สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 สิงหาคม 2566

ข่าวการเมือง Tuesday August 8, 2023 16:22 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ 8 สิงหาคม 2566 เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษา หรือการฟื้นฟู                                                  สมรรถภาพของผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. ....
                    2.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดชัยนาท                                         พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดชัยนาท

พ.ศ. 2560)

                    3.           เรื่อง           ร่างประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการแต่งตั้ง ประธานกรรมการ รอง                                                  ประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและ                                                  อุบัติการณ์ของอากาศยาน (กสอ.) พ.ศ. .... และการกำหนดค่าตอบแทน เบี้ย                                                  ประชุม ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่และประโยชน์อย่างอื่นของ กสอ. และ                                                  คณะอนุกรรมการ
                    4.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ใน                                                  ครอบครอง คุณสมบัติของผู้ขออนุญาต การออกใบอนุญาต การออกใบแทน                                                  ใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การแก้ไขรายการในใบอนุญาต การดำเนินการ                                        ของผู้รับอนุญาตเพื่อประโยชน์ในการควบคุม กำกับดูแล และการกำหนดอัตรา                                                  ค่าธรรมเนียมซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 พ.ศ. ....
                    5.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่ และป่าเขา                                                  พระวิหารบางส่วนในท้องที่ตำบลโซง อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. ....                                         (อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร)
                    6.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) พ.ศ. ....                                         และร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..)

พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ

                    7.           เรื่อง          ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
                                        จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม                                        จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2560)
                    8.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    9.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดระยอง เขต                                        เลือกตั้งที่ 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. ....
                    10.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากฝิ่น                                                   และกำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชเห็ดขี้ควาย เพื่อ                                                  ประโยชน์ในการศึกษาวิจัย พ.ศ. ....





เศรษฐกิจ-สังคม
                    11.           เรื่อง           ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการ                                        แก้ไขปัญหากรณีนักบินไทยว่างงานและการส่งเสริมเพื่อสร้างโอกาสให้นักบินไทย                                        สามารถไปทำงานต่างประเทศได้ ของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา
                    12.           เรื่อง           รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง                                        พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ ..)                                          พ.ศ. ?. ของวุฒิสภา
                    13.           เรื่อง           รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤษภาคม 2566
                    14.           เรื่อง           ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชน ใน                                                  พื้นที่ป่าชายเลนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                    15.           เรื่อง           การกำหนดประโยชน์ตอบแทนสำหรับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนของ                                                            คณะกรรมการการบินพลเรือน
                    16.           เรื่อง           ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPls) ประจำปีงบประมาณ

พ.ศ. 2567

                    17.           เรื่อง           ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง                                         รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก                                        การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                    18.           เรื่อง           แนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวภายหลัง

วันที่ 31 กรกฎาคม 2566

ต่างประเทศ
                    19.           เรื่อง           การรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมระดับอนุภูมิภาคว่าด้วยการต่อต้าน                                        การก่อการร้ายและความมั่นคงข้ามชาติ ครั้งที่ 4 และหลักการขั้นสูงสำหรับการ                                                  ปกป้องเด็กซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายหรือแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความ                                                  รุนแรงในอนุภูมิภาค
                    20.           เรื่อง          สรุปผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42
                    21.           เรื่อง           ผลการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 15 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย                                                   อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT)
                    22.           เรื่อง           ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปค ครั้งที่ 13

แต่งตั้ง

                    23.           เรื่อง           การเปลี่ยนโฆษกสำนักงบประมาณ (สงป.)
                    24.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศ                                        ไทย
                     25.           เรื่อง           การสรรหาบุคคลเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการ                                        ทุจริตในภาครัฐ แทนตำแหน่งที่ว่าง
?

กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษา หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพของ                     ผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างกฎกระทรวงการอนุญาตโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษา หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่ สธ. เสนอ เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาต การออกใบอนุญาตเกี่ยวกับการโฆษณาการบำบัดรักษา หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และเงื่อนไขการโฆษณาตามใบอนุญาตเกี่ยวกับโฆษณาการบำบัดรักษา หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด รวมทั้งกำหนดค่าธรรมเนียมในการโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษา หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดซึ่งไม่เกินอัตราค่าธรรมเนียมที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีการควบคุมกำกับการโฆษณาของสถานพยาบาลยาเสพติดและสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด คงมีแต่การโฆษณาเกี่ยวกับสถานพยาบาลซึ่งจะถูกควบคุมโดยพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ทำให้ไม่สามารถกำกับดูแลให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของฎหมาย ดังนั้น ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้จะทำให้มีหลักเกณฑ์และวิธีการที่ชัดเจนในการควบคุมและกำกับดูแลโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษาหรือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เพื่อป้องกันการโฆษณาที่เป็นเท็จ รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจในการเข้ารับการบำบัดรักษาให้แก่ผู้ติดยาเสพติดตามเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายยาเสพติด โดยในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษา หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด รายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะนำเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน ซึ่งมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ในการขับเคลื่อนประเทศและเศรษฐกิจไทย
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    1. กำหนดคำนิยามคำว่า ?โฆษณา? หมายถึง การกระทำไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ให้ประชาชนเห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความ ภาพ เสียง หรือเครื่องหมายที่ทำให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าใจความหมายได้ เพื่อประโยชน์ทางการค้า และ ?ใบอนุญาต? หมายถึง ใบอนุญาตโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษา หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพ                     ผู้ติดยาเสพติด ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
                     2. กำหนดให้วิธีการการยื่นคำขอ การอนุญาต และการแจ้งดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่หากกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้ทำให้ไม่สามารถดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ให้ยื่นคำขอ                   ณ สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข หรือให้ยื่น                     ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแห่งท้องที่ที่สถานพยาบาลยาเสพติด หรือสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดนั้นตั้งอยู่
                     3. กำหนดให้สถานพยาบาลที่สามารถโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษาหรือการฟื้นฟูสมรรถภาพ               ผู้ติดยาเสพติดจะต้องเป็นสถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาตให้เป็นสถานพยาบาลยาเสพติดหรือสถานฟื้นฟูสมรรถภาพ               ผู้ติดยาเสพติด
                    4. กำหนดเงื่อนไขในการโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษาหรือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ได้แก่ การโฆษณาชื่อ ที่ตั้ง หรือกิจการของสถานพยาบาลยาเสพติดหรือสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด                    การโฆษณาชื่อ คุณวุฒิ หรือความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลยาเสพติด หรือสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข การโฆษณาเกี่ยวกับยา ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องมือแพทย์ หรือผลิตภัณฑ์อื่นที่ใช้เกี่ยวกับการบำบัดรักษาหรือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด และการโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษาหรือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
                    5. กำหนดให้การแสดงชื่อหรือกิจการของสถานพยาบาลยาเสพติดหรือสถานฟื้นฟูสมรรถภาพ                 ผู้ติดยาเสพติด หรือคุณวุฒิหรือความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลยาเสพติด หรือสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ต้องแสดงไว้ ณ สถานพยาบาลยาเสพติดหรือสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดให้สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องยื่นคำขออนุญาต
                    6. กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการอนุญาตให้โฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เช่น การโฆษณาคุณวุฒิหรือความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลยาเสพติด หรือสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพนั้น การโฆษณาเกี่ยวกับยา ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องมือแพทย์ หรือผลิตภัณฑ์อื่นที่ใช้เกี่ยวกับการบำบัดรักษาหรือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด และการโฆษณาต้องไม่แสดงข้อความที่ระบุกิจการของสถานพยาบาลยาเสพติด หรือสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด คุณวุฒิหรือความสามารถของ                    ผู้ประกอบวิชาชีพ หรือการบำบัดรักษา หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพอันเป็นเท็จ หรือโอ้อวดเกินความจริง หรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นจริง หรือการใช้ข้อความอื่นใดที่มีความหมายในทำนองเดียวกัน
                     7. กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสารและหลักฐานในการยื่นคำขออนุญาต การขอรับใบอนุญาต และการขอออกใบแทนใบอนุญาตโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษาหรือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
                    8. กำหนดค่าธรรมเนียมในการตรวจข้อความ ภาพและเสียงการโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษาหรือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ดังนี้
                               8.1 คำขอโฆษณาเนื้อหากระดาษขนาดเอสี่อักษรขนาดไม่ต่ำกว่า 16 พอยต์
                                         8.1.1 จำนวนไม่เกิน 2 หน้า คำขอละ 1,000 บาท
                                         8.1.2 จำนวนตั้งแต่ 3 หน้า แต่ไม่เกิน 4 หน้า คำขอละ 3,000 บาท
                                        8.1.3 จำนวนตั้งแต่ 5 หน้า แต่ไม่เกิน 7 หน้า คำขอละ 5,000 บาท
                                         8.1.4 จำนวนตั้งแต่ 8 หน้าขึ้นไป คำขอละ 7,000 บาท
                               8.2 คำขอโฆษณาสื่อโฆษณาที่เป็นภาพหรือเสียง
                                         8.2.1 จำนวนไม่เกิน 20 วินาที คำขอละ 1,000 บาท
                                         8.2.2 จำนวนตั้งแต่ 21 วินาที แต่ไม่เกิน 40 วินาที คำขอละ 3,000 บาท
                                        8.2.3 จำนวนตั้งแต่ 41 วินาที แต่ไม่เกิน 60 วินาที คำขอละ 5,000 บาท
                                         8.2.4 จำนวนตั้งแต่ 61 วินาทีขึ้นไป คำขอละ 7,000 บาท
                               8.3 คำขอรับใบแทนใบอนุญาต คำขอละ 300 บาท

2. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดชัยนาท พ.ศ. ....                       (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดชัยนาท พ.ศ. 2560)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดชัยนาท พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                     สาระสำคัญของร่างประกาศ
                    เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดชัยนาท พ.ศ. 2560 เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น บริเวณหมายเลข 3.4 หมายเลข 3.5 เฉพาะฝั่งตะวันตกของคลองส่งน้ำชลประทานทุ่งวัดสิงห์ หมายเลข 3.6 หมายเลข 3.7 หมายเลข 3.10 หมายเลข 3.15 หมายเลข 3.18 หมายเลข 3.19 เฉพาะฟากตะวันตกของทางหลวงชนบท ชน. 4054 และหมายเลข 3.20 โดยมีระยะห่างไม่น้อยกว่า 1,000 เมตร จากคลองส่งน้ำชลประทานทุ่งวัดสิงห์ คลองมะขามเฒ่า - อู่ทอง แนวเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาช่องลม และป่าเขาหลัก และแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ                  ป่าเขาราวเทียน ให้สามารถประกอบกิจการโรงงานในอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ได้ และเพิ่มเติมการอนุญาตให้ที่ดินบริเวณหมายเลข 3.3 หมายเลข 3.8 และหมายเลข 3.9 สามารถประกอบกิจการโรงแรมได้ และเพิ่มเติมการอนุญาตให้ที่ดินบริเวณหมายเลข 3.4 หมายเลข 3.5 หมายเลข 3.6 หมายเลข 3.7 หมายเลข 3.10 หมายเลข 3.11 หมายเลข 3.13 หมายเลข 3.15 หมายเลข 3.16 หมายเลข 3.18 หมายเลข 3.19 หมายเลข 3.20 และหมายเลข 3.21 สามารถประกอบกิจการโรงแรมประเภท 1 และประเภท 2 ได้ โดยให้มีพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันไม่เกิน  500 ตารางเมตร รวมทั้งแก้ไขข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ให้สามารถประกอบกิจการโรงงานลำดับที่ 101 โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม (Central Waste Treatment Plant) เฉพาะโรงงานกำจัดมูลฝอย ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลหรือได้รับอนุญาตให้ดำเนินการจากหน่วยงานของรัฐดำเนินการได้เพิ่มเติมในท้องที่หมู่ที่ 7 ตำบลหนองมะโมง อำเภอมะโมง จังหวัดชัยนาท และให้โรงงานบำบัดน้ำเสียรวมดำเนินการได้ และรวมถึงให้ยกเลิกความในหมายเหตุในโรงงานลำดับที่ 101 ตามประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ห้ามประกอบกิจการท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดชัยนาท พ.ศ. 2560 ในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม และให้ใช้ความตามประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ห้ามประกอบกิจการท้ายประกาศนี้แทน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ประเพณีวัฒนธรรม และวิถีชีวิตชุมชน สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัดที่กำหนดให้เป็น ?ย่านท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ และวิถีชีวิตชุมชน? และมุ่งเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมด้วยการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรด้วยนวัตกรรมทางการเกษตรสมัยใหม่ รวมทั้งเพื่อเป็นประโยชน์สาธารณะและสุขอนามัยของประชากรในจังหวัดชัยนาท และดำเนินการรวบรวมน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมในกลุ่มอุตสาหกรรมหรืออุตสาหกรรมที่อยู่ใกล้เคียงมาบำบัด เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานก่อนนำกลับมาใช้ใหม่หรือปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ซึ่ง มท. ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แล้ว และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว

3. เรื่อง ร่างประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการแต่งตั้ง ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน (กสอ.) พ.ศ. .... และการกำหนดค่าตอบแทน เบี้ยประชุม ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่และประโยชน์อย่างอื่นของ กสอ. และคณะอนุกรรมการ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบดังนี้
                    1. อนุมัติในหลักการร่างประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการแต่งตั้ง ประธานกรรมการ                    รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน (กสอ.)                  พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้
                    2. เห็นชอบการกำหนดค่าตอบแทน เบี้ยประชุม ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ และประโยชน์                    อย่างอื่นของคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน และคณะอนุกรรมการ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยกำหนดเพิ่มเติมให้หากเดือนใดไม่มีการประชุมหรือมีการประชุมแต่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมให้งดจ่าย ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
                    3. ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    สาระสำคัญของร่างประกาศและการกำหนดค่าตอบแทน เบี้ยประชุม ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ และประโยชน์อย่างอื่นของ กสอ. และคณะอนุกรรมการ
                    1. สาระสำคัญของร่างประกาศฯ
                    เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการแต่งตั้งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการใน กสอ. ดังนี้
                              1.1 กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่ง จำนวนไม่เกิน 5 คน จากผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ด้านการปฏิบัติการบิน ด้านวิศวกรรมอากาศยาน ด้านเวชศาสตร์การบิน ด้านการควบคุมการจราจรทางอากาศ ด้านกฎหมาย หรือด้านอื่นที่เกี่ยวกับการบินพลเรือนอันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสอ. ทำหน้าที่ดำเนินการสรรหาบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ กสอ. (รวม 9 คน) เพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
                              1.2 ให้สำนักงาน กสอ. ดำเนินการรับสมัครบุคคลที่ประสงค์จะเข้ารับการคัดเลือกเป็นประธานกรรมการ กสอ. รองประธานกรรมการ กสอ. หรือกรรมการ กสอ. ซึ่งทำงานเต็มเวลา (3 คน) หรือไม่เต็มเวลา (6 คน) ไม่น้อยกว่าตำแหน่งและจำนวนที่จะแต่งตั้งโดยบุคคลที่สมัครเข้ารับการคัดเลือกต้องแสดงเอกสารหลักฐานแสดงคุณสมบัติและการไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 63 วรรคหนึ่ง (1) (2) (3) และ (7) และรับรองว่าหากได้รับแต่งตั้งจะแสดงเอกสารหลักฐานอันเป็นที่เชื่อได้ว่าตนได้ลาออกหรือพ้นจากตำแหน่ง หรือการประกอบการตามมาตรา 63 วรรคหนึ่ง1 (4) (5) หรือ (6) ต่อผู้อำนวยการสำนักงาน กสอ. ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง
                              1.3 ให้คณะกรรมการสรรหาคัดเลือกบุคคลผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา 62 รวมทั้งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 63 วรรคหนึ่ง (1) (2) (3) และ (7) เท่ากับจำนวนประธานกรรมการ กสอ. รองประธานกรรมการ กสอ. หรือกรรมการ กสอ. ที่จะแต่งตั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกที่คณะกรรมการสรรหากำหนด โดยให้คำนึงถึงความโปร่งใสและความเป็นธรรมในการคัดเลือก
                              1.4 เมื่อคัดเลือกบุคคลได้ครบจำนวนแล้ว ให้คณะกรรมการสรรหาจัดให้มีการประชุมบุคคลที่ได้ผ่านการคัดเลือกดังกล่าว เพื่อเลือกกันเองเป็นประธานกรรมการ กสอ. และรองประธานกรรมการ กสอ. โดยใช้วิธีการลงคะแนนลับ ก่อนคณะกรรมการสรรหาเสนอรายชื่อบุคคลที่มีความเหมาะสมเป็นประธานกรรมการ กสอ. รองประธานกรรมการ กสอ. หรือกรรมการ กสอ. ที่จะแต่งตั้ง พร้อมเอกสารหลักฐานแสดงคุณสมบัติและการไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 63 วรรคหนึ่ง (1) (2) (3) และ (7) ภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่มีการประชุมเลือกประธานกรรมการ กสอ. และรองประธานกรรมการ กสอ. แล้วเสร็จ เพื่อรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
                              1.5 ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ กสอ. รองประธานกรรมการ กสอ. และกรรมการ กสอ. ต้องแสดงเอกสารหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าตนได้ลาออกหรือพ้นจากตำแหน่งหรือการประกอบการตามมาตรา 63 วรรคหนึ่ง (4) (5) หรือ (6) ต่อผู้อำนวยการสำนักงาน กสอ. ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง
                              1.6 ประธานกรรมการ กสอ. รองประธานกรรมการ กสอ. และกรรมการ กสอ. มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง
                              1.7 ประธานกรรมการ กสอ. รองประธานกรรมการ กสอ. และกรรมกรรม กสอ. ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าประธานกรรมการ กสอ. รองประธานกรรมการ กสอ. และกรรมการ กสอ. ที่ได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
                              1.8 ในกรณีที่ประธานกรรมการ กสอ. รองประธานกรรมการ กสอ. หรือกรรมการ กสอ. พ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 64/1 ให้ กสอ. ประกอบด้วยกรรมการ กสอ. เท่าที่เหลืออยู่และให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ เว้นแต่มีประธานกรรมการ กสอ. รองประธานกรรมการ กสอ. หรือกรรมการ กสอ. รวมกันเหลืออยู่ไม่ถึงห้าคน และให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งประธานกรรมการ กสอ. รองประธานกรรมการ กสอ. หรือกรรมการ กสอ. แทนตำแหน่งที่ว่างโดยดำเนินการตามประกาศนี้ ผู้ได้รับการแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของประธานกรรมการ กสอ. รองประธานกรรมการ กสอ. หรือกรรมการ กสอ. ซึ่งตนแทน
                    2. การกำหนดค่าตอบแทน เบี้ยประชุม ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่และประโยชน์อย่างอื่นของ กสอ. และคณะอนุกรรมการ
                              2.1 การกำหนดค่าตอบแทน
                                        (1) กรรมการ กสอ. ที่ทำงานเต็มเวลา2 ได้รับค่าตอบแทน3 ดังนี้
                                        ประธานกรรมการ กสอ.                     ไม่เกิน 90,000 บาท/คน/เดือน
                                        รองประธานกรรมการ กสอ.           ไม่เกิน 81,000 บาท/คน/เดือน
                                        กรรมการ กสอ.                               ไม่เกิน 72,000 บาท/คน/เดือน



