สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 มีนาคม 2566

ข่าวการเมือง Wednesday March 15, 2023 09:45 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (14 มีนาคม 2566)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลป่างิ้ว ตำบลศาลา                                        แดง ตำบลย่านซื่อ ตำบลตลาดกรวด ตำบลบ้านรี อำเภอเมืองอ่างทอง และตำบล                                        ชัยฤทธิ์ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง พ.ศ. ....
                    2.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลฝั่งแดง ตำบลน้ำ                                        ก่ำ ตำบลธาตุพนม ตำบลธาตุพนมเหนือ และตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม                                         จังหวัดนครพนม พ.ศ. ....
                    3.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลศรีบุญเรือง ตำบล                                        หันนางาม และตำบลเมืองใหม่ อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู พ.ศ. ....
                    4.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับ                                        สัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. ....
                    5.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าอากรใบอนุญาตให้ใช้เครื่องมือทำการประมง และ                                                  ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน รอบปีการประมง 2566 ? 2567                                         พ.ศ. ....
                    6.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ-สังคม
                    7.           เรื่อง           ขออนุมัติโครงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4G/5G บนคลื่น 700 MHz ของบริษัท                                                   โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)
                    8.           เรื่อง           การเยียวยาค่าตอบแทนใบประกอบโรคศิลปะเภสัชกรขององค์การเภสัชกรรม
                    9.           เรื่อง           การกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย                                                  ขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2565/2566
                    10.           เรื่อง            การจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร กรณีสำนักงานการ                                        บินพลเรือนแห่งประเทศไทย และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบัน                                                  การเงิน
                    11.           เรื่อง           รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประจำครึ่ง                                        หลังของปี พ.ศ. 2565
                    12.           เรื่อง           สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการ                                                  นายกรัฐมนตรีครั้งที่ 21 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 - 31 ธันวาคม 2565)
                    13.           เรื่อง            รายงานความคืบหน้าของการดำเนินงานการพัฒนาพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน
                    14.           เรื่อง            รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนธันวาคม 2565
                    15.           เรื่อง           แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด พ.ศ. 2566-2570 ฉบับทบทวน แผนปฏิบัติ                                                  ราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และ                                                  ข้อเสนอโครงการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่สอดคล้อง                                        กับเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค พ.ศ. 2566-2570
                    16.           เรื่อง           ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการ                                        เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาอุทกภัย                                        ระยะเร่งด่วนในพื้นที่เจ้าพระยาใหญ่
                    17.           เรื่อง           ร่างนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2565-2567                                         และร่างแผนปฏิบัติการด้านการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.                                         2566-2570 รวม 2 ฉบับ
                    18.           เรื่อง           การปรับเพิ่มเงินค่าตอบแทนของผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วน                                                  ตำบล (ร่างระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินค่าตอบแทนนายกองค์การ                                                  บริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภาองค์การ                                                  บริหารส่วนตำบล รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การ                                        บริหารส่วนตำบล เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และเลขานุการสภา                                        องค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    19.           เรื่อง           การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์                                        การดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3                                                   จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปรับปรุงใหม่)
                    20.           เรื่อง           ขออนุมัติดำเนินโครงการทางพิเศษฉลองรัชส่วนต่อขยาย (ช่วงจตุโชติ-ถนนลำลูกกา)                                         ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
                    21.           เรื่อง           โครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนอุบลรัตน์                                         ชุดที่ 1
                    22.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบโครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยในชุมชนที่                                                  ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาระบบราง
                    23.           เรื่อง           การเปิดโครงข่ายขยายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต                                                   (โครงการงบ Big Rock) ตามหลักการโครงข่ายแบบเปิด (Open Access                                                   Network)
                    24.           เรื่อง           มาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ (พ.ศ. 2566-2570)
                    25.           เรื่อง           โครงการประกันรายได้เกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และมาตรการคู่ขนาน ปี                                         2565/66 และปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการ                                                  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบขพ.)
                    26.           เรื่อง           ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้ง                                        ที่ 1/2566 และผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้                                                  ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2566 และ                                        ครั้งที่ 4/2566
                    27.           เรื่อง           การปรับเพิ่มอัตราเงินตอบแทนตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล                                                   สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความ                                        สงบ และขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565                                         เรื่อง แนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปี                                                  งบประมาณ พ.ศ. 2567
                    28.           เรื่อง           (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ระยะที่ 1

พ.ศ. 2566-2570

ต่างประเทศ
                    29.           เรื่อง           ขออนุมัติการลงนามในข้อตกลงการดำเนินการว่าด้วยความร่วมมือด้านประมง                                                  ระหว่างไทย-ไต้หวัน (Implementing Arrangement between the Thailand                                         Trade and Economic Office in Taipei and the Taipei Economic and                                                   Cultural office in Thailand on Fisheries Cooperation: IA)
                    30.           เรื่อง           การแจ้งยืนยันความพร้อมของไทยในการปฏิบัติตามแนวทางและหลักเกณฑ์ใหม่                                        สำหรับประเทศคู่เจรจาของกรอบการประชุมหมู่เกาะแปซิฟิก (Pacific Islands                                         Forum: PIF)
                    31.           เรื่อง           การประชุม Intergovernmental Negotiation Body และการประชุม Working                                         Group on Amendments to the International Health Regulations (2005)
                    32.            เรื่อง           การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุน                                                  การเงินระหว่างประเทศ ปี 2569
                    33.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบ (ร่าง) ข้อตกลงความร่วมมือโครงการเสริมสร้างความสามารถใน                                        การรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในลุ่มน้ำของประเทศไทย ด้วยการ                                        บริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและการเกษตรแบบยั่งยืน
                    34.           เรื่อง           แผนจัดการระดับชาติเพื่อการปฏิบัติตามอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่                                        ตกค้างยาวนาน ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 - 2570
                    35.           เรื่อง            ขออนุมัติลงนามร่างสนธิสัญญาระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหพันธรัฐรัสเซียว่า                                        ด้วยการส่งผู้รายข้ามแดนและการดำเนินการให้สนธิสัญญาฯ มีผลใช้บังคับ
                    36.           เรื่อง           ร่างเอกสารการขยายระยะเวลาของความตกลงว่าด้วยความมั่นคงทางปิโตรเลียม                                        ของอาเซียน (Instrument of Extension of the ASEAN Petroleum Security                                         Agreement)

แต่งตั้ง
                    37.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
                    38.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                    39.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
                    40.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                    41.           เรื่อง           การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
                    42.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการเมือง (กระทรวงแรงงาน)
                    43.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                    44.           เรื่อง          การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ                                                  สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
                    45.           เรื่อง           แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการองค์การสะพานปลา
                    46.           เรื่อง           แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการยางแห่ง                                        ประเทศไทย
                    47.           เรื่อง           การแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการในคณะกรรมการผังเมืองแทนตำแหน่งที่ว่าง
                    48.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22
                    49.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
                    50.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ
                    51.          เรื่อง          การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
?
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลป่างิ้ว ตำบลศาลาแดง ตำบลย่านซื่อ ตำบลตลาดกรวด ตำบลบ้านรี อำเภอเมืองอ่างทอง และตำบลชัยฤทธิ์ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลป่างิ้ว ตำบลศาลาแดง ตำบลย่านซื่อ ตำบลตลาดกรวด ตำบลบ้านรี อำเภอเมืองอ่างทอง และตำบลชัยฤทธิ์ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ คค. รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                      ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกา ที่ คค. เสนอ เป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลป่างิ้ว ตำบลศาลาแดง ตำบลย่านซื่อ ตำบลตลาดกรวด ตำบลบ้านรี อำเภอเมืองอ่างทอง และตำบลชัยฤทธิ์ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 377 ทางสายทางเลี่ยงเมืองอ่างทอง ตอนทางเลี่ยงเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง เพื่อพัฒนาโครงข่ายทางหลวงแผ่นดิน และเป็นการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านต่าง ๆ ของประเทศ และแก้ปัญหาการติดขัดของจราจรบนทางหลวง และแก้ไขปัญหาจราจรในตัวเมืองอ่างทอง สนับสนุนการขนส่งทางน้ำผ่านทางเรืออ่างทองในอนาคต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายทางหลวงเชื่อมระหว่างจังหวัดสุพรรณบุรีกับจังหวัดสระบุรี ไปยังพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านจังหวัดอ่างทอง และเป็นการดำเนินการเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจและเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด โดยกรมการปกครองได้ตรวจสอบแผนที่ท้ายร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้แล้ว ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 (เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการตราร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัติที่ต้องจัดให้มีแผนที่ท้าย) และสำนักงบประมาณแจ้งว่าจะจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้กรมทางหลวงเมื่อร่างพระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับแล้ว
                     สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลป่างิ้ว ตำบลศาลาแดง ตำบลย่านซื่อ ตำบลตลาดกรวด ตำบลบ้านรี อำเภอเมืองอ่างทอง และตำบลชัยฤทธิ์ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 377 ทางสายทางเลี่ยงเมืองอ่างทอง ตอนทางเลี่ยงเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง มีกำหนดใช้บังคับ 5 ปี โดยให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืน ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลฝั่งแดง ตำบลน้ำก่ำ ตำบลธาตุพนม ตำบลธาตุพนมเหนือ และตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลฝั่งแดง ตำบลน้ำก่ำ ตำบลธาตุพนม ตำบลธาตุพนมเหนือ และตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา             แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ คค. รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกา ที่ คค. เสนอ เป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลฝั่งแดง ตำบลน้ำก่ำ ตำบลธาตุพนม ตำบลธาตุพนมเหนือ และตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 297 สายทางเลี่ยงเมืองธาตุพนม ตอนทางเลี่ยงเมืองธาตุพนม เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค และเพื่อนำที่ดินไปชดเชยให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืน ทั้งนี้ เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจและเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัดมีกำหนดใช้บังคับ 5 ปี โดยให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืน ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ซึ่งการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 297 สายทางเลี่ยงเมืองธาตุพนม ตอนทางเลี่ยงเมืองธาตุพนม จะเป็นการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดในเขตตัวเมืองอำเภอธาตุพนม เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของโครงข่ายทางหลวง ผู้ใช้ทางได้รับความสะดวกรวดเร็วและความปลอดภัยในการเดินทาง ลดค่าใช้จ่ายในการใช้รถและลดระยะเวลาในการเดินทาง      เพิ่มศักยภาพความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สนับสนุนการพัฒนาและกระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในดัชนีชี้วัดด้านความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยได้ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการพัฒนาด้านการขนส่ง และด้านเศรษฐกิจการค้าชายแดนเชื่อมต่อไปยังคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยกรมการปกครองได้ตรวจสอบแผนที่ท้ายร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวแล้ว ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 (เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการตราร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัติที่ต้องจัดให้มีแผนที่ท้าย) และสำนักงบประมาณแจ้งว่า             จะพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้กรมทางหลวงตามความจำเป็นและเหมาะสม ตามแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณเมื่อร่างพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลฝั่งแดง ตำบลน้ำก่ำ ตำบลธาตุพนม ตำบลธาตุพนมเหนือ และตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 297 สายทางเลี่ยงเมืองธาตุพนม ตอนทางเลี่ยงเมืองธาตุพนม เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค และเพื่อนำที่ดินไปชดเชยให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืน มีกำหนดใช้บังคับ 5 ปี โดยให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืน ภายใน 180 วัน      นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลศรีบุญเรือง ตำบลหันนางาม และตำบลเมืองใหม่ อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลศรีบุญเรือง ตำบลหันนางาม และตำบลเมืองใหม่ อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ คค. รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกา ที่ คค. เสนอ เป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลศรีบุญเรือง ตำบลหันนางาม และตำบลเมืองใหม่ อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 298 สายทางเลี่ยงเมืองศรีบุญเรือง ตอนทางเลี่ยงเมืองศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู มีกำหนดใช้บังคับ 5 ปี โดยให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืน ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ เพื่อช่วยลดปริมาณรถบรรทุกวิ่งผ่านตัวอำเภอศรีบุญเรืองและรองรับปริมาณการจราจรที่จะเพิ่มสูงยิ่งขึ้นในอนาคต รวมทั้งเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจและเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด โดยกรมการปกครองได้ตรวจสอบแผนที่ท้ายร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้แล้ว ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 (เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการตราร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัติที่ต้องจัดให้มีแผนที่ท้าย) และสำนักงบประมาณแจ้งว่าจะจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้กรมทางหลวงเมื่อร่างพระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับแล้ว
                     สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลศรีบุญเรือง ตำบลหันนางาม และตำบลเมืองใหม่ อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 298 สายทางเลี่ยงเมืองศรีบุญเรือง ตอนทางเลี่ยงเมืองศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู มีกำหนดใช้บังคับ 5 ปี โดยให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืน ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ          ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้ กษ. รับความเห็นของสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวง ที่ กษ. เสนอ สืบเนื่องจากได้มีกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2563 เพื่อยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่     7 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 เพื่อลดภาระและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เนื่องจากมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่ง กษ. เห็นว่า ปัจจุบันสถานการณ์ทางเศรษฐกิจยังอยู่ในสภาวะฟื้นตัวจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019     ซึ่งผู้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำดังกล่าวยังได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เห็นควรลดภาระและบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจดังกล่าวให้แก่ผู้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงได้เสนอร่างร่างกฎกระทรวงฉบับนี้เพื่อยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแล้วเห็นชอบด้วยในหลักการ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการล่วงหน้าแล้ว
                    กษ. ได้รายงานประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่จะได้รับตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยคาดว่าการยกเว้นค่าธรรมเนียมตามร่างกฎกระทรวงนี้จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ ประมาณ 50,050,406.74 บาท แต่อย่างไรก็ตาม การยกเว้นค่าธรรมเนียมในครั้งนี้ จะเป็นการลดภาระและบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจให้กับผู้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และส่งเสริมให้เศรษฐกิจมีการฟื้นตัวได้โดยเร็ว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    เป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แก่ผู้ขอรับใบอนุญาตในแต่ละพื้นที่เพียงครั้งเดียว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567

5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าอากรใบอนุญาตให้ใช้เครื่องมือทำการประมง และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน รอบปีการประมง 2566 ? 2567 พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าอากรใบอนุญาตให้ใช้เครื่องมือทำการประมง และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ          ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้ กษ. รับความเห็นของกระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวง ที่ กษ. เสนอ เป็นการยกเว้นค่าอากรใบอนุญาตให้ใช้เครื่องมือทำการประมงและยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้านแก่ผู้ขอรับใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน รอบปีการประมง 2566-2567 ให้แก่ผู้ขอรับใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน เป็นระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงดังกล่าวมีผลใช้บังคับ จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 (ใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้านนี้เป็นการออกใบอนุญาตครั้งแรก นับแต่วันที่มีกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการประมงพื้นบ้าน พ.ศ. 2559) เพื่อเป็นการลดภาระและบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจแก่ผู้ขอรับใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแล้วเห็นชอบด้วยในหลักการ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการล่วงหน้าแล้ว
                    กษ. ได้รายงานประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่จะได้รับตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยคาดว่าการยกเว้นค่าอากรและค่าธรรมเนียมตามร่างกฎกระทรวงนี้จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ ประมาณ 6,653,463.25 บาท แต่อย่างไรก็ตาม การยกเว้นค่าอากรค่าธรรมเนียมในครั้งนี้ จะเป็นการลดภาระและบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และส่งเสริมให้เศรษฐกิจมีการฟื้นตัวได้โดยเร็ว
                     สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    เป็นการยกเว้นค่าอากรใบอนุญาตให้ใช้เครื่องมือทำการประมงและยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้านแก่ผู้ขอรับใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้านสำหรับเรือประมงแต่ละลำเพียงครั้งเดียว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 เพื่อเป็นการลดภาระและบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจแก่ผู้ขอรับใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน

6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ ทส. รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวง ที่ ทส. เสนอ เป็นการปรับปรุงชนิดสัตว์ป่าคุ้มครองจากบัญชีท้ายกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546 โดยแบ่งเป็น 2 บัญชี ได้แก่ บัญชี 1 บัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองที่มิใช่สัตว์น้ำ จำนวน 1,216 รายการ และบัญชี 2 บัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองที่เป็นสัตว์น้ำ จำนวน 90 รายการ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,306 รายการ เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 รวมทั้งปรับเปลี่ยนชื่อไทย หรือชื่อวิทยาศาสตร์ในลำดับชั้นสกุล (genetic name) หรือในลำดับชั้นชนิด (specific name) เพื่อให้สอดคล้องกับข้อมูลทางอนุกรมวิธานปัจจุบัน เพื่อป้องกันมิให้สัตว์ป่าดังกล่าวที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ หรือจำนวนประชากรของสัตว์ป่าชนิดนั้นมีแนวโน้มลดลง อันอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ จึงจำเป็นต้องสงวนและอนุรักษ์ไว้อย่างเข้มงวด ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 และคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    เป็นการกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง โดยบัญชีท้ายกฎกระทรวงนี้ประกอบด้วย บัญชี 1 บัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองที่มิใช่สัตว์น้ำ ได้แก่ (1) จำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จำนวน 176 รายการ (2) จำพวกนก จำนวน 948 รายการ (3) จำพวกสัตว์เลื้อยคลาน จำนวน 68 รายการ (4) จำพวกสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก จำนวน 4 รายการ (5) จำพวกแมลง จำนวน 20 รายการ บัญชี 2 บัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองที่เป็นสัตว์น้ำ ได้แก่ (1) จำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จำนวน 21 รายการ (2) จำพวกสัตว์เลื้อยคลาน จำนวน 20 รายการ (3) จำพวกสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก จำนวน 6 รายการ (4) จำพวกปลา จำนวน 30 รายการ (5) จำพวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จำนวน 13 รายการ

เศรษฐกิจ-สังคม
7. เรื่อง ขออนุมัติโครงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4G/5G บนคลื่น 700 MHz ของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอดังนี้
                    1. อนุมัติในหลักการของโครงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4G/5G บนคลื่น 700 MHz1 กรอบวงเงินลงทุนรวมประมาณ 30,602 ล้านบาท และรับทราบกรอบวงเงินของค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ (งบทำการ) 31,026 ล้านบาท ของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)2 (บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ) และรับความเห็นของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒนาฯ) ไปดำเนินการ
                    2. มอบหมายให้ ดศ. ประสานกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เพื่อร่วมกันพิจารณากำหนดนิยามเกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคมที่ถือเป็นบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน อาทิ การให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ บริการอินเทอร์เน็ตให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้บริการโทรคมนาคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปตามแนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ประกอบการกำหนดภารกิจของหน่วยงานภาครัฐรวมถึง บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐ ทั้งนี้ กรณีที่พิจารณาแล้วเห็นว่า การให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ถือเป็นการให้บริการโทรคมนาคมขึ้นพื้นฐานอาจจะพิจารณารูปแบบการสนับสนุนเงินลงทุนและค่าบำรุงรักษาโครงข่าย (บางส่วน) ให้แก่ผู้ให้บริการจัดให้มีบริการดังกล่าวโดยใช้จ่ายจากเงินค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่
                    สาระสำคัญ
                    ปัจจุบัน บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ มีโครงข่ายบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่เดิม ได้แก่ ย่านความถี่ 850 MHz 2100 MHz และ 2300 MHz (เทคโนโลยี 3G และ 4G) เปิดให้บริการทั้งแบบขายปลีกให้กับบุคคลทั่วไป และขายส่งให้กับผู้ให้บริการรายอื่น (Operators) โดยที่ใบอนุญาตการใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวจะสิ้นสุด     ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2568 ซึ่งจะทำให้ บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติมีรายได้ลดลงตั้งแต่ปี 2569 ดังนั้น ดศ. โดย บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติจึงได้จัดทำโครงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4G/5G บนคลื่น 700 MHz เพื่อนำคลื่นความถี่ 700 MHz ที่ได้รับจากการประมูลคลื่นความถี่มาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยใช้เทคโนโลยี 4G/5G ให้ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ สามารถพัฒนาการใช้งานในรูปแบบใหม่ ๆ ตอบสนองความต้องการของตลาดและบริการใหม่ ๆ ได้ในอนาคต ซึ่งจะสามารถสร้างรายได้จากธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้ บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติอย่างต่อเนื่อง และช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่ บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ ในการหารายได้จากธุรกิจบริการดิจิทัล รวมถึงลดภาระการลงทุนพัฒนาปรับปรุงโครงข่ายโทรศัพท์ประจำที่ของ บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ ตามแผนธุรกิจ โดยมีสาระสำคัญของโครงการฯ สรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ
1. วัตถุประสงค์          เพื่อพัฒนาโครงข่ายโทศัพท์เคลื่อนที่ 4G/5G บนคลื่นความถี่ในย่าน 700 MHz สำหรับรองรับผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายเดิมบนคลื่น 850 MHz 2100 MHz และ 2300 MHz ที่สิทธิการใช้คลื่นจะสิ้นสุดลงในวันที่ 3 สิงหาคม 2568 และเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้รายใหม่ตามแผนการตลาด รวมทั้งเพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการขยายธุรกิจบริการดิจิทัลในอนาคต
2. กลุ่มเป้าหมาย          ประกอบด้วย
(1) กลุ่มลูกค้ารายย่อยทั่วไป จำนวน 3.6 ล้านราย เช่น ลูกค้าเดิมภายใต้บริการ my และ NT Mobile จำนวน 2 ล้านราย และกลุ่มนักท่องเที่ยวขาเข้า (ปีละ 200,000 - 400,000  ซิมต่อปี)
(2) กลุ่มลูกค้า IoT Connectivity และ new devices รวมถึงลูกค้าภาครัฐและองค์กร เพื่อรับบริการดิจิทัล ได้แก่ กลุ่ม Smart Meter (เช่น การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค) กลุ่ม Smart Tracking (เช่น รถขนส่งสาธารณะ รถบรรทุก และรถพยาบาล) กลุ่ม Bus Stop ในกรุงเทพมหานคร กลุ่ม Digital Traffic Board ของตำรวจจราจร และกลุ่ม Smart Traffic Light แยกในกรุงเทพมหานคร
(3) กลุ่มลูกค้าทดแทนโทรศัพท์พื้นฐาน (Fixed Line Replacement) จำนวน 900,000 หมายเลข
3. รูปแบบธุรกิจ          จัดหาโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ในย่าน 700 MHz โดยร่วมกับพันธมิตร ซึ่งจะให้ บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ ใช้โครงสร้างพื้นฐานโครงข่ายร่วมกัน (Infrastructure Sharing) จัดให้มีเสาโทรคมนาคมและระบบสื่อสัญญาณ รวมทั้งอุปกรณ์สถานีฐานเพื่อรองรับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการประมาณร้อยละ 95 ของจำนวนประชากร และร้อยละ 90 ของพื้นที่ที่อยู่อาศัย โดยมีสถานีฐานไม่น้อยกว่า 13,500 สถานีฐานตลอดอายุโครงการ3 โดยมีบริการหลัก 2 รูปแบบ ดังนี้
(1) บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายย่อย (Retail) ภายใต้แบรนด์ my และ NT Mobile
(2) บริการดิจิทัล (Digital) โดยเน้นกลุ่มลูกค้าภาครัฐและองค์กรที่ต้องการใช้งานเซนเซอร์หรือระบบติดตามยานพาหนะ รวมถึงบริการสาธารณะที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในการบริหารจัดการบริการสาธารณะและเมือง
4. ระยะเวลา ดำเนินโครงการฯ          14 ปี4 (ครอบคลุมระยะเวลาติดตั้งสถานีฐานใน 2 ปีแรก) โดยจะเริ่มให้บริการในปี 2566 ทั้งนี้ ใบอนุญาตคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ของ บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ มีอายุ 15 ปี (ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2564 - 31 มีนาคม 2579)
5. กรอบวงเงินลงทุน          มีกรอบวงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 61,628 ล้านบาท ประกอบด้วย
(1) ค่าใช้จ่ายในการลงทุน (CAPEX) จำนวน 30,608 ล้านบาท ได้แก่ ค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ 700 MHz จำนวน 20,584 ล้านบาท5 ค่าใช้จ่ายการจัดหาโครงข่ายร่วมกับพันธมิตร จำนวน 9,300 ล้านบาท และค่าอุปกรณ์โครงข่าย (Network Equipment) จำนวน 718 ล้านบาท
(2) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OPEX) จำนวน 31,026 ล้านบาท ได้แก่ ค่าดำเนินการโครงข่าย Network Cost จำนวน 29,236 ล้านบาท ค่าบุคลากร จำนวน 1,615 ล้านบาท และค่าดำเนินการอื่น ๆ จำนวน 175 ล้านบาท
6. ประโยชน์ที่จะได้รับ          (1) ผลประโยชน์ต่อ บมจ. โทรคมนาคมแห่งชาติ
    - เพิ่มศักยภาพการแข่งขันและความสามารถในการสร้างรายได้ เพื่อพลิกฟื้นกิจการและสามารถอยู่ได้ด้วยตัวเองในสภาวะการแข่งขันที่รุนแรงในปัจจุบัน
    - สามารถใช้คลื่นความถี่ในย่าน 700 MHz ในการพัฒนาเป็น Anchor band สำหรับการทำงานร่วมกับคลื่นความถี่สูงอื่น ๆ ในอนาคต เพื่อให้บริการ 5G อย่างเต็มรูปแบบ
(2) ผลประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคม
    - ผลักดันให้เกิดการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน (Infrastructure Sharing) ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ในการช่วยลดต้นทุน (Cost Saving) ของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมให้กับผู้ประกอบการทุกรายในประเทศไทย
    - ทำให้เกิดการแข่งขันในตลาดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นอีกทางเลือกให้กับผู้ใช้บริการนอกเหนือจากผู้ให้บริการ 3 รายหลัก
1 บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (บมจ. กสทฯ) ชนะการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz จำนวน 2 ใบอนุญาตและได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรนาคม เลขที่ FREQ/TEL/005 (700 MHz) กำหนดการเริ่มการใช้งานคลื่นความถี่ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2564 - 31 มีนาคม 2579 (15 ปี)
2 ปัจจุบัน บมจ. กสทฯ และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้ควบรวมกิจการโดยใช้ชื่อว่า บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)
3 ปี 2566 จัดสร้างสถานีฐาน (ติดตั้งอุปกรณ์บนโครงสร้างพื้นฐานของพันธมิตร) จำนวน 5,500 สถานี และปี 2567 จัดสร้างสถานีฐานเพิ่มเติม จำนวน 8,000 สถานี
4 ตามแผนดำเนินการเดิม บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ คาดว่าจะเสนอโครงการฯ ต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาได้ภายในปี 2565 ซึ่งจะทำให้มีระยะเวลาดำเนินโครงการฯ รวม 15 ปี (ระหว่างปี 2565 - 2579)

