คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตช์ไฟฟ้าใช้ในที่อยู่อาศัยและสิ่งติดตั้งทางไฟฟ้ายึดกับที่ที่คล้ายกันต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอว่า
1. เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2550 ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาตามคดีหมายเลขแดงที่ ฟ. 34 / 2550 เพิกถอนมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตช์ไฟฟ้าต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. 2547 ที่อ้างถึงประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 1459 (พ.ศ. 2531) ซึ่งกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตช์ไฟฟ้าต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก. 824 — 2531 แต่ในส่วนที่เป็นการกำหนดมาตรฐานการทดสอบ ตามเอกสารแนบท้ายประกาศกระทรวง ดังกล่าวกำหนดไว้ในข้อ 5.12 สั้น ๆ แต่เพียงว่า การทดสอบให้ปฏิบัติตาม IEC 669 -1 โดยมิได้มีการนำมากำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศกระทรวงดังกล่าวว่า มาตรฐานการทดสอบ IEC 669 -1 ที่อ้างถึงนั้นเป็นอย่างไร และมิได้มีการนำมาตรฐานการทดสอบดังกล่าวไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา อีกทั้งเอกสารที่กำหนดมาตรฐานการทดสอบ IEC 669 — 1 ยังกำหนดไว้เป็นภาษาอังกฤษ ทำให้ผู้ประกอบการคนไทยที่ไม่มีความรู้ภาษาอังกฤษไม่สามารถทราบได้อย่างแน่ชัดว่ามาตรฐานการทดสอบที่ถูกต้องนั้นเป็นอย่างไร กรณีจึงขัดกับหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่าการกำหนดกฎหมายให้ประชาชนหรือบุคคลกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตาม หากผู้ใดฝ่าฝืนผู้นั้นจะต้องได้รับโทษ จะต้องมีความชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้ประชาชนหรือกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าใจได้ และต้องมีการประกาศกฎหมายนั้นให้ประชาชนหรือกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องได้รับทราบโดยทั่วกัน อีกทั้งยังเป็นการขัดต่อหลักการตรากฎหมายไทยที่ต้องกระทำเป็นภาษาไทยด้วย
2. คำพิพากษาดังกล่าวมีผลเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่มีการประกาศผลแห่งคำพิพากษานี้ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว และเมื่อได้ประกาศผลแห่งคำพิพากษาในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 72 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
พ.ศ. 2542 แล้ว ควรดำเนินการให้มีการตราพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ขึ้นใหม่ให้เป็นไปตามแนวทางคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด
3. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้แก้ไขปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตช์ไฟฟ้า โดยได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3829 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตช์ไฟฟ้า และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตช์ไฟฟ้าใช้ในที่อยู่อาศัยและสิ่งติดตั้งทางไฟฟ้ายึดกับที่ที่คล้ายกัน : ข้อกำหนดทั่วไป ลงวันที่ 17 มีนาคม 2551 แล้ว ซึ่งตามเอกสารแนบท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับดังกล่าว ได้กำหนดการทดสอบมาตรฐานไว้โดยละเอียดแทนการอ้างอิงมาตรฐานการทดสอบของต่างประเทศโดยตรงแล้ว ดังนั้น เพื่อกำหนดให้ผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมสวิตช์ไฟฟ้าต้องเป็นไปตามมาตรฐาน และดำเนินการให้เป็นไปตามแนวคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ โดยมีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตช์ไฟฟ้าต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. 2547 และปรับปรุงการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตช์ไฟฟ้าใช้ในที่อยู่อาศัยและสิ่งติดตั้งทางไฟฟ้ายึดกับที่ที่คล้ายกันต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ให้เป็นไปตามแนวทางคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 เมษายน 2551--จบ--
กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอว่า
1. เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2550 ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาตามคดีหมายเลขแดงที่ ฟ. 34 / 2550 เพิกถอนมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตช์ไฟฟ้าต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. 2547 ที่อ้างถึงประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 1459 (พ.ศ. 2531) ซึ่งกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตช์ไฟฟ้าต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก. 824 — 2531 แต่ในส่วนที่เป็นการกำหนดมาตรฐานการทดสอบ ตามเอกสารแนบท้ายประกาศกระทรวง ดังกล่าวกำหนดไว้ในข้อ 5.12 สั้น ๆ แต่เพียงว่า การทดสอบให้ปฏิบัติตาม IEC 669 -1 โดยมิได้มีการนำมากำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศกระทรวงดังกล่าวว่า มาตรฐานการทดสอบ IEC 669 -1 ที่อ้างถึงนั้นเป็นอย่างไร และมิได้มีการนำมาตรฐานการทดสอบดังกล่าวไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา อีกทั้งเอกสารที่กำหนดมาตรฐานการทดสอบ IEC 669 — 1 ยังกำหนดไว้เป็นภาษาอังกฤษ ทำให้ผู้ประกอบการคนไทยที่ไม่มีความรู้ภาษาอังกฤษไม่สามารถทราบได้อย่างแน่ชัดว่ามาตรฐานการทดสอบที่ถูกต้องนั้นเป็นอย่างไร กรณีจึงขัดกับหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่าการกำหนดกฎหมายให้ประชาชนหรือบุคคลกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตาม หากผู้ใดฝ่าฝืนผู้นั้นจะต้องได้รับโทษ จะต้องมีความชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้ประชาชนหรือกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าใจได้ และต้องมีการประกาศกฎหมายนั้นให้ประชาชนหรือกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องได้รับทราบโดยทั่วกัน อีกทั้งยังเป็นการขัดต่อหลักการตรากฎหมายไทยที่ต้องกระทำเป็นภาษาไทยด้วย
2. คำพิพากษาดังกล่าวมีผลเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่มีการประกาศผลแห่งคำพิพากษานี้ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว และเมื่อได้ประกาศผลแห่งคำพิพากษาในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 72 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
พ.ศ. 2542 แล้ว ควรดำเนินการให้มีการตราพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ขึ้นใหม่ให้เป็นไปตามแนวทางคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด
3. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้แก้ไขปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตช์ไฟฟ้า โดยได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3829 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตช์ไฟฟ้า และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตช์ไฟฟ้าใช้ในที่อยู่อาศัยและสิ่งติดตั้งทางไฟฟ้ายึดกับที่ที่คล้ายกัน : ข้อกำหนดทั่วไป ลงวันที่ 17 มีนาคม 2551 แล้ว ซึ่งตามเอกสารแนบท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับดังกล่าว ได้กำหนดการทดสอบมาตรฐานไว้โดยละเอียดแทนการอ้างอิงมาตรฐานการทดสอบของต่างประเทศโดยตรงแล้ว ดังนั้น เพื่อกำหนดให้ผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมสวิตช์ไฟฟ้าต้องเป็นไปตามมาตรฐาน และดำเนินการให้เป็นไปตามแนวคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ โดยมีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตช์ไฟฟ้าต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. 2547 และปรับปรุงการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตช์ไฟฟ้าใช้ในที่อยู่อาศัยและสิ่งติดตั้งทางไฟฟ้ายึดกับที่ที่คล้ายกันต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ให้เป็นไปตามแนวทางคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 เมษายน 2551--จบ--