คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและ การออกใบอนุญาตโฆษณายาเสพติดให้โทษและโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่เห็นว่า การโฆษณายาเสพติดให้โทษในลักษณะของภาพยนตร์ การบันทึกเสียงหรือภาพนั้น หากควบคุมดูแลไม่ดี อาจเป็นปัจจัยให้สื่อโฆษณานั้น ๆ แพร่หลายไปสู่ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะหากเป็นกลุ่มเยาวชนในวัยอยากรู้อยากลอง ก็อาจนำไปสู่การเสพติดยาเสพติดประเภทนั้น ๆ ได้ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงสาธารณสุขเสนอว่า โดยที่มาตรา 48 วรรคสาม มาตรา 48/1 วรรคสองและมาตรา 35 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 บัญญัติให้การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตโฆษณายาเสพติดให้โทษสำหรับการโฆษณายาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือประเภท 3 ซึ่งกระทำโดยตรงต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ชั้นหนึ่ง หรือการโฆษณาที่เป็นฉลากหรือเอกสารกำกับยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือประเภท 3 ที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือประเภท 3 เฉพาะที่เป็นเอกสาร ภาพ ภาพยนตร์ การบันทึกเสียงหรือภาพ การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดให้โทษ และ การออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ปัจจุบันยังไม่มีกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังกล่าว จึงจำเป็นต้องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขฯ เพื่อให้มีแนวทางปฏิบัติเป็นไปตามกฎหมาย จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
โดยสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงมีดังนี้
1. กำหนดคำนิยาม “โฆษณายาเสพติดให้โทษ” และ “สถานพยาบาล” (ร่างข้อ 1)
2. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกใบอนุญาต การขออนุญาต และการขอรับใบแทนอนุญาตโฆษณายาเสพติดให้โทษ และโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดให้โทษ (ร่างข้อ 2 — ร่างข้อ 5 และร่างข้อ 8)
3. กำหนดวิธีปฏิบัติของผู้รับอนุญาตโฆษณายาเสพติดให้โทษและผู้รับอนุญาตโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดให้โทษ (ร่างข้อ 6 ถึงร่างข้อ 7)
4. กำหนดแบบคำขอต่าง ๆ เช่น คำขออนุญาต ใบอนุญาต และกำหนดสถานที่ในการยื่นคำขอ (ร่างข้อ 9 ถึงร่างข้อ 10)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 เมษายน 2551--จบ--
กระทรวงสาธารณสุขเสนอว่า โดยที่มาตรา 48 วรรคสาม มาตรา 48/1 วรรคสองและมาตรา 35 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 บัญญัติให้การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตโฆษณายาเสพติดให้โทษสำหรับการโฆษณายาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือประเภท 3 ซึ่งกระทำโดยตรงต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ชั้นหนึ่ง หรือการโฆษณาที่เป็นฉลากหรือเอกสารกำกับยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือประเภท 3 ที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือประเภท 3 เฉพาะที่เป็นเอกสาร ภาพ ภาพยนตร์ การบันทึกเสียงหรือภาพ การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดให้โทษ และ การออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ปัจจุบันยังไม่มีกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังกล่าว จึงจำเป็นต้องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขฯ เพื่อให้มีแนวทางปฏิบัติเป็นไปตามกฎหมาย จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
โดยสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงมีดังนี้
1. กำหนดคำนิยาม “โฆษณายาเสพติดให้โทษ” และ “สถานพยาบาล” (ร่างข้อ 1)
2. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกใบอนุญาต การขออนุญาต และการขอรับใบแทนอนุญาตโฆษณายาเสพติดให้โทษ และโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดให้โทษ (ร่างข้อ 2 — ร่างข้อ 5 และร่างข้อ 8)
3. กำหนดวิธีปฏิบัติของผู้รับอนุญาตโฆษณายาเสพติดให้โทษและผู้รับอนุญาตโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดให้โทษ (ร่างข้อ 6 ถึงร่างข้อ 7)
4. กำหนดแบบคำขอต่าง ๆ เช่น คำขออนุญาต ใบอนุญาต และกำหนดสถานที่ในการยื่นคำขอ (ร่างข้อ 9 ถึงร่างข้อ 10)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 เมษายน 2551--จบ--