8. เรื่อง การเยียวยาค่าตอบแทนใบประกอบโรคศิลปะเภสัชกรขององค์การเภสัชกรรม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจ่ายเงินตอบแทนใบประกอบโรคศิลปะเภสัชกรขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) ในอัตรา 1,000 บาท และ 3,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอดังนี้
                    1. อภ. ได้เริ่มจ่ายค่าตอบแทนใบประกอบโรคศิลปะของเภสัชกร ในอัตรา 1,000 บาท/เดือน/คน และ 3,000 บาท/เดือน/คน1 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2542 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) พิจารณาอนุมัติ (หนังสือ กค. ที่ กค 0529.4/21820 ลงวันที่ 30 กันยายน 2542 และหนังสือ กค. ด่วนมาก ที่ กค 0209.2/1505 ลงวันที่ 26 มกราคม 2544 ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติ (7 พฤศจิกายน 2543) อนุมัติเป็นหลักการว่า หากรัฐวิสาหกิจใดประสงค์จะขอเงินเพิ่มพิเศษสาขาวิชาชีพเฉพาะหรือเงินเพิ่มพิเศษในลักษณะอื่นใดตามความจำเป็นของแต่ละรัฐวิสาหกิจ ให้คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจนั้นพิจารณาว่าควรจ่ายเงินพิเศษดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร และนำเสนอเรื่องดังกล่าวผ่านกระทรวงเจ้าสังกัดเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยตรงต่อไป อย่างไรก็ตาม อภ. ไม่ได้นำเรื่องการจ่ายเงินค่าตอบแทนใบประกอบโรคศิลปะของเภสัชกรของ อภ. เสนอต่อคณะรัฐมนตรีตามนัยมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว เนื่องจาก อภ. เข้าใจว่าเงินค่าตอบแทนแก่เภสัชกรที่ต้องมอบใบประกอบโรคศิลปะของเภสัชกรให้ อภ. และเงินเพิ่มพิเศษสำหรับวิชาชีพขาดแคลน เป็นเงินคนละประเภทกันและได้จ่ายเงินดังกล่าวให้กับบุคลากรของ อภ. ที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง
                    2. ต่อมา อภ. มีความประสงค์ที่จะปรับปรุงการจ่ายเงินค่าใบประกอบโรคศิลปะของเภสัชกรให้เท่ากับอัตราตามท้องตลาดทั้งภาครัฐและเอกชน (5,000 บาท/คน/เดือน) จึงได้เสนอเรื่องดังกล่าวให้คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พิจารณาตามนัยมาตรา 13 วรรคสาม2 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 ซึ่งในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 เห็นว่าการปรับเพิ่มอัตราการจ่ายค่าใบประกอบโรคศิลปะของเภสัชกรไม่ส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงิน แต่เนื่องจากการที่ อภ. ได้มีการจ่ายเงินตอบแทนค่าใบประกอบโรคศิลปะของเภสัชกรให้แก่พนักงานที่มีวุฒิเภสัชศาสตร์ไปแล้ว โดยยังไม่ผ่านกระบวนการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดตามมาตรา 13 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 จึงไม่อยู่ในอำนาจการพิจารณาของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการแก้ไขและเยียวยาปัญหาที่เกิดขึ้น และให้การบริหารงานบุคคลดำเนินไปได้ อภ. สามารถเสนอเรื่องดังกล่าวต่อกระทรวงเจ้าสังกัด เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ ให้ อภ. ยุติการจ่ายค่าใบประกอบโรคศิลปะของเภสัชกรไว้ก่อนจนกว่าจะมีมติของคณะรัฐมนตรี ซึ่ง อภ. ได้ระงับการจ่ายค่าตอบแทนใบประกอบโรคศิลปะของเภสัชกร ตั้งแต่เดือนเมษายน 2565 เป็นต้นไป3 ซึ่งสามารถประมาณการค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าตอบแทนใบประกอบโรคศิลปะของเภสัชกร ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2543 จนถึงเดือนมีนาคม 2565 เป็นเงินประมาณ 122 ล้านบาท
                    3. สธ. โดย อภ. ได้เสนอเรื่องเยียวยาและปรับอัตราค่าตอบแทนใบประกอบโรคศิลปะเภสัชกรของ อภ. ต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งต่อมารองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้ส่งเรื่องนี้คืน สธ. เพื่อหารือร่วมกับกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงาน ก.พ. คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ได้แนวทางการดำเนินการที่ชัดเจนและนำเรื่องนี้เสนอต่อคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
                    4. ทั้งนี้ อภ. ได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2566 ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นควรให้ อภ. ดำเนินการเรื่องการเยียวยาการจ่ายเงินค่าตอบแทนใบประกอบโรคศิลปะเภสัชกรของ อภ. ในอัตรา 1,000 บาท และ 3,000 บาท โดยเสนอขอความเห็นชอบผ่าน สธ. ต่อคณะรัฐมนตรีโดยตรง ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 โดยไม่ต้องนำเสนอต่อคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบอีกครั้ง เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบแล้ว จึงดำเนินการเรื่องการปรับเพิ่มอัตราค่าตอบแทนใบประกอบโรคศิลปะเภสัชกรของ อภ. เป็นอัตรา 5,000 บาท/คน/เดือน โดยนำเสนอคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรีต่อไป
1 1,000 บาท/คน/เดือน สำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับ 5 - 10 ที่มีคุณวุฒิเภสัชศาสตร์ และ 3,000 บาท/คน/เดือน สำหรับเภสัชกรที่ทำหน้าที่ควบคุมการผลิตยาที่มีวัตุออกฤทธิ์ประเภท 2 - 4 และยาเสพติดให้โทษประเภท 2 - 4 ตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 และเภสัชกรที่ปฏิบัติหน้าที่จำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 3 หรือ 4 และยาเสพติดให้โทษประเภท 3 ประจำร้านปลีกของ อภ. รวมทั้งผู้ที่นำใบประกอบโรคศิลปะให้ สธ. ยึดถือไว้
2 บัญญัติให้ในกรณีที่รัฐวิสาหกิจใดเห็นสมควรปรับปรุงสภาพการจ้างเกี่ยวกับการเงินที่อยู่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในมาตรา 13     (2) จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรีก่อนจึงจะดำเนินการได้
3 มีมติคณะกรรมการด้านกฎหมายและด้านกำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ของ อภ. ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2565 และมติคณะกรรมการ อภ. ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2565 เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2565

9. เรื่อง การกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2565/2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ การกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2565/2566 (ราคาอ้อยขั้นต้นฯ) ทั้ง 9 เขตคำนวณราคาอ้อย เป็นราคาเดียวทั่วประเทศ ดังนี้
                    1. ราคาอ้อยขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2565/2566 ในอัตรา 1,080 บาท ต่อตันอ้อย ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส1 (หรือเท่ากับร้อยละ 91.79 ของประมาณการราคาอ้อยเฉลี่ยทั่วประเทศ 1,110.66 บาทต่อตันอ้อย) และกำหนดอัตราขึ้น/ลง ของราคาอ้อยเท่ากับ 64.80 บาทต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส.
                    2. ผลตอบแทนการผลิตและจำหนายน้ำตาลทรายขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2565/2566 เท่ากับ 462.86 บาทต่อตันอ้อย??????
1ซี.ซี.เอส. (Commercial Cane Sugar : CCS) เป็นระบบการคิดคุณภาพของอ้อย ซึ่งได้นำแบบอย่างมาจากระบบการซื้อขายอ้อยของประเทศออสเตรเลีย และได้เริ่มใช้ในประเทศไทยตั้งแต่ฤดูการผลิต ปี 2536/2537 เป็นต้นมา     โดยคำว่า ซี.ซี.เอส. หมายถึง ปริมาณของน้ำตาลที่มีอยู่ในอ้อยซึ่งสามารถ หีบสกัดออกมาได้เป็นน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ส่วนอ้อย ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. หมายถึง เมื่อนำอ้อยมาผ่านกระบวนการผลิต จะได้น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ร้อยละ 10 กล่าวคือ อ้อย 1 ตัน หรือ 1,000 กิโลกรัม จะได้น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ 100 กิโลกรัม

10. เรื่อง  เรื่อง การจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร กรณีสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (กพม.) เสนอ ดังนี้
                    1. ให้สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เป็นหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร ประเภทหน่วยธุรการขององค์การของรัฐที่เป็นอิสระ
                    2. ให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร ประเภทกองทุนที่เป็นนิติบุคคล
                    สาระสำคัญ
                    1. กพม. รายงานว่า
                              1.1 กพท. มีประเด็นเกี่ยวกับการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. 2564 จึงขอให้ กพม. พิจารณาจำแนกประเภท กพท. ว่าจัดเป็นหน่วยงานของรัฐประเภทใด
                              1.2 กองทุนฯ มีประเด็นเกี่ยวกับการเสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้พนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับการปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.1 เพื่อให้กองทุนฯ เป็นหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทางปกครองแทนตามมาตรา 63/15 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจึงขอให้ กพม. พิจารณาสถานภาพความเป็นหน่วยงานของรัฐของกองทุนว่าเป็นหน่วยงานของรัฐหรือไม่ และเป็นประเภทใด
                    2. กพม. ในการประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 มีมติเห็นชอบ ดังนี้
                              2.2.1 ให้จำแนก กพท. เป็นหน่วยงานของรัฐในกำกับฝ่ายบริหารประเภทหน่วยธุรการขององค์การของรัฐที่เป็นอิสระ ตามมติคณะรัฐนตรีเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 25522 เนื่องด้วยเป็นหน่วยงานของรัฐและมีฐานะเป็นนิติบุคคล ตามมาตรา 5 แห่งพระราชกำหนดการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 และทำหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการให้กับคณะกรรมการการบินพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ ซึ่งมีภารกิจในการกำกับ ดูแล ควบคุม ส่งเสริม และพัฒนากิจการการบินพลเรือนให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อรักษามาตรฐานความปลอดภัยการบินพลเรือนไม่ให้ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยจะต้องดำเนินการอย่างเป็นกลางปราศจากการแทรกแซง นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์กับรัฐสูงในหลายประการ เช่น การจัดตั้งโดย  พระราชกำหนด รัฐมีอำนาจกำกับดูแลตามที่กฎหมายกำหนดผ่านการแต่งตั้ง ถอดถอนคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง บุคลากรมีสถานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ใช้อำนาจของรัฐในการกำกับดูแล ควบคุม ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการบินพลเรือน มีการบริหารงานโดยไม่ใช้กฎระเบียบของทางราชการโดยคณะกรรมการกำกับ กพท. มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ของ กพท. รวมทั้ง มีการรายงานการดำเนินงานประจำปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
                              2.2 ให้จำแนกกองทุนฯ เป็นหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหารประเภทกองทุนที่เป็นนิติบุคคล ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2552 เนื่องด้วย (1) กองทุนฯ จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และเป็นงานฝ่ายหนึ่งของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)3 ประกอบกับความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ)4 กองทุนฯ จึงมีสถานะเช่นเดียวกับ ธปท. (2) กิจกรรมของกองทุนฯ เป็นการบริการสาธารณะในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันการเงินที่ประสบปัญหา (3) งบประมาณ/รายได้ของหน่วยงาน เป็นเงินและทรัพย์สินที่ได้รับจากการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของกองทุนฯ เช่น ขาย จำหน่าย ลงทุน ยืม ให้ยืม และรับจำนำ และเงินที่ได้รับจัดสรรจากเงินสำรองของ ธปท.     ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ (4) สถานะของบุคลากร เป็นพนักงานของ ธปท. ในฝ่ายจัดการกองทุนตามโครงสร้างของ ธปท. และ (5) วิธีการและระบบกฎหมายที่ใช้ในการทำกิจกรรม ต้องใช้อำนาจรัฐในการดำเนินกิจกรรม โดยต้องดำเนินการตามแผนการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินซึ่งอนุมัติโดยคณะรัฐมนตรีและใช้อำนาจคณะกรรมการจัดการกองทุนกำหนดเกณฑ์วิธีการ ระยะเวลา และอัตราร้อยละต่อปีของเงินที่สถาบันการเงินต้องส่งคืน บังคับแก่สถาบันการเงิน
???_________________
1พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 63/15 วรรคหก บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐหมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
2คณะรัฐมนตรีมีมติ (20 คุลาคม 2552 และ 26 มีนาคม 2562) เห็นชอบหลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหารที่มีสถานะเป็นนิติบุคคล สามารถจำแนกได้ 4 ประเภท ได้แก่ (1) ส่วนราชการ (2) รัฐวิสาหกิจ (3) องค์การมหาชน และ (4) หน่วยงานของรัฐรูปแบบใหม่ (หน่วยธุรการขององค์การของรัฐที่เป็นอิสระ กองทุนที่เป็นนิติบุคคล : กลไกทางเศรษฐกิจและหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ) ทั้งนี้ ให้ กพม. เป็นผู้พิจารณาเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นใหม่แล้วแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ ซึ่งจากการประสานสำนักงาน ก.พ.ร. การเสนอขอจัดตั้งหน่วยงานของรัฐขึ้นไหม่สำนักงาน ก.พ.ร. จะเป็นผู้วิเคราะห์การจัดตั้งหน่วยงานและจัดประเภทของหน่วยงานของรัฐนั้น ๆ ก่อนเสนอ กพม. ตามขั้นตอนยกเว้นบางหน่วยงานที่จัดตั้งตามกฎหมายเฉพาะหรือตามนโยบายรัฐบาลอาจไม่ได้ดำเนินการจัดตั้งหน่วยงานผ่านสำนักงาน ก.พ.ร. ดังนั้น จึงยังไม่ได้รับการจัดประเภทของหน่วยงานของรัฐตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว แต่หน่วยงานยังสามารถดำเนินงานไปตามหน้าที่และอำนาจที่บัญญัติไว้ในกฎหมายจัดตั้งนั้น ๆ จนกว่าจะมีความจำเป็นที่จะต้องขอจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐเพื่อเหตุผลต่าง ๆ เช่นเดียวกันกับที่ กพม. เสนอคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้
3พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติม บัญญัติให้ ธปท. เป็นนิติบุคคล มีฐานะเป็นหน่วยงานรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น และให้จัดตั้งกองทุนเพื่อการพื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่ขึ้นใน ธปท. โดยมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินให้มีความมั่นคงและเสถียรภาพ โดยมี ?ฝ่ายจัดการกองทุน? เป็นเจ้าหน้าที่ และแยกไว้ต่างหากจากธุรกิจอื่น
4ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) เรื่องเสร็จที่ 1397/2563 เรื่อง สถานภาพของกองทุนฯ และธนาคารกรุงไทย จำกัด มหาชน)

11. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประจำครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประจำครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2565  (1 กรกฎาคม-31 ธันวาคม 2565) [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พ.ศ. 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 28/7 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติให้ กนง. รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะรัฐมนตรีทุกหกเดือน] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. เป้าหมายนโยบายการเงินสำหรับปี 2566 คณะรัฐนตรีมีมติ (27 ธันวาคม 2565)อนุมัติอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1-3 เป็นเป้าหมายนโยบายการเงิน โดยคงเป้าหมายเดิมเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา สร้างความเชื่อมั่น และช่วยยึดเหนี่ยวอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางให้อยู่ในกรอบเป้าหมาย
                    2. ภาวะเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และเสถียรภาพระบบการเงิน
                              2.1 ภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้ม ในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่อง และคาดว่าจะกลับเข้าสู่ระดับก่อนการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2565 (ตุลาคม-ธันวาคม 2565) ถึงไตรมาสที่ 1 ปี 2566 (มกราคม-มีนาคม 2566) โดยคาดว่าเศรษฐกิจในปี 2565 จะขยายตัวที่ร้อยละ 3.2  จากการเดินทางท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น มาตรการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศที่คลี่คลายลงและการบริโภคภาคเอกชนที่ฟื้นตัวดีขึ้น ทั้งนี้ กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.7 และ 3.9 ในปี 2566 และ 2567 ตามลำดับจากภาคการท่องเที่ยวที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง การบริโภคภาคเอกชนที่ฟื้นตัวต่อเนื่องโดยเฉพาะภาคบริการ และการจ้างงานและรายได้แรงงานที่ปรับดีขึ้น
                              2.2 ภาวะเงินเฟ้อและแนวโน้ม ในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป
เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 6.5 ปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.6 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2565 อยู่ที่ร้อยละ 6.1 สูงกว่ากรอบเป้าหมายนโยบายการเงินเนื่องจากแรงกดดันด้านอุปทานป็นสำคัญ ทั้งนี้ กนง. ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายภายในสิ้นปี 2566 และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ร้อยละ 3.0 และ 2.1 ในปี 2566 และ 2567 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากแรงกดดันด้านอุปทานที่ทยอยคลี่คลายตามราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์โลกที่มีแนวโน้มปรับลดลง และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปี 2566 และ 2567 จะอยู่ที่ร้อยละ 2.5 และ 2.0 ตามลำดับ
                              2.3 เสถียรภาพระบบการเงิน ในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 ระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพแต่ยังมีความเปราะบางในบางจุด อย่างไรก็ตาม ระบบธนาคารพาณิชย์ยังมั่นคงและสามารถกระจายสภาพคล่องเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ต่อเนื่องแต่ต้องติดตามคุณภาพสินเชื่อโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางอย่างใกล้ชิด ส่วนภาวะการเงินโดยรวมผ่อนคลายลดลงและต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นสอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
                    3. การดำเนินนโยบายการเงิน
                              3.1 การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ย ในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 กนง. ทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย รวม 3 ครั้ง จากร้อยละ 0.50 เป็นร้อยละ 1.25  เนื่องจากเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนซึ่งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะช่วยลดผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยควรเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป
                              3.2 การดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 เคลื่อนไหวผันผวนตามทิศทางการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา โดยปรับอ่อนค่าลงในช่วงแรกจากการดำเนินนโยบายที่เข้มงวด อย่างไรก็ตาม  ค่าเงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2565 หลังจากตลาดการเงินเริ่มคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาจะชะลอการเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และผลจากการประกาศนโยบายผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาตโควิด-19 ของสาธารณรัฐประชาชนจีนและนโยบายผ่อนคลายการเดินทางระหว่างประเทศของจีนในเดือนมกราคม 2566 ทั้งนี้ กนง. เห็นควรผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน (FX Ecosystem) อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs ให้มีการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน นอกจากนี้ ธปท. ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจเงินตราต่างประเทศให้ยืดหยุ่นและคล่องตัวมากขึ้นด้วย
                              3.3 การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน กนง. ให้ความสำคัญกับการมีมาตรการเฉพาะจุดและแนวทางแก้ปัญหาหนี้อย่างยั่งยืนสำหรับกลุ่มเปราะบาง เนื่องจากฐานะการเงินของภาคธุรกิจโดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs และครัวเรือนบางกลุ่มยังเปราะบางต่อค่าครองชีพและภาระหนี้ที่สูงขึ้น ซึ่งการดำเนินมาตรการทางการเงินเฉพาะจุดสำหรับกลุ่มเปราะบาง เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ระยะยาวของลูกหนี้จะช่วยแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด ทั้งนี้ กนง. ได้ติดตามและประเมินเสถียรภาพระบบการเงินไทยอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจและดูแลความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงินของไทย

12. เรื่อง สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 21 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 - 31 ธันวาคม 2565)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอ สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 21 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 ? 31 ธันวาคม 2565) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. นโยบายหลัก 7 ด้าน ประกอบด้วย
นโยบายหลัก          มาตรการ/ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
1) การปกป้องและเชิดชู
สถาบันพระมหากษัตริย์          ส่วนราชการและศาสนสถานทั่วประเทศร่วมใจสวดมนต์ ถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดีกรมหลวงราช     สาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เพื่อให้ทรงมี พระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง
2) การทำนุบำรุงศาสนา
ศิลปะและวัฒนธรรม          2.1) จัดงานแสดงดนตรีเทิดพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์ เทศกาลดนตรี Ministry of Culture Music Festival (MOC MU FES) เพื่อน้อมรำลึกเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2565 และเทิดพระเกียรติ ?อัครศิลปิน?
2.2) สนับสนุนโครงการแฟชั่นวีคผ้าไหมไทยนานาชาติ ครั้งที่ 3 ปี 2565 เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา  90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 และโครงการ The 4th Next Big Silk Designer Contest 2022
2.3) จัดกิจกรรม ?ส่งสุขวิถีใหม่ สืบสานวิถีไทย ปลอดภัยสร้างสรรค์?ผ่านโครงการในมิติศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่           พ.ศ. 2566 ให้แก่ประชาชน 24,351 แห่ง รวมทั้งมีวัดไทยในต่างประเทศร่วมจัดกิจกรรมกว่า 79 วัด มีผู้ร่วมงานทั้งสิ้น 16.94 ล้านคน
3) การสร้างบทบาท
ของไทยในเวทีโลก          3.1) เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหภาพยุโรป สมัยพิเศษ เมื่อวันที่      14 ธันวาคม 2565 เพื่อฉลองวาระครบรอบ 45 ปี ความสัมพันธ์
อาเซียน-สหภาพยุโรป โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวเรื่องสำคัญ ได้แก่ (1) การรับมือกับความผันผวนทางภูมิรัฐศาสตร์และความท้าทายด้านความมั่นคง
(2) การเปลี่ยนผ่านสีเขียวเพื่อความยั่งยืน และ (3) การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล   3.2) พิธีลงนามร่างกรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือรอบด้านระหว่างสหภาพยุโรปและรัฐสมาชิกฝ่ายหนึ่ง
กับราชอาณาจักรไทยอีกฝ่ายหนึ่งยกระดับความร่วมมือไทย-อียู เมื่อวันที่            14 ธันวาคม 2565 โดยนายกรัฐมนตรี และผู้นำฝ่ายสหภาพยุโรป
ร่วมในพิธีลงนามดังกล่าว
4) การพัฒนาเศรษฐกิจ
และความสามารถ
ในการแข่งขันของไทย          4.1) เศรษฐกิจมหภาค การเงินและการคลัง เช่น (1) ขยายเวลาปรับลด
อัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับเครื่องบินไอพ่นออกไปอีก 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-30 มิถุนายน 2566 และ (2) ยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุรา ยาสูบ ไพ่ ประเภทที่ 1 และ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-         31 ธันวาคม 2566
4.2) พัฒนาภาคเกษตร เช่น (1) โครงการ ส่งสุขปีใหม่ พ.ศ. 2566 ?ชม ช้อป ชิม ชิล แชะ (ท่องเที่ยว)? ระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2565-
16 มกราคม 2566 มีผู้ร่วมงานประมาณ 366,680 คน และ (2) ขับเคลื่อน
การจัดกิจกรรมวันดินโลก (World Soil Day) ปี 2565 ภายใต้หัวข้อ
?Soils, where food begins? และจัดกิจกรรมวันดินโลก ภายใต้แนวคิด ?Great food from good soil for better life awareness week? ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี มีผู้เข้าร่วมงาน 101,908 คน
4.3) พัฒนาภาคการท่องเที่ยว เช่น (1) จัดทำปฏิทินกิจกรรมท่องเที่ยวและกีฬาทุกฤดูกาล และดึงดูดนักท่องเที่ยวในช่วง Low Season ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565-กันยายน 2566 เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี และ (2) ส่งเสริมการท่องเที่ยวช่วงวันธรรมดา ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2565-31 มกราคม 2566
4.4) พัฒนาการค้าการลงทุนเพื่อมุ่งสู่การเป็นชาติการค้า การบริการและการลงทุนในภูมิภาค โดยส่งเสริมสินค้าเครื่องจักรกลการเกษตรไทย
สู่ตลาดโลก ในงาน ?มหกรรมแทรกเตอร์และจักรกลการเกษตรไทย 2565? (Thailand Tractor & Agri-Machinery: ThaiTAM 2022) มีผู้นำเข้าร่วมงานจาก 10 ประเทศ เกิดมูลค่าการสั่งซื้อ 450 ล้านบาท
4.5) พัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน โดยจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการพัฒนาระบบธรรมาภิบาลในโครงการเอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐด้านคมนาคมและโลจิสติกส์ระหว่างกระทรวงคมนาคมร่วมกับสถาบันพระปกเกล้าเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติ เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง ยึดมั่นในหลักจริยธรรมและธรรมาภิบาลรวมถึงมีสมรรถนะและความรู้ความสามารถให้พร้อมต่อการปฏิบัติงาน
4.6) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและมุ่งสู่การเป็นประเทศอัจฉริยะ เช่น (1) แจ้งเตือนภัยจากการหลอกลวงออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชัน ?เป๋าตัง?        โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ?การบูรณาการบริการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาการหลอกลวงทางสื่อออนไลน์ และการแจ้งเตือนภัยจากการหลอกลวงทางสื่อออนไลน์และข่าวปลอมแก่ประชาชนผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง? และ (2) โครงการนำร่อง ?เกษตรดิจิทัล? ด้วยเทคโนโลยี 5G ณ ดอยผาหมี จังหวัดเชียงราย เป็นการนำร่องปลูกพืชวานิลลาบนพื้นที่ไหล่เขาและชายขอบรวมถึงการปลูกพืชในโรงเรือนแบบ EVAP (Evaporative Cooling System: EVAP) เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรดิจิทัลในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการทำเกษตรกรรม
4.7) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนาและนวัตกรรม เช่น (1) พัฒนานวัตกรรม ?อนุภาคคาร์บอนเรืองแสง? จากสารชีวพอลิเมอร์ทะลายปาล์ม เพื่อส่งยารักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า ทำให้ช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีอัตราผู้ป่วยสูงลดเวลาจากการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีเคมีบำบัดแบบดั้งเดิม ลดการนำเข้าวัสดุนำส่งยาที่มีราคาแพงตลอดจนโอกาสต่อยอดในอุตสาหกรรมการแพทย์และส่งเสริมประเทศไทยก้าวเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพ และ (2) ผลักดันกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่อง โดยการอุดหนุน ?เงินทุนให้เปล่า? วงเงินสูงสุดไม่เกินโครงการละ 5 ล้านบาท มีผู้สนใจกว่า 236 คน โดยนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จ คือรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า ?มูฟมี? (MuvMi) ให้บริการรับ-ส่งผู้โดยสารตามแนวรถไฟฟ้า เข้าซอยหรือไปบริเวณใกล้เคียงครอบคลุมพื้นที่ 12 แห่งทั่วกรุงเทพ จำนวนกว่า 300 คัน มีผู้ใช้บริการแล้ว 3.7 ล้านคน
5) การพัฒนา
สร้างความเข้มแข็ง
ของฐานราก          จัดตั้ง ?หมู่บ้านทำมาค้าขาย? มีวิสาหกิจชุมชนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 37 แห่ง โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สร้างมูลค่าการค้า 135.90 ล้านบาท และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จะผลักดันวิสาหกิจชุมชนแห่งใหม่เพิ่มอีก 5 แห่ง ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนเตยปาหนัน (จังหวัดตรัง) วิสาหกิจชุมชนกระจูดวรรณี (จังหวัดพัทลุง) วิสาหกิจชุมชนข้าวยาบูดูสำเร็จรูป (จังหวัดสงขลา) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปันหยาบาติก (จังหวัดสตูล และวิสาหกิจชุมชนหัตถศิลป์พื้นบ้านปากบารา (จังหวัดสตูล)
6) การปฏิรูป
กระบวนการเรียนรู้
และพัฒนาศักยภาพ
ของคนไทยทุกช่วงวัย          6.1) จัดมหกรรมสิ่งประดิษฐ์ไอซีทีของนักเรียนไทยและนักเรียนญี่ปุ่น ?Thailand-Japan Student ICT Fair 2022 (TJ-SIF2022)?ณ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงรายมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 600 คน
6.2) จัดมหกรรมการเงินเพื่อครูไทย ?Unlock a Better Life? สร้างโอกาสใหม่เพื่อครูไทยที่ดีกว่า โดยจัดตั้งสถานีแก้ไขปัญหาหนี้ตามพื้นที่จังหวัดเขตพื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 558 แห่ง เพื่อดำเนินการไกล่เกลี่ยหนี้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีหรือถูกบังคับคดีทางกฎหมาย ซึ่งมีผู้ค้ำประกันกว่า 15,000 คน มูลค่ากว่า 6,000 ล้านบาท
7) การพัฒนา
ระบบสาธารณสุข
และหลักประกัน
ทางสังคม          พัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ เช่น จัดทำคู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2566 และขึ้นทะเบียนของหน่วยบริการปฐมภูมิ และเครื่อข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ 3,191 แห่ง และพัฒนาระบบบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2565 ให้บริการตรวจ วินิจฉัย รักษาโรค และฟื้นฟูสภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 7.62 ล้านครั้ง

                    2. นโยบายเร่งด่วน 7 เรื่อง ประกอบด้วย
นโยบายเร่งด่วน          มาตรการ/ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
1) การแก้ไขปัญหา
ในการดำรงชีวิต
ของประชาชน          1.1) เพิ่มช่องทางการเข้าถึงสินเชื่อในระบบ ได้แก่ สินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) ณ เดือนพฤศจิกายน 2565
มีผู้ได้รับอนุญาตและเปิดดำเนินการประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์              1,091 คน ใน 75 จังหวัด
1.2) โครงการช่วยเหลือด้านหนี้สินสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีหนี้เงินกู้เพื่อการเกษตรโดยลดภาระดอกเบี้ย 620 แห่ง 175,701 คน
1.3) โครงการบริหารจัดการที่ดินทำกินแก่เกษตรกรรายย่อยและผู้ด้อยโอกาสโดยจัดที่ดินให้เกษตรกรได้รับสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน 3,376 ราย
2) การปรับปรุง
ระบบสวัสดิการ
และพัฒนาคุณภาพชีวิต
ของประชาชน          2.1) โครงการพัฒนาทักษะอาชีพแก่ครัวเรือนเปราะบางสู่ความยั่งยืน
กิจกรรมสร้างชีวิตใหม่ให้สตรีและครอบครัว โดยจัดการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะผ้าปักชนเผ่าอาข่าบ้านห้วยน้ำกืน จังหวัดเชียงราย ให้แก่ราษฎรบนพื้นที่สูง (กลุ่มสตรี) จำนวน 30 คน
2.2) จัดกิจกรรม ?อิ่มใจ อุ่นกาย คลายหนาว เพื่อคนไร้บ้าน? บริเวณสนามหลวง จำนวน 200 คน เพื่อให้ความรู้และเข้าถึงสวัสดิการเพื่อคนไร้บ้าน รวมทั้งประสานช่วยให้คนไร้บ้านเข้าถึงสวัสดิการที่เหมาะสมได้
2.3) โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ มีผลการโอนเงินให้แก่ผู้มีสิทธิตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม-31 ธันวาคม 2565 รวมทั้งสิ้น 12,181.77 ล้านบาท
3) การให้ความช่วยเหลือ
เกษตรกรและพัฒนา
นวัตกรรม          3.1) โครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น PM2.5 ฤดูการผลิตปี 2564/2565 โดย ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2565 ได้จ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรแล้ว 125,276 คน ปริมาณอ้อย 67.59 ล้านตัน วงเงินรวม 8,110.96 ล้านบาท
3.2) โครงการประกันภัยข้าวนาปี มีเกษตรกรเข้าร่วม 1.912 ล้านราย                ได้รับเบี้ยประกันภัยรวม 2,891.22 ล้านบาท และโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีเกษตรกรเข้าร่วม 75,707 ราย ได้รับเบี้ยประกันภัยรวม 229.04 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 29 ธันวาคม 2565)
4) การยกระดับศักยภาพ
ของแรงงาน          4.1) เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565 กระทรวงแรงงานร่วมกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาดิจิทัล และสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาฝีมือแรงงานด้านดิจิทัล เพื่อพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานด้านดิจิทัลให้เป็นแรงงานคุณภาพ
4.2) พัฒนาเจ้าหน้าที่ด้านจัดหางาน ?นักจัดหางานยุคใหม่? รองรับนโยบายปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล โดยจัดอบรมเจ้าหน้าที่ด้านจัดหางานระหว่างวันที่ 19-23 ธันวาคม 2565 จำนวน 35 คน เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจมีทักษะในการปฏิบัติงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการจัดหางาน
5) การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต          5.1) จัดกิจกรรมชักจูงนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศให้มาลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง)
โดยมีอุตสาหกรรมที่ได้รับความสนใจ เช่น ด้านสุขภาพ และด้านการท่องเที่ยว
5.2) ส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ EEC จำนวน 637 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 358,833 ล้านบาท และในพื้นที่ ?เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ? (SEZ) (เช่น ประเภทกิจการผลิตอัญมณี และเครื่องประดับหรือชิ้นส่วนรวมถึงวัตถุดิบและต้นแบบ กิจการแปรรูปยางขั้นต้น กิจการผลิตวัสดุก่อสร้าง และกิจการผลิตภัณฑ์คอนกรีตอัดแรงสำหรับงานสาธารณูปโภค) 7 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 2,512 ล้านบาท
6) การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21           โครงการพัฒนาความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัลแก่ครูและเยาวชนในพื้นที่ EEC โดยดำเนินการร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา  ขั้นพื้นฐานในการจัดทำเนื้อหาและคู่มือที่เหมาะสม และจัดกิจกรรมอบรมความรู้และส่งมอบอุปกรณ์ให้ครูระดับประถมศึกษาจนถึงระดับอาชีวศึกษาที่สังกัดโรงเรียนในเขตพื้นที่ EEC โดยมีครูเข้าร่วมโครงการแล้ว 1,397 คน
7) การแก้ไขปัญหา              ยาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้          เดือนธันวาคม 2565 จับกุมคดียาเสพติด 7,872 คดี มีผู้ต้องหา 7,623 คน
และยึดของกลาง ได้แก่ ยาบ้า 9,980,607 เม็ด ไอซ์ 153.64 กิโลกรัม เฮโรอีน 1.51 กิโลกรัม เคตามีน 45.19 กิโลกรัม ยาอี 40,855 เม็ด และฝิ่น 5.44 กรัม

13. เรื่อง  รายงานความคืบหน้าของการดำเนินงานการพัฒนาพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความคืบหน้าของการดำเนินงานการพัฒนาพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ดังนี้
                    มท. รายงานว่า เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 คณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่านได้มีมติเห็นชอบโครงการการบูรณะปรับปรุงอาคารศาลากลางจังหวัดน่านหลังเก่า เพื่อเป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่านและแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออกและให้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ต่อมาเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2565 คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า [รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน] มีมติ ดังนี้
                    1. เห็นชอบในหลักการการขอเปลี่ยนแปลงแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าน่าน โดยให้ปรับปรุงอาคารศาลากลางจังหวัดน่านเป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่านและแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก
                    2. เห็นชอบให้จังหวัดน่านจัดทำแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าน่านฉบับใหม่ โดยทบทวนแผนแม่บทฉบับเดิมในภาพรวมและการใช้ประโยชน์พื้นที่บริเวณต่าง ๆ ในเมืองเก่าให้เหมาะสม โดยจัดให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ และให้จังหวัดน่านรับความเห็นของคณะกรรมการฯ ไปพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    3. รับทราบและเห็นชอบในหลักการการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่านที่เห็นชอบโครงการปรับปรุงอาคารศาลากลางจังหวัดน่านหลังเก่าเป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่านและแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก

14. เรื่อง  รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนธันวาคม 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนธันวาคม 2565  ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้
                    สาระสำคัญ
                    ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2565 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 8.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากภาคการส่งออกที่หดตัวจากผลกระทบของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศ รวมถึงที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว หลายอุตสาหกรรมยังขยายตัวได้ดี อาทิ น้ำมันปาล์ม การกลั่นน้ำมัน รองเท้า กระเป๋า และเครื่องดื่ม
                    อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนธันวาคม 2565 หดตัวเมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ
                    1. Hard Disk Drive หดตัวร้อยละ 39.36 ตามการทยอยยกเลิกผลิตสินค้าที่มีความต้องการในตลาดโลกลดลง รวมถึงเศรษฐกิจโลกชะลอตัวส่งผลต่อการลงทุนและกำลังซื้อ
                    2. เม็ดพลาสติก หดตัวร้อยละ 24.59 จากความต้องการสินค้า โดยเฉพาะที่นำไปผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ปรับตัวลดสง รวมถึงผู้ผลิตบางรายหยุดซ่อมบำรุงและหยุดผลิตชั่วคราว
                    3. เฟอร์นิเจอร์ หดตัวร้อยละ 46.01 จากเครื่องเรือนทำด้วยไม้และโลหะเป็นหลักโดยเครื่องเรือนทำด้วยไม้ สาเหตุหลักจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่ปรับลดลง ซึ่งเป็นการปรับลดลงเข้าสู่สภาวะปกติก่อนการระบาดของโควิด-19 ในประเทศจีน ซึ่งในช่วงดังกล่าวจีนไม่สามารถผลิตและส่งสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้ โดยจีนเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนไม้อันดับที่ 1 ของโลก ส่วนเครื่องเรือนทำด้วยโลหะ การผลิตกลับเข้าสู่ระดับปกติหลังจากปีก่อนได้รับคำสั่งซื้อพิเศษ
                    อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนธันวาคม 2565 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
                    1.น้ำมันปาล์ม ขยายตัวร้อยละ 33.44 เนื่องจากความต้องการใช้ที่มากขึ้นในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมไบโอดีเซล อุตสาหกรรมอาหาร ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รวมถึงผลผลิตปาล์มน้ำมันในปีนี้มีจำนวนมาก ประกอบกับความต้องการของตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศอินเดีย ซึ่งไทยมีการส่งออกเพิ่มมากขึ้นในช่วงนี้
                    2. รถยนต์ ขยายตัวร้อยละ 2.06 จากการขยายตัวของตลาดส่งออก หลังปัญหา
การขาดแคลนพื้นที่จอดรถยนต์ในเรือประเภทบรรทุกสินค้าที่มีล้อคลี่คลายลง รวมถึงผู้ผลิตได้รับชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์มากขึ้น ทำให้สามารถผลิตเพื่อส่งออกได้เพิ่มขึ้น

15. เรื่อง แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด พ.ศ. 2566-2570 ฉบับทบทวน แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และข้อเสนอโครงการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่สอดคล้องกับเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค พ.ศ. 2566-2570
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)         ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ (ก.น.บ.) เสนอ ดังนี้
                    1. แผนพัฒนาจังหวัด 76 จังหวัด และแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด 18 กลุ่มจังหวัดพ.ศ. 2566-2570 ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดนำความเห็นและข้อเสนอแนะ ไปปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในระยะต่อไป
                    2. แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของจังหวัด 76 จังหวัด และกลุ่มจังหวัด 18 กลุ่มจังหวัด ประกอบด้วย (1) เห็นควรสนับสนุนในกรอบวงเงิน (Y1)1 จำนวน 1,346 โครงการ งบประมาณ 29,314.51 ล้านบาท (2) เห็นควรสนับสนุนเกินกรอบวงเงิน (Y2)2 จำนวน 401 โครงการ งบประมาณ 12,588.95 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 1,747 โครงการ งบประมาณรวม 41,903.46 ล้านบาท แบ่งเป็น
                              2.1 โครงการและงบประมาณของจังหวัด 76 จังหวัด ประกอบด้วย (1) เห็นควรสนับสนุนในกรอบวงเงิน (Y1) จำนวน 1,169 โครงการ งบประมาณ 20,662.52 ล้านบาท (2) เห็นควรสนับสนุนเกินกรอบวงเงิน (Y2)  (จำนวน 376 โครงการ งบประมาณ 10,627.95 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 1,545 โครงการ งบประมาณรวม 31,290.47 ล้านบาท
                              2.2 โครงการและงบประมาณของกลุ่มจังหวัด 18 กลุ่มจังหวัด ประกอบด้วย (1) เห็นควรสนับสนุนในกรอบวงเงิน (Y1) จำนวน 177 โครงการ งบประมาณ 8,651.99 ล้านบาท (2) เห็นควรสนับสนุนเกินกรอบวงเงิน (Y2) จำนวน 25 โครงการ งบประมาณ 1,961.00 ล้านบาทรวมทั้งสิ้น 202 โครงการ งบประมาณรวม 10,612.99                 ล้านบาท แยกเป็น
                              2.2.1 โครงการและงบประมาณของกลุ่มจังหวัด ส่วนที่ 1 เพื่อขับเคลื่อนแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดตามความต้องการรายพื้นที่ เห็นควรสนับสนุนในกรอบวงเงิน (Y1) จำนวน 115 โครงการ งบประมาณ 4,560.02 ล้านบาท และเห็นควรสนับสนุนเกินกรอบวงเงิน (Y2) จำนวน 25 โครงการ งบประมาณ 1,961.00 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 140 โครงการ งบประมาณรวม 6,521.02 ล้านบาท
                              2.2.2 โครงการและงบประมาณของกลุ่มจังหวัด ส่วนที่ 2 เพื่อขับเคลื่อนแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดในลักษณะ Cluster หรือตอบสนองนโยบายสำคัญของรัฐบาลเชิงพื้นที่ระดับกลุ่มจังหวัด เห็นควรสนับสนุนในกรอบวงเงิน (Y1) จำนวน 62 โครงการ งบประมาณ 4,091.97 ล้านบาท
                    3. ข้อเสนอโครงการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่สอดคล้องกับเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค พ.ศ. 2566-2570 รวมจำนวน 364 โครงการ ทั้งนี้ ขอให้สำนักงบประมาณให้ความสำคัญและพิจารณาสนับสนุนงบประมาณโครงการที่สอดคล้องกับเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาคเป็นลำดับแรก เพื่อให้การขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรม สอดคล้องตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ
                    ทั้งนี้ มอบหมายให้ สศช. รับไปดำเนินการประสานสำนักงบประมาณเพื่อดำเนินการตามระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป

1 โครงการที่เห็นควรสนับสนุนในกรอบวงเงิน (Y1) หมายถึง โครงการที่มีความสำคัญในลำดับแรก มีความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์จังหวัด มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ และเป็นปัญหาสำคัญของจังหวัด
2โครงการที่เห็นควรสนับสนุนเกินกรอบวงเงิน (Y2) หมายถึง โครงการที่มีความสำคัญและจำเป็นรองลงมา ซึ่งสามารถนำมาเป็นโครงการสำรอง ในกรณีที่มีโครงการ YI ไม่สามารถดำเนินการได้ สามารถนำโครงการเหล่านี้มาดำเนินการทดแทนได้

16. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาอุทกภัยระยะเร่งด่วนในพื้นที่เจ้าพระยาใหญ่
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาอุทกภัยระยะเร่งด่วนในพื้นที่เจ้าพระยาใหญ่ในปี พ.ศ. 2566 จำนวน 84 รายการ ภายใต้กรอบวงเงิน 723.5419 ล้านบาท ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนทช.) เสนอ  โดยรายละเอียดของแผนการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

17. เรื่อง ร่างนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2565-2567 และร่างแผนปฏิบัติการด้านการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2566-2570 รวม 2 ฉบับ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2565-2567  และตารางประสานสอดคล้องแสดงแนวทางดำเนินงานและความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์/แผนหลักที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2565-2567  ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ และเสนอรัฐสภาเพื่อทราบต่อไป
                    2. เห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการด้านการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2566-2570 ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอและให้ดำเนินการต่อไปได้
                    3. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นกรอบในการจัดทำโครงการ กิจกรรม และงบประมาณรองรับในการขับเคลื่อนงานตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553
                    4. กรณีที่นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2565-2567 สิ้นสุดห้วงเวลาบังคับใช้ และแนวทางนโยบายดังกล่าวยังสอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าว ให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอสภาความมั่นคงแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบใช้นโยบายดังกล่าวต่อไปจนสิ้นสุดกรอบระยะเวลาที่ 2 ของยุทธศาสตร์ (พ.ศ. 2566-2570) โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีอีก
                    5. ให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงยุติธรรมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    6. ให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักข่าวกรองแห่งชาติสำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

18. เรื่อง การปรับเพิ่มเงินค่าตอบแทนของผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (ร่างระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินค่าตอบแทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2544 ในส่วนที่กำหนดหลักการให้ปรับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนของผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไม่เกินร้อยละ 20 สำหรับการออกร่างระเบียบในเรื่องนี้ มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ภายใต้กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    ทั้งนี้ มท. เสนอว่า
                    1. สมาคมองค์กรบริหารท้องถิ่นประเทศไทยได้ยื่นหนังสือเพื่อขอให้มีการปรับเพิ่มอัตราเงินค่าตอบแทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อให้เกิดความเสมอภาค และความเท่าเทียมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือเทศบาล และเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหาร และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เนื่องจากตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 ไม่ได้มีการปรับเงินค่าตอบแทนแต่อย่างใดจนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลา 11 ปี
                     2. ในการดำเนินการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้วิเคราะห์ผลดี ผลเสีย ผลกระทบ และฐานะการเงินการคลังขององค์การบริหารส่วนตำบล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                    3. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจึงได้ยกร่างระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินค่าตอบแทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ขึ้น โดยยกเลิกบัญชีอัตราค่าตอบแทนท้ายระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินค่าตอบแทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2554 และจัดทำบัญชีใหม่โดยปรับเพิ่มค่าตอบแทนผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลให้มีอัตราเดียวกับบัญชีเงินเดือนและค่าตอบแทนของเทศบาล ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยเงินเดือน เงินค่าตอบแทน และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของนายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ประธานสภาเทศบาล รองประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล เลขานุการนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และการจ่ายค่าเบี้ยประชุมกรรมการสภาเทศบาล พ.ศ. 2554 เพื่อให้เกิดความเสมอภาคและเท่าเทียม โดยให้จ่ายค่าตอบแทนตามบัญชีอัตราค่าตอบแทนใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป
                    4. การปรับเงินค่าตอบแทนตามร่างระเบียบฯ จะใช้งบประมาณจากรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล
                    5. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นกรณีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินค่าตอบแทนฯ เพื่อปรับเพิ่มเงินค่าตอบแทน ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศกับผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น และนักวิชาการ ตลอดจนประชาชนทั่วไป ซึ่งปรากฏผลสรุปว่า ร้อยละ 92.20 เห็นด้วยกับการให้มีการปรับเพิ่มเงินค่าตอบแทนให้กับผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในครั้งนี้
                     6. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นชอบในหลักการแก้ไขเพิ่มเติมร่างระเบียบฯ ตามข้อ 3.
                    สาระสำคัญของร่างระเบียบ
                    เป็นการปรับเพิ่มเงินค่าตอบแทนของผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล โดยยกเลิกบัญชีอัตราค่าตอบแทนท้ายระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินค่าตอบแทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2554 และให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ท้ายร่างระเบียบนี้แทน โดยให้จ่ายค่าตอบแทนตามบัญชีอัตราค่าตอบแทนใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป
(หมายเหตุ : เงินค่าตอบแทนที่ปรับเพิ่มในครั้งนี้มีอัตราเดียวกับบัญชีเงินเดือนและค่าตอบแทนของเทศบาล)

บัญชีอัตราเงินค่าตอบแทน
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล (ล้านบาท)          นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
          เงินค่าตอบแทนรายเดือน (บาท/เดือน)          เงินค่าตอบแทนประจำตำแหน่ง(บาท/เดือน)          เงินค่าตอบแทนพิเศษ
(บาท/เดือน)          รวม
(บาท/เดือน)
เกิน 300
เกิน 100 - 300
เกิน 50 - 100
เกิน 25 - 50
เกิน 10 - 25
ไม่เกิน 10          55,530
45,000
30,000
28,800
27,600
19,800          10,000
9,000
8,000
6,000
4,000
3,000          10,000
9,000
8,000
6,000
4,000
3,000          75,530
63,000
46,000
40,800
35,600
25,800

รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล (ล้านบาท)          รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
          เงินค่าตอบแทนรายเดือน (บาท/เดือน)          เงินค่าตอบแทนประจำตำแหน่ง(บาท/เดือน)          เงินค่าตอบแทนพิเศษ
(บาท/เดือน)          รวม
(บาท/เดือน)
เกิน 300
เกิน 100 - 300
เกิน 50 - 100
เกิน 25 - 50
เกิน 10 - 25
ไม่เกิน 10          30,540
24,720
16,500
15,840
15,180
10,880          7,500
6,750
6,000
4,500
3,000
2,300          7,500
6,750
6,000
4,500
3,000
2,300          45,540
38,220
28,500
24,840
21,180
15,480

รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล (ล้านบาท)          เงินค่าตอบแทนรายเดือน
(บาท/เดือน)
          ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล          รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล          สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล          เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล          เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
เกิน 300
เกิน 100 - 300
เกิน 50 - 100
เกิน 25 - 50
เกิน 10 - 25
ไม่เกิน 10          30,540
24,720
16,500
15,840
15,180
10,880          24,990
20,250
13,500
12,960
12,420
8,900          19,440
15,750
10,500
10,080
9,660
7,080          19,440
15,750
10,500
10,080
9,660
7,080          19,440
15,750
10,500
10,080
9,660
7,080


19. เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปรับปรุงใหม่)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปรับปรุงใหม่) (โครงการฯ) ดังนี้
โครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
(ปรับปรุงใหม่)
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่
20 ธันวาคม 2565          กค. เสนอขอทบทวนในครั้งนี้
1. คุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อ เป็นผู้ที่ยังไม่เคยได้รับสินเชื่อตามโครงการฯ หรือได้รับสินเชื่อตามโครงการฯ ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาแล้วไม่เกิน 5 ปี (เพื่อให้ความช่วยเหลือเป็นไปอย่างทั่วถึง)          ปรับปรุงคุณสมบัติของผู้ขอรับสินเชื่อ โดยขยายความช่วยเหลือให้ผู้ที่เคยได้รับสินเชื่อของโครงการมาเกิน 5 ปี สามารถเข้าร่วมโครงการฯ ได้ (เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายเดิมที่เคยได้รับสินเชื่อมาแล้วเกิน 5 ปี)
2. วงเงินโครงการฯ รวมทั้งสิ้น 25,000 ล้านบาท          ปรับปรุงวงเงินโครงการ โดยแบ่งเป็น
(1) วงเงิน 20,000 ล้านบาท สำหรับผู้ที่เคยได้รับสินเชื่อของโครงการฯ (ลูกหนี้รายเดิม) ที่สิ้นสุดระยะเวลาไปแล้วเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2565 และมีความประสงค์ขอรับสินเชื่อตามโครงการฯ เพื่อเสริมสภาพคล่องและแบ่งเบาภาระในช่วงระหว่างวางแผนบริหารจัดการทางการเงินในการชำระคืนสินเชื่อ
(2) วงเงิน 5,000 ล้านบาท สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยได้รับสินเชื่อของโครงการฯ มาก่อน (ลูกหนี้รายใหม่)
ทั้งนี้ ในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อให้สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้ความสำคัญกับผู้ที่ยังไม่เคยได้รับสินเชื่อมาก่อนเป็นลำดับแรก และเพื่อให้การจัดสรรวงเงินโครงการฯ มีความเหมาะสมกับความต้องการของผู้ประกอบการ ภายหลังจากวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ให้ธนาคารออมสิน (ธ.ออมสิน) สามารถบริหารจัดการวงเงินโครงการฯ ได้ตามความเหมาะสม
หมายเหตุ : มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 เป็นการขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2560 (เรื่อง มาตรการด้านการเงินสำหรับเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้) ซึ่งในครั้งนั้นไม่ได้กำหนดวงเงินกู้ต่อรายแต่กำหนดระยะเวลาให้สินเชื่อแต่ละรายไม่เกิน 5 ปี (ครบกำหนดวันที่ 31 ธันวาคม 2565)
3. วงเงินกู้สูงสุดต่อรายไม่เกิน 20 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2568 หรือจนกว่าวงเงินที่กำหนดไว้ จะถูกจัดสรรหมด แล้วแต่อย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อนและ ธ.ออมสิน เบิกจ่ายสินเชื่อให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2566           1. ปรับวงเงินกู้ต่อรายและขยายระยะชำระเงินกู้ ดังนี้
          (1) ผู้ประกอบการที่เคยได้รับสินเชื่อของโครงการฯ (ลูกหนี้รายเดิม)
          - กรณีผู้ที่เคยได้รับวงเงินกู้เกิน 20 ล้านบาท กู้ได้สูงสุดไม่เกินวงเงินที่เคยได้รับโดยต้องชำระเงินกู้ให้คงเหลือไม่เกิน 50 ล้านบาท (กรณีเป็นลูกหนี้รายเดิมตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2560 อาจมีวงเงินกู้เงิน 20 ล้านบาท เนื่องจากในครั้งนั้นไม่ได้กำหนดวงเงินกู้ต่อราย) ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 และชำระเงินกู้ให้คงเหลือไม่เกิน 20 ล้านบาท ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 หลังจากนั้นต้องชำระเงินกู้ส่วนที่เหลือให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2568
          - กรณีผู้ที่เคยได้รับวงเงินกู้ไม่เกิน 20 ล้านบาท กู้ได้สูงสุดไม่เกิน 20 ล้านบาท ระยะเวลาชำระเงินกู้ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2568
          (2) ผู้ประกอบการรายใหม่ (ลูกหนี้รายใหม่) ให้วงเงินสูงสุดไม่เกิน 20 ล้านบาท ระยะเวลาชำระเงินกู้ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2568 โดยให้สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการฯ ร่วมกับผู้ประกอบการจัดทำแผนการชำระหนี้และกำหนดหลักเกณฑ์การชำระคืนสินเชื่อ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถชำระคืนสินเชื่อให้แล้วเสร็จได้ตามระยะเวลาที่กำหนดภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2568
2. ขยายระยะเวลาเบิกจ่ายสินเชื่อของ ธ.ออมสิน เดิม จากเดิม 30 มิถุนายน 2566 เป็น 31 ธันวาคม 2567
4. เงื่อนไขอื่น ๆ           (1) ธ.ออมสิน กำหนดหลักเกณฑ์และกระบวนการในการให้สินเชื่อกับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ และสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการจัดทำข้อมูลรายละเอียดและวัตถุประสงค์การใช้วงเงินสินเชื่อของลูกหนี้ตามหลักเกณฑ์ตามที่ ธ.ออมสิน กำหนด เพื่อประกอบการเบิกจ่ายสินเชื่อกับ ธ.ออมสิน
(2) สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องสอบทานกระบวนการอนุมัติสินเชื่อและสุ่มสอบทานสินเชื่อรายลูกหนี้ในโครงการฯ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขของโครงการฯ พร้อมทั้งจัดทำรายงานสรุปผลการสอบทานดังกล่าวเป็นการเฉพาะแยกจากธุรกรรมสินเชื่อประเภทอื่น ๆ เป็นประจำทุกไตรมาส และรวบรวมรายงานดังกล่าวไว้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานการสอบทานสินเชื่อสำหรับการเข้าตรวจสอบสถาบันการเงินประจำปีของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ทั้งนี้ ให้มีผลนับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ
                    โดย กค. แจ้งว่า การดำเนินการดังกล่าวไม่เข้าข่ายลักษณะของกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เนื่องจากไม่ได้ก่อให้เกิดภาระงบประมาณเพิ่มขึ้นโดยยังอยู่ภายใต้กรอบงบประมาณชดเชยเดิม รวมทั้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นยังคงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้เคยให้ความเห็นชอบไว้ (มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565)


20. เรื่อง ขออนุมัติดำเนินโครงการทางพิเศษฉลองรัชส่วนต่อขยาย (ช่วงจตุโชติ-ถนนลำลูกกา) ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอดังนี้
                    1. อนุมัติให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ดำเนินโครงการทางพิเศษฉลองรัชส่วนต่อขยาย (ช่วงจตุโชติ-ถนนลำลูกกา)1 (โครงการฯ) ระยะทาง 16.21 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุนโครงการ 24,060.04 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าก่อสร้างและค่าควบคุมงาน 20,333.23 ล้านบาท และค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 3,726.81 ล้านบาท
                    2. อนุมัติแหล่งเงินลงทุนสำหรับดำเนินโครงการฯ ดังนี้
                              2.1 ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมดในวงเงิน 3,726.81 ล้านบาท โดย กทพ. ขอรับการอุดหนุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมดจากรัฐบาล
                              โดยให้ขอรับการสนันสนุนจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป และให้ กทพ. เร่งเสนอร่างพระกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อก่อสร้างโครงการฯ ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขันตอนโดยเร็ว ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                              2.2 ค่าก่อสร้างและค่าควบคุมงานให้ กทพ. ใช้เงินที่ได้จากการระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (Thailand Future Fund : TFF) ที่มีอยู่เป็นจำนวนเงิน 14,374 ล้านบาท และออกพันธบัตรเพิ่มเติมในกรอบวงเงินประมาณ 5,960 ล้านบาท โดย กทพ. จะทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง (กค.) เพื่อจัดหาแหล่งเงินลงทุนโครงการที่เหมาะสมต่อไป
                    3. อนุมัติในหลักการให้ กทพ. ดำเนินโครงการส่วนต่อขยายไปเชื่อมต่อกับถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 เมื่อได้ข้อยุติเรื่องรูปแบบการก่อสร้างโครงการทางพิเศษ สายฉลองรัช - นครนายก - สระบุรี กับโครงการถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ของกรมทางหลวง และโครงข่ายทางรถไฟร่วมกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (MR-MAP) เรียบร้อยแล้ว
                    สาระสำคัญ
                    คค. โดย กทพ. ได้จัดทำโครงการฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการเดินทางและการขนส่งสินค้าระหว่างพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียงที่มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ช่วยบรรเทาปัญหาจราจรติดขัดบนถนนรังสิต - นครนายก และโครงข่ายถนนโดยรอบ และเพิ่มทางเลือกการเดินทางของประชาชนระหว่างจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดใกล้เคียงเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน รองรับการขยายตัวของแหล่งชุมชนและที่อยู่อาศัย รวมทั้งสถานศึกษาและนันทนาการของภาครัฐทั้งที่เปิดให้บริการและอยู่ระหว่างการพัฒนา ทั้งนี้ กทพ. ได้บรรจุโครงการดังกล่าวไว้ในแผนแม่บทการพัฒนาทางพิเศษของ กทพ. แล้ว โดยอยู่ในแผนเร่งด่วนทางพิเศษระหว่างจังหวัดแล้วมีสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ
1. แนวสายทางโครงการฯ           - เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร (ไป - กลับ) ระยะทางประมาณ 16.21 กิโลเมตร โดยมีจุดเริ่มต้นทางหลักของโครงการฯ เชื่อมต่อกับทางพิเศษสายฉลองรัชที่ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษจตุโชติบริเวณถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก (ถนนกาญจนาภิเษก) และมุ่งหน้าทิศตะวันออกตัดผ่านถนนหทัยราษฎร์และถนนนิมิตใหม่ และเลี้ยวขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อเชื่อมต่อถนนลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
- มีทางแยกต่างระดับ 1 แห่ง และทางขึ้น - ลง 3 แห่ง ได้แก่ (1) ทางแยกต่างระดับจตุโชติ (2) ทางขึ้น - ลงจตุโชติ 1 และหทัยราษฎร์ 1 (3) ทางขึ้น - ลง หทัยราษฎร์ 2 และ (4) ทางขึ้น - ลง ถนนลำลูกกา มีด่านเก็บค่าผ่านทาง 3 ด่าน คือ ด่านจตุโชติ ด่านหทัยราษฎร์ ด่านลำลูกกา
2. รูปแบบโครงสร้างและระบบทางพิเศษ          - รูปแบบโครงสร้าง ได้ออกแบบเป็นเสาเดี่ยว (Single Column) รูปตัว T รองรับโครงสร้างส่วนบนสำหรับทางพิเศษ 3 ช่องจราจรต่อทิศทาง สำหรับช่วงที่มีพื้นที่จำกัดเนื่องจากมีถนนระดับดิน (At grade) ใต้ทางพิเศษได้ออกแบบโครงสร้างเป็นเสาเดี่ยว (Single Column) รูปตัว Y รองรับโครงสร้างส่วนบนสำหรับทางพิเศษ 6 ช่องจราจรไปกลับ ทั้งนี้ ได้มีการออกแบบด้านวิศวกรรมทางให้รองรับความเร็ว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- การพัฒนาระบบทางพิเศษ เช่น ระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ ระบบผ่านทางแบบอัตโนมัติ (Free Flow) ระบบจราจรอัจริยะ (ITS) ระบบกล้องวงจรปิดและกล้องบันทึกเหตุการณ์อัตโนมัติ เป็นต้น
3. ระยะเวลาดำเนินโครงการฯ           - 5 ปี โดยมีกำหนดเปิดให้บริการปี 2570
4. วงเงินลงทุน          - รวมทั้งสิ้น 24,060.04 ล้านบาท ประกอบด้วย (1) ค่าก่อสร้างและค่าควบคุมงาน 20,333.23 ล้านบาท และ (2) ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 3,726.81 ล้านบาท (รัฐบาลอุดหนุน)
5. แหล่งเงินทุน          ประกอบด้วย
(1) ขอรับการอุดหนุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำนวน 3,726.81 ล้านบาท จากรัฐบาล
(2) ขอนำเงินกองทุน TFF2 ที่เตรียมไว้สำหรับก่อสร้างโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ระยะที่ 1 (ตอน N2 ถนนประเสริฐมนูกิจเชื่อมต่อไปยังถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก) จำนวน 14,374 ล้านบาท มาใช้ในการก่อสร้างโครงการฯ ซึ่งมีความพร้อมก่อนเป็นลำดับแรก เพื่อเป็นการลดผลกระทบทางการเงินจากส่วนต่างของต้นทุนทางการเงินจากการระดมทุน (Negative Carry)
(3) ออกพันธบัตรเพิ่มเติมเบี้ยสมบทสำหรับวงเงินที่ขาดอีกประมาณ 5,960 ล้านบาท
6. อัตราค่าผ่านทางและประมาณการรายได้ค่าผ่านทาง          - อัตราค่าผ่านทาง (ด่านจตุโชติ - ด่านลำลูกกา) ปีที่ 1 รถ 4 ล้อ มีอัตราค่าแรกเข้า 20 บาท + 1.25 บาทต่อกิโลเมตร รถ 6 - 10 ล้อ มีอัตราค่าแรกเข้า 40 บาท + 2.50 บาทต่อกิโลเมตร และรถมากกว่า 10 ล้อ มีอัตราค่าแรกเข้า 60 บาท + 3.75 บาทต่อกิโลเมตร โดยกำหนดปรับอัตราค่าผ่านทางทุก ๆ 5 ปี เป็นอัตราคงที่ ณ ปีนั้น ๆ อ้างอิงจากดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ร้อยละ 1.834 ซึ่งอ้างอิงค่า CPI เฉลี่ย 10 ปี ย้อนหลัง (ปี 2555 - 2564) ของจังหวัดในพื้นที่ศึกษา ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นครนายก และสระบุรี และปัดตามหลักคณิตศาสตร์ คือ หากเกิน 2.5 บาท ให้ปัดขึ้นเป็น 5 บาท
- ปริมาณจราจร ปีที่ 1 อยู่ที่ 36,625 คันต่อวัน และเพิ่มขึ้นเป็น 161,004 คันต่อวัน ในปีที่ 32
- รายได้ ปีที่ 1 อยู่ที่ 1.4 ล้านบาทต่อวัน และเพิ่มขึ้นเป็น 13.9 ล้านบาทต่อวัน ในปีที่ 32
7. ผลตอบแทนทางการเงิน          - มีอัตราผลตอบแทนทางการเงิน (Financial Internal Rate of Return) อยู่ที่ร้อยละ 4.29
- มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV) ณ อัตราคิดลดเท่ากับต้นทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Cost of Capital: WACC) ร้อยละ 5.66 อยู่ที่ติดลบ 4,177.33 ล้านบาท
8. ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ          - มีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (Economic Internal Rate of Return) อยู่ที่ร้อยละ 15.97
- มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ณ อัตราคิดลดร้อยละ 12 อยู่ที่ 7,351.53 ล้านบาท
9. การดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม          - คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 2/2654 เมื่อวันที่ 26มีนาคม 2564 มีมติเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการทางพิเศษสายฉลองรัช - นครนายก - สระบุรี โดยโครงการฯ มีขอบเขตพื้นที่การดำเนินการไม่แตกต่างจากโครงการทางพิเศษสายฉลองรัช - นครนายก - สระบุรี ระยะที่ 1 (ช่วงจตุโซติ - ถนนลำลูกกา) ตามรายงานการประเมินผลกระทบ
สิ่งแวดล้อมดังกล่าว
10. การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน          - รวมค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน (รวมค่าชดเชยสิ่งปลูกสร้าง) ทั้งสิ้น 3,726.81 ล้านบาท โดยคำนวณตามราคาประเมิน ณ ปี 2564 ประกอบด้วย (1) พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการเวนคืน จำนวน 471 ไร่ 99  ตารางวา และ (2) อาคารและสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 134 หลัง
11. แผนการดำเนินโครงการ          - เดือนมีนาคม - กันยายน 2566 เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน คัดเลือกผู้ควบคุมงานก่อสร้าง และคัดเลือกผู้รับจ้างก่อสร้าง
- เดือนตุลาคม 2566 - กันยายน 2568 จัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
- เดือนกันยายน 2567 - สิงหาคม 2570 ก่อสร้างโครงการฯ

                    12. การบูรณาการร่วมกับโครงการอื่น
                    ปัจจุบันกรมทางหลวงและ กทพ. ได้บูรณาการการดำเนินงานศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR - MAP) ในส่วนของการบูรณาการ (1) โครงการทางพิเศษสายฉลองรัช - นครนายก - สระบุรี กับ (2) ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 (MR10) และ (3) ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายกาญจนาภิเษก - สระแก้ว (MR6) โดยคาดว่าจะปรับแนวเส้นทางของโครงการฯ (ซึ่งเดิมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางพิเศษสายฉลองรัช - นครนายก - สระบุรี) ให้ไปเชื่อมต่อและมีจุดขึ้น - ลง เดียวกันกับโครงการถนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 (MR10) และทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายกาญจนาภิเษก - สระแก้ว (MR6) โดยเมื่อได้ข้อยุติเรื่องรูปแบบการก่อสร้างโครงการทางพิเศษสายฉลองรัช - นครนายก - สระบุรี กับโครงการถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ของกรมทางหลวงและโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR-MAP) แล้ว กทพ. จะพัฒนาแนวเส้นทางดังกล่าวเป็นส่วนต่อขยายของโครงการฯ ต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ กทพ. อยู่ระหว่างศึกษาและจัดทำรายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการศึกษาและจัดทำรายงานการทบทวนการศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม จราจร ขนส่ง เศรษฐกิจ และการเงินของโครงการทางพิเศษสายฉลองรัช - นครนายก - สระบุรี ช่วงจตุโชติ - ถนนวงแหวนรอบนอก กรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 (MR10) ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2566 เพื่อจัดส่งให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมพิจารณาต่อไป
                    13. คณะกรรมการ กทพ. ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2565 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 มีมติอนุมัติในหลักการโครงการฯ ต่อมาในการประชุมเวียนคณะกรรมการ กทพ. เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 มีมติรับทราบการส่งข้อมูลโครงการฯ เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อเป็นโครงการ และการลดขนาดการลงทุนโครงการฯ ในส่วนของในการใช้ประโยชน์จากสิ่งปลูกสร้าง ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางและระบบควบคุมความปลอดภัยด้านการจราจร และสิ่งอำนวยความสะดวกร่วมกับทางพิเศษสายฉลองรัชแล้ว
1 กทพ. ได้ปรับชื่อโครงการ จากเดิม ?โครงการทางพิเศษสายฉลองรัช - นครนายก - สระบุรี ระยะที่ 1 (ช่วงจตุโชติ - ถนนลำลูกกา)? เป็น ?โครงการทางพิเศษฉลองรัชส่วนต่อขยาย (ช่วงจตุโชติ - ถนนลำลูกกา)? โดยถือว่าเป็นส่วนต่อขยายออกไปจากจุดสิ้นสุดของทางพิเศษฉลองรัช ซึ่งปัจจุบันมีระยะทาง 28.2 กิโลเมตร เพิ่มออกไปอีก 14 กิโลเมตร และโครงการฯ อยู่ในแผนการพัฒนาโครงการทางพิเศษเพิ่มเติมที่จะช่วยแก้ปัญหาจราจรและเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทาง ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565 - 2569) ซึ่งคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 มีมติรับทราบแล้ว
2 จากการระดมทุนผ่านกองทุน TFF ที่ได้รับเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2561 จำนวน 44,811 ล้านบาท เพื่อใช้ในการก่อสร้างโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก วงเงินลงทุนจำนวน 30,437 ล้านบาท และเพื่อใช้ในการก่อสร้างโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ระยะที่ 1 (ตอน N2 ถนนประเสริฐมนูกิจเชื่อมต่อไปยังถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก) วงเงินลงทุนจำนวน 14,374 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2560

21. เรื่อง โครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ ชุดที่ 1
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินการก่อสร้างและติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ ชุดที่ 1 ในวงเงินรวมทั้งสิ้น 863.40 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินตราต่างประเทศ 484.80 ล้านบาท และเงินบาท 378.60 ล้านบาท และให้ถือว่า กฟผ. ได้รับอนุมัติงบประมาณเพื่อการลงทุนตามแผนการประมาณการเบิกจ่ายประจำปี 2566
                    สาระสำคัญ
                    พน. โดย กฟผ. ได้จัดทำโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ ชุดที่ 1 (โครงการฯ) เพื่อเป็นต้นแบบการศึกษาแนวทางและต่อยอดพัฒนาสู่โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่มีการติดตั้งระบบกักเก็บพลังงาน (Battery Energy Storage System: BESS) เพื่อเพิ่มความมั่นคงและรักษาเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าในช่วงที่ไม่มีแสงแดด และช่วงเปลี่ยนผ่านพลังงานระหว่างพลังงานแสงอาทิตย์ไปเป็นพลังงานน้ำ โดยโครงการฯ มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 - 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (แผน PDP2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1) มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ
1. วัตถุประสงค์ของโครงการฯ          เพื่อเป็นต้นแบบการศึกษาแนวทางและต่อยอดพัฒนาสู่โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ที่มีการติดตั้งระบบกักเก็บพลังงาน (BESS) รวมทั้งเป็นการเพิ่มสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนภายในประเทศ รองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในจังหวัดและภูมิภาคที่สูงขึ้น
รวมทั้งลดการซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ และเป็นการใช้พื้นที่ของ กฟผ. โดยเฉพาะพื้นที่อ่างเก็บน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2. ที่ตั้งโครงการฯ          ตั้งอยู่บริเวณทิศใต้ของสันเขื่อนอุบลรัตน์ ตำบลอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ใช้พื้นที่ประมาณ 250 ไร่ (10 ไร่/เมกะวัตต์) หรือคิดเป็นร้อยละ 0.32 ของพื้นที่ผิวน้ำ
3. ข้อมูลด้านเทคนิค          - มีขนาดกำลังผลิตไฟฟ้าตามสัญญา 24 เมกะวัตต์ และมีขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 31.2 เมกะวัตต์พีคโดยติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกซิลิคอน (c-Si) สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ยประมาณ 44.98 ล้านหน่วยต่อปี [อัตราการเดินเครื่อง (Plant Capacity Factor) ร้อยละ 18.10]
- ติดตั้งระบบ BESS ขนาดกำลังจ่ายไฟฟ้าประมาณ 6 เมกะวัตต์ ขนาดพิกัด 3 เมกะวัตต์ชั่วโมง โดยเชื่อมโยงเข้าระบบไฟฟ้าของ กฟผ. ที่สถานีไฟฟ้าแรงสูงเขื่อนอุบลรัตน์ 115 กิโลโวลต์
- ติดตั้งระบบบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System: EMS) ร่วมกับระบบการพยากรณ์อากาศ (Weather Forecast System) เพื่อบริหารจัดการการผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานระหว่างพลังงานแสงอาทิตย์และโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่มีอยู่เดิม โดยจะผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงกลางวันแทนโรงไฟฟ้าพลังน้ำ และนำมวลน้ำมาผลิตไฟฟ้าเสริมในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในช่วงค่ำหรือช่วงที่ไม่มีแสงอาทิตย์ในเวลากลางวัน
4. ระยะเวลาดำเนินโครงการฯ           1 ปี โดยมีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ภายในปี 2566
5. วงเงินลงทุน          รวมทั้งสิ้น 863.40 ล้านบาท ประกอบด้วย (1) ค่าใช้จ่ายเพื่อซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ 484.80 ล้านบาท (เทียบเท่า 15.39 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 31.50 บาท) และ (2) ค่าใช้จ่ายเพื่อซื้ออุปกรณ์ในประเทศและการบริหารงานก่อสร้าง 378.60 ล้านบาท
6. แหล่งเงินทุน           (1) เงินรายได้ของ กฟผ. ร้อยละ 40
(2) แหล่งเงินทุนอื่น ๆ ร้อยละ 60 โดย กฟผ. จะพิจารณาแหล่งเงินทุนสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายโครงการ ดังนี้
-          ค่าใช้จ่ายในส่วนเงินบาท ใช้จากแหล่งใดแหล่งหนึ่งหรือหลายแหล่งรวมกัน จากธนาคาร/สถาบันการเงินในประเทศ การออกพันธบัตรลงทุนในประเทศ การระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานและเงินรายได้ของ กฟผ.
-          กรณีที่จำเป็นต้องใช้เงินตราต่างประเทศ ใช้จากแหล่งใดแหล่งหนึ่ง หรือหลายแหล่งรวมกันจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ธนาคาร/สถาบันเพื่อการนำเข้า - ส่งออกธนาคาร/สถาบันการเงินต่างประเทศ และ/หรือในประเทศ การออกพันธบัตรลงทุนต่างประเทศ
7. ผลตอบแทนทางการเงิน          - มีอัตราผลตอบแทนทางการเงิน (Financial Internal Rate of Return) อยู่ที่ร้อยละ 5.77
- มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV) ณ อัตราคิดลดเท่ากับต้นทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Cost of Capital: WACC) ร้อยละ 5.26 อยู่ที่ 90 ล้านบาท
- ราคาค่าไฟเฉลี่ยของโครงการฯ อยู่ที่ 1.99 บาท/หน่วย
8. ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ          - มีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (Economic Internal Rate of Return) อยู่ที่ร้อยละ 32.57
9. ผลกระทบต่ออัตราค่าไฟฟ้า          - โครงการฯ จะทำให้อัตราค่าไฟฟ้าขายส่งเพิ่มขึ้น 0.02 สตางค์ต่อหน่วย ตลอดอายุโครงการฯ (25 ปี)
10. กองทุนพัฒนาไฟฟ้า          - ระหว่างก่อสร้างประมาณ 1.56 ล้านบาท (50,000 บาทต่อเมกะวัตต์ติดตั้งต่อปี x 31.2 เมกะวัตต์)
- ระหว่างดำเนินการผลิต 0.01 บาทต่อหน่วย คิดเป็น 449,800 บาทต่อปี หรือประมาณ 11.25 ล้านบาท ตลอดอายุโครงการ 25 ปี
11. การดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม          - โครงการฯ ไม่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) และรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination: IEE)
- โครงการฯ เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานประมวลหลักปฏิบัติ (Code of Practice: CoP) ตามระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการขอใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการศึกษามาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย (Environmental & Safety Assessment: ESA เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม
12. การขออนุญาตใช้พื้นที่          - พื้นที่ราชพัสดุ (บริเวณพื้นที่หัวงานและพื้นที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์) กฟผ. ได้ดำเนินการเช่าที่ราชพัสดุต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเรียบร้อยแล้ว
- พื้นที่ป่าไม้ถาวร (บริเวณพื้นที่หัวงานเขื่อนอุบลรัตน์) ต้องยื่นต่อสำนักงานป่าไม้ท้องที่และดำเนินการจัดทำรายการการตรวจสภาพป่าเสนอกรมป่าไม้
13. ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น          - เพิ่มสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนภายในประเทศตามแผน PDP2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในจังหวัดและในภูมิภาค ลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงนำเข้าจากต่างประเทศ รวมทั้งสนองนโยบาย Carbon Neutrality และ Net Zero Emissions
- สามารถบริหารการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นการใช้ระบบและอุปกรณ์ที่มีอยู่ให้เต็มประสิทธิภาพโดยเพิ่มเติมเท่าที่จำเป็น
- ชุมชนรอบโรงไฟฟ้าได้รับประโยชน์ต่าง ๆ เช่น มีกองทุนพัฒนาไฟฟ้า มีการสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับชุมชน
                    14. คณะกรรมการ กฟผ. ในคราวประชุมครั้งที่ 12/2562 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2562 มีมติเห็นชอบโครงการฯ

