http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ (15 สิงหาคม 2566) เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุม อาคาร พ.ศ. 2522 (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 39 (พ.ศ. 2537)ฯ) 2. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัด อุบลราชธานี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมือง รวมจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2558) 3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการตกทอดทางมรดกและการโอนสิทธิในที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิ โดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. .... และขอขยายระยะเวลาดำเนินการ จัดทำกฎตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์สำหรับการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไปเป็น กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนด ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคารชุดสำหรับการแปลงสภาพกองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ไปเป็นกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. .... รวม
2 ฉบับ
5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตเกี่ยวกับยานพาหนะซึ่งเป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้พลังงาน นิวเคลียร์หรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนด ค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับยุทธภัณฑ์ พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ 6. เรื่อง ร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง พ.ศ. .... และร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำ ตำแหน่ง พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ เศรษฐกิจ-สังคม 7. เรื่อง สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการ นายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 26 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564- 31 พฤษภาคม 2566) 8. เรื่อง ขอผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สาย เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 9. เรื่อง สรุปผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาการออกเอกสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่ เมาะจำหวัดลำปาง ต่างประเทศ 10. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-รัสเซีย
ครั้งที่ 8 และกิจกรรมคู่ขนาน
11. เรื่อง ร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2566 12. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เอเปค ครั้งที่ 29 13. เรื่อง การร่วมรับรองและให้ความเห็นชอบเอกสารผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจสำหรับการ ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) การประชุมคณะมนตรีประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง แต่งตั้ง 14. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ 15. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักงานป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน)
? กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 39 (พ.ศ. 2537)ฯ) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 39 (พ.ศ. 2537)ฯ) ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ สาระสำคัญ ร่างกฎกระทรวงที่ มท. เสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 39 (พ.ศ. 2537) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 63 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เพื่อปรับปรุงแก้ไขข้อกำหนดบางประการด้านระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับอัคคีภัย โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยมีมาตรฐานและอำนวยความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้บริการอาคารได้มากขึ้น เช่น การกำหนดให้อาคารบางประเภท1 ต้องจัดให้มีการติดตั้งแผนผังของอาคารแต่ละชั้นไว้ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน (เช่น บริเวณห้องโถงหรือหน้าลิฟต์ทุกแห่งของทุกชั้น) และแผนผังดังกล่าวต้องประกอบด้วยสัญลักษณ์อักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่ชัดเจน การกำหนดให้อาคารบางประเภทฯ ที่มีห้องเก็บสิ่งของหรือวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงต้องมีการกั้นแยกพื้นที่ดังกล่าวของอาคาร อีกทั้งมีการแก้ไขบทบัญญัติบางประการเพื่อลดภาระของประชาชน เช่น การกำหนดให้ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว และบ้านแฝด ไม่จำเป็นต้องติดตั้งระบบแจ้งเหตุที่ใช้มือ และเพื่อปรับปรุงแก้ไขข้อกำหนดเกี่ยวกับแบบ และจำนวนของห้องน้ำและห้องส้วม โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะการใช้งานของอาคารแต่ละประเภทในสถานการณ์ปัจจุบัน และเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เช่น การกำหนดให้อาคารที่มีบุคคลเข้าอยู่หรือใช้สอย ต้องจัดให้มีห้องน้ำที่มีสุขภัณฑ์ที่เพียงพอต่อการใช้สอยปกติ โดยไม่ทำให้ผู้จะใช้รอใช้นานเกินสมควร การกำหนดให้ตำแหน่งของห้องน้ำต้องจัดอยู่ในตำแหน่งที่เข้าถึงได้สะดวก โดยทางเดินสู่ห้องน้ำต้องไม่ผ่านเข้าไปในพื้นที่ห้องครัวและไม่มีสิ่งกีดขวางหรือกิจกรรมอันอาจเป็นอุปสรรคต่อการสัญจร และกำหนดระยะทางเดินจากจุดใด ๆ ในอาคารไปถึงห้องน้ำในอาคารแต่ละประเภท (เช่น ห้างสรรพสินค้าไม่เกิน 90 เมตร เป็นต้น) การกำหนดให้การติดตั้งโถส้วมในห้องน้ำที่มีโถส้วมมากกว่าหนึ่งที่ โดยแต่ละโถต้องมีผนัง ฝา หรือแผงกั้น และประตูเพื่อความเป็นส่วนตัว การกำหนดลักษณะของห้องน้ำ ห้องส้วม สุขภัณฑ์ และที่อาบน้ำ (เช่น ห้องส้วม ที่อาบน้ำ ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 0.80 เมตร โถส้วม ที่ปัสสาวะ ต้องมีระบบดักกลิ่น เป็นต้น) เพื่อให้อาคารที่จะก่อสร้างขึ้นใหม่ มีความปลอดภัยต่อการใช้สอยเทียบเท่าหรือมากกว่าอาคารเก่า และมีจำนวนห้องน้ำห้องส้วมเป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งคณะกรรมการควบคุมอาคารได้มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงนี้แล้ว ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เห็นชอบด้วยในหลักการ 1 ได้แก่ (1) อาคารสาธารณะเว้นแต่โรงมหรสพและสถานบริการ อาคารชุมนุมคน ภัตตาคาร สำนักงาน สถานที่ทำการของราชการ โรงงาน และอาคารพาณิชย์ (2) อาคารอยู่อาศัยรวมที่มีตั้งแต่ 4 หน่วยขึ้นไป อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด และหอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก (3) คลังสินค้า (4) อาคารอื่นที่มีความสูงตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไป 2. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2558) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2558 เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) บริเวณหมายเลข 2.2 บางส่วน ให้เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (สีม่วง) บริเวณหมายเลข 1/1 และเพิ่มเติมข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (สีม่วง) รวมทั้งปรับปรุงแผนผังและรายการประกอบแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภทท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2558 ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน เพื่อปรับปรุงผังเมืองให้สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐที่จะรองรับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม และให้สอดคล้องกับนโยบายการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แล้ว และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยในหลักการ สาระสำคัญของร่างประกาศ 1. แก้ไขเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) บริเวณหมายเลข 2.2 บางส่วน ในท้องที่ตำบลนากระแซง และตำบลทุ่งเทิง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ให้เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (สีม่วง) บริเวณหมายเลข 1/1 และเพิ่มเติมข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (สีม่วง) (เช่น ให้มีที่ว่างโดยรอบภายในแนวเขตนิคมอุตสาหกรรมไม่น้อยกว่า 30 เมตร) เพื่อเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินและเพิ่มข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่จะรองรับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อส่งเสริมศักยภาพให้จังหวัดอุบลราชธานีเป็นศูนย์กลางในด้านการค้าการลงทุน พัฒนาการเกษตรให้ได้คุณภาพมาตรฐานสากล รวมถึงด้านการส่งออกสินค้าทางการเกษตรและการลงทุนที่จะทำรายได้ให้กับภาครัฐ และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์แผนพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการจัดตั้งเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Economic Corridor : NeEC) ควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านเกษตรกรรม เป็นฐานการผลิตของผู้ประกอบการ ก่อให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่และเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานียังไม่มีพื้นที่รองรับการประกอบกิจการอุตสาหกรรมที่ครบวงจร และข้อกำหนดยังไม่สอดคล้องกับการพัฒนา เนื่องจากมีการกำหนดห้ามสร้างอาคารที่มีขนาดสูงและขนาดใหญ่ 2. ปรับปรุงแผนผังและรายการประกอบแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภทท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2558 เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณหมายเลข 1/1 และบริเวณหมายเลข 2.2 3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการตกทอดทางมรดกและการโอนสิทธิในที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. .... และขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบดังนี้ 1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการตกทอดทางมรดกและการโอนสิทธิในที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. .... และขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทยไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ 2. เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ออกไปอีก 1 ปี นับแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ 3. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตกทอดทางมรดกและการโอนสิทธิในที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งบุคคลจะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรมหรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกรหรือสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ประกอบกับเป็นการดำเนินการการออกกฎกระทรวงตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 เข้าลักษณะของบทบัญญัติที่จะต้องมีการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่กฎหมายบัญญัติก่อนจึงจะทำให้ประชาชนได้รับสิทธิประโยชน์จากกฎหมายได้ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องเร่งรัดดำเนินการออกกฎกระทรวงโดยเร็ว ซึ่งต้องไม่ช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามมาตรา 22 วรรคสอง ประกอบกับมาตรา 39 (1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว (ภายในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2566) จึงได้ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ออกไปอีก 1 ปี นับแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2566 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยโดยกระทรวงมหาดไทยเห็นว่าควรเพิ่มเติมข้อความในร่างข้อ 6 บางประการให้มีความชัดเจนและสมบูรณ์ขึ้น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นว่า ควรให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้สร้างความร่วมมือในการปฏิบัติและการบังคับใช้ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งติดตามและกำกับ ดูแลให้มีการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อการเกษตรให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ต่อไป และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่าร่างกฎกระทรวงนี้และการขอขยายระยะเวลาการจัดทำกฎหมายลำดับรองฯ เป็นการดำเนินการตามขั้นตอนและอยู่ภายใต้กรอบระยะเวลาของพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 กรณีจึงเป็นการปฏิบัติราชการตามปกติ เพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ และมิได้เป็นกรณีที่คณะรัฐมนตรีกระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ตามมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 เรื่อง แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการของร่างกฎกระทรวงดังกล่าวได้ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะตรวจพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ต่อไป สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตกทอดทางมรดกและการโอนสิทธิในที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สรุปได้ดังนี้ ประเด็น สาระสำคัญ กำหนดบทนิยาม เช่น ?ผู้ได้รับสิทธิในที่ดิน? หมายความว่า บุคคลผู้ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม ? กำหนดให้ที่ดินที่ผู้ได้รับสิทธิในที่ดินถึงแก่ความตายสามารถตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรมตามลำดับตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) หากมีทายาทหลายคน ให้ตกเป็นทรัพย์มรดกร่วมกันของทายาททุกคน เว้นแต่ตกลงกันได้ว่าทายาทผู้ใดจะเป็นผู้ได้รับที่ดินมรดกแต่เพียงผู้เดียว ในกรณีที่ไม่มีทายาทให้ตกเป็นของ ส.ป.ก. (สอดคล้องตาม ม. 1745 ม. 1750 ม. 1751 และ ม. 1753 แห่ง ป.พ.พ.) ? กำหนดให้ทายาทผู้รับที่ดินมรดกต้องรับไปทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของผู้ได้รับสิทธิในที่ดินผู้ตายซึ่งมีอยู่ต่อ ส.ป.ก. (สอดคล้องตาม ม. 1600 แห่ง ป.พ.พ.) ? กำหนดให้ทายาทผู้รับที่ดินมรดกใช้สอยที่ดินเพื่อประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หากฝ่าฝืนจะต้องโอนที่ดินนั้นคืนให้แก่ ส.ป.ก. การโอนสิทธิในที่ดินไปยังสถาบันเกษตรกร1 ? กำหนดให้สถาบันเกษตรกรอาจรับโอนรับสิทธิในที่ดินได้ในกรณีที่ผู้ได้รับสิทธิในที่ดินมีหนี้สินค้างชำระกับสถาบันเกษตรกร ? กำหนดให้สถาบันเกษตรกรที่จะรับโอนสิทธิในที่ดินต้องไม่มีที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมหรือมีที่ดินไม่เกินขนาดที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนด รวมทั้งยินยอมรับสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดที่ผู้ได้รับสิทธิในที่ดิน (ผู้โอน) มีต่อ ส.