สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 23 สิงหาคม 2566

ข่าวการเมือง Wednesday August 23, 2023 17:50 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (23 สิงหาคม 2566 )  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                       เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           การขยายระยะเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22                                         วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการ                                                  ประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562
                    2.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าน้ำตกพลิ้ว - เขาสระบาป                                                   บางส่วน ในท้องที่ตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี พ.ศ. ....
                    3.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 100 ปี

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พ.ศ. ....

                    4.           เรื่อง           ร่างระเบียบ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ใน                                                  คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ พ.ศ. ....
                    5.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา

ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันบัณฑิต

พัฒนศิลป์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

                    6.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าเชียงดาว ป่าแม่งัด

และป่าแม่แตง บางส่วนในท้องที่ตำบลบ้านเป้า และตำบลแม่หอพระ

อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ....

                    7.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง มาตรการคุ้มครอง                                        ทรัพยากรปะการังจากกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ พ.ศ. ....
                    8.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการส่ง                                                  สินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ 86) พ.ศ. 2541 พ.ศ. ....
                    9.           เรื่อง           การเร่งรัดออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่ง                                        พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของ                                        กฎหมาย พ.ศ. 2562

เศรษฐกิจ-สังคม

                    10.           เรื่อง           ผลการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ สมัยที่ 14

(Ramsar COP 14)

                    11.           เรื่อง           รายงานผลการดำเนินงานของระบบประกันภัยและพัฒนาการที่สำคัญรอบ

12 เดือน ปี 2565

                    12.           เรื่อง            รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนมิถุนายน และครึ่งแรกของ

ปี 2566

                    13.           เรื่อง           การพิจารณารับรองวัดคาทอลิก ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยแนวทาง                                        พิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2564
                    14.           เรื่อง           รายงานการประเมินผลการดำเนินงานและความคุ้มค่าในการจัดประชารัฐ                                                  สวัสดิการ ประจำปี พ.ศ. 2565 และรายงานการสำรวจความพึงพอใจในการจัด                                                  ประชารัฐสวัสดิการ จากผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและผู้ได้รับบริการทางสังคม                                                   ประจำปี พ.ศ. 2565

ต่างประเทศ

                    15.            เรื่อง           ขออนุมัติการลงนามในบันทึกความเข้าใจ ระหว่างศูนย์อำนวยการรักษา                                                  ผลประโยชน์ของชาติทางทะเลกับหน่วยยามฝั่งเวียดนาม ในความร่วมมือด้านการ                                        บังคับใช้กฎหมายทางทะเล
                    16.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบถ้อยแถลงของประธานการประชุมรัฐมนตรีขนส่งเอเปค

ครั้งที่ 11

                    17.           เรื่อง           (ร่าง) แถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการ                                        ประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพ                                                  ภูมิอากาศ สมัยที่ 28 (ASEAN Joint Statement on Climate Change to                                                   UNFCCC COP 28)
                    18.           เรื่อง           การรับรองร่างเอกสาร ASEAN-Japan New Environment Initiative ?Strategic                                         Program for ASEAN Climate and Environment (SPACE)? และร่างเอกสาร                                         ASEAN-U.S. Environment and Climate Work Plan
                    19.           เรื่อง           ร่างเอกสารสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 41 และการ                                                  ประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง
                    20.           เรื่อง           ร่างแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน (ASEAN                                                   Action Plan for Invasive Alien Species Management)
                    21.           เรื่อง           ความก้าวหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและ                                                  รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อ                                                  เชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย และผลการประชุม                                                            คณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย - จีน ครั้งที่ 30
                    22.           เรื่อง           ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการ                                                  ธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 10 และร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม                                                            รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอาเซียน                                         ครั้งที่ 1
                    23.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรี                                                  ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 30 (Joint Statement of the                                                   Thirtieth ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) Council)
                    24.           เรื่อง           การร่วมรับรองร่างปฏิญญาว่าด้วยการส่งเสริมรูปแบบธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานราก                                         : ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยเพื่อการเติบโตอย่าง
                                        เท่าเทียม (Declaration on Promoting Inclusive Business Models :                                                   Empowering Micro, Small and Medium Enterprises for Equitable                                                   Growth)
                    25.           เรื่อง           การร่วมรับรองเอกสารแผนปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานรากใน                                        อาเซียน (2566 - 2570) [Plan of Action for the Promotion of Inclusive                                         Business in ASEAN (2023 - 2027)]
                    26.           เรื่อง           กรอบท่าทีประเทศไทยสำหรับการประชุมสมัชชากองทุนสิ่งแวดล้อมโลก ครั้งที่ 7
                    27.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมสุดยอดอาเซียน

ครั้งที่ 43 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง

แต่งตั้ง
                    28.           เรื่อง           การปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐ
                    29.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงแรงงาน)
                    30.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ  (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    31.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ  (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    32.           เรื่อง           การสรรหาบุคคลเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการ                                        ทุจริตในภาครัฐแทนตำแหน่งที่ว่างลง






















กฎหมาย
1. เรื่อง การขยายระยะเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22 วรรคสอง                  แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอดังนี้
                    1. ให้ขยายระยะเวลาในการออกกฎ ซึ่งออกตามความในมาตรา 6 ประกอบมาตรา 44                          แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 ออกไป               อีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566
                    2. ให้ขยายระยะเวลาในการออกกฎ ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 มาตรา 24 วรรคสาม และ          มาตรา 41 (2) แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่                             27 พฤศจิกายน 2566
                    ทั้งนี้ มท. เสนอว่า
                    1. เนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (28 กุมภาพันธ์ 2566) ให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงาน                    เร่งตรวจสอบกฎหมายในความรับผิดชอบของตนซึ่งมีผลใช้บังคับก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 ที่เข้าข่ายเป็นกรณีตามมาตรา 221 แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย                พ.ศ. 2562 และเร่งดำเนินการจัดทำกฎหรือดำเนินการนั้น ภายในขอบเขตหน้าที่และอำนาจให้แล้วเสร็จไม่เกินวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 กรณีที่ไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จครบถ้วนได้ทันภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566                      ให้พิจารณาเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาออกไปอีก 1 ปี ตามมาตรา 22 วรรคสอง                             แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยให้ระบุเหตุผลความจำเป็นของการขอขยายระยะเวลาดังกล่าวประกอบด้วย
                    2. โดยที่กฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของ มท. ได้แก่ พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 และพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม                    พ.ศ. 2524 เป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ ใช้บังคับ (ก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562) โดยพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับข้างต้นจะครบกำหนดระยะเวลาการออกกฎหรือดำเนินการตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวในวันที่  27 พฤศจิกายน 2566 แต่เนื่องจากปัจจุบัน มท. (กรมการปกครอง) มีกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบเป็นจำนวนมาก จึงต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจพิเคราะห์บทบัญญัติของกฎหมายและสาระสำคัญของกฎหมายฉบับต่าง ๆ                      ว่าบทบัญญัติใดมีลักษณะเป็นไปตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ หรือไม่ และยังต้องใช้เวลาในการทบทวนตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาเสนอกฎ มท. จึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรองซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ดังนี้
                              1) กฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 ซึ่งออกตามความในมาตรา 6 ประกอบมาตรา 44 มีเหตุผลความจำเป็นในการขอขยายระยะเวลาการออกกฎ ดังนี้
สาระสำคัญของกฎหมาย          เหตุผลความจำเป็นของการขอขยายระยะเวลา
การออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการเก็บรักษาในกรณีผู้สั่งหรือนำเข้าซึ่งวัตถุระเบิดมาเก็บรักษากับเจ้าพนักงาน              1. ต้องพิจารณาถึงการกำหนดพฤติการณ์และเหตุแห่งความจำเป็นว่า ผู้สั่งหรือนำเข้าซึ่งวัตถุระเบิดสามารถกระทำการส่งมอบวัตถุระเบิดให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐจัดเก็บแทนได้ในกรณีใดบ้างโดยต้องผ่านการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นต้น เพื่อความละเอียดรอบคอบในการบังคับใช้กฎหมาย
    2. ต้องพิจารณาในเรื่องการกำหนดมาตรฐานการจัดเก็บพื้นที่ความปลอดภัย รวมถึงเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจที่จะกระทำการตามมาตราดังกล่าว โดยจะต้องมีการศึกษาอย่างรอบคอบเนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชน
                              2) กฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 มาตรา 24 วรรคสาม และมาตรา 41 (2) มีเหตุผลความจำเป็นในการขอขยายระยะเวลาการออกกฎ ดังนี้
สาระสำคัญของกฎหมาย          เหตุผลความจำเป็นของการขอขยายระยะเวลา
การออกกฎกระทรวงกำหนดกิจการอื่นของนิยามคำว่า ?เกษตรกรรม? ซึ่งจะทำให้เกษตรกรผู้ประกอบกิจการอื่นตามที่กฎกระทรวงนี้กำหนดได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย (มาตรา 5)          ต้องดำเนินการรวบรวมความคิดเห็นและรวบรวมข้อมูลจากผู้มีสิทธิหรือหน้าที่ หรือได้รับผลกระทบที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวอย่างรอบคอบและหารือร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การออกกฎกระทรวงกำหนดรูปแบบของหนังสือหลักฐานการเช่านา เพื่อประโยชน์แก่ผู้เช่านาหรือผู้ให้เช่านา (มาตรา 24 วรรคสาม)
การออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การหักค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการลงทุนทำนาของผู้เช่านา ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้เช่านาที่จะชำระค่าเช่านาให้แก่ผู้ให้เช่านาในอัตราที่น้อยลง (มาตรา 41 (2))
                    สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาแล้วว่า ในเรื่องนี้ มท. เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาขยายระยะเวลาในการออกกฎ ซึ่งออกตามความในมาตรา 6 ประกอบกับมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 และการออกกฎ ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 มาตรา 24 วรรคสาม และมาตรา 41 (2) แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 รวมจำนวน 4 ฉบับ ออกไปอีก 1 ปี นับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 เนื่องจากต้องใช้เวลาในการทบทวน ตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งการประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อันเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนและภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 22 ประกอบกับมาตรา 39 (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ดังนั้นคณะรัฐมนตรีจึงสามารถพิจารณาให้ความเห็นชอบการขยายระยะเวลาตามที่ มท. เสนอได้ตามที่เห็นสมควร
                    สาระสำคัญ
                    การขอขยายระยะเวลาในการออกกฎที่กระทรวงมหาดไทยเสนอเป็นการขอขยายระยะเวลาในการออกกฎ ซึ่งออกตามความในมาตรา 6 ประกอบกับมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 จำนวน 1 ฉบับ และขอขยายระยะเวลาในการออกกฎ ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 มาตรา 24 วรรคสาม และมาตรา 41 (2) แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 จำนวน 3 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 4 ฉบับ โดยการขอขยายระยะเวลาการออกกฎดังกล่าวเป็นการดำเนินการตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ซึ่งบัญญัติให้กฎหมายที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎ หรือกำหนดให้รัฐต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อที่ประชาชนจะสามารถปฏิบัติตามกฎหมาย หรือได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายนั้นได้ หากมิได้มีการออกกฎดังกล่าวหรือยังมิได้ดำเนินการนั้นภายในระยะเวลา 2 ปีนับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับ และบทบัญญัติในเรื่องนั้นก่อภาระหรือเป็นผลร้ายต่อประชาชนให้บทบัญญัติดังกล่าวเป็นอันสิ้นผลบังคับแต่ในกรณีที่บทบัญญัติในเรื่องนั้นให้สิทธิประโยชน์แก่ประชาชน ให้บทบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้โดยไม่ต้องมีกฎหรือดำเนินการดังกล่าว โดยระยะเวลา 2 ปีดังกล่าวคณะรัฐมนตรีจะมีมติขยายออกไปอีกก็ได้แต่ไม่เกิน 1 ปี และต้องมีมติก่อนที่จะครบกำหนดเวลา 2 ปีดังกล่าว ทั้งนี้ มาตรา 39 (1) กำหนดให้ระยะเวลา 2 ปี ตามมาตรา 22 สำหรับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ให้นับแต่เมื่อพ้นกำหนด 2 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ (นับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2564) ซึ่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 และพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 เป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ ใช้บังคับ (ก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562) ดังนั้นการออกกฎหมายลำดับรองจำนวน 4 ฉบับดังกล่าว กระทรวงมหาดไทยจึงต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 แต่เนื่องจากการดำเนินการออกกฎดังกล่าวต้องใช้เวลาในการทบทวน ตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งการประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จทันภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ได้ กระทรวงมหาดไทยจึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาในการออกกฎดังกล่าวซึ่งออกตามความในมาตรา 6 ประกอบมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 และการออกกฎซึ่งออกตามความในมาตรา 5 มาตรา 24 วรรคสาม และมาตรา 41 (2) แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 รวมทั้งสิ้นจำนวน 4 ฉบับ ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566
1 มาตรา 22 วรรคสอง บัญญัติให้กฎหมายที่มิใช่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎ หรือกำหนดให้รัฐต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อที่ประชาชนจะสามารถปฏิบัติตามกฎหมาย หรือได้รับสิทธิประโยชน์จากกฎหมายนั้นได้ หากมิมีได้การออกกฎดังกล่าวหรือยังมิได้ดำเนินการนั้นภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับ และบทบัญญัติในเรื่องนั้นก่อภาระหรือเป็นผลร้ายต่อประชาชนให้บทบัญญัติดังกล่าวเป็นอันสิ้นผลบังคับ แต่ในกรณีที่บทบัญญัติในเรื่องนั้น ให้สิทธิประโยชน์แก่ประชาชนให้บทบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับได้โดยไม่ต้องมีกฎหรือดำเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ ระยะเวลาสองปีดังกล่าวคณะรัฐมนตรีจะมีมติขยายออกไปอีกก็ได้แต่ไม่เกินหนึ่งปี และต้องมีมติก่อนที่จะครบกำหนดเวลาสองปีดังกล่าว

2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าน้ำตกพลิ้ว - เขาสระบาป บางส่วน ในท้องที่ตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าน้ำตกพลิ้ว -             เขาสระบาป บางส่วน ในท้องที่ตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ทส. เสนอว่า
                    1. โครงการอ่างเก็บน้ำคลองขลุง จังหวัดจันทบุรี เป็นโครงการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งน้ำในเขตพื้นที่อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เพื่อการบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำและปัญหาอุทกภัยของราษฎรในพื้นที่ อีกทั้งยังสามารถเป็นแหล่งกักเก็บน้ำสำหรับช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรและเป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภค - บริโภคของราษฎรในเขตโครงการและบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง โดยพื้นที่ก่อสร้างโครงการฯ บางส่วน อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วตามพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าน้ำตกพลิ้ว - เขาสระบาป ในท้องที่ตำบลพลับพลา ตำบลคลองนารายณ์ ตำบลคมบาง อำเภอเมืองจันทบุรี ตำบลพลิ้ว อำเภอแหลมสิงห์ ตำบลมะขาม อำเภอมะขาม และตำบลมาบไพ                ตำบลวังสรรพรส ตำบลตรอกนอง ตำบลซึ้ง ตำบลตะปอน ตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2518 แต่โดยที่การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อกักเก็บน้ำในเขตอุทยานแห่งชาติเป็นการกระทำให้สภาพทางธรรมชาติเดิมถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่กระทำได้               ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 หากจะก่อสร้างอ่างเก็บน้ำดังกล่าวในเขตอุทยานแห่งชาติ จะต้องดำเนินการกันพื้นที่ที่จะทำการก่อสร้างออกจากเขตอุทยานแห่งชาติเสียก่อน ทส. จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าน้ำตกพลิ้ว - เขาสระบาป บางส่วน ในท้องที่ตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี              พ.ศ. .... เพื่อเพิกถอนพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำคลองขลุง จังหวัดจันทบุรี ออกจากเขตอุทยานแห่งชาติดังกล่าวตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 บัญญัติให้การขยายหรือการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน ให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา และในกรณีที่เป็นการขยายหรือการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติบางส่วนให้มีแผนที่แสดงแนวเขตที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งจัดทำด้วยระบบภูมิสารสนเทศหรือระบบอื่น ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกันแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาด้วย
                    2. รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 โดยได้ยกเลิกพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงมีคำสั่งให้ ทส. รับร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 1. ไปพิจารณาทบทวนอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    3. ทส. โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 2. ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 แล้ว ดังนี้
                              3.1 จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นฯ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2565 ณ ศาลาวัดเกวียนหัก             หมู่ที่ 7 ตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด จำนวน 379 คน มีผู้ส่งแบบสอบถามแสดงความคิดเห็น จำนวน 292 ราย และผู้ไม่ส่งแบบสอบถามแสดงความคิดเห็น จำนวน 87 ราย
                              3.2 รับฟังความคิดเห็นฯ ผ่านเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมอุทยานแห่งชาติ    สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2565 ถึงวันที่ 10 กรกฎาคม 2565 มีผู้ที่แสดงความคิดเห็น จำนวน             4 ราย สรุปมีผู้แสดงความคิดเห็นทั้งสิ้น จำนวน 296 ราย เห็นด้วย 290 ราย ไม่เห็นด้วย 5 ราย และไม่แสดงความเห็น จำนวน 1 ราย โดยมีข้อสรุปผลการรับฟังความคิดเห็น ซึ่งไม่ขัดต่อหลักการและสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้
                              3.3 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ขอความอนุเคราะห์กรมการปกครองตรวจสอบรายละเอียดเชิงพื้นที่ ความถูกต้องของท้องที่การปกครอง และแนวเขตการปกครองในแผนที่ท้ายร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว โดยเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (22 มีนาคม 2565) แล้ว ซึ่งกรมการปกครองมีหนังสือแจ้งว่า (1) แนวเขตการปกครองที่ปรากฏในแผนที่ท้ายร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวสอดคล้องกับคำบรรยายในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอ ... จังหวัด ....ในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง (2) ที่ดินที่จะเพิกถอนที่ปรากฏในแผนที่ท้ายร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี (3) ไม่ปรากฏชื่อหมู่บ้านในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอ ... จังหวัด ... ในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ (3.1) ชื่อหมู่บ้าน ?บ้านมะกอกนอก? ตำบลมาบไพ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี (3.2) ชื่อหมู่บ้าน ?บ้านตรอกนอง? ตำบลตรอกนอง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี (3.3) ชื่อหมู่บ้าน ?บ้านตะบอนใหญ่? ตำบลตะปอน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ซึ่งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชได้ดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขรายละเอียดในแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา โดยตัดชื่อหมู่บ้าน ?บ้านมะกอกนอก? ?บ้านตรอกนอง? และ ?บ้านตะบอนใหญ่? ดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องตามผลการตรวจสอบของกรมการปกครองแล้ว
                              3.4 ดังนั้น สมควรเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าน้ำตกพลิ้ว - เขาสระบาป บางส่วน ในท้องที่ตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เพื่อก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำคลองขลุง จังหวัดจันทบุรี โดยมีจำนวนเนื้อที่ประมาณ 85 ไร่ 2 งาน 54 ตารางวา
                    2. กษ. กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงมหาดไทย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาแล้วเห็นชอบในหลักการ โดย กษ. มีความเห็นเพิ่มเติมว่า การเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมิใช่เป็นการอนุมัติงานหรือโครงการที่มีผลเป็นการอนุมัติให้ใช้จ่ายงบประมาณสำรองจ่ายเพื่อการฉุกเฉินหรือจำเป็น ดังนั้น จึงไม่ขัดแย้งกับหลักเกณฑ์ที่บัญญัติในมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คค.                มีความเห็นเพิ่มเติมว่า จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินการตามหลักธรรมาภิบาล และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของรัฐและประชาชนเป็นสำคัญ สศช. มีความเห็นเพิ่มเติมว่า กรมชลประทานควรดำเนินการตามมาตรการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมภายหลังการก่อสร้าง และมาตรการป้องกัน แก้ไขหรือเยียวยาความเดือดร้อนหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่ประชาชนในพื้นที่อย่างเคร่งครัดต่อไป และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นว่า ทส. ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนที่เกี่ยวข้องและประชาชนในการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าน้ำตกพลิ้ว - เขาสระบาป บางส่วน ในท้องที่ตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เนื้อที่ประมาณ 85 ไร่ 2 งาน                    54 ตารางวา เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำคลองขลุง จังหวัดจันทบุรี ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง รับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียชุมชนที่เกี่ยวข้องและประชาชน ในการกำหนดพื้นที่ การขยาย และการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์และสวนรุกขชาติ พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในมาตรา 8 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 รวมถึงได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (22 มีนาคม 2565) แล้ว และมิได้เป็นกรณีที่คณะรัฐมนตรีกระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไปตามมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตามมติคณะรัฐมนตรี (21 มีนาคม 2566) คณะรัฐมนตรีจึงสามารถพิจารณาให้ความเห็นชอบหลักการของร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวได้
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    เป็นการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าน้ำตกพลิ้ว - เขาสระบาป บางส่วน ในท้องที่ตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เนื้อที่ประมาณ 85 ไร่ 2 งาน 54 ตารางวา เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำคลองขลุง จังหวัดจันทบุรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติ (7 สิงหาคม 2561) เห็นชอบในหลักการให้เพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติป่าน้ำตกพลิ้ว - เขาสระบาป บางส่วน เพื่อก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำคลองขลุง จังหวัดจันทบุรีแล้ว โดยเมื่อได้ดำเนินการเพิกถอนเรียบร้อยแล้ว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะได้ขอใช้พื้นที่เพื่อก่อสร้างโครงการ                อ่างเก็บน้ำคลองขลุง จังหวัดจันทบุรีต่อไป ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 100 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่                              พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก                   100 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
                    1. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เดิมเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑลพายัพ ก่อตั้ง               เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2467 โดยมีหน้าที่เพื่อศึกษาวิชาการในสาขาวิชาต่าง ๆ ตามความต้องการของท้องถิ่นและผลิตครูบุคลากรทางการศึกษา ส่งเสริมวิทยฐานะของครู อาจารย์ และบุคลากร ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และในวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 จะครบรอบ 100 ปี
                    2. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ได้ขอความร่วมมือกรมธนารักษ์ กค. จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 100 ปี มหาวิทยาลัยร่าชภัฏเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเผยแพร่พระเกียรติคุณ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทาน                           แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏและการศึกษาของชาติให้แผ่ไพศาลไปทั้งภายในประเทศและนานาประเทศ และเพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึกในโอกาสครบรอบ 100 ปี ดังกล่าว ทั้งนี้ กค. ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกในโอกาสดังกล่าว และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกตามรูปแบบที่นำความกราบบังคมทูลประกอบพระราชวินิจฉัยแล้ว สำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกดังกล่าวมาจากเงินทุนหมุนเวียนการบริหารจัดการเหรียญกษาปณ์ ทรัพย์สินมีค่าของรัฐและการทำของ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดย กค. ได้จัดเตรียมงบประมาณสำหรับการดำเนินงานไว้แล้ว จึงสามารถกระทำได้ตามมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    กำหนดชนิด ราคา โลหะ อัตราเนื้อโลหะ น้ำหนัก ขนาด อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด ลวดลาย และลักษณะอื่น ๆ ของเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคายี่สิบบาท เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 100 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

