คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการให้กระทรวงการต่างประเทศสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานของสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง จำนวน 10 ล้านบาทต่อปี เป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป และขอให้เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดังกล่าวต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ โดยให้กระทรวงการต่างประเทศรับข้อเสนอแนะของกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการด้วย
กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาแล้ว เห็นสมควรที่รัฐบาลไทยจะสนับสนุนงบประมาณแก่สถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงโดยคำนึงถึงเหตุผล ดังนี้
1. ประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสถาบัน ฯ ลุ่มน้ำโขงในประเทศไทยและผลักดันให้ยกสถานะขึ้นเป็นสถาบันระดับภูมิภาคที่เป็นที่ยอมรับของประเทศในอนุภูมิภาค รวมทั้งได้ให้การรับรองสถานะสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขง เป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีที่ตั้งในประเทศไทย ประกอบกับในช่วงปี 2548- 2549 สถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงได้รับงบประมาณกว่า 83 ล้านบาทจากรัฐบาลนิวซีแลนด์ รัฐบาลฝรั่งเศส รัฐบาลมณฑลยูนนาน รัฐบาลไทยร่วมกับสำนักงานเลขาธิการแผนโคลัมเบีย สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย มูลนิธิ Rockefeller โดยตั้งแต่มกราคม 2548 — สิงหาคม 2550 ได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมด้านการบริหารจัดการ การพัฒนาผู้นำ การแก้ไขปัญหาความยากจน ฯลฯ จำนวน 53 หลักสูตร ให้แก่บุคลากรจำนวนกว่า 1,109 คน จากประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค 11 ประเทศ และประเทศนอกภูมิภาค 17 ประเทศ การหมุนเวียนของเงินที่สถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรมย่อมส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจการกระจายรายได้ และการจ้างงานในจังหวัดขอนแก่นและพื้นที่ใกล้เคียง ดังนั้น ประเทศไทยควรสนับสนุนให้สถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงสามารถดำเนินงาน ต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
2. รัฐบาลไทยสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Sub-region) รวมทั้งการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ภายใต้กรอบความร่วมมือระดับภูมิภาคที่รัฐบาลไทยเป็นผู้ส่งเสริมและริเริ่ม เช่น ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS) โดยได้ให้ความร่วมมือทั้งด้านเงินทุนและวิชาการในการดำเนินงานโครงการพัฒนาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งการดำเนินงานของสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงสามารถตอบสนองและเกื้อกูล ต่อการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ภายใต้กรอบความร่วมมือระดับภูมิภาคดังกล่าวได้ โดยเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญที่สุดของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและภูมิภาค เป็นการส่งเสริมบทบาทของไทยในการช่วยลดช่องว่างการพัฒนาเศรษฐกิจและขยายโอกาสในการพัฒนาของประเทศต่าง ๆ ในอนุภูมิภาค รวมทั้งส่งเสริมบทบาทของไทยในการเป็นศูนย์กลางทางวิชาการ
3. จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในการเสริมสร้างบทบาทนำของประเทศไทยในอนุภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ผู้นำของประเทศประกาศการสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงในการประชุมสุดยอดระดับผู้นำ GMS เพื่อแสดงถึงเจตนารมณ์ที่จะมีส่วนร่วมในการบริหารงานของสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงอย่างเต็มที่ในอันที่จะผลักดันการดำเนินงานของสถาบัน ฯ ของอนุภูมิภาคให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 เมษายน 2551--จบ--
กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาแล้ว เห็นสมควรที่รัฐบาลไทยจะสนับสนุนงบประมาณแก่สถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงโดยคำนึงถึงเหตุผล ดังนี้
1. ประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสถาบัน ฯ ลุ่มน้ำโขงในประเทศไทยและผลักดันให้ยกสถานะขึ้นเป็นสถาบันระดับภูมิภาคที่เป็นที่ยอมรับของประเทศในอนุภูมิภาค รวมทั้งได้ให้การรับรองสถานะสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขง เป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีที่ตั้งในประเทศไทย ประกอบกับในช่วงปี 2548- 2549 สถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงได้รับงบประมาณกว่า 83 ล้านบาทจากรัฐบาลนิวซีแลนด์ รัฐบาลฝรั่งเศส รัฐบาลมณฑลยูนนาน รัฐบาลไทยร่วมกับสำนักงานเลขาธิการแผนโคลัมเบีย สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย มูลนิธิ Rockefeller โดยตั้งแต่มกราคม 2548 — สิงหาคม 2550 ได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมด้านการบริหารจัดการ การพัฒนาผู้นำ การแก้ไขปัญหาความยากจน ฯลฯ จำนวน 53 หลักสูตร ให้แก่บุคลากรจำนวนกว่า 1,109 คน จากประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค 11 ประเทศ และประเทศนอกภูมิภาค 17 ประเทศ การหมุนเวียนของเงินที่สถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรมย่อมส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจการกระจายรายได้ และการจ้างงานในจังหวัดขอนแก่นและพื้นที่ใกล้เคียง ดังนั้น ประเทศไทยควรสนับสนุนให้สถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงสามารถดำเนินงาน ต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
2. รัฐบาลไทยสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Sub-region) รวมทั้งการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ภายใต้กรอบความร่วมมือระดับภูมิภาคที่รัฐบาลไทยเป็นผู้ส่งเสริมและริเริ่ม เช่น ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS) โดยได้ให้ความร่วมมือทั้งด้านเงินทุนและวิชาการในการดำเนินงานโครงการพัฒนาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งการดำเนินงานของสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงสามารถตอบสนองและเกื้อกูล ต่อการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ภายใต้กรอบความร่วมมือระดับภูมิภาคดังกล่าวได้ โดยเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญที่สุดของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและภูมิภาค เป็นการส่งเสริมบทบาทของไทยในการช่วยลดช่องว่างการพัฒนาเศรษฐกิจและขยายโอกาสในการพัฒนาของประเทศต่าง ๆ ในอนุภูมิภาค รวมทั้งส่งเสริมบทบาทของไทยในการเป็นศูนย์กลางทางวิชาการ
3. จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในการเสริมสร้างบทบาทนำของประเทศไทยในอนุภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ผู้นำของประเทศประกาศการสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงในการประชุมสุดยอดระดับผู้นำ GMS เพื่อแสดงถึงเจตนารมณ์ที่จะมีส่วนร่วมในการบริหารงานของสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงอย่างเต็มที่ในอันที่จะผลักดันการดำเนินงานของสถาบัน ฯ ของอนุภูมิภาคให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 เมษายน 2551--จบ--