ป.ก. หรือสถาบันการเงินที่ร่วมโครงการกับ ส.ป.ก. หรือสถาบันเกษตรกรอื่น ? กำหนดให้สถาบันเกษตรกรใช้สอยที่ดินเพื่อประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หากฝ่าฝืนจะต้องโอนที่ดินนั้นคืนให้แก่ ส.ป.ก. การโอนสิทธิในที่ดินไปยัง ส.ป.ก. ? กำหนดให้ ส.ป.ก. อาจรับโอนสิทธิในที่ดินจากผู้ได้รับสิทธิในที่ดินที่ประสงค์จะโอนสิทธิในที่ดินให้ ส.ป.ก. โดยไม่รับค่าตอบแทน หรือโดยรับค่าตอบแทน [ทั้งนี้ ตามร่างข้อ 13 (2) ได้กำหนดให้ผู้ได้รับสิทธิในที่ดินยื่นคำร้องการโอนสิทธิในที่ดินไปยัง ส.ป.ก. สามารถระบุราคาค่าตอบแทนการโอนสิทธิในที่ดินที่ผู้ได้รับสิทธิในที่ดินเสนอ (หากมี)] หรือการโอนตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล ? กำหนดให้ ส.ป.ก. จังหวัดจัดส่งคำร้องพร้อมทั้งความเห็นและรายงานผลการตรวจสอบสภาพที่ดินให้ ส.ป.ก. พิจารณาสภาพความเหมาะสมทางการเกษตร ลักษณะการทำประโยชน์ในที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ภาระผูกพันในที่ดิน ราคาค่าเช่าซื้อที่ดินที่ผู้ได้รับสิทธิในที่ดินได้เช่าซื้อไปจาก ส.ป.ก. ราคาประเมินที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ? กำหนดให้ ส.ป.ก. มีอำนาจพิจารณาสั่งรับการโอนสิทธิในที่ดินได้เฉพาะกรณีเป็นที่ดินที่มีความเหมาะสมที่จะดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเท่านั้น หากพบว่า ที่ดินไม่มีความเหมาะสมที่จะปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เช่น มีการฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ผู้ได้รับสิทธิในที่ดินจะต้องโอนที่ดินคืนให้ ส.ป.ก. หรืออาจต้องฟ้องร้องต่อศาลเพื่อบังคับให้มีการโอนที่ดินคืนให้ ส.ป.ก. ต่อไป ? กำหนดให้ ส.ป.ก. มีอำนาจพิจารณาจ่ายค่าตอบแทนการรับโอนสิทธิในที่ดินได้ดังนี้ 1. กรณีเป็นการรับโอนสิทธิจากผู้ได้รับสิทธิในที่ดินกรณีทั่วไปราคาค่าตอบแทนการโอนสิทธิในที่ดินจะต้องไม่เกินกว่าราคาประเมินที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างตามกฎหมายว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ หรือเกินกว่าราคาประเมินตามความจำเป็นแต่ไม่เกินกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของราคาประเมินดังกล่าว 2. กรณีเป็นการรับโอนสิทธิจากผู้ได้รับสิทธิในที่ดินซึ่งใช้สอยที่ดินโดยฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เช่น การไม่ปฏิบัติตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติฯ ทำการแบ่งแยก โอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่น เป็นต้น ดำเนินการอื่นนอกเหนือการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน (เรื่องเสร็จที่ 1347/2563) ราคาค่าตอบแทนการโอนสิทธิในที่ดินจะต้องไม่เกินกว่าราคาค่าเช่าซื้อที่ดินที่ผู้ได้รับสิทธิในที่ดินได้เช่าซื้อจาก ส.ป.ก. โดยหากมีความเสียหายเกิดขึ้นให้หักกลบลบหนี้ตามมูลค่าความเสียหายไว้ในคำสั่งรับการโอนสิทธิในที่ดินดังกล่าวด้วย 1 สถาบันเกษตรกร หมายความว่า กลุ่มเกษตร สหกรณ์การเกษตร ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ 4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์สำหรับการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไปเป็นกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคารชุดสำหรับการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไปเป็นกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์สำหรับการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไปเป็นกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคารชุดสำหรับการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไปเป็นกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ สาระสำคัญ ร่างกฎกระทรวงทั้ง 2 ฉบับ ที่กระทรวงมหาดไทยเสนอเป็นการกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์และอาคารชุด ประเภทมีทุนทรัพย์อันเนื่องมาจากการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) เป็นกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุนในอัตราร้อยละ 0.01 ของราคาประเมินทุนทรัพย์หรือราคาทุนทรัพย์ที่เช่าหรือจำนอง แต่จำนวนค่าธรรมเนียมอย่างสูงต้องไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีกำหนดระยะเวลาเฉพาะการจดทะเบียนที่ดำเนินการนับตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการและลดภาระให้แก่ภาคธุรกิจและสนับสนุนให้เกิดการลงทุนเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการดำเนินการร่างกฎกระทรวงทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวของกระทรวงมหาดไทยเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2566 และเป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากมาตรการทางภาษีและค่าธรรมเนียมเพื่อส่งเสริมการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ผ่านกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง โดยกระทรวงมหาดไทยได้จัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้ตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว ซึ่งคาดว่าจะทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสูญเสียรายได้ประมาณ 3,092 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาการดำเนินมาตรการ ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยในหลักการ 5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตเกี่ยวกับยานพาหนะซึ่งเป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์หรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับยุทธภัณฑ์ พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้ 1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการอนุญาตเกี่ยวกับยานพาหนะซึ่งเป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์หรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับยุทธภัณฑ์ พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ 2. ให้กระทรวงกลาโหมรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ กห. เสนอว่า 1. โดยที่มาตรา 25/1 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 บัญญัติให้ยานพาหนะตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นยุทธภัณฑ์ตามมาตรา 7 ซึ่งเป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ หรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกันที่จะเข้ามาในราชอาณาจักร เจ้าของ หรือผู้ครอบครองยานพาหนะจะต้องได้รับใบอนุญาตตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ประกอบกับมาตรา 5 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีอำนาจกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องยกร่างกฎกระทรวงการอนุญาตเกี่ยวกับยานพาหนะซึ่งเป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์หรือสิ่งอื่นใด ในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. .... ขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้การปฏิบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตและพนักงาน เจ้าหน้าที่เป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม มีการควบคุมกำกับดูแลที่เป็นมาตรฐานสากลซึ่งรวมถึงการควบคุมยานพาหนะทางทหารด้วย 2. ต่อมาพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565 มาตรา 5 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรรมเนียมไม่เกินอัตราตามบัญชี 1 ท้ายพระราชบัญญัติฯ ซึ่งต้องไม่เกินอัตราค่าธรรมเนียมขั้นสูงตามบัญชี 2 ท้ายพระราชบัญญัติฯ ประกอบกับมาตรา 10 บัญญัติให้ยกเลิกอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 และให้ใช้อัตราค่าธรรมเนียมตามบัญชี 1 ท้ายพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565 แทน จนกว่าจะมีการออกกฎกระทรวงตามมาตรา 5 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติฯ นอกจากนี้ ในการกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับยุทธภัณฑ์ดังกล่าวจะต้องมีความสอดคล้องกับมาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ใบอนุญาตให้ใช้ได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต แต่มิให้เกิน 3 ปี นับแต่วันออกใบอนุญาต (เดิม กำหนดมิให้เกิน 1 ปี) และมาตรา 26 วรรคสอง บัญญัติให้การขอต่ออายุใบนุญาตและการต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งจะกำหนดให้ดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องยกร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับยุทธภัณฑ์ พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับยุทธภัณฑ์เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565 และการแก้ไขอายุใบอนุญาตดังกล่าว ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงรวม 2 ฉบับดังกล่าว คณะกรรมการควบคุมยุทธภัณฑ์ คณะกรรมการตรวจและร่างกฎหมายประจำ กห. และสภากลาโหม ได้เห็นชอบด้วย 3. กห. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงรวม 2 ฉบับ ผ่านเว็บไซต์ของกรมการอุตสาหกรรมทหาร http://did.mod.go.th รวมทั้งได้จัดทำสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎและเปิดเผยเอกสารดังกล่าวผ่านเว็บไซต์ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และกฎกระทรวงกำหนดร่างกฎที่ต้องจัดให้มีการรับฟังความเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบ พ.ศ. 2565 ด้วยแล้ว 4. นายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นชอบให้นำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง รวม 2 ฉบับ 1. ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตเกี่ยวกับยานพาหนะซึ่งเป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์หรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. .... เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตที่จะเข้ามาในราชอาณาจักรสำหรับยานพาหนะซึ่งเป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์หรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกัน สรุปได้ดังนี้ ประเด็น สาระสำคัญ 1. การยื่นคำร้องขอ ? ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองยานพาหนะยื่นคำร้องขอต่อกรมการอุตสาหกรรมทหารเพื่อให้ตรวจสอบ ดังนี้ 1. ประวัติอาชญากรรมและลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 16 ของผู้ขอรับใบอนุญาต และผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล เช่น บุคคลซึ่งเคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกสำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พุทธศักราช 2476 หรือพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 2. สถานที่เก็บและวิธีการดำเนินการกับยุทธภัณฑ์ มาตรการด้านความปลอดภัย และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บ การควบคุม หรือการรักษาความปลอดภัย 3. การยื่นคำขอรับใบอนุญาต รวมทั้งข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานประกอบคำขอให้ยื่นต่อกรมการอุตสาหกรรมทหารหรือยื่นโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ? ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ร่วมกับสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติเข้าไปในสถานที่เก็บยุทธภัณฑ์เพื่อตรวจสอบลักษณะและประเมินมาตรการด้านความปลอดภัยในการเก็บยุทธภัณฑ์ โดยต้องมีหลักเกณฑ์ด้านความปลอดภัยให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พร้อมตรวจสอบเอกสารหลักฐาน เช่น วิธีการพิทักษ์ไม่ให้มีการแพร่ขยายวัสดุนิวเคลียร์ วิธีการประเมินและบรรเทาผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นต้น 2. การตรวจสอบคำขอรับใบอนุญาต ? ในกรณีที่คำขอรับใบอนุญาต หรือข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้บันทึกความบกพร่องนั้นไว้ และแจ้งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับใบอนุญาต หรือจัดส่งข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานให้ถูกต้องและครบถ้วนในคราวเดียวกัน ภายใน 15 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง 3. การพิจารณาคำขอรับใบอนุญาต ? ในกรณีที่คำขอรับใบอนุญาต รวมทั้งข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานถูกต้องและครบถ้วนแล้วให้ปลัดกระทรวงกลาโหมโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมยุทธภัณฑ์พิจารณาคำขอรับใบอนุญาตให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับคำขอเว้นแต่กรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็นไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จได้ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว อาจขยายระยะเวลาการพิจารณาออกไปได้อีกไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 30 วัน ? ในกรณีที่ปลัดกระทรวงกลาโหมมีคำสั่งอนุญาตและลงลายมือชื่อในใบอนุญาตแล้วให้กรมการอุตสาหกรรมทหารแจ้งผู้ขอรับใบอนุญาตทราบโดยเร็ว 4. เงื่อนไขการออกใบอนุญาต ? ใบอนุญาตให้เป็นตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด อย่างน้อยต้องมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 1. ผู้รับใบอนุญาตต้องมีสถานที่เก็บยุทธภัณฑ์ และควบคุมยานพาหนะให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับรังสีน้อยที่สุด และต้องมิให้ได้รับรังสีเกินปริมาณที่กำหนด เช่น ปริมาณรังสียังผล 20 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี โดยเฉลี่ยในช่วง 5 ปีติดต่อกัน ทั้งนี้ ในแต่ละปี จะรับรังสีได้ไม่เกิน 50 มิลลิซีเวิร์ต และตลอดช่วง 5 ปีติดต่อกัน จะต้องได้รับรังสีไม่เกิน 100 มิลลิซีเวิร์ต 2. ผู้รับใบอนุญาตต้องควบคุมดูแลมิให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับรังสีเกินปริมาณที่กำหนด เช่น - ปริมาณรังสียังผล (effective dose) 6 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี - ปริมาณรังสีสมมูล (equivalent dose) 20 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี สำหรับเลนซ์ของดวงตา 3. ผู้รับใบอนุญาตต้องระมัดระวังมิให้ประชาชนทั่วไปได้รับรังสีเกินปริมาณที่กำหนด เช่น - ปริมาณรังสียังผล (effective dose) 1 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี - ปริมาณรังสีสมมูล (equivalent dose) 15 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี สำหรับเลนซ์ของดวงตา 4. ผู้รับใบอนุญาตต้องควบคุมดูแลมิให้พื้นที่เก็บหรือพื้นที่ควบคุมเกิดการปนเปื้อน ทางรังสีบนพื้นผิวเกิน 4 เบ็กเคอเรลต่อตารางเซนติเมตร สำหรับวัสดุกัมมันตรังสีที่สลายตัวให้รังสีบีตา รังสีแกมมา และรังสีแอลฟา ที่มีความเป็นพิษต่ำ และเกิน 0.4 เบ็กเคอเรลต่อตารางเซนติเมตร สำหรับวัสดุกัมมันตรังสีที่สลายตัวให้รังสีแอลฟาอื่นๆ 5. ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีเครื่องตรวจวัดปริมาณรังสีไว้กับยานพาหนะตัวผู้ปฏิบัติงาน และสถานที่เก็บ 6. เมื่อผู้รับใบอนุญาตจะนำยุทธภัณฑ์เข้ามาในราชอาณาจักร ต้องส่งคำขอแจ้งการสั่งเข้ามาหรือการนำเข้ามาซึ่งยุทธภัณฑ์ ผ่านระบบ National Single Window (NSW) ให้กรมการอุตสาหกรรมทหารไม่น้อยกว่า 2 วันทำการ ก่อนที่ยุทธภัณฑ์จะถูกนำเข้ามาในราชอาณาจักร 2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับยุทธภัณฑ์ พ.ศ. .... เป็นการปรับปรุงการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับยุทธภัณฑ์ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565 รวมทั้งสอดคล้องกับการแก้ไขอายุใบอนุญาตที่มิให้กำหนดเกิน 3 ปี นับแต่วันออกใบอนุญาต (เดิม มิให้กำหนดเกิน 1 ปี) โดยให้ยกเลิกกฎกระทรวง (พ.ศ. 2534) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 และให้กำหนดค่าธรรมเนียมตามอายุของใบอนุญาต ดังต่อไปนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ ตามที่ กห. เสนอ กฎกระทรวง (พ.ศ. 2534) ฯ (บาท) (ไม่เกิน 1 ปี) บัญชี 1 ท้าย พ.ร.บ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ (ฉ. 3) พ.ศ. 2565 (บาท) ประเภท ฉบับละ (บาท) ใบอนุญาตสั่งเข้ามาซึ่งยุทธภัณฑ์ 1. ไม่เกิน 1 ปี 2. มากกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี 3. มากกว่า 2 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี 100 200 300 100 600 ใบอนุญาตนำเข้ามาซึ่งยุทธภัณฑ์ 1. ไม่เกิน 1 ปี 2. มากกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี 3. มากกว่า 2 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี 100 200 300 100 600 ใบอนุญาตผลิตซึ่งยุทธภัณฑ์ 1. ไม่เกิน 1 ปี 2. มากกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี 3. มากกว่า 2 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี 1,000 2,000 3,000 1,000 30,000 ใบอนุญาตมีซึ่งยุทธภัณฑ์ 1. ไม่เกิน 1 ปี 2. มากกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี 3. มากกว่า 2 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี 100 200 300 100 600 ใบแทนใบอนุญาต 50 50 150 การต่ออายุใบอนุญาตครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียม สำหรับใบอนุญาตประเภทนั้น คงเดิม คงเดิม คงเดิม 1 ?ยุทธภัณฑ์? หมายความว่า อาวุธ เครื่องอุปกรณ์ของอาวุธ สารเคมี สารชีวภาพ วัสดุกัมมันตรังสี วัสดุนิวเคลียร์ ยานพาหนะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ ที่อาจนำไปใช้ในการรบหรือการสงครามได้ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ยุทธภัณฑ์ที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ เช่น เรือรบของต่างประเทศ เรือดำน้ำที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ (ปัจจุบันยังไม่มีผู้ขอรับใบอนุญาต) 6. เรื่อง ร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง พ.ศ. .... และร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง พ.ศ. .... และร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับดังกล่าว ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้สำนักงาน ก.พ. รับความเห็นของกระทรวงการคลังไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ร่างกฎ ก.พ. รวม 2 ฉบับที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงกฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง พ.ศ. 2551 และกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2551 โดยปรับปรุงชื่อตำแหน่งให้สอดคล้องกับปัจจุบัน และปรับรูปแบบการเขียนชื่อตำแหน่งของประเภทบริหารและประเภทอำนวยการ จากเดิมที่ระบุชื่อตำแหน่งเป็นการเฉพาะเจาะจง เป็นการกำหนดคำนิยามของตำแหน่งแทน เพื่อจะได้ไม่ต้องมีการแก้ไขกฎ ก.พ. ทุกครั้งที่มีการจัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่ รวมทั้งปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับเงินประจำตำแหน่งของระดับชำนาญการเพื่อให้สอดคล้องกับหนังสือเวียนของสำนักงาน ก.พ. ตลอดจนปรับปรุงขั้นตอนการกำหนดประเภทตำแหน่ง สายงาน ระดับ และจำนวนตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งเพิ่มขึ้นของส่วนราชการเพื่อให้ส่วนราชการดำเนินการได้รวดเร็วและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น สาระสำคัญร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์ การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง พ.ศ. .... 1. ปรับปรุงชื่อตำแหน่งให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน โดยเพิ่มชื่อตำแหน่งที่มิได้กำหนดไว้ในกฎ ก.พ. ฉบับเดิม แต่สำนักงาน ก.พ. ได้มีการจัดประเภทตำแหน่งไว้ ดังนี้ ประเภทตำแหน่ง ชื่อตำแหน่งที่เพิ่ม ? ประเภทบริหารระดับต้น ? ผู้ช่วยปลัดกระทรวงหรือผู้ช่วยหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ซึ่งหัวหน้าส่วนราชการมีฐานะเทียบเท่าปลัดกระทรวง ? ประเภทอำนวยการระดับต้น ? หัวหน้าส่วนราชการที่ประจำในต่างประเทศตามที่ ก.พ. กำหนด ? ประเภทอำนวยการระดับสูง ? หัวหน้าส่วนราชการที่ประจำในต่างประเทศตามที่ ก.พ. กำหนด 2. ปรับรูปแบบการเขียนชื่อตำแหน่งของประเภทบริหารและประเภทอำนวยการ จากเดิมที่ระบุชื่อตำแหน่งเป็นการเฉพาะเจาะจง เป็นการกำหนดคำนิยามของตำแหน่งแทน รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมคำนิยามในบางตำแหน่ง ดังนี้* กฎ ก.พ. เดิม ร่างกฎ ก.พ. ในเรื่องนี้ ตำแหน่งประเภทบริหาร (1) ประเภทบริหารระดับต้น (ก) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมซึ่งไม่ใช่ตำแหน่งตาม (2) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ? รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ซึ่งมีหัวหน้าส่วนราชการเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี (ข) อัครราชทูตที่เป็นรองหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูต รองหัวหน้าคณะผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ รองหัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก และหัวหน้าสถานกงสุลใหญ่ ? อัครราชทูต รองหัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทยและกงสุลใหญ่ ตามที่ ก.พ. กำหนด (ค) รองหัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาการเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี ได้แก่ รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รองเลขาธิการสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย รองผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ และรองเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ? รองหัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรม แต่มีผู้บังคับบัญชาการเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี (2) ประเภทบริหารระดับสูง (ก) หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ได้แก่ ปลัดกระทรวง และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ? หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง (ข) หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ? หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ซึ่งมีฐานะเทียบเท่าปลัดกระทรวง ตามที่ ก.พ. กำหนด ? หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ซึ่งเป็นอธิบดีหรือมีฐานะเทียบเท่าอธิบดี (ค) เอกอัครราชทูตที่เป็นหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูต หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรประเทศไทยประจำองค์การการค้าโลกและเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง ? เอกอัครราชทูต และหัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทย ตามที่ ก.พ. กำหนด (ง) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ได้แก่ รองปลัดกระทรวง และรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ? รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง (จ) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี และอยู่ในบังคับบัญชาการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และรองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (ฉ) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวงและอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่ รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ช) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ และขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ รองเลขาธิการสภาการศึกษา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ? รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ซึ่งหัวหน้าส่วนราชการมีฐานะเทียบเท่าปลัดกระทรวง ตามที่ ก.พ. กำหนด (ซ) หัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เลขาธิการสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ และเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ? หัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีที่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี ตำแหน่งประเภทอำนวยการ (1) ประเภทอำนวยการระดับต้น (ก) หัวหน้าสำนักงานจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ? หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ? หัวหน้าสำนักงานจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (2) ประเภทอำนวยการระดับสูง (ก) หัวหน้าสำนักงานจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ? หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ? หัวหน้าสำนักงานจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน * ตารางรายละเอียดสาระสำคัญนี้แสดงเฉพาะชื่อตำแหน่งที่มีการปรับรูปแบบการเขียนเท่านั้น โดยมิได้แสดงชื่อตำแหน่งทั้งหมดตามร่างกฎ ก.พ. ในเรื่องนี้ นอกจากนี้ การเรียงข้อของชื่อตำแหน่งในตารางเป็นการเรียงตามลำดับที่ปรากฏในตารางเท่านั้น มิได้เป็นการเรียงตามบทบัญญัติในร่างกฎ ก.พ. แต่อย่างใด เศรษฐกิจ-สังคม 7. เรื่อง สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 26 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564- 31 พฤษภาคม 2566) คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอ สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 26 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564- 31 พฤษภาคม 2566) สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1. นโยบายหลัก 8 ด้าน ประกอบด้วย นโยบายหลัก มาตรการ/ผลการดำเนินงานที่สำคัญ 1) การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ 1.1) จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เช่น จัดงานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันฉัตรมงคล 4 พฤษภาคม 2566 และภาคีเครือข่ายผสานพลัง Kick Off โครงการ ?1 หมู่บ้าน 1 ทางนี้มีผลผู้คนรักกัน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์? เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2566 เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ยาสมุนไพร และพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในชุมชนอย่างยั่งยืน ณ ศูนย์เรียนรู้การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม 1.2) ส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เช่น ส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดิน 46,266 ไร่ ก่อสร้างแหล่งน้ำ 99 แห่ง ถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีด้านการเกษตรแก่เกษตรกร 10,371 ราย ส่งเสริมทักษะการผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐานแก่เกษตรกร 300 ราย พัฒนาความเข้มแข็งแก่สหกรณ์และกลุ่มสหกรณ์ 66 แห่ง และผลิตสัตว์น้ำปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติ 33 ล้านตัว 1.3) ถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยจัดงานตลาดเศรษฐกิจพอเพียง เช่น ?Young ทำเกษตร? ?เกษตรไทยเท่? ?นวัตกรรมทำเอง? ?เกษตรรักษ์โลก? และจัดนิทรรศการ ?การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนตามศาสตร์พระราชาโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง? 1.4) ขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา ผ่านกระบวนการพัฒนาคนในหมู่ที่ 3 บ้านบางครั่ง ตำบลบางวัน อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ในรูปแบบ ?ถนนต้นกล้วยช่วยชีวิต? ด้วยการน้อมนำพระดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ?หมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Vilage)? นำไปสู่ การใช้ชีวิตแบบพึ่งพาตนเองสร้างพื้นที่แห่งความปลอดภัยและเป็นพื้นที่แห่งความสุขที่ยั่งยืน 1.5) ดำเนินโครงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าบาติก ?