22. เรื่อง การขอความเห็นชอบโครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาระบบราง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการของแผนงานและงบประมาณโครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาระบบราง (โครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยฯ) (ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 - 2570 วงเงินทั้งสิ้น 7,718.94 ล้านบาท) ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
                    สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณ 2566 ให้ พอช. พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 และการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยใช้จากเงินทุนหมุนเวียนของ พอช. ที่คงเหลืออยู่ตามความจำเป็นเร่งด่วน รวมทั้งการให้เงินสนับสนุนเงินช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบสำหรับปีงบประมาณต่อ ๆ ไป ให้เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นเหมาะสมและสอดคล้องกับความเร่งด่วนตามขั้นตอนต่อไป และขอให้ พม. ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วน โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญ
                    เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติ (1 กุมภาพันธ์ 2565) รับทราบแนวทางการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) จำนวน 15 กรณีปัญหา ซึ่งรวมถึงประเด็นข้อเรียกร้องเกี่ยวกับปัญหาที่อยู่อาศัยในชุมชนในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่เห็นควรให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) พม. ดำเนินการเสนอโครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยฯ ต่อคณะรัฐมนตรีในระยะต่อไปโดยเร่งด่วน เพื่อรองรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาของรัฐและได้รับความเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัย โดยเทียบเคียงกับกรณีการดำเนินโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองลาดพร้าวและคลองเปรมประชากรที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนริมคลองและการพัฒนาการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติ (8 มีนาคม 2559) เห็นชอบการดำเนินงานโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลอง (พ.ศ. 2559 - 2561) เป้าหมาย 11,004 ครัวเรือน ในงบประมาณ 4,061.44 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย เงินสนับสนุนการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและอุดหนุนที่อยู่อาศัยครัวเรือนละ 80,000 บาท เงินช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบและเสียโอกาสเฉลี่ยครัวเรือนละ 80,000 บาท การสนับสนุนสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ครัวเรือนละ 250,000 บาท และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างต่อเนื่องตามหน้าที่และอำนาจต่อไป ตามที่คณะกรรมการแก้ไขปัญหาของ ขปส. เสนอ
                    พม. โดย พอช. จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยฯ และคณะกรรมการ พอช.
ในการประชุมครั้งที่ 8/2565 เห็นชอบด้วยแล้ว โดยมีสระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

หัวข้อ          รายละเอียด
วัตถุประสงค์          1) เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาระบบราง
2) เพื่อสร้างความมั่นคงในการอยู่อาศัยและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้มีรายได้น้อยในทุกมิติและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
3) เพื่อพัฒนาการจัดการพื้นที่ร่วมกันระหว่างชุมชน ท้องถิ่น และหน่วยงานต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม
แนวทางและหลักการสำคัญในการดำเนินงาน          มุ่งเน้นการพัฒนาที่ให้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง โดยมีแนวทางที่สำคัญ ได้แก่
1) ชุมชนเป็นเจ้าของโครงการ แผนงานโครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยฯ ตั้งอยู่บนพื้นฐานความต้องการของชุมชน โดยการจัดทำแผนงานและรูปแบบของโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยจะสอดคล้องกับงบประมาณและความสามารถในการรับภาระของชุมชนและผู้อยู่อาศัย รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของชุมชนในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การออมทรัพย์ การบริหารจัดการองค์กรการจัดการที่ดิน และการบริหารจัดการงานก่อสร้าง เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่มั่นคงของชุมชนไปพร้อมกับการจัดระบบชุมชนใหม่
2) แก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบโดยครอบคลุมชุมชนที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด มีการสำรวจข้อมูลความเดือดร้อนของชุมชนผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบจากระบบราง และใช้ข้อมูลในการรับรองสิทธิผู้เข้าร่วมโครงการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนการแก้ไขปัญหาให้มีความหลากหลาย ตรงตามสภาพปัญหาและแผนการพัฒนาของชุมชน
3) การทำงานและการจัดการร่วมกันระหว่างชุมชนผู้ได้รับผลกระทบและท้องถิ่น มีกลไกการทำงานร่วมกันเป็นคณะกรรมการ ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ชุมชน หน่วยงานในท้องถิ่น และหน่วยงานระดับจังหวัด ซึ่งมีบทบาทในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย สนับสนุนการดำเนินงานของชุมชน รวมถึงประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น และเอกชนในการแก้ปัญหาของชุมชน
กลุ่มเป้าหมาย          ชุมชนผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาระบบรางใน 35 จังหวัด 300 ชุมชน 27,084 ครัวเรือน เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้มีรายได้น้อย ฐานะยากจน และไม่มีเงินออม ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีรายได้ลดลงหรือไม่มีงานทำขณะเดียวกันถูกไล่รื้อหรือต้องรื้อย้ายเพื่อเตรียมพื้นที่ในการก่อสร้างระบบราง ชุมชนจึงมีข้อจำกัดในด้านการเงินและการออมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย จึงมีความจำเป็นต้องมีการช่วยเหลือเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการจัดการที่อยู่อาศัยชั่วคราวหรือเช่าบ้าน/หอพักระหว่างการรอปลูกสร้างบ้านถาวร
ระยะเวลาดำเนินการ          5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570)
รูปแบบการพัฒนา          1) การสร้างความมั่นคงในที่ดิน โดยทำสัญญาเช่าระยะยาวในที่ดินเดิมหรือที่ดินใหม่กับเจ้าของที่ดิน (เช่น รฟท. กรมธนารักษ์ เอกชน) หรือการจัดซื้อที่ดินเพื่อสร้างชุมชนใหม่นอกพื้นที่ชุมชนเดิม
2) การพัฒนาความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย มีรูปแบบการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่หลากหลาย ได้แก่ การก่อสร้างในที่ดินเดิม การก่อสร้างในที่ดินใหม่ และการดำเนินงานในลักษณะอื่น เช่น การเช่าซื้ออาคารในโครงการที่มีอยู่แล้วทั้งโครงการที่อยู่อาศัยของหน่วยงานรัฐและเอกชน โดยรูปแบบการพัฒนาที่อยู่อาศัย เช่น อาคารแนวราบ อาคารชุด ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่
ความสามารถในการจ่าย การจัดการของชุมชน และการยอมรับร่วมกันในท้องถิ่น
3) การพัฒนาชุมชนด้านเศรษฐกิจและสังคม มีแผนงานในการพัฒนาความมั่นคงของชุมชนทางด้านสังคม อาชีพ การอยู่ร่วมกัน การจัดการด้านการเงิน การจัดระบบสวัสดิการดูแลสมาชิกและผู้ด้อยโอกาสในชุมชน และการพัฒนาอื่น ๆควบคู่กับการพัฒนาทางกายภาพ
กิจกรรม          ปีงบประมาณ พ.ศ./เป้าหมาย (ครัวเรือน)          รวม(ครัวเรือน)
          2566          2567          2568          2569          2570
1) สร้างความมั่นคงในที่ดิน
2) พัฒนาความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย
3) พัฒนาชุมชนด้านเศรษฐกิจและสังคม          939          3,480          5,977          3,809          12,879          27,084

การอุดหนุน          1) สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค อุดหนุนที่อยู่อาศัยเฉลี่ยครัวเรือนละ 80,000 บาท เพื่อใช้ดำเนินการด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่จำเป็นของชุมชน
2) สนับสนุนผู้ได้รับผลกระทบเฉลี่ยครัวเรือนละ 80,000 บาท เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการจัดการที่อยู่อาศัยชั่วคราวหรือเช่าบ้านหอพักระหว่างการรอปลูกสร้างบ้านถาวร การรื้อถอนวัสดุที่อยู่อาศัยเดิม การขนย้ายสิ่งของอุปกรณ์ระหว่างรอที่อยู่อาศัยมายังที่อยู่อาศัยชั่วคราว ค่าขนส่งวัสดุ และการย้ายเข้าในที่อยู่อาศัยที่พัฒนาใหม่
3) งบประมาณเพื่อสนับสนุนสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยสำหรับสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ ซื้อที่ดินใหม่พร้อมสร้างที่อยู่อาศัยใหม่เฉลี่ยไม่เกินครัวเรือนละ 250,000 บาท โดยใช้งบประมาณจากกองทุนหมุนเวียนของ พอช. และเสนอขอรับงบประมาณร้อยละ 50 ของเป้าหมายการดำเนินงาน (เนื่องจากกองทุนหมุนเวียนของ พอช. ให้สินเชื่อกับโครงการอื่นด้วยจึงอาจไม่เพียงพอ หากให้สินเชื่อสำหรับโครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยฯ ทั้งหมด)
ประโยชน์ที่ได้รับ เช่น          1) ชุมชนผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาระบบรางมีความมั่นคงในชีวิตและที่อยู่อาศัย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถแก้ปัญหาชุมชนแออัดและชุมชนบุกรุก และสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ของเมืองและชุมชน
2) ลดผลกระทบและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของภาครัฐ ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน และบูรณาการงานของหน่วยงานในการช่วยเหลือและดูแลกลุ่มผู้มีรายได้น้อย กลุ่มคนเปราะบางในชุมชน รวมถึงเป็นการสร้างความเท่าเทียมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
3) ผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงสวัสดิการขั้นพื้นฐานด้านที่อยู่อาศัย เกิดการปรับเปลี่ยนสถานะจากผู้บุกรุกที่ดินของรัฐเป็นสถานะผู้อยู่อาศัยในชุมชนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย สามารถเข้าถึงสิทธิและโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน รวมถึงสิทธิสวัสดิการและบริการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อคนในชุมชน เช่น การรักษาพยาบาล และการศึกษา
4) เกิดการขยายกิจกรรมพัฒนาชุมชนด้านต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย โดยเกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตและอาชีพในชุมชน อันเป็นการสร้างความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและแก้ไขปัญหาความยากจนในชุมชน เช่น มีระบบการออมทรัพย์และจัดการเงินของชุมชน มีระบบสวัสดิการในการดูแลสมาชิกและผู้ด้อยโอกาสทำให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้
5) กระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม เกิดการลงทุนและขยายการผลิตทั้งภาคการก่อสร้างและภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มการจ้างงานในภาคการก่สร้าง
6) สร้างสินทรัพย์เป็นทุนให้กับครัวเรือนผู้ได้รับผลกระทบในลักษณะที่ดินสิ่งปลูกสร้างโดยพัฒนาสินทรัพย์ให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งชุมชนและครัวเรือนสามารถนำไปแปลงเป็นทุนในการประกอบอาชีพได้ต่อไป (เช่น เปิดร้านค้า ขายสินค้าออนไลน์)


23. เรื่อง การเปิดโครงข่ายขยายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต (โครงการงบ Big Rock) ตามหลักการโครงข่ายแบบเปิด (Open Access Network)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบให้ ดศ. เปิดโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต (โครงการงบ Big Rock) ตามหลักการโครงข่ายแบบเปิด (Open Access Network) โดยใช้แนวทางที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (คณะกรรมการดิจิทัลฯ) ในการประชุมครั้งที่ 3/2561 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2561 เพื่อให้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายไปให้บริการปลายทาง (Last Mile Access) ยังทุกภาคส่วนซึ่งเป็นการใช้โครงข่ายดังกล่าวให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุดลดความซ้ำซ้อนในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม
                    2. รับทราบการโอนทรัพย์สินภายใต้โครงการเน็ตประชารัฐ และโครงการขยายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต (โครงการงบ Big Rock) ให้กับสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) ตามมติคณะกรรมการดิจิทัลฯ ในคราวการประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2565
                    สาระสำคัญ
                    ปี 2561 รัฐบาลได้ดำเนินโครงการขยายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต (โครงการงบ Big Rock) (โครงการฯ) เพื่อขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและปรับปรุงโครงข่ายที่เป็นเทคโนโลยีแบบเก่าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไปยังโรงเรียน โรงพยาบาลของรัฐ และสุขศาลาพระราชทานที่ยังไม่มีโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเข้าถึง (ต่อยอดขยายโครงการเน็ตประชารัฐ โดยมอบหมายให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการ ปัจจุบัน ดศ. โดย บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) [ต่อมา คือ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติจำกัด (มหาชน)] ได้ดำเนินโครงการฯ แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 สามารถขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไปยังโรงเรียน โรงพยาบาล และสุขศาลาพระราชทานในพื้นที่เป้าหมาย รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,671 แห่ง
                    ทั้งนี้ โครงการฯ ได้ติดตั้งอุปกรณ์ปลายทางสำหรับเชื่อมต่อ (Splitter Distribution Point : SDP) จำนวน 5,122 ตัว คิดเป็นจุดเชื่อมต่อจำนวน 40,976 พอร์ต (1 พอร์ต สามารถให้บริการได้ 1 ครัวเรือน) โดยภายหลังการจัดสรรหน่วยงานเป้าหมายข้างต้นแล้ว จำนวน 3,342 พอร์ต และได้สำรองจุดเชื่อมต่อบางส่วนเพื่อสาธารณะประโยชน์ จำนวน 8,573 พอร์ต พบว่า โครงการฯ ยังมีจุดเชื่อมต่อเพื่อใช้ประโยชน์ได้อีก จำนวน 29,061 พอร์ต ดังนั้น โดยที่โครงการฯ เป็นโครงการส่วนต่อขยายของโครงการเน็ตประชารัฐ ซึ่งได้ออกแบบและติดตั้งโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงที่มีลักษณะทางกายภาพเป็นโครงข่ายแบบเปิด (Open Access Network) ที่สามารถรองรับการเชื่อมต่อของผู้ให้บริการอื่นได้โดยสะดวกและใช้จุดต้นทางของการติดตั้งโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงที่พิจารณาจาก Node ที่เป็นทรัพย์สินของหน่วยงานภาครัฐ ในครั้งนี้ ดศ. จึงเสนอขอให้เปิดโครงข่ายของโครงการฯ ภายใต้หลักเกณฑ์การให้บริการโครงข่ายเน็ตประชารัฐแบบเปิด (Open Access Network) ที่ได้ดำเนินการไปแล้วตั้งแต่ปี 25621 เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงการใช้บริการทางอินเทอร์เน็ตในบ้านเรือน (Last mile) และตอบสนองความต้องการใช้งานของประชาชนในพื้นห่างไกล
รายการ          จำนวนพอร์ตทั้งหมด
(1) ให้โรงเรียนและโรงพยาบาลเป้าหมาย          3,342 พอร์ต
(2) สำรองเพื่อสาธารณะประโยชน์          8,573 พอร์ต
(3) เปิดให้เชื่อมต่อไปยังครัวเรือนปลายทาง (Last mile) [สำหรับเปิดให้เป็นโครงข่ายแบบเปิด (Open Access Network)]          29,061 พอร์ต
รวม          40,976 พอร์ต
                    คณะกรรมการดิจิทัลฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2564 มีมติเห็นชอบการเปิดโครงข่าย Open Access Network ภายใต้โครงการฯ และในคราวประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2565 มีมติเห็นชอบในหลักการการโอนทรัพย์สินภายใต้โครงการเน็ตประชารัฐและโครงการฯ ให้กับ สดช. โดยได้มีการบันทึกข้อมูลบัญชีการโอนทรัพย์สินในระบบ New GFMIS Thai เรียบร้อยแล้ว2

1 คณะรัฐมนตรีมีมติ (25 มิถุนายน 2562) เห็นชอบให้เปิดโครงข่ายเน็ตประชารัฐตามหลักการโครงข่ายแบบเปิด (Open Access Network) เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมสามารถเข้าเชื่อมต่อโครงข่ายเน็ตประชารัฐ ตามหลักเกณฑ์การให้บริการโครงข่ายเน็ตประชารัฐแบบเปิด ซึ่งจะช่วยลดความซ้ำซ้อนในการลงทุนวางโครงข่ายและลดต้นทุนการคิดอัตราค่าบริการ ทำให้ประชาชนโดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลมีโอกาสเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม ซึ่งปัจจับนได้ดำเนินการแล้วเสร็จ
2 หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0410.4/2882 ลงวันที่ 26 มกราคม 2566

24. เรื่อง มาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ (พ.ศ. 2566-2570)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบข้อเสนอมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ (พ.ศ. 2566-2570) และรับทราบผลการดำเนินการตามมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ (พ.ศ. 2562-2565) พร้อมปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ (เมื่อสิ้นสุดมาตรการ) ตามมติ คปร. ในการประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566
                    2. ให้องค์กรกลางบริหารทรัพยากรบุคคล ส่วนราชการในกำกับของฝ่ายบริหารและหน่วยงานภาครัฐ1 นำหลักการและแนวทางของมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐฯ ไปปรับใช้เพื่อให้การกำกับดูแล การควบคุมขนาดกำลังคนและภาระค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
                    3. ให้ฝ่ายเลขานุการร่วม คปร.2 และสำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกันกำหนดรูปแบบและแนวทางในการเชื่อมโยงและบูรณาการการจัดทำฐานข้อมูลด้านกำลังคนภาครัฐและงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร เพื่อให้ส่วนราชการในกำกับของฝ่ายบริหารและหน่วยงานของรัฐเชื่อมโยงข้อมูลกำลังคนภาครัฐทุกประเภท และรายงานข้อมูลดังกล่าวให้ คปร. ทราบ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ ทบทวน หรือจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านกำลังคนและงบประมาณต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    1. คณะรัฐมนตรีมีมติ (19 มีนาคม 2562) เห็นชอบมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ       (พ.ศ. 2562-2565) ตามมติ คปร. (15 กุมภาพันธ์ 2562) ประกอบด้วย 2 มาตรการหลัก ได้แก่ (1) มาตรการพัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐเชิงกลยุทธ์และ (2) มาตรการบริหารอัตรากำลังปกติ ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดแนวทางการนำมาตรการบริหารจัดการกำลังภาครัฐไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งรวมถึงให้ คปร. รายงานผลการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว ตลอดจนปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินการตามมาตรการฯ
                    2. คณะรัฐมนตรีมีมติ (28 มิถุนายน 2565) รับทราบรายงานสรุปภาพรวมการบริหารกำลังคนของส่วนราชการในฝ่ายพลเรือนและแนวโน้มค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรภาครัฐ และเห็นชอบข้อเสนอแนะเพื่อให้การบริหารอัตรากำลังของภาคราชการเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตามที่สำนักงาน ก.พ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการร่วม คปร. เสนอ ซึ่งรวมถึงให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐทุกภาคส่วนนำแนวทางการบริหารอัตรากำลังของ คปร. ไปปรับใช้อย่างจริงจังเพื่อให้การกำกับดูแลการควบคุมขนาดกำลังคนและภาระค่าใช้จ่ายด้านบุคคลของรัฐบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ. จะนำไปใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐในระยะต่อไป
                    3. ที่ผ่านมาสำนักงาน ก.พ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการร่วม คปร. ได้จัดประชุมหารือระหว่างผู้แทนหน่วยงานกลางและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อระดมความคิดเห็นในการจัดทำมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐในระยะต่อไปซึ่งมีการวิเคราะห์ครอบคลุมข้อมูลในเรื่องต่าง ๆ รวมถึงการใช้ประโยชน์จากกำลังคนของส่วนราชการ พบว่า ส่วนราชการหลายแห่งอาจยังไม่ตระหนักถึงภาระค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรของประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น และสัดส่วนคำของบประมาณด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของส่วนราชการเพิ่มขึ้น แต่มิได้ถูกนำไปใช้เพื่อทดแทนกำลังคนที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพ อีกทั้งส่วนราชการหลายแห่งมีคำขอรับการจัดสรรอัตรากำลังเพิ่มใหม่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก และไม่ดำเนินการตามแนวทางของมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐอย่างเคร่งครัดเท่าที่ควร ดังนั้น               จึงจำเป็นต้องดำเนินการอย่างจริงจังและเร่งด่วนในการตรึงอัตรากำลังคนภาครัฐทุกประเภทไว้ระยะหนึ่ง เพื่อควบคุมกำลังคนและลดภาระค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรของประเทศควบคู่ไปกับการปรับขนาดกำลังคนภาครัฐให้มีความเหมาะสม ซึ่ง คปร. ในการประชุมครั้งที่ 1/2566 มีมติเห็นชอบในหลักการของข้อเสนอมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ (พ.ศ. 2566-2570) และรับทราบผลการดำเนินการตามมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ      (พ.ศ. 2562-2565) พร้อมปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ และให้เสนอประธาน คปร. และเสนอคณะรัฐมนตรี ตามลำดับ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              3.1 ผลการดำเนินการตามมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ (พ.ศ. 2562-2565) พร้อมปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ (เมื่อสิ้นสุดมาตรการ) สรุปได้ ดังนี้
                                        3.1.1 ผลการจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการและลูกจ้างประจำ (ข้อมูล ณ วันที่ 20 มกราคม 2566) สรุปได้ ดังนี้
ข้าราชการพลเรือนสามัญ
มีอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือนสามัญ รวม 26,781 อัตรา (1) จัดสรรคืนให้ส่วนราชการเดิมทันที จำนวน 19,121 อัตรา คิดเป็นร้อยละ 71.40 (2) ทดแทนด้วยการจ้างงานรูปแบบอื่น จำนวน 2,439 อัตรา คิดเป็นร้อยละ 9.10 และ (3) จัดสรรคืนให้ส่วนราชการเดิมหรือเกลี่ยให้ส่วนราชการอื่นในสังกัดกระทรวง จำนวน 5,221 อัตรา คิดเป็นร้อยละ 19.50
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
มีอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รวม 69,134 อัตรา (1) จัดสรรคืนให้ส่วนราชการ จำนวน 69,019 อัตรา คิดเป็นร้อยละ 99.83 และ (2) ทดแทนด้วยการจ้างงานรูปแบบอื่น จำนวน 115 อัตรา คิดเป็นร้อยละ 9.60 จากจำนวนผลการเกษียณอายุของตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) ในหน่วยงานการศึกษา สังกัด ศธ. จำนวน 1,183 อัตรา
ข้าราชการตำรวจ
มีอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการตำรวจ รวม 17,696 อัตรา โดยเป็นชั้นสัญญาบัตร จำนวน 3,854 อัตรา คิดเป็นร้อยละ 21.78 และชั้นประทวน จำนวน 13,842 อัตรา คิดเป็นร้อยละ 78.22 โดยจัดสรรอัตราคืนให้ส่วนราชการทั้งหมด
ลูกจ้างประจำ
มีอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุหรือว่างโดยเหตุอื่นในระหว่างปีของลูกจ้างประจำ รวม 22,794 อัตรา ซึ่งเป็นอัตราที่ต้องยุบเลิกทั้งหมด
                                        3.1.2 ผลการจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่และการบริหารอัตราข้าราชการตั้งใหม่ โดยในระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2562-2565 คปร. ได้พิจารณาอนุมัติอัตราข้าราชการตั้งใหม่ให้กับส่วนราชการ จำนวน 27 ส่วนราชการ รวม 60,921 อัตรา (ข้อมูล ณ วันที่ 20 มกราคม 2566) ทั้งนี้ มีปัญหาและอุปสรรคโดยส่วนราชการไม่สามารถดำเนินการสรรหา บรรจุและแต่งตั้งอัตราข้าราชการตั้งใหม่ที่ได้รับจัดสรรให้แล้วเสร็จโดยเร็วหรือภายในระยะเวลา 1 ปี ตามแผนการสรรหาภายในกรอบระยะเวลาและเงื่อนไขที่นำเสนอต่อ คปร. โดยมีสาเหตุอันเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                              3.2  มาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ (พ.ศ. 2566-2570) (มาตรการที่เสนอในครั้งนี้) มีหลักการมุ่งเน้นการบริหารกำลังคนให้สมดุลกับบทบาทภารกิจของภาครัฐ ควบคุมการเพิ่มอัตรากำลังภาครัฐให้มีขนาดที่เหมาะสม พัฒนาบุคลากรภาครัฐทุกประเภทให้มีความรู้ความสามารถสูง มีทักษะการคิดวิเคราะห์ และปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยกำหนดให้นำมาตรการดังกล่าวมาใช่ในการบริหารกำลังคนภาครัฐที่ครอบคลุมส่วนราชการและหน่วยงานในกำกับของฝ่ายบริหารที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี ประเภทงบบุคลากร ได้แก่ 1) ข้าราชการ (ไม่รวมข้าราชการทหาร) 2) พนักงานราชการ 3) ลูกจ้างประจำ และ 4) ลูกจ้างชั่วคราว มีผลบังคับใช้ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) หรือจนกว่าจะมีมาตรการฉบับใหม่มาใช้บังคับแทน อย่างไรก็ดี มาตรการที่เสนอในครั้งนี้ (ฉบับใหม่) มีสาระสำคัญแตกต่างไปจากมาตรการฉบับเดิมที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (19 มีนาคม 2562) เห็นชอบไว้ สรุปได้ ดังนี้
มาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ
(พ.ศ. 2562-2565) (มาตรการฉบับเดิม)          มาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ (พ.ศ. 2566-2570)
(มาตรการที่เสนอในครั้งนี้)
?          ระยะเวลาการดำเนินการ
4 ปี หรือจนกว่าจะออกมาตรการฉบับใหม่มาใช้บังคับแทน          ปรับเป็น 5 ปี หรือจนกว่าจะออกมาตรการฉบับใหม่มาใช้บังคับ เพื่อให้การบริหารกำลังคนภาครัฐสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570)
?          องค์ประกอบของมาตรการ
ประกอบด้วย 2 มาตรการ ได้แก่ (1) มาตรการพัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐเชิงกลยุทธ์ และ (2) มาตรการบริหารอัตรากำลังปกติ โดยมุ่งเน้นให้ส่วนราชการมีกำลังคนทั้งประเภทและจำนวนให้เหมาะสมสอดคล้องกับการขับเคลื่อนบทบาทภารกิจและโครงสร้างของส่วนราชการ สามารถบริหารกำลังคนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่า          ประกอบด้วย 2 มาตรการ ลักษณะเดียวกับมาตรการฉบับเดิม แต่จะมุ่งเน้นการควบคุมขนาดกำลังคนและงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรภาครัฐที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

มาตรการฉบับเดิม          มาตรการที่เสนอในครั้งนี้
?          หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ คปร. กำหนดตามมาตรการบริหารอัตรากำลังปกติ
1. กรณีการจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุ
ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ให้ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. กรม ปฏิบัติหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวงพิจารณาจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการ ดังนี้
1) ตำแหน่งประเภทบริหารและประเภทอำนวยการ ให้จัดสรรอัตราข้าราชการที่ว่างจากผลการเกษียณอายุคืนส่วนราชการเดิมทั้งหมด (ร้อยละ 100)
2) ตำแหน่งประเภทวิชาการและตำแหน่งประเภททั่วไปให้จัดสรรตามขนาดของส่วนราชการ ดังนี้
จัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการ
ขนาดส่วนราชการ          คืนทันที          ทดแทนด้วยการจ้างงานรูปแบบอื่น          อ.ก.พ. กระทรวงจัดสรร
1. ส่วนราชการขนาดเล็ก
- มีข้าราชการไม่เกิน 300 อัตรา          ร้อยละ 100          -          -
- มีข้าราชการ 301-1,000 อัตรา          ร้อยละ 95          ร้อยละ 5          -
2. ส่วนราชการขนาดกลาง ที่มีข้าราชการ 1,001-5,000 อัตรา          ร้อยละ 70          ร้อยละ 10          ร้อยละ 20
3. ส่วนราชการขนาดใหญ่ที่มีข้าราชการ 5,001 อัตราขึ้นไป          ร้อยละ 60          ร้อยละ 15          ร้อยละ 25
ทั้งนี้ ส่วนราชการสามารถแจ้งอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุในปีงบประมาณนั้น ๆ หรือนำอัตราว่างอื่นที่เห็นสมควรยุบเลิกแทนอัตราเกษียณอายุได้ตามความจำเป็น แต่จะต้องไม่นำตำแหน่งที่ คปร. หรือ อ.ก.พ. กระทรวงกำหนดเงื่อนไขการใช้ตำแหน่งไว้เป็นการเฉพาะมายุบเลิก          - ปรับแนวทางการจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุ โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่
(1) ช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2567 ให้ตรึงอัตรากำลัง ไม่เพิ่มกรอบอัตรากำลังตั้งใหม่ในภาพรวมโดยชะลอการทดแทนอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุด้วยกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการในช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อให้ส่วนราชการมีระยะเวลาในการทบทวนบทบาทภารกิจและ จัดอัตรากำลังแต่ละประเภทให้เหมาะสมกับภารกิจและลักษณะงาน
(2) ช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 - 2570
จัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการตามขนาดของส่วนราชการซึ่งเป็นไปตามมาตรการฉบับเดิม
- เพิ่มเงื่อนไขการบริหารอัตรากำลังข้างต้น โดยไม่ควรมีตำแหน่งข้าราชการว่างเกินร้อยละ 5
ของกรอบอัตราข้าราชการทั้งหมดและไม่ควรมีตำแหน่งว่างติดต่อกันเกิน 1 ปี ซึ่งสำนักงาน ก.พ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ คปร. จะติดตามและรายงานต่อ คปร. พิจารณานำตำแหน่งว่าง
มาจัดสรรให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนร่าชการที่มีความจำเป็นต่อไป
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ให้คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) พิจารณาจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการ ดังนี้
1) ตำแหน่งที่เห็นควรจัดสรรคืนทั้งหมด เช่น (1) ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา และ (2) ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาที่มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 120 คนขึ้นไป ซึ่งไม่อยู่ในแผนการถ่ายโอนให้แก่ อปท. หรือไม่อยู่ในแผนการควบรวมสถานศึกษา
2) ตำแหน่งที่ ก.ค.ศ. พิจารณาจัดสรรตามเงื่อนไขเฉพาะกรณี เช่น (1) ตำแหน่งสำหรับบรรจุนักเรียนทุนรัฐบาล (2) ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้สอนในโรงเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนขยายโอกาส และโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ที่มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 120 คนขึ้นไป และไม่อยู่ในแผนการถ่ายโอนให้แก่ อปท. (3) ตำแหน่งในวิทยาลัยสังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (4) ตำแหน่งในสถาบันวิทยาลัยชุมชน (5) ตำแหน่งในสังกัดสถาบันพลศึกษา และ (6) ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค. (2)3 ในหน่วยงานการศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ทั้งนี้ สำหรับตำแหน่งในวิทยาลัยสังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ตำแหน่งในสถาบันวิทยาลัยชุมชน และตำแหน่งในสังกัดสถาบันพลศึกษา ให้ดำเนินการเป็นไปตามข้อกฏหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง ก.ค.ศ. มิได้มีอำนาจในการพิจารณา          - ขยายเงื่อนไขเฉพาะกรณีให้ครอบคลุมตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้สอนในกลุ่มสถานศึกษา4 ที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบรวมสถานศึกษา โดยปรับเป็นตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้สอนในโรงเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส และโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา หรือกลุ่มสถานศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบรวมสถานศึกษา ที่มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 120 คนขึ้นไป ในพื้นที่ปกติและไม่อยู่ในแผนการถ่ายโอนให้แก่ อปท.
- เพิ่มมาตรการในการจัดสรรตามเงื่อนไขเฉพาะกรณี โดยให้ ก.ค.ศ. พิจารณานำตำแหน่งที่มีอัตรากำลังครูผู้สอนเกินเกณฑ์อัตรากำลังของ ก.ค.ศ. มากำหนดเป็นตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาให้กับโรงเรียนที่มีนักเรียน 61-119 คน ที่จำเป็นต้องมีผู้บริหารสถานศึกษาในระหว่างดำเนินการตามแผนควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก
- ปรับวิธีการจัดสรรตามเงื่อนไขเฉพาะกรณีสำหรับตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค. (2) เฉพาะตำแหน่งที่ ก.ค.ศ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทวิชาการและตำแหน่งประเภททั่วไป โดยกำหนดแนวทางการจัดสรรเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ
ข้าราชการตำรวจ
ให้คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) พิจารณาจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการ ดังนี้
1) ตำแหน่งในภารกิจด้านการถวายความปลอดภัย
2) ตำแหน่งในภารกิจด้านการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
3) ตำแหน่งในภารกิจด้านการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
4) ตำแหน่งในภารกิจด้านการปราบปรามยาเสพติด
5) ตำแหน่งในภารกิจที่มีเหตุผลความจำเป็นพิเศษ
นอกจากนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) นำแนวทางการพิจารณาทดแทนอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุด้วยการจ้างงานรูปแบบอื่นให้สอดคล้องกับบทบาทภารกิจตลอดจนสนับสนุนให้ใช้อัตรากำลังข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศในภารกิจสนับสนุนการจัดการภายในสำนักงาน ควบคู่กับการใช้อัตรากำลังประเภทอื่น หรือภารกิจอื่นที่มิได้เกี่ยวข้องกับลักษณะงานตามภารกิจหลักของ ตช.          การจัดสรรอัตราว่างเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้มาตรการฉบับเดิมแต่ปรับเพิ่ม โดยให้ ตช. ตรึงอัตรกำลัง โดยบริหารอัตรากำลังที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยไม่เพิ่มกรอบอัตรากำลังตั้งใหม่ในภาพรวม
2. กรณีการบริหารอัตรากำลังลูกจ้าง
1) ให้ยุบเลิกอัตราลูกจ้างประจำที่ว่างจากผลการเกษียณอายุและว่างโดยเหตุอื่นในระหว่างปีของทุกส่วนราชการ เว้นแต่มีเหตุผลความจำเป็น ให้เสนอ คปร. พิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป
2) ไม่ให้มีการจ้างลูกจ้างชั่วคราวจากงบประมาณประเภทงบบุคลากร ยกเว้นการจ้างลูกจ้างชั่วคราว 4 ประเภท เช่น (1) ลูกจ้างชาวต่างประเทศที่มีสัญญาจ้าง และ (2) ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการที่มีสำนักงานในต่างประเทศ กรณีที่จำเป็นต้องจ้างลูกจ้างชั่วคราวดังกล่าว ให้จัดทำคำขออนุมัติเสนอสำนักงาน ก.พ. พิจารณาเป็นรายกรณี
3) การทบทวนความจำเป็นของการใช้อัตราลูกจ้างชั่วคราวข้างต้น ให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เคยได้รับการจัดสรรอัตราลูกจ้างชั่วคราวพิจารณาทบทวนและจัดทำข้อมูลการจ้างลูกจ้างชั่วคราวดังกล่าว พร้อมทั้งรายงานผลให้สำนักงาน ก.พ. ทราบปีละ 1 ครั้ง (ณ วันที่ 1 ตุลาคม ของปีงบประมาณ) เพื่อรายงานให้ คปร. ทราบต่อไป          คงเดิม
3. กรณีการบริหารกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการที่ทดแทนอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการ
1) การกำหนดจำนวนพนักงานราชการ ให้ทดแทนอัตราข้าราชการเกษียณ 1 อัตรา ต่ออัตราพนักงานราชการ 1 อัตรา (1 : 1)
2) การกำหนดตำแหน่งพนักงานราชการ ให้กำหนดตามประเภทและลักษณะงานตามกลุ่มงานของพนักงานราชการเป็นประเภททั่วไป เฉพาะ 4 กลุ่มงาน ได้แก่ กลุ่มงานบริการ กลุ่มงานเทคนิค กลุ่มงานบริหารทั่วไป และกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ
3) การกำหนดกรอบระยะเวลาการจ้าง ให้มีระยะเวลาการจ้างได้ไม่เกินกว่าระยะเวลาของกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการระยะ 4 ปี ที่คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ (คพร.) อนุมัติโดยไม่นำไปรวมกับกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการที่เป็นกรอบปกติ และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการจ้างในแต่ละรอบให้ส่วนราชการพิจารณาทบทวนบทบาท ภารกิจและความจำเป็นของการใช้อัตรากำลังพนักงานราชการที่ทดแทนเสนอ คพร. พิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ ให้สำนักงาน ก.พ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ คพร. ตอบมติอนุมัติการจัดสรรกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการเพิ่มเติมกรณีข้างต้นได้ทันที ยกเว้นกรณีที่คำขอไม่สอดคล้องกับแนวทางที่กำหนดให้เสนอ อ.คพร. และ คพร. พิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป และให้รายงานให้ อ.คพร. และ คพร. ทราบทุกปี          - ปรับแนวทางการบริหารกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ ดังนี้
(1) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2567 ให้ชะลอการทดแทนอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุ ของข้าราชการด้วยกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ
(2) การกำหนดกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ   โดยนำกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการที่ทดแทนอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุในรอบที่ 5 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2567) มานับรวมอยู่ในกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการที่จะให้ คพร. พิจารณาจัดสรรให้กับส่วนราชการในรอบถัดไป คือ รอบที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2571)
ทั้งนี้ การกำหนดตำแหน่งพนักงานราชการและการกำหนดระยะเวลาการจ้างเป็นไปตามมาตรการฉบับเดิม
4. กรณีการจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่
1) เป็นภารกิจหลักของส่วนราชการที่มีความสำคัญเร่งด่วน
2) เป็นภารกิจหลักของส่วนราชการที่เกิดจากการปรับบทบาทภารกิจโครงสร้างส่วนราชการและจัดตั้งส่วนราชการระดับกระทรวงหรือระดับกรมขึ้นใหม่
3) เป็นภารกิจหลักของส่วนราชการที่เกิดจากการปรับบทบาทภารกิจ โครงสร้างส่วนราชการและจัดตั้งจังหวัดขึ้นใหม่ ในส่วนการขอรับการจัดสรรตามข้อ 2)-3) ส่วนราชการต้องพิจารณาเกลี่ยอัตรากำลังที่มีอยู่เดิมของส่วนราชการต่าง ๆ ทั้งในและต่างกระทรวง กรม มาปฏิบัติภารกิจในระยะแรกแต่ยังมีความจำเป็นต้องขอจัดสรรอัตรากำลังข้าราชการตั้งใหม่
ทั้งนี้ การขอจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ ส่วนราชการ/หน่วยงานจะต้องแสดงเหตุผลความจำเป็น พร้อมทั้งรายละเอียดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยให้ส่วนราชการที่มีคำขอหารือร่วมกับฝ่ายเลขานุการร่วม คปร. (สำนักงาน ก.พ.) เพื่อร่วมศึกษาวิเคราะห์และจัดทำคำขอเสนอต่อ อ.ก.พ. กระทรวง หรือองค์กรกลางบริหารทรัพยากรบุคคลกลั่นกรองและให้ความเห็นชอบก่อนเสนอ คปร. พิจารณา และหาก คปร. ให้ความเห็นชอบอนุมัติจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ให้แก่ส่วนราชการก็ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติอัตราข้าราชการตั้งใหม่และให้ฝ่ายเลขานุการร่วม คปร. (สำนักงาน ก.พ.) แจ้งผลการพิจารณาให้ส่วนราชการทราบและดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องต่อไป          - ปรับแนวทางการจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่กรณีรองรับภารกิจหลักของส่วนราชการที่เกิดจากการปรับบทบาทภารกิจ โครงสร้างส่วนราชการและจัดตั้งส่วนราชการระดับกระทรวงหรือระดับกรมหรือจังหวัดขึ้นใหม่ โดยกำหนดรายละเอียดของแนวทางการจัดสรรให้ชัดเจนว่าจะให้ส่วนราชการพิจารณาจากแหล่งใด อย่างไร ดังนี้
(1) หากเป็นการตัดโอนภารกิจจากส่วนราชการที่มีอยู่เดิมมาจัดตั้งเป็นส่วนราชการใหม่ ให้ อ.ก.พ. กระทรวงพิจารณาตัดโอนหรือเกลี่ยอัตรากำลังในภารกิจที่เกี่ยวข้อง หรืออัตราว่างที่มีอยู่ของส่วนราชการที่ตัดโอนภารกิจและอัตราว่างของส่วนราชการที่มีอยู่ในกระทรวงให้กับส่วนราชการตั้งใหม่ในระยะแรกก่อน
(2) หากส่วนราชการตั้งใหม่ยังจำเป็นต้องขอรับการจัดสรรอัตรากำลังเพิ่มใหม่อาจเสนอ คพร. พิจารณาจัดสรรอัตรากำลังเป็นพนักงานราชการเพื่อปฏิบัติภารกิจไประยะหนึ่งก่อน (1-2 ปี) จากนั้น ให้สำนักงาน ก.พ. และสำนักงาน ก.พ.ร. ประเมินความคุ้มค่าของการใช้อัตรากำลังตั้งใหม่เพื่อกำหนดรูปแบบการจ้างงานให้เหมาะสมสอดคล้องกับภารกิจงาน
- เพิ่มกลไกการพิจารณาการจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ โดยเพิ่มคณะอนุกรรมการกลั่นกรอง ประกอบด้วย สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงบประมาณ สศช. กรมบัญชีกลาง และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหรือผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองให้ความเห็นต่อข้อเสนอการขอรับการจัดสรรอัตรากำลังตั้งใหม่เพื่อประกอบการพิจารณาของ คปร. เพื่อควบคุมการเพิ่มอัตรากำลังข้าราชการและงบประมาณด้านบุคคลของประเทศในระยะยาว
?          การรายงานข้อมูลอัตรากำลังทุกประเภท
ให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานข้อมูลอัตรากำลังทุกประเภท ณ วันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี ให้ คปร. ทราบทุกปีงบประมาณ          ให้ส่วนราชการในกำกับของฝ่ายบริหารและหน่วยงานของรัฐมีการเชื่อมโยงข้อมูลกำลังคนภาครัฐทุกประเภทและรายงานข้อมูล ณ วันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี ให้สำนักงาน ก.พ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการร่วม คปร. ภายในเดือนธันวาคมของทุกปี
1 สำนักงาน ก.พ. แจ้งว่า องค์กรกลางบริหารทรัพยากรบุคคล ส่วนราชการในกำกับของฝ่ายบริหาร และหน่วยงานของรัฐ หมายถึง รัฐสภา ตุลาการ อัยการ ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหม องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) องค์การมหาชน และรัฐวิสาหกิจ ทั้งที่มีและไม่มีองค์กรกลางบริหารทรัพยากรบุคคลของตนเอง
2 ฝ่ายเลขานุการร่วม คปร. ประกอบด้วย สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงบประมาณ และกรมบัญชีกลาง
3 เป็นตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมตรา 38 ค. (2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งหมายถึงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ. กำหนดหรือตำแหน่งของข้าราชการที่ ก.ค.ศ. นำมาใช้กำหนดให้เป็นตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
4 กลุ่มสถานศึกษา หมายถึง สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่มีการจัดการเรียนสอนแบบรวมสถานศึกษาตั้งแต่ 2 แห่งขึ้นไป ตามประกาศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยกลุ่มสถานศึกษาถือเป็นเพียงหนึ่งสถานศึกษา ทั้งนี้ ให้ ก.ค.ศ. จัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในตำแหน่งครูผู้สอนคืนให้กับกลุ่มสถานศึกษาตามเกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาสังกัด สพฐ. ที่ ก.ค.ศ. กำหนด เพื่อบริหารอัตรากำลังตามความจำเป็น