ทั้งนี้ กรรมการ กสอ. ที่ทำงานเต็มเวลาไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนในลักษณะเบี้ยประชุมอีก
                              2.2 การกำหนดเบี้ยประชุม
                                        (1) กรรมการ กสอ. ซึ่งทำงานไม่เต็มเวลา ได้รับค่าเบี้ยประชุม4 ดังนี้
                                        ประธานกรรมการ กสอ.                     ไม่เกิน 6,250 บาท/คน/เดือนที่มีการประชุม
                                        รองประธานกรรมการ กสอ.           ไม่เกิน 5,625 บาท/คน/เดือนที่มีการประชุม
                                        กรรมการ กสอ.                               ไม่เกิน 5,000 บาท/คน/เดือนที่มีการประชุม
                                        (2) อนุกรรมการ กสอ. ได้รับเบี้ยประชุม5 ดังนี้
                                        ประธานอนุกรรมการ กสอ.           ไม่เกิน 1,250 บาท/คน/ครั้ง (ไม่เกิน 4           ครั้งต่อเดือน)
                                        อนุกรรมการ กสอ.                     ไม่เกิน 1,000 บาท/คน/ครั้ง (ไม่เกิน 4            ครั้งต่อเดือน)
                              2.3 ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ และประโยชน์อย่างอื่น
                                        (1) ค่าใช้จ่ายในการเดินทางเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติมดังนี้
                                           ประธานกรรมการ กสอ. มีสิทธิในการได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางเช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (เทียบเท่าตำแหน่งปลัดกระทรวง)
                                           รองประธานกรรมการ และกรรมการ กสอ. มีสิทธิในการได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางเช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (เทียบเท่าตำแหน่งอธิบดี)
                                           ประธานอนุกรรมการ และอนุกรรมการ กสอ. มีสิทธิในการได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางเช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง
                                        (2) การฝึกอบรม ประชุม และสัมมนา
                                           ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ ประธานอนุกรรมการ และอนุกรรมการ กสอ. ที่ไม่ได้เป็นข้าราชการหรือพนักงานราชการมีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายได้ตามสิทธิที่กำหนดในระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                                        (3) การได้รับค่ารักษาพยาบาล
                                           ให้กรรมการ กสอ. ที่ทำงานเต็มเวลาจำนวน 3 คน ซึ่งอาจเป็นประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ หรือกรรมการ กสอ. มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลหรือการประกันสุขภาพตามที่จ่ายจริงในอัตราเบี้ยประกันคนละไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี โดยให้นำพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและระเบียบกระทรวงการคลังซึ่งออกตามความในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาใช้บังคับแก่ค่ารักษาพยาบาลของกรรมการ กสอ. ที่ทำงานเต็มเวลา โดยอนุโลม
                                        เพื่อประโยชน์ในการขอรับการประกันสุขภาพ คำว่า ?การประกันสุขภาพ? หมายความว่า การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองทางด้านการเงินเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ สำหรับการรักษาตัวในสถานพยาบาลหรือคลินิกหรือเข้ารับการผ่าตัดโดยแพทย์ในกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ
                                        ในกรณีที่กรรมการ กสอ. ซึ่งทำงานเต็มเวลาจำนวน 3 คน ซึ่งอาจเป็นประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ หรือกรรมการ กสอ. ที่ขอรับการประกันสุขภาพเป็นผู้ซึ่งได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับการชดเชยค่ารักษาพยาบาลจากการประกันสุขภาพก่อนและมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลจากทางราชการเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่จากส่วนราชการเจ้าสังกัดที่ผู้นั้นรับเบี้ยหวัดหรือบำนาญอยู่
1 มาตรา 63 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศฯ บัญญัติว่า นอกจากคุณสมบัติตามมาตรา 62 วรรคหนึ่ง ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ กสอ. ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ด้วย

                    (1) มีสัญชาติไทย
                    (2) อายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปี
                    (3) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง หรือสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
                    (4) ไม่เป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐซึ่งมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือขัดกับการปฏิบัติหน้าที่ของ กสอ.
                    (5) ไม่เป็นกรรมการในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐซึ่งมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือขัดกับการปฏิบัติหน้าที่ของ กสอ.
                    (6) ไม่เป็นกรรมการ หรือดำรงตำแหน่งหรือประกอบการใด ๆ ในกิจการของเอกชนหรือองค์กรวิชาชีพซึ่งอาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนหรือขัดกับการปฏิบัติหน้าที่ของ กสอ.
                    (7) คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
2 มาตรา 62 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศฯ บัญญัติให้มีกรรมการ กสอ. ซึ่งทำงานเต็มเวลาจำนวนสามคน
3 ค่าตอบแทนคำนวณจากการหาค่าเฉลี่ยค่าตอบแทนจากเกณฑ์ค่างานของคณะกรรมการ กพร. เกณฑ์ผู้ปฏิบัติงานที่อายุ 60 ปีขึ้นไป คณะกรรมการตรวจสอบของไทยแอร์เอเชีย และคณะกรรมการการบินพลเรือน ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0408.5/92 ลงวันที่ 3 มกราคม 2563
4 ค่าเบี้ยประชุมกรรมการ กสอ. ซึ่งทำงานไม่เต็มเวลาเป็นไปตามมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5 เทียบเคียงอัตราตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ  พ.ศ. 2558 ลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2558

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง คุณสมบัติของผู้ขออนุญาต การออกใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การแก้ไขรายการในใบอนุญาต การดำเนินการของผู้รับอนุญาตเพื่อประโยชน์ในการควบคุม กำกับดูแล และการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง คุณสมบัติของผู้ขออนุญาต การออกใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การแก้ไขรายการในใบอนุญาต การดำเนินการของผู้รับอนุญาตเพื่อประโยชน์ในการควบคุม กำกับดูแล และการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง คุณสมบัติของผู้ขออนุญาต การออกใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การแก้ไขรายการในใบอนุญาต การดำเนินการของผู้รับอนุญาต เพื่อประโยชน์ในการควบคุมกำกับดูแล และการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 เพื่อให้การขออนุญาตเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติดสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเป็นการกำหนดการดำเนินการของผู้รับอนุญาตที่ต้องปฏิบัติเพื่อประโยชน์ในการควบคุมกำกับดูแลที่เข้มงวดและป้องกันการรั่วไหลของวัตถุออกฤทธิ์ไปใช้ในทางที่ผิด โดยกำหนดให้ผู้มีสิทธิขออนุญาตผลิต นำเข้า
ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 ต้องเป็นหน่วยงานของรัฐสภากาชาดไทย สถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือหน่วยงานภาคเอกชนที่ดำเนินการกิจการบางประเภทเท่านั้น และการขออนุญาตดังกล่าวต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์ หรือการวิเคราะห์หรือการศึกษาวิจัยทางการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์เท่านั้น รวมทั้งกำหนดหน้าที่ของผู้รับอนุญาตที่จะต้องดำเนินการเพื่อประโยชน์ในการควบคุมกำกับดูแลวัตถุออกฤทธิ์มิให้ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดด้วย ซึ่งร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้จะนำมาใช้บังคับแทนกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต ขาย นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 พ.ศ. 2563 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 และพระราชบัญญัติดังกล่าวถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564
                    กระทรวงสาธารณสุขได้นำร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นแก่ประชาชน ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และกฎกระทรวงกำหนดร่างกฎที่ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบ พ.ศ. 2565 แล้ว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
ประเด็น          รายละเอียด
1. ผู้มีสิทธิขออนุญาต
1.1 วัตถุประสงค์ในการขออนุญาต          ? การป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์
? การวิเคราะห์หรือการศึกษาวิจัยทางการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์
1.2 คุณสมบัติผู้ขออนุญาต          ? เป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลหรือสภากาชาดไทย
? เป็นสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
? เป็นผู้รับอนุญาตด้านยา ยาเสพติดให้โทษ วัตถุออกฤทธิ์ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องสำอาง หรืออาหาร ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือผู้รับอนุญาตอื่นที่เกี่ยวข้อง
? เป็นผู้ประกอบกิจการเกี่ยวกับห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์
2. กระบวนการขออนุญาต
2.1 การยื่นคำขออนุญาต          ? การยื่นคำขออนุญาตให้ดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก
2.2 ระยะเวลาการพิจารณาคำขออนุญาต          ? ให้ผู้อนุญาตแจ้งผลการพิจารณาแล้วไปยังผู้ขออนุญาตทราบภายใน 45 วันนับแต่วันที่ได้รับคำขออนุญาตที่ถูกต้องครบถ้วน
? ในกรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็นที่ไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จได้ภายในเวลาดังกล่าว อาจขยายระยะเวลาการพิจารณาออกไปได้อีกไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละ 30 วัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนครบกำหนดระยะเวลา
2.3 การอนุญาตเฉพาะคราว          ? ผู้รับอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกที่จะมีการนำเข้าหรือส่งออกในแต่ละครั้งต้องได้รับใบอนุญาตเฉพาะคราวทุกครั้งที่นำเข้าหรือส่งออก
3. หน้าที่ของผู้รับอนุญาต
3.1 หน้าที่โดยทั่วไป          ? ผลิต นำเข้า จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 เฉพาะในสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเท่านั้น
? จัดให้มีการแยกเก็บวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 เป็นส่วนสัดจากยาหรือวัตถุอื่น
? จัดให้มีการป้องกันตามสมควรเพื่อมิให้วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 สูญหาย หรือมีการนำไปใช้โดยมิชอบ
? แจ้งความจำนงเป็นหนังสือต่อผู้อนุญาต หากประสงค์จะทำลายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 ซึ่งคงเหลือจากการดำเนินกิจการตามที่ได้รับอนุญาต
? จัดให้มีการจัดทำบัญชีรับจ่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 ตามที่ได้รับอนุญาต
? เสนอรายงานเกี่ยวกับการดำเนินกิจการตามที่ได้รับอนุญาต
จัดให้มีฉลากที่ภาชนะหรือหีบห่อของผลิตภัณฑ์วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1
3.2 หน้าที่ในการนำเข้าและส่งออก          ? นำวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 ที่จะนำเข้าหรือส่งออกมาให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ ณ ด่านตรวจสอบวัตถุออกฤทธิ์ เพื่อทำการตรวจสอบ
? นำเข้าหรือส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 ตามชนิดที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเฉพาะคราว และไม่เกินจำนวนหรือปริมาณที่ระบุไว้ ในกรณีที่ไม่สามารถส่งออกได้ตามจำนวนหรือปริมาณดังกล่าว ให้แจ้งต่อผู้อนุญาต เพื่อแก้ไขใบอนุญาตให้ถูกต้องตามจำนวนหรือปริมาณที่ส่งออกจริง
? ในกรณีเป็นการนำเข้า ให้จัดส่งสำเนาใบอนุญาตส่งออกของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศที่ส่งออกนั้นมาพร้อมกับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หนึ่งฉบับ และจัดให้เจ้าหน้าที่ดังกล่าวส่งสำเนาใบอนุญาตส่งออกมายังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหนึ่งฉบับด้วย
4. อัตราค่าธรรมเนียม
? กำหนดให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ดังนี้
          (1) ใบอนุญาตผลิตวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1                                         ฉบับละ  10,000 บาท
          (2) ใบอนุญาตนำเข้าวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1                                         ฉบับละ  10,000 บาท
          (3) ใบอนุญาตส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1                                        ฉบับละ  1,000   บาท
          (4) ใบอนุญาตจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1                                        ฉบับละ  1,000  บาท
          (5) ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1                              ฉบับละ    500  บาท
          (6) ใบอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกเฉพาะคราววัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1           ฉบับละ    500  บาท
          (7) ใบแทนใบอนุญาต                                                                       ฉบับละ    100  บาท
          (8) การต่ออายุใบอนุญาต                                                                      ฉบับละ    กึ่งหนึ่งของ                                                                                                    ค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตนั้น
? กำหนดให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมกรณีผู้ขออนุญาตเป็นราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐ ยกเว้นรัฐวิสาหกิจ
5. บทเฉพาะกาล
? กำหนดให้ใบอนุญาตที่ออกตามกฎกระทรวงเดิมใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะหมดอายุหรือถูกเพิกถอน
? กำหนดให้ถือว่าคำขออนุญาตตามกฎกระทรวงเดิมเป็นคำขออนุญาตตามร่างกฎกระทรวงนี้ โดยในกรณีที่คำขออนุญาตตามร่างกฎกระทรวงนี้แตกต่างไปจากกฎกระทรวงเดิม ให้ผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งแก้ไขเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น เพื่อให้เป็นไปตามร่างกฎกระทรวงนี้

5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่ และป่าเขาพระวิหารบางส่วน              ในท้องที่ตำบลโซง อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. .... (อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่ และป่าเขาพระวิหารบางส่วน ในท้องที่ตำบลโซง อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. .... (อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศไปประกอบการพิจารณาด้วยแล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

                    สาระสำคัญ
                    ร่างพระราชกฤษฎีกาที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ มีสาระสำคัญเป็น                  การเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่และป่าเขาพระวิหาร บางส่วน ในท้องที่ตำบลโซง อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เนื้อที่รวม 42 ไร่ 51 ตารางวา เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำลำห้วยบอนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภคให้กับราษฎรในพื้นที่ ซึ่งได้รับความเห็นชอบในหลักการจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 ให้                เพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่ และป่าเขาพระวิหารบางส่วน แล้ว โดยคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบในหลักการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติดังกล่าว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยในหลักการ

6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) พ.ศ. .... และ                            ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบดังนี้
                    1. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาถึงประเด็นตามความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    2. เห็นชอบหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้างและเงินช่วยเหลือเยียวยา กรณีเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) ที่ไม่ประสงค์จะปฏิบัติงานในองค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) ต่อไป หรือไม่ได้รับกาคัดเลือกและบรรจุเป็นเจ้าหน้าที่และลูกจ้างขององค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ
                    3. ให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนและสำนักงาน ก.พ.ร. รับความเห็นของกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทยไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    4. ให้สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง                          สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) ที่จะถูกจัดตั้งขึ้นตามร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) พ.ศ. .... ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาและหลักเกณฑ์ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ มีสาระสำคัญเป็นการจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) ที่มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในรูปแบบแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมบนพื้นฐานทางธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวไนท์ซาฟารีเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ที่เห็นชอบในหลักการจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) โดยให้โอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีซึ่งเป็นส่วนงานภายในสำนักงานพัฒนา                 พิงคนคร (องค์การมหาชน) มาจัดตั้งเป็นองค์การมหาชนใหม่ ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีไปเป็นขององค์การสวนสัตว์ รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้างและเงินช่วยเหลือเยียวยา กรณีเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) ที่ไม่ประสงค์จะปฏิบัติงานในองค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) ต่อไป หรือไม่ได้รับการคัดเลือกและบรรจุเป็นเจ้าหน้าที่และลูกจ้างขององค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นอัตราเดียวกันกับที่จ่ายแก่เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) ที่ปฏิบัติงานในศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา               ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2561 เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้


                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) พ.ศ. ....
                    1. ให้จัดตั้งองค์การมหาชนขึ้น เรียกว่า ?องค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน)?
เรียกโดยย่อว่า ?อบน.? และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า ?Night Safari Administrative Organization (Public Organization)? เรียกโดยย่อว่า ?NSA? โดยมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
                              1.1 พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในรูปแบบแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมบนพื้นฐานทางธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวไนท์ซาฟารี เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยสู่การท่องเที่ยวมูลค่าสูงและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
                              1.2 บริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวตามข้อ 1.1 เพื่อส่งเสริม สนับสนุน กระตุ้น และฟื้นฟูเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวของประเทศ
                              1.3 ส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์ การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น เพื่อการท่องเที่ยว
                              1.4 ประสานงานและสนับสนุนการสร้างเครือข่ายในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว               ทุกภาคส่วน รวมทั้งผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยสู่การท่องเที่ยวมูลค่าสูงและการท่องเที่ยว                         อย่างยั่งยืน
                              1.5 ส่งเสริมการเรียนรู้และการอนุรักษ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ สัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อม
                              1.6 ส่งเสริมและจัดให้มีการดำเนินการบำรุงและเพาะพันธุ์สัตว์ป่านานาชนิดเพื่อรักษาและอนุรักษ์ไว้มิให้สูญพันธุ์ และเพื่อการศึกษา การวิจัย และการแลกเปลี่ยนหรือเผยแพร่การเลี้ยงสัตว์เพื่อการอนุรักษ์ รวมถึงดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับกิจการสวนสัตว์และธุรกิจอื่น เพื่อประโยชน์แก่องค์กร
                    2. กำหนดหน้าที่และอำนาจขององค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) เช่น ทำความ                    ตกลงและร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐและเอกชนทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ ในกิจการที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ จัดให้มีทุนหรือให้ทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน เข้าร่วมทุนกับบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นในกิจการที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน หรือค่าบริการในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ เป็นต้น
                    3. กำหนดให้ทุนและทรัพย์สินในการดำเนินกิจการขององค์การบริหารไนท์ซาฟารี                       (องค์การมหาชน) ประกอบด้วย เงินและทรัพย์สินที่ได้รับโอนมาจากสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)  เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามความเหมาะสมเป็นรายปี เงินอุดหนุนจากภาคเอกชน หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่น รวมทั้งจากต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ และเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือรายได้จากการดำเนินกิจการต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ และดอกผลหรือรายได้จากเงินทรัพย์สินขององค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน)
                    4. กำหนดให้มีคณะกรรมการองค์การบริหารไนท์ซาฟารี ประกอบด้วย ประธานกรรมการ                 ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวน 3 คน ได้แก่ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรรมการ               ผู้ทรงวุฒิ จำนวนไม่เกิน 6 คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และให้ผู้อำนวยการองค์การบริหารไนท์ซาฟารี เป็นกรรมการและเลขานุการ
                    5. กำหนดให้คณะกรรมการฯ มีหน้าที่และอำนาจควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการและการดำเนินงานขององค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ รวมทั้งให้มีหน้าที่และอำนาจต่าง ๆ เช่น กำหนดนโยบายการบริหารงานและการจัดหาทุน อนุมัติงบประมาณประจำปี รายงานการเงิน แผนการลงทุน และการดำเนินโครงการออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และข้อกำหนดขององค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) ให้ความเห็นชอบในการกำหนดค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน และค่าบริการในการดำเนินกิจการขององค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน)
                    6. กำหนดให้เมื่อองค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) ดำเนินการครบ 5 ปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ ให้สำนักงาน ก.พ.ร. จัดให้มีการประเมินความคุ้มค่าตามตัวชี้วัดและเป้าหมายที่ได้รับเห็นชอบจากคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน หากพิจารณาเห็นว่าไม่คุ้มค่าในการจัดตั้ง ให้สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอรัฐมนตรีผู้รักษาการ (นายกรัฐมนตรี) เพื่อยุบเลิกและโอนถ่ายภารกิจไปให้หน่วยงานอื่น
                    7. กำหนดบทเฉพาะกาล ให้มีการโอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ ภาระผูกพันงบประมาณ และรายได้ของสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับไปเป็นขององค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) และให้เจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) ที่ประสงค์จะปฏิบัติงานในองค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) ต่อไป แสดงความจำนงภายใน 30 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ โดยให้เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างที่ไม่ประสงค์จะปฏิบัติงานในองค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) หรือไม่ได้รับการคัดเลือกให้ปฏิบัติงานในองค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการเลิกจ้างและเงินช่วยเหลือเยียวยาตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

7. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. ....           (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2560)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2560) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างประกาศที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลง การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีฟ้า) บริเวณหมายเลข 6.5 และบริเวณหมายเลข 6.7 บางส่วน (เฉพาะพื้นที่บนแผ่นดิน) ให้เป็นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ได้แก่ บริเวณหมายเลข 3.2/1 หมายเลข 3.8/1 หมายเลข 3.10/1 หมายเลข 3.11/1 และหมายเลข 3.13/1 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมในข้อ 8 วรรคสอง (9) โดยเพิ่มเงื่อนไขในการประกอบอุตสาหกรรมให้มีระยะห่างจากแนวชายฝั่งตามสภาพธรรมชาติของทะเลไม่น้อยกว่า 50 เมตร และเพิ่มประเภท ชนิด และจำพวกของโรงงานที่ห้ามประกอบกิจการเฉพาะบริเวณที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมอีก จำนวน 22 ลำดับ 49 ประเภท ในบัญชีท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2560 เช่น โรงงานทำซีเมนต์ ปูนขาว หรือปูนปลาสเตอร์ เนื่องจากการประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท เช่น อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมประมง อุตสาหกรรมต่อเรือ อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น เพื่อรักษาบริเวณ (สีเขียวบางส่วน) ที่เป็นแนว                ป่าชายเลน จึงต้องกำหนดห้ามกระกอบอุตสาหกรรมบางประเภท ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างประกาศ
                    แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2560 โดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีฟ้า) บริเวณหมายเลข 6.5 และบริเวณหมายเลข 6.7 บางส่วน (เฉพาะพื้นที่บนแผ่นดิน) ให้เป็นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม                    (สีเขียว) ได้แก่ บริเวณหมายเลข 3.2/1 หมายเลข 3.8/1 หมายเลข 3.10/1 หมายเลข 3.11/1 และหมายเลข 3.13/1 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมในข้อ 8 วรรคสอง (9) โดยเพิ่มเงื่อนไขในการประกอบอุตสาหกรรมให้มีระยะห่างจากแนวชายฝั่งตามสภาพธรรมชาติของทะเลไม่น้อยกว่า 50 เมตร และเพิ่มประเภท ชนิด และจำพวกของโรงงานที่ห้ามประกอบกิจการเฉพาะบริเวณที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมอีก จำนวน                  22 ลำดับ 49 ประเภท ในบัญชีท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2560





กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2560 (ฉบับเดิม)          ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. .... (ฉบับแก้ไข)
แผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน (ผังสี)
  บริเวณ 6.5 บริเวณ 6.7 ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีฟ้า) ได้แก่ บริเวณ 3.2 บริเวณ 3.8 บริเวณ 3.10 บริเวณ 3.11 และบริเวณ 313            บริเวณ 6.5 บริเวณ 6.7 (เฉพาะพื้นที่บนแผ่นดิน) ให้เป็นที่ดินประเภทชนบท และเกษตรกรรม (สีเขียว) ได้แก่ บริเวณ 3.2 บริเวณ 3.8 บริเวณ 3.10 บริเวณ 3.11 บริเวณ 313 (แก้ไขสี)
ข้อกำหนด
    ข้อ 5 การใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผัง กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภทท้ายกฎกระทรวงนี้ ให้เป็นไปดังต่อไปนี้
ฯลฯ
     (3) ที่ดินในบริเวณหมายเลข 3.1 ถึงหมายเลข 3.31 ที่กำหนดไว้เป็นสีเขียว ให้เป็นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม




    ข้อ 8 ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม การอยู่อาศัย  พาณิชยกรรม สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา  สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น ให้มีที่ว่างไม่น้อยกว่าร้อยละสามสิบของแปลงที่ดินที่ยื่นขออนุญาต              ข้อ 5 การใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภทท้ายกฎกระทรวงนี้ ให้เป็นไปดังต่อไปนี้
ฯลฯ
     (3) ที่ดินในบริเวณหมายเลข 3.1 ถึงหมายเลข 3.2/1 หมายเลข 3.3 ถึงหมายเลข 3.8/1 หมายเลข 3.9 ถึงหมายเลข 3.10/1 หมายเลข 3.11 หมายเลข 3.11/1 หมายเลข 3.12 ถึงหมายเลข 3.13/1 และหมายเลข 3.14 ถึงหมายเลข 3.31 ที่กำหนดไว้เป็นสีเขียว ให้เป็นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
    ข้อ 8 ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม การอยู่อาศัย
พาณิชยกรรม สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา  สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น ให้มีที่ว่างไม่น้อยกว่าร้อยละสามสิบของแปลงที่ดินที่ยื่นขออนุญาต
ข้อกำหนด
ฯลฯ
    (9)                      ฯลฯ
    การประกอบอุตสาหกรรมที่มีพื้นที่ประกอบการทั้งหมดรวมกันเกิน 10,000 ตารางเมตร เว้นแต่ในบริเวณระยะ 1,000 เมตร จากริมเขตทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 44 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 และที่ดินในบริเวณหมายเลข 3.28 ให้ดำเนินการได้ โดยอาคารแต่ละหลังต้องมีขนาดไม่เกิน 10,000 ตารางเมตร และอยู่ห่างจากริมเขตทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 44 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 ไม่น้อยกว่า 20 เมตร และอยู่ห่างจากริมฝั่งตามสภาพธรรมชาติของแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำสาธารณะไม่น้อยกว่า 50 เมตร           ฯลฯ
    (9)                      ฯลฯ
    การประกอบอุตสาหกรรมที่มีพื้นที่ประกอบการทั้งหมดรวมกันเกิน 10,000 ตารางเมตร เว้นแต่ในบริเวณระยะ 1,000 เมตร จากริมเขตทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 44 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 และที่ดินในบริเวณหมายเลข 3.28 ให้ดำเนินการได้ โดยอาคารแต่ละหลังต้องมีขนาดไม่เกิน 10,000 ตารางเมตร และอยู่ห่างจากริมเขตทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 44 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 ไม่น้อยกว่า 20 เมตร และอยู่ห่างจากริมฝั่งตามสภาพธรรมชาติของแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำสาธารณะไม่น้อยกว่า 50 เมตร สำหรับที่ดินในบริเวณหมายเลข  3.2/1 หมายเลข 3.8/1 หมายเลข 3.10/1 หมายเลข 3.11/1 และหมายเลข 3.131 ให้มีระยะห่างจากแนวชายฝั่งตามสภาพธรรมชาติของทะเลไม่น้อยกว่า  50 เมตร
ประเภท ชนิด และจำพวกของโรงงานที่ห้ามประกอบกิจการท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย
- เพิ่มประเภท ชนิด และจำพวกของโรงงานที่ห้ามประกอบกิจการเฉพาะบริเวณที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมอีก จำนวน  22 ลำดับ 49 ประเภท
รายการประกอบแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน
             การใช้ประโยชน์ที่ดินใน 3. รายการ 3.2/1 รายการ 3.8/1 รายการ 3.10/1 รายการ 3.11/1 รายการ 3.13/1 และใน 6. รายการ 6.5 รายการ 6.7 ให้เป็นไปตามที่กำหนดดังต่อไปนี้
    3. ที่ดินในบริเวณหมายเลข 3.1 ถึงหมายเลข 3.2/1 หมายเลข 3.3 ถึงหมายเลข 3.8/1 หมายเลข 3.9 ถึงหมายเลข 3.10/1 หมายเลข 3.11 หมายเลข 3.11/1 หมายเลข 3.12 ถึงหมายเลข 3.13/1 และหมายเลข 3.14 ถึงหมายเลข 3.31 ที่กำหนดไว้เป็นสีเขียว ให้เป็นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมมีรายการดังต่อไปนี้
3.2 ด้านเหนือฯ
ฯลฯ












3.8 ด้านเหนือฯ
ฯลฯ






3.10 ด้านเหนือฯ
ฯลฯ








3.11 ด้านเหนือฯ
ฯลฯ








3.13 ด้านเหนือฯ
ฯลฯ















  6.5      ด้านเหนือ จดแนวเขตผังเมืองรวมด้านเหนือ ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างจังหวัดสุราษฎร์ธานีกับจังหวัดชุมพร
           ด้านตะวันออก จดเส้นขนานระยะ 1,000 เมตร กับแนวชายฝั่งอ่าวไทย
           ด้านใต้ จดเส้นตั้งฉากกับแนวชายฝั่งอ่าวไทย ที่จุดซึ่งหลักเขตเทศบาลตำบลพุมเรียง ฝั่งตะวันออก และเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างตำบลตะกรบกับตำบลทุ่ง
           ด้านตะวันตก จดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4112 ฟากตะวันออก เส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างตำบลวังกับตำบลท่าชนะ คลองท่าม่วงฝั่งใต้ และแนวชายฝั่งอ่าวไทย
     6.7        ด้านเหนือ จดเส้นตั้งฉากแนวชายฝั่งอ่าวบ้านดอน ที่จุดซึ่งแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนน้ำเค็มท่าฉาง บรรจบแนวชายฝั่งอ่าวบ้านดอนไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จนจบเส้นขนานระยะ 1,000 เมตร กับแนวชายฝั่งเกาะ สมุย



            ด้านตะวันออก จดแนวเขตผังเมืองรวมด้านตะวันออก ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างจังหวัดสุราษฎร์ธานีกับจังหวัดนครศรีธรรมราช
           ด้านใต้ จดแนวชายฝั่งอ่าวไทย แนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเลนดอนสัก คลองครามฝั่งตะวันตก เส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างอำเภอดอนสักกับอำเภอกาญจนดิษฐ์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4177 ฟากเหนือและฟากตะวันตกเขตเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ ระหว่าง หลักเขตที่ 3 หลักเขตที่ 2 หลักเขตที่ 1 กับหลักเขตที่ 6 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 ฟากเหนือ เส้นตั้งฉากกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 ฟากเหนือ ที่จุดซึ่งอยู่ห่างจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 บรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4233 ไปทางทิศตะวันออกตามแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 เป็นระยะ 4,360 เมตร เส้นขนานระยะ 1,000 เมตร กับศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 เขตเทศบาลตำบลท่าทองใหม่ ระหว่างหลักเขตที่ 3 หลักเขตที่ 2 กับหลักเขตที่ 1 คลองท่าทอง ฝั่งตะวันออก แม่น้ำพุนพิน ฝั่งตะวันตก และทางหลวงชนบท สฎ. 2007 ฟากเหนือ
            ด้านตะวันตก จดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4112 ฟากตะวันออก คลองท่าเคย ฝั่งใต้ และแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเลนน้ำเค็มท่าฉาง

3.2/1 ด้านเหนือ จดเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างตำบลวังกับตำบลท่าชนะ และคลองท่าม่วง ฝั่งใต้
        ด้านตะวันออก จดแนวชายฝั่งอ่าวไทย
        ด้านใต้ จดเขตเทศบาลตำบลพุมเรียงระหว่างหลักเขตที่ 3 กับหลักเขตที่ 2 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4223 ฟากตะวันออก แนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าทุ่งใสไช คลองพุมเรียงฝั่งตะวันออก และเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างตำบลตะกรบกับตำบลทุ่ง
       ด้านตะวันตก จดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4112 ฟากตะวันออก


3.8/1 ด้านเหนือ จดแนวชายฝั่งอ่าวบ้านดอน
        ด้านตะวันออก จดแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนดอนสักและคลองคราม ฝั่งตะวันตก
       ด้านใต้ จดเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างอำเภอดอนสักกับอำเภอกาญจนดิษฐ์
       ด้านตะวันตก จดเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างอำเภอดอนสักกับอำเภอกาญจนดิษฐ์


3.10/1 ด้านเหนือ จดแนวชายฝั่งอ่าวบ้านดอน
          ด้านตะวันออก จดเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างอำเภอกาญจนดิษฐ์กับอำเภอดอนสัก
          ด้านใต้ จดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4177 ฟากเหนือและฟากตะวันตก
          ด้านตะวันตก จดเขตเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ ระหว่างเขตที่ 3 กับหลักเขตที่ 2


3.11/1 ด้านเหนือ จดคลองท่าเคย ฝั่งใต้แนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเลนน้ำเค็มท่าฉางและแนวชายฝั่งอ่าวบ้านดอน
          ด้านตะวันออก จดแม่น้ำพุนพิน ฝั่งตะวันตก
          ด้านใต้ จดทางหลวงชนบท สฎ. 2007 ฟากเหนือ
          ด้านตะวันตก จดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4112 ฟากตะวันออก


3.13/1 ด้านเหนือ จดแนวชายฝั่งอ่าวบ้านดอน
          ด้านตะวันออก จดเขตเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ ระหว่างหลักเขตที่ 1 กับหลักเขตที่6
           ด้านใต้ จดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 ฟากเหนือ เส้นตั้งฉากกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 ฟากเหนือ ที่จุดซึ่งอยู่ห่างจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401  บรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4213 ไปทางทิศตะวันออกตามแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 เป็นระยะ 4,360 เมตร เส้นขนานระยะ 1,000 เมตร กับศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 เขตเทศบาลตำบลท่าทองใหม่ระหว่างหลักเขตที่ 3 หลักเขตที่ 2 กับหลักเขตที่ 1
           ด้านตะวันตก จดคลองท่าทอง ฝั่งตะวันออก
ที่ดินในบริเวณหมายเลข 6.1 ถึงหมายเลข 6.8 ที่กำหนดไว้เป็นสีฟ้า ให้เป็นที่ดินประเภทที่โล่ง เพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีรายการดังต่อไปนี้
      6.5       ด้านเหนือ จดแนวเขตผังเมืองรวมด้านเหนือ ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างจังหวัดสุราษฎร์ธานีกับจังหวัดชุมพร
          ด้านตะวันออก จดเส้นขนานระยะ 1,000 เมตร กับแนวชายฝั่งอ่าวไทย
          ด้านใต้ จดเส้นตั้งฉากกับแนวชายฝั่งอ่าวไทย หลักเขตที่ 3 บรรจบแนวชายฝั่งอ่าวไทย


          ด้านตะวันตก จดแนวชายฝั่งอ่าวไทย



        6.7  ด้านเหนือ จดเส้นตั้งฉากกับแนวชายฝั่งอ่าวบ้านดอน ที่จุดซึ่งแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเลนน้ำเค็มท่าฉาง  บรรจบกับแนวชายฝั่งอ่าวบ้านดอนไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จนบรรจบกับเส้นขนาน ระยะ 1,000 เมตร กับแนวชายฝั่งอ่าวบ้านดอน เส้นขนานระยะ 1,000 เมตร กับแนวชายฝั่งอ่าวบ้านดอน เส้นขนานระยะ 1,000 เมตร กับแนวชายฝั่งอ่าวไทย และเกาะน้อย
          ด้านตะวันออก จดแนวเขตผังเมืองรวมด้านตะวันออก ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างจังหวัดสุราษฎร์ธานีกับจังหวัดนครศรีธรรมราช
          ด้านใต้ จดแนวชายฝั่งอ่าวไทยและแนวชายฝั่งอ่าวบ้านดอน















          ด้านตะวันตก จดแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเลนน้ำเค็มท่าฉาง



8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการคลังสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ รง. เสนอว่า
                    1. กฎกระทรวงค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. 2563 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขกรณีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย (1) ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกิน 50,000 บาท                (2) กรณีค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่ายดังกล่าวไม่เพียงพอ ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มขึ้นไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้าง รวม 7 ลักษณะ1
                    2. รง. พิจารณาแล้วเห็นว่า โดยที่กฎกระทรวงตามข้อ 1. ยังไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนและภาระค่าใช้จ่ายของลูกจ้าง จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย จากเดิม 50,000 บาท เป็น 65,000 บาท2 และแก้ไขลักษณะการบาดเจ็บรุนแรงของศีรษะ จากเดิม บาดเจ็บรุนแรงของศีรษะและต้องได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ เป็น บาดเจ็บอย่างรุนแรงของศีรษะ เนื่องจากในปัจจุบันมีวิธีการรักษาด้วยวิธีการอื่นที่ไม่ใช่การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ เช่น การเจาะกะโหลกศีรษะเพื่อระบายเลือดและน้ำในสมองออก หรือการรักษาด้วยยาอาจมีค่าใช้จ่ายสูงได้ หากต้องมีการสังเกตอาการในห้องดูแลผู้ป่วยหนัก (Intensive Care Units หรือ ICU) เป็นระยะเวลานาน วงเงิน 50,000 บาท อาจจะไม่เพียงพอ และให้ครอบคลุมผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บจนเกิดภาวะไม่รู้สึกตัว หรืออัมพาตที่มีค่าใช้จ่ายสูงสามารถเข้าหลักเกณฑ์ตามกฎกระทรวงข้อนี้ได้ เช่น อาการบาดเจ็บที่มีลักษณะ หรือการรักษา ดังต่อไปนี้
                              2.1 การบาดเจ็บอย่างรุนแรงของศีรษะจนไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันตามปกติเกินว่า 20 วัน
                              2.2 กรณีศีรษะบาดเจ็บรุนแรง แต่อาจไม่ต้องผ่าตัด หรือไม่อาจผ่าตัดได้ เช่น กะโหลกศีรษะแตกจนมีเลือดออกในช่องสมอง บางรายอาจผ่าตัดไม่ได้หรือไม่ต้องผ่าตัด
                              2.3 กรณีตกจากที่สูงมีเลือดคั่งในสมองแต่ไม่ต้องผ่าตัดนอนรักษาในห้องดูแลผู้ป่วยหนัก (Intensive Care Units หรือ ICU) จำนวน 3 คืน มีเลือดออกในช่องท้องและไม่ต้องผ่าตัด ซี่โครงหักหลายซี่มีเลือดในช่องอกเล็กน้อย หายใจขัดเล็กน้อยไม่ผ่าตัด กรณีนี้เบิกได้ 50,000 บาท เนื่องจากไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น
                    3. ในคราวประชุมคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 และ ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2564 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการร่างกฎกระทรวงตามข้อ 2.
                    4. ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้คาดว่านายจ้างจะได้รับผลกระทบที่จะต้องจ่ายเงินสมทบตามค่าประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้นและมีผลกระทบต่อสถานะของกองทุนเงินทดแทน และได้ดำเนินการตามมาตรา 7 และมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 การปรับเพิ่มวงเงินค่ารักษาพยาบาลดังกล่าวเป็นการคุ้มครองลูกจ้างในการได้รับค่ารักษาพยาบาลตามความเหมาะสมแก่อันตรายหรือความเจ็บป่วยเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนและภาระค่าใช้จ่ายของลูกจ้าง คาดว่าจะมีผลกระทบต่อสถานะของกองทุนเงินทดแทนที่เพิ่มขึ้น ประมาณการรายจ่ายในส่วนของค่ารักษาพยาบาลระหว่างปี 2566-2567 ประมาณ 2,207,090,000 บาท (สองพันสองร้อยเจ็ดล้านเก้าหมื่นบาท)
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. 2563 เพื่อปรับอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่ายประกันสังคม จากเดิม ?50,000 บาท? เป็น ?65,000 บาท? และ แก้ไขลักษณะการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างที่นายจ้างต้องจ่ายเพิ่มขึ้น แต่ไม่เกิน 100,000 บาทกรณีการบาดเจ็บรุนแรงของศีรษะ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนและภาระค่าใช้จ่ายของลูกจ้าง ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อนายจ้างที่จะต้องจ่ายเงินสมทบตามค่าประสบการณ์เพิ่มขึ้น รวมทั้งสถานะของกองทุนเงินทดแทน
1ลักษณะการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างที่นายจ้างต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ได้แก่                 (1) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของอวัยวะภายในหลายส่วนและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข (2) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกหลายแห่งและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข (3) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของศีรษะและต้องได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ (4) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกสันหลัง ไขสันหลัง หรือรากประสาท (5) ประสบภาวะที่ต้องผ่าตัดต่ออวัยวะที่ยุ่งยากซึ่งต้องใช้วิธีจุลศัลยกรรม (6) ประสบอันตรายจากไฟไหม้  น้ำร้อนลวก ความร้อน ความเย็น สารเคมี  รังสี ไฟฟ้า  หรือระเบิด จนถึงขั้นสูญเสียผิวหนังลึกถึงหนังแท้ตั้งแต่ร้อยละยี่สิบห้าของพื้นที่ผิวของร่างกาย และ (7) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอย่างอื่นซึ่งรุนแรงหรือเรื้อรัง ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
2 ในการคิดคำนวณอัตราจาก 50,000 บาท เป็น 65,000 บาท คำนวณจากข้อมูลค่ารักษาพยาบาลจากแพทย์และการวิเคราะห์จาก                นักคณิตศาสตร์ประกันภัยของกองทุนเงินทดแทน และพิจารณาจากรายการค่าธรรมเนียมแพทย์เป็นตัวคำนวณปรับเพิ่มอัตราดังกล่าว

9. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดระยอง เขตเลือกตั้งที่ 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดระยอง เขตเลือกตั้งที่ 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. .... ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเสนอ
                    ทั้งนี้ เนื่องด้วยตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง เขตเลือกตั้งที่ 3 ว่างลงซึ่งมาตรา 105 วรรคหนึ่ง (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติว่า ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งว่างลงเพราะเหตุอื่นใด นอกจากถึงคราวออกตามอายุของสภาผู้แทนราษฎร หรือเมื่อมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ให้ดำเนินการตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่าง เว้นแต่อายุของสภาผู้แทนราษฎรจะเหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง เขตเลือกตั้งที่ 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง

10. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากฝิ่น และกำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชเห็ดขี้ควาย เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากฝิ่น และกำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชเห็ดขี้ควายเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากฝิ่นและเห็ดขี้ควาย เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย รวมทั้งกำหนดมาตรการควบคุมและตรวจสอบการเพาะปลูกและสารสำคัญจากพืชดังกล่าว โดยอาศัยอำนาจในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและมาตรา 55 แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด ซึ่งบัญญัติให้ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ส. เห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย การลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด และการป้องกันปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด จะกำหนดพื้นที่เพื่อดำเนินการศึกษาทดลองเพาะปลูกพืชที่เป็นยาเสพติด ผลิตและทดสอบเกี่ยวกับยาเสพติดได้ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา โดยกำหนดพื้นที่วิทยาลัยป้องกันและปราบปรามยาเสพติดระหว่างประเทศ สำนักงาน ป.ป.ส. ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นพื้นที่ปลูกฝิ่นและเพาะเห็ดขี้ควาย เพื่อดำเนินการศึกษาวิจัย พื้นที่องค์การเภสัชกรรม 2 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และปทุมธานี เป็นพื้นที่ทดลองสกัดมอร์ฟีนจากพืชฝิ่นเพื่อประโยชน์ในทางการแพทย์ และเพิ่มเติมพื้นที่ทดลองเพาะเห็ดขี้ควายเพื่อการศึกษาวิจัยให้ครอบคลุมทั้ง 4 ภูมิภาคในพื้นที่ของสถาบันการศึกษาที่มีความพร้อม ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศไทยมีการศึกษาวิจัยการนำพืชฝิ่น หรือเห็ดขี้ควาย ไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ที่เป็นยาเพื่อใช้ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยมะเร็ง ยาต้านการซึมเศร้า หรือผู้ป่วยที่จำเป็นอื่น ภายใต้มาตรการควบคุม และลดการนำเข้ายาประเภทมอร์ฟีนจากต่างประเทศในอนาคต
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    กำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากฝิ่นและเห็ดขี้ควายเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย รวมทั้งกำหนดมาตรการควบคุมและตรวจสอบการเพาะปลูก และสารสำคัญจากพืชดังกล่าว
เรื่อง          สาระสำคัญ
1. การกำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสารสำคัญที่ได้จากฝิ่น          ? การกำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากฝิ่น
          - กำหนดให้พื้นที่บางส่วนของวิทยาลัยป้องกันและปราบปรามยาเสพติดระหว่างประเทศ สำนักงาน ป.ป.ส. ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นพื้นที่ทดลองเพาะปลูกพืชฝิ่น เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย
? กำหนดให้พื้นที่ขององค์การเภสัชกรรม ดังต่อไปนี้ เป็นพื้นที่ทดลองสกัดสารสำคัญจากพืชฝิ่น เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย
          (1) อาคารสถาบันวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม เลขที่ 75/1 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
          (2) อาคารฝ่ายสมุนไพรและเภสัชเคมีภัณฑ์ องค์การเภสัชกรรม (สาขาธัญบุรี) เลขที่ 138 หมู่ที่ 4 ถนนรังสิต - นครนายก ตำบลบึงสนั่น อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
2. การกำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชเห็ดขี้ควาย          ? การกำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชเห็ดขี้ควาย
          - กำหนดให้พื้นที่บางส่วนของวิทยาลัยป้องกันและปราบปรามยาเสพติดระหว่างประเทศ สำนักงาน ป.ป.ส. ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นพื้นที่ทดลองเพาะปลูกพืชฝิ่น เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย
? กำหนดให้พื้นที่ของมหาวิทยาลัย ดังต่อไปนี้ เป็นพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชเห็ดขี้ควาย
          (1) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
                    (ก) อาคารทวี ญาณสุคนธ์ (SCL) คณะวิทยาศาสตร์
                    (ข) อาคารปฏิบัติการวิจัยกลางและอาคารอุตสาหกรรมเกษตร 3 สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
                    (ค) อาคารภาควิชาจุลชีววิทยา - ภาควิชาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
                    (ง) อาคารภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
          (2) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
                    (ก) หมวดพืชผัก สาขาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์
                    (ข) อาคาร AG07 ชั้น 4 สาขาวิชาโรคพืชและกีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์
                    (ค) อาคารศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะแพทยศาสตร์
                    (ง) อาคารสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมการผลิต คณะเภสัชวิทยา
                    (จ) อาคารอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
          (3) มหาวิทยาลัยนเรศวร
                    (ก) โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร คณะแพทยศาสตร์
                    (ข) ห้อง MD 346 ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
                    (ค) อาคาร 4 คณะเภสัชศาสตร์
                    (ง) อาคารสถานสัตว์ทดลองเพื่อการวิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร
          (4) มหาวิทยาลัยพายัพ
                    ในพื้นที่อาคารวิวรณ์ สำนักบริการวิชาการและวิจัย
          (5) มหาวิทยาลัยแม่โจ้
                    (ก) อาคาร 60 ปี แม่โจ้ (ศูนย์บริการวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) คณะวิทยาศาสตร์
                    (ข) อาคาร Pilot plat คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
                    (ค) อาคารจุฬาภรณ์ (ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางพืช) คณะวิทยาศาสตร์
                    (ง) อาคารโรงเรือน คณะฟาร์มมหาวิทยาลัย
                    (จ) อาคารวิศวกรรม ห้อง 400 คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
                    (ฉ) อาคารศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางการเกษตรสำหรับบัณฑิตผู้ประกอบการคณะวิทยาศาสตร์
                    (ช) อาคารศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ คณะฟาร์มมหาวิทยาลัย
                    (ซ) อาคารสาขาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร
          (6) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
                    (ก) อาคารพรีคลินิก ห้องเตรียมชิ้นเนื้อ / ห้องวิจัย 2 (PR116) คณะวิทยาศาสตร์
                    (ข) อาคารพรีคลินิก ห้องปฏิบัติการทางเภสัชวิทยา 1 (PR126) คณะวิทยาศาสตร์
                    (ค) อาคารพรีคลินิก ห้องปฏิบัติการทางเภสัชวิทยา 4 (PR230) คณะวิทยาศาสตร์
                    (ง) อาคารโรงเพาะปลูก คณะวิทยาศาสตร์
                    (จ) อาคารสถานสัตว์ทดลองภาคใต้ คณะวิทยาศาสตร์
          (7) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
                    ในพื้นที่อาคารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. การกำหนดมาตรการควบคุมการเพาะปลูกฝิ่น          ? กำหนดให้เลขาธิการ ป.ป.ส. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้รับผิดชอบและควบคุมการดำเนินการทดลองเพาะปลูกฝิ่นเพื่อส่งต่อให้องค์การเภสัชกรรมสกัดสารสำคัญ เพื่อประโยชน์ทางการวิจัยในเขตพื้นที่ที่กำหนด โดยต้องมีมาตรการควบคุม ดังต่อไปนี้
          (1) ที่มาของพืชฝิ่นที่จะเพาะปลูก ต้องได้รับอนุญาตตามประมวลกฎหมายยาเสพติด หรือรับอนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ ตามระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ว่าด้วยการตรวจรับการตรวจพิสูจน์ การเก็บรักษา การทำลาย การนำไปใช้ประโยชน์ และการรายงานยาเสพติด พ.ศ. 2565
          (2) สถานที่เพาะปลูก
                    (ก) จัดให้มีป้ายแสดงไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย
                    (ข) จัดทำแนวเขตพื้นที่เพาะปลูกที่มีความมั่นคงแข็งแรงและเห็นได้ซัด
                    (ค) แสดงเบบแปลนของตัวอาคาร ชั้นโรงเรียน หรือแปลงเพาะปลูกกลางแจ้ง
                    (ง) การเข้าออกพื้นที่ต้องสามารถป้องกันการเข้าถึงจากบุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องได้
          (3) การรักษาความปลอดภัย
                    - ต้องมีการติดกล้อง CCTV และจัดเก็บข้อมูลเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 180 วัน
                    - การควบคุมการเข้าถึงของบุคคลภายนอก กำหนดสิทธิบุคคลผู้มีสิทธิเข้าออก กรณีฝิ่นถูกโจรกรรม สูญหาย หรือถูกทำลาย ต้องแจ้งให้สถานีตำรวจในพื้นที่ทราบโดยเร็ว
          (4) สถานที่เก็บฝิ่น
                    - ต้องแยกเป็นสัดส่วน และจัดเก็บในที่ซึ่งมั่นคงแข็งแรง และมีกุญแจใส่ไว้ หรือเครื่องหมายป้องกันอย่างอื่นที่มีสภาพเท่าเทียมกัน
          (5) การขนส่ง
                    (ก) แจ้งกำหนดการขนส่งพืชฝิ่น ไปยังพื้นที่สกัด โดยทำเป็นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดต้นทางและปลายทางไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนการขนส่ง
                    (ข) จัดให้มียานพาหนะที่มีระบบป้องกันการสูญหาย การเข้าถึง และการมองเห็นจากบุคคลภายนอก
                    (ค) จัดให้มีภาชนะบรรจุพืชฝิ่นที่มีการปิดผนึกหรือระบบนิรภัยป้องกันมิให้มีการเข้าถึงพืชฝิ่นในระหว่างการขนส่งได้โดยง่ายจนกระทั่งขนส่งไปถึงผู้รับ
                    (ง) จัดให้มีผู้รับผิดชอบควบคุมการขนส่งและรักษาความปลอดภัยอย่างน้อยสองคน
4. การกำหนดมาตรการควบคุมการเพาะปลูกพืชเห็ดขี้ควาย          ? กำหนดให้เลขาธิการ ป.ป.ส. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้รับผิดชอบและควบคุมการดำเนินการทดลองเพาะพืชเห็ดขี้ควายเพื่อส่งต่อให้สถาบันการศึกษาสกัดสารสำคัญ เพื่อประโชน์ทางการวิจัยในเขตพื้นที่ที่กำหนด
          - กำหนดให้นำมาตรการควบคุมการเพาะปลูกพืชฝิ่น มาใช้บังคับกับการควบคุมการเพาะปลูกพืชเห็ดขี้ควายด้วยโดยอนุโลม
5. การกำหนดมาตรการควบคุมการสกัดสารสำคัญจากฝิ่น          ? กำหนดให้ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรมหรือผู้ได้รับมอบหมาย
เป็นผู้รับผิดชอบ และควบคุมการดำเนินการสกัดสารสำคัญจากพืชฝิ่นเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย
          - กำหนดมาตรการควบคุมการสกัดสารสำคัญจากพืชฝิ่นในเรื่องต่างๆ เช่น สถานที่สกัดต้องจัดทำป้ายระบุว่าเป็นสถานที่สกัดพืชฝุ่นตามพระราชกฤษฎีกานี้ แสดงแบบแปลนอาคาร จัดให้มีประตูเข้าออกที่มีความมั่นคงแข็งแรง การรักษาความปลอดภัย ต้องมีการติดตั้งกล้อง CCTV และจัดเก็บข้อมูลไว้ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 180 วัน เป็นต้น
6. มาตรการควบคุมการเพาะปลูกและสารสกัดสำคัญจากพืชเห็ดขี้ควายของสถาบันการศึกษา                    - กำหนดให้อธิการบดีหรือผู้ได้รับมอบหมาย เป็นผู้รับผิดชอบ
และควบคุมการดำเนินการทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจาก
พืชเห็ดขี้ควาย ของสถาบันการศึกษาเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย
          - กำหนดให้นำมาตรการควบคุมการเพาะปลูกพืชฝิ่น และมาตรการควบคุมการดำเนินการสกัดสารสำคัญ มาใช้บังคับกับการควบคุมการเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชเห็ดขี้ควายด้วยโดยอนุโลม
          - กำหนดให้สถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ พึงระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงมิให้นิสิตหรือนักศึกษาที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการศึกษาวิจัยดังกล่าว เว้นแต่มีเหตุผลและความจำเป็นที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยสถาบันการศึกษาจะต้องแจ้งและขอความยินยอมจากผู้ปกครองของนิสิตหรือนักศึกษาด้วย
          - ให้สถาบันการศึกษารายงานความคืบหน้าผลการศึกษาวิจัยการทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชเห็ดขี้ควายให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดทราบทุก 6 เดือน


เศรษฐกิจ-สังคม
11. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหากรณีนักบินไทยว่างงานและการส่งเสริมเพื่อสร้างโอกาสให้นักบินไทยสามารถไปทำงานต่างประเทศได้ ของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหากรณีนักบินไทยว่างงานและการส่งเสริมเพื่อสร้างโอกาสให้นักบินไทยสามารถไปทำงานต่างประเทศได้ ของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงแรงงานได้เสนอผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหากรณีนักบินไทยว่างงานเละการส่งเสริมเพื่อสร้างโอกาสให้นักบินไทยสามารถไปทำงานต่างประเทศได้ ของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา ซึ่งสรุปผลการพิจารณาได้ดังนี้ ข้อเสนอแนะเร่งด่วน ในส่วนของการสำรวจข้อมูลความต้องการ (Demand) ของธุรกิจการบิน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลดังกล่าวแล้ว และได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพในอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ ระหว่างปี พ.ศ. 2565-2570 รวมทั้งได้วิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบต่อการว่างงาน ในส่วนของส่งเสริมการพัฒนาความรู้ทักษะด้านอื่น ๆ ให้แก่นักบินทุกระดับนั้น กระทรวงแรงงานได้จัดทำหลักสูตรที่เชื่อมโยงสู่การจ้างงาน               (job-ready training programme) เช่น หลักสูตรการซ่อมและบำรุงรักษาอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน  (โดรน) รวมทั้งสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยได้มีนโยบายปรับปรุงกฎเกณฑ์การพัฒนาระบบการฝึกอบรมนักบินตามแนวทางขององค์การความปลอดภัยด้านการบินแห่งสหภาพยุโรป (EASA) ในส่วนของการกำหนดมาตรการในการตรวจสอบการทำงานของคนต่างด้าว กระทรวงคมนาคมได้กำหนดเงื่อนไขมาตรฐานแนบท้ายใบอนุญาตประกอบกิจการการบินพลเรือนสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตใช้นักบินสัญชาติไทย ในส่วนของมาตรการในการรักษาศักย์นักบิน (Pilot Proficiency) หรือการรักษาใบอนุญาตของนักบิน (Pilot licensed) นั้น  ปัจจุบันสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยได้มีมาตรการดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ตามมาตรการดังกล่าวอาจส่งผลให้ประสบการณ์และความชำนาญของนักบินลดลง และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในส่วนของการจัดทำโครงการปรับมาตรฐานการบินให้สูงขึ้นตามแนวทางขององค์การความปลอดภัยด้านการบินแห่งสหภาพยุโรป (Europe aviation safety agency : EASA) ตลอดจนมาตรฐานความปลอดภัยอื่นนั้น สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างการจัดทำนโยบายการพัฒนาบุคลากรและการพัฒนาระบบกฎหมายลำดับรองด้านความปลอดภัยการบินพลเรือนที่สอดคล้องกับมาตรฐาน EASA โดยคาดว่าจะใช้บังคับได้ในปี พ.ศ. 2565                ในส่วนของการประสานความร่วมมือกับต่างประเทศทั้งในระดับพหุภาคีและทวิภาคี สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศหลายระดับ เช่น เข้าร่วมโครงการรวมตัวทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคอาเซียนจากสหภาพยุโรปเพิ่มเติม (ARISE Plus) ในส่วนของกำหนดแนวนโยบายการพัฒนาเพื่อเป็นศูนย์กลาง (Hub) ด้านการบินในภูมิภาคอาเซียนนั้น เช่น จัดตั้งศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานธุรกิจการบินสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยพร้อมให้การสนับสนุนในด้านมาตรฐานผู้ประจำหน้าที่และคำแนะนำเกี่ยวกับการประกอบอาชีพสำคัญในอุตสาหกรรมการบิน ในส่วนของการมีมาตรการบังคับเพื่อให้โรงเรียนการบินกำหนดหลักสูตรให้ผู้เรียนมีคุณสมบัติครบถ้วนตามความต้องการของสายการบิน สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างพัฒนาหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้โรงเรียนการบินใช้หลักสูตรที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ในส่วนของการกำหนดหลักเกณฑ์ในการรับผู้ที่มีความสนใจเข้ารับการฝึกอบรมร่วมกันระหว่างสายการบิน โรงเรียนการบิน และสถาบันการศึกษา   สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยได้กำหนดหลักเกณฑ์คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมในสถาบันฝึกอบรมด้านการบินตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ในส่วนของข้อเสนอในการให้หน่วยงานทางด้านวิชาชีพการบินที่เป็นองค์กรอิสระทางด้านวิชาชีพนั้น ปัจจุบันสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยมีอิสระในการกำหนดมาตรฐานและการกำกับดูแลนักบินตามมาตรฐานสากลแล้ว ในส่วนของการมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวให้มากขึ้นนั้น  สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยเห็นว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นความต้องการการเดินทางทางอากาศ ทำให้เกิดการจ้างงานนักบินเพิ่มขึ้น และในส่วนของการจัดตั้ง ?สภาวิชาชีพการบิน? หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบข้อเสนอดังกล่าว และเห็นว่าสภาวิชาชีพการบินควรครอบคลุมทุกกลุ่มบุคลากร เช่น นักบิน พนักงานอำนวยการบิน ช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน วิศวกร เป็นต้น

12. เรื่อง รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ ..)  พ.ศ. ?. ของวุฒิสภา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....  ของวุฒิสภา ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
                    เรื่องเดิม
                    1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา (สว.) ได้เสนอข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของวุฒิสภา มีข้อสังเกตว่า การเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองและสมาชิกพรรคการเมืองทั้งที่เป็นหรือไม่เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้การสนับสนุนผู้สมัครได้ จะเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของพรรคการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน และการพัฒนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และมาตรา 113 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติว่า ?สมาชิกวุฒิสภาต้องไม่ฝักใฝ่หรือยอมตนอยู่ใต้อาณัติของพรรคการเมืองใดๆ?  การให้สมาชิกวุฒิสภาสามารถช่วยเหลือผู้สมัครรับเลือกตั้งท้องถิ่น ซึ่งอาจสังกัดพรรคการมืองหรือมีพรรคการเมืองให้การสนับสนุนอาจสุ่มเสี่ยงที่จะเข้าข่ายฝักใฝ่พรรคการเมือง ดังนั้น จึงไม่ควรให้สมาชิกวุฒิสภามีบทบาทในการช่วยเหลือผู้สมัครรับเลือกตั้ง ตลอดจนร่างพระราชบัญญัตินี้แก้ไขปัญหาการใช้บังคับกฎหมายที่มีอยู่ ซึ่งมีความย้อนแย้งในเชิงหลักการและปัญหาในทางปฏิบัติซึ่งทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติมีการหลบเลี่ยงและเปิดโอกาสให้กระทำการในทางมิชอบ
                    2. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (24 มกราคม 2566)
                              2.1 รับทราบข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของวุฒิสภา ตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเสนอ
                              2.2 ให้ มท. เป็นหน่วยงานหลักรับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของวุฒิสภาดังกล่าว ไปพิจารณาร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (สำนักงาน กกต.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อสังเกตดังกล่าวและสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    ข้อเท็จจริง
                    มท. ได้พิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ ..) พศ. .... ของวุฒิสภา ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามมติคณะรัฐมนตรี (24 มกราคม 2566)  แล้ว สรุปผลการพิจารณาได้ ดังนี้
ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ           ผลการพิจารณา
? การเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองและสมาชิกพรรคการเมือง ทั้งที่เป็นหรือไม่เป็น ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้การสนับสนุนผู้สมัครได้จะเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของพรรคการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชนและการพัฒนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย          ? สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) เห็นว่า การกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ สามารถช่วยหาเสียงเลือกตั้งให้ผู้รับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นได้โดยไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่เป็นคุณหรือโทษแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งนั้นจำเป็นต้องมีหลักประกันที่ชัดเจนว่า บุคคลดังกล่าวซึ่งถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหากเข้าไปมีส่วนร่วมและรณรงค์ในการช่วยผู้สมัครหาเสียงเลือกตั้งต้องมีความโปร่งใสในบทบาทหน้าที่ของตนเอง และการใช้ทรัพยากรในการหาเสียงเลือกตั้ง กล่าวคือ ต้องไม่ใช้อำนาจในความเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือการใช้ทรัพยากรของรัฐอันอาจเป็นการเอื้อประโยชน์ การแทรกแซงความเป็นอิสระของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์และยุติธรรม (genuine election) และมีความเห็นสอดคล้องกับหลักการที่ว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการช่วยผู้สมัครรับเลือกตั้งหาเสียงในทางที่เป็นคุณหรือเป็นโทษ
? มาตรา 113 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติว่า ?สมาชิกวุฒิสภาต้องไม่ฝักใฝ่หรือยอมตนอยู่ใต้อาณัติของพรรคการเมืองใดๆ? การให้สมาชิกวุฒิสภาสามารถช่วยเหลือผู้สมัครรับเลือกตั้งท้องถิ่น ซึ่งอาจสังกัดพรรคการเมืองหรือมีพรรคการเมืองให้การสนับสนุนอาจสุ่มเสี่ยงที่จะเข้าข่ายฝักใฝ่พรรคการเมือง ดังนั้น จึงไม่ควรให้สมาชิกวุฒิสภามีบทบาทในการช่วยเหลือผู้สมัครรับเลือกตั้ง          ? กสม. เห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ (พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 มาตรา 34 วรรคหนึ่ง มิได้บัญญัติให้สมาชิกวุฒิสภาอาจช่วยผู้สมัครในการหาเสียงเลือกตั้งได้) ทั้งนี้ ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาท้องถิ่น  ผู้บริหารท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ซึ่งอาจช่วยผู้สมัครในการหาเสียงเลือกตั้งได้ตามมาตรา 34 ต้องพึงระมัดระวังในการช่วยหาเสียงเลือกตั้งให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้ง

13. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤษภาคม 2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤษภาคม 2566   ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้
                    สาระสำคัญ
                    ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม 2566 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผล ผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากภาคการส่งออกที่ยังคงเปราะบาง จากผลกระทบของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจในประเทศทยอยปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมในบางกลุ่มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม
                    อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนพฤษภาคม 2566 หดตัวเมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ
                    1. เหล็กและเหล็กกล้า หดตัวร้อยละ 26.72 เนื่องจากผู้บริโภคมีการชะลอคำสั่งซื้อเพื่อดูแนวโน้มทิศทางราคา ประกอบกับผู้ผลิตมีการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง จากความไม่มั่นใจในสถานการณ์ตลาด
                    2. Hard Disk Drive (HDD)  หดตัวร้อยละ 27.72 ตามการพัฒนาเทคโนโลยีความจุทำให้ปริมาณการผลิตน้อยลง แต่ราคาต่อหน่วยสูงขึ้นตามปริมาณความจุ รวมถึงความต้องการใช้ปรับตัวลดลง นอกจากนี้ Solid State Drive (SSD) มีสัดส่วนการใช้ในอุปกรณ์ต่าง ๆ ทดแทน HDD เพิ่มมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีฐานการผลิต SSD ในประเทศ
                    3. เครื่องนุ่งห่ม หดตัวร้อยละ 31.55 ลดลงจากคำสั่งซื้อที่ลดลงของประเทศคู่ค้าเนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ส่งผลให้อุตสาหกรรมเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มซบเซาลง รวมถึงปัจจัยเงินเฟ้อ และสงครามรัสเซีย ยูเครน ส่งผลให้ลูกค้าลดคำสั่งซื้อลง รวมถึงความใส่ใจของผู้บริโภคในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่มีความยั่งยืนและความตระหนักในการรักษาสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ผู้บริโภคมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยเลือกใช้สินค้าเสื้อผ้ามือสองที่ราคาย่อมเยามากขึ้น
                    อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนพฤษภาคม 2566 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
                    1. รถยนต์ ขยายตัวร้อยละ 17.54 โดยมาจากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกเป็นสำคัญ
                    2. เครื่องปรับอากาศ ขยายตัวร้อยละ 12.57 จากการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ รวมถึงภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีการก่อสร้างใหม่ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีความต้องการเครื่องปรับอากาศมากขึ้นด้วย รวมถึงการส่งออกที่ยังขยายตัวดี จากตลาดสหรัฐอเมริกา เวียดนาม และอินเดีย

14. เรื่อง ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชน ในพื้นที่ป่าชายเลนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 (เรื่อง รายงานการศึกษาสถานภาพปัจจุบันของป่าไม้ชายเลนและปะการังของประเทศไทย) วันที่ 22 สิงหาคม 2543 (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน) และวันที่ 17 ตุลาคม 2543 (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ครั้งที่ 3/2543 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน) เพื่อดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชนในพื้นที่ป่าชายเลน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อนำที่ดินที่เป็นป่าชายเลนเนื้อที่รวม 352-0-61.51 ไร่ ไปดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชน ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ทส. รายงานว่า
                    1. ที่ผ่านมา ทส. โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้ดำเนินการจัดที่ดินในพื้นที่ป่าชายเลนให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล โดยมีผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ดังนี้

ปีงบประมาณ พ.ศ.          ผลการดำเนินการ
2559                       (มติคณะรัฐมนตรี 30 กันยายน 2558)          จัดที่ดินอำเภอเมือง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 27,000 ไร่ แบ่งเป็น
- จัดที่ดินทำกินให้ชุมชน จำนวน 11,000 ไร่
- ปลูกป่าฟื้นฟูป่าชายเลน 16,000 ไร่
ได้รับหนังสืออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติแล้วเนื้อที่รวม 10,979-0-69 ไร่ 695 ครัวเรือน
2560
(มติคณะรัฐมนตรี 23 พฤษภาคม 2560)          จัดที่ดินอำเภอท่าศาลา อำเภอเมือง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 12,000 ไร่ แบ่งเป็น
- จัดที่ดินทำกินให้ชุมชน จำนวน 5,000 ไร่
- ปลูกป่าฟื้นฟูระบบนิเวศ 7,000 ไร่
ได้รับหนังสืออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เนื้อที่รวม 3,397 ไร่ 363 ครัวเรือน
จัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยในท้องที่จังหวัดชายฝั่งทะเล 9 จังหวัด1 28 ชุมชน เนื้อที่รวม  287-2-82.80 ไร่
ได้รับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์แล้ว 27 ชุมชน เนื้อที่รวม 290-1-42.19 ไร่ 1,050 ครัวเรือน
2561 (มติคณะรัฐมนตรี 23 พฤษภาคม 2560)          จัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยในท้องที่จังหวัดชายฝั่งทะเล 18 จังหวัด2 252 ชุมชน เนื้อที่รวม  5,139-1-78 ไร่
ได้รับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์แล้ว 93 ชุมชน เนื้อที่รวม 744-1-43.80 ไร่ 3,704 ครัวเรือน
2562 (มติคณะรัฐมนตรี 16 พฤศจิกายน 2564)          จัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยในท้องที่จังหวัดชายฝั่งทะเล 21 จังหวัด3 189 ชุมชน เนื้อที่รวม  3,116-1-28 ไร่
ได้รับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์แล้ว 49 ชุมชน เนื้อที่รวม 582-2-84.30 ไร่ 3,186 ครัวเรือน
2563 (มติคณะรัฐมนตรี 16 พฤศจิกายน 2564)          จัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยในท้องที่จังหวัดชายฝั่งทะเล 14 จังหวัด4 67ชุมชน เนื้อที่รวม  988-2-76 ไร่
ได้รับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์แล้ว 10 ชุมชน เนื้อที่รวม 45-2-77 ไร่ 275 ครัวเรือน
2564 (มติคณะรัฐมนตรี 6 กันยายน 2565)          จัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยในท้องที่จังหวัดชายฝั่งทะเล 13 จังหวัด5 64ชุมชน เนื้อที่รวม  573-3-78 ไร่
ได้รับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์แล้ว 1 ชุมชน เนื้อที่รวม 3-1-02 ไร่ 6 ครัวเรือน
                    2. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ข้อเสนอในครั้งนี้) ทส. มีเป้าหมายจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยในพื้นที่ป่าชายเลน ในท้องที่ 11 จังหวัด6 จำนวน 62 พื้นที่ เนื้อที่รวม 352-0-61.51 ไร่ โดยมีรายละเอียดดังนี้
                              2.1 คณะอนุกรรมการจัดหาที่ดิน (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานอนุกรรมการ) มีมติเห็นชอบการกำหนดให้พื้นที่ป่าชายเลนเป็นพื้นที่เป้าหมายที่จะดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชนในการประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2565 จำนวน 18 พื้นที่           6 จังหวัด เนื้อที่ 115-2-98.81 ไร่ และคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ) มีมติรับทราบผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการจัดหาที่ดินดังกล่าวแล้วในการประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2565
                              2.2 คณะอนุกรรมการจัดหาที่ดิน มีมติเห็นชอบพื้นที่เป้าหมายที่จะดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชนเพิ่มเติมในการประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2566 จำนวน 44 พื้นที่ 9 จังหวัด เนื้อที่ 236-1-62.70 ไร่ และคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ มีมติรับทราบผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการจัดหาที่ดินดังกล่าวแล้ว ในการประชุมครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566
                    3. การดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชน ในพื้นที่ป่าชายเลนประจำปีงบประมาณ                 พ.ศ. 2565 ของ ทส. จะต้องขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีที่ห้ามใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลนก่อน ซึ่ง ทช. ได้ลงพื้นที่สำรวจรังวัดและขึ้นรูปแปลงแล้ว โดยพื้นที่ทั้งหมดอยู่ในความรับผิดชอบของ ทส. ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง                 พ.ศ. 2558 ไม่ทับซ้อนกับพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่นและไม่กระทบต่อการปฏิบัติตามกฎหมายในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่น และเมื่อกำหนดพื้นที่เป้าหมายแล้ว เจ้าหน้าที่จะลงสำรวจพื้นที่ร่วมกับผู้นำหรือผู้แทนชุมชนผู้ที่อยู่อาศัยใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นผู้นำตรวจและนำชี้เป็นรายแปลง
                    4. ทช. จะดำเนินการต่อไปให้เป็นไปตามระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งว่าด้วยการปลูกและบำรุงป่าชายเลนทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อม กรณีการดำเนินการโครงการใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐที่มีความจำเป็นต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน พ.ศ. 25567 ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานรัฐที่เข้าใช้ประโยชน์ป่าชายเลนต้องจัดสรรงบประมาณให้ ทช. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปลูกและบำรุงรักษาป่าชายเลนทดแทน ไม่น้อยกว่า 20 เท่า ของพื้นที่ป่าชายเลนที่ใช้ประโยชน์
1พื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช เพชรบุรี ระนอง ระยอง สตูล และสุราษฎร์ธานี
 2พื้นที่ 18 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จันทบุรี ชลบุรี ชุมพร ตรัง ตราด นครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พังงา เพชรบุรี ภูเก็ต ระนอง สงขลา สตูล สมุทรสงคราม ระยอง และสุราษฎร์ธานี
3พื้นที่ 21 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชุมพร ตรัง ตราด นครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พังงา เพชรบุรี ภูเก็ต ระนอง ระยอง สงขลา สตูล สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และสุราษฎร์ธานี
4พื้นที่ 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชุมพร ตรัง ตราด นครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันธ์ พังงา ภูเก็ต ระนอง ระยอง สงขลา และสตูล
5พื้นที่ 13 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จันทบุรี ชลบุรี ชุมพร ตราด นครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันธ์ พังงา ภูเก็ต ระนอง ระยอง สตูล และสุราษฎร์ธานี
6พื้นที่ 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตรัง ตราด พังงา ภูเก็ต ระนอง ระยอง และสมุทรปราการ
7ปัจจุบันระเบียบดังกล่าว ถูกยกเลิกโดยระเบียบ ทช. ว่าด้วยการปลูกและบำรุงป่าชายเลนทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อมกรณีการดำเนินการโครงการใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐที่มีความจำเป็นต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน พ.ศ. 2566 แต่ยังคงมีข้อกำหนดคล้ายกับระเบียบเดิม คือ ให้หน่วยงานของรัฐที่เข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนต้องจัดสรรงบประมาณให้ ทช. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปลูกและบำรุงรักษาป่าชายเลนทดแทน ไม่น้อยกว่า 20 เท่า ของพื้นที่ป่าชายเลนที่ได้รับอนุญาต แต่มีการกำหนดเพิ่มเติมในส่วนของประเภทกิจกรรมที่ ทช. สามารถนำงบประมาณที่ได้รับดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ได้

15. เรื่อง การกำหนดประโยชน์ตอบแทนสำหรับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนของคณะกรรมการการบินพลเรือน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้
                    1. การกำหนดประโยชน์ตอบแทนสำหรับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนของประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการการบินพลเรือนโดยให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนตามอัตรา ดังนี้
                              (1) ประธานกรรมการ จำนวน 10,000 บาท
                              (2) รองประธานกรรมการและกรรมการ จำนวน 8,000 บาท
                    2. การได้รับเบี้ยประชุมให้ได้รับเฉพาะเดือนที่มีการประชุม และผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมจะได้รับเบี้ยประชุมในเดือนใดต้องเข้าร่วมประชุมในเดือนนั้น โดยถือว่ามีผลตั้งแต่วันที่มีการประกาศ1 ยกเลิกประกาศกระทรวงการคลัง (กค.) เรื่อง กำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ พ.ศ. 2558 (ประกาศ กค. เรื่อง กำหนดรายชื่อคณะกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมฯ พ.ศ. 2558) คือตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป เพื่อให้สอดคล้องกับการประชุมคณะกรรมการการบินพลเรือนที่ผ่านมาซึ่งมีความสำคัญกับการกำกับดูแลด้านนโยบายด้านการบินพลเรือนของประเทศที่ต้องมีความต่อเนื่อง ทันต่อเหตุการณ์ ถูกต้องและครบถ้วนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
1ประกาศ กค. เรื่อง กำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ พ.ศ. 2564 (ประกาศ กค. เรื่อง กำหนดรายชื่อคณะกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมฯ พ.ศ. 2564) ประกาศ ณ วันที่ 19 มีนาคม 2564

16. เรื่อง ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPls) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPls) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในประเด็น ดังนี้
                    1. ประเด็นนโยบายสำคัญ (Agenda) จำนวน 5 ประเด็นและห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
                    2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนเป้าหมาย
                    3. (ร่าง) ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPls) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมอบหมายให้ ก.พ.ร. เป็นผู้พิจารณาการกำหนดตัวชี้วัด ค่าเป้าหมายและรายละเอียดของ Joint KPls โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
                    4. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. นำ Joint KPls ไปขับเคลื่อนส่วนราชการ จังหวัดและองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะที่ไม่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 25581
                    5. ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจนำ Joint KPls ไปขับเคลื่อนหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และส่งผลการดำเนินงานหรือผลการประเมินให้สำนักงาน ก.พ.ร. ในสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                    สาระสำคัญ
                    คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPls) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 217 ตัวชี้วัด และประเด็นนโยบายสำคัญ (Agenda) จำนวน 5 ประเด็นและห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ได้แก่ (1) การบริหารจัดการและการอนุรักษ์ฟื้นฟูน้ำทั้งระบบ (2) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (3) รายได้จากการท่องเที่ยว (4) รายได้ของผู้ประกอบการ SMEs และ OTOP และ (5) การลดปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนการดำเนินการให้สอดคล้องตามเป้าหมายระดับชาติที่ได้กำหนดไว้ รวม 18 เป้าหมายตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ โดยมีส่วนราชการ จังหวัด องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง (ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร และกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม) รวมทั้งคณะกรรมการนโยบายระดับชาติ (ได้แก่ คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ) ได้นำ Joint KPls ไปขับเคลื่อนประเด็นนโยบายสำคัญให้บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติต่อไป ทั้งนี้ คณะกรรมการการพัฒนาระบบราชการในการประชุม ครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2566 ได้มีมติเห็นชอบ (ร่าง) ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPls) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 แล้ว อย่างไรก็ดี Joint KPls ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (ที่เสนอในครั้งนี้) แตกต่างจาก Joint KPls ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (27 กันยายน 2565) เห็นชอบไว้สรุปได้ ดังนี้
Joint KPls ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565)          Joint KPls ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
 (ที่เสนอในครั้งนี้)
ประเด็นนโยบายสำคัญ (Agenda)
          มี 3 ประเด็น ได้แก่ (1) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (2) ความมั่นคงด้านน้ำอุปโภคบริโภค และ (3) รายได้จากการท่องเที่ยว              มี 5 ประเด็น โดยเพิ่มประเด็นที่ 4 รายได้ของผู้ประกอบการ SMEs และ OTOP เนื่องจากปี 2565 อัตราการเติบโตของมูลค่าสินค้า OTOP อยู่ที่ร้อยละ 59.27 ซึ่งลดจากปี 2564 ที่มีอยู่ที่ร้อยละ 80.35 เนื่องจากผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานรากขาดองค์ความรู้และทักษะที่สำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการและเพิ่มประเด็นที่ 5 การลดปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 เนื่องจากปัจจุบันคุณภาพอากาศของประเทศไทยมีปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 เกินค่ามาตรฐานอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อสุขภาพประชาชน
- จำนวน Joint KPls
          มี 59 ตัวชี้วัด                มี 217 ตัวชี้วัด โดยจำนวนตัวชี้วัดที่เพิ่มขึ้นจากประเด็น Agenda ที่ 4 และที่ 5 (หมายเหตุ : อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากกรอบแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ได้กำหนดให้ส่วนราชการสามารถแจ้งปรับเปลี่ยนรายละเอียดและจำนวนตัวชี้วัดได้ โดยให้ส่งสำนักงาน ก.พ.ร.)
          - จำนวนเป้าหมายในภาพรวม (เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ)
          มี 6 เป้าหมาย                มี 18 เป้าหมาย
          - จำนวนเป้าหมายรายประเด็นนโยบายสำคัญ (Agenda)
          ประเด็นที่ 1 การบริหารจัดการและอนุรักษ์ฟื้นฟูน้ำทั้งระบบ
          มี 1 เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ได้แก่ ระดับความมั่งคงด้านน้ำอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น               มี 3 เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยเพิ่ม 2 เป้าหมาย ได้แก่                (1) ระดับการรับมือกับพิบัติภัยด้านน้ำเพิ่มขึ้นและแม่น้ำลำคลอง และ              (2) แหล่งน้ำธรรมชาติทั่วประเทศมีระบบนิเวศและทัศนียภาพที่ดี มีคุณภาพ ได้มาตรฐานเพิ่มขึ้น
          ประเด็นที่ 2 การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
          มี 1 เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ได้แก่ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยลดลง          คงเดิม
          ประเด็นที่ 3 รายได้จากการท่องเที่ยว
          มี 4 เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ได้แก่ (1) รายได้จากการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมเพิ่มขึ้น (2) รายได้จากการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจเพิ่มขึ้น (3) รายได้จากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ความงาม และแพทย์แผนไทยเพิ่มขึ้น และ (4) รายได้จากการท่องเที่ยวสำราญทางน้ำเพิ่มขึ้น               มี 7 เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยเพิ่ม 3 เป้าหมาย ได้แก่             (1) เมืองและชุมชนที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวสร้างสรรค์และวัฒนธรรมเพิ่มขึ้น (2) สินค้าท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมได้รับการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และ (3) โครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวมีคุณภาพและมาตรฐานดีขึ้น
ประเด็นที่ 4 รายได้ของผู้ประกอบการ SMEs และ OTOP
          ไม่มี                มี 6 เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ เช่น (1) วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรายใหม่ในประเทศไทยเพิ่มขึ้น (2) ความสามารถในการแข่งขันด้านการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีดิจิทัลดีขึ้น (3) มูลค่าพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพิ่มขึ้น และ (4) การขยายตัวการส่งออกของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพิ่มขึ้น
         ประเด็นที่ 5 การลดปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10
         ไม่มี                มี 1 เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ได้แก่ คุณภาพอากาศ เสียง และความสั่นสะเทือนอยู่ระดับมาตรฐานของประเทศไทย
1 ปัจจุบันองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีจำนวน 37 แห่ง และองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ มีจำนวน 24 แห่ง แบ่งเป็น (1) องค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะที่ไม่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 คณะกรรมการขององค์การมหาชนเป็นผู้ประเมิน (2) องค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 โดยมีกระทรวงการคลัง (กค.) เป็น             ผู้ประเมิน และ (3) องค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 แต่ กค. ไม่ได้เป็นผู้ประเมินโดยใช้ระบบการประเมินตามแนวทางของกฎหมายที่จัดตั้งหน่วยงาน

17. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 2,995,957,045.59 บาท เพื่อเป็นค่าตอบแทนเสี่ยงภัยให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานระหว่างเดือนกรกฎาคม 2564 - เดือนมิถุนายน 2565 ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ โดยให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป

18. เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวภายหลังวันที่ 31 กรกฎาคม 2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวภายหลังวันที่ 31 กรกฎาคม 2566
                    2. อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 (ฉบับที่ ..)
                    3. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 (ฉบับที่ ..)
                    ทั้งนี้ รง. เสนอว่า
                    สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 เห็นชอบให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมายอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษและทำงานไปพลางก่อนได้ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 โดยให้นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวภายในวันดังกล่าวด้วย ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนคนต่างด้าวที่ดำเนินการตามคณะรัฐมนตรีดังกล่าวประมาณ 417,261 คน (ข้อมูล     ณ วันที่ 25 กรกฎาคม 2566) เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวคนต่างด้าวดังกล่าวจะกลายเป็นคนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งไม่สามารถอยู่ในราชอาณาจักรและทำงานต่อไปได้ และหากนายจ้างหรือสถานประกอบการ ยังคงจ้างงานคนต่างด้าวดังกล่าวต่อไปอาจทำให้ถูกดำเนินคดีตามกฎหมายหรือนำไปสู่การเปิดโอกาสให้กลุ่มมิจฉาชีพหรือผู้ทุจริตเข้ามาดำเนินการเรียกรับผลประโยชน์จากนายจ้างและสถานประกอบการที่จ้างคนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมายเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนอาจส่งผลกระทบต่อการจัดระดับประเทศไทยในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (Trafficking in Persons Report: TIP Report)
                    ดังนั้น เพื่อเป็นการกำหนดมาตรการในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวภายหลังวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 ซึ่งจะเป็นมาตรการสนับสนุนนายจ้างและสถานประกอบการให้สามารถจ้างคนต่างด้าวที่มีสถานะถูกต้องตามกฎหมายทำงานต่อไปได้ เพื่อรองรับการฟื้นฟูประเทศภายหลังการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รง. จึงได้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวภายหลังวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 และได้ยกร่างประกาศที่เกี่ยวข้อง รวม 2 ฉบับ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมแนวทางที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ (วันที่ 5 กรกฎาคม 2566) จากเดิมที่กำหนดให้เมื่อนายจ้างได้ยื่นบัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวแล้ว ให้คนต่างด้าวสามารถอยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 เป็น เมื่อนายจ้างได้ยื่นบัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวแล้ว ให้คนต่างด้าวสามารถอยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้ถึงวันที่ 30 กันยายน 2566 ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวได้เห็นชอบในหลักการแล้ว
                    รง. พิจารณาแล้วเห็นว่า การเสนอแนวทางดังกล่าวไม่มีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไปอันเป็นข้อห้ามตามมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เนื่องจากแนวทางที่เสนอนั้นเป็นการบริหารราชการแผ่นดินตามปกติภายในห้วงเวลารัฐบาลปัจจุบัน และเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้ราษฎร ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 ทั้งนี้ เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เรียบร้อยแล้ว รง. จะเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาปรับปรุงมติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้กระบวนการขออนุญาตทำงานสมบูรณ์ ครบถ้วน หรือเพื่อพิจารณายกเลิกมติคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    แนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวและร่างประกาศ รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมายตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 จากเดิมที่กำหนดให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย สามารถอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษและทำงานไปพลางก่อนได้ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 โดยนายจ้างต้องยื่นบัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวต่อกรมการจัดหางานภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 ด้วย เป็นกำหนดให้เมื่อนายจ้างได้ยื่นบัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวแล้ว ให้คนต่างด้าวตามบัญชีรายชื่อสามารถอยู่ในราชอาณาจักรและทำงานต่อไปได้ถึงวันที่ 30 กันยายน 2566 ทั้งนี้ เพื่อเป็นมาตรการสนับสนุนนายจ้างและสถานประกอบการให้สามารถจ้างคนต่างด้าวที่มีสถานะถูกต้องตามกฎหมายทำงานต่อไปได้


ต่างประเทศ
19. การรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมระดับอนุภูมิภาคว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายและความมั่นคงข้ามชาติ ครั้งที่ 4 และหลักการขั้นสูงสำหรับการปกป้องเด็กซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายหรือแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรงในอนุภูมิภาค
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนอ ดังนี้
                    1. ให้ประเทศไทยรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมระดับอนุภูมิภาคว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายและความมั่นคงข้ามชาติ ครั้งที่ 4 (ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ) และหลักการขั้นสูงสำหรับการปกป้องเด็กซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายหรือแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรงในอนุภูมิภาค (หลักการขั้นสูงฯ) และให้ สมช. สามารถปรับปรุงถ้อยคำในเอกสารทั้ง 2 ฉบับได้หากมิใช่การเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบอีก
                    2. ให้รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (นายรัชกรณ์ นภาพรพิพัฒน์) ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยที่เข้าร่วมการประชุมระดับอนุภูมิภาคว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายและความมั่นคงข้ามชาติ (The Sub - Regional Meeting on Counter Terrorism and Transnational Security) (การประชุมระดับอนุภูมิภาคฯ                การต่อต้านการก่อการร้าย) ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566 ณ นครเมลเบิร์น เครือรัฐออสเตรเลีย ดำเนินการรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ และหลักการขั้นสูงฯ ต่อไป
[ประธานร่วมของการประชุมระดับอนุภูมิภาคฯ การต่อต้านการก่อการร้าย (ออสเตรเลีย) ครั้งที่ 4 ได้เสนอให้มีการรับรองเอกสารทั้ง 2 ฉบับ และให้ประเทศสมาชิกรับรองภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมดังกล่าว ซึ่ง สมช. ได้แจ้งว่าจะต้องดำเนินการตามกระบวนการภายในประเทศก่อน จึงจะสามารถแจ้งความพร้อมในการรับรองให้ทางออสเตรเลียทราบ]
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1) การประชุมระดับอนุภูมิภาคฯ การต่อต้านการก่อการร้ายเป็นการประชุมในระดับรัฐมนตรี ซึ่งจัดขึ้นทุก 2 ปี โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ประเทศในอนุภูมิภาคนี้1 ได้หารือแนวทางการรับมือกับภัยคุกคามจากการก่อการร้ายและเดินทางกลับมาตุภูมิในภูมิภาคของกลุ่มนักรบก่อการร้ายต่างชาติ (Foreign Terrorist Fighters: FTFS) รวมทั้งภัยคุกคามข้ามชาติอื่น ๆ ซึ่งประเทศไทยได้รับคำเชิญให้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวตั้งแต่ครั้งที่ 2 เป็นต้นมา
                    2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงประสานงานกิจการการเมือง กฎหมาย และความมั่นคง สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีความมั่นคงไซเบอร์ เครือรัฐออสเตรเลีย ในฐานะประธานร่วมได้เรียนเชิญรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เข้าร่วมการประชุมระดับอนุภูมิภาคฯ การต่อต้านการก่อการร้าย ครั้งที่ 4 ณ เครือรัฐออสเตรเลียในวันที่ 16 มีนาคม 2566 โดย สมช. ได้รับมอบหมายให้จัดคณะผู้แทนไทยเดินทางเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหารือประเด็นความมั่นคงในอนุภูมิภาค ได้แก่ (1) สภาวะแวดล้อมภัยคุกคามระดับประเทศและระดับภูมิภาค (2) การต่อต้านการก่อการร้ายและการต่อต้านแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง (Counter Violent Extremism: CVE) ซึ่งรวมถึงหลักการขั้นสูงฯ (3) การสร้างความต้านทานต่อภัยคุกคามของระบบคอมพิวเตอร์ในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญและห่วงโซ่อุปทาน และ                      (4) การโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติและการหลอกลวงทางออนไลน์ ทั้งนี้ ประธานร่วมได้เสนอให้มีการรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ และหลักการขั้นสูงฯ ภายหลังการประชุม ซึ่ง สมช. ได้แจ้งว่าจะต้องดำเนินการระบวนการภายในประเทศก่อน จึงจะสามารถแจ้งความพร้อมในการรับรองให้ทางออสเตรเลียทราบแต่ในเบื้องต้น ได้พิจารณาร่างแถลงการณ์ร่วมฯ แล้วไม่มีข้อขัดข้องเนื่องจากเนื้อหาในเอกสารดังกล่าวสอดคล้องกับท่าทีของไทยที่ต้องการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในการแลกเปลี่ยนข้อมูลองค์ความรู้ และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในด้านความมั่นคงโดยเคารพอธิปไตยของแต่ละประเทศ ส่วนหลักการขั้นสูงฯ แม้เป็นแนวทางที่ยังไม่เคยมีการจัดทำในประเทศไทย แต่สามารถใช้เอกสารดังกล่าวเป็นแบบอย่างในการจัดทำแนวทางการดำเนินการภายในประเทศได้
                    3) ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ และหลักการขั้นสูงฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              (1) ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในประเด็นความมั่นคงระดับภูมิภาคและระดับโลกที่มีความซับซ้อนและความท้าทายเพิ่มมากขึ้นตลอดเวลาซึ่งประเด็นดังกล่าวได้รวมถึงภัยคุกคามจากการก่อการร้ายและแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง ภัยคุกคามของระบบคอมพิวเตอร์ สถานการณ์โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติที่เพิ่มขึ้น การหลอกลวงทางออนไลน์ที่มีเป้าหมายต่อกลุ่มเปราะบางที่สูงขึ้น ซึ่งประเทศผู้เข้าร่วมการประชุมต่างยืนยันร่วมกันที่จะดำเนินการ (ตามประเด็นที่ได้มีการหารือ)  และ (2) หลักการขั้นสูงฯ เป็นเอกสารเกี่ยวกับแนวปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะเหยื่อของภัยการก่อการร้ายที่ไม่ใช่เป็นผู้กระทำผิด โดยแนวปฏิบัติดังกล่าวจะคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนของเด็กตลอดกระบวนการ
                    ทั้งนี้ สมช. แจ้งว่า เอกสารทั้ง 2 ฉบับ เป็นกรอบความร่วมมือในประเด็นด้านความมั่นคงระหว่างกัน โดยมิได้มีข้อผูกมัดทางกฎหมายต่อคู่ภาคี ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศจึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับเรื่องนี้สามารถกระทำการได้ตามมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
1ปัจจุบันมีประเทศที่เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวทั้งหมด 8 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เครือรัฐออสเตรเลีย เนการา บรูไนดารุสซาลาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศนิวซีแลนด์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ และประเทศไทย

20. เรื่องที่ สรุปผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ 1) รับทราบผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42 และ 2) มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการประชุมฯ ไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าต่อไป โดยให้ กต.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    1. เรื่องเดิม
                              1.1 คณะรัฐมนตรีมีมติ (2 พฤษภาคม 2566) เห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
                                        1.1.1 ร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าระดับภูมิภาค และร่างภาคผนวกประกอบแผนการดำเนินงานสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของติมอร์-เลสเต ในส่วนของเสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
                                        1.1.2 ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในฐานะคณะรัฐมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Council: AEC Council) หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมให้ความเห็นชอบเอกสารร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาระบบนิเวศฯ เพื่อเสนอผู้นำให้การรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42
                                        1.1.3 ให้รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers: AEM) ร่วมเห็นชอบเอกสารร่างภาคผนวกฯ ระหว่างรอบการประชุม (Inter-Sessional) และรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองในการประชุม AEC Council ครั้งที่ 22 ก่อนที่จะนำไปรวมกับแผนการดำเนินงาน (Roadmap) ฉบับสมบูรณ์ เพื่อเสนอผู้นำให้การรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42 ต่อไป
                              1.2 คณะรัฐมนตรีมีมติ (9 พฤษภาคม 2566)
                                        1.2.1  เห็นชอบในหลักการร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการผลักดัน                       การเชื่อมโยงระบบการชำระเงินในภูมิภาคและการส่งเสริมธุรกรรมสกุลเงินท้องถิ่น และอนุมัติให้นายกรัฐมนตรีหรือ                 ผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการผลักดันฯ ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                                        1.2.2 เห็นชอบร่างเอกสารที่จะมีการรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 42 จำนวน 8 ฉบับ และอนุมัติให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสารดังกล่าว ตามที่ กต. เสนอ ดังนี้ (1) ร่างแถลงการณ์ผู้นำอาเซียนต่อวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี ค.ศ. 2025                            (2) ร่างแถลงการณ์ผู้นำอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างขีดความสามารถและประสิทธิภาพเชิงสถาบันของอาเซียน                         (3) ร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการค้ามนุษย์อันเกิดจากใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิด (4) ร่างแผนการดำเนินงานสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของติมอร์-เลสเต (5) ร่างแถลงการณ์ร่วมผู้นำอาเซียนว่าด้วยการจัดตั้งเครือข่ายหมู่บ้านอาเซียน (6) ร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติและครอบครัวในสถานการณ์ฉุกเฉิน                (7) ร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการบรรจุงานและคุ้มครองแรงงานข้ามชาติในภาคประมง (8) ร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยข้อริเริ่มสุขภาพหนึ่งเดียว
                                        ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารตามข้อ 1.1 ? 1.2 ดังกล่าว ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้ส่วนราชการเจ้าของเรื่องดำเนินการได้ โดยให้เสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว

                    2. กต. รายงานว่า
                              2.1 เมื่อวันที่ 10 - 11 พฤษภาคม 2566 สาธารณรัฐอินโดนีเซียได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42 ณ เมืองลาบวน บาโจ อินโดนีเซีย โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) เข้าร่วมการประชุมในฐานะผู้แทนพิเศษ โดยได้เข้าร่วมประชุมระดับผู้นำอาเซียน จำนวน 6 รายการ ได้แก่ การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42 (แบบเต็มคณะ และอย่างไม่เป็นทางการ) การหารือกับผู้แทนภาคส่วนต่าง ๆ ของอาเซียน (สมัชชารัฐสภาอาเซียน เยาวชนอาเซียนสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน และคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี ค.ศ. 2025) ซึ่งในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42 มีผู้นำอาเซียนเข้าร่วม ยกเว้นสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา อย่างไรก็ดี ผู้แทนเยาวชน สภาที่ปรึกษาธุรกิจ และคณะทำงานระดับสูงฯ ของเมียนมาได้เข้าร่วมหารือกับผู้นำอาเซียน รวมทั้งนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต ได้เข้าร่วมประชุมในฐานะผู้สังเกตการณ์เป็นครั้งแรกด้วย นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) ได้ร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม จำนวน 10 ฉบับ (ตามข้อ 1) ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญและสอดคล้องกับหัวข้อหลักการเป็นประธานอาเซียนของอินโดนีเซีย คือ ?อาเซียนเป็นศูนย์กลาง สรรค์สร้างความเจริญ? สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ/ผลการประชุมฯ
(1) การสร้างประชาคมอาเซียน          - ที่ประชุมย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และผลักดันความร่วมมือที่จะช่วยคุ้มครองและส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชน โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) ได้ยกเรื่องการแก้ไขปัญหาหมอกคว้นข้ามแดน และเน้นย้ำการดำเนินการตาม ?ยุทธศาสตร์ฟ้าใส? ที่ได้หารือกับผู้นำเมียนมาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ขณะนี้อยู่ระหว่างประสานงานกับเมียนมาเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงาน รวมทั้งเน้นย้ำความจำเป็นในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนในประเทศที่สามในสถานการณ์วิกฤต และความร่วมมือกับคู่เจรจาที่มีความสามารถและทรัพยากรในด้านนี้
- ที่ประชุมเน้นย้ำเจตนารมณ์ในการขับเคลื่อนบูรณาการเศรษฐกิจผ่านการปรับปรุงและการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีที่มีอยู่ รวมถึงความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) การส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล พลังงานสะอาด การพัฒนาระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า การเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน และความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค
- ที่ประชุมเห็นพ้องถึงความจำเป็นในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและประสิทธิภาพเชิงสถาบันของอาเซียน เพื่อตอบสนองความท้าทายในอนาคตได้ทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ และรักษาบทบาทนำของอาเซียนในสถาปัตยกรรมภูมิภาค
(2) ความสัมพันธ์กับภาคีภายนอก          ที่ประชุมเห็นชอบการจัดประชุมต่าง ๆ ดังนี้
- การประชุมสุดยอดอาเซียน-แคนาดา เพื่อสถาปนาความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 43 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้องในเดือนกันยายน 2566
- การประชุมสุดยอดอาเซียน-คณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council: GCC) ในช่วงวันที่ 16-20 ตุลาคม 2566 ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรชาอุดีอาระเบีย
- การประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรลีย สมัยพิเศษ ในวาระครบรอบ 50 ปี ของความสัมพันธ์ฯ ระหว่างวันที่ 4-7 มีนาคม 2567 ณ ออสเตรเลีย นอกเหนือจากการประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลีย วาระปกติในปี 2567
(3) มุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก (ASEAN Outlook on the Indo-Pacific AOIP)
          ที่ประชุมแสดงความกังวลต่อความผันผวนทางภูมิรัฐศาสตร์ในบริบทการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจ และเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่ต้องรักษาความเป็นเอกภาพ ความเป็นแกนกลาง และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของอาเซียน รวมทั้งการขับเคลื่อนความร่วมมือใน 4 สาขาภายใต้ AOIP1 อย่างเป็นรูปธรรม โดยอินโดนีเซียกำหนดจะจัด ASEAN Indo-Pacific Forum ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 43 ในเดือนกันยายน 2566 โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) ย้ำว่าการปรึกษาหารือและฉันทามติคือหัวใจการดำเนินความสัมพันธ์อาเซียน และเรียกร้องให้ใช้ประโยชน์จากกลไกอาเซียนที่มีอยู่อย่างเต็มศักยภาพ รวมทั้งเสริมสร้างความร่วมมือภายใต้ AOIP เพื่อรักษาความเป็นแกนกลางและคุณค่าของอาเซียน
(4) สถานการณ์ใน                   เมียนมา          - ผู้นำอาเซียนได้หารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในเมียนมาและดำเนินการตามฉันทามติ 5 ข้อ2 โดยการประชุมครั้งนี้ต่างจากครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากหลายประเทศเห็นว่า การที่อาเซียนโดดเดี่ยวเมียนมาส่งผลให้ไม่มีความคืบหน้าในการแก้ปัญหา ทั้งนี้ เนการาบรูไนดารุสซาลามและมาเลเซียได้แสดงท่าทียืดหยุ่นมากขึ้นต่อการกลับมามีปฏิสัมพันธ์กับเมียนมา ในขณะที่อินโดนีเซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์และสาธารณรัฐสิงคโปร์ยังมีข้อกังวลในการมีปฏิสัมพันธ์กับเมียนมา
- รองนายกรัฐนตรีและรัฐนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่อาเซียนต้องมีปฏิสัมพันธ์กับเมียนมาในลักษณะที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการรับรองสถานะรัฐบาลของเมียนมา รวมทั้งปรับเปลี่ยนการดำเนินงานในเรื่องนี้ เนื่องจากช่วงสองปีที่ผ่านมามีปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติที่รุนแรงมากขึ้น เช่น การค้ายาเสพติด การค้าอาวุธ และการค้ามนุษย์ ในขณะเดียวกันเมียนมาได้แสดงท่าทีเชิงบวกและยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น การนิรโทษกรรมผู้ถูกคุมขังทางการเมือง การแสดงความพร้อมที่จะหารือกับทุกฝ่าย และแผนจะจัดการเลือกตั้งเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน โดยให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน
- เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2566 ผู้นำอาเซียนออกแถลงการณ์เกี่ยวกับการโจมตีขบวนรถของศูนย์ประสานงานอาเซียนเพื่อความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการจัดการภัยพิบัติ รวมทั้งคณะติดตามผลของอาเซียนในเมียนมา ตามข้อเสนอของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) เพื่อประณามการใช้ความรุนแรงโดยทุกฝ่าย รวมทั้งแสดงให้เห็นท่าทีร่วมกันของอาเซียนและสะท้อนความสามัคคี เนื่องจากที่ผ่านมาอาเชียนไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับการออกแถลงการณ์ของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเกี่ยวกับสถานการณ์ในเมียนมาได้ และต้องออกเป็นแถลงการณ์ของประธานอาเซียนแทน
(5) การหารือกับผู้แทนภาคส่วนต่าง ๆ ของอาเซียน          รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) หารือระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้แทนภาคส่วนต่าง ๆ ได้แก่ สมัชชารัฐสภาอาเซียน เยาวชนอาเซียน สภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน และคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี ค.ศ. 2025 โดยผู้นำอาเซียนได้ฟังข้อเสนอแนะจากผู้แทนกลุ่มต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นที่ให้ความสำคัญ เช่น การพัฒนาที่ยั่งยืน การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล และการรับมือกับข่าวปลอมและข้อมูลที่ไม่ถูกต้องทางออนไลน์ นอกจากนี้ ในการหารือกับคณะทำงานระดับสูงฯ ผู้นำอาเซียนได้รับทราบความคืบหน้าและได้ให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์สำหรับการจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ฉบับใหม่ ซึ่งมีระยะเวลา 20 ปี (จนถึง ค.ศ. 2045)
(6) การหารือทวิภาคี          รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) ได้หารือกับทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรีติมอร์-เลสเต (นายตาอูร์ มาตัง รูวัก) โดยนายกรัฐมนตรีติมอร์-เลสเต (นายตาอูร์ มาตัง รูวัก) ได้แสดงความขอบคุณที่ไทยสนับสนุนติมอร์-เลสเตเสมอมาตั้งแต่ได้รับเอกราช โดยเฉพาะการเข้าร่วมปฏิบัติการรักษาสันติภาพในติมอร์-เลสเต โดยย้ำว่า ติมอร์-เลสเตมุ่งมั่นที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนอย่างเต็มตัวและดำเนินการอย่างเต็มที่ตามแผนงานสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน ในการนี้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) แสดงความพร้อมที่จะร่วมมือและสนับสนุนการเสริมสร้างขีดความสามารถแก่ติมอร์-เลสเต เพื่อเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน
                    3. กต. พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลการประชุมสุดยอดอาเซียนฯ มีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับส่วนราชการต่าง ๆ เช่น

ประเด็น          การดำเนินการที่สำคัญ          หน่วยงานที่รับผิดชอบ
(1) ภาพรวม
          สนับสนุนการทำหน้าที่ประธานอาเซียนของอินโดนีเซียภายใต้หัวข้อ ?อาเซียนเป็นศูนย์กลาง สรรค์สร้างความเจริญ? และรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม จำนวน 10 ฉบับ (ตามข้อ 1)          กค. กต. พณ. กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(2) การสร้างประชาคมอาเซียน          - เสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และผลักดันความร่วมมือที่ช่วยคุ้มครองและส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชน ได้แก่ การเก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดน การเริ่มดำเนินงานของศูนย์อาเซียนด้านการรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่ และการให้ความช่วยเหลือแก่พลเมืองอาเซียนในประเทศที่สามในสถานการณ์วิกฤตโดยร่วมมือกับคู่เจรจาที่มีขีดความสามารถและทรัพยากรในด้านนี้
- เสริมสร้างความเข้มแข็งและประสิทธิภาพเชิงสถาบันของอาเซียน เช่น การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกระบวนการตัดสินใจของอาเซียน การส่งเสริมบทบาทของเลขาธิการอาเซียนและสำนักเลขาธิการอาเซียน และการเพิ่มความเข้มแข็งของคณะกรรมการผู้แทนกถาวรประจำอาเซียน          กต. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สธ.

(3) การขับเคลื่อนบูรณาการทางเศรษฐกิจ          - ขับเคลื่อนบูรณาการทางเศรษฐกิจผ่านการปรับปรุงและการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีที่มีอยู่รวมถึงความตกลง RCEP การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล พลังงานสะอาด การพัฒนาระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า การเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร และความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค
- มาเลเซียเสนอให้มีการจัดตั้ง Asian Monetary Fund เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งและมาตรการรองรับทางเศรษฐกิจของภูมิภาค
- สิงโปร์ขอให้อาเซียนเร่งรัดการเชื่อมโยงระบบโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Power Grid) โดยต่อยอดจากโครงการบูรณาการด้านไฟฟ้าระหว่าง สปป. ลาว-ไทย-มาเลเซีย-สิงคโปร์ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงาน
- ฟิลิปปินส์เสนอให้อาเซียนพิจารณาความร่วมมือเพื่อส่งเสริมห่วงโซ่มูลค่าของโลหะอุตสาหกรรมและแร่ธาตุเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน          กค. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.)
กระทรวงพลังงาน พณ.

                    ทั้งนี้ กต. ยืนยันว่า เรื่องดังกล่าวไม่มีกรณีที่ต้องดำเนินการโดยใช้งบประมาณหรือได้มีการตั้งงบประมาณในการดำเนินการไว้แล้วในงบประมาณรายจ่ายประจำปี จึงไม่เข้าลักษณะเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ตามมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รวมทั้งมิได้เป็นหนังสือสัญญาที่มีผลผูกพันตามกฎหมายระหว่างประเทศตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
1ประกอบด้วย (1) ความร่วมมือทางทะเล (2) การเชื่อมโยง (3) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติปี 2573 และ (4) ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ
2ฉันทามติ 5 ข้อ ได้แก่ (1) ทุกฝ่ายหยุดความรุนแรง (2) ทุกฝ่ายเจรจาอย่างสันติ (3) ให้มีทูตพิเศษเพื่อให้เกิดกระบวนการเจรจา (4) อาเซียนช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และ (5) ทูตพิเศษเข้าไปเมียนมาเพื่อพูดคุยกับทุกฝ่าย

21. เรื่อง ผลการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 15 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบผลการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 15 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle: IMT-GT) เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2566
                    2. เห็นชอบการมอบหมายภารกิจหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยตามแผนการดำเนินงานในระยะต่อไปและมอบหมายให้หน่วยงานดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สศช. รายงานว่า การประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 15 แผนงาน IMT-GT เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2566 โดยประธานาธิบดีสาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นประธานการประชุมและได้หารือร่วมกับนายกรัฐมนตรีสหพันธรัฐมาเลเซีย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทย1 เลขาธิการอาเซียน และประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ในประเด็นความก้าวหน้า ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และทิศทางการดำเนินงานในอนาคตของแผนงาน IMT-GT สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ความสำเร็จที่สำคัญของแผนงาน IMT-GT ในช่วง 30 ปี ที่ผ่านมา มีการพัฒนาการเติบโตทางเศรษฐกิจ ลดช่องว่างการพัฒนาภายในประเทศและอนุภูมิภาค ส่งเสริมบทบาทของประชาชนควบคู่ไปกับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจทั้ง 6 แนว2 และขยายพื้นที่ความร่วมมือครอบคลุม 35 รัฐ และจังหวัดของทั้ง 3 ประเทศ โดยมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในอนุภูมิภาคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 12,390 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2527 เป็น 405,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2564 และมีมูลค่าการค้าระหว่างกันเพิ่มขึ้นจาก 97,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2527 เป็น 618,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2564 รวมทั้งได้มีการร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจในด้านต่าง ๆ เช่น การขยายเส้นทางการบิน ความร่วมมือระหว่างอุทยานธรณีโลก และโครงการเมืองยางพาราและความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมยาง
                    2. ความก้าวหน้าโครงการความเชื่อมโยงทางกายภาพ (Physical Connectivity Project: PCPs) ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจทั้ง 6 แนว มีจำนวน 36 โครงการ มูลค่ารวม 57,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2.1 ล้านล้านบาท) ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนของสินค้า บริการ และคนอย่างไร้รอยต่อ โดยมีโครงสร้างที่สำคัญ เช่น โครงการรถไฟเชื่อมหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์-กัวลาลัมเปอร์ โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก แห่งที่ 2 (สุไหงโก-ลก-รันเตาปันยัง) โครงการทางด่วนสุมาตรา การก่อสร้างท่าเรือ Ro-Ro (ดูไม-มะละกา) และการฟื้นฟูการเชื่อมโยงทางอากาศภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
                    3. ความก้าวหน้าการดำเนินงานในสาขาความร่วมมือต่าง ๆ ภายใต้แผนการดำเนินงานระยะห้าปี พ.ศ. 2565-2569 มีการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางพลังงาน การเสริมสร้างการเชื่อมโยง และการฟื้นฟูการท่องเที่ยว เช่น (1) การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรภาคการเกษตรรุ่นใหม่ (2) การพัฒนาเมืองตามแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Economy) (3) การสัมมนาด้านการท่องเที่ยวเพื่อสนับสนุนการเป็นจุดหมายปลายทางเดียวกันด้านการท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อชาวมุสลิม และ (4) การส่งเสริมความร่วมมือในการปรับปรุงคุณภาพและพัฒนาผลผลิตของยางพาราและปาล์มน้ำมันระหว่างสามประเทศ
                    4. ทิศทางการดำเนินงานในอนาคต มุ่งเน้นการดำเนินการใน 6 ประเด็น ได้แก่ (1) การเพิ่มขีดความสามารถของทุนมนุษย์ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (2) การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวภายในช่วงปีแห่งการท่องเที่ยว IMT-GT (3) การเร่งดำเนินการความร่วมมือด้านน้ำมันปาล์ม (4) การเร่งการลงนามกรอบความร่วมมือด้านศุลกากร การตรวจคนเข้าเมืองและตรวจโรคพืชและสัตว์ (Framework of Cooperation in Customs, Immigration and Quarantine: FoC in CIQ) ระหว่างรัฐบาลอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนของสินค้าและคนใน IMT-GT (5) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของ IMT-GT ในการจัดการกับสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงและความมั่นคงของพลังงาน และ (6) การเน้นย้ำความร่วมมือตามแนวระเบียงเศรษฐกิจและเขตเศรษฐกิจพิเศษ
                    5. พิธีเปิดแคมเปญปีแห่งการท่องเที่ยว IMT-GT พ.ศ. 2566-2568 (พิธีเปิดแคมเปญฯ) อย่างเป็นทางการ โดยผู้นำของแผนงาน IMT-GT ได้ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีเปิดแคมเปญฯ เพื่อยืนยันความพยายามในการฟื้นฟูการท่องเที่ยวภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดนสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนจัดกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับแคมเปญดังกล่าวเพื่อผลักดันให้ IMT-GT เป็นจุดหมายปลายทางเดียวกันด้านการท่องเที่ยว
                    6. ความเห็นและข้อเสนอแนะของผู้นำและผู้เข้าร่วมประชุมอื่น ๆ
ผู้นำและผู้เข้าร่วมประชุม          ความเห็นและข้อเสนอแนะ เช่น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง          ข้อเสนอแนะ 6 ประเด็น ได้แก่
(1) ถอดบทเรียนและต่อยอดความสำเร็จของความร่วมมือ IMT-GT เพื่อเร่งผลักดันความร่วมมือให้มีความก้าวหน้าและฟื้นฟูทุกภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
(2) เร่งพลิกฟื้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายใต้แคมเปญปีแห่งการท่องเที่ยว IMT-GT พ.ศ. 2566-2568 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยให้ภาคเอกชนและท้องถิ่นมีบทบาทนำ
(3) เน้นย้ำการดำเนินโครงการความร่วมมือด้านน้ำมันปาล์มเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน
(4) เร่งดำเนินโครงการตามแผนการดำเนินงานระยะห้าปี พ.ศ. 2565-2569 ให้มีความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมและขนส่ง การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมยาง
(5) เร่งศึกษาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรทางทะเลในการผลิตพลังงานหมุนเวียนเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
(6) เน้นย้ำความสำคัญของการบูรณาการความร่วมมือระหว่างเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวระเบียงเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย          - เน้นย้ำการร่วมมือภายในอนุภูมิภาคเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การเชื่อมโยงคมนาคมขนส่งแบบไร้รอยต่อ การท่องเที่ยวและการลงทุน เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ ค.ศ. 2036 และเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายและความไม่แน่นอนในอนาคต
- ข้อเสนอแนะ 3 ประเด็น ได้แก่
(1) สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมขั้นปลายเพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง
(2) ส่งเสริมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมและการบริการฮาลาลที่มีศักยภาพ เช่น การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการฮาลาลขนาดกลางและขนาดย่อม
(3) เร่งศึกษาแนวทางการลงทุนเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน เช่น               การลงทุนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานสะอาดเพื่อให้สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)
นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย          ข้อเสนอแนะ 4 ประเด็น ได้แก่
(1) สนับสนุนความร่วมมือในด้านอุตสาหกรรมฮาลาลเพื่อให้ IMT-GT เป็นศูนย์กลางสินค้าและบริการฮาลาลของโลก
(2) ให้ความสำคัญกับการจัดการผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเสนอให้ IMT-GT เป็นตัวอย่างของอาเซียนในการบรรลุ SDGs
(3) สนับสนุนการมีส่วนร่วมของสภาธุรกิจ IMT-GT ผ่านการส่งเสริมความร่วมมือกับสำนักเลขาธิการอาเซียนเพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินงานของอาเซียน
(4) ผลักดันความร่วมมือด้านเกษตรกรรมและการผลิตยางพาราของทั้งสามประเทศภายหลังการลงนามในบันทึกความเข้าใจเรื่องโครงการเมืองยางพาราและความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมยาง
เลขาธิการอาเซียน          เสนอขอบเขตความร่วมมือระหว่างอาเซียนและแผนงาน IMT-GT เพื่อให้เกิดการบูรณาการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
(1) การเสริมสร้างความเชื่อมโยงและการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลผ่านการใช้ประโยชน์ของกรอบความร่วมมือและแผนแม่บทอาเซียน เช่น แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกัน พ.ศ. 2568 และข้อตกลงด้านเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน
(2) การส่งเสริมการค้าและการลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าและการลงทุนภายในภูมิภาค โดยใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP)
(3) การฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวที่ปลอดภัยและยั่งยืน โดยเสนอให้ดำเนินงานภายใต้แผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวภายหลังวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และกรอบการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ประธาน ADB          ADB จะสนับสนุนการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ดังนี้
(1) การออกนโยบายคาร์บอนต่ำที่เข้มงวดควบคู่กับการดำเนินโครงการด้านเศรษฐกิจสีเขียวและสีน้ำเงิน และส่งเสริมการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม
(2) การปรับปรุงห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่คุณค่าทางอาหาร และการจัดการกับความเสี่ยงด้านความมั่งคงทางพลังงานเพื่อรับมือกับวิกฤตอาหารและเชื้อเพลิง
(3) การปรับตัวให้เข้ากับภูมิทัศน์การค้าที่เปลี่ยนแปลง โดยสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากการศึกษาเรื่องการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ IMT-GT และการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งได้เสนอมาตรการเพื่อให้ IMT-GT บรรลุเป้าหมายการเจริญเติบโตอย่างครอบคลุม เช่น การลดอุปสรรคทางการค้าและการขนส่ง การปรับปรุงการอำนวยความสะดวกทางการค้า และการบ่มเพาะกำลังแรงงานให้มีทักษะด้านดิจิทัล
                    7. ที่ประชุมเห็นชอบแถลงการณ์ร่วมการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 15 แผนงาน IMT-GT โดยมีการปรับปรุงถ้อยคำเพื่อให้มีความเหมาะสมและสะท้อนข้อเท็จจริงมากขึ้นซึ่งไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 ดังนี้
                        7.1 ปรับแก้ถ้อยคำกล่าวแสดงความขอบคุณ ADB สำหรับความร่วมมือและความมุ่งมั่นตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา และขอบคุณสำหรับการศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับระเบียงเศรษฐกิจและเขตเศรษฐกิจพิเศษ รวมทั้งความช่วยเหลือในการส่งเสริมการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมผ่านเมืองอัจฉริยะ
                        7.2 ปรับแก้ถ้อยคำแสดงความมุ่งมั่นที่จะยกระดับความร่วมมือกับอาเซียนเพื่อความก้าวหน้าของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและเร่งรัดการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว พร้อมทั้งร่วมกำหนดโครงการที่ปฏิบัติได้จริงและเป็นรูปธรรมในประเด็นที่มีความสนใจร่วมกัน เช่น พลังงานสะอาดและยั่งยืนและกระบวนการกลายเป็นเมือง
                    8. แผนการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนแผนงาน IMT-GT ในระยะต่อไป
                        8.1 ดำเนินกิจกรรมสำคัญภายใต้แคมเปญปีแห่งการท่องเที่ยว IMT-GT พ.ศ. 2566-2568 ร่วมกับภาคีการพัฒนาเพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูด้านการท่องเที่ยวภายในอนุภูมิภาคภายหลังการแพร่ระบาดของ                                   โควิด-19
                        8.2 เร่งผลักดันโครงการความเชื่อมโยงที่สำคัญของประเทศสมาชิก IMT-GT เช่น การก่อสร้างถนนเชื่อมโยงด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ จังหวัดสงขลา-ด่านศุลกากรบูกิตกายูฮิตัมของมาเลเซีย และโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก แห่งที่ 2 (สุไหงโก-ลก-รันเตาปันยัง) รวมทั้งสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เช่น อุตสาหกรรมยางพารา ปาล์มน้ำมัน และอาหารฮาลาล เพื่อเชื่อมต่อห่วงโซ่มูลค่าทางเศรษฐกิจการค้า และการลงทุน
                        8.3 เร่งการลงนามใน FoC in CIQ ระหว่างรัฐบาลอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนของสินค้าและบุคคลตามแผนงาน IMT-GT โดยคาดว่าจะสามารถลงนามได้ในการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 29 แผนงาน IMT-GT และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในเดือนกันยายน 2566
                        8.4 อินโดนีเซียมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 29 แผนงาน IMT-GT และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ เมืองบาตัม อินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 25-29 กันยายน 2566
                    9. การมอบหมายหน่วยงานดำเนินงานตามผลการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 15 แผนงาน IMT-GT สรุปได้ ดังนี้
โครงการ/ประเด็นสำคัญ          หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เช่น)
การขับเคลื่อนแผนงาน IMT-GT ในภาพรวม เช่น
(1) การขับเคลื่อนแผนงาน/โครงการที่สำคัญในแต่ละสาขาความร่วมมือภายใต้แผนดำเนินงานระยะ 5 ปี พ.ศ. 2565-2569 (Implementation Blueprint 2022-2026: I 2022-2026) ไปสู่การปฏิบัติ          - กระทรวงการคลัง (กค.)
- กระทรวงการต่างประเทศ (กต.)
- กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.)
- กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)
- กระทรวงคมนาคม (คค.)
- กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.)
- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)
- กระทรวงพาณิชย์ (พณ.)
- กระทรวงมหาดไทย (มท.)
- ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)
(2) การส่งเสริมความร่วมมือกับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา
- ส่งเสริมความร่วมมือกับ ADB ในการพัฒนาเมืองน่าอยู่และอัจฉริยะ การลงทุนสีเขียว การขับเคลื่อนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจและความร่วมมือด้านเขตเศรษฐกิจพิเศษและการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ
- หารือแนวทางความร่วมมือกับสาธารณรัฐอินเดียในฐานะหุ้นส่วนการพัฒนาใหม่ใน IMT-GT          กต. กก. อว. กษ. คค. ดศ. ทส. พณ.
และ มท.
(3) เครือข่ายมหาวิทยาลัย IMT-GT (UNINET)
- ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและสนับสนุนทุกสาขาภายใต้
IB 2022-2026          กค. กต. กก. กษ. คค. ดศ. ทส. พณ. มท. ศอ.บต. และมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิก UNINET
การขับเคลื่อนประเด็นความร่วมมือรายสาขา เช่น
(1) สาขาการท่องเที่ยว
    - เร่งผลักดันกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวเพื่อสนับสนุนแคมเปญปีแห่งการท่องเที่ยว IMT-GT พ.ศ. 2566-2568
    - เร่งพัฒนาและต่อยอดโครงการเพื่อสนับสนุนการเป็นจุดหมายปลายทางเดียวกันด้านการท่องเที่ยว          กต. กก. คค. ดศ. กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.)
(2) สาขาการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร
    - ขยายผลโครงการที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มผลิตภาพทางการเกษตร และการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูงที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และความต้องการของตลาด เช่น ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางพาราแปรรูป
    -มุ่งเน้นการเกษตรยั่งยืนและการพัฒนาและส่งเสริมสินค้าที่โดดเด่น เช่น ยางพาราและน้ำมันปาล์ม และการยกระดับห่วงโซ่อุปทานอาหารข้ามพรมแดน          กษ. กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) และ มท.
(3) สาขาผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล
    - พัฒนาระบบรับรองมาตรฐานฮาลาลให้เป็นที่ยอมรับของตลาดโลกควบคู่กับการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและการยกระดับแรงงานในอุตสาหกรรมฮาลาล
    - พัฒนาคุณภาพและทักษะผู้ประกอบการฮาลาลขนาดกลางและขนาดย่อมและบุคลากร โดยร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์การระหว่างประเทศ          กษ. สธ. และ อก.
(4) สาขาการเชื่อมโยงด้านการขนส่ง
- ขับเคลื่อนแผนงาน/โครงการภายใต้ PCPs ให้เกิดการลงทุนในโครงการอย่างเป็นรูปธรรม
- พัฒนาเส้นทางการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบตามแนวระเบียงเศรษฐกิจทั้งหมด          กค. คค. ดศ. และ อก.
(5) สาขาเทคโนโลยีดิจิทัล
- จัดตั้งสาขาความร่วมมือด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
- ผลักดันการใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ IMT-GT
- สนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและมีทักษะและความรู้ในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล          ดศ. และ พณ.
(6) คณะทำงานด้านการค้าและการลงทุน
- เตรียมการลงนาม FoC in CIQ ระหว่างรัฐบาลอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนของสินค้าและบุคคลตามแผนงาน IMT-GT
- การพัฒนาและความร่วมมือด้านเขตเศรษฐกิจพิเศษใน IMT-GT          กค. กษ. ดศ. พณ. อก. และ ตช.
(7) สาขาสิ่งแวดล้อมและสภาเมืองสีเขียว
- พัฒนาโครงการภายใต้สาขาความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการดำเนินโครงการเมืองสีเขียวและโครงการตามแผนการลงทุนตามกรอบการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนซึ่งมีความสอดคล้องกับ BCG Model
- แสวงหาความช่วยเหลือที่ไม่ใช่การเงินจากหุ้นส่วนการพัฒนา ได้แก่ ด้านกฎระเบียบและการยกระดับศักยภาพบุคลากร          ทส. และ มท.
ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวไม่เข้าข่ายมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เนื่องจากไม่มีกรณีที่ต้องดำเนินการโดยใช้งบประมาณและมีการตั้งงบประมาณในการดำเนินการไว้แล้วในงบประมาณรายจ่ายประจำปี รวมทั้งมิได้เป็นหนังสือสัญญาที่มีผลผูกพันตามกฎหมายระหว่างประเทศตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
1 สศช. แจ้งว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้แทนนายกรัฐมนตรีในการเข้าร่วมการประชุม
2 ระเบียงเศรษฐกิจทั้ง 6 แนว ประกอบด้วย (1) เส้นทางพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช-พัทลุง-สงขลา-ยะลา-ปัตตานี-ปีนัง-เมดาน (2) เส้นทางพื้นที่เลียบชายฝั่งตะวันตกของไทย เริ่มจากจังหวัดตรัง-มะละกาของมาเลเซีย (3) เส้นทางพื้นที่ตอนเหนือ-ตอนใต้ของเกาะสุมาตรา-พื้นที่ภาคใต้ของไทยและมาเลเซียตอนเหนือ (4) เส้นทางเชื่อมโยงทางทะเลระหว่างเกาะสุมาตรากับมาเลเซียบนพื้นที่คาบสมุทร (5) เส้นทางพื้นที่จังหวัดระนอง-ภูเก็ต-และเชื่อมโยงทางทะเลไปยังจังหวัดอาเจะห์ของอินโดนีเซีย และ (6) เส้นทางพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้-รัฐเปรัก-รัฐกลันตัน-พื้นที่ของเกาะสุมาตราตอนใต้

22. เรื่อง ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปค ครั้งที่ 13
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปค ครั้งที่ 13
                    2. อนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรองจากนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน) เป็นผู้ให้การรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ดังกล่าว
                    3. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ดังกล่าว ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงพลังงานนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
                    สาระสำคัญ
                    1. ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปค (APEC Energy Ministers? Statement) เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ของรัฐมนตรีพลังงานเอเปคในการกำหนดทิศทางและวางกรอบนโยบายความร่วมมือด้านพลังงานร่วมกันบนพื้นฐานของการขับเคลื่อนเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bangkok Goals on Bio-Circular-Green Economy: BCG) และวิสัยทัศน์ปุตราจายา ค.ศ. 2040 (APEC Putrajaya Vision 2024) ที่มุ่งเน้นหลักการ ?การเปิดกว้าง มีพลวัต พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง และมีสันติภาพ?
                    2. รัฐมนตรีพลังงานเอเปคจะมีการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการแสวงหาแนวทางการรับมือต่อความท้าทายด้านพลังงานร่วมกัน อาทิ การเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาด การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีและบรรเทาผลกระทบจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้พลังงานในเขตเศรษฐกิจเอเปค โดยแสดงความมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายพลังงาน (APEC Energy Goals) ร่วมกัน ได้แก่ การเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นสองเท่าภายในปี ค.ศ. 2030 และลดค่าความเข้มของการใช้พลังงาน (Energy Intensity) ร้อยละ 45 ภายในปี ค.ศ. 2035 เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานและพลังงานที่มีความยั่งยืนร่วมกัน
                    3. การประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปคในครั้งนี้ยังมีการเสนอที่จะให้เอเปคพัฒนาเป้าหมายด้านพลังงานใหม่ให้มีความทะเยอทะยานมากยิ่งขึ้นเพื่อผลักดันการลดการปล่อยคาร์บอนในภาคพลังงาน โดยเสนอให้มีการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งเชื้อเพลิงปลอดคาร์บอนและแหล่งเชื้อเพลิงที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนให้ได้ประมาณร้อยละ 70 ภายในปี ค.ศ.  2035 และร่วมกันลดการปล่อยมีเทนอย่างน้อยร้อยละ 50 จากภาคพลังงานฟอสซิลภายในปี ค.ศ. 2030 เมื่อเทียบกับปีฐานปี ค.ศ. 2020 โดยลดการปล่อยมีเทนจากกระบวนการผลิตน้ำมันและก๊าซ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคถ่านหิน นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกาในฐานะเจ้าภาพยังเสนอการจัดตั้งข้อริเริ่มการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอย่างเป็นธรรม (Just Energy Transition Initiative) เพื่อส่งเสริมความพยายามในการเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดของเขตเศรษฐกิจเอเปคอย่างเป็นธรรมและครอบคลุม ผ่านการมีส่วนร่วมของภาคแรงงาน โดยการตระหนักถึงความสำคัญของการจ้างงานที่มีคุณค่าและคุณภาพชีวิตของแรงงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานในอนาคต
                    ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงพลังงานและคณะ เดินทางเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปค (APEC Energy Ministers Meeting) ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 12-19 สิงหาคม 2566 ณ เมืองซีแอตเทิล สหรัฐอเมริกา โดยในการประชุมดังกล่าวจะมีการให้เขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปครับรองร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปค (APEC Energy Ministers? Statement)
แต่งตั้ง

23. เรื่อง การเปลี่ยนโฆษกสำนักงบประมาณ (สงป.)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบการเปลี่ยนโฆษกสำนักงบประมาณ (สงป.) [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (5 มกราคม 2559) ที่กำหนดให้ทุกส่วนราชการแต่งตั้งผู้ทำหน้าที่โฆษกกระทรวง/หน่วยงานอย่างเป็นทางการ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของทางราชการ แล้วแจ้งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรวบรวมรายชื่อเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ และเผยแพร่รายชื่อดังกล่าวให้สาธารณชนทราบ] เนื่องจาก สงป. มีการเปลี่ยนแปลงการมอบหมายการปฏิบัติราชการ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและการประชาสัมพันธ์ของ สงป. เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ จึงขอเปลี่ยนคณะโฆษก สงป. ดังนี้
                     1. นางสาวมัทนา เจริญศรี ที่ปรึกษา สงป. เป็นโฆษก สงป.
                     2. นางรัชนี เจริญนาค ผู้อำนวยการสำนักงานผู้อำนวยการ เป็นผู้ช่วยโฆษก สงป.
ซึ่ง สงป. ได้มีคำสั่ง สงป. ที่ 119/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะโฆษก สงป. และคณะทำงานโฆษก สงป. ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2566 แล้ว

24. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย จำนวน 4 คน ดังนี้
                     1. นายปริญญา ประหยัดทรัพย์
                     2. นายมูหมัดลูตฟี อุเซ็ง
                    3. นายสมรรถ พุ่มอ่อน
                    4. นายมนูญพันธ์ รัตนเจริญ
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2566 เป็นต้นไป

25. เรื่อง การสรรหาบุคคลเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ แทนตำแหน่งที่ว่าง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการเสนอชื่อ นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เป็นบุคคลที่คณะรัฐมนตรีสรรหาและเสนอรายชื่อต่อคณะกรรมการคัดเลือกกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เพื่อคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ แทนนายชาติชาย สุทธิกลม กรรมการ ฯ เดิม ที่ครบวาระการดำรงตำแหน่งสี่ปี เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) เสนอ




เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