http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ 25 เมษายน 2566 เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
1. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนนายาง ? หนองจอก จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. .... 2. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ชุมชนดำเนิน สะดวก - ศรีดอนไผ่ - ประสาทสิทธิ์ จังหวัดราชบุรี พ.ศ. ....
เศรษฐกิจ-สังคม
3. เรื่อง รายงานผลการกู้เงินล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลรุ่น LB236A เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 4. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง
พ.ศ. 2562 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 - 31 ธันวาคม 2564)
5. เรื่อง รายงานการเงินแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 6. เรื่อง รายงานประจำปี 2565 ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาค ตะวันออกและผลการสอบบัญชี สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 7. เรื่อง รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กองทุนยุติธรรม 8. เรื่อง รายงานสรุปผลการพิจารณาในภาพรวมต่อข้อเสนอแนะมาตรการการคุ้มครอง สิทธิด้านสุขภาพและสิทธิเด็กในสถานการณ์การใช้กัญชาในประเทศไทย ต่างประเทศ 9. เรื่อง ขออนุมัติวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อชำระเป็นเงินอุดหนุน องค์การระหว่างประเทศที่ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก 10. เรื่อง การจัดทำแผนการหารือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566 - 2568) 11. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลศึกษา และการกีฬา ระหว่าง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการกีฬาแห่ง สหพันธรัฐรัสเซีย 12. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี ไทย-รัสเซีย ครั้งที่ 8 แต่งตั้ง 13. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงวุฒิ ในคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่าง เพศ 14. เรื่อง การโอนข้าราชพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการราชบัณฑิตย สภา 15. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและคณะกรรมการในคณะกรรมการการท่าเรือแห่ง ประเทศไทย (ครบกำหนดออกตามวาระ) 16. เรื่อง การขอต่อเวลาการดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
? กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนนายาง ? หนองจอก จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนนายาง - หนองจอก จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เป็นการกำหนดให้ใช้บังคับ ผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลหนองจอก และตำบลปึกเตียน อำเภอท่ายาง ตำบลหนองศาลา ตำบลบางเก่า ตำบลนายาง ตำบลดอนขุนห้วย และตำบลเขาใหญ่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะและสภาพแวดล้อม เป็นศูนย์กลางหลักการค้าและบริการรับซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ให้บริการแก่ชุมชนโดยรอบ รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชายทะเล การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ประวัติศาสตร์ โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น 11 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังแสดงที่โล่ง และกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง รวมทั้งกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภค ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แล้ว และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว สาระสำคัญของร่างประกาศ กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลหนองจอก และตำบลปึกเตียน อำเภอท่ายาง ตำบลหนองศาลา ตำบลบางเก่า ตำบลนายาง ตำบลดอนขุนห้วย และตำบลเขาใหญ่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ชุมชนนายาง - หนองจอก ให้เป็นเมืองน่าอยู่ มีการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืนรองรับการขยายตัวจากพื้นที่ชุมชนหลักของจังหวัดเพชรบุรี ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ด้วยการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการผลิตทางด้านเกษตรกรรมแบบผสมผสาน การพัฒนาการท่องเที่ยว การชลประทาน และการระบายน้ำ ตลอดจนการดำรงรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติในพื้นที่ราบลุ่มและชายฝั่งทะเล ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1. กำหนดให้ผังเมืองรวมชุมชนนายาง - หนองจอก จังหวัดเพชรบุรี มีนโยบายและมาตรการเพื่อจัดระบบและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายคมนาคมขนส่งและบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับและสอดคล้องกับการขยายตัวของพื้นที่ชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ 1.1 ส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ชุมชนนายาง - หนองจอก ให้เป็นศูนย์กลางการค้า การบริการ และการท่องเที่ยวของจังหวัดเพชรบุรี 1.2 ส่งเสริมการพัฒนาและรักษาพื้นที่เกษตรกรรมของชุมชนโดยพัฒนาการเกษตรและรักษาพื้นที่เกษตรกรรมชลประทาน พื้นที่ที่มีศักยภาพด้านการเกษตรและพื้นที่ตามโครงการพระราชประสงค์ และส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และพัฒนาด้านการเกษตรเพื่อสร้างฐานราก ทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนให้ประชากรในพื้นที่ 1.3 ส่งเสริมการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อเป็นพื้นที่รองรับการขยายตัว ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดเพชรบุรีและภูมิภาคที่สอดคล้องกับลักษณะทางกายภาพและสภาพแวดล้อมของพื้นที่ 1.4 ดำรงรักษาและควบคุมพื้นที่อ่อนไหวต่อการพัฒนา ได้แก่ พื้นที่ป่าไม้และภูเขาสูง พื้นที่เพื่อการเก็บกัก และระบายน้ำ และพื้นที่ชายฝั่งทะเล เพื่อการป้องกันภัยพิบัติ การรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลดภาวะโลกร้อน การลดการใช้พลังงาน และการเพิ่มพื้นที่สีเขียว 1.5 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ให้เพียงพอและได้มาตรฐาน 1.6 ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็กซึ่งปลอดมลพิษ และเกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมการผลิตในพื้นที่ให้อยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสม อาทิ อุตสาหกรรมการเกษตรการผลิตอาหาร ขนม ผลิตภัณฑ์ชุมชน และสินค้าสำหรับการท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน 2. กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 11 ประเภท ดังนี้ ประเภท วัตถุประสงค์ 1. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) จำแนกเป็นที่ดินประเภท ย. 1 และ ย. 2 ดังนี้ 1.1 ที่ดินประเภท ย. 1 - มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่รองรับการอยู่อาศัยของชุมชนในบริเวณพื้นที่ตั้งถิ่นฐานดั้งเดิมให้ก่อสร้างอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 15 เมตร เว้นแต่บริเวณ ย. 1 - 2 และ ย. 1 - 3 ให้ก่อสร้างอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 6 เมตร ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่อาศัยที่ดี ได้แก่ การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ คลังเชื้อเพลิง สุสานฌาปนสถาน กำจัดมูลฝอย และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น การทำขนมเค้ก ซ่อมรองเท้า ซักรีด เป็นต้น 1.2 ที่ดินประเภท ย. 2 - มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่รองรับการอยู่อาศัยของชุมชนบริเวณพื้นที่พัฒนาใหม่ และเป็นพื้นที่รองรับการขยายตัวของการอยู่อาศัยบริเวณริมชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ให้ก่อสร้างอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 18 เมตร ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นอุปสรรคต่อการอยู่อาศัยที่ดี ได้แก่ การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ คลังเชื้อเพลิง สุสาน ฌาปนสถาน กำจัดวัตถุอันตราย และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น การทำไอศกรีม การทำน้ำดื่ม เป็นต้น 2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) จำแนกเป็นที่ดินประเภท ย. 3 - มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางการอยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นปานกลาง สำหรับเป็นพื้นที่รองรับการขยายตัวของชุมชนจากการพัฒนาพื้นที่บริเวณศูนย์กลางหลักด้านการค้า การบริการ การท่องเที่ยวและนันทนาการแก่ชุมชนและภูมิภาค ให้ก่อสร้างอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 23 เมตร ห้ามการใช้ที่ดินที่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่อาศัยที่ดี ได้แก่ การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ คลังเชื้อเพลิง สุสาน ฌาปนสถาน กำจัดมูลฝอย และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น การทำน้ำแข็ง การพิมพ์หรือทำแฟ้มเอกสาร เป็นต้น 3. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) จำแนกเป็นที่ดินประเภท พ. 1 และ พ. 2 3.1 ที่ดินประเภท พ. 1 - มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมรองที่มีบทบาทเป็นศูนย์กลางการค้าและบริการแก่ชุมชนในระดับท้องถิ่น ให้ก่อสร้างอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 23 เมตร ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่อาศัยที่ดี ได้แก่ การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ คลังเชื้อเพลิง สุสาน ฌาปนสถาน จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม กำจัดวัตถุอันตราย และโรงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น การทำขนมปัง น้ำดื่ม การบรรจุสินค้า เป็นต้น 3.2 ที่ดินประเภท พ. 2 - มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมหลักที่มีบทบาทการเป็นศูนย์กลางการค้า การบริการและการท่องเที่ยวของจังหวัดเพชรบุรีและภูมิภาคเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของพื้นที่ ให้ก่อสร้างอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 12 เมตร ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่อาศัยที่ดี ได้แก่ การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ คลังเชื้อเพลิง สุสาน ฌาปนสถาน กำจัดมูลฝอย และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น การพาสเจอร์ไรส์นมสด ทำขนมเค้ก ทำน้ำดื่ม เป็นต้น 4. ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) จำแนกเป็นที่ดินประเภท ก. - มีวัตถุประสงค์เพื่อเกษตรกรรม การสงวนรักษาสภาพทางธรรมชาติ และการส่งเสริมเศรษฐกิจการเกษตร ให้ก่อสร้างอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 12 เมตร ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ คลังเชื้อเพลิง จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรมการอยู่อาศัยหรือประกอบพาณิชยกรรมประเภทห้องแถว ตึกแถว และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น การทำเครื่องประดับ ซ่อมรองเท้าหรือเครื่องหนัง เป็นต้น 5. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงเขียว) จำแนกเป็นที่ดินประเภท อก. - มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมพัฒนาเกษตรกรรมผสมผสานแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตรและพื้นที่เกษตรกรรมตามโครงการพระราชประสงค์ให้ก่อสร้างอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 7 เมตร ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ โรงงานทุกจำพวกตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน โรงแรม การอยู่อาศัยประเภทอาคารชุด หอพัก เป็นต้น 6. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน) จำแนกเป็นที่ดินประเภท ล. - มีวัตถุประสงค์เพื่อสงวนรักษาพื้นที่โล่งเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ นันทนาการของชุมชน เพื่อการรักษาสภาพแวดล้อมของลำคลองและชายฝั่ง และเพื่อการระบายน้ำ ในที่ดินเอกชนให้ก่อสร้างอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 6 เมตร และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ เช่น การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ การอยู่อาศัยประเภทห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว กำจัดมูลฝอย เป็นต้น 7. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้ (สีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีขาว) จำแนกเป็นที่ดินประเภท อป. - มีวัตถุประสงค์เพื่อดำรงรักษาป่าไม้ในบริเวณพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และพื้นที่ป่าไม้ตามมติคณะรัฐมนตรี ในที่ดินเอกชนให้ก่อสร้างอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 6 เมตร โดยให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การอยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวที่มีใช่การจัดสรรที่ดิน 8. ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก) จำแนกเป็นที่ดินประเภท ศษ. - มีวัตถุประสงค์เพื่อดำรงไว้ซึ่งสถาบันการศึกษาเพื่อให้บริการด้านวิชาการความรู้ เพื่อเป็นบริการขั้นพื้นฐานแก่ชุมชน การศึกษา หรือเกี่ยวข้องกับการศึกษา สถาบันราชการ การสาธารณูปโภค ที่เป็นของรัฐหรือสาธารณประโยชน์ เช่น โรงเรียบ้านบ่อโพง โรงเรียนหนองจอกวิทยา โรงเรียนบ้านนายาง เป็นต้น 9. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีฟ้า) จำแนกเป็นที่ดินประเภท ลส. - มีวัตถุประสงค์เพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือเกี่ยวข้องกับการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การรักษาทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ การประมงชายฝั่ง การคมนาคมและขนส่งทางน้ำ การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ และสาธารณประโยชน์ คือ บริเวณเส้นขนานระยะ 500 เมตร กับริมฝั่งทะเล อ่าวไทย ฝั่งตะวันออก 10. ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน) จำแนกเป็นที่ดินประเภท ศน. - มีวัตถุประสงค์เพื่อดำรงรักษาไว้ซึ่งสถาบันศาสนา การศึกษา สถาบันราชการ หรือสาธารณประโยชน์เท่านั้น เช่น วัดหนองจอก วัดนายาง วัดหุบกะพง เป็นต้น 11. ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน) จำแนกเป็นที่ดินประเภท ส. - มีวัตถุประสงค์เพื่อกิจการของรัฐ กิจการเกี่ยวกับการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ หรือสาธารณประโยชน์เท่านั้น เช่น ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองจอก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปึกเตียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนิคมพัฒนาตนเอง เป็นต้น 3. กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท 4. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังแสดงที่โล่ง ให้เป็นไปดังต่อไปนี้ 4.1 ที่โล่งประเภท ลร. ให้เป็นที่โล่งเพื่อการสงวนรักษาสภาพการระบายน้ำตามธรรมชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อสงวนรักษาสภาพการระบายน้ำตามธรรมชาติจำแนกเป็นบริเวณ ลร. - 1 ถึง ลร. - 7 4.2 ที่โล่งประเภท ลส. ให้เป็นที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมฃายฝั่งทะเล จำแนกเป็นบริเวณ ลส. 5. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณแนวถนนสาย ก 1 ถนนสาย ก 2 ถนนสาย ก 3 ถนนสาย ก 4 ถนนสาย ก 5 ถนนสาย ข 1 ถนนสาย ข 2 ถนนสาย ค 1 ถนนสาย ค 2 ถนนสาย ค 3 ถนนสาย ค 4 ถนนสาย ค 5 ถนนสาย ค 6 ถนนสาย ง 1 ถนนสาย ง 2 ถนนสาย ง 3 ถนนสาย ง 4 ถนนสาย ง 5 และถนนสาย จ ตามแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยให้ใช้ประโยชน์เพื่อกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้ 5.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ 5.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง 5.3 เกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตรหรือไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่ 6. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภค ดังต่อไปนี้ 6.1 ที่ดินประเภท สฆ. ที่กำหนดไว้เป็นสีเทาลายจุด ให้เป็นที่ดินเพื่อกิจการสาธารณูปโภค ประเภทโรงฆ่าสัตว์ จำแนกเป็นบริเวณ สฆ. 6.2 ที่ดินประเภท สบ. ที่กำหนดไว้เป็นสีม่วงลายจุด ให้เป็นที่ดินเพื่อกิจการสาธารณูปโภค ประเภทโรงบำบัดน้ำเสีย จำแนกเป็นบริเวณ สบ. - 1 และ สบ. - 2 2. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ชุมชนดำเนินสะดวก - ศรีดอนไผ่ - ประสาทสิทธิ์ จังหวัดราชบุรี พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ชุมชนดำเนินสะดวก - ศรีดอนไผ่ - ประสาทสิทธิ์ จังหวัดราชบุรี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย ที่กระทรวงมหาดไทยเสนอเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลดอนไผ่ ตำบลประสาทสิทธิ์ ตำบลศรีสุราษฎร์ ตำบลดำเนินสะดวก ตำบลขุนพิทักษ์ และตำบล ตาหลวง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา และการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะและสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีนโยบายและมาตรการในการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนดำเนินสะดวก - ศรีดอนไผ่ - ประสาทสิทธิ์ ให้เป็นศูนย์กลางการบริหาร การปกครอง การศึกษา การค้า การบริการทางสังคม และการคมนาคมขนส่งระดับอำเภอ ส่งเสริมและอนุรักษ์พื้นที่เกษตรกรรมที่มีความอุดมสมบูรณ์ให้เป็นแหล่งผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพและยั่งยืน ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวตลาดน้ำในรูปแบบวิถีชุมชนเกษตรและวิถีชีวิตชุมชนริมน้ำของชุมชนดำเนินสะดวกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ส่งเสริมและพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคตรวมทั้งอนุรักษ์วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของชุมชน โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น 9 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น ๆ ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว สาระสำคัญของร่างประกาศ กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนดำเนินสะดวก - ศรีดอนไผ่ - ประสาทสิทธิ์ จังหวัดราชบุรี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา และการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะและสภาพแวดล้อม ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1. กำหนดให้ผังเมืองรวมชุมชนดำเนินสะดวก - ศรีดอนไผ่ - ประสาทสิทธิ์ จังหวัดราชบุรี มีนโยบายและมาตรการเพื่อจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายคมนาคมขนส่งและบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับและสอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ 1.1 ส่งเสริมและพัฒนาชุมชนดำเนินสะดวก - ศรีดอนไผ่ - ประสาทสิทธิ์ ให้เป็นศูนย์กลางการบริหาร การปกครอง การศึกษา การค้า การบริการทางสังคม และการคมนาคมขนส่งระดับอำเภอ 1.2 ส่งเสริมและอนุรักษ์พื้นที่เกษตรกรรมที่มีความอุดมสมบูรณ์ให้เป็นแหล่งผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพและยั่งยืน 1.3 ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวตลาดน้ำในรูปแบบวิถีชีวิตชุมชนเกษตรและวิถีชุมชนริมน้ำของชุมชนดำเนินสะดวกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น 1.4 ส่งเสริมและพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งอนุรักษ์วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของชุมชน 1.5 ส่งเสริมและพัฒนาการบริการทางสังคม การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน 1.6 อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 9 ประเภท ดังนี้ ประเภท วัตถุประสงค์ 1) ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อการอยู่อาศัย (สีเหลืองเส้นทแยงสีขาว) - เป็นพื้นที่อนุรักษ์สำหรับการอยู่อาศัยให้คงอยู่และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนดั้งเดิม - มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการมิให้มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินไปเป็นอย่างอื่น ซึ่งกำหนดพื้นที่อยู่ในบริเวณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และต้องการอนุรักษ์พื้นที่ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยเท่านั้น โดยกำหนดให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่สอดคล้องและสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของชุมชนซึ่งมีบทบาทด้านเกษตรและวิถีชีวิตชุมชนริมน้ำของชุมชนคลองดำเนินสะดวก ดังนั้น ในบริเวณพื้นที่จึงห้ามโรงงานทุกจำพวกตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน แต่จะยกเว้นให้ชุมชนริมน้ำคลองดำเนินสะดวกสามารถก่อสร้างอาคารริมน้ำแทนที่อาคารที่มีอยู่เดิมได้ โดยต้องมีความสูงและขนาดของอาคารเท่าเดิม และมีการจำกัดความสูงของอาคารซึ่งต้องสูงไม่เกิน 7.50 เมตร 2) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) - เป็นพื้นที่รอบนอกชุมชนเมืองต่อจากพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง - มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยเบาบางมีการก่อสร้างที่อยู่อาศัยได้ เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว โดยมีข้อจำกัดเรื่องความสูงของอาคารซึ่งต้องมีความสูงไม่เกิน 9 เมตร 3) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) - เป็นพื้นที่บริเวณต่อเนื่องหรือล้อมรอบพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก - มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางที่มีการสร้างที่อยู่อาศัยได้ เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว โดยมีข้อจำกัดเรื่องความสูงของอาคารซึ่งต้องมีความสูงไม่เกิน 12 เมตร 4) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) - เป็นศูนย์กลางชุมชนเมืองและศูนย์กลางรองในกรณีเมืองมีพื้นที่กว้างจำเป็นต้องมีหลายศูนย์กลาง - มีวัตถุประสงค์ให้เป็นบริเวณที่ประกอบพาณิชย์ ธุรกิจ และการค้า ประกอบด้วย ตลาด ศูนย์การค้า สำนักงาน และกำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เพื่อรองรับการประกอบกิจการดังกล่าว โดยมีข้อจำกัดเรื่องความสูงของอาคารซึ่งต้องมีความสูงไม่เกิน 12 เมตร 5) ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) - เป็นพื้นที่ฉนวน (Buffer Zone) ของชุมชนเมืองให้คงสภาพชนบทและประกอบอาชีพเกษตรกรรม - มีวัตถุประสงค์ให้เป็นพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม ประกอบด้วย การประกอบเกษตรกรรม เช่น ทำไร่ ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ 6) ที่ประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว) - เป็นพื้นที่ที่มีคุณภาพของดินเหมาะสมเพื่อการเกษตรกรรม - มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมและอนุรักษ์อาชีพเกษตรกรรมให้มั่นคง ซึ่งกำหนดห้ามกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีความหนาแน่น เช่น ห้ามจัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบพาณิชยกรรม และจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย 7) ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก) - มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน เช่น โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม โรงเรียนชุมชนวัดราษฎร์เจริญธรรม โรงเรียนบ้านดอนไผ่ (ราษฎร์รังสรรค์) 8) ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน) - มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่สถาบันศาสนาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน เช่น วัดเวฬุวนาราม (แช่ไห) สุสานวัดอุบลวรรณาราม โรงเจจิ๋นเซ่งตั๊ว 9) ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน) - มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดินเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐบาลเพื่อการสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลประสาทสิทธิ์ สถานีตำรวจภูธรหลักห้า สำนักงานเทศบาลตำบลศรีดอนไผ่ ไปรษณีย์ดำเนินสะดวก ประปาส่วนภูมิภาคสาขาราชบุรี การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอดำเนินสะดวก 3. กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) และที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว) ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ที่ดินแต่ละประเภท 4. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่ง โดยในบริเวณ แนวถนนสาย ก ถนนสาย ข 1 ถนนสาย ข 2 ถนนสาย ข 3 และถนนสาย ค ตามแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายประกาศนี้ ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้ 4.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ 4.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง 4.3 เกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 7.5 เมตร หรือไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่ เศรษฐกิจ-สังคม 3. เรื่อง รายงานผลการกู้เงินล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลรุ่น LB236A เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ รายงานผลการกู้เงินล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลรุ่น LB236A เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 ที่จะครบกำหนดในวันที่ 16 มิถุนายน 2566 (เป็นการดำเนินการตามพระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. 2545 มาตรา 6 ที่บัญญัติให้ในการกู้เงินแต่ละคราวต้องรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายในหกสิบวันนับตั้งแต่วันทำสัญญากู้หรือวันออกพันธบัตรหรือตราสารอื่น) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. พันธบัตรรัฐบาลรุ่น LB236A ที่ออกภายใต้พระราชกำหนดช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง ที่จะครบกำหนดในวันที่ 16 มิถุนายน 2566 มีวงเงินที่ครบกำหนดสูงจำนวน 98,163 ล้านบาท กค. จึงได้ดำเนินการกู้เงินล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลดังกล่าวเพื่อลดความเสี่ยงในการปรับโครงสร้างหนี้ ผ่านการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 2 (LB266A) โดยมีรายละเอียด ดังนี้ วันที่ประมูล อายุ วงเงิน (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) 15 มีนาคม 2566 3.25 ปี 30,000 1.9204 2. กค. ได้ออกประกาศ กค. เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 2 เพื่อลงประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา (ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2566) ต่อไปด้วยแล้ว 4. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ.2562 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 - 31 ธันวาคม 2564) คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) รายงานผลการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. 2562 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564-31 ธันวาคม 2564) (เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. 2562 มาตรา 6 วรรคสี่ที่บัญญัติให้ รง. จัดทำรายงานผลการดำเนินงานประจำปีเกี่ยวกับสถานการณ์ จำนวนคดีการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และแนวทางการดำเนินงานในอนาคตเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานในงานประมงให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เสนอต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตามระยะเวลาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกำหนด) สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1. รง. ได้ดำเนินการรวบรวมผลการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม-31 ธันวาคม 2564) จากหน่วยงานในสังกัด รง. และหน่วยงานอื่นประกอบด้วย กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรมการจัดหางาน สำนักงานประกันสังคมและกรมประมง ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน กฎหมายว่าด้วยการเดินเรือใน น่านน้ำไทย กฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว กฎหมายว่าด้วยการประมง กฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน และกฎหมายว่าด้วยแรงานสัมพันธ์ โดยมีผลการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง ภายใต้กรอบนโยบาย 5 P ดังนี้ 1.1 ด้านนโยบาย (Policy) รง. ได้สร้างกลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน โดยแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงาน ได้แก่ (1) คณะอนุกรรมการป้องกันการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (2) คณะทำงานกำกับและติดตามการป้องกันปัญหาการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน และ (3) คณะทำงานกำกับและติดตามการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานในภาคประมง ทั้งนี้ ในปี 2564 ปลัดกระทรวงแรงงานได้แต่งตั้งคณะทำงานกำกับและติดตามการป้องกันปัญหาการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน และคณะทำงานกำกับและติดตามการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานในภาคประมง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายสำคัญของ รง. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงาน เพื่อมุ่งสู่ Tier1* และมาตรการถอดรายการสินค้าออกจากรายการที่ถูกขึ้นบัญชี การใช้แรงงานเด็กหรือแรงงานบังคับ (List of Produced by Child Labor or Force Labor: TVPRA List) 1.2 ด้านการป้องกัน (Prevention) จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) รง. ได้มีมาตรการห้ามเคลื่อนย้ายแรงานต่างด้าวและได้มีการห้ามนำเข้าแรงงานต่างด้าวตามระบบ MOU ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ซึ่งในปี 2564 รง.โดยกรมการจัดหางานได้ดำเนินการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในกิจการประมงและแปรรูปสัตว์น้ำ รวมทั้งสิ้น 129,248 ราย แบ่งเป็น แรงานสัญชาติเมียนมา 111,900 ราย แรงงานสัญชาติลาว 2,424 ราย แรงงานสัญชาติกัมพูชา 14,916 ราย และแรงงานสัญชาติเวียดนาม 8 ราย และจากข้อมูสสถิติแรงงานต่างด้าวในกิจการประมงและเปรรูปสัตว์น้ำได้ให้คำปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือผ่านศูนย์ร่วมบริการช่วยเหลือแรงงานต่างด้าว 2,686 ราย และส่งเสริมให้สถานประกอบการนำแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงสภาพการจ้างและสภาพการทำงานเพื่อพัฒนาไปสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องกับกฎหมาย ส่งผลให้เกิดการยกระดับคุณภาพชีวิตของลูกจ้างและสถานประกอบกิจการ 1.3 ด้านการบังคับใช้กฎหมาย (Prosecution) รง. ได้ตรวจสอบสภาพการจ้างสภาพของการทำงาน และสภาพความเป็นอยู่ของแรงงาน ณ ศูนย์ควบคุม การแจ้งเรือเข้า-ออก ในพื้นที่ 22 จังหวัดชายทะเล และการตรวจเรือประมงกลางทะเล มีเรือประมงผ่านการตรวจ 47,529 ลำ แรงงานผ่านการตรวจ 590,782 ราย และพบการกระทำความผิด 30 ลำ ในจำนวนนี้เจ้าหน้าที่ตรวจแรงงานดำเนินการออกคำสั่ง 8 ครั้ง ดำเนินคดี 24 คดี [เป็นการกระทำความผิดฐานนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างผ่านบัญชีธนาคาร 15 คดี ฐานความผิดไม่จัดทำเวลาพัก 1 คดีและความผิดฐานไม่จัดทำสัญญาจ้าง 5 คดี (ข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม-31 พฤษภาคม 2564)] รวมทั้งบูรณาการร่วมกับศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในการตรวจคุ้มครองแรงงานในเรือประมงกลางทะเลเพื่อตรวจสอบเรือประมง 431 ลำ มีแรงงานผ่านการตรวจ 5,423 ราย และพบการปฏิบัติไม่ถูกต้อง 8 ลำ 1.4 ด้านการคุ้มครองช่วยเหลือ (Protection) ดำเนินการจ่ายประโยชน์ทดแทนให้กับแรงงาน ต่างด้าวในกิจการประมงทะเล โดยผ่านกองทุนประกันสังคม 1,067 ราย จำนวน 18.63 ล้านบาท และกองทุนเงินทดแทน 249 ราย จำนวน 49.23 ล้านบาทในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เนื่องจากการทำงานในกิจการประมง 1.5 ด้านการมีส่วนร่วม (Partnership) รง. ได้ดำเนินโครงการสิทธิจากเรือสู่ฝั่ง (Ship to Shoer Rights Project) ร่วมกับสหภาพยุโรป (European Union: EU) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) เพื่อดำเนินการสำรวจข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพการทำงานและสภาพความเป็นอยู่ของแรงานประมงและแรงานแปรรูปอาหารทะเลให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 22 จังหวัดชายทะเลของไทย ทั้งนี้ จากข้อมูลการสำรวจ พบว่าสภาพการทำงานของแรงงานในอุตสาหกรรมการประมง และแปรรูปอาหารทะเลเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีเมื่อเทียบกับผลสำรวจปี พ.ศ. 2559 และได้ส่งเสริมให้ รง. สามารถให้สัตยาบันพิธีสาร ปี ค.ศ. 2014 ส่วนสริมอนุสัญญาองค์การแรงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 29 ว่าด้วยกระทรวงแรงงานบังคับ ค.ศ. 1930 และอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 188 ว่าด้วยการทำงานในภาคประมง ค.ศ. 2007 รวมทั้งส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลจังหวัดสงขลา ร่วมกับศูนย์ร่วมบริการช่วยเหลือแรงงานต่างด้าว (Stella Maris) เพื่อช่วยเหลือแรงงานประมงทะเลให้ได้รับสิทธิตามกฎหมาย ซึ่งต่อมาโครงการฯ ขยายขอบเขตการดำเนินงานครอบคลุมประเทศในภูมิภาคอาเซียนแล้ว 7 ประเทศ ได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า สาธารณรัฐฟิลิปนส์ ราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการฯ ระหว่างเดือนสิงหาคม 2563 - กรกฎาคม 2567 โดย EU เป็นหน่วยงานสนับสนุนงบประมาณสำหรับดำเนินโครงการฯ รวมทั้งร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาดำเนินโครงการ Attaining Lasting Change for Better Enforcement of Labor and Criminal Law to Address Child Labor, Forced Labor and Human Trafficking Project (ATLAS Project) เป็นการยกระดับการบังคับใช้กฎหมายแรงงาน และกฎหมายอาญาเพื่อแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็ก การใช้แรงงานบังคับ และการค้ามนุษย์ เพื่อการแลกเปลี่ยนที่ยั่งยืนโดยมีกรอบระยะเวลาดำเนินการระหว่างปี 2562-2566 ซึ่งจะได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการและงบประมาณจากกระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกา (United States Department of Labor: USDOL) จำนวน 7.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อดำเนินโครงการใน 4 ประเทศ ได้แก่ ราชอาณาจักรไทย (เป็นประเทศนำร่อง) สาธารณรัฐปารากวัย และอีก 2 ประเทศ** ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณา โดยมีองค์กรวินร็อคอินเตอร์เนชั้นแนล (Winrock International) เป็นผู้ดำเนินโครงการฯ ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ได้แก่ (1) การพัฒนากฎหมาย (2) การบังคับใช้กฎหมาย และ (3) การประสานงานที่มีประสิทธิภาพระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและคุ้มครองทางสังคมที่เกี่ยวกับแรงงานเด็ก แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ ในปี 2564 ได้มีจัดการอบรมแล้ว จำนวน 3 รุ่น และมีผู้ผ่านการอบรม 115 คน 2. รง. ได้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานในอนาคตเพื่อให้แรงงานในงานประมงได้รับการคุ้มครองสิทธิสอดคล้องตามมาตรฐานสากล เช่น การกำหนดนโยบาย งบประมาณ บุคลากร หรือแผนงานเพื่อส่งเสริมการคุ้มครองแรงงานในงานประมง ทั้งในน่านน้ำและนอกน่านน้ำให้เกิดผลในทางปฏิบัติ การกำหนดกลไกในการดำเนินงานรวมถึงวางบรรทัดฐานในการคุ้มครองแรงงานประมงทั้งแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวให้ได้รับการช่วยเหลือและได้รับประโยชน์ตามกฎหมายอย่างเท่าเทียม และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อผลักดันให้กลไกของหน่วยงานภาครัฐ สามารถป้องกันการลักลอบไปทำงานประมงในต่างประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมุ้งเน้นการดำเนินงานในเชิงรุกเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาแรงงานถูกเอารัดเอาเปรียบที่อาจนำไปสู่การค้ามนุษย์ด้านแรงงาน และการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ *รายการสถานการณ์การค้ามนุษย์ประจำปีที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาจัดทำขึ้นเป็นประจำทุกปี ตามกฎหมายว่าด้วยการปกป้องเหยื่อการค้ามนุษย์ของทั่วโลกกับมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาและจัดระดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ของประเทศต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้ 1. ระดับที่ 1 (Tier 1) หมายถึง ประเทศที่ดำเนินการสอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำตามกฎหมายของสหรัฐอเมริกาในการป้องกันและบังคับใช้กฎหมายการต่อต้านการค้ามนุษย์ 2. ระดับที่ 2 (Tier 2) หมายถึง ประเทศที่มีการดำเนินการยังไม่สอคคล้องกับกฎหมายของสหรัฐอเมริกา แต่ได้แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ 3. ระดับที่ 2 ซึ่งต้องจับตามอง (Tier 2 Watch List) หมายถึง ประเทศที่มีลักษณะคล้ายระดับที่ 2 แต่มีรายงาบถึงเหยื่อการค้ามนุษย์ที่เพิ่มขึ้น หรือไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ารัฐบาลได้พยายามต่อต้านการค้ามนุษย์ 4. ระดับที่ 3 (Tier 3) หมายถึง ประเทศที่ดำเนินการไม่สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำตามกฎหมายของสหรัฐอเมริกาและไม่มีความพยายามแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการเงินแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้เสนอรัฐสภาทราบต่อไป
กค. เสนอว่า โดยที่พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาตรา 75 วรรคสาม บัญญัติให้ กค. เสนอรายงานการเงินแผ่นดินประจำปีงบประมาณพร้อมด้วยรายงานผลการตรวจสอบของ สตง. ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอรัฐสภาภายในสองร้อยสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ จึงได้เสนอรายงานการเงินแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ตรวจสอบรับรองแล้ว (ครบกำหนดวันที่ 27 เมษายน 2566)
สาระสำคัญของรายงานฯ
1. รายงานการเงินแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐสำหรับบัญชีการเงินแผ่นดินซึ่งใช้หลักเกณฑ์คงค้างแบบผสม (Modified Accrual Basis) ยกเว้นงบกระแสเงินสดและรายงานการรับจ่ายเงินประจำปีงบประมาณใช้เกณฑ์เงินสด ประกอบด้วย
1) งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน
2) งบแสดงฐานะการเงิน
3) งบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน
4) งบกระแสเงินสด
5) รายงานการรับจ่ายเงินประจำปีงบประมาณ
6) หมายเหตุประกอบงบการเงิน
2. สาระสำคัญของรายงานการเงินแผ่นดิน
2.1 งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 และ 2564
(หน่วย:ล้านบาท)
ปีงบประมาณ พ.ศ. เพิ่ม (ลด) 2565 2564 จำนวนเงิน ร้อยละ รายได้
รายได้แผ่นดินจากหน่วยงาน (หักถอนคืนรายได้)
เงินนำส่งกำไรและเงินปันผล
รวมรายได้แผ่นดิน
รายได้อื่น รวมรายได้
2,379,978.60 150,733.09 2,530,711.69
123,917.14 2,205,738.91 160,069.85 2,365,808.76 180,672.75 174,239.69 (9,336.76) 164,902.93 (56,755.61) 7.90 (5.83) 6.97 (31.41) 2,654,628.83 2,546,481.51 108,147.32 4.25 ค่าใช้จ่าย
รายจ่ายจากเงินงบประมาณจากหน่วยงาน
ค่าใช้จ่ายอุดหนุน-หน่วยงานภาครัฐ
- เพื่อการพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ - เพื่อแก้ปัญหา COVID-19
ค่าใช้จ่ายอื่น รวมค่าใช้จ่าย รายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ 3,076,004.97
375.75
435,980.97
51,030.10
3,138,543.67
734.94
785,334.46
36,934.76
(62,538.70)
(359.19)
(349,353.49)
14,095.34
(1.99)
3,563,391.79 3,961,547.83 (398,156.04) (10.05) (908,762.96) (1,415,066.32) 506,303.36 35.78 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 108,147.32 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.25 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายได้จากภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและอื่น ๆ และรัฐบาลมีค่าใช้จ่ายลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 398,156.04 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.05 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินอุดหนุนเพื่อการก่อสร้างทางสายหลักระยะที่ 2 (ADB) และค่าใช้จ่ายอุดหนุนเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แต่อย่างไรก็ตาม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รัฐบาลมีรายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายสุทธิจำนวน 506,303.36 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35.78 ซึ่งเกิดจากการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่มีรายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่าย
2.2 งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 และ 2564
(หน่วย : ล้านบาท)
ปีงบประมาณ พ.ศ. เพิ่ม (ลด) 2565 2564 จำนวนเงิน ร้อยละ สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 779,746.89 7,513,750.89 829,996.47 7,494,345.65 (50,249.58) 19,405.24 (6.05) 0.26 รวมสินทรัพย์ 8,293,497.78 8,324,342.12 (30,844.34) (0.37) หนี้สิน
หนี้สินหมุนเวียน
หนี้สินไม่หมุนเวียน 1,822,787.20 7,954,172.03 1,633,936.07 7,286,112.93 188,851.13 668,059.10 11.56 9.17
รวมหนี้สิน 9,776,959.23 8,920,049.00 856,910.23 9.61
ทุน
รายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายสะสม
กำไร/ขาดทุนที่ยังไม่เกิดจากเงินลงทุนสุทธิ 4,264,479.37 (5,796,697.93) 48,739.11 4,231,474.49 (4,888,772.70) 61,591.33 33,022.88 (907,925.23) (12,852.22) 0.78 (18.57) (20.87) รวมสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน (1,483,461.45) (595,706.88) (887,754.57) (149.03) รวมหนี้สินและสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน 8,293,497.78 8,324,342.12 (30,844.34) (0.37)
รัฐบาลมีสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน ณ วันสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ลดลงจำนวน 1,483,461.45 ล้านบาท สินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุนลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 887,754.57 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 149.03 ซึ่งเป็นผลจากมีการปรับปรุงทุนของหน่วยงานจากการตีราคาเพิ่มขึ้นของมูลค่าที่ดินราชพัสดุโดยกรมธนารักษ์ การดำเนินงานประจำปีที่มีรายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายและการปรับปรุงรายได้และค่าใช้จ่ายของปีก่อนเข้าบัญชีรายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายสะสม และการปรับมูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดระยะยาวลดลงตามมูลค่ายุติธรรม
2.3 งบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 และ 2564
(หน่วย : ล้านบาท)
รายการเคลื่อนไหว ปีงบประมาณ พ.ศ. เพิ่ม (ลด) 2565 2564 จำนวนเงิน ร้อยละ สินทรัพย์สุทธิ ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 ก่อนปรับปรุง (595,706.88) 517,640.03 (1,113,346.91) (215.08) ปรับปรุงรายได้และค่าใช้จ่ายของปีก่อน 837.73 (3,301.61) 4,139.34 125.37 ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 หลังปรับปรุง (594,869.15) 514,338.42 (1,109,207.57) (215.66) การเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน สำหรับปี 2565 ส่วนเกินทุนจากการปรับมูลค่าที่ดินราชพัสดุ 33,022.88 221,866.60 (188,843.72) (85.12) ผลจากการดำเนินงานประจำปีที่มีรายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่าย กำไรขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากเงินลงทุนสุทธิ (908,762.96) (12,852.22) (1,415,066.32) 83,154.42 506,303.36 (96,006.64) 35.78 (115.46) สินทรัทย์สุทธิ ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 (1,483,461.45) (595,706.88) (887,754.57) (149.03)
2.4 งบกระแสเงินสด สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 และ 2564 (หน่วย : ล้านบาท)
ปีงบประมาณ พ.ศ. เพิ่ม (ลด) 2565 2564 จำนวนเงิน ร้อยละ กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
เงินสดรับ
เงินสดจ่าย กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน 3,760,951.63 4,192,358.69 3,907,954.77 4,465,442.40 (147,003.44) (273,083.71) (3.76) (6.12)
(431,407.36) (557,487.63) 126,080.27 22.62 เงินสดรับ เงินสดจ่าย 29.07 2,231.33 1,854.79 5,760.30 (1,852.72) (3,528.97) (98.43) (61.26) กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมลงทุน (2,202.26) (3,905.51) 1,703.25 43.61 กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน เงินสดรับ เงินสดจ่าย กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมจัดหาเงิน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น (ลดลง) สุทธิ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด คงเหลือ ณ วันต้นงวด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด คงเหลือ ณ วันปลายงวด 2,447,896.76 2,003,297.97 2,392,304.54 1,820,236.73 55,592.22 183,061.24 2.32 10.06 444,598.79 572,067.81 (127,469.02) (22.28)
10,989.17
10,674.67 314.50
2.95
622,056.00 611,381.33 10,674.67 1.75 633,045.17 622,056.00 10,989.17 1.77
2.5 รายงานการรับจ่ายเงินประจำปีงบประมาณ สำหรับปีสิ้นสุด วันที่ 30 กันยายน 2565 และ 2564 (หน่วย : ล้านบาท)
ปีงบประมาณ พ.ศ. เพิ่ม (ลด) 2565 2564 จำนวนเงิน ร้อยละ รายรับ
1. รายได้แผ่นดิน
2. เงินกู้
3. เงินนอกงบประมาณ 2,639,865.15 652,552.56 943,294.88 2,502,531.09 734,703.39 1,294,210.89 137,334.06 (82,150.83) (350,916.01) 5.49 (11.18) (27.11)
รวมรายรับ 4,235,712.59 4,531,445.37 (295,732.78) (6.53) รายจ่าย
4. รายจ่ายเงินในงบประมาณ
5. รายจ่ายเงินนอกงบประมาณ 2,871,529.05 1,328,910.70 2,889,127.20 1,625,675.86 (17,598.15) (296,765.16) (0.61) (18.25)
รวมรายจ่าย 4,200,439.75 4,514,803.06 (314,363.31) (6.96) รายรับสูงกว่ารายจ่าย 35,272.84 16,642.31 18,630.53 111.95
2.6 ผลการวิเคราะห์
รัฐบาลมีรายได้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คิดเป็นร้อยละ 4.25 มีค่าใช้จ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คิดเป็นร้อยละ 10.05 และผลการดำเนินงานทางการเงินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รัฐบาลมีรายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่าย แต่ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คิดเป็นร้อยละ 35.78 อย่างไรก็ดี รัฐบาลยังสามารถดำเนินงานอย่างต่อเนื่องได้ (Going Concern) เนื่องจากมีแนวโน้มในการจัดเก็บรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นภายหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คลี่คลาย มีการผลักดันการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้อย่างต่อเนื่องด้วยการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ ดำเนินการบริหารเงินคงคลังให้มีเพียงพอต่อการเบิกจ่ายเงินของหน่วยงานของรัฐในแต่ละช่วงเวลา บริหารที่ราชพัสดุให้เกิดความคุ้มค่า เหมาะสมกับศักยภาพที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด บริหารเงินลงทุนโดยมีการประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจอย่างต่อเนื่องโดยให้ความสำคัญกับการพิจารณาการลงทุนให้ครอบคลุมจากทุกแหล่งเงิน และบริหารหนี้สินโดยการวางแผนการชำระหนี้ให้เหมาะสมกับการบริหารสภาพคล่องหรือฐานะการคลังของแผ่นดินโดยไม่เป็นภาระการคลังในระยะยาว 6. เรื่อง รายงานประจำปี 2565 ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและผลการสอบบัญชี สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ ดังนี้
1. รับทราบรายงานประจำปี 2565 ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ และให้เสนอ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อทราบต่อไป
2. รับทราบผลการสอบบัญชี สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
1. รายงานประจำปี 2565 ของ สกพอ.
