คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานความก้าวหน้าการแก้ไขปัญหาอ่างเก็บน้ำที่มีน้ำน้อยในจังหวัดภูเก็ตเฉพาะอ่างเก็บน้ำบางวาด จังหวัดภูเก็ต สรุปได้ดังนี้
สถานการณ์น้ำปัจจุบัน
1. ในปัจจุบันอ่างเก็บน้ำบางวาดมีปริมาณน้ำทั้งหมด 0.35 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำใช้การได้ 0.08 ล้าน ลบ.ม. (Dead storage 0.27 ล้าน ลบ.ม.)
2. ปีที่มีปริมาณน้ำต่ำสุด ในช่วงกลางเดือนมิถุนายน 2546 ปริมาณน้ำ 0.16 ล้าน ลบ.ม. เนื่องจากประปาภูมิภาคใช้เครื่องสูบน้ำ ทำการสูบป้อนเข้าท่อ Outlet เพื่อนำไปใช้ และเมื่อสิ้นเดือนมิถุนายน 2546 มีฝนตกทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเป็น 0.21 ล้าน ลบ.ม.
3. มีการนำน้ำไปใช้เพื่อการประปาในฤดูฝน 7 เดือนเฉลี่ย 18,000 ลบ.ม./วัน และในฤดูแล้ง 5 เดือนเฉลี่ย 32,000 ลบ.ม./วัน หรือรวมเฉลี่ย 24,000 ลบ.ม./วัน
4. สภาพน้ำฝนในจังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่ 1 มกราคม - 15 สิงหาคม 2548 พบว่า มีปริมาณน้ำฝนตกสะสมเพียงร้อยละ 57 ของปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย (1,421 มม.) คิดเป็น ร้อยละ 56 ของปริมาณฝน เฉลี่ยทั้งหมด ซึ่งคาดหวังว่าจะยังคงมีปริมาณฝนในเดือนกันยายนถึงธันวาคม อีกร้อยละ 44 หรือ 1,128 มม.
5. ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเริ่มลดลง และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาโดยตลอด เนื่องจากปริมาณฝนตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2548 จาก 1.8 ล้าน ลบ.ม. เหลือเพียง 0.35 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อ 22 สิงหาคม 2548) ซึ่งคาดว่าจะใช้ได้เพียง 10 วัน ก็จะมีน้ำที่ต่ำกว่าระดับ Dead Storage (ปัจจุบันมีปริมาณน้ำที่สูงกว่า Dead Storage เท่ากับ 80,000 ลบ.ม.)
การดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา (ตั้งแต่ 1 มิ.ย. 48)
1. กรมชลประทานได้ประสานกับสำนักฝนหลวงเพื่อจัดทำฝนหลวงตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2548 อย่างต่อเนื่องเป็นต้นมา และได้ประสานเพื่อปรับแผนโดยเพิ่มเติมสถานีปฏิบัติการฝนหลวงที่จังหวัดภูเก็ต และเพิ่มเครื่องบินไปประจำอีก 2 ลำ เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย
2. มาตรการอื่น ๆ ที่ทำไปแล้ว
- ประชุมวางแผนการใช้น้ำดิบร่วมกับการประปาฯ เป็นระยะต่อเนื่องเรื่อยมา
- กรมชลประทาน โดยโครงการชลประทานภูเก็ต รายงานสถานการณ์น้ำเพื่อการประปาให้ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตทราบในทุกสัปดาห์ ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2548 เป็นต้นมา
- ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้น้ำช่วยกันประหยัดน้ำประปา และแจ้งท่อแตก/ท่อรั่ว
- ประปาทั้ง 2 หน่วยงาน ได้ตั้งหน่วยรับแจ้งและดำเนินการซ่อมระบบท่อแตก/ท่อรั่วตลอด 24 ชม.
- ประปาทั้ง 2 หน่วยงาน ได้เริ่มลดแรงดันน้ำในระบบท่อตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เพื่อลดกำลังการผลิตในช่วงเวลาที่มีการใช้น้ำน้อยในแต่ละวัน
- ได้แจ้งให้การประปาทราบถึงความพร้อมของเครื่องสูบน้ำกรมชลประทาน ที่จะช่วยสูบผันน้ำไปใช้ เมื่อมีการร้องขอ
แนวทางการแก้ไขปัญหา วิธีการหาน้ำเพื่อแก้ไขปัญหากรณีฝนไม่ตก โดยปกติประปาทั้งสองหน่วยงานมีแหล่งน้ำอื่นใช้อยู่ด้วย คือสูบใช้น้ำจากขุมเหมือง หากปริมาณน้ำในแหล่งน้ำที่ใช้อยู่เดิมไม่เพียงพอ การประปาแต่ละหน่วยงานจะไปติดต่อขอซื้อน้ำจากขุมเหมืองของเอกชน สำหรับอ่างเก็บน้ำบางวาดในช่วงฤดูฝนได้ทำการสูบน้ำจากคลองบางใหญ่ไปเติมอ่างฯ จนเต็มในปลายฤดูฝนหรือปลายปีในทุกปีตั้งแต่ได้ก่อสร้างระบบสูบน้ำเติมอ่างฯ ส่วนในช่วงแล้งหรือฝนไม่ตกจะทำการสูบน้ำเติมอ่างฯ ตามสภาพปริมาณน้ำที่มีในคลองบางใหญ่
มาตรการใช้สิ่งก่อสร้าง
แผนระยะเร่งด่วน
- ติดตั้งเครื่องสูบผันน้ำจากแหล่งน้ำของเอกชน จำนวน 5 แห่ง ขนาดเครื่องสูบน้ำ 10—12 นิ้ว ได้น้ำ 0.8 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะค่าดำเนินการและค่าน้ำมัน วงเงิน 0.60 ล้านบาท
- ก่อสร้างท่อรับน้ำระยะทาง 700 ม. จากโครงการชลประทานขนาดเล็ก ฝายกะทู้ เพื่อผันน้ำเข้าท่อส่งน้ำที่มีอยู่แล้วไปลงอ่างเก็บน้ำบางวาด ได้ปริมาณน้ำประมาณ 1.00 ล้าน ลบ.ม./ปี วงเงิน 0.88 ล้านบาท
แผนงานระยะสั้น
- เพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำบางวาดไปเก็บกักที่ระดับ รนส. คือ +45.59 (ระดับ รนก.+44.59 ม.รทก.) ได้ความจุเพิ่มขึ้น 0.83 ล้าน ลบ.ม. เป็นความจุ 8.14 ล้าน ลบ.ม. วงเงิน 0.12 ล้านบาท ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2548
แผนงานระยะกลาง
- เร่งรัดก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองบางเหนียวดำ ความจุ 7.2 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำใช้การได้เฉลี่ยประมาณ 6.0 ล้าน ลบ.ม./ปี ตามแผนงานเดิมกำหนดแล้วเสร็จในปี 2552 โดยจะให้สามารถเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2548 ถึงเดือนมิถุนายน 2550 เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำได้ทันในฤดูฝนปี 2550
- เร่งรัดก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองกะทะ ความจุ 5.7 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำใช้การได้เฉลี่ยประมาณ 5.0 ล้าน ลบ.ม./ปี โดยจะให้สามารถเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2549 ถึงเดือนมิถุนายน 2550 เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำได้ทันในฤดูฝนปี 2550
- ปรับปรุงเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำบางวาด ซึ่งกรมฯ ได้ออกแบบไว้ส่วนหนึ่งแล้ว โดยสามารถเพิ่มความจุได้อีก 3.3 ล้าน ลบ.ม. รวมเป็นความจุทั้งสิ้น 10.6 ล้าน ลบ.ม. โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกันยายน 2549
- ก่อสร้างระบบสูบน้ำเติมอ่างเก็บน้ำคลองบางเหนียวดำ โดยสูบจากลุ่มน้ำคลองเจ๊ะตรา ซึ่งไหลไปรวมบริเวณท้ายอ่างคลองบางเหนียวดำ ระยะประมาณ 1.000 กม. สามารถสูบน้ำได้เฉลี่ย 3.0 ล้าน ลบ.ม./ปี
แผนงานระยะยาว
- วางระบบส่งน้ำจากเขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี (ความจุที่ระดับเก็บกัก 5,638.8 ล้าน ลบ.ม.) ระยะทาง 180 กม.ไปยังอ่างเก็บน้ำบางวาดและขุมเหมืองต่าง ๆ ในปริมาณ 60 ล้าน ลบ.ม./ปี
มาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง
- ประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้มีการประหยัดน้ำทุกภาคส่วน
- จัดทำฝนหลวงอย่างต่อเนื่อง เพื่อเติมน้ำให้กับอ่างเก็บน้ำบางวาดและขุมเหมืองต่าง ๆ
- สนับสนุนให้เอกชนผลิตน้ำประปาขายให้กับทางราชการ หรือก่อสร้างระบบสูบน้ำดิบส่งขายให้การประปา
- จังหวัดประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อจะได้สามารถนำน้ำจากขุมเหมืองของเอกชนไปใช้ในการผลิตน้ำประปาให้เพียงพอ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 23 สิงหาคม 2548--จบ--
สถานการณ์น้ำปัจจุบัน
1. ในปัจจุบันอ่างเก็บน้ำบางวาดมีปริมาณน้ำทั้งหมด 0.35 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำใช้การได้ 0.08 ล้าน ลบ.ม. (Dead storage 0.27 ล้าน ลบ.ม.)
2. ปีที่มีปริมาณน้ำต่ำสุด ในช่วงกลางเดือนมิถุนายน 2546 ปริมาณน้ำ 0.16 ล้าน ลบ.ม. เนื่องจากประปาภูมิภาคใช้เครื่องสูบน้ำ ทำการสูบป้อนเข้าท่อ Outlet เพื่อนำไปใช้ และเมื่อสิ้นเดือนมิถุนายน 2546 มีฝนตกทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเป็น 0.21 ล้าน ลบ.ม.
3. มีการนำน้ำไปใช้เพื่อการประปาในฤดูฝน 7 เดือนเฉลี่ย 18,000 ลบ.ม./วัน และในฤดูแล้ง 5 เดือนเฉลี่ย 32,000 ลบ.ม./วัน หรือรวมเฉลี่ย 24,000 ลบ.ม./วัน
4. สภาพน้ำฝนในจังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่ 1 มกราคม - 15 สิงหาคม 2548 พบว่า มีปริมาณน้ำฝนตกสะสมเพียงร้อยละ 57 ของปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย (1,421 มม.) คิดเป็น ร้อยละ 56 ของปริมาณฝน เฉลี่ยทั้งหมด ซึ่งคาดหวังว่าจะยังคงมีปริมาณฝนในเดือนกันยายนถึงธันวาคม อีกร้อยละ 44 หรือ 1,128 มม.
5. ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเริ่มลดลง และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาโดยตลอด เนื่องจากปริมาณฝนตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2548 จาก 1.8 ล้าน ลบ.ม. เหลือเพียง 0.35 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อ 22 สิงหาคม 2548) ซึ่งคาดว่าจะใช้ได้เพียง 10 วัน ก็จะมีน้ำที่ต่ำกว่าระดับ Dead Storage (ปัจจุบันมีปริมาณน้ำที่สูงกว่า Dead Storage เท่ากับ 80,000 ลบ.ม.)
การดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา (ตั้งแต่ 1 มิ.ย. 48)
1. กรมชลประทานได้ประสานกับสำนักฝนหลวงเพื่อจัดทำฝนหลวงตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2548 อย่างต่อเนื่องเป็นต้นมา และได้ประสานเพื่อปรับแผนโดยเพิ่มเติมสถานีปฏิบัติการฝนหลวงที่จังหวัดภูเก็ต และเพิ่มเครื่องบินไปประจำอีก 2 ลำ เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย
2. มาตรการอื่น ๆ ที่ทำไปแล้ว
- ประชุมวางแผนการใช้น้ำดิบร่วมกับการประปาฯ เป็นระยะต่อเนื่องเรื่อยมา
- กรมชลประทาน โดยโครงการชลประทานภูเก็ต รายงานสถานการณ์น้ำเพื่อการประปาให้ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตทราบในทุกสัปดาห์ ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2548 เป็นต้นมา
- ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้น้ำช่วยกันประหยัดน้ำประปา และแจ้งท่อแตก/ท่อรั่ว
- ประปาทั้ง 2 หน่วยงาน ได้ตั้งหน่วยรับแจ้งและดำเนินการซ่อมระบบท่อแตก/ท่อรั่วตลอด 24 ชม.
- ประปาทั้ง 2 หน่วยงาน ได้เริ่มลดแรงดันน้ำในระบบท่อตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เพื่อลดกำลังการผลิตในช่วงเวลาที่มีการใช้น้ำน้อยในแต่ละวัน
- ได้แจ้งให้การประปาทราบถึงความพร้อมของเครื่องสูบน้ำกรมชลประทาน ที่จะช่วยสูบผันน้ำไปใช้ เมื่อมีการร้องขอ
แนวทางการแก้ไขปัญหา วิธีการหาน้ำเพื่อแก้ไขปัญหากรณีฝนไม่ตก โดยปกติประปาทั้งสองหน่วยงานมีแหล่งน้ำอื่นใช้อยู่ด้วย คือสูบใช้น้ำจากขุมเหมือง หากปริมาณน้ำในแหล่งน้ำที่ใช้อยู่เดิมไม่เพียงพอ การประปาแต่ละหน่วยงานจะไปติดต่อขอซื้อน้ำจากขุมเหมืองของเอกชน สำหรับอ่างเก็บน้ำบางวาดในช่วงฤดูฝนได้ทำการสูบน้ำจากคลองบางใหญ่ไปเติมอ่างฯ จนเต็มในปลายฤดูฝนหรือปลายปีในทุกปีตั้งแต่ได้ก่อสร้างระบบสูบน้ำเติมอ่างฯ ส่วนในช่วงแล้งหรือฝนไม่ตกจะทำการสูบน้ำเติมอ่างฯ ตามสภาพปริมาณน้ำที่มีในคลองบางใหญ่
มาตรการใช้สิ่งก่อสร้าง
แผนระยะเร่งด่วน
- ติดตั้งเครื่องสูบผันน้ำจากแหล่งน้ำของเอกชน จำนวน 5 แห่ง ขนาดเครื่องสูบน้ำ 10—12 นิ้ว ได้น้ำ 0.8 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะค่าดำเนินการและค่าน้ำมัน วงเงิน 0.60 ล้านบาท
- ก่อสร้างท่อรับน้ำระยะทาง 700 ม. จากโครงการชลประทานขนาดเล็ก ฝายกะทู้ เพื่อผันน้ำเข้าท่อส่งน้ำที่มีอยู่แล้วไปลงอ่างเก็บน้ำบางวาด ได้ปริมาณน้ำประมาณ 1.00 ล้าน ลบ.ม./ปี วงเงิน 0.88 ล้านบาท
แผนงานระยะสั้น
- เพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำบางวาดไปเก็บกักที่ระดับ รนส. คือ +45.59 (ระดับ รนก.+44.59 ม.รทก.) ได้ความจุเพิ่มขึ้น 0.83 ล้าน ลบ.ม. เป็นความจุ 8.14 ล้าน ลบ.ม. วงเงิน 0.12 ล้านบาท ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2548
แผนงานระยะกลาง
- เร่งรัดก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองบางเหนียวดำ ความจุ 7.2 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำใช้การได้เฉลี่ยประมาณ 6.0 ล้าน ลบ.ม./ปี ตามแผนงานเดิมกำหนดแล้วเสร็จในปี 2552 โดยจะให้สามารถเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2548 ถึงเดือนมิถุนายน 2550 เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำได้ทันในฤดูฝนปี 2550
- เร่งรัดก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองกะทะ ความจุ 5.7 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำใช้การได้เฉลี่ยประมาณ 5.0 ล้าน ลบ.ม./ปี โดยจะให้สามารถเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2549 ถึงเดือนมิถุนายน 2550 เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำได้ทันในฤดูฝนปี 2550
- ปรับปรุงเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำบางวาด ซึ่งกรมฯ ได้ออกแบบไว้ส่วนหนึ่งแล้ว โดยสามารถเพิ่มความจุได้อีก 3.3 ล้าน ลบ.ม. รวมเป็นความจุทั้งสิ้น 10.6 ล้าน ลบ.ม. โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกันยายน 2549
- ก่อสร้างระบบสูบน้ำเติมอ่างเก็บน้ำคลองบางเหนียวดำ โดยสูบจากลุ่มน้ำคลองเจ๊ะตรา ซึ่งไหลไปรวมบริเวณท้ายอ่างคลองบางเหนียวดำ ระยะประมาณ 1.000 กม. สามารถสูบน้ำได้เฉลี่ย 3.0 ล้าน ลบ.ม./ปี
แผนงานระยะยาว
- วางระบบส่งน้ำจากเขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี (ความจุที่ระดับเก็บกัก 5,638.8 ล้าน ลบ.ม.) ระยะทาง 180 กม.ไปยังอ่างเก็บน้ำบางวาดและขุมเหมืองต่าง ๆ ในปริมาณ 60 ล้าน ลบ.ม./ปี
มาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง
- ประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้มีการประหยัดน้ำทุกภาคส่วน
- จัดทำฝนหลวงอย่างต่อเนื่อง เพื่อเติมน้ำให้กับอ่างเก็บน้ำบางวาดและขุมเหมืองต่าง ๆ
- สนับสนุนให้เอกชนผลิตน้ำประปาขายให้กับทางราชการ หรือก่อสร้างระบบสูบน้ำดิบส่งขายให้การประปา
- จังหวัดประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อจะได้สามารถนำน้ำจากขุมเหมืองของเอกชนไปใช้ในการผลิตน้ำประปาให้เพียงพอ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 23 สิงหาคม 2548--จบ--