เรื่อง การประชุมระหว่างคณะกรรมการสำรองอาหารเพื่อความมั่นคงแห่งภูมิภาคอาเซียน กับ
คณะกรรมการโครงการนำร่องเพื่อระบบการสำรองข้าวในเอเชียตะวันออก (The Joint Meeting of
ASEAN Food Security Reserve Board : AFSRB — Project Steering Committee of East Asia
Emergency Rice Reserve Pilot Project : PSC — EAERR)
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานสรุปผลการประชุมระหว่างคณะกรรมการสำรองอาหารเพื่อความมั่นคงแห่งภูมิภาคอาเซียน กับคณะกรรมการโครงการนำร่องเพื่อระบบการสำรองข้าวในเอเชียตะวันออก (The Joint Meeting of ASEAN Food Security Reserve Board : AFSRB — Project Steering Committee of East Asia Emergency Rice Reserve Pilot Project : PSC — EAERR) ดังนี้
ผลการประชุมAFSRB กับ PSC-EAERR
1. การนำข้าวสำรองที่เป็น Earmarked Stock ของโครงการ EAERR มาใช้
ที่ประชุม สรุปเบื้องต้นว่าให้นำข้าวสำรองฉุกเฉิน (ASEAN Emergency Rice Reserve AERR) มาใช้ในโครงการ EAERR ได้ เนื่องจากว่าเรื่องนี้ได้นำเข้าที่ประชุมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว ประเทศสมาชิกอาเซียนที่เห็นชอบให้นำข้าว AERR มาใช้ใน EAERR แล้วมี 6 ประเทศ ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม สำหรับ กัมพูชา พม่า และไทย เห็นชอบในหลักการแต่กำลังรอเสนอรัฐบาลของแต่ละประเทศ ยกเว้น สิงคโปร์ ต้องการรอผลการศึกษาการนำข้าวออกมาใช้ภายใต้โปรแกรมต่าง ๆ ก่อน ส่วนประเทศ + 3 นั้น มีเฉพาะประเทศญี่ปุ่นที่ได้ยืนยันเข้าร่วมโครงการ EAERR แล้ว สำหรับจีนและเกาหลีกำลังรอดูท่าทีอยู่
2. ข้อเสนอให้มีข้อตกลงใหม่ของระบบสำรองข้าวฉุกเฉินในเอเชียตะวันออก
ที่ประชุม เห็นด้วยในหลักการกับข้อเสนอให้มีข้อตกลงใหม่ของระบบสำรองข้าวฉุกเฉินในเอเชียตะวันออก (East Asia Emergency Rice Reserve Agreement) ที่จะเป็นระบบการสำรองที่เต็มรูปแบบสำหรับประเทศอาเซียนกับ จีน ญี่ปุ่นและเกาหลี บนพื้นฐานของความสมัครใจสำหรับโครงการในอนาคตต่อ ๆ ไป พร้อมทั้งให้ทีมงามโครงการ EAERR ร่วมกับสำนักเลขาธิการอาเซียนช่วยกันร่างข้อตกลงฉบับสมบูรณ์ เพื่อนำเสนอในการประชุม AMAF,AMAF +3 โดยผ่านกระบวนการอย่างเป็นทางการ และญี่ปุ่นต้องการให้โครงการ EAERR มีระบบการดำเนินงานที่เต็มรูปแบบก่อนที่โครงการจะสิ้นสุด
มติที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางการดำเนินงานโครงการ EAERR ของไทยเห็นชอบให้กระทรวงพาณิชย์นำข้าวสำรอง AERR ของไทยจำนวน 15,000 ตัน มาใช้ในโครงการ EAERR ตามมติที่ประชุม AMAF ครั้งที่ 26 และ AMAF+3 ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 7-8 ตุลาคม 2547 ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศสหภาพพม่า โดยให้กรมการค้าต่างประเทศ เป็นผู้ดำเนินการเรื่องการทำสัญญาและการส่งมอบข้าว และมอบหมายกระทรวงพาณิชย์ในฐานะผู้ดูแลข้าวสำรอง AERR โดยนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป พร้อมทั้งให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหนังสือแจ้ง World Food Program (WFP) ว่ารัฐบาลไทยมีความกังวลเรื่องผลกระทบในด้านลบที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบการค้าข้าวของภูมิภาคอาเซียน จากการที่ประเทศญี่ปุ่นได้บริจาคข้าวจำนวน 4,000 ตันให้กับโครงการ EAERR ผ่าน WFP เพื่อช่วยเหลือขจัดความยากจนในติมอร์ตะวันตก ของประเทศอินโดนีเซีย สำหรับข้าวสำรองที่เป็น Stockpiled Reserve ของโครงการ EAERR ซึ่งจะได้จากการบริจาคตามความสมัครใจจากประเทศสมาชิกนั้น ไทยจะชะลอการพิจารณาในเรื่องนี้ไว้ก่อน
