คณะรัฐมนตรีเห็นชอบความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะพิเศษเรื่องการวางแบบกฎหมาย (การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายหลายฉบับโดยร่างพระราชบัญญัติฉบับเดียว) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ถือเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไปดังนี้
(1) การแก้ไขกฎหมายหลายฉบับโดยกฎหมายฉบับเดียว ควรดำเนินการเมื่อการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมีหลักการร่วมกันเป็นหลักการเดียว เช่น พระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่ไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน พ.ศ. 2546 หรือการจัดทำร่างพระราชบัญญัติเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายต่าง ๆ ที่ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ เช่น การแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับการค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้นจากศาล ซึ่งควรจะกำหนดหลักเกณฑ์เช่นเดียวกันในกฎหมายทุกฉบับ กรณีดังกล่าวก็สามารถกำหนดเป็นหลักการอยู่ในกฎหมายฉบับเดียวและให้แก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายต่าง ๆ ให้มีข้อความเป็นทำนองเดียวกันทั้งหมดได้ สำหรับการแก้ไขกฎหมายบางเรื่องที่มีข้อแตกต่างกันในรายละเอียดของเนื้อหาในบทบัญญัติ แม้ว่าหลักการที่เป็นวัตถุประสงค์หลักจะเป็นอย่างเดียวกัน ก็ไม่อาจแก้ไขกฎหมายทุกฉบับรวมอยู่ในกฎหมายฉบับเดียวกันได้ เพราะมีการแก้ไขในรายละเอียดแตกต่างกันมาก และจำเป็นต้องพิจารณาเป็นรายฉบับว่าการแก้ไขนั้น สอดคล้องกับเนื้อหาของกฎหมายเฉพาะเรื่องนั้นเพียงใดหรือไม่
(2) การตรากฎหมายเพื่อแก้ไขกฎหมายหลายฉบับในกฎหมายฉบับเดียวกันนั้น ควรเป็นกฎหมายเฉพาะเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะของกฎหมายที่เป็นกฎหมายกลางที่รวมการแก้ไขกฎหมายหลายฉบับ มิใช่เป็นการแก้ไขกฎหมายฉบับหนึ่งแล้วให้มีบทบัญญัติเป็นการแก้ไขกฎหมายอื่น ๆ ด้วย เช่น อาจตราเป็นพระราชบัญญัติแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายบางฉบับที่ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ....
(3) รูปแบบของร่างพระราชบัญญัตินั้น ยังไม่กำหนดแบบไว้เป็นการทั่วไป แต่หากมีร่างกฎหมายแล้ว ก็จะพิจารณากำหนดแบบเป็นรายกรณีต่อไป อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในกระบวนการตรากฎหมาย ฝ่ายนิติบัญญัติจะเป็นผู้มีอำนาจตรากฎหมาย ดังนั้น การวางแบบของพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติจะควรมีรูปแบบเป็นอย่างใด รวมทั้งการยอมรับให้มีการแก้ไขกฎหมายหลายฉบับในกฎหมายฉบับเดียวย่อมอยู่ในอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติที่เป็นผู้กำหนดด้วย และโดยที่ร่างกฎหมายเกี่ยวข้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติและอ้างอิงพระราชบัญญัติอื่นอีกหลายฉบับ ฉะนั้น เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอกฎหมาย และผู้ใช้กฏหมายเห็นภาพรวมของหลักการและขอบเขตของการเสนอแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมาย สมควรจัดทำ “บันทึกประกอบร่างฯ” แนบไปกับร่างพระราชบัญญัติฯ ด้วยทุกขั้นตอน และจัดพิมพ์ควบคู่ไปกับการประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายในราชกิจจานุเบกษา
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการายงานว่า โดยที่รัฐบาลได้มีนโยบายให้มีการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายของประเทศหลายฉบับ เพื่อให้กฎหมายมีความทันสมัยและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ ซึ่งบางเรื่องเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายจำนวนมากที่มีหลักการเดียวกันหรือจำเป็นต้องแก้ไขให้สอดคล้องกัน ถ้าจะดำเนินการตามแนวทางที่ผ่านมาจะต้องแก้ไขกฎหมายเป็นรายฉบับจำนวนมาก ทั้ง ๆ ที่เป็นการแก้ไขในหลักการเดียวกัน จึงได้มีแนวความคิดจะสามารถจัดทำเป็นกฎหมายกลางขึ้นฉบับหนึ่งและกำหนดให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่ในกฎหมายกลางฉบับเดียวกันทั้งหมด แทนการที่จะต้องดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกกฎหมายในแต่ละฉบับได้เพียงใดหรือไม่ จึงจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะพิเศษ (ประธานกรรมการกฤษฎีกาทุกคณะ) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายหลายฉบับโดยกฎหมายฉบับเดียวกัน ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะพิเศษ ได้พิจารณาเสร็จแล้ว จึงได้เสนอความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 29 พฤศจิกายน 2548--จบ--
(1) การแก้ไขกฎหมายหลายฉบับโดยกฎหมายฉบับเดียว ควรดำเนินการเมื่อการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมีหลักการร่วมกันเป็นหลักการเดียว เช่น พระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่ไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน พ.ศ. 2546 หรือการจัดทำร่างพระราชบัญญัติเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายต่าง ๆ ที่ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ เช่น การแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับการค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้นจากศาล ซึ่งควรจะกำหนดหลักเกณฑ์เช่นเดียวกันในกฎหมายทุกฉบับ กรณีดังกล่าวก็สามารถกำหนดเป็นหลักการอยู่ในกฎหมายฉบับเดียวและให้แก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายต่าง ๆ ให้มีข้อความเป็นทำนองเดียวกันทั้งหมดได้ สำหรับการแก้ไขกฎหมายบางเรื่องที่มีข้อแตกต่างกันในรายละเอียดของเนื้อหาในบทบัญญัติ แม้ว่าหลักการที่เป็นวัตถุประสงค์หลักจะเป็นอย่างเดียวกัน ก็ไม่อาจแก้ไขกฎหมายทุกฉบับรวมอยู่ในกฎหมายฉบับเดียวกันได้ เพราะมีการแก้ไขในรายละเอียดแตกต่างกันมาก และจำเป็นต้องพิจารณาเป็นรายฉบับว่าการแก้ไขนั้น สอดคล้องกับเนื้อหาของกฎหมายเฉพาะเรื่องนั้นเพียงใดหรือไม่
(2) การตรากฎหมายเพื่อแก้ไขกฎหมายหลายฉบับในกฎหมายฉบับเดียวกันนั้น ควรเป็นกฎหมายเฉพาะเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะของกฎหมายที่เป็นกฎหมายกลางที่รวมการแก้ไขกฎหมายหลายฉบับ มิใช่เป็นการแก้ไขกฎหมายฉบับหนึ่งแล้วให้มีบทบัญญัติเป็นการแก้ไขกฎหมายอื่น ๆ ด้วย เช่น อาจตราเป็นพระราชบัญญัติแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายบางฉบับที่ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ....
(3) รูปแบบของร่างพระราชบัญญัตินั้น ยังไม่กำหนดแบบไว้เป็นการทั่วไป แต่หากมีร่างกฎหมายแล้ว ก็จะพิจารณากำหนดแบบเป็นรายกรณีต่อไป อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในกระบวนการตรากฎหมาย ฝ่ายนิติบัญญัติจะเป็นผู้มีอำนาจตรากฎหมาย ดังนั้น การวางแบบของพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติจะควรมีรูปแบบเป็นอย่างใด รวมทั้งการยอมรับให้มีการแก้ไขกฎหมายหลายฉบับในกฎหมายฉบับเดียวย่อมอยู่ในอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติที่เป็นผู้กำหนดด้วย และโดยที่ร่างกฎหมายเกี่ยวข้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติและอ้างอิงพระราชบัญญัติอื่นอีกหลายฉบับ ฉะนั้น เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอกฎหมาย และผู้ใช้กฏหมายเห็นภาพรวมของหลักการและขอบเขตของการเสนอแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมาย สมควรจัดทำ “บันทึกประกอบร่างฯ” แนบไปกับร่างพระราชบัญญัติฯ ด้วยทุกขั้นตอน และจัดพิมพ์ควบคู่ไปกับการประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายในราชกิจจานุเบกษา
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการายงานว่า โดยที่รัฐบาลได้มีนโยบายให้มีการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายของประเทศหลายฉบับ เพื่อให้กฎหมายมีความทันสมัยและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ ซึ่งบางเรื่องเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายจำนวนมากที่มีหลักการเดียวกันหรือจำเป็นต้องแก้ไขให้สอดคล้องกัน ถ้าจะดำเนินการตามแนวทางที่ผ่านมาจะต้องแก้ไขกฎหมายเป็นรายฉบับจำนวนมาก ทั้ง ๆ ที่เป็นการแก้ไขในหลักการเดียวกัน จึงได้มีแนวความคิดจะสามารถจัดทำเป็นกฎหมายกลางขึ้นฉบับหนึ่งและกำหนดให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่ในกฎหมายกลางฉบับเดียวกันทั้งหมด แทนการที่จะต้องดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกกฎหมายในแต่ละฉบับได้เพียงใดหรือไม่ จึงจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะพิเศษ (ประธานกรรมการกฤษฎีกาทุกคณะ) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายหลายฉบับโดยกฎหมายฉบับเดียวกัน ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะพิเศษ ได้พิจารณาเสร็จแล้ว จึงได้เสนอความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 29 พฤศจิกายน 2548--จบ--