สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 กรกฎาคม 2566

ข่าวการเมือง Tuesday July 18, 2023 17:58 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ 18 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี   ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการสมทบเงินรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาลตัวเลขสามหลัก                                         (Numbers 3 : N3) พ.ศ. .... ร่างประกาศสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เรื่อง                                                   กำหนดประเภทและรูปแบบสลากกินแบ่งรัฐบาลหกหลัก (Lottery 6 : L6) และ                                        ร่างประกาศสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เรื่อง กำหนดประเภทและรูปแบบ                                                  สลากกินแบ่งรัฐบาลตัวเลขสามหลัก (Numbers 3 : N3) รวม 3 ฉบับ
                    2.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวง ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รวม 2 ฉบับ
                    3.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภท พ.ศ. ....
                    4.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้อาวุธและยุทโธปกรณ์เป็นสินค้าที่                                        ต้องห้ามส่งออกและห้ามนำผ่านราชอาณาจักรไปยังบุคคลหรือองค์กร กรณี                                                  สาธารณรัฐเฮติ พ.ศ. ....
                    5.           เรื่อง           ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดจำนวนคน                                        ต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ. ....
                    6.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดวันเวลาเปิดปิดของสถานบริการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    7.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดปัตตานี                                         พ.ศ. ....  (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดปัตตานี

พ.ศ. 2560)

                    8.           เรื่อง           การแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ                                         พ.ศ. 2565  (ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
                                        พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการ                                        หรือหน่วยงานอย่างอื่นหรือในระดับต่ำลงไปในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ                                                           พ.ศ. ....)
                    9.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2539) ออกตามความใน                                                  พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 พ.ศ. ....
                    10.           เรื่อง           ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์                                         พ.ศ. ....
                    11.           เรื่อง           ร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. ....
                    12.           เรื่อง           การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษ ตามประมวล                                        กฎหมายที่ดินและร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อน                                        ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน                                         สำหรับกรณีบริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด (PTTLNG) โอนทรัพย์สินของโครงการ                                         LNG Receiving Terminal (แห่งที่ 2) (LMPT2) บ้านหนองแฟบ ตำบลมาบตาพุด                                         อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ให้แก่บริษัทร่วมทุนใหม่ ตามหลักเกณฑ์ที่                                                  คณะรัฐมนตรีกำหนด
                    13.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด (ฉบับที่..) พ.ศ. ...
                    14.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าแม่ยม ป่าแม่ต๋ำ
                                        และป่าแม่ร่องขุยบางส่วน ในท้องที่ตำบลเชียงม่วน อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา                                         พ.ศ. ....
                    15.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 100 ปี วันประสูติ                                                  สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์                                         พ.ศ. ....
                    16.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนไร่ใหม่ ?                                         ไร่เก่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผัง                                        เมืองรวมชุมชนไร่ใหม่ ? ไร่เก่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2555)
                    17.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชน                                                  กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ - สังคม
                    18.           เรื่อง            รายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565                                         และรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน                                         2564 ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
                    19.           เรื่อง           ผลการดำเนินงานตามมาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ
                    20.           เรื่อง           รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2565 สรุป ณ สิ้นสุด                                                  ไตรมาส 4
                    21.           เรื่อง           รายงานสรุปผลการดำเนินการคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชน                                        รายย่อย
                    22.           เรื่อง           ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติ ประจำเดือนพฤษภาคม 2566
                    23.           เรื่อง           รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนพฤษภาคม และ 5 เดือนแรก                                        ของปี 2566
                    24.           เรื่อง           การพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน

ด้านยาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

                    25.           เรื่อง           ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราช                                                  กำหนดฯ เพิ่มเติม  พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2566 และครั้งที่ 10/2566
                    26.           เรื่อง           กำหนดวันและเวลาประชุม และวันเริ่มสมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง

ต่างประเทศ


                    27.           เรื่อง           อุทยานธรณีโคราชได้รับการรับรองเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO                                         Global Geoparks)
                    28.           เรื่อง           ร่างความตกลงระหว่างองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา                                                   (OECD) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อออกแบบแนวทางการ                                                  จัดลำดับความสำคัญการวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมาย (RIA) และการ                                                  ประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย (ex post review)
                    29.           เรื่อง           การขออนุมัติให้ประเทศไทยยื่นประมูลสิทธิ์เสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม                                                  ประจำปีของเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก ครั้งที่ 17 ในปี

พ.ศ. 2568 (UCCN Annual Conference 2025) ณ จังหวัดเชียงใหม่

แต่งตั้ง

                    30.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    31.           เรื่อง           แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงการพัฒนา                                        สังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
?
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการสมทบเงินรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาลตัวเลขสามหลัก (Numbers 3 : N3) พ.ศ. .... ร่างประกาศสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เรื่อง กำหนดประเภทและรูปแบบสลากกินแบ่งรัฐบาลหกหลัก (Lottery 6 : L6) และร่างประกาศสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เรื่อง กำหนดประเภทและรูปแบบสลากกินแบ่งรัฐบาลตัวเลขสามหลัก (Numbers 3 : N3) รวม 3 ฉบับ

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอดังนี้

1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการสมทบเงินรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาลตัวเลขสามหลัก (Numbers 3 : N3) พ.ศ. ....

2. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เรื่อง กำหนดประเภทและรูปแบบสลากกินแบ่งรัฐบาลหกหลัก (Lottery 6 : L6)

3. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เรื่อง กำหนดประเภทและรูปแบบสลากกินแบ่งรัฐบาลตัวเลขสามหลัก (Numbers 3 : N3)

ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ และร่างประกาศฯ ที่กระทรวงการคลังเสนอ รวม 3 ฉบับ เป็นการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 14 มีนาคม 2566 มีสาระสำคัญ ดังนี้

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

1. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการสมทบเงินรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาลตัวเลขสามหลัก (Numbers 3 : N3) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินจากการจำหน่ายสลากฯ ประเภท N3 ดังนี้

1.1 นำเงินที่จัดสรรไว้เป็นเงินรางวัลไปสมทบในงวดถัดไปแต่ไม่เกินหนึ่งงวด

1.2 การสมทบเงินรางวัลให้ยกไปสมทบกับเงินรางวัลซึ่งเป็นประเภทรางวัลเดียวกันเท่านั้น

1.3 หากการออกรางวัลงวดถัดไปไม่มีผู้ถูกรางวัลอีกให้นำเงินสมทบเงินรางวัลในงวดก่อนหน้านำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน

                    2. ร่างประกาศสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เรื่อง กำหนดประเภทและรูปแบบสลากกิน               แบ่งรัฐบาลหกหลัก (Lottery 6 : L6) และร่างประกาศสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เรื่อง กำหนดประเภทและรูปแบบสลากกินแบ่งรัฐบาลตัวเลขสามหลัก (Numbers 3 : N3) รวม 2 ฉบับ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดประเภทและรูปแบบสลากฯ L6 และสลากฯ N3 ดังนี้
ประเด็น
ประเภท          ร่างประกาศสำนักงานสลากฯ L6
(จำหน่ายทั้งแบบใบสลากฯ และแบบดิจิทัล)          ร่างประกาศสำนักงานสลากฯ N3
(จำหน่ายแบบดิจิทัลเท่านั้น)
1. รูปแบบสลาก          ? เป็นสลากประเภทไม่สมทบเงินรางวัล (งวดใดไม่มีผู้ถูกรางวัล ให้นำเงินรางวัลส่งเป็นรายได้แผ่นดิน)          ? เป็นสลากประเภทสมทบเงินรางวัล (สมทบได้ไม่เกิน 1 งวด หากไม่มีผู้ถูกรางวัลอีกให้นำเงินสมทบเงินรางวัลในงวดก่อนหน้าส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ตามร่างกฎกระทรวงฯ ในข้อ 1.)
          ? ประกอบด้วยหมายเลข 6 หลัก แต่ละหลักมี 10 หมายเลขตั้งแต่ 0 ถึง 9 (000000 - 999999 โดยกำหนดหมายเลขไว้ล่วงหน้า)1          ? ประกอบด้วยหมายเลขให้เลือก                  3 หลัก แต่ละหลักมี 10 หมายเลข ตั้งแต่ 0 ถึง 9 (000 - 999 และไม่กำหนดหมายเลขไว้ในระบบล่วงหน้า) โดยผู้ซื้อสามารถเลือกหมายเลขแต่ละหลักให้ครบ 3 หลักและสามารถเลือกหมายเลขแต่ละหลักซ้ำกันได้2
          (เป็นรูปแบบเดียวกับที่สำนักงานสลากฯดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน)          (เป็นรูปแบบใหม่ที่สำนักงานสลากฯ ยังไม่เคยดำเนินการมาก่อน)
2. การจัดสรรเงินรางวัล          ? ร้อยละ 60 เป็นเงินรางวัล (หนึ่งงวดจะมีเงินรางวัลรวมทุกประเภทรางวัลจำนวน 4,800 ล้านบาท)
? ไม่น้อยกว่าร้อยละ 23 เป็นรายได้แผ่นดิน (นำส่งจำนวน 1,840 ล้านบาทต่องวด)
? ไม่เกินกว่าร้อยละ 17 เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ซึ่งรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการจำหน่ายสลากฯ L6 ด้วย (รวม 1,360 ล้านบาทต่องวด โดยแบ่งเป็นส่วนลดสำหรับตัวแทนจำหน่ายสลากฯ ประมาณ 1,120 ล้านบาท และค่าดำเนินการของสำนักงานสลากฯ ประมาณ 240 ล้านบาท)          ? ร้อยละ 60 เป็นเงินรางวัล (ไม่สามารถระบุเงินรางวัลได้ชัดเจน เนื่องจากเงินรางวัลจะแปรผันตามจำนวนผู้ที่ซื้อสลากฯ)
? ไม่น้อยกว่าร้อยละ 23 เป็นรายได้แผ่นดิน (ไม่สามารถระบุเงินส่งรายได้แผ่นดินได้ชัดเจนเนื่องจากจะแปรผันตามจำนวนผู้ที่ซื้อสลากฯ)
? ไม่เกินกว่าร้อยละ 17 เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ซึ่งรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการจำหน่ายสลากฯ N3 ด้วย
3. การจ่ายเงินรางวัลและประเภทของรางวัล          ? รางวัลที่ 1          1 รางวัล
? รางวัลข้างเคียงรางวัลที่ 1           2 รางวัล
? รางวัลที่ 2           5 รางวัล
? รางวัลที่ 3           10 รางวัล
? รางวัลที่ 4           50 รางวัล
? รางวัลที่ 5          100 รางวัล
? รางวัลเลขหน้าสามตัวเสี่ยง 2 ครั้ง          2,000 รางวัล
? รางวัลเลขท้ายสามตัวเสี่ยง 2 ครั้ง          2,000 รางวัล
? รางวัลเลขท้ายสองตัวเสี่ยง 1 ครั้ง          10,000 รางวัล
รวม 9 ประเภทรางวัล          รวม 14,168 รางวัลต่อชุด (1 งวด มี 100 ชุด รวม 1,416,800 รางวัลต่องวด)

? รางวัลสามตรง (ถูกทุกหมายเลขและตรงทุกตำแหน่ง) ? รางวัลสามตัวสลับ (ถูกทุกหมายเลขแต่สลับตำแหน่ง) ? รางวัล 2 ตัวตรง (ถูกทุกหมายเลขและตรงทุกตำแหน่ง) ? รางวัลพิเศษ (ถูกรางวัลที่มีข้อมูลหมายเลขตรงกับผลการออกรางวัลพิเศษ) รวม 4 ประเภทรางวัล (ไม่สามารถระบุจำนวนรางวัลได้ เนื่องจากจำนวนรางวัลจะแปรผันตามจำนวนผู้ที่ซื้อสลากฯ) โดยในแต่ละงวดสำนักงานฯ จะประกาศสัดส่วนการจ่ายเงินรางวัลในแต่ละประเภทรางวัลล่วงหน้าก่อนการออกรางวัล

4. วิธีการจำหน่าย          ? จำหน่ายแบบใบและแบบดิจิทัล หรือวิธีการอื่นที่คณะกรรมการสลากฯ กำหนด          ? จำหน่ายแบบดิจิทัล หรือวิธีการอื่นที่คณะกรรมการสลากฯ กำหนด
5. วันที่ออกรางวัล          ? ทุกวันที่ 1 และวันที่ 16 ของเดือน (จะมีการออกรางวัลปีละ 24 งวด)
                    กระทรวงการคลังโดยสำนักงานสลากฯ ได้พิจารณาทบทวนร่างประกาศฯ รวม 2 ฉบับ                        ตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว โดยเห็นว่า การจำหน่ายสลากฯ เป็นแบบใบหรือแบบดิจิทัลเป็นวิธีการจำหน่ายตามมาตรา 13 (7) แห่งพระราชบัญญัติสำนักงานสลากฯ พ.ศ. 2517 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเป็นอำนาจของคณะกรรมการสลากฯ แต่เพื่อให้การดำเนินการออกสลากฯ ในเรื่องนี้เกิดความชัดเจน สำนักงานสลากฯ จึงได้ปรับปรุงร่างประกาศฯ ทั้ง 2 ฉบับ จากที่เคยเสนอมา โดยเพิ่มเติมวิธีการจำหน่ายสลากฯ และยืนยันในการเสนอร่างประกาศฯ ดังกล่าวเป็น 2 ฉบับตามเดิม โดยมิได้รวมร่างประกาศฯ ทั้งสองฉบับเข้าเป็นฉบับเดียวกันตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อให้สามารถดำเนินการออกสลากฯ L6 ได้ก่อน (เนื่องจากสลากฯ L6                       มีรูปแบบเหมือนสลากฯ ที่จำหน่ายในปัจจุบัน เพื่อการจำหน่ายสลากฯ จะได้เกิดความต่อเนื่อง) และสำนักงานสลากฯ ได้ยืนยันในการเสนอร่างกฎกระทรวงฯ ตามเดิมโดยไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วย
1 มาตรา 13 (7) แห่งพระราชบัญญัติสำนักงานสลากฯ ที่ให้คณะกรรมการสลากฯ เป็นผู้กำหนดราคาและวิธีการในการจำหน่าย [จำหน่ายทั้งแบบใบสลากฯ (พิมพ์ใบสลากฯ) และแบบดิจิทัล (ใช้ข้อมูลในระบบ)] โดยสำนักงานสลากฯ จำหน่ายสลากฯ L6 ออกเป็นชุด ชุดละ 1 ล้านฉบับ จำนวน 100 ชุด รวม 100 ล้านฉบับต่องวด จำหน่ายราคาฉบับละ 80 บาท โดยสัดส่วนระหว่างสลากฯ แบบใบและสลากดิจิทัลคือ 80 : 20 ต่องวด รวม 100 ล้านฉบับต่องวด
2 สำนักงานสลากฯ คาดว่าจะสามารถจำหน่ายสลากฯ N3 ได้อย่างต่ำ 40 ล้านฉบับต่องวด โดยจำหน่ายราคา ฉบับละ 20 บาท ทั้งนี้ สลากฯ N3 จำหน่ายในรูปแบบดิจิทัล (ใช้ข้อมูลในระบบ) เท่านั้น

2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รวม 2 ฉบับ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการ 1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการในการโฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กรณีบริษัทจำกัดมีหุ้นส่วนชนิดที่มีใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือ พ.ศ. ....   2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแต่งตั้งผู้ประเมินราคา พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฎษฎีกาตรวจพิจารณาโดยให้รับประเด็นตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ เนื่องจากมาตรา 1175 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2565 บัญญัติให้การโฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ ในกรณีที่บริษัทมีหุ้นชนิดที่มีใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือ ให้โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งครั้งหรือในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง และมาตรา 1239/1 วรรคสอง บัญญัติให้ในกรณีที่บริษัทได้มีมติพิเศษให้ควบรวมบริษัทแล้ว แต่มีผู้ถือหุ้นที่คัดค้านการควบรวมบริษัท บริษัทต้องจัดให้มีผู้ซื้อหุ้นของผู้ถือหุ้นดังกล่าวในราคาที่ตกลงกัน กรณีที่ไม่สามารถตกลงกันได้ให้ใช้ราคาตามที่ผู้ประเมินราคาเป็นผู้กำหนด โดยการแต่งตั้งผู้ประเมินราคาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ดังนั้น เพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าว กระทรวงพาณิชย์จึงได้ออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อรองรับการดำเนินการดังกล่าว
                    ร่างกฎกระทรวง รวม 2 ฉบับ ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการโฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และการแต่งตั้งผู้ประเมินราคาซื้อขายหุ้น ดังนี้
                    1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการในการโฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ใน      สื่ออิเล็กทรอนิกส์ กรณีบริษัทจำกัดมีหุ้นส่วนชนิดที่มีใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือ พ.ศ. .... เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการโฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์กรณีบริษัทจำกัด มีหุ้นชนิดที่มีใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือ (หุ้นไม่ระบุชื่อ) เพิ่มเติมอีกช่องทางหนึ่งนอกเหนือจากการประกาศหนังสือพิมพ์ (แบบกระดาษ) ได้ โดยการโฆษณาในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ประกาศผ่านเว็บไซต์ที่เข้าถึงได้ ซึ่งเป็นการปรับปรุงกฎหมายให้เอื้อต่อการลงทุนและการดำเนินงานของธุรกิจในปัจจุบัน ทำให้ผู้ประกอบการของบริษัทจำกัดมีช่องทางการโฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เพิ่มมากขึ้น อันเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ภาคธุรกิจ และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการใช้เทคโนโลยีมาช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงานทางธุรกิจ
                    2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแต่งตั้งผู้ประเมินราคา พ.ศ. .... เป็นการกำหนดให้บริษัทจำกัด ที่จะควบรวมบริษัทแต่งตั้งผู้ประเมินราคาซื้อขายหุ้นที่เป็นคนกลาง ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาตและเป็นผู้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการประเมินทรัพย์สิน ที่ได้รับอนุญาตหรือได้รับความเห็นชอบหรือขึ้นทะเบียนจากหน่วยงานของรัฐ สมาคมจดทะเบียนหรือตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในกรณีบริษัทจำกัดมีมติพิเศษให้ควบรวมบริษัท (ต้องมีมติ 3 ใน 4 ของผู้ถือหุ้นทั้งหมด) แต่มีผู้ถือหุ้นส่วนน้อยคัดค้านการควบรวมบริษัท โดยขั้นแรกบริษัทจำกัดจัดให้มีผู้มาซื้อหุ้นของผู้ถือหุ้นที่คัดค้าน หากตกลงกันไม่ได้ให้บริษัทจำกัดจัดหาผู้ประเมินราคาหุ้นโดยให้ซื้อขายกันตามราคาที่กำหนด และหากตกลงกันไม่ได้อีกภายใน 14 วัน ให้บริษัทควบรวมได้เลยโดยผู้ถือหุ้นที่คัดค้านจะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ควบรวม อันเป็นการช่วยให้บริษัทจำกัดที่จะควบรวมผู้ซื้อหุ้นและผู้ถือหุ้นส่วนน้อยที่คัดค้านมีแนวทางการดำเนินการที่ชัดเจนเกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้ประเมินราคา ซึ่งจะทำให้กระบวนการควบรวมบริษัทจำกัด สามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่น และเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
                    หน่วยงานที่กี่ยวข้องเห็นชอบด้วยในหลักกรและมีความเห็นเพิ่มเติมบางประการ เช่น การกำหนดให้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการโฆษณาอย่างน้อยที่สุดต้องให้บริษัทสามารถลงประกาศในเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ประเมินราคาที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด และการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการนับระยะเวลาและการมีผลของการลงโฆษณาทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า ร่างกฎกระทรวงทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว เป็นการปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ และมิได้เป็นกรณีที่คณะรัฐมนตรีกระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ตามมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และ                         มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 เรื่อง แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรีจึงสามารถพิจารณาอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงทั้งสองฉบับได้
                    กระทรวงพาณิชย์รายงานว่าร่างกฎกระทรวง รวม 2 ฉบับดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ของรัฐ เนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่ายเพื่อเติมในการดำเนินการและได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องแล้ว ซึ่งผู้แสดงความคิดเห็นไม่ได้คัดค้านในหลักการของร่างกฎกระทรวงทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการในการโฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กรณีบริษัทจำกัดมีหุ้นส่วนชนิดที่มีใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือ พ.ศ. .... เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการโฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์กรณีที่บริษัทมีหุ้นชนิดที่มีใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือ (หุ้นไม่ระบุชื่อ) สรุปได้ดังนี้
                              1.1 กำหนดให้กรณีที่บริษัทมีหุ้นชนิดที่มีใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือ (หุ้นไม่ระบุชื่อ)                    อาจโฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติมจากการโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่                  ก็ได้
                              1.2 กำหนดให้การโฆษณาในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้กระทำโดยการประกาศผ่านเว็บไซต์ที่เข้าถึงได้เป็นการทั่วไป และสามารถยืนยันความเป็นเจ้าของเว็บไซต์โดยต้องคำนึงถึงการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ได้โดยสะดวกและไม่เลือกปฏิบัติ เช่น เว็บไซต์ของบริษัท หรือเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ออนไลน์
                              1.3 กำหนดให้ข้อความหรือเอกสารที่โฆษณาต้องเป็นเอกสารชุดเดียวกัน หรือมีเนื้อหาเช่นเดียวกันกับที่ส่งให้แก่ผู้ถือหุ้น
                              1.4 กำหนดให้การโฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์จะต้องปรากฏข้อความหรือเอกสารที่โฆษณานั้นในสื่ออิเล็กทรอนิกส์จนถึงวันประชุมใหญ่
                              1.5 กำหนดให้บริษัทต้องเก็บรวบรวมหลักฐานการโฆษณา พร้อมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับวันที่มีการโฆษณาไว้ด้วย
                    2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแต่งตั้งผู้ประเมินราคา พ.ศ. .... เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการแต่งตั้งผู้ประเมินราคาซื้อขายหุ้นของผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมและคัดค้านการควบรวมบริษัทในกรณีที่บริษัทมีมติพิเศษให้ควบรวมบริษัท สรุปได้ดังนี้
                              2.1 กำหนดนิยามคำว่า
                                        ?ผู้จะซื้อหุ้น? หมายความว่า ผู้ที่บริษัทจัดให้มาซื้อหุ้นของผู้ถือหุ้นที่คัดค้านในกรณีที่บริษัทมีมติพิเศษให้ควบรวมบริษัท
                                        ?ผู้ถือหุ้นที่คัดค้าน? หมายความว่า ผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมการประชุมใหญ่ของบริษัท               ซึ่งจัดขึ้นเพื่ออนุมัติการควบรวมบริษัทและได้ออกเสียงลงคะแนนคัดค้านการควบรวมบริษัทเมื่อที่ประชุมใหญ่                     ลงมติพิเศษให้ควบรวมบริษัท
                                        ?ผู้ประเมินราคา? หมายความว่า ผู้ประเมินและกำหนดราคาซื้อขายหุ้นของผู้ถือหุ้นที่คัดค้าน
                              2.2 กำหนดให้บริษัทเป็นผู้แต่งตั้งผู้ประเมินราคาเพื่อทำหน้าที่ประเมินและกำหนดราคาซื้อขายหุ้นของผู้ถือหุ้นที่คัดค้าน ในกรณีที่ผู้จะซื้อหุ้นกับผู้ถือหุ้นที่คัดค้านการควบรวมบริษัทไม่สามารถตกลงราคาซื้อขายหุ้นของผู้ถือหุ้นที่คัดค้านการควบรวมบริษัทกันได้ และกำหนดความเป็นอิสระของผู้ประเมินราคา เช่น ไม่เป็นผู้ที่มีส่วนได้เสีย ปราศจากอคติ
                              2.3 กำหนดคุณสมบัติของผู้ประเมินราคา ได้แก่
                                        1) เป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี และ
                                        2) เป็นผู้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการประเมินทรัพย์สิน ที่ได้รับอนุญาตหรือได้รับความเห็นชอบหรือขึ้นทะเบียนจากหน่วยงานของรัฐ สมาคมจดทะเบียนหรือตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น                         1) อนุญาโตตุลาการที่ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานศาลยุติธรรม ในสาขาการประเมินราคาทรัพย์สิน 2) ผู้เชี่ยวชาญศาลด้านการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานศาลยุติธรรม และ 3) บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินหรือผู้ประเมินหลักที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต.
                              2.4 กำหนดให้ผู้ซื้อจะซื้อหุ้นและผู้ถือหุ้นที่คัดค้านการควบรวมบริษัทให้ใช้ราคาตามที่                 ผู้ประเมินราคาเป็นผู้กำหนด และให้ถือว่าราคาดังกล่าวเป็นที่สุด
ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ รวม 2 ฉบับดังกล่าว ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา                 เป็นต้นไป

