http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ (25 กรกฎาคม 2566) เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนศรีนคร จังหวัดสุโขทัย พ.ศ. .... 2. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้าน ประกอบ จังหวัดสงขลา พ.ศ. .... 3. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. .... 4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าเข้าชมและค่าบริการอื่นสำหรับโบราณสถานที่ได้ขึ้น ทะเบียนแล้วและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 5. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่ และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่อำเภอบ้านแหลม อำเภอเมือง เพชรบุรี อำเภอท่ายาง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน อำเภอ ปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. .... 6. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่ และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. .... 7. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนพุทธ มณฑล จังหวัดนครปฐม พ.ศ. .... 8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะและระบบความปลอดภัยของอาคารที่ใช้ประกอบ ธุรกิจโรงแรม พ.ศ. .... 9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดปัตตานี เป็นพื้นที่ป่าชายเลน อนุรักษ์ พ.ศ. .... 10. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558 จำนวน 5 ฉบับ 11. เรื่อง รายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรา 165 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจ แห่งชาติ พ.ศ. 2565 ในช่วงระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน 2566 12. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดเพชรบุรี เป็นพื้นที่ป่าชายเลน อนุรักษ์ พ.ศ. .... เศรษฐกิจ-สังคม 13. เรื่อง รายงานผลการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลรุ่น LB236A 14. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงาน ฐานะทางการเงิน และงบการเงินของกองทุนบริหาร เงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 15. เรื่อง รายงานสรุปผลการประชุมหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและ สำนักงาน ก.พ. เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาบุคลากรทางการแพทย์ 16. เรื่อง สรุปผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยโดยสถาบัน IMD
ปี 2566
17. เรื่อง การรายงานผลการดำเนินงานโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน (Development Policy Loan: DPL) 18. เรื่อง รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2566 19. เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2565 ขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ สาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) 20. เรื่อง การจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 21. เรื่อง สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนมิถุนายน 2566 22. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1/2566 และแนวโน้มไตรมาสที่ 2/2566 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนเมษายน 2566 23. เรื่อง กรอบแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 24. เรื่อง การกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ประจำปี 2566 (เพิ่มเติม) 25. เรื่อง รายงานสรุปผลและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทาง วิทยาศาสตร์ ประจำปี 2562-2564 26. เรื่อง แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566- 2570) 27. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการกำหนดมาตรการในการควบคุมเกี่ยวกับการซื้อขาย สินทรัพย์ดิจิทัล ต่างประเทศ 28. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกว่าด้วยการขยายความร่วมมือในสาขาเฉพาะ 29. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ประจำปี 2566 (Ministers Responsible for Trade Meeting 2023) 30. เรื่อง เอกสารถ้อยแถลงเพื่อการดำเนินงาน (Statement of Undertaking : SoU) ของ กลุ่มดำเนินงานด้านกรดไนตริกเพื่อสภาพภูมิอากาศ (Nitric Acid Climate Action Group : NACAG) (คาโปรแลคตัม) 31. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญารัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ประจำปี 2566 และเอกสารที่เกี่ยวข้อง แต่งตั้ง 32. เรื่อง รายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาของส่วนราชการ (จำนวน 5 ราย) 33. เรื่อง การแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก 34. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย
? กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนศรีนคร จังหวัดสุโขทัย พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนศรีนคร จังหวัดสุโขทัย พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลศรีนคร และตำบลคลองมะพลับ อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนศรีนครให้เป็นเมืองน่าอยู่ การดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อมในบริเวณพื้นที่ภายในเขตผังเมืองรวมชุมชนศรีนคร จังหวัดสุโขทัย ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น 10 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโคงรการคมนาคมและขนส่ง ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แล้ว และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว สาระสำคัญของร่างประกาศ กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลศรีนคร และตำบลคลองมะพลับ อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา และการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1. กำหนดให้ผังเมืองรวมชุมชนศรีนคร จังหวัดสุโขทัย มีนโยบายและมาตรการเพื่อจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายคมนาคมขนส่งและบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับและสอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคตรวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ 1.1 ส่งเสริมและพัฒนาชุมชนศรีนครให้เป็นศูนย์กลางทางด้านการบริหารการปกครอง และการบริการสาธารณะของอำเภอศรีนคร 1.2 ส่งเสริมให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและมีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 1.3 ส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่เกษตรกรรมให้เป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของจังหวัดสุโขทัย 1.4 ส่งเสริมและพัฒนาการบริการทางสังคม การพัฒนาระบบการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน 1.5 ส่งเสริมและอนุรักษ์วิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่อย่างยั่งยืน 2. กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้ ประเภท วัตถุประสงค์ 1. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) - เป็นพื้นที่รอบนอกชุมชนเมืองต่อจากพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยที่เบาบาง มีการใช้ประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่ สามารถก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว โดยมีข้อจำกัดเรื่องประเภทของอาคารซึ่งต้องไม่ใช่การอยู่อาศัย ประเภทอาคารชุด หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวมหรืออาคารขนาดใหญ่ และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคสำหรับการอยู่อาศัยที่ดี ได้แก่ การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ก่อปัญหาสุขอนามัยชุมชน คลังเชื้อเพลิง คลังวัตถุระเบิดที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัย สถานที่เก็บสินค้า การกำจัดขยะมูลฝอย การซื้อขายเศษวัสดุ สุสาน ฌาปนสถาน เป็นต้น และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินริมฝั่งลำคลองหรือแหล่งน้ำสาธารณะยกเว้นคลองมะพลับ ให้มีที่ว่างตามแนวขนานริมฝั่งตามสภาพธรรมชาติของลำคลองหรือแหล่งน้ำสาธารณะ ไม่น้อยกว่า 6 เมตร สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการ ได้แก่ อุตสาหกรรมขนาดเล็กและอุตสาหกรรมบริการ เช่น การตัดเย็บเสื้อผ้า การซ่อมรถจักรยานยนต์ การแปรรูปอาหาร เป็นต้น 2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) - เป็นพื้นที่บริเวณต่อเนื่องหรือล้อมรอบพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางที่มีการสร้างที่อยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว อาคารชุด หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม โดยมีข้อจำกัดเรื่องขนาดของอาคารซึ่งต้องไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่พิเศษ และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคสำหรับการอยู่อาศัยที่ดี ได้แก่ การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ก่อปัญหาสุขอนามัยชุมชน คลังเชื้อเพลิง คลังวัตถุระเบิดที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัย การกำจัดขยะมูลฝอย ซื้อขายเศษวัสดุ สุสาน ฌาปนสถาน เป็นต้น และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการ ได้แก่ อุตสาหกรรมขนาดเล็กและอุตสาหกรรมบริการ เช่น การตัดเย็บเสื้อผ้า การซ่อมรถจักรยานยนต์ และการแปรรูปอาหาร เป็นต้น 3. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) - เป็นศูนย์กลางชุมชนเมืองและศูนย์กลางรองในกรณีเมืองมีพื้นที่กว้างจำเป็นต้องมีหลายศูนย์กลาง มีวัตถุประสงค์ให้เป็นบริเวณที่ประกอบพาณิชย์ ธุรกิจ และการค้า ประกอบด้วย ตลาด ศูนย์การค้า สำนักงาน โรงแรม โดยไม่มีการจำกัดความสูงและพื้นที่ของอาคาร ซึ่งกำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากเพื่อรองรับการประกอบกิจการดังกล่าว และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคสำหรับการอยู่อาศัยที่ดี และการประกอบพาณิชย์ ธุรกิจ และการค้า ได้แก่ การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ก่อปัญหาสุขอนามัยชุมชน คลังเชื้อเพลิง สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง คลังวัตถุระเบิดที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัย การกำจัดขยะมูลฝอย ซื้อขายเศษวัสดุ สุสาน ฌาปนสถาน เป็นต้น และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการ ได้แก่ อุตสาหกรรมขนาดเล็ก และอุตสาหกรรมบริการ เช่น การตัดเย็บเสื้อผ้า การซ่อมรถจักรยานยนต์ การแปรรูปอาหาร เป็นต้น 4. ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) - เป็นพื้นที่เกษตรกรรมในบริเวณโดยรอบของชุมชนทำหน้าที่เป็นแนวกันชน (Buffer Zone) เพื่อป้องกันการขยายตัวของชุมชนเมืองอย่างไร้ทิศทาง (Urban Sprawl) และเพื่อคงสภาพชนบทและประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีวัตถุประสงค์ให้เป็นพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม ควบคุมการขยายตัวของชุมชน และรักษาคุณค่าของพื้นที่เกษตรกรรมตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในพื้นที่บริเวณรอบชุมชน ประกอบด้วย พื้นที่เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ เช่น ทำไร่ ทำนา ทำสวน หรือเลี้ยงสัตว์ และแม่น้ำ เป็นต้น และสามารถสร้างที่อาศัยได้เฉพาะบ้านเดี่ยว โดยมีข้อจำกัดเรื่องประเภทของอาคารซึ่งต้องไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่ ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการสร้างที่อยู่อาศัย หรือประกอบพาณิชยกรรมที่มีความหนาแน่น เช่น ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว อาคารชุด หอพัก คลังเชื้อเพลิง คลังวัตถุระเบิดที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัย เป็นต้น และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินริมฝั่งลำคลองหรือแหล่งน้ำสาธารณะ ยกเว้นคลองมะพลับให้มีที่ว่างตามแนวขนานริมฝั่งตามสภาพธรรมชาติของลำคลองหรือแหล่งน้ำสาธารณะ ไม่น้อยกว่า 6 เมตร สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการ ได้แก่ อุตสาหกรรมขนาดเล็กและอุตสาหกรรมขนาดกลาง เช่น การซ่อมรถยนต์ การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร หรือคลังสินค้า เป็นต้น 5. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน) - เป็นพื้นที่โล่งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ มีที่พักผ่อนหย่อนใจ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่สมบูรณ์ มีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น หนองขุดหล่ม และพื้นที่สาธารณประโยชน์ (ป่าชุมชน) เป็นต้น 6. ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก) - มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน เช่น โรงเรียนบ้านตาลพร้า และโรงเรียนศรีนคร โรงเรียนอนุบาลศรีนคร เป็นต้น 7. ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน) - มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่สถาบันศาสนาตามการใช้ที่ดินในปัจจุบัน เช่น วัดบ่อทองอุดมธรรม ศาลเจ้าศรีนคร เป็นต้น 8. ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน) - มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดินเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐบาลเพื่อการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เช่น โรงพยาบาลศรีนคร ที่ว่าการอำเภอศรีนคร สำนักงานเทศบาลตำบลศรีนคร การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสาขาย่อยอำเภอศรีนคร ศูนย์บริการคนพิการ เทศบาลตำบลศรีนคร และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลศรีนคร เป็นต้น 3. กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท 4. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณแนวถนนสาย ก 1 ถนนสาย ก 2 ถนนสาย ก 3 ถนนสาย ก 4 และถนนสาย ข ตามแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยให้ใช้ประโยชน์เพื่อกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้ 4.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ 4.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง 4.3 การเกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตร หรือไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่ 2. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านประกอบ จังหวัดสงขลา พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านประกอบ จังหวัดสงขลา พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลทับช้าง และตำบลประกอบ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีนโยบายและมาตรการในการพัฒนาเมืองเพื่อรองรับการเป็นด่านถาวรที่มีมาตรฐานสากลและพัฒนาชุมชนชายแดนให้เป็นชุมชนน่าอยู่ ส่งเสริมและพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินในชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่และสอดคล้องกับบทบาทชุมชนชายแดนบ้านประกอบ รวมทั้งการรักษาพื้นที่เกษตรกรรมและป่าไม้ โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น 10 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ที่ดินแต่ละประเภทนั้น ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แล้ว และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว สาระสำคัญของร่างประกาศ 1. กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลทับช้าง และตำบลประกอบ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินการคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมีนโยบายและมาตรการเพื่อจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายคมนาคมขนส่งและบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับและสอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ ดังต่อไปนี้ 1.1 พัฒนาเมืองเพื่อรองรับการเป็นด่านถาวรที่มีมาตรฐานสากลและพัฒนาชุมชนชายแดน 1.2 ส่งเสริมและพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินในชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่และสอดคล้องกับบทบาทของชุมชนชายแดนบ้านประกอบและการขยายตัวของชุมชนการค้า และการขนส่ง 1.3 พัฒนาการบริการทางสังคม การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ และสิ่งอำนวยความสะดวกให้เพียงพอและได้มาตรฐาน เพื่อให้เป็นชุมชนน่าอยู่และมีคุณภาพชีวิตที่ดี 1.4 อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งศาสนสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรมไทย 1.5 รักษาพื้นที่เกษตรกรรมและป่าไม้ 2. กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 10 ประเภท ดังนี้ ประเภท วัตถุประสงค์ 1. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) - เป็นพื้นที่โดยรอบชุมชนเดิมของตำบลทับช้าง และตำบลประกอบ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยเบาบาง มีการก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยได้ เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว และให้สร้างอาคารอยู่อาศัยประเภทอาคารชุดและอาคารอยู่อาศัยรวมได้บางบริเวณเพื่อรองรับแรงงานรวมทั้งให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อประกอบกิจการโรงแรมประเภท 1 และโรงแรมประเภท 2 ซึ่งเป็นโรงแรมขนาดเล็กได้บางบริเวณ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว นักธุรกิจ และผู้สัญจร โดยมีข้อจำกัดเรื่องความสูงและขนาดของอาคารซึ่งต้องไม่ใช่อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ 2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) - เป็นพื้นที่ตั้งอยู่ในชุมชนเดิมบ้านทับช้าง โดยเป็นพื้นที่ต่อเนื่องหรือล้อมรอบพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง และรองรับพื้นที่ต่อเนื่องกับย่านพาณิชยกรรม มีการก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว อาคารชุด หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม โดยมีข้อจำกัดเรื่องความสูงและขนาดของอาคารซึ่งต้องไม่ใช่อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ 3. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) - เป็นศูนย์กลางของพื้นที่และบริเวณโดยรอบของชุมชนเดิมของตำบลทับช้าง และตำบลประกอบมีวัตถุประสงค์ให้เป็นบริเวณประกอบพาณิชยกรรมธุรกิจการค้า ประกอบด้วยศูนย์การค้า ตลาด โรงมหรสพ โรงแรม สำนักงาน ศูนย์ประชุม และกำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากเพื่อรองรับกิจการดังกล่าว โดยมีข้อจำกัดเรื่องความสูงของอาคารเกี่ยวกับการอยู่อาศัยและ พาณิชยกรรมซึ่งต้องไม่ใช่อาคารสูง 4. ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) - มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาพื้นที่เกษตรกรรมให้ยังคงสภาพชนบทและประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำไร่ ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ 5. ที่ดินประเภทปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สีเขียวมีกรอบและเส้นทแยงสีน้ำตาล) - เป็นพื้นที่ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 6. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน) - เป็นที่ดินซึ่งเป็นของรัฐ และที่ดินของเอกชนซึ่งเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยที่ดินของรัฐมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวกันชนชายแดนและความมั่นคงของชาติ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือสาธารณประโยชน์ ส่วนที่ดินของเอกชนกำหนดให้ใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างจำกัด เช่น เกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการหรือสาธารณประโยชน์ 7. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้ (สีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีขาว) - เป็นพื้นที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ และพื้นที่ของเอกชนที่อยู่ในบริเวณดังกล่าว กรณีที่ดินของป่าไม้มีวัตถุประสงค์ให้ใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อการสงวนและคุ้มครอง ดูแลรักษาหรือบำรุงป่าไม้ สัตว์ป่า ต้นน้ำ ลำธาร และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ สำหรับที่ดินซึ่งเอกชนเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายกำหนดให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อให้สอดคล้องกับป่าไม้ โดยมีการผ่อนปรนให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการดำรงอยู่ได้ เช่น การอยู่อาศัย เกษตรกรรม โดยมีข้อจำกัดเรื่องขนาดพื้นที่อาคารเกี่ยวกับการอยู่อาศัยต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 300 ตารางเมตร หรือมีความสูงของอาคารไม่เกิน 6 เมตร 8. ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก) - มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน เช่น โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านประกอบ 9. ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน) - มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่สถาบันศาสนาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน เช่น วัด มัสยิด 10. ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ - มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดินเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐบาล เพื่อสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ และที่ตั้งของหน่วยงานของรัฐ เช่น โรงพยาบาล ด่านศุลกากร ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านประกอบ 3. กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ทั้งนี้ ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท 4. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณแนวถนนสาย ข 2 ถนนสาย ข 3 ถนนสาย ข 6 ถนนสาย ค 1 ถนนสาย ค 2 ถนนสาย ก ถนนสาย ข 1 ถนนสาย ข 4 และถนนสาย ข 5 ตามแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยให้ใช้ประโยชน์เพื่อกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้ 4.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ 4.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง 4.3 เกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตร หรือไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่ 3. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลหนองวัวซอ และตำบลหมากหญ้า อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา การดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินการคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีนโยบายและมาตรการในการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนหนองวัวซอให้เป็นชุมชนเกษตรกรรม การค้า การบริการทางสังคม ส่งเสริมและพัฒนาที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชน อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ศาสนสถานที่มีคุณค่าทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และประวัติศาสตร์ รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แล้วและคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว สาระสำคัญของร่างประกาศ 1. กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลหนองวัวซอ และตำบลหมากหญ้า อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินการคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม โดยมีนโยบายและมาตรการเพื่อจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายคมนาคมขนส่งและบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับและสอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ ดังต่อไปนี้ 1.1 ส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นชุมชนเกษตรกรรม การค้า และการบริการ 1.2 ส่งเสริมและพัฒนาการบริการทางสังคม การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ให้เพียงพอและได้มาตรฐาน 1.3 ส่งเสริมและพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชน 1.4 อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและศาสนสถานที่มีคุณค่าทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และประวัติศาสตร์ 1.5 อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้ ประเภท วัตถุประสงค์ 1. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) - เป็นพื้นที่ที่มีการกำหนดให้เป็นเขตพักอาศัยและรองรับ การขยายตัวของที่ดินสำหรับการอยู่อาศัยในอนาคตซึ่งมีการก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม โดยมีข้อจำกัดเรื่องความสูงและขนาดของพื้นที่อาคารอยู่อาศัยต้องไม่ใช่อาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่ ซึ่งที่ดินประเภทนี้ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณที่พักอาศัยและชุมชน ได้แก่ คลังน้ำมันเพื่อการจำหน่ายคลังก๊าซ ปิโตรเลียมเหลว สุสานและฌาปนสถาน สถานบริการ โดยในส่วนของโรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้ เช่น การทำขนมปังหรือขนมเค้ก การทำน้ำดื่ม โรงงานซ่อมเครื่องมือไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับใช้ในบ้านหรือใช้ประจำตัว 2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) - มีพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นเขตพักอาศัยต่อเนื่องจากพื้นที่เพื่อการพาณิชย์และที่อยู่อาศัย ซึ่งมีการก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม โดยมีข้อจำกัดเรื่องขนาดของพื้นที่อาคารอยู่อาศัยต้องไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ซึ่งที่ดินประเภทนี้ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณที่พักอาศัยและชุมชน ได้แก่ คลังน้ำมันเพื่อการจำหน่าย คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว สุสานและฌาปนสถาน จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม โดยในส่วนของโรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้ เช่น การคั่ว บด หรือป่นกาแฟ หรือการทำกาแฟผง โรงงานซ่อมรองเท้าหรือเครื่องหนัง การซ่อมแซมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบของยานดังกล่าว 3. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) - เป็นพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่ มีวัตถุประสงค์ให้เป็นบริเวณศูนย์กลางการประกอบพาณิชยกรรมของชุมชน ประกอบด้วย ตลาด ศูนย์การค้า สำนักงาน โรงแรม รวมทั้งกำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากเพื่อรองรับการประกอบกิจการดังกล่าว โดยการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่มีข้อจำกัดเรื่องขนาดพื้นที่และความสูงของอาคาร และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ ได้แก่ คลังน้ำมันเพื่อการจำหน่าย คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว สุสานและฌาปนสถาน ซึ่งยกเว้นกรณีเป็นการก่อสร้างแทนฌาปนสถานที่มีอยู่เดิม จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม โดยในส่วนของโรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้ เช่น โรงงานซ่อมรองเท้าหรือเครื่องหนัง โรงงานซ่อมเครื่องมือไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับใช้ในบ้านหรือใช้ประจำตัว การล้างหรืออัดฉีดยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ 4. ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) - เป็นบริเวณพื้นที่ส่วนใหญ่ของผังซึ่งเหมาะแก่การทำเกษตรกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เช่น การทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ การสงวนรักษาพื้นที่เกษตรกรรม และการส่งเสริมเศรษฐกิจการเกษตรซึ่งที่ดินประเภทนี้ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ ได้แก่ คลังน้ำมันเพื่อการจำหน่าย คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว โรงแรม จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบพาณิชยกรรม จัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย โดยในส่วนของโรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้ เช่น การต้ม นึ่ง หรืออบพืชหรือเมล็ดพืช การทำน้ำตาล ทรายแดง การบดหรือป่นเครื่องเทศ การผลิตประกอบ หรือซ่อมแซมตาข่าย แห หรืออวน และรวมถึงชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว 5. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน) - เป็นพื้นที่โล่งที่มีวัตถุประสงค์ในการกำหนดพื้นที่โล่งไว้เพื่อให้ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี ประกอบด้วยบริเวณหนองวัวซอ และหนองแวงยาว 6. ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก) - เป็นบริเวณพื้นที่โรงเรียนและสถานศึกษาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน ได้แก่ โรงเรียนหนองยางชุมพิทยาคม โรงเรียนบ้านโคกก่องหนองแวงยาว และโรงเรียนอนุบาลหนองวัวซอ 7. ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน) - มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่ซึ่งเป็นสถาบันศาสนาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน เช่น วัดบ้านหนองแวงยาง วัดป่าไชยมงคล วัดป่าสามัคคีธรรม 8. ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน) - มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดินเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐบาลเพื่อการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ และที่ตั้งของหน่วยงานของรัฐ เช่น โรงพยาบาลหนองวัวซอ สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอหนองวัวซอ สำนักงานการประปาส่วนภูมิภาค หน่วยงานบริการ 3. กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท 4. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณแนวถนนสาย ก ถนนสาย ข ตามแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยให้ใช้ประโยชน์เพื่อกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้ 4.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ 4.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง 4.3 เกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตร หรือไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่ 4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าเข้าชมและค่าบริการอื่นสำหรับโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้วและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าเข้าชมและค่าบริการอื่นสำหรับโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้วและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงบประมาณไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ สาระสำคัญ ร่างกฎกระทรวงที่ วธ. เสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดกำหนดค่าเข้าชมและค่าบริการอื่นสำหรับโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้วและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงอัตราค่าเช้าชม และค่าบริการอื่นสำหรับโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้วและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รวม 72 แห่ง โดยกำหนดอัตราค่าเช้าชมโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว ดังนี้ (1) โบราณสถานประเภทอุทยานประวัติศาสตร์ กำหนดอัตราค่าเข้าชมสำหรับบุคคลสัญชาติไทย คนละ 20 บาท และบุคคลสัญชาติอื่น คนละ 120 ? 200 บาท (จากเดิม 100 บาท) (2) โบราณสถานประเภทแหล่งโบราณคดีหรือสถานที่สำคัญ กำหนดอัตราค่าเข้าชมสำหรับบุคคลสัญชาติไทย คนละ 10 - 20 บาท และสำหรับบุคคลสัญชาติอื่น คนละ 80 ? 120 บาท (จากเดิม 50 - 100 บาท) และกำหนดอัตราค่าเช่าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ดังนี้ (1) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขนาดเล็ก กำหนดอัตราค่าเข้าชมสำหรับบุคคลสัญชาติไทย คนละ 10 บาท และสำหรับบุคคลสัญชาติอื่น คนละ 80 บาท (จากเดิม 50 บาท) (2) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขนาดกลาง กำหนดอัตราค่าเข้าชมสำหรับบุคคลสัญชาติไทย คนละ 10 - 20 บาท และสำหรับบุคคลสัญชาติอื่น คนละ 120 บาท (จากเดิม 50 - 100 บาท) (3) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขนาดใหญ่ กำหนดอัตราค่าเข้าชมสำหรับบุคคลสัญชาติไทย คนละ 20 - 30 บาท และสำหรับบุคคลสัญชาติอื่น คนละ 200 บาท (จากเดิม 100 ? 150 บาท) (4) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่มีผู้เข้าชมจำนวนมาก ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ กำหนดค่าเข้าชมสำหรับบุคคลสัญชาติไทย คนละ 30 บาท ส่วนค่าเข้าชมสำหรับบุคคลสัญชาติอื่น กำหนดไว้ คนละ 240 บาท รวมทั้งปรับปรุงบัญชีรายชื่อโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้วและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่จะเรียกเก็บค่าเข้าชม รวม 4 แห่ง ได้แก่ (1) โบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว (2) โบราณสถานวัดกุฎีดาว อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (3) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก และ (4) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ และยกเลิกการจัดเก็บค่าบริการเช่าหูฟังบรรยายภาษาต่างประเทศ โดยรายได้จากการจัดเก็บอัตราค่าเข้าชมและค่าบริการดังกล่าวก่อให้เกิดรายได้เข้าสู่กองทุนโบราณคดีซึ่งเป็นเงินนอกงบประมาณที่จัดตั้งขึ้นตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 อันเป็นการแบ่งเบาภาระด้านการเงินและการคลังของรัฐ ที่จะต้องจัดสรรเงินงบประมาณประจำปีมาใช้ในกิจการด้านนี้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยในหลักการ 5. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่อำเภอบ้านแหลม อำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอท่ายาง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่อำเภอบ้านแหลม อำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอ ท่ายาง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคมและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาต่อไปด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ร่างประกาศที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้พื้นที่อำเภอบ้านแหลม อำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอท่ายาง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นพื้นที่ที่ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีมาตรการแก้ไขและป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยกำหนดให้เขตอนุรักษ์และเขตควบคุมมลพิษเป็นเขตพื้นที่ที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และได้แบ่งพื้นที่ดังกล่าวออกเป็น 6 บริเวณเพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในแต่ละบริเวณ กำหนดมาตรการเกี่ยวกับโรงงานที่ต้องมีเครื่องจักรหรืออุปกรณ์เพื่อควบคุมมลพิษหรือแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมถึงกำหนดพื้นที่ว่างน้ำซึมผ่านได้ เป็นต้น ทั้งนี้ ร่างประกาศดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับเป็นระยะเวลา 5 ปี และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว สาระสำคัญของร่างประกาศ 1. กำหนดให้พื้นที่ที่ได้มีการกำหนดเขตอนุรักษ์และเขตควบคุมมลพิษของจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นเขตพื้นที่ที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ได้แก่ พื้นที่ภายในแนวเขตที่รับผิดชอบของคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดในเขตทะเลชายฝั่ง เว้นแต่พื้นที่เกาะทราย เกาะสะเดา และเกาะขี้นก ตำบล หัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และพื้นที่ภายในแนวเขตท้องที่อำเภอบ้านแหลม อำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอท่ายาง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน กับอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นเขตควบคุมมลพิษ 2. กำหนดเขตพื้นที่ที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 6 บริเวณ ดังนี้ 2.1 บริเวณที่ 1 ได้แก่ พื้นที่ตำบลบางตะบูน และตำบลบางตะบูนออก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี 2.2 บริเวณที่ 2 ได้แก่ พื้นที่ตำบลบ้านแหลม ตำบลบางขุนไทร ตำบลปากทะเล ตำบลบางแก้ว และตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี 2.3 บริเวณที่ 3 ได้แก่ พื้นที่ตำบลหาดเจ้าสำราญ และตำบลหนองขนาน อำเภอเมืองเพชรบุรี ตำบลปึกเตียน อำเภอท่ายาง ตำบลหนองศาลา และตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 2.4 บริเวณที่ 4 ได้แก่ พื้นที่เทศบาลเมืองชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และพื้นที่เทศบาลเมืองหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2.5 บริเวณที่ 5 ได้แก่ พื้นที่ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2.6 บริเวณที่ 6 ได้แก่ พื้นที่ภายในบริเวณตามข้อ 3 (1) 3. กำหนดให้พื้นที่ตามข้อ 2 จะต้องดำเนินการตามมาตรการเกี่ยวกับโรงงานโดยจำเป็นต้องมีเครื่องจักรหรืออุปกรณ์เพื่อควบคุมมลพิษหรือแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมถึงกำหนดพื้นที่ว่างน้ำซึมผ่านได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และต้องมีพื้นที่สีเขียวไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่น้ำซึมผ่านได้นั้นและต้องมีไม้ยืนต้นเป็นองค์ประกอบหลักด้วย ในพื้นที่ว่างตามที่กฎหมายควบคุมอาคารหรือกฎหมายผังเมืองกำหนดไว้ รวมทั้งห้ามกระทำการหรือประกอบกิจกรรม เช่น การทำเหมืองแร่ เว้นแต่เป็นการทำเหมืองแร่หินปูน หรือเหมืองแร่ดินซีเมนต์ หรือการทำเหมืองแร่ในพื้นที่เขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองตามแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ การขุด ตัก หรือดูด กรวด ดิน หินผุ ทราย หรือลูกรัง เพื่อการค้า การทำนาเกลือสมุทร เว้นแต่เป็นการทำในพื้นที่บริเวณที่ 2 และบริเวณที่ 3 และการกระทำใด ๆ ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางธรณีสัณฐานทางด้านกายภาพ ชีวภาพ หรือชีวกายภาพ ในพื้นที่สันทราย สันดอน หน้าผา ปากน้ำ 4. กำหนดให้พื้นที่บริเวณที่ 1 บริเวณที่ 2 บริเวณที่ 3 และบริเวณที่ 5 ทั้งนี้ เฉพาะในบริเวณที่วัดจากแนวชายฝั่งทะเลเข้าไปในแผ่นดินเป็นระยะ 200 เมตร และพื้นที่บริเวณที่ 4 ห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารใด ๆ ให้เป็นอาคารเลี้ยงสัตว์ทุกชนิดหรืออาคารเลี้ยงสัตว์ทุกชนิดเพื่อการค้า 5. กำหนดให้พื้นที่บริเวณที่ 1 บริเวณที่ 2 บริเวณที่ 3 บริเวณที่ 4 และบริเวณที่ 5 ห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารใด ๆ ให้เป็นอาคาร อาคารนกแอ่นกินรัง ท่าเทียบเรือ เว้นแต่ท่าเทียบเรือสาธารณะสำหรับเรือประมงขนาดต่ำกว่า 60 ตันกรอส ท่าเทียบเรือโดยสารเพื่อการท่องเที่ยวตามนโยบายของรัฐ ท่าเทียบเรือสำราญกีฬา และกิจการอู่ซ่อมเรือ 6. กำหนดให้พื้นที่บริเวณที่ 6 ห้ามกระทำการหรือประกอบกิจกรรม ได้แก่ การทำให้เกิดมลพิษ ขยะมูลฝอย สารแขวนลอย จากการเดินเรือ การจอดเรือ การขนส่งหรือการขนถ่าย ที่มีผลทำให้คุณภาพน้ำทะเลเสื่อมโทรม หรือเสียสภาพความเป็นธรรมชาติ ทำการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน (Seismic Wave) เว้นแต่การสำรวจโครงสร้างทางธรณีวิทยา และถมทะเลหรือที่ปากแม่น้ำ ปากคลองที่ติดกับชายฝั่งทะเล เว้นแต่เป็นความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของรัฐหรือประโยชน์สาธารณะ 7. กำหนดให้การก่อสร้างกำแพงติดแนวชายฝั่งทะเลทุกขนาด ต้องเสนอขอความเห็นจากจังหวัดเพชรบุรี หรือจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แล้วแต่กรณี เพื่อประกอบการขออนุญาตหรือขออนุมัติงบประมาณ และกำหนดให้การก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารเป็นโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม อาคาร อยู่อาศัยรวมตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด หรือหอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก ต้องติดตั้งหรือจัดให้มีบ่อดักไขมันและระบบบำบัดน้ำเสีย และบำบัดน้ำเสียให้ได้มาตรฐานตามกฎหมายกำหนดก่อนปล่อยลงสู่ท่อหรือทางน้ำสาธารณะ 8. กำหนดให้ในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ ก่อนการดำเนินโครงการ หรือประกอบกิจการ รวมทั้งขั้นตอนการขยายขนาดของโครงการหรือกิจการ ให้จัดทำและเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นหรือรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้วแต่กรณี ต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระเบียบปฏิบัติที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 9. กำหนดให้สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเพชรบุรีและสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ทำหน้าที่ดูแล ติดตาม ตรวจสอบ ประสาน และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบังคับใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงนี้ รวมทั้งจัดทำรายงานผลการดำเนินงานเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ตลอดจนประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และภาคประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เพื่อจัดทำแผนฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนำไปบรรจุในแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด หรือแผนงานและงบประมาณของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องต่อไป 10. กำหนดให้พื้นที่ที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม หากมีกฎหมายใดกำหนดมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเรื่องใดไว้โดยเฉพาะและเป็นมาตรการที่ไม่ต่ำกว่ามาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมหรือมีมาตรการที่ดีกว่าในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ให้เป็นไปตามมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น 11. กำหนดให้การกระทำ กิจกรรม หรือกิจการใดที่ต้องห้ามตามประกาศนี้ถ้าได้รับอนุญาตอยู่ ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการต่อไปได้จนกว่าจะสิ้นกำหนดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต หรือต่ออายุใบอนุญาตนั้น ทั้งนี้ ให้อนุญาตได้เฉพาะพื้นที่เดิมที่ได้รับอนุญาตไว้เท่านั้น และต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามที่ประกาศนี้กำหนด 12. กำหนดให้ร่างประกาศนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และมีระยะเวลาบังคับใช้ 5 ปี นับแต่วันที่ร่างประกาศนี้มีผลใช้บังคับ 6. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้ความเห็นของกระทรวงคมนาคมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ร่างประกาศที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ เป็นการปรับปรุงประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2560 ที่จะสิ้นสุดระยะเวลาการใช้บังคับในวันที่ 15 ธันวาคม 2567 เพื่อปรับปรุงการกำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน โดยกำหนดให้พื้นที่เขตอนุรักษ์ เขตผังเมืองรวม เขตควบคุมอาคาร และเขตควบคุมมลพิษในจังหวัดภูเก็ตเป็นเขตพื้นที่ที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และได้แบงพื้นที่ดังกล่าวออกเป็น 8 บริเวณ เพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในแต่ละบริเวณ อันเป็นการป้องกัน สงวน รักษา และคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม แหล่งธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมที่มีคุณค่าในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ตให้คงอยู่ได้อย่างสมดุลตามธรรมชาติเกิดความต่อเนื่อง และคงความสมบูรณ์ยั่งยืนต่อไปในอนาคต ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นชอบร่างประกาศดังกล่าว ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้ 1. กำหนดให้พื้นที่ที่ได้มีการกำหนดให้เป็นเขตอนุรักษ์ เขตผังเมืองรวม เขตควบคุมอาคาร และเขตควบคุมมลพิษในจังหวัดภูเก็ต เป็นเขตพื้นที่ที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ซึ่งระยะเวลาบังคับใช้ห้าปีนับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ 2. จำแนกเขตพื้นที่ที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม เป็น 8 บริเวณ ดังนี้ 2.1 บริเวณที่ 1 ได้แก่ พื้นที่ในบริเวณที่วัดจากแนวชายฝั่งทะเลรอบเกาะภูเก็ตเข้าไปในแผ่นดิน เป็นระยะ 50 เมตร รวมทั้งพื้นที่ในเกาะบริวารต่าง ๆ เว้นแต่พื้นที่บริเวณที่ 5 และบริเวณที่ 6 2.2 บริเวณที่ 2 ได้แก่ พื้นที่ในบริเวณที่วัดจากแนวเขตบริเวณที่ 1 เข้าไปในแผ่นดิน เป็นระยะ 150 เมตร เว้นแต่พื้นที่บริเวณที่ 5 และบริเวณที่ 6 2.3 บริเวณที่ 3 ได้แก่ พื้นที่ในบริเวณที่วัดจากแนวเขตบริเวณที่ 2 เข้าไปในแผ่นดิน เป็นระยะ 200 เมตร เว้นแต่พื้นที่บริเวณที่ 5 และบริเวณที่ 6 2.4 บริเวณที่ 4 ได้แก่ พื้นที่ในเขตเทศบาลนครภูเก็ต เว้นแต่พื้นที่บริเวณที่ 1 บริเวณที่ 2 บริเวณที่ 3 บริเวณที่ 5 และบริเวณที่ 6 โดยจำแนกพื้นที่ ดังนี้ (1) เขตอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม หรือย่านอาคารเก่า (2) เขตหนาแน่นมาก มีแนวเขตตามพื้นที่เขตเทศบาลนครภูเก็ตทั้งหมดยกเว้นบริเวณที่ 4 (1) และ (3) (3) เขตหนาแน่นสูงมาก 2.5 บริเวณที่ 5 ได้แก่ พื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 40 เมตร ถึง 80 เมตร 2.6 บริเวณที่ 6 ได้แก่ (1) พื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 80.01 เมตร ถึง 140 เมตร (2) พื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเกินกว่า 140.01 เมตร ขึ้นไป 2.7 บริเวณที่ 7 ได้แก่ พื้นที่ในเกาะภูเก็ตและเกาะบริวารต่าง ๆ นอกจากบริเวณที่ 1 ถึง บริเวณที่ 6 2.8 บริเวณที่ 8 ได้แก่ พื้นที่ทะเลรอบเกาะภูเก็ตและรอบเกาะบริวารต่าง ๆ 3. กำหนดให้การก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารใด ๆ ให้เป็นโรงงานทุกประเภทหรือทุกชนิดตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ในพื้นที่ตามข้อ 2 ต้องมีเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ เพื่อควบคุมมลพิษหรือแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด และในพื้นที่ว่างตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารหรือกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองกำหนด จะต้องมีที่ว่างน้ำซึมผ่านได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และมีพื้นที่สีเขียวไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่น้ำซึมผ่านได้ โดยมีไม้ยืนต้นเป็นองค์ประกอบหลัก 4. กำหนดหลักเกณฑ์การก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารในพื้นที่ตามข้อ 2 อาทิ ต้องมีระยะห่างจากแนวชายฝั่งทะเลไม่น้อยกว่า 20 เมตร หรือต้องมีระยะห่างจากแนวชายเกาะต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 20 เมตร ในกรณีที่เกาะนั้นไม่มีชายฝั่งทะเล ในพื้นที่บริเวณที่ 1 ในระยะ 30 เมตร ต่อจากพื้นที่ข้างต้น ให้ทำได้เฉพาะอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 6 เมตร และมีที่ว่างไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของที่ดินแปลงที่ขออนุญาต และในพื้นที่บริเวณที่ 2 ให้ทำได้เฉพาะอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 12 เมตร และต้องมีที่ว่างที่น้ำซึมผ่านได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ว่าง เป็นต้น 5. กำหนดมาตรการการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารในพื้นที่ลาดเชิงเขา ในพื้นที่ตามข้อ 2 ยกเว้นในบริเวณที่ 8 เช่น กำหนดให้พื้นที่ก่อสร้างอาคารต้องมีระยะเว้นจากยอดลาดชันหรือตีนลาดชัน กรณีลาดเชิงเขาสูงไม่เกิน 40 เมตร ให้มีระยะเว้นมากกว่า 1 เท่าของความสูงลาดเชิงเขา หรือกรณีลาดเชิงเขาสูงมากกว่า 40 เมตร ให้มีระยะเว้น อย่างน้อย 40 เมตร เป็นต้น 6. กำหนดมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ตามข้อ 2 โดยกำหนดห้ามกระทำการหรือประกอบกิจกรรมใด ๆ ที่อาจเป็นอันตรายหรือก่อให้เกิดผลกระทบในทางเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ ดังนี้ 6.1 ในพื้นที่ตามข้อ 2 เช่น 1) การทำเหมืองแร่ 2) การขนส่งหรือลำเลียงวัตถุอันตรายโดยใช้ระบบท่อขนส่ง 3) การทำอาคารนกแอ่นกินรัง 4) การถม ปรับพื้นที่ หรือปิดกั้นซึ่งทำให้แหล่งน้ำสาธารณะในแผ่นดินและแหล่งน้ำในขุมเหมืองสาธารณะตื้นเขิน 5) การปล่อยทิ้งของเสียหรือมลพิษลงสู่แหล่งน้ำหรือทะเล และ 6) การจับหรือครอบครองปลาสวยงามตามบัญชีท้ายประกาศนี้ เป็นต้น 6.2 ในพื้นที่บริเวณที่ 8 เช่น 1) การทำให้เกิดมลพิษจากการเดินเรือ 2) การเก็บ ทำลาย หรือกระทำด้วยประการใด ๆ ที่อาจเป็นอันตรายหรือมีผลกระทบต่อปะการัง ซากปะการัง หินปะการัง กัลปังหา หรือหญ้าทะเล 3) การสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน 4) การถมทะเลหรือที่ชายตลิ่งปากคลอง เป็นต้น 7. กำหนดให้ในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ ก่อนการดำเนินโครงการหรือประกอบกิจการ รวมทั้งขั้นตอนการขยายขนาดของโครงการหรือกิจการ ให้จัดทำและเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นหรือรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้วแต่กรณีต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระเบียบปฏิบัติที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 8. ให้สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดภูเก็ต ทำหน้าที่ดูแล ติดตาม ตรวจสอบ ประสาน และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบังคับใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามประกาศนี้ รวมทั้งจัดทำรายงานผลการดำเนินงานเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง 9. กำหนดให้พื้นที่ที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม หากมีกฎหมายใดกำหนดมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเรื่องใดไว้โดยเฉพาะและเป็นมาตรการที่ไม่ต่ำกว่ามาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมหรือมีมาตรการที่ดีกว่าในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ให้เป็นไปตามมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น 10. กำหนดให้การกระทำ กิจกรรม หรือกิจการใดที่ต้องห้ามตามประกาศนี้ ถ้าได้รับอนุญาตอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการต่อไปได้จนกว่าจะสิ้นกำหนดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตหรือต่ออายุใบอนุญาตนั้น และต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามที่กฎหมายหรือประกาศนี้กำหนดไว้ด้วย 7. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ร่างประกาศตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลคลองโยง ตำบลศาลายา ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล และตำบลหอมเกร็ด ตำบลทรงคนอง ตำบลบางเตย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนาพื้นที่ชุมชนพุทธมณฑลให้เป็นศูนย์กลางด้านการศึกษา การศาสนา พาณิชยกรรมและการบริการ การรองรับการตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยของประชากรและแรงงาน ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนด้วยการพัฒนาการผลิตทางด้านเกษตรกรรมแบบผสมผสาน การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม การชลประทานและการระบายน้ำ การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภคการสาธารณูปการ และการดำรงรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น 10 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังแสดงที่โล่งและกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง รวมทั้งกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภค และแผนผังแสดงผังน้ำ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แล้ว และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว สาระสำคัญของร่างประกาศ กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลคลองโยง ตำบลศาลายา ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล และตำบลหอมเกร็ด ตำบลทรงคนอง ตำบลบางเตย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ชุมชนพุทธมณฑลให้เป็นศูนย์กลางด้านการศึกษา การศาสนา พาณิชยกรรมและการบริการ การรองรับการตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยของประชากรและแรงงาน ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนด้วยการพัฒนา การผลิตทางด้านเกษตรกรรมแบบผสมผสาน การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม การชลประทานและการระบายน้ำ การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค การสาธารณูปการ และการดำรงรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1. กำหนดให้ผังเมืองรวมชุมชนพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีนโยบายและมาตรการเพื่อจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายคมนาคมขนส่งและบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับและสอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริม พัฒนาเศษฐกิจชุมชน และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ 1.1 ส่งเสริมบทบาทชุมชนเมืองหลักและรองให้เป็นศูนย์กลางการบริหาร การปกครอง การศึกษา การศาสนา พาณิชยกรรม อุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเกษตรกรรม ของชุมชนพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 1.2 ส่งเสริม ควบคุม และพัฒนาการเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งระหว่างพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้สอดคล้องกับการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจของจังหวัดนครปฐม และการพัฒนาพื้นที่บริเวณรอยต่อกับจังหวัดข้างเคียงในภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศ 1.3 ส่งเสริมการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนและระบบเศรษฐกิจ รองรับการพัฒนาจากกรุงเทพมหานคร 1.4 ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมภายในชุมชน และเชื่อมโยงสู่แหล่งท่องเที่ยวภายนอกพื้นที่อย่างเป็นระบบ พร้อมด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การท่องเที่ยว 1.5 ส่งเสริมและพัฒนาการบริการทางสังคม การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน 1.6 อนุรักษ์พื้นที่เกษตรกรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะคลองสำคัญซึ่งเป็นคลองระบายน้ำ รวมถึงพื้นที่เพาะปลูกข้าว และพืชเศรษฐกิจที่มีศักยภาพ 2. กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 10 ประเภท ดังนี้ ประเภท วัตถุประสงค์ 1. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) แบ่งเป็น 2 ย่านย่อย ดังนี้ 1.1 ที่ดินประเภท ย. 1 1.2 ที่ดินประเภท ย. 2 2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) แบ่งออกเป็น 2 ย่านย่อน ดังนี้ 2.1 ที่ดินประเภท ย. 3 2.2 ที่ดินประเภท ย. 4 3. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) 4. ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) แบ่งเป็น 2 ย่านย่อย ดังนี้ 4.1 ที่ดินประเภท ก. 1 4.2 ที่ดินประเภท ก. 2 5. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว) 6. ที่ดินประเภทปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สีเขียวมีกรอบและเส้นทแยงสีน้ำตาล) 7. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน) 8. ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก) 9. ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน) 10. ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน) - มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นพื้นที่รองรับการพัฒนาการอยู่อาศัยของชุมชนบริเวณพื้นที่ศูนย์กลางรองในพื้นที่เทศบาลตำบลคลองโยง ซึ่งมีการก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยได้หลายประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว รวมถึงโครงการจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย สำหรับการอยู่อาศัยประเภทอาคารชุด หอพัก และอาคารอยู่อาศัยรวมจะต้องตั้งอยู่ริมทางหลวงชนบท นฐ. 3004 และทางหลวงชนบทนฐ. 4031 เท่านั้น - มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการขยายตัวของการอยู่อาศัยที่มีสภาพแวดล้อมที่ดีบริเวณพื้นที่ศูนย์กลางหลักในบริเวณเทศบาลตำบลศาลายา เทศบาลตำบลคลองโยง องค์การบริหารส่วนตำบลศาลายา องค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย และองค์การบริหารส่วนตำบลทรงคนอง ซึ่งมีการก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยได้หลายประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว รวมถึงโครงการจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย สำหรับการอยู่อาศัยประเภทอาคารชุด หอพัก และอาคารอยู่อาศัยรวมจะต้องตั้งอยู่ริมทางหลวงชนบท นฐ. 3004 ทางหลวงชนบท นฐ. 4006 และทางหลวงชนบท นฐ. 5035 เท่านั้น - การใช้ประโยชน์ที่ดินทั้ง 2 ย่าน มีข้อจำกัดเรื่องความสูงของอาคารซึ่งต้องมีความสูงไม่เกิน 15 เมตรและห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณที่พักอาศัยและชุมชน ได้แก่ คลังน้ำมันเพื่อการจำหน่าย คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว สุสานและฌาปนสถาน โรงฆ่าสัตว์ ในส่วนของโรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้เป็นโรงงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการชุมชนซึ่งส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชนน้อย เช่น โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับอาหารจากแป้ง การทำไอศกรีม โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับน้ำแข็ง และโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับน้ำดื่ม เป็นต้น - มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการขยายตัวของประชากรและนักศึกษา บริเวณโดยรอบสถาบันการศึกษา บริเวณพื้นที่ศูนย์กลางรอง ในบริเวณเทศบาลตำบลคลองโยง ซึ่งมีการก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยได้ทุกประเภท ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว หอพัก อาคารชุด อาคารอยู่อาศัยรวม - มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการขยายตัวของประชากรและแรงงานจากการพัฒนาพื้นที่ศูนย์กลางหลัก และบริเวณเส้นทางคมนาคมสายหลัก กำหนดไว้ในบริเวณเทศบาลตำบลศาลายา องค์การบริหารส่วนตำบลศาลายา องค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย และองค์การบริหารส่วนตำบลทรงคนอง ซึ่งมีการก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยได้ทุกประเภท ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว หอพัก อาคารชุด อาคารอยู่อาศัยรวม และรองรับการให้บริการด้านการประชุมสัมมนา โดยให้สามารถสร้างศูนย์ประชุม และอาคารแสดงสินค้าหรือนิทรรศการได้บริเวณริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3414 - การใช้ประโยชน์ที่ดินทั้ง 2 ย่าน มีข้อจำกัดเรื่องความสูงของอาคารซึ่งต้องมีความสูงไม่เกิน 18 เมตรและไม่เกิน 23 เมตร ตามลำดับ และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณที่พักอาศัยและชุมชน ได้แก่ คลังน้ำมันเพื่อการจำหน่าย คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว สุสานและฌาปนสถาน โรงฆ่าสัตว์ โดยในส่วนของโรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้ เช่น โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับอาหารจากแป้ง การทำไอศกรีม โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับน้ำแข็ง และโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับน้ำดื่ม เป็นต้น - มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมหลักที่มีบทบาทการเป็นศูนย์กลางการค้าและบริการแก่ชุมชนในระดับอำเภอ โดยกำหนดไว้ในบริเวณย่านพาณิชยกรรมบริเวณศูนย์ชุมชนเทศบาลตำบลศาลายา องค์การบริหารส่วนตำบลศาลายา และองค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย เป็นพื้นที่ศูนย์กลางด้านพาณิชยกรรมของชุมชน รองรับการประกอบกิจกรรมทางธุรกิจ การค้าการบริการที่ให้บริการแก่ประชาชน ได้แก่ ตลาด ร้านค้า โรงแรม อาคารสำนักงาน โดยมีพื้นที่ที่จำกัด ขนาดอาคารคือ พื้นที่พาณิชยกรรมในบริเวณมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จะต้องไม่ใช่อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ ได้แก่ คลังน้ำมันเพื่อการจำหน่าย คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว สุสานและฌาปนสถาน โรงฆ่าสัตว์ โดยในส่วนของโรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้ เช่น โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับอาหารจากแป้ง การทำไอศกรีม โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับน้ำแข็ง และโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับน้ำดื่ม เป็นต้น - มีวัตถุประสงค์เพื่อการสงวนรักษาสภาพทางธรรมชาติของพื้นที่ชนบท พัฒนาเกษตรกรรม และรองรับการระบายน้ำบริเวณริมแม่น้ำนครชัยศรี ได้แก่ พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย องค์การบริหารส่วนตำบลทรงคนอง และองค์การบริหารส่วนตำบลหอมเกร็ด เนื่องจากเจตนารมณ์หลักให้เป็นพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรม ในส่วนของการอยู่อาศัยนั้น สำหรับพื้นที่นี้จะไม่ให้ก่อสร้างอาคารประเภทห้องแถว ตึกแถว บ้านแถวและอาคารประเภทอาคารชุด หอพัก หรืออาคารอยู่อาศัยรวม รวมถึงโครงการจัดสรรที่ดินเพื่ออยู่อาศัยด้วย - มีวัตถุประสงค์เพื่อการรักษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่ชนบท การพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจการเกษตร และรองรับกิจกรรมที่หลากหลายบริเวณชานเมืองที่ไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่เกษตรกรรม ในบริเวณเทศบาลตำบลคลองโยง องค์การบริหารส่วนตำบลศาลายา องค์การบริหารส่วนตำบลมหาสวัสดิ์ องค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย องค์การบริหารส่วนตำบลทรงคนอง และองค์การบริหารส่วนตำบลหอมเกร็ด เนื่องจากเจตนารมณ์หลักเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่รองรับการขยายตัวของพื้นที่ชุมชน - การใช้ประโยชน์ที่ดินมีข้อจำกัดเรื่องความสูงของอาคารซึ่งต้องมีความสูงไม่เกิน 12 เมตร เว้นแต่โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานตามประเภทและชนิดที่กำหนดให้ดำเนินการได้ตามบัญชีท้ายประกาศนี้และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ ได้แก่ คลังน้ำมันเพื่อการจำหน่าย คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลวจัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบพาณิชยกรรม โดยในส่วนของโรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้เป็นโรงงานที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรกรรม หรือผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ เช่น การเพาะเมล็ดหรือเปลือกเมล็ดพืช การสี ฝัดหรือขัดข้าว การทำอาหารผสมหรืออาหารสำเร็จรูปสำหรับเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น - มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่เกษตรกรรมพัฒนาเกษตรกรรมผสมผสาน แหล่งเรียนรู้ทางการเกษตรและการสงวนรักษาสภาพทางธรรมชาติของพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม โดยกำหนดไว้ในบริเวณพื้นที่สหกรณ์บ้านคลองโยง ในพื้นที่เทศบาลตำบลคลองโยง การใช้ประโยชน์ที่ดินมีข้อจำกัดเรื่องความสูงของอาคารซึ่งต้องมีความสูงไม่เกิน 9 เมตร และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ ได้แก่ คลังน้ำมันเพื่อการจำหน่าย คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบพาณิชยกรรม จัดสรรที่ดินเพื่ออยู่อาศัยโรงแรม เป็นต้น โดยในส่วนของโรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้เป็นโรงงานที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรกรรมหรือ ผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ เช่น การเพาะเมล็ดหรือเปลือกเมล็ดพืช การสี ฝัด หรือขัดข้าว การทำอาหารผสมหรืออาหารสำเร็จรูปสำหรับเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น - มีวัตถุประสงค์เพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม กำหนดขอบเขตพื้นที่ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในท้องที่ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2552 โดยมีเงื่อนไขการใช้ประโยชน์ที่ดินเรื่องความสูงของอาคารซึ่งต้องมีความสูงไม่เกิน 9 เมตร และมีที่ว่างตามแนวขนานริมเขตทางหลวงชนบท นฐ. 4006 ไม่น้อยกว่า 6 เมตร - มีวัตถุประสงค์เพื่อสงวนรักษาพื้นที่โล่งเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ นันทนาการของชุมชน และส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม รักษาสภาพแวดล้อมของลำคลองและแม่น้ำ เพื่อการระบายน้ำริมแหล่งน้ำสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำนครชัยศรี คลองมหาสวัสดิ์ คลองนราภิรมย์ คลองโยง และคลองชัยขันธ์ ซึ่งที่ดินบริเวณที่เป็นของเอกชนให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการนันทนาการ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การอยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว เกษตรกรรม หรือสาธารณประโยชน์เท่านั้น - สำหรับบริเวณริมคลองมหาสวัสดิ์ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรมของชุมชนได้ ซึ่งจะต้องไม่ใช่อาคารประเภทห้องแถว ตึกแถว และควบคุมขนาดพื้นที่อาคาร โดยต้องมีพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นของอาคารทุกหลังไม่เกิน 100 ตารางเมตร และบริเวณริมคลองมหาสวัสดิ์สามารถก่อสร้างอาคารศูนย์สาธิตและแสดงสินค้าของชุมชน ซึ่งมีพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นของอาคารทุกหลังไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร และมีการควบคุมความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตร - มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ศาลายา วิทยาลัยการอาชีพพุทธมณฑล เป็นต้น - มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่สถาบันศาสนาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินปัจจุบัน เช่น พุทธมณฑล วัดมหาสวัสดิ์ นาคพุฒาราม วัดสาลวัน วิดสิริวัฒนาราม เป็นต้น - มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดินเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐบาล เพื่อการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เช่น สำนักงานเทศบาลตำบลศาลายา สถานีตำรวจภูธรพุทธมณฑล ที่ว่าการอำเภอพุทธมณฑล โรงพยาบาลพุทธมณฑล ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นต้น 3. กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) และที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว) ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท 4. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังแสดงที่โล่ง ให้เป็นไปดังต่อไปนี้ 4.1 ที่โล่งประเภท ลน. เป็นพื้นที่เปิดโล่ง กำหนดไว้บริเวณพุทธมณฑล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสวนสาธารณะ นันทนาการ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือสาธารณประโยชน์ หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นตามข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภทไว้ในบริเวณนั้น 4.2 ที่โล่งประเภท ลม. เป็นพื้นที่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำ ลำคลอง ได้แก่ แม่น้ำนครชัยศรี คลองมหาสวัสดิ์ คลองนราภิรมย์ คลองโยง และคลองชัยขันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดให้เป็นที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมบริเวณริมลำคลองหรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นตามข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภทไว้ในบริเวณนั้น 5. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณแนวถนนสาย ก ถนนสาย ข 1 ถนนสาย ข 2 ถนนสาย ข 3 ถนนสาย ข 4 ถนนสาย ข 5 ถนนสาย ข 6 ถนนสาย ข 7 ถนนสาย ข 8 ถนนสาย ข 9 ถนนสาย ค 1 ถนนสาย ค 2 ถนนสาย ค 3 และถนนสาย ค 4 ห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น นอกจากกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้ 5.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ 5.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง 5.3 เกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตรหรือไม่ใช่อาคารขนาคใหญ่ 6. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภค ได้แก่ ที่ดินประเภท สบ. (สีม่วงลายจุด) จำนวน 1 บริเวณ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่เพื่อการก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสีย หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นตามข้อกำหนด การใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภทไว้ในบริเวณนั้น 7. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังแสดงผังน้ำในที่ดินบริเวณแนวคลองสาย คป. ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการระบายน้ำ การชลประทาน การคมนาคมขนส่งทางน้ำ การประมง การนันทนาการทางน้ำ และห้ามใช้ประโยชน์ เพื่อกิจการตามที่กำหนดดังต่อไปนี้ 7.1 การถมดิน 7.2 การสร้างสิ่งกีดขวางทางน้ำ นอกจากกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้ 7.2.1 อาคารบังคับน้ำเพื่อการระบายน้ำ การป้องกันและบรรเทาอุทกภัย ฝาย 7.2.2 การสร้างสะพาน 7.2.3 การวางท่อระบายน้ำ ท่อรวบรวมน้ำเสีย 7.2.4 การสูบน้ำดิบ และส่งจ่ายน้ำประปา 8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะและระบบความปลอดภัยของอาคารที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะและระบบความปลอดภัยของอาคารที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. .... ของกระทรวงมหาดไทย ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ สาระสำคัญ ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะและระบบความปลอดภัยของอาคารที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. .... ของกระทรวงมหาดไทย ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว เป็นร่างกฎกระทรวงที่คณะรัฐมนตรีเคยอนุมัติหลักการ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 โดยเป็นไปตามหลักการที่คณะรัฐมนตรีเคยมีมติซึ่งมีการแก้ไขเพิ่มเติมในรายละเอียดให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดลักษณะและระบบความปลอดภัยของอาคารที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับประเภทของอาคารที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรมในปัจจุบัน โดยกำหนดให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารที่จะใช้ประกอบธุรกิจโรงแรมต้องดำเนินการตามที่กำหนดในส่วนที่เกี่ยวกับโครงสร้างของโรงแรม ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย ระบบทางหนีไฟ ลักษณะภายในและภายนอกของอาคาร และการนำอาคารลักษณะพิเศษมาใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม เช่น เต็นท์ โครงสร้างแบบอัดอากาศ (bubble) รถพ่วงตู้คอนเทนเนอร์ บ้านต้นไม้ เป็นต้น เพื่อให้อาคารลักษณะพิเศษที่นำมาประกอบธุรกิจโรงแรมมีมาตรฐานของอาคารและความปลอดภัยอันจะทำให้ผู้ประกอบการ สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายว่าด้วยโรงแรม อันเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการและผู้ให้บริการสถานที่พักโดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ภาคธุรกิจขนาดย่อมและขนาดเล็กในเมืองท่องเที่ยวเมืองรองสามารถนำอาคารที่มีรูปแบบพิเศษอื่นมาประกอบธุรกิจโรงแรมได้ เพื่อให้ธุรกิจที่พักโรงแรมในประเทศไทยสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืนและเพื่อให้มีมาตรฐานและสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ใช้บริการ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ ประเด็น สาระสำคัญ 1. โครงสร้างหลัก บันได และวัสดุของอาคาร 1.1 โรงแรมต้องมีโครงสร้างหลักที่มีความมั่นคงแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้อย่างปลอดภัย โดยโรงแรมที่มีมากกว่า 3 ชั้นต้องมีโครงสร้างหลัก และผนังของอาคารที่ทำด้วยวัสดุถาวรที่เป็นวัสดุไม่ติดไฟ 1.2 กำหนดลักษณะของบันไดสำหรับโรงแรมลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ 1.2.1 โรงแรมตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป เช่น โรงแรมที่มีบันไดที่สูงเกิน 4 เมตร ต้องมีชานพักบันไดทุกช่วง 4 เมตร 1.2.2 โรงแรม 2 ชั้นที่มีจำนวนห้องพักในอาคารหลังเดียวกันไม่เกิน 10 ห้องและจำนวนผู้พักไม่เกิน 20 คน เช่น โรงแรมที่มีบันไดที่สูงเกิน 3 เมตร ต้องมีชานพักบันไดทุกช่วง 3 เมตร 2. ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย ระบบการจัดการอาคาร และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นที่เกี่ยวข้อง 2.1 กำหนดให้โรงแรมประเภทต่าง ๆ ต้องมีระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย (เช่น โรงแรมไม่เกิน 2 ชั้นที่มีจำนวนห้องพักในอาคารหลังเดียวกันไม่เกิน 10 ห้อง และมีพื้นที่อาคารไม่เกิน 300เมตร) เช่น ติดตั้งเครื่องดับเพลิงมือถือไม่น้อยกว่า 1 เครื่อง มีระยะการเข้าถึงไม่เกิน 22.50 เมตร และโรงแรมบางประเภท (เช่น โรงแรมที่เป็นอาคารสูงหรือขนาดใหญ่พิเศษหรือตั้งอยู่ในอาคารสูงหรืออาคารใหญ่พิเศษ) ต้องจัดให้มีระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยเพิ่มเติม เช่น มีที่เก็บน้ำสำรอง บันไดหนีไฟมีความลาดชันน้อยกว่า 60 องศา 2.2 กำหนดลักษณะเส้นทางหนีไฟของโรงแรม เช่น บันไดในเส้นทางหนีไฟต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 0.9 เมตร ช่องประตูในเส้นทางหนีไฟต้องมีความจุไม่น้อยกว่า 0.86 เมตร 2.3 กำหนดให้โรงแรมตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป ต้องมีป้ายบอกชั้นที่อยู่ใน ตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนตลอดเวลาในแต่ละชั้น 2.4 กำหนดให้โรงแรมต้องจัดให้มีระบบการจัดการอาคาร และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นตามประเภทของอาคารที่ใช้ประกอบกิจการ เช่น ระบบการจัดแสงสว่าง ตามที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) กำหนด เช่น แผงสวิตช์วงจรย่อยทุกแผงของระบบไฟฟ้าต้องต่อลงดิน) สิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา (ตามที่กฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เช่น ป้ายแสดงสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา ต้องมีความชัดเจนและมองเห็นได้ในเวลากลางวันและกลางคืน สัมผัสและรับรู้ได้) 3. พื้นที่ภายในอาคารและที่ว่างภายนอกอาคาร 3.1 กำหนดขนาดของห้องพักโรงแรมจะต้องมีขนาดที่เหมาะสม เช่น - ห้องพักไม่เกิน 1 คน มีขนาดไม่น้อยกว่า 6 ตารางเมตร - ห้องพักไม่เกิน 2 คน มีขนาดไม่น้อยกว่า 8 ตารางเมตร - ห้องพักรวมใช้อัตราส่วน 1 คนต่อ 3 ตารางเมตร (เตียงชั้นเดียว) 3.2 กำหนดระยะดิ่งของห้องพักของโรงแรมต้องไม่น้อยกว่า 2.6 เมตร โดยวัดจากพื้นถึงพื้น หรือวัดจากพื้นถึงยอดฝาหรือยอดผนังอาคารของชั้นใต้หลังคาสำหรับห้องพักที่อยู่ในโครงสร้างของหลังคาหรือผนังลาดเอียงต้องมีระยะดิ่งไม่น้อยกว่า 1.8 เมตร โดยวัดจากพื้นถึงเพดานหรือยอดฝาหรือยอดผนังอาคารตอนต่ำสุด 3.3 กำหนดลักษณะช่องทางเดินในโรงแรม เช่น ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร มีส่วนล้ำเข้ามาในช่องทางเดินแต่ต้องไม่เกิน 0.2 เมตร 3.4 กำหนดให้โรงแรมมีที่ว่างภายนอกอาคาร โดยไม่ต้องน้อยกว่า 10 ใน 100 ส่วนของพื้นที่ชั้นใดชั้นหนึ่งที่มากที่สุดของอาคาร 3.5 กำหนดจำนวนผู้พักในห้องพักรวม โดยให้โรงแรมที่มีห้องพักรวมให้มีผู้พักได้ไม่เกิน 40 คนต่อห้อง โดยจะต้องมีทางเดินในห้องพักรวมกว้างไม่น้อยกว่า 1.20 เมตร 3.6 กำหนดให้โรงแรมต้องจัดให้มีพื้นที่ภายในอาคารและที่ว่างภายนอกอาคาร 4. อาคารลักษณะพิเศษ 4.1 อาคารลักษณะพิเศษ เช่น เต็นท์ โครงสร้างแบบอัดอากาศ (bubble) ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ 4.1.1 วัสดุที่สร้างหรือนำมาประกอบต้องมีคุณสมบัติที่เกี่ยวกับการลามไฟเป็นไปตามที่รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมอาคารประกาศกำหนด 4.1.2 ต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือไม่น้อยกว่า 1 เครื่องต่อพื้นที่ใช้สอยรวมไม่เกิน 112 ตารางเมตร และมีระยะการเข้าถึงไม่เกิน 22.50 เมตร 4.1.3 ต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 25 ใน 100 ส่วนของพื้นที่ที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งอาคารและอาคารแต่ละหลังจะต้องมีระยะห่างระหว่างกันโดยรอบไม่น้อยกว่า 3 เมตร โดยวัดระยะห่างจากแนวสมอบกที่ยึดอาคารหรือส่วนริมสุดของอาคาร 4.1.4 ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับโครงสร้าง 4.1.5 ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับขนาดของห้องพัก 4.2 กำหนดอาคารลักษณะพิเศษ เช่น เต็นท์ รถหรือส่วนพ่วง รถไฟ ท่อคอนกรีตสำเร็จรูป ตู้คอนเทนเนอร์ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับขนาดห้องพักแต่ต้องมีอัตราส่วนพื้นที่ห้องพักต่อผู้พักไม่น้อยกว่า 3 ตารางเมตรต่อคน 4.3 กำหนดอาคารลักษณะพิเศษ บ้านต้นไม้ที่มีห้องพัก 1 ห้อง และมีผู้พักไม่เกิน 4 คน ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับบันได แต่ต้องมีบันไดหรือทางขึ้นลงที่เหมาะสมต่อสภาพการใช้งานและมีสิ่งป้องกันการตกที่ปลอดภัย 5. บทเฉพาะกาล 5.1 อาคารที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ใช้บังคับและไม่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ. ควบคุมการก่สร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 หรือ พ.ร.บ. ควบคุมการก่อสร้างในเขตเพลิงไหม้ พุทธศักราช 2476 และจะดัดแปลงหรือเปลี่ยนการใช้อาคารมาประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับที่ว่างภายนอกอาคาร ช่องทางเดินในอาคาร แนวอาคาร ระยะดิ่งของอาคาร ระยะหรือระดับระหว่างอาคารกับอาคาร หรือเขตที่ดินของผู้อื่น หรือระหว่างอาคารกับถนน ตรอก ซอย ทางเท้า ทางหรือที่สาธารณะ บันได และที่จอดรถยนต์ 5.2 อาคารที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ และจะดัดแปลงหรือเปลี่ยนการใช้อาคารมาประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ให้ใช้ข้อกำหนดเกี่ยวกับที่ว่างภายนอกอาคาร ช่องทางเดินในอาคาร แนวอาคาร ระยะดิ่งของอาคาร ระยะหรือระดับระหว่างอาคาร หรือเขตที่ดินของผู้อื่น หรือระหว่างอาคารกับถนน ตรอก ซอย ทางเท้า ทางหรือที่สาธารณะ บันได และที่จอดรถยนต์ ตามประเภทอาคารที่กฎหมายกำหนดในขณะที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารนั้น โดยอาคารที่จะดัดแปลงหรือเปลี่ยนการใช้อาคารมาประกอบธุรกิจโรงแรมดังกล่าวต้องไม่เป็นการเพิ่มพื้นที่อาคาร ไม่เพิ่มความสูงของอาคาร และไม่เพิ่มพื้นที่ปกคลุมดิน 9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดปัตตานี เป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดปัตตานีเป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ เป็นการกำหนดให้พื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดปัตตานี เป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ รวมทั้งกำหนดมาตรการคุ้มครอง เพื่อประโยชน์ในการสงวน การอนุรักษ์ และการฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลนให้คงสภาพธรรมชาติ และมีสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศที่มีความสมบูรณ์ ซึ่งพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ดังกล่าวมิได้อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า หรือมิได้อยู่ในกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดินของบุคคลใดซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้จัดประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ได้ข้อยุติตามคำสั่งรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุรรณ) แล้ว และได้แก้ไขเพิ่มเติมร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้แล้ว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบในหลักการร่างกฎกระทรวงดังกล่าว ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (28 กุมภาพันธ์ 2555) เกี่ยวกับแนวเขตในการดำเนินการตามร่างกฎกระทรวงเป็นแนวเขตที่สามารถเข้าดำเนินการได้ และไม่ทับซ้อนกับแนวเขตที่ได้มีการกำหนดไว้เป็นพื้นที่ดำเนินการตามกฎหมายอื่น และมติคณะรัฐมนตรี (22 มีนาคม 2565) โดยให้กระทรวงมหาดไทยตรวจสอบแผนที่ท้ายกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว พบว่า สอดคล้องกับคำบรรยายในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่ที่เกี่ยวข้องฉบับปัจจุบัน สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง กำหนดให้พื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดปัตตานี เป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ รวมทั้งกำหนดมาตรการคุ้มครอง เพื่อประโยชน์ในการสงวน การอนุรักษ์ และการฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลน ให้คงสภาพธรรมชาติและมีสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศที่มีความสมบูรณ์ ดังนี้ 1. กำหนดนิยาม 1.1 คำว่า ?ป่าชายเลนอนุรักษ์? หมายความว่า พื้นที่ที่ได้กำหนดให้ เป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ตามกฎกระทรวงนี้ 1.2 คำว่า ?ไม้? หมายความว่า ไม้ทุกชนิดทั้งที่เป็นต้น กอ หรือเถา ไม่ว่ายังยืนต้นหรือล้มลง และหมายความรวมถึง ราก ปุ่ม ตอ หน่อ กิ่ง ตา หัว เหง้า เศษ ปลายหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของไม้ ไม่ว่าจะถูกตัด ฟัน เลื่อย ผ่า ถาก ทอน ขุด หรือกระทำโดยวิธีอื่นใด 1.3 คำว่า ?ของป่า? หมายความว่า สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ในป่า เช่น ไม้ฟืน ถ่าน กก กระจูด ซากสัตว์ รังนก ดิน หิน เป็นต้น 1.4 คำว่า ?การเพาะพันธุ์พืช? หมายความว่า การปลูกเสริมพันธุ์พืชไม้ พื้นล่างป่าชายเลนที่ไม่ใช่พันธุ์ไม้ ซึ่งมุ่งประโยชน์จากเนื้อไม้เป็นหลัก เช่น พืชสมุนไพร พืชผัก พื้นบ้าน 1.5 คำว่า ?การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ? หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่จำเพาะ รวมทั้งการผสมพันธุ์ การอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน และการเลี้ยงเพื่อให้เติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นไปตามวิถีชีวิตดั้งเดิมของท้องถิ่นโดยไม่กระทบต่อสภาพธรรมชาติเดิม เช่น การเลี้ยงปู โดยใช้คอกไม้ไผ่ 2. กำหนดให้ท้องที่ต่าง ๆ ในตำบลท่ากำชำ ตำบลบางเขา ตำบลบางตาวา ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก ตำบลรูสะมิแล ตำบลบานา ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี ตำบลแหลมโพธิ์ ตำบลบางปู ตำบลยามู ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง ตำบลไม้แก่น ตำบลไทรทอง ตำบลดอนทราย อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี เป็นป่าชายเลนอนุรักษ์ตามแผนที่แนบท้ายนี้ 3. กำหนดให้ป่าชายเลนอนุรักษ์มีมาตรการดังนี้ 3.1 สงวน อนุรักษ์ คุ้มครอง ดูแล และรักษาทรัพยากรป่าชายเลน และสัตว์ป่าให้สมบูรณ์และสมดุลตามธรรมชาติ โดยให้มีการใช้ทรัพยากรป่าชายเลนอย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุดทางด้านเศรษฐกิจและสังคม 3.2 ฟื้นฟูและแก้ไขความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศในพื้นที่ป่าชายเลน 3.3 ควบคุม ป้องกัน และปราบปรามการทำลายป่าชายเลน 3.4 กำหนดมาตรการคุ้มครอง ห้ามดำเนินกิจกรรมใด ๆ ที่อาจเป็นอันตราย หรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรป่าชายเลน และการสงวน การอนุรักษ์ การฟื้นฟู การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าชายเลน รวมทั้งการใช้ประโยชน์ที่ดิน และมาตรการอื่น ๆ ตามที่เหมาะสม 4. กำหนดให้ภายในแนวเขตพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ห้ามกระทำการหรือประกอบกิจกรรม อาทิ ห้ามดำเนินกิจกรรม หรือกระทำการใด ๆ ที่อาจเป็นอันตราย หรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพป่าชายเลน ตามที่บัญญัติห้ามไว้ในกฎกมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติหรือกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ เว้นแต่เป็นการศึกษาวิจัยทางวิชาการ ห้ามนำวัตถุระเบิด อาวุธปืนหน้าไม้ เครื่องช็อตปลา เครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมายหรือยาเบื่อเมาทุกชนิดเข้าไปในพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ ห้ามดำเนินกิจกรรม หรือกระทำการใด ๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า เป็นต้น 5. กำหนดให้การบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนภายในแนวเขตพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ให้ดำเนินการ อาทิ ให้ชุมชนชายฝั่งที่ได้ขึ้นทะเบียนตามระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำแผนการบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนอนุรักษ์เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยครอบคลุมทั้งมิติทางด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมอย่างสมดุล การเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า หรือการเพาะพันธุ์พืช หรือการปลูกฟื้นฟูป่าชายเลนในพื้นที่เสื่อมโทรมและใช้ประโยชน์จากไม้ที่ปลูกขึ้นที่มิใช่ไม้หวงห้าม ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เป็นต้น 6. กำหนดให้กรณีเมื่อเกิดสาธารณภัย ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือกรณีฉุกเฉินจำเป็นเร่งด่วนซึ่งหากไม่ดำเนินการหรือยับยั้งภัยพิบัติดังกล่าวอาจส่งผลก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนหรือหน่วยงานของรัฐที่มีความร้ายแรงอย่างยิ่ง ให้ดำเนินการได้เท่าที่จำเป็นและให้รายงาน ทช. ทราบหลังจากได้ดำเนินการแล้วเสร็จ 7. กำหนดให้อธิบดีมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเจ้าหน้าที่ของ ทช. กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดในเขตป่าชายเลนอนุรักษ์ได้ เพื่อประโยชน์ในการควบคุม ดูแล รักษาหรือบำรุงป่าชายเลนอนุรักษ์ 8. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 หรือเจ้าหน้าที่ที่อธิบดีมอบหมาย ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายภายใต้กฎกระทรวงนี้ ภายในท้องที่รับผิดชอบ 9. กฎกระทรวงฉบับนี้มิให้ใช้บังคับแก่การดำเนินการเพื่อประโยชน์ในราชการของกองทัพเรือ 10. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558 จำนวน 5 ฉบับ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558 จำนวน 5 ฉบับ ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณา และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวง รวม 5 ฉบับ ที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว แต่โดยที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้แก้ไขเพิ่มเติมร่างกฎกระทรวงทั้ง 5 ฉบับ บางประการ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้ (1) กำหนดชนิดและประเภทของสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (2) กำหนดสิ่งมีชีวิตอื่นที่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ว่ามีประสาทรับรู้ถึงความเจ็บปวดเป็นสัตว์ (3) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาต คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาต และการขอรับใบแทนใบอนุญาตใช้หรือผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (4) กำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการใช้และผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์โดยอัตราค่าธรรมเนียมไม่เกินตามที่กฎหมายกำหนด โดย 1) ใบอนุญาตใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ฉบับละ 1,000 บาท 2) ใบอนุญาตผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ฉบับละ 1,000 บาท 3 ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ 100 บาท และ 4) การต่ออายุใบอนุญาต ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมใบอนุญาต และ (5) กำหนดงานที่ไม่เป็นงานทางวิทยาศาสตร์ การออกร่างกฎกระทรวงทั้ง 5 ฉบับ ในเรื่องนี้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558 เพื่อกำกับดูแลและส่งเสริมการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ให้สอดคล้องกับหลักจรรยาบรรณและมาตรฐานของสากล เพื่อคุ้มครองชีวิตและสวัสดิภาพของสัตว์ และส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการของประเทศ ตลอดจนส่งเสริมนักวิจัยให้มีผลงานอันเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ ซึ่งคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์พิจารณาแล้วเห็นชอบร่างกฎกระทรวงดังกล่าว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยแล้ว สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดชนิดและประเภทของสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. .... 1.1 กำหนดประเภทของสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ (1) สัตว์ทดลอง (2) สัตว์เลี้ยง (3) สัตว์จากธรรมชาติ 1.2 ชนิดของสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ตามประเภทในข้อ 1.1 ดังต่อไปนี้ (1) สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังซึ่งไม่ใช่มนุษย์ (ก) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในชั้นแมมมาเลีย (Class Mammalia) (ข) สัตว์ปีกในชั้นเอวิส (Class Aves) (ค) สัตว์เลื้อยคลานในชั้นเรปทิเลีย (Class Reptilia) (ง) สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในชั้นแอมฟิเบีย (Class Amphibia) (จ) สัตว์จำพวกปลาในชั้นพิสเซส (Class Pisces) (2) สิ่งมีชีวิตอื่นที่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ว่ามีประสาทรับรู้ถึงความเจ็บปวดตามที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นสัตว์ได้แก่ (ก) กุ้งในไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda) (ข) ปูในไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda) (ค) แมงในไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda) (ง) แมลงในไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda) (จ) หมึกในไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca) (ฉ) หอยในไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca) (ช) หนอนตัวกลมในไฟลัมนีมาโทดา (Phylum Nematoda) (ช) สัตว์อื่นที่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ว่ามีประสาทรับรู้ถึงความเจ็บปวด 2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นสัตว์ พ.ศ. .... กำหนดให้สิ่งมีชีวิตอื่นที่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ว่ามีประสาทรับรู้ถึงความเจ็บปวดดังต่อไปนี้เป็นสัตว์ (1) กุ้งในไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda) (2) ปูในไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda) (3) แมงในไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda) (4) แมลงในไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda) (5) หมึกในไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca) (6) หอย่ในไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca) (7) หนอนตัวกลมในไฟลัมนีมาโทดา (Phylum Nematoda) 3. ร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตใช้หรือผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. .... กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาต และการขอรับใบแทนใบอนุญาตใช้หรือผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้ 3.1 กำหนดให้การยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามกฎกระทรวงนี้ดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก 3.2 กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม เช่น ต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ได้รับประกาศนียบัตรการอบรมหลักสูตรผู้ใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ที่จัดหรือให้การรับรองโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติภายในระยะเวลาไม่เกินสี่ปีนับแต่วันที่ได้รับประกาศนียบัตร และไม่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต หรือไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น 3.3 กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ดำเนินการยื่นคำขอโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก และต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม เช่น มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีในด้านวิทยาศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์หรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องกับการสืบสายพันธุ์และการเพาะขยายพันธุ์สัตว์ และได้รับใบอนุญาตใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น 3.4 กำหนดให้ใบอนุญาตมีอายุสี่ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต 4. ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการใช้และผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. .... 4.1 กำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการใช้และผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้ (1) ใบอนุญาตใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ฉบับละ 1,000 บาท (2) ใบอนุญาตผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ฉบับละ 1,000 บาท (3) ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ 100 บาท (4) การต่ออายุใบอนุญาตครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมใบอนุญาตนั้น 4.2 กำหนดให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมตามข้อ 4.1 (1) และ (2) ที่ออกให้แก่บุคลากรของหน่วยงานของรัฐและบุคลากรของสถานศึกษาที่ยื่นขอรับใบอนุญาตเป็นครั้งแรก 5. ร่างกฎกระทรวงกำหนดงานที่ไม่เป็นงานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. .... กำหนดให้งานดังต่อไปนี้ไม่เป็นงานทางวิทยาศาสตร์ (1) งานประจำตามภารกิจของหน่วยงานของรัฐและสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติต่อสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์จากหรือในธรรมชาติแต่ละชนิดตามหน้าที่รับผิดชอบของหน่วยงานนั้น ๆ ทั้งนี้ ไม่หมายรวมถึง งานวิจัย งานทดสอบ งานผลิตชีววัตถุ งานสอน งานทดลอง การดัดแปลงพันธุกรรม การโคลนนิ่ง และการทำเซลล์ต้นกำเนิด ที่มีการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (2) งานตรวจวินิจฉัยเพื่อการจัดการสุขภาพสัตว์และ/หรืองานนิติวิทยาศาสตร์ (3) ฝึกอบรม สัมมนา สาธิต หรือประชุมทางวิชาการที่มีการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของสถานที่ดำเนินการ ของผู้รับผิดชอบการจัดงานหรือสถาบันพัฒนาการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (4) งานสอนที่มีการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรของสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา 11. เรื่อง รายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรา 165 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ในช่วงระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน 2566 คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ รายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรา 165 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ในช่วงระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน 2566 ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. ได้ดำเนินการร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1. พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2565 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป หรือตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2565 โดยมาตรา 165 บัญญัติให้ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (ภายในวันที่ 16 ตุลาคม 2567) ให้ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเชิญผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและหัวหน้าหน่วยงานที่รับผิดชอบปฏิบัติการตามกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาร่วมกันพิจารณา เพื่อดำเนินการให้หน่วยงานดังกล่าวรับผิดชอบในการป้องกันและปราบปราม การสืบสวนและการสอบสวนการกระทำผิดความผิดเกี่ยวกับกฎหมายนั้น ๆ ทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่จะได้ตกลงกัน โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพและการบูรณาการในการปฏิบัติหน้าที่และการแบ่งเบาภารกิจของ ตช. และให้สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานความคืบหน้าต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบทุกสามเดือน 2. คณะรัฐมนตรีมีมติ (30 พฤษภาคม 2566) รับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรา 165 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 โดยในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม 2565-มีนาคม 2566 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้หารือร่วมกับ ทส. และกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) ตช. ในเบื้องต้นมีความเป็นไปได้ในการถ่ายโอนภารกิจจาก ตช. ไปยัง ทส. เพื่อรับผิดชอบงานการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อแบ่งเบาภารกิจของ ตช. 3. ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (นายวิษณุ เครืองาม) ได้เป็นประธาน ในการประชุมหารือร่วมกันระหว่าง ทส. ตช. สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2566 ได้ข้อยุติร่วมกันในการกำหนดความรับผิดชอบในการป้องกันและปราบปราม การสืบสวน และการสอบสวนการกระทำความผิดเกี่ยวกับกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนี้ 3.1 การกำหนดบทบาทภารกิจ ขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ ในการป้องกันและปราบปราม การสืบสวน และการสอบสวนการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3.1.1 การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจหลัก 5 ภารกิจ ได้แก่ (1) ภารกิจด้านการป้องกัน (2) ภารกิจด้านการปราบปราม (3) ภารกิจด้านการสืบสวน (ก่อนการจับกุม) (4) ภารกิจด้านการจับกุม และ (5) ภารกิจด้านการสอบสวน โดยมีรายละเอียดกิจกรรม ดังนี้ ภารกิจหลัก กิจกรรม (1) ภารกิจด้านการป้องกัน - ฝึกอบรมให้ความรู้ - รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ - พัฒนาเครือข่ายในพื้นที่ (2) ภารกิจด้านการปราบปราม - ลาดตระเวน สำรวจพื้นที่ - ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด - ตรวจสอบติดตามสถานประกอบการ - ตรวจสอบการนำเข้าส่งออก (3) ภารกิจด้านการสืบสวน (ก่อนการจับกุม) - รวบรวมพยานหลักฐานการกระทำความผิด - ขยายผลการกระทำความผิด - พัฒนาระบบเครือข่ายฐานข้อมูลผู้กระทำผิด (4) ภารกิจด้านการจับกุม จำแนกเป็น 2 กรณี ประกอบด้วย 1) กรณีพบผู้กระทำความผิด - จับกุม ยึด อายัด - เก็บรักษาของกลาง - จัดทำบันทึกการตรวจยึด/จับกุม - แจ้งความดำเนินคดี 2) กรณีไม่พบผู้กระทำความผิด - ร้องทุกข์กล่าวโทษ - การรวบรวมข้อมูลหลักฐาน เพื่อขอออกหมายจับ (5) ภารกิจด้านการสอบสวน - สอบสวน - สืบสวน สอบปากคำ - รวบรวมข้อมูลเอกสารและพยาน หลักฐาน - จัดทำสำนวน - จัดทำความเห็นควรสั่งฟ้อง/เห็นควรไม่ฟ้อง 3.1.2 ให้ตัดโอนภารกิจด้านการป้องกัน การปราบปราม การสืบสวน (ก่อนการจับกุม) และการจับกุมให้ ทส. โดยให้ตำรวจช่วยดำเนินการในกรณีปฏิบัติการในภารกิจฉุกเฉิน เร่งด่วน หรือปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง 3.1.3 ภารกิจด้านการสอบสวน ตำรวจยังคงรับผิดชอบเช่นเดิม 3.1.4 การตัดโอนภารกิจ (ตามข้อ 3.1.2) สามารถกระทำได้ตามกรอบกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 8 ฉบับ ซึ่งให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการร่วมกับตำรวจในการป้องกัน ปราบปราม สืบสวน (ก่อนจับกุม) และการจับกุม ส่วนกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีก 5 ฉบับ ซึ่งให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา โดย ทส. ไม่มีอำนาจในการปราบปรามและจับกุม จึงยังคงอยู่ในความรับผิดชอบของตำรวจ ดังนั้น ในระยะต่อไปควรจะต้องศึกษาความจำเป็นในการตัดโอนภารกิจเหล่านี้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ กฎหมาย มาตราที่บัญญัติอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย กฎหมายที่ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1. พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 64 2. พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 มาตรา 73 3. พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 26 4. พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 39 5. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 มาตรา 85 6. พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 มาตรา 25 7. พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. 2545 มาตรา 16 8. พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. 2558 มาตรา 12 กฎหมายที่ ทส. ไม่มีอำนาจในการปราบปรามและจับกุม 1. พระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535 มาตรา 22 2. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 85 3. พระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 มาตรา 32 4. พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. 2551 มาตรา 52 5. พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 มาตรา 82 3.2 ที่ประชุมมีมติให้หน่วยงานดำเนินการ ดังนี้ 3.2.1 ทส. 3.2.1.1 ตัดโอนภารกิจการป้องกัน การปราบปราม การสืบสวน (ก่อนการจับกุม) และการจับกุมการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จาก ตช. ภายใต้กรอบกฎหมาย จำนวน 8 ฉบับข้างต้น ทั้งนี้ ยังคงให้ตำรวจช่วยดำเนินการในกรณีปฏิบัติการภารกิจฉุกเฉิน เร่งด่วน หรือปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง 3.2.1.2 จัดทำแนวปฏิบัติการทำงานสำหรับเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน ภายใน 1 เดือน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ รวมทั้งพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพ และปรับปรุงกระบวนงานตามกฎหมาย ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนฐานศักยภาพของ ทส. ที่มีอยู่เดิม ทั้งนี้ เมื่อ ทส. ดำเนินการตามแนวปฏิบัติดังกล่าว ให้สำนักงาน ก.พ.ร. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีตามรอบระยะเวลาตามมาตรา 165 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ต่อไป 3.2.1.3 ศึกษาความเป็นไปได้และความเหมาะสมในการตัดโอนภารกิจเพิ่มเติมภายใต้กรอบกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 5 ฉบับ โดย ทส. ร่วมกับสำนักงาน ก.พ.ร. และ สคก. จะศึกษาความเป็นไปได้และประเมินความพร้อมในการตัดโอนต่อไป 3.2.2 ตช. ปรับโครงสร้างและอัตรากำลังของ บก.ปทส. สังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ตช. เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่ลดลง และเกลี่ยอัตรากำลังพลไปปฏิบัติงานในภารกิจที่ขาดแคลนและมีความจำเป็นเร่งด่วน เช่น การป้องกันและปราบปรามคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี การป้องกันและปราบปรามคดีอาชญากรรมในพื้นที่ เพื่อแบ่งเบาภารกิจของ ตช. และให้ ตช. เตรียมการตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อยุบหรือเปลี่ยนแปลงกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกัน 12. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดเพชรบุรี เป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดเพชรบุรี เป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ เป็นการกำหนดให้พื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดเพชรบุรี เป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ รวมทั้งกำหนดมาตรการคุ้มครอง เพื่อประโยชน์ในการสงวน การอนุรักษ์และการฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลนให้คงสภาพธรรมชาติและมีสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศที่มีความสมบูรณ์ เนื้อที่ประมาณ 9,534 ไร่ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมิได้อยู่ในเขตอุทยานแหง่ชาติหรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า หรือมิได้อยู่ในกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดินของบุคคลใดซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐและเพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาพื้นที่ดำเนินการทับซ้อนกับแนวเขตที่ได้กำหนดไว้ตามกฎหมายอื่น และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ได้ข้อยุติตามมติคณะรัฐมนตรี (28 กุมภาพันธ์ 2555) แล้ว และคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติได้เห็นชอบด้วยแล้ว ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (28 กุมภาพันธ์ 2555) เกี่ยวกับแนวเขตในการดำเนินการตามร่างกฎกระทรวงเป็นแนวเขตที่สามารถเข้าดำเนินการได้ และไม่ทับซ้อนกับแนวเขตที่ได้มีการกำหนดไว้เป็นพื้นที่ดำเนินการตามกฎหมายอื่น และมติคณะรัฐมนตรี (22 มีนาคม 2565) โดยให้กระทรวงมหาดไทยตรวจสอบแผนที่ท้ายกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว พบว่า สอดคล้องกับคำบรรยายในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่ที่เกี่ยวข้องฉบับปัจจุบัน ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดเพชรบุรี เป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้ 1. กำหนดนิยามคำว่า ?ป่าชายเลนอนุรักษ์? ?ไม้? ?ของป่า? ?การเพาะพันธุ์พืช? และ ?การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ? 2. กำหนดให้ท้องที่ต่าง ๆ ในตำบลบางตะบูนออก ตำบลบ้านแหลม ตำบลบางขุนไทร ตำบลปากทะเล ตำบลบางแก้ว ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นป่าชายเลนอนุรักษ์ตามแผนที่แนบท้ายนี้ 3. กำหนดให้ป่าชายเลนอนุรักษ์มีมาตรการสงวน อนุรักษ์ คุ้มครอง ดูแลและรักษาทรัพยากรป่าชายเลน และสัตว์ป่าให้อุดมสมบูรณ์และสมดุลตามธรรมชาติ โดยให้มีการใช้ทรัพยากรป่าชายเลนอย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุดทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ฟื้นฟูและแก้ไขความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศในพื้นที่ป่าชายเลน ฯลฯ 4. กำหนดให้พื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ห้ามกระทำการใด ๆ ที่อาจเป็นอันตรายหรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพป่าชายเลน เช่น ห้ามนำวัตถุระเบิด อาวุธปืน หน้าไม้ เครื่องช็อตปลา เครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมายหรือยาเบื่อเมาทุกชนิดเข้าไปในพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ ห้ามถมปรับสภาพ หรือปิดกั้นทางน้ำ หรือแหล่งน้ำในพื้นที่ที่มีผลทำให้ตื้นเขินหรือเปลี่ยนทางน้ำ หรือทำให้น้ำไม่อาจไหลได้ตามธรรมชาติ ห้ามปล่อยทิ้งมลพิษ น้ำเสีย ของเสีย ขยะ ห้ามขุดหาหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งเพรียงเลือดหรือซากของเพรียงเลือด ห้ามขุดล้อม เคลื่อนย้ายทำให้ต้นตะบัน ลำแพนหิน และหงอนไก่ใบเล็กได้รับความเสียหาย หรือเป็นอันตราย ห้ามมิให้ผู้ใดล่า นกแต้วแร้วป่าโกงกาง นกชายเลนปากช้อน นกหัวโตมลายู และนกซ่อมทะเลอกแดง ตลอดจนเก็บ ทำอันตราย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งรัง และไข่ ฯลฯ 5. กำหนดให้มีมาตรการในการสงวน การอนุรักษ์ การฟื้นฟู ฯลฯ ดังนี้ 5.1 การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือเพาะพันธุ์พืช หรือการปลูกฟื้นฟูป่าชายเลนในพื้นที่เสื่อมโทรมและใช้ประโยชน์จากไม้ที่ปลูกขึ้นที่มิใช่ไม้หวงห้าม ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ มิให้ใช้บังคับกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือได้รับใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการประมง โดยจะต้องดำเนินการไม่ให้มีผลกระทบกระเทือนต่อระบบนิเวศตามธรรมชาติของพื้นที่ป่าชายเลนเกินสมควร ตามกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง 5.2 การขุดลอกร่องน้ำทางเดินเรือ ลำคลอง เพื่อการอนุรักษ์ การฟื้นฟู การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าชายเลนและที่ดินในเขตป่าชายเลนในพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์เฉพาะในกรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง การขุดแพรกช่วยการเจริญเติบโตของไม้ป่าชายเลน การป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง การจัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน หรือศูนย์เรียนรู้ป่าชายเลนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 5.3 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อการอนุรักษ์ให้สมาชิกชุมชนชายฝั่งที่ได้รับการรับรองจากชุมชนชายฝั่งที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว สามารถยื่นขอรับหนังสือรับรองและบัตรสมาชิกเป็นผู้นำเที่ยวเชิงนิเวศในป่าชายเลนอนุรักษ์ โดยต้องคำนึงถึงความสามารถในการรองรับของพื้นที่และต้องไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศตามธรรมชาติ 5.4 การเก็บหาของป่าในพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ เพื่อประโยชน์ในการใช้สอยบริโภคในครัวเรือนของตนสามารถกระทำได้ โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น การเก็บเศษไม้เพื่อทำฟืน เก็บหวาย (หวายลิง/หวายพังกา) เก็บเถาวัลย์ เก็บในจาก กก กระจูด เก็บผลไม้ (มะพลับ/ลูกจาก) เก็บผักพื้นบ้าน (ยอดชะคราม/ต่อไส้/ลำพู/ลำแพน/ยอดผักเบี้ยทะเล) เก็บสมุนไพร (ขลู่/เหงือกปลาหมอทะเล/มะนาวผี/ผลตะบูน) เก็บของป่าอื่น ๆ (รังผึ้ง/อุงหรือชันโรง) 6. ในกรณีเมื่อเกิดสาธารณภัยตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยหรือกรณีฉุกเฉินจำเป็นเร่งด่วนซึ่งหากไม่ดำเนินการหรือยับยั้งภัยพิบัติดังกล่าว อาจส่งผลก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชน หรือหน่วยงานของรัฐที่มีความร้ายแรงอย่างยิ่งให้ได้รับยกเว้น โดยให้ดำเนินการได้เท่าที่จำเป็นและให้รายงานกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทราบหลังจากได้ดำเนินการแล้วเสร็จ 7. กำหนดให้อธิบดีมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดในเขตป่าชายเลนอนุรักษ์ได้ เพื่อประโยชน์ในการควบคุม ดูแล รักษาหรือบำรุงป่าชายเลนอนุรักษ์ 8. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 หรือเจ้าหน้าที่ที่อธิบดีมอบหมายปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายภายใต้กฎหมายกระทรวงนี้ ภายในท้องที่รับผิดชอบ 9. กำหนดให้กฎกระทรวงฉบับนี้มิให้ใช้บังคับแก่การดำเนินการเพื่อประโยชน์ในราชการของกองทัพเรือ เศรษฐกิจ-สังคม 13. เรื่อง รายงานผลการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลรุ่น LB236A คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอรายงานผลการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลรุ่น LB236A ที่ครบกำหนดในวันที่ 16 มิถุนายน 2566 [เป็นการดำเนินการตามพระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. 2545 (พระราชกำหนดช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) มาตรา 6 ที่บัญญัติให้ในการกู้เงินแต่ละคราวต้องรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายในหกสิบวันนับตั้งแต่วันทำสัญญากู้หรือวันออกพันธบัตรหรือตราสารอื่น] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. พันธบัตรรัฐบาลรุ่น LB236A ที่ออกภายใต้พระราชกำหนดช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง ที่ครบกำหนดในวันที่ 16 มิถุนายน 2566 มีวงเงินที่ครบกำหนดสูง จำนวน 98,163 ล้านบาท ซึ่ง กค. ได้กู้เงินล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลดังกล่าว จำนวน 63,340 ล้านบาท เพื่อลดความเสี่ยงในการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว1 ส่วนการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลรุ่น LB236A ที่ออกภายใต้พระราชกำหนดช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง ส่วนที่เหลือ กค. ได้กู้เงินระยะยาวโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวนรวม 34,823 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดการกู้เงินเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน (พระราชกำหนดช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดังนี้ ครั้งที่ วันที่ประมูล วันที่เบิกเงินกู้ อายุ วงเงิน (ล้านบาท) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) 2 1 มิถุนายน 2566 16 มิถุนายน 2566 2 ปี 20,000 BIBOR 6M2 + 0.01223 3 1 มิถุนายน 2566 16 มิถุนายน 2566 4 ปี 14,823 BIBOR 6M2 + 0.03890 2. กค. ได้ออกประกาศ กค. เกี่ยวกับผลการกู้เงินเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน (พระราชกำหนดช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 เพื่อลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วยแล้ว3 1 คณะรัฐมนตรีมีมติ (21 กุมภาพันธ์ และ 25 เมษายน 2566) รับทราบรายงานผลการกู้เงินล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลรุ่น LB236A เมื่อวันที่ 13 มกราคม และ 17 มีนาคม 2566 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ และ 27 เมษายน 2566 2 BIBOR 6M หมายถึง อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นตลาดกรุงเทพ ระยะ 6 เดือน ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย 3 กค. ได้ส่งประกาศ กค. เรื่อง ผลการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ฯ ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีดำเนินการเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายในวันที่ 14 สิงหาคม 2566 แล้ว 14. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงาน ฐานะทางการเงิน และงบการเงินของกองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอรายงานผลการดำเนินงาน ฐานะทางการเงิน และงบการเงินของกองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ (กองทุนฯ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ตรวจสอบรายงานการเงินแล้วเห็นว่า ถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่ กค. กำหนด (เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 36/17 วรรคสอง บัญญัติให้เมื่อสิ้นปีให้กองทุนฯ รายงานผลการดำเนินงาน ฐานะทางการเงินของกองทุนฯ และงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีรับรองแล้วต่อคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อเสนอรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2555-2565 กองทุนฯ ได้บริหารเงินที่ได้รับจากการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ วงเงินรวม 1,115,688.16 ล้านบาท และได้รับผลตอบแทนเพื่อให้ กค. นำไปสมทบการชำระหนี้ จำนวน 6,718.77 ล้านบาท ทั้งนี้ กค. ยังไม่มีการกู้เงินเพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ จึงไม่มีการส่งมอบเงินดังกล่าวให้กองทุนฯ ทั้งนี้ กองทุนฯ ได้รับการประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียนจากกรมบัญชีกลางตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 และได้รายงานผลการดำเนินงาน ฐานะทางการเงิน และงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีรับรองแล้วต่อกรมบัญชีกลางทุกปี โดยกรมบัญชีกลางได้รวบรวมและจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมของทุนหมุนเวียนเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบตามพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 2. ผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประกอบด้วย 2.1 การบริหารเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ กองทุนฯ ได้บริหารเงินที่ได้รับจากการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลรุ่น LB226A จำนวน 58,466.80 ล้านบาท ระยะเวลาในการบริหารจัดการลงทุน 104 วัน (ระหว่างวันที่ 4 มีนาคม-16 มิถุนายน 2565) โดยกองทุนฯ ฝากเงินไม่เกินร้อยละ 40 คิดเป็น 23,381.11 ล้านบาท และมอบหมายให้ผู้บริหารสินทรัพย์ 4 ราย ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนไทยพาณิชย์ จำกัด และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด บริหารจัดการไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 คิดเป็น 35,085.69 ล้านบาท โดยเมื่อสิ้นสุดการลงทุน ณ วันที่ 16 มิถุนายน 2565 กองทุนฯ ได้รับผลตอบแทนจากการฝากเงินรวมจำนวน 23.17 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.61 ต่อปี และได้รับผลตอบแทนจากการบริหารเงินของผู้บริหารสินทรัพย์ รวมจำนวน 22.23 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.39 ต่อปี รวมเป็นเงินจำนวน 45.40 ล้านบาท คิดเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยร้อยละ 0.48 ต่อปี และกองทุนฯ ได้ส่งคืนเงินต้นและผลตอบแทนให้ กค. นำไปชำระหนี้ครบถ้วนและทันตามเวลาที่กำหนด 2.2 การประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน ประจำปีบัญชี 2565 กองทุนฯ มีผลประเมิน 4.9675 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน สูงกว่าปี 2564 ที่ได้รับผลประเมิน 4.9450 คะแนน 3. ฐานะทางการเงินของกองทุนฯ สตง. ได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่า รายงานการเงินดังกล่าวแสดงฐานะการเงินของกองทุน ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 และผลการดำเนินงานสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกัน โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่ กค. กำหนด 15. เรื่อง รายงานสรุปผลการประชุมหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงาน ก.พ. เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาบุคลากรทางการแพทย์ คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอรายงานสรุปผลการประชุมหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และสำนักงาน ก.พ. เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาบุคลากรทางการแพทย์ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1. ปัจจุบันปรากฏข่าวสารในสื่อสังคม (Social Media) ต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาการลาออกของบุคลากรทางการแพทย์ของ สธ. ซึ่งสำนักงาน ก.พ. และ สธ. ได้รับรู้ปัญหาเชิงระบบ และข้อกังวลของบุคลากรทางการแพทย์เกี่ยวกับประเด็นปัญหาการลาออกดังกล่าวและปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ของ สธ. มาโดยตลอด ทั้งสองหน่วยงานจึงได้จัดให้มีการประชุมหารือร่วมกันอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 ถึงปัจจุบัน โดยเห็นพ้องกันว่าการบริหารทรัพยากรบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการทางการแพทย์ภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลงไปมีความท้าทายในหลายประเด็น และการแก้ปัญหาดังกล่าวทั้งสองหน่วยงานตกลงที่จะแก้ปัญหาร่วมกันอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ เหมาะสม และเป็นธรรม 2. สธ. และสำนักงาน ก.พ. ได้ประชุมหารือร่วมกัน เพื่อพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลของ สธ. ในระหว่างเดือนธันวาคม 2565 ถึงปัจจุบัน รวม 3 ครั้ง มีประเด็นสำคัญ ดังนี้ 2.1 การบริหารทรัพยากรบุคคลของ สธ. มีประเด็นปัญหาที่จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงพัฒนาที่สำคัญ ได้แก่ การขาดแคลนอัตรากำลัง การพัฒนาความก้าวหน้าในสายงาน การเพิ่มอัตราการผลิตของบุคลากรทางการแพทย์ที่ขาดแคลน การปรับปรุงการจ่ายค่าตอบแทน และการปรับปรุงสวัสดิการให้แก่บุคลากร 2.2 การปรับปรุงการบริหารทรัพยากรบุคคลของ สธ. จำเป็นต้องดำเนินการในภาพรวม ทั้งประเด็นหลักและประเด็นย่อย เนื่องจาก สธ. มีความหลากหลายของสายงาน มีบุคลากรจำนวนมาก และกระจายอยู่ในทุกพื้นที่ของประเทศ ปัญหาจึงอาจเกิดขึ้นได้ในหลากหลายมิติ ทั้งในมิติของระบบบริหารจัดการ มิติของผู้รับบริการ และมิติของบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน โดยเห็นควรตั้งคณะทำงานร่วมของทั้งสองหน่วยงาน ในการกำหนดกรอบประเด็นปัญหาในภาพรวม และประเด็นที่จะต้องดำเนินการแก้ไขเร่งด่วน (Priority Issues) เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันการณ์ เหมาะสม และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่บุคลากร 2.3 แนวทางการแก้ปัญหาได้กำหนดเป็น 2 ระยะ คือ 2.3.1 ระยะเร่งด่วน เช่น การแก้ปัญหาความขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ การพิจารณากำหนดตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ ในราชการส่วนภูมิภาคเพิ่มมากขึ้น โดยอาจดำเนินการนำร่องกับสายงานพยาบาลวิชาชีพ ใน สธ. ก่อน แล้วขยายผลต่อไปยังสายงานอื่น ๆ และส่วนราชการอื่นต่อไป 2.3.2 ระยะยาว เช่น การเพิ่มกำลังการผลิตนักศึกษาในสายงานบุคลากรทางการแพทย์ การปรับปรุงพัฒนาระบบสวัสดิการและค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์ 3. คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในคราวประชุม ครั้งที่ 5/2566 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2566 ได้พิจารณาเรื่องการแก้ไขปัญหาบุคลากรทางการแพทย์ และได้ให้ข้อคิดเห็นและแนวทางดำเนินการ ตลอดจนการแต่งตั้งคณะทำงานร่วมที่ควรมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นเพิ่มเติมที่นอกเหนือจากหน่วยงานทั้งสอง รวมทั้งมีมติให้สำนักงาน ก.พ. จัดทำรายงานสรุปเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบผลการประชุมหารือเรื่องการแก้ไขปัญหาบุคลากรทางการแพทย์ 4. ปัจจุบัน สธ. ได้แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลของ สธ. เพื่อให้เกิดการปรับปรุงเครื่องมือหรือกระบวนการปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลให้แก่ สธ. 16. เรื่อง สรุปผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยโดยสถาบัน IMD ปี 2566 คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสรุปผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยโดยสถาบัน IMD ปี 2566 และให้กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามประเด็นการขับเคลื่อนที่ควรให้ความสำคัญในระยะต่อไปตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังกล่าวรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. และธนาคารแห่งประเทศไทยไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย สาระสำคัญของเรื่อง สศช. รายงานว่า 1. สถาบัน IMD ได้จัดอันดับฯ จาก 64 เขตเศรษฐกิจ เพื่อประเมินประสิทธิภาพและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการรักษาและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยใช้เกณฑ์ตัวชี้วัดในการจัดอันดับฯ รวมทั้งสิ้น 336 ตัวชี้วัดแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย (1) สมรรถนะทางเศรษฐกิจ (2) ประสิทธิภาพภาครัฐ (3) ประสิทธิภาพภาคธุรกิจ และ (4) โครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งในปี 2566 สถาบัน IMD ได้ประกาศผลการจัดอันดับฯ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2566 สรุปผลการจัดอันดับฯ ดังนี้ 1.1 ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน 5 อันดับแรก อันดับ เขตเศรษฐกิจ อันดับเปลี่ยนจากปีก่อนหน้า 1 ราชอาณาจักรเดนมาร์ก คงที่ 2 สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ดีขึ้น 9 อันดับ 3 สมาพันธรัฐสวิส ลดลง 1 อันดับ 4 สาธารณรัฐสิงคโปร์ ลดลง 1 อันดับ 5 ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ดีขึ้น 1 อันดับ 1.2 ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันในอาเซียน อันดับในอาเซียน ในปี 2566 อันดับโลก ในปี 2566 เขตเศรษฐกิจ อันดับเปลี่ยน จากปีก่อนหน้า 1 4 สิงคโปร์ ลดลง 1 อันดับ 2 27 สหพันธรัฐมาเลเซีย ดีขึ้น 5 อันดับ 3 30 ไทย ดีขึ้น 3 อันดับ 4 34 สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ดีขึ้น 10 อันดับ 5 52 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ลดลง 4 อันดับ ผลการจัดอันดับฯ ในภาพรวม ปี 2566 พบว่า เดนมาร์ก ยังคงอยู่ลำดับที่ 1 เช่นเดียวกับปี 2565 ขณะที่ไทยอยู่ลำดับที่ 30 ซึ่งดีขึ้นจากปี 2565 (เดิมอยู่ลำดับที่ 33) โดยยังคงทรงตัวอยู่ในระดับกลาง และเมื่อพิจารณาในภูมิภาคอาเซียน พบว่า สิงคโปร์ยังคงเป็นประเทศที่มีอันดับความสามารถในการแข่งขันสูงสุดในภูมิภาคอาเซียน (อยู่ลำดับที่ 4) 1.3 ผลการจัดอันดับปัจจัยหลักตามเกณฑ์ตัวชี้วัด 4 กลุ่ม โดยไทยมีอันดับดีขึ้นในทุกด้าน สรุปได้ ดังนี้ ด้าน การจัดอันดับ ของไทย ผลการดำเนินการ (1) ด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจ ลำดับที่ 16 ดีขึ้นจากปี 2565 ซึ่งอยู่ลำดับ 34 เนื่องจากการลงทุนและการค้าระหว่างประเทศดีขึ้น เป็นผลจากการตื่นตัวของนักลงทุนที่เริ่มกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลังจากการชะลอตัวในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และการฟื้นตัวของภาคการค้าระหว่างประเทศโดยเฉพาะภาคการส่งออกที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 (2) ด้านประสิทธิภาพภาครัฐ ลำดับที่ 24 ดีขึ้นจากปี 2565 ซึ่งอยู่ลำดับ 31 เนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐการบริหารสถาบัน และกฎระเบียบธุรกิจปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตามด้านนโยบายภาษีและกรอบการบริหารสังคมมีอันดับลดลงเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลง (3) ด้านประสิทธิภาพภาคธุรกิจ ลำดับที่ 23 ดีขึ้นจากปี 2565 ซึ่งอยู่ลำดับที่ 30 เนื่องจากด้านผลิตภาพตลาดแรงงาน การเงิน และทัศนคติและการให้ค่านิยมมีอันดับดีขึ้น โดยพบว่า ผู้ประกอบการของไทยมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากลเพิ่มขึ้น และความสามารถในการใช้เครื่องมือดิจิทัลและเทคโนโลยีดีขึ้น รวมถึงการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์และมูลค่าของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวดีขึ้นด้วย ขณะที่ด้านการจัดการอยู่ในอันดับคงที่เนื่องจากมีความกังวลต่อความล้มเหลวในการประกอบธุรกิจและสัดส่วนของผู้บริหารเพศหญิงในตำแหน่งระดับกลางและระดับสูงปรับลดลง (4) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ลำดับที่ 43 ดีขึ้นจากปี 2565 ซึ่งอยู่ลำดับที่ 44 เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีการตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจและการพัฒนาประสิทธิภาพของความเร็วอินเทอร์เน็ตที่ดีขึ้น ขณะที่โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ สุขภาพ สิ่งแวดล้อมและการศึกษามีอันดับลดลงอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์และบุคลากรทางการศึกษา 2. สศช. มีข้อสังเกตจากผลการจัดอันดับฯ ดังนี้ 2.1 ประเด็นที่เป็นข้อได้เปรียบของประเทศ คือ ด้านตลาดแรงงานและการจ้างงานที่ไทยมีอัตราการว่างงานต่ำ ตลาดทุนมีความเข้มแข็ง และการมีโครงข่ายสัญญาณอินเทอร์เน็ตจากการลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง 2.2 ประเด็นที่ควรให้ความสำคัญ ซึ่งเป็นประเด็นที่ไทยอยู่ในอันดับต่ำมาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ประเด็นเชิงสถาบันและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เช่น เสถียรภาพทางการเมือง การคอร์รัปชัน กฎหมายและกฎระเบียบที่ไม่เอื้อให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจ การเพิ่มผลิตภาพของภาคการผลิตและภาคแรงงาน การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์และการศึกษา และการสนับสนุนและการบังคับใช้ทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งควรได้รับการสนับสนุนและผลักดันให้เกิดการแก้ไขเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่อไป 3. ประเด็นการขับเคลื่อนที่ควรให้ความสำคัญในระยะต่อไป ซึ่ง สศช. เห็นว่า ควรมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 3.1 ติดตามการขับเคลื่อนการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในกลุ่มที่อันดับดีอยู่แล้วให้สามารถรักษาไว้ได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินงานของภาครัฐที่ส่งผลต่อกลุ่มตัวชี้วัดเหล่านี้มีประสิทธิผลที่ชัดเจน และควรให้ความสำคัญกับกลุ่มตัวชี้วัดที่อันดับตกลงมากหรือกลุ่มที่มีอันดับค่อนข้างต่ำอย่างต่อเนื่องผ่านการเร่งรัดขับเคลื่อนแผนงาน/โครงการของหน่วยงานภาครัฐและสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินงาน 3.2 ขับเคลื่อนการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับด้านทรัพยากรมนุษย์ กฎระเบียบและสถาบัน ทั้งในส่วนของการศึกษา สวัสดิการ สังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งขับเคลื่อนการดำเนินงานที่มุ่งเป้า มีช่องทางการรับฟังความเห็นของประชาชน เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตอบโจทย์ต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างตรงจุดมากขึ้น 3.3 ให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานพิจารณาจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันที่มีมาตรฐานเดียวกัน และสามารถติดตามได้อย่างต่อเนื่อง โดยควรจัดทำฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ ทันสมัย รองรับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการคำนวณ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการประมวลสำหรับการจัดทำนโยบายและการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันที่สะท้อนความเป็นจริงมากขึ้น 3.4 เร่งสร้างความรู้ความเข้าใจกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนทั้งภาคธุรกิจและบุคคลทั่วไปอย่างต่อเนื่องผ่านช่องทางที่เข้าถึงได้ง่าย เพื่อให้รับรู้ถึงการดำเนินนโยบายของภาครัฐและความก้าวหน้าในการพัฒนาด้านต่าง ๆ ของประเทศ รวมทั้งเข้าใจถึงบทบาทและโอกาสในการสนับสนุนการติดตามความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 4. แนวทางการดำเนินงานในระยะต่อไป สศช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กพข.) จะหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งจัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาและเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งจะกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการที่มีความสอดคล้องกับการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันและรายงานผลการดำเนินงานเพื่อทราบตามขั้นตอนต่อไป * เป็นหน่วยงานในระดับสากลที่จัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่าง ๆ เป็นประจำทุกปี มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1989 17. เรื่อง การรายงานผลการดำเนินงานโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Development Policy Loan: DPL) คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอผลการดำเนินโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Development Policy Loan: DPL) และการปิดบัญชีโครงการเงินกู้ DPL [เป็นการดำเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบริหารโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พ.ศ. 2554 ข้อ 13 (4) กำหนดให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ดำเนินการติดตามและประเมินผลโครงการเงินกู้ DPL เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการเงินกู้ DPL และรายงานผลต่อคณะรัฐมนตรี] ซึ่งโครงการเงินกู้ DPL เป็นโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (27 เมษายน 2553) ให้ กค. กู้เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 วงเงินกู้ 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วย เงินกู้จากธนาคารโลก วงเงิน 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเชีย วงเงิน 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) โครงการเงินกู้ DPL ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างงานและสร้างรายได้ โดยการลงทุนของภาครัฐในโครงการที่จะสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในอนาคต พร้อมกับการสร้างโอกาสของภาคเอกชนในการลงทุน และ (2) โครงการเงินกู้ DPL นอกแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการสนับสนุนโครงการลงทุนภาครัฐที่จะสามารถเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศและเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินของประเทศ โดยมีผลการดำเนินงานสรุปได้ ดังนี้ 1. ผลการดำเนินงานของการดำเนินโครงการเงินกู้ DPL รวมจำนวน 120 โครงการ วงเงินรวม 42,667.42 ล้านบาท โดยหน่วยงานเจ้าของโครงการได้ดำเนินโครงการเงินกู้ DPL ทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565 ซึ่งมีโครงการที่ดำเนินโครงการและเบิกจ่ายเงินกู้แล้วเสร็จ จำนวน 115 โครงการ และโครงการที่ยุติการดำเนินโครงการ จำนวน 5 โครงการ สรุปได้ ดังนี้ รายการ จำนวน โครงการ วงเงิน (ล้านบาท) วงเงินเบิกจ่าย (ล้านบาท) (1) โครงการเงินกู้ DPL ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ประกอบด้วย 5 สาขา 70 17,684.99 16,820.81 1) สาขาขนส่ง คือ โครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัยต่อการเดินรถ 1 221.53 193.82 2) สาขาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ คือ โครงการศูนย์ความเป็นเลิศทางการวิจัยค้นคว้าและพัฒนายาแห่งประเทศไทย 1 193.15 191.53 3) สาขาการศึกษา เช่น โครงการพัฒนาโรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุระดับชาติ 3 1,358.08 1,311.53 4) สาขาสาธารณสุขโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงการจัดหาครุภัณฑ์ทดแทนและเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ 64 15,595.94 14,809.54 5) สาขาสาธารณสุขพัฒนาบุคลากร คือ โครงการผลิตพัฒนาศักยภาพแพทย์และบุคลากรทางด้านสาธารณสุข 1 316.29 314.39 (2) โครงการเงินกู้ DPL นอกแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 แบ่งเป็น 50 24,982.43 21,554.36 1) โครงการที่เบิกจ่ายเงินกู้แล้วเสร็จ เช่น โครงการติดตั้งเครื่องกั้นถนนเสมอระดับและปรับปรุงเครื่องกั้น โครงการดำเนินงานบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมและโครงการจัดหาระบบตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์สินค้าด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์ระยะที่ 4 และ 5 45 23,429.94 21,554.36 2) โครงการที่ยุติการดำเนินโครงการ* ได้แก่ 2.1) โครงการบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับระบบการบริการเชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจ (New Single Window: NSW) ของกรมศุลกากร 2.2) โครงการจัดซื้อครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ของกรมสรรพากร 2.3) โครงการวิเคราะห์ความเป็นไปได้และรูปแบบทางธุรกิจที่เหมาะสมในการให้เอกชนร่วมลงทุน (PPPs Model) สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ 2.4) โครงการพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ ระยะที่ 3 ของสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ 2.5) โครงการติดตั้งเครื่องกั้นถนนเสมอระดับและปรับปรุงเครื่องกั้น 105 แห่ง ของการรถไฟแห่งประเทศไทย 5 1,552.49 - * กค. แจ้งว่า การยุติการดำเนินโครงการส่วนใหญ่มีสาเหตุเนื่องมาจากคุณสมบัติของโครงการต่าง ๆ ที่ได้ระบุไว้ในคำของบประมาณมีคุณสมบัติที่ไม่สอดคล้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทั้งนี้ เนื่องจากหน่วยงานผู้ดำเนินโครงการได้เบิกจ่ายเงินกู้ล่าช้า ประกอบกับระยะเวลาการเบิกจ่ายใกล้สิ้นสุด กค. จึงได้นำเงินกู้จากธนาคารโลกส่วนที่เหลือที่ยังไม่ได้เบิกจ่าย จำนวน 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กู้ต่อเพื่อจัดซื้อเครื่องบิน A380-800 โดย กค. ได้กู้เงินบาท วงเงิน 16,544 ล้านบาท เพื่อใช้ในโครงการเงินกู้ DPL แทนเงินกู้จากธนาคารโลก 2. การปิดบัญชีโครงการเงินกู้ DPL สบน. แจ้งว่า ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 มีเงินคงเหลือในบัญชีเงินกู้ DPL เป็นศูนย์ โดยไม่มีความจำเป็นต้องเบิกจ่ายเงินกู้โครงการเงินกู้ DPL แล้ว สบน. จึงขอให้กรมบัญชีกลางปิดบัญชี ?เงินฝากเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน? ซึ่งกรมบัญชีกลางได้ปิดบัญชีดังกล่าวแล้วเมือวันที่ 2 มีนาคม 2566 18. เรื่อง รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2566 คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอรายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (5 พฤษภาคม 2563) ที่ให้ กนง. ประเมินภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มของประเทศและรายงานต่อคณะรัฐมนตรีเป็นรายไตรมาส] สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ 1. การประเมินภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจประเทศไทยประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2566 1.1 เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทยมีแนวโน้มขยายตัว ร้อยละ 2.6 และ 2.7 ในปี 2566 และ 2567 ตามลำดับ จากแรงส่งของภาคบริการของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและกลุ่มยุโรป ขณะที่เศรษฐกิจของสาธารณรัฐประชาชนจีนมีแนวโน้มขยายตัวภายหลังการเปิดประเทศ ซึ่งส่งผลดีต่อการบริโภคและกิจกรรมในภาคบริการ อย่างไรก็ตาม ภาคการผลิตและการนำเข้าสินค้าของจีนยังอยู่ในช่วงทยอยฟื้นตัวจากสินค้าคงคลังที่ยังอยู่ในระดับสูง 1.2 เศรษฐกิจไทย 1.2.1 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.6 และ 3.8 ในปี 2566 และ 2567 ตามลำดับ จากภาคการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะอยู่ที่ 29 และ 35.5 ล้านคน ในปี 2566 และ 2567 ตามลำดับ อีกทั้งยังมีปัจจัยด้านการบริโภคภาคเอกชนที่ฟื้นตัวต่อเนื่องและการจ้างงานและรายได้แรงงานที่ปรับดีขึ้นและกระจายตัวมากขึ้น 1.2.2 การบริโภคภาคเอกชนในปี 2566 มีแนวโน้มขยายตัวที่ร้อยละ 4.4 สูงกว่าประมาณการเดิมในไตรมาสก่อนหน้าที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.0 โดยได้รับแรงส่งจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวซึ่งส่งผลดี ส่วนการบริโภคภาคเอกชนในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.9 1.2.3 มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยในปี 2566 มีแนวโน้มหดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.1 ลดลงจากประมาณการเดิมในไตรมาสก่อนหน้าที่คาดว่าจะหดตัวร้อยละ 0.7 ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าเป็นสำคัญ ทั้งนี้ คาดว่าภาคการส่งออกจะฟื้นตัวชัดเจนในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 จากการเปิดประเทศของจีนและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยในปี 2567 คาดว่าจะกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 3.6 1.2.4 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มทยอยปรับลดลงกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย โดยคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.5 และร้อยละ 2.4 ในปี 2566 และ 2567 ตามลำดับ เนื่องจากแนวโน้มค่าไฟฟ้าและราคาน้ำมันดีเซลในประเทศที่ลดลง รวมทั้งมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2 ทั้งในปี 2566 และ 2567 2. ภาวะการเงิน 2.1 ภาวะการเงินโดยรวมผ่อนคลายลดลงจากต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนที่ปรับสูงขึ้นสอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยที่ปรับเพิ่มขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่วนการระดมทุนของภาคธุรกิจยังดำเนินต่อได้ โดยปริมาณสินเชื่อที่ขยายตัวชะลอลงเป็นผลจากการชำระคืนหนี้ของธุรกิจขนาดใหญ่และผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นสำคัญ 2.2 ค่าเงินบาทในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2566 เฉลี่ยอยู่ที่ 34.40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 1.42 จากค่าเฉลี่ยไตรมาสก่อน โดยเงินบาทเคลื่อนไหวตามการคาดการณ์การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาและการอ่อนค่าของเงินหยวน 3. การดำเนินนโยบายการเงิน 3.1 กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 1.75 เป็นร้อยละ 2 ต่อปี โดย กนง. เห็นว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องยังสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนเป็นสำคัญ ขณะที่การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป 3.2 ระบบการเงินไทยโดยรวมยังมีเสถียรภาพ โดยธนาคารพาณิชย์ยังมีระดับเงินกองทุนและเงินสำรองที่เข้มแข็ง ประกอบกับความสามารถด้านการชำระหนี้ของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนที่ปรับดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามฐานะการเงินของภาคครัวเรือนบางส่วนยังคงเปราะบาง ทั้งนี้ กนง. เห็นควรดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างต่อเนื่องและเห็นควรมีมาตรการเฉพาะจุดและแนวทางแก้ปัญหาหนี้อย่างยั่งยืนสำหรับกลุ่มเปราะบาง 3.3 กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องแต่ยังต้องติดตามความเสี่ยงเงินเฟ้อด้านสูง จึงเห็นควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเข้าสู่ระดับที่เหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาวอย่างค่อยเป็นค่อยไป 19. เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2565 ขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ แห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2565 ขององค์การกระจายเสียงและ แพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ตามที่องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง ส.ส.ท. รายงานว่า ส.ส.ท. ได้จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2565 สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1. ภาพรวมผลงาน ประจำปี 2565 1.1 สร้างความแตกต่างจากจุดแข็ง ได้นำเสนอเนื้อหาที่เป็นเอกลักษณ์ของสื่อสาธารณะ โดยให้ความสำคัญกับประชากรทุกกลุ่มและคำนึงถึงพฤติกรรมและรสนิยมของผู้ชมและผู้ฟัง การนำเสนอข่าวเป็นไปตามหลักจรรยาบรรณบนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ครบถ้วน รอบด้าน ไม่แทรกความคิดเห็น ไม่บิดเบือน ไม่ชี้นำ ส่งผลให้เนื้อหาหรือภาพข่าวของไทยพีบีเอสได้รับการอ้างอิงต่อทั้งสื่อไทยและสื่อต่างประเทศหลายสำนัก สำหรับรายการใหม่ด้านการเรียนรู้ที่นำเสนอในปี 2565 มาจากการคัดสรรรายการจากผู้ผลิตอิสระ ซึ่งถือเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดผู้ผลิตรายการหน้าใหม่สำหรับวงการสื่อด้วย เช่น รายการ Mascot News ข่าวสำหรับเด็ก รายการสวัสดีหนีห่าว ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาจีน และรายการพนักงานใหม่หัวใจซน ส่งเสริมทักษะชีวิต นอกจากนี้ ไทยพีบีเอสมีเป้าหมายนำเสนอเนื้อหาให้ผู้ชมได้รู้เท่าทันสถานการณ์และฉากทัศน์ของสังคมผ่านเนื้อหาที่สำคัญจากโจทย์ของประเทศในเรื่องสังคมสูงวัย ภัยพิบัติกับภาวะโลกร้อน คุ้มครองผู้บริโภค ความเหลื่อมล้ำ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและแนะนำเตรียมการปรับตัวในอนาคต รวมทั้งการเป็นสื่อเพื่อสันติภาพและแสวงหาทางออกร่วมกัน นำเสนอผ่านการดำเนินรายการ ?ฟังเสียงประเทศไทย? สื่อสร้างเสริมความเข้าใจ รูปแบบรายการที่มีการเปิดพื้นที่ให้มีกระบวนการพูดคุย สำรวจความคิดเห็นของประชาชน และรับฟังข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านกว่า 40 ตอน เช่น ล้อมวงคุยอนาคตของคนจะนะ จังหวัดสงขลา (กับ 3 ฉากทัศน์จากโอกาสการพัฒนาของ ?นกเขาชวา เสียงแห่งอาเซียน? ที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในอดีตปีละไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท) และอนาคตเมืองอุบลกับคนปลายน้ำ (การทำโครงการผันน้ำเลี่ยงเมืองอุบลราชธานี เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม) 1.2 สร้างความคุ้มค่าจากการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง การสร้างสังคมที่เป็นธรรม โดยไทยพีบีเอสทำหน้าที่ชี้ให้สังคมเห็นบริบทปัญหาของความเหลื่อมล้ำมุ่งเป็นพื้นที่กลางระดมการหาทางออก การเพิ่มปัจจัยเชิงบวกและลดอุปสรรคปัญหา ร่วมผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง การผลิตและนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ข่าว รายงานพิเศษ สารคดี ละคร และรายการสารประโยชน์ รวมทั้งการจัดเวทีเสวนา/ระดมความคิดเห็นในการขับเคลื่อนประเด็นความเหลื่อมล้ำกับผู้เกี่ยวข้อง เช่น เวทีคนจนเมือง เวทีปลดล็อคความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ซึ่งได้รับการนำไปอ้างอิงเผยแพร่ต่อโดยสื่อต่าง ๆ 1.3 สร้างความยั่งยืนจากการต่อยอดและพลังเครือข่าย ได้ขยายฐานและระดับการมีส่วนร่วมของผู้ชม ผู้ฟัง และผู้ใช้ประโยชน์ภาคพลเมืองผ่านกิจกรรมร่วมกับเครือข่ายที่สำคัญ 6 กิจกรรม ได้แก่ (1) สร้าง ?วิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง (Citizen Science)? (2) กิจกรรมร่วมเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลเบื้องต้น การวิจัยและพัฒนาระบบการติดตามความสัมพันธ์ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงทางสังคมวัฒนธรรม (3) กิจกรรมพัฒนาระบบฝึกอบรมและ sound Check ขอฟังเสียงคนกรุงเทพฯ วาระเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไปกับแอปพลิเคชัน C-site (4) กิจกรรมร่วมสร้างสังคมปัญญารวมหมู่กับเครือข่ายภูมิภาค (5) กิจกรรมเคลื่อนเชิงประเด็นของ Decode ร่วมกับภาคีเครือข่าย ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม Bangkok Tribune News เทียบกับนโยบายโลกร้อนไทยและโลก และ (6) กิจกรรมสร้างความยั่งยืนด้านองค์ความรู้ให้เครือข่าย 2. แผนบริหารกิจการและแผนงบประมาณ ประจำปี 2566 เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายการเป็นองค์กรสื่อที่แตกต่างและคุ้มค่า ส่งมอบเนื้อหาและบริการที่เป็นประโยชน์เสนอทางเลือกทางออกของปัญหา ร่วมนำพาสังคมออกจากวิกฤต ควรค่าต่อความไว้วางใจจากสังคมให้เป็น ?โรงเรียนของสังคม? โดยแผนบริหารกิจการ เน้นการเป็น ?สื่อที่มีคุณค่ายึดโยงกับประชาชน? รวมถึงกำหนดทิศทางสำคัญ 3 ด้าน คือ (1) ทิศทางการขับเคลื่อนองค์กรสู่ Digital Transformation เพื่อไปสู่องค์กรดิจิทัลที่สมบูรณ์แบบ (2) ทิศทางการเงินและงบประมาณที่ก้าวสู่สมดุลและ (3) การทำงานแบบบูรณาการข้ามกลุ่มงาน (ntegration & Cross Function) ที่เน้นเป้าหมายเชิงผลลัพธ์และการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา (Outcome Oriented & IP-Based Management) ที่สามารถต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้ และนำมาออกแบบแผนงานเพื่อรองรับการขับเคลื่อนงานและบริหารงบประมาณ สำหรับแผนงบประมาณ ประจำปี 2566 ของ ส.ส.ท. ประกอบด้วยแผนประมาณการรายได้ 2,682 ล้านบาท (เช่น ค่าชดเชยโครงข่าย เงินบำรุงองค์กร และการบริการโครงข่ายและสิ่งอำนวยความสะดวก) และแผนงบประมาณรายจ่าย 2,840 ล้านบาท (เช่น งบการจัดทำแผนงานตามยุทธศาสตร์ งบบุคลากร และงบฉุกเฉิน) 3. ผังรายการในปี 2565 เช่น รายการ Thai PBS NEWS จับตาสถานการณ์รายการตอบโจทย์ รายการทันโลกกับที่นี่ Thai PBS และรายการไทยบันเทิง [ตามผังรายการที่แนบในรายงานประจำปี 2565 (หน้า 134-135)] และแผนการจัดทำรายการ ประจำปี 2566 จะสะท้อนเป้าหมายการขับเคลื่อนของ ส.ส.ท. ในฐานะองค์กรสื่อสาธารณะ ให้ความสำคัญกับการนำเสนอข่าวสารรายการที่เที่ยงตรง รอบด้าน สร้างสรรค์ ลดความแตกต่างและแตกแยก รวมถึงการฝ่าวิกฤตการณ์เหลื่อมล้ำเพื่อขับเคลื่อนสังคมสู่ความเป็นธรรม และนำเสนอทางออกของปัญหาและผลกระทบจากสถานการณ์สำคัญของประเทศ โดยมุ่งที่การสื่อสารและบูรณาการเนื้อหาที่สามารถตอบสนองกลุ่มผู้รับสื่อที่หลากหลายในทุกช่องทาง นอกจากนี้ ส.ส.ท. ได้มีการจัดทำแผนเพื่อเปลี่ยนแปลงองค์กรไปเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยเนื้อหา (Content Based) ผ่านทุกช่องทางการสื่อสาร และวางแผนผลิตรายการให้เข้ากับแพลตฟอร์มที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายตามแผนที่วางไว้ 4. งบแสดงฐานะการเงินและงบแสดงผลการดำเนินการทางการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565 โดยบริษัท สอบบัญชีธรรมนิติ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบบัญชีของ ส.ส.ท. ได้ตรวจสอบแล้ว เห็นว่า ถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลัง (กค.) กำหนดสรุปได้ ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท รายการ ปี 2565 ปี 2564 เพิ่ม/ลด งบแสดงฐานะการเงิน รวมสินทรัพย์ 7,371.67 7,560.74 (189.07) รวมหนี้สิน 904.84 917.02 (12.18) งบแสดงผลการดำเนินการทางการเงิน รวมรายได้ 2,663.40 2,671.80 (8.40) รวมค่าใช้จ่าย 2,915.21 2,826.95 88.26 รายได้สูงกว่า (ต่ำกว่า) ค่าใช้จ่ายก่อนดอกเบี้ยจ่าย (251.81) (155.15) (96.66) หมายเหตุ เนื่องจากมีการปรับเป็นทศนิยมสองหลัก ดังนั้น จึงส่งผลต่อการคำนวณผลรวมบางรายการในตาราง 5. รายงานการตรวจสอบภายใน คณะกรรมการตรวจสอบ ส.ส.ท. ประจำปีพ.ศ. 2565 ได้ดำเนินการ ดังนี้ (1) การสอบทานรายงานทางการเงิน (ตามข้อ 4) (2) การสอบทานการบริหารความเสี่ยง โดยแนะนำให้ ส.ส.ท. ทบทวนองค์ประกอบของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงการควบคุมภายในและประเมินผลให้สอดคล้องกับโครงสร้างของ ส.ส.ท. ในปัจจุบัน และติดตามความคืบหน้าการบริหารความเสี่ยงให้ครบถ้วนตามมาตรการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ (3) การสอบทานระบบการควบคุมภายใน พบว่า มีความเพียงพอเหมาะสม โดยแนะนำให้ ส.ส.ท. ให้ความสำคัญต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมาย (4) การสอบทานการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยแนะนำให้ ส.ส.ท. บูรณาการการทำงานร่วมกัน รวมทั้งสื่อสารและถ่ายทอดแผนงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (5) การกำกับดูแลงานตรวจสอบภายใน โดยให้ข้อแนะนำและติดตามการดำเนินการแก้ไขในประเด็นที่มีนัยสำคัญตามรายงานผลการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง และ (6) การรักษาคุณภาพของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยได้ทบทวนกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบทุกปีและรายงานผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการนโยบายทุกไตรมาส รวมทั้งได้ประเมินผลการปฏิบัติงานด้วยตนเองตามหลักเกณฑ์ที่ กค. กำหนด โดยผลการประเมินอยู่ในระดับดีเยี่ยม 6. รายงานของคณะกรรมการประเมินผล ได้แก่ (1) การประเมินผลด้านประสิทธิผลของการดำเนินการตามแผนงาน ประจำปี 25651 พบว่า ด้านความเชื่อถือและบทบาทสื่อสาธารณะ มีประสิทธิผลสูง ทั้งด้านความถูกต้องในการนำเสนอเนื้อหา (3.86 คะแนน) การออกแบบเนื้อหาที่เหมาะสมกับแพลตฟอร์มและกลุ่มเป้าหมายขององค์กร (3.64 คะแนน) และการเป็นหลักสำคัญด้านวารสารศาสตร์ภายใต้กระแส ?ข้อมูลเป็นเท็จ กุขึ้นมา และบิดเบือน? (3.76 คะแนน) แต่การนำเสนอข้อมูลข่าวสารและเนื้อหาสาระมีการปรับตามพฤติกรรมและรสนิยมของผู้ชมยังมีประสิทธิผลในระดับปานกลาง ขณะที่ด้านการสร้างความจดจำที่ยั่งยืนและด้านการขับเคลื่อนประเด็นทางสังคม จากสารคดี ?คนจนเมือง? มีประสิทธิผลมาก (3.96 คะแนน และ 3.81 คะแนน ตามลำดับ) (2) การประเมินด้านความพึงพอใจของผู้ชมและการสนับสนุนจากประชาชน จากการสำรวจกลุ่มเป้าหมายผู้รับชมและผู้ฟังรายการของไทยพีบีเอสทุกภูมิภาคทั้งสิ้น 2,107 ราย พบว่า ช่องทางที่มีผู้ชมและผู้ฟังนิยมมากที่สุด 4 ลำดับแรก คือ โทรทัศน์ดิจิทัลช่องหมายเลข 3 Thai PBS (ร้อยละ 64.06) YouTube (ร้อยละ 60.29) TKTok (ร้อยละ 49.67) และ Facebook (ร้อยละ 44.89) ตามลำดับ โดยเนื้อหาสำคัญที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด ได้แก่ สื่อสาธารณะกับการจัดวาระของสังคมและการสร้างความคุ้มค่าจากการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงผ่านช่องทาง Facebook จำนวน 19,923 ครั้ง ซึ่งผู้ชมและผู้ฟังที่มุ่งเน้นผลผลิตด้านวาระของสังคมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 17.85 มีความยินดีที่จะจ่ายเงินเพื่อสนับสนุน ส.ส.ท. เฉลี่ยประมาณ 690 บาทต่อคนต่อปี ขณะที่ร้อยละ 18.87 ยินดีสนับสนุนการดำเนินงานของ ส.ส.ท. ในรูปแบบอื่น เช่น ช่วยประชาสัมพันธ์ ติดตามรายการอย่างต่อเนื่องและอุดหนุนสินค้าที่ระลึก (3) การประเมินด้านประสิทธิภาพของการดำเนินการตามแผนงานประจำปี 2565 พบว่า ภาพรวมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานภายในองค์กรอยู่ในระดับมาก (3.43 คะแนน) [สูงขึ้นจากระดับปานกลาง (3.28 คะแนน) ในปี 2564] โดยยังคงต้องพัฒนาในด้านการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและส่งเสริมการทำงานเป็นทีม รวมถึงการปรับปรุงกลไกการทำงานและการใช้ข้อมูลที่ได้จากสภาผู้ชมผู้ฟังรายการสนับสนุนประสิทธิภาพในการผลิตเนื้อหาที่ผลคะแนนจากการประเมินยังคงอยู่ในระดับปานกลาง สอดคล้องกับประสิทธิภาพการกระจายอำนาจและพลังเครือข่ายที่อยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน (3.36 คะแนน) และ (4) การประเมินด้านการพัฒนาองค์การ พบว่า ยังคงอยู่ในระดับปานกลางเช่นเดียวกับในปี 2564 (3.29 คะแนน) โดยประเด็นที่ต้องได้รับการปรับปรุงอย่างเร่งด่วน คือการสร้างความร่วมมือเพื่อการบรรลุผลตามเป้าหมายของแผนการหารายได้ การกำหนดแผนการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อแก้ไขปัญหา การลาออกของบุคลากรและการสร้างขวัญและกำลังใจแก่พนักงาน ทั้งนี้ คณะกรรมการประเมินผลได้มีการเสนอแนะให้ ส.ส.ท. ควรมีการปรับเนื้อหาและจำนวนโพสต์ผ่าน TikTok Instagram และ Twitter ให้มากขึ้น เพื่อการเข้าถึงคนรุ่นใหม่ พร้อมทั้งควรกระตุ้นการมีส่วนร่วมของผู้ชมและผู้ฟังบนสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้เกิดการกล่าวถึงที่เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันควรตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงด้านความต้องการของผู้ชม โดยเร่งศึกษาสาเหตุและถอดบทเรียนจากกรณีที่บทบาทสำคัญบางด้านเป็นรองสื่ออื่นคู่เปรียบเทียบ เพื่อปรับใช้กับการพัฒนารูปแบบเนื้อหาของ ส.ส.ท. ภายใต้กรอบจริยธรรม เพื่อทำให้เนื้อหาที่สร้างความโดดเด่นและสร้างความเปลี่ยนแปลง เช่น ด้านศิลปวัฒนธรรมและละครที่มีคุณประโยชน์ต่อสังคมมีความต่อเนื่องและยั่งยืน ส่วนด้านการบริหารจัดการองค์กรควรมุ่งเน้นปรับปรุงการพัฒนาองค์การโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการแสวงหารายได้ การสื่อสารนโยบายแนวทางการปฏิบัติงาน และวัฒนธรรมองค์การเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและสร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากร 3. การรับฟังความคิดเห็นจากสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงเนื้อหาที่สำคัญ เช่น (1) ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายองค์การและยุทธศาสตร์ การสื่อสาร การพัฒนารายการ และการติดตามแนวทางการบริหารจัดการองค์การ (2) ตระหนักถึงการเข้าถึงสื่อสาธารณะของคนเล็กคนน้อยกลุ่มผู้พิการ กลุ่มเปราะบาง และกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น สร้างแพลตฟอร์มเฉพาะสำหรับให้แต่ละกลุ่มเข้าไปใช้ประโยชน์โดยตรง (3) ติดตามและนำเสนอประเด็นสภาวะโลกร้อน ประเด็นภัยพิบัติเป็น ?วาระเร่งด่วน? โดยมีเนื้อหา ครอบคลุมสาเหตุที่เกิดจากการจัดการเชิงโครงสร้างต่อระบบนิเวศ วิถีชุมชน ภูมิปัญญา รวมถึง การปรับตัวและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการภัยพิบัติ (สภาวะโลกร้อน น้ำท่วม ภัยแล้ง ไฟป่า และฝุ่นควัน PM 2.5) ตลอดจนการชดเชยประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และ (4) ให้ความสำคัญกับการสื่อสารประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มีพื้นฐานและต่อยอดจากศักยภาพชุมชน ระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และวิถีชีวิต 8. ความคิดเห็นของผู้ชมและผู้ฟังที่มีต่อรายการของไทยพีบีเอสและ ALTV2 จำนวนทั้งสิ้น 32,122 ความคิดเห็น ซึ่งส่วนใหญ่ (25,164 ความคิดเห็น) ชื่นชมการนำเสนอละครในด้านความสนุกเพลิดเพลิน ให้ความรู้และสะท้อนสังคม เช่น ละครเรื่อง ?จากเจ้าพระยาสู่อิรวดี? ให้ความรู้ ด้านประวัติศาสตร์ ภาษา เปลี่ยนความคิดให้ผู้ชมก้าวข้ามอคติที่มีต่อประเทศเพื่อนบ้าน และเรื่อง ?ความรัก ความทรงจำ? ให้ความรู้ความเข้าใจโรคอัลไซเมอร์ที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ด้านการนำเสนอข่าวในสถานการณ์เร่งด่วน ไทยพีบีเอสนำเสนอได้อย่างทันท่วงทีและเคารพในจริยธรรมแห่งวิชาชีพ เช่น กรณีกราดยิงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจังหวัดหนองบัวลำภู ที่มีการแทรกข่าวด่วนให้ผู้ชมได้รับทราบอย่างรวดเร็ว สำหรับความคิดเห็นในเชิงติติงการนำเสนอเนื้อหา เช่น ผู้ชมส่วนหนึ่งเห็นว่า การนำเสนอรายละเอียดในสถานการณ์พายุโนรูมีความเป็นวิชาการทำให้เข้าใจยาก ผู้ชมบางส่วนร่วมเสนอแนะทางออก เช่น ควรระบายน้ำสู่คลองย่อย และด้านความเห็นของผู้ชมผู้ฟังรายการช่อง ALTV จำนวน 6,958 ความคิดเห็น ส่วนใหญ่ชื่นชมที่รายการให้ความรู้ ส่งเสริมการเรียนรู้ได้อย่างสนุกสนานชวนให้ติดตาม มีการแบ่งปันเรื่องราวของครูและเด็กที่สร้างแรงบันดาลใจและพลังแห่งการสร้างสรรค์ 1การวัดประสิทธิผลของการดำเนินงานในปี 2565 พิจารณาจาก 2 องค์ประกอบหลัก คือ ความน่าเชื่อถือและบทบาทสื่อสาธารณะและการสร้างความจดจำที่ยั่งยืน จากกลุ่มตัวอย่างทั้งบุคลากร ผู้ชมและผู้ฟังรายการไทยพีบีเอส จำนวน 2,107 ตัวอย่างโดยกำหนดคะแนนเป็น 5 ระดับ โดยระดับ 1 เป็นระดับน้อยที่สุด ถึงระดับ 5 เป็นระดับมากที่สุด 2เป็นช่องโทรทัศน์เพื่อการเรียนรู้และบูรณาการการเรียนการสอนระหว่างบ้านและสถานศึกษา ดำเนินการโดย ส.ส.ท. ถือเป็นสถานีโทรทัศน์รองของไทยพีบีเอส เริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 20. เรื่อง การจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ ดังนี้ 1. รับทราบรายงานผลการปฏิบัติตามกฎหมายจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐ ประจำปี 2561-2565 และให้หน่วยงานของรัฐซึ่งมีผู้ปฏิบัติงานตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป เร่งรัดดำเนินการจ้างงานคนพิการตามที่กฎหมายกำหนดให้ครบถ้วนภายในปี 2566 และจัดทำรายงานการจ้างงานคนพิการประจำปีต่อกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ (พม.) เสนอ 2. ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อเสนอแนะของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงแรงงาน กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง พม. โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รายงานว่า 1. พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 มาตรา 33 บัญญัติให้เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐรับคนพิการเข้าทำงานตามลักษณะของงานในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการหรือหน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงกำหนดจำนวนที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐจะต้องรับคนพิการเข้าทำงาน และมาตรา 35 บัญญัติให้ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะรับคนพิการเข้าทำงานตามมาตรา 33 หรือนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการไม่รับคนพิการเข้าทำงานตามมาตรา 33 และไม่ประสงค์จะส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามมาตรา 34 หน่วยงานของรัฐ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการนั้นอาจให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ ฝึกงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะควก ล่ามภาษามือหรือให้ความช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดในระเบียบ 2. รายงานผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานที่ผ่านมา 2.1 พม. ได้ดำเนินการส่งเสริมและติดตามการจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการฯ เช่น 2.1.1 ประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานของรัฐซึ่งมีผู้ปฏิบัติงานตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ดำเนินการจ้างงานคนพิการให้ครบตามอัตราส่วนที่กฎหมายกำหนดในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี 2.1.2 ชี้แจงแนวทางการปฏิบัติตามกฎหมายการจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐเพื่อส่งสริมการเพิ่มอัตราการจ้างานคนพิการให้ครบตามอัตราส่วนที่กฎหมายกำหนดในเดือนมีนาคมของทุกปี 2.1.3 มีหนังสือแจ้งหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หน่วยงานอิสระ สถาบันการศึกษา และกระทรวงต่าง ๆ เพื่อขอความร่วมมือปฏิบัติตามกฎหมายและรายงานผลการจ้างงานคนพิการมายังกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (ครั้งที่ 1 ในเดือนมิถุนายนของทุกปี และครั้งที่ 2 ในเดือนกันยายนของทุกปี) 2.1.4 รวบรวมข้อมูลรายงานผลการจ้างงานคนพิการประจำปีของหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานในเดือนธันวาคมของทุกปี 2.1.5 มีหนังสือแจ้งไปยังหน่วยงานของรัฐทุกแห่งเพื่อแจ้งรายงานผลการจ้างงานคนพิการในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี 2.1.6 มีหนังสือถึงสถาบันการศึกษาสำรวจข้อมูลคนพิการที่กำลังจบการศึกษาเพื่อนำมาเป็นฐานข้อมูลในการส่งเสริมการจ้างงานคนพิการ รวมทั้ง สอบถามปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานของรัฐที่จ้างงานคนพิการไม่ครบตามอัตราส่วนที่กฎหมายกำหนด เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการจ้างงานคนพิการต่อไป 2.2 การดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2561 2.2.1 ประเด็นการกำหนดให้การปฏิบัติงานตามกฎหมายการจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐเป็นตัวชี้วัดการประเมินผลการปฏิบัติงานของหัวหน้าหน่วยงานระดับกระทรวง พม. ได้ประชุมหารือแนวทางร่วมกับสำนักงาน ก.พ.ร. เมื่อเดือนกันยายน 2562 เพื่อกำหนดให้การปฏิบัติตามกฎหมายการจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐเป็นตัวชี้วัดของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐในการประเมินผลการปฏิบัติงานในปีงบประมาณ 2563 ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. ได้ชี้แจงว่า การปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีทุกมติถือเป็นหน้าที่ของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐอยู่แล้วประกอบกับรายงานที่เสนอมีข้อมูลชัดเจนว่าหน่วยงานของรัฐแห่งใดปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องนี้ไม่ได้ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐดังกล่าวและสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงานของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐโดยไม่จำเป็นต้องกำหนดเป็นตัวชี้วัดเพิ่มเติม ทั้งนี้ ได้มีกำหนดในข้อกำหนดจริยธรรมของหน่วยงานของรัฐแล้ว 2.2.2 ประเด็นการติดตามให้ กห. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตาม ดูแล และประสานงานการจ้างงานทหาร ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นคนพิการอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ได้รับการจ้างานในหน้าที่ความรับผิดชอบที่เหมาะสมในแต่ละกรณี ซึ่ง กห. ได้ดำเนินการรายงานการปฏิบัติตามกฎหมายการจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้ หน่วย:คน ประจำปี จ้างตาม มาตรา 33 จ้างตามมาตรา 35 รวม 2561 63 6,602 6,665 2562 51 7,990 8,041 2563 43 5,896 5,939 2564 38 2,890 2,928 2565 40 3,520 3,560 หมายเหตุ : ข้อมูล ณ วันที่ 27 มกราคม 2566 3. คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) เป็นประธานการประชุม ได้พิจารณารายงานผลการจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐ พบว่า มีหน่วยงานของรัฐที่จ้างงานคนพิการตามพระราขบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการฯ ครบตามอัตราส่วนที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) พม. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (คศ.) และกระทรวงแรงงาน (รง.) ที่ประชุมจึงได้มีมติมอบหมายให้กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้หน่วยงานของรัฐเร่งรัดดำเนินการจ้างงานคนพิการตามที่กฎหมายกำหนดให้ครบถ้วนภายในปี 2566 เพื่อกระตุ้นให้หน่วยงานของรัฐจ้างงานคนพิการให้ครบตามอัตราส่วนและเป็นการช่วยเหลือคนพิการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) 4. รายงานผลการปฏิบัติตามกฎหมายจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐประจำปี 2561-2565 พบว่า การจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐลดลงอย่างต่อเนื่อง สรุปได้ ดังนี้ ประจำปี จำนวนผู้ปฏิบัติงาน (คน) จำนวนคนพิการที่ต้องรับเข้าทำงานตามกฎหมาย (อัตรา 100:1 คน) ผลการจ้างงานคนพิการ มาตรา 35 (คน) มาตรา 35 (คน) รวมการจ้างงานคนพิการ (คน) คิดเป็นร้อยละ 2561 1,250,043 12,500 6,556 4,038 10,594 84.75 2562 1,522,752 15,228 3,327 2,930 6,257 41.09 2563 1,541,202 15,412 2,633 1,278 3,911 25.37 2564 1,762,214 17,622 2,801 783 3,584 20.33 2565 1,750,704 17,507 2,848 878 3,726 21.28 ข้อมูล ณ วันที่ 6 มกราคม 2566 หมายเหตุ : รายงานดังกล่าวไม่รวม กห. ทั้งนี้ กห. และ พม. แจ้งว่า เนื่องจากเป็นภารกิจด้านความมั่นคงจึงไม่สามารถแจ้งยอดเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในสังกัดต่าง ๆ ทั้งหมดได้ ดังนั้น พม. โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการหารือร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำระบบการเรียนการสอนแบบไฮบริด (Hybrid) เพื่อให้คนพิการได้รับการพัฒนาศักยภาพ รวมถึงได้มีการหารือแนวทางการขับเคลื่อนการจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐร่วมกับเครือข่ายสมาคมคนพิการและคณะอนุกรรมาธิการกิจการคนพิการมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 4.1 ควรมีการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเร่งรัดให้หน่วยงานของรัฐเร่งรัดดำเนินการจ้างงานคนพิการตามที่กฎหมายกำหนดให้ครบถ้วนภายในปี 2566 และจัดทำรายงานการจ้างงานคนพิการประจำปีต่อกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามมติคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (ตามข้อ 3) 4.2 เสนอให้กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการรวบรวมรายงานผลการจ้างงานคนพิการของหน่วยงานรัฐทุกหน่วยงานภายใน 31 ธันวาคมของทุกปีและจัดทำประกาศหน่วยงานที่ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 และมาตรา 35 ต่อสาธารณะอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 21. เรื่อง สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนมิถุนายน 2566 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนมิถุนายน 2566 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ สาระสำคัญ 1. สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าเดือนมิถุนายน 2566 ดังนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนมิถุนายน 2566 เท่ากับ 107.83 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเท่ากับ 107.58 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ต่ำสุดในรอบ 22 เดือน ที่ร้อยละ 0.23 (YoY) ชะลอตัวต่อเนื่อง 6 เดือนติดต่อกัน ตามการชะลอตัวของราคาสินค้าในหมวดอาหาร โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์และเครื่องประกอบอาหารที่ราคาปรับลดลง และการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ประกอบกับฐานราคาเดือนมิถุนายน 2565 ที่ใช้คำนวณเงินเฟ้ออยู่ระดับสูง ทั้งนี้ สนค. ปรับตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2566 อยู่ระหว่างร้อยละ 1.0-2.0 (ค่ากลาง 1.5) ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อของไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ (ข้อมูลล่าสุดเดือนพฤษภาคม 2566) พบว่า อัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอตัว โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไป และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของไทย อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ และต่ำที่สุดในอาเซียนจาก 7 ประเทศที่ประกาศตัวเลข (สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม) อัตราเงินเฟ้อเดือนมิถุนายน 2566 ที่สูงขึ้นร้อยละ 0.23 (YoY) มีการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้ หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 3.37 (YoY) ตามการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ อาทิ ผักและผลไม้สด (มะนาว ผักคะน้า กะหล่ำปลี เงาะ แตงโม ทุเรียน) ไข่ไก่ และไข่เป็ด เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณผลผลิตมีไม่มาก ประกอบกับความต้องการเพิ่มขึ้นจากการเปิดภาคเรียน และกาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว นอกจากนี้ อาหารสำเร็จรูป (อาหารเช้า อาหารตามสั่ง) ราคาสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิต รวมถึงผลิตภัณฑ์นม (นมข้นหวาน ครีมเทียม นมเปรี้ยว) และข้าวสาร ราคาเปลี่ยนแปลงตามการจัดโปรโมชัน อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง อาทิ เนื้อสุกร เนื่องจากมีปริมาณออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น และมีสต็อกสะสมจากผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ขยายปริมาณการเลี้ยง ไส้กรอก เครื่องประกอบอาหาร (น้ำมันพืช มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) มะขามเปียก) ผักสดบางชนิด (ผักบุ้ง พริกสด) และอาหารโทรสั่ง (Delivery) หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 1.88 (YoY) ตามการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ โดยปรับลดลงทั้งน้ำมันในกลุ่มดีเซล แก๊สโซฮอล์ และเบนซิน นอกจากนี้ เครื่องใช้ไฟฟ้า ทั้งเครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ และเครื่อง ซักผ้า ราคายังคงลดลงต่อเนื่อง รวมถึง เครื่องรับโทรศัพท์มือถือ ค่าของใช้ส่วนบุคคลและสิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว น้ำยาระงับกลิ่นกาย ผงซักฟอก น้ำยารีดผ้า) หน้ากากอนามัย และค่าสมาชิกเคเบิลทีวี ราคาปรับลดลง ส่วนสินค้าที่ราคาสูงขึ้น อาทิ ค่ากระแสไฟฟ้า เนื่องจากสิ้นสุดมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ รวมถึง ก๊าซหุงต้ม ค่าเช่าบ้าน ค่าโดยสารสาธารณะ (เครื่องบิน จักรยานยนต์รับจ้าง รถเมล์เล็ก/สองแถว) ค่าการศึกษา ค่าแต่งผมชายและสตรี เงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก สูงขึ้นร้อยละ 1.32 (YoY) ชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนพฤษภาคม 2566 ที่สูงขึ้นร้อยละ 1.55 (YoY) ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนนี้ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 0.6 (MoM) ตามราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ที่สูงขึ้นร้อยละ 1.05 อาทิ ค่ากระแสไฟฟ้าจากการสิ้นสุดมาตรการให้ส่วนลดค่าไฟฟ้า 150 บาทต่อครัวเรือน สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 หน่วย ค่าเช่าบ้าน เครื่องแบบนักเรียน ค่าจ้างซักรีด ค่าบริการใช้อินเทอร์เน็ต และสิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างห้องน้ำ สารกำจัดแมลง) สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง อาทิ น้ำมันเชื้อเพลิงในกลุ่มดีเซล ค่าของใช้ส่วนบุคคล (ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว สบู่ถูตัว โฟมล้างหน้า ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 0.02 อาทิ เนื้อสุกร ปลาทู ข้าวสารเจ้า ผักสด (มะเขือ มะนาว ผักบุ้ง) อาหารโทรสั่ง (delivery) และอาหารสำเร็จรูป/แพ็คพร้อมปรุง ส่วน ไข่ไก่ ไข่เป็ด นมเปรี้ยว ผักและผลไม้สด (กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ผักคะน้า ทุเรียน ส้มเขียวหวาน มะม่วง) กาแฟผงสำเร็จรูป น้ำดื่ม และน้ำหวาน ราคาปรับสูงขึ้นเล็กน้อย สำหรับไตรมาสที่ 2 ปี 2566 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ1.14 (YoY) และเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าลดลงร้อยละ 0.31 (QoQ) เฉลี่ย 6 เดือนแรก (ม.ค. - มิ.ย.) ปี 2566 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เงินเฟ้อสูงขึ้นร้อยละ 2.49 (AoA) 2. แนวโน้มเงินเฟ้อ แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ ไตรมาสที่ 3 ปี 2566 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างต่ำ เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงยังมีแนวโน้มทรงตัวและเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ และอยู่ระดับต่ำเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมทั้งราคาอาหารบางชนิด โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ ที่คาดว่าจะลดลงตามผลผลิตทีเพิ่มขึ้นประกอบกับฐานราคาในปีก่อนอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ขณะที่ราคาสินค้าบางชนิด โดยเฉพาะผักและผลไม้ ไข่และผลิตภัณฑ์นม และอาหารสำเร็จรูป มีแนวโน้มสูงขึ้นจากอิทธิพลของภัยแล้ง รวมทั้งเศรษฐกิจไทยยังคงมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ความขัดแย้งของโลก แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกในหลายภูมิภาค และมาตรการภาครัฐต่าง ๆ รวมทั้งภัยแล้งที่อาจรุนแรงกว่าที่คาด ยังเป็นปัจจัยที่อาจทำให้เงินเฟ้อไม่เป็นไปตามที่คาดได้ ด้วยปัจจัยดังกล่าว กระทรวงพาณิชย์จึงปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2566 จากเดิมอยู่ที่ระหว่างร้อยละ 1.7-2.7 (ค่ากลาง 2.2) ในเดือนเมษายน 2566 เป็นระหว่างร้อยละ 1.0-2.0 (ค่ากลาง 1.5) และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนมิถุนายน 2566 ปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 56.1 จากระดับ 56.6 ในเดือนก่อนหน้า และยังคงอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ สะท้อนจากภาคการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติเพิ่มขึ้น และมาตรการภาครัฐที่ลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชนและภาคธุรกิจอย่างต่อเนื่อง อาทิ การปรับลดค่าไฟฟ้า และการปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าและบริการที่อยู่ระดับสูงและช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมือง ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจในการลงทุนและการประกอบธุรกิจของภาคเอกชนและการลงทุนในภาครัฐชะลอตัว รวมทั้ง ภาระหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง และอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น เป็นปัจจัยทอนให้ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมปรับลดลง 22. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1/2566 และแนวโน้มไตรมาสที่ 2/2566 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนเมษายน 2566 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1/2566 และแนวโน้ม ไตรมาสที่ 2/2566 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนเมษายน 2566 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ สาระสำคัญ ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1/2566 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 3.9 ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 4/2565 ที่หดตัวร้อยละ 6.0 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการผลิตเพื่อส่งออกในหลายกลุ่มหดตัวลงจากเศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศรวมถึงที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวหลายอุตสาหกรรมยังขยายตัวได้ดี ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัวในไตรมาสที่ 1/2566 อาทิ Hard Disk Drive ปัจจัยหลักจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวต่อเนื่องและกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ปรับลดลงหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย เฟอร์นิเจอร์ จากสินค้าเครื่องเรือนทำด้วยไม้และเครื่องเรือนที่ทำด้วยโลหะ เนื่องจากความต้องการใช้สินค้าชะลอตัวลง เม็ดพลาสติก เนื่องจากการส่งออกลดลง ประกอบกับผู้ผลิตชะลอการผลิตลง เพื่อดูทิศทางตลาดรวมถึงยังคงมีการปิดซ่อมบำรุงในโรงงานบางโรงอยู่ สำหรับอุตสาหกรรม ที่มีการขยายตัวดีในไตรมาสที่ 1/2566 อาทิ รถยนต์ จากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นของตลาดส่งออก ในขณะที่ตลาดในประเทศยังคงชะลอตัว การกลั่นน้ำมัน เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว หลังจากการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติตั้งแต่กลางปีก่อนเป็นต้นมา ทำให้การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศ เพื่อการเดินทางขนส่งสามารถฟื้นตัวขึ้นกลับสู่ระดับใกล้ปกติ ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนเมษายน 2566 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 8.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากภาคการส่งออกที่หดตัวต่อเนื่องจากผลกระทบของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจในประเทศทยอยปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่อง จากการขยายตัวของนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนเมษายน 2566 หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ 1. Hard Disk Drive (HDD) หดตัวร้อยละ 41.59 ตามการพัฒนาเทคโนโลยีความจุ ทำให้ปริมาณการผลิตน้อยลง แต่ราคาต่อหน่วยสูงขึ้นตามปริมาณความจุ รวมถึงความต้องการใช้ปรับตัวลดลง นอกจากนี้ Solid State Drive (SSD) มีสัดส่วนการใช้ในอุปกรณ์ต่าง ๆ ทดแทน HDD เพิ่มมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีฐานการผลิต SSD ในประเทศ 2. เหล็กและเหล็กกล้า หดตัวร้อยละ 23.36 ลดลงจากเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน เนื่องจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กระป๋อง รวมทั้งมีการชะลอคำสั่งซื้อ เนื่องจากความผันผวนของราคา 3. เฟอร์นิเจอร์ หดตัวร้อยละ 36.03 จากเครื่องเรือนทำด้วยไม้และทำด้วยโลหะโดยการผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในเดือนเมษายน 2566 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 เป็นผลจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศของผู้ผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ยางพาราที่ปรับลดลง อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนเมษายน 2566 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 1. น้ำตาล ขยายตัวร้อยละ 19.15 เนื่องจากความต้องการบริโภคทั้งในและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง รวมถึงปีนี้ผลผลิตของน้ำตาลต่อตันอ้อยโดยเฉลี่ยสูงขึ้น โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ อินโดนีเซีย 2. การกลั่นน้ำมัน ขยายตัวร้อยละ 1.87 ตามปริมาณการเดินทางที่เพิ่มขึ้น โดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นสู่ระดับใกล้เคียงกับช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 เช่นเดียวกับการเดินทางในประเทศที่กลับสู่ระดับปกติเช่นกัน แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ ไตรมาสที่ 2/2566 อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า คาดการณ์ว่าจะหดตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากต้นทุนพลังงานที่มีความผันผวน ซึ่งอาจส่งผลให้แนวโน้มราคาเหล็กในตลาดโลกมีการปรับตัว และอาจส่งผลต่อความต้องการใช้เหล็ก อย่างไรก็ตาม หากการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมของภาครัฐมีความต่อเนื่อง คาดว่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าดัชนีผลผลิตจะหดตัวประมาณร้อยละ 5.0 เนื่องจากราคาพลังงานที่ยังคงผันผวน ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตทำให้ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอ อย่างไรก็ตามชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยังคงมีความจำเป็นต่อการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง คาดว่า ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม และยางรถยนต์จะกลับมาขยายตัวจากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่ในส่วนของปริมาณการผลิตถุงมือยาง คาดการณ์ว่าจะยังคงชะลอตัวจากความต้องการถุงมือยางในตลาดโลกที่ปรับลดลงจากในช่วงที่ผ่านมา อุตสาหกรรมอาหาร คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมและมูลค่าการส่งออกจะหดตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากฐานของปีก่อนค่อนข้างสูง ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ภาคการท่องเที่ยวยังส่งสัญญาณที่ดี รวมถึงอุปสงค์การนำเข้าสินค้าจากตลาดต่างประเทศ ในส่วนของน้ำมันปาล์มและน้ำตาลยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 23. เรื่อง กรอบแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง ก.พ.ร. รายงานว่า 1. ก.พ.ร. ในการประชุมครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2566 ได้มีมติเห็นชอบกรอบแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ดังนี้ หัวข้อ รายละเอียด หลักการและแนวทางการประเมินฯ ? มุ่งเน้นการบูรณาการการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ แผ่นแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 แผนงานบูรณาการเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และดัชนีชี้วัดสากล (International KPIs) รวมทั้งนโยบายสำคัญของรัฐบาล โดยกรอบแนวทางการประเมินของส่วนราชการให้กระทรวงมีบทบาทหลักเป็นผู้รับผิดชอบในการพิจารณากำหนดตัวชี้วัดและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของกระทรวงและส่วนราชการในสังกัดกระทรวงผ่านกลไกคณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการระดับกระทรวง เช่นเดียวกับการดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และกรอบแนวทางการประเมินของจังหวัดมุ่งเน้นการบูรณาการการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายระดับชาติและนโยบายสำคัญของรัฐบาลเช่นเดียวกับส่วนราชการ รวมถึงนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงมหาดไทย (มท.) นอกจากนี้ ได้ให้ความสำคัญกับการประเมินผลสำเร็จของการบรรลุเป้าหมาย ตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด โดยดำเนินการให้สอดคล้องกับมาตรา 58 ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 โดยให้ มท. มีบทบาทหลักในการพิจารณาความเหมาะสม ตัวชี้วัด น้ำหนัก และค่าเป้าหมาย รวมทั้งติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของจังหวัดผ่านกลไกคณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของจังหวัด ? ให้ความสำคัญกับการกำหนดตัวชี้วัดเพื่อขับเคลื่อนการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันระหว่างกระทรวง (Joint KPIs) โดยกำหนดประเด็นนโยบายสำคัญ (Agenda) ที่จะขับเคลื่อนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 5 ประเด็น* เพื่อขับเคลื่อนการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันระหว่างส่วนราชการ จังหวัด องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานอื่น ๆ โดยมีการถ่ายทอดเป้าหมายจากระดับประเทศลงสู่ระดับหน่วยงานที่รับผิดชอบขับเคลื่อนการดำเนินงาน องค์ประกอบการประเมิน ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ดังนี้ ส่วนราชการ จังหวัด 1. การประเมินประสิทธิผลการดำเนินงาน (น้ำหนักร้อยละ 70) 1.1 ตัวชี้วัดตามภารกิจ (Functional KPIs) - ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสาตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 มติคณะรัฐมนตรี นโยบายรัฐบาลโดยเฉพาะนโยบายเร่งด่วน (Agenda KPIs) - ผลการดำเนินงานการบูรณาการร่วมกันภายใต้ภารกิจเดียวกัน (Joint KPIs by Function) - - ผลการดำเนินงานตามภารกิจพื้นฐานงานประจำ งานตามหน้าที่ความรับผิดชอบหลัก งานตามกฎหมาย กฎ หรือภารกิจในพื้นที่/ท้องถิ่น ภูมิภาค จังหวัด กลุ่มจังหวัด - - ผลการดำเนินงานของดัชนีชี้วัดสากลที่วัดผลตามภารกิจของหน่วยงาน (International KPIs) - - ผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาของจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด (Area KPIs) และ/หรือผลการดำเนินการเพื่อแก้ไขประเด็นปัญหาสำคัญ (Pain Point) และต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ในการแก้ไขปัญหา 1.2 ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) เป็นผลการดำเนินงานการบูรณาการร่วมกันหลายหน่วยงานตามประเด็นนโยบายสำคัญ (Joint KPIs by Agenda) 2. การประเมินศักยภาพในการดำเนินงาน (น้ำหนักร้อยละ 30) 2.1 การพัฒนาองค์การสู่ดิจิทัล (น้ำหนักร้อยละ 20) ประกอบด้วย - การสร้างนวัตกรรมในการปรับปรุงกระบวนงานหรือการให้บริการ (e-Service) - การพัฒนาระบบข้อมูลให้เป็นดิจิทัล (Digitize Data) ทั้งข้อมูลที่ใช้ภายในหน่วยงานและข้อมูลที่จะเผยแพร่สู่หน่วยงานภายนอก/สาธารณะ เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) - การปรับเปลี่ยนหน่วยงานไปสู่ความเป็นดิจิทัล (Digital Transformation) 2.2 การประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) (น้ำหนักร้อยละ 10) กลุ่มเป้าหมายการประเมิน ส่วนราชการในสังกัดฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย (1) ส่วนราชการ 154หน่วยงาน และ (2) จังหวัด 76 จังหวัด สำหรับส่วนราชการสังกัด กห. กอ.รมน. ตช. และศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศร.ชล.) ให้นำแนวทางการประเมินประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสังกัดฝ่ายบริหารไปประยุกต์ใช้และส่งผลการประเมินให้สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อรายงานต่อนายกรัฐมนตรีพร้อมกับส่วนราชการอื่น ผู้ประเมิน2 ? นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ? รัฐมนตรีว่าการหรือรัฐมนตรีช่วยว่าการ ? เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ประเมินเบื้องต้น) รอบระยะเวลาการประเมิน กำหนดให้ประเมินส่วนราชการและจังหวัด ปีละ 2 รอบ ดังนี้ ? รอบการประเมินครั้งที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม ? รอบการประเมินครั้งที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 30 กันยายน โดยให้ส่วนราชการและจังหวัดมีการกำกับติดตามความก้าวหน้าของการปฏิบัติราชการและกำหนดให้รายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบการรายงานผลการประเมินส่วนราชการ (Electronic Self Assessment Report: e-SAR) เกณฑ์การประเมิน ประกอบด้วยการประเมิน 2 ระดับ ดังนี้ 1. เกณฑ์การประเมินระดับตัวชี้วัด พิจารณาจากผลการดำเนินงานเทียบกับค่าเป้าหมายใน 3 ระดับ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) (ส่วนราชการและจังหวัดที่มีผลการดำเนินงานต่ำกว่าค่าเป้าหมายขั้นต้นจะได้คะแนนศูนย์) ดังนี้ ค่าเป้าหมาย คะแนน 1) ค่าเป้าหมายขั้นสูง 100 2) ค่าเป้าหมายมาตรฐาน 75 3) ค่าเป้าหมายขั้นต้น 50 2. เกณฑ์การประเมินระดับส่วนราชการและจังหวัด (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) โดยแบ่งเกณฑ์การประเมินเป็น 3 ระดับ ดังนี้ ระดับการประเมิน คะแนนผลการดำเนินงาน 1) ระดับคุณภาพ 90-100 2) ระดับมาตรฐาน - มาตรฐานขั้นสูง 75-89.99 - มาตรฐานขั้นต้น 60-74.99 3) ระดับต้องปรับปรุง ต่ำกว่า 60 กลไกการประเมิน ดำเนินการผ่านกลไกคณะทำงานและคณะกรรมการใน 2 ระดับ ดังนี้ ระดับ 1 คณะทำงานเพื่อพิจารณาตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ และคณะทำงานเพื่อพิจารณาตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของจังหวัดเป็นกลไก ของสำนักงาน ก.พ.ร. ที่แต่งตั้งโดยคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ (อ.ก.พ.ร.) เกี่ยวกับการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ระดับ 2 คณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ/จังหวัดเป็นกลไกของส่วนราชการและจังหวัด ดังนี้ 1. ส่วนราชการ มีคณะกรรมการกำกับการประเมินฯ ของส่วนราชการประกอบด้วย 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) คณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวง 18 กระทรวง (ยกเว้น กห.) แต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง (2) คณะกรรมการกำกับการประเมินฯ ของส่วนราชการในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี (นร.) และส่วนราชการไม่สังกัด นร. กระทรวง หรือทบวง (ยกเว้น กอ.รมน. ตช. และ ศร.ชล) รวม 19 หน่วยงาน แต่งตั้งโดยรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่กำกับส่วนราชการ และ (3) คณะกรรมการกำกับการประเมินฯ ของส่วนราชการใน นร. [เฉพาะสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) กรมประชาสัมพันธ์ และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)] แต่งตั้งโดยรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่กำกับ สปน. 2. จังหวัด มีคณะกรรมการกำกับการประเมินฯ ของจังหวัดซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ ผู้แทนของสำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในคณะกรรมการกำกับการประเมินฯ ของส่วนราชการ/จังหวัด ควรกำหนดให้ผู้แทนหลักเป็นระดับผู้อำนวยการกองขึ้นไปและผู้แทนสำรองเป็นระดับผู้เชี่ยวชาญขึ้นไป ขั้นตอนการพิจารณาตัวชี้วัด ? สำนักงาน ก.พ.ร. จะเป็นผู้พิจารณารายการตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์สำคัญ (Strategic KPIs) ของส่วนราชการและตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกันหลายหน่วยงานตามประเด็นนโยบายสำคัญ (Joint KPIs by Agenda) และร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยพิจารณารายการตัวชี้วัดของจังหวัด ? การขอปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัดและตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกันหลายหน่วยงานตามประเด็นนโยบายสำคัญ (Joint KPIs by Agenda) ให้ส่วนราชการและจังหวัดเสนอให้คณะกรรมการกำกับการประเมินฯ ของส่วนราชการ/จังหวัด รับทราบ/พิจารณา และเสนอ อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการประเมินส่วนราชการฯ เพื่อทราบ/พิจารณา ตามลำดับ การปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ? เป็นไปตามหลักเกณฑ์การปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัดฯ ที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด ดังนี้ 1. ส่วนราชการและจังหวัดสามารถขอปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัดฯ ค่าเป้าหมาย และเกณฑ์การให้คะแนน หากการดำเนินงานตามตัวชี้วัดได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น (1) สถานการณ์ภัยธรรมชาติ ภัยพิบัติ โรคระบาดรุนแรง โรคอุบัติใหม่ ที่ไม่ได้มีการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า (2) การเปลี่ยนแปลงนโยบายรัฐบาล และ (3) ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณหรือได้รับงบประมาณล่าช้าอย่างน้อย 6 เดือน 2. คณะกรรมการกำกับการประเมินฯ ต้องพิจารณาตามความเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัดตามแนวทาง ดังนี้ 2.1 การปรับเปลี่ยนค่าเป้าหมายต้องไม่เป็นการนำผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นแล้วมากำหนดเป็นค่าเป้าหมายใหม่เพื่อให้มีผลการประเมินดีขึ้น 2.2 หากเห็นควรให้ยกเลิกตัวชี้วัด ให้นำน้ำหนักของตัวชี้วัดนั้นไปกระจายลงตัวชี้วัดอื่นตามสัดส่วนความสำคัญของแต่ละตัวชี้วัด 2.3 ไม่กำหนดตัวชี้วัดทดแทนหรือตัวชี้วัดใหม่ระหว่างปี เนื่องจากไม่ได้มีการพิจารณาตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2.4 การปรับเปลี่ยนค่าเป้าหมายแผนการดำเนินงาน/กิจกรรมที่เกิดจากการปรับเปลี่ยนวิธีการ หรือแนวทางการดำเนินงานที่เป็นการบริหารจัดการภายในของส่วนราชการหรือเกิดจากความล่าช้าในการดำเนินงานอันเนื่องมาจากการบริหารโครงการที่ไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ ไม่ได้เป็นเหตุจากปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ 3. การพิจารณาขอปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ ของส่วนราชการและจังหวัดให้คณะกรรมการกำกับการประเมินฯ พิจารณา และเสนอ อ.ก.พ.ร. เพื่อทราบตามลำดับ และการพิจารณาขอปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ให้คณะกรรมการกำกับการประเมินฯ พิจารณาเบื้องต้นและเสนอ อ.ก.พ.ร. พิจารณา ตามลำดับ หมายเหตุ : การปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงฯ จะปรับเปลี่ยนได้เฉพาะองค์ประกอบการประเมินประสิทธิผลการดำเนินงาน (น้ำหนักร้อยละ 70) (ตัวชี้วัดตามภารกิจและ Joint KPIs) เท่านั้น ? การปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัดฯ ให้ส่วนราชการและจังหวัดเสนอคณะกรรมการกำกับการประเมินฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบ และให้คณะกรรมการกำกับการประเมินฯ แจ้งผลการพิจารณาให้สำนักงาน ก.พ.ร. ทราบ แบ่งออกเป็น 2 รอบ ดังนี้ - รอบ 6 เดือน (ภายในเดือนกุมภาพันธ์) - รอบ 12 เดือน (ภายในเดือนกรกฎาคม) การให้ข้อเสนอแนะเพื่อส่งสัญญาณล่วงหน้า (Early Warning) เป็นการกำกับและติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของส่วนราชการและจังหวัดเพื่อติดตามแนวโน้มผลการดำเนินงาน รวมถึงปัญหาอุปสรรคในการบรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดของส่วนราชการและจังหวัด และให้ข้อเสนอแนะเพื่อส่งสัญญาณล่วงหน้า (Early Warning) โดยสำนักงาน ก.พ.ร. จะแจ้งเตือนสถานการณ์ดำเนินงานตามตัวชี้วัดของส่วนราชการและจังหวัด ปีละ 1 ครั้ง ในเดือนมิถุนายน (ถ้ามี) การเชื่อมโยงผลการประเมินส่วนราชการกับการประเมินผู้บริหารส่วนราชการ ผลการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัดจะนำไปเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการปฏิบัติงานรายบุคคลระดับหัวหน้าส่วนราชการ (ปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่า อธิบดีหรือเทียบเท่า ผู้ว่าราชการจังหวัด) เพื่อให้การประเมินหัวหน้าส่วนราชการสามารถผลักดันการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานในการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาลและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ทั้งนี้ ส่วนราชการและจังหวัดจะนำผลการประเมินตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ ไปประกอบการประเมินผู้บริหารส่วนราชการ 2. สำหรับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีหลังยุบสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งหลังจากมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรต้องปฏิบัติหน้าที่โดยไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไปเว้นแต่ที่กำหนดไว้แล้วในงบประมาณรายจ่ายประจำปี ก.พ.ร. แจ้งว่า เรื่องดังกล่าวเป็นการดำเนินการในลักษณะงานปกติตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ไม่ได้เป็นการกำหนดนโยบายขึ้นใหม่ จึงไม่เป็นการกระทำการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป * ก.พ.ร. มีมติ (7 มิถุนายน 2566) เห็นชอบประเด็นนโยบายสำคัญ (Agenda) 5 ประเด็น ประกอบด้วย (1) การบริหารจัดการและอนุรักษ์ฟื้นฟูน้ำทั้งระบบ (2) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (3) รายได้จากการท่องเที่ยว (4) รายได้ของผู้ประกอบการ SMEs และ OTOP และ (5) การลดปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 2 จากการประสานสำนักงาน ก.พ.ร. แจ้งว่า สำนักงาน ก.พ.ร. จะพิจารณารายงานผลการประเมินตนเองเบื้องต้นของส่วนราชการและจังหวัด ก่อนรายงานให้ผู้ประเมินข้างต้นทราบ 24. เรื่อง การกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ประจำปี 2566 (เพิ่มเติม) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษในปี 2566 ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอดังนี้ 1. กำหนดให้วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม 2566 เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษอีก 1 วัน ในปี 2566 2. ในกรณีที่หน่วยงานใดมีภารกิจในการให้บริการประชาชน หรือมีความจำเป็นหรือราชการสำคัญในวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษดังกล่าว (ตามข้อ 1.) ที่ได้กำหนดหรือนัดหมายไว้ก่อนแล้ว ซึ่งหากยกเลิกหรือเลื่อนไปจะเกิดความเสียหายหรือกระทบต่อการให้บริการประชาชน ให้หัวหน้าหน่วยงานนั้นพิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควรโดยมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชกรและกระทบต่อการให้บริการประชาชน 3. ในส่วนของรัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน และภาคเอกชน ให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงแรงงานพิจารณาความจำเป็นเหมาะสมของการกำหนดให้วันดังกล่าวข้างต้นเป็นวันหยุดให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณีต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง 1. โดยที่ในแต่ละปีที่ผ่านคณะรัฐมนตรีได้มีการกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษเพื่อให้มีวันหยุดต่อเนื่องกันหลายวันซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเดินทางและส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ ดังนั้น เพื่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในภาคธุรกิจ ภาคบริการ และการท่องเที่ยวจึงเห็นควรกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษในปี 2566 เพิ่มเติม จำนวน 1 วัน คือ วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม 2566 มีรายละเอียด ดังนี้ เดือนกรกฎาคม 2566 - วันที่ 28 วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว - วันที่ 31 เสนอให้เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษในครั้งนี้ เดือนสิงหาคม 2566 - วันที่ 1 วันอาสาฬหบูชา - วันที่ 2 วันเข้าพรรษา - วันที่ 12 วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง และวันแม่แห่งชาติ - วันที่ 14 สิงหาคม วันหยุดชดเชยวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง และวันแม่แห่งชาติ ทั้งนี้ การกำหนดให้วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม 2566 เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษอีก 1 วัน จะทำให้มีวันหยุดราชการติดต่อกัน รวม 6 วัน (วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม-วันพุธที่ 2 สิงหาคม 2566) 2. การกำหนดให้วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม 2566 เป็นวันหยุดราชการประจำปี 2566 เพิ่มเป็นกรณีพิเศษดังกล่าว จะทำให้ภาพรวมวันหยุดราชการประจำปี 2566 มีจำนวนวันหยุดรวมทั้งสิ้น 20 วัน ดังนี้ 1. วันขึ้นปีใหม่ วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม (วันหยุดชดเชยวันขึ้นปีใหม่) วันจันทร์ที่ 2 มกราคม 2. วันมาฆบูชา วันจันทร์ที่ 6 มีนาคม 3. วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช วันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ 4. วันสงกรานต์ (รวม 3 วัน) วันพฤหัสบดีที่ 13 - วันเสาร์ที่ 15 เมษายน (วันหยุดชดเชยวันสงกรานต์) วันจันทร์ที่ 17 เมษายน 5. วันฉัตรมงคล วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม 6. วันหยุดราชการที่กำหนดเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม 7. วันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ วันพุธที่ 17 พฤษภาคม 8. วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน และวันวิสาขบูชา (วันหยุดชดเชยวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ วันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน พระบรมราชินี และวันวิสาขบูชา) 9. วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม รามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 10. วันหยุดราชการที่จะกำหนดเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม (เสนอในครั้งนี้) 11. วันอาสาฬหบูชา วันอังคารที่ 1 สิงหาคม 12. วันเข้าพรรษา วันพุธที่ 2 สิงหาคม 13. วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง วันเสาร์ที่ 12 สิงหาคม และวันแม่แห่งชาติ (วันหยุดชดเชยวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรม วันจันทร์ที่ 14 สิงหาคม ราชชนนีพันปีหลวง และวันแม่แห่งชาติ) 14. วันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร วันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 15. วันปิยมหาราช วันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม 16. วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จ วันอังคารที่ 5 ธันวาคม พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 17. วันรัฐธรรมนูญ วันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม (วันหยุดชดเชยวันรัฐธรรมนูญ) วันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม 18. วันสิ้นปี วันอาทิตย์ที่ 31 ธันวาคม (วันชดเชยวันสิ้นปี) วันอังคารที่ 2 มกราคม 2567 25. เรื่อง รายงานสรุปผลและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2562-2564 คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอรายงานสรุปผลและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2562-2564 [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558 มาตรา 8 (10) ที่บัญญัติให้คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์จัดทำรายงานสรุปผลและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์เสนอต่อคณะรัฐมนตรี] ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2565 เห็นชอบรายงานฯ และมอบหมายให้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (สถาบันพัฒนาการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์) อว. ในฐานะเลขานุการของคณะกรรมการฯ นำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป โดยสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. การดำเนินการตามพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558 ในปีงบประมาณ 2562-2654 มีการดำเนินการ เช่น (1) จัดทำกฎหมายลำดับรองประกอบการบังคับใช้1 จำนวน 31 ฉบับ โดยประกาศใช้แล้ว 25 ฉบับ และรอประกาศ 6 ฉบับ (2) สรรหาและแต่งตั้งคณะกรรมการตามที่กฎหมายกำหนด2 เพื่อดำเนินการรับแจ้งและรับคำขอใบอนุญาต3 ตามพระราชบัญญัติฯ (3) ดำเนินการจัดทำระบบการให้บริการแบบออนไลน์ ควบคู่ไปกับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และสร้างความเข้าใจให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ (4) ประกาศนโยบายการกำกับดูแลและส่งเสริมการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนางานด้านการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ให้เป็นไปอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น และ (5) จัดทำแผนกลยุทธ์ว่าด้วยการพัฒนางานสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2563-2564 และ พ.