สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มิถุนายน 2566

ข่าวการเมือง Tuesday June 6, 2023 17:09 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

วันนี้ 6 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
          1.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ                                                    เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (ฉบับที่ ..)

พ.ศ. ....

          2.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ                               เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (ฉบับที่ ..)                               พ.ศ. ....
          3.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 130 ปี องค์กรอัยการ พ.ศ. ....
          4.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงวัสดุกัมมันตรังสีที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยพลังงาน                                        นิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงวัสดุกัมมันตรังสีที่ผู้ดำเนินการไม่ต้อง                                        ขอรับใบอนุญาต พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
          5.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2566

เศรษฐกิจ-สังคม
          6.           เรื่อง            สรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.)                                                 ครั้งที่ 2/2566
          7.           เรื่อง           ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติ ประจำเดือนเมษายน 2566
          8.           เรื่อง           ผลการพิจารณากรณีการใช้งบประมาณสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น

ตามมาตรา 169 (3) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ของกระทรวงพลังงาน

          9.           เรื่อง           การถวายพระราชสมัญญา ?พระอัครราชูปถัมภิกาการจดหมายเหตุไทย? แด่

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

          10.           เรื่อง           การเสนอพระนามพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

บรมนาถบพิตร ให้องค์การยูเนสโกประกาศยกย่องและร่วมเฉลิมฉลองในวาระ 100 ปี

วันพระบรมราชสมภพ ในปี พ.ศ. 2570

          11.           เรื่อง           ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2566                               และผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ                               เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2566 และครั้งที่ 8/2566
          12.           เรื่อง           รายงานผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบิน                                        ภาคตะวันออก
          13.           เรื่อง           สรุปผลการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2566                               และข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยทางถนน
          14.           เรื่อง           รายงานประจำปี 2565 ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา


ต่างประเทศ
          15.            เรื่อง           ขอความเห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนสำหรับการดำเนินโครงการ Innovative Climate                               Risk Financing for the Agricultural Sector in the ASEAN Region และขอความ                                        เห็นชอบให้เลขาธิการอาเซียนเป็นผู้ลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนฯ
          16.            เรื่อง           ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรียุติธรรมอาเซียน - ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ และแผนงาน                              อาเซียน - ญี่ปุ่น ด้านกฎหมายและงานยุติธรรม
          17.            เรื่อง           ผลการประชุมทบทวนการดำเนินการด้านน้ำในห้วงแรกของทศวรรษระหว่างประเทศแห่ง                              การดำเนินการ ?น้ำสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน? ค.ศ. 2018-2023 (Midterm                                                   Comprehensive Review of the Implementation of the Qbjectives of the                                         International Decade for Action ?Water for Sustainable Development?; United                               Nations 2023 Water Conference)
          18.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญารัฐมนตรีของการประชุม UN-Habitat Assembly                                         สมัยที่ 2

แต่งตั้ง

          19.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                                                    (สำนักนายกรัฐมนตรี)
          20.           เรื่อง           แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานส่งเสริม                                        เศรษฐกิจสร้างสรรค์
          21.           เรื่อง           การบรรจุผู้เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูงกลับเข้ารับราชการ



?
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ                      เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (ฉบับที่ ..)                   พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้  และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาที่ อว. เสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2563 เพื่อเป็นการกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชารัฐศาสตร์ รวมทั้งสีประจำสาขาวิชาดังกล่าว ซึ่งสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว

สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา

กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา และสีประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์

2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้  และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์                    วิจัยและนวัตกรรม รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการต่อไป

ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาที่ อว. เสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2565 เพื่อกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ รวมทั้งสีประจำสาขาวิชาดังกล่าว ซึ่งสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว

สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา

กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา และสีประจำสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 130 ปี องค์กรอัยการ พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก               130 ปี องค์กรอัยการ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงการคลังเสนอ เป็นการกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์โลหะ              สีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคายี่สิบบาท เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 130 ปี องค์กรอัยการ เมื่อวันที่    1 เมษายน 2566 ซึ่งกระทรวงการคลังได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกตามรูปแบบที่นำความกราบบังคมทูลประกอบพระราชวินิจฉัยแล้ว สำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดทำเหรียญกษาปณ์ดังกล่าวมาจากเงินทุนหมุนเวียนการบริหารจัดการเหรียญกษาปณ์ทรัพย์สินมีค่าของรัฐและการทำของ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยกระทรวงการคลังได้จัดเตรียมงบประมาณสำหรับการดำเนินงานไว้แล้ว จึงสามารถกระทำได้ตามมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า การอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการปฏิบัติราชการตามปกติ เพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายแม่บทได้บัญญัติให้อำนาจไว้ และมิได้เป็นกรณีที่คณะรัฐมนตรีกระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ตามมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

กำหนดชนิด ราคา โลหะ อัตราเนื้อโลหะ น้ำหนัก ขนาด อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด ลวดลาย และลักษณะอื่น ๆ ของเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคายี่สิบบาท เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 130 ปี องค์กรอัยการ

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงวัสดุกัมมันตรังสีที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยพลังงานนิวเคลียร์        เพื่อสันติ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงวัสดุกัมมันตรังสีที่ผู้ดำเนินการไม่ต้องขอรับใบอนุญาต พ.ศ. ....                    รวม 2 ฉบับ

คณะรัฐมนตรีมีมติดังนี้

1. เห็นชอบ

1.1 ร่างกฎกระทรวงวัสดุกัมมันตรังสีที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. ....

1.2 ร่างกฎกระทรวงวัสดุกัมมันตรังสีที่ผู้ดำเนินการไม่ต้องขอรับใบอนุญาต พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้

2. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวง รวม 2 ฉบับดังกล่าว ที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติ (8 สิงหาคม 2560) อนุมัติหลักการ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดวัสดุกัมมันตรังสีที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ และการกำหนดวัสดุกัมมันตรังสีที่ผู้ดำเนินการไม่ต้องขอรับใบอนุญาต ตามลำดับ การออกร่างกฎกระทรวงทั้งสองฉบับดังกล่าวเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติมซึ่งเป็นกฎหมายกำหนดกฎเกณฑ์ให้เกิดความปลอดภัยและความมั่นคงทางนิวเคลียร์และรังสี เพื่อคุ้มครองประชาชนและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency) และคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

1. ร่างกฎกระทรวงวัสดุกัมมันตรังสีที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. .... กำหนดให้วัสดุกัมมันตรังสีไม่อยู่ภายใต้การควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ ดังนี้

1.1 วัสดุกัมมันตรังสีที่ประกอบด้วยนิวไคลด์กัมมันตรังสีชนิดเดียวในรูปของแข็ง หรือของเหลว ที่มีปริมาณไม่เกิน 3 ตัน หรือก๊าซ และมีความเข้มข้นกัมมันตภาพหรือกัมมันตภาพของนิวไคลด์กัมมันตรังสี ไม่เกินค่าที่กำหนดไว้ในตารางที่ 1 ท้ายกฎกระทรวงนี้

                               1.2 วัสดุกัมมันตรังสีที่ประกอบด้วยนิวไคลด์กัมมันตรังสีชนิดเดียวในรูปของแข็ง ที่มีปริมาณมากกว่า 3 ตัน และมีความเข้มข้นกัมมันตภาพของนิวไคลด์กัมมันตรังสี ไม่เกินค่าที่กำหนดไว้ในตารางที่ 2                      ท้ายกฎกระทรวงนี้

1.3 วัสดุกัมมันตรังสีที่มีอยู่ในธรรมชาติและนำมาใช้เพื่อประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมหรือที่เกิดจากอุตสาหกรรม ที่มีปริมาณมากกว่า 3 ตัน และมีความเข้มข้นกัมมันตภาพของนิวไคลด์กัมมันตรังสีแต่ละชนิดไม่เกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ในตารางที่ 3 ท้ายกฎกระทรวงนี้

                              1.4 วัสดุกัมมันตรังสีที่ประกอบด้วยนิวไคลด์กัมมันตรังสีหลายชนิด และมีผลรวมของอัตราส่วนระหว่างความเข้มข้นกัมมันตภาพหรือกัมมันตภาพของนิวไคลด์กัมมันตรังสีแต่ละชนิด กับความเข้มข้นกัมมันตภาพหรือกัมมันตภาพของนิวไคลด์กัมมันตรังสีชนิดนั้น ตามค่าที่กำหนดในตารางที่ 1 หรือตารางที่ 2                         ท้ายกฎกระทรวงนี้ แล้วแต่กรณี มีค่าไม่เกิน 1

2. ร่างกฎกระทรวงวัสดุกัมมันตรังสีที่ผู้ดำเนินการไม่ต้องขอรับใบอนุญาต พ.ศ. ....

2.1 กำหนดนิยามคำว่า ?ค่ากัมมันตภาพ? ?ค่ากัมมันตภาพรวม? และ ?ค่าความเป็นอันตราย?

2.2 กำหนดให้วัสดุกัมมันตรังสีที่ผู้ดำเนินการไม่ต้องขอรับใบอนุญาตตามมาตรา 19 แต่ต้องแจ้งการครอบครองหรือใช้ต่อเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ดังนี้

2.2.1 วัสดุกัมมันตรังสีประเภทที่ 5 ซึ่งออกตามความในมาตรา 19 วรรคสอง ชนิดเดียวหรือหลายชนิดรวมกัน ที่มีลักษณะการใช้ประโยชน์ตามตารางที่ 1 ท้ายกฎกระทรวงนี้ ซึ่งมีอัตราส่วนระหว่างค่ากัมมันตภาพหรือค่ากัมมันตภาพรวม ต่อค่าความเป็นอันตรายไม่เกิน 0.01 และมีค่าความเข้มข้นกัมมันตภาพและค่ากัมมันตภาพเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับวัสดุกัมมันตรังสีที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมตามกฎกระทรวงซึ่งออกตามความในมาตรา 18 วรรคหนึ่ง

                                        2.2.2 วัสดุกัมมันตรังสีที่เป็นส่วนประกอบของสินค้าอุปโภคตามตารางที่ 2                 ท้ายกฎกระทรวงนี้ ซึ่งมีอัตราส่วนระหว่างค่ากัมมันตภาพรวม ต่อค่าความเป็นอันตรายไม่เกิน 0.01 และมีค่าความเข้มข้นกัมมันตภาพและค่ากัมมันตภาพเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับวัสดุกัมมันตรังสีที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมตามกฎกระทรวงซึ่งออกตามความในมาตรา 18 วรรคหนึ่ง
                                        2.2.3 วัสดุกัมมันตรังสีอื่นที่มีอัตราส่วนระหว่างค่ากัมมันตภาพ หรือ                              ค่ากัมมันตภาพรวม ต่อค่าความเป็นอันตราย น้อยกว่า 0.01 และค่าความเข้มข้นกัมมันตภาพ และค่ากัมมันตภาพเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับวัสดุกัมมันตรังสีที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมตามกฎกระทรวงซึ่งออกตามความในมาตรา 18 วรรคหนึ่ง

5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2566

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2566 (โดยยังมิได้ระบุวันที่เรียกประชุมรัฐสภา) ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ สำหรับวันเรียกประชุมรัฐสภา มอบให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีประสานกับสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานองคมนตรี เมื่อมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้รับเลือกตั้งถึงร้อยละเก้าสิบห้าของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดแล้ว (จำนวน 475 คน) ให้นำร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ต่อไป

ข้อเท็จจริง

สลค. เสนอว่า

1. โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 83 บัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวนห้าร้อยคน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวนสี่ร้อยคน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อจำนวนหนึ่งร้อยคน มาตรา 84 บัญญัติให้ในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้รับเลือกตั้งถึงร้อยละเก้าสิบห้าของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดแล้ว (จำนวน 475 คน) หากมีความจำเป็นจะต้องเรียกประชุมรัฐสภาก็ให้ดำเนินการเรียกประชุมรัฐสภาได้ และมาตรา 85 วรรคสี่ บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการเลือกตั้งเมื่อตรวจสอบเบื้องตันแล้ว มีเหตุอันควรเชื่อว่าผลการเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบห้าของเขตเลือกตั้งทั้งหมด ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องตรวจสอบเบื้องต้นและประกาศผลการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จโดยเร็ว แต่ต้องไม่ช้ากว่าหกสิบวันนับแต่วันเลือกตั้ง (ภายในวันที่ 13 กรกฎาคม 2566) ประกอบกับมาตรา 121 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไป (ภายในวันที่ 27 กรกฎาคม 2566) ให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก และมาตรา 122 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสี่ บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงเรียกประชุมรัฐสภา ทรงเปิดและทรงปิดประชุม โดยพระมหากษัตริย์จะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงทำรัฐพิธีเปิดประชุมสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งแรกด้วยพระองค์เอง หรือจะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระรัชทายาทซึ่งทรงบรรลุนิติภาวะแล้วหรือผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นผู้แทนพระองค์ มาทำรัฐพิธีก็ได้ ทั้งนี้ การเรียกประชุม ให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา

2. ดังนั้น เพื่อให้การเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรกดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สลค. จึงได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2566 ขึ้น (โดยยังมิได้ระบุวันที่เรียกประชุมรัฐสภา) และจะได้ประสานกับสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานองคมนตรี เมื่อมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้รับเลือกตั้งถึงร้อยละเก้าสิบห้าของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดแล้ว เพื่อจะได้นำร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายต่อไป