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภท พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภท พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาต คุณสมบัติของผู้ขออนุญาต การออกใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต และ                   การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการนำผ่านวัตถุออกฤทธิ์ทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ (เว้นแต่การนำผ่านทางอากาศยานที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศซึ่งไม่มีการขนถ่ายวัตถุออกฤทธิ์ออกจากอากาศยาน ซึ่งประมวลกฎหมายยาเสพติดได้กำหนดให้ไม่ต้องขออนุญาต) เพื่อให้                  การขออนุญาต และการอนุญาตนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเป็นการกำหนดการดำเนินการของผู้รับอนุญาตที่ต้องปฏิบัติเพื่อประโยชน์ในการควบคุมกำกับดูแลที่เข้มงวดและป้องกันการรั่วไหลของวัตถุออกฤทธิ์ไปใช้ในทางที่ผิด โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้ขออนุญาตต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยซึ่งมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกยาและเภสัชภัณฑ์และเป็นผู้ได้รับอนุมัติเป็นผู้ขอผ่านแดน ผู้ขนส่งผ่านแดนหรือผู้ขอถ่ายลำ ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร รวมทั้งกำหนดขั้นตอนในการนำผ่านวัตถุออกฤทธิ์ให้ต้องมีการนำวัตถุออกฤทธิ์มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่และต้องมีการป้องกันตามสมควร เพื่อมิให้วัตถุออกฤทธิ์ที่นำผ่านสูญหายหรือมีการนำไปใช้โดยมิชอบ อีกทั้งอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตนำผ่านวัตถุออกฤทธิ์ตามร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้เป็นการเรียกเก็บในอัตราเดิม คือ ฉบับละ 500 บาท ซึ่งไม่เกินอัตราที่ประมวลกฎหมายยาเสพติดกำหนดไว้ โดยร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้จะนำมาใช้บังคับแทนกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภท พ.ศ. 2563 และกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2560 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและ                         ประสาท พ.ศ. 2559 และพระราชบัญญัติดังกล่าวถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด  พ.ศ. 2564 ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแล้วเห็นชอบในหลักการของร่างกฎกระทรวง
                    กระทรวงสาธารณสุขได้นำร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นแก่ประชาชน ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และกฎกระทรวงกำหนดร่างกฎที่ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบ พ.ศ. 2565 แล้ว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตนำผ่านวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภท สรุปได้ดังนี้

สาระสำคัญ          หมายเหตุ
1. คุณสมบัติของผู้ขออนุญาต
1.1 เป็นนิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยที่มีวัตถุประสงค์เป็นผู้ประกอบกิจการนำเข้าและส่งออกยา ยารักษาโรค เภสัชภัณฑ์ หรือเภสัชเคมีภัณฑ์ และ
1.2 เป็นผู้ได้รับอนุมัติเป็นผู้ขอผ่านแดน ผู้ขนส่งผ่านแดน หรือผู้ขอถ่ายลำตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร          เดิมกำหนดเพียงว่าผู้ขออนุญาตต้องมีภูมิลำเนาในประเทศไทย
2. การดำเนินการขออนุญาต
2.1 กำหนดให้ผู้ขออนุญาตยื่นคำขอรับใบอนุญาตโดยระบุเหตุผลและความจำเป็น พร้อมด้วยข้อมูล เอกสาร และหลักฐาน เช่น สำเนาใบอนุญาตส่งออกหรือหนังสือแสดงการอนุญาตให้ส่งออกของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศที่ส่งออก สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจากกระทรวงพาณิชย์พร้อมวัตถุประสงค์ เอกสารหลักฐานการได้รับอนุมัติจดทะเบียนเป็นผู้ขอผ่านแดน                    ผู้ขนส่งผ่านแดน หรือผู้ขอถ่ายลำตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร เป็นต้น
2.2 กำหนดให้การยื่นคำขออนุญาตดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก          หลักการคงเดิม
3. การออกใบแทนใบอนุญาต
          ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือลบเลือนในสาระสำคัญให้ผู้รับอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการ               สูญหาย ถูกทำลาย หรือลบเลือนในสาระสำคัญ          หลักการคงเดิม
4. การนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์
4.1 ผู้รับอนุญาตต้องนำใบอนุญาตส่งออกของประเทศที่ส่งออกพร้อมกับวัตถุออกฤทธิ์นั้น มาให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ด่านตรวจสอบวัตถุออกฤทธิ์ โดยชนิดและปริมาณของวัตถุออกฤทธิ์ต้องเป็นไปตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตนำผ่าน
4.2 ผู้รับอนุญาตต้องจัดให้มีการป้องกันตามสมควร เพื่อมิให้วัตถุออกฤทธิ์ที่นำผ่านสูญหายหรือมีการนำไปใช้โดยมิชอบ
4.3 ในกรณีการนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 ผู้รับอนุญาตต้องแจ้งให้ผู้ควบคุมยานพาหนะที่ใช้บรรทุกทราบก่อนเข้ามาในราชอาณาจักร โดยผู้ควบคุมยานพาหนะต้องจัดให้มีการป้องกันตามสมควร เพื่อมิให้วัตถุออกฤทธิ์ที่นำผ่านสูญหายหรือมีการนำไปใช้โดยมิชอบ และในกรณีที่มีการขนถ่ายวัตถุออกฤทธิ์ไปยังยานพาหนะอื่น ให้ผู้ควบคุมยานพาหนะแจ้งให้พนักงานศุลกากรทราบ และให้พนักงานศุลกากรมีหน้าที่ควบคุมวัตถุออกฤทธิ์ในระหว่าง                ขนถ่าย
4.4 ผู้รับอนุญาตต้องส่งวัตถุออกฤทธิ์ไปยังจุดหมายที่ระบุไว้ในใบอนุญาตส่งออกที่พร้อมกับวัตถุออกฤทธิ์ เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากประเทศผู้ออกใบอนุญาตนั้นและได้รับความเห็นชอบจากเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
4.5 ในกรณีที่ไม่อาจส่งวัตถุออกฤทธิ์ไปยังจุดหมายที่กำหนดได้ ให้ผู้รับอนุญาตส่งวัตถุออกฤทธิ์กลับคืนไปยังประเทศที่ส่งออกภายใน 30 วันนับแต่วันที่วัตถุออกฤทธิ์เข้ามาในราชอาณาจักร
4.6 ผู้รับอนุญาตต้องดำเนินการนำผ่านวัตถุออกฤทธิ์โดยส่งวัตถุออกฤทธิ์ออกนอกราชอาณาจักรภายใน 30 วันนับแต่วันที่วัตถุออกฤทธิ์เข้ามาในราชอาณาจักร หาก ไม่ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด ให้วัตถุออกฤทธิ์นั้นตกเป็นของ สธ. และให้ สธ. หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายทำลายหรือนำไปใช้ประโยชน์ตามระเบียบที่ สธ. กำหนด
4.7 ผู้รับอนุญาตต้องจัดทำบัญชีและเสนอรายงานเกี่ยวกับการดำเนินกิจการตามที่ได้รับอนุญาตต่อเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาภายในระยะเวลาไม่เกินหนึ่งเดือนหลังจากที่ได้มีการนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์          ปรับปรุงจากกฎกระทรวงเดิมในข้อ 4.1 โดยกำหนดเพิ่มเติมให้ผู้รับอนุญาตต้องนำใบอนุญาตส่งออกมาให้พนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมกับวัตถุออกฤทธิ์ด้วย
5. ค่าธรรมเนียม
          ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตนำผ่านวัตถุออกฤทธิ์ ฉบับละ                    500 บาท          หลักการคงเดิม
6. บทเฉพาะกาล
6.1 กำหนดให้ใบอนุญาตนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ที่ออกตามกฎกระทรวงเดิม ยังคงใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต
6.2 กำหนดให้ถือว่าคำขออนุญาตที่ได้ยื่นไว้ตามกฎกระทรวงเดิม เป็นคำขออนุญาตตามร่างกฎกระทรวงนี้ และในกรณีที่คำขอดังกล่าว มีข้อแตกต่างไปจากคำขอตามร่างกฎกระทรวงนี้ ให้ผู้อนุญาตสั่งให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น

4. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้อาวุธและยุทโธปกรณ์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามส่งออกและห้ามนำผ่านราชอาณาจักรไปยังบุคคลหรือองค์กร กรณีสาธารณรัฐเฮติ พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้อาวุธและยุทโธปกรณ์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามส่งออกและห้ามนำผ่านราชอาณาจักรไปยังบุคคลหรือองค์กร กรณีสาธารณรัฐเฮติ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติ                 ที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ร่างประกาศที่ พณ. เสนอ เป็นการกำหนดให้อาวุธและยุทโธปกรณ์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามส่งออกและห้ามนำผ่านราชอาณาจักรไปยังนาย Jimmy Cherizier หรือ Barbeque (ผู้นำกลุ่มแก๊งที่มีอิทธิพลที่สุดของเฮติ และผู้นำกลุ่ม ?G9 Family and Allies? ซึ่งมีส่วนร่วมในการโจมตีโดยกลุ่มติดอาวุธที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตของ                 พลเรือนในกรุงปอร์โตแปรงซ์ สาธารณรัฐเฮติ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2561 และเข้าขัดขวางการเคลื่อนย้ายเชื้อเพลิงจากสถานีเชื้อเพลิง Varreux ในวันที่ 11 ตุลาคม 2565) และไปยังบุคคลหรือองค์กรที่คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นตามที่มติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติกำหนด เพื่อให้เป็นไปตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคง                           แห่งสหประชาชาติ ที่ 2653 (ค.ศ. 2022) กรณีสาธารณรัฐเฮติ ซึ่งเป็นพันธกรณีที่ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ตามข้อ 25 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 เห็นชอบรับรองการดำเนินการตามข้อมติดังกล่าวแล้ว


                    สาระสำคัญของร่างประกาศ
                    ร่างประกาศ พณ. เรื่อง กำหนดให้อาวุธและยุทโธปกรณ์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามส่งออกและห้ามนำผ่านราชอาณาจักรไปยังบุคคลหรือองค์กร กรณีสาธารณรัฐเฮติ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
1. บทนิยาม           - ?อาวุธและยุทโธปกรณ์? หมายความว่า (1) ยุทธภัณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมยุทธภัณฑ์ และ (2) อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน และวัตถุระเบิดตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน
- ?คณะกรรมการ? หมายความว่า คณะกรรมการของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (Committee of the Security Council) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่จัดตั้งขึ้นตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ 2653 (ค.ศ. 2022) เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2565
2. มาตรการ           กำหนดให้ ?อาวุธและยุทโธปกรณ์? เป็นสินค้าที่ต้องห้ามส่งออกและห้ามนำผ่านราชอาณาจักรไปยังนาย Jimmy Cherizier หรือ Barbeque และไปยังบุคคลหรือองค์กรตามที่คณะกรรมการกำหนด
3. วันที่มีผลใช้บังคับ           ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจนุเบกษาเป็นต้นไป

5. เรื่อง ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
                    ทั้งนี้ มท. เสนอว่า
                    1. ในปัจจุบันการเข้ามาอยู่ในประเทศไทยของชาวต่างชาตินับได้ว่ามีความสำคัญต่อสังคมไทย โดยมีเหตุผลที่ต้องการเข้ามามีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทยหลายประการ เช่น เข้ามาเพื่อทำงาน เพื่อการลงทุน เพื่ออยู่กับครอบครัว คู่สมรส หรือบุตรที่อยู่ในประเทศไทย การสนับสนุนชาวต่างชาติที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาดำเนินธุรกิจหรือลงทุนในประเทศไทยเป็นการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยได้ประการหนึ่ง ทำให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังต้องการการลงทุนจากต่างประเทศ
                     2. โดยที่มาตรา 40 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดจำนวนคนต่างด้าวที่มีสัญชาติของแต่ละประเทศ ซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรเป็นรายปี แต่มิให้เกินประเทศละ 100 คนต่อปี และสำหรับคนต่างด้าวไร้สัญชาติมิให้เกิน 50 คนต่อปี และมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่บัญญัติให้คนต่างด้าวจะเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรมิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองและด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประกอบกับมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 ที่บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
                    3. ดังนั้น เพื่อเป็นการดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศไทย และสร้างความเชื่อมั่นให้กับชาวต่างชาติที่ต้องการเข้ามาลงทุน อีกทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ครอบครัวมีความมั่นคงและอบอุ่น การให้ถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรแก่คนต่างด้าวจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับชาวต่างชาติที่ต้องการเข้ามาอยู่ในประเทศไทยได้อย่างปลอดภัยและสะดวกสบาย มท. จึงเห็นควรประกาศกำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ. 2566
                    4. สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ได้ยกร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ. .... ขึ้น และในคราวประชุมคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2566 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว และให้เสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    สาระสำคัญของร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย
                    กำหนดให้คนต่างด้าวที่มีสัญชาติของแต่ละประเทศ ซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี                    พ.ศ. 2566 มีจำนวนประเทศละไม่เกิน 100 คน และคนต่างด้าวไร้สัญชาติมีจำนวนไม่เกิน 50 คน

6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดวันเวลาเปิดปิดของสถานบริการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดวันเวลาเปิดปิดของสถานบริการ (ฉบับที่ ..)  พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และ                    ให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่ มท. เสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดวันเวลาเปิดปิดของสถานบริการ พ.ศ. 2547 เพื่อกำหนดวันเวลาเปิดปิดของสถานบริการทุกประเภทที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 และตั้งอยู่ในพื้นที่เมืองการบินภายในเขตส่งเสริมเมืองการบินภาคตะวันออก ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง กำหนดเขตส่งเสริม : เมืองการบินภาคตะวันออก ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ให้เปิดทำการได้ 24 ชั่วโมง เพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมสันทนาการที่จำเป็นและเหมาะสมในพื้นที่ดังกล่าวให้มีศักยภาพสามารถรองรับนักธุรกิจ ผู้เดินทาง นักท่องเที่ยว และผู้ใช้บริการสนามบิน ซึ่งเป็นการดำเนินการให้เป็นไปตาม                 มติคณะรัฐมนตรี (9 สิงหาคม 2565) เรื่อง รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ                    ภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 2/2565
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดวันเวลาเปิดปิดของสถานบริการ พ.ศ. 2547 เพื่อกำหนดวันเวลาเปิดปิดของสถานบริการทุกประเภทที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการตามมาตรา 3                            (1) ? (5) แห่งพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 และตั้งอยู่ในพื้นที่เมืองการบินภายในเขตส่งเสริมเมืองการบินภาคตะวันออก ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง กำหนดเขตส่งเสริม : เมืองการบินภาคตะวันออก ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ให้เปิดทำการได้ 24 ชั่วโมง

7. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดปัตตานี พ.ศ. ....                          (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดปัตตานี พ.ศ. 2560)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดปัตตานี พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดปัตตานี พ.ศ. 2560) ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างประกาศตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดปัตตานี พ.ศ. 2560 เพื่อแก้ไขการใช้ประโยชน์ที่ดินในที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว) บริเวณ 4.1 (บางส่วน) เป็นที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (สีม่วง) บริเวณหมายเลข 2.1 เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมให้มีการพัฒนาเมืองต้นแบบ ?สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน? ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเมืองหลัก ได้แก่ เมืองหนองจิก จังหวัดปัตตานี ให้เป็น ?เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้า ผสมผสาน? โดยนำร่องในพื้นที่ที่มีความพร้อมด้านความมั่นคงปลอดภัย และกระตุ้นการลงทุนนำไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจในพื้นที่ใกล้เคียงสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนผ่านการจ้างงานและการสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับประชาชนในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง ทำให้จังหวัดชายแดนใต้มีพื้นที่ปลอดภัยมากขึ้นและแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่และสามารถรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระยะต่อไปได้ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างประกาศ
                    แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดปัตตานี พ.ศ. 2560 โดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว) บริเวณ 4.1 (บางส่วน) เป็นที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (สีม่วง) บริเวณหมายเลข 2.1 เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดปัตตานี
พ.ศ. 2560
(ฉบับเดิม)          ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดปัตตานี พ.ศ. ....
(ฉบับแก้ไข)
แผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน (ผังสี)
  บริเวณหมายเลข 2.1 (สีม่วง) และหมายเลข 4.1
(สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว)          แก้ไขหมายเลข 4.1 (บางส่วน) เป็น 2.1
รายการประกอบแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน



    2.1 ด้านเหนือ          จดแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเลนหนองจิก และเส้นขนานระยะ 1,600 เมตร กับคลองสาธารณะไม่ปรากฏชื่อ ฝั่งใต้


          ด้านตะวันออก          จดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 ฟากตะวันตก
          ด้านใต้                    จดเขตเทศบาลตำบลบ่อทองระหว่างหลักเขตที่ 3 กับหลักเขตที่ 2 และคลองระบายน้ำ D 2 ฝั่งเหนือ








    4.1 ด้านเหนือจดเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างอำเภอโคกโพธิ์กับอำเภอหนองจิกเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างตำบลปุโละปุโยกับตำบลบ่อทอง เส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างตำบลตุยงกับตำบลบ่อทอง ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 ฟากตะวันออกเส้นขนานระยะ 1,600 เมตร กับคลองสาธารณะไม่ปรากฏชื่อ ฝั่งใต้ แนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเลนหนองจิก คลองสาธารณะไม่ปรากฏชื่อ ฝั่งใต้ เส้นตรงที่ลากต่อจากคลองสาธารณะไม่ปรากฏชื่อ ฝั่งตะวันออก ไปบรรจบคลองชลประทานสายใหญ่ สายที่ 8 ฝั่งตะวันตก เส้นขนานระยะ 200 เมตร กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 ฟากใต้ ถนน อบจ. ปน. 2006 ฟากใต้ ถนน อบจ. ปน. 2007 ฟากตะวันออก ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 ฟากใต้ เขตเทศบาลตำบลบางปูระหว่างหลักเขตที่ 1 หลักเขตที่ 8 หลักเขตที่ 7 กับหลักเขตที่ 6 เขตเทศบาลตำบลยะหริ่ง ระหว่างหลักเขตที่ 1 หลักเขตที่ 4 หลักเขตที่ 3 กับหลักเขตที่ 2 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 ฟากตะวันตก เขตเทศบาลตำบลตันหยงระหว่างหลักเขตที่ 2 หลักเขตที่ 1 หลักเขตที่ 8 หลักเขตที่ 7 หลักเขตที่ 6 หลักเขตที่ 5 กับหลักเขตที่ 4 เส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างตำบลตันหยงดาลอกับตำบลมะนังยงและตำบลหนองแรต เส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างตำบลสาบันกับตำบลจะรัง เส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างอำเภอปะนาเระกับอำเภอยะหริ่ง เขตเทศบาลตำบลปะนาเระ ระหว่างหลักเขตที่ 8 หลักเขตที่ 7 หลักเขตที่ 6 กับหลักเขตที่ 5






    ด้านตะวันออกจดคลองชลประทานสายใหญ่ฝั่งขวา ฝั่งใต้ ฝั่งตะวันตกและฝั่งเหนือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4061 ฟากตะวันตก เส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างตำบลถนนกับตำบลมายอ เส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างตำบลกระเสาะกับตำบลมายอ เส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างตำบลเกาะจันกับตำบลมายอ เส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างตำบลตรังกับตำบลมายอ เส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างตำบลลุโบะยิไรกับตำบลมายอ และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4092 ฟากตะวันตก
    ด้านใต้จดคลองชลประทานสายใหญ่ ฝั่งขวา ฝั่งตะวันตก ฝั่งเหนือ และฝั่งตะวันออก แนวเขตผังเมืองรวมด้านใต้ ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างจังหวัดปัตตานีกับจังหวัดยะลา คลองชลประทานสายใหญ่ ฝั่งซ้าย ฝั่งเหนือ และฝั่งตะวันออก และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 418 ฟากตะวันออก

    ด้านตะวันตก          จดแนวเขตผังเมืองรวมด้านตะวันตก ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างจังหวัดปัตตานีกับจังหวัดสงขลา

    ทั้งนี้ ยกเว้นบริเวณหมายเลข 1.8 ที่กำหนดไว้เป็นสีชมพู และบริเวณหมายเลข 4.2 ที่กำหนดไว้เป็นสีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว
    การใช้ประโยชน์ที่ดินในรายการ 2.1 และรายการ 4.1 ให้เป็นไปตามที่กำหนดดังต่อไปนี้

    2.1 ด้านเหนือ          จดเส้นขนานระยะ 250 เมตร กับริมคลองสาธารณะไม่ปรากฏชื่อ ฝั่งใต้เส้นขนานระยะ 180 เมตร กับริมคลองระบายน้ำ D 2 ฝั่งตะวันออก ถนนสายบ้านไร่ - ทางเข้าบ้านบางเขาประตูระบายน้ำ D 2 ฟากใต้ และทางหลวงชนบท ปน. 2070
          ด้านตะวันออก          จดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 ฟากตะวันตก
          ด้านใต้                    จดเส้นตรงที่ลากจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 ฟากตะวันตกที่จุดซึ่งอยู่ห่างจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 บรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 43 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 เป็นระยะ 850 เมตร ไปทางทิศตะวันตกบรรจบกับเขตเทศบาลตำบลบ่อทอง ระหว่างหลักเขตที่ 2 และหลักเขตที่ 1 และคลองระบายน้ำ D 2 ฝั่งตะวันออก
          ด้านตะวันตก          จุดคลองระบายน้ำ D 2 ฝั่งตะวันออก
    4.1 ด้านเหนือเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างอำเภอโคกโพธิ์กับอำเภอหนองจิกเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างตำบลปุโละและปุโยกับตำบลบ่อทองเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างตำบลตุยงกับตำบลบ่อทอง ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 ฟากตะวันออก เขตเทศบาลตำบลบ่อทอง ระหว่างหลักเขตที่ 2 กับหลักเขตที่ 1 เส้นขนานระยะ 300 เมตร กับศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 43 แนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดอนนา คลองระบายน้ำ D 2 ฝั่งตะวันตก โครงการชลประทานปัตตานี แนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเลนหนองจิก เส้นขนานระยะ 250 เมตร กับริมฝั่งคลองสาธารณะไม่ปรากฏชื่อ ฝั่งใต้ เส้นขนานระยะ 180 เมตร กับริมฝั่งคลองระบายน้ำ D 2 ฝั่งตะวันออก ถนนสายบ้านบางไร่ ทางเข้าบ้านบางเขาประตูระบายน้ำ D 2 ฟากเหนือ ทางหลวงชนบท ปน. 2070 ฟากเหนือ คลองสาธารณะไม่ปรากฏชื่อ ฝั่งใต้ เส้นตรงที่ลากต่อจากริมฝั่งคลองสาธารณะไม่ปรากฏชื่อ ฝั่งตะวันออก ไปบรรจบกับคลองชลประทานสายใหญ่สายที่ 8 ฝั่งตะวันตก เส้นขนานระยะ 200 เมตร กับศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 ถนน อบจ. ปน. 2006 ฟากใต้ ถนน อบจ. ปน. 2007 ฟากตะวันออก ทางหลวงแผนดินหมายเลข 42 ฟากใต้ เขตเทศบาลตำบลบางปูระหว่างหลักเขตที่ 1 หลักเขตที่ 8 หลักเขตที่ 7 และหลักเขตที่ 6 เขตเทศบาลตำบลยะหริ่ง ระหว่างหลักเขตที่ 1 หลักเขตที่ 4 หลักเขตที่ 3 และหลักเขตที่ 2 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 ฟากตะวันตก เขตเทศบาลตำบลตันหยง ระหว่างหลักเขตที่ 2 หลักเขตที่ 1 หลักเขตที่ 8 หลักเขตที่ 7 หลักเขตที่ 6 หลักเขตที่ 5 และหลักเขตที่ 4 เส้นแบ่งเขตการปกครอง ระหว่างตำบลตันหยงดาลอกับตำบลมะนังยง และตำบลหนองแรต เส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างตำบลสาบันกับตำบลจะรัง เส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างอำเภอปะนาเระกับอำเภอยะหริ่ง และเขตเทศบาลตำบลปะนาเระระหว่างหลักเขตที่ 8 หลักเขตที่ 7 หลักเขตที่ 6 และหลักเขตที่ 5
    ด้านตะวันออกจดคลองชลประทานสายใหญ่ฝั่งขวา ฝั่งใต้ ฝั่งตะวันตกและฝั่งเหนือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4061 ฟากตะวันตก เส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างตำบลถนนกับตำบลมายอ เส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างตำบลกระเสาะกับตำบลมายอ เส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างตำบลเกาะจันกับตำบลมายอ เส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างตำบลตรังกับตำบลมายอ เส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างตำบลลุโบะยิไรกับตำบลมายอ และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4092 ฟากตะวันตก


  ด้านใต้จดคลองชลประทานสายใหญ่ฝั่งขวา ฝั่งตะวันตก ฝั่งเหนือ และฝั่งตะวันออก แนวเขตผังเมืองรวมด้านใต้ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างจังหวัดปัตตานีกับจังหวัดยะลา คลองชลประทานสายใหญ่ฝั่งซ้าย ฝั่งเหนือ และฝั่งตะวันออก และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 418 ฟากตะวันออก

