http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ 6 กันยายน 2566 เวลา 09.00 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (นัดพิเศษ) ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ 1. เรื่อง การจัดทำคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา 2. เรื่อง การกำหนดวิธีการประชุมคณะรัฐมนตรี 3. เรื่อง แนวทางปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐในการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี และการจัดวาระ เพื่อเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเป็นวาระเพื่อทราบ หากไม่มีข้อ ทักท้วงให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีตามที่เสนอ 4. เรื่อง การมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็น ผู้ตรวจพิจารณาร่างมติคณะรัฐมนตรีและกลั่นกรองเรื่องก่อนเสนอนายกรัฐมนตรี 5. เรื่อง การมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวง 6. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
? 1. เรื่อง การจัดทำคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอดังนี้ 1. เห็นชอบร่างคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภาและมอบหมายให้ สลค. รับไปประสานรวมทั้งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดพิมพ์ และแจกจ่ายเอกสารคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ต่อรัฐสภาต่อไป 2. กำหนดวันแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา วันจันทร์ที่ 11 กันยายน 2566 3. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศแปลคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีเป็นภาษาอังกฤษ 2. เรื่อง การกำหนดวิธีการประชุมคณะรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดวิธีการประชุมคณะรัฐมนตรีตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ ทั้งนี้ ตามนัยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 มาตรา 8 วรรคสาม สาระสำคัญของเรื่อง การประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นเครื่องมือหลักในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลซึ่งตามนัยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 มาตรา 8 วรรคสาม บัญญัติให้วิธีการประชุมคณะรัฐมนตรีจะดำเนินการโดยเชิญรัฐมนตรีมาร่วมประชุม ณ สถานที่ที่กำหนด หรือโดยวิธีอื่นใดซึ่งผู้ร่วมประชุมสามารถปรึกษาหารือกันได้แม้จะมิได้อยู่ในสถานที่เดียวกันก็ได้ ทั้งนี้ ตามที่นายกรัฐมนตรีกำหนด ดังนั้น สลค. จึงขอเสนอวิธีการประชุมคณะรัฐมนตรีโดยยึดหลักความสอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและ การประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 ดังนี้ 1. วัน เวลา และสถานที่ประชุมคณะรัฐมนตรี 1.1 จัดการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการกรณีปกติในทุกวันอังคาร ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล 1.2 การประชุมคณะรัฐมนตรีกรณีปกติอาจเปลี่ยนแปลงวัน เวลา และสถานที่ได้ตามที่นายกรัฐมนตรีกำหนด 1.3 การประชุมคณะรัฐมนตรีกรณีปกติจะดำเนินการโดยเชิญรัฐมนตรีมาเข้าร่วมประชุม ณ สถานที่ที่กำหนดตามข้อ 1.1 หรือข้อ 1.2 2. องค์ประกอบของการประชุมคณะรัฐมนตรี 2.1 องค์ประชุมคณะรัฐมนตรี 2.1.1 การประชุมคณะรัฐมนตรีในกรณีปกติให้ดำเนินการได้เมื่อมีรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนคณะรัฐมนตรีทั้งหมดที่มีอยู่ (ตามนัยพระราชกฤษฎีกาฯ มาตรา 8 วรรคหนึ่ง1) โดยจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมให้รวมถึงผู้เข้าร่วมประชุมโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งสามารถปรึกษาหารือกันได้แม้จะมิได้อยู่ในสถานที่เดียวกัน (ตามนัยพระราชกฤษฎีกาฯ มาตรา 8 วรรคสาม2) 2.1.2 ในกรณีจำเป็นเพื่อเป็นการรักษาประโยชน์สำคัญของประเทศหรือมีกรณีฉุกเฉินหรือเพื่อประโยชน์ในการรักษาความลับ นายกรัฐมนตรีอาจพิจารณาเรื่องใดกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องตามที่นายกรัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อมีมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นได้ และเมื่อมีการประชุมเป็นกรณีปกติให้นายกรัฐมนตรีแจ้งให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีทราบมติของคณะรัฐมนตรีดังกล่าวด้วย (ตามนัยพระราชกฤษฎีกาฯ มาตรา 8 วรรคสอง3) 2.2 ผู้เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย ข้าราชการการเมือง และข้าราชการประจำระดับสูง ดังนี้ 2.2.1 