ทั้งนี้ โครงการนำร่องเพื่อระบบการสำรองข้าวในเอเชียตะวันออก (East Asia Emergency Rice Reserve Agreement) เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นตามมติความเห็นชอบจากการประชุม SOM-AMAF+3 และ AMAF+3 เมื่อเดือนตุลาคม 2545 ณ ประเทศสปป.ลาว มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร แก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาหาร ความยากจนในกรณีฉุกเฉิน และเพิ่มเสถียรภาพราคาข้าวของประเทศสมาชิกอาเซียนกับ สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลีโดยให้มีการสำรองข้าวตามความสมัครใจ 2 ระบบ คือ การสำรองในรูปสัญญา (Earmarked Reserve) ซึ่งจะใช้การซื้อขายกันตามคุณภาพและราคาด้วยระบบการซื้อขายล่วงหน้า (Forward Contract) หรือขายในเงื่อนไขที่ผ่อนปรน และการสำรองจริงในรูปข้าว (Stockpiled Reserve) ซึ่งเป็นการบริจาคเพื่อช่วยเหลือหรือบรรเทาปัญหาความยากจนโดยมีการจัดจ้างคณะทำงานมืออาชีพ (Management Team) มาดำเนินโครงการ และแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการ (Project Steering Committee : PSC) ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกทั้ง 13 ประเทศ ขึ้นมากำกับดูแลการดำเนินโครงการนี้ ในการนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นผู้กำกับดูแลและประสานงานของโครงการร่วมกับญี่ปุ่น โดยโครงการ EAERR เริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 มีนาคม ปี 2547 เป็นต้นไป มีระยะเวลา 3 ปี สถานที่ทำงานอยู่ที่ชั้น 2 อาคารสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำหรับคณะกรรมการสำรองอาหารเพื่อความมั่นคงแห่งภูมิอาเซียนนั้น เป็นคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียน มีหน้าที่กำกับดูแลและประสานงานเกี่ยวกับแผนการดำเนินการของระบบสำรองเพื่อความมั่นคงด้านอาหารของอาเซียน (ASEAN Food Security Reserve : AFSR) เพื่อให้กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางด้านอาหารในกรณีฉุกเฉิน สำนักงานคณะกรรมการสำรองอาหารเพื่อความมั่นคงแห่งภูมิภาคอาเซียนจัดตั้งขึ้นที่กระทรวงพาณิชย์ โดยกระทรวงพาณิชย์เป็นเลขานุการคณะกรรมการชุดนี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548--จบ--
คณะกรรมการโครงการนำร่องเพื่อระบบการสำรองข้าวในเอเชียตะวันออก (The Joint Meeting of
ASEAN Food Security Reserve Board : AFSRB — Project Steering Committee of East Asia
Emergency Rice Reserve Pilot Project : PSC — EAERR)
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานสรุปผลการประชุมระหว่างคณะกรรมการสำรองอาหารเพื่อความมั่นคงแห่งภูมิภาคอาเซียน กับคณะกรรมการโครงการนำร่องเพื่อระบบการสำรองข้าวในเอเชียตะวันออก (The Joint Meeting of ASEAN Food Security Reserve Board : AFSRB — Project Steering Committee of East Asia Emergency Rice Reserve Pilot Project : PSC — EAERR) ดังนี้
ผลการประชุมAFSRB กับ PSC-EAERR
1. การนำข้าวสำรองที่เป็น Earmarked Stock ของโครงการ EAERR มาใช้
ที่ประชุม สรุปเบื้องต้นว่าให้นำข้าวสำรองฉุกเฉิน (ASEAN Emergency Rice Reserve AERR) มาใช้ในโครงการ EAERR ได้ เนื่องจากว่าเรื่องนี้ได้นำเข้าที่ประชุมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว ประเทศสมาชิกอาเซียนที่เห็นชอบให้นำข้าว AERR มาใช้ใน EAERR แล้วมี 6 ประเทศ ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม สำหรับ กัมพูชา พม่า และไทย เห็นชอบในหลักการแต่กำลังรอเสนอรัฐบาลของแต่ละประเทศ ยกเว้น สิงคโปร์ ต้องการรอผลการศึกษาการนำข้าวออกมาใช้ภายใต้โปรแกรมต่าง ๆ ก่อน ส่วนประเทศ + 3 นั้น มีเฉพาะประเทศญี่ปุ่นที่ได้ยืนยันเข้าร่วมโครงการ EAERR แล้ว สำหรับจีนและเกาหลีกำลังรอดูท่าทีอยู่
2. ข้อเสนอให้มีข้อตกลงใหม่ของระบบสำรองข้าวฉุกเฉินในเอเชียตะวันออก