    ด้านตะวันตก          จดแนวเขตผังเมืองรวมด้านตะวันตก ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครอง


    ทั้งนี้ ยกเว้นบริเวณหมายเลข 1.5 และหมายเลข 1.8 ที่กำหนดไว้เป็นสีชมพู และบริเวณหมายเลข 4.2 ที่กำหนดไว้เป็นสีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว

8. เรื่อง การแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565               (ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการหรือหน่วยงานอย่างอื่นหรือในระดับต่ำลงไปในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ                   พ.ศ. ....)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการหรือหน่วยงานอย่างอื่นหรือในระดับต่ำลงไปในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. และสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาและร่างกฎกระทรวงที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ มีสาระสำคัญเป็นการแบ่งส่วนราชการในระดับกองบัญชาการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ โดยคงจำนวนส่วนราชการดังกล่าวไว้เท่าเดิม จำนวน 30 หน่วย โดยตัดส่วนราชการสำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำออก ซึ่งโอนไปเป็นส่วนราชการในพระองค์ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 และพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 และ                        ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการหรือหน่วยงานอย่างอื่นหรือในระดับต่ำลงไปในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการหรือหน่วยงานอย่างอื่นหรือในระดับต่ำลงไป และกำหนดหน้าที่และอำนาจ โดยคงจำนวนส่วนราชการดังกล่าวไว้จำนวนเท่าเดิม และกำหนดเพิ่มเติมหน่วยงานที่มีระดับต่ำกว่ากองบังคับการ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ซึ่งนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นชอบให้นำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
                    สำนักงาน ก.พ. เห็นว่า การปรับปรุงโครงสร้างและการจัดระเบียบราชการดังกล่าวเพื่อรองรับภารกิจตามกฎหมาย ไม่มีการกำหนดตำแหน่งข้าราชการตำรวจเพิ่มขึ้นจึงไม่กระทบต่อจำนวนอัตรากำลังในภาพรวมและไม่กระทบต่องบประมาณค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร อย่างไรก็ดี สำนักงานตำรวจแห่งชาติควรพิจารณาการปรับเกลี่ยอัตรากำลังให้สอดคล้องตามภาระงานและความจำเป็นตามภารกิจที่ต้องปฏิบัติ รวมทั้งการจัดสรรข้าราชการตำรวจให้แก่หน่วยงานปฏิบัติในพื้นที่ เพื่อให้การบริหารงานบุคคลเกิดความต่อเนื่องมีความเหมาะสม สำนักงาน ก.พ.ร. เห็นว่า ไม่ควรปรากฏ ?กองบังคับการตำรวจรถไฟ? ในร่างกฎกระทรวงฯ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 163 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ที่บัญญัติให้เมื่อครบ 1 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ใช้บังคับให้กองบังคับการตำรวจรถไฟเป็นอันยุบ แม้ว่าปัจจุบันยังไม่ครบกำหนดระยะเวลา 1 ปี สำนักงานตำรวจแห่งชาติควรเร่งดำเนินการในเรื่องดังกล่าว และแก้ไขร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการฯ เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ควรพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างและอัตรากำลังกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่ลดลงตามมาตรา 165 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 พิจารณาเกลี่ยอัตรากำลังพลไปปฏิบัติงานในภารกิจที่ขาดแคลนและมีความจำเป็น รวมทั้งพิจารณาความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับการจัดทำร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการภายในกรม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2565 สำนักงบประมาณเห็นว่า ไม่ถือเป็นการอนุมัติให้หน่วยงานของรัฐดำเนินมาตรการหรือโครงการที่ก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ ตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ไม่เป็นการสร้างความผูกพัน                          ต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป จึงไม่ขัดหรือแย้งกับมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และแนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 ประกอบกับเป็นการแบ่งส่วนราชการตามกรอบโครงสร้างเดิม ไม่มีการกำหนดตำแหน่งข้าราชการตำรวจเพิ่มขึ้น ไม่กระทบต่อจำนวนตำแหน่งในภาพรวม จึงไม่กระทบต่อค่าใช้จ่ายงบบุคลากรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และไม่มีผลกระทบ                   ต่อหลักการกฎหมายวิธีการงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า ร่างพระราชกฤษฎีกาและ               ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้เป็นการปฏิบัติราชการตามปกติเพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายแม่บทได้บัญญัติให้อำนาจไว้ มิได้เป็นกรณีที่คณะรัฐมนตรีกระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพัน  ต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ตามมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 เรื่อง แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้น คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาและร่างกฎกระทรวงดังกล่าวได้
                    สาระสำคัญของร่างพะราชกฤษฎีกาและร่างกฎกระทรวง
                    1. ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. .... เป็นการแบ่งส่วนราชการในระดับกองบัญชาการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ โดยคงจำนวนส่วนราชการดังกล่าวไว้เท่าเดิม จำนวน 30 หน่วย (ไม่มีส่วนราชการสำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ ซึ่งโอนไปเป็นส่วนราชการในพระองค์ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 และพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560) ประกอบด้วย
                        1.1 กองบัญชาการหรือส่วนราชการที่เรียกอย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จำนวน 8 หน่วย ได้แก่
                              1.1.1 สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ
                              1.1.2 สำนักงานส่งกำลังบำรุง
                              1.1.3 สำนักงานกำลังพล
                              1.1.4 สำนักงานงบประมาณและการเงิน
                              1.1.5 สำนักงานกฎหมายและคดี
                              1.1.6 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ
                              1.1.7 สำนักงานจเรตำรวจ
                              1.1.8 สำนักงานตรวจสอบภายใน
                        1.2 กองบัญชาการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการที่ไม่สังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จำนวน 22 หน่วย ได้แก่
                              1.2.1 กองบัญชาการตำรวจนครบาล
                              1.2.2 ตำรวจภูธรภาค 1 - 9
                              1.2.3 กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
                              1.2.4 กองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว
                              1.2.5 กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
                              1.2.6 กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด
                              1.2.7 กองบัญชาการตำรวจสันติบาล
                              1.2.8 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
                              1.2.9 กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
                              1.2.10 สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ
                              1.2.11 สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
                              1.2.12 กองบัญชาการศึกษา
                              1.2.13 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
                              1.2.14 โรงพยาบาลตำรวจ
                        1.3 เพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจของหน่วยงานเพื่อรองรับการปฏิบัติตามภารกิจ ได้แก่ หน้าที่และอำนาจของสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) และตามที่คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติมอบหมาย หน้าที่และอำนาจของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจ (ก.พ.ค.ตร.) และตามที่คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจ (ก.พ.ค.ตร.) มอบหมาย และหน้าที่และอำนาจของสำนักงานจเรตำรวจรับผิดชอบงานธุรการ ช่วยเหลือและสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ (ก.ร.ตร.)
                        1.4 กำหนดเขตพื้นที่รับผิดชอบของกองบัญชาการตำรวจนครบาลในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และเขตพื้นที่รับผิดชอบจังหวัดต่าง ๆ ของตำรวจภูธรภาค 1 - 9 ตามนัยมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565
                    2. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการหรือหน่วยงานอย่างอื่นหรือในระดับต่ำลงไปในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ....
                        2.1 เป็นการคงจำนวนส่วนราชการระดับกองบังคับการหรือส่วนราชการหรือหน่วยงานอย่างอื่นหรือในระดับต่ำลงไปไว้จำนวนเท่าเดิม และเพิ่มเติมหน่วยงานที่มีระดับต่ำกว่ากองบังคับการ ซึ่งมิได้ปรากฏอยู่ในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเดิมแต่อยู่ในประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหน่วยงานและเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือเขตพื้นที่การปกครองของส่วนราชการ ซึ่งประกาศโดยนายกรัฐมนตรี และระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แบ่งออกเป็นดังนี้
                              2.1.1 หน่วยงานระดับกองบังคับการหรือส่วนราชการหรือหน่วยงานอย่างอื่น และปรากฏอยู่ในกฎกระทรวงเดิม จำนวน 255 กองบังคับการ (จากเดิมมีจำนวน 258 กองบังคับการ โดยยุบเลิกหน่วยงานระดับกองบังคับการ ในสังกัดสำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ เดิม จำนวน 3 กองบังคับการ)
                              2.1.2 หน่วยงานระดับกองกำกับการ ซึ่งปรากฏชื่ออยู่ในกฎกระทรวงเดิม จำนวน 1,461 กองกำกับการ (ยุบเลิกหน่วยงานระดับกองกำกับการในสังกัดสำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ จำนวน 12 กองกำกับการ)
                              2.1.3 เพิ่มเติมสถานีตำรวจนครบาล จำนวน 88 สถานี และสถานีตำรวจภูธร จำนวน 1,396 สถานี รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,484 สถานี
                              2.1.4 เพิ่มหน่วยงานอย่างอื่นในระดับต่ำกว่ากองบังคับการ จำนวน 298 หน่วย
                        2.2 เพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจของหน่วยงานระดับกองกำกับการลงไปให้ชัดเจน เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ได้บัญญัติไว้
                        2.3 แก้ไขเพิ่มเติมชื่อตำรวจภูธรจังหวัด สถานีตำรวจนครบาลในกองบังคับการตำรวจนครบาล 1 - 9 สังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล สถานีตำรวจภูธรในตำรวจภูธรจังหวัดต่าง ๆ สังกัดตำรวจภูธรภาค 1 - 9 และหน่วยงานอย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองกำกับการลงไป ได้แก่ สถานีตำรวจทางหลวง ในกองบังคับการตำรวจทางหลวง สังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สถานีตำรวจรถไฟ ในกองบังคับการตำรวจรถไฟ สังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สถานีตำรวจน้ำ ในกองบังคับการตำรวจน้ำ สังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สถานีตำรวจท่องเที่ยว ในกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว 1 - 3 สังกัดกองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดและด่านตรวจคนเข้าเมืองในกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 3 - 6 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง พิสูจน์หลักฐานจังหวัด ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 1 - 10 สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ และศูนย์บริการเทคนิคสื่อสาร ฝ่ายการสื่อสาร 2 - 7 กองตำรวจสื่อสาร สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
                        2.4 เปลี่ยนชื่อหน่วยงานเพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจและสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนี้
                              2.4.1 สถานีตำรวจภูธรสาขลา ในตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการ สังกัดตำรวจภูธรภาค 1 (เดิม) เปลี่ยนเป็น สถานีตำรวจภูธรบ้านคลองสวนในตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการ สังกัดตำรวจภูธรภาค 1 เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับเขตพื้นที่รับผิดชอบ และไม่ก่อให้เกิดความสับสนกับประชาชนและนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการ
                              2.4.2 กองกำกับการควบคุมธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ สังกัดกองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว (เดิม) เปลี่ยนเป็น กองกำกับการสืบสวน สังกัดกองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว เพื่อให้มีความคล่องตัวในการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
                              2.4.3 กลุ่มงานสอบสวนและตรวจสอบทรัพย์สินในกองบังคับการตำรวจปราบปราบยาเสพติด 1 - 4 สังกัดกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (เดิม) เปลี่ยนเป็น กลุ่มงานสอบสวนและขยายผล ในกองบังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 1 - 4 สังกัดกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่ปฏิบัติ กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ในกองบังคับการข่าวกรองยาเสพติด สังกัดกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (เดิม) เปลี่ยนเป็น กองกำกับการเครื่องมือพิเศษและเทคโนโลยีการสืบสวนในกองบังคับการข่าวกรองยาเสพติด สังกัดกองบัญชาการตำรวจปราบปราม ยาเสพติด เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่ปฏิบัติ
                              2.4.4 ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานกรุงเทพมหานคร ในกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 2 สังกัดสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (เดิม) เปลี่ยนเป็นด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานดอนเมือง ในกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 2 สังกัดสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อท่าอากาศยานที่รับผิดชอบ
                              2.4.5 ศูนย์บริการเทคนิคสื่อสาร ฝ่ายการสื่อสาร 2 - 7 ในกองตำรวจสื่อสาร สังกัดสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปรับปรุงเลขลำดับในชื่อ เพื่อเรียงลำดับให้เป็นระบบ เช่น ศูนย์บริการเทคนิคสื่อสารกลาง 1, 2 และ 3 ฝ่ายการสื่อสาร 2 ในกองตำรวจสื่อสาร สังกัดสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (เดิม) เปลี่ยนเป็นศูนย์บริการเทคนิคสื่อสาร 21 ศูนย์บริการเทคนิคสื่อสาร 22 และศูนย์บริการเทคนิคสื่อสาร 23 ฝ่ายการสื่อสาร 2 ในกองตำรวจสื่อสาร สังกัดสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตามลำดับ
                              2.4.6 กลุ่มงานชีวเคมี สังกัดโรงพยาบาลตำรวจ (เดิม) เปลี่ยนเป็น กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ สังกัดโรงพยาบาลตำรวจ เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่รับผิดชอบโดยอ้างอิงตามโครงสร้างโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
                              2.4.7 กลุ่มงานผู้ป่วยนอก สังกัดโรงพยาบาลตำรวจ (เดิม) เปลี่ยนเป็นกลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน สังกัดโรงพยาบาลตำรวจ เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่รับผิดชอบ รวมทั้งการเปลี่ยนชื่อหน่วยงานดังกล่าวเป็นชื่อสากลนิยมและใช้แพร่หลายทั่วทุกประเทศ
                        2.5 ปรับเปลี่ยนสายการบังคับบัญชา โดย
                              2.5.1 ตัดโอนศูนย์รับแจ้งเหตุและปฏิบัติการควบคุมสั่งการในกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว 1 ไปสังกัดกองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรับแจ้งเหตุ รับเรื่องร้องเรียน ประสานงาน และให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อนักท่องเที่ยวทั่วประเทศ
                              2.5.2 ตัดโอนกลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล สังกัดสำนักงานกำลังผล ไปสังกัดกองทะเบียนพล สังกัดสำนักงานกำลังพล เพื่อให้มีสายงานการบังคับบัญชาช่วยกรองงานที่จะนำเสนอให้กับผู้บังคับบัญชา

9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
                    1. กฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการและการกำหนดค่าธรรมเนียมในการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว โดยผู้ได้รับใบอนุญาตต้องมีลักษณะ เช่น 1) เป็นบริษัทจำกัดที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) จัดตั้งขึ้นและถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 99 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด 2) มีทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วไม่น้อยกว่าจำนวนที่กำหนดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 3) มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการลงทุนตามโครงการจัดการกองทุนรวมโดยการออกหน่วยลงทุนจำหน่ายแก่ผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว และ 4) ประกอบธุรกิจอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการลงทุนตามโครงการจัดการกองทุนรวมโดยการออกหน่วยลงทุนจำหน่ายแก่ผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าวโดยได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทั้งนี้ ในการดำเนินการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าวตามกฎกระทรวงดังกล่าว ตลท. ได้จัดตั้งบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว จำกัด1 ขึ้นเพื่อให้ผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าวสามารถลงทุนในหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนใน ตลท. ผ่านกองทุนรวมซึ่งมีกฎหมายรองรับในเรื่องสัญชาติได้
                    2. ต่อมา ก.ล.ต. ในการประชุมครั้งที่ 15/2565 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 เห็นว่าปัจจุบันผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าวมีทางเลือกในการลงทุนใน NVDR* ทำให้ความต้องการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าวตามกฎกระทรวงตามข้อ 1 ไม่เป็นที่ต้องการ ประกอบกับผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้เลิกประกอบธุรกิจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2565 ทำให้ปัจจุบันไม่มีผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวแล้ว รวมทั้ง ตลท. ก็ไม่มีความประสงค์จะยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจดังกล่าวอีกต่อไป ก.ล.ต. จึงมีมติเห็นควรเสนอให้ กค. พิจารณายกเลิกกฎกระทรวงตามข้อ 1
                    3. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) และ ตลท. ได้ร่วมกันพัฒนาหลักเกณฑ์เพื่อรองรับการใช้ NVDR ซึ่งออกโดยบริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด2 ที่ ตลท. จัดตั้งขึ้น (โดยบริษัทดังกล่าวประกอบธุรกิจโดยการออก NVDR ซึ่งเป็นตราสารที่มีลักษณะเดียวกับหุ้น โดยผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ซื้อ NVDR ไปจะได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับการซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ทุกประการ เช่น การได้รับเงินปันผล ผลกำไรและสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน โดยผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าวสามารถซื้อขาย NVDR ผ่าน ตลท. ได้โดยตรง แต่ผู้ถือ NVDR จะไม่มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหุ้น ทำให้ผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าวสามารถลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนใน ตลท. ได้โดยไม่ติดข้อจำกัดเรื่องการถือหุ้นของคนต่างด้าวในบริษัทที่จดทะเบียนใน ตลท.3) ซึ่งส่งผลให้การลงทุนผ่าน NVDR มีความสะดวกและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งได้รับความนิยมจากนักลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าวมากกว่าการลงทุนผ่านกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว (ผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าวจะต้องลงทุนในกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าวแล้วกองทุนฯ จะนำเงินที่ได้จากการซื้อหุ้นในกองทุนไปลงทุนต่อในตลาดหลักทรัพย์อีกทอดหนึ่ง) ทั้งนี้ การดำเนินการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าวตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2539) และ NVDR มีความแตกต่างกันดังนี้

ประเด็น

ตราสาร          กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนต่างด้าว
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 8
(พ.ศ. 2535)          ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์
ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (NVDR)
1. การดำเนินการ          ? ดำเนินการผ่านบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว จำกัด (ปัจจุบันเลิกกิจการแล้ว)          ? ดำเนินการผ่านบริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด (จัดตั้งขึ้นโดย ตลท.)
2. การลงุทน          ? ลงทุนผ่านกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนต่างด้าว (กองทุนฯ จะนำเงินที่ได้จากการซื้อหุ้นในกองทุนไปลงทุนต่อในตลาดหลักทรัพย์อีกทอดหนึ่ง)          ? ซื้อขาย NVDR ผ่าน ตลท. ได้โดยตรง
3. สิทธิประโยชน์          ? ได้รับสิทธิประโยชน์จากบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ซึ่ง บลจ. จะจ่ายสิทธิประโยชน์ เช่น เงินปันผล และหุ้นเพิ่มทุน          ? ได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับการซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ทุกประการ เช่น การได้รับเงินปันผล ผลกำไร และสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน
4. การออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น          ? ไม่มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหุ้น          ? ไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหุ้น
                    4. การยกเลิกกฎกระทรวงตามข้อ 1 จะมีผลกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในวงจำกัดเฉพาะการจัดตั้งบริษัทขึ้นเพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าวเท่านั้น โดยมีเพียงบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนต่างด้าว จำกัด ซึ่งได้รับอนุญาตให้เลิกประกอบธุรกิจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2565 ดังนั้น การยกเลิกกฎกระทรวงดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั่วไป จึงไม่ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการยกเลิกกฎกระทรวงดังกล่าว
                    5. กค. พิจารณาแล้วเห็นว่า ปัจจุบันผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าวมีทางเลือกในการลงทุนใน NVDR ได้โดยตรงแล้ว ทำให้มีความต้องการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าวน้อยลง ประกอบกับผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้เลิกประกอบธุรกิจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแล้ว และ ตลท. ไม่มีความประสงค์จะยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจดังกล่าวต่อไปอีก ทำให้กฎกระทรวงตามข้อ 1 เป็นกฎหมายที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันและไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา)
* ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (Non-Voting Depository Receipt : NVDR) เป็นหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจาก สำนักงาน ก.ล.ต. ตามประกาศของ ก.ล.ต. เลขที่ กจ 34/2543 เรื่องการระบุหลักทรัพย์ประเภทอื่น (เลขที่ 4) วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2543 เป็นตราสารที่มีลักษณะเดียวกับหุ้น ออกโดยบริษัท ไทยวีดีอาร์ จำกัด ซึ่งอยู่ภายใต้ ตลท. โดยผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าวสามารถซื้อขายผ่าน ตลท. ได้โดยตรง โดยไม่ต้องลงทุนผ่านกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าวตามกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
1 จัดตั้งขึ้นโดย ตลท. เริ่มดำเนินการ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2539 เป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) มีวิธีการ คือ ผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าวลงทุนในกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าวแล้วกองทุนฯ จะนำเงินที่ได้จากการซื้อหุ้นในกองทุนไปลงทุนต่อใน ตลท. อีกทอดหนึ่ง โดยที่ผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์จากบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ซึ่ง บลจ. จะจ่ายสิทธิประโยชน์ เช่น เงินปันผล และหุ้นเพิ่มทุน แต่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะไม่มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหุ้นเช่นเดียวกับผู้ลงทุนที่ถือ NVDR
2 จัดตั้งเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2543 โดย ตลท. ถือหุ้นร้อยละ 99.99 ของทุนจดทะเบียน (10 ล้านบาท)
3 แต่ละบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จะมีข้อจำกัดในการถือครองหลักทรัพย์ของผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าวแตกต่างกัน แต่จะต้องไม่เกินร้อยละ 49 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

10. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้
                    1. เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    2. ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    3. ให้สำนักงบประมาณรับความเห็นของกระทรวงพลังงานไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ เป็นการดำเนินการตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งบัญญัติให้ในกรณีที่มีการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ตามระเบียบหรือกฎหมายอื่นใดไว้แล้ว การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้คำนึงถึงผลการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ดังกล่าวด้วย โดยร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เป็นการกำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment. SEA) ไปใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการจัดทำแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพ (เช่น แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ แผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ และแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี) เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) ทั้งนี้ คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนมีมติเห็นชอบแล้ว ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบในหลักการ โดยมีข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำแผน กระบวนการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์และการได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่าการเสนอร่างระเบียบดังกล่าวเป็นการปฏิบัติราชการตามปกติเพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายแม่บทได้บัญญัติให้อำนาจไว้ และมิได้เป็นกรณีที่คณะรัฐมนตรีกระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไปตามมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 (เรื่อง แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร)  จึงเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีที่จะพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างระเบียบดังกล่าวได้ตามที่เห็นสมควร
                    สาระสำคัญของร่างระเบียบฯ
ประเด็น          รายละเอียด
1. แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (กยส.) (ร่างข้อ 4 - 13)          ? กำหนดให้ กสย. ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน มีกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 13 คน เช่น ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย และเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา รวมทั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนไม่เกิน 9 คน เช่น ผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ SEA โดยมีรองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม
? กำหนดให้ กสย. มีหน้าที่และอำนาจ เช่น (1) กำหนดนโยบาย แนวทางการพัฒนา และกลไกในการขับเคลื่อน SEA เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน แล้วเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ (2) กำหนดรายชื่อแผนที่ต้องทำ SEA และ (3) กำหนดหลักเกณฑ์ แนวทาง คู่มือ และวิธีการ SEA ที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
? สำนักงานเลขานุการของ กสย. คือ สศช. มีหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่ต้องจัดทำ SEA เพื่อให้การประเมินในด้านต่าง ๆ มีความสอดคล้อง และมีประสิทธิภาพ ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์ รวมทั้งรวบรวมข้อมูลและข้อคิดเห็น หรือดำเนินการใด ๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของ กสย.
ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายสำหรับเบี้ยประชุม ค่าตอบแทน รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานดังกล่าว ให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของ สศช.
2. แผนที่ต้องจัดทำ SEA (ร่างข้อ 14 - 16)           ? กำหนดให้ กสย. ประกาศกำหนดรายชื่อแผนที่หน่วยงานของรัฐจะต้องทำ SEA ได้แก่ (1) คมนาคม (2) พลังงาน (3) อุตสาหกรรม (4) ทรัพยากรน้ำ (5) ทรัพยากรป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพ (6) ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (7) ผังเมือง และ (8) เขตพัฒนาพิเศษและเขตเศรษฐกิจพิเศษ
? ให้ กสย. กำหนดรายชื่อหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่จัดทำ SEA ตามรายชื่อแผนที่ กสย. ประกาศกำหนด โดย กสย. ต้องดำเนินการประกาศรายชื่อหน่วยงานของรัฐที่ต้องจัดทำ SEA ให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่ร่างระเบียบนี้ใช้บังคับ (90 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป)
3. การจัดทำ SEA (ร่างข้อ 17 - 22)           ? กำหนดให้หน่วยงานของรัฐใช้แนวทาง SEA ที่ กสย. ประกาศกำหนดเป็นกรอบในการดำเนินงาน และต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย และประชาชนที่เกี่ยวข้อง โดยหน่วยงานของรัฐต้องจัดเตรียมงบประมาณและบุคลากรรองรับสำหรับ SEA ทั้งนี้ หน่วยงานของรัฐอาจจัดทำหรือปรับปรุงคู่มือ SEA รายสาขาหรือเชิงพื้นที่เพิ่มเติมก็ได้ เพื่อนำไปปรับใช้และบูรณาการให้เหมาะสมกับบริบทของการจัดทำแผนแต่ละประเภท
? กำหนดให้หน่วยงานของรัฐแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและกำกับการจัดทำ SEA โดยให้มีตัวแทนของคณะอนุกรรมการที่ กสย. แต่งตั้งอยู่ในคณะกรรมการดังกล่าวด้วย เพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อการจัดทำ SEA
? กำหนดให้หน่วยงานของรัฐเสนอแผนที่บูรณาการ SEA ต่อคณะกรรมการระดับนโยบายและ/หรือคณะรัฐมนตรีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเสนอรายงาน SEA ให้ กสย. ทราบ เพื่อนำไปใช้ในการติดตามประเมินผล และพัฒนาระบบ SEA ของประเทศต่อไป

11. เรื่อง ร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติดังนี้
                    1. เห็นชอบการทบทวนร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. .... ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565
                    2. อนุมัติร่างกฎ ก.พ. ดังกล่าวตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    3. ให้สำนักงาน ก.พ. รับความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างกฎ ก.พ. ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติแล้ว (20 กันยายน 2565) แต่โดยที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้วยโอกาส วุฒิสภา และสมาคมคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทยได้มีความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับร่างกฎ ก.พ. ในประเด็นเกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติทั่วไปของผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นราชการพลเรือนในส่วนลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการ ซึ่งกำหนดเพิ่มโรคจิต (Psychosis) หรือโรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorder) ที่ปรากฏอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรัง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏบัติงานในหน้าที่ ซึ่งส่งผลกระทบอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าผู้ป่วยโรคดังกล่าวไม่มีความสามารถในการทำงานใด ๆ ทำให้ความเจ็บป่วยทางจิตเวชในสังคมมีความรุนแรงมากขึ้น รวมทั้งอาจไม่สอดคล้องกับหลักการไม่เลือกปฏิบัติที่ได้รับการรับรองในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สำนักงาน ก.พ. พิจารณาแล้วเห็นควรปรับปรุงแก้ไขร่างกฎ ก.พ. ดังกล่าว โดยตัดการกำหนดโรคจิต (Psychosis) หรือโรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorder) ที่ปรากฏอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรังและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ ออก แต่ไปกำหนดวิธีการตรวจร่างกายให้ชัดเจนโดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. กำหนด และได้จัดประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องข้างต้น ซึ่งเห็นชอบด้วย
                    ร่างกฎ ก.พ. ในเรื่องนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบร่างกฎ ก.พ. ดังกล่าวและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า การเสนอขออนุมัติร่างกฎ ก.พ. ดังกล่าวเป็นการปฏิบัติราชการตามปกติเพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายแม่บทได้บัญญัติให้อำนาจไว้ และมิได้เป็นกรณีที่คณะรัฐมนตรีกระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไปตามมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 เรื่อง แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงสามารถพิจารณาทบทวนมติคณะรัฐมนตรีและอนุมัติร่างกฎ ก.พ. ดังกล่าวได้ตามที่เห็นสมควร
                    สาระสำคัญของร่างกฎ ก.พ.
                    1. ยกเลิกกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2553
                    2. กำหนดโรคอันเป็นลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการ ดังนี้ (1) โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม (2) โรคติดยาเสพติดให้โทษ (3) โรคพิษสุราเรื้อรัง (4) โรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่
                    3. กำหนดวิธีการตรวจโรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. กำหนด

12. เรื่อง การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษ ตามประมวลกฎหมายที่ดินและร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน สำหรับกรณีบริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด (PTTLNG) โอนทรัพย์สินของโครงการ LNG Receiving Terminal (แห่งที่ 2) (LMPT2) บ้านหนองแฟบ ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ให้แก่บริษัทร่วมทุนใหม่ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบดังนี้
                    1. เห็นชอบการลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้าง การจัดตั้งบริษัทฯ และการทำธุรกรรมที่เกี่ยวเนื่องจากการร่วมทุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในบริษัทอันเนื่องมาจากโครงการ LNG Receiving Terminal (แห่งที่ 2) บ้านหนองแฟบ ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง จากร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 0.01
                    2. อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน สำหรับกรณีบริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด (PTTLNG) โอนทรัพย์สินของโครงการ LNG Receiving Terminal (แห่งที่ 2) (LMPT2) บ้านหนองแฟบ ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ให้แก่บริษัทร่วมทุนใหม่ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ เรื่องที่กระทรวงพลังงานเสนอสืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (6 ธันวาคม 2565) ให้ กฟผ. เข้าร่วมทุนกับบริษัท PTTLNG ในสัดส่วนการถือหุ้นเท่ากันคือ ร้อยละ 50 (บริษัท PTTLNG ได้ดำเนินการใน LMPT2 โดยถือหุ้นร้อยละ 100) ดั้งนั้น บริษัท PTTLNG จึงต้องมีการจัดตั้งบริษัทที่เกิดจากการร่วมทุนขึ้นมาใหม่ โดยบริษัท PTTLNG ต้องโอนทรัพย์สินของโครงการ LNG Receiving Terminal (แห่งที่ 2) บ้านหนองแฟบ ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ให้แก่บริษัทร่วมทุนใหม่ โดยในส่วนของการลดหย่อนค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ จะดำเนินการได้เฉพาะในกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ดังนั้น จึงขอลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน กรณีบริษัท PTTLNG   โอนทรัพย์สินของโครงการ LNG Receiving Terminal (แห่งที่ 2) (LMPT2) บ้านหนองแฟบ ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ให้แก่บริษัทร่วมทุนใหม่ [บริษัทที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัท PTTLNG เข้าร่วมทุนในบริษัท LNG Receiving Terminal (แห่งที่ 2)] จากร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 0.01 ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ โดยอาศัยอำนาจตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 47 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ข้อ 2 (7) ฎ ซึ่งกำหนดให้เป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีในการมีมติให้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมเป็นพิเศษเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ร้อยละ 0.01 และดำเนินการออกประกาศกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
                    กระทรวงพลังงานเห็นว่า การดำเนินการขอลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน และร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยได้กำหนดไว้แล้วในงบประมาณรายจ่ายประจำปีของ กฟผ. การดำเนินการดังกล่าวจึงไม่เป็นการขัดกับมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่กำหนด และได้ดำเนินการจัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27     และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยคาดว่าจะสูญเสียรายได้ภาษีค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์ประมาณ (Transfer Fee : TF) คำนวณที่ร้อยละ 2 ของมูลค่าก่อสร้างทรัพย์สิน จำนวน 830 ล้านบาท
                    หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยแล้ว ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า กรณีดังกล่าวเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2565 ที่อนุมัติในหลักการยกเว้นภาษี เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการร่วมทุนในบริษัทดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจึงพิจารณาอนุมัติหลักการเรื่องนี้ได้และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่า กรณีดังกล่าวเป็นการพิจารณาตามมาตรา 169 (1) จึงไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และสำนักงาน กกต. ที่จะพิจารณามีความเห็นได้
                    สาระสำคัญของร่างประกาศ
                    ลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 47       (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 สำหรับกรณีบริษัท พีทีที     แอลเอ็นจี จำกัด (PTTLNG) โอนทรัพย์สินของโครงการ LNG Receiving Terminal (แห่งที่ 2) (LMPT2) บ้านหนองแฟบ ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ให้แก่บริษัทร่วมทุนใหม่* จากร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 0.01 ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567
*หมายเหตุ : ?บริษัทร่วมทุนใหม่? หมายความว่า บริษัทที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และบริษัท    พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด (PTTLNG) เข้าร่วมทุนในบริษัท LNG Receiving Terminal (แห่งที่ 2)

13. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด (ฉบับที่..) พ.ศ. ...
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงยุติธรรมและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    พม. เสนอว่า
                    1. ได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 5 พ.ศ. 2565 ซึ่งออกตามความในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติดกำหนดให้พืชฝิ่น เห็ดขี้ควาย หรือพืชเห็ดขี้ควาย สารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชาหรือกัญชง ยกเว้นสารสกัดที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol,THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก และสารสกัดจากเมล็ดของพืชกัญชาหรือกัญชงที่ได้จากการปลูกภายในประเทศ เป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 51 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด โดยไม่ได้กำหนดให้พืชกระท่อม กัญชา กัญชง เป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด
                    2. เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เด็กใช้พืชกระท่อม กัญชา กัญชง หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของพืชกระท่อม กัญชา และกัญชงในลักษณะสารเสพติด ซึ่งจะกระทบต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญาและการเจริญเติบโตของร่างกาย และเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี พม. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำความผิด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 6 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด           พ.ศ. 2549 โดยเพิ่มพฤติกรรมเด็กที่ใช้พืชกระท่อม กัญชา กัญชง หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของพืชกระท่อม กัญชา และกัญชงในลักษณะสารเสพติด ให้ถือว่าเป็นเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด2 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก       พ.ศ. 2546 เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมีหน้าที่และอำนาจในการคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด3ดังกล่าว
                    3. ในคราวประชุมคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงตามข้อ 2 แล้ว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำความผิด พ.ศ. 2549 โดยเพิ่มพฤติกรรมเด็กที่ใช้พืชกระท่อม กัญชา กัญชง หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของพืชกระท่อม กัญชา และกัญชงในลักษณะสารเสพติด ให้ถือเป็นเด็กที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการกระทำผิดเพื่อการคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด
1ประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 29 บัญญัติให้ยาเสพติดให้โทษแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
          (1) ประเภท 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น เฮโรฮีน
          (2) ประเภท 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น มอร์ฟีน โคคาอีน โคเดอีน หรือฝิ่นยา
          (3) ประเภท 3 ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยา และมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ผสมอยู่ด้วย
          (4) ประเภท 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 หรือประเภท 2 เช่น อาเซติค แอนไฮไดรด์
          (5) ประเภท 5 ยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าอยู่ในประเภท 1 ถึงประเภท 4 เช่น พืชฝิ่น
2พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ม.4 บัญญัติให้
?เด็ก? หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
?เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด? หมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
3พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ม. 40 บัญญัติให้เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ ได้แก่
ฯลฯ
(2) เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด
ฯลฯ

14. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าแม่ยม ป่าแม่ต๋ำ และป่าแม่ร่องขุย บางส่วน ในท้องที่ตำบลเชียงม่วน อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติดังนี้
                    1. ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2562 เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าแม่ยม ป่าแม่ต๋ำ และป่าแม่ร่องขุย บางส่วน ในท้องที่ตำบลเชียงม่วน อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา พ.ศ. ....
                    2. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าแม่ยม ป่าแม่ต๋ำ และป่าแม่ร่องขุย บางส่วน ในท้องที่ตำบลเชียงม่วน อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา พ.ศ. ....
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไป
                    3. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ข้อเท็จจริง
                    1. ทส. โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชได้พิจารณาดำเนินการตามความเห็นของ สคก. เกี่ยวกับร่างพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าแม่ยม ป่าแม่ต๋ำ และป่าแม่ร่องขุย บางส่วน ในท้องที่ตำบลเชียงม่วน อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา พ.ศ. .... ซึ่งเป็นการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าแม่ยม ป่าแม่ต๋ำ และป่าแม่ร่องขุย บางส่วน ในท้องที่ตำบลเชียงม่วน อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา (อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง) เพื่อก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำปี้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดพะเยา ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว สรุปได้ดังนี้
                              1.1 จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง การรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนที่เกี่ยวข้องและประชาชน ในการกำหนดพื้นที่  การขยาย และการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติ วนอุทยานสวนพฤกษศาสตร์ และสวนรุกขชาติ พ.ศ. 2564 โดยจัดประชุมเพื่อรับฟังความเห็น เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 ณ หอประชุมอำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา และรับฟังความคิดเห็นผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ระหว่างวันที่ 6-20 กรกฎาคม 2565 โดยมีข้อสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นซึ่งไม่ขัดต่อหลักการและสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้
                              1.2 กรมการปกครองได้ตรวจสอบแนวเขตการปกครองในแผนที่ท้ายร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ตามมติคณะรัฐมนตรี (22 มีนาคม 2565) แล้ว
                    2. โดยที่ได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 ประกาศใช้บังคับแล้ว และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 (เรื่อง แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร) ทส. ได้ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 และ วันที่ 14 กันยายน  2564 อนุมัติงบประมาณและขยายระยะเวลาดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำปี้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดพะเยา จากเดิม 6 ปี เป็น 10 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559-2568) ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการโครงการดังกล่าวเป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด จึงมีความจำเป็นในการเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ประกอบกับเป็นร่างอนุบัญญัติกำหนดรายละเอียดการปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้สามารถนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาได้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 (เรื่อง แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร) และเป็นไปโดยสอดคล้องกับมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ข้อกฎหมาย และระเบียบหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    เป็นการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าแม่ยม ป่าแม่ต๋ำ และป่าแม่ร่องขุย บางส่วน ในท้องที่ตำบลเชียงม่วน อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา เนื้อที่ประมาณ 1,344 ไร่ 3 งาน 77 ตารางวา เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำปี้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดพะเยา

15. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 100 ปี วันประสูติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 100 ปี วันประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
                    1. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้จัดทำโครงการและกิจกรรมงานเฉลิมฉลองวาระครบ 100 ปี วันประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2566
                    2. ต่อมา อว. ได้ขอความร่วมมือกรมธนารักษ์ กค. จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 100 ปี วันประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิม         พระเกียรติและน้อมรำลึกในพระกรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยทุกหมูเหล่า และเผยแพร่พระเกียรติคุณให้แผ่ไพศาลทั้งภายในประเทศและนานาประเทศ รวมทั้งเพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสที่องค์การยูเนสโกประกาศยกย่องให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญผู้มีผลงานโดดเด่น ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมของโลก ในปี พ.ศ. 2566 ทั้งนี้ กค. ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกในโอกาสดังกล่าว และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกตามรูปแบบที่นำความกราบบังคมทูลประกอบพระราชวินิจฉัยแล้ว สำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกดังกล่าวมาจากเงินทุนหมุนเวียนการบริหารจัดการเหรียญกษาปณ์ ทรัพย์สินมีค่าของรัฐและการทำของ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดย กค. ได้จัดเตรียมงบประมาณสำหรับการดำเนินงานไว้แล้ว จึงสามารถกระทำได้ตามมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    กำหนดชนิด ราคา โลหะ อัตราเนื้อโลหะ น้ำหนัก ขนาด อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด ลวดลาย และลักษณะอื่น ๆ ของเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคายี่สิบบาท เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 100 ปี วันประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

16. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนไร่ใหม่ ? ไร่เก่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนไร่ใหม่ ? ไร่เก่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2555)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนไร่ใหม่ ? ไร่เก่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนไร่ใหม่ ? ไร่เก่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2555) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนไร่ใหม่ ? ไร่เก่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2555 เพื่อปรับปรุงข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) บางส่วน เป็นที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (สีม่วง) โดยให้มีระยะถอยร่นตามแนวขนานเขตทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) 100 เมตร รวมทั้งแก้ไขข้อกำหนดและบัญชีท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนไร่ใหม่ ? ไร่เก่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2555 ในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) บริเวณหมายเลข 4.26 ในโรงงานลำดับที่ 64 (1) การทำภาชนะบรรจุ (12) การตัด พับ หรือม้วนโลหะ (13) การกลึง เจาะ คว้าน กัด ไส เจียน หรือเชื่อมโลหะทั่วไป ให้สามารถดำเนินการได้ในโรงงานจำพวกที่ 3 ตลอดจนปรับปรุงรายการประกอบแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตามที่ได้จำแนกประเภทท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนไร่ใหม่ ? ไร่เก่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2555 ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน และเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐในปัจจุบันที่สนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการเกษตร (Agritech) และเทคโนโลยีอาหาร (Food Tech) ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แล้ว และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างประกาศ
                    1. แก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) บางส่วน เป็นที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (สีม่วง) ในที่ดินบริเวณหมายเลข 4.1 บางส่วน 4.6 บางส่วน และ 4.9 บางส่วน โดยเปลี่ยนเป็นที่ดินบริเวณหมายเลข 3/1.1 ถึงหมายเลข 3/1.3 เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐในปัจจุบันที่สนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการเกษตร และเทคโนโลยีอาหาร และเป็นหนึ่งในปัจจัยการประเมินโรงงานตามเกณฑ์มาตรฐานของ BSCI ซึ่งต้องตั้งอยู่ในพื้นที่ส่งเสริมด้านอุตสาหกรรมของประเทศ รวมทั้งเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการถูกกีดกันทางการค้าในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรที่มีผลิตภัณฑ์ส่งออกไปโซนยุโรป
                    2. กำหนดให้ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (สีม่วง) มีระยะถอยร่นตามแนวขนานเขตทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) 100 เมตร เพื่อความเหมาะสมของขนาดถนนที่ใช้ในการสัญจร ปริมาณการจราจร และศักยภาพของถนนในการรองรับปริมาณการจราจรที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
                    3. แก้ไขเพิ่มเติมให้โรงงานบางประเภทในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ในที่ดินบริเวณหมายเลข 4.26 ให้สามารถประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 ได้ เพื่อส่งเสริมโรงงานที่เป็นอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ที่ดำเนินการก่อนผังเมืองรวมประกาศใช้บังคับ ให้สามารถขยายกำลังการผลิตเพื่อให้มีโอกาสทางธุรกิจและเศรษฐกิจในภาพรวม รวมทั้งส่งผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนต่างชาติ ได้แก่ โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์โลหะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
                              3.1 ลำดับที่ 64 (1) การทำภาชนะบรรจุ
                              3.2 ลำดับที่ 64 (12) การตัด พับ หรือม้วนโลหะ
                              3.3 ลำดับที่ 64 (13) การกลึง เจาะ คว้าน กัด ไส เจียน หรือเชื่อมโลหะทั่วไป
                    4. แก้ไขเพิ่มเติมรายการประกอบแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภทท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนไร่ใหม่ ? ไร่เก่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2555 ในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) และในที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (สีม่วง) ให้สอดคล้องกับการเพิ่มที่ดินบริเวณหมายเลข 3/1

17. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลกำแพงแสน ตำบลรางพิกุล ตำบลวังน้ำเขียว และตำบลทุ่งกระพังโหม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาชุมชนกำแพงแสนให้เป็นเมืองน่าอยู่ เป็นศูนย์กลางการศึกษาวิจัยและการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ พัฒนาเศรษฐกิจการเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูป การคมนาคมขนส่ง บริการสาธารณะ และเมืองพักอาศัยน่าอยู่ เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีนโยบายและมาตรการในการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนให้เป็นศูนย์กลางการบริหาร การปกครองและพาณิชยกรรมในระดับอำเภอ การส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาวิจัยและสนับสนุนเทคโนโลยีด้านการเกษตรควบคู่กับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมของพื้นที่ โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น 7 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังแสดงที่โล่ง และกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง รวมทั้งกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภค ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แล้ว และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างประกาศ
                    กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลกำแพงแสน ตำบลรางพิกุล ตำบลวังน้ำเขียว และตำบลทุ่งกระพังโหม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาชุมชนกำแพงแสนให้เป็นเมืองน่าอยู่ เป็นศูนย์กลางการศึกษาวิจัย และการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ พัฒนาเศรษฐกิจ การเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูป การคมนาคมขนส่ง บริการสาธารณะ และเมืองพักอาศัยน่าอยู่ ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
                    1. กำหนดให้ผังเมืองรวมชุมชนกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม มีนโยบายและมาตรการเพื่อจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายคมนาคมขนส่งและบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับและสอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
                        1.1 ส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการบริหาร การปกครอง และพาณิชยกรรมในระดับอำเภอ
                        1.2 ส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาวิจัยและสนับสนุนเทคโนโลยีด้านการเกษตรควบคู่กับการพัฒนาด้านอตุสาหกรรมของพื้นที่
                        1.3 พัฒนาและอนุรักษ์พื้นที่เกษตรกรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ ด้านการเกษตรและวิสาหกิจชุมชนที่สำคัญซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดนครปฐม
                        1.4 ส่งเสริมและพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนและระบบเศรษฐกิจ
                        1.5 ส่งเสริมและพัฒนาการบริการทางสังคม การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน
                        1.6 อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                    2. กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 7 ประเภท ดังนี้
ประเภท          วัตถุประสงค์
1. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
(สีเหลือง)
















2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม)














3. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง)
















4. ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว)
















5. ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก)








6. ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน)



7. ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน)


          - เป็นพื้นที่รอบนอกชุมชนเมืองต่อจากพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง และพื้นที่ของชุมชนเดิม มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยที่เบาบางเพื่อรองรับการขยายตัวของการอยู่อาศัยที่มีสภาพแวดล้อมที่ดี รวมทั้งรองรับการขยายตัวด้านการอยู่อาศัยในอนาคต ซึ่งมีการก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยได้หลายประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว ซึ่งในกรณีเป็นการอยู่อาศัยที่อยู่ภายใต้การดำเนินการของการเคหะแห่งชาติ จะได้รับการยกเว้นให้สามารถก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยประเภทอาคารชุด หอพัก และอาคารอยู่อาศัยรวมได้ โดยการใช้ประโยชน์ที่ดินมีข้อจำกัดเรื่องความสูงของอาคารซึ่งต้องมีความสูงไม่เกิน 12 เมตร และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณที่พักอาศัยและชุมชน ได้แก่ คลังน้ำมันเพื่อการจำหน่าย คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว สุสานและฌาปนสถาน โรงฆ่าสัตว์ โดยในส่วนของโรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้ เช่น การต้ม นึ่ง หรืออบพืชหรือเมล็ดพืช การเพาะเชื้อเห็ด การทำนมสดให้ไร้เชื้อหรือฆ่าเชื้อ

- เป็นพื้นที่บริเวณต่อเนื่องหรือล้อมรอบพื้นที่พาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางในการรองรับการอยู่อาศัยในบริเวณพื้นที่ต่อเนื่องกับบริเวณศูนย์กลางพาณิชยกรรม ซึ่งมีการก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว หอพัก อาคารชุด อาคารอยู่อาศัยรวม โดยการใช้ประโยชน์ที่ดินมีข้อจำกัดเรื่องความสูงของอาคารซึ่งต้องมีความสูงไม่เกิน 15 เมตร สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอาคารชุด หอพัก หรืออาคารอยู่อาศัยรวมต้องมีความสูงของอาคารไม่เกิน 23 เมตร และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณที่พักอาศัยและชุมชน ได้แก่ คลังน้ำมันเพื่อการจำหน่าย คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว สุสานและฌาปนสถาน โรงฆ่าสัตว์ โดยในส่วนของโรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้ เช่น การฟักไข่โดยใช้ตู้อบ การทำน้ำมันสลัด การทำน้ำดื่ม

- เป็นพื้นที่ศูนย์กลางด้านพาณิชยกรรมของชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมและการบริการของชุมชน เพื่อรองรับการประกอบกิจกรรมทางธุรกิจ การค้า การบริการที่ให้บริการแก่ประชาชน ประกอบด้วยตลาด ร้านค้า โรงแรม สำนักงาน โดยการใช้ประโยชน์ที่ดินมีข้อจำกัดเรื่องความสูงของอาคาร ซึ่งต้องมีความสูงไม่เกิน 15 เมตร สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอาคารชุด หอพัก หรืออาคารอยู่อาศัยรวม ต้องมีความสูงของอาคารไม่เกิน 23 เมตร รวมทั้งกำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากเพื่อรองรับการประกอบกิจการดังกล่าว และการอยู่อาศัยในเขตเมือง และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ ได้แก่ คลังน้ำมันเพื่อการจำหน่าย คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว สุสานและฌาปนสถาน โรงฆ่าสัตว์ โดยในส่วนของโรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้ เช่น การทำขนมปังหรือขนมเค้ก การทำเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ การทำกรอบรูปหรือกรอบกระจกจากไม้

- เป็นพื้นที่ฉนวน (Buffer Zone) ของชุมชน ให้คงสภาพชนบทและประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เช่น การทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการให้บริการทางสังคมและการส่งเสริมเศรษฐกิจ การเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูป โดยการใช้ประโยชน์ที่ดินมีข้อจำกัดเรื่องความสูงของอาคารซึ่งต้องมีความสูงไม่เกิน 12 เมตร เว้นแต่โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานตามประเภทและชนิดที่กำหนดให้ดำเนินการได้ตามบัญชีท้ายประกาศนี้ และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ ได้แก่ คลังน้ำมันเพื่อการจำหน่าย คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว การเลี้ยงสุกรเพื่อการค้า โรงแรม จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบพาณิชยกรรม โดยในส่วนของโรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้ เช่น การกะเทาะเมล็ดหรือเปลือกเมล็ดพืช การสี ฝัด หรือขัดข้าว การทำอาหารผสม หรืออาหารสำเร็จรูปสำหรับเลี้ยงสัตว์

- มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน (มีศูนย์เรียนรู้และฝึกอบรมอาชีพในด้านการเกษตร มีอุทยานแมลงเฉลิมพระเกียรติ สวนแสนปาล์มซึ่งเป็นที่รวบรวมพันธุ์ปาล์มหลากหลายชนิด) โรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงแสน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวันครู โรงเรียนกำแพงแสนวิทยา


- มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่สถาบันศาสนาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน เช่น วัดทุ่งกระพังโหม วัดสว่างชาติประชาบำรุง สุสานสันติเวศย์ - กว๋องสิว

- มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดินเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐบาล เพื่อการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เช่น ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงแสน โรงพยาบาลกำแพงแสน หมวดทางหลวงกำแพงแสน สำนักงานปศุสัตว์อำเภอกำแพงแสน ด่านกักกันสัตว์นครปฐม
                    3. กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท
                    4. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังแสดงที่โล่ง ให้เป็นไปดังต่อไปนี้
                        4.1 ที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ลน.) เป็นพื้นที่บริเวณสนามกีฬาและสวนสาธารณะ 7 บริเวณ ได้แก่ สนามกีฬาจังหวัดนครปฐม สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สนามฟุตบอล และสนามกอล์ฟ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สนามฟุตบอล โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สนามฟุตบอล เทศบาล ตำบลกำแพงแสน ลานเอนกประสงค์ องค์การบริหารส่วนตำบลรางพิกุล และสวนเฉลิมพระเกียรติ องค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเขียว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนันทนาการ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือสาธารณประโยชน์ หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นตามข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภทไว้ในบริเวณนั้น
                        4.2 ที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมบริเวณริมแม่น้ำและลำคลอง (ลม.) เป็นพื้นที่บริเวณลำคลอง ได้แก่ คลอดลาดเต่าดำ คลองท่าสาร - บางปลา และคลองแล้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดให้เป็นที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมบริเวณริมลำคลองหรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นตามข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภทไว้ในบริเวณนั้น
                    5. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณแนวถนนสาย ก 1 ถนนสาย ก 2 ถนนสาย ก 3 ถนนสาย ก 4 ถนนสาย ก 5 ถนนสาย ก 6 ถนนสาย ก 7 ถนนสาย ก 8 ถนนสาย ข 1 ถนนสาย ข 2 และถนนสาย ข 3 ห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น นอกจากกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้
                        5.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
                        5.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง
                        5.3 เกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตรหรือไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่
                    6. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภค เพื่อส่งเสริม ปรับปรุง และพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้มีความเหมาะสม เพียงพอกับการให้บริการ และได้มาตรฐาน รวมทั้งสามารถรองรับการขยายตัวของชุมชนในอนาคตซึ่งกำหนดให้ที่ดินในบริเวณโครงการกิจการสาธารณูปโภคประเภท สบ. (สีม่วงลายจุด) จำนวน 1 บริเวณ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่เพื่อการก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสีย หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นตามข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภทไว้ในบริเวณนั้น

เศรษฐกิจ - สังคม
18. เรื่อง  รายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565 และรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564 ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเสนอ รายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565 และรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564 ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมาตรา 18 (12) และมาตรา 43  แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ที่บัญญัติให้คณะกรรมการฯ               มีอำนาจหน้าที่จัดทำรายงานเกี่ยวกับผลงานและอุปสรรคในการดำเนินงานแล้วรายงานต่อคณะรัฐมนตรีเป็นประจำทุกปีภายในหกเดือนนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ และให้คณะกรรมการฯ เสนองบดุลและรายงานการรับจ่ายเงินของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในปีที่ล่วงมา ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบรับรองแล้วต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ ภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ                     โดยรายงานดังกล่าวมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. รายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565                             (คณะกรรมการฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 มีมติเห็นชอบรายงานฯ ด้วยแล้ว)        มีผลการดำเนินงานสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
1) การเบิกจ่ายงบประมาณ
           มีการเบิกจ่ายงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับหน่วยบริการ ที่จัดบริการให้ผู้มีสิทธิ จำนวน 130,480.54 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 92.84                   (จากงบประมาณ จำนวน 140,550.19 ล้านบาท)
(2) ความครอบคลุมสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
          ประชากรไทยผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 47.46 ล้านคน ได้ลงทะเบียนสิทธิเพื่อเลือกหน่วยบริการประจำ จำนวน 47.18 ล้านคน คิดเป็นความครอบคลุมสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ร้อยละ 99.40
(3) หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
          มีหน่วยบริการขึ้นทะเบียนให้บริการผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 15,847 แห่ง โดยจำแนกตามประเภทการขึ้นทะเบียน ได้แก่ หน่วยบริการปฐมภูมิ จำนวน 12,185 แห่ง หน่วยบริการประจำ จำนวน 1,213 แห่ง หน่วยบริการรับส่งต่อทั่วไป จำนวน 1,085 แห่ง และหน่วยบริการรับส่งต่อเฉพาะด้าน จำนวน 4,633 แห่ง (หน่วยบริการ 1 แห่ง สามารถขึ้นทะเบียนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้มากกว่า 1 ประเภท)
(4) ผลงานบริการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร          มีการให้บริการตามสิทธิประโยชน์ ประกอบด้วย
(1) บริการพื้นฐานในงบเหมาจ่ายรายหัว เช่น การใช้บริการผู้ป่วยนอกประมาณ 167 ล้านครั้ง (ร้อยละ 95.66 ของเป้าหมาย 175 ล้านครั้ง) การใช้บริการผู้ป่วยในประมาณ 6.2 ล้านครั้ง (ร้อยละ 97.07 ของเป้าหมาย
6.4 ล้านครั้ง)  บริการกรณีเฉพาะ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้ยาละลายลิ่มเลือด 6,871 คน (ร้อยละ 97.16 ของเป้าหมาย 7,072 คน) และบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลมีผู้มาใช้บริการประมาณ 3.9 ล้านคน (ร้อยละ 93.73 ของเป้าหมาย 4.2 ล้านคน) (2) บริการเฉพาะกลุ่ม (นอกงบเหมาจ่ายรายหัว) เช่น กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีได้รับการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี 198,199 คน (ร้อยละ 128.15 ของเป้าหมาย 154,657 คน) จำนวนผู้ป่วยไตวายเรื้อรังเข้ารับบริการล้างไต ฟอกไต ปลูกถ่ายไต 82,463 คน (ร้อยละ 122.71 ของเป้าหมาย 67,200 คน) และผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงกลุ่มติดบ้านติดเตียงทุกสิทธิ ทุกกลุ่มอายุได้รับการดูแลที่บ้าน ตามแผนการดูแลรายบุคคล 201,291 คน (ร้อยละ 121.98 ของเป้าหมาย 165,018 คน)
(5) คุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข          (1) หน่วยบริการรับส่งต่อได้รับการรับรองตามกระบวนการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลระดับ HA (Hospital Accreditation)* ร้อยละ 84.79 (920 แห่งจากหน่วยบริการที่รับการประเมิน 1,085 แห่ง)
(2) ผลการดำเนินงานตัวชี้วัดตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการ ปี 2565 ซึ่งเป็นปีแรกในการกำหนดเป็นเกณฑ์คุณภาพฯ ของผู้ป่วยภายใต้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น 1) ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจหาระดับน้ำตาลสะสมในเลือดอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี คิดเป็นร้อยละ 51.66 (เป้าหมาย ร้อยละ 70) และมีผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ร้อยละ 27.26 (เป้าหมาย ร้อยละ 40) และ 2) ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี ร้อยละ 54.79 (เป้าหมาย ร้อยละ 60)
(3) การสำรวจความพึงพอใจต่อการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามกลุ่มเป้าหมาย พบว่า ประชาชน ร้อยละ 97.69 ผู้ให้บริการ (เช่น แพทย์และพยาบาล) ร้อยละ 86.19 และองค์กรภาคี [เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค] ร้อยละ 97.62 มีความพึงพอใจในระดับมากถึงมากที่สุด
(6) การคุ้มครองสิทธิ          (1) ประชาชนและผู้ให้บริการสอบถามข้อมูล ร้องเรียน ร้องทุกข์ ประสานส่งต่อผู้ป่วย บริการเชิงรุก โดยผ่านช่องทางสายด่วนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) 1330 ช่องทางออนไลน์ หรือมาติดต่อด้วยตนเอง จำนวนรวม 7.33 ล้านเรื่อง โดยเป็นเรื่องเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จำนวน 3.46 ล้านเรื่อง (ร้อยละ 46.86)
(2) การช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล ผู้ยื่นคำร้องจำนวน 1,314 คน ได้รับการชดเชย 1,118 คน รวม 291.42 ล้านบาท และการช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการ ผู้ยื่นคำร้องจำนวน 11,553 คน ได้รับการชดเชย 11,165 คน                รวม 122.58 ล้านบาท โดยเป็นความเสียหายกรณี               ติดเชื้อโควิด-19 จากการให้บริการ ร้อยละ 97.31
(3) กลไกการมีส่วนร่วมในการคุ้มครองสิทธิ จำนวน 1,250 แห่ง ประกอบด้วย ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ 883 แห่ง ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน 194 แห่ง หน่วยรับเรื่องร้องเรียนที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน จำนวน 141 แห่ง ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพใน อปท. 32 แห่ง นอกจากนี้ มีองค์กรภาคีเครือข่ายภาคประชาชน 587 องค์กร ได้แก่ ด้านเด็กและเยาวชน ด้านสตรี ด้านผู้สูงอายุ ด้านคนพิการ และด้านผู้ติดเชื้อเอชไอวีหรือผู้ป่วยเรื้อรัง
(7) การมีส่วนร่วมพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ          มี อปท. จำนวน 7,741 แห่ง (ร้อยละ 99.58 จาก 7,774 แห่ง รวมกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา) เข้าร่วมบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อจัดกิจกรรมสำหรับดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่กว่า 174,643 โครงการ ในกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยงกลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน กลุ่มวัยทำงาน กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง                  กลุ่มหญิงตั้งครรภ์/หญิงหลังคลอด และเด็กเล็กก่อนวัยเรียน จำนวนรวม 44.21 ล้านคน งบประมาณ 4,101.93 ล้านบาท
(8) ความท้าทายในการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ          (1) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติโดยการพัฒนาการยืนยันตัวตนเข้ารับบริการ (Authentication) การตรวจสอบ การเบิกจ่ายที่เป็นปัจจุบัน (Real Time) และการใช้ปัญญาประดิษฐ์ตรวจสอบ การจ่ายชดเชย (Al Audit)
(2) พัฒนารูปแบบการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการที่ถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงและปัญหาทางการเงินของหน่วยบริการ
(3) พัฒนาระบบบริการสาธารณสุขที่เหมาะสม คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับชีวิตวิถีปกติใหม่ (New Normal) มีระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) หรือนำเทคโนโลยี/นวัตกรรมขั้นสูงต่าง ๆ (Digital Healthcare) เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและรักษาพยาบาล
(4) เพิ่มประสิทธิภาพการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (กลุ่มติดบ้านติดเตียง) (Long Term Care) โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในการจัดบริการสาธารณสุขร่วมกับท้องถิ่น
(5) เพิ่มความเข้มแข็งระบบบริการปฐมภูมิและระบบบริการสุขภาพชุมชนโดยเฉพาะระบบบริการปฐมภูมิเขตเมือง รวมถึงเร่งรัดปรับระบบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และโรคที่ยังมีปัญหาในการเข้าถึงบริการเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการเข้ารับบริการ
(6) บูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศและการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาระบบการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ในการตัดสินใจเชิงนโยบายด้านสาธารณสุขได้อย่างถูกต้อง
(7) สนับสนุนให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีข้อมูลสุขภาพของตนเองนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและทัศนคติ และสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสม
(8) บูรณาการสร้างความเป็นเอกภาพของระบบประกันสุขภาพภาครัฐ 3  ระบบหลัก คือ สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ประกันสังคม และหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความกลมกลืนระหว่างระบบประกันสุขภาพภาครัฐ
                    2. รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564 ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่ง สตง. ตรวจสอบรับรองแล้วเห็นว่า รายงานการเงินดังกล่าวถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด (คณะกรรมการฯ ในคราวประชุม ครั้งที่ 12/2565 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 มีมติเห็นชอบรายงานฯ ด้วยแล้ว)
* การรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (Hospital Accreditation: HA) หมายความว่า การรับรองว่าสถานพยาบาล                  มีองค์ประกอบของการปฏิบัติงานและการพัฒนาคุณภาพที่เชื่อได้ว่าจะสามารถให้บริการด้านสาธารณสุขที่ดีและ              มีคุณภาพตามมาตรฐาน โดยเป็นการรับรองระบบการดำเนินงานของสถานพยาบาล มิใช่การรับรองผลการรักษาของผู้ป่วยแต่ละราย

19. เรื่อง ผลการดำเนินงานตามมาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบทั้ง 2 ข้อตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบผลการดำเนินการตามมาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ                         (ผลการดำเนินการฯ) รอบ 3 เดือน ตั้งแต่เดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2565 และเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2565
                    2. เห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการตามมาตรการลดการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง                    ตามแนวทางที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (22 มีนาคม 2565) เห็นชอบ โดยกำหนดเป้าหมายให้หน่วยงานภาครัฐลดการใช้พลังงานลงร้อยละ 20 พร้อมทั้งให้รายงานผลการดำเนินการฯ ในเว็บไซต์ www.e-report.energy.go.th เป็นประจำทุกเดือน แล้วให้ พน. โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ทำหน้าที่กำกับดูแลและรวบรวมข้อมูลการใช้พลังงานของหน่วยงานภาครัฐในภาพรวมเสนอนายกรัฐมนตรี โดยปรับรอบการรายงานผลการดำเนินการฯ จากเดิม รายงานเสนอนายกรัฐมนตรีเป็นรายไตรมาส เป็น รายงานเสนอนายกรัฐมนตรีเป็นประจำทุก 6 เดือน (เดือนตุลาคม-มีนาคมและเดือนเมษายน-กันยายนของทุกปี)
                    ทั้งนี้ ให้กระทรวงพลังงานรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                    พน. รายงานว่า
                    1. ผลการดำเนินงานตามมาตรการลดใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ สนพ. ได้กำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของการประเมินผลการประหยัดพลังงาน โดยอ้างอิงแนวทางการประเมินตัวชี้วัดการลดใช้พลังงานของหน่วยงานราชการที่สำนักงาน ก.พ.ร. และ สนพ. ได้ดำเนินการร่วมกันมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2563                     มีหน่วยงาน รวมทั้งสิ้น 9,104 หน่วยงาน แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ (1) ส่วนราชการ (2) จังหวัด (3) ที่ทำการปกครองอำเภอ (4) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) (5) สถาบันอุดมศึกษา และ (6) รัฐวิสาหกิจ และแบ่งการประเมินออกเป็น 2 ด้าน คือ การลดใช้ไฟฟ้าและการลดใช้น้ำมันเชื้อเพลิง โดยมีเป้าหมายการลดใช้พลังงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 เทียบกับมาตรฐานการใช้ไฟฟ้าและการใช้น้ำมันของแต่ละหน่วยงาน ซึ่ง สนพ. ได้กำหนดแนวทางการคำนวณมาตรฐานการใช้ไฟฟ้าและการใช้น้ำมันของแต่ละหน่วยงานจากปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการใช้พลังงานของหน่วยงาน เช่น จำนวนบุคลากร พื้นที่ใช้สอยของอาคาร ชั่วโมงการทำงานในแต่ละเดือน และพื้นที่ความรับผิดชอบของหน่วยงาน โดยมีผลการดำเนินงานรอบ 3 เดือน จำนวน 2 รอบ สรุปได้ ดังนี้
                              1.1 รอบที่ 1 ตั้งแต่เดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2565
                              (1) ด้านไฟฟ้า


กลุ่ม
หน่วยงาน
ทั้งหมด
(หน่วยงาน)
หน่วยงาน
ที่รายงาน
ข้อมูลครบ
(หน่วยงาน)
หน่วยงาน
ที่ลดไฟฟ้า
ได้เกินร้อยละ 20
(หน่วยงาน)          เพิ่ม/(ลด)
ไฟฟ้า
เทียบกับ
มาตรฐาน
การใช้ไฟฟ้า
(ร้อยละ)          เพิ่ม/(ลด)
ไฟฟ้า
เทียบกับ
ช่วงเดียวกัน
ของปี 2564*
(ร้อยละ)
1) ส่วนราชการ          167          85          61          (40)          (1.58)
2) จังหวัด          76          55          55          (49)          (8.45)
3) อำเภอ          878          239          140          (34)          (18.52)
4) อปท.          7,851          3,549          2,485          (61)          (6.25)
5) สถาบันอุดมศึกษา          80          5          3          (30)          (0)
6) รัฐวิสาหกิจ          52          1          1          (84)          (0)
รวม          9,104          3,934          2,745          (47)          (4.79)
                              (2) ด้านน้ำมัน


กลุ่ม
หน่วยงาน
ทั้งหมด
(หน่วยงาน)
หน่วยงาน
ที่รายงาน
ข้อมูลครบ
(หน่วยงาน)
หน่วยงาน
ที่ลดน้ำมัน
ได้เกินร้อยละ 20
(หน่วยงาน)          เพิ่ม/(ลด)
น้ำมัน
เทียบกับ
มาตรฐาน
การใช้น้ำมัน
(ร้อยละ)          เพิ่ม/(ลด)
น้ำมัน
 เทียบกับ
ช่วงเดียวกัน
ของปี 2564
(ร้อยละ)

1) ส่วนราชการ          167          88          86          (61)          (8.21)
2) จังหวัด          76          53          52          (65)          (2.83)
3) อำเภอ          878          228          204          (58)          (8.90)
4) อปท.          7,851          3,333          2,557          (47)          3.31
5) สถาบันอุดมศึกษา          80          6          4          (38)          0
6) รัฐวิสาหกิจ          52          1          1          (92)          0
รวม          9,104          3,709          2,904          (56)          (0.76)
                              เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ ในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 พบว่า ปริมาณการใช้ไฟฟ้าลดลง 16.33 ล้านหน่วย และปริมาณการใช้น้ำมันลดลง 0.16 ล้านลิตร คิดเป็นจำนวนเงินที่ประหยัดได้ทั้งสิ้น 71.9 ล้านบาท
                              1.2 รอบที่ 2 ตั้งแต่เดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2565
                              (1) ด้านไฟฟ้า


กลุ่ม
หน่วยงาน
ทั้งหมด
(หน่วยงาน)
หน่วยงาน
ที่รายงาน
ข้อมูลครบ
(หน่วยงาน)
หน่วยงาน
ที่ลดไฟฟ้า
ได้เกินร้อยละ 20
(หน่วยงาน)          เพิ่ม/(ลด)
ไฟฟ้า
เทียบกับ
มาตรฐาน
การใช้ไฟฟ้า
(ร้อยละ)          เพิ่ม/(ลด)
ไฟฟ้า
เทียบกับ
ช่วงเดียวกัน
ของปี 2564
(ร้อยละ)

1) ส่วนราชการ          167          128          92          (33)          0.45
2) จังหวัด          76          76          73          (45)          1.92
3) อำเภอ          878          242          135          (31)          (17.86)
4) อปท.          7,851          4,778          2,899          (55)          (3.04)
5) สถาบันอุดมศึกษา          80          12          5          (27)          0
6) รัฐวิสาหกิจ          52          1          1          (78)          0
รวม          9,104          5,237          3,205          (41)          (0.02)
                              (2) ด้านน้ำมัน


กลุ่ม
หน่วยงาน
ทั้งหมด
(หน่วยงาน)
หน่วยงาน
ที่รายงาน
ข้อมูลครบ
(หน่วยงาน)
หน่วยงาน
ที่ลดน้ำมัน
ได้เกินร้อยละ 20
(หน่วยงาน)          เพิ่ม/(ลด)
น้ำมัน
เทียบกับ
มาตรฐาน
การใช้น้ำมัน
(ร้อยละ)          เพิ่ม/(ลด)
น้ำมัน
เทียบกับ
ช่วงเดียวกัน
ของปี 2564
(ร้อยละ)

1) ส่วนราชการ          167          128          126          (68)          (16.25)
2) จังหวัด          76          76          76          (64)          (1.83)
3) อำเภอ          878          226          208          (68)          (26.19)
4) อปท.          7,851          4,679          3,522          (37)          (15.39)
5) สถาบันอุดมศึกษา          80          11          5          2          0
6) รัฐวิสาหกิจ          52          1          1          (90)          0
รวม          9,104          5,121          3,938          (53)          (12.96)
                                        เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ ในช่วงเวลาเดียวกันของปี พ.ศ. 2564 พบว่า ปริมาณการใช้ไฟฟ้าลดลง 0.095 ล้านหน่วย และปริมาณการใช้น้ำมันลดลง 4.28 ล้านลิตร คิดเป็นจำนวนเงินที่ประหยัดได้ทั้งสิ้น 171.85 ล้านบาท
                              2. การดำเนินการตามมาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ
                                        2.1 สำนักงาน ก.พ.ร. แจ้งว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (22 มีนาคม 2565) เห็นชอบแนวทางประหยัดพลังงานในหน่วยงานภาครัฐตามที่ พน. เสนอ โดยกำหนดเป้าหมายให้หน่วยงานภาครัฐลดการใช้พลังงานลงร้อยละ 20 (รวมไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิง) และกำหนดให้เป็นตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการ นั้น สำนักงาน ก.พ.ร. เห็นว่า ไม่ควรกำหนดเป็นตัวชี้วัดของส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ เนื่องจากไม่ต้องการสร้างภาระให้กับส่วนราชการเกินควร ประกอบกับ พน. สามารถใช้กลไกของมติคณะรัฐมนตรี (22 มีนาคม 2565) เรื่อง มาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ โดยให้ส่วนราชการดำเนินการตามมาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ และรายงานผลผ่านระบบการรายงานผลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันเพื่อติดตามการดำเนินงานและรายงานผลให้คณะรัฐมนตรีทราบอย่างต่อเนื่อง
                                        2.2 พน. เห็นว่า เนื่องจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์โลก รวมถึงสงครามสหพันธรัฐรัสเซีย-ยูเครนที่ยังไม่ได้ข้อยุติ ส่งผลให้ราคาพลังงานยังคงมีความผันผวนและทำให้ราคาค่าไฟฟ้าภายในประเทศปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับสภาพอากาศที่ร้อนทั่วประเทศในปี 2566 ทำให้ประเทศไทยมีความต้องการใช้พลังไฟฟ้าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จึงเห็นควรให้หน่วยงานราชการดำเนินการตามมาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ ร้อยละ 20 อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายและให้หน่วยงานราชการเป็นตัวอย่างให้แก่ภาคประชาชนในการลดการใช้พลังงาน ตามนัยมติคณะรัฐมนตรี (22 มีนาคม 2565) เรื่อง มาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ อย่างไรก็ตาม พน. เห็นว่า ควรปรับรอบการรายการผลการดำเนินการฯ จาก รายงานเสนอนายกรัฐมนตรีเป็นรายไตรมาส เป็น รายงานเสนอนายกรัฐมนตรีเป็นประจำทุก 6 เดือน (เดือนตุลาคม-มีนาคม และเดือนเมษายน-กันยายนของทุกปี) เพื่อลดภาระการรายงานผลการดำเนินการฯ และให้สอดคล้องกับ                             รอบการประเมินผลของส่วนราชการ ตามที่เคยดำเนินการในช่วงปี 2561-2564
*เนื่องจากแนวทางการประเมินตัวชี้วัดการลดใช้พลังงานฯ ที่สำนักงาน ก.พ.ร. และ สนพ. กำหนดได้กำหนดให้ส่วนราชการ จังหวัด อำเภอ และ อปท. ดำเนินการเท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมไปถึงสถาบันอุดมศึกษาและรัฐวิสาหกิจ ทำให้สถาบันอุดมศึกษาและรัฐวิสาหกิจไม่ได้มีการจัดเก็บข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของปี 2564 ไว้ ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (22 มีนาคม 2565) เห็นชอบแนวทางประหยัดพลังงานในหน่วยงานภาครัฐฯ ทำให้สถาบันอุดมศึกษาและรัฐวิสาหกิจร่วมกันดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวในปี 2565 ดังนั้น จึงไม่มีข้อมูลการใช้ไฟฟ้าและน้ำมันในปี 2564 ของสถาบันอุดมศึกษาและรัฐวิสาหกิจเพื่อใช้เปรียบเทียบกับปี 2565