บาติกโมเดล (Batik Model)? สู่ตลาดสากล และโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) โดยน้อมนำแนวพระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญา เพื่อการพัฒนาแฟชั่นที่ยั่งยืน (Sustainable Fashion) โดยดำเนินงานใน 7 กลุ่มบาติกของภาคใต้ เช่น กลุ่มยาริงบาติก ตำบลหนองแรต อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี 2) การสร้างความมั่นคง ความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ ดำเนินโครงการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านการประมง โดยปรับปรุงการออกหนังสือคนประจำเรือสำหรับคนต่างด้าวเพื่อป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ 53,687 ราย รวมทั้งตรวจร่วมเรือประมงและแรงงานภาคประมงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 55 ครั้ง 3) การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 นายกรัฐมนตรีกล่าวถ้อยแถลงพิธีเปิดการประชุมประจำปีของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) สมัยที่ 79 ภายใต้หัวข้อ ?Accelerating climate action in Asia and the Pacific for sustainable development? ผ่านระบบวีดิทัศน์ โดยได้กล่าวถึงความตระหนักเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นปัญหาร่วมกันของทุกประเทศ พร้อมทั้งเสนอ 3 ประเด็นสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนการดำเนินงาน ได้แก่ (1) ความร่วมมือภายใต้ ESCAP ควรสอดประสานและต่อยอดจากความร่วมมือภายใต้กรอบอื่น ๆ ในภูมิภาคและอนุภูมิภาค (2) การใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการดำเนินงานด้านสภาพภูมิอากาศ และ (3) การจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพและเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุข 4) การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย 4.1) เศรษฐกิจมหภาค การเงินและการคลังเช่น (1) ดำเนินการตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยกำหนดสัดส่วนตัวชี้วัดที่กำหนดตามมาตรา 50 ให้อยู่ในกรอบการบริหารหนี้สาธารณะ ได้แก่ 1) สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ต้องไม่เกินร้อยละ 70 2) สัดส่วนภาระหนี้ของรัฐบาลต่อประมาณการรายได้ ต้องไม่เกินร้อยละ 35 และ 3) สัดส่วนหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศต่อหนี้สาธารณะทั้งหมด ต้องไม่เกินร้อยละ 5 รวมทั้งจัดทำรายงานข้อมูลหนี้ตามมาตรา 76 ได้แก่ 1) สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ประมาณการ ณ สิ้นปี 2566 ร้อยละ 60.64 2) สัดส่วนภาระหนี้ของรัฐบาลต่อประมาณการรายได้ ประมาณการ ณ สิ้นปี 2566 ร้อยละ 32.92 3) สัดส่วนหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศต่อหนี้สาธารณะทั้งหมด ประมาณการ ณ สิ้นปี 2566 ร้อยละ 1.67 และ 4) สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2566 อยู่ที่ร้อยละ 61.56 (2) ดำเนินโครงการเพิ่มสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2566 มีสมาชิกสะสม 2.53 ล้านคน และ (3) ดำเนินโครงการส่งเสริมการออมผ่านการลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ (Savings Bond) โดยเดือนพฤษภาคม 2566 มีการออกพันธบัตรออมทรัพย์ ?รุ่นออมอุ่นใจ? 2 รุ่น จำนวน 40,000 ล้านบาท 4.2) พัฒนาภาคเกษตร เช่น ดำเนินโครงการธนารักษ์เอื้อราษฎร์ เพื่อสำรวจรังวัดทำแผนที่ผู้ครอบครองที่ราชพัสดุที่ไม่โต้แย้งกรรมสิทธิ์ซึ่งครอบครองอยู่ก่อนวันที่ 4 ตุลาคม 2546 และรับรองสิทธิในการเข้าใช้ที่ราชพัสดุ โดยการจัดให้เช่าเพื่ออยู่อาศัยและทำกิน ทั้งนี้ ในเดือนพฤษภาคม 2566 ได้สำรวจรังวัดจัดทำแผนที่และจัดให้เช่า 807 ราย และดำเนินโครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย (ระยะที่ 2) เพื่อสนับสนุนสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพื่อสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยน พัฒนาการใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ในห่วงโซ่การผลิต ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย เช่น เกษตรกร กองทุนหมู่บ้าน สหกรณ์การเกษตร และวิสาหกิจชุมชน ทั้งนี้ ณ วันที่ 28 พฤษภาคม 2566 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จ่ายสินเชื่อแล้ว 6,470 ราย จำนวน 28,560 ล้านบาท 4.3) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและมุ่งสู่การเป็นประเทศอัจฉริยะ เช่น ดำเนินโครงการพัฒนาระบบประเมินราคาศุลกากร ด้วย Big Data Analytics โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการคัดกรองและวิเคราะห์จัดทำฐานข้อมูลราคาสินค้าและส่งข้อมูลให้กับเจ้าหน้าที่ตรวจปล่อยสินค้า เพื่อนำไปบริหารความเสี่ยง และมีการยื่นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้นำเข้าและพัฒนาระบบ Machine Learning เพื่อนำมาจัดกลุ่มสินค้าและสร้างฐานข้อมูลราคาแบบอัตโนมัติ 4.4) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม เช่น ขับเคลื่อนย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี (Yothi Medical Innovation District: YMID) อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบโจทย์ภาครัฐกับการสร้างศูนย์กลางการแพทย์ของเอเชีย โดยสร้างพื้นที่การลงทุนนวัตกรรมทางการแพทย์ ผลักดันให้เกิดศูนย์กลางการแพทย์ของภูมิภาคเอเชียและส่งเสริมอุตสาหกรรมทางการแพทย์ของประเทศ เพื่อประโยชน์ในมิติทางสังคมและเศรษฐกิจ ลดมูลค่าการนำเข้านวัตกรรมทางการแพทย์ เพิ่มโอกาสการจ้างงานและเชื่อมโยงไปยังธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง YMID มีนวัตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนกว่า 163 โครงการ รวมถึงโครงการระบบการแบ่งปันเตียงผู้ป่วยข้ามสถานพยาบาล (Bed Sharing) ซึ่งเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มูลค่ากว่า 11,000 ล้านบาท 5) การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ดำเนินโครงการเพิ่มผลิตภาพการเกษตรบนฐานทรัพยากรดินในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยเพิ่มผลิตภาพการเกษตรบนฐานทรัพยากรดินด้วยการจัดทำระบบบริหารพัฒนาการเกษตร และใช้เทคโนโลยีวิทยาการข้อมูลมาช่วยในการกำหนดเขตการใช้ที่ดิน รวมทั้งปรับปรุงฐานข้อมูลทรัพยากรดินในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อให้เกษตรกรเลือกแนวทางการผลิตสินค้าเกษตรและเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นฐานของดิน 6) การพัฒนาสร้างความเข้มแข็งของฐานราก 6.1) ส่งเสริมและพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร เชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว (Good Agricultural Practice: GAP) ครบวงจรและตลาดข้าวสารคุณภาพ อ.ต.ก. จำนวน 6 ครั้ง สามารถระบายผลผลิตข้าว 24.37 ตัน มูลค่าจำหน่ายรวม 0.86 ล้านบาท รวมทั้งส่งเสริมตลาดผู้บริโภคผลไม้ไทย สามารถระบายผลผลิตผลไม้ 43 ตัน มูลค่าจำหน่ายรวม 3.20 ล้านบาท 6.2) พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของสหกรณ์และสถาบันเกษตรกร เช่น ตรวจสอบความถูกต้องในการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างสหกรณ์และสมาชิก 5,722 ราย อบรมให้ความรู้ในการจัดทำธุรกรรมทางการเงินขั้นพื้นฐานแก่สมาชิกสหกรณ์ 2,800 ราย ส่งเสริม กำกับดูแล และพัฒนาการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 11,740 แห่ง และออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินนิคมสหกรณ์ 26 แห่ง 1,078 ราย พื้นที่ 1,259 ไร่ 7) การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม ติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลที่สำคัญด้านสาธารณสุข เช่น นำแนวคิด Health for wealth (การนำสุขภาพขับเคลื่อนเศรษฐกิจ) มาสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานสถานประกอบการด้านสุขภาพ 910 แห่ง และ Wellness Center1 จำนวน 320 แห่ง มีเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในทุกเขตสุขภาพกว่า 80 แห่ง มีวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดย่อมได้รับการสนับสนุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ 64.3 รวมทั้งดูแลสุขภาพตามกลุ่มวัยและยกระดับบริการผู้สูงอายุ เช่น กลุ่มเด็กปฐมวัย ได้รับคัดกรองการพัฒนาการล่าช้าและส่งเข้ารับการกระตุ้นจนมีพัฒนาการสมวัย กลุ่มวัยทำงานที่ผู้ที่มีปัญหาซึมเศร้า สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพจิตได้ถึงร้อยละ 92.28 และกลุ่มผู้สูงอายุได้รับคัดกรองความถดถอย 9 ด้านตามเป้าหมาย2 นอกจากนี้ มีการทำ Digital Health (ระบบสุขภาพและเทคโนโลยีทางการแพทย์) มาใช้กับทุกเขตสุขภาพ เพื่อเร่งสร้างความเข้าใจกับประชาชนถึงความสำคัญของระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) ซึ่งช่วยให้เข้าถึงระบบบริการสุขภาพได้อย่างไร้รอยต่อและสอดรับกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการให้บริการ 8) การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน 8.1) ดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกร โดยส่งเสริมการทำเกษตรที่เหมาะสมตามศักยภาพของพื้นที่ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการผลิตพืช ปศุสัตว์ และประมง บริหารจัดการ พื้นที่แปลงรวมแก่เกษตรกร ปรับปรุงคุณภาพดิน และจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำให้มีความเหมาะสมในการผลิตพืช มีสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร รวม 11,086 ราย จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำให้มีความเหมาะสมในการผลิตพืช 12,370 ไร่ 8.2) ลดการเผาในพื้นที่เกษตร โดยส่งเสริมให้มีการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรทดแทนการเผา 17,640 ราย และประชาสัมพันธ์ รณรงค์เฝ้าระวังการเผาซากพืช วัชพืช และวัสดุทางการเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินแก่เกษตรกร 625 ราย รวมทั้งส่งเสริมการไถกลบตอชังในพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินในการปลูกข้าวและข้าวโพด 68 ตำบล 37 อำเภอ 9 จังหวัดภาคเหนือ รวม 25,666 ไร่ 2. นโยบายเร่งด่วน 6 เรื่อง ประอบด้วย นโยบายเร่งด่วน มาตรการ/ผลการดำเนินงานที่สำคัญ 1) การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน ดำเนินมาตรการลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนโดยลดอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันประเภทน้ำมันดีเซลลง 5 บาทต่อลิตร โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม-20 กรกฎาคม 2566 และแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืน โดยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559-เมษายน 2566 มีประชาชนขอความช่วยเหลือในการไกลเกลี่ยประนอมหนี้นอกระบบ จำนวน 11,734 เรื่อง 2) การปรับปรุงสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ดำเนินโครงการยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางเพื่อให้กลุ่มเปราะบางและครอบครัวเข้าถึงสิทธิสวัสดิการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนใน 5 มิติเป้าหมาย3 โดยมีครัวเรือนเปราะบางเป้าหมาย 827,749 ครัวเรือน ได้รับการวางแผนและช่วยเหลือในการพัฒนาคุณภาพชีวิต มีศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล 4,401 ศูนย์ ได้รับการพัฒนาและยกระดับให้มีคุณภาพ และมีการบูรณาการข้อมูล 1 ระบบ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางด้วยระบบสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์ (MSO-LOGBOOK) และดำเนินโครงการสร้างโอกาส สร้างงาน สร้างรายได้ สำหรับคนทุกช่วงวัยเพื่อพัฒนาศักยภาพ เสริมทักษะอาชีพ เพิ่มรายได้ สู่ความยั่งยืน จำนวน 123,632 คน รวมทั้งส่งเสริมการฝึกอาชีพและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กับคนพิการและผู้ดูแลคนพิการ โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีคนพิการและผู้ดูแลคนพิการได้รับการพัฒนาศักยภาพ 6,347 คน และคนพิการ และผู้ดูแลคนพิการได้รับการกู้ยืมเงิน 7,411 คน 3) การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม ดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตกัญชา ในพื้นที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชขอนแก่นสำหรับทดสอบเทคโนโลยีขยายพันธุ์กัญชา สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพและศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย สำหรับทดสอบเทคโนโลยีการปลูกและคัดเลือกพันธุ์กัญชา โดยพัฒนาองค์ความรู้ด้านพันธุ์ พัฒนาปรับปรุงพันธุ์ให้ได้สายพันธุ์ลูกผสมที่มีความเหมาะสมกับการเพาะปลูกในประเทศไทย และให้สาร THC (Tetrahydrocannabinol และ CBD (Cannabidiol) ปริมาณสูง เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ และดำเนินโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2566 โดย ณ วันที่ 25พฤษภาคม 2566 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการส่วนประกันภัยขั้นพื้นฐาน 64,060 ราย และส่วนประกันภัยภาคสมัครใจ 7 ราย เบี้ยประกันภัย รวมทั้งสิ้น 178.22 ล้านบาท 4) การยกระดับศักยภาพ ของแรงงาน ดำเนินโครงการ ?แรงงานพันธุ์ดี ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง? เพื่อให้นายจ้างสถานประกอบกิจการและลูกจ้างน้อมนำแนวพระราชดำริเกษตรทฤษฎีใหม่มาใช้เป็นแนวทางหลักในการดำเนินชีวิต โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีสถานประกอบกิจการเข้าร่วมโครงการ 353 แห่ง ลูกจ้างที่ได้รับประโยชน์ 35,749 คน คิดเป็นมูลค่า 13.04 ล้านบาท นอกจากนี้ ได้ร่วมกับภาคเอกชนในการผลิตช่างสีรถยนต์ป้อนตลาดแรงงาน 12 จังหวัด โดยในปี 2565 มีผู้ผ่านการฝึกอบรม 210 คน 5) การแก้ไขปัญหา ยาเสพติดและสร้างความ สงบสุขในพื้นที่ชายแดนใต้ ระหว่างวันที่ 1-31 พฤษภาคม 2566 มีการจับกุมคดียาเสพติด 18,364 คดี ผู้ต้องหา 18,585 คน และยึดของกลาง ได้แก่ ยาบ้า 28.24 ล้านเม็ด ไอซ์ 7,665.65 กิโลกรัม เฮโรอีน 92.39 กิโลกรัม เคตามีน 980.35 กิโลกรัม ยาอี 4,114 เม็ด ฝิ่น 131.52 กรัม และโคเคน 0.0003 กิโลกรัม 6) การจัดเตรียม มาตรการรองรับภัยแล้ง และอุทกภัย ดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำปี้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดพะเยาโดยอยู่ระหว่างการก่อสร้างเขื่อนหัวงานและอาคารประกอบ เพื่อก่อสร้างอ่างเก็บน้ำและระบบส่งน้ำเพิ่มปริมาณน้ำตันทุนและพื้นที่ชลประทานสนับสนุนการเกษตรและบรรเทาปัญหาการเกิดอุทกภัยและรองรับน้ำในช่วงฤดูน้ำหลากและได้แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคเพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัยแล้ง 2.73 ล้านลิตร (ครบตามเป้าหมาย) 1สถานบริการให้คำแนะนำ /ปรึกษาเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคหรือการฟื้นฟูสภาพของร่างกายและจิตโจ 2ได้แก่ (1) ด้านความคิดความจำ (2) ด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย (3) ด้านการขาดสารอาหาร (4) ด้านการมองเห็น (5) ด้านการได้ยิน (6) ด้านภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย (7) ด้านการกลั้นปัสสาวะ (8) ด้านการปฏิบัติกิจวัตประจำวันและ (4) ด้านสุขภาพช่องปาก 3 ได้แก่ (1) มิติสังคม (People) (2) มิติเศรษฐกิจ (Prosperity) (3) มิติสิ่งแวดล้อม (Planet) (4) มิติสันติและสถาบัน (Peace) และ (5) และมิติหุ้นส่วนการพัฒนา (Partnership) 8. เรื่อง ขอผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ1 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2532 (เรื่อง ขอผ่อนผันใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อก่อสร้างทางเพื่อความมั่นคง) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 [เรื่อง มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดคุณภาพลุ่มน้ำตะวันตก ภาคกลาง และลุ่มน้ำป่าสัก และการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนอื่น ๆ (ลุ่มน้ำชายแดน)] เพื่อดำเนินการโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ (โครงการฯ) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ได้ให้ความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม2 (รายงาน EIA) และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้ให้ความเห็นชอบเพื่อประกอบการพิจารณาแล้ว เพื่อให้ รฟท. สามารถดำเนินงานโครงการก่อสร้างตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ สาระสำคัญ กระทรวงคมนาคมเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อ ดำเนินการโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ (โครงการฯ) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งเป็นหนึ่งในทางรถไฟสายใหม่ระยะเร่งด่วน ภายใต้โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 - 25653 และเป็นโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 เนื่องจากโครงการฯ มีงานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งรถไฟที่มีส่วนที่พาดผ่านลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงเหนือ บริเวณตำบลโชคชัย อำเภอดอยหลวง และตำบลห้วยซ้อ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย รวมระยะทาง 2,376 เมตร หรือคิดเป็นพื้นที่รวม 52 ไร่ 2 งาน 57 ตารางวา ทั้งนี้ รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (รายงาน EIA) ของโครงการดังกล่าวผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) แล้วเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2560 ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และฝ่ายเลขานุการ กก.