เศรษฐกิจ-สังคม
6. เรื่อง  สรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.)                   ครั้งที่ 2/2566
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)  เสนอ สรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ครั้งที่ 2/2566  เมื่อวันที่                    17 มีนาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553  มาตรา 7 (6) ที่บัญญัติให้ กพต. มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อคณะรัฐมนตรี] สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประเภท/เรื่อง/ประเด็น          การดำเนินงาน/มติที่ประชุม
1. เรื่องการติดตามความก้าวหน้าตามมติ กพต. จำนวน 2 เรื่อง
          1.1 ความคืบหน้าโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืนพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้            การดำเนินงาน : (1) การนำเรือประมงที่ออกนอกระบบไปจัดวางเป็นปะการังเทียม ซึ่งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)  เห็นว่าอาจไม่เหมาะสม เนื่องจากวัสดุตัวเรือส่วนใหญ่เป็นไม้ เมื่อจัดวางเป็นปะการังเทียมใต้ทะเล จะเน่าเปื่อย ผุพัง และอาจมีชิ้นส่วนหลุดออกจากตัวเรือ กลายเป็นขยะทะเล เกิดอันตรายต่อสัตว์น้ำ และการเดินเรือ  จึงควรพิจารณาแนวทางอื่นในการดำเนินการตามระเบียบเกี่ยวกับการพัสดุและการจำหน่ายพัสดุ เช่น การให้ส่วนราชการอื่นนำไปใช้ประโยชน์  การขายทอดตลาด หรือการทำลายซากเรือ (2) การกำหนดเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินเยียวยาเรือประมงจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยใช้วิธีการทำลายเรือประมงตามแนวทางที่กรมประมงดำเนินการและเป็นไปตามข้อเสนอแนะของ ทช. และ (3) จัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินเยียวยาเรือประมงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่ง ศอ.บต. อยู่ระหว่างจัดทำหลักเกณฑ์ดังกล่าว คาดว่าจะสามารถดำเนินการจ่ายค่าชดเชยเยียวยาเรือประมงในพื้นที่จังหวัดปัตตานีจำนวน 96 ลำ ในเดือนพฤษภาคม 25661
มติที่ประชุม : รับทราบ
1.2 ความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาแรงงานคนไทยที่เดินทางไปประกอบอาชีพในสถานประกอบอาหารไทยในประเทศมาเลเซีย (เครือข่ายร้านอาหารต้มยำกุ้ง)           การดำเนินงาน : ศอ.บต. ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประสานงานกับกระทรวงมหาดไทย (มท.) ของประเทศมาเลเซีย ในการหารือการแก้ไขปัญหาแรงงานไทยฯ เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหา 8 ด้าน ได้แก่ (1) การแจ้งเกิด-แจ้งตาย ได้จัดทำคู่มือดำเนินการ แต่มีอุปสรรคการดำเนินการแจ้งเกิด-แจ้งตาย ณ จุดเดียวแบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งต้องดำเนินการตามกฎหมายประเทศมาเลเซีย                  (2) การอำนวยความสะดวกการออกใบขับขี่ในประเทศมาเลเซีย โดยแรงงานระยะสั้นสามารถยื่นแปลงใบขับขี่ประเทศไทยที่ผ่านการรับรองเอกสารจากกรมการกงสุลประเทศมาเลเซียได้ (3) การต่ออายุหนังสือเดินทาง (Passport) ในประเทศมาเลเซีย โดย กต. ระบุว่า สถานทูตไม่มีการออกหนังสือเดินทางให้กับผู้เดินทางระยะสั้น ยกเว้นกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเท่านั้น  (4) การขอเพิ่มโควตาและการออกใบนุญาตให้เข้ามาทำงานในประเทศมาเลเซีย (Work Permit) ปัจจุบันไม่มีการกำหนดโควตาของลูกจ้าง ผู้ประกอบการสามารถยื่นขอใบอนุญาตได้ทันที                       (5) การส่งเสริมกิจกรรมสร้างสัมพันธ์ของเครือข่ายคนไทยในประเทศมาเลเซีย ได้ทำแผนงาน และสร้างความสัมพันธ์โดยตั้งคำขอใช้งบประมาณภายใต้แผนงานบูรณาการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้                             (6) การสนับสนุนการจัดหาครูและสื่อการเรียนการสอนภาษาไทยให้กับเด็กและเยาวชนที่อยู่ในประเทศมาเลเซียโดยร่วมกับกระทรวงการศึกษาธิการ จัดทำแผนงาน โครงการ  กิจกรรม โดยตั้งคำขอใช้งบประมาณภายใต้แผนงานบูรณาการฯ (7) การแก้ไขปัญหาบุคคลที่มีรายชื่อในระบบฐานข้อมูลของรัฐ Watch list2 8 ราย โดยได้ให้ความช่วยเหลือเป็นรายกรณีไป และ (8) การสนับสนุนการเยี่ยมผู้ต้องขังที่เป็นคนไทยในเรือน                     จำประเทศมาเลเซีย โดยขอเพิ่มเวลาเข้าเยี่ยมและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ต้องขังหญิง
มติที่ประชุม : รับทราบ

2.  เรื่องเพื่อพิจารณา จำนวน 3 เรื่อง
          2.1 ขอความเห็นชอบหลักการโครงการพัฒนาสวนสาธารณะขวัญเมืองให้มีหอชมเมือง และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ?Yala City Tower? พ.ศ. 2566-2568          การดำเนินงาน : ศอ.บต. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น จังหวัดยะลาและเทศบาลนครยะลา จัดประชุมรับฟังความคิดเห็น กำหนดแนวทางและจัดทำรายละเอียดการใช้พื้นที่สวนสาธารณะขวัญเมืองฯ เมื่อวันที่ 9 และ 14 มีนาคม 2566  โดยมีการก่อสร้างหอชมเมืองที่สูงที่สุดในประเทศ (ความสูง 189 เมตร) และพัฒนาพื้นที่สวนสาธารณะโดยรอบประมาณ 8 ไร่ ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2568) งบประมาณรวม 788 ล้านบาท โดยเทศบาลนครยะลาอยู่ระหว่างปรับแผนงาน โครงการ และงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อดำเนินการจ้างที่ปรึกษาและสำรวจออกแบบรายละเอียด
มติที่ประชุม : เห็นชอบตามที่ฝ่ายเลขานุการเสนอ ดังนี้ (1) เห็นชอบหลักการโครงการพัฒนาสวนสาธารณะขวัญเมืองฯ โดยมอบหมายเทศบาลนครยะลา เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบดำเนินการและมอบหมาย ศอ.บต. มท. (จังหวัดยะลา และสำนักงานโยธาธิการและผังเมือง จังหวัดยะลา และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) โดยสำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทย สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดยะลา) เป็นหน่วยงานสนับสนุน และ (2) เห็นชอบกรอบวงเงิน จำนวน 788 ล้านบาท เพื่อดำเนินการโครงการพัฒนาสวนสาธารณะขวัญเมืองฯ ประกอบด้วย                        2 กิจกรรม ได้แก่ 1) ค่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมและสำรวจออกแบบ จำนวน 8 ล้านบาท โดยมอบหมายเทศบาลนครยะลา ปรับแผนงานโครงการกิจกรรมและงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรตามพระราชบัญญัติรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มาสนับสนุนการดำเนินการและ 2) ค่าก่อสร้างหอชมเมืองและพัฒนาพื้นที่สวนสาธารณะขวัญเมืองโดยรอบ จำนวน 780 ล้านบาท โดยมอบหมายเทศบาลนครยะลาดำเนินการสนับสนุนโครงการอย่างต่อเนื่องภายใต้แผนงานโครงการและงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 หากไม่เพียงพอขอให้สำนักงบประมาณ (สงป.) พิจารณาจัดหางบประมาณจากแหล่งอื่น ๆสนับสนุนต่อไป และให้เทศบาลนครยะลาเสนอจัดตั้งคำของบประมาณปกติสนับสนุนการดำเนินโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป
          2.2 ขอความเห็นชอบหลักการโครงการยกระดับจังหวัดยะลาให้เป็นเมืองแห่งกีฬาจังหวัดชายแดนภาคใต้พ.ศ. 2566-2568          การดำเนินงาน : ก่อสร้างศูนย์กีฬาครบวงจร เนื้อที่ 98 ไร่ ในพื้นที่ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นที่ดินอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน ทั้งนี้ การดำเนินโครงการดังกล่าว จะทำให้ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) มีพื้นที่ในการดำเนินการจัดกิจกรรมด้านกีฬาที่ครบวงจร ทั้งในระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับประเทศและระดับนานาชาติ
มติที่ประชุม : เห็นชอบตามที่ฝ่ายเลขานุการเสนอ ดังนี้ (1) เห็นชอบหลักการโครงการฯ โดยมอบหมายให้เทศบาลนครยะลา เป็นหน่วยหลักรับผิดชอบดำเนินการ และมอบหมาย กก. (สำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทย และสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดยะลา) ศอ.บต. และจังหวัดยะลา เป็นหน่วยงานสนับสนุน และ (2) เห็นชอบกรอบวงเงินจำนวน 396 ล้านบาท เพื่อดำเนินการโครงการฯ โดยมอบหมายเทศบาลนครยะลาดำเนินการปรับแผนงานโครงการและงบประมาณที่ได้รับจัดสรรตามพระราชบัญญัติรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มาสนับสนุนการดำเนินการและสนับสนุนโครงการอย่างต่อเนื่องภายใต้แผนงานโครงการและงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 หากไม่เพียงพอ ขอให้ สงป. พิจารณาจัดหางบประมาณจากแหล่งอื่น ๆ สนับสนุนต่อไป และให้เทศบาลนครยะลาเสนอจัดตั้งคำของบประมาณปกติสนับสนุนการดำเนินโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป
          2.3 ขอความเห็นชอบหลักการโครงการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงแผ่นดิน (ศึกษาแนวเส้นทางใหม่และขุดเจาะอุโมงค์บ้านกระป๋อง) ระยะทางรวมประมาณ 1.400 กิโลเมตร บนทางหลวงหมายเลข 410 ตอน บ่อหิน-เบตงช่วงกม. 114+800-กม. 121+400          การดำเนินงาน : ศอ.บต.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันหารือในการพัฒนาแนวเส้นทางใหม่เพื่อเดินทางเข้าสู่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา และเห็นพ้องกันว่าควรมีการศึกษาแนวเส้นทางใหม่บนทางหลวงหมายเลข 410 ระยะทางรวมประมาณ 1.4 กิโลเมตร ซึ่งจะมีการขุดเจาะอุโมงค์บริเวณบ้านกระป๋อง ระยะทางยาว 800 เมตร โดยมีกรอบระยะเวลาในการศึกษาแนวเส้นทาง 1 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน                 30 ล้านบาท)
มติที่ประชุม : เห็นชอบตามที่ฝ่ายเลขานุการเสนอ ดังนี้ (1) เห็นชอบในหลักการโครงการพัฒนาฯ ระยะทางรวมประมาณ 1.4 กิโลเมตร โดยมอบหมายให้กรมทางหลวง โดยสำนักงานแขวงทางหลวงยะลาเป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบดำเนินการ และมอบหมายให้ ศอ.บต. กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร มท. (จังหวัดยะลาและเทศบาลเมืองเบตง) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงการคลัง (กรมศุลกากร) กก. และกระทรวงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานสนับสนุน และ (2) เห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณ จำนวน 30 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาฯ โดยมอบหมายให้กรมทางหลวงโดยสำนักงานแขวงทางหลวงยะลา ปรับแผนงานโครงการ กิจกรรมและงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรตามพระราชบัญญัติรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มาสนับสนุนการดำเนินการหากไม่เพียงพอ ขอให้ สงป. พิจารณาจัดหางบประมาณจากแหล่งอื่น ๆ สนับสนุนต่อไป
_____________________
1คณะรัฐมนตรีมีมติ (21 กุมภาพันธ์ 2566) อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายช่วยเหลือเยียวยาซื้อเรือประมงในพื้นที่จังหวัดปัตตานี จำนวน 96 ลำ งบประมาณรวม 163 ล้านบาท โดย ศอ.บต. แจ้งว่า มีเจ้าของเรือประมงมายื่นคำร้องขอรับเงินเยียวยา จำนวน 86 ลำ   และไม่ประสงค์นำเรือประมงออกนอกระบบ จำนวน 10 ลำ โดยพิจารณาเห็นชอบจ่ายค่าชดเชยเยียวยาเรือประมง  จำนวน 86 ลำงบประมาณรวม 144 ล้านบาท ทั้งนี้ เรือประมงชื่อโชคสันติชัยของนายชิต ศรีกล่ำ ประสบอุบัติเหตุไฟไหม้ จึงมีมติให้รอการพิจารณา ซึ่ง ศอ.บต. ได้ดำเนินการแบ่งจ่ายเป็นสองงวด ได้แก่ งวดที่ 1 จ่ายค่าชดเชยเยียวยาแล้ว จำนวน 85 ลำ  วงเงิน จำนวน                    115 ล้านบาท  เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 และงวดที่ 2 จะดำเนินการจ่ายค่าชดเชยเยียวยาภายในเดือนมิถุนายน 2566     กรณีเรือประมงชื่อโชคสันติชัยของนายชิต ศรีกล่ำ รวมทั้งการดำเนินการแยกชิ้นส่วนหรือทำลายเรือประมงดังกล่าวด้วย
2Watch list คือ บัญชีบุคคลที่ต้องเฝ้าระวังหรือจับตา ซึ่งหน่วยงานฝ่ายความมั่นคงจัดทำขึ้น ประกอบไปด้วย ข้อมูลของประชาชน ได้แก่ บรรดานักกิจกรรมหรือนักเคลื่อนไหวทางการเมือง นักการเมือง สื่อมวลชน นักวิชาการ และภาคประชาชน ซึ่งรายชื่อเหล่านี้ถูกระบุสถานะในเอกสารว่าเป็นกลุ่ม Watch list หรือกลุ่มที่รัฐกำลังจับตา โดยสาเหตุการขอปลด Watch list จำนวน 8 ราย ซึ่งเป็นรายชื่อที่อยู่ในบัญชี Watch list ของประเทศไทย กรณีเครือข่ายร้านอาหารต้มยำกุ้ง เนื่องจากมีประเด็นข้อขัดข้องในการทำหนังสือเดินทาง 2 กรณี ได้แก่  1) กรณีที่ไม่สามารถทำหนังสือเดินทางได้ สาเหตุจาก (1) หนังสือเดินทางฉบับเดิมยังไม่หมดอายุ หนังสือเดินทางฉบับเดิมสูญหาย มีความประสงค์ทำหนังสือเดินทางฉบับใหม่ (2) การอยู่เกินกำหนด โดยใช้ Visa ท่องเที่ยว (3) ถูกจับกุมจากการไม่มีใบอนุญาตทำงาน (4) ถูกจับกุมปัญหายาเสพติด และ (5) ปัญหาธุรกรรมทางการเงิน  2) กรณีเดินทางออกจากประเทศไทยไม่ได้ สาเหตุจากการมีหมายจับคดีอาญาค้างอยู่ในสารบบทะเบียนประวัติอาชญากร

7. เรื่อง ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติ ประจำเดือนเมษายน 2566
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ                     ณ เดือนเมษายน 2566 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

1. ความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ

                              1.1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติในห้วงที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) โดยเปรียบเทียบสถานการณ์ ณ ปี 2565 กับค่าเป้าหมายปี 2570 ของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)                 (พ.ศ. 2566-2580) สรุปได้ ดังนี้
สถานะการบรรลุเป้าหมาย          จำนวนเป้าหมาย
เป้าหมายระดับประเด็น 36 เป้าหมาย1 มีสถานะบรรลุเป้าหมายระดับต่ำกว่าเป้าหมาย
ระดับต่ำกว่าค่าเป้าหมายขั้นวิกฤต          29 (ร้อยละ 73.38)
ระดับต่ำกว่าค่าเป้าหมายระดับเสี่ยง          4 (ร้อยละ 10.81)
ระดับต่ำกว่าค่าเป้าหมาย          3 (ร้อยละ 8.11)
อยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล          1
เป้าหมายแผนแม่บทย่อย 140 เป้าหมาย2
ระดับต่ำกว่าค่าเป้าหมายขั้นวิกฤต          50 (ร้อยละ 35.71)
ระดับต่ำกว่าค่าเป้าหมายระดับเสี่ยง          29 (ร้อยละ 20.71)
ระดับต่ำกว่าค่าเป้าหมาย          43 (ร้อยละ 30.71)
อยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล          12

จากสถานะการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐในห้วงที่ 2 ให้สามารถบรรลุค่าเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ใน ปี 2570 ดังนั้น หน่วยงานของรัฐจึงควรเร่งกำกับและติดตามโครงการ/การดำเนินงานต่าง ๆ ในแต่ละปีงบประมาณให้บรรลุตามเป้าหมายของโครงการ/การดำเนินงานภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อให้สามารถบรรลุผลลัพธ์ตามเป้าหมายของแผนแม่บทย่อยและเป้าหมายระดับประเด็นของแผนแม่บทฯ ได้อย่างเป็นรูปธรรม

                    1.2 การขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) สศช. ร่วมกับองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (United Nations Children's Fund: UNICEF) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และภาคีการพัฒนาในพื้นที่ขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาภายใต้หมุดหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ในระดับพื้นที่ในหมุดหมายที่ 9 ไทยมีความยากจนข้ามรุ่นลดลง และมีความคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอเหมาะสม และหมุดหมายที่ 12 ไทยมีกำลังคนสมรรถะสูงมุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาต้นแบบการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา การทำงาน หรือการฝึกอบรม (Youth Not in Education,Employment, or Training NEETs) สามารถกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาหรือตลาดแรงงาน โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างศักยภาพของผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถแก้ไขปัญหากลุ่ม NEETs ได้อย่างยั่งยืน โดยมีพื้นที่ตำบลนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี เป็นพื้นที่นำร่อง และมีการดำเนินงานแบบครบวงจรตั้งแต่การค้นหาและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งมีทีมปฏิบัติการร่วมกันพัฒนาฐานข้อมูลและจัดกิจกรรมเพื่อเข้าถึงเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย การจุดประกาย มีการชี้แนะแนวทางและเสริมสร้างแรงบันดาลใจและออกแบบ                         แนวทางการส่งเสริมที่เหมาะสมกับเยาวชนแต่ละคน และการฝึกอบรมและการจ้างงานซึ่งเยาวชนที่ประสงค์จะเรียนต่อจะได้รับการช่วยเหลือจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาให้สามารถกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาได้ และเยาวชนที่ประสงค์จะทำงานจะได้รับการฝึกทักษะอาชีพสอบรับรองคุณวุฒิวิชาชีพและส่งต่อเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการคัดเลือกทีมปฏิบัติการในพื้นที่เพื่อค้นหาและเข้าถึงเยาวชนกลุ่ม NEETs ซึ่งมีผู้นำชุมชนและอาสาสมัครในพื้นที่แสดงความสนใจเข้าร่วมเป็นทีมปฏิบัติการแล้วกว่า 300 คน ทั้งนี้ ในการส่งเสริมให้เยาวชนกลุ่ม NEETs สามารถเข้าสู่ตลาดแรงานได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต้องร่วมมือกันในการพัฒนาบริการฝึกอบรมทักษะแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในพื้นที่ สร้างตำแหน่งงานรองรับ รวมถึงจัดทำระบบส่งต่อผู้ได้รับการพัฒนาทักษะแรงงานให้มีตำแหน่งงานที่มีค่าจ้างและสวัสดิการที่เหมาะสม

1.3 การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) รัฐบาลร่วมกับสำนักงานเลขาธิการอาเซียนจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนว่าด้วยการเร่งรัดการขับเคลื่อนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2566 ณ กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างกลไกความร่วมมือในการตอบสนองต่อความท้าทายและเร่งรัดการขับเคลื่อน SDGs ร่วมกันของภูมิภาคอาเซียนอย่างเป็นทางการ ซึ่งไทยได้นำเสนอการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนด้วยระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) เพื่อเป็นต้นแบบการดำเนินงานแก่ประเทศสมาชิกอื่น ๆ ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (4 มษายน 2566) เห็นชอบเอกสารขอบเขตการดำเนินงานของการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนฯ แล้ว และ สศช. อยู่ระหว่างเสนอผลการประชุมให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป3

2. การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ

                              2.1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติผ่านเผนระดับที่ 3 มีแผนปฏิบัติการด้าน...เพื่อเข้าสู่การพิจารณากลั่นกรองของ สศช. ตามมติคณะรัฐมนตรี (4 ธันวาคม 2560) เรื่อง แนวทางการเสนอแผนเข้าสู่                   การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี สรุปได้ ดังนี้

2.1.1 แผนปฏิบัติการด้าน... ที่หน่วยงานของรัฐเสนอไปยัง สศช. ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2566 จำนวน 15 แผน และ สศช. ได้พิจารณากลั่นกรองแล้ว จำนวน 12 แผน ดังนี้

สถานะของแผนปฏิบัติการด้าน...          จำนวน (แผน)
ผ่านกระบวนการพิจารณาของ สศช. และรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบแล้วและมีผลบังคับใช้อยู่ [แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม ฉบับที่ 4                    (พ.ศ. 2566-2570)]          1
สศช. เห็นควรให้มีการปรับปรุงให้แผนมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอนต่อไป          6
ไม่เข้าข่ายต้องเสนอคณะรัฐมนตรี          5

2.1.2 แผนปฏิบัติการด้าน... ทั้งหมดที่เข้าสู่กระบวนการพิจารณากลั่นกรองของ สศช. รวมจำนวน 180 แผน ดังนี้

สถานะของแผนปฏิบัติการด้าน...          จำนวน (แผน)
ผ่านกระบวนการพิจารณาของ สศช. และรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบแล้ว
และมีผลบังคับใช้อยู่          74
สศช. เห็นควรให้มีการทบทวนปรับปรุงให้แผนมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอนต่อไป          23
สศช. อยู่ระหว่างการพิจารณากลั่นกรอง          13
ไม่เข้าข่ายต้องเสนอคณะรัฐมนตรี          6
ยกเลิกการดำเนินการ/สิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินการ          64

ทั้งนี้ สศช. จะประมวลผลแผนระดับที่ 3 เพื่อพิจารณาความครอบคลุมและความจำเป็นของแผนปฏิบัติการด้าน... ต่อไป

2.2 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐหน่วยงานของรัฐได้จัดทำและนำเข้าแผนระดับที่ 3 รวมทั้งโครงการ/การดำเนินงานในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ โดย ณ วันที่ 30 เมษายน 2566 พบว่า มีข้อมูลแผนระดับที่ 3 และโครงการ/การดำเนินงานประจำปี 2566 ในระบบ eMENSCR ดังนี้

ข้อมูล          จำนวน (แผน/โครงการ)
(1) แผนระดับที่ 3 แบ่งเป็น
  • แผนปฏิบัติราชการรายปี
  • แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี
          - แผนปฏิบัติการด้าน          1,062
475
454
133
(2) โครงการ/การดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566          24,233

หมายเหตุ : หน่วยงานที่ยังไม่ได้นำเข้าข้อมูลแผนปฏิบัติราชการรายปี จำนวน 48 หน่วยงาน

ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับรายการโครงการตามรหัสงบประมาณในระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) พบว่า ยังมีข้อมูลโครงการ/การดำเนินงานส่วนหนึ่งที่ไม่มีการนำเข้าในระบบ eMENSCR ส่งผลให้ข้อมูลเพื่อใช้ในการติดตาม ตรวจสอบประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติยังขาดความครอบคลุมและครบถ้วน ทั้งนี้ สศช. ได้เร่งรัดให้ทุกหน่วยงานของรัฐนำเข้าแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และข้อมูลของทุกโครงการ/การดำเนินงานให้แล้วเสร็จ และรายงานความก้าวหน้าของโครงกร/การดำเนินงานภายใน 30 วันนับจากวันสิ้นสุดไตรมาส และรายงานผลสัมฤทธิ์ของแผนระดับที่ 3 ภายใน 3 เดือนนับจากวันสิ้นสุดของแผนฯ

2.3 ความก้าวหน้าการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ณ วันที่ 30 เมษายน 2566 มีการสำรวจและมีการช่วยเหลือครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 4 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มเป้าหมาย          จำนวน (ครัวเรือน)          ช่วยเหลือ (ครัวเรือน)
(1) กลุ่มเป้าหมายเร่งด่วน
          - กลุ่มคนที่ตกเกณฑ์ดัชนีความยากจนหลายมิติ (MPI) และมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ          46,360          13,568
          - กลุ่มคนที่ตกเกณฑ์ MPI และไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ          26,607          6,694
(2) กลุ่มครัวเรือนเปราะบาง          97,771          36,164
(3) กลุ่มคนที่ต้องสำรวจเพิ่มเติม          17,612          10,843
(4) กลุ่มคนที่ตกหล่นจากระบบ TPMAP          4,168          988
รวม          192,518          68,257

โดย ศจพ. ทุกระดับในพื้นที่และทีมปฏิบัติการฯ ต้องเร่งสำรวจ แก้ไขปัญหา และพัฒนาให้ครอบคลุมทุกคนของทุกกลุ่มเป้าหมายต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่ 1 กลุ่มคนเป้าหมายเร่งด่วน (คนที่ตกเกณฑ์ MPI) กลุ่มที่ 2 กลุ่มครัวเรือนเปราะบาง และกลุ่มที่ 4 กลุ่มคนที่ตกหล่นจากระบบ TPMAP ทั้งนี้ สศช. อยู่ระหว่างการประมวลผลข้อมูลจากระบบติดตามข้อมูลผู้เดินทางเข้าหมู่บ้านเข้าชุมชน เพื่อเติมเต็มข้อมูลการสำรวจปัญหาและการให้ความช่วยเหลือในระบบ TPMAP อย่างครอบคลุมในทุกมิติการพัฒนาของแต่ละพื้นที่

3. การติดตาม ตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ สศช. ได้หารือกับสำนักตรวจราชการและสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อเตรียมความพร้อมการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับผู้ตรวจราชการกระทรวง กรม และเจ้าหน้าที่ที่สนับสนุนการตรวจราชการ ในช่วงเดือนมิถุนายน 2566 เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการจัดทำแผนการตรวจราชการ ที่จะต้องให้ความสำคัญกับเป้าหมายแผนแม่บทย่อยที่มีสถานะอยู่ในระดับวิกฤตเป็นอันดับแรก และการจัดทำรายงานผลสัมฤทธิ์การตรวจราชการเพื่อให้กระบวนการการติดตาม ตรวจสอบ และการประเมินผลเป็นไปตามหลักวงจรบริหารงานคุณภาพ (Plan-Do-Check-Act: PDCA)

                    4. ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ สศช. ได้ร่วมกับหน่วยงานของรัฐขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติผ่านการจัดทำโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565-2567 โดยมีโครงการฯ ที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 571 โครงการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 406 โครงการ และประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 1,026 โครงการ ซึ่งแม้ว่าจะมีจำนวนข้อเสนอโครงการที่ผ่านการจัดลำดับความสำคัญเพิ่มขึ้น แต่ยังคงไม่ถึงร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับจำนวนข้อเสนอโครงการทั้งหมด โดยมีข้อสังเกต เช่น (1) หน่วยงานอาจมีความเข้าใจในบทบาทของตนเองในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ และหน่วยงานร่วมขับเคลื่อนที่ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน (2) หน่วยงานไม่ได้พุ่งเป้าการดำเนินการไปยังเป้าหมายที่มีสถานะการบรรลุ ต่ำกว่าค่าเป้าหมาย เป้าหมาย โดยมีข้อเสนอโครงการในเป้าหมายขั้นวิกฤตและเป้าหมายระดับเสี่ยงเพียงร้อยละ 46 จากจำนวนข้อเสนอโครงการทั้งหมด และ (3) ข้อเสนอโครงการฯ ของหน่วยงานของรัฐยังคงมีคะแนนเฉลี่ยน้อยกว่าร้อยละ 60 ในหลายเกณฑ์ สะท้อนให้เห็นว่า หน่วยงานของรัฐอาจยังมีความเข้าใจไม่มากพอในการจัดทำโครงการฯ ดังนั้น หน่วยงานของรัฐต้องศึกษาและทำความเข้าใจหลักการจัดทำโครงการที่ส่งผลต่อเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทฯ ตามหลักการความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล และหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ ทั้ง                 3 ระดับ จะต้องบูรณาการการทำงานร่วมกันภายใต้เป้าหมายแผนแม่บทย่อย ทั้งนี้ สศช. จะจัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อวิเคราะห์การดำเนินการร่วมกันระหว่างหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ และหน่วยงานร่วมขับเคลื่อนเป้าหมายแผนแม่บทย่อย รวมทั้งนำข้อสังเกตและประสบการณ์จากการขับเคลื่อนที่ผ่านมา มาปรับปรุงการจัดทำโครงการฯ ให้สามารถปิดช่องว่างของการพัฒนา และ ?พุ่งเป้า? การบรรลุเป้าหมายของแผนแม่บทฯ ได้อย่างเป็นรูปธรรม                  มากยิ่งขึ้น

5. นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการให้มอบหมายทุกหน่วยงานของรัฐให้ความสำคัญกับการติดตามและเร่งรัดการดำเนินการต่าง ๆ รวมทั้งดำเนินการวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคที่ทำให้การดำเนินการเกิดความล่าช้า

1เป้าหมายระดับประเด็น 36 เป้าหมาย ไม่นับรวมเป้าหมายที่อยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลซึ่งยังไม่ทราบสถานะการบรรลุเป้าหมาย
2เป้าหมายแผนแม่บทย่อยรวม 140 เป้าหมาย ที่รายงานในครั้งนี้ไม่นับรวมเป้าหมายที่บรรลุตามที่กำหนดแล้ว จำนวน 6 เป้าหมาย
3จากการประสานข้อมูลเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 สศช. แจ้งว่าขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการและคาดว่าจะสามารถเสนอคณะรัฐมนตรีใด้ภายในเดือนมิถุนายน 2566