20. เรื่อง รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2565 สรุป ณ สิ้นสุดไตรมาส 4
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เสนอรายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Micro, Small and Medium-sized Enterprises: MSME) ปี 2565 สรุป ณ สิ้นสุดไตรมาส 4 (รายงานฯ) [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติส่งเสริม MSME                    พ.ศ. 2543 มาตรา 11 (4) ที่บัญญัติให้คณะกรรมการ MSME เสนอรายงานเกี่ยวกับ MSME ของประเทศต่อคณะรัฐมนตรี และจัดให้มีการเผยแพร่รายงานดังกล่าวต่อสาธารณชนอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง] ซึ่งคณะกรรมการ MSME มีมติเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 รับทราบรายงานฯ แล้ว โดยเป็นการสรุปสถานการณ์ MSME                         ในไตรมาส 4 ปี 2565 และสถานการณ์ MSME เดือนมกราคม 2566 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. สถานการณ์ MSME ปี 2565 ณ สิ้นสุดไตรมาส 4
                              1.1 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) ของ MSME ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีมูลค่า 1,604,487 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ  35.4 ของ GDP รวมทั้งประเทศ ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.7 ส่งผลให้ GDP MSME ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 4.5 เร่งขึ้นจาก ปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 เนื่องจากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวซึ่งส่งผลต่อธุรกิจ MSME ในภาคการค้าและภาคการบริการที่สามารถกลับมาฟื้นตัวใกล้เคียงกับช่วงก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019     (โควิด-19) ทั้งนี้ มีปัจจัยที่ส่งผลทางลบ ได้แก่ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ภาวะเงินเฟ้อและการลดลงของมูลค่าการส่งออกของ MSME
                              1.2 การค้าระหว่างประเทศของ MSME
                                        1.2.1 ด้านการส่งออก มีมูลค่า 30,508.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1,060,207.9                 ล้านบาท) คิดเป็นร้อยละ 10.6 ของมูลค่าการส่งออกรวม ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.0 โดยมูลค่าการส่งออกลดลงทุกตลาดหลัก ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และอาเซียน เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก โดยสินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก มีเพียงสินค้ากลุ่มอาหารและเกษตรแปรรูป และ                 อัญมณีและเครื่องประดับที่มีมูลค่าการส่งออกตลอดทั้งปีขยายตัวเพิ่มขึ้นแต่มีแนวโน้มลดลงในช่วงครึ่งปีหลัง ขณะที่สินค้ากลุ่มสินค้าเกษตรและเครื่องจักรมีการปรับตัวลดลง
                                        1.2.2 ด้านการนำเข้า มีมูลค่า 34,857.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1,227,666.9                ล้านบาท) คิดเป็นร้อยละ 11.5 ของมูลค่าการนำเข้ารวม ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.9 โดยมูลค่าการนำเข้าสินค้าสำคัญ 10 อันดับแรก* ของ MSME พบว่า มีมูลค่าลดลงในสินค้ากลุ่มวัตถุดิบ เช่น เม็ดพลาสติก เหล็ก เคมีภัณฑ์ เครื่องจักร และอุปกรณ์ไฟฟ้า และเมื่อพิจารณาตามแหล่งนำเข้า 3 อันดับแรก พบว่า มูลค่าการนำเข้าจากอาเซียนและญี่ปุ่นยังลดลงต่อเนื่อง ขณะที่การนำเข้าจากจีนขยายตัวเพียงเล็กน้อย เนื่องจากราคาสินค้านำเข้าบางกลุ่มยังคงมีราคาสูง
                              1.3 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ MSME เดือนธันวาคม 2565 อยู่ที่ระดับ 55.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 53.8 โดยเป็นค่าดัชนีที่สูงที่สุดในรอบ 21 เดือน เนื่องจากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวในประเทศและการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมทั้งการจ้างงานที่ยังคงขยายตัวและการจ่ายเงินโบนัสประจำปีที่ทำให้กำลังซื้อเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ คาดว่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ MSME จะปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ
                              1.4 สถานการณ์ด้านการจ้างงานของ MSME มีการจ้างงานของ MSME รวม 12.74              ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 70.99 ของจำนวนการจ้างงานทั้งหมด ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.08              ส่วนการจ้างงานของ MSME ในระบบประกันสังคม มีสถานประกอบการในระบบประกันสังคม จำนวน 415,006 แห่ง และมีการจ้างงานรวม 4,074,240 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
                    2. สถานการณ์ MSME เดือนมกราคม 2566
                              2.1 การค้าระหว่างประเทศของ MSME
                                        2.1.1 ด้านการส่งออก มีมูลค่า 2,395.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  (82,830.6 ล้านบาท) คิดเป็นร้อยละ 11.8 ของมูลค่าการส่งออกรวม ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 22.1 โดยมีการขยายตัวทั้งในสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน และญี่ปุ่น ส่วนตลาดอาเซียนมีมูลค่าการส่งออกลดลงแต่เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยสินค้าส่งออกสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ สินค้ากลุ่มอุปกรณ์ไฟฟ้าและส่วนประกอบ กลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับ และกลุ่มเครื่องจักรและอุปกรณ์ ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกของ MSME ในปี 2566 จะขยายตัวระหว่างร้อยละ 3-5 เนื่องจากค่าเงินบาทกลับมาอ่อนค่า
                                        2.1.2 ด้านการนำเข้า มีมูลค่า 3,196.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  (111,868.5 ล้านบาท) คิดเป็น ร้อยละ 12.8 ของมูลค่าการนำเข้ารวม ขยายตัวร้อยละ 13.6 โดยการนำเข้าจากอาเซียนและญี่ปุ่นมีการปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ขณะที่การนำเข้าจากจีนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสินค้ากลุ่มอุปกรณ์และไฟฟ้าและชิ้นส่วนยานยนต์
                              2.2 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ MSME มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 53.9 โดยปรับตัวลดลงในเกือบทุกองค์ประกอบและลดลงในทุกภูมิภาคเนื่องจากกำลังซื้อที่ชะลอตัวลงโดยเฉพาะในกลุ่มสาขาที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้นจากต้นทุนกลุ่มอาหารสดและ กลุ่มพลังงานที่ปรับสูงขึ้น
                              2.3 สถานการณ์ด้านการจ้างงานของ MSME มีสถานประกอบการที่เป็น MSME ในระบบประกันสังคม จำนวน 411,670 แห่ง และมีจำนวนการจ้างงานรวม 4,542,330 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.49 จากช่วงเดียวกันของเดือนก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.15 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยขยายตัวได้ต่อเนื่องจนกลับสู่สถานการณ์ในช่วงก่อนโควิด-19 เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวมีการเติบโตเพิ่มขึ้น ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงต่อเนื่อง
*มูลค่าการนำเข้าสินค้าสำคัญของ MSME 10 อันดับแรก ได้แก่ (1) เครื่องจักร คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (2) อุปกรณ์ไฟฟ้าและส่วนประกอบ (3) อัญมณีและเครื่องประดับ (4) พลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก (5) ของทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้า (6) อุปกรณ์ที่ใช้ในทางทัศนศาสตร์ (7) เหล็กหรือเหล็กกล้า (8) เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด (9) ยานยนต์และส่วนประกอบ และ (10) ปลาและสัตว์น้ำ

21. เรื่อง รายงานสรุปผลการดำเนินการคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบดังนี้
                     1. รับทราบสรุปผลการดำเนินการคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย ตามที่คณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อยเสนอ
                     2. ให้คณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทยไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อทบทวนแนวทางการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหนี้สินในระยะต่อไปให้เกิดความเหมาะสม ก่อนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาประกอบการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามหน้าที่และอำนาจของแต่ละหน่วยงานต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    1. สรุปผลการดำเนินการที่สำคัญ
                     คณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินฯ ได้ปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2564 ? มีนาคม 2566 ได้มีการประชุมคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินฯ เพื่อขับเคลื่อนประเด็นสำคัญ อันจะเป็นส่วนสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินให้แก่ประชาชนทั้งสิ้น 10 ครั้ง โดยเน้นการดำเนินการใน 2 ลักษณะ ได้แก่ (1) การปรับโครงสร้างหนี้/ไกล่เกลี่ยปัญหาหนี้สิน เพื่อไม่ให้เกิดการฟ้องร้องคดีจำนวนมากและการผิดนัดชำระหนี้ในวงกว้าง และ (2) การกำหนดมาตรการ Quick Win ที่ไม่สร้างภาระด้านงบประมาณแต่ช่วยลดภาระการจ่ายหนี้ของประชาชนได้ โดยมีสรุปความคืบหน้าผลการดำเนินการที่สำคัญ ดังนี้
                               1.1 การช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มต่าง ๆ ให้สามารถเข้าถึงกลไกการแก้ไขหนี้สินได้ง่ายและเป็นธรรมยิ่งขึ้น ดังนี้
                                         (1) ลูกหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) 4.6 ล้ายรายและผู้ค้ำประกัน 2.8 ล้านราย ได้รับประโยชน์จากการปรับปรุงพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                                        (2) ลูกหนี้บุคคลธรรมดาเข้าถึงกลไกการไกล่เกลี่ยหนี้สิน 3.95 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้ 2.98 ล้านล้านบาท โดยแบ่งเป็นจำนวนลูกหนี้ของสถาบันการเงินและผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-bank) ทั้งสิ้น 1.58 ล้านบัญชี และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (Special Financial Institutes : SFIs) 2.36 ล้านบัญชี
                                        (3) ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium  Enterprises : SMEs) ได้รับการค้ำประกันสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) ผ่านโครงการช่วยเหลือของรัฐ เช่น โครงการทางด่วน แก้หนี้โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) (279,685) บัญชี และโครงการพักทรัพย์พักหนี้ (466 ราย)
                                        (4) การแก้ไขหนี้สินข้าราชการในกลุ่มข้าราชการครูและตำรวจให้สามารถเข้าถึงกลไกการปรับโครงสร้างหนี้โดยใช้สหกรณ์ออมทรัพย์เป็นกลไกหลัก
                                         นอกจากนี้ เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาหนี้สินให้แก่ประชาชนในแต่ละภูมิภาค หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการจัดมหกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สิน เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศสามารถเข้าถึงกลไกการไกล่เกลี่ย และการปรับโครงสร้างหนี้ได้อย่างทั่วถึง โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่
ชื่อกิจกรรม          หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง          ผู้ได้รับประโยชน์          มูลค่า
1. มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน
- จัด 78 ครั้งทั่วประเทศ
- ไกล่เกลี่ยหนี้ กยศ./บัตรเครดิต/สินเชื่อส่วนบุคคล/สินเชื่อรถยนต์
- ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาหนี้สิน          - กระทรวงยุติธรรม (ยธ.)
- กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)           94,328 คน           23,529.40 ล้านบาท
2. มหกรรมแก้ไขหนี้สินครู
- จัด 6 ครั้ง
- ไกล่เกลี่ยหนี้ ปรับโครงสร้างหนี้กับสหกรณ์ออมทรัพย์ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาหนี้สินแก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา           - กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
- ยธ.
- ธปท.
- ก.ล.ต.
- สหกรณ์ออมทรัพย์           2,093 คน           1,614.69 ล้านบาท
3. มหกรรมรวมใจแก้หนี้
- จัดสัญจร 5 ครั้ง เปิดลงทะเบียนแก้ไขหนี้สินในระบบออนไลน์
- ไกล่เกลี่ยหนี้สินบัตรเครดิต/สินเชื่อส่วนบุคคล เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ จำนำทะเบียน ที่อยู่อาศัย           - ธปท.
- กระทรวงการคลัง (กค.)           - ออนไลน์ : ลงทะเบียน 188,000 คน
- สัญจร : บริการแก้ไขปัญหา 34,000 รายการ           24,000 ล้านบาท (เฉพาะกิจกรรมสัญจรใน 5 จังหวัด)
                               1.2 การปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่สำคัญ เพื่อสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem)                 ที่เอื้อให้ลูกหนี้สามารถเข้าถึงกลไกการไกล่เกลี่ยหนี้สิน และกำกับให้ธุรกิจสินเชื่อให้ดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบยิ่งขึ้น คณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินฯ ได้ขับเคลื่อนกฎหมาย กฎ และระเบียบที่สำคัญ 13 ฉบับ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่  (1) การกำกับธุรกิจดูแลที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อ (5 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 38) (2) การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินและลดภาระที่จะเกิดขึ้นต่อกระบวนการยุติธรรม (5 ฉบับ คิดเป็น                  ร้อยละ 38) และ (3) การบรรเทาปัญหาสำหรับประชาชนในภาวะวิกฤต (3 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 23)
                              มีรายชื่อกฎหมายสำคัญที่ขับเคลื่อน ดังนี้
                                          (1) การกำกับดูแลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อ : เน้นการกำกับดูแลสินเชื่อที่ยังไม่มีการกำกับดูแล โดยให้ความสำคัญกับสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ การให้สินเชื่อของสหกรณ์ออมทรัพย์ และการทวงถามหนี้ให้เป็นธรรมยิ่งขึ้น ได้แก่
                                                   (1.1) ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้การประกอบธุรกิจทางการเงินบางประเภทอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 พ.ศ. .... ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566
                                                  (1.2) ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2565 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2565
                                                  (1.3) ร่างกฎกระทรวงการบริหารจัดการและกำกับดูแลทางการเงินสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนียน พ.ศ. ....
                                                  (1.4) ประกาศคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ เรื่อง การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2564 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2564
                                                  (1.5) หนังสือธนาคารแห่งประเทศไทยที่ ธปท.ฝคง.ว. 951/2564 เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการด้านการให้สินเชื่ออย่างเป็นธรรม ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2564
                                        (2) การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินและลดภาระที่จะเกิดขึ้นต่อกระบวนการยุติธรรม : เน้นการปรับปรุงกติกา เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงกลไกการไกล่เกลี่ยและการปรับโครงสร้างหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งลดภาระที่จะเกิดขึ้นต่อ/จากการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ได้แก่
                                                  (2.1) พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ 2)                 พ.ศ. 2566 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566
                                                   (2.2) ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างกฎหมายดังกล่าว เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564
                                                   (2.3) ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 พ.ศ. .... โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎหมายดังกล่าวเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565
                                                   (2.4) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี
                                                   (2.5) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกส2. 14/2564 เรื่อง แนวทางการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอย่างยั่งยืน ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2564
                                        (3) การบรรเทาปัญหาสำหรับประชาชนในภาวะวิกฤต : เน้นการบรรเทาปัญหาของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้แก่
                                                   (3.1) ร่างพระราชกำหนดการบรรเทาผลกระทบของประชาชนจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. ....
                                                  (3.2) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด สำหรับกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ลงวันที่ 11 มกราคม 2565 จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่                 18 มกราคม 2565 ? 31 ธันวาคม 2569
                                                  (3.3) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง สินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้กำกับ) (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 9 กันยายน 2564 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564
                                        1.3 การเพิ่มเติมแหล่งสินเชื่อที่เป็นธรรมให้กับประชาชน คณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินฯ ได้เร่งจัดหาแหล่งสินเชื่อดอกเบี้ยที่เหมาะสม เพื่อเสริมสภาพคล่องและลดการพึ่งพาหนี้นอกระบบ                โดยมีผลการดำเนินการที่สำคัญ ได้แก่
                                                  (1) เพิ่มเติมช่องทางการเข้าถึงสินเชื่อผ่าน บริษัท มีที่ มีเงิน จำกัด โดยธนาคารออมสิน ร่วมกับบริษัท ทิพย เอกซ์โพเนนเชียล จำกัด และบริษัทมหาชน บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อบรรเทาปัญหาหนี้สิน ลดความเหลื่อมล้ำทางการเงิน รวมทั้งเป็นช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนดอกเบี้ยที่ถูกลง โดยให้สามารถนำที่ดินที่เป็นหลักประกันการกู้เงินในแบบจำนองหรือขายฝากเพื่อช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการรายย่อย
                                                  (2) ค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับสินเชื่อและ             ครบกำหนดเวลาการชำระคืนเพื่อให้ได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงินอย่างต่อเนื่อง โดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมรายย่อย (บสย.) จะดำเนินการค้ำประกันสินเชื่อให้ผู้ประกอบการในวงเงิน 90,000 ล้านบาท ระยะเวลาค้ำประกันสูงสุดไม่เกิน 8 ปี
                                                  (3) ลดดอกเบี้ยของสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (PICO Finance) โดยกระทรวงการคลังได้ลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับหนี้สินที่มีหลักประกัน ซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน              ร้อยละ 33
                    2. แนวทางการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหนี้สินในระยะต่อไป
                              การแก้ไขปัญหาหนี้สินเป็นประเด็นสำคัญที่จำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปัญหาหนี้สินของประชาชนเป็นปัญหาที่จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและกำลังซื้อ ซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การแก้ไขปัญหาดังกล่าวในระยะยาวมีความยั่งยืน จำเป็นต้องมีการกำหนดหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญรับผิดชอบอย่างเป็นระบบที่ชัดเจน ดังนั้น คณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินฯ                เห็นควรว่าการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินในระยะต่อไปควรดำเนินการ ดังนี้
ประเด็น          มอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบ
1. การช่วยเหลือลูกหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เน้นการเปลี่ยนผ่านภายหลังพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 มีผลบังคับใช้
          1.1 จัดทำแผนการแก้ไขปัญหาหนี้สินของลกูกหนี้แต่ละกลุ่ม
          1.2 สื่อสาร สร้างความรู้ความเข้าใจในประเด็นสำคัญจากการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
          1.3 กำหนดมาตรการจูงใจ (Incentives) สำหรับลูกหนี้ กยศ. ที่มีประวัติการชำระหนี้ดี เพื่อให้ยังคงชำระหนี้ตามกำหนดเวลา          - กยศ.
2. การไกล่เกลี่ยและการปรับโครงสร้างหนี้ เน้นการช่วยเหลือประชาชนให้สามารถเข้าถึงกลไกการไกล่เกลี่ยและปรับโครงสร้างหนี้ในวงกว้าง
          2.1 เร่งสื่อสารช่องทางการไกล่เกลี่ยและปรับโครงสร้างหนี้ โดยอาศัยกลไกภายใต้ ยธ.          - ยธ.
          2.2 ใช้กลไกในระดับพื้นที่เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้และการไกล่เกลี่ยหนี้ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ วิธีการ และประโยชน์ รวมทั้งช่องทางที่ประชาชนสามารถขอความช่วยเหลือได้          - ธปท.
- สศค.
- กระทรวงมหาดไทย (มท.)
          2.3 ส่งเสริมการใช้กลไกในระดับพื้นที่ อาทิ ศูนย์ดำรงธรรมและอำเภอเป็นจุดให้คำแนะนำและประสานส่งต่อลูกหนี้ที่ประสบปัญหาหนี้สินให้เข้าถึงกลไกการปรับโครงสร้างหนี้          - มท.
3. การปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยและการกำกับดูแลสถาบันการเงิน เน้นการสนับสนุนให้สหกรณ์เป็นกลไกช่วยเหลือการเข้าถึงบริการทางการเงินที่มีประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบ
          3.1 กำหนดแนวทางเพื่อกำกับดูแลให้สหกรณ์มีความโปร่งใสและมีความรับผิดชอบ ดังนี้
                    1) ปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการขยายผลการนำแนวทางสหกรณ์ต้นแบบไปใช้กับสหกรณ์อื่น ๆ กำหนดอัตราจัดสรรเงินปันผลของสหกรณ์ให้เหมาะสมกับบริบท และการนำข้อมูลสมาชิกของสหกรณ์เข้าสู่ระบบฐานข้อมูลบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด
                    2) กำหนดแนวทางและมาตรการในการกำกับสหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตยูเนียนผ่านกลไกการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษากำกับการดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์ตามมาตรา 89/4 ของพระราชบัญญัติสหกรณ์               พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม           - กรมส่งเสริมสหกรณ์
          3.2 ปรับปรุงแนวทางการคำนวณดอกเบี้ยช่วงพักชำระหนี้ที่เป็นธรรมและไม่สร้างภาระแก่ประชาชนผู้ประสบปัญหาเกินสมควร          - ธปท.
4. การเช่าซื้อรถยนต์ เน้นการขยายขอบเขตความคุ้มครองผู้เช่าซื้อรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และการเพิ่มทางเลือกอื่น ๆ เพื่อให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมโดยมีหลักประกันที่ชัดเจน
          4.1 วางแนวทางการปรับกระบวนการทำงานเพื่อรองรับร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้การประกอบธุรกิจทางการเงินบางประเภทอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 พ.ศ. .... มีผลบังคับใช้          - ธปท.
- กค.
- สคบ.
          4.2 ร่วมกันกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาสำหรับผู้เช่าซื้อรถยนต์ที่ใช้รถยนต์เพื่อการประกอบธุรกิจ          - สคบ.
- กค.
- กรมคุ้มครองสิทธิฯ
          4.3 ศึกษาความเป็นไปได้ถึงแนวทางการออกแบบวิธีการผ่อนรถยนต์ที่มีอัตราดอกเบี้ยถูกกว่าสินเชื่อเช่าซื้อ เพื่อให้เกิดการแข่งขันในตลาดเช่าซื้อรถยนต์          - ธปท.
- สศค.
- ยธ.
          4.4 เร่งขับเคลื่อนการจดทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 และพิจารณาทรัพย์สินอื่น ๆ สำหรับหลักประกันทางธุรกิจในระยะต่อไป          - สำนักงาน ก.พ.ร.
- ธปท.
- สศค.
- กระทรวงคมนาคม
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
5. การแก้ไขหนี้สินข้าราชการ เน้นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการ การสร้างระบบสินเชื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ข้าราชการ และขยายกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ครอบคลุมข้าราชการในวงกว้าง
          5.1 ควรปรับปรุงเกณฑ์การให้สินเชื่อที่เคารพสิทธิและกำหนดให้ข้าราชการที่เป็นลูกหนี้ต้องมีเงินเดือนคงเหลือสุทธิไม่น้อยกว่าร้อยละ 30          - ธปท.
- กรมส่งเสริมสหกรณ์
          5.2 กำหนดแนวทางปรับปรุงลำดับการตัดชำระหนี้สำหรับสินเชื่อสวัสดิการหักเงินเดือนให้เป็นธรรมยิ่งขึ้น          - ธปท.
- กค.
- กรมส่งเสริมสหกรณ์
          5.3 กำกับดูแลธนาคารกรุงไทยให้ปรับปรุงแนวทางในการจัดเก็บหนี้สินโดยควรถูกนำมาคำนวณกับเจ้าหนี้รายอื่น ๆ ในยอดร้อยละ 70 ของรายได้สุทธิ          - กค.
          5.4 ทบทวนหลักเกณฑ์เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกสามารถกู้ยืมเงินข้ามจังหวัด เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันระหว่างสหกรณ์ออมทรัพย์ในการหาสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรมที่สุด รวมทั้งลดเงื่อนไขที่ไม่จำเป็นในการเข้าถึงสินเชื่อ          - กรมส่งเสริมสหกรณ์
          5.5 เร่งเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้สหกรณ์และสถาบันการเงินเกี่ยวกับการให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible and Fair Lending) สอดคล้องกับสินเชื่อที่เหมาะสมกับศักยภาพเงินเดือนของข้าราชการ          - สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
          5.6 เร่งนำแนวทางการใช้กลไกสหกรณ์ต้นแบบเพื่อขยายผลให้ครอบคลุมสหกรณ์อื่น ๆ ทั่วทั้งประเทศและจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาหนี้สินของข้าราชการ ครูที่ถูกฟ้องดำเนินคดี          - ศธ.
          5.7 เร่งกำกับให้สำนักงานเขตการศึกษา ซึ่งยังไม่ได้ปฏิบัติตามตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการหักเงินเดือนและบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่สวัสดิการภายในส่วนราชการและสหกรณ์ พ.ศ. 2551 ปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบดังกล่าว เพื่อให้ข้าราชการครูมีรายได้คงเหลือสุทธิเพียงพอต่อการดำรงชีพ          - ศธ.
          5.8 กำหนดให้ทักษะทางการเงินเป็นทักษะพื้นฐานที่ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องได้รับการพัฒนา          - สำนักงาน ก.พ.
6. การช่วยเหลือประชาชนให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่เป็นธรรม เน้นการขยายขอบเขตและมาตรการ เพื่อช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการรายย่อย
          6.1 พิจารณารูปแบบการจัดทำข้อมูลเครดิต (Credit Scoring) หรือข้อมูลทางเลือกอื่น ๆ ที่สะท้อนพฤติกรรมทางการเงิน          - ธปท.
- สศค.
          6.2 จัดทำแผนให้มีแหล่งทุนเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้ที่มีหนี้เสีย (Non-performing Loan : NPL) ที่ยังมีศักยภาพที่จะดำเนินธุรกิจได้          - ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
7. การแก้ไขข้อกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เน้นการสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาหนี้สิน และลดภาระและต้นทุนในการดำเนินคดีที่จะเกิดขึ้นต่อกระบวนการยุติธรรม
          7.1 เร่งดำเนินการจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางธุรกิจและการเงินเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาหนี้สินโดยเร็ว          - สำนักงานศาลยุติธรรม
          7.2 พิจารณาวางแนวทางการบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 ในกรณีเรื่องความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกัน          - ยธ.
- สคบ.
          7.3 ควรพิจารณาการกำหนดค่าธรรมเนียมการฟ้องคดีในชั้นศาลและชั้นบังคับคดี ที่จะจูงใจให้เกิดการไกล่เกลี่ยแทนการดำเนินคดี          - สำนักงานศาลยุติธรรม
- กรมบังคับคดี