ศ. 2565-2569 และแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2563-2569 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนางานเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของประเทศและเป็นแนวทางให้หน่วยงาน องค์กร และผู้ที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้เป็นหลักในการจัดทำแผนกลยุทธ์ในการดำเนินการเพื่อพัฒนางานสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของแต่ละองค์กรต่อไป 2. สรุปผลการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562-2564 ปี 2562 ปี 2563 ปี 2564 1. สถานที่ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์4 มีสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์ฯ จำนวนรวมทั้งสิ้น 299 แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการวิจัยมากที่สุด รองลงมา คือ การสอนและการทดสอบ ตามลำดับ มีสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์ฯจำนวนรวมทั้งสิ้น 299 แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการวิจัยมากที่สุด รองลงมา คือ การสอนและการทดสอบ ตามลำดับ มีสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์ฯจำนวนรวมทั้งสิ้น 299 แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการวิจัยมากที่สุด รองลงมา คือ การผลิตชีววัตถุ5 และการทดสอบ ตามลำดับ 2. สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์6 มีการใช้สัตว์ฯ จำนวนรวมทั้งสิ้น 26.5 ล้านตัว แบ่งเป็น สัตว์มีกระดูกสันหลัง จำนวน 4.1 ล้านตัว และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง 22.4 ล้านตัว โดยสัตว์ที่มีการใช้งานมากที่สุด ได้แก่ แมลง ปลา และกุ้ง และสัตว์ประเภทสัตว์ทดลองที่นิยมใช้มากที่สุด ได้แก่ หนูเมาส์ หนูแรท และหนูตะเภา มีการใช้สัตว์ฯ จำนวนรวมทั้งสิ้น 212.0 ล้านตัว แบ่งเป็นประเภทสัตว์ทดลอง จำนวน 71,061 ตัว สัตว์เลี้ยง จำนวน 10.8 ล้านตัว และสัตว์จากธรรมชาติ จำนวน 201.1 ล้านตัว โดยสัตว์ที่มีการใช้งานมากที่สุด ได้แก่ แมลงวันผลไม้ กุ้ง และปลา สัตว์ประเภทสัตว์ทดลองที่นิยมใช้มากที่สุด ได้แก่ หนูเมาส์ หนูแรท และหนูตะเภา มีการใช้สัตว์ฯ จำนวนรวมทั้งสิ้น 66.5 ล้านตัว แบ่งเป็นประเภทสัตว์ทดลอง จำนวน 75,935 ตัว สัตว์เลี้ยง จำนวน 266,751 ตัว และสัตว์จากธรรมชาติ จำนวน 66.2 ล้านตัว โดยสัตว์ที่มีการใช้งานมากที่สุด ได้แก่ แมลงวันผลไม้ กุ้ง และปลา และสัตว์ประเภทสัตว์ทดลองที่นิยมใช้มากที่สุด ได้แก่ หนูเมาส์ หนูแรท และหนูตะเภา 3. ผู้ใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ผู้ใช้สัตว์ฯ ทั้งภาครัฐและเอกชนยื่นขอรับใบอนุญาตใช้สัตว์ฯ7 จำนวน 843 คน รวมจำนวนผู้ขออนุญาตใช้สัตว์ฯ ตั้งแต่ปี 2558-2562 ทั้งสิ้น 8,644 คน ผู้ใช้สัตว์ฯ ทั้งภาครัฐและเอกชนยื่นขอรับใบอนุญาตใช้สัตว์ฯ จำนวน 565 คน รวมจำนวนผู้ขออนุญาตใช้สัตว์ฯ ตั้งแต่ปี 2558-2563 ทั้งสิ้น 9,209 คน ผู้ใช้สัตว์ฯ ทั้งภาครัฐและเอกชนยื่นขอรับใบอนุญาตใช้สัตว์ฯ จำนวน 292 คน รวมจำนวนผู้ขออนุญาตใช้สัตว์ฯ ตั้งแต่ปี 2558-2564 ทั้งสิ้น 9,501 คน 4. ผู้ผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ มีผู้ผลิตสัตว์ฯ ยื่นขอรับใบอนุญาตผลิตสัตว์ฯ ทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวน 51 คน รวมจำนวนผู้ขออนุญาตผลิตสัตว์ฯ ตั้งแต่ปี 2560-2562 ทั้งสิ้น 153 คน มีผู้ผลิตสัตว์ฯ ยื่นขอรับใบอนุญาตผลิตสัตว์ฯ ทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวน 9 คน รวมจำนวนผู้ขออนุญาตผลิตสัตว์ฯ ตั้งแต่ปี 2560-2563 ทั้งสิ้น 162 คน มีผู้ผลิตสัตว์ฯ ยื่นขอรับใบอนุญาตผลิตสัตว์ฯ ทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวน 5 คน รวมจำนวนผู้ขออนุญาตผลิตสัตว์ฯ ตั้งแต่ปี 2560-2564 ทั้งสิ้น 167คน 5. ลักษณะงานทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้สัตว์ มีโครงการที่ใช้สัตว์ฯ จำนวน 1,475 โครงการ โดยเป็นโครงการที่มีลักษณะการใช้งานสัตว์ฯ เพื่อการวิจัยมากที่สุด จำนวน 1,176 โครงการ (ร้อยละ 80) มีโครงการใช้สัตว์ฯ จำนวน 1,595 โครงการ โดยเป็นโครงการที่มีลักษณะการใช้งานสัตว์ฯ เพื่อการวิจัยมากที่สุด จำนวน 1,172 โครงการ (ร้อยละ 74.94) มีโครงการที่ใช้สัตว์ฯ จำนวน 1,341 โครงการ โดยเป็นโครงการที่มีลักษณะการใช้งานสัตว์ฯ เพื่อการวิจัยมากที่สุด จำนวน 1,057 โครงการ (ร้อยละ 79) 6. การดำเนินการนำเข้า ส่งออก นำผ่านราชอาณาจักร ซึ่งสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์8 - มีการแจ้งนำเข้าซึ่งสัตว์ฯ จำนวน 20 ครั้ง จากต่างประเทศ เช่น จีน อินเดีย และฝรั่งเศส รวมทั้งสิ้น 2,224 ตัว ได้แก่ หนูเมาส์ หนูแรท และหนูตะเภา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการขายและการใช้สัตว์ - มีการแจ้งส่งออกซึ่งสัตว์ฯ จำนวน 55 ครั้ง โดยส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย ญี่ปุ่น เวียดนาม และสิงคโปร์ รวมทั้งสิ้น 32,248 ตัว ได้แก่ หนูเมาส์ หนูแรท หนูตะเภา ไรอ่อนที่ไม่ติดเชื้อ แมลงหางดีด และยุงก้นปล่อง เพื่อการขาย การวิจัย และการตรวจสอบคุณภาพสุขภาพสัตว์9 - มีการแจ้งนำเข้าซึ่งสัตว์ฯ จำนวน 12 ครั้ง จากต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อินเดีย ญี่ปุ่น และไต้หวัน รวมทั้งสิ้น 2,987 ตัว ได้แก่ หนูเมาส์ หนูแรท หนูตะเภา และปลา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการขายและการใช้สัตว์ - มีการแจ้งส่งออกซึ่งสัตว์ฯ จำนวน 55 ครั้ง โดยส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา รวมทั้งสิ้น 61,105 ตัว ได้แก่ หนูแรท หนูเมาส์ และยุงก้นปล่อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการขาย การวิจัย และการตรวจสอบคุณภาพสุขภาพสัตว์ - มีการแจ้งนำเข้าซึ่งสัตว์ฯ จำนวน 19 ครั้ง จากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส รวมทั้งสิ้น 973 ตัว ได้แก่ หนูเมาส์ หนูแรท หนูตะเภา และหนูแฮมเตอร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการขายและการใช้สัตว์ - มีการแจ้งส่งออกซึ่งสัตว์ฯ จำนวน 107 ครั้ง โดยส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และ สหรัฐอเมริกา รวมทั้งสิ้น 67,188 ตัว ได้แก่ หนูแรท หนูเมาส์ และยุงก้นปล่อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการขาย การวิจัย และเพื่อตรวจสอบคุณภาพสุขภาพสัตว์ ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2558-2564 มีการแจ้งการนำเข้าซึ่งสัตว์ฯ รวม 90 ครั้ง และการแจ้งส่งออกซึ่งสัตว์ฯ รวม 236 ครั้ง 7. การขายสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ มีการขายสัตว์ทดลองจากแหล่งผลิตสัตว์ทดลองเพื่อใช้ในงานทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งสิ้นจำนวน 536,246 ตัว ได้แก่ หนูเมาส์ หนูแรท หนูตะเภา กระต่าย และไข่ไก่ปลอดเชื้อ โดยสัตว์ที่ขายมากที่สุด ได้แก่ ไข่ไก่ปลอดเชื้อ10 หนูเมาส์ และหนูตะเภา มีการขายสัตว์ทดลองจากแหล่งผลิตสัตว์ทดลองเพื่อใช้ในงานทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,040,047 ตัว ได้แก่ หนูเมาส์ หนูแรท หนูตะเภา กระต่าย และไข่ไก่ปลอดเชื้อ โดยสัตว์ที่ขายมากที่สุด ได้แก่ ไข่ไก่ปลอดเชื้อ หนูเมาส์ และหนูตะเภา มีการขายสัตว์ทดลองจากแหล่งผลิตสัตว์ทดลองเพื่อใช้ในงานทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งสิ้นจำนวน 84,383 ตัว ได้แก่ หนูเมาส์ หนูแรท หนูตะเภา และกระต่าย 8. การดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ตามมาตรา 3111 มีการแจ้งการดำเนินการต่อสัตว์ฯ จำนวน 4 โครงการ โดยเป็นการศึกษาเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้หนูเมาส์ 2 โครงการ การสืบสายพันธุ์และเพาะขยายพันธุ์หนูเมาส์ 1 โครงการ และการสืบสายพันธุ์หนูเมาส์ ไรอ่อนและแมลงหางดีด 1 โครงการ มีการแจ้งการดำเนินงานต่อสัตว์ฯ จำนวน 7 โครงการ โดยเป็นการเพาะขยายพันธุ์ จำนวน 1 โครงการ การสืบสายพันธุ์ จำนวน 2 โครงการ และการสืบสายพันธุ์และเพาะขยายพันธุ์ จำนวน 4 โครงการ มีการแจ้งดำเนินการต่อสัตว์ฯ จำนวน 11 โครงการ โดยเป็นการศึกษาเซลล์ต้นกำเนิด จำนวน 1 โครงการ การเพาะขยายพันธุ์ จำนวน 8 โครงการ และการสืบสายพันธุ์ จำนวน 2 โครงการ ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2559-2564 มีการแจ้งการดำเนินการต่อสัตว์ฯ รวมทั้งสิ้น 57 ครั้ง 3. การพัฒนางานการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ในระยะต่อไป สรุปได้ดังนี้ (1) พัฒนาคุณภาพสัตว์ทดลองทั้งชนิดและปริมาณให้หลากหลายตามความต้องการของผู้ใช้สัตว์ เช่น รัฐควรมีนโยบายที่ชัดเจนในการสนับสนุนให้ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติในฐานะหน่วยงานของรัฐปฏิบัติหน้าที่ผลิตสัตว์ให้ได้คุณภาพหลากหลายตามความต้องการของผู้ใช้ การเร่งจัดตั้งศูนย์ทดสอบคุณภาพพันธุกรรมและคุณภาพของสัตว์ทดลอง (2) พัฒนาสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ให้ได้มาตรฐานตามลักษณะงานที่ใช้ เช่น สถานที่ผลิตและทดสอบวัคซีนเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ ใช้ได้โดยปลอดภัย และไม่ก่อให้เกิดปัญหาการแพร่กระจายของเชื้อโรคสู่สิ่งแวดล้อม (3) ส่งเสริมและพัฒนาวัสดุและอุปกรณ์เพื่อการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ เช่น การใช้มาตรการทางภาษีเป็นแรงจูงใจให้ภาคเอกชนผลิตวัสดุและอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการเลี้ยงและใช้สัตว์ขึ้นภายในประเทศ ช่วยลดการนำเข้าและเพิ่มมูลค่าการส่งออกไปยังต่างประเทศ (4) พัฒนาบุคลากร เช่น จัดให้มีหลักสูตรวิชาการเลี้ยงสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ในระดับอาชีวศึกษาเพื่อสร้างพนักงานเลี้ยงสัตว์ที่มีคุณภาพ (5) พัฒนาคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของสถานที่ดำเนินการให้มีความเข้มแข็งในการกำกับดูแล เช่น การจัดอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการฯ และ (6) พัฒนาหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่กำกับดูแลตามพระราชบัญญัติฯ ได้แก่ สถาบันพัฒนาการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เพื่อให้การพัฒนางานการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยมีมาตรฐานทัดเทียมกับสากล 1กฎหมายลำดับรองประกอบการบังคับใช้ ตามพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ฯ มีทั้งสิ้น 31 ฉบับ โดยมีกฎหมายที่ประกาศใช้แล้ว ได้แก่ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี 3 ฉบับ ประกาศ/ระเบียบคณะกรรมการฯ 18 ฉบับ ประกาศ/ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 4 ฉบับ และกฎกระทรวง 1 ฉบับ และกฎหมายที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ได้แก่ กฎกระทรวง 5 ฉบับ (ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา) 2สรรหาและแต่งตั้งคณะกรรมการตามที่กฎหมายกำหนด หมายถึง การสรรหาและแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ตามมาตรา 5 และคณะกรรมการจรรยาบรรณตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานวิทยาศาสตร์ฯ 3 ?ใบอนุญาต? ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ฯ หมายความว่า ใบอนุญาตใช้หรือผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ แล้วแต่กรณี 4 ?สถานที่ดำเนินการ? ตามมาตรา 3 และมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ฯ หมายความว่า อาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือสถานที่อื่นใดที่มีการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ และให้หมายความรวมถึงพื้นที่โดยรอบของอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างที่มีการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้ ผู้ใดประสงค์จะสร้างหรือใช้อาคารสิ่งปลูกสร้าง หรือสถานที่ใดเป็นสถานที่ดำเนินการต้องแจ้งต่อเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 5ชีววัตถุ คือ ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ผลิตจากสิ่งมีชีวิตหรือจากชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิตที่ไม่รวมถึงพืช เช่น ผลิตจากเลือด เซลล์ และเนื้อเยื่อ ทั้งนี้ เพื่อ (1) รักษาโรค เช่น สารก่อภูมิต้านทานที่ใช้รักษาโรคภูมิแพ้ (2) ป้องกันโรค เช่น วัคซีนต่าง ๆ (3) การปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น เอ็นเทียม กระดูกเทียม (4) การวินิจฉัยโรค เช่น สารก่อภูมิต้านทานต่าง ๆ ที่ช่วยวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ หรือสารที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคเอชไอวี และ (5) เป็นส่วนประกอบของเลือด เช่น สารแทนน้ำเลือด (Plasma substitute) ที่ใช้รักษาผู้ป่วยในภาวะช็อกจากภาวะขาดน้ำรุนแรงของร่างกาย 6ประเภทของสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ตามกฎกระทรวงกำหนดชนิดและประเภทของสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ .... ที่อยู่ระหว่างประกาศใช้ ได้กำหนดประเภทของสัตว์ฯ ไว้ ได้แก่ (1) สัตว์ทดลอง (2) สัตว์เลี้ยง และ (3) สัตว์จากธรรมชาติ โดยสัตว์ทดลองเป็นประเภทสัตว์ที่เหมาะสมสำหรับใช้งานมากที่สุด เนื่องจากมีพันธุกรรมคงที่ มีคุณภาพและสุขภาพตรงตามที่ผู้ผลิตสัตว์กำหนด และมีระบบเลี้ยงที่ควบคุมสภาพแวดล้อมและป้องกันการติดเชื้ออย่างเข้มงวด เพื่อนำมาใช้สำหรับงานทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ 7อว. แจ้งว่า ปัจจุบันการออกใบอนุญาตใช้สัตว์ฯ แก่ผู้ที่ขอรับใบอนุญาตใช้สัตว์ฯ จะเป็นการออก ?ใบรับคำขอใบอนุญาตใช้สัตว์ฯ? เพื่อใช้แทนใบอนุญาตใช้สัตว์ฯ ไปพลางก่อนโดยอนุโลม เนื่องจากร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตใช้หรือผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. .... อยู่ระหว่างประกาศบังคับใช้ โดยกฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดให้ใบอนุญาตใช้หรือผลิตสัตว์ฯ มีอายุ 4 ปี นับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และเมื่อกฎกระทรวงดังกล่าวประกาศบังคับใช้ ผู้ขออนุญาตสามารถนำใบรับคำขอใบอนุญาตฯ ดังกล่าวมารับใบอนุญาตฯ ตามกฎหมายได้ต่อไป 8อว. แจ้งว่า การดำเนินการนำเข้า ส่งออก นำผ่านราชอาณาจักร ซึ่งสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ในปัจจุบันการนำเข้าสัตว์ฯ จากต่างประเทศ เป็นการนำเข้ามาเพื่อขายและใช้ในงานทางวิทยาศาสตร์ภายในประเทศเท่านั้น เช่น การวิจัย การทดลอง ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ผลิตสัตว์ฯ ที่มีการขอรับใบอนุญาตผลิตสัตว์ฯ ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อใช้งานเอง อีกทั้งบริษัทที่ผลิตสัตว์ทดลองส่วนมากจะผลิตเพื่อส่งออกไปขายให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าในต่างประเทศเป็นหลัก ผู้ใช้งานสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์จึงจำเป็นต้องซื้อสัตว์ฯ จากผู้ขายในประเทศหรือนำเข้าจากต่างประเทศในกรณีที่จำนวนสัตว์ฯ ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน 9อว. แจ้งว่า การตรวจสอบคุณภาพสุขภาพสัตว์ เป็นการดำเนินการเพื่อให้ได้ซึ่งสัตว์ทดลองหรือสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ที่ดีมีคุณภาพและได้มาตรฐาน เช่น การตรวจสอบคุณภาพสุขภาพสัตว์เพื่อหาการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรค หรือการผลิตสัตว์ติดเชื้อในระยะที่สามารถแพร่เชื้อจากสัตว์สู่คนได้ และส่งออกไปยังหน่วยงานในต่างประเทศ เพื่อตรวจสอบคุณภาพสุขภาพสัตว์และวิจัยเพื่อผลิตยาหรือวัคซีน โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร กรมการแพทย์ทหารบกของไทย เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่มีการส่งออกสัตว์ทดลองเพื่อตรวจสอบคุณภาพสุขภาพสัตว์ ณ สถาบันวิจัยกองทัพบกวอลเตอร์รีด (Walter Reed Army Institute of Research : WRAIR) สหรัฐอเมริกา 10อว. แจ้งว่า ไข่ไก่ปลอดเชื้อ จัดเป็นสัตว์ ตามนิยามคำว่า ?สัตว์? แห่งพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ฯ มาตรา 3 ซึ่งหมายถึง ตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังซึ่งไม่ใช่มนุษย์ ที่เกิดขึ้นหลังจากไข่ได้รับการผสมกับเชื้ออสุจิจนผ่านระยะเวลาที่มีการเจริญเติบโตจนถึงครึ่งหนึ่งของระยะเวลาการตั้งท้องหรือฟักไข่ แล้วแต่ชนิดของสัตว์ 11 มาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ฯ บัญญัติให้การดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การพัฒนาสายพันธุ์ การสืบสายพันธุ์ การเพาะขยายพันธุ์ การศึกษาเซลล์ต้นกำเนิด การดัดแปลงพันธุกรรม และการโคลนนิ่ง ต้องดำเนินการโดยผู้มีใบอนุญาต และต้องแจ้งการดำเนินการต่อเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 26. เรื่อง แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) คณะรัฐมนตรีรับทราบแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 ดังกล่าวต่อไป และให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง ยธ. รายงานว่า แผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) จัดทำขึ้นตามแนวทางที่กำหนดไว้ตามคู่มือว่าด้วยแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของคณะทำงานสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน เพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบและเคารพสิทธิมนุษยชน รวมถึงป้องกัน บรรเทา แก้ไข และเยียวยาปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยภาคธุรกิจ ตามกรอบแนวทางของหลักการ United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights (UNGPs) ซึ่งเป็นการดำเนินการบนพื้นฐานของความสมัครใจโดยไม่ได้มีพันธกรณีหรือกฎหมายระหว่างประเทศบังคับให้ต้องปฏิบัติ ประกอบกับการจัดทำและขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) เป็นหนึ่งในข้อเสนอแนะสำคัญที่ประเทศไทยรับมาปฏิบัติตามกระบวนการ UPR รอบที่ 3 รวมทั้งแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2565) ได้หมดวาระลงแล้ว ดังนั้น เพื่อเป็นการยืนยันเจตนารมณ์และความตั้งใจจริงของรัฐบาลในการขับเคลื่อนงานด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนโดยการบูรณาการร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม รวมถึงเน้นย้ำบทบาทผู้นำของประเทศไทยในประเด็นดังกล่าว จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องนำเสนอแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) ต่อคณะรัฐมนตรี สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1. พื้นฐานของหลักการ UNGPs ประกอบด้วยหลักการพื้นฐาน 3 เสาหลัก สรุปได้ ดังนี้ เสาหลักของหลักการ UNGPs สาระสำคัญ เสาหลักที่ 1 การคุ้มครอง (Protect) กำหนดหน้าที่ของรัฐในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รัฐจะต้องปกป้องและคุ้มครองบุคคลไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน สิทธิ และเสรีภาพขั้นพื้นฐานภายใต้พันธกรณีสิทธิมนุษยชนที่รัฐเป็นภาคี ไม่ว่าการทำละเมิดนั้นจะมาจากรัฐเอง องค์กรธุรกิจ หรือบุคคลภายนอก แม้ว่ารัฐจะไม่ต้องรับผิดต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่กระทำโดยเอกชน แต่รัฐมีหน้าที่ที่จะต้องกำหนดให้มีการใช้ขั้นตอนที่เหมาะสมในการป้องกันสืบสวน สอบสวน ลงโทษ และเยียวยาผลจากการกระทำที่มิชอบดังกล่าว นอกจากนี้ รัฐมีหน้าที่กำหนดความคาดหวังต่อภาคธุรกิจให้ชัดเจนว่าจะต้องมีการเคารพหลักสิทธิมนุษยชนในการประกอบธุรกิจด้วย ตลอดจนรัฐจะต้องให้การรับรองว่าองคาพยพต่าง ๆ ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจมีความเข้าใจและคำนึงถึงพันธกรณีสิทธิมนุษยชน และพร้อมที่จะให้ข้อมูลข่าวสารและให้การสนับสนุนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เสาหลักที่ 2 การเคารพ (Respect) กำหนดให้องค์กรธุรกิจและรัฐวิสาหกิจต้องดำเนินธุรกิจด้วยความเคารพสิทธิมนุษยชน โดยการปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศที่มีไว้เพื่อปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของคนในประเทศ รวมถึงองค์กรธุรกิจควรมีความรับผิดชอบในการเคารพสิทธิมนุษยชน ซึ่งสามารถกระทำได้โดยการไม่ละเมิดหรือหลีกเลี่ยงการละเมิด และการจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยควรตรวจสอบประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิด รวมถึงควรมีกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) ที่เหมาะสมกับขนาดและสภาพแวดล้อมของธุรกิจ เสาหลักที่ 3 การเยียวยา (Remedy) กำหนดให้เป็นหน้าที่ของทั้งภาครัฐและองค์กรธุรกิจที่จะต้องร่วมกันเยียวยาผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากองค์กรธุรกิจ โดยรัฐควรใช้มาตรการที่เหมาะสมทั้ง 2 มิติ ได้แก่ (1) มิติกระบวนการยุติธรรมภายในประเทศ (Judicial Process) เพื่อการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับธุรกิจ และ (2) มิติกลไกการร้องทุกข์เยียวยานอกกระบวนการยุติธรรม (Non-Judicial Process) ที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องพิจารณาแนวทางอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงกลไกการเยียวยาที่ไม่ใช่ของรัฐด้วย ซึ่งต้องมีความโปร่งใส เป็นธรรม เข้าถึงได้ มีวิธีพิจารณาที่ชัดเจน สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน โดยในส่วนบทบาทขององค์กรธุรกิจ องค์กรควรจัดให้มีหรือเข้าไปมีส่วนร่วมในกลไกการร้องทุกข์เยียวยาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาและเยียวยาได้โดยตรง 2. สาระสำคัญของแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ (1) แผนปฏิบัติการด้านแรงงาน (2) แผนปฏิบัติการด้านชุมชน ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (3) แผนปฏิบัติการด้านนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และ (4) แผนปฏิบัติการด้านการลงทุนระหว่างประเทศและบรรษัทข้ามชาติ สรุปได้ ดังนี้ 2.1 แผนปฏิบัติการด้านแรงงาน เช่น ประเด็น โครงการ/กิจกรรม ตัวชี้วัด หน่วยงานรับผิดชอบ (1) การเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาระหว่างประเทศ จัดทำแนวทางการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมปฏิญญาไตรภาคี เรื่อง หลักการว่าด้วยสถานประกอบการข้ามชาติและนโยบายสังคม (MNE Declaration)1 ที่มีความสอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย มีการจัดทำแนวทางการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมปฏิญญาไตรภาคีฯ กระทรวงแรงงาน (รง.) (2) การปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ นโยบาย และมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทบทวนกฎหมาย กฎ ระเบียบ นโยบาย และมาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิแรงงานการจัดสวัสดิการสังคม การจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำที่เพียงพอต่อการดำรงชีพ และการจัดหางานอย่างเป็นธรรมให้สอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชน มีการทบทวนปรับปรุง/แก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ นโยบายและมาตรการในประเด็นที่เกี่ยวข้อง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และ รง. (3) พัฒนาระบบบริหารจัดการแรงงาน พัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางด้านแรงงานและระบบค้นหาข้อมูลด้านแรงงาน เพื่อความสะดวกในการวิเคราะห์ด้านแรงงาน และรองรับการทำงานเชิงบูรณาการระหว่างหน่วยงาน มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลแรงงานและระบบค้นหาข้อมูลด้านแรงงาน รง. (4) การจัดหางานและการขึ้นทะเบียนแรงงาน พัฒนามาตรการควบคุมและตรวจตราการจัดหางานที่เป็นธรรม เช่น พัฒนาการติดตามตรวจสอบกระบวนการสรรหาแรงงานเพื่อรับรองว่าบุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามกฎหมายไทยรวมถึงเพิ่มอัตรากำลัง และพัฒนาศักยภาพพนักงานตรวจแรงงาน - มีการตรวจสอบบริษัทจัดหางานให้คนหางานทำงานในประเทศ - มีการพัฒนามาตรการที่ให้ประชาชนสามารถตรวจสอบทะเบียนผู้รับอนุญาตจัดหางาน รง. (5) การคุ้มครองแรงงาน จัดการฝึกอบรม ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับช่องทางการร้องทุกข์ การขอรับคำปรึกษา การขอรับความช่วยเหลือ สิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ความเท่าเทียมระหว่างเพศ การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์และกลไกภายใต้กฎหมายในประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศรวมถึงหลักการ UNGPs และเผยแพร่คู่มือสำหรับผู้ว่าจ้าง และการเคารพความหลากหลายทางวัฒนธรรม คู่มือสำหรับภาคธุรกิจ : วิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานภายใต้กฎหมายแรงงานไทย และองค์ความรู้เบื้องต้นด้านการสรรหา จัดจ้างแรงงานข้ามชาติอย่างเป็นธรรมและมีจริยธรรมแก่ผู้ประกอบการและแรงงานทั้งแรงงานไทย และแรงงานข้ามชาติรวมถึงเผยแพร่คู่มือความรู้ดังกล่าวในภาษาที่แรงงานสามารถเข้าใจได้ง่ายในวงกว้าง - จำนวนการฝึกอบรม/จำนวนแรงงานที่ได้รับการอบรม - จำนวนหรือช่องทางสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีการเผยแพร่ - การประเมินความรู้ความเข้าใจหลังเข้ารับการฝึกอบรม พม. ยธ. และ รง. (6) การขจัดการเลือกปฏิบัติการล่วงละเมิดและการเข้าไม่ถึงสิทธิประโยชน์ทางแรงงานอย่างเท่าเทียม พัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูล/รวบรวมสถิติการละเมิดสิทธิแรงงานรวมถึงแรงงานข้ามชาติและแรงงานกลุ่มเปราะบางต่าง ๆ และการเข้าไม่ถึงสิทธิประโยชน์อย่างเท่าเทียมในภาคธุรกิจ เพื่ออำนวยความสะดวกในการวิเคราะห์ในเชิงนโยบาย - มีการพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูล/รวบรวมสถิติการละเมิดสิทธิแรงงาน - จำนวนข้อมูลสถิติและรายงานประจำปี รง. 2.2 แผนปฏิบัติการด้านชุมชน ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เช่น ประเด็น ข้อเสนอแนะโครงการ/กิจกรรม ตัวชี้วัด หน่วยงานรับผิดชอบ (1) การพัฒนาปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ นโยบาย และมาตรการต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง ทบทวน ปรับปรุง แก้ไข และเสนอร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรการเกี่ยวกับการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง ในการจัดการที่ดิน แหล่งน้ำ สภาพภูมิอากาศทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบธุรกิจ มีการทบทวน/ปรับปรุง/เสนอ/แก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรการที่เกี่ยวข้อง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) และ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) (2) กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและการพัฒนาศักยภาพชุมชน จัดให้มีการหารือและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและชุมชนที่ได้รับผลกระทบ ทั้งในรูปแบบออนไลน์และในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ โดยดำเนินการตั้งแต่ขั้นการกำหนดนโยบาย ก่อนเข้าไปดำเนินโครงการใด ๆ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนมีบทบาทในการกำหนดรูปแบบการใช้ประโยชน์ของพื้นที่และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ รวมถึงการพิจารณากำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดโครงการเพื่อให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วม ในกระบวนการรับฟังความเห็นต่าง ๆ ทั้งภายใต้กฎหมายสิ่งแวดล้อมและกฎหมายอื่น ๆ โครงการ/กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พม. กษ. ทส. กระทรวงพลังงาน (พน.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) และ อก. (3) การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม/สุขภาพ ทบทวนและพัฒนาระบบการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม/สุขภาพและกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในขั้นตอนการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม/สุขภาพให้เป็นไปด้วยความโปร่งใส เป็นไปตามกฎหมาย จรรยาบรรณและแนวทางการปฏิบัติที่ดีโดยเคร่งครัดผ่านการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยผู้จัดทำรายงานประเมินผลต้องมีความเป็นอิสระ มีความเชี่ยวชาญเป็นไปตามหลักวิชาการตลอดจนเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องล่วงหน้า เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียมีเวลาเพียงพอในการทำความเข้าใจกับข้อเสนอต่าง ๆ และเตรียมข้อเสนอแนะของตน ทำการเปิดเผยรายงานการประเมินผลกระทบ และในกรณีที่ผู้มีส่วนได้เสียเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ควรมีการจัดทำคำแปลเป็นภาษาท้องถิ่น และมีการสื่อสารในลักษณะที่เหมาะสม - มีการทบทวนและพัฒนาระบบการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม/สุขภาพ - มีการจัดการข้อร้องเรียนเกี่ยวกับโครงการและการแก้ไขปัญหา - ช่องทางการเปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ทส. และ อก. (4) เขตเศรษฐกิจพิเศษ เปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการและการจัดทำผังเมืองต่าง ๆ ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ รวมถึงระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยการดำเนินการจัดสรรที่ดินในพื้นที่ดังกล่าว ต้องพิจารณาตามศักยภาพและบทบาทของพื้นที่อย่างแท้จริง อีกทั้งประกันการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยเฉพาะผู้มีส่วนได้เสียและชุมชนที่อาจได้รับผลกระทบ - กำหนดให้มีการโฆษณา/ประชาสัมพันธ์/เปิดเผยข้อมูลโครงการทั้งก่อนดำเนินโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ และหลังจบโครงการ โดยให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลอย่างทั่วถึงโดยรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการจัดสรรรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน - กำหนดเพิ่มช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการให้กับประชาชนโดยเฉพาะผู้มีส่วนได้เสียให้รับรู้มากขึ้น - จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในทุกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ กระทรวงคมนาคม (คค.) มท. อก. สศช. และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (5) อากาศที่ดีและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ดำเนินการแก้ไขปัญหามลพิษในพื้นที่ต่าง ๆ โดยเร็ว และเร่งรัดบังคับใช้มาตรการควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิดอุตสาหกรรม โดยรวมถึงการพิจารณาส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมจัดตั้งแผนกเกี่ยวกับการรายงานคาร์บอนในบริษัท เพื่อจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก และประสานข้อมูลกับหน่วยงานราชการตลอดจนปรับปรุงมาตรฐานการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินธุรกิจ - มีมาตรการแก้ไขปัญหามลพิษ - มีการทบทวน/ปรับปรุง/แก้ไขมาตรฐานการปล่อยมลพิษ ทส. และ อก. (6) การเยียวยา 1) กำหนดช่องทางและมาตรการการเยียวยา สำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาต่าง ๆ โดยการชดเชยเยียวยาต้องรวดเร็ว เป็นธรรม และเป็นไปตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและชุมชนที่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการจัดหาที่อยู่อาศัยให้ใหม่ ควรเป็นพื้นที่ซึ่งเหมาะสมสำหรับการดำรงชีพตามหลักการในความเห็นทั่วไป ฉบับที่ 4 ของคณะกรรมาธิการสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม2 2) วางแผนการเยียวยาตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนโครงการเพื่อกำหนดงบประมาณเยียวยาสำหรับโครงการแต่ต้น โดยให้ผู้มีส่วนได้เสียสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าวได้ มีการพัฒนาช่องทางและมาตรการการเยียวยาสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาต่าง ๆ จำนวนโครงการที่มีการวางแผนเยียวยาแต่ต้นโดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย กษ. ทส. มท. ยธ. ศอ.บต. และ สคทช. คค. ทส. มท. และ อก. 2.3 แผนปฏิบัติการด้านนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เช่น ประเด็น ข้อเสนอแนะโครงการ/กิจกรรม ตัวชี้วัด หน่วยงานรับผิดชอบ (1) การเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและความร่วมมือกับกลไกสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ผลักดันการเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance : ICPPED ) ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ (ICPPED) ยธ. (2) การปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ นโยบาย และมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง พิจารณา จัดทำ ทบทวน ปรับปรุง หรือแก้ไขกฎหมาย มาตรการ กลไก และกระบวนการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยรวมถึงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นผู้หญิงและกลุ่มเปราะบางอื่น ๆ เพื่อให้ทำงานได้อย่างปลอดภัยทั้งด้าน Offline และ Online โดยสอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ มีการพิจารณา/จัดทำ/ทบทวน/ปรับปรุง/แก้ไข กฎหมาย/มาตรการกลไกและกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้ความคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน พม. ยธ. และสำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) (3) การสร้างความรู้ความเข้าใจ สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทนักปกป้องสิทธิมนุษยชนให้กับทุกภาคส่วนทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับมาตรการส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการจัดการชุมนุม เพื่อนำมาปรับใช้กับบริบทของไทย - โครงการ/กิจกรรม/สื่อเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน - ระดับความรู้ความเข้าใจของผู้เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม/เรียนรู้จากสื่อ กต. ยธ. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) (4) การร้องเรียน ร้องทุกข์ ขอความช่วยเหลือ บูรณาการการทำงานของกลไกการร้องเรียนร้องทุกข์และการให้ความช่วยเหลือ และสนับสนุนให้กลไกดังกล่าวสามารถดำเนินการได้สะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจ มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบโดยทั่วถึง และมีการติดตามแจ้งความคืบหน้าเกี่ยวกับการพิจารณาเรื่องร้องเรียนแก่ผู้ร้องเรียนโดยสม่ำเสมอ - จำนวนข้อร้องเรียนที่ได้รับการแก้ไข - การประเมินความพึงพอใจโดยผู้ทำการร้องเรียน - มาตรการดำเนินการ/ประสานงานในการให้ความคุ้มครองช่วยเหลือและดูแลผู้ร้อง พม. กษ. ทส. กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) มท. ยธ. อก. ตช. และ อส. (5) กลไกการไกล่เกลี่ย/การดำเนินคดี บูรณาการ ส่งเสริม และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับระบบการไกล่เกลี่ยในทุกระดับชั้นของกระบวนการยุติธรรมตลอดจนการพัฒนากลไกการระงับข้อพิพาททางเลือกอื่น ๆ - โครงการ/กิจกรรมส่งเสริมการไกล่เกลี่ยและมาตรการระงับข้อพิพาททางเลือก - ช่องทางการประชาสัมพันธ์การไกล่เกลี่ยในทุกระดับชั้นของกระบวนการยุติธรรม ยธ. และ อส. (6) การเยียวยา เยียวยาเหยื่อ/ผู้เสียหายตามกรอบกฎหมายและพัฒนามาตรการเยียวยาทั้งทางร่างกาย และจิตใจให้สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยรวมถึงปฏิญญาว่าด้วยหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการอำนวยความยุติธรรมแก่ผู้ได้รับความเสียหายจากอาชญากรรมและการใช้อำนาจโดยมิชอบ (UN Declaration of Basic Principles of Justice for Victims of Crime and Abuse of Power) ตามความเหมาะสมและเพศสภาวะ มีการปรับปรุงระบบและมาตรการเยียวยาเหยื่อ/ผู้เสียหายเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ยธ. พม. และ กระทรวงสาธารณสุข 2.4 แผนปฏิบัติการด้านการลงทุนระหว่างประเทศและบรรษัทข้ามชาติ เช่น ประเด็น ข้อเสนอแนะโครงการ/กิจกรรม ตัวชี้วัด หน่วยงานรับผิดชอบ (1) การปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ นโยบาย และมาตรการต่าง ๆ ศึกษาและจัดทำแนวปฏิบัติและกระบวนการให้ความเห็นต่อสัญญาในกรณีที่ภาครัฐและรัฐวิสากิจทำธุรกิจกับบรรษัทข้ามชาติ โดยให้ครอบคลุมแนวทางตามหลักการ UNGPs พันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศอื่น ๆ รวมถึงสอดคล้องกับข้อตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนฉบับมาตรฐานที่ กต. ทำการปรับปรุง คู่มือแนวปฏิบัติและกระบวนการให้ความเห็นต่อสัญญาในกรณีที่ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจทำธุรกิจกับบรรษัทข้ามชาติ กต. ยธ. และ อส. (2) ความตระหนักรู้ด้านพันธกรณีของประเทศไทยในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนข้ามพรมแดน จัดฝึกอบรมเพื่อเผยแพร่ความรู้สิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะหลักการ UNGPs และการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence : HRDD) ให้กับภาคธุรกิจพร้อมทั้งจัดให้มีช่องทางสื่อสารแก่ภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุนไทย รวมถึงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และธุรกิจสัญชาติไทยที่จะไปลงทุนในต่างประเทศ - โครงการ/กิจกรรมการจัดประชุม/อบรม/มีหนังสือเวียนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิโดยเฉพาะหลักการ UNGPs และ HRDD ให้กับภาคธุรกิจ - การประเมินความรู้ของผู้เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม กต. พณ. ยธ. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย (3) การพัฒนากลไกเชิงรุกในการตรวจสอบแก้ไข ป้องกัน ประเมิน และติดตามผลกระทบข้ามพรมแดนและในต่างประเทศ พัฒนามาตรการกลไกการกำกับดูแลนักลงทุนไทยที่ไปลงทุนข้ามพรมแดนในต่างประเทศให้เคารพสิทธิมนุษยชนหลักการ UNGPs และเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Economy) มาตรการ/กลไกกำกับดูแลการลงทุนข้ามพรมแดน กต. และ ยธ. (4) มาตรการป้องกันและสร้างแรงจูงใจเพื่อส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชน กำหนดให้รัฐวิสาหกิจมีแนวทางในการป้องกันและบรรเทาความเสี่ยงผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนรวมถึงการดำเนินการในต่างประเทศ ทั้งโดยองค์กรเอง บริษัทย่อย บริษัทในเครือ ผู้รับจ้างตามสัญญาหรือกิจการร่วม - มีการนำระบบประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจใหม่ (State Enterprise Assessment Model: SE-AM) มาใช้ประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ - มีการนำหลักการและแนวทางกำกับดูแลกิจการที่ดีมาใช้บังคับ กค. (5) ความร่วมมือในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ ศึกษาและพิจารณาความเหมาะสมในการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติสำหรับบรรษัทข้ามชาติขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD Guidelines for Multinational Enterprises) การมีส่วนร่วมในคณะทำงาน OECD ว่าด้วยการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ (OECD Working Party on Responsible Business Conduct) และการกำหนดแนวทางจัดตั้งกลไกศูนย์ติดต่อประสานงานแห่งชาติ (National Contact Point) ในรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย รายงานผลการศึกษารวมถึง Roadmap เกี่ยวกับการกำหนดแนวทางจัดตั้งกลไกศูนย์ติดต่อประสานงานแห่งชาติ กต. และ ยธ. (6) การเยียวยา 1) พัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนข้ามพรมแดนรวมถึงผลกระทบ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินคดี เยียวยา หรือให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย - จำนวนผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรมที่ได้รับการอบรมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนข้ามพรมแดนรวมถึงผลกระทบ - ความรู้ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนข้ามพรมแดน รวมถึงผลกระทบของผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรม ยธ. และ อส. 3. กลไกการกำกับดูแลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) ดำเนินการผ่านคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เป็นประธานอนุกรรมการและมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นอนุกรรมการฯ โดยมีหน้าที่และอำนาจในการพิจารณาให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ การพัฒนาและปรับปรุงแผนปฏิบัติการฯ และการแก้ไขปัญหากรณีข้อร้องเรียนร้องทุกข์จากการดำเนินธุรกิจของสถานประกอบการ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึงแต่งตั้งคณะทำงานหรือเชิญบุคคล หรือหน่วยงานมาเข้าร่วมประชุมและให้ข้อมูล ตลอดจนกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ และเสนอรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนงานสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ทั้งนี้ กลไกดังกล่าวจะเป็นกลไกหลักในการกำกับดูแลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) ซึ่งจะมีการประชุมร่วมกันอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี 4. การติดตามและรายงานผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) จะดำเนินการผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่ (1) ผู้ประสานงานหลักประจำหน่วยงาน (2) การจัดทำหนังสือราชการเพื่อขอความอนุเคราะห์ข้อมูลผลการปฏิบัติตามแผนการปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) และ (3) การรายงานผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) ผ่านระบบรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) (http://nap.rlpd.go.th) ทั้งนี้ ยธ.จะเป็นผู้รวบรวมข้อมูลผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) และจะจัดทำรายงานประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) ระยะครึ่งรอบ (ระหว่าง พ.ศ. 2566-2568) และระยะเต็มรอบ (ระหว่าง พ.ศ. 2566-2570) เสนอต่อคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย และนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและเผยแพร่ต่อสาธารณะต่อไป 5. ยธ. ได้ส่งร่างแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) ให้ สศช. เพื่อพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 โดย สศช.เห็นว่า ร่างแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) เป็นแผนระยะที่ 3 ที่ไม่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี อีกทั้งมิใช่พันธกรณีหรืออนุสัญญาระหว่างประเทศ แต่เป็นเอกสารเชิงให้ข้อแนะนำและกำหนดบทบาทหน้าที่ให้กับภาครัฐและภาคธุรกิจ รวมทั้งแนวทางการดำเนินธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ นำหลักการไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศตนเอง ดังนั้น จึงไม่ถือว่าเป็นแผนระดับที่ 3 ที่ต้องเสนอมาให้ สศช. พิจารณากลั่นกรองตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 ทั้งนี้ เพื่อให้ร่างแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) เกิดประสิทธิผลในทางปฏิบัติยิ่งขึ้น มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้ 5.1 ควรพิจารณาเพิ่มเติมข้อมูลทางสถิติที่สะท้อนให้เห็นถึงระดับความรุนแรงของปัญหาร่วมกับข้อมูลเชิงคุณภาพ เพื่อให้การกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาการถ่ายระดับจากแนวทางไปยังการดำเนินงานของหน่วยงานผ่านโครงการต่าง ๆ การจัดลำดับความสำคัญของโครงการ และการประเมินผลการดำเนินงาน มีความชัดเจนยิ่งขึ้น 5.2 ควรกำหนดค่าเป้าหมายและตัวชี้วัดในภาพรวม ตลอดจนเป้าหมายและตัวชี้วัดในแผนปฏิบัติการด้านต่าง ๆ ให้มีความชัดเจน โดยเฉพาะในกิจกรรมที่มิใช่การพัฒนาหรือปรับแก้กฎหมาย กฎ ระเบียบต่าง ๆ เพื่อให้สามารถวัดระดับความสำเร็จและสามารถติดตามผลได้อย่างเป็นรูปธรรม 5.3 ควรมีการถอดบทเรียนปัญหาอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2565) และมีการเปลี่ยนข้อค้นพบดังกล่าวเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) เพื่อให้เกิดการผลักดันประเด็นสำคัญให้เห็นผลได้อย่างแท้จริง 1คือ ตราสารขององค์การแรงงานระหว่างประเทศที่สื่อสารโดยตรงกับบริษัทต่าง ๆ นอกเหนือจากภาครัฐบาล องค์กรนายจ้าง และองค์กรลูกจ้าง ซึ่งสะท้อนถึงฉันทามติของฝ่ายรัฐบาล นายจ้าง และแรงงานในประเด็นที่สำคัญ 5 ประการ ที่ธุรกิจจะสามารถมีบทบาทในการสร้างผลกระทบทางสังคมในเชิงบวกได้สูงสุด ได้แก่ (1) นโยบายทั่วไป (2) การจ้างงาน (3) การอบรม (4) สภาพการจ้างและการดำรงชีพ และ (5) แรงงานสัมพันธ์ 2คือ หลักการที่ว่าด้วยสิทธิในที่อยู่อาศัยต้องได้รับการประกันให้กับทุกคนโดยไม่คำนึงถึงรายได้หรือการเข้าถึงทรัพยากรทางเศรษฐกิจและจะต้องหมายถึงที่อยู่อาศัยที่เพียงพอ มีความเป็นส่วนตัวที่เพียงพอ พื้นที่เพียงพอ ความปลอดภัยที่เพียงพอ แสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอ รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานและตำแหน่งที่ตั้งเกี่ยวกับการทำงานและสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน ซึ่งทั้งหมดต้องอยู่ในราคาที่สมเหตุสมผล 27. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการกำหนดมาตรการในการควบคุมเกี่ยวกับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เสนอรายงานผลการดำเนินการกำหนดมาตรการในการควบคุมเกี่ยวกับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งเป็นการรายงานผลการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 ข้อเท็จจริง ตช. รายงานว่า ได้ดำเนินการประชุมร่วมกับกระทรวงการคลัง (กค.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณากำหนดมาตรการในการควบคุมเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลระหว่างกันโดยตรง (Peer-to-Peer) ภายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ได้รับอนุญาต โดยผู้แทนทุกหน่วยงานมีความเห็นตรงกันว่า ปัจจุบันมิจฉาชีพใช้ช่องทางการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลระหว่างกันโดยตรง (Peer-to-Peer) ภายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ได้รับอนุญาตและการประกอบธุรกิจและเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามแนวชายแดน เป็นช่องทางหลักในการโอนเงินที่ได้จากการหลอกลวงประชาชนออกไปยังต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังใช้เป็นช่องทางในการฟอกเงินของผู้กระทำผิดกฎหมาย จึงกำหนดมาตรการเพื่อบูรณาการในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวร่วมกันโดยให้หน่วยงานต่าง ๆ รับผิดชอบ ดังนี้ หน่วยงาน การดำเนินการ 1. ตช. ? จัดทำฐานข้อมูลผู้ประกอบธุรกิจซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลระหว่างกันโดยตรง (Peer-to-Peer) ภายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ได้รับอนุญาตและผู้ประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามแนวชายแดน ? ขยายผลการกระทำผิดในทุกคดีหากพบผู้ประกอบธุรกิจซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลระหว่างกันโดยตรง (Peer-to-Peer) ภายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ได้รับอนุญาตและผู้ประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามแนวชายแดนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดให้ดำเนินคดีอย่างเคร่งครัดทุกกรณี และหากพบว่าเป็นความผิดมูลฐานให้ส่งเรื่องแจ้งให้สำนักงาน ปปง. พิจารณาดำเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยทันที ? ตั้งคณะทำงานศึกษาเรื่องแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลระหว่างกันโดยตรงผ่านศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ได้รับอนุญาต และผู้ประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจตามแนวชายแดน โดยเชิญผู้ที่มีความเชี่ยวชาญจากสถาบันการศึกษาร่วมกันวิจัยเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว 2. สำนักงาน ปปง. ? ตรวจสอบธุรกรรมต้องสงสัยของผู้ประกอบธุรกิจซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลระหว่างกันโดยตรงผ่านศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ได้รับอนุญาตและผู้ประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามแนวชายแดน ตามที่ ตช. ส่งข้อมูลให้เพื่อดำเนินการตรวจสอบเส้นทางการเงินและความเชื่อมโยงของบัญชีธนาคารและสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อระงับ ยึด หรืออายัด ตามอำนาจหน้าที่อย่างเคร่งครัด และให้แจ้งผลการปฏิบัติให้ ตช. ทราบเพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลและดำเนินการบังคับใช้กฎหมายในส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป ? พิจารณาปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลระหว่างกันโดยตรง (Peer-to-Peer) เป็นผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 มีหน้าที่ต้องรายงานธุรกรรมที่ต้องสงสัยต่อสำนักงาน ปปง. เพื่อพิจารณาธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยของผู้ประกอบอาชีพทั้งที่เป็นนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาที่มีเหตุอันควรสงสัยตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการรายงานธุรกรรม เพื่อป้องกันมิให้มีการใช้ช่องทางดังกล่าวในการฟอกเงิน 3. กรมสรรพากร ? ตรวจสอบการเสียภาษีของผู้ประกอบธุรกิจซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลระหว่างกันโดยตรงผ่านศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ได้รับอนุญาต และผู้ประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามแนวชายแดน ตามที่ ตช. ได้จัดทำฐานข้อมูลและส่งให้ตรวจสอบ หากพบว่ามีการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่อย่างเคร่งครัด และให้แจ้งผลการปฏิบัติให้ ตช. ทราบเพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลและดำเนินการบังคับใช้กฎหมายในส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป 4. ธนาคารแห่งประเทศไทย ? ดำเนินการประกาศพื้นที่เสี่ยงเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ดำเนินการตรวจสอบและเฝ้าระวังการทำธุรกรรมการโอนเงินไปยังต่างประเทศจากพื้นที่ที่ประกาศเป็นพื้นที่เสี่ยง หากพบธุรกรรมต้องสงสัยจะมีการระงับการทำธุรกรรมและแจ้งการทำธุรกรรมต้องสงสัยให้ ตช. ทราบ เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป 5. สำนักงาน ก.ล.ต. ? ติดตามตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลหากตรวจพบการกระทำความผิดให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่อย่างเคร่งครัด และให้แจ้งผลการปฏิบัติให้ ตช. ทราบ เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลและดำเนินการบังคับใช้กฎหมายในส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป ? พิจารณาปรับแก้ไขร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. .... ซึ่งอยู่ระหว่างการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้สามารถควบคุมและกำกับดูแลการประกอบธุรกิจซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลระหว่างกัน โดยตรงผ่านศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ได้รับอนุญาต ? เร่งรัดการออกประกาศ ข้อบังคับ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลทั้งในประเทศและนอกประเทศที่เข้ามาทำธุรกิจในราชอาณาจักรไทยให้มีมาตรฐานการปฏิบัติเช่นเดียวกับธนาคาร ในด้านการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการทั้งข้อมูลส่วนบุคคลและสถานที่ติดต่อให้แน่ชัด รวมไปถึงการเก็บรายการเคลื่อนไหวทางบัญชี (Statement) ข้อมูลความเคลื่อนไหวการทำธุรกรรมต่าง ๆ หากพบบัญชี หรือการทำธุรกรรมที่ต้องสงสัยเกี่ยวกับการฟอกเงินหรือธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินดิจิทัลให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่อย่างเคร่งครัด และให้แจ้งผลการปฏิบัติให้ ตช. ทราบ เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลและดำเนินการบังคับใช้กฎหมายในส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป ต่างประเทศ 28. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกว่าด้วยการขยายความร่วมมือในสาขาเฉพาะ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกว่าด้วยการขยายความร่วมมือในสาขาเฉพาะ (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) และอนุมัติให้เลขาธิการอาเซียนลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าวในนามอาเซียนตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง 1. คณะรัฐมนตรีมีมติ (6 ธันวาคม 2565) รับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน1 (AEM) ครั้งที่ 54 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 14 - 18 กันยายน 2565 ณ จังหวัดเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา ที่ พณ. เสนอ โดยที่ประชุมดังกล่าวมีการหารือร่วมกันของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับผู้อำนวยการใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (นาย Daren Tang) ถึงแนวทางการขยายความร่วมมือระหว่างอาเซียนและองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization: WIPO)2 และเห็นชอบให้มีการจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างอาเซียนและ WIPO 2. เรื่องนี้กระทรวงพาณิชย์นำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกว่าด้วยการขยายความร่วมมือในสาขาเฉพาะ (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) และอนุมัติให้เลขาธิการอาเซียนเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ ซึ่งจะมีการลงนามในช่วงการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers? Meeting: AEM) ครั้งที่ 55 ที่จะเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม 2566 โดยร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายความร่วมมือระหว่างอาเซียนและองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization: MIPO) ในด้านทรัพย์สินทางปัญญาในเรื่องใหม่นอกเหนือจากที่ดำเนินการอยู่แล้วตามแผนปฏิบัติการด้านทรัพย์สินทางปัญญา พ.ศ. 2559 - 2568 (The ASEAN Intellectual Property Rights Action Plan 2016 - 2025: AIPRAP) ที่อาเซียนดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน โดยดำเนินการใน 4 ประเด็น ได้แก่ (1) การให้ความช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) และสตาร์ทอัพในการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาสนับสนุนการค้าภายในภูมิภาคอาเซียนและระหว่างภูมิภาค เช่น การอำนวยความสะดวกในการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา (2) การยกระดับเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อความสำเร็จทางธุรกิจด้วยการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำทรัพย์สินทางปัญญามาใช้พัฒนาแอปพลิเคชันมือถือ วิดีโอเกม เพื่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ (3) การสนับสนุนการนำทรัพย์สินทางปัญญาและสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้มาใช้ค้ำประกันเงินกู้เพื่อต่อยอดธุรกิจ และ (4) การสนับสนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยร่างบันทึกความเข้าใจมีผลบังคับใช้ 5 ปี และไม่ก่อให้เกิดผลผูกพันด้านงบประมาณ ในกรณีที่ต้องใช้งบประมาณจะต้องมีการทำความตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นรายกรณี ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์แจ้งว่าการจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจฯ จะส่งเสริมให้เกิดการสร้างเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้และประสบการณ์ในด้านที่ประเทศไทยยังมีความพร้อมไม่มากพอ เช่น ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นต้น 3. กระทรวงการคลัง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและกระทรวงยุติธรรมพิจารณาแล้วไม่ขัดข้อง ส่วนกระทรวงการต่างประเทศ (กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ไม่เป็นการจัดทำหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และโดยที่เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันรัฐบาลไทยตามนัยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 มาตรา 4 (7) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า การให้ความเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจฯ ไม่เป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไปตามนัยมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 1การประชุมรัฐนตรีเศรษฐกิจอาเซียนจะมีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อวางนโยบายและกำหนดแนวทางในการขยายขอบเขตความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียน โดยแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนจะเวียนกันเป็นเจ้าภาพการประชุมตามลำดับอักษร 2องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization: WPO) เป็นองค์กรระหว่างประเทศภายใต้องค์การสหประชาชาติ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2510 เพื่อส่งเสริมการปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาโดยปัจจุบันมีสมาชิก 192 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ราชอาณาจักรสวีเดน ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น โดยในส่วนของประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกเมื่อปี 2532 29. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ประจำปี 2566 (Ministers Responsible for Trade Meeting 2023) คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ประจำปี 2566 (Ministers Responsible for Trade Meeting 2023) (การประชุมฯ) ระหว่างวันที่ 25-26 พฤษภาคม 2566 ณ เมืองดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา โดยมีรองปลัดกระทรวงพาณิชย์ (นายเอกฉัตร ศีตวรรัตน์) เข้าร่วมการประชุมฯ [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (16 พฤษภาคม 2566) ที่เห็นชอบร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี 2566 (ร่างแถลงการณ์ฯ) และเอกสารที่เกี่ยวข้องโดยหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีเคยได้เห็นชอบไว้ ให้สามารถดำเนินการได้โดยนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง] ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ การประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ประจำปี 2566 สรุปได้ ดังนี้ 1. วาระระบบการค้าพหุภาคี ที่ประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค (ที่ประชุมฯ) ยืนยันให้การสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคี เร่งรัดการปฏิบัติตามผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ครั้งที่ 12 เมื่อเดือนมิถุนายน 2565 และสนับสนุนให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมในการประชุมครั้งต่อไป โดยผู้อำนวยการใหญ่ WTO คาดหวังให้ประเด็นการค้าและการพัฒนาเป็นหนึ่งในผลลัพธ์ดังกล่าว ทั้งนี้ เขตเศรษฐกิจเอเปคจำนวนมากกล่าวถึงประเด็นการปฏิรูป WTO (รวมถึงกลไกการระงับข้อพิพาท) และสิ่งแวดล้อมด้วย โดยในส่วนของประเทศไทยได้มีการนำเสนอแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย 2. วาระการค้ากับความยั่งยืนและครอบคลุม มีการนำเสนอนโยบายทางการค้าหรือมาตรการภายในที่สนับสนุนความยั่งยืนและส่งเสริมความครอบคลุม เช่น การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน การพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Micro, Small and Medium Enterprises: MSMEs) ของสตรีและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ทั้งนี้ ไทยสนับสนุนให้สานต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว [Bangkok Goals on Bio-Circular-Green Economy (BCG Economy)] และเน้นย้ำการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจผ่านข้อริเริ่มต่าง ๆ (รวมถึงแผนงานเขตการค้าเสรี เอเชีย-แปซิฟิก (Free Trade Area of the Asia-Pacific: FTAAP) 3. การหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) เป็นวาระพิเศษที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 โดยผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกาทำหน้าที่เป็นผู้นำการหารือร่วมกับผู้ประกอบการ SMEs เกี่ยวกับประเด็นการใช้เทคโนโลยีหรือบริการทางดิจิทัลในสาขาการชำระเงิน แพลตฟอร์มทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการดำเนินการด้านโลจิสติกส์ เพื่อสนับสนุนให้ SMEs สามารถเข้าสู่เศรษฐกิจโลกได้มากขึ้น 4. เอกสารผลลัพธ์การประชุม เขตเศรษฐกิจเห็นพ้องกันในทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการค้าการลงทุน แต่เนื่องจากเหตุทางการเมืองระหว่างประเทศ (สงครามสหพันธรัฐรัสเซีย-ยูเครน) ที่ประชุมฯ จึงไม่สามารถมีฉันทามติรับรองแถลงการณ์ร่วมฯ ได้ โดยปรากฎเป็นเอกสารผลลัพธ์และมีประเด็นที่มีการปรับเปลี่ยนและเพิ่มเติม เช่น เอกสารผลลัพธ์ ประเด็นที่มีการปรับเปลี่ยน/เพิ่มเติม (1) แถลงการณ์ประธานรัฐมนตรีการค้าเอเปค ประจำปี 2566 (แถลงการณ์ประธานฯ) ปรับย้ายย่อหน้าการสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคีจากเดิมที่อยู่ตอนท้ายมาเป็นตอนต้น และเพิ่มเติมรายละเอียดของการดำเนินงานในปัจจุบันภายใต้ WTO เพิ่มเติมถ้อยคำแสดงความมุ่งมั่น ข้อสั่งการ และรายชื่อเอกสารผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เอเปคสามารถบรรลุผลลัพธ์การดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การส่งเสริมการค้าและการลงทุนที่จะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม การเร่งรัดการปฏิบัติการตามแผนงานลาเซเรนาเพื่อสตรีและการเจริญเติบโตที่ครอบคลุม และการขับเคลื่อน FTAAP โดยการเสริมสร้างศักยภาพและความร่วมมือ (2) ภาคผนวกเรื่องหลักการสำหรับการทำงานร่วมกันของระบบใบแจ้งหนี้อิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคเอเปค เป็นภาคผนวกที่ให้การรับรองเพิ่มเติมในระหว่างการประชุมเพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงและสร้างความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางดิจิทัล โดยพยายามให้เขตเศรษฐกิจเอเปคสามารถใช้ใบแจ้งหนี้อิเล็กทรอนิกส์ร่วมกันได้ตามเขตอำนาจของกฎหมายของแต่ละเขตเศรษฐกิจ รวมถึงการส่งเสริมการใช้มาตรฐานและพิธีการร่วมกันและการสนับสนุนข้อริเริ่มที่เกี่ยวข้อง (3) ภาคผนวกเรื่องหลักการทั่วไปที่ไม่มีผลผูกพันเรื่องบริการที่สนับสนุนการจัดเก็บขยะในทะเลของเอเปค ตัดหัวข้อการติดตามสถานการณ์ขยะในทะเลและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องออก ทั้งนี้ ประเด็นที่มีการปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมจากเอกสารผลลัพธ์ไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2566 ความเห็นและข้อสังเกตของ พณ. 1 สหรัฐอเมริกาในฐานะเจ้าภาพให้ความสำคัญกับนโยบายการค้าที่สนับสนุนความยั่งยืนและครอบคลุม ซึ่งเขตเศรษฐกิจได้นำเสนอนโยบายหรือมาตรการภายในที่สอดรับกับแนวทางดังกล่าว ขณะที่ไทยได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาสินค้าภายใต้แนวคิด BCG Economy ที่สามารถตอบโจทย์การค้าสินค้าที่ยั่งยืน สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าของไทย และเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการพัฒนาไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมของการประชุมด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ 2. ความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศส่งผลให้ที่ประชุมฯ ต้องออกเอกสารผลัพธ์เป็นแถลงการณ์ประธานฯ แทนการออกแถลงการณ์ร่วมฯ แต่ไม่ได้ส่งผลให้การดำเนินงานของเอเปคหยุดชะงักเนื่องจากทุกเขตเศรษฐกิจเห็นพ้องและยอมรับในสาระสำคัญที่จะผลักดันและสานต่อการทำงานของเอเปคในทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการลงทุน 30. เรื่อง เอกสารถ้อยแถลงเพื่อการดำเนินงาน (Statement of Undertaking : SoU) ของกลุ่มดำเนินงานด้านกรดไนตริกเพื่อสภาพภูมิอากาศ (Nitric Acid Climate Action Group : NACAG) (คาโปรแลคตัม) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบต่อการยกเลิกเอกสารถ้อยแถลงเพื่อการดำเนินงาน (Statement of Undertaking : SoU) (กรดไนตริก) [SoU (กรดไนตริก)] ของกลุ่มดำเนินงานด้านกรดไนตริกเพื่อสภาพภูมิอากาศ (Nitric Acid Climate Action Group : NACAG) (กลุ่ม NACAG) และให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวด (สผ.) แจ้งสำนักเลขาธิการ NACAG เพื่อทราบ 2. เห็นชอบเอกสารถ้อยแถลงเพื่อการดำเนินงาน (Statement of Undertaking : SoU) (คาโปรแลคตัม) [SoU (คาโปรแลคตัม)] ของกลุ่ม NACAG โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ ทส. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก [เอกสาร SoU (คาโปรแลคตัม) มีลักษณะเป็นแถลงการณ์ซึ่งมีการลงนามฝ่ายเดียวโดยภายหลังจากคณะรัฐมนตรีมีติเห็นชอบ ทส. จะดำเนินการส่งเอกสารดังกล่าวต่อสำนักเลขาธิการ NACAG ต่อไป] 3. เห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้แทนลงนามในเอกสารดังกล่าว 4. มอบหมายกรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ร่วมกับ ทส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้กลุ่ม NACAG ของไทยให้สอดคล้องกับเอกสาร SoU (คาโปรแลคตัม) 5. มอบหมาย ทส. นำผลการลดก๊าซนตรัสออกไซด์จากสถานประกอบการที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม NACAG ไปใช้เพื่อบรรลุตามเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contribution : NDC) (NDC) ของประเทศไทย และไม่นำไปใช้ในแนวทางความร่วมมือที่อ้างถึงในวรรค 2 หรือกลไกที่อ้างถึงในวรรค 4 ของข้อ 6 ของความตกลงปารีส1 (ห้ามนำไปขายคาร์บอนเครดิตกับต่างประเทศ) สาระสำคัญของเรื่อง ประเทศไทยได้เข้าร่วมกลุ่มดำเนินงานด้านกรดไนตริกเพื่อสภาพภูมิอากาศ (Nitric Acid Climate Action Group : NACAG) (กลุ่ม NACAG) Initiative ในเดือนธันวาคม 2562 ซึ่งส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ จากการผลิตกรดไนตริกในระดับโลก เนื่องจากก๊าซไนตรัสออกไซด์เป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน รวมทั้งลงนามในปฏิญญา NACAG เพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการสนับสนุนวัตถุประสงค์ของ NACAG และความตั้งใจในการลดก๊าซไนตรัสออกไซด์จากการผลิตกรดไนตริกเพื่อมุ่งสู่การยุติการปล่อยก๊าซดังกล่าวอย่างถาวรให้เร็วที่สุด โดยกลุ่ม NACAG จะให้การสนับสนุนทางเทคนิคและการเงินในการติดตั้งเทคโนโลยีเพื่อลดก๊าซไนตรัสออกไซด์สำหรับอุตสาหกรรมผลิตกรดไนตริก เมื่อได้ลงนามในเอกสารถ้อยแถลงเพื่อการดำเนินงาน (Statement of Undertaking : SoU) และผ่านข้อกำหนดของกลุ่ม NACAG จากการตรวจสอบเชิงลึกโดยสำนักเลขาธิการ NACAG แล้ว สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า การยกเลิกเอกสาร SoU (กรดไนตริก) และการลงนามในเอกสาร SoU (คาโปรแลคตัม) ไม่เข้าลักษณะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 และไม่เข้าลักษณะเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีขุดต่อไปตามนัยมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 1ความตกลงปารีส (Paris Agreement) ข้อ 6 รรรค 2 กำหนดความร่วมมือเกี่ยวกับการซื้อขายคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศและวรรค 4 กำหนดกลไกที่นำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยหากประเทศไทยนำผลการลดก๊าซไนตรัสออกไซด์มานับเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยภายใต้ NDC แล้ว จะไม่สามารถนำไปซื้อขายเป็นคาร์บอนเครดิตกับต่างประเทศได้ (เฉพาะในส่วนคาร์บอนเครดิตที่เกิดขึ้นจากก๊าซไนตรัสออกไซด์ แต่ไม่รวมถึงคาร์บอนเครดิตที่เกิดจากสารอื่น) 31. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญารัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ประจำปี 2566 และเอกสารที่เกี่ยวข้อง คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการต่อร่างปฏิญญารัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ประจำปี 2566 และเอกสารที่เกี่ยวข้อง และหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการต่อไป โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายรับรองร่างบฏิญญารัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเบค ประจำปี 2566 และเอกสารที่เกี่ยวข้องดังกล่าวตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ สาระสำคัญ 1. ร่างปฏิญญารัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ประจำปี 2566 มีสาระสำคัญ ได้ แก่ (1) การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการภายใต้แผนงานความมั่นคงอาหารมุ่งสู่ ปี พ.ศ. 2573 ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ปุตราจายา พ.ศ. 2583 และแผนปฏิบัติการอาโอทีอาโรอา (2) การดำเนินงานตามเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (3) การดำเนินงานที่สอดคล้องกับหัวข้อหลักของการประชุมเอเปค ประจำปี 2566 ของสหรัฐอเมริกา ที่มุ่งเน้นความเชื่อมโยงนวัตกรรม และความยั่งยืนของระบบการเกษตรและอาหาร (4) การสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคี (5) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงอาหาร (6) สงครามในยูเครน และ (7) ความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศและหน่วยงานระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง 2. ร่างเอกสารหลักการเพื่อการบรรลุความมั่นคงอาหารผ่านระบบการเกษตรและอาหารอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเปค เป็นเอกสารที่นำเสนอหลักการสำคัญให้เขตเศรษฐกิจยึดถือ เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือในภูมิภาคและสะท้อนปีแห่งการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการภายใต้แผนงานความมั่นคงอาหาร พ.ศ. 2573 โดยมีหลักการสำคัญ 4 ประการ ดังนี้ หลักการที่1: ระบบการเกษตรและอาหารที่ยั่งยืนและยืดหยุ่น ควรส่งเสริมความมั่นคงอาหาร การดูแลสิ่งแวดล้อม การรักษาวิถีชีวิต และคำนึงถึงผลประโยชน์ทางสังคมสำหรับคนรุ่นปัจจุบันและในอนาคต หลักการที่ 2: นโยบายเพื่อพัฒนาความยั่งยืนและความยืดหยุ่นในระบบการเกษตรและอาหารที่แตกต่างกัน ควรตอบสนองต่อลักษณะเฉพาะและบริบทที่แตกต่างกันในแต่ละเขตเศรษฐกิจ หลักการที่ 3: การปรับเปลี่ยนระบบการเกษตรและอาหารของเอเปคไปสู่ความยั่งยืนและความยืดหยุ่น ควรใช้กระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบายและออกกฎระเบียบที่อ้างอิงหลักวิทยาศาสตร์ปัจจัยเสี่ยงและสะท้อนถึงมาตรฐานสากล และ หลักการที่ 4 : ระบบการค้าพหุภาคี และตลาดที่โปร่งใส คาดการณ์ได้ เปิดกว้าง และยุติธรรม มีความสำคัญต่อความมั่นคงอาหารในระดับภูมิภาคและระดับโลก แต่งตั้ง 32. เรื่อง รายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาของส่วนราชการ (จำนวน 5 ราย) คณะรัฐมนตรีรับทราบรายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.) ของส่วนราชการ (จำนวน 5 ราย) ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง 1. เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา ผู้ปฏิบัติหน้าที่ ปคร. ของส่วนราชการบางแห่ง ประกอบด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงแรงงาน (รง.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) มีการเกษียณอายุราชการและโยกย้ายเปลี่ยนตำแหน่ง ซึ่งส่วนราชการที่มีการเปลี่ยนแปลง ปคร. ดังกล่าว ได้แต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่ ปคร. ใหม่ และแจ้งให้ สลค. ทราบเพิ่มเติม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ จำนวน 5 ราย ดังนี้ ส่วนราชการ รายชื่อ ปคร. 1. กษ. นายพีรพันธ์ คอทอง รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2. ทส. นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3. รง. นายสมาสภ์ ปัทมะสุคนธ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน 4. สกพอ. นางธัญรัตน์ อินทร รองเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 5. สำนักงาน ป.ย.ป. นายศุภฤกษ์ ภู่พงศ์ศักดิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง 2. สลค. ได้ตรวจสอบคุณสมบัติของ ปคร. ทั้ง 5 ราย ดังกล่าวแล้ว เป็นไปตามข้อ 5 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา พ.ศ. 2551 33. เรื่อง การแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ต่ออีกหนึ่งวาระ เนื่องจากครบวาระการดำรงตำแหน่งสี่ปี เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2566 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป และให้ดำเนินการต่อไปได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 169 (2) แล้ว 34. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอให้คณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย มีจำนวนเกินกว่าสิบเอ็ดคนแต่ไม่เกินสิบห้าคน และอนุมัติแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย รวม 2 คน ดังนี้ 1. นายอัศวิน โชติพนัง เป็นกรรมการอื่น (แทนกรรมการเดิมที่พ้นจากตำแหน่ง) 2. นางวันทนี มณีศิลาสันต์ เป็นกรรมการอื่น (เพิ่มเติมในตำแหน่งที่ว่าง) โดยให้นับวาระต่อเนื่องจากกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งไว้แล้ว และให้มีผลตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป