครงการดังกล่าวสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี และแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ด้านที่ 2 การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต ประกอบกับ คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ในการประชุม ครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2563 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการโครงการฯ ด้วยแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ ประเด็น รายละเอียด วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ เป็นแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูกและอุปโภคบริโภคของประชาชนในฤดูแล้งตลอดจนช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยในฤดูฝน สามารถเป็นแหล่งเพาะพันธุ์และอนุรักษ์สัตว์น้ำ รวมทั้งเพื่อการอนุรักษ์และรักษาสภาพต้นน้ำลำธารฟื้นฟูสภาพป่าไม้ให้ดีขึ้น องค์ประกอบโครงการฯ 1. เขื่อนดินชนิด Zone Type1 ความกว้างสันเขื่อน 10 เมตร ความยาวเขื่อน 657 เมตร ความสูงเขื่อน 42 เมตร ปริมาณน้ำระดับเก็บกัก 32 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ระดับเก็บกัก +519.000 เมตร (ระดับน้ำทะเลปานกลาง) ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยต่อปี 39.92 ล้านลูกบาศก์เมตร 2. อาคารระบายน้ำล้นชนิดของอาคาร Side Channel Spillway2 ความยาว 70 เมตร สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 259.50 ลูกบาศก์เมตร/วินาที 3. อาคารท่อระบายน้ำลงลำน้ำเดิมชนิดท่อ Steel Liner หุ้มด้วยคอนกรีตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เมตร ความยาว 276.55 เมตร ที่ตั้งโครงการฯ 1. เขื่อนหัวงานและอ่างเก็บน้ำของโครงการฯ ตั้งอยู่บริเวณบ้านใหม่เจริญ หมู่ที่ 14 ตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ป่าทั้งหมด จำนวน 1,696 ไร่ 2 งาน 37 ตารางวา ประกอบด้วย 1.1 ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ลาวฝั่งซ้าย จำนวน 1,595 ไร่ 1 งาน 12 ตารางวา [ประกอบด้วย (1) พื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์เพิ่มเติม (โซน C) จำนวน 864 ไร่ 3 งาน 41 ตารางวา ทั้งนี้ในบริเวณดังกล่าวมีพื้นที่ทับซ้อนแปลงปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ FPT 30/6 จำนวน 86 ไร่ ซึ่งคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองกรณีขอใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าไม้ทับพื้นที่สวนป่าในการประชุมเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 ได้กำหนดค่าชดเชยที่กรมชลประทานต้องจ่ายให้กรมป่าไม้ วงเงิน 3.78 ล้านบาท และ (2) เขตพื้นที่ป่าเพื่อเศรษฐกิจ (โซน E)3 จำนวน 730 ไร่ 1 งาน 71 ตารางวา] 1.2 ป่าไม้ถาวร ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2536 จำนวน 101 ไร่ 1 งาน 25 ตารางวา โดยกรมชลประทานได้ดำเนินการขออนุญาตใช้พื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติซึ่งคณะกรรมการพิจารณาการใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ (ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธานกรรมการ) เห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2565 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเห็นชอบให้ กรมชลประทานใช้พื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและพื้นที่ป่าไม้ถาวรแล้วเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 2. พื้นที่ชลประทาน โครงการฯ สามารถส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทาน 12,865 ไร่4 (พื้นที่ชลประทานปัจจุบัน 4,560 ไร่ และพื้นที่ชลประทานเปิดใหม่ 8,305 ไร่) สามารถส่งน้ำไปช่วยเหลือให้กับพื้นที่การเกษตร จำนวน 17,200 ไร่ และครอบคลุมการอุปโภค-บริโภคของประชาชน 4,775 ครัวเรือน ในพื้นที่ตำบลป่าแดด บางส่วนของตำบลศรีถ้อยและบางส่วนของตำบลแม่พริก อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ปี (ปีงบประมาณ 2567 - 2569) แผนปฏิบัติการ ภายหลังคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการฯ กษ. มีแผนการดำเนินการ ดังนี้ 1. ระยะเวลา 3 เดือน : ดำเนินการตรวจสอบบัญชีค่ารื้อย้ายทรัพย์สินเพื่อการชลประทานบริเวณที่จะก่อสร้างโครงการทั้งหมด 2. ระยะเวลา 6 เดือน : จ่ายค่ารื้อย้ายทรัพย์สินบริเวณที่ดินและเตรียมความพร้อมในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง 3. ระยะเวลา 9 - 12 เดือน : ดำเนินการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ตาช้าง จังหวัดเชียงราย สถานภาพโครงการฯ 1. การออกแบบโครงการฯ : ทำนบดินหัวงานและอาคารประกอบออกแบบแล้วเสร็จในปี 2564 2. การจัดหาที่ดิน : อยู่ระหว่างเตรียมดำเนินการจัดหาที่ดินโดยจะเร่งรัดให้แล้วเสร็จในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2567 3. การดำเนินการด้านการมีส่วนร่วม : กรมชลประทานได้มีการประชาสัมพันธ์ มวลชนสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยมีประชุมปฐมนิเทศ 1 ครั้ง และประชุม กลุ่มย่อย จำนวน 2 ครั้ง และประชุมปัจฉิมนิเทศ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2561 ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการดำเนินโครงการฯ 4. รายงาน EIA : กรมชลประทานจัดทำรายงาน EIA แล้วเสร็จเมื่อเดือนเมษายน 2563 โดย คชก. เห็นชอบในหลักการ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2563 และกรมชลประทานได้แก้ไขรายงาน EIA ฉบับสมบูรณ์ส่งให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) พิจารณาแล้ว เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2563 ทั้งนี้ กรมชลประทานได้จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIMP)6 (แผน EIMP) ด้วยแล้ว ซึ่งประกอบด้วย (1) แผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีกิจกรรมที่สำคัญ เช่น การปลูกป่าทดแทน การสร้างฝายชะลอน้ำ (2) แผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม มีกิจกรรมที่สำคัญ เช่น การป้องกันการเสื่อมโทรมคุณภาพดิน การส่งเสริมเกษตรที่สูง การส่งเสริมความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรน้ำ และ (3) แผนปฏิบัติการติดตามตรวจสอบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีกิจกรรมที่สำคัญ เช่น การตรวจสอบคุณภาพน้ำผิวดิน-ใต้ดิน การติดตามนิเวศทางน้ำและการประมง การติดตามควบคุมและเฝ้าระวังด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ การดำเนินการตามแผน EIMP จะใช้การบูรณาการจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ กรมชลประทาน กรมประมง กรมพัฒนาที่ดิน กรมป่าไม้ กรมอนามัย และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ วิเคราะห์ ณ อัตราคิดลดร้อยละ 8 ดังนี้ 1. มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) 349.13 ล้านบาท 2. อัตราผลประโยชน์ต่อค่าลงทุน (B/C Ratio) 1.22 3. อัตราผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ (EIRR) ร้อยละ 10.06 งบประมาณ ใช้งบลงทุนรวม 1,325.285 ล้านบาท ประกอบด้วย 1. ค่าก่อสร้างทำนบดินหัวงานและอาคารประกอบ วงเงิน 847 ล้านบาท 2. ค่าชดเชยที่ดิน7 วงเงิน 330 ล้านบาท 3. งบประมาณตามแผน EIMP 148.285 ล้านบาท 2. กษ. แจ้งว่า ทส. พิจารณาแล้วเห็นชอบให้ กษ. ดำเนินโครงการฯ แล้ว และขอให้ผู้ขออนุญาตปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด และปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 กรณีการดำเนินโครงการใด ๆ ของหน่วยงานรัฐที่มีความจำเป็นต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่า และจะต้องมีการปลูกป่าทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่ ให้พิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าทดแทนให้กับหน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการหรือหน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้ดำเนินการปลูกป่าตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่ กก.วล. กำหนด โดยถือเป็นค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งของโครงการนั้น ๆ ด้วย (กษ. ตั้งงบประมาณในการปลูกป่าทดแทนไว้แล้ว ในแผน EIMP จำนวน 35.31 ล้านบาท โดยให้กรมป่าไม้เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ) 1 เขื่อนดินแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภท ตามชนิดของวัสดุที่นำมาใช้ก่อสร้างตัวเขื่อน ได้แก่ (1) เขื่อนดินถมชนิดเนื้อเดียว (Homogeneous Dam) ซึ่งเหมาะกับการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก และ (2) เขื่อนดินถมชนิดแบ่งส่วน (Zone Type Dam) เป็นเขื่อนที่ใช้ดินหลายประเภทมาก่อสร้างเป็นตัวเขื่อน ในส่วนแกนของเขื่อนจะใช้ดินประเภททึบน้ำ เขื่อนประเภทดังกล่าวมีคุณสมบัติในเรื่องการทรุดตัวน้อย ซึ่งเขื่อนและอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่ของกรมชลประทานเป็นเขื่อนดินชนิด Zone Type 2 ทางระบายน้ำล้นแบบไหลด้านข้าง (Side Channel Spillway) จะสร้างอยู่ด้านข้างของอ่างเก็บน้ำ เหมาะสมกับอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 3 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 และ 17 มีนาคม 2535 ได้มีการจำแนกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเป็นเขตต่าง ๆ ตามการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและที่ดินป่าไม้ โดยแบ่งออกเป็น 3 เขต คือ ป่าเพื่อการอนุรักษ์เพิ่มเติม (โซน C) เขตพื้นที่ป่าเพื่อเศรษฐกิจ (โซน E) และเขตพื้นที่ป่าที่เหมาะสมต่อการเกษตร (โซน A) ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2554 กำหนดให้โครงการเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำที่มีพื้นที่โครงการอยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม ตั้งแต่ 500 ไร่ ขึ้นไป ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เสนอคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) พิจารณาให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ในส่วนของการอนุญาตให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรของรัฐเข้าทำประโยชน์ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่กำหนดให้เป็นพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์เพิ่มเติมนั้นเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2537 4 อ้างอิงจากรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ตาช้าง ฉบับเดือนกันยายน 2563 โดยในส่วนของการก่อสร้างระบบชลประทาน กรมชลประทานแจ้งว่า มีแผนงานที่จะดำเนินการก่อสร้างในปีที่ 3 ของช่วงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่ตาช้างด้วยการปรับปรุงระบบฝายและคลองส่งน้ำเดิม (ระบบเหมืองฝายห้วยบ่อส้มและฝายหลวง) และก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำใหม่เป็นระบบฝังท่อใต้ดินขนานไปกับแนวถนนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อที่ดินทำกินของราษฎรน้อยที่สุด 6 แผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIMP) คือ แผนที่กำหนดการดำเนินงานแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามรายงาน EIA รวมถึงกำหนดการติดตามการดำเนินงานแก้ไขดังกล่าว 7 กษ. แจ้งอย่างไม่เป็นทางการว่า การชดเชยดังกล่าวเป็นไปตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2532 โดยรัฐจะจ่ายค่าขนย้ายทรัพย์สินแก่ประชาชนที่เข้าไปครอบครองหรือใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่มีเอกสารสิทธิซึ่งสำหรับโครงการฯ คณะกรรมการพิจารณาการใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2565 มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะกรณีราษฎรที่อยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ตามโครงการจัดทำแผนการบริการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ระดับพื้นที่ จำนวน 84 ราย ที่มีหนังสือแจ้งความประสงค์ขอรับค่ารื้อถอน ขนย้ายพืชผล อาสินอื่น หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (ถ้ามี) ในพื้นที่บริเวณดังกล่าวหากมีค่าชดเชยของภาครัฐที่จะดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ตาช้างต่อไป 37. เรื่อง ขอความเห็นชอบให้กรมป่าไม้ส่งมอบพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเสื่อมโทรม ?