22. เรื่อง ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติ ประจำเดือนพฤษภาคม 2566
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติ ณ เดือนพฤษภาคม 2566 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ
                              1.1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติในห้วงที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายพ.ศ. 2562 ได้กำหนดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายและกฎ อย่างน้อยทุก 5 ปี นับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลบังคับใช้ และโดยที่พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 ครบกำหนด 5 ปีแล้ว เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 ดังนั้น สศช. ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย* จึงได้เริ่มประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ทั้ง 2 ฉบับ โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำข้อมูลประกอบการรับฟังความเห็นและแบบรับฟังความคิดเห็นซึ่งจะต้องแล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 และจะมีการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานของรัฐและประชาชนเป็นระยะเวลาอย่างน้อย                  15 วัน ทั้งนี้ สศช. จะนำผลการรับฟังความเห็นมาประกอบการพิจารณาความจำเป็นและความเหมาะสมของการปรับปรุงกฎหมายให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและนำเสนอคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติต่อไป
                              1.2 การขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) (แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13) มีการดำเนินการ ดังนี้
                                        1.2.1 การขับเคลื่อนโดยกลไกเชิงยุทธศาสตร์ คณะทำงานสนับสนุนการขับเคลื่อนเผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ได้เตรียมประเด็นที่มีผลกระทบสูงต่อการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ให้บรรลุเป้าหมายโดยรวมและรายหมุดหมายและเป็นประเด็นที่ไม่มีกลไกหลักในการดำเนินงาน เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 โดยได้คัดเลือกประเด็นที่มีผลกระทบสูงและต้องเร่งผลักดันให้แล้วเสร็จในบางหมุดหมาย เช่น หมุดหมายที่ 12 ไทยมีกำลังคนสมรรถะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต โดยประเด็นที่ต้องเร่งผลักดัน คือ คุณธรรม จริยธรรมในโรงเรียน การพัฒนาเครดิตทักษะในอนาคตสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต การขยายผลการพัฒนากำลังคนสมรรถะสูงทั้งในและนอกเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก การจัดทำสื่อการเรียนรู้ที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และการจัดทำข้อมูลและแผนการเรียนรู้สำหรับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ
                                        1.2.2 การขับเคลื่อนโดยกลไกตามภารกิจ  มีการดำเนินการที่สำคัญ ได้แก่
หมุดหมาย          การดำเนินการ
หมุดหมายที่ 1 ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง          ? ส่งเสริมการพัฒนาปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพให้แก่เกษตรกรเพื่อยกระดับศักยภาพการผลิตและมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตร เช่น การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี จำนวน 17,017.402 ตัน ให้แก่เกษตรกร 82,293 ราย
? พัฒนาและขยายช่องทางตลาดสินค้าเกษตร โดยพัฒนาแพลตฟอร์มสินค้าเกษตร
หมุดหมายที่ 4 ไทยเป็นศูนย์กลางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง          มีการยกร่างยุทธศาสตร์และแผนงานระเบียงเศรษฐกิจเวลเนสประเทศไทยและเขตนวัตกรรมการแพทย์และการส่งเสริมสุขภาพ โดยกำหนดพื้นที่เศรษฐกิจมูลค่าสูง 9 แห่ง ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต สงขลา เชียงราย เชียงใหม่ นครสวรรค์ อุดรธานี ขอนแก่น นครราชสีมา และชลบุรี และตั้งเป้าการลงทุนของภาคเอกชนไม่น้อยกว่า 4,138,447 ล้านบาท
หมุดหมายที่ 7 ไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SME) ที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูงและสามารถแข่งขันได้          ? ขยายบริการพัฒนาธุรกิจที่ตรงกับความต้องการเฉพาะของธุรกิจโดยจัดกิจกรรม ?SME ปังตังได้คืน ปี 2? เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ SME
? ส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง SME ภายในสาขาและกับธุรกิจรายใหญ่ภายในห่วงโซ่อุปทาน ภายใต้กิจกรรม Thai SME GP Roadshow
                                        1.2.3 การขับเคลื่อนโดยกลไกในระดับพื้นที่ สศช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาระบบสารสนเทศรองรับการจัดเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเพื่อการพัฒนาคนทุกช่วงวัย ทังนี้ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการนำความเห็นที่ได้รับจากภาคส่วนต่าง ๆ ไปปรับปรุงระบบสารสนเทศให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รวมถึงการจัดทำคู่มือสำหรับผู้จัดเก็บข้อมูลซึ่งจะนำไปใช้สำหรับการเก็บข้อมูลในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป
                              1.3 การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) มีการดำเนินโครงการกรอบการเงินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อพัฒนากลยุทธ์สู่การบรรลุ SDGs ทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น ผ่านการบริหารจัดการความเสี่ยงและการจัดสรรทรัพยากรเพื่อระดมเงินลงทุนในโครงการสำคัญสำหรับขับเคลื่อน SDGs ของไทยเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางด้านการเงินและสร้างสภาวะการปรับตัวที่เข้มแข็ง โดยที่ผ่านมาได้มีการศึกษาและพัฒนาเครื่องมือเสริมสร้างความแข็งแกร่งของชุมชนไทยต่อผลกระทบด้านต่าง ๆ การเผยแพร่รายงานการประเมินทางการเงินเพื่อการพัฒนาประเทศไทยที่ระบุสถานะทางการเงินและความต้องการด้านการเงินที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อน การพัฒนาที่ยั่งยืนพร้อมข้อเสนอแนะเชิงนโยบายกลไกการกำกับดูแล และกลยุทธ์ทางการเงิน เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายและมาตรการทางการเงินการคลัง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทย นอกจากนี้ สศช. ได้ร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกรอบความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน วาระปี 2565-2569 ของสหประชาชาติประจำประเทศไทยร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 เพื่อติดตามความก้าวหน้าและหารือเกี่ยวกับการดำเนินงานของหน่วยงานสหประชาชาติในการมุ่งสู่การบรรลุ SDGs โดยจะนำโครงการภายใต้กรอบความร่วมมือฯ ซึ่งมีความสอดคล้องกับประเด็นการพัฒนาที่สำคัญภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 สู่การขยายผลอย่างเป็นรูปธรรมในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ในระดับพื้นที่และตำบลต่อไป
                    2. การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 พบว่า มีหน่วยงานนำเข้าโครงการ ทั้งสิ้น 26,239 โครงการ ดังนี้
การรายงานความก้าวหน้า          จำนวนโครงการทั้งหมด          จำนวนโครงการที่มีการรายงาน          จำนวนโครงการที่ไม่มีการรายงาน          ร้อยละของโครงการที่มีการรายงาน
ไตรมาสที่ 1           26,239          13,588          12,651          51.78
ไตรมาสที่ 2          26,239          16,809          9,430          19.16
ทั้งนี้ การรายงานความก้าวหน้าทั้ง 2 ไตรมาส มีหน่วยงานระดับกรมหรือเทียบเท่าที่รายงานความก้าวหน้าครบตามจำนวนโครงการที่หน่วยงานนำเข้าในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) รวม 110 หน่วยงาน รายงานความก้าวหน้าโครงการ/การดำเนินงานจำนวนน้อยกว่าที่ได้รายงานไว้ในไตรมาสที่ 1 รวม 24 หน่วยงาน และไม่ได้รายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ/การดำเนินงานรวม 61 หน่วยงาน
                    3. การติดตาม ตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ สศช. ได้เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาระบบการตรวจราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งจัดโดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 เพื่อเตรียมความพร้อมบุคลากรในระบบตรวจราชการของหน่วยงานของรัฐในการจัดทำแผนการตรวจราชการประจำปี 2567 ให้เป็นไปตามหลักการและแนวทางตามมติคณะรัฐมนตรี (9 พฤศจิกายน 2564) เรื่อง การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ โดยผู้เข้าร่วมการสัมมนาได้ร่วมกันวิเคราะห์ปัจจัยภายใต้ห่วงโซ่คุณค่าประเทศไทย (Final Value Chain Thailand: FVCT) เพื่อกำหนดประเด็นการตรวจราชการและจัดลำดับความเข้มข้นของการตรวจราชการตามสถานะการบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อยเพื่อนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงกลไกการตรวจราชการให้สอดรับและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติตามหลักวงจรบริหารงานคุณภาพ (Plan-Do-Check-Act: PDCA) มากยิ่งขึ้น
                    4. ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ ทุกหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติผ่านแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (แผนแม่บทฯ) ตามหลักความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล โดยใช้ FVCT ของ 140 เป้าหมายแผนแม่บทย่อย เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์การจัดทำโครงการ/การดำเนินงานของหน่วยงานที่สามารถส่งผลต่อการบรรลุผลลัพธ์ตามเป้าหมายของแผนแม่บทฯ ได้อย่างบูรณาการและเป็นรูปธรรมโดยในปัจจุบันอยู่ระหว่างการร่วมกันจัดทำ FVCT ของ 6 เป้าหมายแผนเม่บทย่อยที่เกิดขึ้นใหม่ตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566-2580) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) พร้อมทั้งพิจารณาความจำเป็นในการทบทวน/ปรับปรุง FVCT ของ 134 เป้าหมายแผนแม่บทย่อยเดิม เพื่อให้มีองค์ประกอบและปัจจัยที่ครอบคลุมภารกิจหรือการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายแผนแม่บทย่อยนั้น ๆ รวมทั้งสอดคล้องกับสถานการณ์การพัฒนาในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ สศช. จะเผยแพร่ FVCT ของ 140 เป้าหมายแผนแม่บทย่อยเพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์และเลือกความสอดคล้องในการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายแผ่นแม่บทย่อยที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น หน่วยงานของรัฐต้องศึกษาทำความเข้าใจบทบาทของตนเองทั้งในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพและหน่วยงานระดับกรมที่มีหน้าที่ร่วมขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อย เพื่อนำมาใช้เป็นกรอบในการจัดทำโครงการ/การดำเนินงานที่สอดคล้องกับภารกิจหน้าที่ของหน่วยงานรวมถึงตอบโจทย์การพัฒนาประเทศบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ได้แบบ ?พุ่งเป้า? และการพัฒนาของยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทฯ ได้อย่างเป็นรูปธรรม
                    5. นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ สศช. ปรับรอบการรายงานความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติเป็นรอบการรายงานทุก ๆ 6 เดือน (เดิมรายงานคณะรัฐมนตรีทราบทุกเดือน) และประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการรับผิดชอบการติดตาม เร่งดำเนินการรายงานความคืบหน้าของการดำเนินการในระบบ eMENSCR อย่างต่อเนื่อง
*เป็นการดำเนินการตามหนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ด่วนที่สุด ที่ นร 0913/1 ลงวันที่ 6 มกราคม 2564 เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเภณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย  พ.ศ. 2562

23. เรื่อง รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนพฤษภาคม และ 5 เดือนแรกของปี 2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนพฤษภาคม และ 5 เดือนแรกของปี 2566  ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
1.          สรุปสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนพฤษภาคม 2566
                    การส่งออกของไทยในเดือนพฤษภาคม 2566 มีมูลค่า 24,340.9 ล้านเหรียญสหรัฐ (830,448 ล้านบาท) หดตัวร้อยละ 4.6 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัวร้อยละ 1.4 จากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ยังมีความไม่แน่นอน แม้ว่าภาคการผลิตอุตสาหกรรมโลกเร่งตัวขึ้นจากการผ่อนคลายปัญหาห่วงโซ่การผลิต แต่คำสั่งซื้อใหม่สำหรับการส่งออกไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก เนื่องจากการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคควบคุมการใช้จ่ายมากขึ้น อย่างไรก็ดี การส่งออกของไทยหดตัวน้อยลงกว่าเดือนก่อนหน้า และทำมูลค่าสูงกว่ามูลค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังของเดือนพฤษภาคม (21,658.8 ล้านเหรียญสหรัฐ) โดยได้แรงหนุนจากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่กลับมาขยายตัวในรอบ 8 เดือน จากกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (เช่น อุปกรณ์กึ่งตัวนำฯ หม้อแปลงไฟฟ้าฯ) ยานพาหนะและส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้า (เช่น เครื่องปรับอากาศ) ขณะที่ตลาดหลักอย่างสหรัฐฯ อาเซียน (5) และสหภาพยุโรป กลับมาขยายตัวอีกครั้ง ทั้งนี้ การส่งออกไทย 5 เดือนแรก หดตัวร้อยละ 5.1 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัวร้อยละ 2.1
มูลค่าการค้ารวม
มูลค่าการค้าในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เดือนพฤษภาคม 2566 มีมูลค่าการค้ารวม  50,531.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 4.0 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 24,340.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 4.6 การนำเข้า มีมูลค่า 26,190.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 3.4 ดุลการค้า ขาดดุล 1,849.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาพรวม 5 เดือนแรกของปี 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 239,053.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 3.8 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 116,344.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 5.1 การนำเข้า มีมูลค่า 122,709.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 2.5 ดุลการค้า 5 เดือนแรกของปี 2566 ขาดดุล 6,365.3 ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนพฤษภาคม 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 1,735,012 ล้านบาท     หดตัวร้อยละ 2.2 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 830,448 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 2.8 การนำเข้า มีมูลค่า 904,563 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 1.7 ดุลการค้า ขาดดุล 74,115 ล้านบาท ภาพรวม 5 เดือนแรกของปี 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 8,151,752 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 1.0 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 3,941,426 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 2.4 การนำเข้า มีมูลค่า 4,210,326 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.2 ดุลการค้า 5 เดือนแรกของปี 2566 ขาดดุล 268,901 ล้านบาท
การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 16.3 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ น้ำตาลทราย ขยายตัวร้อยละ 44.3 (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย เกาหลีใต้ กัมพูชา ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย) ข้าว ขยายตัวร้อยละ 84.6 (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย อิรัก แอฟริกาใต้ สหรัฐฯ และญี่ปุ่น) เครื่องดื่ม ขยายตัวร้อยละ 10.3 (ขยายตัวในตลาดเวียดนาม จีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ และสหรัฐฯ) ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง ขยายตัวร้อยละ 55.5 (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย เกาหลีใต้ และสิงคโปร์)ผักกระป๋องและผักแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 28.9 (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐฯ ไต้หวัน เกาหลีใต้ และจีน) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง หดตัวร้อยละ 54.8 (หดตัวในตลาดจีน มาเลเซีย ฮ่องกง เวียดนาม และญี่ปุ่น) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 41.7 (หดตัวในตลาดจีน ไต้หวัน สหรัฐฯ เกาหลีใต้ และอินโดนีเซีย) ยางพารา หดตัวร้อยละ 37.2 (หดตัวในตลาดจีน มาเลเซีย สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) อาหารสัตว์เลี้ยง หดตัวร้อยละ 23.8 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย อิตาลี และฟิลิปปินส์) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ หดตัวร้อยละ 63.0 (หดตัวในตลาดอินเดีย มาเลเซีย กัมพูชา ญี่ปุ่น และเวียดนาม)                ทั้งนี้ 5 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 1.3
การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
          มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 1.5 แต่ยังมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 8.3 (ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น และซาอุดีอาระเบีย) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 10.2 (ขยายตัวในสหรัฐฯ เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด ขยายตัวร้อยละ 87.7 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เวียดนาม อินเดีย จีน และเกาหลีใต้) หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 53.7 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ เม็กซิโก อิตาลี และมาเลเซีย) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 22.9 (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น เบลเยียม สหรัฐฯ บราซิล และออสเตรเลีย) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน หดตัวร้อยละ 26.8 (หดตัวในตลาดจีน กัมพูชา อินเดีย เวียดนาม และสิงคโปร์) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 4.8 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ และญี่ปุ่น) ผลิตภัณฑ์ยาง หดตัวร้อยละ 6.0 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน มาเลเซีย เวียดนาม และอินโดนีเซีย) เครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ หดตัวร้อยละ 34.7 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ เมียนมา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และฮ่องกง) ทองแดงและของทำด้วยทองแดง หดตัวร้อยละ 21.2 (หดตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น เวียดนาม สหรัฐฯ และไต้หวัน) ทั้งนี้ 5 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 5.4
ตลาดส่งออกสำคัญ
การส่งออกไปยังตลาดสำคัญส่วนใหญ่กลับมาขยายตัว อาทิ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และอาเซียน (5) สะท้อนอุปสงค์จากประเทศคู่ค้าที่มีแนวโน้มปรับดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป แม้ว่าหลายประเทศจะยังเผชิญกับความเสี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอย จากแรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่ยังทรงตัวในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนส่งผลให้การส่งออกไปตลาดจีนกลับมาหดตัว ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก หดตัวร้อยละ 6.0 โดยกลับมาหดตัวในตลาดจีน ร้อยละ 24.0 และหดตัวต่อเนื่องในตลาดญี่ปุ่น ร้อยละ 1.8 และ CLMV ร้อยละ 17.3 ขณะที่ตลาดสหรัฐฯ อาเซียน (5) และสหภาพยุโรป (27) กลับมาขยายตัวร้อยละ 4.2 ร้อยละ 0.1 และร้อยละ 9.5 ตามลำดับ (2) ตลาดรอง หดตัวร้อยละ 4.5 โดยหดตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 25.2 และลาตินอเมริกา ร้อยละ 7.0 แต่ขยายตัวในตลาดทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 11.4 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 11.2 แอฟริกา ร้อยละ 7.9 รัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 97.7 และสหราชอาณาจักร ร้อยละ 5.9 (3) ตลาดอื่นๆ ขยายตัวร้อยละ 226.0 อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ ขยายตัวร้อยละ 330.2
          2. มาตรการส่งเสริมการส่งออกและแนวโน้มการส่งออกระยะต่อไป
          การส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการเชิงรุกและลึก เพื่อผลักดันและอำนวยความสะดวกการส่งออก โดยการดำเนินงานที่สำคัญในรอบเดือนที่ผ่านมา อาทิ (1) การเร่งผลักดันนโยบาย ?อาหารไทย อาหารโลก? รองรับความต้องการอาหารของโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากร โดยใช้หลัก ?รัฐหนุน เอกชนนำ? ลดอุปสรรคในการส่งออกให้มากที่สุด และส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ ที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกรู้จักและชื่นชอบอาหารไทย ผ่านการจัดงานแสดงสินค้า THAIFEX-ANUGA ASIA 2023 ระหว่างวันที่ 23 - 27 พฤษภาคม 2566 เพื่อเน้นย้ำให้ทั่วโลกเห็นถึงศักยภาพของไทยในฐานะการเป็นศูนย์กลางผู้ผลิตอาหารของโลก ทำให้ผู้ประกอบการไทยได้เจรจาการค้า มีมูลค่าสั่งซื้อ 119,706.60 ล้านบาท ตลอดจนสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจกับผู้นำเข้าจากประเทศต่าง ๆ เพิ่มโอกาสในการขยายตลาดส่งออก และ (2) ส่งเสริมการขายผลไม้ในต่างประเทศ อาทิ 1) ส่งเสริมการขายร่วมกับซุปเปอร์มาร์เก็ต Yonghui แห่งมหานครฉงชิ่ง 2) ส่งเสริมการขายร่วมกับห้างสรรพสินค้าและผู้นำเข้าในมณฑลฝูเจี้ยน และ 3) ส่งเสริมการขายปลีกสินค้าอาหารและผลไม้ไทยผ่านช่องทางการค้าปลีกสมัยใหม่ในไต้หวัน เป็นต้น
                    แนวโน้มการส่งออกระยะถัดไป กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่า ไทยกำลังเผชิญปัจจัยเสี่ยงต่อการส่งออกจาก (1) ภาวการณ์ชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าที่อาจลุกลามไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยเฉพาะสหภาพยุโรป (2) สภาพอากาศแปรปรวน อาจส่งผลต่อปริมาณสินค้าเกษตรที่ผลิตได้ในปีนี้  (3) แรงกดดันของอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่ส่งผลกระทบต่อการบริโภค และภาคการผลิตสินค้า (4) การเปลี่ยนแปลงแนวทางนโยบายการค้าของคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะนโยบายการพึ่งพาตนเองของจีน ขณะที่ปัจจัยบวกต่อการส่งออก ได้แก่ (1) การดำเนินนโยบายเชิงรุกและเชิงลึกของกระทรวงพาณิชย์ที่มุ่งรักษาตลาดเดิม เจาะตลาดใหม่ เพื่อขยายโอกาสของผู้ประกอบการส่งออกไทย (2) แนวโน้มการชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจช่วยลดแรงกดดันต่อภาคการบริโภคและการลงทุน (3) ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในหลายประเทศอาจเป็นโอกาสที่ดีต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย

24. เรื่อง การพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอให้มีการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในอัตราไม่เกิน 13,116 อัตรา โดยแบ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดโดยตรง และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกื้อกูลต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด ดังนี้
ประเภท          จำนวนผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดที่ได้รับบำเหน็จความชอบ
          อัตราทั้งหมด          ร้อยละที่ได้รับบำเหน็จ          อัตราที่ได้รับบำเหน็จ
เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดโดยตรง          368,208          ไม่เกิน 2.5          ไม่เกิน 9,205
เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกื้อกูลต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด          260,719          ไม่เกิน 1.5          ไม่เกิน 3,911
รวม (อัตรา)          628,927          -          ไม่เกิน 13,116
                    ทั้งนี้ กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้มีการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (ได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นอัตราร้อยละ 1 ของฐานในการคำนวณในแต่ละรอบการประเมิน ทั้งนี้ เมื่อรวมกับการเลื่อนเงินเดือนกรณีปกติ จะต้องไม่เกินร้อยละ 6 ของฐานในการคำนวณ) ในอัตราไม่เกิน 13,116 อัตรา โดยแบ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดโดยตรง ไม่เกิน 9,205 อัตรา (ร้อยละ 2.5 จากจำนวนผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดโดยตรงทั้งหมด) และผู้ปฏิบัติงานเกื้อกูลต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด ไม่เกิน 3,911 อัตรา (ร้อยละ 1.5 จากจำนวนผู้ปฏิบัติงานเกื้อกูลต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดทั้งหมด) ซึ่งเป็นการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ. 2566 - 2570 (ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566) ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักงาน ก.พ. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เห็นชอบ/เห็นชอบในหลักการ/เห็นด้วยตามที่ ยธ. เสนอ

25. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม       พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2566 และครั้งที่ 10/2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2566 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2566 และครั้งที่ 10/2566 เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ดังนี้
                    1. ผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดเงินกู้ฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2566
                              1.1 อนุมัติให้จังหวัด1 เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ปี 2565 (โครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ) ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งปรับปรุงรายละเอียดของโครงการในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform: eMENSCR) ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว
                              1.2 มอบหมายให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 และอยู่ระหว่างดำเนินการให้เร่งรัดการดำเนินงานและต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี โดยในกรณีที่หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สามารถดำเนินงาน      และเบิกจ่ายเงินกู้ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ ให้หน่วยงานรับผิดชอบดำเนินโครงการเร่งเสนอเรื่องขอขยายระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินโครงการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนข้อ 18 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2564 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564)
                              1.3 มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ เร่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายตามข้อ 22 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พร้อมทั้งจัดทำรายงานประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทางในการประเมินผลผลิตและผลลัพท์ของโครงการตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) กำหนดต่อไป
                    2. ผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดเงินกู้ฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2566
                              2.1 อนุมัติให้จังหวัด2 เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งปรับปรุงรายละเอียดของโครงการในระบบ eMENSCR ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว
                              2.2 มอบหมายให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 และอยู่ระหว่างดำเนินการให้เร่งรัดการดำเนินงานและต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี โดยในกรณีที่หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สามารถดำเนินงาน และเบิกจ่ายเงินกู้ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ ให้หน่วยงานรับผิดชอบดำเนินโครงการต่อไปให้แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์ที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี โดยใช้จ่ายจากแหล่งเงินอื่นตามนัยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2566
                              2.3 มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ เร่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายตามข้อ 22 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พร้อมทั้งจัดทำรายงานประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทางในการประเมินผลผลิต และผลลัพธ์ของโครงการตามที่ กค. กำหนดต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2566
                    ที่ประชุม คกง. ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2566 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2566 มีมติที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ กรณีโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ของกระทรวงมหาดไทย (มท.) จำนวน 8 จังหวัด (จังหวัดภูเก็ต จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดเชียงราย จังหวัดปทุมธานี จังหวัดน่าน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดสุพรรณบุรี) รวม 39 โครงการ กรอบวงเงินรวม 131.5868 ล้านบาท มีรายละเอียด ดังนี้
                              1.1 ยกเลิกการดำเนินโครงการ จำนวน 4 จังหวัด (จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดน่าน และจังหวัดชัยภูมิ) รวม 13 โครงการ กรอบวงเงิน 55.1279 ล้านบาท เนื่องจากไม่สามารถจัดหาผู้รับจ้างและลงนามผูกพันสัญญาได้ทันภายในเดือนพฤศจิกายน 2565 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 รวมถึงไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ทันตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรี
                              1.2 ขยายระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินโครงการ เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2566 จำนวน 4 จังหวัด (จังหวัดสุพรรณรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดเชียงราย และจังหวัดชัยภูมิ) รวม 15 โครงการ กรอบวงเงิน 54.3756 ล้านบาท เนื่องจากได้ลงนามผูกพันสัญญาแล้วและอยู่ระหว่างดำเนินโครงการ
                              1.3 เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการและขยายระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินโครงการ เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2566 จำนวน 3 จังหวัด (จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดชัยภูมิ) รวม 11 โครงการ วงเงิน 22.0833 ล้านบาท
                    2. ผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2566
                              ที่ประชุม คกง. ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2566 เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 มีมติที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ กรณีโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ของ มท. จำนวน 2 จังหวัด (จังหวัดน่านและจังหวัดตรัง) มีรายละเอียด ดังนี้
                              2.1 ยกเลิกการดำเนินโครงการ จำนวน 1 จังหวัด (จังหวัดน่าน) จำนวน 1 โครงการ กรอบวงเงิน 1.9850 ล้านบาท เนื่องจากหน่วยงานรับผิดชอบไม่สามารถลงนามผูกพันสัญญาได้ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 รวมถึงไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ทันตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรี
                              2.2 ขยายระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินโครงการ เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2566 จำนวน 1 จังหวัด (จังหวัดตรัง) จำนวน 1 โครงการ กรอบวงเงิน 20.9000 ล้านบาท เนื่องจากได้ลงนามผูกพันสัญญาแล้วและอยู่ระหว่างดำเนินโครงการ
                    3. ทั้งนี้ คกง. แจ้งว่า เรื่องผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม       พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2566 และครั้งที่ 10/2566 มิได้เป็นการอนัมัติงานหรือโครงการใหม่แต่อย่างใด ประกอบกับการดำเนินโครงการดังกล่าวมีแหล่งเงินรองรับแล้วตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564        ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ทราบภาระทางการคลังในอนาคตตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว จึงสามารถกระทำได้ตามมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
1 จำนวน 8 จังหวัด (จังหวัดภูเก็ต จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดปทุมธานี จังหวัดน่าน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดสุพรรณบุรี) รวม 39 โครงการ กรอบวงเงิน 131.5868 ล้านบาท
2 จำนวน 2 จังหวัด (จังหวัดน่าน และจังหวัดตรัง) รวม 2 โครงการ กรอบวงเงิน 22.8850 ล้านบาท

26. เรื่อง กำหนดวันและเวลาประชุม และวันเริ่มสมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบกำหนดวันและเวลาประชุม  และวันเริ่มสมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง ตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สผ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ได้มีพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2566 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2566 ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 121 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ภายใน 15 วันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก วรรคสอง บัญญัติให้ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญของรัฐสภาสองสมัย ๆ หนึ่งให้มีกำหนดเวลา 120 วัน และ วรรคสี่ บัญญัติให้วันประชุมครั้งแรก ให้ถือเป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง ส่วนวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง ให้เป็นไปตามที่สภาผู้แทนราษฎรกำหนด
                    2. สผ. แจ้งว่า ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 ปีที่ 1 ครั้งที่ 2 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) วันพุธที่ 12 กรกฎาคม 2566 ที่ประชุมมีมติกำหนดให้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สัปดาห์ละ 2 วัน คือ ทุกวันพุธและวันพฤหัสบดี และมีมติกำหนดเวลาประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยให้เริ่มประชุมตั้งแต่เวลา 09.00 นาฬิกา เป็นต้นไป และกำหนดให้วันที่ 12 ธันวาคม เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง
                    3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กำหนดให้สมัยประชุม แบ่งเป็นสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่งและสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง และสมัยหนึ่ง ๆ ให้มีกำหนดเวลา 120 วัน ดังนั้น ใน                 การประชุมสภาผู้แทนราษฎรชุดปัจจุบันจึงมีวันเปิดและวันปิดสมัยประชุม ดังนี้
ปีที่          สมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง          สมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง
1          3 กรกฎาคม 2566 - 30 ตุลาคม 2566          12 ธันวาคม 2566 ? 9 เมษายน 25671
2          3 กรกฎาคม 2567 - 30 ตุลาคม 2567          12 ธันวาคม 2567 ? 10 เมษายน 2568
3          3 กรกฎาคม 2568 - 30 ตุลาคม 2568          12 ธันวาคม 2568 ? 10 เมษายน 2569
4          3 กรกฎาคม 2569 - 30 ตุลาคม 2569          12 ธันวาคม 2569 ? 10 เมษายน 2570
1ปี พ.ศ. 2567 เดือนกุมภาพันธ์ มี 29 วัน

ต่างประเทศ


27. เรื่อง อุทยานธรณีโคราชได้รับการรับรองเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบอุทยานธรณีโคราช1 ได้รับการรับรองเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks)2 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอโดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks) เป็นโครงการด้านการอนุรักษ์มรดกทางธรณีวิทยา โบราณคดี นิเวศวิทยา และวัฒนธรรม ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก (UNESCO) อุทยานธรณีโลกเป็นขอบเขตพื้นที่ที่ประกอบด้วยแหล่งที่มีคุณค่าด้านธรณีวิทยา โบราณคดี นิเวศวิทยา และวัฒนธรรม มีการบริหารจัดการแบบองค์รวมระหว่างการอนุรักษ์ การให้ความรู้ การศึกษาวิจัย และการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการ เชื่อมโยงความสำคัญของมรดกทางธรณีวิทยาผ่านการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา ตลอดจนทำให้ชุมชนท้องถิ่นมีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเอง สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน การสร้างวิสาหกิจชุมชน มีนวัตกรรมใหม่ การสร้างงานใหม่ เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจระดับรากหญ้าและการสร้างรายได้แก่ชุมชน ในขณะเดียวกันทรัพยากรธรณีก็ได้รับการปกป้องและอนุรักษ์ไปพร้อมกัน
                    2. คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) กระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินการเสนออุทยานธรณีโคราชเป็นสมาชิกอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกต่อสำนักเลขาธิการยูเนสโก ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2562 [ตามมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562) เห็นชอบให้เสนออุทยานธรณีโคราชสมัครเข้ารับการรับรองเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก3]
                    3. ยูเนสโกได้ตรวจประเมินคุณค่าทางวิชาการด้านธรณีวิทยาของอุทยานธรณีโคราชและพบว่ามีความสำคัญโดดเด่นระดับโลก และได้ส่งผู้ประเมินภาคสนามมาเพื่อตรวจประเมินอุทยานธรณีโคราช ระหว่างวันที่ 22-26 มิถุนายน 2565 โดยผู้ประเมินได้จัดทำรายงานเสนอต่อที่ประชุมสภาอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks Council Meeting) พิจารณาระหว่างวันที่ 4-5 กันยายน 2565 ซึ่งที่ประชุมดังกล่าวมีมติว่าคุณสมบัติของอุทยานธรณีโคราชครบถ้วนตามหลักเกณฑ์4 และได้นำมติดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารของยูเนสโกพิจารณาแล้ว โดยคณะกรรมการบริหารของยูเนสโกในการประชุม ครั้งที่ 216 ซึ่งจัดขึ้น               ณ องค์การยูเนสโกสำนักงานใหญ่ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 10-24 พฤษภาคม 2566 ได้รับรองอุทยานธรณีโคราชเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกและได้ส่งหนังสือแจ้งผลอย่างเป็นทางการกับอุทยานธรณีโคราช รวมทั้งประกาศในเว็บไซต์ของยูเนสโก (https:/www.unesco.org) แล้ว
                    4. เมื่อมีสถานะเป็นอุทยานธรณีโลกภายในระยะเวลา 4 ปี จะต้องได้รับการประเมินใหม่อีกครั้งเพื่อรักษาคุณสมบัติและคุณภาพของอุทยานธรณีโลก โดยหากผ่านเกณฑ์จะได้รับการต่ออายุเป็นอุทยานธรณีโลกอีก 4 ปี แต่หากไม่ผ่านเกณฑ์หน่วยงานผู้รับผิดชอบในการบริหารอุทยานธรณีโลกต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามขั้นตอนและข้อเสนอแนะของยูเนสโกให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี ทั้งนี้ หากไม่สามารถดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในกำหนดจะถูกถอนออกจากการเป็นอุทยานธรณีโลก
                    5. ปัจจุบันประเทศไทยมีอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ อุทยานธรณีโลกสตูล5 และอุทยานธรณีโลกโคราช รวมทั้งมีอุทยานธรณีประเทศไทยจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ อุทยานธรณีผาชัน สามพันโบก (จังหวัดอุบลราชธานี) อุทยานธรณีเพชรบูรณ์ และอุทยานธรณีขอนแก่น โดยปัจจุบันอุทยานธรณีขอนแก่นอยู่ระหว่างขอรับรองเป็นอุทยานธรณีโลก
1อุทยานธรณีโคราช จัดตั้งโดยจังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่ครอบคลุมทั้งหมด 5 อำเภอ คือ อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน อำเภอขามทะเลสอ อำเภอเมืองนครราชสีมา และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ โดยมีแหล่งธรณีวิทยา แหล่งธรรมชาติ และแหล่งวัฒนธรรมในพื้นที่จำนวน 35 แหล่ง ในจำนวนนี้เป็นแหล่งธรณีวิทยาที่มีคุณค่าระดับนานาชาติ 4 แหล่ง ได้แก่ (1) แหล่งอนุรักษ์ไม้กลายเป็นหินฯ (2) แหล่งไดโนเสาร์อิกัวโนดอนพันธุ์ใหม่ของโลก (3) แหล่งฟอสซิลช้างดึกดำบรรพ์ และ (4) แหล่งฟอสซิลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นอกจากนี้ ยังมีภูมิประเทศเขาเควสตาแบบคู่ (เควสตาโคราช) ซึ่งเป็นภูเขาที่มีลักษณะคล้ายมีดอีโต้ที่นับว่ายาวที่สุดแห่งหนึ่งของโลกตลอดจนมีโบราณสถาน วัฒนธรรม วิถีชีวิตชุมชน และความหลากหลายทางชีวภาพที่สอดคล้องกับแนวทางการเป็นอุทยานโลกของยูเนสโก
2ประโยชน์ของการเป็นสมาชิกอุทยานธรณียูเนสโก คือ ทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติเพิ่มมากขึ้นทั้งในด้านคุณค่าของแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและด้านการท่องเที่ยว ซึ่งจะดึงดูดนักท่องเที่ยว นำรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่นและประเทศ ประชากรในพื้นที่มีงานทำ มีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ประชากรในพื้นที่เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์และหวงแหน ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าได้รับการปกป้องคุ้มครองอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งศึกษา วิจัย ของนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย
3การสมัครเป็นสมาชิกอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก : อุทยานธรณีโคราช จังหวัดนครราชสีมาเป็นผู้รับผิดชอบจัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีสำหรับชำระค่าสมาชิกปีละ 1,500 ยูโร (ประมาณ 56,000 บาท)  เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการประเมินภาคสนาม และการเข้าร่วมเครือข่ายอุทยานธรณีโลกและเครือข่ายอุทยานธรณีในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
4หลักเกณฑ์ในการเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกตามข้อมูลโครงการด้านธรณีศาสตร์และอุทยานธรณีของยูเนสโก (International Geoscience and Geoparks Programme: IGGP) เช่น ต้องเป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เป็นหนึ่งเดียวหรือเป็นสถานที่ซึ่งอาจมีเพียงที่เดียว และมีลักษณะทางภูมิทัศน์ที่มีความสำคัญทางธรณีวิทยาในระดับโลก มีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการบริหารจัดการมากยิ่งขึ้น และเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายอุทยานธรณีโลก (Global Geoparks Network GGN) เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล แบ่งปันประสบการณ์ และดำเนินโครงการหรือกิจกรรมร่วมกันภายในเครือข่าย
5อุทยานธรณีโลกสตูลได้รับการรับรองจากยูเนสโกให้เป็นอุทยานธรณีโลกเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2561 ซึ่งเป็นอุทยานธรณีโลกแห่งแรกของประเทศไทย

28. เรื่อง ร่างความตกลงระหว่างองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อออกแบบแนวทางการจัดลำดับความสำคัญการวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมาย (RIA) และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย (ex post review)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างความตกลงระหว่างองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (The Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เพื่อออกแบบแนวทางการจัดลำดับความสำคัญการวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมาย (Regulatory Impact Analysis: RIA) และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย (ex post review) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. สคก. ได้ทำงานร่วมกับ OECD ในการพัฒนาคุณภาพกฎหมายและกฎระเบียบมาเป็นเวลานานตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา โดย สคก. ได้เข้าร่วมโครงการ Country Programme (CP) ที่รัฐบาลไทยดำเนินการร่วมกับ OECD โดยได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบโครงการย่อยด้านการปฏิรูประบบกฎหมายและดำเนินการตามหลักปฏิบัติเรื่องการมีกฎหมายที่ดี (Regulatory Reform and Good Regulatory Practices) ซึ่ง สคก. ได้นำข้อเสนอแนะและบทสรุปของโครงการดังกล่าวจาก OECD มาพัฒนาเป็นแนวทางและคู่มือการดำเนินการตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ รวมทั้งได้จัดให้มีการฝึกอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญจาก OECD เพื่อพัฒนาทักษะด้านการพัฒนาคุณภาพของกฎหมายและกฎระเบียบที่ดีเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนให้แก่เจ้าหน้าที่ของ สคก. และหน่วยงานอื่นของรัฐที่เกี่ยวข้องจากความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องนี้ สคก. จึงได้รับคำเชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของคณะกรรมการนโยบายด้านกฎหมาย (Regulatory Policy Committee: RPC) ของ OECD ประเภท Participant (ประเภทสามัญ) เพื่อที่จะได้มีส่วนร่วมในการวางแนวทางในการพัฒนากฎระเบียบที่ดีร่วมกัน ซึ่งไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก RPC ในปี 2565 และที่ประชุมใหญ่ RPC ได้มีมติรับไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อปี 2566 แล้ว
                    2. การประชุมใหญ่ RPC ครั้งที่ 27 ของ OECD ระหว่างวันที่ 5-6 ธันวาคม 2565 ณ สำนักงานใหญ่ OECD กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่ง สคก. และ OECD ได้หารือร่วมกันเพื่อพัฒนาและต่อยอดความร่วมมือระหว่างกันและได้มีการกำหนดแผนการพัฒนาคุณภาพของกฎหมายไทยให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2566-2569) ประกอบด้วย 2 โครงการ ดังนี้
                              2.1 โครงการออกแบบแนวทางการจัดลำดับความสำคัญการวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมาย (RIA) และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย (ex post review) [โครงการออกแบบแนวทางการจัดลำดับความสำคัญฯ เป็นโครงการต่อยอดจากคำแนะนำของ OECD ที่ได้รายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการ CP (OECD Regulatory review of Thailand: A Diagnostic Scan)] ซึ่ง สคก. จะรับผิดชอบดำเนินการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรรในแต่ละปี
                              2.2 โครงการประเมินผลการพัฒนากฎหมายตามหลักการมีกฎหมายที่ดี (Strengthening regulatory reform and the implementation of good regulatory practice) ซึ่งเป็นโครงการย่อยภายใต้โครงการ CP ระยะที่ 2 ระหว่างไทยกับ OECD1
                    3. โดยที่โครงการออกแบบแนวทางการจัดลำดับความสำคัญฯ จะเริ่มต้นดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อมีการจัดทำร่างความตกลงระหว่าง OECD และ สคก. เพื่อออกแบบแนวทางการจัดลำดับความสำคัญการวิเคราะห์ผลกระทบ RIA และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย (ร่างความตกลงฯ) สคก. จึงได้จัดทำร่างความตกลงฯ ที่จะมีการลงนามร่วมกันกับ OECD โดยมีสาระสำคัญเป็นการสนับสนุนเงินจำนวน 249,644 ยูโร (ประมาณ 9.3 ล้านบาท) ให้แก่ OECD เพื่อศึกษาและจัดทำแนวทางการจัดลำดับความสำคัญการวิเคราะห์ผลกระทบของกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ซึ่งรวมถึงการจัดประชุม สัมมนา หรือกิจกรรมการรับฟังความคิดเห็นและการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งได้มีการออกแบบแนวทางการจัดลำดับความสำคัญการวิเคราะห์ RIA และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายเพื่อประกอบการพิจารณาในการลงนามในร่างความตกลงนี้ด้วย

29. เรื่อง การขออนุมัติให้ประเทศไทยยื่นประมูลสิทธิ์เสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีของเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก ครั้งที่ 17 ในปี พ.ศ. 2568 (UCCN Annual Conference 2025)                              ณ จังหวัดเชียงใหม่
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ประเทศไทยยื่นประมูลสิทธิ์เสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีของเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก ครั้งที่ 17 ในปี พ.ศ. 2568 (UCCN Annual Conference 2025) ณ จังหวัดเชียงใหม่ ต่อองค์การยูเนสโก โดยมีกระทรวงวัฒนธรรม จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงวัฒนธรรมดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมการให้ประเทศไทยยื่นประมูลสิทธิ์เสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีของเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก ครั้งที่ 17 ในปี พ.ศ. 2568 (UCCN Annual Conference 2025) ณ จังหวัดเชียงใหม่ ดังนี้
                    1. แนวคิดและรูปแบบของการจัดประชุม คือ
                              1.1 จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในจังหวัดเชียงใหม่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) รวมทั้งการจัดตั้งคณะทำงานจัดทำเอกสารยื่นประมูลสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีของเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์องค์การยูเนสโก ประจำปี พ.ศ. 2568 (UCCN Annual Conference 2025) และได้จัดการประชุมคณะทำงานฯ อย่างเป็นทางการ จำนวน 5 ครั้ง โดยได้มีการสรุปห้วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการจัดการประชุมประจำปีฯ ครั้งที่ 17 ของจังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2568 ภายใต้แนวคิด ?Enhancing Multicultural Transformation? เชื่อมอดีตสู่ปัจจุบันสร้างนวัตกรรมเพื่อการต่อยอด ซึ่งคาดหวังที่จะเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมเชื่อมโยงและแบ่งปันแรงบันดาลใจ (Sharing) อาทิ การเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมการประชุมเรียนรู้และแบ่งปันประสบการณ์ สร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนสร้างสรรค์ได้อย่างอิสระ และการสร้างเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนความสร้างสรรค์ที่ไม่มีสิ้นสุด นำไปสู่การสร้างความสุขด้วยแนวคิดเมืองมีชีวิต เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (The Sustainable Development Goals: SDGs)
                              1.2 กำหนดการจัดการประชุมประจำปีฯ ครั้งที่ 17 ของจังหวัดเชียงใหม่ มีระยะเวลา 7 วันสาขา (หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน การออกแบบ ภาพยนตร์ วิทยาการอาหาร วรรณกรรม มีเดีย อาร์ต และดนตรี) การประชุมเพื่อสรุปผลการประชุมที่เกี่ยวข้อง พิธีปิดการประชุม และกำหนดการทัศนศึกษาเพื่อเยี่ยมชมเมืองและสัมผัสวัฒนธรรมประเพณีของเชียงใหม่ ผ่านเส้นทางวัฒนธรรมและเส้นทางการต่อยอดสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม และการขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ของยูนสโกในประเทศไทยในภาพรวม ทั้งนี้ การจัดประชุมดังกล่าวจะเป็นการบูรณาการร่วมกันของเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกในประเทศไทยทั้ง 5 เมือง ได้แก่ เชียงใหม่ ภูเก็ต (สาขาอาหาร) กรุงเทพมหานคร (สาขาการออกแบบ) สุโขทัย (สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน) และเพชรบุรี (สาขาอาหาร) รวมถึงเมืองอื่น ๆ ที่มีความประสงค์จะเข้าสู่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก อาทิ น่าน สุพรรณบุรี นครปฐม เชียงราย และพัทยา ซึ่งจะได้นำเสนอองค์ความรู้ผ่านตัวอย่างกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นและมีส่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเมืองต่อเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโกต่อไป
                              1.3 การจัดการประชุมประจำปีฯ ครั้งที่ 17 จะเป็นการส่งเสริมวัฒนธรมและความคิดสร้างสรรค์ให้มีบทบาทนำในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย เพื่อการอนุรักษ์ ดำรง คงอยู่ ตลอดจนต่อยอดวัฒนธรรมไทย สู่เวทีโลก ผ่านการนำเสนอเมืองเชียงใหม่ในมิติด้านศิลปะ ศาสนา วัฒนธรรม และกิจกรรมเส้นทางวัฒนธรรม (authentic multicultural route) การท่องเที่ยววิถีชุมชนที่นำทุนทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของชุมชนมาพัฒนาต่อยอดคุณค่าและมูลค่าอย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งเป็นการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่งานด้านศิลปะและวัฒนธรรมของเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งกิจกรรมการต่อยอดสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม (multicultural transformation tour) เพื่อนำเสนอธุรกิจสร้างสรรค์ ที่ใช้ทุนทางวัฒนธรรมมาต่อยอดธุรกิจในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งภาคชุมชนและภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวและใช้ความคิดสร้างสรรค์สร้างสินค้าและบริการที่ตอบรับกับกระแสของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน
                    2. ขั้นตอนและกรอบระยะเวลาการดำเนินการ สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติฯ แจ้งว่า องค์การยูเนสโกได้เปิดให้ยื่นเอกสารข้อเสนอของเมืองที่สมัครเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีฯ ครั้งที่ 17 จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 ต่อจากนั้นจะเป็นการดำเนินการ คือ (1) วันที่ 1 - 15 สิงหาคม 2566องค์การยูเนสโกดำเนินการคัดกรองทางเทคนิคเบื้องต้น หากมีเมืองสมัครมากกว่า 5 เมือง (2) วันที่ 11 ? 15 กันยายน 2566 เมืองที่ผ่านการคัดเลือกเบื้องต้น ยื่นประมูลสิทธิ์ในการประชุมประจำปีของเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก ครั้งที่ 15 ณ นครอิสตันบูล สาธารณรัฐทูร์เคีย (3) ปลายเดือนกันยายน ถึงกลางเตือนตุลาคม 2566 องค์การยูเนสโกจัดให้มีการลงคะแนนเลือกเมืองผ่านระบบออนไลน์และเป็นการภายใน และ (4) วันที่ 31 ตุลาคม 2566 ประกาศผลการเลือกเมืองเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีฯ ครั้งที่ 17
ในปี พ.ศ. 2568 ซึ่งตรงกับวันเมืองโลก (World Cities Day)
                    3. การประชุมหารือเพื่อเตรียมการฯ กระทรวงวัฒนธรรมได้จัดการประชุมหารือร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2566 ณ กระทรวงวัฒนธรรม และเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2566 ณ กระทรวงวัฒนธรรม รวมทั้งการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2566 ณ กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อพิจารณาการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการจัดการประชุมประจำปีฯ ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ เห็นชอบให้กระทรวงวัฒนธรรมเป็นหน่วยงานเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติในหลักการให้ประเทศไทยยื่นประมูลสิทธิ์เสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีของเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก ครั้งที่ 17 ในปี พ.ศ. 2568 (UCCN Annual Conference 2025) ณ จังหวัดเชียงใหม่ ต่อองค์การยูเนสโก โดยมีกระทรวงวัฒนธรรม จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก
                    4. ความเห็นของหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง คือ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นว่า ในชั้นนี้ยังไม่มีการจัดทำความตกลงเพื่อการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าว กรณีจึงไม่มีประเด็นที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับการเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันรัฐบาลไทยตามมาตรา 4 (7) แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 กรณีจึงต้องเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการต่อไป และการให้ความเห็นชอบการยื่นประมูลสิทธิ์เสนอเมืองเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าว ไม่เข้าลักษณะเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ตามนัยมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสามารถเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบได้

แต่งตั้ง

30. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงบประมาณเสนอแต่งตั้ง นางสาวมัทนา เจริญศรี ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณเชี่ยวชาญ) สำนักงบประมาณ ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณทรงคุณวุฒิ) สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2565 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ และให้ดำเนินการต่อไปได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 169 (2) แล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรง         พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

31. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอเลื่อนข้าราชการขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง จำนวน 2 ราย ดังนี้
                     1. เลื่อน นายกิตติ อินทรกุล รองอธิบดี (นักบริหาร) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
                     2. เลื่อน นางรุ่งทิวา สุดแดน รองอธิบดี (นักบริหาร) กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว                    ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
                     และให้ดำเนินการต่อไปได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 169 (2) แล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