8. เรื่อง ผลการพิจารณากรณีการใช้งบประมาณสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามมาตรา 169 (3) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ของกระทรวงพลังงาน
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณากรณีการใช้งบประมาณสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามมาตรา 169 (3) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ของกระทรวงพลังงาน (พน.) ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งแจ้งว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งได้พิจารณาเรื่องการใช้งบประมาณสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามมาตรา 169 (3) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ของ พน. แล้ว โดยมีมติเห็นชอบให้ พน. ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบรรเทาความเดือดร้อนและช่วยลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานที่ได้รับผลกระทบจากราคาไฟฟ้าซึ่งเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในลักษณะการให้ส่วนลดจากการเพิ่มขึ้นของอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (Ft) เดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม 2566 โดยแบ่งเป็นการให้ส่วนลดแบบขั้นบันไดแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน และเป็นส่วนลดค่าไฟฟ้าสำหรับงวดเดือนพฤษภาคม 2566 จำนวน 150 บาทต่อราย ซึ่งเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 หน่วยต่อเดือน ภายในกรอบวงเงินทั้งสิ้น 10,464 ล้านบาท


9. เรื่อง การถวายพระราชสมัญญา ?พระอัครราชูปถัมภิกาการจดหมายเหตุไทย? แด่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการถวายพระราชสมัญญา ?พระอัครราชูปถัมภิกาการจดหมายเหตุไทย? แด่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    วธ. รายงานว่า
                     1. คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2565 ได้มีมติเห็นชอบการถวายพระราชสมัญญา ?พระอัครราชูปถัมภิกาการจดหมายเหตุไทย? แด่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปี การสถาปนาหอจดหมายเหตุแห่งชาติเพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงให้ความสนพระราชหฤทัยและอุปถัมภ์งานจดหมายเหตุไทย อีกทั้งพระราชทานพระราชดำรัสแนะนำเกี่ยวกับวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านจดหมายเหตุ อันเป็นคุณานุปการต่อการพัฒนางานอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุ ตลอดจนทรงให้ความสำคัญต่อการจัดหลักสูตรวิชาจดหมายเหตุในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการจัดการและการวิจัยด้านจดหมายเหตุ เพื่อพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าของอนุชนรุ่นหลังสืบต่อไป ทั้งนี้ ได้มอบให้กรมศิลปากร วธ. ดำเนินการตามข้อเสนอของคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติต่อไป
                     2. คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้มีคำสั่งที่ 5/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินงานถวายพระราชสมัญญาสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปี หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2565 โดยมีปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานอนุกรรมการ และอธิบดีกรมศิลปากร เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ ซึ่งคณะอนุกรรมการ ฯ มีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองข้อมูลเพื่อให้การดำเนินงานถวายพระราชสมัญญา ฯ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและ                                 สมพระเกียรติ
                     3. ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ                   สยามบรมราชกุมารี ได้นำความกราบบังคมทูลทรงทราบฝ่าละอองพระบาท และราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว

10. เรื่อง การเสนอพระนามพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้องค์การยูเนสโกประกาศยกย่องและร่วมเฉลิมฉลองในวาระ 100 ปี วันพระบรมราชสมภพ ในปี พ.ศ. 2570
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบในหลักการในการเสนอพระนามพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล                 อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้องค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ประกาศยกย่องและร่วมเฉลิมฉลองในวาระ 100 ปี วันพระบรมราชสมภพ ในปี 2570
                    2. เห็นชอบให้ ศธ. ในฐานะสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำร่างเอกสารเสนอพระนามต่อองค์การ UNESCO
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ศธ. รายงานว่า
                    1. องค์การ UNESCO ได้ริเริ่มโครงการเฉลิมฉลองบุคคลและเหตุการณ์สำคัญตั้งแต่ปี 2499 โดยเปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกเสนอชื่อบุคคลหรือผู้มีผลงานดีเด่นและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่สอดคล้องกับพันธกิจขององค์การ UNESCO ใน 5 สาขาได้แก่การศึกษา วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชน ที่ช่วยส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นของประชาชน และ/หรือทำให้เกิดสันติภาพของประเทศหรือของโลก เพื่อให้องค์การ UNESCO ประกาศยกย่องและร่วมเฉลิมฉลองเป็นประจำทุก 2 ปี1
                    2. เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2566 ศธ. ได้จัดประชุมหารือร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ และหน่วยงานต่าง ๆ        ที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นต้น เพื่อเตรียมการเสนอพระนามพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร            ให้องค์การ UNESCO ประกาศยกย่องและร่วมเฉลิมฉลองในวาระ 100 ปี วันพระราชสมภพ ในปี 2570 เนื่องจากทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นต่อประเทศไทย ทรงอุทิศพระองค์เพื่อปฏิบัติบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพสกนิกร รวมถึงทรงพระราชทานหลักในการดำเนินชีวิต ทั้งปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พระบรมราโชวาท และพระราชดำรัส ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญที่เป็นภูมิคุ้มกันให้ประชาชนสามารถแก้ไขปัญหาและพัฒนาความเป็นอยู่ รวมถึงดำเนินชีวิตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในสังคมโลกยุคปัจจุบัน ซึ่งนานาชาติและองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ ให้การยอมรับพระองค์ในฐานะพระมหากษัตริย์นักพัฒนา นอกจากนี้ พระราชกรณียกิจของพระองค์สอดคล้องกับภารกิจขององค์การ UNESCO       5 ด้าน ได้แก่ การศึกษา วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชน ตลอดจนมีเป้าหมายเพื่อ                  การส่งเสริมสันติภาพ ความเท่าเทียม และการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบการเสนอพระนามพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้องค์การ UNESCO ประกาศยกย่องและร่วมเฉลิมฉลองในวาระ 100 ปี วันพระบรมราชสมภพ ในปี 2570
                    3. ศธ. ได้เตรียมการดำเนินงาน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ (1) การยกร่างข้อมูลเพื่อเสนอพระนามฯ ให้องค์การ UNESCO โดย ศธ. จะต้องดำเนินการจัดส่งเอกสารการเสนอพระนามฯ ภายในปี 2567 เนื่องจากจะต้องนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารขององค์การ UNESCO เพื่อพิจารณาภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2568 ก่อนเสนอให้ที่ประชุมสมัยสามัญขององค์การ UNESCO พิจารณาให้ความเห็นชอบในเดือนพฤศจิกายน 2568 (เป็นไปตามกระบวนการพิจารณาขององค์การ UNESCO ที่จะต้องให้การรับรองบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อก่อนจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองเป็นเวลาล่วงหน้า 2 ปี) (ข้อเสนอในครั้งนี้) และ (2) การเตรียมการด้านต่าง ๆ โดยได้จัดทำร่างแผน                          การดำเนินงานการเสนอพระนามฯ เพื่อให้การดำเนินการที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสอดคล้องตามหลักเกณฑ์และกำหนดการขององค์การ UNESCO สรุปได้ ดังนี้
เดือน/ปี          แผนการดำเนินการ
การจัดเตรียมข้อมูล
มกราคม 2566          ประชุมหารือเบื้องต้นกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ดำเนินการแล้ว                 ตามข้อ 2)
มกราคม - กุมภาพันธ์ 2566          ศธ. เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการยกร่างข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตามหลักเกณฑ์ขององค์การ UNESCO                (ศธ. แจ้งว่า ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวแล้ว)
กุมภาพันธ์ 2566 - มกราคม 2567          คณะกรรมการยกร่างข้อมูลฯ ประชุมจัดทำข้อมูล
การวางแผนการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลอง
กุมภาพันธ์ 2567          - ศธ. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบให้รัฐบาลเป็นเจ้าภาพจัดงานเฉลิมฉลองในปี 2570
- ศธ. กราบบังคมทูลเพื่อขอพระบรมราชานุญาตในการเสนอพระนามฯ ให้องค์การ UNESCO
มีนาคม 2567          ศธ. ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการและอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ เพื่อวางแผนการดำเนินงาน การจัดกิจกรรมเฉลิมฉลอง และแผนการใช้งบประมาณ
เมษายน - สิงหาคม 2567          จัดการประชุมคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ เพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานและวางแผนการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลอง รวมทั้งจัดทำแผนการใช้งบประมาณ
การดำเนินการเสนอพระนามฯ ให้องค์การ UNESCO
กันยายน 2567          ศธ. รวบรวมแผนงานจากคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ เพื่อจัดทำรายละเอียดให้สอดคล้องกับแบบฟอร์มขององค์การ UNESCO
ตุลาคม 2567          ศธ. มีหนังสือขอรับการสนับสนุนการเสนอพระนามฯ จากประเทศสมาชิก UNESCO (ศธ. แจ้งว่า ตามหลักเกณฑ์ขององค์การ UNESCO จะต้องได้รับการสนับสนุนจากประเทศสมาชิก 2 ประเทศขึ้นไป)
พฤศจิกายน 2567          ศธ. นำข้อมูลจากคณะกรรมการยกร่างข้อมูลฯ และคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ไปกรอกในแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ขององค์การ UNESCO (ภายในวันที่ 1 ธันวาคม 2567)
กระบวนการพิจารณาขององค์การ UNESCO
มกราคม - มีนาคม 2568          องค์การ UNESCO นำการเสนอพระนามฯ เข้าสู่การพิจารณาของคณะทำงานกลั่นกรอง และจะมีหนังสือแจ้งผลให้ประเทศสมาชิกทราบในเบื้องต้น
เมษายน - มิถุนายน 2568          ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารขององค์กร UNESCO ดำเนินการพิจารณาข้อมูลโดยหากมีการขอข้อมูลเพิ่มเติมหรือปรับแก้จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ
ตุลาคม 2568          ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารขององค์การ UNESCO พิจารณาการปรับแก้ไขข้อมูล
พฤศจิกายน 2568          ที่ประชุมสมัยสามัญขององค์การ UNESCO พิจารณาให้ความเห็นชอบ
การจัดกิจกรรมเฉลิมฉลอง
ปี 2570          รัฐบาลจัดกิจกรรมเฉลิมฉลอง โดย ศธ. จะจัดทำรายงานผลการดำเนินกิจกรรมเฉลิมฉลองและส่งให้สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ภายหลังเสร็จสิ้นการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลอง
                    4. ศธ. แจ้งว่า เรื่องนี้เป็นการขอความเห็นชอบในหลักการเพื่อให้ ศธ. เตรียมการต่าง ๆ ให้ทันกับเงื่อนไขเวลาดำเนินการ ไม่เป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ ยังไม่ก่อให้เกิดภาระด้านงบประมาณหรือมีผลเป็น                 การสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป จึงไม่ขัดต่อแนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎรตามนัยมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
1 ที่ผ่านมา มีบุคคลสำคัญของประเทศไทยที่ได้รับการประกาศยกย่องและร่วมเฉลิมฉลองโดยองค์การ UNESCO เช่น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยรัฐบาลรับเป็นเจ้าภาพจัดงานเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 100 ปี วันประสูติ (6 พฤษภาคม 2566) ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2564

11. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2566 และผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2566 และครั้งที่ 8/2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 และผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้   พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2566                 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2566 และครั้งที่ 8/2566 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ดังนี้
                    1. ผลการพิจารณาของ คกง. ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2566
                    รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563)                   ราย 3 เดือน ครั้งที่ 12 (1 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน 2566) พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานภาครัฐรับข้อเสนอแนะของ คกง. ไปปฏิบัติตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
                    2. ผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุม      ครั้งที่ 7/2566
                              2.1 อนุมัติให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ค่ารักษาพยาบาลแก่กลุ่มผู้ไร้สิทธิการรักษาพยาบาลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โครงการค่าใช้จ่ายในการบรรเทาฯ) โดยขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ จากเดือนธันวาคม 2565 เป็นเดือนกันยายน 2566 และเพิ่มจำนวนกลุ่มเป้าหมายของโครงการ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                              2.2 อนุมัติให้จังหวัดเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ปี 2565 (โครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ) ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                              2.3 มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 2.1 และข้อ 2.2 เร่งปรับปรุงรายละเอียดของโครงการในระบบ Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR (ระบบ eMENSCR) ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว พร้อมทั้งเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด
                              2.4 มอบหมายให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 และอยู่ระหว่างดำเนินการให้เร่งรัดการดำเนินงานและต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี พร้อมทั้งกำหนดเงื่อนไขว่าในกรณีที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ไม่สามารถดำเนินงานและเบิกจ่ายเงินกู้ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้หน่วยงานรับผิดชอบดำเนินโครงการโดยใช้จ่ายจากแหล่งเงินอื่นต่อไป
                              2.5 อนุมัติการทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2566 เรื่องผลการพิจารณา คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2566 และครั้งที่ 6/2566 ในส่วนของการขยายระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ของกระทรวงมหาดไทย (มท.) จากเดือนพฤษภาคม 2566 เป็นเดือนมิถุนายน 2566 โดยที่สาระสำคัญอื่นยังคงเป็นไปตามเดิมที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ
                    3. ผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุม                  ครั้งที่ 8/2566
                              รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ราย 3 เดือน ครั้งที่ 7 (1 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน 2566) พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ คกง. ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด

12. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก (โครงการฯ) ตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เสนอดังนี้
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กพอ. รายงานว่า
                    1. สัญญาร่วมลงทุนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก (สัญญาร่วมลงทุนฯ) ลงวันที่ 19 มิถุนายน 2563 ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก        (สกพอ.) และบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด กำหนดให้เหตุสุดวิสัย2 หรือกรณีเกิดความผันผวนทางเศรษฐกิจ เช่น กรณีเกิดโรคระบาดหรือโรคติดต่ออันตรายที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และ/หรืออุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นเหตุผ่อนผัน [ตามข้อ 13.1 (2) (ค) ของสัญญาร่วมลงทุนฯ] โดยหากเอกชนคู่สัญญาประสบผลกระทบอันมีเหตุมาจากเหตุสุดวิสัย และ/หรือเหตุผ่อนผัน คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะปรึกษาหารือกันถึงวิธีการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับคู่สัญญาที่ได้รับผลกระทบด้วยความเหมาะสมและเป็นธรรม [ตามข้อ 13.3 (4) ของสัญญาร่วมลงทุนฯ]
                    2. ในช่วงปี 2564 - 2565 บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด ได้ขอใช้สิทธิเหตุผ่อนผันตามข้อ 13 ของสัญญาร่วมลงทุนฯ [วิกฤติเศรษฐกิจสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน] (เหตุผ่อนผันวิกฤติเศรษฐกิจและโควิด 19) และขอหารือแนวทางแก้ไขปัญหาต่อ สกพอ. ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้หารือร่วมกันเพื่อพิจารณาเหตุผ่อนดังกล่าวรวมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหา และสามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
                        2.1 การร่วมกันผลักดันพัฒนาเมืองการบินภาคตะวันออก (Eastern Airport City) ให้เกิดขึ้นและเป็นศูนย์กลางในด้านการท่องเที่ยว ธุรกิจ การบินและโลจิสติกส์ที่มีศักยภาพสูงและสามารถแข่งขันในภูมิภาคเอเชีย
หัวข้อ          สาระสำคัญ
ความจำเป็น          เหตุผ่อนผันวิกฤติเศรษฐกิจและโควิด 19 ทำให้ประมาณการผู้โดยสารลดลงอย่างมีนัยสำคัญจนทำให้โครงการฯ มีผู้โดยสารใช้บริการไม่เป็นไปตามเป้าหมายโครงการฯ ที่ 60 ล้านคนต่อปี เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาโครงการฯ
หลักการแก้ไขปัญหา          - เอกชนลงทุนเพิ่มเติมในการพัฒนาเมืองการบินภาคตะวันออก (Eastern Airport City) ประมาณ 40,000 ล้านบาท (จากเดิมประมาณ 4,500 ล้านบาท) โดยเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาโครงการฯ กรรมสิทธิ์ในงานพัฒนาเมืองการบินภาคตะวันออกทั้งหมดจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ
- สกพอ. จะให้การสนับสนุนในการพัฒนาเมืองการบินภาคตะวันออกให้เกิดขึ้น
- สกพอ. จัดให้มีมาตรการสนับสนุนโครงการฯ ทั้งในด้านภาษีและไม่ใช่ภาษี สำหรับการประกอบกิจการการทำงาน และการอุปโภค บริโภค และในด้านการบินและโลจิสติกส์ ให้มีผลใช้บังคับและสามารถเริ่มใช้ประโยชน์ในมาตรการสนับสนุนทั้งหมดดังกล่าวได้ภายในระยะเวลา 5 ปีนับจากวันที่เริ่มนับระยะเวลาโครงการฯ ทั้งนี้ จะมีการทบทวนพัฒนามาตรการสนับสนุนดังกล่าวทุก ๆ 10 ปี
ทั้งนี้ คู่สัญญาตกลงว่าในกรณีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ คู่สัญญาตกลงจะร่วมกันแก้ไขปัญหา ดังนี้
    ? ในกรณีที่โครงการฯ ไม่ได้รับการส่งเสริมในมาตรการสนับสนุนโครงการฯ ภายในระยะเวลา 5 ปี นับจากวันที่เริ่มนับระยะเวลาโครงการฯ หรือไม่บรรลุเป้าหมายของเมืองการบินภาคตะวันออกตามที่จะกำหนดไว้เพื่อเป็นพื้นที่ศูนย์กลางการท่องเที่ยว ธุรกิจ การบิน และโลจิสติกส์ของประเทศคู่สัญญาจะร่วมกันแก้ไขปัญหาเหตุผ่อนผันวิกฤติเศรษฐกิจและโควิด 19 ต่อไปตามวิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือหลายวิธีการ [ตามที่กำหนดในข้อ 13.3 (4) ของสัญญาร่วมลงทุนฯ] เพื่อแก้ไขผลกระทบทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม
    ? เมื่อครบระยะเวลาการให้บริการและบำรุงรักษาโครงการฯ แล้ว และ สกพอ. ยังไม่ได้รับชำระรายได้ของรัฐครบ 1.3 ล้านล้านบาท และ/หรือเอกชนยังไม่ได้รับผลตอบแทนการลงทุนในอัตราที่เหมาะสมกับความเสี่ยงของโครงการฯ และภาระการลงทุนและการเงินเพิ่มเติมของเอกชน คู่สัญญาตกลงขยายระยะเวลาโครงการฯ เพื่อให้โครงการฯ สามารถชำระรายได้ของรัฐได้ครบ 1.3 ล้านล้านบาท และทำให้เอกชนได้รับผลตอบแทนการลงทุนในอัตราที่เหมาะสมดังกล่าว
   ? ในการส่งเสริมมาตรการสนับสนุนโครงการฯ ข้างต้น หากภาครัฐมีการดำเนินการส่งเสริมเขตพื้นที่อื่นที่อาจจะส่งผลอย่างรุนแรงต่อฐานะทางการเงินของโครงการฯ และเอกชนคู่สัญญา สกพอ. และเอกชนคู่สัญญาจะร่วมกันดำเนินการทำให้โครงการฯ และเมืองการบินภาคตะวันออกได้รับการส่งเสริมอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกันกับเขตพื้นที่หรือเขตส่งเสริมอื่นนั้น เพื่อแก้ไขผลกระทบทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม
ประโยชน์ที่จะได้รับ          - ผลักดันให้โครงการฯ เป็นจุดหมายปลายทาง (Destination) ในการเดินทางของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียซึ่งจะช่วยเพิ่มจำนวนผู้เดินทางมายังโครงการฯ ในปีสุดท้ายให้ไม่น้อยกว่า จำนวน 60 ล้านคนต่อปีตามเป้าหมายเดิม และทำให้โครงการฯ สามารถชำระรายได้ขั้นต่ำของรัฐครบตามจำนวน 1.3 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนที่กำหนดไว้ตามสัญญา
- การลงทุนเพิ่มเติมของเอกชนคู่สัญญาจะส่งผลให้การท่องเที่ยวในพื้นที่ EEC มีคุณภาพและเอกลักษณ์ที่โดดเด่นชัดเจนมากขึ้น สร้างความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยว ดึงดูดให้เกิดการเดินทาง สร้างปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจากเดิมให้มีความยั่งยืน เพิ่มการจ้างงานให้กับประชาชนในพื้นที่ และกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
                        2.2 สกพอ. จะใช้ความพยายามอย่างดีที่สุดในการสนับสนุนเอกชนคู่สัญญาแก้ไขปัญหาทางการเงินที่เกิดขึ้น เพื่อบรรเทาผลกระทบโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ในส่วนของค่าใช้จ่ายทางการเงิน
หัวข้อ          สาระสำคัญ
ความจำเป็น          เหตุผ่อนผันวิกฤติเศรษฐกิจและโควิด 19 ได้ส่งผลกระทบทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายทางการเงินของโครงการฯ สูงขึ้น ในขณะที่ประมาณการจำนวนผู้โดยสารของโครงการฯ ลดลง อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสามารถของโครงการฯ และเอกชนคู่สัญญาในการจัดหาแหล่งเงินทุน
หลักการแก้ไขปัญหา          สกพอ. จะใช้ความพยายามอย่างดีที่สุด (Best Efforts) โดยสุจริตภายใต้กฎหมายและพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ในการสนับสนุนการจัดหาแหล่งเงินกู้ของเอกชนสำหรับการดำเนินโครงการฯ ให้ได้เงื่อนไขที่ดีกว่าตลาดของสถาบันทางการเงินเอกชนทั่วไปและใกล้เคียงกันกับโครงการของรัฐที่มีความเสี่ยงในลักษณะเดียวกันกับโครงการฯ จนกว่าผลกระทบจะสิ้นสุดลง
ประโยชน์ที่จะได้รับ          การใช้ความพยายามอย่างดีที่สุด (Best Efforts) ของ สกพอ. ในการสนับสนุนการจัดหาแหล่งเงินกู้ของเอกชนสำหรับการดำเนินโครงการฯ จะเป็นประโยชน์ในการช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของโครงการฯ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสที่โครงการฯ จะได้แหล่งเงินกู้ที่มีเงื่อนไขที่ดีกว่าตลาด ส่งผลให้โครงการฯ ประสบความสำเร็จในการพัฒนาตามวัตถุประสงค์ได้ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ยังคงปรากฏผลกระทบจากโรคโควิด 19
                        2.3 การปรับหลักเกณฑ์การพัฒนาโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาในส่วนงานหลัก3 ของสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา (งานหลักฯ) ในแต่ละระยะให้สอดคล้องกับปริมาณผู้โดยสารที่เกิดขึ้นจริง เพื่อลดภาระการลงทุน
หัวข้อ          สาระสำคัญ
ความจำเป็น          สัญญาร่วมลงทุนฯ กำหนดขนาดของการพัฒนางานหลักฯ ในแต่ละระยะ โดยอ้างอิงกับประมาณการปริมาณจำนวนผู้โดยสารก่อนการเกิดขึ้นของเหตุผ่อนผันวิกฤตเศรษฐกิจและโรคโควิด 19 แต่เนื่องจากโครงการฯ และสนามบินอู่ตะเภาได้รับผลกระทบจากเหตุผ่อนผันดังกล่าว ทำให้งบประมาณการจำนวนผู้โดยสารและประมาณการรายได้ของโครงการฯ ในแต่ละปีลดลงไปอย่างมีนัยสำคัญ
หลักการแก้ไขปัญหา          - ปรับจำนวนระยะ (number of phases) การพัฒนางานหลักฯ จากเดิมที่กำหนดไว้ 4 ระยะเปลี่ยนเป็น 6 ระยะ เพื่อให้สอดคล้องกับประมาณการผู้โดยสารหลังเกิดเหตุผ่อนผันวิกฤติเศรษฐกิจและโควิด 19
เดิม          ใหม่
ระยะที่          ความสามารถในการรองรับผู้โดยสาร (ล้านคน/ปี)          ระยะที่*          ความสามารถในการรองรับผู้โดยสาร (ล้านคน/ปี)
1
(ปี 2570)          15.9          1          12
                    2          15.9
2
(ปี 2577)          30          3          22.4
                    4          30
3
(ปี 2590)          45          5          45
4
(ปี 2603)          60          6          60
*เริ่มนับปีที่ 1 ของระยะที่ 1 เมื่อมีปริมาณผู้โดยสารถึง 5.6 ล้านคน/ปี (ตามข้อ 2.5)
   ? ในระยะแรกจะพัฒนาให้งานหลักฯ มีขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารไม่น้อยกว่า 12 ล้านคนต่อปี และจะลงทุนในระยะถัดไป (ระยะที่ 2 - 6) เมื่อมีปริมาณผู้โดยสารถึงร้อยละ 80 ของขีดความสามารถในการรองรับ
   ? ให้คู่สัญญาทบทวนขนาดของการพัฒนางานหลักฯ ในแต่ละระยะทุก ๆ 10 ปี โดยจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่เริ่มนับระยะเวลาการให้บริการงานหลักฯ ระยะแรก
- เมื่อเริ่มต้นปีที่ระยะเวลาโครงการฯ เหลือ 10 ปีสุดท้าย หากปรากฏว่าปริมาณผู้โดยสารไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องมีการพัฒนางานหลักฯ ครบทุกระยะ โดยไม่ใช่ความผิดของเอกชนคู่สัญญา ให้คู่สัญญาหารือการพัฒนางานหลักฯ ในระยะที่เหลือร่วมกัน และให้ สกพอ. กำหนดโดยคำนึงถึงปริมาณและอัตราการเติบโตของผู้โดยสาร ภาวะทางเศรษฐกิจ และความคุ้มค่าทางการเงินและการลงทุน โดยในกรณีที่ให้พัฒนางานหลักฯ ในระยะที่เหลือ จะมีการแก้ไขปัญหาความคุ้มค่าทางการเงินและการลงทุนและความเป็นไปได้ในการจัดหาแหล่งเงินทุนของโครงการฯ
- ให้ปรับเปลี่ยนมูลค่าหนังสือรับประกันในช่วงการพัฒนางานหลักฯ ในแต่ละระยะให้สอดคล้องกับมูลค่าการลงทุนที่แท้จริง
ประโยชน์ที่จะได้รับ          การปรับหลักเกณฑ์การพัฒนาโครงการฯ ให้สอดคล้องกับประมาณการผู้โดยสารหลังเกิดเหตุผ่อนผันจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการลงทุนในระยะที่ปริมาณผู้โดยสารยังได้รับผลกระทบจากเหตุผ่อนผัน
                        2.4 การบังคับใช้หลักเกณฑ์การจัดสรรรายได้ของเอกชนคู่สัญญา เพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับโครงการอู่ตะเภาจากเหตุผ่อนผันวิกฤติเศรษฐกิจและโรคโควิด 19
หัวข้อ          สาระสำคัญ
ความจำเป็น          เหตุผ่อนผันวิกฤติเศรษฐกิจและโรคโควิด 19 ส่งผลกระทบทำให้ประมาณการจำนวนผู้โดยสารและรายได้ของโครงการฯ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญตลอดระยะเวลาโครงการฯ เมื่อเทียบกับประมาณการเดิมที่ใช้ในการจัดทำข้อเสนอรายได้ของรัฐขั้นต่ำจำนวน 1.3 ล้านล้านบาท ซึ่งถูกจัดทำขึ้นก่อนที่โครงการฯได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจและโรคโควิด 19 จึงทำให้โครงการฯ และเอกชนคู่สัญญาไม่สามารถมีรายได้เพียงพอที่จะชำระรายได้ขั้นต่ำของรัฐได้ ซึ่งจะส่งผลให้เอกชนคู่สัญญาไม่สามารถมีรายได้ของโครงการฯ มาชำระหนี้เงินกู้ของสถาบันการเงินได้
หลักการแก้ไขปัญหา          - กำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรรายได้ของเอกชนคู่สัญญาโดยให้นำรายได้ของเอกชนคู่สัญญาในแต่ละปีไปชำระรายการดังต่อไปนี้ตามลำดับ โดยรัฐต้องสามารถตรวจสอบได้
   ? ลำดับที่ 1 ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินโครงการ เช่น ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค ค่าจ้างพนักงาน ค่าจัดซื้อและจ้างบริการ (Supplier) และค่าธรรมเนียมและภาษีต่าง ๆ (เช่น ภาษีที่ดิน ค่าเบี้ยประกันภัยสิ่งปลูกสร้าง)
   ? ลำดับที่ 2 ค่าเช่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างให้แก่รัฐ
   ? ลำดับที่ 3 ค่าใช้จ่ายในการชำระคืนดอกเบี้ยและเงินต้นของเงินกู้ที่ถึงกำหนดชำระ ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่จำเป็นต้องชำระคืนตามสัญญาเงินกู้ในสถานะปกติ (No Default) ซึ่งไม่มีกรณีที่ผู้ให้กู้เงินเริ่มใช้สิทธิเร่งรัดชำระหนี้เงินกู้ (Accelerate Loan) ภายใต้สัญญาเงินกู้ที่รัฐได้รับทราบและได้เข้าตรวจสอบสัญญาเงินกู้ที่เอกชนคู่สัญญาเข้าทำกับผู้ให้เงินกู้แล้ว
   ? ลำดับที่ 4 เงินสดสำรอง Debt Service Reserve Account (DSRA) และ Major Maintenance Reserve Account (MMRA) ซึ่งต้องเป็นไปตามแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของธนาคารหรือสถาบันการเงินในการให้เงินกู้แบบสินเชื่อโครงการ (Project Finance)
   ? ลำดับที่ 5 รายได้ของรัฐเป็นจำนวนเท่ากับร้อยละ 5 ของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในปีนั้นของเอกชนคู่สัญญาและผู้ประกอบการโดยแท้
   ? ลำดับที่ 6 เงินคงเหลือจากการจัดสรรรายได้ของเอกชนคู่สัญญาตามลำดับก่อนหน้า ให้นำไปชำระรายได้ขั้นต่ำของรัฐในปีนั้นตามที่ระบุไว้ในสัญญาร่วมลงทุนและรายได้ของรัฐที่ค้างชำระ (ถ้ามี) และผลตอบแทนของเอกชนคู่สัญญาตามหลักเกณฑ์ที่คู่สัญญาตกลงกันอย่างเหมาะสม เป็นธรรม บทพื้นฐานการร่วมลงทุนรัฐและเอกชน
- ในกรณีที่รายได้ของเอกชนคู่สัญญาในปีใดไม่เพียงพอต่อการชำระรายได้ของรัฐตามลำดับที่ 5 และ 6 ให้นำรายได้ของรัฐในส่วนที่ไม่ได้รับชำระดังกล่าวมารวมเป็นรายได้ของรัฐที่ค้างชำระ และคำนวณต้นทุนค่าเสียโอกาสของรัฐ พร้อมกำหนดวิธีการชำระอย่างเหมาะสมและเป็นธรรมต่อไป
- การบังคับใช้หลักเกณฑ์การจัดสรรรายได้ของเอกชนคู่สัญญาข้างต้นมีเงื่อนไข ดังนี้
   ? บังคับใช้เฉพาะในช่วงเวลาที่ได้รับผลกระทบจากเหตุวิกฤติทางเศรษฐกิจ ผลกระทบของเหตุสุดวิสัยหรือเหตุผ่อนผัน หรือสถานการณ์โรคระบาด โดยการเยียวยาตามหลักเกณฑ์การจัดสรรรายได้จะสิ้นสุดเมื่อ
       (1) จำนวนผู้โดยสารรายปีสะสมที่เกิดขึ้นจริง มีจำนวนเท่ากับการคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารตามข้อเสนอทางด้านเทคนิคของเอกชนคู่สัญญา และ
       (2) เอกชนคู่สัญญาได้ชำระเงินให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกลำดับการชำระครบถ้วนตามหลักเกณฑ์การจัดสรรรายได้ข้างต้นแล้ว
   ? สถานะทางการเงินของเอกชนคู่สัญญาไม่อยู่ในสถานะผิดเงื่อนไขสัญญาเงินกู้ (No Default) และไม่อยู่ในสถานะที่ผู้ให้กู้เงินเริ่มใช้สิทธิเร่งรัดชำระหนี้เงินกู้ (Accelerate Loan) ภายใต้สัญญาเงินกู้ [หากสถานะทางการเงินของเอกชนคู่สัญญาเข้าสู่สถานะผิดเงื่อนไขสัญญาเงินกู้และผู้ให้กู้เงินเริ่มใช้สิทธิเร่งรัดชำระหนี้เงินกู้ (Accelerate Loan) ภายใต้สัญญาเงินกู้แล้ว ให้ยกเลิกการใช้หลักเกณฑ์การจัดสรรรายได้ของเอกชนคู่สัญญาทั้งสิ้น]
ประโยชน์ที่จะได้รับ          หลักเกณฑ์การจัดสรรรายได้ดังกล่าวจะทำให้เอกชนคู่สัญญาสามารถจัดสรรรายได้มาชำระรายได้ของรัฐได้อย่างเหมาะสม เป็นธรรม และสอดคล้องกับหลักความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐและเอกชน โดยที่รัฐจะไม่เสียประโยชน์และสามารถตรวจสอบสัญญาเงินกู้ของเอกชนคู่สัญญาได้
                        2.5 การเลื่อนวันเริ่มนับระยะเวลาให้บริการและบำรุงรักษาโครงการฯ (ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุนและที่เกี่ยวกับการเริ่มชำระรายได้ขั้นต่ำของรัฐ) เพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเพราะการเปิดให้บริการสาธารณะงานหลักฯ ระยะแรก โดยที่ปริมาณผู้โดยสารไม่ถึงประมาณการตามข้อเสนอ (5.6 ล้านคนต่อปี) โดยไม่ใช่ความผิดของเอกชนคู่สัญญา
หัวข้อ          สาระสำคัญ
ความจำเป็น          - เหตุผ่อนผันวิกฤติเศรษฐกิจและโรคโควิด 19 ส่งผลกระทบให้ประมาณการจำนวนผู้โดยสารในปีแรกที่เริ่มเปิดให้บริการลดลงจากประมาณการเดิมอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับประมาณการจำนวนผู้โดยสารเดิมที่อยู่ในข้อเสนอทางการเงิน ในขณะที่ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการฯ เพิ่มขึ้นอย่างมาก ดังนั้น หากโครงการฯ จะต้องเปิดให้บริการงานหลักฯ ระยะแรก ในขณะที่ปริมาณผู้โดยสารยังต่ำกว่าที่คาดการณ์จะยิ่งทำให้เกิดภาระการเงินเพิ่มเติมกับโครงการฯ และเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการจัดหาแหล่งเงินทุนของโครงการฯ
หลักการแก้ไขปัญหา          - ให้เอกชนคู่สัญญาเปิดให้บริการสาธารณะงานหลักฯ เมื่อมีการก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยในระยะเวลาที่ปริมาณผู้โดยสารต่อปีมีจำนวนไม่ถึง 5.6 ล้านคน4 จะมีการเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเอกชนคู่สัญญาจากการเปิดให้บริการเพื่อประโยชน์สาธารณะ ดังนี้
    ? เลื่อนการเริ่มนับระยะเวลาการให้บริการและการบำรุงรักษาโครงการฯ โดยเริ่มนับปีที่ 1 (จาก 47 ปีของการให้บริการและการบำรุงรักษาโครงการฯ) ในปีที่มีปริมาณผู้โดยสารต่อปี จำนวน 5.6 ล้านคน
    ? ในช่วงเวลาที่ยังไม่มีการเริ่มนับปีที่ 1 ให้เอกชนคู่สัญญา (1) ชำระค่าเช่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างแก่รัฐ จำนวน 100 ล้านบาทต่อปี (จากเดิม จำนวน 820 ล้านบาทต่อปีในช่วง 3 ปีแรกของการให้บริการและการบำรุงรักษาโครงการฯ และเพิ่มขึ้นทุก ๆ 3 ปี จนสิ้นสุดระยะเวลาโครงการฯ) (2) ชำระรายได้ของรัฐ จำนวน 100 ล้านบาทต่อปี (จากเดิม จำนวน 1,300 ล้านบาท ในปีที่ 1 และเพิ่มขึ้นในปีถัดไปทุกปีจนสิ้นสุดระยะโครงการฯ) และ (3) ชำระรายได้ของรัฐแก่ สกพอ. เป็นจำนวนเท่ากับกระแสเงินสดคงเหลือจากการดำเนินโครงการฯ ภายหลังการชำระดอกเบี้ยพร้อมเงินต้นที่จำเป็นต้องชำระตามสัญญาเงินกู้แล้ว ทั้งนี้ ไม่เกินร้อยละ 5 ของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในปีนั้น ๆ ของเอกชนคู่สัญญา
- ให้ขยายระยะเวลาโครงการฯ ออกไปเป็นจำนวนเท่ากับช่วงระยะเวลาที่มีการเยียวยาผลกระทบฯ ข้างต้น
ประโยชน์ที่จะได้รับ          การเปิดให้มีการขยายระยะเวลาโครงการฯ เป็นการสนับสนุนให้มีการเปิดให้บริการสนามบินอู่ตะเภาเพื่อการสาธารณะ ควบคู่กับการบรรเทาผลกระทบทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นกับเอกชนคู่สัญญาอย่างเป็นธรรมและสอดคล้องกับหลักความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐและเอกชน
                    3. กพอ. ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2566 มีมติเห็นชอบหลักการแก้ไขปัญหาโครงการฯ และให้เสนอคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
1 ประกอบด้วย การก่อสร้างและพัฒนาพื้นที่โครงการฯ จำนวน 3 ปี และการให้บริการและการบำรุงรักษาโครงการฯ จำนวน 47 ปี
2 ข้อ 13.1 (1) และ (2) ระบุให้ ?เหตุสุดวิสัย? หมายถึงเหตุการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นโดยไม่ใช่ความผิดของคู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับผลกระทบและทำให้คู่สัญญาฝ่ายดังกล่าวไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ภายใต้สัญญาร่วมลงทุนได้ทั้งหมดหรือบางส่วน โดยเหตุการณ์นั้นเป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้แม้ว่าคู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับผลกระทบจากเหตุสุดวิสัยจะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น
3 หมายถึง งานหลักของสนามบินนานาชาติอู่ตะเภาซึ่งเอกชนคู่สัญญามีหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุนฯ เช่น (1) อาคารผู้โดยสารหลังใหม่ (2) ศูนย์การขนส่งภาคพื้น (3) ศูนย์ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศและโลจิสติกส์ (4) การให้บริการภาคพื้นดิน (5) การรักษาความปลอดภัยในสนามบินอู่ตะเภาทั้งหมด (6) ที่ทำการของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานของกรมศุลกากรและสำนักงานของหน่วยงานของรัฐอื่นที่จำเป็นต่อการดำเนินโครงการฯ
4 ประมาณการผู้โดยสารต่อปีในปีแรกของการให้บริการและบำรุงรักษาโครงการฯ ตามข้อเสนอโครงการฯ ก่อนเกิดเหตุผ่อนผัน

13. เรื่อง สรุปผลการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2566 และข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยทางถนน
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2566 และข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยทางถนน ตามที่ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนเสนอ ดังนี้


                    สาระสำคัญ
                    คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2565 รับทราบแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาล และช่วงวันหยุด พ.ศ. 2566
                    ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ได้ดำเนินการตามแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาล และช่วงวันหยุด พ.ศ. 2566 โดยร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2566 ภายใต้ชื่อ ?ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ? ระหว่างวันที่ 11-17 เมษายน 2566 เสร็จเรียบร้อยแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
                    สถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2566 (รวม 7 วัน)
จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุ
(ครั้ง)          จำนวนผู้บาดเจ็บ (คน)
(admit)          จำนวนผู้เสียชีวิต
(ราย)
2,203          2,208          264
                    การดำเนินงานช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2566 ช่วงควบคุมเข้มข้นระหว่างวันที่ 11-17 เมษายน 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับเทศกาลสงกรานต์เฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง ( ระหว่างปี พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2564 และ พ.ศ. 2565 เนื่องจากช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2563 มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)) โดยมีผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายตัวชี้วัดที่กำหนด ประกอบด้วย
                    1. การเกิดอุบัติเหตุ 2,203 ครั้ง ลดลงร้อยละ 13.27 ผู้บาดเจ็บ (admit) 2,208 คน ลดลงร้อยละ 13.62 ผู้เสียชีวิต 264 ราย ลดลงร้อยละ 15.83
                    2. การเกิดอุบัติเหตุใหญ่ 18 ครั้ง ลดลงร้อยละ 28.95
                    3. การเสียชีวิต ณ จุดเกิดเหตุ 143 ราย ลดลงร้อยละ 14.71
                    4. ผู้เสียชีวิตในพฤติกรรมเสี่ยงหลัก ได้แก่ ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ลดลงร้อยละ 16.00 ดื่มแล้วขับ ลดลงร้อยละ 71.20 ไม่สวมหมวกนิรภัย ลดลงร้อยละ 15.90 และไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ลดลงร้อยละ 38.64
                    จากการดำเนินงานช่วง 7 วัน พบว่า สถิติในภาพรวมเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ทั้งจำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุ ผู้บาดเจ็บ (admit) และผู้เสียชีวิตลดลง และพฤติกรรมเสี่ยงหลักที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตลดลง อาทิ การขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ดื่มแล้วขับ ไม่สวมหมวกนิรภัย และไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ซึ่งเป็นผลจากการมุ่งเน้นการบังคับใช้กฎหมายควบคู่กับการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ และให้ความสำคัญในระดับพื้นที่ โดยให้ท้องที่และท้องถิ่น ร่วมกับอาสาสมัคร จิตอาสา และ ประชาชนในหมู่บ้าน ชุมชนจัดตั้ง ?ด่านชุมชน? เพื่อควบคุมพฤติกรรมเสี่ยงของคนในพื้นที่ แต่เมื่อพิจารณาจากสถิติอุบัติเหตุทางถนนเมื่อเทียบกับเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2565 พบว่า พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะพฤติกรรมนั่งท้ายกระบะ ตัดหน้ากระชั้นชิด หลับใน ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ขับรถย้อนศร ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับรถ ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น คือรถเก๋ง รถปิกอัพ รถตู้สาธารณะ และรถจักรยานยนต์พ่วงข้าง ถนนที่เกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น คือ ถนนกรมทางหลวง และถนนในเขตเมือง (เทศบาล) โดยส่วนใหญ่เกิดบริเวณทางแยก จุดกลับรถ สำหรับช่วงอายุผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นคือช่วงอายุต่ำกว่า 15 ปี อายุ 40-49 ปี และอายุ 60-70 ปี
                    ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ได้รวบรวมข้อเสนอแนะจากการประชุมอนุกรรมการเฉพาะกิจศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนตลอดทั้งปี โดยได้จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยทางถนน ดังนี้
                    1. พิจารณาสนับสนุนงบประมาณในการจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ในการบังคับใช้กฎหมายให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงานครอบคลุมทุกสถานีตำรวจทั่วประเทศ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ เครื่องตรวจจับความเร็ว เครื่องตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ และกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) เป็นต้น
                    2. การใช้กลไกศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนทุกระดับ จัดการรณรงค์สร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยทางถนนอย่างเข้มข้น เพื่อให้เกิดการรับรู้ความตระหนัก และจิตสำนึกเรื่องความปลอดภัยทางถนนแก่ประชาชน จูงใจให้แสดงพฤติกรรมความปลอดภัยเป็นอุปนิสัยที่ปกติในการทำงาน
                    3. การกำหนด ?ความปลอดภัยทางถนน? ในหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ สร้างพฤติกรรมความปลอดภัย เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยที่ยั่งยืนต่อไป
                    4. กำหนดตัวชี้วัดร่วมด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ระหว่างกรมป้องกันและบรรเทา               สาธารณภัย กรมการปกครอง และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เพื่อให้การขับเคลื่อนในพื้นที่เกิดผลเป็นรูปธรรม
                    5. การพัฒนาศักยภาพศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัด และศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอ เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และให้คำปรึกษาแก่ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอ และศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้การดำเนินงานเป็นระบบและ                         มีประสิทธิภาพมากขึ้น

