คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมดังนี้
1. กำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทยและมีชื่อในทะเบียนบ้านต้องมีบัตรสำหรับผู้ซึ่งมีอายุเกิน 70 ปี และผู้ซึ่งได้รับการยกเว้นจะขอมีบัตรก็ได้
2. กำหนดให้ผู้ต้องมีบัตรต้องยื่นคำขอมีบัตรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 60 วัน นับแต่วันเกิดวันที่ได้สัญชาติไทยฯ วันที่นายทะเบียนเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรและวันที่พ้นสภาพจากการได้รับยกเว้น สำหรับผู้ซึ่งมีอายุไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์ ให้บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลผู้นั้นเป็นผู้ยื่นคำขอมีบัตร โดยบัตรมีอายุใช้ได้ถึง 10 ปี และให้บัตรหมดอายุในวันครบรอบวันเกิด ทั้งนี้ บัตรที่ยังไม่หมดอายุในวันที่ผู้ถือมีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ให้ใช้บัตรต่อไปได้ตลอดชีวิต
3. กำหนดให้การขอมีบัตร การขอมีบัตรใหม่ และการออกบัตรให้เป็นไปตามแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
4. ให้ยกเลิกอัตราค่าธรรมเนียมพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และให้ใช้อัตราค่าธรรมเนียม ดังนี้
4.1 การออกบัตรตามมาตรา 5 วรรคสาม ฉบับละ 20 บาท
4.2 การออกบัตรใหม่หรือเปลี่ยนบัตรตามมาตรา 6 จัตวา ฉบับละ 200 บาท
กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า โดยที่บัตรประจำตัวประชาชนที่ใช้บังคับในปัจจุบันยังไม่มีความเหมาะสมเพียงพอ ที่จะทำให้ทราบข้อมูลประชากรตามทะเบียนราษฎร์ที่ถูกต้องครบถ้วน จึงเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อกำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทยต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตั้งแต่เกิด โดยยกเว้นความผิด สำหรับผู้ซึ่งมีอายุไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์ และแก้ไขเพิ่มเติมให้บัตรประจำตัวประชาชนมีอายุใช้ได้ 10 ปี รวมทั้งแก้ไขอัตราค่าธรรมเนียมการออกบัตร เพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 มีนาคม 2548--จบ--
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมดังนี้
1. กำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทยและมีชื่อในทะเบียนบ้านต้องมีบัตรสำหรับผู้ซึ่งมีอายุเกิน 70 ปี และผู้ซึ่งได้รับการยกเว้นจะขอมีบัตรก็ได้
2. กำหนดให้ผู้ต้องมีบัตรต้องยื่นคำขอมีบัตรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 60 วัน นับแต่วันเกิดวันที่ได้สัญชาติไทยฯ วันที่นายทะเบียนเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรและวันที่พ้นสภาพจากการได้รับยกเว้น สำหรับผู้ซึ่งมีอายุไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์ ให้บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลผู้นั้นเป็นผู้ยื่นคำขอมีบัตร โดยบัตรมีอายุใช้ได้ถึง 10 ปี และให้บัตรหมดอายุในวันครบรอบวันเกิด ทั้งนี้ บัตรที่ยังไม่หมดอายุในวันที่ผู้ถือมีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ให้ใช้บัตรต่อไปได้ตลอดชีวิต
3. กำหนดให้การขอมีบัตร การขอมีบัตรใหม่ และการออกบัตรให้เป็นไปตามแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
4. ให้ยกเลิกอัตราค่าธรรมเนียมพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และให้ใช้อัตราค่าธรรมเนียม ดังนี้
4.1 การออกบัตรตามมาตรา 5 วรรคสาม ฉบับละ 20 บาท
4.2 การออกบัตรใหม่หรือเปลี่ยนบัตรตามมาตรา 6 จัตวา ฉบับละ 200 บาท
กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า โดยที่บัตรประจำตัวประชาชนที่ใช้บังคับในปัจจุบันยังไม่มีความเหมาะสมเพียงพอ ที่จะทำให้ทราบข้อมูลประชากรตามทะเบียนราษฎร์ที่ถูกต้องครบถ้วน จึงเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อกำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทยต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตั้งแต่เกิด โดยยกเว้นความผิด สำหรับผู้ซึ่งมีอายุไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์ และแก้ไขเพิ่มเติมให้บัตรประจำตัวประชาชนมีอายุใช้ได้ 10 ปี รวมทั้งแก้ไขอัตราค่าธรรมเนียมการออกบัตร เพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 มีนาคม 2548--จบ--