สกพอ. ได้จัดทำรายงานประจำปี 2565 โดยมีผลงานที่สำคัญ ดังนี้
ประเด็น การดำเนินการ 1. โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ (EEC Project List) โดยมีโครงการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการแล้ว รวม 5 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 2) โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก 3) โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ท่าเทียบเรือ F 4) โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3 และ 5) โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (Maintenance Repair and Overhaul : MRO) ? โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มีความก้าวหน้าของโครงการ เช่น มีการส่งมอบพื้นที่โครงการให้เอกชนตามคู่สัญญาดำเนินการ มีการออกแบบและก่อสร้างโครงการพื้นฐานเกี่ยวกับโครงการก่อนวันที่เริ่มต้นนับระยะเวลาโครงการ (เช่น งานก่อสร้างถนนและสะพานชั่วคราว งานก่อสร้างสำนักงานสนามและบ้านพักคนงาน) และการช่วยเหลือและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาโครงการ ? โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก มีความก้าวหน้าของโครงการ เช่น มีการก่อสร้างทางวิ่งและทางขับที่ 2 และทางขับที่เกี่ยวข้อง มีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่โครงการ (เช่น ระบบไฟฟ้าและน้ำเย็น ระบบประปาและบำบัดน้ำเสีย และระบบน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน) และมีการชดเชยและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาโครงการ ? โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ท่าเทียบเรือ F มีความก้าวหน้าของโครงการ เช่น มีการถมทะเล มีการสร้างอาคารท่าเทียบเรือชายฝั่งและมีการชดเชยและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาโครงการ ? โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 มีความก้าวหน้าของโครงการ เช่น มีการก่อสร้างเขื่อนกันทรายในงานถมทะเล และมีการชดเชยและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาโครงการ ? โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (MRO) มีการชะลอโครงการ เนื่องจาก การบินไทยอยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ และมีสถานะเป็นเอกชนจึงไม่สามารถดำเนินโครงการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชนได้ 2. เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เป็นพื้นที่ดึงดูดการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายภายใน EEC โดยมี 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ และ 2) เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการอุตสาหกรรม ? เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ มีการจัดตั้งไปแล้ว 7 เขต รวมพื้นที่ประมาณ 18,314 ไร่ เช่น เขตส่งเสริมเมืองการบินภาคตะวันออก (EECa) เขตส่งเสริมรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (EECh) เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) และเขตส่งเสริมนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ? เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการอุตสาหกรรม มีการประกาศจัดตั้งแล้ว รวม 28 เขต รวมพื้นที่ประมาณ 96,892.42 ไร่ เช่น นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์น ซีบอร์ด 4 จังหวัดระยอง นิคมอุตสาหกรรม ทีเอฟ ดี 2 นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย คลีน นิคมอุตสาหกรรมโรจนะแหลมฉบัง และนิคมอุตสาหกรรมโรจนะหนองใหญ่ ทั้งนี้ นิคมอุตสาหกรรมทุกแห่งได้ผ่านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเรียบร้อยแล้ว 3. แผนผังการพัฒนาพื้นที่ EEC โดยแบ่งประเภทการใช้ที่ดินออกเป็น 4 กลุ่มตามการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ 1) พื้นที่พัฒนาเมืองและชุมชน 2) พื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรม 3) พื้นที่พัฒนาเกษตรกรรม และ 4) พื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ? กรมโยธาธิการและผังเมือง อยู่ระหว่างการจัดทำผังเมืองรวม ระดับอำเภอ รวม 30 อำเภอ ในพื้นที่ EEC โดยคาดว่าจะประกาศบังคับใช้ได้ทั้งหมดภายในปี 2567 โดยมีความก้าวหน้า เช่น มีการสำรวจ กำหนดเขตผังเมืองและวิเคราะห์จัดทำร่างผังเมือง จำนวน 17 ผัง 4. ความก้าวหน้าโครงการ EECi และ EECd ดำเนินการโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เพื่อเป็นพื้นที่ต้นแบบการนำนวัตกรรมผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และเพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนาด้านดิจิทัลและเป็นเมืองอัจฉริยะต้นแบบ ? โครงการ EECi มีความก้าวหน้าในการพัฒนาพื้นที่ของ EECi เช่น มีการก่อสร้างกลุ่มอาคาร เพื่อรองรับการพัฒนานวัตกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการตกแต่งพื้นที่ส่วนกลางและปรับภูมิทัศน์โดยรอบ ติดตั้งแพลตฟอร์มไอโอทีและระบบวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรมในโรงงานอุตสาหกรรมนำร่อง และจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยทดสอบประสิทธิภาพมอเตอร์ไฟฟ้าที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO 17025 ? โครงการ EECd มีการจัดโซน (Zoning) เพิ่มพื้นที่สำหรับกิจกรรมเชิงพาณิชย์และพิจารณาการวางรูปแบบแผนผังการดำเนินการในพื้นที่เป็นระยะ (Phasing) เพื่อสร้างจุดสมดุลระหว่างความจำเป็นในการใช้พื้นที่และการพัฒนา โดยแบ่งพื้นที่โครงการออกเป็น 5 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 0 ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่อยู่ในพื้นที่ EECd ระยะที่ 1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค ระยะที่ 2 พัฒนาพื้นที่เพื่อการดำเนินการด้านธุรกิจเชิงพาณิชย์ ระยะที่ 3 พัฒนาพื้นที่เพื่อกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และระยะที่ 4 พัฒนาพื้นที่เพื่อธุรกิจเชิงพาณิชย์เพิ่มเติม 5. การให้บริการศูนย์บริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (EEC - OSS) เป็นการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จในพื้นที่ EEC รวม 44 งานบริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การขอขยายกิจการ และการต่ออายุใบอนุญาต ? ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (EEC - OSS) มีความก้าวหน้าในการดำเนินงาน เช่น มีการดำเนินงานร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดให้หน่วยงานในพื้นที่เป็นพื้นที่นำร่องในการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร (Digital Government) และร่วมกันพัฒนางานให้บริการที่เกี่ยวเนื่องในรูปแบบ e-Service เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุน ผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ 6. การชักจูงการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ เพื่อสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศ ? EEC มีการปรับแผนการชักจูงการลงทุนใหม่ โดยมุ่งเน้น 4 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 1 แนวคิด ได้แก่ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมดิจิทัล และแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (Circular Economy) ? สกพอ. มีการดำเนินกิจกรรมเพื่อชักจูงนักลงทุนเป้าหมายจากประเทศต่าง ๆ ให้เข้ามาลงทุนจำนวน 19 ประเทศทั่วโลก และ 1 องค์กรระหว่างประเทศ เช่น สหราชอาณจักร สาธารณรัฐฝรั่งเศส ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย (JFCCT) 7. การประชาสัมพันธ์และการสร้างการมีส่วนร่วมในพื้นที่ ? มีการสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชนพื้นที่ในด้านนโยบาย และความก้าวหน้าของการพัฒนาพื้นที่ รวมทั้งขยายผลการสื่อสารผ่านกลุ่มเครือข่ายสำคัญในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านกิจกรรม เช่น การจัดสัมมนา การจัดค่ายพัฒนาศักยภาพเยาวชน และการจัดค่ายฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ 8. แผนงานบูรณาการ EEC ? สกพอ. มีการดำเนินงานร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ขับเคลื่อนแผนบูรณการฯ โดยให้ความสำคัญกับการสานต่อโครงการร่วมทุนภาครัฐและเอกชน (EEC Project List) และการพัฒนากำลังคนให้ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมยกระดับคุณภาพระบบสาธารณสุขให้ได้มาตรฐานสากล เพียงพอต่อการให้บริการควบคู่ไปกับการขยายตัวของเมืองและการพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ 9. ความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนและมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา EEC ? สกพอ. ร่วมลงนาม MOU ร่วมกับภาคเอกชนเพื่อพัฒนาทักษะบุคลากรเพื่อส่งเสริมประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และ5G แก่ภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC ? สกพอ. ร่วมกับสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และมหาวิทยาลัยบูรพาจัดทำโครงการสนับสนุนพัฒนายาจากสารสกัดพืชสมุนไพรที่ได้รับการส่งเสริมการปลูกในพื้นที่ EEC เช่น ฟ้าทะลายโจร ? คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้เห็นชอบแผนการพัฒนาแหล่งน้ำรองรับ EEC ปี 2563 -2580 ประกอบด้วย 38 โครงการ ซึ่งจะทำให้มีความเพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำถึงปี 2580 ? สกพอ. ร่วมกับเมืองพัทยาขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ตลาดลานโพธิ์นาเกลือเป็นโครงการนำร่องตามแนวทาง NEO PATTAYA ภายใต้แนวคิด ?พัทยาโฉมใหม่ใส่ใจไม่ทิ้งกัน? เพื่อเป็นต้นแบบอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 10. กองทุนพัฒนา EEC จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ EEC พ.ศ. 2561 เพื่อเป็นกองทุนสนับสนุนพัฒนาพื้นที่ ชุมชน และประชาชนที่อยู่ภายในหรือที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนา EEC ? กองทุนพัฒนา EEC มีการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น โครงการบัณฑิตอาสาต้นแบบ โครงการยกระดับการผลิตทุเรียนพรีเมี่ยมด้วยนวัตกรรมอย่างยั่งยืนและโครงการหลักสูตรวุฒิบัตรการพัฒนาความสามารถผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีการจัดอบรมไปแล้ว 2 รุ่น 11. ระเบียบ/ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา EEC ? คณะอนุกรรมการด้านกฎหมายได้พิจารณากลั่นกรองความเห็นเกี่ยวกับร่างกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา EEC แล้วเสร็จและมีผลบังคับใช้แล้ว รวม 10 ฉบับ
2. ผลการสอบบัญชี สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565
2.1 งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 หน่วย : ล้านบาท
รายการ ปี 2565 ปี 2564 สินทรัพย์ 859.02 957.74 สินทรัพย์หมุนเวียน (เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ลูกหนี้ระยะสั้น วัสดุคงเหลือ และสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น) 744.29 873.97 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (ส่วนปรับปรุงอาคารและอุปกรณ์และสินทรัพย์ไม่มีตัวตน) 114.72 83.77 หนี้สิน 75.63 66.11 หนี้สินหมุนเวียน (เจ้าหนี้ระยะสั้น - บุคคลภายนอก ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เงินประกันสัญญาและเงินประกันผลงาน และหนี้สินหมุนเวียนอื่น) 61.03 46.95 หนี้สิ้นไม่หมุนเวียน (ผลประโยชน์พนักงานและเงินชดเชยการเลิกจ้าง) 14.60 19.16 สินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน 783.38 891.63
2.2 งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 หน่วย : ล้านบาท
รายการ ปี 2565 ปี 2564 รายได้ (เงินงบประมาณ การดำเนินงาน เงินกู้ตาม พ.ร.ก. กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาจากการระบาดไวรัส 2019 และรายได้อื่น ๆ) 493.96 666.48 ค่าใช้จ่าย (บุคลากร การดำเนินงาน เงินงบประมาณ - เงินกู้ตาม พ.ร.ก. กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาจากการระบาดไวรัสโคโรนา 2019 และค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย) 602.21 647.26 รายได้สูง (ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ (108.24)1 19.22