25. เรื่อง โครงการประกันรายได้เกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และมาตรการคู่ขนาน ปี 2565/66 และปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบขพ.)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบปรับปรุงองค์ประกอบกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบพข.)
                    2. เห็นชอบหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2565/66 กรอบวงเงินรวมทั้งสิ้น 716.10 ล้านบาท
                    3. เห็นชอบหลักการมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์       ปี 2565/66 จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปี 2565/66 กรอบวงเงินจ่ายขาด รวมทั้งสิ้น 30 ล้านบาท
                    4. มอบหมายให้ พณ. กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาแหล่งเงินเพื่อดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเลี้ยงสัตว์ และมาตรการคู่ขนาน ปี 2565/66 ตามความจำเป็นและเหมาะสมโดยต้องไม่เกินกรอบวงเงินตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 หรืองบกลาง หรือแหล่งเงินอื่น ๆ ตามความจำเป็น ต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    1 พณ. เคยเสนอเรื่องโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และมาตรการคู่ขนาน ปี 2565/66 และปรับปรุงองค์ประกอบ นบขพ. เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ตามมติ นบขพ. ในการประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 ซึ่งนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ พณ. พิจารณาทบทวนความจำเป็นเหมาะสมในการดำเนินโครงการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อยุติตามนัยความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ
                    2. สำหรับข้อเสนอในครั้งนี้ ในส่วนการปรับปรุงองค์ประกอบ นบขพ. ยังคงเป็นไปตามมติ นบขพ. ในการประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 ที่เห็นชอบให้ปรับปรุงองค์ประกอบ นบขพ. เพื่อให้สอดคล้องกับการกำหนดหน่วยงานภายในและหน้าที่ความรับผิดชอบของกรมการค้าภายใน และให้ฝ่ายเลขานุการ (กรมการค้าภายใน) นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ดังนี้
ตำแหน่ง          เดิม          ใหม่
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ          รองอธิบดีกรมการค้าภายในที่กำกับดูแลกองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร 2           รองอธิบดีกรมการค้าภายในที่ได้รับมอบหมาย
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ          ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร 2          ผู้แทนกรมการค้าภายในที่ได้รับมอบหมาย
                    3. ในส่วนของโครงการประกันรายได้เกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และมาตรการคู่ขนาน            ปี 2565/66 นบขพ. ในการประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 ได้ทบทวนความจำเป็นและเหมาะสมในการดำเนินโครงการแล้วมีมติเห็นควรคงหลักการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมาตรการคู่ขนาน ปี 2565/66 โดยนำเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการ ดังนี้
                              3.1 โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2565/2566 มีรายละเอียด ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
เป้าหมาย          ประกันรายได้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ชนิดเมล็ด ณ ความชื้นร้อยละ 14.5 ทั่วประเทศ ยกเว้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่แจ้งขึ้นทะเบียนเพาะปลูกเพื่อผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้
เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย          เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์1 กับกรมส่งเสริมการเกษตรโดยแจ้งเพาะปลูกตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2566 (ใช้เวลาเพาะปลูกประมาณ 3 เดือน) รวมทั้งต้องเป็นเกษตรกรผู้ผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ด้วยตนเองและกรรมสิทธิ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นของเกษตรกร
ราคาประกันเกณฑ์กลางอ้างอิงและการจ่ายเงิน          - กิโลกรัมละ 8.5 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ไร่ และไม่ซ้ำแปลง
- ใช้ปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ และเกณฑ์กลางอ้างอิง (ราคาผลผลิต) ตามที่คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการกำหนด (อธิบดีกรมการค้าภายในเป็นประธาน) โดยประกาศเกณฑ์กลางอ้างอิงทุกเดือน เริ่มจ่ายงวดแรกในวันที่ 20 พฤศจิกายน 25652 และจ่ายงวดต่อไปทุกวันที่      20 ของเดือน จนถึงงวดสุดท้ายในวันที่ 31 ตุลาคม 2566 (รวม 12 งวด)
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จ่ายเงินชดเชยเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงตามช่วงระยะเวลาที่กำหนดภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงในแต่ละรอบ
ระยะเวลาโครงการ          1 พฤศจิกายน 2565 - 30 เมษายน 2567
กรอบวงเงินและแหล่งที่มา          กรอบวงเงินรวม 716.10 ล้านบาท จำแนก ดังนี้
1. ค่าชดเชยส่วนต่าง3 วงเงิน 702.24 ล้านบาท
2. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของ ธ.ก.ส. 13.86 ล้านบาท แบ่งเป็น
          2.1 ค่าชดเชยต้นทุนเงินในอัตราต้นทุนเงินของ ธ.ก.ส. ประจำไตรมาสบวก 1 เท่ากับร้อยละ 1.83 ต่อปี (อัตราต้นทุนทางการเงินของ ธ.ก.ส. เท่ากับร้อยละ 0.83 ต่อปี) เป็นเงิน 12.85 ล้านบาท (เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 เรื่อง การชดเชยต้นทุนเงิน ธ.ก.ส. โครงการประกันรายได้เกษตรกรและมาตรการคู่ขนาน ปี 2564/65)
          2.2 ค่าบริหารจัดการรายละ 5 บาท4 เป็นเงิน 1.01 ล้านบาท
ทั้งนี้ ให้ พณ. กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาแหล่งเงินเพื่อดำเนินโครงการตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยต้องไม่เกินกรอบวงเงินตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 หรืองบกลางหรือแหล่งเงินอื่น ๆ ตามความจำเป็น
การกำกับดูแล          - คณะกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นผู้กำกับดูแลและเร่งรัดการดำเนินการตามแผนการดำเนินงานที่กำหนด และรายงานความก้าวหน้าปัญหาอุปสรรคต่อ นบขพ. เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาโครงการให้มีประสิทธิภาพ บรรลุตามวัตถุประสงค์ต่อไป
- คณะอนุกรรมการกำกับดูแลการดำเนินการบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ระดับจังหวัด (ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นปราน) ติดตาม กำกับดูแลการดำเนินโครงการฯ ให้การค้าเป็นไปตามกลไกปกติ เกิดความเป็นธรรมไม่กดราคาตลาด รวมทั้งรายงานภาวะราคาซื้อขายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดต่อคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการ
                              3.2 มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2565/66 จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร     ปี 2565/66 รายละเอียด ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
เป้าหมาย          เพื่อดูดซับผลผลิตในช่วงที่ผลผลิตออกมากเป้าหมาย 100,000 ตัน โดยการสนับสนุนสินเชื่อแก่สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการรวบรวมหรือรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเกษตรกรเพื่อจำหน่ายต่อหรือสร้างมูลค่าเพิ่ม
กรอบวงเงิน แหล่งที่มาและอัตราดอกเบี้ย          - วงเงินสินเชื่อ 1,000 ล้านบาท โดยใช้เงินทุน ธ.ก.ส. ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 4 ต่อปี คิดจากสถาบันเกษตรกรร้อยละ 1 ต่อปี และรัฐบาลชดเชยร้อยละ 3 ต่อปี กรอบวงเงิน 30 ล้านบาท โดยให้ พณ. กระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณพิจารณาแหล่งเงินตามความเหมาะสม
ระยะเวลาดำเนินการ          - ระยะเวลาดำเนินโครงการ ตั้งแต่คณะรัฐมนตรีอนุมัติถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2567
- ระยะเวลาการจ่ายเงินกู้ ตั้งแต่คณะรัฐมนตรีอนุมัติถึงวันที่ 31พฤษภาคม 2566
- กำหนดชำระคืนเงินกู้ ไม่เกิน 12 เดือน นับแต่วันที่กู้เงิน ทั้งนี้ ต้องชำระหนี้ให้แล้วเสร็จไม่เกินวันที่ 31 พฤษภาคม 2567
- ระยะเวลาชดเชยดอกเบี้ยไม่เกิน 12 เดือน นับแต่วันที่กู้เงิน และต้องไม่เกิน วันที่ 31 พฤษภาคม 2567
                    4. ทั้งนี้ พณ. ได้ดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และมาตรการคู่ขนานอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งสำหรับโครงการปี 2565/66 ที่เสนอในครั้งนี้มีหลักการลักษณะเดียวกันกับโครงการในปี 2564/2565 ที่ผ่านมา โดยมีความแตกต่างเฉพาะวงเงินงบประมาณและรายละเอียดของมาตรการคู่ขนาน
1 การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ใช้เวลาปลูกประมาณ 120 วัน โดยทั่วไปจะแบ่งช่วงเวลาปลูกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงฤดูฝน มีช่วงเวลาปลูกระหว่างเดือนเมษายน - กรกฎาคม เก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม และช่วงฤดูแล้ง มีช่วงเวลาปลูกระหว่างเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ เก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม
2 พณ. แจ้งอย่างไม่เป็นทางการว่า หากคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการแล้ว จะมีการประกาศราคากลางอ้างอิงย้อนหลัง ทั้งนี้     ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในปัจจุบันยังคงมีแนวโน้มสูงกว่าราคาประกัน
3 ค่าชดเชยส่วนต่าง คำนวณจาก ส่วนต่างราคาประกัน 8.5 บาทต่อกิโลกรัม และราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงเฉลี่ย 8.17 บาทต่อกิโลกรัม (มาจากราคาเฉลี่ยช่วงเดือนกันยายน - ธันวาคม ปี 2563 - 2564 ซึ่งเป็นช่วงที่มีผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ออกสู่ตลาดมากที่สุด) ซึ่งคิดเป็น 0.33 บาทต่อกิโลกรัม คูณด้วยปริมาณคาดการณ์ผลผลิตประมาณ 2.128 ล้านต้น (0.33 บาทต่อกิโลกรัม x 2.128 ล้านตัน         = 702.24 ล้านบาท)
4 พณ. คาดการณ์งบประมาณจากจำนวนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั่วประเทศประมาณ 202,000 ราย

26. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2566 และผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2566 และครั้งที่ 4/2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.)     ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2566 และผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2566 และครั้งที่ 4/2566 เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ดังนี้
                    1. ผลการพิจารณาของ คกง. ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2566
                              1.1 อนุมัติให้จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดสุพรรณบุรีเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ จำนวน 5 โครงการ โดยขยายระยะเวลาการสิ้นสุดการดำเนินโครงการ เป็นสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2566 โดยใช้จ่ายจากแหล่งเงินอื่นในการดำเนินโครงการเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เนื่องจากปัจจุบันได้สิ้นสุดระยะเวลาการเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563) แล้ว (ภายในเดือนพฤศจิกายน 2565) และยกเลิกโครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก สายข้างป่าช้าบ้านแพะขวาง - ถนนสายแยกทางหลวง 1229 ตอนบ้านต๋ม - บ้านน้ำบุ่น (ชม.ถ.126 - 03) ตำบลบ้านแพร่ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ กรอบวงเงิน 1.457 ล้านบาท ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                              1.2 มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 1.1 เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform (eMENSCR) ให้สอดคล้องกับผลการพิจารณาอนุมัติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการของคณะรัฐมนตรีและเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายใต้กรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว ทั้งนี้ เมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จให้เร่งดำเนินการตามขั้นตอนข้อ 19 และ 20 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกู้เงินฯ (พ.ศ. 2563)
                              1.3 รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 ราย 3 เดือน ครั้งที่ 11 (1 พฤศจิกายน 2565 - 31 มกราคม 2566) พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานเจ้าของโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ        พ.ศ. 2563 ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ คกง. ตามขั้นตอนของระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
                    2. ผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2566 และครั้งที่ 4/2566
                              2.1 อนุมัติให้จังหวัดเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ 164 โครงการ กรอบวงเงิน 523.5041 ล้านบาท ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                              2.2 มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเร่งดำเนินการประสานจังหวัดในการตรวจสอบการดำเนินโครงการของหน่วยงานที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการโดยใช้เงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม       พ.ศ. 2564 โดยกรณีที่จังหวัดไม่สามารถดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรี ให้จังหวัดเร่งดำเนินการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ และ/หรือเสนอขอยกเลิกการดำเนินโครงการตามขั้นตอนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2564 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกู้เงินฯ เพิ่มเติม     พ.ศ. 2564)
                              2.3 อนุมัติให้กรมควบคุมโรคเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทยจำนวน 60,000,000 โดส (AstraZeneca) ปี พ.ศ. 2565 (โครงการจัดหาวัคซีนฯ AstraZeneca) และโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทย จำนวน 30,002,310 โดส (Pfizer) ปี พ.ศ. 2565 (โครงการจัดหาวัคซีนฯ Pfizer) ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว ทั้งนี้ มอบหมายให้กรมควบคุมโรคนำส่งรายได้จากการให้บริการฉีดวัคซีนให้แก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเฉพาะในส่วนของค่าวัคซีนโควิด - 19 เป็นรายได้แผ่นดิน ภายใต้ระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาช่วยชำระคืนเงินกู้ ซึ่งจะช่วยลดภาระงบประมาณในการชำระหนี้ของภาครัฐได้ต่อไปพร้อมทั้งเร่งดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการประชาสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งบริหารจัดการวัคชีนโควิด - 19 ให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป
                              2.4 มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 2.1 และข้อ 2.3 เร่งปรับปรุงรายละเอียดของโครงการในระบบ eMENSCR ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว พร้อมทั้งเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี รายงานผลสัมฤทธิ์และคืนเงินกู้เหลือจ่าย (ถ้ามี)       ตามระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
                              2.5 รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ราย 3 เดือน ครั้งที่ 6 (1 พฤศจิกายน 2565 - 31 มกราคม 2566) พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ คกง. ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
                              2.6 รับทราบแนวทางการปิดบัญชี ?เงินกู้ตามพระราชกำหนด COVID - 19 2564? และการเตรียมแหล่งเงินรองรับกรณีการตรวจสอบเหตุทุจริตของโครงการภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม          พ.ศ. 2564 พร้อมทั้งให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ต้องดำเนินโครงการและเบิกจ่ายเงินโครงการให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี รวมถึงส่งเงินกู้เหลือจ่ายคืนบัญชี ?เงินกู้ตามพระราชกำหนด COVID - 19 2564? ภายใน 3 เดือนนับจากวันที่สิ้นสุดการดำเนินโครงการตามมติคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ภายหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาการเบิกจ่ายตามมติคณะรัฐมนตรีให้หน่วยงานพิจารณาบริหารเงินงบประมาณของหน่วยงานเป็นลำดับแรก


27. เรื่อง การปรับเพิ่มอัตราเงินตอบแทนตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ และขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565 เรื่อง แนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                    คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบในหลักการการปรับเพิ่มอัตราเงินตอบแทนตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ (เงินตอบแทนตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านฯ)
                    2. ให้ มท. เสนอรายละเอียดคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพิ่มเติม และรายละเอียดประกอบ แผนงานบุคลากรภาครัฐ รายการค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน งบรายจ่ายอื่น รายการค่าตอบแทนกำนัน ผู้ใหญ่บ้านฯ วงเงิน 4,795.65 ล้านบาท โดยให้ มท. ได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565 เรื่อง แนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                    สาระสำคัญ
                    มท. แจ้งว่า กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศเป็นตัวแทนของรัฐบาล กระทรวง กรม ที่ปฏิบัติหน้าที่ในตำบล หมู่บ้าน มีหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นจำนวนมาก รวมถึงช่วยเหลืองานของทุกหน่วยงานทั้งราชการและเอกชน ซึ่งจะต้องปฏิบัติหน้าที่ในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้แก่ราษฎรและหน้าที่อื่น ๆ ตลอดระยะเวลา 24 ชั่วโมง โดยไม่มีวันลาและวันหยุดราชการ จึงมีเวลาในการประกอบอาชีพส่วนตัวน้อยลง ต้องอาศัยรายได้จากเงินตอบแทนตำแหน่งเป็นหลัก โดยอัตราเงินตอบแทนตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านฯ ปัจจุบันใช้มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ไม่มีการปรับปรุง ขณะที่สภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพสูงขึ้น และหลายหน่วยงานได้ปรับอัตราเงินเดือนหรือเงินตอบแทนไปแล้ว ดังนั้น เพื่อเป็นขวัญ กำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ จึงเห็นควรปรับปรุงอัตราเงินตอบแทนตำแหน่งให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม ค่าครองชีพและทัดเทียมกับค่าตอบแทนของเจ้าหน้าที่รัฐอื่น ๆ รวมทั้งสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เดียวกัน
                    รายละเอียดการปรับเพิ่มอัตราค่าตอบแทนตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านฯ มีดังนี้
                              1. การปรับเพิ่มอัตราเงินตอบแทนตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านฯ แบบปรับฐานสรุปได้ ดังนี้
ตำแหน่ง          อัตรากำลังคน          อัตราเงินตอบแทน (บาท/เดือน)          งบประมาณที่เพิ่ม/ปี
(ล้านบาท)
                    เดิม          ขอปรับเป็น          เงินที่ปรับเพิ่ม
กำนัน          7,036          10,000          12,000          2,000          168.87
ผู้ใหญ่บ้าน          67,673          8,000          10,000          2,000          1,624.15
แพทย์ประจำตำบล          7,036          5,000          6,000          1,000          84.43
สารวัตรกำนัน          14,072          5,000          6,000          1,000          168.86
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง          149,418          5,000          6,000          1,000          1,793.02
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ          46,181          5,000          6,000          1,000          554.17
รวมงบประมาณที่เพิ่มขึ้นต่อปี          4,393.50
                              นอกจากนี้ มท. ขอปรับเพิ่มอัตราเงินตอบแทนตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านฯ แบบขั้นวิ่ง เดิมจากขั้นละ 200 บาทต่อปี ปรับเพิ่มเป็นขั้นละ 300 บาทต่อปี และในกรณีที่ได้ 2 ขั้น (จำนวนร้อยละ 15 ของอัตรากำลังทั้งหมด) จะปรับจาก 400 บาทต่อปี เป็น 600 บาทต่อปี โดยมีรายละเอียดงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการสรุปได้ ดังนี้
ตำแหน่ง          อัตรากำลังคน          งบประมาณที่ใช้ต่อปี (ล้านบาท)
                    แบบขั้นวิ่งเดิม1
(1 ขั้น 200 บาท 2 ขั้น 400 บาท)          แบบขั้นวิ่งใหม่2 (1 ขั้น 300 บาท 2 ขั้น 600 บาท)          งบประมาณที่เพิ่ม/ปี
กำนัน          7,036          19.42          29.13          9.71
ผู้ใหญ่บ้าน          67,673          186.77          280.15          93.38
แพทย์ประจำตำบล          7,036          19.42          29.13          9.71
สารวัตรกำนัน          14,072          38.84          58.26          19.42
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง          149,418          412.39          618.59          206.20
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ          46,181          127.46          191.19          63.73
รวมจำนวน          291,416          804.30          1,206.45          402.15
รวมงบประมาณที่เสนอขอปรับเพิ่มอัตราเงินตอบแทนตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านฯ แบบปรับฐาน จำนวน 4,393.50 ล้านบาทต่อปี และแบบขั้นวิ่ง จำนวน 402.15 ล้านบาทต่อปี รวมเป็นเงินทั้งสิ้น จำนวน 4,795.65 ล้านบาทต่อปี
1 ในกรณีผ่านการประเมิน จะได้รับเงินตอบแทนเพิ่ม 1 ขั้น จำนวน 200 บาท/คน/ปี และในกรณีมีผลงานดีเด่น จะได้รับเงินตอบแทนเพิ่ม 2 ขั้น จำนวน 400 บาท/คน/ปี ทั้งนี้ ไม่เกินร้อยละ 15 ของอัตรากำลังคน
2 ในกรณีผ่านการประเมิน จะได้รับเงินตอบแทนเพิ่ม 1 ขั้น จำนวน 300 บาท/คน/ปี และในกรณีมีผลงานดีเด่น จะได้รับเงินตอบแทนเพิ่ม 2 ขั้น จำนวน 600 บาท/คน/ปี ทั้งนี้ ไม่เกินร้อยละ 15 ของอัตรากำลังคน

28. เรื่อง (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ระยะที่ 1 พ.ศ. 2566-2570
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ระยะที่ 1 พ.ศ. 2566-2570 (ร่างแผนปฏิบัติการด้านอาหาร ระยะที่ 1) และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ พร้อมทั้งนำแผนเข้าระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR) เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการสำคัญต่าง ๆ ตามแผนต่อไป ตามที่คณะกรรมการอาหารแห่งชาติเสนอ
                    สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินการภายใต้ร่างแผนปฏิบัติการดังกล่าว เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับจัดสรร หรือพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือโอนเงินจัดสรร หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 ในโอกาสแรกก่อน สำหรับค่าใช้จ่ายในปีต่อ ๆ ไป เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามภารกิจความจำเป็นและเหมาะสมเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญ
                    คณะกรรมการอาหารแห่งชาติได้จัดทำร่างแผนปฏิบัติการด้านอาหาร ระยะที่ 1 อ้างอิงจากกรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2561 - 2580)1 โดยมีวิสัยทัศน์เพื่อให้ ?ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการอย่างยั่งยืน เป็นแหล่งอาหารที่มีคุณภาพสูง ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการ และผู้บริโภคมีพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสม? ประกอบไปด้วย 6 เป้าหมาย 18 ตัวชี้วัด และ 4 ยุทธศาสตร์ ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              1. ภาพรวม
ประเด็น          สาระสำคัญ
วัตถุประสงค์          - เพื่อเป็นแผนชี้นำการขับเคลื่อนการดำเนินงานและเป็นกรอบในการบริหารจัดการ จัดสรรทรัพยากร และกำกับติดตามประเมินผลสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- เพื่อบูรณาการนโยบายและแผนแต่ละระดับที่เกี่ยวข้อง มุ่งสู่การแก้ไขปัญหาได้ตรงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
เป้าหมายและตัวชี้วัด          ประกอบด้วย 6 เป้าหมาย 18 ตัวชี้วัด ดังนี้
เป้าหมายที่ 1 จำนวนคนขาดแคลนอาหารลดลง
เป้าหมายที่ 2 ปริมาณการสูญเสียอาหารและขยะอาหารลดลง
เป้าหมายที่ 3 ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อคุณภาพและความปลอดภัยอาหารเพิ่มขึ้น
เป้าหมายที่ 4 มูลค่าการค้าอาหารเพิ่มขึ้น
เป้าหมายที่ 5 จำนวนคนที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ขาดและเกิน) ลดลง
เป้าหมายที่ 6 มีกลไกประสานงานกลางและบูรณาการการดำเนินงาน
กลไกการขับเคลื่อน          - ระดับนโยบาย อาศัยการขับเคลื่อนภายใต้พระราชบัญญัติคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ พ.ศ. 2551 ผ่านคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ
- ระดับปฏิบัติการ ดำเนินการโดยคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง จำนวน 4 คณะ ได้แก่
          (1) คณะกรรมการขับเคลื่อนด้านความมั่นคงอาหารตลอดห่วงโซ่
          (2) คณะกรรมการขับเคลื่อนด้านคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร
          (3) คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความเชื่อมโยงด้านอาหารและโภชนาการสู่คุณภาพชีวิตที่ดี
          (4) คณะกรรมการขับเคลื่อนด้านการบริหารจัดการ
การติดตามประเมินผล          ติดตามรวบรวมผลการประเมินการดำเนินงานโครงการสำคัญของแต่ละยุทธศาสตร์โดยคณะอนุกรรมการที่จัดตั้งขึ้น เช่น คณะอนุกรรมการด้านการลดการสูญเสียอาหารและคณะอนุกรรมการด้านการลดขยะอาหาร เพื่อรายงานผลต่อคณะกรรมการเฉพาะเรื่องและคณะกรรมการอาหารแห่งชาติต่อไป
                              2. ยุทธสาศาสตร์ ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
                                        ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านความมั่นคงอาหาร
                                        ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหาร
                                        ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านอาหารศึกษา
                                        ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการบริหารจัดการ
1 คณะกรรมการเฉพาะเรื่องได้สนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการอาหารและดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทยในเรื่องต่าง ๆ เช่น (1) สรุปสถานการณ์ความมั่นคงอาหารของประเทศไทยในสภาพการณ์วิกฤตอาหารโลกในปัจจุบัน (2) สนับสนุนข้อมูลการจัดประชุมสุดยอดระดับผู้นำด้านระบบอาหารโลก 2021 (3) จัดทำเป้าหมายความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร และ (4) ขับเคลื่อนเรื่องคุณภาพอาหารและโภชนาการในโรงเรียน

ต่างประเทศ
29. เรื่อง ขออนุมัติการลงนามในข้อตกลงการดำเนินการว่าด้วยความร่วมมือด้านประมงระหว่างไทย-ไต้หวัน (Implementing Arrangement between the Thailand Trade and Economic Office in Taipei and the Taipei Economic and Cultural office in Thailand on Fisheries Cooperation: IA)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติให้มีการลงนามในข้อตกลงการดำเนินการว่าด้วยความร่วมมือด้านประมงระหว่างไทย - ไต้หวัน (Implementing Arrangement between the Thailand Trade and Economic Office in Taipei and the Taipei Economic and Cultural office in Thailand on Fisheries Cooperation: IA) ระหว่างสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย (ไทเป) [Thailand Trade and Economic Office (Taipei): TTEO] และสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย (Taipei Economic and Cultural Office: TECO) รวมทั้งอนุมัติในหลักการว่าก่อนที่จะมีการลงนาม หากมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขข้อตกลงฯ ในประเด็นที่ไม่ใช่หลักการสำคัญ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก และอนุมัติให้ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย (ไทเป) เป็นผู้ลงนามในข้อตกลงฯ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ

30. เรื่อง การแจ้งยืนยันความพร้อมของไทยในการปฏิบัติตามแนวทางและหลักเกณฑ์ใหม่สำหรับประเทศคู่เจรจาของกรอบการประชุมหมู่เกาะแปซิฟิก (Pacific Islands Forum: PIF)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อการแจ้งยืนยันความพร้อมของไทยในการปฏิบัติตามแนวทางและหลักเกณฑ์ใหม่สำหรับประเทศคู่เจรจาของกรอบการประชุมหมู่เกาะแปซิฟิก (Pacific Islands Forum: PIF) (แนวทางและหลักเกณฑ์ใหม่ฯ) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. PIF เป็นองค์กรระดับภูมิภาคของประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิก จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2514 เพื่อขยายความร่วมมือด้านการเมือง เศรษฐกิจ การพัฒนาที่ยั่งยืน ธรรมาภิบาล และความมั่นคง โดยปัจจุบันมีสมาชิก      17 ประเทศ และประเทศคู่เจรจา 20 ประเทศ (รวมถึงไทยด้วย1) และ 1 องค์กร (สหภาพยุโรป) ซึ่งที่ผ่านมาไทยมีบทบาทที่แข็งขันและสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องในการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกที่เป็นสมาชิกของ PIF ผ่านการดำเนินความร่วมมือเพื่อการพัฒนา การให้ความช่วยเหลือเมื่อประสบภัยพิบัติ และข้อริเริ่มของไทยในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปี Thailand - Pacific Island Countries Forum (TPIF) ระหว่างปี 2557 - 2560 ตลอดจนการเข้าร่วมการประชุมประจำปีของ PIF อย่างสม่ำเสมอ
                    2. ในการประชุมผู้นำประเทศสมาชิกกรอบ PIF อย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 51 เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2564 ที่ประชุมได้มีมติรับรองแนวทางและหลักเกณฑ์ใหม่สำหรับประเทศคู่เจรจา (Guidelines and Criteria for Forum Dialogue Partners) และขอให้ไทยในฐานะประเทศคู่เจรจาของ PIF แจ้งสำนักเลขาธิการ PIF เพื่อยืนยันความพร้อมในการปฏิบัติตามแนวทางและหลักเกณฑ์ใหม่
                    3. แนวทางและหลักเกณฑ์ใหม่ฯ เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่าง PIF กับประเทศคู่เจรจา โดยจะนำหลักการบลู แปซิฟิก มาใช้ในการหารือสำหรับการประชุมของประเทศสมาชิกและการประชุมประเทศคู่เจรจา โดยหลักการดังกล่าวประกอบด้วย (1) การยอมรับและมีปฏิสัมพันธ์ด้วยการเป็นสมาชิกเต็มรูปแบบ (One Blue Pacific) (2) การยึดถือและขับเคลื่อนจุดเน้นระดับภูมิภาคของกรอบการประชุม PIF (3) การวางแผนร่วมกัน การคำเนินโครงการและนำไปสู่การปฏิบัติโดยกรอบการประชุม PIF และประเทศคู่เจรจา (4) การดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน และเสริมสร้างกลไก กระบวนการ และการประชุมในระดับภูมิภาค/ระหว่างประเทศที่มีอยู่ และ (5) การจัดทำถ้อยแถลงร่วมและกำหนดแนวทางที่ชัดเจนเพื่อติดตามและนำไปสู่การปฏิบัติ
1คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (14 กันยายน 2547) รับทราบการที่ไทยเข้าร่วมเป็นประเทศคู่เจรจาของ PIF

31. เรื่อง การประชุม Intergovernmental Negotiation Body และการประชุม Working Group on Amendments to the International Health Regulations (2005)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบกรอบการเจรจา ท่าทีของการเจรจา และแนวทางของไทยสำหรับการประชุม Intergovernmental Negotiation Body (INB) และการประชุม Working Group on Amendments to the International Health Regulations (2005)
                    2. อนุมัติให้คณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม Intergovernmental Negotiation Body (INB) และการประชุม Working Group on Amendments to the International Health Regulations (2005) ประกอบด้วย (1) สธ. (2) กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) และ (3) หน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานอัยการสูงสุด กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ เพื่อร่วมเจรจาอนุสัญญา ข้อตกลง หรือตราสารระหว่างประเทศอื่น ๆ ขององค์การอนามัยโลก ด้านการป้องกัน การเตรียมความพร้อม การรับมือกับการระบาดและการฟื้นฟูระบบสุขภาพภายหลังการระบาดของโรค ตลอดจนการเจรจาปรับแก้กฎอนามัยระหว่างประเทศ 2005 โดยให้ผู้แทน สธ. เป็นหัวหน้าคณะ โดยไม่ต้องมีการเสนอองค์ประกอบคณะผู้แทนของฝ่ายไทยให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเป็นรายกรณี
                    3. อนุมัติให้ สธ. กต. ร่วมพิจารณาหารือกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและดำเนินการโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก ในกรณีที่มีการปรับเปลี่ยนกรอบการเจรจาดังกล่าวข้างต้นที่ไมใช่สาระสำคัญหรือขัดผลประโยชน์ของไทย
(สธ. มีกำหนดเข้าร่วมประชุมในระหว่างวันที่ 3 - 6 เมษายน 2566)
                    สาระสำคัญ
                    การประชุม Intergovernmental Negotiation Body (INB) และการประชุม Working Group on Amendments to the International Health Regulations (2005) (WGIHR) เป็นการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็น ข้อเสนอแนะ และร่วมเจรจาเพื่อพัฒนาร่างอนุสัญญา ข้อตกลง หรือตราสารระหว่างประเทศอื่น ๆ ขององค์การอนามัยโลก ด้านการป้องกัน การเตรียมความพร้อม การรับมือกับการระบาดและการฟื้นฟูระบบสุขภาพภายหลังการระบาดของโรค และการปรับแก้กฎอนามัยระหว่างประเทศ 2005 โดยเป็นผลสืบเนื่องมาจากการประชุมสมัชชาอนามัยโลก (สมัยพิเศษ) ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม 2564 ณ สำนักงานใหญ่องค์การอนามัยโลก นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ที่มีข้อตัดสินใจให้จัดตั้งกลไกการหารือและต่อรองระหว่างประเทศสมาชิกให้เป็นกลไกหารือในการกำหนดการจัดทำข้อผูกพันต่าง ๆ ข้อกำหนดของการทำงาน ตลอดจนระยะเวลาการทำงาน พร้อมกำหนดให้มีตัวแทน 6 ภูมิภาคขององค์การอนามัยโลกภูมิภาคละ 1 ประเทศ ซึ่งองค์ประกอบจากตัวแทน 6 ภูมิภาค ประกอบด้วย
ภูมิภาค          ประเทศตัวแทน
ภูมิภาคอเมริกา          ประเทศบราซิล
ภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก          ประเทศอียิปต์
ภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก          ประเทศญี่ปุ่น
ภูมิภาคแอฟริกา          ประเทศแอฟริกาใต้
ภูมิภาคยุโรป          ประเทศเนเธอร์แลนด์ (ประธาน)
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้          ประเทศไทย (รองประธาน)
และได้กำหนดให้จัดการประชุมหารือกับประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลก จำนวน 9 ครั้ง และนำเสนอในที่ประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยที่ 77 ที่จะจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2567

32.  เรื่อง การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ     ปี 2569
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินการเกี่ยวกับการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) ปี 2569 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ธนาคารโลกและ IMF มีการจัดประชุมปีละ 2 ครั้ง ได้แก่ (1) การประชุม Spring Meeting        ในเดือนเมษายน ณ กรุงวอชิงตัน ดี. ซี. สหรัฐอเมริกา และ (2) การประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกฯ ในเดือนตุลาคมของทุกปี โดยจะมีจัดการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกฯ ในประเทศสมาชิกทุก ๆ 3 ปี และไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกฯ ครั้งล่าสุด เมื่อปี 2534 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
                    2. ธนาคารโลกได้มีหนังสือถึงประเทศสมาชิกที่สนใจเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกฯ ปี 2569 ที่จะจัดในประเทศสมาชิกครั้งต่อไป ซึ่งมีกำหนดจัดในเดือนตุลาคม 2569
                    3. การดำเนินการที่ผ่านมาของ กค.
                              3.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะผู้ว่าการธนาคารโลกของไทยได้มีหนังสือถึงธนาคารโลก เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2565 แสดงความสนใจในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกฯ ปี 2569 และได้ส่งข้อมูลเกี่ยวกับความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมตามข้อกำหนดของธนาคารโลกในด้านต่าง ๆ ไปยังธนาคารโลกแล้ว1
                              3.2 ไทยผ่านการพิจารณาความเหมาะสมในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกฯ ปี 2569 ในเบื้องต้นร่วมกับอีก 4 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐเฮลเลนิก (กรีซ) ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และรัฐกาตาร์ โดยคณะทำงานของธนาคารโลกและ IMF ได้เดินทางมาสำรวจสถานที่จัดการประชุม โรงแรมที่พัก ระบบคมนาคม และความพร้อมของไทย เมื่อวันที่ 14 - 16 ธันวาคม 2565
                    4. การดำเนินการในระยะต่อไป
                              4.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะเข้าร่วมการประชุม Spring Meeting ระหว่างวันที่ 14 - 16 เมษายน 2566 ณ สหรัฐอเมริกา ซึ่งจะมีการเสนอรายงานผลการประเมินประเทศที่มีความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกฯ ปี 2569 ต่อคณะกรรมการบริหารกลุ่มออกเสียงของธนาคารโลกและ IMF
                              4.2 การประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกฯ ในเดือนตุลาคม 2566 ณ ราชอาณาจักรโมร็อกโก คณะกรรมการบริหารกลุ่มออกเสียงฯ จะเสนอชื่อประเทศที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกฯ ปี 2569 ให้สภาผู้ว่าการธนาคารโลกและ IMF พิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยประเทศที่ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกฯ ปี 2569 จะต้องเข้าร่วมพิธีลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกฯ ปี 2569 ในช่วงเวลาดังกล่าว
                              4.3 ในกรณีที่ไทยได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกฯ ปี 2569 กค. จะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกฯ ปี 2569 และขออนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณสำหรับดำเนินการ รวมทั้งขออนุมัติการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ต่อไป โดยการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าวจะเป็นการแสดงบทบาทของไทยในการสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบันการเงินระหว่างประเทศและเป็นการแสดงศักยภาพและความพร้อมของไทยในการจัดการประชุมระหว่างประเทศ รวมทั้งก่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่นด้วย

1จากการประสานข้อมูลเมี่ยวันที่ 2 มีนาคม 2566 สำนักงานเศรษฐกิจการคลังแจ้งว่า การประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกฯ    ปี 2569 การประชุมกำหนดให้ประเทศสมาชิกหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพ จึงไม่เข้าลักษณะเรื่องที่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในกรณีที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานจะเสนอตัวให้ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับนานาชาติ ตามติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่              2 ธันวาคม 2557กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ

33. เรื่อง ขอความเห็นชอบ (ร่าง) ข้อตกลงความร่วมมือโครงการเสริมสร้างความสามารถในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในลุ่มน้ำของประเทศไทย ด้วยการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและการเกษตรแบบยั่งยืน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) ข้อตกลงความร่วมมือโครงการเสริมสร้างความสามารถในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในลุ่มน้ำของประเทศไทยด้วยการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและการเกษตรแบบยั่งยืน รวมทั้งมอบหมายให้อธิบดีกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าวร่วมกับสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ1
(United Nations Development Programme: UNDP) ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำใน (ร่าง) ข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าวและเอกสารโครงการดังกล่าวในประเด็นที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ส่งผลกระทบผูกพันเชิงนโยบาย ให้ กษ. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กษ. (กรมชลประทาน) ร่วมกับ UNDP ได้พัฒนาและจัดทำข้อเสนอโครงการเสริมสร้างความสามารถในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในลุ่มน้ำของประเทศไทยด้วยการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและการเกษตรแบบยั่งยืน (Enhancing climate resilience in Thailand through effective water management and sustainable agriculture) เพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนแบบให้เปล่าจากกองทุนภูมิอากาศสีเขียว2 (Green Climate Fund: GCF) โดยคณะกรรมการกองทุน GCF ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบงบประมาณสนับสนุนแบบให้เปล่า วงเงินประมาณ 17.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ UNDP ได้จัดทำเอกสารข้อตกลงในการดำเนินโครงการ (Funding Activity Agreement: FAA) ร่วมกับกองทุน GCF ส่งผลให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2565 อย่างไรก็ดีก่อนเริ่มดำเนินโครงการฯ จะต้องมีการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือๆ (Letter of Agreement) และเอกสารโครงการฯ (Project Document) ระหว่างกรมชลประทานและ UNDP

1UNDP เป็นหน่วยงานการพัฒนาขององค์การสหประชาชาติซึ่งทำงานสนับสนุนงานของประเทศต่าง ๆ ในการบรรลุเป้าหมายการพัฒณาที่ยั่งยืน
2กองทุน GCF เป็นกลไกทางการเงินภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของประชาคมโลกสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มีการปล่อยก๊าชเรือนกระจกในระดับต่ำและมีความสามารถในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยโครงการฯ ที่ กษ. และ UNDP เสนอในครั้งนี้จะได้รับเงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า ซึ่ง สผ. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ในฐานะหน่วยประสานงานหลักได้นำส่งหนังสือรับรองที่ประเทศไทยไม่มีข้อคัดค้านในการดำเนินโครงการฯ (ลงนามโดยปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในฐานะผู้มีอำนาจเต็มสำหรับกองทุน GCF ประเทศไทย) ไปยังกองทุน GCF ตามลำดับแล้ว

34. เรื่อง แผนจัดการระดับชาติเพื่อการปฏิบัติตามอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 - 2570
          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนจัดการระดับชาติเพื่อการปฏิบัติตามอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (อนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ) ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 - 2570 และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนให้เป็นไปตามพันธกรณีของอนุสัญญาที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกต่อไปตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                    สารสำคัญของเรื่อง
                    อนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ มีจุดมุ่งหมายเพื่อคุ้มครองสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม โดยการลด และ/หรือ เลิกการผลิต การใช้ และการปลดปล่อยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน ( Persistent Organic Pollutants: POPs) ซึ่งเป็นกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ยาก มีคุณสมบัติเป็นพิษต่อมนุษย์และสัตว์ ตกค้างยาวนานสามารถสะสมในสิ่งมีชีวิต ห่วงโซ่อาหาร และสิ่งแวดล้อมได้มาก และสามารถเคลื่อนย้ายได้ไกลในสิ่งแวดล้อม โดยประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2545 (คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2545) และต่อมาได้ให้สัตยาบันเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกในอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2548 (คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 18มกราคม 2548) ส่งผลให้อนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ มีผลบังคับใช้กับประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2548 เป็นต้นมา
                    พันธกรณีในข้อบทที่ 7 ของอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ กำหนดให้ภาคีสมาชิกต้องจัดทำแผนจัดการระดับชาติเพื่อการปฏิบัติตามอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ และจัดส่งที่ประชุมรัฐภาคี ภายใน 2 ปี หลังจากอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ มีผลบังคับใช้ในประเทศ รวมทั้งพิจารณาทบทวนและปรับปรุงแผนจัดการระดับชาติฯ ให้ทันสมัยครอบคลุมการจัดการสาร POPs ที่บรรจุในภาคผนวกของอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ ตามความเหมาะสมเป็นระยะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการลดและขจัดมลพิษจากสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน ดั้งนั้นตามพันธกรณีข้อบทที่ 7 ประเทศไทยจึงต้องดำเนินการทบทวนสถานภาพและการจัดการสาร POPs ของประเทศและจัดทำแผนจัดการระดับชาติฯ ฉบับใหม่ ทส. โดยกรมควบคุมมลพิษ จึงได้ดำเนินการ จัดทำแผนจัดการระดับชาติฯ ฉบับ 2 พ.ศ. 2566 ? 2570 โดยได้รับงบประมาณจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก และมีศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นผู้ศึกษา และกำกับการดำเนินงานซึ่งคณะอนุกรรมการอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ ภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 6/2565 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2565 ได้มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนจัดการระดับชาติฯ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 - 2570 ด้วยแล้ว

35. เรื่อง  ขออนุมัติลงนามร่างสนธิสัญญาระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหพันธรัฐรัสเซียว่าด้วยการส่งผู้รายข้ามแดนและการดำเนินการให้สนธิสัญญาฯ มีผลใช้บังคับ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างสนธิสัญญาระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหพันธรัฐรัสเซียว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามในสนธิสัญญาฯ
                    3. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนามในข้อ 2 ข้างต้นในกรณีที่ผู้ลงนามไม่ใช่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
                    4. ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการให้สนธิสัญญาฯ มีผลใช้บังคับในโอกาสอันเหมาะสมตามแต่จะตกลงกับสหพันธรัฐรัสเซียต่อไป โดยหลังจากที่ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามสนธิสัญญาฯ แล้วกระทรวงการต่างประเทศจะดำเนินการมีหนังสือแจ้งฝ่ายสหพันธรัฐรัสเซียว่า ฝ่ายไทยได้เสร็จสิ้นการดำเนินการตามกระบวนการของกฎหมายภายในเพื่อให้สนธิสัญญาฯ มีผลใช้บังคับแล้ว โดยสนธิสัญญาฯ จะมีผลใช้บังคับ 30 วัน นับจากวันที่ภาคีได้รับการแจ้งครั้งสุดท้าย ทั้งนี้ เป็นไปตามข้อ 21 ของสนธิสัญญาฯ
                    ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างสนธิสัญญาฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญก่อนมีการลงนาม ให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
                    สาระสำคัญ ร่างสนธิสัญญาฯ มีวัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ และหลักเกณฑ์ในการให้ความร่วมมือในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนคล้ายคลึงกับสนธิสัญญาในเรื่องเดียวกันที่ประเทศไทยได้จัดทำกับประเทศต่าง ๆ และสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2551

36. เรื่อง ร่างเอกสารการขยายระยะเวลาของความตกลงว่าด้วยความมั่นคงทางปิโตรเลียมของอาเซียน (Instrument of Extension of the ASEAN Petroleum Security Agreement)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารการขยายระยะเวลาของความตกลงว่าด้วยความมั่นคงทางปิโตรเลียมของอาเซียน (Instrument of Extension of the ASEAN Petroleum Security Agreement)
                    2. อนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน) เป็นผู้ลงนามในร่างเอกสารการขยายระยะเวลาของความตกลงว่าด้วยความมั่นคงทางปิโตรเลียมของอาเซียน (Instrument of Extension of the ASEAN Petroleum Security Agreement) และขอให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม
(Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนาม
                    ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างเอกสารการขยายระยะเวลาของความตกลงว่าด้วยความมั่นคงทางปิโตรเลียมของอาเซียน (Instrument of Extension of the ASEAN Petroleum Security Agreement) ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงพลังงานนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1) ความตกลงว่าด้วยความมั่นคงทางปิโตรเลียมของอาเซียน (APSA) ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 1มีนาคม 2556 ณ ประเทศไทย ได้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2556 จนถึงวันที่ 22 มีนาคม 2566 ซึ่งเป็นไปตามข้อบทที่ 7.8 ของความตกลงว่าด้วยความมั่นคงทางปิโตรเลียมของอาเซียน (APSA) โดยที่สามารถขยายเวลาของความตกลงดังกล่าวออกไปจากวันที่กำหนดได้ โดยขึ้นอยู่กับการเห็นชอบร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียน ตามข้อบทที่ 7.10 ของความตกลงว่าด้วยความมั่นคงทางปิโตรเลียมของอาเซียน (APSA)
                    2) ในที่ประชุม 40th  AMEM ที่จัดขึ้นผ่านระบบการประชุมทางไกล เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565 ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ตระหนักถึงความพยายามร่วมกันที่จะรับมือกับความผันผวนและการขาดแคลนของตลาดน้ำมันและก๊าช รวมถึงได้รับทราบที่จะหารือร่วมกันเกี่ยวกับการขยายระยะเวลาของความตกลงว่าด้วยความมั่นคงทางปิโตรเลียมของอาเซียน (APSA)
                    3) นอกจากนี้ ถ้อยแถลงวิสัยทัศน์ของผู้นำอาเซียนเรื่อง ?อาเซียน เอ.ซี.ที:รับมือความท้าทายร่วมกัน? (ASEAN A.C.T.: Addressing Challenges Together) ที่ได้รับรองเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา ยังได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการรับรองการฟื้นตัวและความยืดหยุ่นของอาเซียน และจะร่วมมือกันผลักดันการฟื้นตัวของภูมิภาคและความยืดหยุ่นในระยะยาวเพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางพลังงาน รวมถึงยืนยันคำมั่นของอาเซียนที่จะส่งเสริมการเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดและเสริมสร้างความยึดหยุ่นด้านพลังงานผ่านนวัตกรรมและความร่วมมือที่มากขึ้น
                    4) ประเทศสมาชิกอาเซียนจึงแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะขยายระยะเวลาของความตกลงว่าด้วยความมั่นคงทางปิโตรเลียม (APSA) ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568

แต่งตั้ง
37. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง นายพันธ์ทอง       ลอยกุลนันท์ รองอธิบดีกรมศุลกากร ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี (นักวิชาการศุลกากรทรงคุณวุฒิ) กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

38. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายประวีณ       ทับแสง นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม) กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม) โรงพยาบาลอุดรธานี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่      11 เมษายน 2565 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
39. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้ง นางสาวกรนภา ชัยวัฒน์ ผู้ตรวจราชการกรม (ผู้ตรวจราชการกรมระดับสูง) กรมส่งเสริมสหกรณ์ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสหกรณ์ (นักวิชาการสหกรณ์ทรงคุณวุฒิ) กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่วันที่           11 ตุลาคม 2565 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

40. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
                     1. นายนรวีร์ พุ่มจันทร์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาจิตเวช) สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาจิตเวช) สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2565
                     2. นางสาวภัทรวีร์ สร้อยสังวาลย์ ผู้อำนวยการสำนัก [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (วิทยาศาสตร์การแพทย์) ระดับสูง] สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (มาตรฐานห้องปฏิบัติการ) (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทรงคุณวุฒิ) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2565
                    3. นางสาวปิยะดา หวังรุ่งทรัพย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านบักเตรีลำไส้ (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์เชี่ยวชาญ) กลุ่มแบคทีเรียวิทยาทางการแพทย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (จุลชีววิทยา) (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทรงคุณวุฒิ) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2565
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

41. เรื่อง การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป็นหลักการมอบหมายให้แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ชุดใหม่ จำนวน      2 ราย ตามลำดับ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้
                    1. นายสมศักดิ์ เทพสุทิน                      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
                    2. นายธนกร วังบุญคงชนะ           รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป

42. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการเมือง (กระทรวงแรงงาน)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอแต่งตั้ง นายมานิตย์ พรหมการีย์กุล เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป

43. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายบุญเกียรติ        การะเวกพันธุ์ เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง

44. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ จำนวน 8 คน ดังนี้
                    1. นายสุวิทย์ เมษินทรีย์                      ดำรงตำแหน่ง           ประธานกรรมการ
                    2. นายจักรชัย บุญยะวัตร           ดำรงตำแหน่ง           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    3. นางเนาวรัตน์ บำรุงจิตต์           ดำรงตำแหน่ง           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    4. นายพิชัย สนแจ้ง                      ดำรงตำแหน่ง           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    5. นายพิเศษ จียาศักดิ์                     ดำรงตำแหน่ง           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    6. นายรัตติกร ยิ้มนิรัญ                      ดำรงตำแหน่ง           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    7. นายวิทยา อมรกิจบำรุง           ดำรงตำแหน่ง           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    8. นายสรนิต ศิลธรรม                     ดำรงตำแหน่ง           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป

45. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการองค์การสะพานปลา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการองค์การสะพานปลา ดังนี้
                    1. นายอำพันธุ์ เวฬุตันติ                                                      ประธานกรรมการ
                    2. นายสมิทธิ ดารากร ณ อยุธยา                                            กรรมการ
                    3. นายมนต์ชัย รุ้งทองผ่องอำไพ                                            กรรมการ
                    4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภูมิศิษฐ์ มหาเวสน์ศิริ                                กรรมการ
                    5. นายพิงค์พันธุ์ ฟุ้งพิพัฒน์                                           กรรมการ
                    6. นายสุรเดช สมิเปรม (ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)           กรรมการ
                    7. นางบุษกร ปราบณศักดิ์ (ผู้แทนกระทรวงการคลัง)           กรรมการ
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป

46. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอให้คณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทยมีจำนวนเกินกว่าสิบเอ็ดคน แต่ไม่เกินสิบห้าคนตามความในมาตรา 6 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และเห็นชอบแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย ดังนี้
                    1. นายกวีฉัฏฐ ศีลปพิพัฒน์           ประธานกรรมการ
                    2. นายเผ่าภัค ศิริสุข                     กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ผู้แทนเกษตรกรชาวสวนยาง)
                    3. นายปวิช พรหมทอง                       กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ผู้แทนเกษตรกรชาวสวนยาง)
                     4. นางสาวอรอนงค์ อารินวงค์           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ผู้แทนเกษตรกรชาวสวนยาง)
                     5. นายพิเชษฐ ยอดใชย                     กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ผู้แทนสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง)
                    6. นายศิริพันธุ์ ตรีไตรรัตนกูล           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ผู้แทนสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง)
                     7. นายวีรวัฒน์ ยมจินดา                      กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ผู้แทนผู้ประกอบกิจการยางซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการค้า)
                    8. นายสำเริง แสงภู่วงค์                       กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ผู้แทนผู้ประกอบกิจการยางซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการผลิตอุตสาหกรรมยาง)
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป

47. เรื่อง การแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการในคณะกรรมการผังเมืองแทนตำแหน่งที่ว่าง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเชฐ            โสวิทยสกุล เป็นกรรมการในคณะกรรมการผังเมืองในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิด้านเกษตรกรรม แทนกรรมการผังเมืองที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

48. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงแรงงานเสนอแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 จำนวน 14 คน เนื่องจากกรรมการเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2565 ดังนี้
                    1. นายนิยม สองแก้ว                                ผู้แทนฝ่ายรัฐบาล
                     2. นางสาววรวรรณ พลิคามิน                     ผู้แทนฝ่ายรัฐบาล
                    3. นายเมธี สุภาพงษ์                               ผู้แทนฝ่ายรัฐบาล
                    4. นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์                     ผู้แทนฝ่ายรัฐบาล
                    5. นางสาวศุภานัน ปลอดเหตุ                     ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง
                    6. นายณัฏฐกิตติ์ เขตตระการ                     ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง
                    7. นายอรรถยุทธ ลียะวณิช                     ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง
                    8. นางเนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย                       ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง
                    9. นายชัยยันต์ เจริญโชคทวี                     ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง
                    10. นายกัมปนาท ศรีพนมวรรณ                      ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง
                    11. นายสมชาย มูฮัมหมัด                      ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง
                    12. นายอ่อนสี โมฆรัตน์                                ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง
                    13. นายไพโรจน์ วิจิตร                              ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง
                    14. นายวีรสุข แก้วบุญปัน                     ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง
                        ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ในครั้งต่อ ๆ ไป ให้กระทรวงแรงงานดำเนินการแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการค่าจ้างให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเคร่งครัดด้วย ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 (เรื่อง การดำเนินการแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาตามกฎหมาย)

49. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป

50. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติเสนอแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ดังนี้
                    1. ศาสตราจารย์พรทิพภา เล็กเจริญสุข
                     2. ศาสตราจารย์ยง ภู่วรวรรณ
                    3. นายสมชัย จิตสุชน
                    4. นายวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร
                    5. นายศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์
                    6. ศาสตราจารย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล
                    7. ศาสตราจารย์กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ
                    8. รองศาสตราจารย์ประสบศรี อึ้งถาวร
                    9. รองศาสตราจารย์ศักรินทร์ ภูมิรัตน
                    10. ศาสตราจารย์อภิชาติ อัศวมงคลกุล
                    โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2566 เป็นต้นไป

51. เรื่อง การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป็นหลักการมอบหมายให้แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ชุดใหม่  ได้แก่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