ที่ประชุม เห็นด้วยในหลักการกับข้อเสนอให้มีข้อตกลงใหม่ของระบบสำรองข้าวฉุกเฉินในเอเชียตะวันออก (East Asia Emergency Rice Reserve Agreement) ที่จะเป็นระบบการสำรองที่เต็มรูปแบบสำหรับประเทศอาเซียนกับ จีน ญี่ปุ่นและเกาหลี บนพื้นฐานของความสมัครใจสำหรับโครงการในอนาคตต่อ ๆ ไป พร้อมทั้งให้ทีมงามโครงการ EAERR ร่วมกับสำนักเลขาธิการอาเซียนช่วยกันร่างข้อตกลงฉบับสมบูรณ์ เพื่อนำเสนอในการประชุม AMAF,AMAF +3 โดยผ่านกระบวนการอย่างเป็นทางการ และญี่ปุ่นต้องการให้โครงการ EAERR มีระบบการดำเนินงานที่เต็มรูปแบบก่อนที่โครงการจะสิ้นสุด
มติที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางการดำเนินงานโครงการ EAERR ของไทยเห็นชอบให้กระทรวงพาณิชย์นำข้าวสำรอง AERR ของไทยจำนวน 15,000 ตัน มาใช้ในโครงการ EAERR ตามมติที่ประชุม AMAF ครั้งที่ 26 และ AMAF+3 ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 7-8 ตุลาคม 2547 ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศสหภาพพม่า โดยให้กรมการค้าต่างประเทศ เป็นผู้ดำเนินการเรื่องการทำสัญญาและการส่งมอบข้าว และมอบหมายกระทรวงพาณิชย์ในฐานะผู้ดูแลข้าวสำรอง AERR โดยนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป พร้อมทั้งให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหนังสือแจ้ง World Food Program (WFP) ว่ารัฐบาลไทยมีความกังวลเรื่องผลกระทบในด้านลบที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบการค้าข้าวของภูมิภาคอาเซียน จากการที่ประเทศญี่ปุ่นได้บริจาคข้าวจำนวน 4,000 ตันให้กับโครงการ EAERR ผ่าน WFP เพื่อช่วยเหลือขจัดความยากจนในติมอร์ตะวันตก ของประเทศอินโดนีเซีย สำหรับข้าวสำรองที่เป็น Stockpiled Reserve ของโครงการ EAERR ซึ่งจะได้จากการบริจาคตามความสมัครใจจากประเทศสมาชิกนั้น ไทยจะชะลอการพิจารณาในเรื่องนี้ไว้ก่อน
ทั้งนี้ โครงการนำร่องเพื่อระบบการสำรองข้าวในเอเชียตะวันออก (East Asia Emergency Rice Reserve Agreement) เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นตามมติความเห็นชอบจากการประชุม SOM-AMAF+3 และ AMAF+3 เมื่อเดือนตุลาคม 2545 ณ ประเทศสปป.ลาว มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร แก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาหาร ความยากจนในกรณีฉุกเฉิน และเพิ่มเสถียรภาพราคาข้าวของประเทศสมาชิกอาเซียนกับ สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลีโดยให้มีการสำรองข้าวตามความสมัครใจ 2 ระบบ คือ การสำรองในรูปสัญญา (Earmarked Reserve) ซึ่งจะใช้การซื้อขายกันตามคุณภาพและราคาด้วยระบบการซื้อขายล่วงหน้า (Forward Contract) หรือขายในเงื่อนไขที่ผ่อนปรน และการสำรองจริงในรูปข้าว (Stockpiled Reserve) ซึ่งเป็นการบริจาคเพื่อช่วยเหลือหรือบรรเทาปัญหาความยากจนโดยมีการจัดจ้างคณะทำงานมืออาชีพ (Management Team) มาดำเนินโครงการ และแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการ (Project Steering Committee : PSC) ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกทั้ง 13 ประเทศ ขึ้นมากำกับดูแลการดำเนินโครงการนี้ ในการนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นผู้กำกับดูแลและประสานงานของโครงการร่วมกับญี่ปุ่น โดยโครงการ EAERR เริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 มีนาคม ปี 2547 เป็นต้นไป มีระยะเวลา 3 ปี สถานที่ทำงานอยู่ที่ชั้น 2 อาคารสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำหรับคณะกรรมการสำรองอาหารเพื่อความมั่นคงแห่งภูมิอาเซียนนั้น เป็นคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียน มีหน้าที่กำกับดูแลและประสานงานเกี่ยวกับแผนการดำเนินการของระบบสำรองเพื่อความมั่นคงด้านอาหารของอาเซียน (ASEAN Food Security Reserve : AFSR) เพื่อให้กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางด้านอาหารในกรณีฉุกเฉิน สำนักงานคณะกรรมการสำรองอาหารเพื่อความมั่นคงแห่งภูมิภาคอาเซียนจัดตั้งขึ้นที่กระทรวงพาณิชย์ โดยกระทรวงพาณิชย์เป็นเลขานุการคณะกรรมการชุดนี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548--จบ--