คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางแก้ไขปัญหาข้าวเพื่อการบริโภค โดยการจัดทำข้าวสารบรรจุถุงจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
1. หลักการ ให้ อคส.นำข้าวสารในสต็อกของรัฐบาลจำนวน 2.1 ล้านตัน ทยอยจัดทำข้าวสารบรรจุถุงจำหน่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนและทยอยจัดซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรหรือข้าวสารจากโรงสีโดยตรง เข้ามาเก็บทดแทนในโกดังกลางให้ครบจำนวนเดิม โดยใช้ระบบหมุนเวียนข้าวและเฉลี่ยราคาต้นทุนเก่า — ใหม่ เพื่อให้ราคาตลาดคงที่
2. กลไกการดำเนินงาน ให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อบริหารจัดการและกำกับดูแล การดำเนินการจัดทำข้าวสารบรรจุถุง และจัดซื้อข้าวจากระบบตลาดเข้าทดแทนในปริมาณเดียวกัน
3. การจำหน่าย ราคาจำหน่ายให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการส่วนกลางกำหนด และกระจายจำหน่ายให้ผู้บริโภคอย่างทั่วถึงทั่วประเทศ (โดยไม่ผ่าน Modern Trade) โดยผ่าน อคส. พาณิชย์จังหวัด และการค้าภายในจังหวัด ซึ่งกำกับ ดูแลโดยคณะอนุกรรมการ กขช.ระดับจังหวัดและกระทรวงมหาดไทย โดยคำนึงถึงความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง และป้องกันการหมุนเวียนซื้อ
4. งบประมาณ ค่าใช้จ่ายในการจัดทำข้าวถุงและการบริหารจัดการ รวมทั้งการกระจายหรือจำหน่ายจะนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายข้าวสารบรรจุถุงมาหมุนเวียน
5. ระยะเวลาดำเนินการ พฤษภาคม — ธันวาคม 2551
ข้อเท็จจริง
1. ปริมาณข่าวในสต็อกรัฐบาล รวมประมาณ 2.1 ล้านตันข้าวสาร (เป็นข้าวสาร 1.955 ล้านตัน เป็นข้าวเปลือก 184,845 ตัน ซึ่งคำนวณเป็นข้าวสารประมาณ 107,400 ตัน) เป็นข้าวในโครงการรับจำนำปี 2547/48 — 2550/51 ประกอบด้วย ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมจังหวัด ข้าวปทุมธานี ข้าวขาว 5% ข้าวขาว 10% ข้าวขาว 15% ข้าวขาว 25% เลิศ
2. การบริหารจัดการข้าวของไทย จากผลผลิตข้าวนาปรัง ปี 2551 และข้าวนาปี ปี 2551/52 คาดว่าจะมีผลผลิตรวม 30.18 ล้านตันข้าวเปลือก หรือประมาณ 20 ล้านตันข้าวสาร จะใช้ (1) เพื่อการบริโภคภายใน ประเทศประมาณ 9.0 ล้านตันข้าวสาร จำแนกเป็น การบริโภคโดยตรงประมาณ 6.6 ล้านตัน ใช้ทำพันธุ์และใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ประมาณ 2.4 ล้านตันข้าวสาร (2) คาดว่าจะส่งออกทั้งปี 2551 ประมาณ 9.0 ล้านตัน และที่เหลือเก็บไว้เป็นสต็อก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 เมษายน 2551--จบ--
1. หลักการ ให้ อคส.นำข้าวสารในสต็อกของรัฐบาลจำนวน 2.1 ล้านตัน ทยอยจัดทำข้าวสารบรรจุถุงจำหน่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนและทยอยจัดซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรหรือข้าวสารจากโรงสีโดยตรง เข้ามาเก็บทดแทนในโกดังกลางให้ครบจำนวนเดิม โดยใช้ระบบหมุนเวียนข้าวและเฉลี่ยราคาต้นทุนเก่า — ใหม่ เพื่อให้ราคาตลาดคงที่
2. กลไกการดำเนินงาน ให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อบริหารจัดการและกำกับดูแล การดำเนินการจัดทำข้าวสารบรรจุถุง และจัดซื้อข้าวจากระบบตลาดเข้าทดแทนในปริมาณเดียวกัน
3. การจำหน่าย ราคาจำหน่ายให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการส่วนกลางกำหนด และกระจายจำหน่ายให้ผู้บริโภคอย่างทั่วถึงทั่วประเทศ (โดยไม่ผ่าน Modern Trade) โดยผ่าน อคส. พาณิชย์จังหวัด และการค้าภายในจังหวัด ซึ่งกำกับ ดูแลโดยคณะอนุกรรมการ กขช.ระดับจังหวัดและกระทรวงมหาดไทย โดยคำนึงถึงความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง และป้องกันการหมุนเวียนซื้อ
4. งบประมาณ ค่าใช้จ่ายในการจัดทำข้าวถุงและการบริหารจัดการ รวมทั้งการกระจายหรือจำหน่ายจะนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายข้าวสารบรรจุถุงมาหมุนเวียน
5. ระยะเวลาดำเนินการ พฤษภาคม — ธันวาคม 2551
ข้อเท็จจริง
1. ปริมาณข่าวในสต็อกรัฐบาล รวมประมาณ 2.1 ล้านตันข้าวสาร (เป็นข้าวสาร 1.955 ล้านตัน เป็นข้าวเปลือก 184,845 ตัน ซึ่งคำนวณเป็นข้าวสารประมาณ 107,400 ตัน) เป็นข้าวในโครงการรับจำนำปี 2547/48 — 2550/51 ประกอบด้วย ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมจังหวัด ข้าวปทุมธานี ข้าวขาว 5% ข้าวขาว 10% ข้าวขาว 15% ข้าวขาว 25% เลิศ
2. การบริหารจัดการข้าวของไทย จากผลผลิตข้าวนาปรัง ปี 2551 และข้าวนาปี ปี 2551/52 คาดว่าจะมีผลผลิตรวม 30.18 ล้านตันข้าวเปลือก หรือประมาณ 20 ล้านตันข้าวสาร จะใช้ (1) เพื่อการบริโภคภายใน ประเทศประมาณ 9.0 ล้านตันข้าวสาร จำแนกเป็น การบริโภคโดยตรงประมาณ 6.6 ล้านตัน ใช้ทำพันธุ์และใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ประมาณ 2.4 ล้านตันข้าวสาร (2) คาดว่าจะส่งออกทั้งปี 2551 ประมาณ 9.0 ล้านตัน และที่เหลือเก็บไว้เป็นสต็อก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 เมษายน 2551--จบ--