คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเรื่อง สถิติสำคัญผู้สูงอายุไทย 2550 สรุปสาระสำคัญดังนี้
1. โครงสร้างประชากรไทย จากอัตราเกิดของประเทศไทยที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง จาก 42.2 คนในปี 2507 เป็น 10.9 คนต่อประชากรพันคนในปี 2548 ทำให้ประชากรวัยเด็กอายุ 0-14 ปีมีจำนวนลดลง ในขณะที่ประชากรวัยสูงอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มมากขึ้น โครงสร้างของประชากรจึงมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ในปี 2550 ประเทศไทยมีประชากรสูงอายุประมาณ 7.1 ล้านคน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มอายุ 60-69 ปี ร้อยละ 58.8 กลุ่มอายุ 70-79 ปี ร้อยละ 31.7 และ กลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไป ร้อยละ 9.5
2. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย ตามนิยามสังคมผู้สูงอายุ หมายถึง การมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ ประเทศไทยจึงอยู่ในเกณฑ์ที่ได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปี 2548 ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นได้เข้ามาแล้วถึง 30 ปี ประเทศสิงคโปร์เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุปี 2543 และในปี 2550 นี้ ประเทศญี่ปุ่นมี ผู้สูงอายุร้อยละ 29 สิงคโปร์มีผู้สูงอายุร้อยละ 11.9 ขณะที่ประเทศไทยมีผู้สูงอายุร้อยละ 10.7 ของประชากรทั่วทั้งประเทศ
3. ลักษณะการอยู่อาศัยอย่างไทย ผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 58.3 ยังมีการอยู่แบบครอบครัวขยายอย่างวัฒนธรรมไทย ขณะที่ร้อยละ 31.0 มีการอยู่แบบครอบครัวเดี่ยวตามวัฒนธรรมตะวันตกและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว ผู้สูงอายุอยู่กับคู่สมรสโดยลำพัง และผู้สูงอายุที่อยู่กับหลานมีสถิติเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผู้สูงอายุที่ขาดการดูแลเอาใจใส่เท่าที่ควร อาจกลายเป็นปัญหาสังคมในอนาคตได้
4. การดูแลผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุกลุ่มใหญ่ คือ ร้อยละ 59 เป็นกลุ่มที่มีอายุ 60-69 ปี ยังมีสุขภาพที่แข็งแรง จึงทำให้ผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 89 สามารถดูแลการทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้ มีเพียงร้อยละ 11.5 เท่านั้นที่ไม่สามารถดูแลตนเองได้ และในกรณีนี้ผู้ดูแลส่วนใหญ่จะเป็นบุตรโดยเฉพาะบุตรสาว คู่สมรสหรือภรรยาจะเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุชายมากถึงร้อยละ 53.2 ในขณะที่สามีจะเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุหญิงเพียงร้อยละ 11.5 เท่านั้น
5. การเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุไทยมากกว่าร้อยละ 80 ได้รับการเยี่ยมเยียนจากบุตรหลานและญาติมิตรต่างๆ โดยเฉพาะในวันผู้สูงอายุ วันที่ 13 เมษายน ซึ่งตรงกับวันหยุดสงกรานต์ของไทย บุตรหลานที่จากบ้านไปอยู่ต่างถิ่น จะกลับไปเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุที่บ้าน
6. การเตรียมพร้อมรับมือการเข้าสู่สังคมสูงอายุ ประเทศญี่ปุ่นเป็นสังคมผู้สูงอายุที่มีประชากรสูงอายุประมาณร้อยละ 30 และได้มีการเตรียมความพร้อมมาตั้งแต่ปี 2502 ปัจจุบันมีกฎหมาย “บำนาญแห่งชาติ” มีระบบ “ประกันการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว” นอกจากนี้ยังมีระบบ “โครงข่ายคุ้มครองทางสังคม” โดยส่วนใหญ่งบประมาณในระบบนี้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้สูงอายุมากถึงร้อยละ 70.4 ฉะนั้นการเตรียมความพร้อมสำหรับประเทศไทย จึงมีความจำเป็นมากในปัจจุบันที่ รัฐบาลควรให้ความสำคัญ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 เมษายน 2551--จบ--
1. โครงสร้างประชากรไทย จากอัตราเกิดของประเทศไทยที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง จาก 42.2 คนในปี 2507 เป็น 10.9 คนต่อประชากรพันคนในปี 2548 ทำให้ประชากรวัยเด็กอายุ 0-14 ปีมีจำนวนลดลง ในขณะที่ประชากรวัยสูงอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มมากขึ้น โครงสร้างของประชากรจึงมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ในปี 2550 ประเทศไทยมีประชากรสูงอายุประมาณ 7.1 ล้านคน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มอายุ 60-69 ปี ร้อยละ 58.8 กลุ่มอายุ 70-79 ปี ร้อยละ 31.7 และ กลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไป ร้อยละ 9.5
2. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย ตามนิยามสังคมผู้สูงอายุ หมายถึง การมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ ประเทศไทยจึงอยู่ในเกณฑ์ที่ได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปี 2548 ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นได้เข้ามาแล้วถึง 30 ปี ประเทศสิงคโปร์เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุปี 2543 และในปี 2550 นี้ ประเทศญี่ปุ่นมี ผู้สูงอายุร้อยละ 29 สิงคโปร์มีผู้สูงอายุร้อยละ 11.9 ขณะที่ประเทศไทยมีผู้สูงอายุร้อยละ 10.7 ของประชากรทั่วทั้งประเทศ
3. ลักษณะการอยู่อาศัยอย่างไทย ผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 58.3 ยังมีการอยู่แบบครอบครัวขยายอย่างวัฒนธรรมไทย ขณะที่ร้อยละ 31.0 มีการอยู่แบบครอบครัวเดี่ยวตามวัฒนธรรมตะวันตกและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว ผู้สูงอายุอยู่กับคู่สมรสโดยลำพัง และผู้สูงอายุที่อยู่กับหลานมีสถิติเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผู้สูงอายุที่ขาดการดูแลเอาใจใส่เท่าที่ควร อาจกลายเป็นปัญหาสังคมในอนาคตได้
4. การดูแลผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุกลุ่มใหญ่ คือ ร้อยละ 59 เป็นกลุ่มที่มีอายุ 60-69 ปี ยังมีสุขภาพที่แข็งแรง จึงทำให้ผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 89 สามารถดูแลการทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้ มีเพียงร้อยละ 11.5 เท่านั้นที่ไม่สามารถดูแลตนเองได้ และในกรณีนี้ผู้ดูแลส่วนใหญ่จะเป็นบุตรโดยเฉพาะบุตรสาว คู่สมรสหรือภรรยาจะเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุชายมากถึงร้อยละ 53.2 ในขณะที่สามีจะเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุหญิงเพียงร้อยละ 11.5 เท่านั้น
5. การเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุไทยมากกว่าร้อยละ 80 ได้รับการเยี่ยมเยียนจากบุตรหลานและญาติมิตรต่างๆ โดยเฉพาะในวันผู้สูงอายุ วันที่ 13 เมษายน ซึ่งตรงกับวันหยุดสงกรานต์ของไทย บุตรหลานที่จากบ้านไปอยู่ต่างถิ่น จะกลับไปเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุที่บ้าน
6. การเตรียมพร้อมรับมือการเข้าสู่สังคมสูงอายุ ประเทศญี่ปุ่นเป็นสังคมผู้สูงอายุที่มีประชากรสูงอายุประมาณร้อยละ 30 และได้มีการเตรียมความพร้อมมาตั้งแต่ปี 2502 ปัจจุบันมีกฎหมาย “บำนาญแห่งชาติ” มีระบบ “ประกันการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว” นอกจากนี้ยังมีระบบ “โครงข่ายคุ้มครองทางสังคม” โดยส่วนใหญ่งบประมาณในระบบนี้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้สูงอายุมากถึงร้อยละ 70.4 ฉะนั้นการเตรียมความพร้อมสำหรับประเทศไทย จึงมีความจำเป็นมากในปัจจุบันที่ รัฐบาลควรให้ความสำคัญ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 เมษายน 2551--จบ--