คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูแล้งปี 2551 ช่วงวันที่ 21-27 เมษายน 2551 ประกอบด้วย สถานการณ์น้ำ ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ผลกระทบด้านการเกษตร และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร สรุปได้ดังนี้
สถานการณ์น้ำ
1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ (27 เมษายน 2551) มีปริมาณน้ำในอ่างฯทั้งหมด 43,546 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 60 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 20,035 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 41 ความจุน้ำใช้การได้) น้อยกว่าปี 2550 (48,780 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 5,234 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น ร้อยละ 7
เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 6,503 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 48ของความจุอ่างฯ คิดเป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 2,703 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 28 ของความจุใช้การได้ น้อยกว่าปี 2550 (8,829 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 2,326 ล้านลูกบาศก์เมตร
เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 4,321 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น ร้อยละ 45 ของความจุอ่างฯ คิดเป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 1,471 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 22 ของความจุใช้การได้น้อยกว่าปี 2550 (5,901 ล้านลูกบาศก์เมตร ) จำนวน 1,580 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยมีปริมาตรน้ำใช้การรวมกันทั้งสองอ่างในปี 2551 จำนวน 4,174 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 26 ของความจุใช้การได้
เขื่อนป่าสักฯ จังหวัดลพบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 262 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น ร้อยละ 27ของความจุอ่างฯ คิดเป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 259 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 27 ของความจุใช้การได้น้อยกว่าปี2550 (390 ล้านลูกบาศก์เมตร ) จำนวน 128 ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 4 อ่างฯ ดังนี้
อ่างเก็บน้ำ จังหวัด ปริมาตรน้ำ (ล้าน ลบ.ม.) คาดการณ์ปริมาตร
น้ำใช้การได้สิ้นเดือน
ในอ่างฯ ใช้การได้ พ.ค. 51 (ล้าน ลบ.ม.)
1) แม่กวง เชียงใหม่ 48 (18%) 34 (14%) 33 (13%)
2) กิ่วลม ลำปาง 27 (24%) 23 (21%) 28 (16%)
3) ป่าสักชลสิทธิ์ ลพบุรี 262 (27%) 259 (27%) 231 (24%)
4) คลองสียัด ฉะเชิงเทรา 89 (21%) 59 (15%) 66 (17%)
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30-40 ของความจุอ่างฯ จำนวน 8 อ่างฯ ดังนี้
อ่างเก็บน้ำ จังหวัด ปริมาตรน้ำ (ล้าน ลบ.ม.) คาดการณ์ปริมาตร
น้ำใช้การได้สิ้นเดือน
ในอ่างฯ ใช้การได้ พ.ค. 51 (ล้าน ลบ.ม.)
1) ลำปาว กาฬสินธุ์ 434 (30%) 349 (26%) 278 (21%)
2) ลำตะคอง นครราชสีมา 115 (37%) 88 (31%) 60 (21%)
3) ลำพระเพลิง นครราชสีมา 36 (33%) 35 (32%) 26 (24%)
4) ลำนางรอง บุรีรัมย์ 37 (31%) 34 (29%) 37 (31%)
5) ทับเสลา อุทัยธานี 56 (35%) 48 (32%) 48 (30%)
6) ขุนด่านฯ นครนายก 84 (38%) 79 (36%) 78 (36%)
7) บางพระ ชลบุรี 39 (33%) 24 (24%) 26 (25%)
8) แม่งัด เชียงใหม่ 97 (37%) 75 (31%) 69 (28%)
สถานการณ์น้ำของอ่างเก็บน้ำ ภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง
จังหวัดชลบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำ 7 แห่ง รวมกัน ปัจจุบัน มีปริมาตรน้ำ 64 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 36 (คิดเป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 42 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 27 ของความจุใช้การได้) ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำบางพระ 39.36 ล้านลูกบาศก์เมตร หนองค้อ 5.31 ล้านลูกบาศก์เมตร มาบประชัน 7.22 ล้านลูกบาศก์เมตร หนองกลางดง 4.92 ล้านลูกบาศก์เมตร ชากนอก 2.71 ล้านลูกบาศก์เมตร ห้วยขุนจิต 2.59 ล้านลูกบาศก์เมตร ห้วยสะพาน 2.03 ล้านลูกบาศก์เมตร
จังหวัดระยอง ลุ่มน้ำระยอง และ ลุ่มน้ำประแสร์ มีปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำ 4 แห่ง รวมกัน ปัจจุบัน มีปริมาตรน้ำ 281 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 54 ( คิดเป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 252 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 51 ของความจุใช้การได้) ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล 77.90 ล้านลูกบาศก์เมตร ดอกกราย 24.38 ล้านลูกบาศก์เมตร และ คลองใหญ่ 15.48 ล้านลูกบาศก์เมตร และ ประแสร์ 163.50 ล้านลูกบาศก์เมตร
2. สภาพน้ำท่า
แม่น้ำปิง สถานี P.7A ที่สะพานบ้านห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร และสถานี P.17 บ้านท่างิ้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำวัง สถานี W.4A บ้านวังหมัน อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำยม สถานี Y.1C สะพานบ้านน้ำโค้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย แนวโน้มลดลง สถานี Y.4 สะพานตลาดธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย และสถานี Y.17 บ้านสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย แนวโน้มทรงตัว
แม่น้ำน่าน สถานี N.5A สะพาน เอกาทศรถ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานี N.67 สะพานบ้านเกยไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มทรงตัว
แม่น้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) 534 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา (C.13) 45 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยมีระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา +16.14 เมตร.(รทก.) ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา + 5.98 เมตร.(รทก.) เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปริมาณน้ำระบาย 19 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เขื่อนพระรามหก ปริมาณน้ำไหลผ่าน 5 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
3. คุณภาพน้ำ
แม่น้ำ จุดเฝ้าระวัง ความเค็ม วันที่ เกณฑ์
(กรัม/ลิตร) ตรวจวัด
เจ้าพระยา ท่าน้ำจังหวัดนนทบุรี 0.115 21 เมษายน 2551 น้ำสำหรับการเกษตรและ
ท่าจีน ที่ว่าการอำเภอสามพราน 0.179 20 เมษายน 2551 อุปโภค-บริโภค ไม่เกิน
จังหวัดนครปฐม 2 กรัม/ลิตร
แม่กลอง ปากคลองดำเนินสะดวก 0.056 20 เมษายน 2551
จังหวัดราชบุรี
การเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง
ผลการเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้งทั้งประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 — 16 เมษายน 2551
มีพื้นที่ปลูกรวม จำนวน 19.12 ไร่ (เกินกว่าพื้นที่คาดการณ์ 22%) แยกเป็น ข้าวนาปรัง จำนวน 12.64ล้านไร่ (เกินกว่าพื้นที่คาดการณ์ 26%) และพืชไร่-ผัก จำนวน 2.59 ล้านไร่ (92%ของพื้นที่คาดการณ์) และอื่นๆ จำนวน 3.89 ล้านไร่ (เกินกว่าพื้นที่คาดการณ์ 12%) รายละเอียดดังนี้
เขตเพาะปลูก ข้าวนาปรัง พืชไร่-พืชผัก อื่นๆ รวม
คาดการณ์ ผล คาดการณ์ ผล คาดการณ์ ผล คาดการณ์ ผล
ในเขตชลประทาน 7.53 9.92 0.9 0.75 3.47 3.89 11.9 14.56
นอกเขตชลประทาน 2.5 2.72 1.9 1.84 - - 4.4 4.56
รวม 10.03 12.64 2.8 2.59 3.47 3.89 16.3 19.12
หมายเหตุ : อื่นๆ หมายถึง อ้อย ไม้ผล ไม้ยืนต้น บ่อปลา บ่อกุ้ง และพืชอื่นๆ
ผลกระทบด้านการเกษตร ช่วงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 — 17 เมษายน 2551