ป่าสวนเมี่ยง? เนื้อที่ประมาณ 361 ไร่ ให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม นำไปดำเนินการตามกฎหมายปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กรมป่าไม้ส่งมอบพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเสื่อมโทรม ?ป่าสวนเมี่ยง? เนื้อที่ประมาณ 361 ไร่ ให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) นำไปดำเนินการตามกฎหมายปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต่อไปตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ สาระสำคัญ 1. เมื่อปี 2536 กรมป่าไม้ได้ส่งมอบพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ?ป่าสวนเมี่ยง? เนื้อที่ 81,122.50 ไร่ ให้ ส.ป.ก. นำไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2536 (เห็นชอบในหลักการและวิธีการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรที่ครอบครองทำประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติและป่าไม้ถาวร รวมถึงการกำหนดให้กรมป่าไม้ส่งมอบพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่เสื่อมโทรมให้ ส.ป.ก. เพื่อนำไปดำเนินการปฏิรูปที่ดิน)1 โดยก่อนส่งมอบพื้นที่กรมป่าไม้และ ส.ป.ก. ได้มีการสำรวจพื้นที่และทำข้อตกลงร่วมกันให้มีการกันพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ?ป่าสวนเมี่ยง? ในพื้นที่ส่วนที่ไม่เหมาะที่จะนำไปทำประโยชน์หรือนำไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกลับคืนให้กรมป่าไม้ เนื้อที่ 23,215 ไร่ ซึ่งทำให้พื้นที่ดังกล่าวยังเป็นป่าสงวนแห่งชาติ (รวมถึงพื้นที่ 361 ไร่ในเรื่องนี้ด้วย) ส่วนที่เหลือได้มีการประกาศเขตปฏิรูปที่ดินตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินเมื่อปี 2540 2. เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2541 คณะกรรมปฏิรูปที่ดินจังหวัดพิษณุโลกได้มีมติอนุญาตให้สมาชิกสมาคมทหารผ่านศึกพิการแห่งประเทศไทย จำนวน 16 ราย และราษฎรทั่วไป จำนวน 18 ราย รวม 34 ราย ที่เข้าร่วมโครงการจัดที่ดินให้แก่สมาชิกสมาคมทหารผ่านศึกพิการแห่งประเทศไทย เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน หมู่ที่ 13 ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก รายละประมาณ 10 ไร่ โดยเข้าใจว่าพื้นที่โครงการดังกล่าวเป็นพื้นที่ ?ป่าสวนเมี่ยง? ที่กรมป่าไม้ส่งมอบให้ ส.ป.ก. เพื่อนำไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินและประกาศเขตปฏิรูปที่ดินแล้ว เนื่องจากเกิดความคลาดเคลื่อนในการจัดทำแผนที่ 3. เมื่อปี 2546 ได้มีการตรวจสอบและพบว่าพื้นที่ที่มีการจัดที่ดินตามโครงการดังกล่าวมีที่ดินบางส่วนอยู่ในพื้นที่กันคืนกรมป่าไม้เนื้อที่ประมาณ 361 ไร่ ซึ่งมีผู้ได้รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าว จำนวน 34 ราย ต่อมาในปี 2559 ได้มีการร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อนายกรัฐมนตรีและผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นควรให้เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดพิษณุโลกพิจารณาขยายเขตปฏิรูปที่ดิน 4. กรมป่าไม้และ ส.ป.ก. ได้ประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2561 ซึ่งกรมป่าไม้ไม่ขัดข้องที่ ส.ป.ก. จะนำพื้นที่ดังกล่าวมาดำเนินการปฏิรูปที่ดิน และคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม [นายวิรัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในขณะนั้น เป็นประธาน] ในการประชุม ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 มีมติเห็นชอบให้ ส.ป.ก. นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบและอนุมัติส่งมอบพื้นที่ประมาณ 361 ไร่ ให้แก่ ส.ป.ก. นำไปดำเนินการปฏิรูปที่ดิน และคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน) ในคราวประชุม ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2565 เห็นชอบให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา 1 มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวถูกยกเลิกไปตามคณะรัฐมนตรีมีมติ (22 สิงหาคม 2538) 38. เรื่อง การสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการตามที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (สำนักงาน กกต.) เสนอ ดังนี้ 1. ให้มีการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แก่กลุ่มเป้าหมายหลักที่เป็นเด็ก เยาวชน นักเรียน นิสิต และนักศึกษา ในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา ด้วยกระบวนการปลูกฝังตามหลักสูตรที่กำหนดร่วมกันและกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบในกลุ่มเป้าหมายแต่ละช่วงชั้น ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ส่วนกลุ่มเป้าหมายประชาชนทั่วไป ใช้การรณรงค์ ชี้แจง ทำความเข้าใจให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนและชุมชน ผ่านองค์กรและเครือข่ายศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยระดับต่าง ๆ ที่สำนักงาน กกต. ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการจัดตั้งขึ้นโดยบูรณาการและประสานการดำเนินงานร่วมกับองค์กรและเครือข่ายของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ในพื้นที่ 2. กำหนดให้เรื่องดังกล่าวเป็นวาระแห่งชาติ และเป็นวาระสำคัญในแผนยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ โดยให้กระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการดำเนินงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และให้สำนักงบประมาณ (สงป.) พิจารณาสนับสนุนงบประมาณตามแผนงานและโครงการตามความจำเป็นและเหมาะสม เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 3. ให้สำนักงาน กกต. เป็นหน่วยงานบูรณาการและประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายที่กำหนดและเป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 ที่บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีหน้าที่และอำนาจในการส่งเสริม สนับสนุน หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษาและองค์กรเอกชน ในการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สาระสำคัญ สำนักงาน กกต. รายงานว่า กกต. เห็นว่า หัวใจหลักในการสร้างพลเมืองคุณภาพอยู่ที่การสร้างต้นน้ำให้ใสสะอาดการสร้างพลเมืองคุณภาพที่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างมีคุณภาพ และการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเน้นการดำเนินงานในเชิงคุณภาพไม่เฉพาะแต่ในช่วงการเลือกตั้งเท่านั้น โดยได้ดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 2561 สรุปได้ ดังนี้ 1. กำหนดกรอบเนื้อหาหลักในการให้การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองคุณภาพ (Civic Education) และสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยพัฒนาจากหลักสูตรพลเมืองวิถีประชาธิปไตยที่ดำเนินการมาแล้ว และกรอบเนื้อหาหลักดังกล่าวได้รับความเห็นชอบในหลักการร่วมกันจากกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีเนื้อหาหลัก ได้แก่ (1) การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (2) การสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย (3) การยึดมั่นในสถาบันหลักของชาติ (4) ความผูกพัน ความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ ประเพณี วิถีชีวิต และค่านิยมที่ดีของสังคมไทย (5) คุณลักษณะความเป็นพลเมืองระบอบประชาธิปไตย (6) การมีส่วนร่วมทางการเมืองและการตรวจสอบการเลือกตั้งให้สุจริตและเที่ยงธรรม (7) การเสริมสร้างวิถีประชาธิปไตยในชีวิตประจำวัน และ (8) การดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2. ปลูกฝังและสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่กลุ่มเป้าหมายหลัก ดังนี้ (1) กลุ่มเด็ก นักเรียน นิสิต นักศึกษาในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา โดยนำเนื้อหาหลัก (ตามข้อ 1) มาออกแบบและพัฒนาเป็นหลักสูตร 4 ช่วงชั้น ได้แก่ ช่วงชั้นที่ 1 ระดับปฐมวัย ช่วงชั้นที่ 2 ระดับประถมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ช่วงชั้นที่ 3 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น-ตอนปลายและอาชีวศึกษา และช่วงชั้นที่ 4 ระดับอุดมศึกษา เพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละระดับช่วงวัยเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะเป็นพลเมืองคุณภาพ (2) กลุ่มประชาชนทั่วไป โดยสนับสนุนให้ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย (ศส.ปชต.) ในพื้นที่ระดับตำบล/หมู่บ้าน ซึ่งสำนักงาน กกต. ได้ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งขึ้นแล้วทุกตำบลทั่วประเทศและในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นกลไกหลักในการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2557 และได้มีการปรับปรุงโครงสร้างของกรรมการ ศส.ปชต. ด้วย (3) บูรณาการความร่วมมือกับกระทรวงหลักที่เกี่ยวข้องในเบื้องต้น 5 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อว. กระทรวงมหาดไทย (มท.) ศธ. กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เช่น การลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประธานกรรมการการเลือกตั้งกับรัฐมนตรีแต่ละกระทรวง การกำหนดนโยบาย ?การเสริมสร้างความเป็นพลเมืองคุณภาพและความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข? และการจัดทำแผนบูรณาการในการดำเนินการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองคุณภาพฯ ในด้านต่าง ๆ เป็นแผนต่อเนื่อง (4) บูรณาการเพื่อผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติ เนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติ (17 พฤษภาคม 2565) รับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การส่งเสริมความรู้ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ตามที่ ศธ. เสนอ ซึ่งทุกหน่วยงานมีความเห็นตรงกันว่าสภาพปัญหาการเมืองการปกครองของไทย คือ การที่ประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดังนั้น รัฐบาลอาจต้องกำหนดเป็นนโยบายที่สำคัญ ?วาระแห่งชาติ? เพื่อขับเคลื่อนการให้การศึกษาและสร้างพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย โดยมีสำนักงาน กกต. เป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนที่สามารถบูรณาการเครือข่ายพลเมืองร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ (5) การจัดสรรงบประมาณ สำนักงาน กกต. ได้รับจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการตามยุทธศาสตร์การสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างเสริมความรู้ พลังศรัทธา และพลังร่วมวิถีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ภายใต้ความรับผิดชอบของกลุ่มภารกิจการมีส่วนร่วม โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 3,524.09 ล้านบาท และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 3,287.98 ล้านบาท ต่างประเทศ 39. เรื่อง ผลการประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Meeting) ของการประชุม the 3rd World Conference on Creative Economy (WCCE) คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ ดังนี้ 1. รับทราบผลการประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Meeting) ของการประชุมเศรษฐกิจสร้างสรรค์โลก ครั้งที่ 3 (the 3rd World Conference on Creative Economy: WCCE)1 2. มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานตามแผนที่นำทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์บาหลี พ.