14. เรื่อง รายงานประจำปี 2565 ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา1 (กสศ.) เสนอรายงานประจำปี 2565 ของ กสศ. ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561 ที่บัญญัติให้ กสศ. จัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา เพื่อทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายงานการสอบบัญชี (กสศ. ได้รับรายงาน เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ผลการดำเนินงานของ กสศ. ประจำปี 2565 ในภาพรวม สามารถช่วยเหลือเด็ก เยาวชน และประชาชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสให้เข้าถึงการศึกษา รวมจำนวน 1,396,208 คน โดยมีการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
มาตรการ/โครงการ          ผลการดำเนินการ
1) มาตรการเร่งด่วน
การช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจไทย          สนับสนุนโครงการพาน้องกลับมาเรียนของกระทรวงศึกษาธิการในการติดตามนักเรียนในช่วงชั้นรอยต่อ2 ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา โดยการระดมเงินบริจาคจากภาคเอกชนเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียนทุนเสมอภาคระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 103,987 คน และการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤตทางการศึกษา ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่มีความเสี่ยงหลุดจากระบบการศึกษา จำนวน 302 คน ในพื้นที่ 4 จังหวัดนำร่อง (จังหวัดพิษณุโลก ขอนแก่น ยะลา และกรุงเทพมหานคร)
2) การดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริม พัฒนา และช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ
   2.1) กลุ่มเด็กปฐมวัย3 ? เด็กในระดับการศึกษาภาคบังคับ4          ดำเนินโครงการพัฒนาระบบหลักประกันความเสมอภาคทางการศึกษา(ทุนเสมอภาค) เพื่อบรรเทาอุปสรรคในการมาเรียนและช่วยป้องกันการหลุดออกจากระบบการศึกษาของเด็กและเยาวชนในวัยเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสให้สามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพด้วยการอุดหนุนงบประมาณโดยตรงให้กับผู้เรียน ในสถานศึกษา 5 สังกัด ได้แก่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จำนวน 1,307,152 คน
   2.2) กลุ่มเยาวชนในระดับการศึกษาสูงกว่าภาคบังคับ          - ดำเนินโครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง เพื่อส่งเสริม สนับสนุนและช่วยเหลือกลุ่มเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 15-17 ปี ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ หรือด้อยโอกาส ซึ่งสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่าให้ได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาและส่งเสริมให้ได้งานทำเมื่อสำเร็จการศึกษา ซึ่งมีเยาวชนได้รับทุนการศึกษา จำนวน 4 รุ่น รวม 6,599 คน5
- ดำเนินโครงการทุนพัฒนาเต็มศักยภาพสายอาชีพ (ทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ)6 เพื่อสร้างโอกาสให้แก่กลุ่มเยาวชนในระดับชั้น ปวช. หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) ในระบบการศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ แต่มีผลการเรียนดีในระดับประเทศ (นักเรียนกลุ่มช้างเผือก) ได้รับโอกาสเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี-โท-เอก) ซึ่งมีเยาวชนได้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา จำนวน 4 รุ่น รวม 123 คน
   2.3) กลุ่มเยาวชนนอกระบบการศึกษาและประชากรวัยแรงงาน          ดำเนินโครงการส่งเสริมโอกาสทางการเรียนรู้และพัฒนาทักษะเยาวชนและแรงงานนอกระบบ ด้วยการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาโดยชุมชนให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเยาวชนนอกระบบการศึกษาและประชากรวัยแรงงานที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปซึ่งขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาส โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะอาชีพที่มีความจำเป็นผ่านหน่วยจัดการเรียนรู้ระดับตำบล จำนวน 110 แห่ง ในพื้นที่ 56 จังหวัด ดำเนินการพัฒนารูปแบบการดูแลและส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาให้แก่เยาวชนดังกล่าว
   2.4) กลุ่มครูโรงเรียนและหน่วยจัดการเรียนรู้          -ดำเนินโครงการสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลเป็นครูรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชน [ครูรัก(ษ์)ถิ่น] เพื่อสร้างโอกาสให้แก่นักเรียนยากจนหรือด้อยโอกาสในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารที่มีผลการเรียนดีและมีจิตวิญญาณความเป็นครูได้ศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในคณะครุศาสตร์หรือศึกษาสตร์และได้รับการบรรจุเป็นครูในโรงเรียนท้องถิ่นของตนเองเมื่อสำเร็จการศึกษาโดยปัจจุบันมีนักศึกษาทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น จำนวน 3 รุ่น รวม 863 คน
-ดำเนินโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง)7 เพื่อพัฒนาโรงเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบอย่างต่อเนื่องและเกิดเป็นต้นแบบในเรื่องต่าง ๆ เช่น การบริหารจัดการ การพัฒนาคุณภาพครู และการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่มีคุณภาพ ซึ่งดำเนินการในโรงเรียนขนาดกลาง8 จำนวน 636 แห่ง ในพื้นที่ 39 จังหวัด โดยมีครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 13,281 คน และนักเรียนจำนวน 174,364 คน ได้รับการพัฒนาแล้ว
-ดำเนินโครงการพัฒนาครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเพื่อมุ่งพัฒนาสมรรถนะครู จำนวน 685 คน (ครอบคลุมโรงเรียนที่มีอยู่ 68 แห่ง ในพื้นที่ 22 จังหวัด ครอบคลุมทั่วประเทศ) ให้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ เสริมทักษะทางวิชาการและทักษะการใช้ชีวิต รวมทั้งส่งเสริมอาชีพของนักเรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ
-ดำเนินโครงการต้นแบบการพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษา9 จำนวน 210 คน ส่งผลให้เกิดต้นแบบกลุ่มครูประจำการ10 ต้นแบบกลุ่มครูนักพัฒนา และต้นแบบกลุ่มครูจิตอาสา
-ดำเนินโครงการขยายผลการดำเนินงานเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษา และพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้โดยเครือข่ายมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี11 จำนวน 315 คน ซึ่งเป็นการสร้างเครือข่ายการทำงานระหว่างครูที่เคยได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีกับครูและบุคลากรด้านการศึกษาทั้งในและนอกระบบครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแบ่งปันทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญร่วมกัน และการร่วมคิดค้นเครื่องมือหรือกลไกที่สามารถนำไปใช้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

3) การดำเนินงานเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
พัฒนากลไกสำหรับการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ครอบคลุม 12 จังหวัด ทั่วประเทศ ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ลำปาง พะเยา พิษณุโลก สุโขทัย ขอนแก่น สุรินทร์ สมุทรสงคราม ระยอง สุราษฎร์ธานี สงขลา และปัตตานี โดยมีเป้าหมายการดำเนินงาน เช่น การพัฒนากลไกการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ การพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อตอบสนองต่อการทำงานระบบพื้นที่ การรณรงค์ขับเคลื่อนเพื่อสร้างความตระหนักต่อปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และการประเมินเพื่อการพัฒนา โดยคาดหวังให้เกิด ?แผนบูรณาการระดับจังหวัด? ทั้งนี้ เป็นการพัฒนากลไกความร่วมมือภายในจังหวัดระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาในแต่ละพื้นที่
4) การวิจัยและนวัตกรรมด้านการศึกษา
พัฒนาองค์ความรู้จากการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการศึกษาเพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา รวม 24 ชิ้นงาน ประกอบด้วย งานวิจัยด้านนวัตกรรมระบบเทคโนโลยีและข้อมูลสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา จำนวน 8 ชิ้นงาน (เช่น ระบบฐานข้อมูลบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาระดับจังหวัดและระดับประเทศ) และงานวิจัยด้านการประเมินผลจำนวน 16 ชิ้นงาน (เช่น การวิเคราะห์ทักษะทางด้านอารมณ์และสังคมต่อผลลัพธ์การเรียนรู้จากผลประเมินสมรรถนะผู้เรียนตามมาตรฐานสากลเพื่อการพัฒนาสถานศึกษา)
                    2. รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินของกองทุนฯ12 สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 มีความถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด

1 กสศ. จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา สนับสนุนเงินและค่าใช้จ่ายให้แก่เด็กและเยาวชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสจนสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน [พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 4 บัญญัติให้การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่า การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา (ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา) รวมทั้งเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครูให้มีความสามารถจัดการเรียนการสอน
2 นักเรียนในช่วงชั้นรอยต่อ ได้แก่ นักเรียนระดับอนุบาล 3 ประถมศึกษาปีที่ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6
3 พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562 มาตรา 3 บัญญัติให้เด็กปฐมวัย หมายความว่า เด็กซึ่งมีอายุต่ำกว่าหกปีบริบูรณ์และให้หมายความรวมถึงเด็กซึ่งต้องได้รับการพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาในระดับประถมศึกษา
4 พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 บัญญัติให้การศึกษาภาคบังคับ หมายความว่า การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ (ประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-มัธยมศึกษาปีที่ 3)
5 ปี 2565 มีนักศึกษาทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงครอบคลุมทั้งระดับ ปวช. ปวส. ผู้ช่วยพยาบาล  ผู้ช่วยทันตแพทย์ และนักศึกษาที่มีความต้องการพิเศษ
6 สาขาวิชาที่เปิดโอกาสให้เยาวชนที่มีคุณสมบัติขอรับทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ ได้แก่ 1) สาขาวิชาชีพระดับสูงที่เป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาประเทศ ประกอบด้วย กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพ (First S-curve) เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ใหม่และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต (New S-curve) เช่น หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์และอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ และ 2) สาขาวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและเทคโนโลยีดิจิทัล (Science, Technology, Engineering, Mathematics: STEM) เช่น วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์
7  กสศ. ร่วมกับ สพฐ. สถ. สช. และภาคีเครือข่าย จำนวน 11 เครือข่าย เช่น มูลนิธิเพื่อทักษะแห่งอนาคต มูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ดำเนินโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง ทั้งนี้ โรงเรียนที่เป็นต้นแบบความสำเร็จ เช่น โรงเรียนบ้านทุ่ม (ทุ่มประชานุเคราะห์) จังหวัดขอนแก่น (เครือข่ายมหาวิทยาลัยขอนแก่น)
8  โรงเรียนขนาดกลาง คือ โรงเรียนที่มีนักเรียน จำนวน 301-1,000 คน
9  ดำเนินงานผ่านโครงการย่อย จำนวน 8 โครงการ ครอบคลุมพื้นที่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดต้นแบบการพัฒนาครูนอกระบบ เช่น โครงการเสริมสร้างเสริมสมรรถนะครูผู้ดูแลเด็กในกระบวนการยุติธรรมในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและโครงการพัฒนาสมรรถนะครูจิตอาสาผู้ดูแลเด็กชาติพันธุ์/ลูกหลานแรงงานข้ามชาติในพื้นที่จังหวัดเชียงรายและแม่ฮ่องสอน
10 ครูประจำการ หมายถึง ข้าราชการครูผู้ดูแลนักเรียนในห้องเรียนเป็นเวลาหนึ่งภาคเรียนหรือหนึ่งปีการศึกษา พร้อมทั้งทำหน้าที่ธุรการประจำห้อง
11 เป็นรางวัลเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติครูผู้มีผลงานดีเด่นและสร้างคุณประโยชน์ต่อการศึกษา

ต่างประเทศ
15.  เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนสำหรับการดำเนินโครงการ Innovative Climate Risk Financing for the Agricultural Sector in the ASEAN Region และขอความเห็นชอบให้เลขาธิการอาเซียนเป็นผู้ลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนฯ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างหนังสือแลกเปลี่ยนสำหรับการดำเนินโครงการเครื่องมือทางการเงินเพื่อการปรับตัวต่อความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศในภาคการเกษตรในภูมิภาคอาเซียน (Innovative Climate Risk Financing for the Agricultural Sector in the ASEAN Region) (ร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ)  รวมทั้งเห็นชอบให้เลขาธิการอาเซียนเป็นผู้ลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนดังกล่าวตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. โครงการเครื่องมือทางการเงินเพื่อการปรับตัวต่อความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศใน                      ภาคการเกษตรในภูมิภาคอาเซียน (โครงการฯ) เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีกับอาเซียน ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (BMZ) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ดำเนินการโดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (GIZ) ร่วมกับสำนักเลขาธิการอาเซียน ผ่านแผนกอาหาร เกษตร และป่าไม้ (Food, Agriculture and Forest Division: FAFD) และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะทำงานด้านพืชของอาเซียน โดยมีการดำเนินกิจกรรมในระดับภูมิภาคกับ                     10 ประเทศสมาชิกอาเซียน และในระดับประเทศกับประเทศอินโดนีเซีย ไทย และเวียดนาม ซึ่งโครงการฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อการเพิ่มการเข้าถึงเครื่องมือทางการเงินเพื่อการปรับตัวต่อความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศที่คำนึงถึงเพศสภาวะของเกษตรกรในภูมิภาคให้ดียิ่งขึ้น
                    2. เรื่องนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์นำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อร่างหนังสือแลกเปลี่ยนสำหรับการดำเนินโครงการเครื่องมือทางการเงินเพื่อการปรับตัวต่อความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศใน              ภาคการเกษตรในภูมิภาคอาเซียนและเห็นชอบให้เลขาธิการอาเชียนเป็นผู้ลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนดังกล่าว ซึ่งเป็นการดำเนินการตามกฎระเบียบว่าด้วยการทำความตกลงระหว่างประเทศโดยอาเชียน ค.ศ. 2011 ที่กำหนดให้กรณีที่เลขาธิการอาเซียนลงนามความตกลงระหว่างประเทศของอาเซียนในฐานะที่เป็นองค์การระหว่างประเทศ รัฐบาลไทยจะต้องให้ความยินยอมในการลงนามความตกลงดังกล่าวผ่านคณะผู้แทนถาวรไทย ประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ทั้งนี้ โครงการฯ จะเข้ามาช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินของสถาบันการเงินต่าง ๆ ในประเทศไทยผ่านการอบรมให้คำปรึกษา เพื่อให้มีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่รองรับต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เช่น สินเชื่อดอกเบี้ยผ่อนปรนเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเพาะปลูก เป็นต้น
                    3. ร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ มีสาระสำคัญเป็นการตอบรับข้อตกลงและเงื่อนไขของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีที่จะร่วมกันสนับสนุนการดำเนินโครงการฯ โดยรัฐบาลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีจะสนับสนุนงบประมาณสำหรับโครงการฯ จำนวน 4 ล้านยูโร (ประมาณ 150 ล้านบาท) ในรูปแบบของบุคลากร การให้การสนับสนุนทางเทคนิค และการสนับสนุนทางการเงินตามความเหมาะสม และอาเซียนจะอำนวยความสะดวกและสนับสนุนการดำเนินโครงการ เช่น การพยายามยกเว้นภาษีทางตรงที่จัดเก็บในประเทศสมาชิกอาเซียน การยกเว้นใบอนุญาต ค่าธรรมเนียมท่าเรือ ภาษีนำเข้าที่จัดเก็บในประเทศสมาชิกอาเซียนให้กับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมนี เป็นต้น โดยที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีเคยได้มีมติให้ความเห็นชอบต่อร่างหนังสือแลกเปลี่ยนและร่างความตกลงหรับการดำเนินโครงการ Promotion of Sustainable Agricultural Value Chains in ASEAN ซึ่งถือเป็นการดำเนินการในลักษณะเดียวกันมาแล้ว ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นพ้องกันว่า ร่างหนังสือแลกเปลี่ยนดังกล่าวไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อีกทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกายังเห็นว่า การให้ความเห็นชอบต่อร่างหนังสือแลกเปลี่ยนดังกล่าวไม่มีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไปตามมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ขณะที่กระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นชอบ/ไม่ขัดข้องต่อข้อเสนอของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าเรื่องดังกล่าวไม่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งที่จะพิจารณามีความเห็นได้
                    4. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นเพิ่มเติมว่าหากคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อร่างหนังสือแลกเปลี่ยนดังกล่าว ก็เห็นควรมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศแจ้งความเห็นชอบดังกล่าวไปยังสำนักเลขาธิการอาเซียนผ่านคณะผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียน เพื่อที่สำนักเลขาธิการอาเซียนจะได้ดำเนินการตามขั้นตอนของอาเซียนต่อไป