1 ค่าใช้จ่ายที่สูงกว่ารายได้ เป็นภาระผูกพันที่สะสมมาจากการเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่ไม่ตรงตามปีงบประมาณ เช่น ใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้าง และสัญญาต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ในภาพรวม สกพอ. มีการเร่งรัดผลการดำเนินงานได้ดีขึ้น 7. เรื่อง รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กองทุนยุติธรรม คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอรายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กองทุนยุติธรรม (กองทุนฯ) (เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2558 มาตรา 37 ที่บัญญัติให้กองทุนฯ จัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี) สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1. ความสำเร็จของการดำเนินงานตามมาตรฐานระยะเวลางานบริการของกองทุนฯ มีประชาชนเข้ารับบริการของกองทุนฯ จำนวน 4,463 ราย สามารถดำเนินการแล้วเสร็จทั้งสิ้น 4,207 ราย และได้ดำเนินการแล้วเสร็จภายในมาตรฐานระยะเวลางานบริการ1 จำนวน 4,047 ราย คิดเป็นร้อยละ 96.20 2. ความสำเร็จของการอนุมัติวงเงินช่วยเหลือประชาชน กองทุนฯ ให้ความช่วยเหลือประชาชน จำนวน 2,548 ราย เป็นเงินจำนวน 293.412 ล้านบาท ดังนี้ ภารกิจ อนุมัติ (งาน) จำนวนเงิน (ล้านบาท) 1) การช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี 1,814 33.32 2) การขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย 612 151.01 3) การช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน 2 0.31 4) การให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน 120 12.08 รวม 2,548 196.73 3. ผลการดำเนินงานที่สำคัญตามภารกิจของกองทุนฯ สรุปได้ ดังนี้ ภารกิจ ผลการดำเนินงาน 1) การช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี (จำนวน 3 กรณี) 1.1) ยายพิการร้องกองทุนฯให้ช่วยเปิดทางเข้าออกไปหาหมอ ให้ความช่วยเหลือชาวบ้านรายหนึ่ง เนื่องจากถูกปิดทางเข้า - ออก ทำให้ไม่สามารถสัญจรได้ ซึ่งที่ดินที่ได้พักอาศัยอยู่เป็นที่ดินตาบอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 คณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัด จึงให้ทนายความกองทุนฯ ประจำจังหวัดปราจีนบุรียื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดปราจีนบุรี กรณีขอเปิดทางจำเป็น ซึ่งศาลจังหวัดปราจีนบุรีมีคำพิพากษาตามยอม ตามสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจำเลยได้ตกลงยินยอมให้โจทก์เดินผ่านที่ดิน โดยเป็นทางเดินกว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร ให้ใช้เป็นทางเดินร่วมกันเป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะ และไม่เป็นสิทธิของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง 1.2) ชาวบ้านถูกโกงเงินจากคนในกลุ่มสะสมทรัพย์บ้านคลองคราม ให้ความช่วยเหลือค่าทนายความแก่ชาวบ้านอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี รวม 45 ราย จำนวน 79,000 บาท ในการฟ้องเรียกเงินคืนจากคณะกรรมการกลุ่มสะสมทรัพย์บ้านคลองคราม กรณีสมาชิกกลุ่มสะสมทรัพย์บ้านคลองครามไม่ได้รับเงินปันผลและไม่สามารถถอนเงินออมได้ เนื่องจากมีคณะกรรมการฯ ไม่นำเงินฝากของสมาชิกฯ ฝากเข้าบัญชีกลุ่มสะสมทรัพย์บ้านคลองครามและมีคณะกรรมการฯ ได้ปลอมแปลงสมุดประจำตัวสมาชิกแล้วนำไปใช้ในการกู้เงินของกลุ่มฯ จึงเป็นสาเหตุทำให้กลุ่มออมทรัพย์ฯ ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ 1.3) ชาวบ้านถูกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าทอมัดหมี่ศรีเพชร เอาเปรียบเกือบสูญบ้านและที่ดิน ให้ความช่วยเหลือเงินกองทุนฯ กับชาวบ้านรายหนึ่ง อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อทำการฟ้องไล่เบี้ยกับประธานและกรรมการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าทอดมัดหมี่ศรีเพชร กรณีวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าทอมัดหมี่ศรีเพชรได้กู้ยืมเงินธนาคารออมสินวงเงิน 1 ล้านบาท แต่ไม่สามารถชำระเงินภายในระยะเวลาที่กำหนดได้ ซึ่งต่อมาธนาคารออมสินได้ฟ้องวิสาหกิจชุมชนกลุ่มดังกล่าว และในชั้นบังคับคดีได้มีการประกาศขายที่ดินของกรรมการวิสาหกิจชุมชน ซึ่งที่ดินของชาวบ้านรายหนึ่งถูกประกาศขายทอดตลาดเพียงผู้เดียว ซึ่งเป็นการผิดให้สัตยาบันในสัญญาการปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคารออมสิน เนื่องจากทุกคนเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ยืม 2) การขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย (จำนวน 2 กรณี) 2.1) กรณีถูกกล่าวหาแทงสามีเสียชีวิต อนุมัติคำขอรับความช่วยเหลือชาวบ้านรายหนึ่ง เพื่อเป็นหลักประกันในการปล่อยตัวชั่วคราวในศาลชั้นต้น จำนวน 500,000 บาท กรณีถูกฟ้องในข้าหาฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ทั้งนี้ ผู้ขอรับความช่วยเหลือมีพยานยืนยันสถานที่อยู่ได้อย่างชัดเจนและให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ประกอบกับผู้ขอรับความช่วยเหลือเป็นผู้มีรายได้น้อยและไม่มีความสามารถในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ด้วยตัวเอง 2.2) กรณีโดนสวมรอยใช้บัญชีม้าขายสินค้าออนไลน์ อนุมัติหลักประกันในการปล่อยตัวชั่วคราว แก่ผู้ขอรับความช่วยเหลือ กรณีความผิดฐานฉ้อโกงและนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าจะทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียแก่ผู้อื่นหรือประชาชน วงเงินหลักประกันตัว 50,000 บาท เนื่องจากผู้ขอรับความช่วยเหลือ มีฐานะยากจนไม่มีความสามารถในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ประกอบกับผู้ร้องขอมีบุคคลรับรองความประพฤติไม่เคยมีประวัติการกระทำความผิด ไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนี หรือไปก่อเหตุร้ายประการอื่น และมีเหตุอันน่าเชื่อถือว่า อาจมีบุคคลอื่นนำบัญชีธนาคารและบัตรกดเงินสดของผู้ร้องไปใช้ในการกระทำความผิด 3) การช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน (จำนวน 1 กรณี) ผู้บริสุทธิ์ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนได้กองทุนฯ เข้าช่วยเหลือ ช่วยเหลือค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติให้แก่ผู้ขอความช่วยเหลือ 71 วัน 58,575 บาท เนื่องจากมีคำพิพากษายกฟ้องคดีอาญา ในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่น และความผิดฐานร่วมกันพกพาอาวุธปืนฯ ไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะและความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลงิและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 ทั้งนี้ สำนักงานกองทุนฯ ได้พัฒนานวัตกรรม ได้แก่ (1) การยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยด้วยหนังสือรับรองแทนการชำระเงินกองทุนฯ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (2) การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและผู้ปฏิบัติงานด้านกองทุนฯ ผ่านระบบ Learning Management System: LMS และ (3) การเชื่อมบริการกองทุนฯ กับแอปพลิเคชันทางรัฐ 4. การประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน โดยมีการประเมินผลการดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงของกองทุนฯ ประจำปีบัญชี 2565 โดยมีการประเมินผล 6 ด้าน คะแนนเต็ม 5 คะแนน ดังนี้ 4.1 การเงิน (ร้อยละ 15) : ระดับคะแนนอยู่ในเกณฑ์ระดับ 5.0000 โดยกองทุนฯ มีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการรวม 53.43 ล้านบาท และจำนวนเงินที่ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับอนุมัติ 196.73 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการต่อวงเงินช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับอนุมัติ เท่ากับร้อยละ 27.1 และมียอดหนี้ที่ต้องได้รับการชำระคืนทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน 167 คำขอ เป็นเงินจำนวน 39.63 ล้านบาท โดยสามารถติดตามเงินคืนได้ จำนวน 36.05 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 90.98 4.2 การสนองประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ร้อยละ 15) : ระดับคะแนนอยู่ในเกณฑ์ระดับ 4.3333 เมื่อเทียบกับปีบัญชี 2564 มีคะแนนลดลง 0.6667 คะแนน โดยระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบของกองทุนหมุนเวียนอยู่ระหว่างพัฒนาต่อยอดให้สามารถใช้ประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น และมีผลสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการส่วนกลางอยู่ที่ร้อยละ 95.93 และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการส่วนภูมิภาค อยู่ที่ร้อยละ 98.38 4.3 การปฏิบัติการ (ร้อยละ 35) : ระดับคะแนนอยู่ในเกณฑ์ระดับ 4.9443 เมื่อเทียบกับปีบัญชี 2564 มีคะแนนเพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.0460 คะแนน โดยในปีบัญชี 2565 กองทุนฯ มีการดำเนินงานตามมาตรฐานระยะเวลางานบริการของกองทุนฯ ได้แล้วเสร็จภายใน 21 วัน ส่วนกลางอยู่ที่ร้อยละ 98.00 และส่วนภูมิภาคอยู่ที่ร้อยละ 95.93 และสามารถดำเนินการขับเคลื่อนการให้บริการแบบ e-service ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด 4.4 การบริหารจัดการทุนหมุนเวียน (ร้อยละ 15) : ระดับคะแนนอยู่ในเกณฑ์ระดับ 4.9600 เมื่อเทียบกับปีบัญชี 2564 มีคะแนนเพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.0433 คะแนน โดยในปีบัญชี 2565 กองทุนฯ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในได้ตามเป้าหมาย 4.5 การปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหาร ผู้บริหารทุนหมุนเวียน พนักงาน และลูกจ้าง (ร้อยละ 10) : ระดับคะแนนอยู่ในเกณฑ์ระดับ 4.8000 เมื่อเทียบกับปีบัญชี 2564 มีคะแนนลดลง 0.2000 คะแนน ซึ่งคะแนนด้านนี้แปรผันตามความสามารถในการกำกับ ติดตาม การดำเนินงานกองทุนฯ ทั้งนี้ ตัวชี้วัดย่อยด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลมีผลการประเมินดีขึ้น เนื่องจากกองทุนฯ สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรได้ตามเป้าหมาย พร้อมมีนวัตกรรมในการดำเนินงานเป็นรูปธรรม 4.6 การดำเนินงานตามนโยบายรัฐ/กระทรวงการคลัง (ร้อยละ 10) : ระดับคะแนนอยู่ในเกณฑ์ระดับ 4.7925 เมื่อเทียบกับปีบัญชี 2564 มีคะแนนลดลงเท่ากับ 0.0634 คะแนน โดยกองทุนฯ มีการใช้จ่ายงบลงทุนเทียบกับแผนการใช้จ่ายงบลงทุนประจำปีคิดเป็นร้อยละ 100 และการใช้จ่ายภาพรวมเทียบกับแผนการใช้จ่ายภาพรวมประจำปีคิดเป็นร้อยละ 97.51 และสามารถดำเนินการจ่ายเงินและการรับเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ครบถ้วนทุกกิจกรรม ทั้งนี้ การประเมินผลการดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงของกองทุนฯ มีคะนนเฉลี่ยรวม 4.83 คะแนน 5. รายงานการเงินของกองทุนฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 25653 5.1 งบแสดงฐานะการเงิน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 หน่วย : ล้านบาท รายการ ปี 2565 ปี 2564 เพิ่ม/ลด 1) สินทรัพย์ - รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 871.49 943.38 (71.89) - รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 6.62 10.09 (3.47) รวมสินทรัพย์ 878.11 953.47 (75.36) 2) หนี้สิน 1.11 1.18 (0.07) 3) สินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน 876.10 952.29 (76.19) 5.2 งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 หน่วย : ล้านบาท รายการ ปี 2565 ปี 2564 เพิ่ม/ลด 1) รวมรายได้ 21.20 152.99 (131.79) 2) รวมค่าใช้จ่าย 96.49 90.02 6.47 รายได้สูง/(ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ (75.29) 62.97 (138.26) 1 ภายใน 21 วัน ซึ่งเป็นมาตรฐานระยะเวลาที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการและกรมบัญชีกลาง 2 กองทุนฯ ได้ออกหนังสือรับรองการชำระเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ 96.68 ล้านบาท รวมเป็นยอดการอนุมัติวงเงินช่วยเหลือตามภารกิจทั้งสิ้น 293.41 ล้านบาท 3 การจัดสรรงบประมาณของกองทุนฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีความแตกต่างกัน เนื่องจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กองทุนฯ ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลและได้นำเงินจัดสรรไปใช้จ่ายตามภารกิจของกองทุนฯ โดยหนึ่งในภารกิจหลัก คือ นำเงินที่ได้รับการจัดสรรไปช่วยเหลือประชาชนด้านกระบวนการยุติธรรม แต่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กองทุนฯ ได้รับการจัดสรรงบประมาณลดลงกองทุนฯ จึงออกมาตรการออกหนังสือรับรองการชำระเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แทนการเบิกจ่ายเงินสดเพื่อนำไปช่วยเหลือประชาชนด้านกระบวนการยุติธรรม ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นการช่วยลดงบประมาณภาระค่าใช้จ่ายของภาครัฐ 8. เรื่อง รายงานสรุปผลการพิจารณาในภาพรวมต่อข้อเสนอแนะมาตรการการคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพและสิทธิเด็กในสถานการณ์การใช้กัญชาในประเทศไทย คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลสรุปการพิจารณาในภาพรวมต่อข้อเสนอแนะมาตรการการคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพและสิทธิเด็กในสถานการณ์การใช้กัญชาในประเทศไทยของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป เรื่องเดิม 1. กสม. ได้พิจารณาถึงผลกระทบของการประกาศให้กัญชา กัญชง ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษต่อสิทธิด้านสุขภาพของประชาชนและสิทธิเด็ก นับแต่ที่ได้มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติดในปี 2564 และต่อมา สธ. ได้ออกประกาศ เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 กสม. พบว่า มีรายงานการใช้กัญชานอกเหนือจากการใช้ทางการแพทย์ และรายงานผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกี่ยวเนื่องจากการใช้กัญชาออกมาเป็นระยะ โดยเฉพาะในเด็กและเยาวชน สตรีตั้งครรภ์ บุคคลที่มีโรคประจำตัวบางโรค และผู้บริโภคทั่วไป รวมถึงผลกระทบในด้านอื่น ๆ 2. กสม. พิจารณาแล้วเห็นว่า ประกาศ สธ. ตามข้อ 1 ที่ทำให้ทุกส่วนของกัญชา กัญชง ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ยกเว้นสารสกัดที่มีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล เกินร้อยละ 0.2 ซึ่งประชาชนสามารถเข้าถึงการบริโภคกัญชาได้อย่างแพร่หลาย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้กำหนดมาตรการและออกกฎหมายลำดับรองเพื่อคุ้มครองสุขภาพของประชาชนจากการใช้กัญชาหลายฉบับ แต่มาตรการส่วนใหญ่ไม่มีกลไกบังคับใช้ที่ชัดเจนและยังไม่ครอบคลุมเพียงพอที่จะสามารถป้องกันผลกระทบจากการใช้หรือการบริโภคกัญชาหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชาได้อย่างมีประสิทธิผล นอกจากนี้ จากการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การใช้กัญชา ปรากฏรายงานผลกระทบจากการใช้กัญชาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการขาดความรู้ความเข้าใจและการได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องเพียงพอต่อการใช้กัญชาอย่างปลอดภัย กสม. จึงเห็นว่า การประกาศให้กัญชา กัญชง ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษ และการที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและบริโภคกัญชา อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ผู้บริโภค รวมถึงเด็กและเยาวชนประกอบกับมาตรการในการคุ้มครองสุขภาพยังไม่ครอบคลุมเพียงพอที่จะสามารถป้องกันผลกระทบจากการใช้หรือการบริโภคกัญชา กัญชง หรือผลิตภัณฑ์ที่ส่วนผสมของกัญชา กัญชง ได้อย่างมีประสิทธิผล ดังนั้น กสม. ได้มีข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนรวมทั้งข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนต่อคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งมอบหมายให้ สธ. เป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยให้ สธ. สรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง สธ. รายงานว่า ได้ประชุมหารือร่วมกับ อว. กษ. คค. มท. ยธ. ศธ. และ ตช. แล้ว เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2566 ซึ่งมีผลการพิจารณาสรุปในภาพรวมได้ ดังนี้ ข้อเสนอแนะของ กสม. สรุปผลการพิจารณาในภาพรวม 1. ข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 1.1 คณะรัฐมนตรีควรมอบหมายให้ สธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาบังคับใช้มาตรการคุ้มครองสุขภาพตามประกาศต่าง ๆ เช่น การปกป้องคุ้มครองเด็ก เยาวชน สตรีตั้งครรภ์ หรืออยู่ระหว่างให้นมบุตร และบุคคลที่มีความเปราะบางด้านสุขภาพ การควบคุมการผลิตและจำหน่ายหรือใช้กัญชา กัญชง ที่ไม่ใช่ทางการแพทย์อย่างเคร่งครัด ทั้งปริมาณกัญชา กัญชงที่ใช้ในอาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ การควบคุมลักษณะบรรจุภัณฑ์และฉลากต้องไม่มีลักษณะจูงใจเด็กและเยาวชนในการบริโภค ผลิตภัณฑ์ต้องให้ข้อมูลส่วนผสมของกัญชา กัญชง การมีคำเตือนด้านสุขภาพ การควบคุมการขาย การวางจำหน่าย และการโฆษณา เป็นต้น - สธ. มีกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) และกฎหมายลำดับรองที่ออกมาเพื่อรองรับในส่วนของการปกป้องคุ้มครองเด็ก เยาวชน สตรีตั้งครรภ์ หรืออยู่ระหว่างให้นมบุตร การควบคุมการผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์กัญชา กัญชง ที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์โดยเฉพาะช่อดอกอย่างเคร่งครัดรวมถึงการควบคุมการใช้กัญชา กัญชงในอาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ การควบคุมลักษณะบรรจุภัณฑ์ และฉลากต้องไม่มีลักษณะจูงใจเด็กและเยาวชน ซึ่งในกฎหมายลำดับรองที่อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการโฆษณา ข้อกำหนดฉลาก ข้อกำหนดบรรจุภัณฑ์เพื่อเตือนเด็กและเยาวชน รวมถึงกลุ่มเปราะบางโดยกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ประกาศ สธ. ประกาศกรมอนามัยและคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข 1.2 คณะรัฐมนตรีควรมอบหมายให้ สธ. อว. ศธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาดำเนินการพัฒนาองค์ความรู้ เครื่องมือ และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้กัญชา กัญชง เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ ? สธ. ได้พัฒนาองค์ความรู้ เครื่องมือ และสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบุคลากรโดยการจัดอบรม และผลิตสื่อความรู้ต่าง ๆ เพื่อให้เข้าถึงประชาชนทุกกลุ่มวัย โดยกรมต่าง ๆ ? อว. มีประกาศเรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกัญชาหรือกัญชงในสถาบันอุดมศึกษา ส่วนราชการ หน่วยงานในสังกัด และในกำกับของ อว. ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2565 ในส่วนการพัฒนาองค์ความรู้ เครื่องมือสถาบันอุดมศึกษาได้ตระหนักและพัฒนาจัดหาเครื่องมือที่สามารถตรวจสารสำคัญกัญชา รวมถึงมีหลักสูตรการเรียนการสอนด้านกัญชา ? ศธ. ได้พัฒนาองค์ความรู้ เครื่องมือ และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้กัญชา กัญชง เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ รวมทั้งได้ร่วมกับสำนักงาน ป.ป.ส. จัดทำคู่มือเพื่อใช้เป็นเครื่องมือให้กับครู อาจารย์สอนในรายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับใช้ในการสอนในแต่ละระดับชั้น โดยในคู่มือมีเนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับโทษพิษภัยของกัญชา มีแผนการสอนของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ยาเสพติดในแต่ละระดับและมีสื่อการสอนเพื่อใช้ประกอบการสอน 1.3 คณะรัฐมนตรีควรมอบหมายให้ สธ. กษ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการให้มีมาตรการส่งเสริมและควบคุมคุณภาพการปลูกกัญชา กัญชง เพื่อความปลอดภัย ? สำนักงาน ป.ป.ส. ยธ. อนุญาตให้ประชาชนปลูกกัญชาใช้เอง หากประชาชนขาดองค์ความรู้อาจส่งผลต่อสุขภาพโดยตรง จึงควรมีมาตรฐาน/องค์ความรู้ให้ประชาชนได้ปฏิบัติตามได้ครอบคลุมทั้งในส่วนของผู้ประกอบการรายใหญ่ รวมถึงประชาชนที่ปลูกกัญชาเองด้วย ? สธ. ได้พัฒนาการตรวจสารปนเปื้อนโลหะหนัก ยาฆ่าแมลง ปริมาณสารสำคัญ ทั้งในพืช ผลิตภัณฑ์ ยา อาหาร เครื่องสำอาง รวมถึงการตรวจหาสารในปัสสาวะและในเลือด และพัฒนาห้องปฏิบัติการตรวจกัญชาของกรมวิทย์ฯ และเครือข่ายได้จัดทำคู่มือมาตรฐานการเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวพืชกัญชาในประเทศไทยสำหรับอบรมเกษตรกรและเตรียมพร้อมกับการตรวจรับรองการเก็บเกี่ยว จัดอบรม อสม. ในเรื่องการปลูกและใช้กัญชาอย่างเข้าใจสำหรับภาคประชาชนจัดประชุมผ่านสื่อและถ่ายทอดให้เกษตรกรต่อไป ? กษ. ได้ส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรในส่วนของการปลูกและการดูแลรักษา เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ และเศรษฐกิจต่อไป 1.4 คณะรัฐมนตรีควรมอบหมาย สธ. อว. ศธ. และ มท. พิจารณาดำเนินการพัฒนากลไกในการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การใช้กัญชา กัญชง รวมทั้งเชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการควบคุมการปลูกและการใช้ประโยชน์จากกัญชา กัญชง ? อว. เห็นว่า ควรเผยแพร่ข้อมูลเพื่อให้เห็นความสำคัญของการรายงาน เพื่อให้เห็นมิติการละเมิดสิทธิได้ทันทีและเป็นการปกป้องสิทธิเด็กตามเจตนารมณ์ ? สธ. มีกลไกการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การใช้กัญชาโดยการสำรวจ ส่วนผลกระทบปลายทางมีกลไกการเฝ้าระวังและติดตามข้อมูล โดยการกำกับติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้กัญชา อาการทางจิตเวช และการรายงานผ่านระบบ Online ผ่านแบบฟอร์มรายงานอาการไม่พึงประสงค์ และประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกเดือน ด้านความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก มีการเชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงาน มีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการลงทะเบียนปลูกกัญชาผ่านทาง application และให้ประชาชนสามารถลงทะเบียนเพื่อปลูกกัญชาได้ ? ศธ. มีกลไกในการดูแลและติดตามการใช้สารเสพติดในสถานศึกษา 2. ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย คณะรัฐมนตรีควรมอบหมายให้ สธ. และ คค. ปรับปรุงกฎหมายเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการใช้กัญชา กัญชง ดังนี้ 2.1 กำหนดระดับของการสูบหรือบริโภคกัญชา กัญชง ที่ห้ามขับขี่ยานพาหนะและห้ามทำงานกับเครื่องจักร ทำงานในที่สูง หรือทำงานในลักษณะอื่นที่อาจก่อให้เกิดอุบัตเหตุ และพัฒนาอุปกรณ์การตรวจระดับการสูบหรือบริโภคกัญชา กัญชงรวมถึงกำหนดให้มีการตรวจวัดระดับการสูบหรือบริโภคกัญชา กัญชง ขณะขับขี่ยานพาหนะเช่นเดียวกับการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ ? มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุจากการใช้กัญชา กัญชง ได้แก่ พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 และ พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 โดยมาตรา 57 ทวิ แห่ง พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 ได้ให้อำนาจผู้ตรวจการสั่งให้ผู้ขับรถหยุดเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. นี้กับมีอำนาจปฏิบัติการเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การตรวจสอบนั้นได้และมาตรา 102 ทวิ แห่ง พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ได้ให้อำนาจผู้ตรวจการหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้รับการตรวจหรือทดสอบว่าผู้ขับรถมีสารอันเกิดจากการเสพของมึนเมาอยู่ในร่างกายหรือไม่รวมถึงได้กำหนดไว้ใน ร่าง พ.ร.บ. กัญชา กัญชง พ.ศ. .... ซึ่งมีมาตราที่ห้ามขับรถขณะมึนเมากัญชาและมีการตรวจหาสาร 2.2 พัฒนากฎหมาย มาตรการในการไม่ขับขี่ยานพาหนะ และการห้ามทำงานกับเครื่องจักร ทำงานในที่สูง หรือทำงานในลักษณะอื่นที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุในขณะที่บริโภคกัญชา กัญชง ไว้ในกฎหมายเป็นการเฉพาะ รวมทั้งปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 และ พ.ร.บ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ให้มีความชัดเจนครอบคลุมถึงการใช้กัญชา กัญชงของบุคคล เป็นต้น ? พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 เป็นกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ตช. ตามมาตรา 43 (2) ได้กำหนดไว้ว่าห้ามมิให้ผู้ขับขี่รับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น ซึ่งใน พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 และ พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มีบทบัญญัติในทำนองเดียวกันกับ พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ดังนั้น จึงไม่ต้องแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 และ พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 แต่อย่างใด ? นอกจากนี้ คค. โดยกรมการขนส่งทางบก บริษัท ขนส่ง จำกัด กรมเจ้าท่า และสำนักงานการบินพลเรือนได้ออกประกาศแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวกับกัญชาหรือกัญชงรวมทั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพได้กำหนดมาตรการป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้กัญชาหรือกัญชง และมีแผนดำเนินการศึกษาแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานต่างประเทศก่อนพิจารณาดำเนินการพัฒนากฎหมายต่อไป โดยบรรจุมาตราต่าง ๆ ไว้ ในร่าง พ.ร.บ. กัญชา กัญชง พ.ศ. .... ซึ่งได้มีการกำหนดในกฎหมายไว้โดยเฉพาะแล้ว ต่างประเทศ 9. เรื่อง ขออนุมัติวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อชำระเป็นเงินอุดหนุนองค์การระหว่างประเทศที่ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อชำระเป็นเงินอุดหนุนองค์การระหว่างประเทศที่ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก ให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จำนวน 222.95 ล้านบาท เพื่อ กต. จะได้ชำระเป็นค่าบำรุงงบประมาณปกติ (Regular Budget) ของสหประชาชาติประจำปี ค.ศ. 2023 ต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง 1. กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อชำระเป็นเงินอุดหนุนองค์การระหว่างประเทศที่ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก ให้ กต. จำนวน 222.95 ล้านบาท เพื่อ กต. จะได้ชำระเป็นค่าบำรุงงบประมาณปกติ (Regular Budget) ของสหประชาชาติประจำปี ค.ศ. 2023 ต่อไป โดยสำนักงบประมาณแจ้งว่า นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 222.95 ล้านบาท เพื่อชำระเป็นเงินอุดหนุนองค์การระหว่างประเทศที่ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกแล้ว ทั้งนี้ กระทรวงการคลังและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นสมควรที่คณะรัฐมนตรีจะอนุมัติ/เห็นชอบในหลักการตามที่ กต. เสนอ โดยมีความเห็นเพิ่มเติมว่า กต. ควรให้ความสำคัญกับการควบคุม และกำกับดูแลการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งควรดำเนินการวิเคราะห์และประเมินผลจากการเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ ด้วย 2. พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 169 (3) บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต้องไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติให้ใช้จ่ายงบประมาณสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 (เรื่อง แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร) เกี่ยวกับการอนุมัติให้ใช้จ่ายงบประมาณสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ซึ่งแนวทางปฏิบัติและขั้นตอนดำเนินการตามมาตรา 169 (3) ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดไว้ว่า การอนุมัติให้ใช้จ่ายงบประมาณสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นจะต้องกระทำเท่าที่จำเป็น และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน โดยการดำเนินการดังกล่าวจะกระทำได้เฉพาะที่เกี่ยวกับการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ ที่มีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณนอกเหนือจากที่ได้รับการจัดสรร หรือที่ได้รับการจัดสรรไปแล้วแต่ไม่เพียงพอ และมีความจำเป็นเร่งด่วนต้องขอใช้งบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ทั้งนี้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อน แล้วจึงเสนอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบตามบทบัญญัติดังกล่าว 3. โดยที่เรื่องนี้มีความจำเป็นเร่งด่วนต้องใช้งบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เนื่องจากงบประมาณที่ได้รับจัดสรรไม่เพียงพอต่อการดำเนินการ ซึ่งระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 ข้อ 9 (3) กำหนดให้กรณีที่วงเงินเกินกว่า 100 ล้านบาท ให้หน่วยรับงบประมาณนำเรื่องเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี จึงเข้าข่ายเรื่องที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีได้ตามนัยมาตรา 4 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 ที่บัญญัติให้การเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีให้เสนอได้เฉพาะเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีหรือให้ต้องเสนอคณะรัฐมนตรี ประกอบกับเรื่องนี้จัดอยู่ในด้านการบริหารราชการแผ่นดิน การปรับปรุงกฎระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า กรณีดังกล่าวเป็นการดำเนินการตามพันธกรณีของไทยตามกฎบัตรสหประชาชาติซึ่งไทยเข้าเป็นสมาชิก มิใช่การทำหนังสือสัญญาขึ้นใหม่ จึงไม่มีประเด็นต้องพิจารณาเกี่ยวกับการเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และไม่เข้าลักษณะเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ตามนัยมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อย่างไรก็ดี กรณีนี้เป็นการขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีจุกเฉินหรือจำเป็น จึงเข้าลักษณะเป็นการกระทำอับมีผลเป็นการอนุมัติให้ใช้จ่ายงบประมาณสำรองจ่ายเพื่อกรณีกเฉินหรือจำเป็น ซึ่งคณะรัฐมนตรีจะอนุมัติมิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน ตามมาตรา 169 (3) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่ง กต. ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 (เรื่อง แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร) ที่กำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อน แล้วจึงเสนอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบ ดังนั้น จึงเห็นควรนำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ทั้งนี้ หากคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่ กต. เสนอ ให้มีผลดำเนินการได้เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งให้ความเห็นชอบตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 169 (3) แล้ว 10. การจัดทำแผนการหารือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566 - 2568) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแผนการหารือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566 - 2568) (ร่างแผนการหารือฯ ฉบับที่ 5) ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างแผนการหารือดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต) สามารถดำเนินการได้ โดยนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว รวมทั้งให้รองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามแผนการหารือดังกล่าวตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติเห็นชอบร่างแผนการหารือฯ ฉบับที่ 1 - 4 ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดกรอบการปฏิบัติงานและกลไกการหารือระหว่าง กต. ของทั้งสองประเทศใน 2 ระดับ คือ ระดับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศและระดับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติของกรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง กต. รายงานว่า ภายหลังจากที่แผนการหารือฯ ฉบับที่ 4 สิ้นสุด กต. ได้เสนอร่างแผนการหารือฯ ฉบับที่ 5 ให้ฝ่ายรัสเซียพิจารณา โดยทั้งสองฝ่ายได้เจรจาและเห็นชอบร่างแผนการหารือฯ ฉบับที่ 5 ร่วมกันแล้ว โดยฝ่ายรัสเซียประสงค์จะให้มีการลงนามแผนการหารือฯ ฉบับที่ 5 ในห้วงการเยือนประเทศไทยของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหพันรัฐรัสเซีย (นายอันเดรย์ รูเดนโค - Andrey Rudenko) (เทียบเท่าระดับรองปลัดกระทรวงฯ ในโอกาสเข้าพบหารือกับปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (นายศรัณย์ เจริญสุวรรณ) ในวันที่ 25 เมษายน 2566 กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างแผนการหารือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566 - 2568) ซึ่งเป็นแผนการหารือต่อเนื่องจากฉบับเดิมที่หมดอายุไปแล้วโดยรายละเอียดของร่างแผนการหารือฯ ฉบับที่ 5 เป็นเพียงการกำหนดหัวข้อกรอบการหารือกว้าง ๆ และกำหนดหน่วยงานผู้รับผิดชอบตามประเด็นของแผนการหารือฯ ระหว่าง กต. ของทั้งสองประเทศเพื่อให้การดำเนินการในด้านต่าง ๆ เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม (ทั้งสองฝ่ายจะหารือในรายละเอียดของแต่ละประเด็นผ่านช่องทางการทูตต่อไป) 11. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลศึกษา และการกีฬา ระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการกีฬาแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย คณะรัฐนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลศึกษา และการกีฬา ระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการกีฬาแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญเพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของฝ่ายไทย ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งอนุมัติให้นายนภินทร ศรีสรรพางค์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลศึกษา และการกีฬา ระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการกีฬาแห่งสหพันธรัฐรัสเซียตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง กระทรวงการกีฬาแห่งสหพันธรัฐสเซียได้เสนอให้มีการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลศึกษาและการกีฬากับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมทั้งยกร่างบันทึกความเข้าใจฯ มาให้ฝ่ายไทยพิจารณา ทั้งนี้ ที่ผ่านมาได้มีการโต้ตอบร่างบันทึกความเข้าใจฯ ระหว่างกัน จนได้มีการเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวร่วมกันแล้ว ซึ่งร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการเสริมสร้างและพัฒนาความร่วมมือด้านกีฬาของทั้งสองประเทศ ผ่านการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้โครงการ ประสบการณ์ด้านกีฬา แผนการพัฒนาด้านการกีฬา และผู้เชี่ยวชาญด้านการกีฬาของทั้งสองฝ่าย รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีการกีฬาและวิทยาศาสตร์การกีฬา อีกทั้งการส่งเสริมบทบาทของสตรีและเด็กผู้หญิงผ่านการกีฬา การต่อต้านการใช้สารต้องห้ามด้านกีฬาและการต่อสู้ที่ผิดกฎหมาย 12. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-รัสเซีย ครั้งที่ 8 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-รัสเซีย (Joint Thai-Russian Commission on Bilateral Cooperation: JC) ครั้งที่ 8 รวมทั้งอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศร่วมรับรองเอกสารดังกล่าวกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาภูมิภาคตะวันออกไกลและอาร์กติกสหพันธรัฐรัสเซีย โดยไม่มีการลงนาม ทั้งนี้ หากมีความจำป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-รัสเซีย ครั้งที่ 8 ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะผู้แทนไทยสามารถดำเนินการได้ โดยนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ สาระสำคัญ ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-รัสเซีย ครั้งที่ 8 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกรอบกำหนดแนวทางการดำเนินการความร่วมมือระหว่างไทยกับสหพันธรัฐรัสเซีย โดยระบุความร่วมมือที่สำคัญใน 12 สาขา ได้แก่ (1) ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน (2) ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม (3) ความร่วมมือด้านพลังงาน (4) ความร่วมมือด้านการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ (5) ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (6) ความร่วมมือด้านการเกษตรและการประมง (7) ความร่วมมือด้านการศึกษา วัฒนธรรม และกีฬา (8) ความร่วมมือด้านคมนาคม (9) ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว (10) ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม (11) ความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ (12) ความร่วมมือด้านสาธารณสุข แต่งตั้ง 13. การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงวุฒิ ในคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ดังนี้ 1. ผู้แทนองค์กรสตรีและองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศ จำนวน 6 คน 1) นางถวิลวดี บุรีกุล 2) นางสาวศุธาฎา เมฆาวงศกุล 3) นางสาวสุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง 4) นายรณภูมิ สามัคคีคารมย์ 5) นางสาวเสาวลักษณ์ ทองก๊วย 6) นางสาวศิริพร ไชยสุต 2. ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติศาสตร์ ด้านสิทธิมนุษยชน ด้านสังคมศาสตร์ หรือด้านจิตวิทยา จำนวน 3 คน 1) นางปารีณา ศรีวนิชย์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติศาสตร์ 2) นายสมศักดิ์ ชลาชล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคมศาสตร์ 3) นางสาวชมพูนุท นาครทรรพ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านจิตวิทยา ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2566 เป็นต้นไป 14. เรื่อง การโอนข้าราชพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาเสนอรับโอน นายกฤษฎา คงคะจันทร์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการระดับสูง เงินประจำตำแหน่ง 14,500 บาท) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวัฒนธรรม มาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการราชบัณฑิตยสภา (นักบริหารระดับสูง เงินประจำตำแหน่ง 14,500 บาท) สำนักงานราชบัณฑิตยสภา เพื่อประโยชน์ของทางราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ซึ่งผู้มีอำนาจสั่งบรรจุทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนแล้ว 15. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและคณะกรรมการในคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (ครบกำหนดออกตามวาระ) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งบุคคลเป็นประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ดังนี้ 1. นายปริญญา แสงสุวรรณ ประธานกรรมการ 2. นายกฤชเทพ สิมลี กรรมการ 3. พลตำรวจโท เจริญวิทย์ ศรีวนิชย์ กรรมการ 4. นายชนินทร์ แก่นหิรัญ กรรมการ 5. นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ กรรมการ 6. พลตำรวจโท กฤษฎา กาญจนอลงกรณ์ กรรมการ 7. นายวรพจน์ เอี่ยมรักษา กรรมการ 8. นายวิบูลย์ รัตนาภรณ์วงศ์ กรรมการ 9. นายจิรุตม์ วิศาลจิตร กรรมการ 10. นายวโรทัย โกศลพิศิษฐ์กุล กรรมการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2566 เป็นต้นไป 16. เรื่อง การขอต่อเวลาการดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอต่อเวลาการดำรงตำแหน่งอธิบดี กรมประชาสัมพันธ์ ของ พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2562 และครบกำหนด 4 ปี ในวันที่ 5 เมษายน 2566 ต่อไปอีก 5 เดือน 25 วัน (ครั้งที่ 1) ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2566 เป็นต้นไป โดย พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด จะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566