4. เรื่อง ร่างระเบียบ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ พ.ศ. .... ตามที่คณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) เสนอและให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ กมช. เสนอว่า
                    1. พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 มาตรา 5 บัญญัติให้มี กมช. ประกอบด้วย
                              (1) นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ
                              (2) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
                              (3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกินเจ็ดคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านวิศวกรรมศาสตร์ ด้านกฎหมาย ด้านการเงิน หรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง และเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
                              ให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการแต่งตั้งพนักงานของสำนักงานเป็นผู้ช่วยเลขานุการได้ไม่เกินสองคน
                              หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาบุคคลเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กมช. รวมทั้งการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อดำรงตำแหน่งแทนผู้ที่พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระตามมาตรา 7 วรรคสอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด โดยการเสนอแนะของ กมช.
                    2. ดังนั้น เพื่อให้มีหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาบุคคลเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กมช. และสำนักงาน กมช. สามารถนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้ในการดำเนินการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ใน กมช. ได้ ก่อนที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดเดิมจะครบกำหนดวาระ 4 ปี ในวันที่ 10 ธันวาคม 25661 จึงได้ออกร่างระเบียบ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ พ.ศ. .... ขึ้น โดยในคราวประชุม กมช. ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างระเบียบดังกล่าว และให้นำร่างระเบียบดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
                    สาระสำคัญของร่างระเบียบฯ
                    กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาบุคคลเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กมช. สรุปได้ดังนี้
                    1. การแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา
                       กำหนดให้กรณีที่มีเหตุให้ต้องสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่งประกอบด้วย ประธานกรรมการสรรหาและกรรมการสรรหาอีกจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คนแต่ไม่เกิน              7 คนจากบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัย                ไซเบอร์ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ด้านวิทยาศาสตร์                            ด้านวิศวกรรมศาสตร์ ด้านกฎหมาย ด้านการเงิน หรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง และเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
                    2. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหา
                       กำหนดให้คณะกรรมการสรรหามีอำนาจหน้าที่ในการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ                          ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการ ดังต่อไปนี้
                              (1) ให้คณะกรรมการสรรหากำหนดด้านที่ประสงค์จะให้มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้ ให้ประกอบด้วยด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านวิศวกรรมศาสตร์ ด้านกฎหมาย ด้านการเงิน หรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง และเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พร้อมทั้งจำนวนกรรมการแต่ละด้านที่จะเสนอให้มีการแต่งตั้งด้านละหนึ่งคน ทั้งนี้จำนวนไม่เกิน 7 คน
                              (2) ให้กรรมการสรรหาเสนอชื่อบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และความสามารถเป็นที่ประจักษ์ในด้านที่กำหนดใน (1) และมีคุณสมบัติ รวมทั้งไม่มีลักษณะ
ต้องห้ามตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 พร้อมทั้งประวัติย่อและความยินยอมของผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ
                              (3) ห้ามมิให้เสนอรายชื่อกรรมการสรรหาเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                              (4) ก่อนการพิจารณาคัดเลือก ให้เลขานุการรวบรวมรายชื่อตรวจสอบคุณสมบัติลักษณะต้องห้าม พร้อมทั้งประวัติและผลงานของผู้ได้รับการเสนอชื่อ และเสนอให้คณะกรรมการสรรหาพิจารณา
                              (5) ให้คณะกรรมการสรรหาดำเนินการคัดเลือกบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้เหลือจำนวนสองเท่าของจำนวนกรรมการที่จะมีในแต่ละด้านตาม (1) และสรุปผลการคัดเลือก พร้อมทั้งประวัติและผลงานของ ผู้ที่ได้รับการสรรหา
                              (6) ให้คณะกรรมการสรรหานำรายชื่อเสนอคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติพิจารณาคัดเลือกรายชื่อผู้ที่ได้รับการสรรหาตาม (5) ให้เหลือเท่าจำนวนกรรมการในแต่ละด้าน ตามที่กำหนดใน (1) แล้วเสนอรายชื่อต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                              (7) ให้คณะกรรมการสรรหามีอำนาจดำเนินการอื่นใดเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสรรหาได้เท่าที่จำเป็นและไม่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์และวิธีการตามระเบียบนี้
                                  ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีไม่เห็นชอบด้วยกับรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่เสนอทั้งหมดหรือบางส่วนให้คณะกรรมการสรรหาดำเนินการสรรหาและเสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิคนใหม่ ให้ครบจำนวนตามที่กฎหมายกำหนดโดยเร็ว
                    3. กำหนดให้การประชุมของคณะกรรมการสรรหาต้องมีกรรมการสรรหามาประชุมไม่น้อยกว่า              กึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการสรรหาทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
                    4. การสิ้นสุดของคณะกรรมการสรรหา
                       เมื่อคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามจำนวนที่กำหนดในมาตรา 5 (3) แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 และได้นำรายชื่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจำนวนประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้คณะกรรมการสรรหาสิ้นสุดลง
                    5. กรณีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ
                       เมื่อคณะกรรมการสรรหาสิ้นสุดลง และกรณีมีเหตุให้ต้องสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เริ่มดำเนินการตามข้อ 4 ก่อนครบวาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดเดิมเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ
                    6. ผู้รักษาการ
                       ให้ประธานกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ รักษาการตามระเบียบนี้
                       ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้หรือการปฏิบัติตามระเบียบนี้หรือระเบียบนี้ไม่ได้กำหนดเรื่องใดไว้ ให้ประธานกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติมีอำนาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาด ทั้งนี้ การตีความและวินิจฉัยชี้ขาดของประธานกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติให้ถือเป็นที่สุด
1 ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2562 โดยให้มีผลตั้งแต่ 11 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป

5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการ               ต่อไปได้
                    ทั้งนี้ วธ. เสนอว่า
                    1. โดยที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ   เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. 2554 กำหนดปริญญาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ประกอบด้วย (1) สาขาวิชาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ และ (2) สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ รวมทั้งกำหนดครุยวิทยฐานะของสถาบันฯ กำหนดครุยประจำตำแหน่งของนายกสภาสถาบันฯ กรรมการสภาสถาบันฯ ผู้บริหารและคณาจารย์ กำหนดเข็มวิทยฐานะ และกำหนดสีประจำคณะ รวม 3 คณะ คือ คณะศิลปนาฏดุริยางค์ คณะศิลปวิจิตร และคณะศิลปศึกษา
                    2. ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นมา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ได้จัดให้มีการเรียนการสอนในระดับปริญญาเพิ่มขึ้นในวิทยาลัยนาฏศิลป์ และวิทยาลัยช่างศิลป์ (เป็นส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ตามความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 1479/2555) จึงสมควรกำหนดสีประจำวิทยาลัย รวมทั้งแก้ไขการกำหนดลักษณะ ชนิด ประเภท และส่วนประกอบของครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่ง วธ. จึงได้ดำเนินการยกร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อกำหนดขนาดของเครื่องหมายสถาบันฯ ประดับครุยวิทยฐานะ กำหนดขนาดของเข็มวิทยฐานะ กำหนดให้ใช้ครุยวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งเพิ่มเติมกับวิทยาลัยนาฏศิลป์ทุกแห่ง และวิทยาลัยช่างศิลป์ทุกแห่ง รวมทั้งเพิ่มเติม สีประจำวิทยาลัยในสังกัดสถาบันฯ คือ สีประจำวิทยาลัยนาฏศิลป์ทุกแห่ง สีเขียว และสีประจำวิทยาลัยช่างศิลป์ทุกแห่ง สีเหลือง
                    3. ในคราวการประชุมสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566      ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวแล้ว จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาฯ มาเพื่อดำเนินการ
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา     ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันบัณฑิตศิลป์ พ.ศ. 2554 เนื่องจากมีการเรียนการสอนระดับปริญญาเพิ่มขึ้นในวิทยาลัยนาฏศิลป์และวิทยาลัยช่างศิลป โดยกำหนดสีประจำวิทยาลัย รวมทั้งแก้ไขการกำหนดลักษณะ ชนิด ประเภท และส่วนประกอบของครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่ง     ซึ่งสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว

6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าเชียงดาว ป่าแม่งัด และป่าแม่แตง บางส่วนในท้องที่ตำบลบ้านเป้า และตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้
                    1. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าเชียงดาว ป่าแม่งัด และป่าแม่แตง บางส่วน ในท้องที่ตำบลบ้านเป้า และตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    2. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    3. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    เป็นการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีลานนา บางส่วน ในท้องที่ตำบลบ้านเป้า และตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อก่อสร้างโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ประมาณ 229 ไร่ 1 งาน 63.6 ตารางวา ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติ (7 สิงหาคม 2561) เห็นชอบในหลักการให้เพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีลานนา บางส่วน เพื่อก่อสร้างโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแล้ว โดยเมื่อได้ดำเนินการเพิกถอนเรียบร้อยแล้วกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะได้ขอใช้พื้นที่เพื่อก่อสร้างเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ต่อไป ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วย
                    โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นฯ ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง การรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในการกำหนดพื้นที่ การขยาย และการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน                      สวนพฤกษศาสตร์และสวนรุกขชาติ พ.ศ. 2564 และกรมการปกครองได้ตรวจสอบความถูกต้องของท้องที่การปกครองและแนวเขตการปกครองที่ปรากฏในแผนที่ท้ายร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ตามมติคณะรัฐมนตรี (22 มีนาคม 2565) แล้ว

7. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง มาตรการคุ้มครองทรัพยากรปะการังจากกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง มาตรการคุ้มครองทรัพยากรปะการังจากกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและกระทรวงคมนาคมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างประกาศที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดมาตรการคุ้มครองทรัพยากรปะการังจากกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ เพื่อประโยชน์ในการสงวน คุ้มครอง อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรปะการัง โดยกำหนดให้ผู้ประกอบกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำต้องดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดไว้ เช่น กำหนดให้การจัดกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำต้องมีผู้ควบคุมในการดูแลนักท่องเที่ยวไม่ให้กระทำการที่เป็นการต้องห้ามตามร่างประกาศนี้ กำหนดให้ผู้ควบคุมต้องแจ้งนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งวิธีปฏิบัติที่ดีในการดำน้ำโดยไม่กระทบกระเทือนต่อปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล เป็นต้น โดยมาตรการตามร่างประกาศดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับเป็นเวลา 5 ปี ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวจะไม่ใช้บังคับกับกิจกรรมที่มิใช่กิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ เช่น การดำน้ำเพื่อการศึกษาและวิจัยทางวิชาการ การดำน้ำเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งภายใต้การกำกับของหน่วยงานพื้นที่ที่รับผิดชอบ เป็นต้น โดยหากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติเห็นชอบด้วยแล้ว
                    ร่างประกาศมีสาระสำคัญ ดังนี้
                    1. กำหนดห้ามมิให้ดำเนินการในบริเวณแนวปะการัง ดังนี้
                              1.1 ห้ามแตะหรือสัมผัสปะการัง สัตว์น้ำ หรือสิ่งมีชีวิตใด ๆ
                              1.2 ห้ามดำเนินกิจกรรม Sea Walker และห้ามดำนำโดยวิธีอื่นใดที่มีลักษณะเป็นการเดินหรือเคลื่อนที่บนพื้นทะเล
                              1.3 ห้ามเคลื่อนย้ายปะการัง สัตว์น้ำ หรือสิ่งมีชีวิตใด ๆ มาให้นักท่องเที่ยวดู
                              1.4 ห้ามกระทำด้วยประการใด ๆ อันก่อให้เกิดตะกอนตกทับหรือปกคลุมปะการัง หรือทำให้ปะการังได้รับความเสียหาย
                              1.5 ห้ามใช้ตีนกบโดยส่วนใดส่วนหนึ่งของตีนกบสัมผัสปะการัง และห้ามมิให้เตะตีนกบในลักษณะที่จะทำให้เกิดตะกอนฟุ้งจนตกทับหรือปกคลุมปะการัง หรือทำให้ปะการังได้รับความเสียหาย
                              1.6 ห้ามให้อาหารป่าหรือสัตว์น้ำ
                              1.7 ห้ามทิ้งขยะหรือปล่อยของเสียทุกชนิดในทะเล
                              1.8 ห้ามทิ้งสมอเรือในแนวปะการัง และบนพื้นทะเลในระยะรัศมี 3 เมตร จากแนวปะการัง
                              1.9 ห้ามผูกเชือกกับปะการังเพื่อทำแนวทุ่น
                    2. กำหนดให้การประกอบกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำต้องดำเนินการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังนี้
                              2.1 การจัดกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำตื้น ให้มีผู้ควบคุมหนึ่งคนต่อนักท่องเที่ยวไม่เกินยี่สิบคน และกรณีนักท่องเที่ยวเกินยี่สิบคน ให้มีผู้ช่วยผู้ควบคุมเพิ่มในอัตราส่วนหนึ่งคนต่อนักท่องเที่ยวไม่เกินยี่สิบคน
                              2.2 การจัดกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำลึก นักท่องเที่ยวต้องผ่านการเรียนดำน้ำลึก โดยให้มี                  ผู้ควบคุมหนึ่งคนต่อนักดำน้ำลึกไม่เกินสี่คน
                              2.3 กิจกรรมทดลองการเรียนดำน้ำลึก ให้มีผู้ควบคุมหนึ่งคนต่อผู้เรียนไม่เกินสองคน
                              2.4 การเรียนดำน้ำลึกและการสอบดำน้ำลึก ให้มีผู้ควบคุมหนึ่งคนต่อผู้เรียนไม่เกินสี่คน และให้กระทำบนพื้นทรายนอกแนวปะการัง
                              2.5 ให้ผู้ควบคุมและผู้ช่วยควบคุมแจ้งกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนวิธีปฏิบัติที่ดีในการดำน้ำโดยไม่กระทบต่อปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลต่อนักท่องเที่ยวก่อนที่จะเริ่มต้นกิจกรรมการท่องเที่ยวดำน้ำ
                              2.6 ให้ผู้ควบคุมและผู้ช่วยควบคุมสอดส่องและป้องกัน มิให้มีการฝ่าฝืนมาตรการตามข้อ 1.
                              2.7 ในกรณีที่มีการใช้ตีนกบ ผู้ควบคุมจะต้องแจ้งวิธีการควบคุมตีนกบมิให้กระทบต่อปะการังแก่นักท่องเที่ยว และต้องทดสอบความสามารถในการควบคุมก่อนที่จะนำนักท่องเที่ยวเข้าใกล้แนวปะการังด้วย
                              2.8 ห้ามมิให้นักท่องเที่ยวดำน้ำตื้นโดยไม่สวมเสื้อชูชีพในบริเวณแนวปะการัง เว้นแต่เป็นการดำน้ำตื้นโดยบุคคลที่ได้สอบผ่านหลักสูตรดำน้ำลึก หรือหลักสูตรดำน้ำอิสระ
                    3. กำหนดข้อปฏิบัติเกี่ยวกับกิจกรรมดำน้ำลึกในแนวปะการัง ดังนี้
                              3.1 ในระหว่างการเรียนหรือสอบดำน้ำลึก ห้ามนักเรียน หรือครูสอนดำน้ำถ่ายภาพใต้น้ำ เว้นแต่จะได้จัดให้มีบุคคลเพื่อทำหน้าที่ถ่ายภาพเป็นการเฉพาะโดยบุคคลที่ทำหน้าที่ถ่ายภาพต้องสอบผ่านหลักสูตรดำน้ำในระดับที่ Advanced Open Water ของสถาบัน PADI1 หรือสถาบัน SSI2 หรือระดับ Advanced Scuba Diver ของสถาบัน NAUI3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือต้องมีประสบการณ์การดำน้ำตั้งแต่ 40 ไดฟ์ขึ้นไป
                              3.2 ในการท่องเที่ยวดำน้ำลึก ห้ามนำกล้องลงไปถ่ายภาพใต้น้ำ เว้นแต่เป็นการถ่ายภาพใต้น้ำโดยบุคคลที่ผ่านหลักสูตรดำน้ำในระดับที่ Advanced Open Water ของสถาบัน PADI หรือสถาบัน SSI หรือระดับ Advanced Scuba Diver ของสถาบัน NAUI หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือต้องมีประสบการณ์การดำน้ำตั้งแต่               40 ไดฟ์ขึ้นไป
                    4. กำหนดห้ามดำน้ำตื้นในแนวปะการังในช่วงเวลาน้ำลง เว้นแต่ระดับน้ำจะสูงกว่า 2 เมตรจากยอดแนวปะการัง
                    5. กำหนดให้การดำเนินการตามประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับกิจกรรมที่มิใช่กิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ เช่น การดำน้ำเพื่อการศึกษาและวิจัยทางวิชาการ การดำน้ำเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งภายใต้การกำกับของหน่วยงานพื้นที่ที่รับผิดชอบ เป็นต้น
                    6. กำหนดให้ในกรณีที่มีกฎหมายใดกำหนดมาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเรื่องใดไว้โดยเฉพาะและเป็นมาตรการที่ไม่ต่ำกว่ามาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หรือมีมาตรการที่ดีกว่าในการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่กำหนดไว้ดังกล่าว ก็ให้เป็นไปตามมาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น
                    7. กำหนดให้ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และมีระยะเวลาบังคับใช้ห้าปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
1 PADI ย่อมาจาก Professional Association of Diving Instructors หรือสมาคมครูสอนดำน้ำมืออาชีพ
2 SSI ย่อมาจาก Scuba Schools International
3 NAUI ย่อมาจาก National Association of Underwater Instructors หรือสมาคมครูสอนดำน้ำแห่งชาติสหรัฐ

8. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ 86) พ.ศ. 2541 พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ 86) พ.ศ. 2541 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ พณ. เสนอว่า
                    1. พณ. ได้ออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร                   (ฉบับที่ 86) พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2541 กำหนดให้ถ่านหินทุกชนิดทั้งที่เป็นก้อน เป็นผง หรืออัดเป็นก้อน ยกเว้นถ่านหินผงที่ผลิตจาก HONGAI ANTHRACITE COAL เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการส่งออกไป                นอกราชอาณาจักร และออกระเบียบกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการอนุญาตให้ส่งถ่านหินออกไปนอกราชอาณาจักร                 (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งออกตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ดังกล่าว เพื่อให้การอนุญาตส่งออกเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของประกาศกระทรวงพาณิชย์ดังกล่าว โดยอนุญาตให้ส่งออกถ่านหินเฉพาะกรณีเป็นถ่านหินที่นำเข้ามาจากต่างประเทศแล้วส่งกลับออกไปในลักษณะเดิม หรือนำเข้ามาแปรรูปในประเทศแล้วส่งออกไปนอกราชอาณาจักร โดยผู้ส่งออกต้องแสดงหนังสือรับรองจากกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (ปัจจุบันคือ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน) เพื่อรับรองว่าเป็นถ่านหินที่มีแหล่งกำเนิดในต่างประเทศ พร้อมหลักฐานการซื้อขาย ได้แก่ สำเนาใบกำกับสินค้า (INVOICE) หรือ สำเนาใบเสนอขาย (PROFORMA INVOICE) เพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาต
                    2. ต่อมา กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดชนิดและสภาพแร่ที่ห้ามส่งออกนอกราชอาณาจักรหรือเขตไหล่ทวีป พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2564 กำหนดห้ามส่งถ่านหินที่มีถิ่นกำเนิดในราชอาณาจักร และเขตไหล่ทวีปออกนอกราชอาณาจักรหรือเขตไหล่ทวีป
                    3. พณ. โดยกรมการค้าต่างประเทศ ได้ประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวม 5 หน่วยงาน ได้แก่                 1) กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ 2) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน 3) กพร. 4) กรมศุลกากร และ                 5) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวม 3 ครั้ง เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2564 วันที่ 22 ธันวาคม 2564 และวันที่                 17 มีนาคม 2566 เพื่อพิจารณายกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร         (ฉบับที่ 86) พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2541 ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ดังกล่าว เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการบังคับใช้กฎหมาย เนื่องจากมีประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดชนิดและสภาพแร่ที่ห้ามส่งออกนอกราชอาณาจักรหรือเขตไหล่ทวีป พ.ศ. 2564 กำหนดห้ามส่งถ่านหินที่มีถิ่นกำเนิดในราชอาณาจักรและเขตไหล่ทวีปออกนอกราชอาณาจักรหรือเขตไหล่ทวีปแล้ว
                    4.  พณ. โดยกรมการค้าต่างประเทศพิจารณาแล้วจึงได้ดำเนินการยกร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ 86) พ.ศ. 2541 พ.ศ. .... และได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความเห็นต่อร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ดังกล่าวแล้ว โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง 5 หน่วยงานตามข้อ 3. เห็นชอบด้วย รวมทั้งได้จัดทำการรับฟังความคิดเห็นผ่านระบบกลางทางกฎหมายของคณะกรรมการกฤษฎีกา(www.law.go.th) และเว็บไซต์กรมการค้าต่างประเทศ (ww.dft.go.th) ระหว่างวันที่   15 - 31 พฤษภาคม 2566 และวันที่ 8 - 30 มิถุนายน 2566 รวม 2 ครั้ง ซึ่งมีผู้ให้ความเห็นรวมทั้งสิ้น 6 ราย โดยทั้งหมดเห็นด้วยต่อร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ดังกล่าว
                    5. โดยที่พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 5 บัญญัติให้ในกรณีที่จำเป็นหรือสมควรเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สาธารณประโยชน์ สาธารณสุข ความมั่นคงของประเทศ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อประโยชน์อื่นใดของรัฐให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษาในเรื่องการกำหนดสินค้าใดให้เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการส่งออกหรือในการนำเข้า ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับโดยอนุโลมกับการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกประกาศตามมาตรานี้ด้วย ดังนั้น การยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ตามข้อ 1. จำเป็นต้องดำเนินการโดยการออกประกาศ
                    2. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า ร่างประกาศในเรื่องนี้เป็นการปฏิบัติราชการตามปกติเพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายแม่บทได้บัญญัติให้อำนาจไว้ และมิได้เป็นกรณีที่คณะรัฐมนตรีกระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไปตามมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยประกอบมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 เรื่อง แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรีจึงสามารถพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างประกาศดังกล่าวได้
                    สาระสำคัญของร่างประกาศ
                    เป็นการยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการส่งสินค้าออกไปนอกอาณาจักร (ฉบับที่ 86) พ.ศ. 2541 (ถ่านหิน) เนื่องจากปัจจุบันได้มีประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดชนิดและสภาพแร่ที่ห้ามส่งออกนอกราชอาณาจักรหรือเขตไหล่ทวีป พ.ศ. 2564 กำหนดมาตรการห้ามส่งออกถ่านหินที่มีถิ่นกำเนิดในราชอาณาจักรและเขตไหล่ทวีปออกนอกราชอาณาจักรหรือเขตไหล่ทวีปไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ 86) พ.ศ. 2541 จึงไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป ทั้งนี้ เพื่อเป็นการยกเลิกกฎหมายที่หมดความจำเป็น ลดความซ้ำซ้อนในการบังคับใช้กฎหมาย และอำนวยความสะดวก             แก่ประชาชนที่เกี่ยวข้อง

9. เรื่อง การเร่งรัดออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายเวลาการดำเนินการจัดทำกฎอื่นใดที่ออกตามบทอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจำนวน 6 ฉบับ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้
                     1. พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ. 2560
                     2. พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559
                    3. พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                    4. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                    5. พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542
                    6. พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                    สาระสำคัญ
                    การขอขยายระยะเวลาในการออกกฎตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ เป็นการขอขยายระยะเวลาในการออกกฎจำนวน 21 ฉบับ ซึ่งออกตามบทอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจำนวน 7 ฉบับ ได้แก่                     1) พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ. 2560 2) พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 3) พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 4) พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 5) พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 6) พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และ 7) พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 โดยการขอขยายระยะเวลาการออกกฎดังกล่าวเป็นการดำเนินการตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ซึ่งบัญญัติให้กฎหมายที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎ หรือกำหนดให้รัฐต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อที่ประชาชนจะสามารถปฏิบัติตามกฎหมาย หรือได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายนั้นได้ หากมิได้มีการออกกฎดังกล่าวหรือยังมิได้ดำเนินการนั้นภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับและบทบัญญัติในเรื่องนั้นก่อภาระหรือเป็นผลร้ายต่อประชาชนให้บทบัญญัติดังกล่าวเป็นอันสิ้นผลบังคับ แต่ในกรณีที่บทบัญญัติในเรื่องนั้นให้สิทธิประโยชน์แก่ประชาชน ให้บทบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ โดยไม่ต้องมีกฎหรือดำเนินการดังกล่าว โดยระยะเวลา 2 ปีดังกล่าวคณะรัฐมนตรีจะมีมติขยายออกไปอีกก็ได้แต่ไม่เกิน 1 ปี และต้องมีมติก่อนที่จะครบกำหนดเวลา 2 ปีดังกล่าว ทั้งนี้ มาตรา 39 (1) กำหนดให้ระยะเวลา 2 ปี ตามมาตรา 22 สำหรับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ให้นับแต่เมื่อพ้นกำหนด 2 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ (นับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2564) ซึ่งพระราชบัญญัติทั้ง 7 ฉบับดังกล่าว เป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ ใช้บังคับ (ก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562) ดังนั้น การออกกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามบทอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติทั้ง 7 ฉบับดังกล่าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 แต่เนื่องจากการดำเนินการออกกฎดังกล่าวอยู่ระหว่างดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย จึงไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จทันภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ได้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาในการออกกฎต้องออกตามบทอาศัยอำนาจของพระราชบัญญัติทั้ง 7 ฉบับ ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (15 สิงหาคม 2566) เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม                      พ.ศ. 2518 ออกไปอีก 1 ปีแล้ว

เศรษฐกิจ-สังคม
10. เรื่อง ผลการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ สมัยที่ 14 (Ramsar COP 14)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ1 สมัยที่ 14                        (Ramsar COP 14) และเห็นชอบมอบหมายส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ทส. รายงานว่า การประชุม Ramsar COP 14 ระหว่างวันที่ 5-13 พฤศจิกายน 2565 ภายใต้หัวข้อ ?Wetlands Action for People and Nature? แบบผสมผสาน ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ร่วมกับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ณ เมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน มีกิจกรรมสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1.          การประชุมระดับสูง (High-Level Ministerial Segment) ที่ประชุมได้ร่วมรับรองปฏิญญา
อู่ฮั่น (Wuhan Declaration) ซึ่งเป็นการให้คำมั่นที่เน้นย้ำว่การอนุรักษ์การฟื้นฟู และการใช้พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาดเป็นหลักการสำคัญของอนุสัญญาฯ และจะต้องดำเนินการตามหลักการนี้อย่างเร่งด่วนโดยร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงความตกลงพหุภาคีระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ (Multilateral Environmental Agreement MEAs)2 เพื่อหยุดยั้งและลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อบรรเทา ปรับตัวและสร้างความยืดหยุ่นต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) และทศวรรษแห่งการฟื้นฟูระบบนิเวศของสหประชาชาติ เพื่อประโยชน์ของคนรุ่นปัจจุบันและอนาคต ทั้งนี้ มีการปรับเพิ่มเติมและตัดข้อความในปฏิญญาฯ โดยเป็นการปรับในบริบทบางประการเพื่อให้เกิดความกระชับหรือขยายความให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งไม่มีผลให้เกิดความคลาดเคลื่อนต่อสาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565)
2.          การประชุมเต็มคณะระดับเจ้าหน้าที่ (Plenary Session) มีประเทศภาคี
อนุสัญญาฯ เข้าร่วม จำนวน 146 ประเทศ จาก 172 ประเทศ รวมถึงผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรพันธมิตรของอนุสัญญาฯ เข้าร่วมในฐานะผู้สังเกตการณ์ จำนวน 45หน่วยงาน เช่น BirdLife International3 องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature: IUCN) และ Wildfowl & Wetlands Trust (WWT)4 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
                              2.1 ที่ประชุมฯ ได้พิจารณาและรับรองข้อมติ จำนวน 22  เรื่อง เช่น การทบทวนแผนกลยุทธ์อนุสัญญาฯ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2559-2567) ความสำคัญในการให้ความรู้เรื่องพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยเห็นควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคส่วนต่าง ๆ ตระหนักถึงประโยชน์จากการผนวกเรื่องพื้นที่ชุ่มน้ำเข้าสู่ระบบการศึกษา และการประมาณการการนับประชากร นกน้ำ นอกจากนี้ ได้เลื่อนข้อมติไปพิจารณาในการประชุมฯ สมัยที่ 15 (มีกำหนดจัดในปี 2568 โดยสาธารณรัฐซิมบับเว เสนอเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม) จำนวน 2 เรื่อง คือ ร่างมติเกี่ยวกับสถานะของแหล่งในบัญชีรายชื่อพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ และร่างมติว่าด้วยการทบทวนเกณฑ์ Ramsar และการเพิกถอน Ramsar site ที่ตั้งอยู่ในดินแดนซึ่งไม่ได้รับการยอมรับในระดับสหประชาชาติ (United Nations: UN) ทั้งนี้ ข้อมติที่ได้มีการรับรองดังกล่าวจะนำมาใช้เป็นกรอบความร่วมมือเพื่อการอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ และเพื่ออนุรักษ์และยับยั้งการสูญหายของระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำในโลก โดยการสนับสนุนให้มีการใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาด เพื่อให้ประเทศภาคีอนุสัญญาฯ นำไปใช้เป็นแนวทางดำเนินงาน ซึ่งการดำเนินงานตามข้อมติดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับภารกิจของหลายหน่วยงาน ทส. โดยกรมทรัพยากรน้ำ จึงได้จัดทำสรุปข้อมติ                   ที่สำคัญ จากการประชุมฯ พร้อมทั้งกำหนดหน่วยงานขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อให้มีการบูรณาการให้บรรลุเป้าหมายการดำเนินงานทั้งในระดับประเทศและระดับโลก โดยสรุปข้อมติที่สำคัญได้ ดังนี้
ข้อมติ          หน่วยงานที่รับผิดชอบ
1. ระดมทรัพยากรด้านการเงินและงบประมาณ5


ทส.
2. ให้ปรับปรุงประสิทธิภาพ การจัดการ และการเพิ่มประสิทธิภาพทรัพยากรของคณะกรรมการบริหารอนุสัญญาฯ และสำนักเลขาธิการอนุสัญญาฯ เช่น จำนวนบุคลากร เครื่องมือ และงบประมาณ
3. ดำเนินการจัดทำข้อมูลสถานภาพของพื้นที่ชุ่มน้ำตามแบบฟอร์มที่สำนักเลขาธิการอนุสัญญาฯ กำหนด
4. ทบทวนแผนยุทธศาสตร์ฉบับที่ 4 ของอนุสัญญาฯ เพิ่มเติมสำหรับช่วง COP 14-COP 15 และองค์ประกอบสำคัญสำหรับแผนยุทธศาสตร์ ฉบับที่ 5 ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับการปฏิบัติตามอนุสัญญาฯ และมีส่วนสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายด้านความหลากหลายทางชีวภาพของไอจิ6 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
5. ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการอนุรักษ์และการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดเล็ก
6. ทบทวนข้อมติและการตัดสินใจก่อนหน้านี้ทั้งหมด หากตรวจสอบพบว่า มีร่างข้อมติใดที่เลิกใช้แล้วแต่ยังปรากฎอยู่ ให้แจ้งต่อคณะทำงานด้านเทคนิคและคณะทำงานด้านกฎหมายของสำนักเลขาธิการอนุสัญญาฯ (ทส. โดยกรมทรัพยากรน้ำพิจารณาแล้วพบว่า ปัจจุบันยังไม่มีร่างข้อมติใดที่เลิกใช้แล้วแต่ยังปรากฎอยู่จึงยังไม่มีการแจ้งต่อคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง)
7. นำเครื่องมือการประเมินการให้บริการทางนิเวศของพื้นที่ชุ่มน้ำ (Rapid assessment of wetland ecosystem service: RAWE)7 ไปดำเนินการภายในประเทศโดยความสมัครใจ
8. เพิ่มช่องทางการรับรู้และการทำงานร่วมกันของอนุสัญญาฯ กับข้อตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อมและสถาบันระหว่างประเทศอื่น ๆ ให้กว้างขวางและรอบคอบขึ้น เช่น ปรับปรุงการเชื่อมต่อทางนิเวศวิทยาของเส้นทางบินของนกอพยพและการเคลื่อนย้ายถิ่นของกลุ่มสัตว์อื่น ๆ ของโลก โดยจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ชุ่มน้ำ การอนุรักษ์ชนิดพันธุ์สัตว์ป่าที่อพยพย้ายถิ่นและการเคลื่อนย้ายของสัตว์ และการพิจารณาเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่าง Ramsar กับ ข้อตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อมและสถาบันระหว่างประเทศอื่น ๆ          กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ทส. และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)
9. แนวทางการดำเนินงานสำหรับการริเริ่มระดับภูมิภาคแรมซาร์ โดย Ramsar Regional Initiatives (RRIs)8 เช่น สนับสนุนให้ภาคีต่าง ๆ ทำงานร่วมกับองค์กรพันธมิตรจัดตั้ง RRIs ในส่วนต่าง ๆ ของโลกที่ยังไม่มี โดยประเทศไทยอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และมีศูนย์แรมซาร์ภูมิภาคเอเชียตะวันออก (RRC-EA)9 เป็น RRIs อยู่แล้ว          ทส.
10. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันปรึกษาหารือแนวทางการเสริมสร้างความรู้ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมของประชาชนฉบับใหม่ [New CEPA (CEPA:communication, capacity building, education, participation and awareness)] ให้แก่ภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน          ทส. กระทรวงมหาดไทย                  (มท.) และกรมประชาสัมพันธ์
11. พิจารณารางวัลการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำแรมซาร์ (Ramsar Wetland Conservation Awards)10 เพื่อเชิดชูและให้เกียรติการมีส่วนสนับสนุนอนุสัญญาฯ ซึ่งเป็นวิธีการจูงใจให้สนับสนุนอนุสัญญานี้ต่อไปในอนาคต



ทส.
12. ดำเนินการตามแนวทางการรับรองคุณภาพเมืองพื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetland City)11 ของอนุสัญญาแรมซาร์ที่ได้ปรับปรุงใหม่ตามที่ที่ประชุมได้เห็นชอบการปรับปรุงการรับรองเมืองพื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น เกณฑ์สำหรับการรับรอง และกระบวนการให้รางวัลเมืองพื้นที่ชุ่มน้ำ เพื่อเสนอเมืองพื้นที่ชุ่มน้ำในการประชุมฯ สมัยที่ 15 ต่อไป
13. ศึกษาพื้นที่ชุ่มน้ำในภาคการศึกษาในระบบ เพื่อให้ตระหนักถึงประโยชน์ของการส่งเสริมหัวข้อการศึกษาพื้นที่ชุ่มน้ำในการศึกษาในระบบและภาคส่วนอื่น ๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นที่ชุ่มน้ำ คุณค่าของพื้นที่ชุ่มน้ำโดยดำเนินการตามแนวทาง New CEPA การประชาสัมพันธ์ การผลิตสื่อต่าง ๆ ในสถานศึกษา เช่น บรรจุหลักสูตรเรื่องพื้นที่ชุ่มน้ำในภาคการศึกษา และการผลิตสื่อเกี่ยวกับพื้นที่ชุ่มน้ำบริเวณชายฝั่ง รวมทั้งสนับสนุนให้ภาคีต่าง ๆ ใช้ Ramsar National Reports เพื่อรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการศึกษาพื้นที่ชุ่มน้ำในโรงเรียนและสถาบันการเรียนรู้ตามความเหมาะสม          กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
ทส. กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
และกรมประชาสัมพันธ์

14. เสริมสร้างความสัมพันธ์ Ramsar ผ่านเยาวชน โดยดำเนินกิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้เยาวชนรุ่นปัจจุบันและคนรุ่นอนาคตตระหนักและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และการใช้พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาด เพื่อลดการสูญเสียพื้นที่ชุ่มน้ำทั่วโลกและความเสี่ยงจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป          ทส.
และกรมประชาสัมพันธ์

15. สถานะของแหล่งในบัญชีรายชื่อพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ12          ทส.

16. ทบทวนเกณฑ์ Ramsar และการเพิกถอน Ramsar Sites ที่ตั้งอยู่ในดินแดนซึ่งไม่ได้รับการยอมรับในระดับ UN ว่าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนของประเทศที่มีการขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำแรมซาร์
17. ดำเนินงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคนิคในอนาคตของอนุสัญญาสำหรับปี 2566-2568 โดยจัดทำข้อมูลวิถีชีวิตดั้งเดิมและความรู้ท้องถิ่นและศักยภาพของชนพื้นเมือง ประชาชน และชุมชนท้องถิ่นที่อยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำ
18. ส่งเสริมการอนุรักษ์และการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดเล็ก โดยดำเนินการส่งเสริมการใช้พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญลาดในอาณาเขตของตนเองเท่าที่จะทำได้จัดทำข้อมูลสถานภาพพื้นที่ชุ่มน้ำในเขตที่เป็นเจ้าของพื้นที่ และดำเนินการเรื่องบัญชีสถานภาพพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศ (national inventories) ครอบคลุมทรัพยากรพื้นที่ชุ่มน้ำ รวมถึงการสูญเสียพื้นที่66 ชุ่มน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีศักยภาพในการฟื้นฟู เพื่อจัดลำดับความสำคัญสูงสุดในอีก 3 ปีข้างหน้า          กระทรวงเกษตร
และสหกรณ์ (กษ.) ทส.
และ มท.

19. บูรณาการการอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำในยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืนระดับชาติ โดยดำเนินการบูรณาการการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ การฟื้นฟูการจัดการอย่างยั่งยืน และการใช้นโยบายและการดำเนินการอย่างชาญฉลาดเข้าไว้ในยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืนระดับชาติ และสนับสนุนให้ภาคีต่าง ๆ พัฒนายุทธศาสตร์หุ้นส่วนพื้นที่ชุ่มน้ำข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้กรอบที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการจัดทำรายการพื้นที่ชุ่มน้ำระดับชาติอย่างเป็นระบบสำหรับรายการพื้นที่ชุ่มน้ำแห่งชาติ ปี 2020          กษ. ทส. สำนักงาน
สภาพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ (สศช.)
และ สทนช.
20. คุ้มครอง จัดการ และฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำโดยวิธีแก้ไขปัญหาตามธรรมชาติและแนวทางที่อิงกับระบบนิเวศเพื่อแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศ โดยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาหรือปรับปรุงลักษณะทางนิเวศวิทยาของพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อส่งเสริมความสามารถของพื้นที่ชุ่มน้ำในการมีส่วนร่วมในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามธรรมชาติ และเลิกใช้หรือปรับเปลี่ยนนโยบายอย่างเร่งด่วนที่ทำให้พื้นที่ชุ่มน้ำเสื่อมโทรมตามขอบเขตที่เป็นไปได้และดำเนินการตามนโยบายและโครงการต่าง ๆ เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำ          กษ. ทส. มท.
และ สทนช.
21. ประมาณการประชากรนกน้ำเพื่อรองรับการขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศแห่งใหม่และที่มีอยู่แล้ว ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์นกน้ำ          ทส.
22. จัดตั้งศูนย์ป่าชายเลนนานาชาติตามกรอบของอนุสัญญาแรมซาร์โดยตระหนักถึงความสำคัญของป่าชายเลนที่อุดมไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ใกสัสูญพันธุ์ทั่วโลก อีกทั้งป่าชายเลนยังมีทรัพยากรประมงที่สำคัญ ตลอดจนเป็นระบบนิเวศคาร์บอน (Blue Carbon)13 ที่สำคัญที่สุดของระบบนิเวศชายฝั่ง โดยกักเก็บคาร์บอน 1,023 ตันต่อเฮกตาร์ ซึ่งมากกว่าป่าเขตร้อน 3-4 เท่า
23. ขอบคุณประเทศเจ้าภาพสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยให้บันทึกผลลัพธ์ของการประชุมระดับสูงของ COP 14 ซึ่งจัดโดยประเทศเจ้าภาพ และยอมรับปฏิญญาอู่ฮั่น ตลอดจนให้ผนวกปฏิญญาอู่ฮั่นเพื่อเพิ่มวิสัยทัศน์ของอนุสัญญาฯ
24. เหตุฉุกเฉินด้านสิ่งแวดล้อมในยูเครนที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายของพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ (Ramsar site) อันเนื่องมาจากการรุกรานของสหพันธรัฐรัสเซีย โดยให้ตระหนักถึงผลกระทบร้ายแรงจากการรุกรานของสหพันธรัฐรัสเซียต่อสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมในยูเครน รวมถึงการหยุดชะงักของสถานะทางนิเวศวิทยาของ Ramsar site รวมถึงให้การสนับสนุนและเงินช่วยเหลือตามความสมัครใจแก่รัฐบาลยูเครนโดยประสานงานกับสำนักเลขาธิการอนุสัญญาฯ เพื่อประเมินความเสียหายของ Ramsar site ที่ได้รับผลกระทบในยูเครน
          หมายเหตุ : ที่ประชุมมีมติให้เลื่อนข้อมติ 15 และ 16 ไปพิจารณาในการประชุมฯ สมัยที่ 15
                              2.2 พิธีมอบรางวัล Wetland City Accreditatio ซึ่งประเทศไทยได้รับมอบรางวัลการรับรองอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม เป็นเมืองแห่งพื้นที่ชุ่มน้ำภายใต้อนุสัญญาฯ
                    3. สำหรับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีหลังยุบสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งหลังจากมีการ             ยุบสภาผู้แทนราษฎรต้องปฏิบัติหน้าที่โดยไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป เว้นแต่ที่กำหนดไว้แล้วในงบประมาณรายจ่ายประจำปี ทส. แจ้งว่า                      เรื่องดังกล่าวไม่ได้เป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป
1อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำหรืออนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) ถูกกำหนดและตั้งชื่อตามสถานที่จัดให้มีการประชุมเพื่อรับรองอนุสัญญาเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2514 ณ เมืองแรมซาร์ ประเทศอิหร่าน โดยในระยะแรกมีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำอันเป็นการอนุรักษ์ถิ่นที่อยู่อาศัยของนกน้ำ ต่อมาขอบเขตการดำเนินการของอนุสัญญาฯ ได้ขยายครอบคลุมกว้างขึ้นโดยเน้นการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาดในทุก ๆ ด้าน ตลอดจนเพื่อยับยั้งการสูญหายของพื้นที่ชุ่มน้ำในโลก โดยสำนักเลขาธิการอนุสัญญาฯ ได้กำหนดให้มีการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ เป็นประจำทุก 3 ปี ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ลำดับที่ 110 โดยพันธกรณีของอนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2541  ซึ่งการเข้าเป็นภาคีนั้นประเทศสมาชิกต้องเสนอพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติหรือระหว่างประเทศ 1 แห่ง เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar site) ประเทศไทยจึงได้เสนอพรุควนขี้เสียน ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง ขึ้นเป็น Ramsar site แห่งแรกของประเทศไทย และเป็นลำดับที่ 948 ของโลก ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยมี Ramsar site จำนวน 15แห่ง เช่น ดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม และกุดทิง จังหวัดบึงกาฬ
2MEAs เป็นความตกลงระหว่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์ในการเสริมสร้างความร่วมมือระดับสากลเพื่อการปกป้องและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยอาศัยความร่วมมือของประเทศภาคีในการสอดส่องดูแลและแก้ไขปัญหาสิ่งแวล้อม เช่น การเกิดมลพิษทางอากาศที่กระจายจากประเทศหนึ่งไปยังประเทศหรือภูมิภาคอื่น ซึ่งจำเป็นต้องมีการดำเนินการพหุภาคีเพื่อให้เกิดผลทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลก โดยหนึ่งใน MEAs ที่มีขึ้นมาอย่างยาวนาน ได้แก่ อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2514
3Birdlife International เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรระดับโลกซึ่งมีบทบาทในการอนุรักษ์นก ถิ่นอาศัยของนก และความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลก โดยมีสมาชิกมากกว่า 2.5 ล้านคน ใน 116 ประเทศพันธมิตร ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในองค์กรเครือข่าย ได้แก่ สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย
4Wildfow & Wetlands Trust (WWT) เป็นองค์กรการกุศลของสหราชอาณาจักรที่มีเครือข่ายศูนย์พื้นที่ชุ่มน้ำ 9 แห่ง                     มีประสบการณ์ในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ รวมทั้งมีการให้บริการด้านต่าง ๆ เช่น การสำรวจและประเมินระบบนิเวศการให้คำปรึกษาในการออกแบบที่อยู่อาศัยในพื้นที่ชุ่มน้ำ และการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ
5ทส. แจ้งว่า ที่ประชุมได้มีข้อมติดังกล่าวกำหนดอัตราการจ่ายค่าสมาชิกเพื่อสนับสนุนอนุสัญญาฯ ในอัตราใหม่ที่ใช้ตาม UN Scale โดยตั้งแต่ปี 2566-2568 จะต้องจ่ายค่าสมาชิก จำนวน 18,018 ฟรังก์สวิสต่อปี [723,600 บาทต่อปี  (1 ฟรังก์สวิส = 40.16 บาท อ้างอิงจากอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันที่ 27 กรกฎาคม 2566)]  (จากเดิมก่อนปี 2565 จ่าย จำนวน 15,026 ฟรังก์สวิสต่อปี) โดยในปี 2566 ได้ชำระเงินสนับสนุนอนุสัญญาฯ แล้ว จำนวน 16,920 ฟรังก์สวิส และมีเงินคงเหลือค้างชำระปี 2566 รวมจำนวน 5,002.58 ฟรังก์สวิส เนื่องจากไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณตามที่ได้ขอรับการจัดสรรไว้ ทั้งนี้ ปี 2567 ได้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อชำระเงินสนับสนุนอนุสัญญาฯ และเงินคงเหลือค้างชำระดังกล่าวแล้ว
6เป้าหมายด้านความหลากหลายทางชีวภาพของไอจิ เป็นเป้าหมายระดับโลกด้านความหลากหลายทางชีวภาพมีทั้งสิ้น                               5 เป้าประสงค์ 20 เป้าหมาย เช่น เป้าหมายที่ 11 พื้นที่บนบกและแหล่งน้ำในแผ่นดิน พื้นที่ทะเลและชายฝั่งได้รับการอนุรักษ์และจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและเท่าเทียม มีระบบพื้นที่คุ้มครองที่เชื่อมโยงครอบคลุม และมาตรการอนุรักษ์เชิงพื้นที่อื่น ๆ ที่มีประสิทธิภาพ
7RAWES เป็นเครื่องมือสำหรับการประเมินว่าระบบนิเวศของพื้นที่ชุ่มน้ำว่าสร้างประโยชน์แก่มนุษย์อย่างไรบ้าง ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการทำหน้าที่ของระบบนิเวศ โดยสามารถ    แบ่งบริการจากระบบนิเวส ออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ (1) บริการด้านการเป็นแหล่งผลิต  เช่น น้ำ อาหาร และแร่ธาตุ (2) บริการด้านการควบคุมกลไกของระบบ เช่น การป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง (3) บริการด้านวัฒนธรรม เช่น การเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจแก่ประชาชน และ (4) บริการด้านการสนับสนุน เช่น การเป็นแหล่งที่อยู่ของ                   สัตว์วัยอ่อน
8Ramsar Regional Initiatives (RRIs) เป็นเวทีการแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านพื้นที่ชุ่มน้ำที่ได้รับการยอมรับจากอนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) ซึ่งเป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์และการใช้พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืน RRIs เป็นกลไกในการขับเคลื่อนเพื่อให้การดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
9ศูนย์แรมซาร์ภูมิภาคเอเชียตะวันออก (RRC-EA) เป็นหน่วยงานส่งเสริมความร่วมมือในการดำเนินงานตามอนุสัญญาแรมซาร์ของประเทศภาคีสัญญาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมทั้งการสร้างความตระหนักและอนุรักษ์ในเรื่องพื้นที่ชุ่มน้ำ
10รางวัล Ramsar Wetland Conservation Awards เป็นรางวัลระดับโลกสำหรับให้เกียรติและให้รางวัลแก่กลุ่มบุคคล โครงการ หรือนโยบายในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำและการใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาด โดยปัจจุบันได้มีการประกาศรางวัลดังกล่าวแล้ว จำนวน 8 ครั้ง โดยผู้ได้รับมอบรางวัลจะได้รับรางวัลพิเศษ มูลค่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยการประกาศรางวัลจะแบ่งออกเป็นสาขาต่าง ๆ เช่น สาขาการใช้พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาด และสาขานวัตกรรมพื้นที่ชุ่มน้ำ
11เมืองแห่งพื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetland City) เป็นการรับรองให้แก่เมืองที่มีการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำภายใต้อนุสัญญา Ramsar ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเน้นย้ำและกระชับความสัมพันธ์เชิงบวกกับระบบนิเวศที่มีค่าผ่านการรับรู้ของสาธารณชนการมีส่วนร่วมในการวางแผนและตัดสินใจของเมือง การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำในเมืองอย่างชาญฉลาดตลอดจนประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมสำหรับคนในท้องถิ่น โดยอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม เป็นเมืองแห่งพื้นที่ชุ่มน้ำแห่งแรกของประเทศไทย และนับเป็น                  1 ใน 43 เมืองทั่วโลก
12อนุสัญญาฯ กำหนดให้ประเทศภาคีต้องกำหนดให้พื้นที่ชุ่มน้ำในอาณาเขตของประเทศตนอย่างน้อย 1 แห่ง  ถูกบรรจุชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและจะต้องดูแลรักษาพื้นที่ชุ่มน้ำให้ดำรงไว้เป็นอย่างดี
13ระบบนิเวศคาร์บอน (Blue Carbon) คือ คาร์บอนที่ดูดซับโดยระบบนิเวศทางทะเล โดยที่มีบทบาทสำคัญ คือ ป่าชายเลน บึงเกลือ หญ้าทะเล และสาหร่ายขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบนิเวศชายทะเล เช่น ป่าชายเลน มีบทบาทอย่างมากในการดูดซับคาร์บอนให้ถูกดึงลงไปในผืนดินใต้ทะเล หรือดินเลนขายฝั่ง หรือที่เรียกว่า คาร์บอน ซิงค์ (Carbom Sink) ทั้งนี้ มหาสมุทร คือ คาร์บอน ชิงค์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก หรือเรียกว่า Oceanic Carbon Sink ซึ่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่าหนึ่งในสี่ของที่มนุษย์ปล่อยสู่                       ชั้นบรรยากาศ

11. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานของระบบประกันภัยและพัฒนาการที่สำคัญรอบ 12 เดือน ปี 2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอรายงานผลการดำเนินงานของระบบประกันภัยและพัฒนาการที่สำคัญรอบ 12 เดือน ปี 2565 ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) พ.ศ. 2550 มาตรา 20 (10) ที่บัญญัติให้สำนักงาน คปภ. จัดทำรายงานประจำปีเพื่อแสดงผลงานและอุปสรรคในการดำเนินงานของ คปภ. และสำนักงาน คปภ. เสนอต่อคณะรัฐมนตรี]                         สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ภาพรวมธุรกิจประกันภัยของไทย รอบ 12 เดือน ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 0.76 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวมทั้งสิ้น 885,323 ล้านบาท1 ประกอบด้วย เบี้ยประกันภัยจากธุรกิจประกันชีวิต 611,106 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 0.45 และเบี้ยประกันภัยจากธุรกิจประกันวินาศภัย 274,216 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.56 ทั้งนี้ คาดว่าในปี 2566 ธุรกิจประกันภัยจะมีอัตราการเติบโตร้อยละ -0.13 ถึง 1.87 คิดเป็นมูลค่าเบี้ยประกันภัยประมาณ 875,426-910,816 ล้านบาท
                    2. การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์สำนักงาน คปภ. ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2564-2566) และตามนโยบายของรัฐบาล สรุปได้ ดังนี้
การดำเนินการ          ปัญหา/อุปสรรค/แนวทางการแก้ไข
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ปรับเปลี่ยน : ปรับเปลี่ยนและเพิ่มมิติการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงพร้อมรับมือความเสี่ยงใหม่และสอดคล้องกติกาสากล
(1) ปรับเปลี่ยนกรอบการกำกับดูแลเพื่อให้เกณฑ์การกำกับดูแลมีความยืดหยุ่น กำกับเท่าที่จำเป็น สอดคล้องกับกติกาสากลและส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยดำเนินโครงการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายอนุบัญญัติ ปรับปรุงกฎหมายแม่บทว่าด้วยการประกันภัยและเตรียมความพร้อมสำหรับการบังคับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย ปรับปรุงหลักเกณฑ์การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันภัย และปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง
(2) พัฒนาเครื่องมือและเพิ่มมิติการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยให้เท่าทัน พร้อมป้องกัน และประเมินความเสี่ยงใหม่ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่น ศึกษาแนวทางการส่งเสริมให้อุตสาหกรรมประกันภัยปรับเปลี่ยนองค์กรเป็น Digital Insurance จัดทำแนวปฏิบัติในการกำกับดูแลข้อมูลสำหรับบริษัทประกันภัย และพัฒนาระบบประมวลผลอัจฉริยะเพื่อจัดทำรายงานการวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทประกันภัย ระยะที่ 2
(3) สร้างกลไกและเครื่องมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการฉ้อฉลประกันภัย โดยจัดทำคู่มือและผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการฉ้อฉลประกันภัยและลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ร่วมกับกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
(4) ส่งเสริมงานวิจัยและยกระดับองค์ความรู้ด้านการประกันภัย เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยให้ทุนสนับสนุนการวิจัยหรือนวัตกรรมและจัดอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการประกันภัย
(5) สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้กำกับดูแลทั้งในและนอกประเทศอย่างบูรณาการเพื่อดูแลเสถียรภาพระบบประกันภัยและสนับสนุนการเชื่อมโยงตลาดประกันภัย เช่น ศึกษาแนวทางการเจรจาการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงินสาขาประกันภัยภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียน          เนื่องจากภาคธุรกิจประกันภัยมีความแตกต่างกัน เช่น ขนาดธุรกิจ บุคลากร ระบบเทคโนโลยี ดังนั้น การออกหรือปรับกฎเกณฑ์ใหม่ต้องคำนึงถึงความพร้อมในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถปฏิบัติตามได้
ยุทธศาสตร์ที่ 2 เชื่อมั่น : สร้างความเชื่อมั่นและปลูกฝังค่านิยมด้านการประกันภัยด้วยนวัตกรรมที่ทันสมัยและกลไกที่เป็นธรรม
(1) เร่งสร้างความตระหนักถึงความรู้และความสำคัญด้านการประกันภัยด้วยเครื่องมือและช่องทางที่หลากหลาย ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยี เช่น การจัดอบรมเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับประกันภัยผ่านโครงการต่าง ๆ
(2) ผลักดันให้เกิดการพัฒนาเครื่องมือหรือแพลตฟอร์มเพื่อให้สามารถเข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น รวมถึงมีเครื่องมือในการวางแผนทางการเงินและการประกันภัย เช่น การจัดทำแอปพลิเคชัน Online Social Game และการจัดกิจกรรมกระตุ้นการเรียนรู้
(3) ยกระดับมาตรฐานการให้บริการด้านการประกันภัยและพฤติกรรมทางตลาดของบริษัทประกันภัยและคนกลางประกันภัยให้มีความโปร่งใสและเป็นธรรม เช่น ปรับปรุงประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทน หรือประวิงการคืนเบี้ยประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย
(4) เพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัยของสำนักงาน คปภ. เช่น พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนงานคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัย          ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้รูปแบบการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยอาจเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนั้น แนวทางในการกำกับดูแลเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพการเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยจำเป็นต้องมีการแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ก้าวล้ำ : สนับสนุนให้ธุรกิจประกันภัยปรับตัวให้ทันกับความก้าวล้ำของเทคโนโลยีและนวัตกรรมภายใต้ระบบนิเวศน์ที่เหมาะสมและการเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญและจำเป็น
(1) เร่งผลักดันและสร้างระบบนิเวศน์ด้านกฎเกณฑ์และโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมให้ธุรกิจประกันภัยปรับตัวเป็นดิจิทัล เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ความเสี่ยง ความต้องการของลูกค้าและปรับกระบวนการทำงานและการให้บริการประชาชนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ดำเนินโครงการทดสอบนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการสำหรับธุรกิจประกันภัยและศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศูนย์บริหารข้อมูลด้านการประกันภัยแห่งชาติ
(2) พัฒนาหลักเกณฑ์และแนวทางเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เล่นรูปแบบใหม่รองรับสภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง โดยจัดทำหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อออกประกาศ คปภ. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการบริหารจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต/วินาศภัย
(3) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีการประกันภัยและมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีประกันภัย (InsurTech Hub) เช่น ขยายบทบาทศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีด้านประกันภัยในการให้คำแนะนำแก่บริษัทประกันภัยและ Startups
(4) สร้างกลไกความร่วมมือและเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมและใช้ประโยชน์จากข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ เช่น พัฒนาระบบรายงานข้อมูลประกันภัยรถภาคบังคับและพัฒนาแพลตฟอร์มกลางเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลกับภาคธุรกิจประกันภัย
(5) ยกระดับความสามารถของธุรกิจประกันภัยในการป้องกัน ตรวจจับและตอบสนองต่อความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีและภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น จัดทำกรอบการประเมินระดับความพร้อมด้านการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์สำหรับบริษัทประกันภัย          ข้อมูลด้านการประกันภัยมีความซับซ้อนและเชื่อมโยงหลายภาคส่วนจึงต้องใช้เวลาในการจัดทำฐานข้อมูลและสร้างความเข้าใจร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ระบบมีความสมบูรณ์มากที่สุด
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนา : ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยและความสามารถในการรับความเสี่ยงภัยที่สอดคล้องกับภูมิทัศน์ความเสี่ยงของเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
(1) สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้บริษัทมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยใหม่ ๆ ที่รองรับความต้องการและรูปแบบการดำเนินชีวิตของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไปและสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้รวดเร็วขึ้น เช่น การดำเนินโครงการทดสอบนวัตกรรมทางด้านประกันภัยและผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่สะท้อนความเสี่ยงเฉพาะราย และการพัฒนาเกณฑ์การคำนวนเงินสำรองทางภาษี เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยและสร้างความสามารถในการแข่งขันของบริษัทประกันภัย
(2) ต่อยอดและขยายผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่จำเป็นและตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของประชาชน เช่น การประกันภัยสำหรับรายย่อยและการผลักดันกฎหมายว่าด้วยการประกันภัยทางทะเล
(3) ผลักดันการประกันสุขภาพภาคเอกชนเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการประกันสุขภาพมากขึ้น เช่น โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านสุขภาพด้วยการประกันภัยและการกำหนดกรอบแนวทางการกำกับดูแลอุตสาหกรรมประกันภัยสุขภาพระยะยาว
(4) ส่งเสริมให้การประกันภัยมีบทบาทสำคัญในการบริหารความเสี่ยงภาครัฐ เช่น โครงการประกันภัยข้าวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปีการผลิต 2565           ผู้บริโภคมีความต้องการความคุ้มครองเฉพาะรายและเฉพาะความเสี่ยงมากขึ้นบริษัทประกันภัยจึงต้องเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบสนองความต้องการโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพ ทั้งนี้อัตราการเจ็บป่วยและจำนวนผู้เสียชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้นจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (โควิด -19) อาจส่งผลให้บริษัทประกันภัยต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนสูงกว่าที่คาดการณ์
ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ปรับเปลี่ยนสู่การเป็นองค์กรชั้นนำ บุคลากรมีศักยภาพสูง กระบวนการทำงานมีความคล่องตัวและขับเคลื่อนด้วยฐานข้อมูลและเทคโนโลยีที่ทันสมัย
(1) พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพและสมรรถนะเพื่อให้เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจของสำนักงาน คปภ. และบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น พัฒนาหลักสูตรด้านการกำกับดูแลของผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัย
(2) วางโครงสร้างและรูปแบบการทำงานใหม่ รวมถึงปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นการทำงานร่วมกัน เช่น การปรับปรุงพัฒนากระบวนการทำงานเพื่อรองรับการเป็น Smart OIC2
(3) ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพ สอดรับกับทิศทางและยุทธศาสตร์องค์กร เช่น การศึกษาสภาพแวดล้อมสถานที่ทำงานเพื่อเตรียมเป็น Smart Workplace และปรับปรุงข้อมูล กระบวนงาน และระบบงานด้านทรัพยากรบุคคล
(4) ปรับกระบวนการทำงานและระบบงานที่สนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงาน คปภ. และใช้เทคโนโลยีและข้อมูลในการตัดสินใจ รวมทั้งสร้างวัฒนธรรมการทำงานเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรดิจิทัลที่มีความคล่องตัวสูง เช่น พัฒนาแพลตฟอร์มการออกใบอนุญาตตัวแทน/นายหน้าประกันภัย/ผู้ประเมินวินาศภัยทางอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร
(5) สร้างกลไกการมีส่วนร่วม เปิดรับมุมมองจากทุกภาคส่วนและเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารกับสาธารณชนและภายในองค์กร โดยเข้ารับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐผ่านการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและการจัดประชุมผู้บริหารระดับสูงด้านการประกันภัย ประจำปี 2565 เพื่อเป็นเวทีในการสื่อสารทิศทางและนโยบายในการพัฒนาธุรกิจประกันภัยไทย          สภาพแวดล้อมของภาคการเงินและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลให้สำนักงาน คปภ. ต้องเร่งปรับตัวเพื่อให้ก้าวทันเทคโนโลยีและตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งศักยภาพของพนักงาน วัฒนธรรมและกระบวนการทำงานที่ต้องมีความยืดหยุ่น คล่องตัว สามารถเชื่อมโยงการทำงานระหว่างสายงานและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและข้อมูลเพื่อเป็นเครื่องมือหลักในการทำงาน
                    3. มาตรการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่อผู้เอาประกันภัย ประชาชน ภาคธุรกิจประกันภัย และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง เช่น
                              3.1 มาตรการบรรเทาผลกระทบสำหรับประชาชนและผู้ประกอบการ เช่น หารือกับภาคธุรกิจประกันภัยและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บริษัทประกันภัยอนุโลมจ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยรายวันให้แก่ผู้เอาประกันภัยที่รักษาตัวในศูนย์แยกกักตัวในชุมชนหรือสถานที่กักตัวในโรงแรม
                              3.2 มาตรการบรรเทาผลกระทบสำหรับบริษัทประกันภัย เช่น มาตรการสำหรับบริษัทประกันวินาศภัยที่มีค่าสินไหมทดแทนโควิด-19 โดยทำการตกลงตามความสมัครใจของผู้เอาประกันภัย                            ผู้รับผลประโยชน์ หรือบุคคลผู้มีสิทธิเรียกร้องหรือได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19
                              3.3 มาตรการเกี่ยวกับการดำเนินงานของสำนักงาน คปภ. เช่น กำหนดให้มีการรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในแต่ละจังหวัดต่อผู้บริหารอย่างสม่ำเสมอ และเตรียมมาตรการรองรับและช่วยเหลือพนักงานที่ติดเชื้อโควิด-19
                    4. การประเมินผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของสำนักงาน คปภ. รอบ 12 เดือน ปี 2565                    จำนวน 14 ตัวชี้วัด มีค่าคะแนนถ่วงน้ำหนักรวมอยู่ที่ 4.61 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน
                    5. ผลสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการด้านประกันภัยกับสำนักงาน คปภ. ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในปี 2565 จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2,023 ราย โดยประเมินผลความพึงพอใจ 3 ด้าน ได้แก่ คุณภาพการให้บริการ การเข้าถึงบริการ และความเป็นธรรม มีระดับความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ที่ระดับความพึงพอใจมากที่สุดที่ร้อยละ 93.60
1 จากการประสานข้อมูลกับ กค. เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2566 พบว่า เนื่องจากมีการปรับมูลค่าเบี้ยประกันภัยจากธุรกิจประกันชีวิตและเบี้ยประกันภัยจากธุรกิจประกันวินาศภัยให้เป็นเลขจำนวนเต็มดังนั้น จึงส่งผลต่อการคำนวณผลรวมของเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง
2 Smart OIC คือ แผนการปรับเปลี่ยนองค์กรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจประกันภัย ผ่านการศึกษา วิเคราะห์ และประเมินผลกระทบจากโควิด-19 การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี รวมทั้งแนวโน้มรูปแบบธุรกิจเพื่อกำกับการดูแลและส่งเสริม                  ภาคธุรกิจประกันภัยให้มีความมั่นคงและยั่งยืน

12. เรื่อง  รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนมิถุนายน และครึ่งแรกของ ปี 2566
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนมิถุนายน และครึ่งแรกของปี 2566 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ


          สาระสำคัญ
1.          สรุปสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนมิถุนายน 2566
          การส่งออกของไทยในเดือนมิถุนายน 2566 มีมูลค่า 24,826.0 ล้านเหรียญสหรัฐ (848,927                     ล้านบาท) หดตัวร้อยละ 6.4 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัยหดตัวร้อยละ 2.9 ภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ายังคงซบเซาจากแรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ทำให้การผลิตและการบริโภคยังคงตึงตัว ขณะที่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของตลาดจีนค่อนข้างช้ากว่าที่คาด นอกจากนี้ คู่ค้าส่วนใหญ่ชะลอการสั่งซื้อสินค้าจากผลกระทบของการหดตัวทางด้านอุปสงค์ มีการเร่งระบายสินค้าคงคลังมากขึ้น ส่งผลให้คำสั่งซื้อและการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง แต่ยังคงมีปัจจัยบวกจากค่าเงินบาทอ่อนค่า ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกในระยะนี้ และกระแสความมั่นคงทางอาหารทำให้สินค้าบางรายการขยายตัว อาทิ ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ผักกระป๋อง และผักแปรรูป ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ไข่ไก่ ซาร์ดีนกระป๋อง น้ำตาลทราย เป็นต้น ทั้งนี้ การส่งออกไทยครึ่งแรกของปี 2566 หดตัวร้อยละ 5.4 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัวร้อยละ 2.3
          มูลค่าการค้ารวม
          มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนมิถุนายน 2566 มีมูลค่าการค้ารวม  49,594.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 8.4 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 24,826.0 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 6.4 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 24,768.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 10.3 ดุลการค้า เกินดุล 57.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาพรวมครึ่งแรกของปี 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 288,648.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 4.4 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 141,170.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 5.4 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 147,477.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 3.5 ดุลการค้า                ขาดดุล 6,307.6 ล้านเหรียญสหรัฐ
           มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนมิถุนายน 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 1,706,114 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 8.3 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 848,927 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 6.3 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 857,188 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 10.2 ดุลการค้า ขาดดุล 8,261 ล้านบาท ภาพรวมครึ่งแรกของปี 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 9,857,867 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 2.2 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 4,790,352 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 3.1 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 5,067,514 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 1.3 ดุลการค้า ขาดดุล 277,162 ล้านบาท
การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
          มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 8.6 โดยสินค้าเกษตรหดตัว               ร้อยละ 7.4 และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 10.2 แต่ยังมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัวร้อยละ 14.2 (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย สหรัฐฯ เกาหลีใต้ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) น้ำตาลทราย ขยายตัวร้อยละ 31.4 (ขยายตัวในตลาดมาเลเซีย เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ลาว และไต้หวัน) เครื่องดื่ม ขยายตัวร้อยละ 8.3 (ขยายตัวในตลาดเวียดนาม เมียนมา จีน ลาว และมาเลเซีย) ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง ขยายตัวร้อยละ 10.7 (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร) ไอศกรีม ขยายตัวร้อยละ 11.3 (ขยายตัวในตลาดมาเลเซีย สิงคโปร์ กัมพูชา สหรัฐฯ และอินเดีย) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ข้าว หดตัวร้อยละ 15.0 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ แอฟริกาใต้ อิรัก ฮ่องกง และแคนาดา) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 16.7 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แคนาดา และแอฟริกาใต้) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 16.7 (หดตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสหรัฐฯ) ยางพารา หดตัวร้อยละ 43.0 (หดตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ มาเลเซีย ญี่ปุ่น และตุรกี) อาหารสัตว์เลี้ยง หดตัวร้อยละ 16.1 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 22.5 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และไต้หวัน) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ หดตัวร้อยละ 80.8 (หดตัวในตลาดอินเดีย เมียนมา มาเลเซีย ญี่ปุ่น และกัมพูชา) ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2566 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 2.8
การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
          มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 4.6 กลับมาหดตัวอีกครั้ง
แต่ยังมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 7.2 (ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และซาอุดีอาระเบีย) แผงวงจรไฟฟ้า ขยายตัว 5.3 (ขยายตัวในตลาดไต้หวัน จีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 31.2 (ขยายตัวในตลาดฮ่องกง สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น จีน และอิตาลี) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด ขยายตัวร้อยละ 68.7 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ อินเดีย เกาหลีใต้ กัมพูชา และมาเก๊า) หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ  ขยายตัวร้อยละ  46.8 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์  อิตาลี  ฮ่องกง  และไต้หวัน) เครื่องใช้สำหรับเดินทาง ขยายตัวร้อยละ 30.3 (ขยายตัวในตลาดจีน สิงคโปร์ อินเดีย ญี่ปุ่น และฮ่องกง) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน หดตัวร้อยละ 21.7 (หดตัวในตลาดเวียดนาม สิงคโปร์ กัมพูชา ญี่ปุ่น และมาเลเซีย) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 20.1 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง จีน เนเธอร์แลนด์ และญี่ปุ่น) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ หดตัวร้อยละ 9.0 (หดตัวในตลาดอินโดนีเซีย มาเลเซีย ออสเตรเลีย เวียดนาม และ                 เกาหลีใต้) ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2566 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 5.3
ตลาดส่งออกสำคัญ
                    ภาพรวมการส่งออกไปยังตลาดสำคัญส่วนใหญ่หดตัว ท่ามกลางความไม่แน่นอนของอุปสงค์จากประเทศคู่ค้า ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการชะลอตัวของภาคการผลิตโลก โดยตลาดสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และอาเซียน              (5) พลิกกลับมาหดตัวหลังจากขยายตัวในเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปตลาดจีนและญี่ปุ่นกลับมาขยายตัว ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก หดตัวร้อยละ 8.5 โดยกลับมาหดตัวในตลาดสหรัฐฯ อาเซียน (5) และสหภาพยุโรป (27) หดตัวร้อยละ 4.8 ร้อยละ 18.0 และร้อยละ 9.0 ตามลำดับ ตลาด CLMV หดตัวต่อเนื่องร้อยละ 23.1 ขณะที่ตลาดจีนและญี่ปุ่น กลับมาขยายตัวร้อยละ 4.5 และร้อยละ 2.6 ตามลำดับ (2) ตลาดรอง หดตัวร้อยละ 2.0 โดยหดตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 17.5 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 8.6 แอฟริกา ร้อยละ 8.5 และลาตินอเมริกา ร้อยละ 10.2 แต่ขยายตัวในตลาดทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 9.7 รัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 112.5 และ สหราชอาณาจักร ร้อยละ 8.8 (3) ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 19.7 อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ ขยายตัวร้อยละ 19.3
2.          มาตรการส่งเสริมการส่งออกและแนวโน้มการส่งออกระยะต่อไป
          การส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการเชิงรุกเพื่อผลักดันและอำนวยความสะดวกการส่งออก โดยการดำเนินงานที่สำคัญในรอบเดือนที่ผ่านมา อาทิ (1) กิจกรรมแสดงสินค้าและเจรจาธุรกิจ อาทิ                   จัดงานแสดงสินค้า Top Thai Brands 2023 ณ เมืองบังคาลอร์ รัฐกรณาฏกะ สาธารณรัฐอินเดีย เข้าร่วมงาน Western China International Fair (WCIF) ณ มณฑลเสฉวน ประเทศจีน นำผู้แทนการค้า (Trade Mission) ไปเจรจาการค้าในภูมิภาคลาตินอเมริกา (อาร์เจนตินา ชิลี บราซิล) เข้าร่วมงานแสดงสินค้า Naturally Good Expo 2023 ณ เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย และเข้าร่วมงานเทศกาลภาพยนตร์ Annecy International Animation Film Festival 2023 เป็นต้น (2) ผลักดันการเปิดจุดผ่านแดนถาวรไทย-ประเทศเพื่อนบ้านให้กลับมาเปิดทำการปกติได้ครบทั้ง  42 จุด ประกอบด้วย ไทย-ลาว 20 จุด ไทย-กัมพูชา 7 จุด ไทย-เมียนมา 6 จุด และไทย-มาเลเซีย                9 จุด เพื่อให้อำนวยความสะดวกทางด้านการขนส่งสินค้าและสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยขยายตลาดไปยังประเทศเพื่อนบ้าน
           แนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไป กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่า การส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป แม้ว่าจะยังมีความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า โดยเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ จากการบริโภคและการลงทุนที่ยังอ่อนแอ เศรษฐกิจยุโรปเปราะบางจากอุปสงค์ภายในและตลาดแรงงานที่อ่อนแอ โดยเฉพาะตลาดเยอรมนี ฟินแลนด์ และเดนมาร์ก ที่มีระดับค่าครองชีพสูง ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลง ในขณะที่การถอนตัวจากข้อตกลง Black Sea Grain Initiative ของรัสเซีย และปัญหาภัยแล้งจากปรากฏการณ์เอลนีโญ สร้างความกังวลต่อการตึงตัวของอุปทานอาหารโลก ซึ่งอาจจะกระทบต่อเงินเฟ้อและกำลังซื้อของประเทศคู่ค้า อย่างไรก็ดี มีปัจจัยสนับสนุนการส่งออกจากการเร่งเปิดตลาดศักยภาพเพื่อกระจายความเสี่ยงและลดผลกระทบจากการชะลอตัวของตลาดส่งออกหลัก เช่น ตะวันออกกลาง ลาตินอเมริกา และแอฟริกา นอกจากนี้                     เงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่องเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการส่งออกสินค้าของไทย และความกังวลต่อการขาดแคลนอาหารทั่วโลกอาจเป็นปัจจัยผลักดันให้มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นจากปัจจัยด้านราคาเป็นสำคัญ

13. เรื่อง การพิจารณารับรองวัดคาทอลิก ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอการรับรองวัดคาทอลิกเป็นวัดคาทอลิกตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก                   พ.ศ. 2564 (ระเบียบฯ) จำนวนวัด 49 วัด ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2566 เป็นต้นไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    วธ. รายงานว่า
                    1. ระเบียบฯ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2564 เพื่อกำหนดแนวทางในการพิจารณาจัดตั้งและรับรองวัดคาทอลิก1 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งระเบียบดังกล่าวกำหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองคำขอจัดตั้งวัดคาทอลิก (คณะกรรมการฯ) (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธาน) มีหน้าที่และอำนาจในการเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อประกอบการพิจารณาคำขอจัดตั้งวัดคาทอลิกและเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณารับรองวัดคาทอลิกต่อไป โดยที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (23 สิงหาคม 2565,                8 พฤศจิกายน 2565, 21 กุมภาพันธ์ 2566 และ 16 พฤษภาคม 2566) เห็นชอบการรับรองวัดคาทอลิกไปแล้วรวม 155 วัด
                    2. วธ. (กรมการศาสนา) ได้หารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับระยะเวลาการยื่นขอให้รับรองวัดคาทอลิกตามข้อ 16 แห่งระเบียบฯ ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 8) ได้พิจารณาแล้ว โดยมีความเห็นสรุปได้ ดังนี้
ประเด็นหารือ          ข้อพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา
(1) กำหนดระยะเวลาให้มิซซังยื่นคำขอให้รับรองวัดคาทอลิกภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่ระเบียบฯ ใช้บังคับ (ภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2566) สามารถขยายได้หรือไม่ หากขยายได้ต้องดำเนินการอย่างไร          การกำหนด ?ระยะเวลาสองปี? ไว้ในข้อ 16 มีลักษณะเป็นเงื่อนเวลาที่กำหนดขึ้นสำหรับใช้เฉพาะการดำเนินการยื่นคำขอรับรองดังกล่าวและไม่ได้มีความใดในระเบียบฯ ที่อาจตีความได้ว่า หลักเกณฑ์การขอรับรองวัดคาทอลิกตามข้อ 16 จะคงอยู่ไปตลอดจนกว่าจะได้มีการยื่นคำขอรับรองและการพิจารณารับรองวัดคาทอลิกทั้งหมดที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่ระเบียบฯ ใช้บังคับจนแล้วเสร็จ ดังนั้น การยื่นคำขอให้รับรองวัดคาทอลิกตามข้อ 16 ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่ระเบียบฯ มีผลใช้บังคับ อย่างไรก็ดี หากรัฐบาลมีนโยบายที่จะยกเว้นการใช้บังคับหลักเกณฑ์การจัดตั้งวัดคาทอลิกให้แก่วัดคาทอลิกที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่ระเบียบฯ ใช้บังคับตามข้อ 16 ต่อไป ก็สามารถกระทำได้โดยการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบดังกล่าวเพื่อกำหนดให้มีการขยายระยะเวลาสิ้นสุดออกไปเกินสองปีหรือยกเลิกข้อกำหนดระยะเวลาในข้อ 16
(2) กรณีไม่สามารถขยายระยะเวลาได้ หากมิซซังได้ยื่นคำขอให้รับรองวัดคาทอลิกทั้งหมดต่อกรมการศาสนาภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่ระเบียบฯ ใช้บังคับแล้ว กรมการศาสนาและพนักงานเจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ในการรับรองวัดคาทอลิกนั้น เมื่อเกินระยะเวลาดังกล่าวได้หรือไม่ และจะมีผลทางกฎหมายต่อสถานะของวัดคาทอลิกที่ได้รับการรับรองหรือไม่          การกำหนดระยะเวลา ?ภายในสองปีนับแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ? ตามข้อ 16 วรรคหนึ่ง เป็นการกำหนดเงื่อนเวลาเพื่อให้มิซซังโดยความเห็นชอบของสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการยื่นคำขอให้รับรองวัดคาทอลิกที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่ระเบียบฯ ใช้บังคับมิใช่กำหนดระยะเวลาให้กรมการศาสนาและพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการพิจารณาคำขอให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ดังนั้นหากมิซซังโดยความเห็นชอบของสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทยได้ยื่นคำขอให้รับรองวัดคาทอลิกใดต่อกรมการศาสนาและพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมสามารถพิจารณาคำขอดังกล่าวที่ได้ยื่นไว้และอยู่ระหว่างการพิจารณาต่อไปได้แม้จะพ้นระยะเวลาตามที่กำหนดในข้อ 16 แห่งระเบียบฯ แล้ว และผลการพิจารณาคำขอที่ออกภายหลังระยะเวลาดังกล่าวไม่มีผลกระทบทางกฎหมายต่อสถานะของวัดคาทอลิกที่จะได้รับการรับรอง (วัดที่เสนอคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ยื่นคำขอให้รับรองวัดคาทอลิกก่อนวันที่ 15 มิถุนายน 2566)
(3) คำขอให้รับรองวัดคาทอลิกที่มิซซังได้ยื่นภายในระยะเวลาสองปี สามารถแก้ไขข้อมูลหรือยื่นเอกสารประกอบเพิ่มเติมให้ถูกต้องครบถ้วนภายหลังเมื่อพ้นระยะเวลาสองปีได้หรือไม่ และพนักงานเจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อให้มีการรับรองวัดคาทอลิกเช่นเดียวกับคำขอที่ยื่นถูกต้องตั้งแต่แรกได้หรือไม่          ผู้ยื่นคำขอให้รับรองวัดคาทอลิกต้องยื่นคำขอพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานที่แสดงข้อมูลและรายละเอียดดังกล่าวให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนดในข้อ 16 ซึ่งกรมการศาสนาสมควรทำความเข้าใจกับผู้ยื่นคำขอให้ชัดเจนว่า ประสงค์ที่จะให้ผู้ยื่นคำขอแสดงเอกสารหลักฐานใดเพื่อที่จะได้จัดเตรียมข้อมูลดังกล่าวยื่นมาพร้อมกับคำขอเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการประวิงเวลาหรือขยายเวลาการยื่นเอกสารประกอบการพิจารณาโดยปริยาย อย่างไรก็ดี หากในชั้นการพิจารณาของกรมการศาสนาหรือพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่า มีความจำเป็นต้องให้มีการแก้ไขข้อมูลหรือยื่นเอกสารประกอบเพิ่มเติมเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาสองปี ก็อาจกระทำได้ โดยต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 25582  โดยเคร่งครัด และเมื่อมีการแก้ไขคำขอหรือได้รับเอกสารเพิ่มเติมแล้ว กรมการศาสนาหรือพนักงานเจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อให้มีการรับรองวัดคาทอลิกได้
                    3. ต่อมาคณะกรรมการฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 ได้พิจารณาคำขอให้รับรองวัดคาทอลิกทั้ง 49 วัด แล้วเห็นว่าวัดคาทอลิกดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในข้อที่ 16 แห่งระเบียบดังกล่าวประกอบด้วย (1) ได้รับความเห็นชอบให้ยื่นคำขอรับรองวัดคาทอลิกจากสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย (2) มีข้อมูลที่ตั้งวัด (3) มีข้อมูลที่ดินที่ตั้งและการอนุญาตให้ใช้ที่ดิน (4) มีรายชื่อบาทหลวงซึ่งจะไปประกอบศาสนกิจประจำ ณ วัดคาทอลิก และ (5) มีข้อมูลอื่นที่จำเป็นเกี่ยวกับการรับรองวัดคาทอลิก เช่น มีใบอนุญาตหรือใบรับรองการก่อสร้างอาคารหรือเอกสารรับรองความมั่นคงแข็งแรงของอาคารวัด/มีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เอื้อต่อการประกอบศาสนพิธีและการพำนัก/มีสถานที่ สิ่งปลูกสร้าง และอุปกรณ์ ซึ่งจำเป็นแก่การประกอบศาสนกิจและการพำนักครบถ้วน/วัดได้ดำเนินงานตามภารกิจของมิซซังในด้านต่าง ๆ เช่น    ด้านอภิบาลคริสตชนและด้านเผยแผ่ธรรมเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น จึงมีมติให้เสนอคำขอให้รับรองวัดคาทอลิกรวมจำนวน 49 วัด ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณา ให้การรับรองตามนัยระเบียบดังกล่าว
                    4. รายละเอียดของวัดคาทอลิก จำนวน 49 วัด สรุปได้ ดังนี้
                              4.1 รายละเอียดของวัดจำแนกเป็นรายจังหวัด
หน่วย : แห่ง
จังหวัด          จำนวนวัด          จังหวัด          จำนวนวัด
กรุงเทพมหานคร          2          ปัตตานี          1
สมุทรปราการ          1          ยะลา          2
จันทบุรี          2          สุรินทร์          1
เพชรบูรณ์          1          ศรีสะเกษ          3
ลำปาง          1          อุบลราชธานี          9
เชียงราย          7          อำนาจเจริญ          3
ชุมพร          1          กาฬสินธุ์          3
พังงา          1          สกลนคร          3
ภูเก็ต          2          นครพนม          2
ตรัง          1          มุกดาหาร          2
สงขลา          1
                              4.2 ประโยชน์ของวัดคาทอลิกที่มีต่อชุมชน/ท้องถิ่น
                                        4.2.1 เป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจเพื่อความสงบและการพัฒนาจิตใจ
                                        4.2.2 เป็นสถานที่พบปะพูดคุยของคนในชุมชนเมื่อมาประกอบศาสนกิจ ส่งผลให้เกิดความสามัคคีในชุมชน
                                        4.2.3 ใช้สถานที่ของวัดเป็นที่ออกกำลังกาย
                                        4.2.4 เป็นแหล่งศึกษาด้านวัฒนธรรมประเพณีของคาทอลิกแก่นักเรียนและประชาชนทั่วไป
                                        4.2.5 เป็นแหล่งเรียนรู้พระธรรมคำสอนคริสต์ศาสนาและฝึกอบรมพัฒนาการเป็นพลเมืองที่ดีให้กับประชาชนชาวไทย
1 การรับรองวัดคาทอลิกจะทำให้วัดได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐเพื่อการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนสถาน เช่น โครงการเงินอุดหนุนกิจกรรมบูรณะศาสนสถาน รวมทั้งได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหรือการหักลดหย่อนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น การยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและการได้รับประโยชน์จากการลดหย่อนภาษีของคริสต์ศาสนิกชนที่บริจาคเงินให้แก่วัด
2 มาตรา 7 ของพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 บัญญัติว่าในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดให้การกระทำใดจะต้องได้รับอนุญาต ผู้อนุญาตจะต้องจัดทำคู่มือสำหรับประชาชน ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข (ถ้ามี) ในการยื่นคำขอ ขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาตและรายการเอกสารหรือหลักฐานที่ผู้ขออนุญาตจะต้องยื่นมาพร้อมกับคำขอ และจะกำหนดให้ยื่นคำขอผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์แทนการมายื่นคำขอด้วยตนเองก็ได้
          คู่มือสำหรับประชาชนตามวรรคหนึ่งให้ปิดประกาศไว้ ณ สถานที่ที่กำหนดให้ยื่นคำขอและเผยแพร่ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเมื่อประชาชนประสงค์จะได้สำเนาคู่มือดังกล่าว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดสำเนาให้โดยคิดค่าใช้จ่ายตามควรแก่กรณีก็ได้ ในกรณีเช่นนั้นให้ระบุค่าใช้จ่ายดังกล่าวไว้ในคู่มือสำหรับประชาชนด้วย

14. เรื่อง รายงานการประเมินผลการดำเนินงานและความคุ้มค่าในการจัดประชารัฐสวัสดิการ ประจำปี                    พ.ศ. 2565 และรายงานการสำรวจความพึงพอใจในการจัดประชารัฐสวัสดิการ จากผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและผู้ได้รับบริการทางสังคม ประจำปี พ.ศ. 2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม (คณะกรรมการฯ) เสนอ รายงานการประเมินผลการดำเนินงานและความคุ้มค่าในการจัดประชารัฐสวัสดิการ ประจำปี พ.ศ. 2565 (รายงานการประเมินผลฯ) และรายงานการสำรวจความพึงพอใจในการจัดประชารัฐสวัสดิการจากผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและผู้ได้รับบริการทางสังคม ประจำปี พ.ศ. 2565 (รายงานการสำรวจความพึงพอใจฯ) [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม พ.ศ. 2562 มาตรา 8 (5)                 ที่บัญญัติให้คณะกรรมการฯ ประเมินผลการดำเนินงานและความคุ้มค่าในการจัดประชารัฐสวัสดิการอย่างน้อยปีละ                 1 ครั้ง พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการดำเนินงานและความคุ้มค่าในการจัดประชารัฐสวัสดิการให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (1 กุมภาพันธ์ 2565) เห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลฯ แล้ว โดยต้องแสดงรายละเอียดของการจัดประชารัฐสวัสดิการ เช่น จำนวนผู้ได้รับประชารัฐสวัสดิการและต้นทุนหรือมูลค่าในการจัดประชารัฐสวัสดิการ และผลประโยชน์ของการจัดประชารัฐสวัสดิการ] ทั้งนี้คณะกรรมการฯ มีมติเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2566 เห็นชอบรายงานประเมินผลฯ และรายงานการสำรวจความพึงพอใจฯ แล้ว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. รายงานการประเมินผลฯ ปี 2565 โดยใช้ข้อมูลในการประเมินผลจากข้อมูลที่เกี่ยวกับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564-30 กันยายน 2565 และข้อมูลจำนวนเงินงบประมาณที่กองทุน                ประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม (กองทุนประชารัฐฯ) ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สรุปผลได้ ดังนี้
                              1.1 ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐของปี 2565
                              ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีจำนวน 13.26 ล้านคน โดยได้รับการจัดประชารัฐสวัสดิการผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 5 สวัสดิการ ได้แก่ (1) ค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค วงเงิน 200-300 บาท/คน/เดือน (2) ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม วงเงิน 45 บาท/คน/3 เดือน (3) ค่าโดยสารสาธารณะ ได้แก่ ค่ารถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และรถไฟฟ้า วงเงิน 500 บาท/คน/เดือน ค่ารถโดยสารของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) วงเงิน 500 บาท/คน/เดือน และค่ารถโดยสารรถไฟ วงเงิน 500 บาท/คน/เดือน (4) ค่าสาธารณูปโภคพื้นฐาน ได้แก่ ค่าไฟฟ้า ไม่เกิน 315 บาท/ครัวเรือน/เดือน และ              ค่าน้ำประปา ไม่เกิน 100 บาท/ครัวเรือน/เดือน (จะโอนจะจ่ายเงินเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐตามค่าบริการที่จ่ายจริง) และ (5) ค่าเพิ่มเบี้ยความพิการ วงเงิน 200 บาท/คน/เดือน ส่งผลให้ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ลงทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑลได้รับวงเงินช่วยเหลือ จำนวน 2,330-2,430 บาท/คน/เดือน และผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ลงทะเบียนในเขตพื้นที่จังหวัดอื่น ๆ ได้รับวงเงินช่วยเหลือ จำนวน 1,830-1,930 บาทต่อคนต่อเดือน รวมมูลค่าในการจัดประชารัฐสวัสดิการ จำนวน 46,930.81 ล้านบาท1
                    1.2 ผลการดำเนินงาน
                    ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้ใช้สิทธิสวัสดิการรวมถึงวงเงินที่ใช้สิทธิสวัสดิการของวงเงินที่ได้รับ สรุปได้ ดังนี้
รายการสวัสดิการ          อัตราการใช้สิทธิเปรียบเทียบกับผู้ได้รับสิทธิทั้งหมด
(ร้อยละ)          อัตรามูลค่าการใช้สิทธิเปรียบเทียบกับมูลค่าวงเงินสิทธิที่ได้รับ (ร้อยละ)
(1) ค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค
1) วงเงิน 200 บาท          98.21          99.92
2) วงเงิน 300 บาท          98.68          99.91
(2) ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม          24.48          99.75
(3) ค่ารถโดยสารสาธารณะ
1) รถไฟ          0.37          52.26
2) บขส.          0.10          85.83
3) ขนส่งในเขต กทม.และปริมณฑล          10.05          33.02
(4) ค่าสาธารณูปโภค
1) ค่าไฟฟ้า*          7.98          -
2) ค่าน้ำประปา*          2.24          -
*หมายเหตุ กองทุนประชารัฐฯ ไม่ได้มีการตั้งวงเงินค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปาให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในแต่ละเดือน เนื่องจากการสนับสนุนค่าใช้จ่ายดังกล่าว ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐต้องชำระค่าบริการในแต่ละเดือนด้วยตนเองและกระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลางจะโอนเงินคืนเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐตามค่าบริการที่จ่ายจริง จึงไม่มีอัตราส่วนมูลค่าการใช้เปรียบเทียบกับวงเงินสำหรับสวัสดิการดังกล่าว
                    ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาอัตราการใช้ประโยชน์จากการจัดหาประชารัฐสวัสดิการพบว่า ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐใช้สิทธิเกี่ยวกับค่าซื้อสินค้าอุปโภคสูงที่สุด และส่วนใหญ่มีการใช้วงเงินเกือบเต็มจำนวนในคราวเดียว รองลงมาคือ ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า สวัสดิการดังกล่าวสามารถบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายและบรรเทาภาระค่าครองชีพให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการได้ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดประชารัฐสวัสดิการอย่างแท้จริง ขณะที่สวัสดิการอื่น ๆ ที่มีจำนวนผู้ใช้สิทธิน้อยกว่าจำนวนผู้ใช้สิทธิของวงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะสวัสดิการค่าโดยสารรถสาธารณะ เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายประการ ดังนี้
                              1.2.1 ประเภทรถโดยสารสาธารณะที่สามารถใช้กับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับระบบขนส่งสาธารณะทั่วไปที่ผู้มีบัตรสวัสดิการสามารถใช้ได้
                              1.2.2 ข้อจำกัดด้านพื้นที่การใช้บริการ โดยปัจจุบันพบว่าผู้มีบัตรสวัสดิการที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2560 และปี 2561 นอกเขต กทม. และปริมณฑล ไม่สามารถใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะใน กทม. ได้ ส่งผลให้มีผู้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะใน กทม. น้อย
                              1.2.3 การใช้สวัสดิการของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจากการกำหนดวงเงินแยกรายประเภทรถโดยสาร ส่งผลให้ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐสูญเสียวงเงินรถโดยสารสาธารณะในส่วนที่ไม่ได้ใช้ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ประสิทธิภาพในการเข้าถึงสวัสดิการอาจจะยังไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดประชารัฐสวัสดิการ
                    1.3 ผลประโยชน์และความคุ้มค่าของการจัดประชารัฐสวัสดิการ
                    ผลประโยชน์ทางตรง เป็นการลดภาระค่าครองชีพและบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายที่จำเป็นให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 13.26 ล้านคน โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่อยู่ในเขต กทม. และปริมณฑลได้รับผลประโยชน์อยู่ที่ 2,330-2,430 บาท/คน/เดือน ขณะที่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดอื่น ๆ ได้รับผลประโยชน์อยู่ที่ 1,830-1,930 บาท/คน/เดือน และในส่วนผลประโยชน์ทางอ้อม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีการใช้จ่ายเงินกองทุนประชารัฐฯ เพื่อเป็นวงเงินเพื่อซื้อสินค้าบริโภคอุปโภคที่จำเป็น จำนวน 43,303.15 ล้านบาท ก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการบริโภคของภาคเอกชนเป็นจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 75,347.48 ล้านบาท และเมื่อพิจารณาความคุ้มค่าของการจัดประชารัฐสวัสดิการ เมื่อนำมาคำนวนแล้ว2 พบว่าการดำเนินโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ประจำปี 2565 มีความคุ้มค่า โดยผลประโยชน์ที่ได้รับมากกว่าต้นทุนอยู่ 26,303.24 ล้านบาท ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า งบประมาณที่รัฐใช้สำหรับจัดสวัสดิการสามารถลดภาระค่าครองชีพและช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายที่จำเป็นให้แก่ผู้มีรายได้น้อย รวมถึงก่อให้เกิดผลประโยชน์แก่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้งยังเป็นการกระจายรายได้เข้าสู่ชุมชนและเข้าสู่เศรษฐกิจฐานรากโดยตรง
                    2. รายงานการสำรวจความพึงพอใจในการจัดประชารัฐสวัสดิการจากผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และผู้ได้รับบริการทางสังคม ประจำปี พ.ศ. 2565
                    คณะกรรมการฯ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมบัญชีกลาง กทม. และเมืองพัทยาสำรวจความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่างผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 11,105 ราย ระหว่างวันที่ 1 กันยายน-30 ตุลาคม 2565 สรุปผลได้ ดังนี้
                              2.1 ด้านความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อสวัสดิการแห่งรัฐ โดยรวมในระดับที่มาก โดยเมื่อพิจารณาแบ่งตามกลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ พบว่า กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่เป็นผู้ว่างงาน    ผู้ไม่มีรายได้ และผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มที่มีความพึงพอใจในสวัสดิการที่ได้รับมากที่สุด และเห็นว่าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐสามารถแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้ โดยรูปแบบสวัสดิการที่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคและกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตาม มูลค่าสวัสดิการที่ได้รับจากทั้ง 2 รายการดังกล่าว ไม่เพียงพอและต้องการให้เพิ่มวงเงินสวัสดิการ โดยเฉพาะในส่วนของวงเงินการซื้อสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค ค่าน้ำประปา และค่าไฟฟ้า ตามแนวโน้มราคาสินค้าที่แพงขึ้น รวมถึงต้องการได้รับสวัสดิการเป็นเงินสดเพื่อนำมาใช้จ่ายได้ ทั้งนี้ ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมีความพึงพอใจในสวัสดิการทุกรายการในระดับมากและมีความพึงพอใจกับโครงการลงทะเบียนฯ และต้องการให้มีการดำเนินการต่อเนื่องต่อไป
                              2.2 ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์หรือสังคมออนไลน์และหนังสือพิมพ์เป็นช่องทางที่เข้าถึงผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้น้อยที่สุด ซึ่งอาจมาจากข้อจำกัดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช่ในการสื่อสาร เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และเห็นว่าควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐผ่านทางโทรทัศน์ วิทยุ หรือเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ เพื่อให้ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างครบถ้วนและทันเหตุการณ์
1 มูลค่าในการจัดประชารัฐสวัสดิการของปี 2565 มีจำนวน 46,930.81 ล้านบาท รวมทั้งมีการจัดสรรวงเงินสวัสดิการที่ค้างจ่ายจากการดำเนินมาตรการต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 2561-2565 (เนื่องจากการโอนเงินไม่สำเร็จในช่วงระยะเวลาที่มีการดำเนินการ) จำนวน 2,113.43 ล้านบาท ส่งผลให้มูลค่าในการจัดประชารัฐสวัสดิการที่เบิกจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 49,044.24 ล้านบาท
2 โดยคำนวณจากความคุ้มค่าในการจัดประชารัฐสวัสดิการ = ผลประโยชน์ที่ได้รับ (ทั้งทางตรงและทางอ้อม)-ต้นทุน (งบประมาณที่ใช้ในการจัดประชารัฐสวัสดิการ) [ผลประโยชน์ที่ได้รับ (ทั้งทางตรงและทางอ้อม) จำนวน 75,347.48 ล้านบาท-ต้นทุน (งบประมาณที่ใช้ในการจัดประชารัฐสวัสดิการ จำนวน 49,044.24 ล้านบาท)]