ศ. 2565 (Bali Creative Economy Roadmap 2022) เพื่อจะได้ขับเคลื่อนงานตามภารกิจที่รับผิดชอบและบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง 1. รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (นางยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา) (ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม WCCE ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2565 ณ เมืองบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ผ่านระบบการประชุมทางไกล ภายใต้หัวข้อ ?การสร้างสรรค์อย่างครอบคลุม : การฟื้นฟูระดับโลก? (Inclusively Creative : A Global Recovery) มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1.1 รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรมกล่าวถ้อยแถลงในที่ประชุมว่า รัฐบาลไทยมีความมุ่งมั่นในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเศรษฐกิจโลก โดยกำหนดให้ วธ. ทำหน้าที่เป็นหน่วยประสานงานหลักในการขับเคลื่อนเป้าหมายยุทธศาสตร์ในการเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประเทศ โดยมุ่งใช้ทุนทางวัฒนธรรมและนวัตกรรมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์2 เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และยกระดับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยให้มีอิทธิพลต่อค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ อีกทั้งได้นำโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economic Model: BCG) มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน โดยการใช้ประโยชน์จากความรุ่มรวยทางวัฒนธรรม3 รวมถึงใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้านนวัตกรรม นอกจากนี้ ได้ส่งเสริมการสร้างภาพลักษณ์ของประเทศและเนื้อหาด้านวัฒนธรรม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการอนุรักษ์วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของไทยผ่านแฟชั่นที่ยั่งยืน ภายใต้แนวคิด ?วัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์มีบทบาทนำในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย? 1.2 ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาและมีมติรับรองแผนที่นำทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์บาหลี พ.ศ. 2565 (Bali Creative Economy Roadmap 2022) [คณะรัฐมนตรีมีมติ (5 ตุลาคม 2565) เห็นชอบร่างเอกสารวาระบาหลี 2022 : แผนที่นำทางระดับโลกเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Bali Agenda 2022: A Global Roadmap for Creative Economy) และอนุมัติให้ผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมที่ได้รับมอบหมายรับรองร่างเอกสารฯ ตามที่ วธ. เสนอ] มีสาระสำคัญ เช่น (1) ให้รวมเศรษฐกิจสร้างสรรค์เข้าไว้ในแผนและกลยุทธ์ฟื้นฟูระดับชาติและระดับนานาชาติ (2) กระตุ้นนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่รับรองการเข้าถึงทางด้านการเงินและการเคลื่อนย้ายสินค้าทางวัฒนธรรมและสินค้าที่สร้างสรรค์อย่างเสรี (3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาและผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และความท้าทายระดับโลกอื่น ๆ รวมถึงเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ และรูปแบบการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน (4) ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและเทคโนโลยีในเศรษฐกิจสร้างสรรค์ รวมไปถึงการลดช่องว่างทางดิจิทัลภายในและระหว่างประเทศ และกำหนดนโยบายและกรอบการกำกับดูแลที่สะท้อนถึงภูมิทัศน์ด้านกฎระเบียบที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้สิทธิและองค์กรได้รับการคุ้มครองในยุคดิจิทัล (5) ส่งเสริมการพัฒนาฐานข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ รวมไปถึงการพัฒนานโยบายด้านข้อมูลให้เอื้อต่อการพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์4 และ (6) ให้มีนโยบายสนับสนุนผู้ที่มีบทบาทในเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงรุกรวมไปถึงการบริหารจัดการและทำให้ทรัพย์สินทางปัญญาทั้งหลายสามารถใช้แสวงหาผลกำไรได้ 1.3 การประชุม WCCE ครั้งที่ 4 จะจัดขึ้นในปี 2567 โดยสาธารณรัฐอุซเบกิสถานเป็นเจ้าภาพ 1.4 เนื่องจากผลการประชุมฯ มีประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาภาควัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในระดับสากล เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโต เอื้อประโยชน์ที่ครอบคลุมถึงทุกฝ่ายอย่างยั่งยืนรวมถึงเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ฟื้นฟูโลกหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และเพื่อสนับสนุนให้ไทยมีการปรับนโยบายทางวัฒนธรรมเพื่อรับมือความท้าทายร่วมสมัยรวมทั้งเพื่อเป็นการเตรียมการสำหรับการเข้าร่วมการประชุม WCCE ครั้งที่ 4 ในปี 2567 จึงเห็นควรมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (สศส.) บูรณาการทำงานร่วมกันต่อไป 1 การประชุม WCCE มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาภาคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั้ง 5 ฝ่าย ได้แก่ (1) รัฐบาล ผู้กำหนดนโยบายหรือองค์กรระหว่างประเทศ (2) นักวิชาการ (3) องค์กรเอกชน (4) ชุมชน และ (5) สื่อที่มีส่วนในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ยั่งยืนในระดับสากล รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ฟื้นฟูโลกหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) 2 เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นการพัฒนาระบบเศรษฐกิจโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์บนฐานขององค์ความรู้ ทรัพย์สินทางปัญญา และการศึกษาวิจัยซึ่งเชื่อมโยงกับวัฒนธรรม พื้นฐานทางประวัติศาสตร์การสั่งสมความรู้ของสังคม เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อใช้ในการพัฒนาธุรกิจ การผลิตสินค้าและบริการในรูปแบบใหม่ซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจหรือคุณค่าทางสังคม 40. เรื่อง ปฏิญญาเสียมราฐว่าด้วยอนาคตของการท่องเที่ยวในกรอบ ACMECS คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบปฏิญญาเสียมราฐว่าด้วยอนาคตของการท่องเที่ยว ในกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี - เจ้าพระยา - แม่โขง (Aveyawady-Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS) (ปฏิญญาเสียมราฐว่าด้วยอนาคตของการท่องเที่ยวฯ) และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงเอกสารดังกล่าวในประเด็นที่ไม่ใช่สาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก รวมทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีพาร่วมรับรองปฏิญญาดังกล่าวและแจ้งประเทศสมาชิกกรอบ ACMECS1 ทราบต่อไปตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ สาระสำคัญ 1. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 ได้มีการจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีท่องเที่ยวกรอบ ACMECS ครั้งที่ 5 (การประชุมระดับรัฐมนตรีท่องเที่ยวฯ) ณ จังหวัดเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเข้าร่วมด้วย ซึ่งในระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรีท่องเที่ยวฯ ราชอาณาจักรกัมพูชาในฐานะประธานการประชุมดังกล่าว ได้นำเสนอร่างปฏิญญาเสียมราฐว่าด้วยอนาคตของการท่องเที่ยวฯ เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณารับรอง ซึ่งรัฐมนตรีท่องเที่ยวกรอบ ACMECS ได้เห็นชอบในหลักการร่างปฏิญญาเสียมราฐดังกล่าวแล้ว และรับทราบว่าประเทศไทยจะดำเนินการตามกระบวนการภายในประเทศก่อนรับรองเอกสารดังกล่าว2 2. ปฏิญญาเสียมราฐว่าด้วยอนาคตของการท่องเที่ยวฯ เป็นเอกสารที่แสดงถึงความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกกรอบ ACMECS ในการส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างปี พ.ศ. 2566 - 2568 ครอบคลุมมิติต่าง ๆ เช่น การดำเนินโครงการร่วมกัน เพื่อการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การฟื้นฟูและสร้างรูปแบบการท่องเที่ยว ACMECS ที่เข้มแข็งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นดิจิทัลมากขึ้นและจัดหลักสูตรการฝึกอบรมที่เข้าถึงได้เพื่อเพิ่มทักษะและเสริมทักษะด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับอุตสาหกรรม 4.0 รวมทั้งริเริ่มการดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสำนักเลขาธิการด้านการท่องเที่ยว ACMECS หรือสำนักงานประสานความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ACMECS ในปี พ.ศ. 2566 - 2566 ทั้งนี้ ผลประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ คือเป็นโอกาสของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยในการยกระดับขีดความสามารถในการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อให้เข้ากับบริบทของสถานการณ์โลกในปัจจุบันและในอนาคตผ่านกิจกรรมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวของประเทศสมาชิกกรอบ ACMECS รวมทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศระหว่างกันเพื่อนำมาปรับใช้ในการพัฒนาการท่องเที่ยว 3. กก. แจ้งว่า กระทรวงการต่างประเทศ (สำนักงานปลัดกระทรวงการต่างประเทศ) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาแล้วมีความเห็นในลักษณะที่ใกล้เคียงกันว่าปฏิญญาเสียมราฐว่าด้วยอนาคตของการท่องเที่ยวฯ มิได้มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างกันตามกฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งไม่มีการลงนามในเอกสาร กรณีนี้จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 1สมาชิกกรอบ ACMECS ประกอบด้วย 5 ประเทศ ได้แก่ ราขอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประเทศไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 2กก. แจ้งว่าราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามได้รับรองร่างปฏิญญาเสียมราฐว่าด้วยอนาคตของการท่องเที่ยวฯ แล้ว 41. เรื่อง รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย-กาตาร์ รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย-จอร์เจีย และรายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทยและสหราชอาณาจักร คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้ 1. ผลการเจรจาการบินระหว่างไทย - กาตาร์ 1.1 รับทราบบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งรัฐกาตาร์และรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย (บันทึกความเข้าใจฯ กาตาร์) 1.2 เห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตของฝ่ายไทย (ร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ) 1.3 มอบให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตยืนยันการมีผลใช้บังคับของบันทึกความเข้าใจดังกล่าวต่อไป โดยให้ กต. สามารถปรับถ้อยคำตามความเหมาะสมที่ไม่กระทบกับสาระสำคัญ 2. ผลการเจรจาการบินระหว่างไทย - จอร์เจีย 2.1 รับทราบบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย - จอร์เจีย (บันทึกความเข้าใจฯ จอร์เจีย) ฉบับลงนามเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563 2.2 เห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งจอร์เจีย (ร่างความตกลงฯ จอร์เจีย) และหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารที่ไม่ใช่สาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ คค. ดำเนินการต่อไปได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง 2.3 อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามร่างความตกลงฯ จอร์เจีย และให้ กต. ออกหนังสือมอบอำนาจ (Full Powers) ให้แก่ผู้ที่ได้รับมอบหมายดังกล่าวด้วย 2.4 มอบให้ กต. ดำเนินการแจ้งต่อกันปันลายลักษณ์อักษรในลำดับสุดท้ายผ่านช่องทางทางการทูต ระบุว่า ข้อกำหนดของกฎหมายภายในสำหรับการมีผลบังคับใช้ได้รับการดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว 3. ผลการเจรจาการบินระหว่างไทยและสหราชอาณาจักร 3.1 รับทราบบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักรไทยและสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (บันทึกความเข้าใจฯ สหราชอาณาจักร) ฉบับลงนามเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2565 3.2 เห็นชอบต่อร่างความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (ร่างความตกลงฯ ฉบับใหม่ สหราชอาณาจักร) ลงนามย่อ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2565 และหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของฝ่ายไทย ให้ คค. ดำเนินการต่อไปได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี อีกครั้ง 3.3 อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามในร่างความตกลงฯ สหราชอาณาจักร และให้ กต. ออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ที่ได้รับมอบหมายดังกล่าวด้วย 3.4 มอบให้ กต. ดำเนินการแจ้งเป็นหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตยืนยันถึงการดำเนินการตามกระบวนการภายในที่จำเป็นเพื่อให้ความตกลงมีผลใช้บังคับเสร็จสมบูรณ์แล้ว สาระสำคัญ 1. คณะผู้แทนของไทยได้เข้าร่วมเจรจากับคณะผู้แทนของประเทศกาตาร์ คณะผู้แทนของประเทศจอร์เจีย และคณะผู้แทนของสหราชอาณาจักรในโอกาสต่าง ๆ กันเพื่อเจรจาในเรื่องสิทธิการบินกับไทย ดังนี้ 1) ประเทศกาตาร์ รายการ สาระสำคัญ ความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศฉบับปัจจุบัน ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งรัฐกาตาร์ว่าด้วยบริการเดินอากาศในจุดระหว่างอาณาเขตของแต่ละฝ่ายและพ้นจากนั้นไป (ความตกลงฯ กาตาร์) ลงนามเต็มเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2534 ซึ่งข้อ 13 (1) กำหนดให้การแก้ไขข้อบทของความตกลงฯ กาตาร์ มีผลใช้บังคับเมื่อมีการยืนยันโดยหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูต วัตถุประสงค์ของการเจรจา เพื่อปรับปรุงข้อบท (article) ภายใต้ความตกลงฯ กาตาร์ที่บังคับใช้อยู่ให้มีความยืดหยุ่น ทันสมัยมากขึ้น ทั้งนี้ เป็นไปตามร่างมาตรฐานตามที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศให้คำแนะนำ วันที่และสถานที่เจรจา 3 ธันวาคม 2562 ณ เมืองอะกาบา ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน เอกสารผลลัพธ์สำคัญของการเจรจา บันทึกความเข้าใจฯ กาตาร์ ลงนามเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2562 การรายงานคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการผู้แทนรัฐบาลเพื่อพิจารณาทำความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศกับรัฐบาลต่างประเทศเป็นประจำ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 ได้มีมติรับทราบผลการเจรจาการบินระหว่างไทย ? กาตาร์แล้ว ผลการเจรจาระหว่างไทย - กาตาร์ การปรับปรุงความตกลงฯ กาตาร์ ข้อบท สาระสำคัญ 5 (ภาษี) ภาคีแต่ละฝ่ายจะยกเว้นภาษีต่าง ๆ ของเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น อะไหล่ อุปกรณ์อากาศยานปกติ และคลังอากาศยาน วัสดุตีพิมพ์และเอกสารต่าง ๆ ของสายการบินที่ไม่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ ให้แก่สายการบินที่กำหนดของอีกฝ่ายหนึ่ง โดยการยกเว้นจะใช้กับสิ่งของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในกรดำเนินบริการและคงไว้บนอากาศยานนั้น 8 (การกำหนดพิกัดอัตราค่าขนส่ง) สายการบินที่กำหนดของแต่ละฝ่ายจะกำหนดพิกัดอัตราค่าขนส่งได้เอง โดยไม่ปรึกษาหารือกัน และไม่ต้องได้รับการอนุมัติจากเจ้าหน้าที่การเดินอากาศทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ตาม สายการบินต้องแจ้งพิกัดอัตราค่าขนส่งให้กับเจ้าหน้าที่การเดินอากาศของตนทราบ 11 ทวิ (ความปลอดภัยการบิน) ให้สิทธิภาคีคู่สัญญาในการตรวจมาตรฐานความปลอดภัยบนและรอบอากาศยาน (ตรวจ ณ ลานจอด) เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของเอกสารที่เกี่ยวกับอากาศยานและลูกเรือ และกำหนดแนวทางการดำเนินการหากฝ่ายหนึ่งพบว่าอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้รักษามาตรฐานความปลอดภัยอย่างมีประสิทธิภาพ 7 ทวิ (การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ) ให้สิทธิแก่สายการบินที่กำหนดในการขนส่งรูปแบบอื่นต่อเนื่องกับการขนส่งทางอากาศซึ่งสามารถดำเนินบริการร่วมกับผู้ประกอบการอื่นได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายและข้อบังคับของประเทศภาคี และบริการดังกล่าวต้องเป็นแบบตลอดเส้นทางและเป็นราคาเดียว การมีผลบังคับใช้ บันทึกความเข้าใจฯ กาตาร์ จะมีผลบังคับใช้ในวันที่มีการแลกเปลี่ยนหนังสือทาง การทูต 2) ประเทศจอร์เจีย รายการ สาระสำคัญ ความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศฉบับปัจจุบัน ไม่มี วัตถุประสงค์ของการเจรจา เพื่อให้มีความตกลงด้านบริการเดินอากาศฉบับแม่บทระหว่างไทยและจอร์เจีย โดยระบุรายละเอียดให้สอดคล้องกับบริบทของสภาวการณ์การบินในปัจจุบัน และรองรับต่อกระบวนการภายในของทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ ข้อบทต่าง ๆ ภายใต้ร่างความตกลงฯ จอร์เจียสอดคล้องกับมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ และไม่ขัดหรือแย้งกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของประเทศ วันที่และสถานที่เจรจา 26 - 27 กุมภาพันธ์ 2563 ณ กรุงทบิลิซี ประเทศจอร์เจีย เอกสารผลลัพธ์สำคัญของการเจรจา - ร่างความตกลงฯ จอร์เจีย - บันทึกความเข้าใจฯ จอร์เจีย ลงนามเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563 การรายงานคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการผู้แทนรัฐบาลเพื่อพิจารณาทำความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศกับรัฐบาลต่างประเทศเป็นประจำ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 ได้มีมติรับทราบผลการเจรจาการบินระหว่างไทย - จอร์เจียแล้ว ผลการเจรจาระหว่างไทย - จอร์เจีย การจัดทำร่างความตกลงฯ คณะผู้แทนของทั้งสองฝ่ายเห็นชอบกับข้อบทในร่างความตกลงฯ จอร์เจียและได้ลงนามย่อ (initialed) ในร่างความตกลงฯ จอร์เจียแล้ว การกำหนดสายการบิน ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิกำหนดสายการบินสายหนึ่งหรือหลายสายเพื่อดำเนินบริการการบิน รวมทั้งมีสิทธิเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงสายการบินที่กำหนด โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรต่อภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง ใบพิกัดเส้นทางบิน - ไทย จุดใด ๆ ในไทย - จุดระหว่างทางใด ๆ - จุดใด ๆ ในจอร์เจีย - จุดพ้นใด ๆ - จอร์เจีย จุดใด ๆ ในจอร์เจีย ? จุดระหว่างทางใด ๆ - จุดใด ๆ ในไทย - จุดพ้นใด ๆ สิทธิความจุความถี่ เที่ยวบินเฉพาะผู้โดยสาร - เสรีภาพที่ 3 และ 41: จำนวน 28 เที่ยว/สัปดาห์ โดยไม่จำกัดแบบอากาศยาน - เสรีภาพที่ 5: อยู่ภายใต้ข้อตกลงร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่การเดินอากาศของภาคีทั้งสองฝ่าย เที่ยวบินเฉพาะสินค้า - เสรีภาพที่ 3 4 และ 5: ไม่จำกัดความถี่หรือแบบอากาศยาน การดำเนินบริการเช่าเหมาลำ (Charter Operations) สายการบินของทั้งสองฝ่ายอาจดำเนินบริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำระหว่างทั้งสองรัฐ โดยต้องเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับแห่งชาติของภาคีทั้งสองฝ่ายและต้องได้รับการอนุญาตที่จำเป็นจากเจ้าหน้าที่การเดินอากาศ การทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกัน (Code-sharing) สายการบินที่กำหนดของแต่ละฝ่ายสามารถทำการบินในเส้นทางที่ตกลงกัน (ตามพิกัดเส้นทางบิน) โดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกันในลักษณะ (1) ร่วมกันกับสายการบินระหว่างคู่ภาคี เพื่อ (1.1) ทำการบินช่วงเส้นทางบินระหว่างประเทศ (International sector) (1.2) ทำการบินช่วงเส้นทางบินภายในประเทศ (Domestic sector) โดยจะต้องเป็นการจราจรต่อเนื่องไปยัง/มาจากบริการระหว่างประเทศของตน (2) ร่วมกันกับสายการบินของประเทศที่สาม (3) ร่วมกันกับสายการบินของภาคีเดียวกัน ทั้งนี้ การนับหักสิทธิความจุความถี่จะหักจากสิทธิของประเทศที่กำหนดสายการบินผู้ดำเนินบริการเท่านั้น (Operating Airline) และสายการบินจะต้องแจ้งให้ผู้ซื้อทราบอย่างชัดเจน ณ จุดขายว่า สายการบินใดเป็นผู้ดำเนินบริการในช่วงเส้นทางบินใดของบริการ และสายการบินหนึ่งสายหรือหลายสายใดที่ผู้ซื้อเข้าร่วมความสัมพันธ์ทางสัญญาด้วย การมีผลบังคับใช้ บทบัญญัติของบันทึกความเข้าใจฯ จอร์เจียมีผลบังคับใช้โดยทันทีจากวันที่ลงนาม 3) สหราชอาณาจักร รายการ สาระสำคัญ ความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศฉบับปัจจุบัน ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสหราชราชอาณาจักรว่าด้วยบริการเดินอากาศในจุดระหว่างอาณาเขตของแต่ละฝ่ายและพ้นจากนั้นไป ลงนามเต็มเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2493 (ความตกลงฯ ฉบับเดิม สหราชอาณาจักร) ซึ่งข้อ 10 กำหนดให้การแก้ไขข้อบทใด ๆ ของความตกลงฯ นี้ มีผลใช้บังคับเมื่อมีการยืนยันโดยหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูต วัตถุประสงค์ของการเจรจา เพื่อให้ความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างสองประเทศมีข้อบทที่มีความทันสมัยมากขึ้นและรองรับต่อกระบวนการภายใน หลังสหราชอาณาจักรออกจากการเป็นสมาชิกแห่งสหภาพยุโรป (BREXIT) เนื่องจากความตกลงด้านบริการเดินอากาศระหว่างไทยและสหราชอาณาจักรฉบับปัจจุบันได้จัดทำตั้งแต่ปี 2493 รวมถึงเพื่อปรับปรุงสิทธิการบินให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ของตลาดการบินในปัจจุบัน วันที่และสถานที่เจรจา 8 - 9 สิงหาคม 2565 ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เอกสารผลลัพธ์สำคัญของการเจรจา - ร่างความตกลงฯ สหราชอาณาจักร - บันทึกความเข้าใจฯ สหราชอาณาจักร ลงนามเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2565 การรายงานคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการผู้แทนรัฐบาลเพื่อพิจารณาทำความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศกับรัฐบาลต่างประเทศเป็นประจำ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 ได้มีมติรับทราบผลการเจรจาการบินระหว่างไทยและสหราชอาณาจักรแล้ว การจัดทำร่างความตกลงฯ ทั้งสองฝ่ายตกลงจัดทำร่างความตกลงฯ ฉบับใหม่ สหราชอาณาจักร เพื่อใช้แทนที่ความตกลงฯ ฉบับเดิม สหราชอาณาจักร โดยหลักการในร่างความตกลงฯ ฉบับใหม่ สหราชอาณาจักร เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศและไม่ขัดหรือแย้งกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย สิทธิความจุความถี่ เที่ยวบินเฉพาะผู้โดยสาร/ผู้โดยสารและสินค้า - เสรีภาพที่ 3 4 และ 5: จำนวน 35 เที่ยว/สัปดาห์ โดยไม่จำกัดแบบอากาศยาน เที่ยวบินเฉพาะสินค้า - เสรีภาพที่ 3 4 และ 5: ไม่จำกัดความถี่และแบบอากาศยาน ใบพิกัดเส้นทางบิน สำหรับเสรีภาพที่ 3 และ 4 ของเที่ยวบินเฉพาะผู้โดยสาร/ผู้โดยสารและสินค้า/เที่ยวบินเฉพาะสินค้า และเสรีภาพที่ 5 ของเที่ยวบินเฉพาะสินค้า - ไทย จุดใด ๆ ในไทย ? จุดระหว่างทางใด ๆ - จุดใด ๆ ในสหราชอาณาจักร - จุดพ้นใด ๆ - สหราชอาณาจักร จุดใด ๆ ในสหราชอาณาจักร - จุดระหว่างทางใด ๆ - จุดใด ๆ ในไทย - จุดพ้นใด ๆ สำหรับเสริภาพที่ 5 ของเที่ยวบินเฉพาะผู้โดยสาร/ผู้โดยสารและสินค้า - ไทย จุดใด ๆ ในไทย ? จุดระหว่างทางใด ๆ - จุดใด ๆ ในสหราชอาณาจักร - จุดใด ๆ ในไอร์แลนด์และแคนาดา - สหราชอาณาจักร จุดใด ๆ ในสหราชอาณาจักร ? จุดระหว่างทางใด ๆ - จุดใด ๆ ในไทย - ฮ่องกง บรูไน สิงคโปร์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี ฟิจิ จาการ์ตา โซล กัวลาลัมเปอร์ (รวม 10 จุด) และจุดใด ๆ ในฟิลิปปินส์ ผลการเจรจาระหว่างไทยและสหราชอาณาจักร การทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกัน (Code-sharing) สายการบินอาจเข้าสู่การทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกับสายการบินอื่นใด (กล่าวคือสายการบินของประเทศเดียวกัน ของประเทศคู่ภาคี หรือของประเทศที่สาม) โดยเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับการควบคุมการแข่งขัน โดยมีเงื่อนไขว่า (1) เที่ยวบินแต่ละเที่ยวในเส้นทางที่ให้บริการดำเนินการโดยสายการบินที่มีสิทธิในการดำเนินเที่ยวบินนั้น และ (2) ผู้ซื้อบัตรโดยสารต้องได้รับข้อมูล ณ จุดขายว่าสายการบินใดจะดำเนินบริการการบินในช่วงใดของเส้นทาง การจัดสรรเวลาบินขึ้น/ลงจอด ณ ท่าอากาศยาน ทั้งสองฝ่ายต้องดำเนินการให้การจัดสรรเวลาลงจอด ณ ท่าอากาศยานในอาณาเขตของตนจะถูกบังคับใช้อย่างโปร่งใส มีประสิทธิภาพ ไม่เลือกประติบัติและทันท่วงที การแก้ไข การแก้ไขใด ๆ ของความตกลงฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้เมื่อยืนยันด้วยการแลกเปลี่ยนหนังสือผ่านช่องทางทางการทูต การมีผลบังคับใช้ บันทึกความเข้าใจฯ สหราชอาณาจักรมีผลบังคับใช้ทันทีตั้งแต่วันที่ลงนาม [อย่างไร ก็ตาม สายการบินจะสามารถใช้สิทธิการบินต่าง ๆ ที่ระบุไว้ได้หลังจากที่ร่างความ ตกลงฯ ฉบับใหม่ สหราชอาณาจักร ได้รับการลงนามเต็มและมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการแล้ว] 2. ประโยชน์ที่จะได้รับ การปรับปรุงข้อกำหนดและสิทธิด้านการบินระหว่างไทย ? กาตาร์และระหว่างไทยและ สหราชอาณาจักรเป็นการสนับสนุนให้ปฏิบัติการการบินของสายการบินของไทยและคู่ภาคีเป็นไปตามมาตรฐานสากลในปัจจุบัน โดยการปรับปรุง เช่น การเพิ่มสิทธิความถี่ในการทำการบิน การปรับปรุงให้สายการบินกำหนดพิกัดอัตรา ค่าขนส่งเองได้ ยังเป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นและอำนวยความสะดวกด้านการวางแผนการตลาดให้สายการบินของไทย ซึ่งในทางกลับกันเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค นอกจากนี้ การจัดให้มีความตกลงฉบับแม่บทระหว่างไทยและจอร์เจียครั้งแรกถือเป็นการกระชับความสัมพันธ์ทั้งในระดับรัฐบาล ภาคธุรกิจ และประชาชน โดยสายการบินของไทยสามารถใช้ประโยชน์จากข้อบทการทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกันเพื่อสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรม การบิน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ตลอดจนการค้าการลงทุนระหว่างทั้งสองประเทศต่อไปอีกด้วย ???????????????_______________________________________ 1สิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพทางการบิน (Freedoms of the Air) หมายถึง สิทธิในการดำเนินบริการเดินอากาศแบบประจำระหว่างประเทศ โดยแต่ละประเภทมีความหมาย ดังนี้ สิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 1 อนุญาตให้สายการบินบินผ่านน่านฟ้า สิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 2 อนุญาตให้สายการบินแวะจอด เช่น เติมน้ำมันกรณีฉุกเฉิน สิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 3 อนุญาตให้สายการบินขนส่งผู้โดยสารและสินค้าจากประเทศของตนไปยังประเทศอื่น สิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 4 อนุญาตให้สายการบินขนส่งผู้โดยสารและสินค้าจากประเทศอื่นไปยังประเทศของตน สิทธิรับขนการจราจรเสริภาพที่ 5 อนุญาตให้สายการบินขนส่งผู้โดยสารและสินค้าจากประเทศคู่ตกลงเพื่อไปยังประเทศที่สามในอาณาเขตของตน 42. เรื่อง การดำเนินการจัดทำหนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยพนักงานวิทยุสมัครเล่นไทย - ฟินแลนด์ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยพนักงานวิทยุสมัครเล่นไทย -ฟินแลนด์ (หนังสือแลกเปลี่ยนฯ ) และหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ และเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้อยู่ในดุลพินิจของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งอนุมัติให้เลขาธิการ กสทช. หรือผู้แทน ลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนฯ โดยให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนามตามที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เสนอ สาระสำคัญ 1. สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฟินแลนด์ประจำประเทศไทยได้มีหนังสือแจ้งความประสงค์ผ่านทางการทูต ขอทำความตกลงต่างตอบแทนว่าด้วยพนักงานวิทยุสมัครเล่นกับประเทศไทยในรูปแบบหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตว่าด้วยพนักงานวิทยุสมัครเล่นของไทยและฟินแลนด์ เพื่ออนุญาตให้ผู้ประกอบการวิทยุสมัครเล่นชาวฟินแลนด์และชาวไทยสามารถดำเนินการตั้งสถานีวิทยุสมัครเล่นในประเทศของกันและกันได้1 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างสองประเทศ ภายใต้เงื่อนไขและข้อตกลง เช่น จะต้องเป็นไปตามวิธีดำเนินการที่ระบุไว้ในกฎหมายภายในและข้อบังคับต่าง ๆ ของประเทศนั้น ซึ่งหากภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องการที่จะให้ความตกลงนั้นสิ้นสุดลงให้แจ้งความต้องการดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังอีกฝ่าย แต่ความตกลงดังกล่าวจะยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไปอีก 60 วัน ภายหลังจากวันที่ภาคีฝ่ายที่ต้องการให้ความตกลงนั้นสิ้นสุดลงแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว ทั้งนี้ หนังสือแลกเปลี่ยนฯ และหนังสือที่คู่ภาคีตอบรับถือเป็นข้อตกลงของรัฐบาลทั้งสองฝ่าย จะมีผลใช้บังคับเมื่อครบกำหนด 45 วัน หลังจากวันที่ได้รับหนังสือตอบกลับจากคู่ภาคีแล้ว2 2. ผลประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการจัดทำหนังสือแลกเปลี่ยนดังกล่าว เช่น 1) ขยายความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิทยุสมัครเล่นของไทยให้เป็นสากล 2) พนักงานวิทยุสมัครเล่นที่ได้รับอนุญาตจะได้รับประโยชน์ในการค้นคว้า การติดต่อประสานงานระหว่างพนักงานวิทยุสมัครเล่น และการทดลองตรวจสอบด้านวิชาการที่เกี่ยวกับวิทยุคมนาคมต่าง ๆ ซึ่งเป็นหนทางที่นำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องรับ - ส่งวิทยุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเป็นการพัฒนาความเชี่ยวชาญบุคลากรด้านวิทยุสมัครเล่นให้มีความรู้ความชำนาญยิ่งขึ้น 3) เกิดประโยชน์ต่อระบบการสื่อสารในการแจ้งเหตุภัยพิบัติ เหตุอันตราย และการรักษาความปลอดภัยที่เกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 1รัฐบาลไทยเคยจัดทำความตกลงต่างตอบแทนในรูปแบบหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตว่าด้วยพนักงานวิทยุสมัครเล่นกับรัฐบาลประเทศต่าง ๆ แล้ว 10 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย สวีเดน สหราชอาณาจักร เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส และเดนมาร์ก 2สำนักงาน กสทช. แจ้งว่าหลังจากที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ แล้ว สำนักงาน กสทช. จะดำเนินการแจ้งหนังสือมติคณะรัฐมนตรีให้กระทรวงการต่างประเทศทราบและดำเนินการติดต่อประสานกับสาธารณรัฐฟินแลนด์ให้ดำเนินการจัดส่งหนังสือลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนฯ หลังจากนั้นประเทศไทยก็จะดำเนินการลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนของฝ่ายไทยเพื่อจัดส่งไปยังสาธารณรัฐฟินแลนด์ต่อไป 43. เรื่อง รางวัลบีซีจีของเอเปค (APEC BCG Award) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการสนับสนุนงบประมาณโดยสมัครใจแก่โครงการรางวัลบีซีจีของเอเปค (โครงการฯ) ของไทยอย่างต่อเนื่องทุกปี ปีละไม่เกิน 15,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 526,000 บาท ตามอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยปี 2565 ของธนาคารแห่งประเทศไทย) โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณของกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2567 เป็นต้นไปตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ สาระสำคัญ ไทยได้ริเริ่มจัดตั้งรางวัลบีซีจีของเอเปค1 ในการเป็นเจ้าภาพเอเปค ครั้งที่ 33 เมื่อปี 2565 เพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามเป้าหมายกรุงเทพมหานครว่าด้วยเศรษฐกิจบีซีจี (เป้าหมายกรุงเทพฯ) และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจบีซีจีในภูมิภาคเอเปค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่องบุคคลหรือองค์กรที่ได้นำแนวคิดบีซีจีไปปฏิบัติจนประสบผลสำเร็จและสามารถเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ ซึ่งรางวัลดังกล่าวแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ (1) สตรี (2) เยาวชน และ (3) วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ทั้งนี้ ผู้ชนะแต่ละรายจะได้รับเงินรางวัลจำนวน 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ (หรือประมาณ 175,330 บาท) ซึ่งจะมาจากงบประมาณสนับสนุนตามความสมัครใจจากเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปค โดยมีสำนักงานเลขาธิการเอเปคเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการงบประมาณ โดยจะเริ่มมอบรางวัลในปี 2566 เป็นปีแรก2 (สหรัฐอมริกาเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 34 ในเดือนพฤศจิกายน 2566 ณ นครซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา) ??????????????????___________________________________ 1โครงการรางวัลบีซีจีของเอเปคที่ไทยริเริ่มผลักดันได้รับความเห็นชอบจากทุกเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปค โดยมีแคนาดาและจีนเป็นผู้ร่วมเสนอโครงการฯ และมีนิวซีแลนด์ เปรู และสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ร่วมอุปถัมภ์โครงการฯ โดยไทยได้ประกาศเปิดตัวรางวัลดังกล่าวอย่างเป็นทางการในการประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 33 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 2จะเปิดรับการเสนอชื่อผู้สมัครเข้าชิงรางวัลจากทุกเขตเศรษฐกิจภายในเดือนมีนาคม 2566 และเริ่มกระบวนการสรรหาและคัดเลือกผู้ชนะในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 โดยจะประกาศผู้ชนะรางวัลทั้ง 3 ประเภทในการประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 34 ณ สหรัฐอเมริกา 44. เรื่อง การเพิ่มทุนในโครงการเหมืองแร่โพแทชของอาเซียน คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบการเพิ่มทุนเพื่อชำระค่าหุ้นสามัญเพิ่มทุนในส่วนแรกในสัดส่วนของกระทรวงการคลัง จำนวน 90 ล้านบาท สำหรับบริษัทฯ นำไปใช้จ่ายในการทบทวนการศึกษาความเป็นไปได้และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็น เพื่อคงสัดส่วนการถือหุ้นของรัฐบาลเจ้าของโครงการตาม Basic Agreementและเพื่อให้โครงการสามารถดำเนินงานต่อไปได้ 2. สำหรับแหล่งเงินที่จะใช้ในการเพิ่มทุน หากคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามข้อ 1 แล้วเห็นสมควรมอบหมายให้กระทรวงการคลังพิจารณาใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่าย งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อชำระค่าหุ้นสามัญเพิ่มทุนในส่วนแรกตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป สาระสำคัญ 1) โครงการเหมืองแร่โพแทชของอาเซียน จังหวัดชัยภูมิ เป็นโครงการทำเหมืองใต้ดินแร่โพแทชและเกลือหิน เมื่อนำแร่โพแทชที่ได้จากการทำเหมืองเข้าสู่กระบวนการแต่งแร่ จะได้โพแทสเซียมคลอไรด์ (KCl) ประมาณ 17 ล้านตัน และเกลือหินจากการทำเหมืองประมาณ 7.7 ล้านตัน มูลค่าแหล่งแร่รวมทั้งสิ้นประมาณ 200,000 ล้านบาท 2) การพัฒนาเหมืองใต้ดิน โครงการได้เคยเตรียมการพัฒนาเหมืองใต้ดินในขั้นต้นเพื่อการผลิตแร่โพแทชไว้แล้ว โดยได้ขุดเจาะอุโมงค์แนวเอียง ขนาดความกว้าง 6 เมตร สูง 3 เมตร ยาว 935 เมตร ลงสู่ใต้ดินที่ระดับความลึก 180 เมตร จากระดับผิวดิน เพื่อใช้เป็นอุโมงค์เข้าสู่เหมืองใต้ดินและเพื่อการขนส่งและได้เจาะอุโมงค์แนวราบยาวประมาณ 1,000 เมตร เข้าสู่ชั้นแร่เพื่อผลิตแร่ และได้ทดลองผลิตแร่โพแทชที่มีห้องผลิตแร่ขนาดความกว้าง 15 มตร ยาว 60 เมตร สูง 25 เมตร จำนวน 3 ห้องผลิตแร่ ซึ่งแต่ละห้องผลิตแร่จะถูกกั้นด้วยเสาค้ำยันขนาดความกว้าง 20 เมตร โดยไม่พบปัญหาด้านวิศวกรรม และมีความพร้อมที่จะพัฒนาเป็นเหมืองใต้ดินต่อไป 3) โครงการเหมืองแร่โพแทชของอาเซียน ได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ(Feasibility Study) จำนวน 2 ครั้ง ได้แก่ (1) บริษัท Jacobs Solutions Inc. (เดิมชื่อ บริษัท Jacobs Engineering Group Inc.) ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นบริษัทที่ให้บริการด้านเทคนิคระดับมืออาชีพระหว่างประเทศโดยให้บริการด้านวิศวกรรมเทคนิคและการก่อสร้าง ได้ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการในปี พ.ศ. 2538 พบว่าอัตราผลตอบแทนของโครงการ (Internal Rate of Return : IRR) เท่ากับร้อยละ 12.2 (2) บริษัท ERCOSPLAN ประเทศเยอรมันนี เป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาและบริการด้านวิศวกรรมสำหรับอุตสาหกรรมแร่โพแทชและเกลือแร่ ได้ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการในปี พ.ศ. 2562 พบว่า IRR ของโครงการ เท่ากับร้อยละ 12.1 4) อุตสาหกรรมแร่โพแทชได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากช่วงเวลาที่ได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งต้นทุนและเทคโนโลยีการผลิต ปริมาณอุปสงค์และอุปทานในตลาดซึ่งปัจจุบันเกิดการขาดแคลนปุ๋ยและปุ๋ยมีราคาสูงขึ้น จึงจำเป็นต้องศึกษาความเหมาะสมและความคุ้มค่าของโครงการบนพื้นฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน 45. เรื่อง การประชุมระดับรัฐมนตรีบิมสเทค ครั้งที่ 19 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีบิมสเทค ครั้งที่ 19 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐณตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีบิมสเทค ครั้งที่ 19 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ สาระสำคัญ 1. ร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีบิมสเทค ครั้งที่ 19 เป็นเอกสารผลลัทธ์ของการประชุมที่แสดงถึงเจตจำนงร่วมกันของประเทศสมาชิก 2. ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ มีสาระสำคัญ ดังนี้ 1) รับรองร่างวิสัยทัศน์กรุงเททฯ 2030 และเสนอแนะต่อที่ประชุมผู้นำบิมสเทค ครั้งที่ 6 เพื่อรับรอง โดยวิสัยทัศน์กรุงเทพฯ 2030 จะเป็นปณิธานร่วมกันเพื่อนำบิมสเทคไปสู่ความมั่งคั่ง ยั่งยืน ฟื้นคืน และเปิดกว้าง โดยจะเชื่อมโยงกันทั้งทางกายภาพและสายสัมพันธ์แห่งมิตรภาพและความไว้เนื้อเชื่อใจ 2) ชื่นชมการทำงานของคณะกรรมการถาวรบิมสเทคในการจัดทำกฎระเบียบสำหรับกลไกการดำเนินงานภายใต้กรอบบิมสเทค (Rules of Procedure for BIMSTEC Mechanisms) และขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะผู้ทรงคุณวุฒิว่าด้วยทิศทางในอนาคตของบิมสเทค (Terms of Reference for Eminent Persons? Group on the Future Directions of BIMSTEC) และจะเสนอต่อที่ประชุมผู้นำบิมสเทค ครั้งที่ 6 เพื่อให้การรับรองต่อไป 3) เห็นชอบกฎการบริหารและดำเนินการทางวินัยของสำนักเลขาธิการบิมสเทค(Administrative and Disciplinary Rules of the Secretariat) 4) รับทราบการนำเสนอสถานะ พัฒนาการในสาขาความร่วมมือต่าง ๆ ของแต่ละประเทศนำ และรับรองผลการประชุมระดับคณะทำงานภายใต้สาขาความร่วมมือในกรอบบิมสเทค 5) เห็นชอบร่างสุดท้ายของความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการขนส่งทางทะเล(Finalized text of the Agreement on Maritime Transport Cooperation) 6) เห็นชอบการผนวกรวมประเด็นเศรษฐกิจภาคทะเล (Blue Economy) เศรษฐกิจภาคภูเขา (Mountain Economy) และการบรรเทาปัญหาความยากจน (Poverty Alleviation) เข้าไปอยู่ในสาขาความร่วมมือบิมสเทค 46. เรื่อง การถอนคำแถลงตีความของอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and other Cruel, Inhuman or degrading Treatment or Punishment : CAT) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการถอนคำแถลงตีความของอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and other Cruel, Inhuman or degrading Treatment or Punishment : CAT) (อนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ) รวมทั้งมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการเสนอเรื่องการถอนคำแถลงตีความอนุสัญญาฯ ต่อสหประชาชาติต่อไปตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ สาระสำคัญ 1. อนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ เป็นหนึ่งในสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งรับรองโดยข้อมติสมัชชาสหประชาชาติที่ 39/46 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2527 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2530 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดการกระทำทรมาน การประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรีโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งปัจจุบันมีประเทศเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฉบับดังกล่าวแล้วทั้งสิ้น 173 ประเทศ (ไทยเข้าเป็นภาคีด้วยวิธีการภาคยานุวัติ1 เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2550 และมีผลบังคับใช้กับไทยตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550) 2. ยธ. แจ้งว่า ปัจจุบันได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 (พระราชบัญญัติฯ) (มีผลบังคับใช้ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ยกร่างขึ้นเพื่ออนุวัติการตามกฎหมายระหว่างประเทศ 2 ฉบับ ได้แก่ (1) อนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ และ (2) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ โดยได้มีการกำหนดรายละเอียดที่สอดคล้องตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ ไว้แล้ว ดังนี้ ข้อบท เหตุผล 1. ข้อบทที่ 1 คำนิยามการทรมาน มีการกำหนดความผิดฐานการกระทำทรมานตามมาตรา 5 ของพระราชบัญญัติฯ ซึ่งสอดคล้องกับนิยามความผิดฐานทรมานตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ เรียบร้อยแล้ว 2. ข้อบทที่ 4 การกำหนดให้การทรมานทั้งปวงเป็นความผิดที่ลงโทษได้ตามกฎหมายอาญา รวมถึงนำหลักการนี้ไปใช้กับการพยายาม การสมรู้ร่วมคิด และการมีส่วนร่วมในการกระทำทรมาน เนื่องจากมีการกำหนดบทลงโทษทางอาญาต่อการกระทำทรมานในทุกกรณีตามมาตรา 35 และสำหรับความผิดต่อผู้สมคบตามมาตรา 39 และผู้สนับสนุนตามมาตรา 40 ของพระราชบัญญัติฯ เรียบร้อยแล้ว สำหรับกรณีการพยายามกระทำความผิดสามารถปรับใช้กับประมวลกฎหมายอาญาได้ ข้อบทที่ 5 เขตอำนาจศาลสากลเหนือความผิดฐานกระทำทรมาน เนื่องจากมีการกำหนดความผิดและบทลงโทษฐานการกระทำทรมานตามมาตรา 5 เขตอำนาจศาลสากลตามมาตรา 8 รวมทั้งไม่ให้เป็นความผิดทางการเมืองตามมาตรา 9 ของพระราชบัญญัติฯ เรียบร้อยแล้ว ส่งผลให้ไทยสามารถถอนคำแถลงตีความทั้ง 3 ประเด็น ของข้อบทที่ 1 4 และ 5 ได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับประเด็นข้อสงวนเรื่องการไม่รับอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไทยยังคงข้อสงวนดังกล่าวไว้ต่อไป ซึ่งเป็นไปตามแนวทางเดียวกันกับสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศฉบับอื่น ๆ ทั้งนี้ ยธ. แจ้งว่า การดำเนินการถอนคำแถลงตีความดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ไทยหลายประการ คือ (1) เป็นการแสดงความมุ่งมั่นและตั้งใจจริงในการปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ ในฐานะ รัฐภาคีโดยสมบูรณ์ (2) เป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีด้านสิทธิมนุษยชน สร้างการยอมรับและความน่าเชื่อถือให้กับไทยและ (3) เป็นการยืนยันเจตนารมณ์ในการคุ้มครองสิทธิในชีวิต ร่างกาย และเสรีภาพตามหลักสิทธิมนุษยชนสากลให้กับประชาชน 1การภาคยานุวัติ (Accession) คือการขอเข้าร่วมเป็นภาคีของความตกลงระหว่างประเทศในภายหลังจากที่ความตกลงนั้นได้ผ่านกระบวนการเจรจาและลงนามจากสมาชิกแรกก่อตั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 47. เรื่อง การเข้าร่วมเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (CEPA) ระหว่างไทยกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบการเข้าร่วมเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (Comprehensive Economic Partnership Agreement: CEPA) กับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (United Arab Emirates: UAE) ของไทย 2. เห็นชอบกรอบการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 3. เห็นชอบร่างเอกสารขอบเขต (TOR) สำหรับการเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารดังกล่าวที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก 4. ในกรณีที่ต้องลงนามในร่างเอกสารขอบเขต (TOR) สำหรับการเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ให้อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ หรือ ผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในร่างเอกสารขอบเขต (TOR) สำหรับการเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 5. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ร่วมประกาศหรือออกแถลงการณ์เปิดการเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และร่วมให้ความเห็นชอบเอกสารขอบเขต (TOR) สำหรับการเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับสหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ สาระสำคัญ 1) ปัจจุบัน ไทยมีความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) 14 ฉบับ กับ 18ประเทศ โดยความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) เป็น FTA ฉบับล่าสุดที่มีผลใช้บังคับเมื่อต้นปี 2565 ส่งผลให้ไทยมีมูลค่าการค้ากับ 18 ประเทศ ที่มี FTAs ด้วย ครอบคลุมร้อยละ 61 ของการค้าไทยกับโลก อีกทั้งไทยยังมีแผนที่จะจัดทำ FTA กับคู่ค้าสำคัญอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ยาติ (2561 - 2580) ที่จะทำให้ไทยมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจรักษาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย ขณะเดียวกันกระทรวงพาณิชย์มีนโยบายให้ขยายการจัดทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศคู่ค้าต่าง ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสการค้าและการลงทุนของไทย ซึ่ง UAE ถือเป็นตลาคที่มีศักยภาพ โดยในปี 2565 UAE เป็นประเทศคู่ค้าลำดับที่ 6 ของไทยในตลาดโลก และลำดับที่ 1 ในตะวันออกกลาง 2) ร่างกรอบการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับ UAE ได้จัดทำขึ้น โดยใช้กรอบการเจรจา FTA ไทย - สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association: EFTA) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2565 เป็นหลักในการยกร่าง โดยมีเป้าหมายให้การเจรจาในภาพรวมเกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศ และคำนึงถึงความพร้อม ระดับการพัฒนาและภูมิคุ้มกันของไทย ตลอดจนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยร่างกรอบเจรจาฯ มีเนื้อหาครอบคลุม 20 หัวข้อได้แก่ (1) วัตถุประสงค์และเป้าหมายการเจรจาในภาพรวม (2) การค้าสินค้า (3) กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (4) พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า (5) มาตรการปกป้องและเยียวยาทางการค้า (6) มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (7) อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (8) การค้าบริการ (9) การลงทุน (ในกรณีที่มีการเจรจา) (10) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์/การค้าดิจิทัล (11) ทรัพย์สินทางปัญญา (12) การแข่งขัน(ในกรณีที่มีการเจรจา) (13) การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ (14) การค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน (ในกรณีที่มีการเจรจา) (15) วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (16) ความโปร่งใส (ในกรณีที่มีการเจรจา) (17) ความร่วมมือและการเสริมสร้างศักยภาพ (18) ข้อบททั่วไป ข้อบทสุดท้าย และข้อบทเชิงสถาบัน (19) การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ และ (20) เรื่องอื่น ๆ (ในกรณีที่มีการเจรจา) 3) ร่างเอกสารขอบเขต (TOR) สำหรับการเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นการทำความเข้าใจร่วมกันในเบื้องต้นถึงประเด็นและรูปแบบการเจรจาของทั้งสองฝ่าย โดยมีเนื้อหาครอบคลุม (1) วัตถุประสงค์ (2) หลักการของการเจรจา (3) การเปิดเสรีภาษีศุลกากรและการค้าบริการ (4) ขอบเขตและความครอบคลุมของความตกลง CEPA ได้แก่ การค้าสินค้า กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า มาตรการเยียวยาทางการค้า การลงทุน การค้าบริการ การค้าดิจิทัล ความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ ทรัพย์สินทางปัญญา วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ รวมถึงการเสริมสร้างขีดความสามารถและความร่วมมือทางวิชาการ การระงับข้อพิพาท ความโปร่งใส ข้อยกเว้น การบริหารความตกลง และข้อบทสุดท้าย (5) ระเบียบวิธีการเจรจา (6) การแลกเปลี่ยนข้อมูลและร่างข้อบทการเจรจา และ (7) การบริหารจัดการเจรจา ทั้งนี้ มิได้เป็นการผูกมัดผลการเจรจาที่จะเกิดขึ้น ทั้งนี้ ในการจัดทำร่างเอกสารตามข้อ 2) และ 3) กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้หารือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว ประโยชน์และผลกระทบ (1) การจัดทำความตกลงฯ จะช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น ความยากจนลดลง สนับสนุนให้สวัสดิการสังคมเพิ่มขึ้นจากการได้รับสินค้าและบริการในราคาที่ถูกลง ทั้งในด้านสินค้าบริการเพื่อการบริโภค และวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต นอกจากนี้ ยังสร้างแต้มต่อทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย (2) กลุ่มสินค้าที่คาดว่าไทยจะส่งออกไป UAE เพิ่มขึ้น อาทิ ผลิตภัณฑ์อาหาร สิ่งทอ เครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์หนังสัตว์ ผลิตภัณฑ์ไม้ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก โลหะที่มิใช่เหล็ก เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือและเครื่องจักร ยานยนต์และชิ้นส่วน (3) กลุ่มสินค้าที่คาดว่าไทยจะนำเข้าจาก UAE มากขึ้น อาทิ น้ำมันและไขมันที่ได้จากพืช เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์โลหะ ยานยนต์และชิ้นส่วน (4) สาขาบริการที่คาดว่าไทยกับ UAE จะซื้อขายระหว่างกันเพิ่มขึ้น อาทิ การขนส่ง การเงิน และบริการด้านธุรกิจ 48. เรื่อง ร่างยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมกรอบความร่วมมือล้านช้าง - แม่โขง และแผนการดำเนินงานพ.ศ. 2566 ? 2570 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมกรอบความร่วมมือ ล้านช้าง - แม่โขง และแผนการดำเนินงาน พ.ศ. 2566 ? 2570 รวมทั้งอนุมัติให้ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้การรับรองร่างยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมกรอบความร่วมมือล้านช้าง - แม่โขง และแผนการดำเนินงาน พ.ศ. 2566 ? 2570 ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำกลับไปเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ สาระสำคัญ ร่างยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมกรอบความร่วมมือล้านช้าง - แม่โขง และแผนการดำเนินงาน พ.ศ. 2566 - 2570 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ 1. วัตถุประสงค์ของร่างยุทธศาสตร์ฯ ประกอบด้วย (1) อำนวยความสะดวกในการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับภูมิภาคและการเติบโตอย่างครอบคลุมเพื่อจัดการกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลกและระดับภูมิภาค และส่งเสริมการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติของประเทศสมาชิกล้านช้าง - แมโขง (2) จัดเตรียมเวทีสำหรับการหารือนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาระหว่างประเทศล้านช้าง - แม่โขง และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อาทิ รัฐบาลท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม และคลังความคิด (Think Tank) (3) มุ่งสู่การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างยั่งยืนและการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม (4) ยกระดับความร่วมมือในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปรับปรุงขีดความสามารถในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และส่งเสริมการแบ่งปันความรู้ระดับภูมิภาคเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (5) อำนวยความสะดวกในการดำเนินความร่วมมือการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในเมืองและชนบทของประเทศสมาชิกล้านช้าง - แม่โขง ส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และปรับปรุงศักยภาพการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในระดับภูมิภาค และ (6) ส่งเสริมการแบ่งปันความรู้ด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนในภูมิภาค และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมในระดับภูมิภาค 2. ขอบเขตความร่วมมือและการดำเนินงานภายใต้ร่างยุทธศาสตร์ฯ ประกอบด้วย (1) การเสวนาโต๊ะกลมและการเสริมสร้างศักยภาพ (2) การบริหารจัดการระบบนิเวศและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ (3) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (4) การปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม และ (5) การแบ่งปันความรู้และการสร้างความตระหนัก ทั้งนี้ ร่างยุทธศาสตร์ฯ และแผนการดำเนินงาน พ.ศ. 2566 - 2570 เป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการ 5 ปี ของกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (ค.ศ. 2023-2027) สำหรับเป็นกรอบแนวทางการดำเนินความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมล้านช้าง - แม่โขงในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยไม่ได้ผูกพันให้แต่ละประเทศสมาชิกต้องดำเนินการ และรูปแบบของการดำเนินความร่วมมือเป็นการสัมมนาโครงการฝึกอบรม การแลกเปลี่ยน การสาธิต และโครงการนำร่อง ในรูปแบบความร่วมมือพหุภาคีเป็นหลัก 49. เรื่อง ร่างเอกสารที่จะมีการรับรองและลงนามในระหว่างการประชุม The 1st Asia Zero Emission Community (AZEC) Ministerial Meeting คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมสำหรับการประชุม The 1st Asia Zero Emission Community (AZEC) Ministerial Meeting และร่างบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนด้านเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน ระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น (Memorandum of Cooperation on the Carbon Capture, Utilization and Storage Technology Partnership between the Ministry of Energy of the Kingdom of Thailand and the Ministry of Economy, Trade and Industry of Japan) 2. อนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน) เป็นผู้ให้การรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ดังกล่าว 3. อนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน) เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความร่วมมือฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างแถลงการณ์ร่วมฯ และบันทึกความร่วมมือฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงพลังงานนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง สาระสำคัญ 1. ร่างแถลงการณ์ร่วมสำหรับการประชุม The 1st Asia Zero Emission Community (AZEC) Ministerial Meeting 1.1 ความร่วมมือภายใต้ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของประเทศญี่ปุ่นและประเทศพันธมิตรจำนวน 10 ประเทศ ในการมุ่งไปสู่การเปลี่ยนผ่านทางพลังงานในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีความต้องการใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้นอันเนื่องมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ เพื่อมุ่งไปสู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานร่วมกัน โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวทางที่หลากหลายและความสามารถในการปฏิบัติได้จริงตามสถานการณ์ของแต่ละประเทศ 1.2 ขอบเขตของความร่วมมือระหว่างประเทศพันธมิตรภายใต้ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ จะมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดเวทีหารือเชิงนโยบายและการดำเนินโครงการความร่วมมือเกี่ยวกับการร่วมพัฒนายุทธศาสตร์ แผนงาน รวมถึงเทคโนโลยีการลดคาร์บอน เช่น การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ พลังงานทดแทน ไฮโดรเจน แอมโมเนีย พลังงานชีวภาพ CCUS และธุรกิจการลดการปล่อยคาร์บอนที่หลากหลาย นอกจากนี้ ประเทศพันธมิตรจะร่วมกันพิจารณาให้การสนับสนุนทางด้านการเงินสำหรับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการลดการปล่อยคาร์บอนและการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานพลังงานสะอาด ตลอดจนการประสานความร่วมมือในการพัฒนามาตรฐานเทคโนโลยีการลดการปล่อยคาร์บอนและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 2. ร่างบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนด้านเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน ระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงเศรษฐกิจการค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น 2.1 ความร่วมมือภายใต้ร่างบันทึกความร่วมมือฯ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทยและญี่ปุ่นในการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม ตลอดจนการส่งเสริมการลงทุนด้านเทคโนโลยี CCUS และความร่วมมือที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการลดการปล่อยคาร์บอนในภาคพลังงานและมุ่งไปสู่การเปลี่ยนผ่านทางพลังงานร่วมกัน 2.2 ขอบเขตของความร่วมมือเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ ประสบการณ์ และการดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี CCUS ระหว่างคู่ภาคีภายใต้ร่างบันทึกความร่วมมือนี้ ได้แก่ 1) การหารือแบบทวิภาคี 2) การแลกเปลี่ยนข้อมูลและสถิติด้านพลังงานที่มีอยู่ในแหล่งข้อมูลที่เปิดเผยได้อย่างสม่ำเสมอ 3) การฝึกอบรม การพัฒนาทักษะ และแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ 4) การส่งเสริมการลงทุนร่วมกันระหว่างสองประเทศและ/หรือในประเทศที่สาม 5) การดำเนินโครงการและเผยแพร่โครงการความร่วมมือ และ 6) ความร่วมมืออื่น ๆ ตามแต่คู่ภาคีจะกำหนดร่วมกัน 2.3 การประสานความร่วมมือภายใต้ร่างบันทึกความร่วมมือฯ คู่ภาคีจะดำเนินกิจกรรมความร่วมมือผ่านกรอบการประชุม JTEPD เพื่อเป็นกลไกในการผลักดันกิจกรรมความร่วมมือภายใต้ขอบเขตของความร่วมมือข้างต้น โดยจะมีการจัดตั้งคณะทำงาน (Working Group) เพื่อหารือถึงแนวทางการดำเนินความร่วมมือด้าน CCS/CCUS และความร่วมมือที่เกี่ยวข้อง โดยการมีส่วนร่วมของพันธมิตรสำคัญ ได้แก่ บริษัทญี่ปุ่นที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การเพื่อความมั่นคงด้านโลหะและพลังงานแห่งประเทศญี่ปุ่น และบริษัทและ/หรือหน่วยงานของไทยที่ได้รับการยืนยันจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ โดยคณะทำงานจะมีการรายงานความคืบหน้าการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ต่อที่ประชุม JTEPD ตามความจำเป็น ทั้งนี้ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (Ministry of Economy, Trade and Industry: METI) ประเทศญี่ปุ่น มีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม The 1st Asia Zero Emission Community (AZEC) Ministerial Meeting ในวันที่ 4 มีนาคม 2566 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีหารือร่วมกันในระดับรัฐมนตรีในประเด็นความท้าทายของประเทศในภูมิภาคเอเชียเพื่อมุ่งไปสู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ตลอดจนความพยายามร่วมกันในการผลักดันให้เกิดโครงการด้านพลังงานสะอาด การสนับสนุนทางด้านการเงิน การใช้เทคโนโลยีรูปแบบใหม่และเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ เพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางพลังงานควบคู่ไปกับการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของภูมิภาค โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มีกำหนดการเดินทางเข้าร่วมการประชุม The 1st Asia Zero Emission Community (AZEC) Ministerial Meeting ในระหว่างวันที่ 3 - 5 มีนาคม 2566 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยจะให้การรับรองแถลงการณ์ร่วมสำหรับการประชุมฯ และลงนามในบันทึกความร่วมมือฯ ในระหว่างการเดินทางเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวด้วย ซึ่งจะเป็นโอกาสอันดีที่ทั้งสองประเทศจะได้ขยายความร่วมมือในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage: CCUS) ให้มีความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น แต่งตั้ง 50. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง นางสาววิลาวรรณ พยาน้อย รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการเงินการคลัง (นักวิชาการคลังทรงคุณวุฒิ) กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 51. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอแต่งตั้ง นางสาวกัลยา ชินาธิวร ผู้อำนวยการกอง (ผู้อำนวยการระดับสูง) กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านต่างประเทศ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กลุ่มที่ปรึกษา สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2565 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 52. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้ 1. นางสาวบุญศิริ จันศิริมงคล นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาจิตเวช) โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ กรมสุขภาพจิต ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาจิตเวช) โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ กรมสุขภาพจิต ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2565 2. นายไชยเวช ธนไพศาล ผู้อำนวยการโรงพยาบาล [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) ระดับสูง] โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม) โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2565 3. นายไพฑูรย์ สมุทรสินธุ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาจิตเวช) โรงพยาบาลศรีธัญญา กรมสุขภาพจิต ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาจิตเวช) สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต ตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม 2565 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 53. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้ 1. นายสิริพงศ์ สิริกุลพิบูลย์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม) กลุ่มงานศัลยศาสตร์ ภารกิจด้านวิชาการและการแพทย์ โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม) โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 2. นายกำธร ลีลามะลิ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2565 3. นายวิรัช ทุ่งวชิรกุล นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาโสต ศอ นาสิก) โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาโสต ศอ นาสิก) โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม 2565 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 54. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นางสาวเบ็ญจมาส พฤกษ์กานนท์ ผู้อำนวยการกอง (ผู้อำนวยการระดับสูง) กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมสุขภาพจิต ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงสุขภาพจิตชุมชน) กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2565 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 55. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอแต่งตั้ง นางสาวศศิธร พลัตถเดช ผู้อำนวยการกอง (ผู้อำนวยการระดับสูง) กองยุทธศาสตร์และประสานการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน 2565 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 56. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้ง นายพิษณุ โสภณ กงสุลใหญ่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ซึ่งการแต่งตั้งข้าราชการให้ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศดังกล่าว ได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ 57. เรื่อง ขอความเห็นชอบการแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอการแต่งตั้ง พลตำรวจโท พรชัย สุธีรคุณ ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (ตามมติคณะกรรมการมาตรวิทยาแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565) เนื่องจากผู้อำนวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติเดิมพ้นจากตำแหน่งตามกำหนดเวลาในสัญญาจ้าง เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2565 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาจ้างเป็นต้นไป แต่ไม่ก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ 58. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงยุติธรรม) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงยุติธรรม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้ 1. นายไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถาบัน นิติวิทยาศาสตร์ 2. พันตำรวจตรี สุริยา สิงหกมล ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 59. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงศึกษาธิการ) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง นายยศพล เวณุโกเศศ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ให้ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 60. เรื่อง แต่งตั้งอะมีรุ้ลฮัจย์ หรือรออิสบิซาตุลฮัจย์ อัลรัสมียะห์ (หัวหน้าคณะผู้แทนฮัจย์ทางการ) ประจำปี พ.ศ. 2566 (ฮ.ศ. 1444) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง นายซากีย์ พิทักษ์คุมพล เป็นอะมีรุ้ลฮัจย์ หรือรออิสบิซาตุลฮัจย์ อัลรัสมียะห์ (หัวหน้าคณะผู้แทนฮัจย์ทางการ) ประจำปี พ.ศ. 2566 (ฮ.ศ. 1444) โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้ง (28 กุมภาพันธ์ 2566) จนเสร็จสิ้นการประกอบพิธีฮัจย์ ประจำปี พ.ศ. 2566 (ฮ.ศ. 1444) 61. เรื่อง การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญ (พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร) เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอรับโอน พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) (นักบริหารระดับสูง เงินประจำตำแหน่ง 21,000 บาท) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นักบริหารระดับสูง เงินประจำตำแหน่ง 21,000 บาท) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ตามกรอบอัตรากำลังชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 9/2562 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ บางฉบับที่หมดความจำเป็น ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พุทธศักราช 2562 ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อประโยชน์ของทางราชการและสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจจากนายกรัฐมนตรี ให้กำกับการบริหารราชการสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบ 62. เรื่อง การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญ (นางสาวสุลักขณา ธรรมานุสติ) เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอรับโอน นางสาวสุลักขณา ธรรมานุสติ รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (รองเลขาธิการ ก.พ.) (นักบริหารระดับสูง เงินประจำตำแหน่ง 14,500 บาท) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) สำนักนายกรัฐมนตรี มาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นักบริหารระดับสูง เงินประจำตำแหน่ง 21,000 บาท) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ตามกรอบอัตรากำลังชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 9/2562 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ บางฉบับที่หมดความจำเป็น ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พุทธศักราช 2562 เพื่อประโยชน์ของทางราชการและสำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจจากนายกรัฐมนตรี ให้กำกับการบริหารราชการสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบ และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมการโอนแล้ว 63. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอการแต่งตั้งนางสาวสุภาพิชญ์ ไชยดิษฐ์ ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป 64. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีอีกหนึ่งวาระ จำนวน 4 ราย ดังนี้ 1. นายสมัย ลี้สกุล โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2566 2. นายนิรุตติ สุทธินนท์ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2566 3. นางลลิตา สิริพัชรนันท์ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2566 4. นายประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2566 65. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งนายอรรถพล อรรถวรเดช เป็นกรรมการในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป และ ให้ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน 66. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการการประปานครหลวง คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้ง นายโชตินรินทร์ เกิดสม ให้เป็นกรรมการ (ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย) ในคณะกรรมการการประปานครหลวง แทนกรรมการเดิมที่พ้นจากตำแหน่ง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเข้าแทนนี้ ย่อมอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน 67. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ประธานกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเสนอแต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ประวิต เอราวรรณ์ เป็น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา แทน รองศาสตราจารย์ทิศนา แขมมณี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป และผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว 68. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน แทนตำแหน่งที่ว่าง คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) เสนอแต่งตั้ง นายฉัตรชัย พรหมเลิศ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน แทนตำแหน่งที่ว่าง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป