http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ (28 มีนาคม 2566) เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนโคกกลอย - ท้ายเหมือง จังหวัดพังงา พ.ศ. .... 2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนรีดร้อน สำหรับงานโครงสร้างเครื่องจักรกลต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... 3. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. .... 4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนรีดร้อน ทน แรงดึงสูงที่ปรับปรุงสมบัติการขึ้นรูป สำหรับงานโครงสร้างรถยนต์ ต้องเป็นไปตาม มาตรฐาน พ.ศ. .... เศรษฐกิจ-สังคม 5. เรื่อง ขอความเห็นชอบให้ข้าราชการทุกประเภท พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลาเข้าร่วม โครงการบรรพชาอุปสมบท 97 รูป ถวายพระกุศล สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 8 รอบ 26 มิถุนายน 2566 โดยไม่ถือเป็นวันลา 6. เรื่อง ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 7. เรื่อง การดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่องระบบการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ เดินทาง (Ease of Traveling) 8. เรื่อง รายงานประจำปี 2565 ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 9. เรื่อง รายงานการเงินรวมภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 10. เรื่อง ขอเสนอแนวทางการรณรงค์ เพื่อสืบสานคุณค่าทางวัฒนธรรม เนื่องในประเพณี สงกรานต์ พุทธศักราช 2566 ภายใต้แนวคิด ?สืบสานสงกรานต์วิถีไทย ร่วมสาน ใจ สู่สากล? 11. เรื่อง รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนมกราคม 2566 12. เรื่อง สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 แต่งตั้ง 13. เรื่อง การแต่งตั้งผู้แทนองค์กรเอกชนเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ผู้สูงอายุแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 มาตรา 4 (5)
กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนโคกกลอย - ท้ายเหมือง จังหวัดพังงา พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนโคกกลอย - ท้ายเหมือง จังหวัดพังงา พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลท้ายเหมือง ตำบลนาเตย อำเภอท้ายเหมือง และตำบลโคกกลอย ตำบลหล่อยูง และตำบลท่าอยู่ อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา และการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ การคมนาคมและขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมเพื่อจัดระบบและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน ส่งเสริมการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชน ระบบเศรษฐกิจ และศักยภาพของพื้นที่ ส่งเสริมและพัฒนาชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรรม และการประมงให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และดำรงรักษาเอกลักษณ์ วิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชน โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น 12 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แล้ว และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว สาระสำคัญของร่างประกาศ กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลท้ายเหมือง ตำบลนาเตย อำเภอท้ายเหมือง และตำบลโคกกลอย ตำบลหล่อยูง และตำบลท่าอยู่ อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา และการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1. กำหนดให้ผังเมืองรวมชุมชนโคกกลอย - ท้ายเหมือง จังหวัดพังงามีนโยบายและมาตรการเพื่อจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายคมนาคมขนส่งและบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับและสอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ 1.1 ส่งเสริมและพัฒนาชุมชนให้เป็นศูนย์กลางการบริหาร และการศึกษาในระดับอำเภอ 1.2 ส่งเสริมและพัฒนาชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด 1.3 ส่งเสริมการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับ การขยายตัวของชุมชน ระบบเศรษฐกิจ และศักยภาพของพื้นที่ 1.4 ส่งเสริมและพัฒนาการบริการทางสังคม การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ให้เพียงพอและได้มาตรฐาน 1.5 ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรรม และการประมงให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ 1.6 ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มีการพัฒนาอย่างสมดุลและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม 1.7 สงวนและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงสภาพสมบูรณ์และสวยงาม 1.8 ดำรงรักษาเอกลักษณ์และวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชน 2. กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 12 ประเภท ดังนี้ ประเภท วัตถุประสงค์ 1. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) - เป็นพื้นที่ชุมชนเดิมและพื้นที่รอบนอกชุมชนเมืองต่อจากพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยที่เบาบางและรองรับการขยายตัวของชุมชนสำหรับการอยู่อาศัยในอนาคต ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อก่อสร้างที่อยู่อาศัย ได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว ห้องแถว หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม มีข้อจำกัดเรื่องขนาดของพื้นที่อาคารซึ่งต้องไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่และอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 15 เมตร และห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณที่พักอาศัยและชุมชน เช่น คลังน้ำมันเพื่อการจำหน่าย คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว สถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงบรรจุ ห้องบรรจุ และโรงเก็บสุสานและฌาปนสถาน เว้นแต่การก่อสร้างทดแทนหรือดัดแปลงที่มีอยู่เดิม โรงฆ่าสัตว์ ไซโลเก็บ ผลิตผลทางการเกษตร ซื้อขาย หรือเก็บเศษวัสดุ การจัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม โรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้ เช่น การทำขนมปัง การทำน้ำดื่ม โรงงานซ่อมรองเท้าหรือเครื่องหนัง 2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) - เป็นพื้นที่บริเวณล้อมรอบพื้นที่พาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางในการรองรับการอยู่อาศัยบริเวณที่ต่อเนื่องจากศูนย์กลางพาณิชยกรรม ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการก่อสร้างที่อยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว ห้องแถว หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม มีข้อจำกัดเรื่องขนาดของพื้นที่อาคารซึ่งต้องไม่ใช่อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษและห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณที่พักอาศัยและชุมชน เช่น คลังน้ำมันเพื่อการจำหน่าย คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว สถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงบรรจุ ห้องบรรจุ และโรงเก็บ สุสานและฌาปนสถาน เว้นแต่การก่อสร้างทดแทนหรือดัดแปลงที่มีอยู่เดิม โรงฆ่าสัตว์ ไซโลเก็บผลิตผลทางการเกษตร ซื้อขายหรือเก็บเศษวัสดุ การจัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม โรงงาน ที่กำหนดให้ดำเนินการได้ เช่น การทำน้ำแข็ง การทำน้ำดื่ม การบรรจุสินค้าทั่วไป 3. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) - เป็นพื้นที่ศูนย์กลางด้านพาณิชยกรรมของชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมหลักของชุมชน ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นเพื่อรองรับกิจการ เช่น แหล่งพาณิชยกรรม ตลาด ร้านค้า โรงแรม และการอยู่อาศัยทุกประเภท ห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณพาณิชยกรรมและชุมชน เช่น คลังน้ำมันเพื่อการจำหน่าย สุสานและฌาปนสถาน โรงฆ่าสัตว์ จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม โรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้ เช่น การทำน้ำแข็ง การทำน้ำดื่ม การซ่อมจักรยานยนต์ 4. ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) - เป็นพื้นที่กันชนโดยรอบพื้นที่ชุมชนให้คงสภาพชนบทและประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เช่น การทำไร่ ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ และการอยู่อาศัยที่ขนาดและความสูงของอาคารมีข้อจำกัดเรื่องขนาดของพื้นที่อาคารไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร และอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ ได้แก่ การจัดสรรที่ดินทุกประเภท เว้นแต่การจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวที่มีขนาดแปลงย่อยไม่น้อยกว่า 100 ตารางวา โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมเว้นแต่โรงแรมประเภท 1 หรือโรงแรมประเภท 2 ที่มีจำนวนห้องพัก ไม่เกิน 15 ห้อง การอยู่อาศัยหรือประกอบพาณิชยกรรมประเภทห้องแถว ตึกแถว หรือบ้านแถว เว้นแต่การอยู่อาศัยประเภทบ้านแถวที่มีขนาดพื้นที่ไม่เกิน 300 ตารางเมตร และมีความสูงไม่เกิน 6 เมตร โรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้ เช่น การอบพืช หรือเมล็ดพืช การสีข้าว การถนอมผัก พืช หรือผลไม้ 5. ที่ดินประเภทปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สีเขียวมีกรอบและเส้นทแยงสีน้ำตาล) - เป็นพื้นที่ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มีวัตถุประสงค์ให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 6. ที่ดินประเภทอนุรักษ์สภาพแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยว (สีเขียวมีกรอบและเส้นทแยงสีขาว) - เป็นพื้นที่พัฒนาธุรกิจรองรับด้านการท่องเที่ยวประเภทที่พัก โรงแรม บังกะโล ให้สอดคล้องกับแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพด้านท่องเที่ยวอย่างเหมาะสม มีวัตถุประสงค์ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การอยู่อาศัย โรงแรม เกษตรกรรม สถาบันราชการ การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย โรงแรม เกษตรกรรม และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณที่พักอาศัยและชุมชน เช่น คลังน้ำมันเพื่อการจำหน่ายคลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว สถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงบรรจุ ห้องบรรจุ และโรงเก็บสุสานและฌาปนสถาน เว้นแต่การก่อสร้างทดแทนหรือดัดแปลงที่มีอยู่เดิม โรงฆ่าสัตว์ ซื้อขายหรือเก็บเศษวัสดุ และกำหนดเงื่อนไขจำกัดความสูงและขนาดอาคารในระยะ 75 เมตร จากแนวชายฝั่งทะเล ให้ดำเนินการหรือประกอบกิจการได้ในอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 7 เมตร ในระยะเกินกว่า 75 เมตร จากแนวชายฝั่งทะเลบริเวณที่มีศักยภาพของด้านการท่องเที่ยว แต่มีความเปราะบางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม พื้นที่ที่ยังไม่มีการพัฒนาอยู่ใกล้ป่าชายทะเล ให้ดำเนินการหรือประกอบกิจการได้ในอาคารที่มีพื้นที่อาคารปกคลุมดินในแต่ละหลัง ไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร และมีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ในระยะเกินกว่า 75 เมตร จากแนวชายฝั่งทะเลบริเวณที่มีการพัฒนาด้านท่องเที่ยวบริเวณเดิมและรักษาสภาพภูมิทัศน์ของพื้นที่ให้ดำเนินการหรือประกอบกิจการได้ในอาคารที่มีพื้นที่อาคารปกคลุมดินในแต่ละหลังไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร และมีความสูงไม่เกิน 12 เมตร ในระยะเกินกว่า 75 เมตรจากแนวชายฝั่งทะเลบริเวณพื้นที่ไม่ติดทะเลมีถนนสายหลักและมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานให้ดำเนินการหรือประกอบกิจการได้ในอาคารที่มีพื้นที่อาคารปกคลุมดินในแต่ละหลังไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร และมีความสูงไม่เกิน 18 เมตร 7. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน) - เป็นพื้นที่โล่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่โล่งสาธารณะที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ร่วมกันในบริเวณชายหาด พื้นที่ทางทะเลให้มีสภาพเป็นที่โล่งเพื่อการรักษาทรัพยากรที่สำคัญซึ่งเป็นศักยภาพของพื้นที่ และต้องการให้ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ มีที่พักผ่อนหย่อนใจ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่สมบูรณ์ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อนันทนาการ การรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อม และสาธารณประโยชน์ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่สมบูรณ์ มีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น สนามกีฬา สวนสาธารณะ 8. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้ (สีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีขาว) - เป็นพื้นที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ ได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติและพื้นที่ของเอกชนที่อยู่บริเวณดังกล่าว กรณีที่ดินของป่าไม้ มีวัตถุประสงค์ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการสงวนและคุ้มครองดูแลรักษาหรือบำรุงป่าไม้ สัตว์ป่า ต้นน้ำ ลำธาร และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกรณีที่ดินเอกชน เป็นเจ้าของหรือครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การอยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ ที่ดินซึ่งเอกชนเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย กำหนดให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การอยู่อาศัย ประเภทบ้านเดี่ยว การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ ได้แก่ โรงงานทุกจำพวก คลังน้ำมันเพื่อการจำหน่าย คลังก๊าซปิโตรเลียม การกำหนดเงื่อนไขจำกัดความสูงและขนาดอาคารในระยะ 75 เมตร จากแนวชายฝั่งทะเลให้มีความสูงไม่เกิน 7 เมตร ในระยะเกินกว่า 75 เมตร จากแนวชายฝั่งทะเล ให้ดำเนินการหรือประกอบกิจการได้ในอาคารที่มีพื้นที่ทุกชั้นในหลังเดียวกันไม่เกิน 500 ตารางเมตร และมีความสูงไม่เกิน 9 เมตร เว้นแต่ในบริเวณหมายเลข 8.2 ให้ดำเนินการหรือประกอบกิจการได้ในอาคารที่มีพื้นที่ทุกชั้นในหลังเดียวกันไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร และมีความสูงไม่เกิน 12 เมตร 9. ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก) - มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นสถาบันการศึกษาในบริเวณที่เป็นโรงเรียนตามสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน 10. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีฟ้า) - มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การประมงชายฝั่ง หรือสาธารณประโยชน์เท่านั้น 11. ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน) - มีวัตถุประสงค์ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการศาสนาหรือเกี่ยวข้องกับการศาสนาตามสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน 12. ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน) - มีวัตถุประสงค์ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อสถาบันราชการ การสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และบริการสาธารณะของรัฐ กำหนดไว้ในบริเวณที่มีหลักฐานตามกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เป็นที่สาธารณะ ที่ราชพัสดุและบริเวณพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์เป็นสถานที่ราชการในปัจจุบัน ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล และสำนักงานเทศบาลตำบล 3. กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท 4. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณแนวถนนสาย ก 1 ถนนสาย ก 2 ถนนสาย ก 3 ถนนสาย ก 4 ถนนสาย ก 5 ถนนสาย ก 6 ถนนสาย ก 7 ถนนสาย ก 8 ถนนสาย ก 9 ถนนสาย ก 10 ถนนสาย ข 1 ถนนสาย ข 2 ถนนสาย ข 3 ถนนสาย ข 4 ถนนสาย ข 5 ถนนสาย ข 6 ถนนสาย ข 7 ถนนสาย ข 8 ถนนสาย ข 9 ถนนสาย ข 10 ถนนสาย ค 1 ถนนสาย ค 2 ถนนสาย ค 3 และถนนสาย ง ตามแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยให้ใช้ประโยชน์เพื่อกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้ 4.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ 4.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง 4.3 เกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตร หรือไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่ 2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนรีดร้อน สำหรับงานโครงสร้างเครื่องจักรกลต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนรีดร้อน สำหรับงานโครงสร้างเครื่องจักรกลต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ เป็นการแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนรีดร้อน สำหรับงานโครงสร้างเครื่องจักรกลต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ปัจจุบันมีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมซึ่งเป็นมาตรฐานบังคับอยู่แล้ว แต่เนื่องจากใช้บังคับมานานเกินกว่า 5 ปีแล้ว [โดยอ้างอิงจากองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) หากมาตรฐานบังคับใดใช้มาเกิน 5 ปี ควรจะต้องมีการทบทวนใหม่ ] รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานอ้างอิง การพัฒนาเทคโนโลยี การทำและการใช้ภายในประเทศ ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยในหลักการ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการล่วงหน้าแล้วด้วย สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 1. กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนรีดร้อน สำหรับงานโครงสร้างเครื่องจักรกล ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 1501-2564 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 6697 (พ.ศ. 2565) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าคาร์บอนทรงแบนรีดร้อน สำหรับงานโครงสร้างเครื่องจักรกล และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนรีดร้อน สำหรับงานโครงสร้างเครื่องกล ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 2. กำหนดให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป 3. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลไพศาลี และตำบลโคกเดื่อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชน ให้เป็นมืองศูนย์กลางการบริหารการปกครอง เศรษฐกิจและสังคม การดำรงรักษาเมือง และพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม และเป็นศูนย์กลางการผลิต การซื้อขายพืชไร่ ด้านตะวันออกของจังหวัดนครสวรรค์โดยการจัดการด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่ภายในเขตผังเมืองรวมชุมชนไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น 11 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แล้ว และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว สาระสำคัญของร่างประกาศ กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลไพศาลี และตำบลโคกเดื่อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนไพศาลีให้เป็นเมืองศูนย์กลางการบริหารการปกครอง เศรษฐกิจและสังคม ดำรงรักษาเมืองและพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม และเป็นเมืองศูนย์กลางการผลิต การซื้อขายพืชไร่ ด้านตะวันออกของจังหวัดนครสวรรค์ โดยการจัดการด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1. กำหนดให้ผังเมืองรวมชุมชนไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ มีนโยบายและมาตรการเพื่อจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายคมนาคมและขนส่ง และบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับและสอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ 1.1 ส่งเสริมให้ชุมชนไพศาลี เป็นศูนย์กลางการบริหาร การปกครอง การพาณิชยกรรม และการบริการในระดับอำเภอ 1.2 ส่งเสริมและพัฒนาด้านที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม และอุตสาหกรรมการเกษตรให้สอดคล้องกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคม ศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่และการขยายตัวของชุมชน 1.3 ส่งเสริมและพัฒนาการบริการทางสังคม การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน 1.4 ส่งเสริม อนุรักษ์ และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมที่มีคุณค่าทางศาสนา ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และโบราณสถาน เพื่อดำรงความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน 1.5 อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 11 ประเภท ดังนี้ ประเภท วัตถุประสงค์ 1. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) - กำหนดไว้บริเวณโดยรอบเขตพักอาศัยของย่านพาณิชยกรรมหลัก และพื้นที่โดยรอบซึ่งเป็นบริเวณที่มีความเหมาะสมในการรองรับการขยายตัวของการอยู่อาศัยในอนาคตต่อเนื่องจากพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยที่เบาบาง มีการใช้ประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่ สามารถก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว โดยมีข้อจำกัดเรื่องประเภทของอาคารซึ่งต้องไม่ใช่การอยู่อาศัยประเภท อาคารชุด หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม หรืออาคารขนาดใหญ่ และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคสำหรับการอยู่อาศัยที่ดี ได้แก่ การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ก่อปัญหาสุขอนามัยชุมชน คลังเชื้อเพลิง คลังวัตถุระเบิดที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัย สถานสงเคราะห์หรือรับเลี้ยงสัตว์ การกำจัดขยะมูลฝอย การซื้อขายเศษวัสดุ สุสาน ฌาปนสถาน เป็นต้น และมีเงื่อนไขการใช้ประโยชน์ที่ดินริมเขตทาง โดยให้มีที่ว่างตามแนวขนานริมเขตทางไม่น้อยกว่า 6 เมตร สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการ ได้แก่ อุตสาหกรรมขนาดเล็กแลอุตสาหกรรมบริการ เช่น การแปรรูปอาหาร การถนอมเนื้อสัตว์ โรงน้ำแข็ง การทำน้ำดื่ม การตัดเย็บเสื้อผ้า การซ่อมรถจักรยานยนต์ เป็นต้น 2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) - กำหนดไว้บริเวณโดยรอบของศูนย์กลางพาณิชยกรรมหลักของชุมชน ที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินต่อเนื่องจากพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางที่มีการสร้างที่อยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว อาคารชุด หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม โดยมีข้อจำกัดเรื่องขนาดของอาคารซึ่งต้องไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่พิเศษ และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคสำหรับการอยู่อาศัยที่ดี ได้แก่ การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ก่อปัญหาสุขอนามัยชุมชน คลังเชื้อเพลิง คลังวัตถุระเบิดที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ การกำจัดขยะมูลฝอย ซื้อขายเศษวัสดุ สุสานและฌาปนสถาน เป็นต้น และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการ ได้แก่ อุตสาหกรรมขนาดเล็กและอุตสาหกรรมบริการ เช่น การตัดเย็บเสื้อผ้า การซ่อมรถจักรยานยนต์ และการแปรรูปอาหาร เป็นต้น 3. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) - เป็นศูนย์กลางชุมชนเมืองย่านพาณิชยกรรมเดิมของชุมชน มีวัตถุประสงค์ให้เป็นบริเวณที่ประกอบพาณิชย์ ธุรกิจ และการค้า ประกอบด้วย ตลาด ศูนย์การค้า สำนักงาน โรงแรม โดยไม่มีการจำกัดความสูงและพื้นที่ของอาคาร ซึ่งกำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากเพื่อรองรับการประกอบกิจการดังกล่าว และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคสำหรับการอยู่อาศัยที่ดี ได้แก่ การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ก่อปัญหาสุขอนามัยชุมชน คลังเชื้อเพลิง คลังวัตถุระเบิดที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัย การกำจัดขยะมูลฝอย ซื้อขายเศษวัสดุ สุสานและฌาปนสถาน เป็นต้น และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการ ได้แก่ อุตสาหกรรมขนาดเล็ก และอุตสาหกรรมบริการ เช่น การตัดเย็บเสื้อผ้า การซ่อมรถจักรยานยนต์ การแปรรูปอาหาร เป็นต้น 4. ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (สีม่วง) - เป็นอุตสาหกรรมที่กำหนดให้อยู่นอกชุมชนเมืองพื้นที่ราบ และอยู่ในบริเวณที่สะดวกแก่การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ การคมนาคมขนส่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประกอบอุตสาหกรรมได้ทุกประเภท ชนิด และจำพวกตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพการทางเศรษฐกิจและการลงทุนภาคเอกชนหรือนโยบายของรัฐบาล และมีเงื่อนไขการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการใด ๆ ให้มีที่ว่างตามแนวขนานกับแนวเขตที่ดิน ไม่น้อยกว่า 50 เมตร และการใช้ประโยชน์ที่ดินริมฝั่งห้วยตะโก ลำคลอง หรือแหล่งน้ำสาธารณะ ให้มีที่ว่างตามแนวขนานริมฝั่งตามสภาพธรรมชาติไม่น้อยกว่า 12 เมตร เว้นแต่เป็นการก่อสร้างเพื่อการคมนาคมและขนส่งทางน้ำ การสาธารณูปโภค เขื่อน รั้ว หรือกำแพง 5. ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) - เป็นพื้นที่เกษตรกรรมในบริเวณโดยรอบของชุมชน ทำหน้าที่เป็นแนวกันชน (Buffer Zone) และเพื่อคงสภาพชนบทและประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีวัตถุประสงค์ให้เป็นพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรมประกอบด้วย พื้นที่เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ เช่น ทำไร่ ทำนา ทำสวน หรือเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น และสามารถสร้างที่อยู่อาศัยได้เฉพาะบ้านเดี่ยว โดยมีข้อจำกัดเรื่องประเภทของอาคารซึ่งต้องไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่ ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการสร้างที่อยู่อาศัยหรือประกอบพาณิชยกรรมที่มีความหนาแน่น เช่น ห้องแถว ตึกแถว อาคารชุด หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม คลังเชื้อเพลิง คลังวัตถุระเบิดที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัย เป็นต้น และมีเงื่อนไขการใช้ประโยชน์ที่ดินริมเขตทางโดยให้มีที่ว่างตามแนวขนานริมเขตทางไม่น้อยกว่า 6 เมตร และการใช้ประโยชน์ที่ดินริมฝั่งลำคลอง ห้วย หรือแหล่งน้ำสาธารณะให้มีที่ว่างตามแนวขนานริมฝั่งตามสภาพธรรมชาติไม่น้อยกว่า 6 เมตร เว้นแต่เป็นการก่อสร้างเพื่อการคมนาคมและขนส่งทางน้ำ การสาธารณูปโภค เขื่อน รั้ว หรือกำแพง สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการ ได้แก่ อุตสาหกรรมขนาดเล็กและอุตสาหกรรมขนาดกลาง เช่น การซ่อมรถยนต์ การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร หรือคลังสินค้า เป็นต้น 6. ที่ดินประเภทปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สีเขียวมีกรอบและเส้นทแยงสีน้ำตาล) - เป็นพื้นที่เขตดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สำหรับที่ดิน ซึ่งเอกชนเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย กำหนดให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อให้สอดคล้องกับเกษตรกรรม สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ โดยมีการผ่อนปรนให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการดำรงอยู่ได้ เช่น การอยู่อาศัย เกษตรกรรม โดยมีข้อจำกัดเรื่องขนาดของอาคาร 7. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน) - เป็นพื้นที่โล่งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ มีที่พักผ่อนหย่อนใจ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่สมบูรณ์ มีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น หนองไก่สระน้ำพ่อเฒ่า และสระน้ำวัดบ้านใหม่วารีเย็น เป็นต้น สำหรับที่ดินซึ่งเอกชนเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย กำหนดให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อให้สอดคล้องกับเกษตรกรรม การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ โดยมีการผ่อนปรนให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการดำรงอยู่ได้ เช่น การอยู่อาศัย เกษตรกรรม โดยมีข้อจำกัดเรื่องขนาดของอาคาร 8. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้ (สีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีขาว) - เป็นพื้นที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ และพื้นที่ของเอกชนที่อยู่ในบริเวณดังกล่าว กรณีที่ดินของป่าไม้มีวัตถุประสงค์ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการสงวน และคุ้มครองดูแลรักษาหรือบำรุงป่าไม้ สัตว์ป่า ต้นน้ำลำธาร และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ สำหรับที่ดินซึ่งเอกชนเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย กำหนดให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อให้สอดคล้องกับป่าไม้โดยมีการผ่อนปรนให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการดำรงอยู่ได้ เช่น การอยู่อาศัย เกษตรกรรม โดยมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่และความสูงของอาคาร 9. ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก) - มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน เช่น โรงเรียนบ้านเขาธรรมบท โรงเรียนไพศาลีพิทยา และโรงเรียนอนุบาลไพศาลี เป็นต้น 10. ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน) - มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่สถาบันศาสนาตามการใช้ที่ดินในปัจจุบัน เช่น วัดไพศาลี และวัดเนินทอง เป็นต้น 11. ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน) - มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดินเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐบาลเพื่อการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เช่น สำนักงานเทศบาลตำบลไพศาลี โรงพยาบาลไพศาลี และการประปาส่วนภูมิภาคหน่วยบริการอำเภอไพศาลี สาขาท่าตะโก เป็นต้น 3. กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท 4. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณแนวถนนสาย ก 1 ถนนสาย ก 2 ถนนสาย ก 3 ถนนสาย ก 4 ถนนสาย ก 5 และถนนสาย ข ตามแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยให้ใช้ประโยชน์เพื่อกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้ 4.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ 4.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง 4.3 การเกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตร หรือไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่ 4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนรีดร้อน ทนแรงดึงสูงที่ปรับปรุงสมบัติการขึ้นรูป สำหรับงานโครงสร้างรถยนต์ ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนรีดร้อน ทนแรงดึงสูงที่ปรับปรุงสมบัติการขึ้นรูป สำหรับงานโครงสร้างรถยนต์ ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 1. กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนรีดร้อน ทนแรงดึงสูงที่ปรับปรุงสมบัติการขึ้นรูป สำหรับงานโครงสร้างรถยนต์ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 1884 - 2564 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 6698 (พ.ศ. 2565) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้ารีดร้อนทนแรงดึงสูงแผ่นม้วน แผ่นแถบ แผ่นหนา และแผ่นบางที่ปรับปรุงสมบัติการขึ้นรูป สำหรับงานโครงสร้างรถยนต์ และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนรีดร้อน ทนแรงดึงสูงที่ปรับปรุงสมบัติการขึ้นรูป สำหรับงานโครงสร้างรถยนต์ ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 2. กำหนดให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เศรษฐกิจ-สังคม 5. เรื่อง ขอความเห็นชอบให้ข้าราชการทุกประเภท พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลาเข้าร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบท 97 รูป ถวายพระกุศล สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 8 รอบ 26 มิถุนายน 2566 โดยไม่ถือเป็นวันลา คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอให้ข้าราชการทุกประเภท พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลาเข้าร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบท 97 รูป ถวายพระกุศล สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 8 รอบ 26 มิถุนายน 2566 โดยไม่ถือเป็นวันลา เสมือนเป็นการปฏิบัติราชการและได้รับเงินเดือนตามปกติ ระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม 2566 (รวม 17 วัน) ต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง สปน. รายงานว่า 1. เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองพระชนมายุ 8 รอบ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน) มีมติเห็นชอบให้ดำเนินโครงการบรรพชาอุปสมบท 97 รูป ถวายพระกุศล สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 8 รอบ 26 มิถุนายน 2566 ระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม 2566 (รวม 17 วัน) ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยกำหนดผู้เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วยข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำจากหน่วยงานภาครัฐ ผู้แทนภาคีเครือข่ายภาคเอกชน นักศึกษา และประชาชน มีหน่วยงานหลักรับผิดชอบดำเนินโครงการ ได้แก่ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามร่วมกับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และมีหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินโครงการ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2. โครงการฯ มีรายละเอียดการดำเนินการ ดังนี้ การดำเนินการ วัน/เวลา/สถานที่ (1) การรับสมัครเข้าร่วมโครงการฯ วันที่ 20 กุมภาพันธ์-31 มีนาคม 2566 (2) การตรวจสอบคุณสมบัติ เดือนเมษายน 2566 (3) การประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการฯ เดือนพฤษภาคม 2566 (4) การเตรียมดำเนินโครงการฯ เช่น จัดหาเครื่องอัฐบริขารและการขอมติคณะรัฐมนตรีโดยไม่ถือเป็นวันลา เดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2566 (5) พิธีปลงผม วันที่ 15 มิถุนายน 2566 ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม (6) พิธีรับประทานผ้าไตรและเข้ารับประทานพระโอวาทจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก วันที่ 16 มิถุนายน 2566 ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม (7) พิธีบรรพชาอุปสมบท วันที่ 17 มิถุนายน 2566 ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม (8) ศึกษาและปฏิบัติธรรม วันที่ 18-30 มิถุนายน 2566 ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามและวัดพระยายัง กรุงเทพมหานคร (9) พิธีทำบุญตักบาตร ถวายพระกุศลแด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วันที่ 26 มิถุนายน 2566 (10) พิธีลาสิกขา วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม 6. เรื่อง ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 คณะรัฐมนตรีรับทราบความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเสนอ 1. ความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ 1.1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติในห้วงที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติมีมติเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 เห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติในห้วงที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) ตามหลักการบริหารงานคุณภาพ (Plan Do Check Act: PDCA) ดังนี้ ขั้นตอนตามหลักการ PDCA แนวทางการขับเคลื่อน การวางแผน (Plan) สร้างการตระหนักรู้ให้กับบุคลากรและสร้างแรงจูงใจให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ การปฎิบัติ (Do) ? หน่วยงานของรัฐจัดทำแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี รายปี และแผนปฏิบัติการด้าน... เฉพาะที่มีความจำเป็นต่อบริบทการพัฒนาประเทศ โดยวิเคราะห์หาช่องว่างประเด็นการพัฒนาและพิจารณาทบทวนกฎหมายที่กำหนดให้มีแผนปฏิบัติการด้าน... ในประเด็นที่ไม่จำเป็น ? การจัดทำโครงการที่มุ่งเน้นเป้าหมายของแผนแม่บทย่อยที่มีสถานะการบรรลุต่ำกว่าค่าเป้าหมาย โดยการบูรณาการของหน่วยงานเจ้าภาพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดสรรงบประมาณแบบ ?พุ่งเป้า? เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ตามเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างแท้จริง การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล (Check) ผู้ตรวจราชการ คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการและเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างเคร่งครัด และให้ความสำคัญในการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลประเด็นเป้าหมายที่มีสถานะการบรรลุเป้าหมายในระดับวิกฤต (สีแดง) และ/หรือมีระดับวิกฤตต่อเนื่อง หรือเป้าหมายที่มีค่าสถานะการบรรลุเป้าหมายปรับตัวลง ขั้นการปรับปรุงกระบวนการ (ACT) หน่วยงานของรัฐควรให้ความสำคัญในการปรับปรุงการดำเนินงานในทุกขั้นตอนตามหลักการ PDCA เพื่อให้เกิดการ ?พุ่งเป้า? การบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ สศช. อยู่ระหว่างเสนอแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติในห้วงที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) ต่อคณะรัฐมนตรี 1.2 การขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) สรุปได้ ดังนี้ 1.2.1 นายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 จำนวน 5 คณะ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อเป็นกลไกเชิงยุทธศาสตร์สำหรับการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 และ สศช. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการประสานการขับเคลื่อนและติดตามประเมินผลและคณะทำงานสนับสนุนการขับเคลื่อน จำนวน 6 คณะ เพื่อปฏิบัติภารกิจในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับแนวทางที่คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 กำหนด 1.2.2 สศช. ได้จัดทำเอกสารสรุปแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ฉบับประชาชนในรูปแบบที่ง่ายสำหรับการประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณชน และได้จัดทำคำอธิบายเป้าหมาย ตัวชี้วัดและคำสำคัญ ต่าง ๆ ในรายละเอียดให้เกิดความชัดเจนในขอบเขตความหมายของเป้าหมายตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย วิธีการคำนวณและวัดผล แหล่งที่มาของข้อมูล และหน่วยงานผู้รับผิดชอบเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจและมีข้อมูลเพียงพอสำหรับการพิจารณาประกอบการจัดทำแผนงาน/โครงการให้ตอบสนองต่อแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ในระดับกลยุทธ์การพัฒนารายหมุดหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.2.3 สศช. ได้ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายจากภาคส่วนต่าง ๆ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บริษัทเอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อสำรวจข้อมูลในพื้นที่และสังเคราะห์ประเด็นการพัฒนารายหมุดหมายที่มีความเหมาะสมสำหรับพื้นที่นำร่องระดับตำบลโดยมีการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายแล้ว 11 ตำบล/เทศบาล ใน 7 จังหวัด 1.3 การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อการถูกกีดกันทางการค้าเพิ่มมากขึ้นจากการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรปส่งผลให้ราคาสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศต้องสะท้อนถึงปริมาณการปล่อยคาร์บอนที่แท้จริงที่เกิดจากการผลิตสินค้า อีกทั้งในหลายประเทศ เช่น สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐเกาหลี และญี่ปุ่น ได้เริ่มดำเนินนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดมากขึ้น ดังนั้น ภาครัฐและเอกชนจึงได้เร่งผลักดันมาตรการเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในภาคการผลิตซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก เช่น การสร้างมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้ การใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกชีวภาพ และการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวส่งผลให้ปริมาณการปล่อย CO2 ต่อการใช้พลังงานในช่วงครึ่งปีแรกของไทยในปี 2565 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลกประกอบกับการดำเนินการดังกล่าวมีความสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติในประเด็นการต่างประเทศ : ไทยมีการพัฒนาที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลในทุกมิติและสามารถมีบทบาทเชิงรุกในการร่วมกำหนดมาตรฐานสากลเพิ่มขึ้น และประเด็นการเติบโตอย่างยั่งยืน : การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยลดลง ดังนั้น หน่วยงานของรัฐต้องให้ความสำคัญกับการกำหนดระเบียบในการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าที่ทำจากวัสดุหมุนเวียนและผลิตภัณฑ์หมุนเวียน การออกกฎหมายอนุญาตให้นำกากอุตสาหกรรมออกนอกโรงงาน การใช้ประโยชน์จากของเสียอุตสาหกรรมและการผลักดันให้มีโรงงานรีไซเคิลที่ได้มาตรฐานในทุกนิคมอุตสาหกรรม 2. การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ : ความก้าวหน้าการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) จากการแก้ไขปัญหาความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยที่ผ่านมา หน่วยงานและภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องที่มีภารกิจแตกต่างกันมีความเข้าใจความหมายของคำนิยามและคำจำกัดความของคำศัพท์ที่ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันและทำให้การขับเคลื่อนการบรรลุผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่กำหนดยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้น สศช. จึงได้ปรับปรุงคำนิยามและคำจำกัดความของคำศัพท์เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เช่น กลุ่มคนเป้าหมายการดำเนินการของ ศจพ. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดัชนีความยากจนหลายมิติ และเมนูแก้จน ซึ่งจะทำให้หน่วยงานและภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้เป็นคำกลางในการสื่อสาร โดย ศจพ. ระดับต่าง ๆ และทีมปฏิบัติการในพื้นที่ต้องทำความเข้าใจกับคำนิยามและคำจำกัดความของคำศัพท์เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 3. การติดตาม การตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ที่ผ่านมาหน่วยงานของรัฐนำเข้าข้อมูลโครงการ/การดำเนินงานในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ไม่ครบถ้วนทุกการดำเนินการ เช่น บางหน่วยงานมีการนำเข้าเพียงร้อยละ 17 ของโครงการทั้งหมด เมื่อเทียบจากข้อมูลโครงการตามรหัสงบประมาณในระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐ และมีการรายงานผลสัมฤทธิ์ของแผนระดับที่ 3 เพียงร้อยละ 21 ของแผนระดับที่ 3 ที่มีการนำเข้าระบบ eMENSCR ส่งผลให้การติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติไม่มีความครอบคลุมครบถ้วนในทุกการดำเนินงานโดย สศช. ได้มีการขยายกรอบระยะเวลาการนำเข้าข้อมูลโครงการ/การดำเนินงานและแผนระดับที่ 3 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในระบบ eMENSCR ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 มีนาคม 2566 เพื่อให้สอดคล้องกับการประกาศบังคับใช้แผนระดับที่ 2 ในห้วงที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) ของยุทธศาสตร์ชาติ โดยข้อมูล ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 หน่วยงานของรัฐมีการนำเข้าข้อมูลโครงการ/การดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในระบบ eMENSCR แล้ว จำนวน 129 โครงการ /การดำเนินงาน แผนระดับที่ 3 จำนวน 99 แผน แบ่งเป็น แผนปฏิบัติการด้าน... จำนวน 8 แผน แผนปฏิบัติราชการราย 5 ปี จำนวน 47 แผน และแผนปฏิบัติการรายปี จำนวน 44 แผน ดังนั้น หน่วยงานของรัฐต้องเร่งจัดทำและนำเข้าแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในระบบ eMENSCR ให้แล้วเสร็จและนำเข้าข้อมูลของทุกโครงการ/การดำเนินงาน รวมทั้งรายงานความก้าวหน้าของโครงการ/การดำเนินงานและผลสัมฤทธิ์ของแผนระดับ 3 ตามกรอบเวลาที่กำหนดเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2562 4. ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ ที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐอาจไม่ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานที่ก่อให้เกิดการพุ่งเป้าเพื่อบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติเท่าที่ควร โดยจากรายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2565 พบว่า จากเป้าหมายแผนแม่บทย่อยทั้งหมดจำนวน 140 เป้าหมาย มีจำนวน 35 เป้าหมายที่อยู่ในระดับวิกฤต โดยมี 11 เป้าหมายที่เป็นการปรับตัวลดลงจนเข้าขั้นระดับวิกฤต ซึ่งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติมีมติเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 ให้ทุกหน่วยงานของรัฐให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติที่มีค่าสถานะการบรรลุเป้าหมายในระดับวิกฤตหรือปรับตัวลดลงจนเข้าขั้นระดับวิกฤต ทั้งนี้ จากตัวอย่างเป้าหมายแผนแม่บทย่อย : บุคลากรภาครัฐยึดค่านิยมในการทำงานเพื่อประชาชน ยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึก มีความสามารถสูง มุ่งมั่นและเป็นมืออาชีพ ซึ่งมีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) เป็นหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนและมีค่าสถานะการบรรลุเป้าหมายใน พ.ศ. 2565 ปรับลดลงอยู่ในระดับวิกฤต (สีแดง) สะท้อนได้ว่าการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐที่ผ่านมายังไม่ก่อให้เกิดการพุ่งเป้าไปสู่การขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายเท่าที่ควร ซึ่งจากการพิจารณาห่วงโซ่คุณค่าของประเทศไทย (Final Value Chain Thailand: FVCT) พบว่า มีโครงการในระบบ eMENSCR ที่รองรับการขับเคลื่อนเป้าหมายดังกล่าวจำนวน 1,886 โครงการ ซึ่งร้อยละ 70 ของโครงการทั้งหมดเป็นโครงการที่สอดคล้องกับ 2 ปัจจัย จากทั้งหมด 11 ปัจจัย และมีโครงการที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นโครงการเพื่อบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ (โครงการสำคัญ) ประจำปีงบประมาณ 2565-2567 เพียง 2 โครงการ โดยไม่มีข้อเสนอโครงการสำคัญจากสำนักงาน ก.พ. ซึ่งเป็นหน่วยงานเจ้าภาพ ซึ่งโครงการ/การดำเนินงานในส่วนใหญ่มีความซ้ำซ้อนและคล้ายเดิมในทุกปีสะท้อนให้เห็นว่าการดำเนินโครงการ/การดำเนินงานยังไม่รองรับการขับเคลื่อนปัจจัยเท่าที่ควรและเมื่อวิเคราะห์ FVCT ของเป้าหมายดังกล่าวพบว่า ยังมีประเด็นท้าทายที่อาจส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายได้อย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ (1) ความครอบคลุมของหน่วยงานร่วมขับเคลื่อนในหลายปัจจัยที่ยังขาดหน่วยงานเกี่ยวข้องหลัก (2) การนำปัจจัยสำคัญที่ควรมีโครงการสำคัญรองรับมากำหนดเป็นประเด็นที่ต้องดำเนินการ และ (3) การจัดทำโครงการเพื่อบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติไม่ได้ดำเนินการบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์เท่าที่ควร ดังนั้น หน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ทั้ง 3 ระดับ และหน่วยงานร่วมขับเคลื่อนแผนแม่บทย่อย ของทั้ง 140 เป้าหมาย ต้องใช้ FVCT เป็นกรอบในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อยนั้น ๆ และต้องให้ความสำคัญในการวิเคราะห์ช่องว่างการพัฒนาเพื่อนำไปกำหนดประเด็นในการจัดทำโครงการที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายได้อย่างแท้จริง 5. นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการให้ สศช. ประชาสัมพันธ์ผลงานการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศของรัฐบาล รวมถึงของ สศช. คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศให้ประชาชนทราบต่อไป 7. เรื่อง การดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่องระบบการอำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทาง (Ease of Traveling) คณะรัฐมนตรีรับทราบการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่องระบบการอำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทาง (Ease of Traveling) ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ ดังนี้ สาระสำคัญของเรื่อง กก. รายงานว่า 1. จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในช่วงปี พ.ศ. 2564-2565 รัฐบาลได้มีมาตรการทางสาธารณสุข ส่งผลให้การเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทยเป็นไปด้วยความยากลำบาก กก. โดยสำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจึงได้พัฒนาระบบ Entry Thailand ขึ้น โดยเป็นระบบเว็บท่า (Web Portal) มีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลและขั้นตอนในการเดินทางเข้าประเทศเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทาง (Ease of Traveling) ต่อมารัฐบาลได้ยกเลิกมาตรการทางสาธารณสุขต่าง ๆ และเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 กก. จึงได้มีการปรับรูปแบบการให้บริการ โดยมุ่งเน้นให้เป็นแพลตฟอร์มกลางในการอำนวยความสะดวกด้านการให้บริการนักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในราชอาณาจักรไทยแบบครบวงจร เชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำเสนอข้อมูลสำคัญที่จำเป็นและตรงตามพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยว ตั้งแต่ก่อนเดินทางเข้ามาในประเทศ ระหว่างพำนักในประเทศ และก่อนเดินทางออกนอกประเทศ รวมทั้งเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 ที่กำหนดให้ระบบการอำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทาง (Ease of Traveling) เป็น 1 ใน 12 งานบริการที่เป็นเรื่อง (Agenda) เร่งด่วน โดยกำหนดแผนการดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี ตั้งแต่ปี 2565-2567 2. กก. ได้จัดทำแผนการดำเนินการ (Roadmap) ระบบการอำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทาง (Ease of Traveling) ปี 2565-2567 ประกอบด้วยวิธีการดำเนินการ (Action Plan) วัตถุประสงค์ ผลผลิต และระยะเวลาในการดำเนินการเชื่อมต่อระบบการอำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทาง (Ease of Traveling) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยในปี 2565-2566 กก. (สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา) ได้บูรณาการการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทยตาม Roadmap ดังนี้ หน่วยงาน เรื่อง ปี 2565 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แอปพลิเคชัน Thailand Pass กรมสรรพากร การขอคืนภาษีสำหรับนักท่องเที่ยว กรมการกงสุล การขอวีซ่าออนไลน์ กองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว แอปพลิเคชัน Tourist Police I Lert U ให้ความช่วยเหลือเมื่อนักท่องเที่ยวประสบเหตุ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ตารางเที่ยวบิน กรมควบคุมโรค การตรวจสอบการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย การซื้อประกันภัยคุ้มครองสำหรับโรคโควิด 19 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การบริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยวในรูปแบบต่าง ๆ ปี 2566 สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ข้อมูลเกี่ยวกับงานเทศกาลและงานประเพณีของไทย กรมศิลปากร การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์และอุทยานประวัติศาสตร์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานสถานการณ์สาธารณภัยประจำวัน กรมอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลการแจ้งเตือนสภาพอากาศ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ระบบการจองที่พักในอุทยานแห่งชาติ ทั้งนี้ กก. ได้ดำเนินการเชื่อมต่อระบบการอำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทาง (Ease of Traveling) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตาม Roadmap เรียบร้อยแล้ว 3. กก. มีข้อเสนอเพื่อผลักดันระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนี้ 3.1 การดำเนินการพัฒนาระบบการอำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทาง (Ease of Traveling) ถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่ช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้เดินทางตัดสินใจเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น โดยมีผลต่อการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเข้าสู่ประเทศ ดังนั้น เมื่อมีการดำเนินการให้เป็นไปตาม Roadmap ปี 2565-2567 แล้วจึงควรมีการขยายผลโดยการวิเคราะห์ความพึงพอใจ พฤติกรรม และความต้องการของนักท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับทิศทางและการคาดการณ์ด้านการท่องเที่ยวในอนาคต และจัดทำ Roadmap ในปีต่อ ๆ ไปเพื่อพัฒนาระบบการอำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทางให้ตอบสนองพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 3.2 การสร้างการรับรู้ให้แก่ผู้เดินทางหรือนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับระบบการอำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทาง (Ease of Traveling) ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เนื่องจากจะทำให้มีผู้เดินทางหรือนักท่องเที่ยวเข้ามาใช้ระบบการอำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทางมากขึ้นจึงอาจมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างการรับรู้ด้วยการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้แก่ประชาชน ผู้ประกอบการ หน่วยงานของรัฐ ควบคู่ไปกับการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ตามข้อ 3.1 ต่อไปในอนาคต 8. เรื่อง รายงานประจำปี 2565 ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอรายงานประจำปี 2565 ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) (เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2541 มาตรา 33 ที่บัญญัติให้ สสวท. จัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยแสดงงบดุลบัญชีทำการและบัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้สอบบัญชีรองรับว่าถูกต้องพร้อมกับรายงานของผู้สอบบัญชี รวมทั้งแสดงผลงานของ สสวท. ในปีที่ล่วงมาและแผนงานที่จะจัดทำในปีต่อไปภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอรายงานประจำปีต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. ผลการดำเนินงานของ สสวท. ประจำปี 2565 ใน 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1.1 การพัฒนาหลักสูตร สื่อ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติการและการสร้างความเข้าใจในระดับที่เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละกลุ่มโดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น การพัฒนาหลักสูตร สื่อ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการวิเคราะห์การแก้ปัญหา และกระตุ้นให้เกิดและใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบสำหรับโรงเรียนในโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ1 (เช่น พัฒนากิจกรรมวิทยาศาสตร์ในเนื้อหาด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสะเต็มศึกษา2) และการพัฒนาเครื่องมือที่เป็นกรอบการประเมินและข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับคัดเลือกนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2565 (TCAS 65) นอกจากนี้ ยังได้จัดทำรายงานการวิจัยเพื่อศึกษาคุณภาพของข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการคัดเลือกนักเรียน ทำให้ได้ประเด็นและสารสนเทศสำหรับใช้เป็นแนวทางในการวางแผนเชิงนโยบายในการพัฒนาการเรียนการสอนและเตรียมนักเรียนให้มีคุณลักษณะที่สอดคล้องและเหมาะสมกับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาต่อไป 1.2 การขับเคลื่อนการพัฒนาและยกระดับการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี และสถานศึกษาผ่านเครือข่าย สสวท. ให้มีคุณภาพทั่วประเทศอย่างเป็นระบบ เช่น การพัฒนาครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี และบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนโครงการพระราชดำริในรูปแบบออนไลน์ด้านการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง สสวท. ด้วยสื่อ Project 143 วิชาคณิตศาสตร์ ให้แก่ครูโรงเรียนตำรวจตะเวนชายแดน จำนวน 608 คน และการยกระดับคุณภาพโรงเรียนระดับอำเภอด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (โรงเรียนคุณภาพ SMT)4 ตามมาตรฐาน สสวท. มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการตั้งแต่ปี 2561-2565 จำนวน 1,659 โรงเรียน 1.3 การขับเคลื่อนกระบวนการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ให้เน้นความเข้าใจ ลงมือปฏิบัติการ และสามารถนำไปใช้จริงทั้งในและนอกระบบตามแนวทาง สสวท. เช่น การบริหารจัดการเพื่อให้บริการศูนย์เรียนรู้ดิจิทัลด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (IPST Learning Space)5 โดยระบบคลังความรู้ SciMath เผยแพร่สื่อ จำนวน 148 รายการ ระบบอบรมครูเผยแพร่หลักสูตร 50 หลักสูตร ระบบการสอบออนไลน์มีข้อสอบเพิ่ม 81 ข้อ และแบบฝึกหัด 1,303 ข้อ และมีปริมาณการใช้งานระบบต่าง ๆ นับเป็น Sessions จำนวน 22,971,052 ราย 1.4 การเร่งรัด พัฒนา และส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมตามนโยบายประเทศไทย 4.0 เช่น การบริหารการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) โดยบรรจุผู้รับทุนโครงการ สควค. ที่สำเร็จการศึกษาในตำแหน่งครูผู้ช่วย จำนวน 928 คน สร้างเครือข่ายและความเข้มแข็งทางวิชาการหลังสำเร็จการศึกษาให้แก่เครือข่ายวิชาการครู ผ่านการจัดประชุมวิชาการต่าง ๆ การบริหาร การพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) โดยคัดเลือกนักเรียน นิสิต นักศึกษาเข้ารับทุน พสวท. จำนวน 108 คน รวมทั้งได้คัดเลือกผู้แทนประเทศไทยไปแข่งคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ประจำปี พ.ศ. 25656 จำนวน 23 คน โดยได้รับรางวัล เช่น คณิตศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 63 ได้ 3 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน และ 1 เหรียญทองแดง ทำคะแนนรวมได้ 193 คะแนน เป็นลำดับที่ 6 จาก 104 ประเทศ นอกจากนี้ ได้มีการสนับสนุนทุนการศึกษานักเรียน นักศึกษา และครู เพื่อพัฒนาให้เป็นผู้มีความสามารถพิเศษ ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี และตอบสนองต่อความต้องการของประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทุนพสวท. จำนวน 1,574 ทุน ทุน สควค. จำนวน 7 ทุน และทุนโอลิมปิกวิชการ จำนวน 158 ทุน 1.5 การส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพิ่มการยอมรับ สสวท. ในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีของเยาวชนให้ทันสมัย เช่น การพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ และสมรรถนะตามกลุ่มงานอย่างเป็นระบบและการประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการทำงานของ สสวท. และสร้างความตระหนักรู้ทางวิทยาศาสตร์ เช่น จัดเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ครั้งที่ 17 ในหัวข้อ ?สุขภาพที่ดีขึ้นจากความเข้าใจที่มากขึ้น (Better Health Through Better Understanding)? โดยมีภาพยนตร์วิทยาศาสตร์จากนานาชาติจัดฉาย 30 เรื่อง ให้ได้รับชมฟรีที่ศูนย์ฉายภาพยนตร์ทั่วทุกภูมิภาค มีครูและนักเรียนเข้าชมภาพยนตร์ในเทศกาล จำนวน 286,823 คน 2. รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินของ สสวท. สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว เห็นว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท รายการ ปี 2565 ปี 2564 เพิ่มขึ้น/(ลดลง) 1. งบแสดงฐานะทางการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 รวมสินทรัพย์ 1,684.01 1,773.96 (89.95) รวมหนี้สิน 302.34 281.78 20.56 รวมสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน 1,381.67 1,492.18 (110.51) 2. งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ วันที่ 30 กันยายน 2565 รวมรายได้ 1,442.96 1,800.12 (357.16) รวมค่าใช้จ่าย 1,553.47 1,782.00 (228.53) รายได้สูง/(ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ (110.51) 18.12 (128.63) หมายเหตุ : รายได้ที่ลดลงเกิดจากรายได้จากงบประมาณปี 2565 รายได้จากการขายสินค้าและบริการ รายได้จากการอุดหนุนจากหน่วยงานภาครัฐ รายได้จากการอุดหนุนอื่นและบริจาค และรายได้อื่น เช่น รายได้จากดอกเบี้ยเงินฝากลดลง 1 คณะรัฐมนตรีมีมติ (15 กุมภาพันธ์ 2564) เห็นชอบโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ ระยะเวลา 10 ปี (ตั้งแต่ปีการศึกษา 2564-2573) ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอเพื่อพัฒนาสมรรถนะนักเรียนทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี 2 สะเต็มศึกษา เป็นแนวทางการจัดการศึกษาที่ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรม และคณิตศาสตร์ไปใช้ในการเชื่อมโยงและแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เช่น ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี 3 Project 14 เป็นชุดคลิปการสอนออนไลน์ที่ สสวท. ผลิตขึ้น ครอบคลุมเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา รวมทั้งเน้นการกระตุ้นให้นักเรียนคิดและค้นพบความรู้โดยใช้การสังเกตปรากฏการณ์รอบตัวทำให้สามารถประยุกต์ใช้อุปกรณ์ที่หาได้ง่ายมาทำกิจกรรมหรือการทดลองช่วยให้เกิดการเรียนรู้ แบบ Active Learning 4 โครงการโรงเรียนคุณภาพ SMT เป็นการยกระดับและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในระดับตำบลและอำเภอและมุ่งการพัฒนาการศึกษาเชิงพื้นที่รายจังหวัด โดยแต่ละจังหวัดต้องบรรจุโครงการฯ ไว้ในแผนพัฒนาจังหวัด 5 IPST Learning Space ได้รวบรวมสื่อการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานและได้รับคัดกรองคุณภาพและความถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญรวมถึงสอดคล้องกับหลักสูตรในโรงเรียน ซึ่งเป็นการมุ่งยกระดับคุณภาพการศึกษาและขยายโอกาสการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงผู้คน ข้อมูลข่าวสาร และแหล่งการเรียนรู้สู่ทุกคนอย่างเท่าเทียม เพื่อให้นักเรียน ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง และบุคคลทั่วไป สามารถเข้าถึง แบ่งปัน และเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา ภายใต้การดำเนินงานของ สสวท. 6 การแข่งขันประกอบด้วย 5 วิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์ 9. เรื่อง รายงานการเงินรวมภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอดังนี้ 1. รับทราบรายงานการเงินรวมภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และบทวิเคราะห์รายงานการเงินรวมภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 2. ให้หน่วยงานของรัฐที่ไม่ส่งรายงานการเงินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ส่งรายงานการเงินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 พร้อมทั้งรายงานเหตุผลหรือปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขให้กระทรวงเจ้าสังกัดและ กค. ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ และให้หน่วยงานของรัฐส่งรายงานการเงินประจำปีงบประมาณถัดไปให้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อให้การจัดทำรายงานการเงินรวมภาครัฐมีความครบถ้วนสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น สาระสำคัญของเรื่อง กค. รายงานว่า รายงานการเงินรวมภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงินและงบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงินของรัฐบาล หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 8,424 หน่วยงาน จากทั้งหมดจำนวน 8,443 หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 99.97 สรุปได้ ดังนี้ 1. รายงานการเงินรวมภาครัฐ ประกอบด้วย รายการ จำนวน (ล้านล้านบาท) รายละเอียด สินทรัพย์ 34.20 เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 2.96 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ดิน ราชพัสดุและอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่อยู่ภายใต้การดูแลของกรมธนารักษ์ เงินลงทุนระยะยาว และสินทรัพย์ของสถาบันการเงินของรัฐ หนี้สิน 26.87 เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 7.73 เนื่องจากมีการกู้เงินเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ สังคม และการชดเชยรายได้ของประชาชนตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และพระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 รายได้ 8.79 เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 17.61 เนื่องจากมีรายได้แผ่นดิน (หักจัดสรรและถอนคืน) เพิ่มขึ้นจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และการจัดเก็บอากรขาเข้าเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับสถานการณ์ โควิด-19 ที่คลี่คลาย ทำให้รัฐวิสาหกิจมีผลประกอบการที่ดีขึ้น ค่าใช้จ่าย 8.97 เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 16.98 เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลาย ทำให้ต้นทุนการขายสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น* 2. รายงานการเงินรวมของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ (ไม่รวมรัฐวิสาหกิจและ อปท.) ประกอบด้วย รายการ จำนวน (ล้านล้านบาท) รายละเอียด สินทรัพย์ 16.75 ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 1.20 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ที่มีจำนวนลดลงจากการใช้งานตามปกติในรูปแบบของค่าเสื่อมราคาอาคารและอุปกรณ์ของหน่วยงาน หนี้สิน 12.25 เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 10.02 เนื่องจากมีการกู้เงินเพื่อดำเนินแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินเพื่อแก้ปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และพระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 รายได้ 3.45 ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 9.32 เนื่องจากมีรายได้ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติลดลง ค่าใช้จ่าย 4.21 เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 3.49 เนื่องจากค่าใช้จ่ายจากการอุดหนุนอื่นและการบริจาค และค่าใช้จ่ายอื่น เช่น สวัสดิการสังคมและเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย 3. รายงานการเงินรวมของรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย รายการ จำนวน (ล้านล้านบาท) รายละเอียด สินทรัพย์ 18.42 เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 5.08 เนื่องจากสินทรัพย์ของสถาบันการเงินของรัฐเพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารออมสิน หนี้สิน 15.13 เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 4.79 เนื่องจากหนี้สินของสถาบันการเงินของรัฐเพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นของธนาคารกรุงไทยฯ และธนาคาร ออมสิน รายได้ 5.11 เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 41.41 เนื่องจากสถานการณ์ โควิด-19 ที่คลี่คลาย ส่งผลให้รัฐวิสาหกิจมีผลประกอบการดีขึ้นและมีรายได้เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่าย 4.73 เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 39.98 เนื่องจากการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจมีผลประกอบการดีขึ้นจากการขายสินค้าและการให้บริการที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้นทุนขายสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น 4. รายงานการเงินรวมของ อปท. รายการ จำนวน (ล้านล้านบาท) รายละเอียด สินทรัพย์ 1.61 เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 13.18 โดยส่วนใหญ่เป็นที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ และสินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐาน หนี้สิน 0.11 เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 0.41 โดยส่วนใหญ่เป็นภาระหนี้สินของกรุงเทพมหานครจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวและเงินรับฝากระยะสั้น รายได้ 0.82 เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 20.89 เนื่องจากรายได้ของ อปท. เพิ่มขึ้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอัตราปกติ (ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีการจัดเก็บภาษีตามมาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19) ค่าใช้จ่าย 0.60 เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 3.11 โดยเป็นค่าใช้จ่ายบุคลากร ค่าบำเหน็จบำนาญ และค่าใช้จ่ายสวัสดิการของรัฐ 5. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีหน่วยงานของรัฐที่ไม่ส่งรายงานการเงินภายในระยะเวลา 90 วัน ตามมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 จำนวน 56 หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 0.66 ประกอบด้วย (1) หน่วยงานของรัฐที่ส่งรายงานการเงินไม่ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด จำนวน 37 หน่วยงาน ได้แก่ หน่วยงานของรัฐ จำนวน 16 หน่วยงาน เช่น สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย และกองทุนประกันวินาศภัย รัฐวิสาหกิจ จำนวน 6 หน่วยงาน เช่น องค์การสะพานปลา การกีฬาแห่งประเทศไทย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และ อปท. จำนวน 15 หน่วยงาน เช่น เทศบาลเมืองพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เทศบาลเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี และเทศบาลเมืองคลองมะเดื่อ จังหวัดสมุทรสาคร และ (2) หน่วยงานของรัฐที่ไม่ส่งรายงานการเงิน จำนวน 19 หน่วยงาน ได้แก่ หน่วยงานของรัฐ จำนวน 2 หน่วยงาน คือ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 (ลพบุรี) และกองทุนเพื่อพัฒนาการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ และ อปท. จำนวน 17 หน่วยงาน เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา องค์การบริหารส่วนตำบลคชสิทธิ์ จังหวัดสระบุรี และองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินเหนือ จังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งนี้ ข้อมูลเปรียบเทียบการจัดส่งรายงานการเงินระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และ ปี 2564 สรุปได้ ดังนี้ หน่วยงาน ปี 2565 ปี 2564 ส่งรายงานการเงิน ไม่ทันภายใน เวลาที่กำหนด ไม่ส่ง รายงานการเงิน ส่งรายงานการเงิน ไม่ทันภายใน เวลาที่กำหนด ไม่ส่ง รายงานการเงิน หน่วยงานของรัฐ 16 2 15 3 รัฐวิสาหกิจ 6 - - 1 อปท. 15 17 462 69 รวม 37 19 477 73 รวมทั้งหมด 56 550 6. ผลการวิเคราะห์ที่สำคัญ รายได้รวมของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คิดเป็นร้อยละ 17.61 ในขณะที่ค่าใช้จ่ายของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คิดเป็นร้อยละ 16.98 โดยมีสัดส่วนรายได้เพิ่มสูงกว่าค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น แสดงถึงสัญญาณทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นทั้งการจัดเก็บรายได้ของหน่วยงานของรัฐและรายได้แผ่นดิน ทั้งนี้ หน่วยงานของรัฐควรเพิ่มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องด้วยการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการจัดเก็บรายได้ โดยมีการประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่จะส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ ตลอดจนการบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อให้การจัดเก็บรายได้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้งควรบริหารจัดการสินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพและสามารถสร้างรายได้สูงสุด นอกจากนี้ ควรทบทวนการขอรับจัดสรรงบประมาณเท่าที่จำเป็นและเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณและการใช้จ่ายเงินภาครัฐตั้งแต่ต้นปีงบประมาณและมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ * จากการประสานข้อมูลเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2566 กรมบัญชีกลางแจ้งว่า ต้นทุนการขายสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นต้นทุนจากการผลิตสินค้าและบริการของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 10. เรื่อง ขอเสนอแนวทางการรณรงค์ เพื่อสืบสานคุณค่าทางวัฒนธรรม เนื่องในประเพณีสงกรานต์ พุทธศักราช 2566 ภายใต้แนวคิด ?สืบสานสงกรานต์วิถีไทย ร่วมสานใจ สู่สากล? คณะรัฐมนตรีรับทราบแนวทางการรณรงค์ เพื่อสืบสานคุณค่าทางวัฒนธรรม เนื่องในประเพณีสงกรานต์ พุทธศักราช 2566 ภายใต้แนวคิด ?สืบสานสงกรานต์วิถีไทย ร่วมสานใจ สู่สากล? ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอดังนี้ เรื่องเดิม คณะรัฐมนตรีมีมติ (24 มีนาคม 2563) เห็นชอบเอกสารนำเสนอสงกรานต์ในประเทศไทย ขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อยูเนสโก และให้อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ในฐานะเลขานุการของคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นผู้ลงนามเอกสารนำเสนอสงกรานต์ในประเทศไทยในฐานะตัวแทนของประเทศไทย เพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อยูเนสโก ตามที่ วธ. เสนอ (ขณะนี้กระบวนการดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของยูเนสโก)1 สาระสำคัญ วธ. รายงานว่า 1. คณะกรรมการบูรณาการเพื่อกำหนดแนวทางการจัดงานสงกรานต์ พุทธศักราช 2566 (โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธาน) ได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อกำหนดแนวทางรณรงค์เพื่อสืบสานประเพณีสงกรานต์ที่ดีงาม เหมาะสม การป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พุทธศักราช 2566 รวมถึงกำหนดแนวทางการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ประเพณีสงกรานต์ในโอกาสที่ประเทศไทยเสนอเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อยูเนสโก ภายใต้แนวคิด ?สืบสานสงกรานต์วิถีไทย ร่วมสานใจ สู่สากล? สรุปได้ ดังนี้ 1.1 ขอความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนร่วมกันจัดกิจกรรมประเพณีสงกรานต์ มุ่งเน้นสืบสานคุณค่าสาระของประเพณีอันดีงามพร้อมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สู่การรับรู้ของชาวต่างชาติ 1.2 ส่งเสริมให้จังหวัดต่าง ๆ ใช้พื้นที่จัดกิจกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมในประเพณีสงกรานต์ ร่วมกันสืบสานประเพณีที่ดีงาม เหมาะสม 1.3 รณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันสืบสานคุณค่าสาระและสิ่งที่ควรทำของประเพณีสงกรานต์ เช่น การทำความสะอาดบ้านเรือน วัด ศาสนสถานที่นับถือ สถานที่สาธารณะ ทำบุญตักบาตร ปฏิบัติธรรม ฟังเทศน์ สรงน้ำพระพุทธรูป และขอพรผู้สูงอายุ 1.4 รณรงค์ให้แต่งกายที่สร้างภาพลักษณ์ความเป็นไทย เช่น ใช้ผ้าไทย ผ้าท้องถิ่น ชุดไทย ย้อนยุค หรือชุดสุภาพ เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างการรับรู้ถึงอัตลักษณ์ความเป็นไทยต่อชาวต่างชาติ 1.5 ขอความร่วมมือหน่วยงานต่าง ๆ สนับสนุนศิลปินพื้นบ้านในการจัดกิจกรรม การละเล่น และการแสดงทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น เพื่อเป็นการถ่ายทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และให้เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปได้ร่วมกันสืบสานประเพณี โดยคำนึงถึงวัฒนธรรมที่ถูกต้องเหมาะสม และร่วมกันเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม 1.6 หน่วยงานด้านความมั่นคง ความปลอดภัย และด้านบริการประชาชนให้รักษามาตรการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อให้สงกรานต์เป็นช่วงเวลาที่สร้างความสุข ประชาชนและนักท่องเที่ยวมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 1.7 ขอความร่วมมือประชาชนที่ใช้ยานพาหนะและใช้ถนนให้ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎจราจรอย่างเคร่งครัด รวมถึงช่วยสอดส่องหรือแจ้งเจ้าหน้าที่ในกรณีพบเห็นผู้ที่ปฏิบัติตนไม่เหมาะสม 1.8 การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม 608 (กลุ่มเสี่ยง)2 ให้รักษาตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และโรคทางเดินหายใจ ควรมีอุปกรณ์ป้องกันเพื่อสุขอนามัยที่ดีของผู้เข้าร่วมงาน 1.9 ส่งเสริมให้ภาครัฐ เอกชน และประชาชน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเพณีสงกรานต์ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และนานาชาติ ในโอกาสที่สงกรานต์ในประเทศไทยเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติที่เข้าสู่การพิจารณาของยูเนสโก 2. การกำหนดแนวทางดังกล่าวจะก่อให้เกิดการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมประเพณีที่เหมาะสมดีงาม เป็นการอนุรักษ์สืบสานประเพณีสงกรานต์ให้คงคุณค่าสาระและความงดงาม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ที่สามารถแสดงให้ประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติได้รับรู้ อีกทั้งยังเป็นการเตรียมการเพื่อป้องกันอุบัติเหตุและอุบัติภัยต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งการดูแลทรัพย์สิน สุขอนามัย และความปลอดภัยของประชาชนซึ่งเป็นประเด็นที่รัฐบาลให้ความสำคัญเพื่อให้ประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติได้รับความสุขจากประเพณีสงกรานต์ ได้ร่วมสืบสานประเพณีที่สำคัญของประเทศไทยและได้สัมผัสกับความงดงามของประเพณี วัฒนธรรม มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าและมีมายาวนาน รวมถึงเป็นการสร้างภาพลักษณ์อันดีแก่สายตาชาวโลกต่อไป 1 จากการประสาน วธ. แจ้งว่า ยูเนสโกจะพิจารณาการขึ้นทะเบียนสงกรานต์ในประเทศไทยเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติภายในเดือนธันวาคม 2566 2 กลุ่ม 608 คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ 11. เรื่อง รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนมกราคม 2566 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนมกราคม 2566 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ สาระสำคัญ 1. สรุปสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนมกราคม 2566 การส่งออกของไทยในเดือนมกราคม 2566 มีมูลค่า 20,249.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (700,127 ล้านบาท) หดตัวร้อยละ 4.5 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัวร้อยละ 3.0 การส่งออกของไทยหดตัวน้อยลงจากเดือนก่อนหน้า และยังอยู่ในระดับที่ดีกว่าหลายประเทศในเอเชีย โดยตลาดส่งออกของไทยหลายตลาดกลับมาขยายตัว ได้แก่ สหภาพยุโรป ละตินอเมริกา อินเดีย แอฟริกา และอาเซียน (5) ท่ามกลางผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และความผันผวนของค่าเงินบาท เป็นผลจากความร่วมมือของกระทรวงพาณิชย์และภาคเอกชนในการผลักดันการส่งออกอย่างต่อเนื่อง ที่มีส่วนช่วยประคับประคองการส่งออกของไทยภายใต้แรงกดดันของเศรษฐกิจโลก ลดการกระจุกตัวของตลาดส่งออก และจะช่วยเพิ่มการกระจายสินค้าไทยในอนาคต มูลค่าการค้ารวม มูลค่าการค้าในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เดือนมกราคม 2566 การส่งออก มีมูลค่า 20,249.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 4.5 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 24,899.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 5.5 ดุลการค้า ขาดดุล 4,649.6 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนมกราคม 2566 การส่งออก มีมูลค่า 700,127 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 0.9 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 871,430 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 9.4 ดุลการค้า ขาดดุล 171,303 ล้านบาท การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 2.7 แต่ยังมีสินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ ข้าว ขยายตัวร้อยละ 72.3 (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย บังกลาเทศ สหรัฐฯ อิรัก และแอฟริกาใต้) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 124.0 (ขยายตัวในตลาดอินเดีย เมียนมา เคนยา เวียดนาม และเนเธอร์แลนด์) ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง ขยายตัวร้อยละ 50.0 (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และเมียนมา) ผลไม้สด ขยายตัวร้อยละ 2.5 โดยขยายตัวจาก ทุเรียนสด ขยายตัวร้อยละ 53.3 (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสหราชอาณาจักร) มะม่วงสด ขยายตัวร้อยละ 21.9 (ขยายตัวในตลาดมาเลเซีย เกาหลีใต้ เวียดนาม รัสเซีย และฮ่องกง) มังคุดสด ขยายตัวร้อยละ 821.0 (ขยายตัวในตลาดจีน อินเดีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) โกโก้และของปรุงแต่ง ขยายตัวร้อยละ 102.1 (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย กัมพูชา และอินเดีย) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 7.6 (หดตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย สหรัฐฯ และเกาหลีใต้) ยางพารา หดตัวร้อยละ 37.6 (หดตัวในตลาดจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสหรัฐฯ) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 4.8 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ลิเบีย แคนาดา และอียิปต์) น้ำตาลทราย หดตัวร้อยละ 2.3 (หดตัวในตลาดอินโดนีเซีย จีน ฮ่องกง เมียนมา และเวียดนาม) ไก่แปรรูป หดตัวร้อยละ 2.2 (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น สิงคโปร์ แคนาดา ฮ่องกง และเยอรมนี) อาหารสัตว์เลี้ยง หดตัวร้อยละ 11.0 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย อิตาลี และออสเตรเลีย) เป็นต้น การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 5.4 แต่ยังมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัวดี อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 9.2 (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ และเวียดนาม) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด ขยายตัวร้อยละ 72.3 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เวียดนาม อินเดีย จีน และจอร์แดน) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 16.4 (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น เบลเยียม สหรัฐฯ จีน และเนเธอร์แลนด์) หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 44.9 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ เม็กซิโก ญี่ปุ่น และอิตาลี)เครื่องใช้สำหรับเดินทาง ขยายตัวร้อยละ 47.1 (ขยายตัวในตลาดจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และฝรั่งเศส)ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 21.2 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เนเธอร์แลนด์ ฮ่องกง และญี่ปุ่น) ผลิตภัณฑ์ยาง หดตัวร้อยละ 8.2 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เวียดนาม และอินโดนีเซีย) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) หดตัวร้อยละ 3.8 (หดตัวในตลาดฮ่องกง เยอรมนี อินเดีย สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย) เม็ดพลาสติก หดตัวร้อยละ 30.0 (หดตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เวียดนาม และมาเลเซีย) เคมีภัณฑ์ หดตัวร้อยละ 17.6 (หดตัวในตลาดจีน อินเดีย ญี่ปุ่น เวียดนาม และอินโดนีเซีย) เป็นต้น ตลาดส่งออกสำคัญ การส่งออกไปยังตลาดสำคัญในภาพรวมยังหดตัวต่อเนื่อง สอดคล้องกับภาวะการชะลอตัวของภาคการผลิตโลก ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก หดตัวร้อยละ 5.3 หดตัวใน สหรัฐฯ ร้อยละ 4.7 จีน ร้อยละ 11.4 ญี่ปุ่น ร้อยละ 9.2 CLMV ร้อยละ 11.1 ในขณะที่อาเซียน (5) และ สหภาพยุโรป (27) กลับมาขยายตัวร้อยละ 2.3 และร้อยละ 2.2 ตามลำดับ (2) ตลาดรอง หดตัวร้อยละ 3.1 โดยหดตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 4.3 ทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 7.2 รัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ร้อยละ 46.4 ขณะที่ขยายตัวในตลาดตะวันออกกลาง ร้อยละ 23.7 ทวีปแอฟริกา ร้อยละ 14.7 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 1.5 และสหราชอาณาจักร ร้อยละ 6.1 (3) ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 17.4 อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ ขยายตัวร้อยละ 18.6 2. มาตรการส่งเสริมการส่งออกและแนวโน้มการส่งออกระยะต่อไป การส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการเชิงรุกและลึก เพื่อผลักดันและอำนวยความสะดวกการส่งออก โดยการดำเนินงานที่สำคัญในรอบเดือนที่ผ่านมา อาทิ (1) การปราบปราม การลักลอบนำเข้าน้ำมันปาล์มทางบก โดยยังสามารถนำเข้าได้ทางเรือ และส่งไปต่างประเทศได้เฉพาะบางด่านเท่านั้น เพื่อลดปัญหาราคาสินค้าปาล์มน้ำมันภายในประเทศตกต่ำจากการลักลอบนำเข้าอย่างผิดกฎหมาย ทำให้การลักลอบนำเข้าลดลง และราคาปาล์มดีขึ้น (2) การรื้อฟื้นการเจรจาการค้าเสรี ไทย-สหภาพยุโรป โดยมีเป้าหมายการลดภาษีระหว่างกันเหลือร้อยละ 0 ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายเห็นพ้องให้เร่งดำเนินการอนุมัติกระบวนการและขั้นตอนการเจรจาให้เร็วที่สุด หลังจากที่การเจรจาหยุดชะงักไปตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งจะทำให้ไทยส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรป 27 ประเทศได้มากขึ้น และมีแต้มต่อมากขึ้นเมื่อเทียบกับคู่แข่งอื่น และ (3) การสนับสนุนสินค้าท้องถิ่นสู่ตลาดโลก มุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก กำหนดเป้าหมายผลักดันสินค้าท้องถิ่น ภายใต้แนวทาง Local+ (โลคัล พลัส) จำนวน 3 กลุ่มสินค้า ได้แก่ กลุ่ม BCG กลุ่มสินค้าอัตลักษณ์ และกลุ่มสินค้านวัตกรรม โดยจะเข้าไปช่วยเหลือในการให้ความรู้ด้านการผลิต การพัฒนาสินค้า และผลักดันออกสู่ตลาด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผู้ผลิตสินค้า และสร้างรายได้เข้าประเทศ นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังมีแผนงานในอนาคตสำหรับการส่งเสริมการส่งออกในปี 2566 จะเดินหน้าจัดกิจกรรมกว่า 450 กิจกรรม โดยมุ่งขยายตลาดเดิม เจาะ 4 ตลาดศักยภาพ ได้แก่ ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ CLMV และจีน โดยจะจัดกิจกรรมในหลายรูปแบบ ทั้งการจัดงานแสดงสินค้า การจัดคณะผู้แทนการค้า จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ผลักดันค้าขายออนไลน์ และมีแผนเจาะตลาดศักยภาพใหม่ในเอเชียกลาง 5 ประเทศ ได้แก่ คาซัคสถาน อุซเบกิซสถาน เติร์กเมนิสถาน ทาจิกิสถาน และคีร์กีซสถาน ซึ่งมีระดับอัตรา การเติบโตทางเศรษฐกิจประมาณร้อยละ 3 - 7 ทำให้ตลาดเหล่านี้อาจกลายเป็นตลาดส่งออกสำคัญที่ช่วยลด การกระจุกตัวของตลาดส่งออกไทยได้มากขึ้นในปี 2566 แนวโน้มการส่งออกระยะถัดไป กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่า การส่งออกของไทยยังคงได้รับแรงกดดันจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญที่ลดการบริโภคจากต้นทุนค่าครองชีพที่สูง แม้ว่าภาวะเงินเฟ้อจะเริ่มชะลอลงแต่ยังอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ บรรยากาศการค้าโลกที่ยังตึงเครียด จากการกีดกันทางการค้า รวมถึงปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่มีความยืดเยื้อและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น กระทบต่อการส่งออกของไทย อย่างไรก็ดี กระทรวงพาณิชย์ยังคงทำงานอย่างเต็มที่ในการผลักดันการส่งออกสินค้าและสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าของคนไทยออกไปสู่ตลาดโลก รวมทั้ง อำนวยความสะดวกและสร้างโอกาสทางการค้าผ่านความร่วมมือทางการค้าใหม่ ๆ เพื่อให้ไทยเป็นแหล่งดึงดูดการค้าการลงทุนจากต่างชาติมากขึ้น 12. เรื่อง สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้ สาระสำคัญ 1. สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ดังนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนกุมภาพันธ์ 2566 เท่ากับ 108.05 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเท่ากับ 104.10 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป สูงขึ้นร้อยละ 3.79 (YoY) ชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และอยู่ระดับต่ำสุดในรอบ 13 เดือน ซึ่งเริ่มใกล้เข้าสู่กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กำหนดไว้ สาเหตุสำคัญมาจากการชะลอตัวของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง อาหารบางประเภท โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูปและอาหารสดประกอบกับฐานราคาที่ใช้คำนวณเงินเฟ้อในปี 2565 อยู่ในระดับสูง มีส่วนทำให้เงินเฟ้อขยายตัวไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม เงินเฟ้อของไทยยังมีความเสี่ยงจากปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และภัยแล้งทั้งในและต่างประเทศ ที่อาจจะส่งผลต่อราคาพลังงานและอาหาร ซึ่งจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป เมื่อเทียบกับเงินเฟ้อในต่างประเทศ (ข้อมูลล่าสุดเดือนมกราคม 2566) พบว่า เงินเฟ้อไทยต่ำเป็นอันดับที่ 29 จาก 139 เขตเศรษฐกิจที่มีการประกาศตัวเลข ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ดีกว่าหลายเขตเศรษฐกิจ อาทิ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร อิตาลี เม็กซิโก อินเดีย และเกาหลีใต้ รวมถึงประเทศในอาเซียน ทั้งลาว ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นร้อยละ 3.79 (YoY) ในเดือนนี้ เป็นการสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัว ตามราคาสินค้าทั้งในหมวดอาหาร และหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร ดังนี้ หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 5.74 (YoY) ชะลอตัวจากเดือนมกราคม 2566 ที่สูงขึ้นร้อยละ 7.70 ตามการสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวของราคาอาหารสำเร็จรูป (กับข้าวสำเร็จรูป อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) อาหารเช้า) ผักและผลไม้ (มะนาว แตงกวา แตงโม ส้มเขียวหวาน) ข้าวสาร ไข่และผลิตภัณฑ์นม (ไข่ไก่ นมถั่วเหลือง) เครื่องประกอบอาหาร (ซีอิ๊ว น้ำพริกแกง ซอสหอยนางรม) และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (กาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) กาแฟผงสำเร็จรูป น้ำอัดลม) ส่วนเนื้อสัตว์ (ไก่สด ปลาทู เนื้อสุกร) ราคายังคงเพิ่มขึ้นตามต้นทุนและอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นตามสถานการณ์เศรษฐกิจ สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง อาทิ ผักคะน้า ผักชี พริกสด น้ำมันพืช มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) และมะขามเปียก หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 2.47 (YoY) ชะลอตัวจากเดือนมกราคม 2566 ที่สูงขึ้นร้อยละ 3.18 เนื่องจากสินค้าสำคัญหลายรายการราคาลดลง อาทิ น้ำมันเชื้อเพลิงในกลุ่มแก๊สโซฮอล์และน้ำมันเบนซิน เครื่องใช้ไฟฟ้า (เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า) น้ำยาระงับกลิ่นกาย ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว แป้งผัดหน้า ผ้าอ้อมสำเร็จรูป และค่าทัศนาจรในประเทศ นอกจากนี้ สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างห้องน้ำ สารกำจัดแมลง) ราคาชะลอตัวลง ขณะที่ ค่าไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม ค่าโดยสารสาธารณะ (แท็กซี่ เรือ รถเมล์เล็ก/สองแถว เครื่องบิน) วัสดุก่อสร้าง และค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล (ยาสีฟัน กระดาษชำระ ค่าแต่งผมชาย) ราคาปรับสูงขึ้นเล็กน้อย เงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก สูงขึ้นร้อยละ 1.93 (YoY) เป็นการสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนนี้ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ลดลงร้อยละ 0.12 (MoM) ตามหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ที่ลดลงร้อยละ 0.41 สินค้าที่ราคาลดลง อาทิ เนื้อสุกร ไก่สด ข้าวสารเจ้า ผักและผลไม้สด (ผักคะน้า ผักชี ต้นหอม มะม่วง ส้มเขียวหวาน แตงโม) เนื่องจากปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น รวมทั้ง น้ำมันพืช มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) และเครื่องปรุงรส ราคาลดลง ขณะที่สินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นเพียงเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.09 เนื่องจากสินค้าส่วนใหญ่สูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัว อาทิ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเกือบทุกประเภท (ยกเว้นราคาน้ำมันดีเซลปรับลดลง) ค่าโดยสารสาธารณะ ค่าเช่าบ้าน และวัสดุก่อสร้าง และบางรายการราคาปรับลดลง อาทิ ค่าของใช้ส่วนบุคคล (ผ้าอนามัย แชมพูสระผม ยาสีฟัน สบู่ถูตัว) และน้ำยาล้างจาน 2. แนวโน้มเงินเฟ้อ แนวโน้มเงินเฟ้อเดือนมีนาคม 2566 คาดว่าจะชะลอตัวลง ตามราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสดหลายรายการที่คาดว่าจะลดลงต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมา และราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอตัวตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่อยู่ระดับต่ำกว่าปีที่ผ่านมา ประกอบกับฐานราคาในเดือนมีนาคม 2565 ค่อนข้างสูง การส่งออกของไทยที่มีแนวโน้มชะลอตัวตามอุปสงค์โลก และการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด จะกดดันต่อการขยายตัวของเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม ค่าไฟฟ้าที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าปีที่ผ่านมา ราคาก๊าซหุงต้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นในเดือนมีนาคมนี้ การท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง และราคาสินค้าเกษตรสำคัญหลายรายการยังคงขยายตัวได้ดี จะส่งผลให้เงินเฟ้อชะลอตัวไม่มากนัก นอกจากนี้ ความเสี่ยงจากปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และภัยแล้งทั้งในและต่างประเทศ อาจจะส่งผลต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์โลก และจะส่งผลมายังราคาสินค้าและบริการของไทยตามลำดับ ซึ่งจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2566 อยู่ระหว่างร้อยละ 2.0 ? 3.0 ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนกุมภาพันธ์ 2566 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 52.5 จากระดับ 51.3 ในเดือนก่อนหน้า เป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 และอยู่ในช่วงเชื่อมั่นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี โดยปรับเพิ่มขึ้นทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน และในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) โดยเฉพาะดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต ปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 58.5 จากระดับ 57.2 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมที่ปรับเพิ่มขึ้นมีสาเหตุสำคัญจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ ที่ได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว สะท้อนได้จากจำนวนเที่ยวบิน และจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ มาตรการลดค่าครองชีพ และการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ราคาสินค้าเกษตรสำคัญหลายรายการยังคงขยายตัว และราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับลดลง เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจไทยอย่างมีนัยสำคัญ แต่งตั้ง 13. เรื่อง การแต่งตั้งผู้แทนองค์กรเอกชนเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 มาตรา 4 (5) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอแต่งตั้งผู้แทนองค์กรเอกชนเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 มาตรา 4 (5) จำนวน 5 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี ดังนี้ 1. นางธิดา ศรีไพพรรณ์ 2. นายมงคล สุมาลี 3. นางเสาวนีย์ ประทีปทอง 4. นายแสวง ชูหนู 5. นางวลัย บุญพลอย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป