คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรายงานผลการดำเนินงานโครงการนวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ด้านเกษตรอินทรีย์ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2548 เห็นชอบในหลักการกำหนดให้ยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์แห่งชาติเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อพัฒนาและเพิ่มศักยภาพ การผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยให้เป็นแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดภัยเป็นครัวของโลก
ทั้งนี้ แนวทางการดำเนินการตามแผนการพัฒนาโครงการนวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ด้านเกษตรอินทรีย์ แบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่
1. ความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศในการศึกษารวบรวมข้อมูลด้านเกษตรอินทรีย์ ซึ่งขณะนี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) ได้พัฒนาโครงการด้านการประสานงานเพื่อพัฒนารูปแบบด้านเกษตรอินทรีย์อย่างเป็นระบบ และได้รับความร่วมมืออย่างเป็นทางการจากหน่วยงานวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการตลาดดังต่อไปนี้
1.1 ความร่วมมือกับหน่วยงานภายในประเทศ ได้แก่ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (ACFS) และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)
1.2 ความร่วมมือกับประเทศฝรั่งเศส ได้แก่ Agropolis และ Centre de Cooperation Intematinale en Recherche Agronomique pourle Developpement (CIRAD) ซึ่งเป็นหน่วยงานของประเทศฝรั่งเศสที่ให้การสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจด้านการเกษตรในเขตเมดิเตอร์เรเนียนและพื้นที่เขตร้อน นอกจากนี้ CIRAD ยังเป็นหน่วยงานที่มีผลงานวิจัยทางด้านการเกษตรอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้ความร่วมมือครั้งนี้จะนำไปสู่การใช้เทคโนโลยีกับการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในการเจรจาเบื้องต้น CIRAD ได้ให้การสนับสนุนโครงการนี้เป็นอย่างยิ่ง และได้เสนอแนะให้มีการขยายผลของโครงการไปสู่ระดับภูมิภาคต่อไป
1.3 ความร่วมมือกับ The Deutsche Gesellschaft fur Technische Zusammenarbeit (GTZ) ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งเป็นหน่วยงานสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านเศรษฐกิจและสังคมให้แก่ประเทศต่าง ๆ
2. ร่างรูปแบบนวัตกรรมด้านเกษตร และจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง จะดำเนินการโดยคณะทำงานด้านเกษตรอินทรีย์ ทั้งนี้เพื่อสร้างเครือข่ายทางด้านเกษตรอินทรีย์ ก่อนที่จะรวบรวมความคิดเห็นแล้วนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
3. จัดการฝึกอบรมให้แก่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อถ่ายทอดข้อมูลและทักษะในการผลิตผลิตภัณฑ์อินทรีย์ ตลอดจนสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงการสร้างระบบการควบคุมที่ได้มาตรฐานของประเทศไทย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 สิงหาคม 2548--จบ--
ทั้งนี้ แนวทางการดำเนินการตามแผนการพัฒนาโครงการนวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ด้านเกษตรอินทรีย์ แบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่
1. ความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศในการศึกษารวบรวมข้อมูลด้านเกษตรอินทรีย์ ซึ่งขณะนี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) ได้พัฒนาโครงการด้านการประสานงานเพื่อพัฒนารูปแบบด้านเกษตรอินทรีย์อย่างเป็นระบบ และได้รับความร่วมมืออย่างเป็นทางการจากหน่วยงานวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการตลาดดังต่อไปนี้
1.1 ความร่วมมือกับหน่วยงานภายในประเทศ ได้แก่ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (ACFS) และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)
1.2 ความร่วมมือกับประเทศฝรั่งเศส ได้แก่ Agropolis และ Centre de Cooperation Intematinale en Recherche Agronomique pourle Developpement (CIRAD) ซึ่งเป็นหน่วยงานของประเทศฝรั่งเศสที่ให้การสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจด้านการเกษตรในเขตเมดิเตอร์เรเนียนและพื้นที่เขตร้อน นอกจากนี้ CIRAD ยังเป็นหน่วยงานที่มีผลงานวิจัยทางด้านการเกษตรอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้ความร่วมมือครั้งนี้จะนำไปสู่การใช้เทคโนโลยีกับการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในการเจรจาเบื้องต้น CIRAD ได้ให้การสนับสนุนโครงการนี้เป็นอย่างยิ่ง และได้เสนอแนะให้มีการขยายผลของโครงการไปสู่ระดับภูมิภาคต่อไป
1.3 ความร่วมมือกับ The Deutsche Gesellschaft fur Technische Zusammenarbeit (GTZ) ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งเป็นหน่วยงานสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านเศรษฐกิจและสังคมให้แก่ประเทศต่าง ๆ
2. ร่างรูปแบบนวัตกรรมด้านเกษตร และจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง จะดำเนินการโดยคณะทำงานด้านเกษตรอินทรีย์ ทั้งนี้เพื่อสร้างเครือข่ายทางด้านเกษตรอินทรีย์ ก่อนที่จะรวบรวมความคิดเห็นแล้วนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
3. จัดการฝึกอบรมให้แก่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อถ่ายทอดข้อมูลและทักษะในการผลิตผลิตภัณฑ์อินทรีย์ ตลอดจนสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงการสร้างระบบการควบคุมที่ได้มาตรฐานของประเทศไทย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 สิงหาคม 2548--จบ--