วล. พิจารณาแล้วเห็นชอบ/เห็นชอบในหลักการและมีความเห็นเพิ่มเติม เช่น เห็นสมควรที่คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาให้ คค. ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2565 กรณีการดำเนินโครงการใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐที่มีความจำเป็นต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่า จะต้องมีการปลูกป่าทดแทน เพื่อการอนุรักษ์ หรือรักษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่ดังกล่าวอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ดีหากการดำเนินการดังกล่าวมีผลทำให้กรอบวงเงินของโครงการฯ เปลี่ยนแปลงไปจากวงเงินที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี คค. จะต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาตามขั้นตอนอีกครั้งหนึ่งต่อไป (สงป.) และให้ คค. (รฟท.) ปฏิบัติตามความเห็นและมติ กก.วล. ที่ให้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่กำหนดไว้ในรายงาน EIA ของโครงการฯ อย่างเคร่งครัด (สศช.) 1 พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ หมายถึง พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 ที่ยังคงมีสภาพป่าสมบูรณ์ ปรากฏอยู่ในปี 2525 ซึ่งจำเป็นจะต้องสงวนรักษาไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารและเป็นทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ 2 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 มาตรา 5 บัญญัติให้ยกเลิกข้อความที่เกี่ยวข้องกับรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และให้ใช้คำว่ารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมแทน 3 โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 - 2565 ประกอบด้วย (1) การก่อสร้างรถไฟทางคู่ (ตามแนวเส้นทางรถไฟเดิม) ระยะเร่งด่วน (2) การก่อสร้างรถไฟทางคู่ (ตามแนวเส้นทางรถไฟเดิม) ระยะที่ 2 (3) ทางรถไฟสายใหม่ระยะเร่งด่วน และ (4) ทางรถไฟสายใหม่ระยะถัดไป 9. เรื่อง สรุปผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาการออกเอกสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะจำหวัดลำปาง คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาการออกเอกสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะจำหวัดลำปาง ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง สปน. รายงานว่า เดิม กฟผ. ได้ดำเนินการขยายเหมืองแม่เมาะ และโครงการแม่จาง (เพื่อการจัดหาแหล่งน้ำใช้ในการหล่อเย็นของเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า) ที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ในช่วงปี 2521-2536 จึงมีความจำเป็นต้องอพยพราษฎรที่มีกรรมสิทธิ์ในพื้นที่อยู่แล้วไปอยู่ในพื้นที่บ้านท่าปะตุ่น-นาแขม (ปัจจุบันคือ บ้านใหม่นาแขม หมู่ 7 และบ้านแม่เมาะหลวง หมู่ 8) ตำบลแม่เมาะ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่เมาะ และป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่จาง และที่บ้านใหม่รัตนโกสินทร์ หมู่ 5 ตำบลนาสัก อำเภอแม่เมาะ ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่จาง (ตอนขุน) ซึ่งพื้นที่อพยพดังกล่าวได้กลายสภาพเป็นชุมชนขนาดใหญ่ โดยราษฎรได้ปลูกสร้างบ้านเรือนและทำไร่ทำสวนในพื้นที่อพยพตั้งแต่ได้รับการจัดสรรจาก กฟผ. มาโดยตลอดแต่ไม่มีเอกสิทธิทำให้มีการร้องเรียนและเรียกร้องไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือบุคคลต่าง ๆ เป็นเวลาต่อเนื่องกันตั้งแต่ปี 2536 จนกระทั่งเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2543 ราษฎรในพื้นที่อพยพประมาณ 1,000 คน ได้มาชุมนุมเรียกร้องให้ทางราชการออกเอกสารสิทธิในพื้นที่อพยพ โดยมีความประสงค์ให้ทางราชการออกเอกสารสิทธิที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน เช่น โฉนด หรือ น.ส. 3 เฉพาะที่อยู่อาศัย และ ส.ป.ก. 4-01 สำหรับที่ทำกิน ซึ่งคณะกรรมการติดตามผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง (คณะกรรมการติดตามฯ) ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบเกี่ยวกับการออกเอกสารสิทธิในพื้นที่อพยพจากโครงการขยายเหมืองแม่เมาะ ตั้งแต่ปี 2543 สามารถดำเนินการจนลุล่วงเกือบทั้งหมดแล้ว โดยได้ออกโฉนดที่ดินสำหรับที่อยู่อาศัย และออก ส.ป.ก. 4-01 สำหรับที่ดินทำกิน อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัญหาการออกเอกสารสิทธิอยู่ ได้แก่ (1) กรณีมีราษฎรผู้ครอบครองที่ดินรองรับการอพยพ ครั้งที่ 1-4 ยังมิได้ดำเนินการออกโฉนดที่ดินสำหรับที่อยู่อาศัย จำนวน 10 แปลง (10 ราย) และ ออก ส.ป.ก. 4-01 สำหรับที่ดินทำกิน จำนวน 93 แปลง (2) กรณีการครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงว่าง (3) กรณีขอจัดตั้งสำนักสงฆ์ใหม่มงคล (4) กรณีขอจัดตั้งสำนักสงฆ์เวียงสวรรค์ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และ (5) กรณีอื่น ๆ ซึ่งคณะกรรมการติดตามฯ ได้เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. การประชุมคณะกรรมการการติดตามฯ ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 และครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2565 สรุปได้ ดังนี้ 1.1 กรณีวัดใหม่เวียงสวรรค์ จังหวัดลำปาง ประเด็น ผลการดำเนินการ/สาระสำคัญ/มติที่ประชุม กรณีวัดใหม่เวียงสวรรค์ จังหวัดลำปาง ต้องการทราบความชัดเจนจากที่ประชุมคณะกรรมการติดตามฯ ว่าการดำเนินการตั้งวัดในพื้นที่นั้นต้องดำเนินการอย่างไร สามารถใช้มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2548 ว่าอยู่ในความดูแลของจังหวัด เพื่อดำเนินการต่อเนื่องได้หรือไม่ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้คณะอนุกรรมการจัดทำข้อมูลผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาการออกเอกสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง (คณะอนุกรรมการจัดทำข้อมูลฯ) ประสานสำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดลำปาง ขอทราบรายละเอียดการขอตั้งวัด และตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่าตำแหน่งวัดใหม่เวียงสวรรค์อยู่ในผังจัดสรรรองรับการอพยพหรือไม่ (วัดใหม่เวียงสวรรค์/ที่พักสงฆ์เวียงสวรรค์/สำนักสงฆ์เวียงสวรรค์ เป็นสถานที่เดียวกันหรือไม่) เดิมตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหรือไม่ และมีการกำหนดตำแหน่งวัดในผังจัดสรรรองรับการอพยพไว้ในตำแหน่งใด รวมทั้งกรณีสำนักสงฆ์อื่น ๆ ขอให้ตรวจสอบเพิ่มเติมด้วย โดยขอให้ดำเนินการเฉพาะที่อยู่ในผังจัดสรรเท่านั้น 1.2 สรุปผลการตรวจสอบข้อมูลการออกเอกสารสิทธิ โฉนดที่ดิน และ ส.ป.ก. 4-01 ดังนี้ หน่วย : แปลง การอพยพครั้งที่ จำนวน (ราย/ครัวเรือน) ผังจัดสรรที่อยู่อาศัย การออกโฉนดที่ดิน ไม่ได้ออกโฉนดที่ดิน ผังจัดสรรที่ดินทำกิน ออก ส.ป.ก. 4-01 ไม่ได้ออก ส.ป.ก. 4-01 1 381 373 731 3 134 325 10 2 237 158 309 - 195 348 83 3 1,472 1,484 2,393 7 - - - 4 292 290 290 - - - - รวม 2,382 2,305 3,723 10 329 673 93 2. การประชุมคณะกรรมการติดตามฯ ครั้งที่ 2/ 2565 เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2565 คณะอนุกรรมการจัดทำข้อมูลฯ ได้รายงานผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จำหวัดลำปาง ดังนี้ 2.1 รายงานผลการตรวจสอบที่ดินแปลงว่างที่เหลือจากการจัดสรรให้แก่ราษฎรในพื้นที่อพยพราษฎร ครั้งที่ 1-4 อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง จำนวน 458 แปลง และที่ดินที่ได้รับการจัดสรรให้แก่ราษฎรในพื้นที่อพยพ ครั้งที่ 5 จำนวน 7 แปลง รวมทั้งสิ้น 465 แปลง หน่วย : แปลง ประเภทที่ดิน แปลงว่าง จำนวน/แปลง ไม่มีการบุกรุก มีการบุกรุกและครอบครอง รวม ราษฎร หมู่บ้าน/วิสาหกิจชุมชน สำนักสงฆ์ใหม่มงคล ปรากฏเลขแปลง 437 141 296 218 70 8 ไม่ปรากฏเลขแปลง 21 3 18 15 3 - รวมที่ดินที่มีการตรวจสอบ 458 144 314 233 73 8 กฟผ. ได้นำที่ดินแปลงว่างไปจัดสรรให้แก่ราษฎรในพื้นที่อพยพครั้งที่ 5 (ปัจจุบันเป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนบ้านเวียงหงส์ล้านนา) 7 - - - - - รวมที่ดินเหลือจากการจัดสรรฯ ครั้งที่ 1-4 465 2.2 กรณีสำนักสงฆ์ใหม่มงคลและกรณีสำนักสงฆ์เวียงสวรรค์ ประเด็น ผลการดำเนินการ/สาระสำคัญ/มติที่ประชุม (1) กรณีที่ดินแปลงว่างที่สำนักสงฆ์ใหม่มงคลครอบครอง จำนวน 8 แปลง ให้สำนักงานที่ดินจังหวัดลำปาง อำเภอแม่เมาะ และ กฟผ. รวบรวมข้อมูลเสนอต่อคณะกรรมการติดตามฯ ทั้งนี้ จากผลการสำรวจ พบว่า - สำนักสงฆ์ใหม่มงคลยังไม่มีสภาพเป็นวัดตามกฎหมาย แต่เป็นเพียงที่พักสงฆ์ - สำนักสงฆ์ใหม่มงคลเข้าครอบครองที่ดินแปลงว่าง จำนวน 8 แปลง ได้แก่ที่ดินแปลงว่างเลขที่ 0311-0318 โดยมีเนื้อที่แปลงละ 1 ไร่ รวมทั้งสิ้น 8 ไร่ ได้ทำประโยชน์เป็นที่ตั้งวัดเต็มทั้งแปลง ทั้งนี้ ยังไม่เคยมีการรังวัดตรวจสอบตามหลักวิชาการแต่อย่างใด - เมื่อปี 2546 ราษฎรบ้านใหม่มงคลได้เลือกพื้นที่ว่างที่ไม่มีราษฎรเข้าอยู่อาศัยและร่วมกันแผ้วถางปลูกสร้างอาคารเพื่อเป็นที่พักสงฆ์และได้นิมนต์พระภิกษุมาจำวัด เพื่อให้ราษฎรได้บำเพ็ญบุญตามแนวทางพระพุทธศาสนา โดยได้ก่อสร้างเสนาสนะต่าง ๆ เช่น ศาลาบำเพ็ญบุญ กุฏิสงฆ์ ศาลาธรรม โรงครัว ห้องน้ำ หอระฆัง หอกลอง และรั้วคอนกรีต โดยปัจจุบันมีพระพิเด่น ฐิตวโร เป็นเจ้าสำนักผู้ดูแลสำนักสงฆ์ใหม่มงคล แต่เนื่องจากกฎกระทรวง การสร้าง การตั้ง การรวม การย้าย และการยุบเลิกวัด การขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา และการยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา พ.ศ. 2559 ได้กำหนดว่าการจะตั้งวัดได้จะต้องมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินที่จะใช้สร้างวัด หรือหนังสืออนุญาตให้ใช้ที่ดินเพื่อสร้างวัดจากส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐในกรณีที่ดินที่จะใช้สร้างวัดเป็นที่ดินที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐดูแลรักษา (2) ผลการตรวจสอบกรณีสำนักสงฆ์เวียงสวรรค์ - สำนักสงฆ์เวียงสวรรค์ยังไม่มีสภาพเป็นวัดตามกฎหมาย แต่เป็นเพียงที่พักสงฆ์เท่านั้น กล่าวคือ เป็นที่พำนักพักพิงชั่วคราวของพระภิกษุ ซึ่งกรณีที่จะสร้างวัดได้มี 2 ลักษณะ คือ 1) ที่ดินของเอกชน (โฉนดที่ดิน,น.ส.3,น.ส.3 ก และ น.ส.3 ข) โดยต้องมายื่นเรื่องต่อสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด พร้อมทำสัญญายกที่ดินให้สร้างวัดและเสนอเรื่องต่อผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางพิจารณา และ 2) ที่ดินของราชการ (ที่ป่าไม้ ที่ ส.ป.ก. ที่นิคมสร้างตนเอง และที่ราชพัสดุ) ต้องให้ส่วนราชการที่เป็นผู้ดูแลที่ดินดังกล่าวมีหนังสืออนุญาตให้สร้างวัด โดยจะพิจารณาตามกฎกระทรวงการอนุญาตให้สร้างวัด พ.ศ. 2559 - วัดใหม่เวียงสวรรค์/ที่พักสงฆ์เวียงสวรรค์/สำนักสงฆ์เวียงสวรรค์ เป็นสถานที่เดียวกัน - เดิมสำนักสงฆ์เวียงสวรรค์อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและมีการกำหนดตำแหน่งไว้ในผังจัดสรรรองรับการอพยพ บริเวณหมู่ที่ 9 ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เนื้อที่ 1-0-86 ไร่ - เมื่อปี 2540 ราษฎรได้ขอใช้พื้นที่สวนสาธารณะและสระน้ำบริเวณหน้าหมู่บ้านเวียงสวรรค์ (เป็นที่สาธารณประโยชน์ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2548) จำนวน 6 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 15-2-50 ไร่ เพื่อสร้างวัดใหม่เวียงสวรรค์ ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการวางผังและก่อสร้างที่จัดสรรได้พิจารณาเรื่องราวดังกล่าวในคราวประชุมครั้งที่ 2/2540 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540 แล้ว มีมติให้วัดใหม่เวียงสวรรค์ดำเนินการจัดตั้งวัดก่อนโดยคณะอนุกรรมการดังกล่าวไม่ขัดข้องในการใช้พื้นที่หากได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดจากกระทรวงศึกษาธิการโดยถูกต้อง - ผลการตรวจสอบแนวเขตสำนักสงฆ์เวียงสวรรค์หรือวัดใหม่เวียงสวรรค์ พบว่า 1) พื้นที่สวนสาธารณะเดิม มีเนื้อที่ตามผังจัดสรรทั้งสิ้น 15-2-50 ไร่ 2) สำนักสงฆ์เวียงสวรรค์เคยได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการวางผังและการก่อสร้างที่จัดสรรฯ ให้ใช้พื้นที่ จำนวน 6 ไร่ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2540 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540 3) ปัจจุบันมีบางส่วนของที่สาธารณะอยู่ระหว่างดำเนินการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง โดยมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 1-3-20 ไร่ 4) วัดใหม่เวียงสวรรค์ได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินเกือบเต็มทั้งแปลง 5) กฟผ. และเทศบาลตำบลแม่เมาะได้ลงพื้นที่เพื่อทำแผนที่สังเขปโดยการกำหนดตำแหน่งจุดพิกัดตามระยะวงรอบที่ดินที่ครอบครองแล้วพบว่า มีขนาดพื้นที่ประมาณ 21-3-42.78 ไร่ (พื้นที่จริงมีเนื้อที่มากกว่าที่กำหนดไว้ในผังจัดสรร) ทั้งนี้ ยังไม่ได้มีการรังวัดตามหลักวิชาการแต่อย่างใด และ 6) ปรากฏสิ่งปลูกสร้าง จำนวน 14 หลัง เช่น ศาลาการเปรียญ ห้องน้ำ กุฏิ วิหาร รูปปั้นพระแม่กวนอิม ศาลาธรรมสังเวช ศาลาโรงครัว ศาลาหอระฆัง และศาลาเก็บของ 2.3 รายงานสรุปความคืบหน้ากรณีไม่ได้ออกเอกสารสิทธิ (โฉนดที่ดิน) จำนวน 10 ราย (แปลง) ดังนี้ ชื่อ-สกุล สถานะ 1. นายสมนึก เครือบุญมา (เสียชีวิต) มีทายาทครอบครองอยู่ 2. นายแก้ว ปันจักร์ (เสียชีวิต) เชื่อได้ว่าซื้อขายแล้ว ผู้ซื้อไม่แสดงตัว 3. พันเอก อดุลย์ คำขัด (เสียชีวิต) เชื่อได้ว่าซื้อขายแล้ว ผู้ซื้อไม่แสดงตัว 4. นายขัน เทพปินตา (เสียชีวิต) มีทายาทครอบครองอยู่ 5. นายสุจิตร์ เขียวโสด เชื่อได้ว่าซื้อขายแล้ว ผู้ซื้อไม่แสดงตัว 6. นายสุนทร สัจจวะทีกุล (เสียชีวิต) เชื่อได้ว่าซื้อขายแล้ว ผู้ซื้อไม่แสดงตัว 7. นายวศิน เสริมษมา (เสียชีวิต) ไม่มีข้อมูลทางทะเบียนราษฎร 8. นายดิเรกชัย ขัตติวงศ์ เชื่อได้ว่าซื้อขายแล้ว ผู้ครอบครองคือ นางวนิดา ชุณหะ 9. นางสาวปราณี ตระกูลสันติชัย เชื่อได้ว่าซื้อขายแล้ว ผู้ซื้อไม่แสดงตัว 10. นางฟองแก้ว จันตภัยโรจน์ (เสียชีวิต) เชื่อได้ว่าซื้อขายแล้ว ผู้ครอบครองคือ นางจุฬาลักษณ์ ศักดิ์สงค์ ทั้งนี้ อำเภอแม่เมาะได้แจ้งแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อราษฎรผู้มีสิทธิออกโฉนดที่ดินด้วยแล้ว รวมทั้งที่ประชุมคณะกรรมการติดตามฯ มีมติ ดังนี้ (1) กรณีที่ยังไม่ได้มีการออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ครอบครองต่อเนื่อง จากผู้ที่มีสิทธิจำนวน 10 ราย มอบหมายให้ กฟผ. ร่วมกับอำเภอแม่เมาะประชาสัมพันธ์ปิดประกาศในพื้นที่แปลงดังกล่าว และทำความเข้าใจกับผู้ครอบครองปัจจุบันให้ทราบถึงหลักเกณฑ์การพิจารณาตามประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ผู้มีสิทธิได้รับเอกสารสิทธิตามประกาศคณะกรรมการพิจารณาชี้ขาดสิทธิการครอบครองที่ดินในการออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง รวมทั้งแนวทางการดำเนินการต่อเนื่องตามข้อกฎหมายด้วย และ (2) กรณีการแก้ไขปัญหาการบุกรุก มอบหมายให้คณะอนุกรรมการจัดทำข้อมูลฯ และคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ โดยประสานงานกับจังหวัดลำปางพิจารณากำหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงว่าง ว่าพื้นที่ใดหรือแปลงใดควรกำหนดให้มีการขึ้นทะเบียนเป็นที่ดินของรัฐประเภทใด เช่น ที่ราชพัสดุ หรือที่สาธารณประโยชน์ 3. ในคราวประชุมคณะกรรมการติดตามฯ ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 จังหวัดลำปางได้รายงานสรุปผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาการออกเอกสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการติดตามฯ ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2565 มีผลการดำเนินการสรุปได้ ดังนี้ ประเด็น ผลการดำเนินการ/สาระสำคัญ/มติที่ประชุม (1) กรณีมีราษฎรผู้ครอบครองที่ดินรองรับการอพยพครั้งที่ 1-4 ยังมิได้ดำเนินการออกเอกสารสิทธิ จำนวน 10 ราย อำเภอแม่เมาะได้ดำเนินการจัดทำประกาศ เรื่อง ขอให้ผู้ครอบครองที่ดินมาแสดงตน เพื่อดำเนินการรังวัดออกโฉนดที่ดิน ลงวันที่ 30 กันยายน2565 โดยมีผลการดำเนินการ ดังนี้ 1) ผู้มาแสดงตนและได้ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ จำนวน 7 ราย ได้แก่ (1) นายสมนึก เครือบุญมา (เสียชีวิต) ผู้ครอบครองคนปัจจุบัน คือ นางอำพร คชบุตร และนายดนัย บุญสารวัง ได้ที่ดินมาโดยการซื้อและมีหลักฐานการซื้อขายที่ดิน (2) นายแก้ว ปันจักร์ (เสียชีวิต) ผู้ครอบครองคนปัจจุบัน คือ นายวุธพล ตันติอำไพ ได้ที่ดินมาโดยการซื้อขายมีหลักฐาน โดยซื้อจากผู้เสียชีวิต มีพยานบุคคล (3) พันเอก อดุลย์ คำขัด (เสียชีวิต) ผู้ครอบครองคนปัจจุบัน คือ นางปรีดาทิพย์ อำพนธ์ เป็นผู้จัดการมรดกของพันเอก อดุลย์ คำขัด (4) นายขัน เทพปินตา (เสียชีวิต) ผู้ครอบครองคนปัจจุบัน คือ นายสมบูรณ์ เทพปินตา เป็นบุตร (5) นายสุจิตร์ เขียวโสด ผู้ครอบครองคนปัจจุบัน คือ นายสมหวัง เครือบุญมา ได้ที่ดินมาโดยการซื้อขายแต่ไม่มีหลักฐานการซื้อขายที่ดิน (6) นายดิเรกชัย ขัตติวงศ์ ผู้ครอบครองคนปัจจุบัน คือ นางสาววิไล วงค์แก้วมูล ไม่ปรากฏหลักฐานการได้มา และ (7) นางฟองแก้ว จันตภัยโรจน์ ผู้ครอบครองคนปัจจุบัน คือ นายสมาน ปิดกันภัย มีเอกสารหลักฐานการซื้อขายที่ดิน ทั้งนี้ อำเภอแม่เมาะได้แจ้งให้ผู้ครอบครองทั้ง 7 ราย ดำเนินการเพื่อออกเอกสารสิทธิต่อไปแล้ว โดยให้ดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณาชี้ขาดสิทธิ และให้ กฟผ. จัดทำแผนที่แสดงตำแหน่งทั้ง 7 แปลง ในระวางแผนที่มาตราส่วน 1 : 4000 และแจ้งข้อมูลให้สำนักงานที่ดินจังหวัดลำปาง หรือศูนย์อำนวยการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน เพื่อดำเนินการในเรื่องการออกโฉนดที่ดินต่อไป 2) ไม่มาแสดงตนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำนวน 3 ราย ได้แก่ (1) นายสุนทร สัจจวะทีกุล เสียชีวิตแล้วและมีทายาท คือ นางสาวมณฑาทิพย์ บูระผลิต (บุตร) (2) นายวศิน เสริมษมา เสียชีวิตแล้วและมีทายาท คือ นางสาวมัลลิกา เธียรปรีชา (บุตร) และ (3) นางสาวปราณี ตระกูลสันติชัย ซึ่งอำเภอแม่เมาะได้แจ้งทายาทและผู้ครอบครองทั้ง 3 ราย ทางไปรษณีย์ เพื่อลงทะเบียนตอบรับในการให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว แต่ราษฎรมิได้มีการติดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด ทั้งนี้ ให้อำเภอแม่เมาะพิจารณาสอบสวนผู้ทำประโยชน์ในที่ดินให้ได้ความชัดเจนและมีหนังสือแจ้งราษฎรทั้ง 3 ราย พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลา 30 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือเพื่อให้ยืนยันความประสงค์ (2) กรณีการครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงว่าง อำเภอแม่เมาะได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2565 ที่ประชุมมีมติ ดังนี้ 1) กรณีที่ส่วนราชการได้เข้าใช้ประโยชน์ในที่ดิน โดยมีการตั้งสำนักราชการบ้านเมืองแล้ว อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวถือว่าเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินโดยเฉพาะ ให้ดำเนินการขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุโดยมีธนารักษ์เป็นผู้ดูแล 2) กรณีที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่ประชาชนได้เข้าไปใช้ประโยชน์ร่วมกัน ให้ขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณประโยชน์ และขอรังวัดออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง โดยให้นายอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นผู้ดูแลร่วมกัน ตามมาตรา 122 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2497 3) กรณีที่ดินนอกเหนือจากข้อ 1) และ 2) ให้ อปท. ดำเนินการจัดหาผลประโยชน์ในที่ดินของรัฐตามมาตรา 11 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยอำเภอแม่เมาะจะประสาน อปท. เพื่อจำแนกประเภทของที่ดินที่จะนำมาจัดหาผลประโยชน์และแจ้งความประสงค์ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง พร้อมทั้งจะเสนอโครงการจัดหาผลประโยชน์ในคราวเดียวกัน รวมทั้งการเสนอแนวทางเพื่อกำหนดสถานะหรือการบริหารจัดการของที่ดินแปลงว่างดังกล่าว ให้ดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน โดยให้จังหวัดเป็นผู้ดูแล (3) กรณีขอจัดตั้งสำนักสงฆ์ใหม่มงคล กำนันตำบลแม่เมาะ (นายไพรัตน์ เมืองดี) ได้แจ้งสำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดลำปาง เพื่อพิจารณาตั้งเป็นวัดใหม่มงคลแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ ทั้งนี้ หากไม่ได้เป็นผู้ได้รับผลกระทบ การขอตั้งสำนักสงฆ์/วัด ในผังที่กำหนดให้เป็นที่ดินแปลงว่างนั้น จังหวัดควรพิจารณาเสนอขอให้กำหนดที่ดินแปลงว่างเป็นที่ราชพัสดุ เพื่อให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ขออนุญาตใช้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ตั้งสำนักสงฆ์หรือวัด โดยดำเนินการตามกฎหมายที่ราชพัสดุและกฎหมายคณะสงฆ์หรือดำเนินการจัดให้เช่าตามมาตรา 10 และ 11 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินโดยให้จังหวัดเป็นผู้ดูแล (4) กรณีขอจัดตั้งสำนักสงฆ์เวียงสวรรค์ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง - จากการรังวัดตรวจสอบพื้นที่บริเวณสำนักสงฆ์เวียงสวรรค์ ผลการรังวัดปรากฏว่าเป็นพื้นที่ของสำนักสงฆ์เวียงสวรรค์ เนื้อที่ 14-0-17 ไร่ โดยเป็นที่สาธารณประโยชน์ (สระน้ำ) เนื้อที่ 7-2-27 ไร่ และเป็นประปาหมู่บ้านเวียงสวรรค์ เนื้อที่ 0-1-48 ไร่ การใช้ที่ดินตั้งสำนักสงฆ์/วัด ที่ได้รับผลกระทบในผังที่กำหนดให้เป็นที่สาธารณประโยชน์นั้นมีแนวทางที่จะสามารถดำเนินการได้อย่างชัดเจน คือ จังหวัดควรพิจารณาเสนอขอเปลี่ยนตำแหน่งแปลงที่ได้มีการจัดสรรให้ และหากเห็นว่าเป็นการใช้พื้นที่เกินกว่าที่ได้รับการจัดสรร พื้นที่ส่วนที่เกินสามารถพิจารณาให้เป็นที่ราชพัสดุ เพื่อให้ พศ. ขออนุญาตใช้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ตั้งสำนักสงฆ์หรือวัด โดยดำเนินการตามกฎหมายที่ราชพัสดุและกฎหมายคณะสงฆ์ หรือดำเนินการจัดให้เช่าตามมาตรา 10 และ 11 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยให้จังหวัดเป็นผู้ดูแล - เดิมสำนักสงฆ์เวียงสวรรค์อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและมีการกำหนดตำแหน่งไว้ในผังจัดสรรรองรับการอพยพ บริเวณหมู่ที่ 9 ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เนื้อที่ประมาณ 1-0-86 ไร่ ซึ่งปัจจุบันมีประชาชนเข้าไปครอบครองทำประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าว ทั้งนี้ ให้จังหวัดเป็นผู้ดูแลและพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง (5) กรณีอื่น ๆ นอกเหนือจากกรณีข้างต้น ให้จังหวัดเป็นผู้ดูแลและพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ต่างประเทศ 10. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-รัสเซีย ครั้งที่ 8 และกิจกรรมคู่ขนาน คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-รัสเซีย ครั้งที่ 8 และกิจกรรมคู่ขนาน และพิจารณามอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรกตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ และให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และข้อสังเกตของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง กต. รายงานว่า 1. เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2566 รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาภูมิภาคตะวันออกไกลและอาร์กติก สหพันธรัฐรัสเซีย (นายอะเล็กเซย์ เชคุนคอฟ) เป็นประธานร่วมการประชุมฯ ณ กต. โดยที่ประชุมให้ความสำคัญกับการรักษาพลวัตและต่อยอดความร่วมมือไทย-รัสเซียในสาขาต่าง ๆ เช่น การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน พลังงาน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม การเกษตร การประมง การศึกษา วัฒนธรรม กีฬา คมนาคม การท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข และการคุ้มครองผู้บริโภค สรุปได้ ดังนี้ 1.1 ผลการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้ ประเด็น สาระสำคัญ/ผลการประชุมฯ (1) การค้าและการลงทุน ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้เพิ่มมูลค่าการค้าให้เท่ากับระดับก่อนการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และเห็นพ้องให้ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนการลงทุนระหว่างกันมากขึ้น โดยเฉพาะในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ของไทย และในเขตเศรษฐกิจระหว่างประเทศ(International Economic Zones: IEZ) ในภูมิภาคตะวันออกไกลของรัสเซีย (2) การเกษตร ทั้งสองฝ่ายหารือเกี่ยวกับการเพิ่มการส่งออกสินค้าเกษตรไทยไปยังรัสเซียและสินค้าปศุสัตว์ของรัสเชียมายังไทย โดยคำนึงถึงมาตรฐานและความปลอดภัยของสินค้าดังกล่าว และได้หารือเกี่ยวกับแนวทางการลดมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี โดยเฉพาะสินค้าประมงของไทย (3) พลังงาน ทั้งสองฝ่ายหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการจัดหาพลังงานจากรัสเซีย และส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานสะอาด และการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาตามโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green (BCG) Economy] ของไทย (4) การศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้ส่งเสริมความร่วมมือและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในสาขาต่าง ๆ ทั้งในระดับระหว่างสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัย กระทรวง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (5) วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ทั้งสองฝ่ายเน้นย้ำความสำคัญของความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวซึ่งจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ในระดับประชาชนต่อประชาชน และเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ รวมถึงแสวงหาโอกาสในความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งจะเป็นความร่วมมือสาขาใหม่ระหว่างไทยกับรัสเซีย 1.2. ภายหลังการประชุมฯ ประธานร่วมทั้งสองฝ่ายได้ร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ โดยไม่มีการลงนาม1 และร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลศึกษาและการกีฬาระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการกีฬาแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย 1.3 กิจกรรมคู่ขนาน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) ได้พบหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาภูมิภาคตะวันออกไกลและอาร์กติก สหพันธรัฐรัสเซีย (นายอะเล็กเซย์ เชคุนคอฟ) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในด้านการค้า การลงทุน การเกษตร พลังงาน การคมนาคม การขนส่งสินค้า และการท่องเที่ยว รวมถึงเน้นย้ำความประสงค์ของไทยในการเริ่มต้นกระบวนการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย (Eurasian Economic Union: EAEU) ซึ่งมีรัสเซียเป็นสมาชิกหลัก นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกล่าวเปิดงานสัมมนาหัวข้อ ?Russian Far East and Arctic-Exploring New Perspectives and Opportunities? ซึ่งจัดโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยร่วมกับบริษัท Russian Far East and Arctic Development and Cooperation ของรัสเซียเพื่อเปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจทั้งสองฝ่ายรู้จักกันมากขึ้นและแสวงหาโอกาสความร่วมมือในการดำเนินธุรกิจระหว่างกัน 2. กต. พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลการประชุมฯ มีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับส่วนราชการต่าง ๆ เช่น ด้าน การดำเนินการที่สำคัญ เช่น หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น (1) เศรษฐกิจการค้าและการลงทุน