16.  เรื่อง ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรียุติธรรมอาเซียน - ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ และแผนงานอาเซียน - ญี่ปุ่น ด้านกฎหมายและงานยุติธรรม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรียุติธรรมอาเซียน - ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ (ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ) และแผนงานอาเซียน - ญี่ปุ่น ด้านกฎหมายและงานยุติธรรม (แผนงานฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงยุติธรรมพิจารณาและดำเนินการโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมให้ความเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมฯ และรับรองแผนงานฯ ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ญี่ปุ่นได้ริเริ่มให้มีการจัดการประชุมรัฐมนตรียุติธรรมอาเซียน ? ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ (ASEAN - Japan Special Meeting of Justice Ministers: AJSMJ)  ซึ่งเป็นการประชุมสมัยพิเศษครั้งแรก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียน - ญี่ปุ่น ในประเด็นด้านกฎหมายและความยุติธรรมทางอาญาและเป็นส่วนหนึ่งในการเฉลิมฉลองในวาระโอกาสครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน - ญี่ปุ่น ในปี 2566 โดย ยธ. ญี่ปุ่นจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าวและการประชุมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 5 - 7 กรกฎาคม 2566 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้หัวข้อหลัก คือ การพัฒนาความร่วมมืออาเซียน - ญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมหลักนิติธรรม: สู่ระยะใหม่ ภายหลัง 50 ปี แห่งมิตรภาพและความร่วมมือ (Advancing ASEAN ? Japan Cooperation to Promote the Rule of Law: Towards a New Phase beyond the 50th  Year of Friendship and Cooperation) เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน - ญี่ปุ่น ให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้นและยกระดับความร่วมมืออาเซียน - ญี่ปุ่น ในระยะต่อไป ซึ่งในการประชุมจะมีการให้ความเห็นชอบและรับรองเอกสาร จำนวน 2 ฉบับ คือ 1) ร่างแถลงการณ์             ร่วมฯ เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์การเสริมสร้างความร่วมมือด้านงานยุติธรรมและกฎหมายระดับนโยบายของรัฐมนตรียุติธรรมอาเซียนและญี่ปุ่น และ 2) แผนงานฯ เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ระดับนโยบายที่จะส่งเสริมการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
                    กระทรวงการต่างประเทศ (กรมอาเซียน) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) แจ้งว่าร่างเอกสารผลลัพธ์ทั้ง 2 ฉบับ เป็นเอกสารเชิงนโยบายที่ระบุแนวทางการดำเนินความร่วมมือระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่นในด้านกฎหมายและงานยุติธรรม และไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงไม่ถือเป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รวมทั้ง สคก. เห็นว่า การให้ความเห็นชอบต่อร่างเอกสารดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไปตามนัยมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

17.  เรื่อง ผลการประชุมทบทวนการดำเนินการด้านน้ำในห้วงแรกของทศวรรษระหว่างประเทศแห่งการดำเนินการ ?น้ำสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน? ค.ศ. 2018-2023 (Midterm Comprehensive Review of the Implementation of the Qbjectives of the International Decade for Action ?Water for Sustainable Development?; United Nations 2023 Water Conference)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอผลการประชุมทบทวนการดำเนินการด้านน้ำในห้วงแรกของทศวรรษระหว่างประเทศแห่งการดำเนินการ ?น้ำสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน? ค.ศ. 2018-2023 (Midterm Comprehensive Review of the Implementation of the Objectives of the International Decade for Action ?Water for Sustainable Development?: United Nations 2023 Water Conference) ระหว่างวันที่ 22-24 มีนาคม 2566 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอมริกา โดยมีเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. การประชุมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้นำประเทศต่าง ๆ นำเสนอข้อริเริ่มและทบทวนการดำเนินการด้านน้ำในครึ่งแรกของทศวรรษระหว่างประเทศแห่งการดำเนินการ ?น้ำสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน? (ค.ศ. 2018-2023) เพื่อเร่งดำเนินการในห้วงครึ่งหลังของทศวรรษฯ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 6 (SDG 6) น้ำสะอาดและสุขาภิบาลภายในปี ค.ศ. 2030
                    2. ผู้เข้าร่วมการประชุม ได้แก่ สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ แห่งเนเธอร์แลนด์ และนายเอมอมาลี เราะห์มาน ประธานาธิบดีสาธารณรัฐทาจิกิสถาน ประธานฝ่ายจัดการประชุมฯ พร้อมด้วยนายอันโตนิอู กุแตเรช เลขาธิการสหประชาชาติ ผู้นำประเทศ คณะผู้แทนอย่างเป็นทางการจากประเทศสมาชิก และผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนได้กล่าวถ้อยแถลงแสดงความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านน้ำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 6 (SDG 6) สรุปได้ว่า
                              2.1 วิกฤตการณ์น้ำทั่วโลกแสดงให้เห็นภัยพิบัติทางน้ำ 3 รูปแบบ ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ ได้แก่ 1) ปริมาณน้ำมากส่งผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์ 2) ปริมาณน้ำน้อยเกินไปขัดขวางการพัฒนาประเทศและกิจกรรมของมนุษย์ และ 3) น้ำเน่าเสียเกินไปคุกคามสุขภาพอนามัยและทรัพยากรธรรมชาติ โดยเรียกร้องประเทศสมาชิกให้คำมั่นสัญญา มุ่งมั่น และมีการดำเนินการที่ชัดเจนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายพัฒนาที่ยั่งยืน
                              2.2 เน้นย้ำประเด็นสำคัญ เช่น 1) ต้องแสดงเจตจำนงทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม 2) ต้องกำหนดนโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดิน น้ำ และสภาพอากาศแบบบูรณาการ 3) จำเป็นต้องลดการสูญเสียน้ำอย่างเรงด่วน ต้องนำน้ำที่มีอยู่แล้วกลับมาใช้ใหม่ ไม่นำน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาเพิ่ม และ 4) จำเป็นต้องสร้างหลักประกันการเข้าถึงน้ำดื่มที่ปลอดภัยและสุขอนามัยที่ดีสำหรับทุกคน
                    3. เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้กล่าวถ้อยแถลงในนามรัฐบาลไทย แสดงความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านน้ำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 6 (SDG 6) น้ำสะอาดและสุขาภิบาล ภายในปี ค.ศ. 2030 เน้นย้ำความสำคัญของการเข้าถึงน้ำสะอาดและสุขาภิบาล โดยเฉพาะน้ำอุปโภคบริโภคในพื้นที่ชนบทและพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสร้างความยืดหยุ่นในการรับมือกับภัยพิบัติด้านน้ำต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังได้กล่าวสนับสนุนการจัดตั้งผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติเรื่องน้ำ (UN Special Envoy on Water)
                    4. สทนช. ได้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
                              4.1 การเข้าร่วมกิจกรรมคู่ขนานของสภาน้ำแห่งเอเชีย ภายใต้หัวข้อ ?การเสริมสร้างความยืดหยุ่นภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผ่านการสนับสนุนการลงทุนในภาคส่วนน้ำ?(Strengthening Climate Resilience through Expansion of Investment in the Water Sector) โดยมีผู้เข้าร่วมในระดับรัฐมนตรี ได้แก่ 1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและการเคหะ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย 2) รองประธาน K-Water สาธารณรัฐเกาหลี และ 3) ผู้แทนระดับสูงจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development: OECD) กองทุนภูมิอากาศสีเขียว (Green Climate Fund: GCF) ธนาคารโลก (World Bank) โดยเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้นำเสนอแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2565-2580) ซึ่งได้มีการนำแนวคิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนการพิจารณาโครงสร้างสีเขียวเข้ามาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทประเทศด้วย
                              4.2 การหารือทวิภาคีร่วมกับกระทรวงโครงสร้างพื้นฐานและการบริหารจัดการน้ำ เนเธอร์แลนด์ ในประเด็นเกี่ยวกับการป้องกันน้ำเค็มรุกล้ำ การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ (Intelligent Unit: IU) และการจัดตั้งกองทุนน้ำ (Water Fund) โดย สทนช. แจ้งความประสงค์ในการขอให้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ  เพื่อมาช่วยแก้ไขปัญหาด้านน้ำของประเทศไทย โดยเฉพาะด้านการแก้ไขปัญหาน้ำเค็มรุกล้ำ ส่วนฝ่ายเนเธอร์แลนด์เสนอที่จะให้ความช่วยเหลือโดยอาจผ่านการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญหรือผ่านระบบออนไลน์ นอกจากนี้ ฝ่ายเนเธอร์แลนด์ได้หยิบยกตัวอย่างในการจัดเก็บภาษีน้ำจากผู้ใช้น้ำในภาคส่วนต่าง ๆ ของเนเธอร์แลนด์เพื่อนำเงินในส่วนดังกล่าวไปใช้ในการบริหารจัดการน้ำของประเทศ ซึ่งฝ่ายไทยจะนำแนวคิดดังกล่าวไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยต่อไป
                    5. ในการประชุมครั้งนี้ ประเทศไทยได้รับเอกสารความมุ่งมั่น (Voluntary Commitment)
ในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับน้ำของประเทศและภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อเร่งความคืบหน้าในห้วงครึ่งหลังของทศวรรษฯ มากกว่า 700 รายการ โดยประเทศไทยได้ร่วมส่งเอกสารความมุ่งมั่น ในหัวข้อ ?ประเทศไทยให้ความสำคัญกับความมั่นคงน้ำอุปโภคบริโภค เพื่อการเข้าถึงน้ำสะอาดของทุกภาคส่วน? มีสาระสำคัญเป็นการมุ่งเน้นการปรับปรุงคุณภาพน้ำอุปโภคบริโภคในชนบทและพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้นเทียบเท่าชุมชนเมือง ในราคาที่เหมาะสม พร้อมทั้งเพิ่มแหล่งน้ำต้นทุน และปรับปรุงระบบประปาชนบท ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการบริหารจัดการน้ำ                     ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (7 มีนาคม 2566) เห็นชอบเอกสารดังกล่าวด้วยแล้ว
18. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญารัฐมนตรีของการประชุม UN-Habitat Assembly สมัยที่ 2
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างปฏิญญารัฐมนตรีของการประชุม UN-Habitat Assembly สมัยที่ 2  (Draft Ministerial Declaration of the Second Session of the UN-Habitat Assembly) โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือ ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก และหลังจากนั้นให้รายงานผลเพื่อคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
                    2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุม UN-Habitat Assembly สมัยที่ 2 ให้การรับรองร่างปฏิญญารัฐมนตรีของการประชุม UN-Habitat Assembly สมัยที่ 2 (Draft Ministerial Declaration of the Second Session of the UN-Habitat Assembly)
* การประชุมสมัชชาโครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN-Habitat Assembly) สมัยที่ 2 มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 - 9 มิถุนายน 2566 ณ สำนักงานใหญ่ UN-Habitat กรุงในโรบี ประเทศเคนยา
                    สาระสำคัญ
                    ร่างปฏิญญารัฐมนตรีของการประชุม UN-Habitat Assembly สมัยที่ 2 (Draft Ministerial Declaration of the Second Session of the UN-Habitat Assembly) มีสาระสำคัญเกี่ยวกับ การรับทราบถึงข้อท้าทายในการพัฒนาเมือง และความมุ่งมั่นในการขจัดข้อท้าทายที่เกิดขึ้นผ่านการร่วมมือระหว่างกันในทุกระดับและผู้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน รวมถึงพัฒนากลไกและแนวทางการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อให้เร่งขับเคลื่อนให้เกิดผลลัพธ์ที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ร่างปฏิญญาฯ มิได้มีรูปแบบ ถ้อยคำ หรือบริบทที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งไม่มีการลงนามในร่างเอกสารดังกล่าว ร่างปฏิญญาฯ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 18 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย       พ.ศ. 2560 และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นว่า ร่างปฏิญญาดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ตามนัยมาตรา 169 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

แต่งตั้ง

19. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                      (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางดารุณีย์ เผ่าสุวรรณ ผู้ช่วยเลขาธิการ ก.พ.ร. (นักบริหารต้น) ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการ (นักพัฒนาระบบราชการทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน ก.พ.ร.                  สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2565 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 169 (2) แล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

20. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนมตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ รวม 6 คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2565 ดังนี้
                    1. นางอรรชกา             สีบุญเรือง          ประธานกรรมการ
                    2. นางกอบกาญจน์            วัฒนวรางกูร          กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    3. นางการดี                       เลียวไพโรจน์          กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    4. นายคณิต                       วัลยะเพ็ชร์          กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    5. นายวรรณชัย             บุญบำรุง          กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    6. นายเอกก์                       ภทรธนกุล          กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป

21. เรื่อง การบรรจุผู้เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูงกลับเข้ารับราชการ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติบรรจุ นางสาวรื่นวดี  สุวรรณมงคล ผู้เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทบริหารระดับสูง ตำแหน่งอธิบดี (นักบริหารระดับสูง) กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ตำแหน่งผู้ตรวจราชการ                  สำนักนายกรัฐมนตรี (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือน 76,800 บาท เงินประจำตำแหน่ง 14,500 บาท ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 169 (2) แล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