ต่างประเทศ
15.  เรื่อง ขออนุมัติการลงนามในบันทึกความเข้าใจ ระหว่างศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลกับหน่วยยามฝั่งเวียดนาม ในความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมายทางทะเล
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบและอนุมัติให้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่าง ศรชล. สำนักนายกรัฐมนตรี แห่งราชอาณาจักรไทย กับหน่วยยามฝั่งเวียดนามแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ในความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมายทางทะเล (บันทึกความเข้าใจฯ)
                    2. อนุมัติในหลักการก่อนที่จะมีการลงนาม หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขบันทึกความเข้าใจฯ ในประเด็นที่ไม่ใช่หลักการสำคัญ ให้ ศรชล. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก
                    3. อนุมัติให้รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ
                    4. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนาม (เชคมติ ครม. ว่า เสนออย่างไร)
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1) ศรชล. จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ. 2562 มีหน้าที่และอำนาจในการวางแผน อำนวยการ ประสานงานและสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ดังนั้น ศรชล. จึงได้เริ่มจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจฯ และเมื่อวันที่                  6 เมษายน 2566 หน่วยยามฝั่งเวียดนามได้ให้ความเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจฯ แล้ว
                    2) ร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญเป็นการส่งเสริมความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมายทางทะเล เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและยกระดับความปลอดภัยและความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาคใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ (1) การลักลอบขนสินค้าและการหลบหนีเข้าเมือง (2) การดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (3) การอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางทะเล และ (4) ยกระดับความปลอดภัยในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล
                    3. กระทรวงกลาโหม สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติพิจารณาแล้วไม่มีข้อขัดข้อง/เห็นชอบ ตามที่ ศรชล. เสนอ ส่วนกระทรวงการต่างประเทศ (กรมเอเชียตะวันออก) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เห็นว่าร่างบันทึกความเข้าใจไม่เข้าลักษณะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่ง สคก. เห็นว่า การให้ความเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจฯ ไม่เข้าลักษณะเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ตามนัยมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คณะรัฐมนตรีจึงพิจารณาให้ความเห็นชอบได้ตามที่เห็นสมควร

16. เรื่อง ขอความเห็นชอบถ้อยแถลงของประธานการประชุมรัฐมนตรีขนส่งเอเปค ครั้งที่ 11
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบถ้อยแถลงของประธานการประชุมรัฐมนตรีขนส่งเอเปค ครั้งที่ 111 (ถ้อยแถลงของประธานฯ) ก่อน คค. ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    2. ให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม บูรณาการแนวทางการดำเนินงานและแสวงหาความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมระหว่างสาขาความร่วมมือต่าง ๆ ในเวทีเอเปคอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการสร้างอนาคตที่เปิดกว้าง มีพลวัต ยืดหยุ่น และสงบสุขสำหรับทุกคน เพื่อบรรลุเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คค. รายงานว่า
1.          เมื่อวันที่ 15-17 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกา ในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุม
เอเปค2 ประจำปี 2566 ได้จัดการประชุมรัฐมนตรีขนส่งเอเปค ครั้งที่ 11  (การประชุมฯ) และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง (the 11th Asia-Pacific Economic Cooperation Transportation Ministerial Meeting: the 11th APEC TMM หรือ TMM11) ณ เมืองดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ภายใต้หัวข้อ ?การสร้างอนาคตที่ยืดหยุ่นและยั่งยืนสำหรับทุกคน? โดยมีคณะทำงานขนส่งเอเปค3 (Transportation Working Group : TPTWG)  (คณะทำงานฯ) เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ได้มีการจัดทำถ้อยแถลงของประธานฯ เพื่อเป็นผลลัพธ์ของการประชุมฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปค4 กับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยขับเคลื่อนการดำเนินงานและปรับโครงสร้างองค์กรของคณะทำงานฯ ไปสู่ความท้าทายและโอกาสใหม่ ๆ ที่ช่วยสร้างอนาคตที่ยืดหยุ่นและยั่งยืนสำหรับทุกคน และแสวงหา ?ชุมชนเอเชีย-แปซิฟิกที่เปิดกว้าง มีพลวัต ยืดหยุ่น และสงบสุขภายในปี ค.ศ. 2040 เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของประชาชนและคนรุ่นหลัง? ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและ คค. รวมถึงเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจ              สีเขียว
2.          ถ้อยแถลงของประธานฯ มีสาระสำคัญในการ (1) เน้นย้ำความมุ่งมั่นต่อวิสัยทัศน์ปุตราจายา
ค.ศ. 20405 ?ประชาคมเอเชีย-แปซิฟิกที่เปิดกว้าง มีพลวัต ยืดหยุ่นและสงบสุขภายในปี 2583 เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของประชาชนและคนรุ่นต่อไปในอนาคต? รวมถึงการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเอาทีอารอ6 และเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว7 (the Bangkok Goals on Bio-Circular-Green Economy) (2) เน้นย้ำบทบาทสำคัญของการขนส่ง เช่น ขับเคลื่อนการเติบโตและโอกาสทางเศรษฐกิจ อำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน ปรับปรุงการเชื่อมโยงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในช่วงที่สมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคกำลังฟื้นตัวอย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพ ยืดหยุ่น และยั่งยืน (3) ยืนยันความมุ่งมั่นในการมีส่วนร่วมระหว่างสาขาความร่วมมือต่าง ๆ ภายในเอเปค เพื่อปรับปรุงความร่วมมือและพัฒนาวิสัยทัศน์ร่วมกัน (4) เน้นย้ำความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้เปิด กว้างและเชื่อมโยงถึงกันผ่านการดำเนินการตามแผน APEC Connectivity Blueprint (ค.ศ. 2015 - 2025)8 (5) เน้นย้ำบทบาทการทำงานที่สำคัญของคณะทำงานฯ ต่อการบูรณาการทางเศรษฐกิจและการอำนวยความสะดวกในภาคการขนส่ง ชี้แนะให้                   คณะทำงานฯ แสวงหาความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการบูรณาการทางเศรษฐกิจในภูมิภาคและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและสนับสนุนให้แสวงหาวิธีการที่เหมาะสมที่จะนำไปสู่นวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงด้านการขนส่งที่ล้ำสมัยต่อไป รวมทั้งชี้แนะให้คณะทำงานฯ มีส่วนร่วมในประเด็นต่าง ๆ สำหรับการดำเนินงานในอนาคต สรุปได้ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
(1) ห่วงโซ่อุปทาน และการเชื่อมต่อ
          - สนับสนุนความร่วมมือด้านความเชื่อมโยงทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมการค้าและการลงทุนที่เสรี เปิดเผย ยุติธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ โปร่งใส และคาดการณ์ได้
- ยินดีรับข้อมูลจากภาคอุตสาหกรรมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมโยงของภูมิภาค และสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ โอกาส และการสร้างงานที่มากขึ้น
(2) สภาพภูมิอากาศ          - เน้นบทบาทที่สำคัญของภาคการขนส่งในการรับมือการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ เนื่องจากการขนส่งเป็นหนึ่งในแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มากที่สุด ซึ่งการจัดการกับเรื่องดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงโอกาสในการพัฒนาเทคโนโลยีการขนส่งใหม่ที่สะอาดและเป็นนวัตกรรม
- หารือถึงการดำเนินการเฉพาะด้านและจับต้องได้ของคณะทำงานฯ เช่น กระตุ้นการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พาหนะขนาดเล็กที่ปล่อยมลพิษต่ำและเป็นศูนย์ (อาทิ แบตเตอรี่ไฟฟ้า ปลั๊กอินไฮบริด ยานยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง เป็นต้น) อำนวยความสะดวกการพัฒนาและการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้เชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน และพัฒนาการขนส่งสินค้าทางทะเลที่ปล่อยมลพิษต่ำและเป็นศูนย์ รวมถึงการลดคาร์บอนของท่าเรือ
(3) ความครอบคลุมและความเท่าเทียม
เพศสภาพ
          -เน้นความสำคัญของนโยบายการขนส่ง ส่งเสริมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ครอบคลุม เข้าถึงได้และปลอดภัย
- พัฒนาความเสมอภาคทางเพศและเพิ่มขีดความสามารถของผู้หญิงและเด็กผู้หญิงที่มีภูมิหลังที่หลากหลาย
- พยายามที่จะเพิ่มความตระหนักรู้ของสาธารณชนเกี่ยวกับการใช้ระบบขนส่งที่ผิดกฎหมายในการค้ามนุษย์ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบที่ไม่เท่าเทียมกันต่อผู้หญิงและเด็กผู้หญิงที่มีภูมิหลังที่แตกต่างกัน รวมทั้งสนับสนุนให้เขตเศรษฐกิจต่าง ๆ ร่วมมือกับภาคการขนส่งและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ เพื่อยุติกิจกรรมอาชญากรรมดังกล่าว
(4) นวัตกรรม          เน้นย้ำถึงความสำคัญของนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล โดยชี้แนะให้คณะทำงานฯ  อภิปรายถึงหัวข้อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเกิดใหม่และวิธีการปรับปรุงความยืดหยุ่นของเทคโนโลยีเพื่อรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่กำลังพัฒนา
(5) ความมั่นคงระดับโลก           ตระหนักว่าประเด็นความมั่นคงจากสงครามในยูเครนสามารถส่งผลกระทบที่สำคัญต่อเศรษฐกิจโลก9

1ถ้อยแถลงของประธานฯ มีทั้งหมด 17 วรรค โดยรัฐมนตรีขนส่งเอเปคทุกท่านเห็นด้วยกับวรรคที่ 1-15 และ 17 ส่วนวรรคที่ 16 นั้น เป็นถ้อยแถลงเกี่ยวกับจุดยืนต่อสถานการณ์การสู้รบระหว่างรัสเซียและยูเครน ซึ่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และสหพันธรัฐรัสเซีย ไม่เห็นชอบ
2เอเปค หรือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) คือเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2532 โดยมีเป้าหมายหลักคือการส่งเสริมการเปิดเสรีการค้าการลงทุน รวมถึงความร่วมมือในด้านมิติสังคมและการพัฒนาด้านอื่น ๆ เช่น ความร่วมมือด้านการเกษตร การส่งเสริมบทบาทสตรีในเศรษฐกิจ การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และการพัฒนาด้านสาธารณสุข เพื่อนำไปสู่การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม ยั่งยืน และความมั่งคั่งของประชาชนในภูมิภาค
3คณะทำงานขนส่งเอเปค ประกอบด้วย ผู้แทนจากสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปค 21 เขตเศรษฐกิจ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการหารือและแลกเปลี่ยนการดำเนินนโยบายของเขตเศรษฐกิจและแสวงหาความเชื่อมโยงร่วมกันใน 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ ด้านการขนส่งทางอากาศ ด้านการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและระบบขนส่งอัจฉริยะ ด้านการขนส่งทางบกและด้านการขนส่งทางน้ำ
4สมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปค ประกอบด้วย 21 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ เครือรัฐออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สาธารณรัฐประชาชนจีน เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ราชอาณาจักรนิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา บรูไนดารุสซาลาม สาธารณรัฐอินโดนีเซีย มาเลเซีย สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐฟิลิปินส์ ราชอาณาจักรไทย จีนไทเป สาธารณรัฐชิลี สหรัฐเม็กซิโก รัฐเอกราชปาปัวนิวกินี สาธารณรัฐเปรู สหพันธรัฐรัสเซีย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
5วิสัยทัศน์ปุตราจายา ค.ศ. 2040 เป็นการกำหนดทิศทางความร่วมมือของเอเปคเพื่อนำไปสู่ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่เปิดกว้าง มีพลวัต พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงและมีสันติภาพ ภายในปี ค.ศ. 2040
6แผนปฏิบัติการเอาทีอารอ (Aotearoa Plan of Actions) เป็นแผนการกำหนดทิศทางความร่วมมือของเอเปคภายใต้วิสัยทัศน์ปุตราจายา ค.ศ. 2040
7เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว เป็นหนึ่งในผลลัพธ์เป้าหมายสำคัญของเอเปค 2022 โดยเน้นย้ำถึงเป้าหมายความยั่งยืนเพื่อสอดรับกับความท้าทายทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อนขึ้นในภูมิภาค ประกอบด้วย 4 เป้าหมาย ได้แก่ (1) สนับสนุนการจัดการทุกความท้าทายทางสิ่งแวดล้อม ทั้งปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ (2) ต่อยอดการค้าการลงทุนที่ยั่งยืนและครอบคลุมให้สอดรับกับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม (3) ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ตลอดจนยับยั้งและทวงคืนการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (4) เดินหน้าบริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและจัดการของเสียอย่างยั่งยืน มุ่งสู่เป้าหมายไม่เหลือทิ้ง
8แผน APEC Connectivity Blueprint (ค.ศ. 2015-2025) คือ แผนแม่บทความเชื่อมโยงในเอเปค ค.ศ 2015-2025 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะบรรลุการเชื่อมต่ออย่างไร้รอยต่อและครอบคลุมในเอเชีย-แปซิฟิก โดยจะส่งเสริมและสนับสนุนการเติบโตของเอเปคที่สมดุล ปลอดภัย และครอบคลุม ตลอดจนเชื่อมโยงการพัฒนาในภูมิภาคผ่านวิธีการต่าง ๆ เช่น การเสริมสร้างเครือข่ายการขนส่งที่มีคุณภาพ การลดต้นทุนการทำธุรกรรม และทำให้ภูมิภาคเกิดการแข่งขันและเป็นหนึ่งเดียวมากขึ้น
9การประชุมฯ ในครั้งนี้ รัฐมนตรีขนส่งเอเปคทุกท่านรับทราบปัญหาด้านความมั่นคงจากสถานการณ์ในยูเครนว่าอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก

17. เรื่อง (ร่าง) แถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 (ASEAN Joint Statement on Climate Change to UNFCCC COP 28)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ (ทส.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อ (ร่าง) แถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 28
                    2. มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ให้ความเห็นชอบ (Endorsement) (ร่าง) แถลงการณ์ร่วมฯ และมอบหมายให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรอง (Adoption) (ร่าง) แถลงการณ์ร่วมฯ ในการประชุมสุดยอดอาเซียนต่อไป โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก
                    ทั้งนี้  การประชุมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมอาเซียน ครั้งที่ 17 (17th ASEAN Ministerial Meeting on the Environment : 17th AMME) มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-24 สิงหาคม 2566 ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
                    สาระสำคัญ
                    (ร่าง) แถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28  สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
                    1. การดำเนินงานของประเทศสมาชิกอาเซียนตามพันธกรณีภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ และกิจกรรมภายใต้แผนปฏิบัติการคณะทำงานอาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (AWGCC Action Plan) การสื่อสารการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contributions : NDC) และการจัดตั้งศูนย์อาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
                    2. การดำเนินงานภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ ที่ประเทศสมาชิกอาเซียนให้ความสำคัญ ได้แก่ การสนับสนุนทางการเงิน เทคโนโลยีและการพัฒนาศักยภาพของประเทศพัฒนาแล้ว การพัฒนายุทธศาสตร์ระยะยาวเพื่อการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำโดยมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และการส่งเสริมความมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
                    3. ประเด็นที่ต้องการเรียกร้องให้เกิดการดำเนินงานภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ ได้แก่ การสนับสนุนทางการเงิน เทคโนโลยีและการพัฒนาศักยภาพโดยประเทศพัฒนาแล้ว การเน้นย้ำการเร่งระดมเงินสนับสนุนให้ได้ 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ภายในปี พ.ศ. 2566 การเงินเพื่อการสูญเสียและความเสียหาย (Loss and Damage) และการทบทวนสถานการณ์และการดำเนินงานระดับโลก (Global Stocktake)

18. เรื่อง การรับรองร่างเอกสาร ASEAN-Japan New Environment Initiative ?Strategic Program for ASEAN Climate and Environment (SPACE)? และร่างเอกสาร ASEAN-U.S. Environment and Climate Work Plan
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างเอกสาร ASEAN-Japan New Environment Initiative ?Strategic Program for ASEAN Climate and Environment (SPACE)? และร่างเอกสาร ASEAN-U.S. Environment and Climate Work Plan
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้การรับรองร่างเอกสาร ASEAN-Japan New Environment Initiative ?Strategic Program for ASEAN Climate and Environment (SPACE)? และร่างเอกสาร ASEAN-U.S. Environment and Climate Work Plan
                    3. หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ต่อประเทศไทย ขอให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำกลับไปเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
                    ทั้งนี้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 17 (17th ASEAN Ministerial Meeting on the Environment : 17th AMME) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 23-24 สิงหาคม 2566 ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งในการดำเนินงานความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมของอาเซียน โดยมีกำหนดจัดขึ้นทุก 2 ปี เพื่อให้รัฐมนตรีด้านสิ่งแวดล้อมของอาเซียนได้หารือเพื่อร่วมกำหนดนโยบาย รวมทั้งแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของภูมิภาค และร่วมรับรองเอกสารด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นหนึ่งในเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม
                    2. ประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา มีความประสงค์ให้ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ให้การรับรองร่างเอกสาร ASEAN-Japan New Environment Initiative ?Strategic Program for ASEAN Climate and Environment (SPACE)?และร่างเอกสาร ASEAN-U.S. Environment and Climate Work Plan ในช่วงระหว่างการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 17 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 23-24 สิงหาคม 2566 ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาซนลาว เพื่อใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจรจา ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ เพื่อก่อให้เกิดความยั่งยืนในอาเซียน
                    3. ร่างเอกสาร ASEAN-Japan New Environment Initiative Strategic Program for ASEAN Climate Change ได้ผ่านการพิจารณาของคณะทำงานอาเซียนสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องและร่างเอกสาร ASEAN-              U.S. Environment and Climate Work Plan ได้ผ่านการพิจารณาในที่ประชุมหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 34 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2566 และที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 34 ได้รับทราบ ร่างเอกสารทั้งสองฉบับแล้ว
                    สาระสำคัญ
                    1. ร่างเอกสาร ASEAN-Japan New Environment Initiative ?Strategic Program for ASEAN Climate and Environment (SPACE) มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนประเทศสมาชิกอาเซียนในการดำเนินงานเพื่อบริหารจัดการวิกฤตสิ่งแวดล้อมโลกที่มีความเชื่อมโยงกัน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และการแก้ไขปัญหามลพิษ รวมถึงการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ บนหลักการที่สอดคล้องและบูรณาการกับวิสัยทัศน์อาเซียน และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs โดยพัฒนาจากข้อริเริ่มความร่วมมือที่ดำเนินการร่วมกันไว้แล้วบนพื้นฐานของความจำเป็นและลำดับความสำคัญของประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้งนี้ ไมได้บังคับให้ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องร่วมดำเนินการในทุกข้อริเริ่มที่เสนอ ขึ้นอยู่กับความสนใจและความต้องการของแต่ละประเทศ
                    2. ร่างเอกสาร ASEAN-U.S. Environment and Climate Work Plan มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศสมาชิกอาเซียน ด้วยความมุ่งมั่นร่วมกันในการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และความร่วมมือในการปรับตัวและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีบนพื้นฐานของความตกลงร่วมกัน การเงิน และการเสริมสร้างศักยภาพของประเทศสมาชิกอาเซียน อีกทั้งยังสนับสนุนความพยายามของประเทศสมาชิกอาเซียนในการบรรลุเป้าหมายในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการดำเนินงานการมีส่วนร่วมตามที่ประเทศกำหนด (Nationally-Determined Contributions : NDCs) โดยแผนงานดังกล่าวครอบคลุมการดำเนินงานในหัวข้อ (1) การยกระดับการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับภูมิภาค (2) นวัตกรรมเพื่ออนาคตสำหรับการดำเนินงานคาร์บอนต่ำ (3) การขับเคลื่อนงบประมาณเพื่อสภาพภูมิอากาศ และ (4) สนับสนุนการปกป้องสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

19. เรื่อง ร่างเอกสารสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 41 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 41 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ 1) ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 41 2) ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 41 ว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานที่ยั่งยืนผ่านการเชื่อมโยงระหว่างกัน 3) ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานบวกสาม                 (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี) ครั้งที่ 20 4) ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมสุดยอดรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชียตะวันออก              ครั้งที่ 17 และ 5) ร่างถ้อยแถลงร่วมของโครงการบูรณาการด้านไฟฟ้าระหว่าง สปป.ลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ฉบับที่ 4
                    2. อนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นผู้ให้การรับรองเอกสารสำหรับการประชุมดังกล่าวในช่วงการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 41 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้องในระหว่างวันที่ 24-25 สิงหาคม 2566 ณ เมืองบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
                    3. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างเอกสารทั้ง 5 ฉบับดังกล่าว ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ให้กระทรวงพลังงานนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สาธารณรัฐอินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียนปี 2566 มีกำหนดจัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 41 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ในระหว่างวันที่ 24-25 สิงหาคม 2566เพื่อหารือกรอบความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งการประชุมหารือกับประเทศคู่เจรจาและองค์กรระหว่างประเทศด้านพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลักดันกิจกรรมความร่วมมือเพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายของแผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านพลังงานของอาเซียน ระยะที่ 2พ.ศ. 2564-2568 (ค.ศ. 2021-2025) และการประชุมดังกล่าวจะมีการรับรองถ้อยแถลงร่วมจำนวน 5 ฉบับ
                    ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ที่จะมีการรับรองในช่วงการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 41 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ในระหว่างวันที่ 22-25 สิงหาคม 2566 จำนวน 5 ฉบับ มีสาระสำคัญที่จะเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการส่งเสริมความร่วมมือและความเชื่อมโยงทางพลังงานของภูมิภาคอาเซียน ประเทศคู่เจรจาและองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่ความมั่นคงทางพลังงาน และการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดโดยสอดคล้องกับสถานการณ์และศักยภาพของประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงส่งเสริมกิจกรรมความร่วมมือในการพัฒนาพลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน เพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม




20. เรื่อง ร่างแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน (ASEAN Action Plan for Invasive Alien Species Management)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน(ASEAN Action Plan for Invasive Alien Species Management)
                    2. มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ให้การรับรอง (Adoption) ร่างแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก
                    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายมีกำหนดให้การรับรอง (Adoption) ร่างแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 17 ในวันที่ 23 สิงหาคม 2566  ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
                    สาระสำคัญ
                    ร่างแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกรอบแนวทางการประสานความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ในการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานในการลดผลกระทบทางลบจากชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานที่มีต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก มีสาระสำคัญครอบคลุม 8 เป้าหมาย ประกอบด้วย 1) การสร้างความเข้มแข็งของกฎระเบียบและความร่วมมือในการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน 2) การยกระดับความตระหนักสาธารณะและการศึกษาเกี่ยวกับภัยคุกคามจากชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน และการส่งเสริมพฤติกรรม  การป้องกันการแพร่กระจายของชนิดพันธุ์ที่รุกราน 3) การยกระดับศักยภาพและทรัพยากรการเงิน บุคลากรและความเชี่ยวชาญเชิงเทคนิค 4) การประเมินความเสี่ยงและการจัดลำดับความสำคัญของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน 5) การป้องกันควบคุมการนำเข้าและการแพร่กระจายแนวชายแดนและการพัฒนาโปรแกรมความมั่นคงทางชีวภาพระหว่างเกาะและแผ่นดิน 6) การยกระดับมาตรการป้องกันและการควบคุมให้มีประสิทธิภาพในการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน รวมถึงการฟื้นฟูประชากรชนิดพันธุ์พื้นเมืองและการฟื้นฟูระบบนิเวศ 7) การติดตาม การประเมินระบบนิเวศ และการรายงานการพบชนิดพันธุ์ต่างถิ่นและ 8) การพัฒนากลไกทางการเงินเพื่อการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน

21. เรื่อง ความก้าวหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย และผลการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย - จีน ครั้งที่ 30
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอความก้าวหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร (กรุงเทพฯ) - หนองคาย และผลการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย - จีน ครั้งที่ 30 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. คณะรัฐมนตรีมีมติ (11 กรกฎาคม 2560) อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพฯ - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา) กรอบวงเงิน 179,412.21 ล้านบาท และต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติ (22 และ 29 สิงหาคม 2560 และ 29 กันยายน 2563) เห็นชอบร่างสัญญา 2.1 การออกแบบรายละเอียดโครงการ กรอบวงเงิน 1,706.771 ล้านบาท ร่างสัญญา 2.2 ที่ปรึกษาควบคุมงานการก่อสร้าง กรอบวงเงิน 3,500 ล้านบาท และร่างสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและ   จัดฝึกอบรมบุคลากร กรอบวงเงิน 50,633.50 ล้านบาท
                    2. ความก้าวหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ - หนองคาย สรุปได้ดังนี้
                        2.1 โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา มีทั้งหมด 6 สถานี ประกอบด้วย สถานีกลางบางซื่อ สถานีดอนเมือง สถานีอยุธยา สถานีสระบุรี สถานีปากช่อง และสถานีนครราชสีมา แบ่งสัญญางานโยธาเป็น 14 สัญญา ระยะทางประมาณ 253 กิโลเมตร โดยเป็นทางยกระดับ 188.68 กิโลเมตร ทางระดับพื้น 54.09 กิโลเมตร อุโมงค์รวม 8 กิโลเมตร มีศูนย์ซ่อมบำรุงและควบคุมการเดินรถในพื้นที่เชียงรากน้อย ระบบรถไฟใช้ประเภทรถโดยสาร มีความจุของขบวนรถ 600 ที่นั่งต่อขบวน ความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงนครราชสีมา 1 ชั่วโมง 30 นาที และจะใช้งบประมาณลงทุน 179,412.21 ล้านบาท ซึ่งมีความก้าวหน้าโดยรวม (ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2566) ร้อยละ 22.77 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
เรื่อง          ความก้าวหน้า
(1) สัญญาการก่อสร้างงานโยธา จำนวน 14 สัญญา          ? ก่อสร้างแล้วเสร็จ 1 สัญญา ได้แก่ สัญญา 1 - 1 กลางดง - ปางอโศก
? อยู่ระหว่างก่อสร้าง 10 สัญญา ได้แก่
สัญญา          (ร้อยละ)
สัญญา 2 - 1 สีคิ้ว - กุดจิก          98.37
สัญญา 3 - 2 อุโมงค์มวกเหล็กและลำตะคอง          27.81
สัญญา 3 - 3 บันไดม้า - ลำตะคอง          27.20
สัญญา 3 - 4 ลำตะคอง - สีคิ้ว และกุดจิก - โคกกรวด          58.89
สัญญา 3 - 5 โคกกรวด - นครราชสีมา          4.37
สัญญา 4 - 2 ดอนเมือง - นวนคร          0.19
สัญญา 4 - 3 นวนคร - บ้านโพ          14.08
สัญญา 4 - 4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย          0.85
สัญญา 4 - 6 พระแก้ว - สระบุรี          0.30
สัญญา 4 - 7 สระบุรี - แก่งคอย          41.49
? อยู่ระหว่างดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง 3 สัญญา ได้แก่ สัญญา 3 - 1 แก่งคอย - กลางดง และปางอโศก - บันไดม้า สัญญา 4 - 1 บางซื่อ - ดอนเมือง และสัญญา 4 - 5 บ้านโพ - พระแก้ว
(2) งานจ้างออกแบบรายละเอียด
(สัญญา 2.1)          รฟท. ได้ลงนามสัญญากับรัฐวิสาหกิจจีน [China Railway Design Corporation (CRDC) และ China Railway International Corporation (CRIC)] เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2560 วงเงิน 1,706.7 ล้านบาท โดยผู้รับจ้างฝ่ายจีนได้ออกแบบเสร็จแล้ว
(3) จ้างงานที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง (สัญญา 2.2)
          รฟท. ได้ลงนามสัญญากับ CRDC และ CRIC เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2560 วงเงิน 3,500 ล้านบาท ปัจจุบันผู้รับจ้างอยู่ระหว่างควบคุมการก่อสร้างซึ่งสิ้นสุดสัญญาในปี 2564 และประกันผลงาน 2 ปี ซึ่งต่อมา รฟท. และผู้รับจ้างฝ่ายจีนได้ร่วมกันจัดทำร่างบันทึกแนบท้ายสัญญา 2.2 เพื่อรองรับการจ่ายค่าจ้างที่ปรึกษาในการควบคุมการก่อสร้างที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและสัญญาที่อยู่ระหว่างดำเนินการ โดยได้ลงนามบันทึกแนบท้ายสัญญา 2.2 แล้ว เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565
(4) งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล การจัดหาขบวนรถไฟและการจัดฝึกอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3)          รฟท. ได้ลงนามสัญญา กับ CRDC และ CRIC เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2563 วงเงิน 50,644.5 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินงาน 64 เดือน โดยแบ่งงานออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่
1) งานออกแบบระบบรถไฟความเร็วสูง ระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและขบวนรถไฟ
2) งานฝึกอบรมบุคลากรเพื่อการเดินรถและการซ่อมบำรุงและการถ่ายทอดเทคโนโลยี
3) งานก่อสร้างติดตั้งระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ระบบรถไฟความเร็วสูงที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ผู้รับจ้างได้ออกแบบตามสัญญาเบื้องต้นเสร็จแล้วและฝ่ายไทยอยู่ระหว่างตรวจสอบก่อนแจ้งผู้รับจ้างต่อไป
(5) การจัดตั้งองค์กรพิเศษเพื่อกำกับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง [คณะรัฐมนตรีมีมติ (11 กรกฎาคม 2560) ให้จัดตั้งองค์กรพิเศษที่เป็นอิสระจากการกำกับกิจการของ รฟท. เพื่อกำกับการดำเนินโครงการให้มีประสิทธิภาพ]          คค. ได้เตรียมการจัดตั้งองค์กรพิเศษที่จะมาเดินรถในอนาคต โดยได้จ้างที่ปรึกษาศึกษาการจัดตั้งองค์กรพิเศษเพื่อให้ดำเนินโครงการอย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบองค์กรกำกับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง และมีแผนจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นในช่วงเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2566
(6) การจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง
[พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2564 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564]          คค. ได้จัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางเพื่อรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในโครงการรถไฟความเร็วสูง โดยเป็นองค์การมหาชนอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ คค. มีเป้าหมายเร่งด่วน คือ การวิจัยชิ้นส่วนในระบบรางเพื่อให้สามารถผลิตรถไฟในประเทศได้ตามนโยบาย Thai First : ไทยทำ ไทยใช้ การวิจัยเพื่อสร้างรถไฟ พลังงานไฟฟ้า รวมทั้งการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ทั้งนี้ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดหาบุคลากรเพื่อปฏิบัติงาน
                        2.2 โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย เป็นส่วนต่อขยายของโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา รวมระยะทางประมาณ 356.01 กิโลเมตร ขนาดทาง 1.435 เมตร มีทั้งหมด 5 สถานี ได้แก่ สถานีบัวใหญ่ สถานีบ้านไผ่ สถานีขอนแก่น สถานีอุดรธานี และสถานีหนองคาย                มีศูนย์ซ่อมบำรุงเบาและที่จอดรถไฟที่นาทาและศูนย์ซ่อมบำรุงหนักในพื้นที่เชียงรากน้อย มีศูนย์ซ่อมบำรุงทาง 4 แห่ง ได้แก่ บ้านมะค่า หนองเม็ก โนนสะอาด และนาทา รวมถึงย่านกองเก็บตู้สินค้าและย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า 1 แห่ง ที่นาทา ทั้งนี้ บริษัทที่ปรึกษาได้ออกแบบรายละเอียดงานโยธาแล้วเสร็จและนำส่งรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) แล้ว ซึ่งคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการโครงสร้างพื้นฐานทางบกและทางอากาศมีมติเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 ให้ปรับปรุงรายงาน EIA ซึ่งปัจจุบัน รฟท. อยู่ระหว่างปรับปรุงรายงาน EIA ดังกล่าวและคาดว่าจะสามารถเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติโครงการได้ภายในปี 2566
                        2.3 การเชื่อมโยงโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงหนองคาย - เวียงจันทน์ นายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการบูรณาการการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว                 (สปป.ลาว) และจีน โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นรองประธานกรรมการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ โดยมีรายละเอียดการจัดทำแผนการดำเนินการ ดังนี้
เรื่อง          รายละเอียด
(1) แผนการก่อสร้างของ รฟท.          1) โครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง และคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2569
2) โครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา - หนองคายอยู่ระหว่างปรับปรุงรายงาน EIA และคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2571
3) โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น - หนองคาย ระยะทางประมาณ 167 กิโลเมตร สถานีทั้งหมด 15 สถานี โดยคาดว่าจะสามารถนำเสนอโครงการต่อคณะรัฐมนตรีในปี 2566
(2) การบริหารจัดการใช้ทางรถไฟและสะพาน          การบริหารจัดการสะพานข้ามแม่น้ำโขงเดิมระหว่างรอการก่อสร้างสะพานแห่งใหม่ โดยเพิ่มขบวนรถขาไป 7 ขบวน และขากลับ 7 ขบวน รวม 14 ขบวน รองรับขบวนละ 25 แคร่ และมีการทดสอบการรับน้ำหนักรถไฟเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของสะพานต่อไป
(3) การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่          สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่อยู่ห่างจากสะพานแห่งเดิมประมาณ 30 เมตร มีทั้งทางรถไฟขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร และทางขนาด 1 เมตร ซึ่งไทยและ สปป.ลาว จะร่วมลงทุนในอาณาเขตของแต่ละฝ่าย ทั้งนี้ คค. ได้ออกแบบสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ให้สามารถรองรับรถยนต์ได้ โดยอยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสม ประกอบด้วย 3 แนวทาง ได้แก่                     1) ก่อสร้างสะพานแห่งใหม่รองรับรถไฟและรถยนต์บนสะพานเดียวกัน                2) ก่อสร้างสะพานแห่งใหม่รองรับรถไฟและรถยนต์โดยมีโครงสร้างแยกจากกัน และ 3) ก่อสร้างสะพานใหม่รองรับรถไฟเพียงอย่างเดียว โดยปรับปรุงสะพานเดิมให้รองรับน้ำหนักบรรทุกให้มากขึ้น ทั้งนี้ คาดว่าจะนำเสนอผลการศึกษาเบื้องต้นให้ สปป.ลาว ทราบได้ภายในเดือนสิงหาคม 2566 และจะออกแบบรายละเอียดและรายงาน EIA ต่อไป
(4) การพัฒนาย่านขนถ่ายสินค้า          แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่
1) ระยะเร่งด่วน : การพัฒนาย่านสถานีหนองคายเป็นพื้นที่เปลี่ยนถ่ายสินค้า เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดเส้นทางรถไฟจีน - สปป.ลาว โดยพัฒนาสถานีหนองคายให้รองรับการขนส่งผ่านสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งเดิม เพิ่มรถไฟจาก 4 ขบวนต่อวันเป็น 14 ขบวนต่อวันและเพิ่มจากขบวนละ 12 แคร่ เป็น 25 แคร่ และพัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีประมาณ 80 ไร่ เพื่อเป็นพื้นที่ตรวจปล่อยสินค้าและเปลี่ยนถ่ายจากถนนสู่ระบบราง ซึ่งได้ปรับปรุงพื้นที่บริเวณลานยกสินค้าเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ อยู่ระหว่างออกประกาศให้ใช้พื้นที่บริเวณสถานีหนองคายเป็นพื้นที่ตรวจปล่อย จำนวน 46,800 ตารางเมตร และอยู่ระหว่างพิจารณาแบ่งพื้นที่คงเหลือจากการใช้เป็นพื้นที่ตรวจปล่อยเพื่อออกประกาศเชิญชวนต่อไป
2) ระยะยาว : การพัฒนาพื้นที่นาทาเพื่อเป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้าเพื่อรองรับการขนส่งสินค้าในอนาคต โดยจะมีการพัฒนาพื้นที่ย่านสถานีรถไฟนาทา จังหวัดหนองคาย ให้สามารถรองรับการขนส่งจากจีนและ สปป.ลาว และส่งออกไปยัง สปป.ลาว ทั้งนี้ ปัจจุบันมีการว่าจ้างที่ปรึกษาโครงการเพื่อวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐในโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้าเพื่อรองรับการขนส่งทางรางจังหวัดหนองคายซึ่งอยู่ระหว่างเสนอผลการศึกษาให้คณะกรรมการ รฟท. พิจารณา
                    3. ผลการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย - จีน ครั้งที่ 30 เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรองประธานคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติของจีน เป็นประธานร่วม มีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้
                        3.1 ไทยได้นำเสนอความก้าวหน้างานโยธาโครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา ซึ่งงานโยธาส่วนใหญ่ได้เริ่มดำเนินการแล้ว และทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับการดำเนินงานสัญญางานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3) ของโครงการดังกล่าว โดยไทยแจ้งว่าสถานการณ์โควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 เป็นเหตุสุดวิสัยในการดำเนินการตามสัญญา 2.3 และแจ้งให้จีนพิจารณาปรับกำหนดเวลาการส่งมอบงานโยธา โดยจีนพิจารณาแล้วเห็นว่าควรมีการหารือเพิ่มเติมว่ากรณีดังกล่าวเป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ และขอให้ไทยใช้ความพยายามอย่างสูงสุดในการแก้ไขปัญหาความล่าช้าของงานโยธาด้วย นอกจากนี้ จีนได้เตรียมเอกสาร ค่าจ้างล่วงหน้าตามข้อกำหนดของสัญญา 2.3 แล้ว แต่ไทยยังมีปัญหาด้านภาษีอากรเกี่ยวกับการชำระค่าจ้างล่วงหน้า ซึ่งจะดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป
                        3.2 ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะดำเนินความร่วมมือโครงการถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2                        ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย ภายใต้กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องของไทย โดยไทยได้นำเสนอความก้าวหน้าและแผนการดำเนินการ ว่าได้ออกแบบรายละเอียดงานโยธาแล้วเสร็จ ซึ่งจีนเสนอให้มีการหารือร่วมกันเพื่อตรวจสอบงานออกแบบรายละเอียดโดยฝ่ายจีนโดยเร็วและเสนอว่าจำเป็นต้องมีการลงนามในสัญญาสำหรับตรวจสอบงานออกแบบรายละเอียดเพื่อจะกำหนดความรับผิดชอบของทั้งสองฝ่าย โดยพิจารณาจากกรอบความร่วมมือที่ลงนามโดยรัฐบาลจีนและรัฐบาลไทยที่ได้เห็นชอบร่วมกันเมื่อปี 2557 เป็นพื้นฐานสำหรับโครงการทั้งหมดและรูปแบบความร่วมมือในโครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ควรเป็นรูปแบบในลักษณะวิศวกรรมจัดหา และก่อสร้าง ภายใต้กฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องของไทยและจีน โดยจีนจะให้ความร่วมมือในด้านการเงิน ขณะที่ไทยเน้นย้ำว่าข้อเสนอของฝ่ายจีนจะสามารถดำเนินการได้เฉพาะกรณีที่เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องของไทยเท่านั้น
                        3.3 ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟระหว่างหนองคาย - เวียงจันทน์ และเห็นชอบให้มีการประชุมไตรภาคีระหว่างไทย สปป.ลาว และจีน ในทุกระดับเพื่อหารือเกี่ยวกับการลดอุปสรรคและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ การอำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์และการขนส่งระหว่างสามประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
                        3.4 ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับแผนการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ โดยไทยแจ้งว่าอยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมของการสร้างสะพานรถไฟและรถยนต์แห่งใหม่ และจะเริ่มออกแบบรายละเอียดต่อไป ส่วนจีนจะมีส่วนร่วมในการประสานงานและสนับสนุนผลักดันโครงการให้มีความก้าวหน้า ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่าย             เห็นควรให้มีการเชื่อมต่อทางรถไฟเส้นทางสาธารณรัฐสิงคโปร์ - คุนหมิงโดยเร็ว โดยเฉพาะการเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่างไทย - สปป.ลาว - จีน
                        3.5 ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบในหลักการของการประชุมคณะกรรมการร่วมครั้งที่ 31 ซึ่งจะจัดขึ้นภายหลังการประชุมไตรภาคีระหว่างไทย สปป.ลาว และจีน เกี่ยวกับการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟระหว่างหนองคาย - เวียงจันทน์

22. เรื่อง ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 10 และร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 1
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (คค.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบในหลักการต่อร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอเซียน ครั้งที่ 10 และร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 1
                    2. หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 10 และร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 1 ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงการคลังดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา                     อีกครั้งหนึ่ง
                    3. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 10 และร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 10
                    ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอาเซียนจะพิจารณารับรองร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม AFHMM ครั้งที่ 1 ในวันที่ 24 สิงหาคม 2566 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียนจะพิจารณารับรองร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม AFMGM                     ครั้งที่ 10 ในวันที่ 25 สิงหาคม 2566 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอิโดนีเซีย
                    สาระสำคัญของร่างแถลงการณ์ร่วม
                    1. ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม AFMGM ครั้งที่ 10 จัดทำขึ้นบนหลักการพื้นฐานของการเป็นประชาคมอาเซียน คือ การส่งเสริมความร่วมมือและให้ความช่วยเหลือระหว่างกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภูมิภาคอาเซียนและการรักษาความเป็นแกนกลางของอาเซียน (ASEAN Centrality) มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                        1.1 ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม AFMGM ครั้งที่ 10 มีเนื้อหาแสดงถึงเจตนารมณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียนในการดำเนินการตามประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ (Priority Economic Deliverables: PEDs) ที่สาธารณรัฐอินโดนีเซียต้องการผลักดันให้สำเร็จภายในปี 2566 ซึ่งเน้นการดำเนินการใน 3 ประเด็นหลักได้แก่ (1) ความร่วมมือระหว่างภาคสาธารณสุขและภาคการคลัง                    (2) ความมั่นคงทางอาหาร และ (3) การใช้เงินสกุลท้องถิ่นเพื่อการทำธุรกรรม นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมเสถียรภาพทางการเงินและการรวมตัวกันในภูมิภาคอาเซียนที่แน่นแฟ้นขึ้น
                        1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียนสนับสนุนความสามารถของอาเซียนในการรักษาฐานะของอาเซียนในการเป็นจุดศูนย์กลางของการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต และได้เน้นย้ำความมุ่งมั่นสู่การพัฒนาที่ยังยืน ที่ประชุมได้แสดงความชื่นชมต่อความสำเร็จและความคืบหน้าการดำเนินงานภายใต้กรอบการประชุม AFMGM ในด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย (1) ด้านการรวมตัวและการเปิดเสรีทางการเงิน                 (2) การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน (3) ด้านความเชื่อมโยงด้านบริการทางการเงินและการชำระเงิน (4) ด้านการระดมทุนเพื่อโครงสร้างพื้นฐาน (5) ด้านการเงินที่ยั่งยืน (6) ด้านการเข้าถึงบริการทางการเงิน และ                 (7) ด้านการระดมทุนเพื่อการบริหารจัดการภัยพิบัติ
                        1.3 ที่ประชุมรับรู้ถึงความสำคัญในการขยายความร่วมมือข้ามสาขาภายใต้ความร่วมมือด้านการเงินอาเซียน โดยได้มอบหมายให้คณะทำงานเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียน (ASEAN Finance and Central Bank Deputies? Working Group: AFCDM-WG) เริ่มดำเนินการประสานร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ในอาเซียน รวมถึงภาคการเกษตรและสาธารณสุขในการจัดเตรียมขอบเขตการดำเนินงานในความร่วมมือกับความร่วมมือด้านการเงินอาเซียน ซึ่งรวมถึงขอบเขตของงาน ผังเวลาการดำเนินการ และแผนปฏิบัติการ
                    2. ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม AFHMM ครั้งที่ 1 สะท้อนถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างสาธารณสุขและการคลัง มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                        2.1 ที่ประชุมตระหนักถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านการคลังและสาธารณสุขเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถด้านสาธารณสุขในภูมิภาค และได้รับรองรายงานด้านโครงสร้างทางการเงินระดับประเทศและภูมิภาคเพื่อเสริมสร้างการป้องกัน การเตรียมความพร้อมและการรับมือกับโรคระบาด (Pandemic Prevention, Preparedness and Response: PPR) หลังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งรูปแบบกองทุนระดับภูมิภาคที่เป็นไปได้
                        2.2 ที่ประชุมรับทราบถึงความต้องการเงินทุนเพื่อสร้างความพร้อมในการป้องกันการเตรียมความพร้อม และการรับมือกับโรคระบาดในประเทศสมาชิกอาเซียนที่ได้ระบุไว้ในรายงาน ที่ประชุมสนับสนุนการใช้กองทุนอาเซียนเพื่อรับมือกับโควิด-19 สาธารณสุขฉุกเฉินและโรคอุบัติใหม่อื่น ๆ (COVID-19 and Other Public Heath Emergencies and Emerging Diseases ASEAN Response Fund) และการนำกองทุนดังกล่าวมาใช้ในระหว่างการเป็นประธานอาเซียนของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รวมทั้งข้อเสนอด้านการบริหารและโครงสร้างการจัดหาเงินทุน การระดมทุน และการโอนย้ายการจัดการกองทุนให้แก่ธนาคารพัฒนาเอเชีย
                        2.3 ที่ประชุมยืนยันความมุ่งมั่นในการเสริมสร้างโครงสร้างด้านสาธารณสุขระดับภูมิภาคหลังโควิด-19 สู่การมีภูมิคุ้มกันในประชาคมอาเซียน โดยคำนึงถึงกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน (ASEAN Comprehensive Recovery Framework)

23. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 30 (Joint Statement of the Thirtieth ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) Council)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 30 (Joint Statement of the Thirtieth ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) Council) โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย                          ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก และหลังจากนั้นให้รายงานผลเพื่อคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
                    2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 30 (30th ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) Council Meeting) ให้การรับรอง (adopt) ร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 30 ในวันที่ 29 สิงหาคม 2566                  ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย


                    สาระสำคัญของร่างถ้อยแถลงร่วม
                    ร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 30               มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการแสดงความชื่นชมต่อสาธารณรัฐอินโดนีเซียในการเป็นประธานอาเซียน ภายใต้หัวข้อหลัก ?อาเซียนเป็นศูนย์กลาง สรรค์สร้างความเจริญ? ซึ่งเน้น 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) เน้นอาเซียนเป็นสำคัญ (ASEAN Matters) (2) เป็นศูนย์กลางการเติบโต (Epicentrum of Growth) และ (3) การดำเนินงานตามเอกสารมุมมองความร่วมมือในมหาสมุทรอินเดีย รวมถึงเอเชียและภูมิภาคแปซิฟิก (ASEAN Outlook on the Indo-Pacific) และรับทราบความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนงานประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน พ.ศ. 2568 ตลอดจน การตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนามนุษย์และความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนอาเซียน รวมถึงการสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประชาคมอาเซียนและองค์กรอาเซียนเฉพาะสาขาที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

24. เรื่อง การร่วมรับรองร่างปฏิญญาว่าด้วยการส่งเสริมรูปแบบธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานราก : ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยเพื่อการเติบโตอย่างเท่าเทียม (Declaration on Promoting Inclusive Business Models : Empowering Micro, Small and Medium Enterprises for Equitable Growth)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาว่าด้วยการส่งเสริมรูปแบบธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานราก : ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยเพื่อการเติบโตอย่างเท่าเทียม (Declaration on Promoting Inclusive Business Models : Empowering Micro, Small and Medium Enterprises for Equitable Growth) ตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เสนอ โดยหากมีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไข ปรับปรุงร่างปฏิญญาฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทยก่อนการรับรอง อนุมัติให้ สสว. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง และอนุมัติให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ให้การรับรองร่างปฏิญญาฯ ในการประชุมสุดยอดธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ 6 และการประชุมรัฐมนตรีระดับสูง ในวันที่ 23 สิงหาคม 2566 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
                    สาระสำคัญ
                    ร่างปฏิญญาว่าด้วยการส่งเสริมรูปแบบธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานราก : ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยเพื่อการเติบโตอย่างเท่าเทียม (Declaration on Promoting Inclusive Business Models : Empowering Micro, Small and Medium Enterprises for Equitable Growth) มีสาระสำคัญโดยสรุปคือ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการสนับสนุนการดำเนินการในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยเพื่อการเติบโตอย่างเท่าเทียม โดยพิจารณาจากบริบทของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในด้านความสามารถและทรัพยากรที่มีอยู่ ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวจะได้รับรองหลักการจากคณะกรรมการด้านวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยอาเซียน (ASEAN Coordinating Committee on Micro, Small, and Medium Enterprise หรือ ACCMSME)

25. เรื่อง การร่วมรับรองเอกสารแผนปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานรากในอาเซียน (2566 - 2570) [Plan of Action for the Promotion of Inclusive Business in ASEAN (2023 - 2027)]
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อแผนปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานรากในอาเซียน (2566 - 2570) [Plan of Action for the Promotion of Inclusive Business in ASEAN (2023 - 2027)] ตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เสนอ โดยหากมีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไข ปรับปรุงแผนปฏิบัติการฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทยก่อนการรับรอง อนุมัติให้ สสว. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย และผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ให้การรับรองเอกสารแผนปฏิบัติการฯ
                    สาระสำคัญ
                    เอกสารแผนปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานรากในอาเซียน (2566 - 2570) [Plan of Action for the Promotion of Inclusive Business in ASEAN (2023 - 2027)] ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers Meeting-AEM) ระหว่างวันที่ 17 - 22 สิงหาคม 2566 และในการประชุมสุดยอดธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ 6 และการประชุมรัฐมนตรีระดับสูง ซึ่งมีกำหนดจัดระหว่างวันที่ 23 - 25 สิงหาคม 2566 มีสาระสำคัญโดยสรุปคือ เป็นเอกสารเพื่อกำหนดแนวทางและจัดลำดับความสำคัญสำหรับความร่วมมือระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานราก โดยครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ (1) การสนับสนุนให้คำปรึกษาด้านนโยบาย (2) การพัฒนาธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและยั่งยืน (3) การเข้าถึงแหล่งเงินทุน และ                    (4) ศูนย์องค์ความรู้ด้านธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานรากของอาเซียน และจะใช้เป็นเสาหลักในการสร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์และการระดมทรัพยากร อีกทั้งยังเป็นการแสดงเจตนารมณ์ในการสนับสนุนและให้การรับรองแผนปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานรากในอาเซียน ระหว่างปี 2566 ถึง 2570 ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวได้รับการรับรองหลักการจากคณะกรรมการด้านวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยอาเซียน (ASEAN Coordinating Committee on Micro, Small, and Medium Enterprise หรือ ACCMSME) แล้ว

26. เรื่อง กรอบท่าทีประเทศไทยสำหรับการประชุมสมัชชากองทุนสิ่งแวดล้อมโลก ครั้งที่ 7
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อกรอบท่าทีประเทศไทยสำหรับการประชุมสมัชชากองทุนสิ่งแวดล้อมโลก ครั้งที่ 7 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องร่วมรับรองข้อมติที่ประชุมที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ต่อประเทศไทย ขอให้เป็นดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณาโดยไม่ต้องนำกลับไปเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
                    2. เห็นชอบในหลักการต่อเอกสารการปรับแก้ไขเอกสารการดำเนินงานของกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก และเอกสารการจัดตั้งและกรอบการสนับสนุนของ Global Biodiversity Framework Fund
                    การประชุมสมัชชากองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF Assembly) ครั้งที่ 7 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 - 26 สิงหาคม 2566 ณ นครแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา
                    สาระสำคัญ
                    1. การประชุมสมัชชากองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF Assembly) ครั้งที่ 7 จะมีการพิจารณาที่สำคัญ 2 เรื่อง ได้แก่ (1) เอกสารการปรับแก้ไขเอกสารการดำเนินงานของกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Amendments to Instrument for the Establishment of a Restructured Global Environment Facility) และ (2) เอกสารการจัดตั้งกองทุน Global Biodiversity Framework Fund ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะมนตรีกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF Council Meeting) แล้ว
                    2. คณะกรรมการพิจารณาโครงการที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก ในการประชุมครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2566 มีมติเห็นชอบในหลักการต่อกรอบท่าทีประเทศไทยสำหรับการประชุมสมัชชากองทุนสิ่งแวดล้อมโลก ครั้งที่ 7 และมอบหมายฝ่ายเลขานุการดำเนินการตามระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป                โดยกรอบท่าทีประเทศไทย มีดังนี้
                              (1) ประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกกองทุนสิ่งแวดล้อมโลกยินดีสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามพันธกรณีอนุสัญญาระหว่างประเทศที่กองทุนสิ่งแวดล้อมโลกทำหน้าที่เป็นกลไกทางการเงิน บนพื้นฐานความสอดคล้องกับนโยบายของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี        (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) ตลอดจนนโยบายและแผนการดำเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวคล้อมของประเทศไทย
                              (2) สนับสนุนให้ประเทศพัฒนาแล้วและแหล่งทุนต่าง ๆ ให้การสนับสนุนในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การสนับสนุนทางการเงินและการลงทุน การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีในการจัดการสิ่งแวดล้อมแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายของอนุสัญญาระหว่างประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่กองทุนสิ่งแวดล้อมโลกทำหน้าที่เป็นกลไกทางการเงิน
                              (3) เห็นชอบในหลักการต่อการปรับแก้ไข Instrument for the Establishment of a Restructured Global Environment Facility ตามข้อเสนอจากที่ประชุมคณะมนตรีกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF Council) ซึ่งเป็นการปรับปรุงแนวปฏิบัติในการดำเนินงานของ GEF ให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงาน GEF ในการทำหน้าที่เป็นกลไกทางการเงินของอนุสัญญาระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
                              (4) เห็นชอบในหลักการต่อการจัดตั้งกองทุน GBF เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของกรอบงานคุนหมิง - มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (Kunming-Montreal Global Biodiversity Framework) ตามข้อมติที่ประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 (COP decision 15/7) ที่ประเทศไทยได้ร่วมในการรับรองข้อมติดังกล่าวแล้ว

27. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 43 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างเอกสาร จำนวน 21 ฉบับ โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้กระทรวงการต่างประเทศหรือส่วนราชการเจ้าของเรื่องดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
                    2. ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสาร จำนวน 17 ฉบับ
                    3. ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามร่างเอกสาร จำนวน 4 ฉบับ
                    4. ให้กระทรวงการต่างประเทศแจ้งให้ความเห็นชอบต่อเลขาธิการอาเซียนในการลงนามร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับสมาคมแห่งภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย และร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับองค์กรการประชุมหมู่เกาะแปซิฟิก                ในนามของอาเซียน
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงการต่างประเทศเสนอร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 43 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้ประสานและรวบรวมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี รวม 21 ฉบับ โดยแบ่งเป็นเอกสารที่ผู้นำอาเซียนจะร่วมกันรับรอง (adopt) จำนวน 17 ฉบับ เอกสารที่รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนลงนาม จำนวน 2 ฉบับ และเอกสารที่เลขาธิการอาเซียนจะลงนามในนามอาเซียน จำนวน 2 ฉบับ
                    สาระสำคัญของร่างเอกสารที่จะรับรอง จำนวน 17 ฉบับ ได้แก่
                    1. ร่างปฏิญญาจาการ์ตา ?อาเซียนเป็นศูนย์กลาง: สรรค์สร้างความเจริญ? (อาเซียนคอนคอร์ด 4) เป็นเอกสารที่กำหนดเป้าหมายของอาเซียนในการเป็นประชาคมที่มีความหมายต่อประชาชนและเป็นศูนย์กลางการเจริญเติบโตของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก รวมทั้งเน้นย้ำการดำเนินงานของอาเซียนใน 3 ด้าน ได้แก่ การรักษาความสำคัญของบทบาทอาเซียนในภูมิภาค การส่งเสริมให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางของการเจริญเติบโต และการดำเนินการตามเอกสารมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก
                    2. ร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการประชุมหารืออาเซียนด้านสิทธิมนุษยชน เป็นเอกสารที่ย้ำถึงความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกอาเซียนในการดำเนินการตามปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยตระหนักถึงผลกระทบของความท้าทายด้านสิทธิมนุษยชนในปัจจุบัน และความจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมความร่วมมือการเจรจา และการส่งเสริมศักยภาพระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องอย่างเปิดกว้างและสร้างสรรค์
                    3. ร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการเป็นศูนย์กลางการเจริญเติบโตของอาเซียน เป็นเอกสารแสดงความมุ่งมั่นของอาเซียนในการเป็นศูนย์กลางของการเจริญเติบโตและตอบสนองต่อความท้าทายระดับโลกอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นย้ำการเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบพลังงาน ห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งแสดงศักยภาพของภูมิภาคโดยใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมใหม่ ๆ ตลอดจนส่งเสริมการดำเนินงานด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อต่อยอดการพัฒนาทางเศรษฐกิจในอนาคต
                    4. ร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านความมั่นคง ทางอาหารและโภชนาการในการตอบสนองต่อภาวะวิกฤต เป็นเอกสารที่กำหนดแนวทางการดำเนินงานของอาเซียนในด้านการเกษตรและการผลิตอาหารที่ยั่งยืนเพื่อให้เกิดการผลิตอาหารอย่างเพียงพอและเข้าถึงได้ แก้ไขปัญหาความยากจน  และบรรลุเป้าหมายการเสริมสร้างความเข้มแข็งของภูมิภาคในระยะยาวเพื่อตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ในปัจจุบันและอนาคต ผ่านการส่งเสริมศักยภาพชุมชน การเข้าถึงเงินทุน และความร่วมมือระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นส่วนราชการเจ้าของเรื่อง
                    5. ร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการดูแลและการจัดการศึกษาเด็กปฐมวัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเอกสารที่เน้นย้ำถึงการพัฒนาและการดูแลเด็กตั้งแต่แรกเกิดอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพทุกกลุ่มเพื่อสุขภาพที่ดี โภชนาการที่สมบูรณ์ และมีความปลอดภัย ผ่านการสนับสนุนด้านนโยบาย การกำกับดูแลงบประมาณ การส่งเสริมทักษะและความสามารถให้กับบุคลากรที่รับผิดชอบด้านการดูแลและจัดการศึกษาเด็กปฐมวัย การส่งเสริมบทบาทของผู้ปกครอง รวมถึงการพัฒนาเครือข่ายและความร่วมมือเพื่อให้สามารถจัดการดูแลเด็กปฐมวัยได้อย่างเป็นองค์รวม ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการเป็นส่วนราชการเจ้าของเรื่อง
                    6. ร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างการพัฒนาที่ครอบคลุมถึงความพิการและความเป็นหุ้นส่วนเพื่อประชาคมอาเซียนที่แข็งแกร่งและรุ่งเรือง เป็นเอกสารเน้นย้ำความสำคัญของการมีส่วนร่วมของคนพิการต่อการพัฒนาทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมและวัฒนธรรมในภูมิภาค เพื่อให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางของการเติบโตที่คำนึงถึงคนพิการ โดยส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อบูรณาการสิทธิของคนพิการ และการพัฒนาบริการที่เข้าถึงได้และการอำนวยความสะดวกที่สมเหตุสมผล เพื่อเคารพ คุ้มครอง และบังคับใช้สิทธิของคนพิการอย่างต่อเนื่องและนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนที่แข็งแกร่งและรุ่งเรือง ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นส่วนราชการเจ้าของเรื่อง
                    7. ร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยความเสมอภาคระหว่างเพศและการพัฒนาครอบครัว เป็นเอกสารเน้นย้ำบทบาทของครอบครัวในฐานะสถาบันที่สำคัญเพื่อจัดการกับความท้าทายในปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นใหม่ และเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและความเป็นอยู่ที่ดีของสมาชิกในครอบครัว โดยคำนึงถึงหลักความเสมอภาคระหว่างเพศ การไม่เลือกปฏิบัติ และการต่อต้านความรุนแรงทุกรูปแบบต่อสตรีและเด็กหญิงพิการ รวมทั้งให้ความสำคัญต่อการเป็นหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกันระหว่างสตรีและบุรุษ ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นส่วนราชการเจ้าของเรื่อง
                    8. ร่างแถลงการณ์ร่วมผู้นำอาเซียน-ออสเตรเลียว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งของความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต เป็นเอกสารที่แสดงเจตนารมณ์ของอาเซียนและออสเตรเลียในการส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการให้สามารถรับมือกับปัญหาท้าทายและปรากฏการณ์ที่ไม่คาดคิดในอนาคต โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือด้านสาธารณสุข การมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และเพิ่มความเชื่อมโยงทางการค้าด้านอาหารและการส่งเสริมการเกษตรด้านอาหารที่ยั่งยืนและมีความยืดหยุ่น
                    9. ร่างแถลงการณ์ร่วมผู้นำว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อาเซียน-แคนาดา เป็นเอกสารเพื่อประกาศความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อาเซียน-แคนาดาอย่างเป็นทางการ โดยย้ำความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนความเป็นแกนกลางของอาเซียนและกลไกที่อาเซียนมีบทบาทนำ ส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่าง ๆ อาทิ การเมืองและความมั่นคง และการส่งเสริมการค้าและการลงทุนซึ่งรวมถึงการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา
                    10. ร่างแถลงการณ์ร่วมผู้นำอาเซียน-แคนาดาว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งของความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต เป็นเอกสารเพื่อกำหนดแนวทางความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการระหว่างอาเซียนกับแคนาดาในช่วงเวลาที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายในรูปแบบต่าง ๆ โดยเน้นย้ำความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุน และการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เกิดระบบอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารที่ยั่งยืนและมีความยืดหยุ่น
                    11. ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-อินเดียว่าด้วยความร่วมมือทางทะเล เป็นเอกสารกำหนดแนวทางความร่วมมือทางทะเลระหว่างอาเซียนกับอินเดียผ่านกลไกของอาเซียน โดยเน้นสาขาความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน อาทิ เศรษฐกิจภาคทะเลที่ยั่งยืน การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การเสริมสร้างศักยภาพให้แก่บุคลากรทางทะเล การอนุรักษ์มรดกทางธรรมชาติ และย้ำความมุ่งมั่นของอินเดียในการส่งเสริมความร่วมมือภายใต้มุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก และข้อริเริ่ม Indo-Pacific Oceans Initiative ของอินเดีย
                    12. ร่างแถลงการณ์ร่วมผู้นำอาเซียน-อินเดียว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งของความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต เป็นเอกสารเพื่อกำหนดแนวทางความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการระหว่างอาเซียนกับอินเดียในช่วงเวลาที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายในรูปแบบต่าง ๆ โดยเน้นย้ำความร่วมมือเพื่อป้องกันการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานด้านการค้าอาหาร พัฒนาความเชื่อมโยงของตลาดและการกระจายสินค้าเกษตรและอาหาร และสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา
                    13. ร่างแถลงการณ์ผู้นำอาเซียน-สหรัฐฯ ว่าด้วยความร่วมมือต่อมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก เป็นเอกสารที่ย้ำเจตนารมณ์ของอาเซียนและสหรัฐฯ ที่จะร่วมกันส่งเสริมความร่วมมือในสาขาหลักภายใต้เอกสารมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก และขยายความร่วมมือที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งเน้นย้ำว่า สหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกับอาเซียนเพื่อรับมือกับความท้าทายอันอาจส่งผลกระทบต่อความพยายามที่จะสร้างภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เปิดกว้าง มั่นคง และยั่งยืน
                    14. ร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทางกับมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองของอาเซียนและจีนที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ภายใต้หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้าน โดยดำเนินความร่วมมือที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทางกับมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิกเพื่อส่งเสริมการพัฒนาและการเป็นศูนย์กลางการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาค
                    15. ร่างแกลงการณ์ร่วมว่าด้วยการสถาปนาความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้านอาเซียน-ญี่ปุ่น เป็นเอกสารเพื่อประกาศการสถาปนาความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้านที่มีสาระสำคัญและมีผลประโยชน์ร่วมกัน เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น พร้อมทั้งเน้นย้ำการดำเนินการภายใต้มุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิกเพื่อพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น และส่งเสริมความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น บนพื้นฐานของความไว้วางใจกัน การเคารพซึ่งกันและกัน การมีผลประโยชน์ร่วมกันและการเป็นหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกัน
                    16. ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 24 ว่าด้วยความร่วมมือเกี่ยวกับมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก (เอโอไอพี) เป็นเอกสารที่เน้นย้ำการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลีที่มีนัยสำคัญ มีพลวัต และเป็นประโยชน์ร่วมกันมากขึ้น โดยยืนยันความสำคัญต่อความเป็นแกนกลางของอาเซียน ตลอดจนการยึดมั่นต่อหลักการ และการเสริมสร้างความร่วมมือในสาขาหลักภายใต้มุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก เพื่อนำไปสู่การสถาปนาความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้านต่อไป
                    17. ร่างแถลงการณ์ผู้นำการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกว่าด้วยการรักษาและส่งเสริมให้ภูมิภาคเป็นศูนย์กลางของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นเอกสารที่มุ่งเน้นการส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคง เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาค การส่งเสริมความร่วมมือเพื่อรับมือกับความท้าทายในภูมิภาคและโลก การดำเนินการตามแผนการดำเนินงานของการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ค.ศ. 2024-2028 และส่งเสริมการดำเนินการตามเอกสารมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก รวมทั้งสะท้อนมุมมองต่อประเด็นระดับภูมิภาคและระดับโลกที่อาจส่งผลกระทบต่อการเป็นศูนย์กลางการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาค
                    สาระสำคัญของร่างเอกสารที่จะลงนาม จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่
                    1. ร่างหนังสือให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสาธารณรัฐเซอร์เบีย เป็นเอกสารที่รัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศจะลงนามเพื่อให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญาฯ ของสาธารณรัฐเซอร์เบีย ทั้งนี้ อินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียนกำหนดจัดพิธีลงนามตราสารภาคยานุวัติฯ ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 43 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง
                    2. ร่างหนังสือให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยรัฐคูเวต เป็นเอกสารที่รัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศจะลงนามเพื่อให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญาฯ ของรัฐคูเวต ทั้งนี้ อินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียนกำหนดจัดพิธีลงนามตราสารภาคยานุวัติฯ ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 43 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง
                    3. ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับสมาคมแห่งภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย เป็นเอกสารเพื่อจัดตั้งความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการระหว่างอาเซียนกับสมาคมแห่งภูมิภาคมหาสมุทรอินเดียในระดับสำนักเลขาธิการ เพื่อส่งเสริมการดำเนินความร่วมมือในด้านต่าง ๆ อาทิ ความร่วมมือทางทะเล ความเชื่อมโยง การพัฒนาที่ยั่งยืน และเศรษฐกิจ โดยเลขาธิการของทั้งสองฝ่ายจะร่วมลงนามเอกสารดังกล่าว
                    4. ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับองค์กรการประชุมหมู่เกาะแปซิฟิก เป็นเอกสารเพื่อจัดตั้งความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการระหว่างอาเซียนกับองค์กรการประชุมหมู่เกาะแปซิฟิกในระดับสำนักเลขาธิการ เพื่อส่งเสริมการดำเนินความร่วมมือในด้านต่าง ๆ อาทิ ความร่วมมือทางทะเล ความเชื่อมโยง การพัฒนาที่ยั่งยืน และเศรษฐกิจ โดยเลขาธิการของทั้งสองฝ่ายจะร่วมลงนามเอกสารดังกล่าว

แต่งตั้ง
28. เรื่อง การปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐ
                    คณะรัฐมนตรีมีมีติเห็นชอบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอการปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐ ดังนี้
                    1. แต่งตั้ง นายพีรเดช ณ น่าน เป็นกรรมการในคณะกรรมการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐ      แทน นายพีรเจต สุวรรณนภาศรี ที่ขอลาออกจากตำแหน่ง
                    2. เพิ่มผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ                 เป็นกรรมการในคณะกรรมการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐเพิ่มเติม
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2566 เป็นต้นไป

29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ               (กระทรวงแรงงาน)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเสนอแต่งตั้ง นางสาวนันทินี              ทรัพย์ศิริ ประกันสังคมจังหวัด (ผู้อำนวยการระดับสูง) สำนักงานประกันสังคมจังหวัดกาญจนบุรี สำนักงานประกันสังคม ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านประสิทธิภาพ (นักวิชาการแรงงานทรงคุณวุฒิ) สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2565 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ และให้ดำเนินการต่อไปได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 169 (2) แล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

30. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอแต่งตั้ง นางนิพัทธา บรรจงลิขิตสาร ผู้อำนวยการศูนย์ (ผู้อำนวยการระดับสูง) ศูนย์นักบริหารระดับสูง สำนักงาน ก.พ. ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาระบบราชการ (นักทรัพยากรบุคคลทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2566                  ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ และให้ดำเนินการต่อไปได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 169 (2) แล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง


31. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                    (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นางสาวภคนันท์                 ศิลาอาสน์ ผู้อำนวยการกอง (ผู้อำนวยการระดับสูง) กองงานนายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำด้านประสานกิจการภายในประเทศ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ และให้ดำเนินการต่อไปได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 169 (2) แล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

32. เรื่อง การสรรหาบุคคลเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐแทนตำแหน่งที่ว่างลง
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) เสนอชื่อนายอำนาจ พวงชมภู ให้เป็นบุคคลที่คณะรัฐมนตรีสรรหาและเสนอรายชื่อเพื่อเข้ารับการคัดเลือกโดยคณะกรรมการคัดเลือก เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ                          แทนตำแหน่งที่ว่างลง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