คณะรัฐมนตรีพิจารณาการห้ามนำไม้สักและสิ่งประดิษฐ์เข้ามาในราชอาณาจักรตามแนวชายแดนจังหวัดตากตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1.อนุมัติขยายเวลาประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การห้ามนำไม้สักทุกประเภทรวมถึงสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นที่ทำด้วยไม้สัก เข้ามาในราชอาณาจักรตามแนวชายแดนจังหวัดตากเป็นการชั่วคราว พ.ศ.2547 ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2547 โดยกำหนดเพิ่มเติมให้ไม้ทุกประเภทรวมถึงสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ หรือสิ่งที่ทำด้วยไม้ เป็นสินค้าต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักรตามแนวชายแดนจังหวัดตากและจังหวัดกาญจนบุรี เป็นการชั่วคราวต่อไปอีก 1 ปี
2.อนุมัติให้ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การห้ามนำไม้สักทุกประเภท รวมถึงสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใดที่ทำด้วยไม้สัก เข้ามาในราชอาณาจักรตามแนวชายแดนจังหวัดตากเป็นการชั่วคราว พ.ศ.2547 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2547 มีผลบังคับใช้ไปจนกว่าประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้มีหนังสือ ด่วนมาก ที่ พณ 0309/1046 ลงวันที่ 19 มีนาคม 2548 ขอให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาทบทวนนโยบายการห้ามนำไม้สักทุกประเภทเข้ามาในราชอาณาจักรตาม แนวชายแดนจังหวัดตากเป็นการชั่วคราวว่า จะยังมีความจำเป็นต้องบังคับใช้ต่อไปหรือไม่ เนื่องจากประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2547 ซึ่งกำหนดให้ไม้ดังกล่าวเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักรตามแนวชายแดนจังหวัดตาก จะครบกำหนดการบังคับใช้ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2548 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้พิจารณาแล้วเห็นว่าบริเวณตามแนวชายแดนไทย-สหภาพเมียนม่าร์ ผืนป่าตะวันตกของประเทศไทยมีความสมบูรณ์ทั้ง พันธุ์พืช และสัตว์ป่า เป็นพื้นที่ที่ควรอนุรักษ์ไว้ แต่เนื่องจากสภาพป่าแห่งนี้มีความกว้างใหญ่ที่ทอดยาวติดต่อกันไปตามแนวชายแดน การป้องกันและปราบปรามกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ในบริเวณดังกล่าวจึงกระทำได้ยาก ทั้งที่มีเจ้าหน้าที่คอยหมั่นตรวจสอบอยู่เป็นประจำแล้วก็ตาม หลังจากที่มีประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2547 กำหนดให้ไม้สักทุกประเภทเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักรตามแนวชายแดนจังหวัดตาก สถานการณ์การกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้เริ่มดีขึ้น แต่ในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรีได้มีการนำสิ่งประดิษฐ์ซึ่งมีลักษณะเป็นสิ่งประดิษฐ์พรางไม่ชอบด้วยลักษณะหรือผิดปกติวิสัย หรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ที่ไม่ชอบด้วยลักษณะของใช้ที่ใช้เป็นปกติหรือมีลักษณะเป็นไม้แปรรูปมาสำแดงเสียภาษีอากรปากระวางทางด้านศุลกากรสังขละบุรี ซึ่งวัตถุประสงค์ของการนำสินค้ามาเสียภาษีอากรปากระวางเป็นการนำเข้ามาเพื่อนำไปใช้สอยส่วนตัวเท่านั้น แต่พฤติกรรมดังกล่าวมีลักษณะเป็นการค้า เช่นเดียวกับพื้นที่จังหวัดตาก แต่ในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรีมิใช่นำเข้าเฉพาะไม้สักเท่านั้น แต่ยังมีการนำเข้าไม้กระยาเลยชนิดอื่น ๆ อีก กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้มีนโยบายให้ความสำคัญแก่การป้องกันรักษาป่าซึ่งถื่อเป็นวาระแห่งชาติของรัฐบาล แต่การดำเนินการดังกล่าวจะได้ผลต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น ๆ ด้วย
ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการค้าไม้และสิ่งประดิษฐ์ที่ทำด้วยไม้ตามแนวชายแดนในท้องที่จังหวัดตากและจังหวัดกาญจนบุรีและเพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายการป้องกันการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า บริเวณชายแดนไทย —สหภาพเมียนม่าร์ จึงเห็นควรให้มีการดำเนินการอนุมัติดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 พฤษภาคม 2548--จบ--
1.อนุมัติขยายเวลาประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การห้ามนำไม้สักทุกประเภทรวมถึงสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นที่ทำด้วยไม้สัก เข้ามาในราชอาณาจักรตามแนวชายแดนจังหวัดตากเป็นการชั่วคราว พ.ศ.2547 ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2547 โดยกำหนดเพิ่มเติมให้ไม้ทุกประเภทรวมถึงสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ หรือสิ่งที่ทำด้วยไม้ เป็นสินค้าต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักรตามแนวชายแดนจังหวัดตากและจังหวัดกาญจนบุรี เป็นการชั่วคราวต่อไปอีก 1 ปี
2.อนุมัติให้ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การห้ามนำไม้สักทุกประเภท รวมถึงสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใดที่ทำด้วยไม้สัก เข้ามาในราชอาณาจักรตามแนวชายแดนจังหวัดตากเป็นการชั่วคราว พ.ศ.2547 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2547 มีผลบังคับใช้ไปจนกว่าประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้มีหนังสือ ด่วนมาก ที่ พณ 0309/1046 ลงวันที่ 19 มีนาคม 2548 ขอให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาทบทวนนโยบายการห้ามนำไม้สักทุกประเภทเข้ามาในราชอาณาจักรตาม แนวชายแดนจังหวัดตากเป็นการชั่วคราวว่า จะยังมีความจำเป็นต้องบังคับใช้ต่อไปหรือไม่ เนื่องจากประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2547 ซึ่งกำหนดให้ไม้ดังกล่าวเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักรตามแนวชายแดนจังหวัดตาก จะครบกำหนดการบังคับใช้ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2548 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้พิจารณาแล้วเห็นว่าบริเวณตามแนวชายแดนไทย-สหภาพเมียนม่าร์ ผืนป่าตะวันตกของประเทศไทยมีความสมบูรณ์ทั้ง พันธุ์พืช และสัตว์ป่า เป็นพื้นที่ที่ควรอนุรักษ์ไว้ แต่เนื่องจากสภาพป่าแห่งนี้มีความกว้างใหญ่ที่ทอดยาวติดต่อกันไปตามแนวชายแดน การป้องกันและปราบปรามกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ในบริเวณดังกล่าวจึงกระทำได้ยาก ทั้งที่มีเจ้าหน้าที่คอยหมั่นตรวจสอบอยู่เป็นประจำแล้วก็ตาม หลังจากที่มีประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2547 กำหนดให้ไม้สักทุกประเภทเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักรตามแนวชายแดนจังหวัดตาก สถานการณ์การกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้เริ่มดีขึ้น แต่ในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรีได้มีการนำสิ่งประดิษฐ์ซึ่งมีลักษณะเป็นสิ่งประดิษฐ์พรางไม่ชอบด้วยลักษณะหรือผิดปกติวิสัย หรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ที่ไม่ชอบด้วยลักษณะของใช้ที่ใช้เป็นปกติหรือมีลักษณะเป็นไม้แปรรูปมาสำแดงเสียภาษีอากรปากระวางทางด้านศุลกากรสังขละบุรี ซึ่งวัตถุประสงค์ของการนำสินค้ามาเสียภาษีอากรปากระวางเป็นการนำเข้ามาเพื่อนำไปใช้สอยส่วนตัวเท่านั้น แต่พฤติกรรมดังกล่าวมีลักษณะเป็นการค้า เช่นเดียวกับพื้นที่จังหวัดตาก แต่ในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรีมิใช่นำเข้าเฉพาะไม้สักเท่านั้น แต่ยังมีการนำเข้าไม้กระยาเลยชนิดอื่น ๆ อีก กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้มีนโยบายให้ความสำคัญแก่การป้องกันรักษาป่าซึ่งถื่อเป็นวาระแห่งชาติของรัฐบาล แต่การดำเนินการดังกล่าวจะได้ผลต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น ๆ ด้วย
ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการค้าไม้และสิ่งประดิษฐ์ที่ทำด้วยไม้ตามแนวชายแดนในท้องที่จังหวัดตากและจังหวัดกาญจนบุรีและเพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายการป้องกันการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า บริเวณชายแดนไทย —สหภาพเมียนม่าร์ จึงเห็นควรให้มีการดำเนินการอนุมัติดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 พฤษภาคม 2548--จบ--