การเพิ่มมูลค่าการค้าสองฝ่ายให้เท่าช่วงก่อนโรคโควิด-19 - จัดประชุมคณะอนุกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการค้าและเศรษฐกิจ ครั้งที่ 5 - ส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางและยางพาราของไทยไปยังรัสเชีย กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาธุรกิจไทย-รัสเซีย การส่งเสริมการลงทุน - เชิญชวนให้รัสเซียลงทุนใน EEC และใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย - ฝ่ายรัสเซียเชิญชวนให้ฝ่ายไทยลงทุนใน IEZ ในภูมิภาคตะวันออกไกลของรัสเซีย ในอุตสาหกรรมการเกษตร เหมืองแร่ และการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) (2) อุตสาหกรรม การส่งเสริมความร่วมมือในภาคอุตสาหกรรม ผลักดันความร่วมมือตามผลการประชุมคณะทำงานว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2566 ผ่านระบบการประชุมทางไกล กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) แร่ใยหินไครโซไทล์ ผลักดันความร่วมมือตามผลการประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อตรวจสอบผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์และจัดทำข้อเสนอแนะการใช้แร่ใยหินและผลิตภัณฑ์อย่างปลอดภัย ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 อก. (3) พลังงาน พลังงานสะอาด ความร่วมมือด้านพลังงานสะอาดและโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดกับบริษัท Power Machines JSC บริษัท RusHydro Group บริษัท Unigreen Energy บริษัท Technopromexport Engineering และบริษัท Rosseti ของรัสเซีย กระทรวงพลังงาน (พน.) การใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ - จัดการประชุมคณะทำงานร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการใช้พลังงานปรมาณูในทางสันติไทย-รัสเซียในปี 2566 ที่ประเทศไทยหรือผ่านระบบการประชุมทางไกล - พัฒนาความร่วมมือโดยตรงระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี - เร่งรัดโครงการก่อสร้างศูนย์ไซโคลตรอน ที่จังหวัดนครนายกให้แล้วเสร็จ พน. (4) วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม - เจรจาจัดทำความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรมระหว่างรัฐบาลไทย-รัสเซีย - เจรจาจัดทำเอกสารโครงการความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และวิชาการ ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรม (อว) กับ อว. รัสเซีย ระหว่างปี 2566-2570 - ร่วมจัดการแข่งขันโครงการวิจัยในสาขาต่าง ๆ ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี อว. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดำเนินความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมและระบบเศรษฐกิจสู่ยุคดิจิทัล การกำกับดูแลกิจการดาวเทียมและการสำรวจข้อมูลระยะไกล อุตสาหกรรม Internet of Things2 เทคโนโลยีการระบุตัวตนด้วยข้อมูลชีวภาพ ระบบการจดจำใบหน้า ความมั่นคงทางสารสนเทศ และนวัตกรรมอื่น ๆ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (5) การเกษตรและการประมง การส่งเสริมการส่งออกผลผลิตทางการเกษตร - เร่งรัดการให้ความเห็นชอบสินค้าปศุสัตว์รัสเซียเพื่อส่งออกมาไทย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์สุกร (ภายใน 6 เดือน) ผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก และอาหารสัตว์ - เร่งรัดการให้ความเห็นชอบร่างใบรับรองสุขอนามัยของผลิตภัณฑ์เพื่อส่งออกจากรัสเซียมาไทย เช่น อาหารสัตว์ และวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) สินค้าประมง - เร่งรัดให้ฝ่ายรัสเซียยกเลิกมาตรการกีดกันสินค้าประงของไทย โดยขอให้ฝ่ายรัสเซียแจ้งผลการพิจารณา ภายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 - ความร่วมมือด้านการป้องกันการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม เช่น หารือระหว่างกรมประมงกับหน่วยงานด้านการประมงของรัสเซียในห้วงการประชุมคณะอนุกรรมาธิการว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตรไทย-รัสเซีย กษ. (6) การศึกษา วัฒนธรรม และกีฬา การจัดทำความตกลงด้านการศึกษา การเจรจาจัดทำความตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมกันในการศึกษาคุณวุฒิและปริญญาระหว่างรัฐบาลไทย-รัสเซีย อว.และกระทรวงศึกษาธิการ ความร่วมมือด้านวัฒนธรรม - แสวงหาโอกาสความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม วัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ใน 5 มิติ ได้แก่ อาหาร ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ การออกแบบแฟชั่นไทย ศิลปะการต่อสู้ และเทศกาลประเพณีไทย - ผลักดันให้ปี 2567 เป็นปีแห่งการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวไทย-รัสเซีย ตามข้อริเริ่มของฝ่ายรัสเซีย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) และกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) (7) คมนาคม การบิน จัดการหารือระหว่างหน่วยงานด้านการบินของไทยกับรัสเซียเพื่อเพิ่มจำนวนเที่ยวบินให้เท่าช่วงก่อนโรคโควิด-19 และพัฒนาความร่วมมือด้านการบินระหว่างกัน กระทรวงคมนาคม (คค.) และสำนักงานการบินผลเรือนแห่งประเทศไทย คมนาคม และโครงสร้างพื้นฐาน ดำเนินความร่วมมือด้านความปลอดภัยในการเดินเรือ ระบบเดินเรืออัตโนมัติ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ คค. (8) การท่องเที่ยว - ส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ผ่านการจัดประชุมคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวไทย-รัสเซีย การอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยว การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และการเข้าร่วมนิทรรศการส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างกัน - ฝ่ายรัสเซียเสนอจัดทำโครงการปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว สำหรับปี 2566-2568ระหว่าง กก. กับกระทรวงการพัฒนาเศรษฐกิจรัสเซีย กก. (9) สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมความร่วมมือด้านการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการจัดการทรัพยากรน้ำ ป่าไม้ ขยะ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านกรอบการประชุมคณะทำงานว่าด้วยการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมไทย-รัสเซีย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ฝ่ายรัสเซียเสนอจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทส. (10) สาธารณสุข - ส่งเสริมและขยายความร่วมมือด้านสาธารณสุขทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี - ความร่วมมือในการอบรมผู้เชี่ยวชาญด้านการบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) (11) การจัดทำความตกลงที่คั่งค้าง3 - สนธิสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักไทยกับรัฐบาลแห่งสหพันธรัฐรัสเซียว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน - ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลสหพันธรัฐรัสเซียว่าด้วยความร่วมมือการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ - ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการจัดหายุทโธปกรณ์รัสเซียโดยการค้าต่างตอบแทนกับสินค้าส่งออกของไทย กระทรวงกลาโหม (กห.) กต. พน. พณ. สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) 3. เรื่องดังกล่าวไม่เข้าข่ายมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เนื่องจากไม่มีกรณีที่ต้องดำเนินการโดยใช้งบประมาณ และมีการตั้งงบประมาณในการดำเนินการไว้แล้วในงบประมาณรายจ่ายประจำปี รวมทั้งมิได้เป็นหนังสือสัญญาที่มีผลผูกพันตามกฎหมายระหว่างประเทศตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 1จากการประสานข้อมูลเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566 กต. แจ้งว่า มีแก้ไขเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ ในบางถ้อยคำแต่ไม่ใช่ส่วนที่เป็นสาระสำคัญ และไม่ขัดต่อหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2566 เช่น มีการปรับแก้ไขร่างเอกสารผลลัพธ์ข้อ 49 เดิม เป็น ข้อ 66 ใหม่ โดยมีการเพิ่มการกำหนดกรอบเวลาในข้อนี้เพื่อให้มีความชัดเจนขึ้น 2คือ การเชื่อมต่อเครื่องจักรและระบบอุตสาหกรรมเข้ากับอินเทอร์เน็ตเพื่อนำข้อมูลมาใช้เฝ้าดู ประมวล และวิเคราะห์ผลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มผลผลิต และลดค่าใช้จ่าย 3รายชื่อความตกลงที่คั่งค้างปรากฏตามภาคผนวก 4 ของเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ 11. เรื่อง ร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2566 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2566 (APEC 2023 Women and the Economy Statement) โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ไช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก รวมทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ให้การรับรองร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2566 (APEC 2023 Women and the Economy Statement) ในวันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม 2566 ณ นครซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกาตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ สาระสำคัญ 1. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สรุปสาระสำคัญของร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2566 (APEC 2023 Women and the Economy Statement) ดังนี้ 1) การนำประเด็นทางเพศเข้าสู่กระแสหลักการทำงาน การระบุอุปสรรคที่ขัดขวางการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจอย่างเต็มรูปแบบของสตรี การส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของสตรี การเข้าถึงตลาด การเสริมสร้างขีดความสามารถและการพัฒนาทักษะและความเป็นผู้นำของสตรี การจัดทำโครงสร้างพื้นฐานด้านงานดูแล การลดช่องว่างระหว่างเพศทางด้านดิจิทัล การระบุถึงความเชื่อมโยงของความเท่าเทียมระหว่างเพศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสร้างสังคมที่มีความยืดหยุ่น และการส่งเสริมความเท่าเทียมและความเสมอภาคในห่วงโซ่คุณค่าโลก การสนับสนุนเป้าหมายของแผนลา เซเรนา เพื่อสตรีและการเจริญเติบโตที่ครอบคลุม ในการกระตุ้นนโยบายทั่วทั้งเขตเศรษฐกิจเอเปค ซึ่งจะนำไปสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาด้านความครอบคลุมทางเศรษฐกิจและการมีส่วนร่วมของสตรีและเด็กหญิงในทุกภูมิหลังทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 2) การสนับสนุนประเด็นสำคัญของเขตเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาในปีเจ้าภาพซึ่งประกอบด้วย ความเชื่อมโยง ความเป็นนวัตกรรม และความครอบคลุม การระลึกถึงการครบรอบ 13 ปี ของปฏิญญาซานฟรานซิสโกในการประชุมเชิงนโยบายระดับสูงด้านสตรีและเศรษฐกิจ เมื่อปี 2554 ณ เมืองซาน ฟรานซิสโก วิสัยทัศน์ปุตราจายา ค.ศ. 2040 แผนปฏิบัติการอาโอทีอาโรอา แผน ลา เซเรนาเพื่อสตรีและการเจริญเติบโตที่ครอบคลุม รวมถึงเป้าหมายกรุงเทพว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว การยืนยันความมุ่งมั่นในการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยการสนับสนุนการมีส่วนร่วมอย่างเต็มรูปแบบของสตรีในระบบเศรษฐกิจ 2. การรับรองร่างถ้อยแถลงดังกล่าวเป็นการดำเนินงานตามแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2566 ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งไม่เป็นการกระทำอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ตามมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 โดยถือปฏิบัติตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0503/ว 125 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2566 12. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 29 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 29 โดยหากมีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไข ปรับปรุงถ้อยแถลงรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 29 ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทยก่อนการรับรอง อนุมัติให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง รวมทั้งอนุมัติให้นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นผู้รับรองถ้อยแถลงรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 29 ในการประชุมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 29 ตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เสนอ สาระสำคัญ 1. การประชุมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 29 ประกอบด้วยการประชุมที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1) การประชุมร่วมระหว่างการประชุมระดับสูงสำหรับผู้กำหนดนโยบายด้านสตรีและเศรษฐกิจ (High Level Policy Dialogue on Women and the Economy) และการประชุมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อมุ่งเน้นการดำเนินงานตามแนวทางขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการลาเซรนาเพื่อสตรีและการเจริญเติบโตที่ครอบคลุม มีกำหนดจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม 2566 เวลา 14.30 ? 17.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) ณ โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ซีแอตเทิล 2) การประชุมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปคภายใต้หัวข้อ ?สร้างอนาคตที่พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงและยั่งยืนสำหรับทุกคน? (Creating a Resilient and Sustainable Future for All) ซึ่งเป็นหัวข้อหลักของการเป็นเจ้าภาพการประชุมอเปคปี 2566 โดยมีประเด็นสำคัญ (Priorities) 3 ด้าน ได้แก่ เชื่อมโยง สร้างสรรค์ และครอบคลุม (Interconnected, Innovative, and Inclusive) มีกำหนดจัดขึ้น ในวันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม 2566 เวลา 09.30 ? 17.