1. ด้านพืช พื้นที่ประสบภัย จำนวน 8 จังหวัด 17 อำเภอ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย อุตรดิตถ์ ยโสธร ชัยนาท นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว และกาญจนบุรี เกษตรกรประสบภัย จำนวน 13,322 ราย พื้นที่เสียหาย 151,375 ไร่ แยกเป็น ข้าว 128,430 ไร่ พืชไร่ 22,736 ไร่ และพืชสวน 209 ไร่
2. ด้านปศุสัตว์ พื้นที่ประสบภัย จำนวน 7 จังหวัดได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน อุตรดิตถ์ สุโขทัย กาฬสินธุ์ มุกดาหาร เกษตรกรประสบภัย จำนวน 572 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 10,083 ตัว แยกเป็นโค-กระบือ 4,508 ตัว แพะ 1,083 ตัว สัตว์ปีก 4,492 ตัว
การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร
1. การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำและรถบรรทุกน้ำ
สนับสนุนเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือ ด้านอุปโภคบริโภค และ การปลูกพืชฤดูแล้งในเขตชลประทาน ทั้งประเทศ ปี 2550/2551 แล้ว 58 จังหวัด จำนวน 800 เครื่อง โดยแยกเป็น ภาคเหนือ 15 จังหวัด จำนวน 199 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 จังหวัด จำนวน 299 เครื่อง ภาคกลาง 11 จังหวัด จำนวน 109 เครื่อง ภาคตะวันออก 6 จังหวัด จำนวน 68 เครื่อง ภาคตะวันตก 3 จังหวัด จำนวน 48 เครื่อง และภาคใต้ 6 จังหวัด จำนวน 77 เครื่อง
สนับสนุนรถบรรทุกน้ำช่วยเหลือแล้ว จำนวน 34 คัน คิดเป็นปริมาณน้ำทั้งหมด 29.823 ล้านลิตร เป็นการช่วยเหลือเพื่ออุปโภคบริโภค 2 จังหวัด คือ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 2 คัน และจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 9 คัน เป็นการช่วยเหลือสวน ผลไม้ในภาคตะวันออก 4 จังหวัด จำนวน 23 คัน ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา 2 คัน จันทบุรี 13 คัน นครนายก 1 คัน และตราด 7 คัน
2. การสนับสนุนเสบียงสัตว์และดูแลสุขภาพสัตว์
สนับสนุนเสบียงสัตว์ 68,020 กิโลกรัม และดูแลสุขภาพสัตว์ 300 ตัว
3. การปฏิบัติการฝนหลวง ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ —24 เมษายน 2551
ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงเริ่มปฏิบัติแล้ว จำนวน 8 หน่วย และ 3 ฐานเติมสารฝนหลวง ดังนี้
1) ภาคเหนือตอนบน : หน่วยฯ เชียงใหม่ และฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดตาก
2) ภาคเหนือตอนล่าง : หน่วยฯ พิษณุโลก
3) ภาคกลาง : หน่วยฯ นครสวรรค์
4) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน : หน่วยฯ ขอนแก่น
5) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง : หน่วยฯ นครราชสีมา และฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดอุบลราชธานี
6) ภาคตะวันออก : หน่วยฯ ระยอง และฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดสระแก้ว
7) ภาคใต้ตอนบน : หน่วยฯ หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
8) ภาคใต้ตอนล่าง : หน่วยฯ สุราษฎร์ธานี
ผลการปฏิบัติการฝนหลวง ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 24 เมษายน 2551 ขึ้นบินปฏิบัติการรวม จำนวน 78 วัน 1,629 เที่ยวบิน มีฝนตกรวม 606 สถานี (จากสถานีวัดฝนทั้งหมด 1,149 สถานี) วัดปริมาณน้ำฝน 0.1-171.3.3 มิลลิเมตรใน พื้นที่ 69 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปางแม่ฮ่องสอน ตาก ลำพูน พิษณุโลก สุโขทัย น่าน กำแพงเพชร พิจิตร แพร่ เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ ชัยนาท ลพบุรี กาญจนบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี กรุงเทพฯ นครปฐม อุทัยธานี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ ขอนแก่น หนองคาย อุดรธานี ร้อยเอ็ด นครพนม สกลนคร มุกดาหาร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม เลย ยโสธร นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ ระยอง ชลบุรี ตราด จันทบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช ยะลา นราธิวาส พังงา ภูเก็ต กระบี่ พัทลุง สงขลา ระนอง ปัตตานี ตรัง และสตูล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 เมษายน 2551--จบ--
สถานการณ์น้ำ
1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ (27 เมษายน 2551) มีปริมาณน้ำในอ่างฯทั้งหมด 43,546 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 60 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 20,035 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 41 ความจุน้ำใช้การได้) น้อยกว่าปี 2550 (48,780 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 5,234 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น ร้อยละ 7
เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 6,503 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 48ของความจุอ่างฯ คิดเป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 2,703 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 28 ของความจุใช้การได้ น้อยกว่าปี 2550 (8,829 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 2,326 ล้านลูกบาศก์เมตร
เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 4,321 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น ร้อยละ 45 ของความจุอ่างฯ คิดเป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 1,471 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 22 ของความจุใช้การได้น้อยกว่าปี 2550 (5,901 ล้านลูกบาศก์เมตร ) จำนวน 1,580 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยมีปริมาตรน้ำใช้การรวมกันทั้งสองอ่างในปี 2551 จำนวน 4,174 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 26 ของความจุใช้การได้
เขื่อนป่าสักฯ จังหวัดลพบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 262 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น ร้อยละ 27ของความจุอ่างฯ คิดเป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 259 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 27 ของความจุใช้การได้น้อยกว่าปี2550 (390 ล้านลูกบาศก์เมตร ) จำนวน 128 ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 4 อ่างฯ ดังนี้
อ่างเก็บน้ำ จังหวัด ปริมาตรน้ำ (ล้าน ลบ.ม.) คาดการณ์ปริมาตร
น้ำใช้การได้สิ้นเดือน
ในอ่างฯ ใช้การได้ พ.ค. 51 (ล้าน ลบ.ม.)
1) แม่กวง เชียงใหม่ 48 (18%) 34 (14%) 33 (13%)
2) กิ่วลม ลำปาง 27 (24%) 23 (21%) 28 (16%)
3) ป่าสักชลสิทธิ์ ลพบุรี 262 (27%) 259 (27%) 231 (24%)
4) คลองสียัด ฉะเชิงเทรา 89 (21%) 59 (15%) 66 (17%)
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30-40 ของความจุอ่างฯ จำนวน 8 อ่างฯ ดังนี้
อ่างเก็บน้ำ จังหวัด ปริมาตรน้ำ (ล้าน ลบ.ม.) คาดการณ์ปริมาตร
น้ำใช้การได้สิ้นเดือน
ในอ่างฯ ใช้การได้ พ.ค. 51 (ล้าน ลบ.ม.)
1) ลำปาว กาฬสินธุ์ 434 (30%) 349 (26%) 278 (21%)
2) ลำตะคอง นครราชสีมา 115 (37%) 88 (31%) 60 (21%)
3) ลำพระเพลิง นครราชสีมา 36 (33%) 35 (32%) 26 (24%)
4) ลำนางรอง บุรีรัมย์ 37 (31%) 34 (29%) 37 (31%)
5) ทับเสลา อุทัยธานี 56 (35%) 48 (32%) 48 (30%)
6) ขุนด่านฯ นครนายก 84 (38%) 79 (36%) 78 (36%)
7) บางพระ ชลบุรี 39 (33%) 24 (24%) 26 (25%)
8) แม่งัด เชียงใหม่ 97 (37%) 75 (31%) 69 (28%)
สถานการณ์น้ำของอ่างเก็บน้ำ ภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง
จังหวัดชลบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำ 7 แห่ง รวมกัน ปัจจุบัน มีปริมาตรน้ำ 64 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 36 (คิดเป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 42 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 27 ของความจุใช้การได้) ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำบางพระ 39.36 ล้านลูกบาศก์เมตร หนองค้อ 5.31 ล้านลูกบาศก์เมตร มาบประชัน 7.22 ล้านลูกบาศก์เมตร หนองกลางดง 4.92 ล้านลูกบาศก์เมตร ชากนอก 2.71 ล้านลูกบาศก์เมตร ห้วยขุนจิต 2.59 ล้านลูกบาศก์เมตร ห้วยสะพาน 2.03 ล้านลูกบาศก์เมตร