ข้าราชการการเมือง ได้แก่ (1) เลขาธิการนายกรัฐมนตรี (2) โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 2.2.2 ข้าราชการประจำระดับสูง ได้แก่ (1) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (2) เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (3) เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา (4) ตำแหน่งอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีกำหนด 2.3 ฝ่ายเลขานุการ ประกอบด้วย 2.3.1 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี 2.3.2 รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ตามที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีมอบหมาย) ปฏิบัติหน้าที่ในการนำเสนอระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมกับเลขาธิการคณะรัฐมนตรี 2.3.3 เจ้าหน้าที่ของ สลค. (ตามที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีมอบหมาย) ปฏิบัติหน้าที่ในห้องประชุมคณะรัฐมนตรี เช่น ผู้อำนวยการกองที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่จดบันทึกการประชุมคณะรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่ประสานงานและรับส่งเอกสารในห้องประชุมคณะรัฐมนตรี เป็นต้น 3. ระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย 3.1 เรื่องที่ประธานแจ้งที่ประชุม 3.2 เรื่องวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (ถ้ามี) 3.3 เรื่องเพื่อพิจารณา 3.4 เรื่องเพื่อทราบ (หากไม่มีข้อทักท้วงให้ถือเป็นเรื่องที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ/อนุมัติ)4 3.5 เรื่องเพื่อทราบ 3.6 เรื่องอื่น ๆ 4. ประเภทแฟ้มระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย 4.1 เรื่องเพื่อพิจารณา แฟ้มสีชมพู 4.2 เรื่องเพื่อทราบ (หากไม่มีข้อทักท้วงฯ) แฟ้มสีส้ม 4.3 เรื่องเพื่อทราบ แฟ้มสีฟ้า 5. การส่งระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี สลค. จะจัดส่งระเบียบวาระการประชุมฯ พร้อมด้วยเอกสารที่เกี่ยวข้องให้คณะรัฐมนตรีทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 วัน ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี โดย สลค. จะจัดส่งระเบียบวาระการประชุมฯ ให้คณะรัฐมนตรี ดังนี้ 5.1 การประชุมคณะรัฐมนตรีในกรณีปกติทุกวันอังคาร จะส่งระเบียบวาระการประชุมฯ (ปกติ) ให้คณะรัฐมนตรีในวันศุกร์ และส่งระเบียบวาระการประชุมฯ (เพิ่มเติม) ในวันจันทร์ ส่วนระเบียบวาระการประชุมฯ (วาระจร) จะจัดส่งในวันประชุมคณะรัฐมนตรี 5.2 กรณีที่มีการเลื่อนวันประชุมคณะรัฐมนตรี จะส่งระเบียบวาระการประชุมฯ ให้คณะรัฐมนตรีล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 วันก่อนวันประชุมคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ สลค. จะจัดส่งระเบียบวาระการประชุมฯ ในระบบเรียกดูระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีด้วยเครื่องแท็บเล็ต (M-VARA) (ตามนัยพระราชกฤษฎีกาฯ มาตรา 95) อีกช่องทางหนึ่งด้วย 6. คณะกรรมการรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีจะแต่งตั้งคณะบุคคลประกอบด้วยรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและบุคคลอื่นที่มีความรู้ความชำนาญในเรื่องที่จะพิจารณาเพื่อพิจารณากลั่นกรองเรื่องใดก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีก็ได้ เพื่อให้เรื่องที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีได้มีการพิจารณาอย่างละเอียด รอบคอบ และประหยัดเวลาการประชุมคณะรัฐมนตรี (ตามนัยพระราชกฤษฎีกาฯ มาตรา 56) 7. การลาประชุมคณะรัฐมนตรี ให้รัฐมนตรีแจ้ง สลค. เป็นหนังสือเพื่อแจ้งให้นายกรัฐมนตรีและที่ประชุมคณะรัฐมนตรีทราบ ซึ่งรวมถึงกรณีการลาประชุมเป็นช่วงเวลาหรือกรณีไม่สามารถเข้าร่วมจนสิ้นสุดการประชุมได้ 8. สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ในการประชุมคณะรัฐมนตรีโดยเปิดเผย สลค. จะจัดทำสรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีทุกครั้งที่มีการประชุม โดยจะจัดทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และถ่ายโอนข้อมูลไปยังระบบ M-VARA แล้วแจ้งให้รัฐมนตรีทราบ กรณีมีข้อทักท้วงหรือแก้ไขประการใด สลค. จะดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องโดยเร็ว ??