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) ณ โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ ซีแอตเทิล 2. ถ้อยแถลงรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 29 จะเป็นผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมของการประชุมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปคในปีนี้ โดยมีเนื้อหาเพื่อสร้างอนาคตที่พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงและยั่งยืนสำหรับทุกคน และความสำคัญของการสร้างเส้นทางสู่การเติโตหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงการบูรณาการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้ากับห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่คุณค่าระดับโลก ตลอดจนเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่เศรษฐกิจสีเขียวของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 13. เรื่อง การร่วมรับรองและให้ความเห็นชอบเอกสารผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจสำหรับการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) การประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารทั้ง 14 ฉบับ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำในร่างเอกสารดังกล่าว ที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก 2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสาร 2 ฉบับ (ในข้อ 2.8 และ 2.14) และให้ความเห็นชอบร่างเอกสาร 11 ฉบับ (ในข้อ 2.1, 2.3 ? 2.7, 2.9, 2.10 ? 2.13) ในฐานะรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) 3. ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสาร 2 ฉบับ (ในข้อ 2.1 และ 2.6) และให้ความเห็นชอบร่างเอกสาร 4 ฉบับ (ในข้อ 2.2, 2.3 ? 2.5) ในฐานะคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) 4. ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสาร 2 ฉบับ (ในข้อ 2.2 และ 2.5) ในฐานะผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) สาระสำคัญของเรื่อง 1. สาธารณรัฐอินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียนปี 2566 มีกำหนดจัดการประชุม ดังนี้ 1.1 การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 55 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 17 - 22 สิงหาคม 2566 ณ เมืองเซอมารัง สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยในระหว่างการประชุมดังกล่าว รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งในส่วนของไทย คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย จะมีการรับรองเอกสารผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจ จำนวน 2 ฉบับ และให้ความเห็นชอบ จำนวน 11 ฉบับ รวมเอกสารทั้งหมด 13 ฉบับ 1.2 การประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 23 ระหว่างวันที่ 2 - 3 กันยายน 2566 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยในระหว่างการประชุมดังกล่าวรองนายกรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งในส่วนของไทย คือ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย จะมีการรับรองเอกสารผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจ จำนวน 2 ฉบับ และให้ความเห็นชอบ จำนวน 4 ฉบับ รวมเอกสารทั้งหมด 6 ฉบับ 1.3 การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 43 ระหว่างวันที่ 4 - 7 กันยายน 2566 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยในระหว่างการประชุมดังกล่าว ผู้นำอาเซียนจะพิจารณาเอกสารผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจที่ AEC Council ให้ความเห็นชอบและเสนอให้ผู้นำรับรอง จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างกรอบความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภาคทะเลของอาเซียน (ASEAN Blue Economy Framework) และร่างแถลงการณ์ผู้นำว่าด้วยการจัดทำกรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน (Leaders? Statement on the Development of the ASEAN Digital Economy Framework Agreement (DEFA)) 2. กระทรวงพาณิชย์ขอเสนอเอกสารผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจ จำนวน 14 ฉบับ ที่จะมีการรับรองและให้ความเห็นชอบ ในระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) คณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) และผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 2.1 ร่างยุทธศาสตร์อาเซียนเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน (Development of ASEAN Strategy for Carbon Neutrality) เป็นการกำหนดแนวทางเพื่อสนับสนุนการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนของอาเซียน 2.2 ร่างกรอบความร่ามมือด้านเศรษฐกิจภาคทะเลของอาเซียน (ASEAN Blue Economy Framework) เป็นแนวทางในการพัฒนาเศษฐกิจภาคทะเลของอาเซียนที่ยั่งยืน และเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาค 2.3 ร่างรายงานการศึกษากรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน (Study on the ASEAN Digital Economy Framework Agreement (DEFA)) เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำกรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน (DEFA) โดยผลการศึกษาไม่มีข้อผูกพันทางกฎหมายและไม่ยึดโยงใด ๆ กับข้อตัดสินใจระหว่างการเจรจา 2.4 ร่างกรอบสำหรับการเจรจากรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน (Framework for Negotiating the ASEAN Digital Economy Framework Agreement) เป็นเอกสารที่ กำหนดวัตถุประสงค์หลักการ และประเด็นที่อาจพิจารณานำมาบรรจุไว้ในกรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน 2.5 ร่างแกลงการณ์ผู้นำว่าด้ายการจัดทำกรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน (Leaders? Statement on the Development of the ASEAN Digital Economy Framework Agreement (DEFA) เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ของผู้นำเพื่อเริ่มการเจรจากรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียนอย่างเป็นทางการ 2.6 ร่างปฏิณญารัฐมนตรีว่าด้วยกรอบการดำเนินงานสำหรับโครงการพื้นฐานด้านอุตสาหกรรม (Ministerial Declaration on the Framework for ASEAN Industrial Projects Based Initiative เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนที่ะร่วมกันดำเนินการ (1) ส่งเสริมการเติบโตของเครือข่ายการผลิตใหม่และห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่น (2) เสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว (3) เร่งรัดและสร้างความยั่งยืนในการสร้างเศรษฐกิจใหม่ภายหลังโควิด-19 (4) ยกระดับการค้าและการลงทุนภายในอาเซียน และ (5) เพิ่มความเชื่อมโยงที่ลึกซึ้ง ความร่วมมือรายสาขา และข้อริเริ่มในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนที่กว้างขึ้น 2.7 ร่างแผนงานในการปรับมาตรฐานของอาเซียนเพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒณาที่ยั่งยืน (Roadmap of ASEAN Standard Harmonization to Support SDGs Implementation) เป็นเอกสารแนวทางการดำเนินการของคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านมาตรฐานและคุณภาพของอาเซียน (โดยมีสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก) และคณะทำงานรายสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นการดำเนินงานในการระบุมาตรฐาน ข้อกำหนด กฎระเบียบทางเทคนิค และเอกสารแนวทางของอาเซียนที่ปรับประสานกันแล้ว และมาตรฐานระหว่างประเทศที่สนับสนุนเป้าหมาย SDGs และสอดรับกับสาขาที่สำคัญของคณะกรรมการฯ 2.8 ร่างข้อริเริ่มอาเซียน-จีนในการเสริมสร้างความร่ามมือด้านพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ASEAN-China Initiative on Enhancing Cooperation on E-Commerce) เป็นเอกสารข้อริเริ่มที่จะเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและจีนในด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดช่องว่างด้านการพัฒนาทางดิจิทัลและขยายความร่วมมือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกัน 2.9 ร่างข้อริเริ่มการออกแบบอนาคตและแผนปฏิบัติการสำหรับการร่วมสร้างสรรค์ด้านนวัตกรรมและความยั่งยืนระหว่างอาเซียน - ญี่ปุ่น ค.ศ. 2023 - 2033 (Future Design and Action Plan for Innovative and Sustainable ASEAN-Japan Economic Co-Creation 2023-2033) เป็นเอกสารข้อริเริ่มที่กำหนดทิศทางความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น ในระยะ 10 ปี ให้แน่นแฟ้นและเป็นรูปธรรมากยิ่งขึ้น เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น ในปี 2566 ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ (1) การส่งเสริมความเข้มแข็งในการเชื่อมโยงไซเบอร์-กายภาพ (2) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์(3) การส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีไร้พรมแดน และ (4) การตระหนักถึงความยั่งยืน 2.10 ร่างขอบเขตหน้าที่ของคณะกรรมการร่วมความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน-อินเดีย (Terms of Reference of ASEAN-India Trade in Goods Agreement Joint Committee (AITIGA-JC)) เป็นการกำหนดขอบเขตหน้าที่และบทบาทของคณะกรรมการร่วมความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน-อินเดีย ในการทบทวนความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน-อินเดีย ซึ่งครอบคลุมขอบเขตการทำงาน องค์ประกอบของ AITIGA-JC การจัดตั้งคณะอนุกรรมการ กลไกการรายงานผล การจัดทำร่างความตกลง ความถี่ในการจัดการประชุม การตัดสินใจ ความช่วยเหลือด้านการเงิน การสนับสนุนจากสำนักเลขาธิการอาเซียน การจัดทำถ้อยแถลงเอกสารลับ และการแก้ไขเอกสารขอบเขต 2.11 ร่างแผนการดำเนินการสำหรับการเจรจาความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน-อินเดีย ปี ค.ศ. 2023 ? 2024 (Work Plan for ASEAN-India Trade in Goods Agreement Negotiations 2023 ? 2024) เป็นแผนการเจรจาความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน-อินเดีย ซึ่งได้กำหนดกรอบเวลาและกำหนดการประชุมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาทบทวนความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน-อินเดีย โดยตั้งเป้าจะสรุปผลการเจรจาในเดือนธันวาคม 2567 2.12 ร่างโครงสร้างการเจรจาที่เป็นไปได้สำหรับการทบทานความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน-อินเดีย (Possible Negotiating Structure for the Review of the ASEAN-India Trade in goods Agreement) เป็นโครงสร้างการเจรจาที่เป็นไปได้สำหรับการทบทวนความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน ? อินเดีย โดยได้กำหนดองค์ประกอบของคณะเจรจา ประกอบด้วยคณะกรรมการร่วม และคณะอนุกรรมการด้านต่าง ๆ จำนวน 8 คณะ ได้แก่ (1) การลดและยกเลิกภาษี (2) กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (3) มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (4) อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (5) การเยียวยาทางการค้า (6) พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า (7) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ และ (8) กฎหมาย 2.13 ร่างแผนการดำเนินงานภายใต้กรอบความตกลงด้านการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนกับสหรัฐอเมริกาและการขยายการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ ปี ค.ศ. 2023 - 2024 (2023-2024 ASEAN-U.S. Trade and Investment Framework Arrangement (TIFA) and Expanded Economic Engagement (E3) Workplan) เป็นแผนการดำเนินงานความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนและสหรัฐฯ ที่จัดทำขึ้นทุกปี เพื่อขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน โดยแผนการดำเนินงานฯ สำหรับปี 2566 - 2567 ครอบคลุมประเด็นสำคัญ อาทิ เศรษฐกิจดิจิทัล การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย การอำนวยความสะดวกทางการค้า ทรัพย์สินทางปัญญา ความยั่งยืน แนวปฏิบัติที่ดีด้านกฎระเบียบ แรงงาน และเกษตร ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่อไป 2.14 ร่างแผนงานด้านการค้าและการลงทุนอาเซียน-สหภาพยุโรป ปี ค.ศ. 2024 ? 2025 (ASEAN-EU Trade and Investment Work Programme 2024-2025) เป็นแผนงานด้านการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนและสหภาพยุโรป ในช่วง 2 ปี ระหว่างปี 2567 - 2568 ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรม 5 ส่วน ได้แก่ (1) การหารือระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (2) การหารือระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจ (3) การหารือภายใต้คณะทำงานร่วมด้านการค้าและการลงทุน (4) การหารือกับภาคเอกชน และ (5) การเสริมสร้างขีด ความสามารถและความช่วยเหลือด้านเทคนิค 3. ในการดำเนินการจัดทำเอกสารในข้อ 2 กระทรวงพาณิชย์ในฐานะหน่วยงานประสานงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้มีการประสาน ประชุม และสอบถามความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาตลอด โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีข้อขัดข้องต่อร่างเอกสารดังกล่าว ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และกระทรวงการต่างประเทศ (กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย) เห็นว่า โดยที่คณะรัฐมนตรีได้พ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 167 (2) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรา 168 และมาตรา 169 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ดังนั้น เมื่อร่างเอกสารจำนวน 14 ฉบับ ไม่เข้าลักษณะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การให้ความเห็นชอบต่อร่างเอกสารจำนวน 14 ฉบับดังกล่าว จึงไม่เข้าข่ายลักษณะเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ตามนัยมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสามารถเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบได้ อย่างไรก็ตาม หากร่างเอกสารทั้ง 14 ฉบับ ยังไม่ใช่ร่างสุดท้าย ในกรณีที่มีการปรับแก้ขอให้ส่วนราชการเจ้าของเรื่องพิจารณาให้ร่างสุดท้ายเป็นไปตามแนวทางที่เหมาะสม สอดคล้องกับนโยบายและผลประโยชน์ของไทย สามารถปฏิบัติได้ภายใต้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตลอดจนเป็นไปตามพันธกรณีของไทยภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการนี้ไว้แล้ว แต่งตั้ง 14. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) เสนอแต่งตั้ง นางสาวปนิษฐา บุรี ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้แทนสมาคมการแสดงสินค้า (ไทย) ในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ แทนนายประวิทย์ ศรีบัณฑิตมงคล กรรมการเดิมที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2566 เป็นต้นไป และให้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว 15. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอแต่งตั้ง นายกมลสิษฐ์ วงศ์บุตรน้อย ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง