คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้กระทรวงการคลังซื้อหุ้นบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) (TPI) ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ (ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจำหน่ายหุ้นของส่วนราชการ พ.ศ. 2535 ข้อ 5 (3)) โดยการซื้อหุ้นดังกล่าวให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณากำหนดจำนวนหุ้นและวงเงินที่เหมาะสมเพื่อประโยชน์ในการรองรับแผนฟื้นฟูกิจการ TPI ต่อไป
กระทรวงการคลัง รายงานว่า
1. บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) (TPI) ได้จัดตั้งขึ้นในปี 2521 และ ในปี 2525 ได้เริ่มดำเนินการผลิตพลาสติกแอลดีพีอี ด้วยกำลังผลิตขนาด 65,000 ตันต่อปี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กลุ่ม TPI ได้กลายเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดและมีสายการผลิตมากที่สุดในประเทศไทย แต่เนื่องจากในเดือนกรกฎาคม 2540 ได้มีการลดค่าเงินบาทส่งผลต่อวิกฤตการณ์ด้านการเงิน ทำให้กลุ่ม TPI ประสบปัญหาด้านสภาพคล่องอย่างมาก และในที่สุดกลุ่ม TPI ต้องประกาศพักชำระหนี้ในเดือนสิงหาคม 2540
2. วันที่ 15 มีนาคม 2543 ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งว่า TPI มีหนี้สินล้นพ้นตัว และให้ฟื้นฟูกิจการของ TPI
วันที่ 20 เมษายน 2543 ศาลได้มีคำสั่งแต่งตั้งบริษัท เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส จำกัด (EPL) เป็นผู้ทำแผนปรับโครงสร้างหนี้ทางการเงิน
วันที่ 21 เมษายน 2546 ศาลได้มีคำสั่งให้ EPL พ้นจากการเป็นผู้บริหารแผน โดยให้ผู้บริหารของลูกหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร่วมกันเป็นผู้บริหารแผนชั่วคราว
วันที่ 11 กรกฎาคม 2546 ศาลได้มีคำสั่งแต่งตั้งกระทรวงการคลังเป็นผู้บริหารแผนของ TPI แทน
3. กระทรวงการคลังในฐานะผู้บริหารแผน พิจารณาเห็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท ด้วยการกำหนดแนวทางปรับโครงสร้างหนี้และทุนขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้คืนด้วยกระแสเงินสดจากการประกอบกิจการของบริษัท เพื่อให้บริษัทสามารถประกอบกิจการได้เป็นปกติต่อไป โดยแผนฟื้นฟูกิจการใหม่ ได้กำหนดให้มีการจัดหาผู้ร่วมลงทุน โดยให้กระทรวงการคลังมีสิทธิโดยเด็ดขาดในการจัดหาผู้ร่วมลงทุนที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ (ผู้ร่วมลงทุนจะต้องเป็นนิติบุคคลไทยซึ่งเป็นกองทุนหรือนิติบุคคลที่มีความชำนาญในการประกอบธุรกิจปิโตรเคมีหรือปิโตรเลียมหรือกระทรวงการคลัง ฯลฯ)
ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง ในฐานะผู้บริหารแผน TPI ได้พิจารณาจัดสรรการขายส่วนทุนตามแผนให้แก่ผู้ร่วมทุน ดังนี้ คือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ธนาคารออมสิน ผู้ถือหุ้นเดิมที่ไม่ใช่เจ้าหนี้ตามแผนปรับโครงสร้างหนี้ทางการเงินและเจ้าหนี้ตามแผนปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งในการดำเนินการดังกล่าวกระทรวงการคลังจำเป็นต้องเข้าไปถือหุ้นใน TPI ก่อน กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง จึงจะดำเนินการถือหุ้นใน TPI ได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการสนับสนุนแนวทางการแก้ไขปัญหา TPI ดังกล่าว เสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 พฤษภาคม 2548--จบ--
กระทรวงการคลัง รายงานว่า
1. บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) (TPI) ได้จัดตั้งขึ้นในปี 2521 และ ในปี 2525 ได้เริ่มดำเนินการผลิตพลาสติกแอลดีพีอี ด้วยกำลังผลิตขนาด 65,000 ตันต่อปี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กลุ่ม TPI ได้กลายเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดและมีสายการผลิตมากที่สุดในประเทศไทย แต่เนื่องจากในเดือนกรกฎาคม 2540 ได้มีการลดค่าเงินบาทส่งผลต่อวิกฤตการณ์ด้านการเงิน ทำให้กลุ่ม TPI ประสบปัญหาด้านสภาพคล่องอย่างมาก และในที่สุดกลุ่ม TPI ต้องประกาศพักชำระหนี้ในเดือนสิงหาคม 2540
2. วันที่ 15 มีนาคม 2543 ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งว่า TPI มีหนี้สินล้นพ้นตัว และให้ฟื้นฟูกิจการของ TPI
วันที่ 20 เมษายน 2543 ศาลได้มีคำสั่งแต่งตั้งบริษัท เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส จำกัด (EPL) เป็นผู้ทำแผนปรับโครงสร้างหนี้ทางการเงิน
วันที่ 21 เมษายน 2546 ศาลได้มีคำสั่งให้ EPL พ้นจากการเป็นผู้บริหารแผน โดยให้ผู้บริหารของลูกหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร่วมกันเป็นผู้บริหารแผนชั่วคราว
วันที่ 11 กรกฎาคม 2546 ศาลได้มีคำสั่งแต่งตั้งกระทรวงการคลังเป็นผู้บริหารแผนของ TPI แทน
3. กระทรวงการคลังในฐานะผู้บริหารแผน พิจารณาเห็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท ด้วยการกำหนดแนวทางปรับโครงสร้างหนี้และทุนขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้คืนด้วยกระแสเงินสดจากการประกอบกิจการของบริษัท เพื่อให้บริษัทสามารถประกอบกิจการได้เป็นปกติต่อไป โดยแผนฟื้นฟูกิจการใหม่ ได้กำหนดให้มีการจัดหาผู้ร่วมลงทุน โดยให้กระทรวงการคลังมีสิทธิโดยเด็ดขาดในการจัดหาผู้ร่วมลงทุนที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ (ผู้ร่วมลงทุนจะต้องเป็นนิติบุคคลไทยซึ่งเป็นกองทุนหรือนิติบุคคลที่มีความชำนาญในการประกอบธุรกิจปิโตรเคมีหรือปิโตรเลียมหรือกระทรวงการคลัง ฯลฯ)
ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง ในฐานะผู้บริหารแผน TPI ได้พิจารณาจัดสรรการขายส่วนทุนตามแผนให้แก่ผู้ร่วมทุน ดังนี้ คือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ธนาคารออมสิน ผู้ถือหุ้นเดิมที่ไม่ใช่เจ้าหนี้ตามแผนปรับโครงสร้างหนี้ทางการเงินและเจ้าหนี้ตามแผนปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งในการดำเนินการดังกล่าวกระทรวงการคลังจำเป็นต้องเข้าไปถือหุ้นใน TPI ก่อน กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง จึงจะดำเนินการถือหุ้นใน TPI ได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการสนับสนุนแนวทางการแก้ไขปัญหา TPI ดังกล่าว เสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 พฤษภาคม 2548--จบ--