คณะรัฐมนตรีอนุมัติและเห็นชอบตามที่สำนักงาน ก.พ.ร.เสนอ ดังนี้
1. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ... ตามที่สำนักงาน
ก.พ.ร. เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะพิเศษ โดยให้เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมเป็นเลขานุการใน ก.น.จ. ด้วย พร้อมทั้งให้รับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีที่เห็นว่านโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่ ก.น.จ. กำหนดควรสอดคล้องกับแผนบริหารราชการแผ่นดิน แผนบริหารราชการของกระทรวงมหาดไทย และแผนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณไปพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
2. เห็นชอบให้ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยระบบการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2546 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2546 ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกายกร่างระเบียบเพื่อยกเลิกระเบียบทั้งสองฉบับดังกล่าวแล้วดำเนินการ ต่อไปได้
สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอว่า
1. ก.พ.ร. ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2551 ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า การบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการยังไม่อาจดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากไม่มีกฎหมาย กลไกและระบบที่จะรองรับอย่างต่อเนื่อง เพราะปัจจุบันคงมีเพียงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยระบบการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2546 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2546 เท่านั้น ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 และนโยบายของรัฐบาลในข้อ 8 ว่าด้วยนโยบายการบริหารจัดการที่ดี รวมทั้งแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 จึงเห็นควรนำแนวทางที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว มายกเป็นร่างพระราชกฤษฎีกาคือ “ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ...” โดยได้กำหนดหลักการและระบบการบริหารแบบบูรณาการ การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและ กลุ่มจังหวัด รวมทั้งการจัดทำงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัดไว้ด้วย
2. สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้องโดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายชูศักดิ์ ศิรินิล) สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยในหลักการของร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 1
ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดหลักการของการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ร่างมาตรา 6)
2. กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.จ.) และคณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดและแบบบูรณาการ (ก.บ.ก.) รวมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
แต่ละคณะไว้ด้วย (ร่างมาตรา 7 ถึงมาตรา 12)
3. กำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดในระบบการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ และหัวหน้ากลุ่มจังหวัด (ร่างมาตรา 13 และมาตรา 14)
4. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติการจังหวัดประจำปี (ร่างมาตรา 15 ถึงมาตรา 21)
5. กำหนดหลักเกณฑ์การจัดกลุ่มจังหวัดและการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด (ร่างมาตรา 22 และมาตรา 23)
6. กำหนดวิธีการจัดทำและวิธีการบริหารงบประมาณจังหวัดและงบประมาณกลุ่มจังหวัด (ร่างมาตรา 24 ถึงมาตรา 36)
7. กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกำกับการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ร่างมาตรา 37 ถึงมาตรา 39)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 เมษายน 2551--จบ--
1. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ... ตามที่สำนักงาน
ก.พ.ร. เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะพิเศษ โดยให้เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมเป็นเลขานุการใน ก.น.จ. ด้วย พร้อมทั้งให้รับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีที่เห็นว่านโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่ ก.น.จ. กำหนดควรสอดคล้องกับแผนบริหารราชการแผ่นดิน แผนบริหารราชการของกระทรวงมหาดไทย และแผนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณไปพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
2. เห็นชอบให้ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยระบบการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2546 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2546 ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกายกร่างระเบียบเพื่อยกเลิกระเบียบทั้งสองฉบับดังกล่าวแล้วดำเนินการ ต่อไปได้
สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอว่า
1. ก.พ.ร. ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2551 ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า การบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการยังไม่อาจดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากไม่มีกฎหมาย กลไกและระบบที่จะรองรับอย่างต่อเนื่อง เพราะปัจจุบันคงมีเพียงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยระบบการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2546 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2546 เท่านั้น ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 และนโยบายของรัฐบาลในข้อ 8 ว่าด้วยนโยบายการบริหารจัดการที่ดี รวมทั้งแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 จึงเห็นควรนำแนวทางที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว มายกเป็นร่างพระราชกฤษฎีกาคือ “ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ...” โดยได้กำหนดหลักการและระบบการบริหารแบบบูรณาการ การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและ กลุ่มจังหวัด รวมทั้งการจัดทำงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัดไว้ด้วย
2. สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้องโดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายชูศักดิ์ ศิรินิล) สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยในหลักการของร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 1
ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดหลักการของการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ร่างมาตรา 6)
2. กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.จ.) และคณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดและแบบบูรณาการ (ก.บ.ก.) รวมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
แต่ละคณะไว้ด้วย (ร่างมาตรา 7 ถึงมาตรา 12)
3. กำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดในระบบการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ และหัวหน้ากลุ่มจังหวัด (ร่างมาตรา 13 และมาตรา 14)
4. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติการจังหวัดประจำปี (ร่างมาตรา 15 ถึงมาตรา 21)
5. กำหนดหลักเกณฑ์การจัดกลุ่มจังหวัดและการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด (ร่างมาตรา 22 และมาตรา 23)
6. กำหนดวิธีการจัดทำและวิธีการบริหารงบประมาณจังหวัดและงบประมาณกลุ่มจังหวัด (ร่างมาตรา 24 ถึงมาตรา 36)
7. กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกำกับการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ร่างมาตรา 37 ถึงมาตรา 39)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 เมษายน 2551--จบ--