_____________________ 1 มาตรา 8 การประชุมคณะรัฐมนตรีในกรณีปกติให้ดำเนินการได้เมื่อมีรัฐมนตรีเข้าประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนของคณะรัฐมนตรีทั้งหมดที่มีอยู่ ในกรณีจำเป็นเพื่อเป็นการรักษาประโยชน์สำคัญของประเทศหรือมีกรณีฉุกเฉินหรือเพื่อประโยชน์ในการรักษาความลับ นายกรัฐมนตรีอาจพิจารณาเรื่องใดกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องตามที่นายกรัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อมีมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นได้ และเมื่อมีการประชุมเป็นกรณีปกติให้นายกรัฐมนตรีแจ้งให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีทราบมติของคณะรัฐมนตรีดังกล่าวด้วย วิธีการประชุมคณะรัฐมนตรีจะดำเนินการโดยเชิญรัฐมนตรีมาร่วมประชุม ณ สถานที่ที่กำหนดหรือโดยวิธีอื่นใดซึ่งผู้ร่วมประชุมสามารถปรึกษาหารือกันได้แม้มิได้อยู่ในสถานที่เดียวกัน ทั้งนี้ ตามที่นายกรัฐมนตรีกำหนด 2 ดูเชิงอรรถที่ 1 3 ดูเชิงอรรถที่ 1 4 เป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐเสนอคณะรัฐมนตรีเป็นเรื่องภารกิจปกติหรือมีแนวทางที่ปฏิบัติชัดเจนแล้ว และไม่ใช่เรื่องนโยบายหรือไม่ใช่เรื่องสำคัญ คณะรัฐมนตรีจะมีมติมอบหมายเป็นหลักการทั่วไป ให้นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งได้รับมอบหมายให้กำกับการบริหารราชการ สั่งหรือปฏิบัติราชการนายกรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ อนุมัติ อนุญาต รับทราบ หรือมีคำสั่งในเรื่องดังกล่าว และให้นำเสนอให้คณะรัฐมนตรีทราบ หากคณะรัฐมนตรีไม่มีข้อทักท้วงหรือไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่น ให้ถือว่าการให้ความเห็นชอบ อนุมัติ อนุญาต รับทราบหรือมีคำสั่งในเรื่องดังกล่าวเป็นมติของคณะรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ 5 มาตรา 9 การประชุมคณะรัฐมนตรีในกรณีปกติตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง สลค. ต้องจัดส่งวาระการประชุมฯ พร้อมด้วยเอกสารที่เกี่ยวข้องให้คณะรัฐมนตรีทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหนึ่งวันก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี เว้นแต่กรณีมีความจำเป็นเร่งด่วน นายกรัฐมนตรีจะอนุมัติให้เสนอโดยไม่ต้องส่งวาระการประชุมฯ ล่วงหน้าก็ได้ แต่ในกรณีที่เป็นเรื่องที่มีผลให้มีการอนุมัติงบประมาณ นายกรัฐมนตรีจะอนุมัติดังกล่าวได้ต่อเมื่อเป็นกรณีฉุกเฉินและมีความจำเป็นเพื่อรักษาประโยชน์สำคัญของประเทศ หรือประชาชน การส่งวาระการประชุมและเอกสารที่เกี่ยวข้องจะส่งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ 6 มาตรา 5 คณะรัฐมนตรีจะแต่งตั้งคณะบุคคลประกอบด้วย รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและบุคคลอื่นที่มีความรู้ความชำนาญในเรื่องที่จะพิจารณาเพื่อพิจารณากลั่นกรองเรื่องใดก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีก็ได้ 3. เรื่อง แนวทางปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐในการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี และการจัดวาระ เพื่อเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเป็นวาระเพื่อทราบ หากไม่มีข้อทักท้วงให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีตามที่เสนอ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ ดังนี้ 1. ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2562 30 กรกฎาคม 2562 และ 6 สิงหาคม 2562 2. แนวทางปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐในการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี 3. การจัดวาระเพื่อเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเป็นวาระเพื่อทราบ หากไม่มีข้อทักท้วงให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีตามที่เสนอ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติต่อไป เรื่องเดิม 1. คณะรัฐมนตรีมีมติ (16 กรกฎาคม 2562) รับทราบแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการทั่วไปในการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี 2. คณะรัฐมนตรีมีมติ (30 กรกฎาคม 2562) เห็นชอบการกำหนดหลักการในการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ หากไม่มีข้อทักท้วงให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรี เห็นชอบ อนุมัติ อนุญาต รับทราบ หรือมีคำสั่ง ตั้งแต่วันที่เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ 3. คณะรัฐมนตรีมีมติ (6 สิงหาคม 2562) เห็นชอบประเภทเรื่องที่ให้เสนอนายกรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบหรืออนุมัติตามนัยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 สาระสำคัญของเรื่อง 1. แนวทางปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐในการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี ในการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีหน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่องจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 และระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 ดังต่อไปนี้ 1.1 ให้หน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่องส่งเรื่องไปยัง สลค. โดยดำเนินการ ดังนี้ 1.1.1 ในส่วนของผู้ลงนามในหนังสือนำส่งเรื่องดังกล่าวให้หน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่องดำเนินการให้เป็นไปตามนัยมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 ที่บัญญัติให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้ลงนามเสนอเรื่อง 1.1.2 ในกรณีเรื่องที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีเป็นเรื่องที่จะต้องได้รับความเห็นชอบหรืออนุมัติจากหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นก่อน (ตามระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 ข้อ 9) ให้หน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่องขอความเห็นชอบหรือขออนุมัติจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้เสร็จสิ้น แล้วจึงส่งเรื่องไปยัง สลค. พร้อมกับความเห็นชอบหรือคำอนุมัตินั้น เช่น กรณีตัวอย่างเรื่อง ความเห็นชอบหรืออนุมัติของหน่วยงานที่จะต้องส่งไปพร้อมกับเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี เรื่องการเสนอขอใช้จ่ายงบประมาณรายจ่าย งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 กรณีวงเงินเกินกว่า 100 ล้านบาท หน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่องต้องส่งเรื่องที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีไปยัง สลค. พร้อมกันกับความเห็นของสำนักงบประมาณที่ระบุว่านายกรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว 1.1.3 ในการส่งเรื่องไปยัง สลค. กรณีเป็นเรื่องที่มีกรอบระยะเวลาในการดำเนินการอย่างชัดเจน ซึ่งหน่วยงานเจ้าของเรื่องทราบล่วงหน้าอยู่แล้ว เช่น เรื่องเกี่ยวกับการเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมนานาชาติ เป็นต้น ให้เสนอเรื่องไปยัง สลค. ก่อนถึงระยะเวลาที่กำหนดของเรื่องนั้น ๆ อย่างน้อย 15 วัน สำหรับกรณีที่เป็นเรื่องเร่งด่วนให้หน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่องส่งเรื่องให้ สลค. อย่างน้อย 7 วัน ก่อนวันประชุมคณะรัฐมนตรี 1.2 เมื่อได้รับเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีที่ดำเนินการถูกต้องตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 ระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 และขั้นตอนตามข้อ 1.1 แล้ว สลค. จะดำเนินการถามความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรณีเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี ตัวอย่างหน่วยงานที่ สลค. จะต้องถามความเห็น เรื่องงบประมาณ กระทรวงการคลัง (กค.) สำนักงบประมาณ (สงป.) เรื่องเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจ กค. สงป. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่องแผนงาน/โครงการลงทุน เรื่องที่มีประเด็นทางกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) สคก. 1.3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแจ้งความเห็นไปยัง สลค. เพื่อดำเนินการในขั้นตอนต่อไป 1.4 สลค. ดำเนินการเพื่อบรรจุระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี ดังนี้ ประเภทเรื่อง หมายเหตุ 1. เรื่องเพื่อพิจารณา สลค. จะจัดทำบันทึกเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติให้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี (บรรจุระเบียบวาระการประชุม) 2. เรื่องเพื่อทราบ หากไม่มีข้อทักท้วงให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีตามที่เสนอ สลค. จะจัดทำบันทึกเสนอนายกรัฐมนตรี/รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการเพื่อพิจารณาอนุมัติให้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี (บรรจุระเบียบวาระการประชุม) 3. เรื่องเพื่อทราบ 4. เรื่องเพื่อทราบเป็นข้อมูล เป็นรายงานหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารราชการแผ่นดิน โดยไม่ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรี 2. การจัดวาระเพื่อเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเป็นวาระเพื่อทราบ หากไม่มีข้อทักท้วงให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีตามที่เสนอ เนื่องจากเรื่องที่หน่วยงานของรัฐเสนอมาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณามีประเภทเรื่องหลากหลาย และบางเรื่องเป็นภารกิจปกติ หรือมีหลักเกณฑ์ หรือแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนอยู่แล้ว หรือผ่านการพิจารณาตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดแล้ว ประกอบกับมีกฎหมายบางฉบับได้กำหนดให้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบหากไม่มีข้อทักท้วงหรือไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่น ให้ถือว่าคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหรือเห็นชอบ ดังนั้น เพื่อเป็นการลดระยะเวลาในการพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ของคณะรัฐมนตรีและทำให้การประชุมคณะรัฐมนตรีเกิดประสิทธิภาพสูงสุด สลค. จึงเห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่อกำหนด แนวทางปฏิบัติในการจัดวาระเพื่อเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเป็นวาระเพื่อทราบ หากไม่มีข้อทักท้วงให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีตามที่เสนอ ดังนี้ 2.1 กรณีเรื่องที่หน่วยงานของรัฐเสนอคณะรัฐมนตรีเป็นเรื่องที่เป็นภารกิจปกติ หรือมีหลักเกณฑ์หรือแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนอยู่แล้ว หรือผ่านการพิจารณาตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดแล้ว (ตามข้อ 2.1.1 - 2.1.7) ให้มอบหมายเป็นการทั่วไปให้นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งได้รับมอบหมายให้กำกับการบริหารราชการ สั่งหรือปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ อนุมัติ อนุญาต รับทราบ หรือมีคำสั่งในเรื่องดังกล่าว และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ หากคณะรัฐมนตรีไม่มีข้อทักท้วงหรือไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่น ให้ถือว่าการให้ความเห็นชอบ อนุมัติ อนุญาต รับทราบ หรือมีคำสั่งดังกล่าวเป็นมติของคณะรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ โดยมอบหมายให้ สลค. เป็นผู้พิจารณากลั่นกรองว่า เรื่องที่หน่วยงานของรัฐเสนอเรื่องใดเข้าเข้าข่ายเป็นประเภทเรื่องตามกรณีนี้ เพื่อดำเนินการต่อไป ดังนี้ 2.1.1 เรื่องเกี่ยวกับกฎหมาย ได้แก่ ร่างพระราชกฤษฎีกาและร่างกฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ และข้อบังคับที่ไม่ใช่เรื่องนโยบาย เช่น ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่ง พ.ศ. .... 2.1.2 เรื่องการแต่งตั้ง ถอดถอน และการกำหนดอัตราเงินเดือนของผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีในการพิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งกระทรวงการคลังได้พิจารณาเห็นชอบแล้ว 2.1.3 เรื่องที่มีกฎหมายหรือระเบียบกำหนดให้เป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีในการพิจารณาอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบการแต่งตั้ง เช่น การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง และประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกรณีกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี การแต่งตั้งผู้บริหารขององค์การมหาชน และหน่วยงานของรัฐ การแต่งตั้งคณะกรรมการตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรี 2.1.4 การมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ตามมาตรา 41 และมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 2.1.5 เรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ไม่ใช่เรื่องนโยบาย เช่น (1) การขอเปิดสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำต่างประเทศ การขอเปิดสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศไทย การแต่งตั้งกงสุลของไทยประจำ ต่างประเทศ การแต่งตั้งเอกอัครราชทูตหรือกงสุลต่างประเทศประจำประเทศไทย (2) เรื่องการขอให้รัฐบาลไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดการอบรม ประชุม สัมมนาร่วมกับต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ หรือการขออนุมัติเข้าร่วมอบรม ประชุม สัมมนาร่วมกับต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศภายใต้ภารกิจปกติของหน่วยงานของรัฐที่ดำเนินการเป็นประจำซึ่งต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อน โดยมิได้มีการเสนอขอใช้งบประมาณเพิ่มเติมหรือมีการตั้งงบประมาณในการดำเนินการไว้แล้ว ซึ่ง กต. และ สคก. ได้เสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีด้วยแล้วว่า เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเป็นเจ้าภาพดังกล่าวไม่เป็นหนังสือสัญญาตามนัยมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2.1.6 เรื่องที่ผ่านการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องหรือผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการที่แต่งตั้งตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ หรือโดยคณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมาแล้ว เช่น (1) เรื่องการขอเพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ โดยมีวงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท และ สงป. ได้เสนอความเห็นมาเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีด้วยแล้วว่า เห็นชอบด้วย (2) เรื่องการขอเช่ารถยนต์เพื่อใช้ในราชการซึ่ง กค. และ สงป. ได้เสนอความเห็นมาเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีด้วยแล้วว่าเห็นชอบด้วย (3) เรื่องการขอเปลี่ยนแปลงรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบรูปรายการสิ่งก่อสร้างภายใต้วัตถุประสงค์เดิมและไม่ส่งผลกระทบต่องบประมาณที่ได้รับการจัดสรรไว้ และ สงป. ได้เสนอความเห็นมาเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีด้วยแล้วว่าเห็นชอบด้วย (4) เรื่องการขอจัดตั้งทุนหมุนเวียนของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนได้พิจารณาเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอนของมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 ด้วยแล้ว 2.1.7 เรื่องทั่วไปอื่น ๆ เช่น (1) ข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางขององค์กรอิสระ ญัตติ รายงาน และข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (2) เรื่องการรายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีหรือข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี และมีประเด็นมอบหมายหน่วยงานให้รับไปดำเนินการ หรือในเรื่องนั้น ๆ มีประเด็นอื่นที่หน่วยงานควรรับไปดำเนินการ หรือมีประเด็นที่นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลมีข้อสั่งการหรือมีคำสั่งเพิ่มเติมให้หน่วยงานรับไปดำเนินการ (3) เรื่องการรายงานผลการเดินทางไปราชการ ณ ต่างประเทศ หรือผลการประชุมของนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่มีการมอบหมายหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง 2.2 เรื่องที่กฎหมายกำหนดให้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ หากไม่มีข้อทักท้วงหรือไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่น ให้ถือว่าคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหรือเห็นชอบ ได้แก่ การดำเนินการของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ตามนัยมาตรา 11 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ที่บัญญัติให้เมื่อคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกได้มีมติอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบเรื่องใดแล้ว ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ หากไม่มีข้อทักท้วงหรือไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่น ให้ถือว่าคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหรือเห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ให้มอบหมายเป็นการทั่วไปให้นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งได้รับมอบหมายให้กำกับการบริหารราชการ สั่งหรือปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณาเรื่องดังกล่าว และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ หากคณะรัฐมนตรีไม่มีข้อทักท้วงหรือไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่น ให้ถือเป็นมติของคณะรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ 2.3 ประเภทเรื่องที่กำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ให้ความเห็นชอบ/อนุมัติให้เสนอคณะรัฐมนตรี สำหรับวาระเพื่อทราบ หากไม่มีข้อทักท้วงให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีตามที่เสนอ (ตามข้อ 2.1 และข้อ 2.2) ได้แก่ 2.3.1 เรื่องการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง และประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ 2.3.2 เรื่องการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกรณีกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี 2.3.3 เรื่องการแต่งตั้งผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงาน ของรัฐ 2.3.4 เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรี 2.3.5 เรื่องการมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตามมาตรา 41 และมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 2.3.6 เรื่องอื่น ๆ ที่ สลค. เห็นสมควรนำเสนอนายกรัฐมนตรี 4. เรื่อง การมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ตรวจพิจารณาร่างมติคณะรัฐมนตรีและกลั่นกรองเรื่องก่อนเสนอนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ดังนี้ 1. มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ตรวจพิจารณา ร่างมติคณะรัฐมนตรี 2. ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอเรื่องผ่านรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลด้านกฎหมายเป็น ผู้พิจารณากลั่นกรองเสนอก่อนเสนอนายกรัฐมนตรีในเรื่องต่อไปนี้ 2.1 เรื่อง การดำเนินคดีในศาลปกครองในกรณีที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีถูกฟ้องในคดีปกครอง 2.2 เรื่อง การดำเนินคดีในศาลรัฐธรรมนูญในกรณีคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ถูกร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ 2.3 เรื่องเกี่ยวกับกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ สาระสำคัญของเรื่อง 1. ในการประชุมคณะรัฐมนตรีแต่ละครั้งเมื่อคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาและมีมติอนุมัติ ให้ความเห็นชอบ หรือมีคำสั่งใด ๆ ในเรื่องต่าง ๆ ที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว สลค. จะจัดทำร่างมติคณะรัฐมนตรีใน เรื่องนั้น ๆ แล้วเสนอให้รัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ตรวจพิจารณาและลงนามรับรองความถูกต้องก่อน จึงจะถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีที่จะแจ้งให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องและหน่วยงาน/บุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อทราบถือปฏิบัติ หรือดำเนินการต่อไป 2. การมอบหมายให้มีผู้ตรวจพิจารณาร่างมติคณะรัฐมนตรีที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในหน่วยงาน สลค. เป็นผู้ตรวจพิจารณาร่างมติคณะรัฐมนตรีที่ สลค. เสนอ 3. การพิจารณาเกี่ยวกับกฎหมายโดยเฉพาะในระดับพระราชบัญญัติหรือการดำเนินคดีความต่าง ๆ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีถูกฟ้อง จะต้องมีการตรวจสอบการดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกฎหมายอย่างรอบด้านและเพื่อให้การพิจารณาของนายกรัฐมนตรีเป็นไปด้วยความรอบคอบ ประกอบกับที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีได้เคยมีการมอบหมายให้มีรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลด้านกฎหมายเป็นผู้พิจารณากลั่นกรองเรื่องลักษณะดังกล่าวก่อนเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณา 5. เรื่อง การมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวง คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ แนวทางการมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบด้วย 1. กรณีที่มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวง 2. กรณีที่มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงหลายคน ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณามอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวง 3. กรณีที่ไม่มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณามอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาระสำคัญของเรื่อง โดยที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ดังนั้น เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเพื่อเป็นแนวทางในการมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่ง เป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหรือ มีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ซึ่งกรณีที่มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงหลายคน และกรณีที่ไม่มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ จะต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณามอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ตามนัยมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 6. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอการแต่งตั้ง นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2566 เป็นต้นไป