จังหวัดระยอง ลุ่มน้ำระยอง และ ลุ่มน้ำประแสร์ มีปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำ 4 แห่ง รวมกัน ปัจจุบัน มีปริมาตรน้ำ 281 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 54 ( คิดเป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 252 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 51 ของความจุใช้การได้) ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล 77.90 ล้านลูกบาศก์เมตร ดอกกราย 24.38 ล้านลูกบาศก์เมตร และ คลองใหญ่ 15.48 ล้านลูกบาศก์เมตร และ ประแสร์ 163.50 ล้านลูกบาศก์เมตร
2. สภาพน้ำท่า
แม่น้ำปิง สถานี P.7A ที่สะพานบ้านห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร และสถานี P.17 บ้านท่างิ้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำวัง สถานี W.4A บ้านวังหมัน อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำยม สถานี Y.1C สะพานบ้านน้ำโค้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย แนวโน้มลดลง สถานี Y.4 สะพานตลาดธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย และสถานี Y.17 บ้านสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย แนวโน้มทรงตัว
แม่น้ำน่าน สถานี N.5A สะพาน เอกาทศรถ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานี N.67 สะพานบ้านเกยไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มทรงตัว
แม่น้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) 534 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา (C.13) 45 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยมีระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา +16.14 เมตร.(รทก.) ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา + 5.98 เมตร.(รทก.) เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปริมาณน้ำระบาย 19 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เขื่อนพระรามหก ปริมาณน้ำไหลผ่าน 5 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
3. คุณภาพน้ำ
แม่น้ำ จุดเฝ้าระวัง ความเค็ม วันที่ เกณฑ์
(กรัม/ลิตร) ตรวจวัด
เจ้าพระยา ท่าน้ำจังหวัดนนทบุรี 0.115 21 เมษายน 2551 น้ำสำหรับการเกษตรและ
ท่าจีน ที่ว่าการอำเภอสามพราน 0.179 20 เมษายน 2551 อุปโภค-บริโภค ไม่เกิน
จังหวัดนครปฐม 2 กรัม/ลิตร
แม่กลอง ปากคลองดำเนินสะดวก 0.056 20 เมษายน 2551
จังหวัดราชบุรี
การเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง
ผลการเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้งทั้งประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 — 16 เมษายน 2551
มีพื้นที่ปลูกรวม จำนวน 19.12 ไร่ (เกินกว่าพื้นที่คาดการณ์ 22%) แยกเป็น ข้าวนาปรัง จำนวน 12.64ล้านไร่ (เกินกว่าพื้นที่คาดการณ์ 26%) และพืชไร่-ผัก จำนวน 2.59 ล้านไร่ (92%ของพื้นที่คาดการณ์) และอื่นๆ จำนวน 3.89 ล้านไร่ (เกินกว่าพื้นที่คาดการณ์ 12%) รายละเอียดดังนี้
เขตเพาะปลูก ข้าวนาปรัง พืชไร่-พืชผัก อื่นๆ รวม
คาดการณ์ ผล คาดการณ์ ผล คาดการณ์ ผล คาดการณ์ ผล
ในเขตชลประทาน 7.53 9.92 0.9 0.75 3.47 3.89 11.9 14.56
นอกเขตชลประทาน 2.5 2.72 1.9 1.84 - - 4.4 4.56
รวม 10.03 12.64 2.8 2.59 3.47 3.89 16.3 19.12
หมายเหตุ : อื่นๆ หมายถึง อ้อย ไม้ผล ไม้ยืนต้น บ่อปลา บ่อกุ้ง และพืชอื่นๆ
ผลกระทบด้านการเกษตร ช่วงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 — 17 เมษายน 2551
1. ด้านพืช พื้นที่ประสบภัย จำนวน 8 จังหวัด 17 อำเภอ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย อุตรดิตถ์ ยโสธร ชัยนาท นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว และกาญจนบุรี เกษตรกรประสบภัย จำนวน 13,322 ราย พื้นที่เสียหาย 151,375 ไร่ แยกเป็น ข้าว 128,430 ไร่ พืชไร่ 22,736 ไร่ และพืชสวน 209 ไร่
2. ด้านปศุสัตว์ พื้นที่ประสบภัย จำนวน 7 จังหวัดได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน อุตรดิตถ์ สุโขทัย กาฬสินธุ์ มุกดาหาร เกษตรกรประสบภัย จำนวน 572 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 10,083 ตัว แยกเป็นโค-กระบือ 4,508 ตัว แพะ 1,083 ตัว สัตว์ปีก 4,492 ตัว
การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร
1. การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำและรถบรรทุกน้ำ
สนับสนุนเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือ ด้านอุปโภคบริโภค และ การปลูกพืชฤดูแล้งในเขตชลประทาน ทั้งประเทศ ปี 2550/2551 แล้ว 58 จังหวัด จำนวน 800 เครื่อง โดยแยกเป็น ภาคเหนือ 15 จังหวัด จำนวน 199 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 จังหวัด จำนวน 299 เครื่อง ภาคกลาง 11 จังหวัด จำนวน 109 เครื่อง ภาคตะวันออก 6 จังหวัด จำนวน 68 เครื่อง ภาคตะวันตก 3 จังหวัด จำนวน 48 เครื่อง และภาคใต้ 6 จังหวัด จำนวน 77 เครื่อง
สนับสนุนรถบรรทุกน้ำช่วยเหลือแล้ว จำนวน 34 คัน คิดเป็นปริมาณน้ำทั้งหมด 29.823 ล้านลิตร เป็นการช่วยเหลือเพื่ออุปโภคบริโภค 2 จังหวัด คือ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 2 คัน และจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 9 คัน เป็นการช่วยเหลือสวน ผลไม้ในภาคตะวันออก 4 จังหวัด จำนวน 23 คัน ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา 2 คัน จันทบุรี 13 คัน นครนายก 1 คัน และตราด 7 คัน
2. การสนับสนุนเสบียงสัตว์และดูแลสุขภาพสัตว์
สนับสนุนเสบียงสัตว์ 68,020 กิโลกรัม และดูแลสุขภาพสัตว์ 300 ตัว
3. การปฏิบัติการฝนหลวง ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ —24 เมษายน 2551
ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงเริ่มปฏิบัติแล้ว จำนวน 8 หน่วย และ 3 ฐานเติมสารฝนหลวง ดังนี้
1) ภาคเหนือตอนบน : หน่วยฯ เชียงใหม่ และฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดตาก
2) ภาคเหนือตอนล่าง : หน่วยฯ พิษณุโลก
3) ภาคกลาง : หน่วยฯ นครสวรรค์
4) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน : หน่วยฯ ขอนแก่น
5) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง : หน่วยฯ นครราชสีมา และฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดอุบลราชธานี
6) ภาคตะวันออก : หน่วยฯ ระยอง และฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดสระแก้ว
7) ภาคใต้ตอนบน : หน่วยฯ หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
8) ภาคใต้ตอนล่าง : หน่วยฯ สุราษฎร์ธานี
ผลการปฏิบัติการฝนหลวง ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 24 เมษายน 2551 ขึ้นบินปฏิบัติการรวม จำนวน 78 วัน 1,629 เที่ยวบิน มีฝนตกรวม 606 สถานี (จากสถานีวัดฝนทั้งหมด 1,149 สถานี) วัดปริมาณน้ำฝน 0.1-171.3.3 มิลลิเมตรใน พื้นที่ 69 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปางแม่ฮ่องสอน ตาก ลำพูน พิษณุโลก สุโขทัย น่าน กำแพงเพชร พิจิตร แพร่ เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ ชัยนาท ลพบุรี กาญจนบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี กรุงเทพฯ นครปฐม อุทัยธานี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ ขอนแก่น หนองคาย อุดรธานี ร้อยเอ็ด นครพนม สกลนคร มุกดาหาร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม เลย ยโสธร นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ ระยอง ชลบุรี ตราด จันทบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช ยะลา นราธิวาส พังงา ภูเก็ต กระบี่ พัทลุง สงขลา ระนอง ปัตตานี ตรัง และสตูล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 เมษายน 2551--จบ--