คณะรัฐมนตรีรับทราบผลกระทบของมาตรการต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจ และความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามมาตรการเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2548 ครั้งที่ 5/2548 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ และเนื่องจากการดำเนินงานตามมาตรการเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2548 ใกล้จะสิ้นสุดโครงการในเดือนธันวาคม ศกนี้ จึงเห็นชอบเร่งรัดให้หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบตามมาตรการย่อยทั้ง 26 เรื่อง ทำการประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานของตนเองในระยะที่ผ่านมา ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างไร อะไรเป็นปัจจัยความสำเร็จของการดำเนินงาน และระหว่างการดำเนินงานมีปัญหาอุปสรรค และทำการแก้ไขปัญหาอย่างไร รวมทั้งมีข้อเสนอแนะอย่างไร เพื่อใช้เป็นแนวทางจัดทำมาตรการในปี 2549 โดยให้ส่งมายัง สศช. ภายในวันที่ 10 ธันวาคม 2548 เพื่อรวบรวมเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้สรุปภาพรวมเศรษฐกิจภายหลังจากที่ รัฐบาลได้เร่งรัดการดำเนินการตามมาตรการเศรษฐกิจ ฯ รวมทั้งการรายงานผลการดำเนินของมาตรการที่สำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้
1. ผลของมาตรการต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจ ผลการดำเนินมาตรการเพื่อรักษาเสถียรภาพและสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2548 ได้ช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวในเดือนตุลาคมต่อเนื่องจากในไตรมาสที่สาม หลังจากที่เศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นต่อจากไตรมาสที่สอง การปรับตัวที่สำคัญ ๆ มีดังนี้
1.1 ภาพรวมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2548 อยู่ในเกณฑ์ดี อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในไตรมาสที่สามจะขยายตัวได้สูงกว่าครึ่งปีแรก (ครึ่งปีแรกขยายตัวร้อยละ 3.9) ซึ่งส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 3.5-4.5 เป็นร้อยละ 4.25-4.75
1.2 ดุลการค้าขาดดุลน้อยกว่าในช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากสามารถเร่งการส่งออกได้มากขึ้นและชะลอการนำเข้าอย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าการส่งออกในเดือนตุลาคมจะต่ำกว่าเป้าหมายก็ตาม โดยการส่งออกในเดือนตุลาคมมีมูลค่า 9,574 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.4 ขณะที่การนำเข้าอยู่ในระดับ 9,759.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ขยายตัวร้อยละ 18.3 ซึ่งเป็นผลมาจากการนำเข้าสินค้าทุนของโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ อาทิ การซื้อเครื่องบิน การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.1 ส่งผลให้ขาดดุลการค้า 185.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ ยอดรวมดุลการค้าในระยะ 10 เดือนแรกของปี 2548 ขาดดุลรวม 7,593 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งปรับตัวดีขึ้นจากช่วง 6 เดือนแรกที่ขาดดุล 8,153.5 ล้านบาท เป็นผลจากมาตรการขยายตัวของการส่งออกและการลดลงของการนำเข้าในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา (ก.ค. — ต.ค. 2548)
1.3 การส่งออกที่มีการขยายตัวที่สำคัญในช่วงเดือนตุลาคม การส่งออกสินค้าเกษตรที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นคือ มันสำปะหลัง ผักผลไม้ ไก่สดแช่แข็งและแปรรูปขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.5, 8.5 และ 16.2 ตามลำดับ สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมได้แก่ ยานยนต์และส่วนประกอบ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก อัญมณี เครื่องประดับ เครื่องสำอางและสบู่ขยายตัว ร้อยละ 40.2 , 16.3 , 20.5 , 20.3 และ 21.2 ตามลำดับ ส่วนข้าว ยางพารา น้ำตาล และกุ้งแปรรูปส่งออกได้ลดลง เนื่องจากผลผลิตในประเทศลดลง
1.4 การผลิตยังขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในหมวดอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ดัชนี ผลผลิตอุตสาหกรรม ผลผลิตพืชหลักในช่วงเดือนกันยายนยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 และ 3.0 ตามลำดับ ขณะที่ดัชนีกำลังการผลิต (Capacity Utillzation) เพิ่มจากร้อยละ 70.2 ในเดือนสิงหาคม เป็นร้อยละ 72.8 ในเดือนกันยายน โดยเฉพาะในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเลียม และยานยนต์ เพิ่มเป็น 93.3 88.1 และ 80.8 ตามลำดับ อัตราการว่างงานลดลงเหลือร้อยละ 1.3 ในเดือนกันยายน ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญ ๆ (เช่น ยางพาราและปาล์มน้ำมัน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.1 ในเดือนกันยายน ทำให้รายได้จากภาคเกษตรในช่วงดังกล่าวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 32.9 (เทียบกับการเพิ่มขึ้นทั้งปีร้อยละ 14.9 ในปีที่แล้ว)
1.5 การเพิ่มรายได้ประชาชนมีส่วนช่วยให้การใช้จ่ายภาคเอกชนยังคงขยายตัวได้ในระดับที่น่าพอใจ ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนในเดือนตุลาคมขยายตัวร้อยละ 0.8 ใกล้เคียงกับร้อยละ 1.0 ในเดือนกันยายน ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังคงขยายตัวต่อเนื่องเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเฉลี่ยในเดือนกันยายนขยายตัวร้อยละ 5.6 ตามลำดับ
2. ความคืบหน้าการดำเนินการและติดตามผลของมาตรการเศรษฐกิจ ฯ ที่สำคัญ
2.1 มาตรการที่เกี่ยวกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์และกฎระเบียบ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จเป็นส่วนใหญ่ ประกอบด้วย
(1) ปรับเพิ่มฐานเงินเดือนข้าราชการขึ้นร้อยละ 5 โดยยังคงเงินค่าส่วนเพิ่มที่รัฐบาลได้ปรับเพิ่มให้ก่อนหน้านี้แล้ว และรวมถึงการปรับฐานเงินเดือนของข้าราชการบำนาญร้อยละ 5 โดยมีผลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 เป็นต้นไป (มาตรการที่ 2) มีผลบังคับใช้ 1 ตุลาคม 2548
(2) สนับสนุนให้ภาคเอกชนปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้เหมาะสมกับภาวะค่าครองชีพและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายทั้งนายจ้างและลูกจ้าง รวมทั้งพิจารณาให้เหมาะสมกับระดับทักษะฝีมือ (มาตรการที่ 3) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2548 ส่วนร่างการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่อ้างอิงตามระดับฝีมือแรงงานใน 11 อุตสาหกรรม 30 สาขาอาชีพ ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ
(3) การใช้หลักฐานค้ำประกันจากธนาคาร (Bank Guarantee) มาค้ำประกันการส่งมอบงานของผู้รับเหมา (มาตรการที่ 9) มีส่วนราชการในส่วนกลาง 6 แห่ง ในภูมิภาค 13 แห่ง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 480 ล้านบาท
(4) อนุญาตให้ภาคธุรกิจสามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะและฝีมือแรงงานหักเป็นค่าใช้จ่ายก่อนชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล จากเดิม 1.5 เท่า เป็น 2 เท่า (มาตรการที่ 10) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2548 ซึ่งสถานประกอบการต้องยื่นหลักสูตรการฝึกอบรมมาขอความเห็นชอบจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อจะนำไปหักค่าใช้จ่ายได้ตอนยื่นแบบเสียภาษีเมื่อสิ้นปี
(5) ศึกษาแนวทางปรับโครงสร้างหนี้ประชาชน การกระตุ้นให้เกิดการขยายการลงทุนในภาคธุรกิจ และการประเมินมูลค่าของสินทรัพย์ในระยะยาว (มาตรการที่ 13) คณะรัฐมนตรีอนุมัติมาตรการต่อกระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2548
(6) มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพพิเศษ (มาตรการที่ 14) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2548
(7) ขยายการให้เบี้ยยังชีพคนชราผู้ยากไร้ 300 บาท/คน/เดือน ให้ครบทุกคน(มาตรการที่ 15) ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้จัดสรรงบประมาณให้แล้วจำนวน 906,359 คน เป็นเงิน 3,262.892 ล้านบาท
(8) เพิ่มงบประมาณในการจัดทำกิจกรรมด้านส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน (อสม.) ทุกหมู่บ้าน จาก 7,500 บาท เป็น 10,000 บาท (มาตรการที่ 17) กระทรวงมหาดไทยได้จัดสรรเงินให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้วจำนวน 82,039 ชุมชน/หมู่บ้าน เป็นเงิน 820.4 ล้านบาท
2.2 มาตรการที่มีความสำคัญสูงและต้องติดตามเร่งรัดหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย(1) การปรับราคาน้ำมัน การสนับสนุนการใช้ก๊าซ NGV แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล (มาตรการที่ 1,19.1) (2) การเพิ่มรายได้จากสินค้าเกษตร โดยการขยายตลาดต่างประเทศและส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ (มาตรการที่ 4) (3) การเร่งรัดการส่งเสริมการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังเพื่อให้มูลค่าการส่งออกทั้งปี 2548 สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 20 (มาตรการที่ 5) (4) การดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งต้นทางและปลายทาง (มาตรการที่ 6) (5) การดูแลระดับการเก็บสต็อกสินค้า โดยจัดระบบการรายงานสินค้าที่เก็บในสต็อกให้เหมาะสมกับระดับการผลิตและการบริโภค (มาตรการที่ 7) (6) โครงการจัดตั้งศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (มาตรการที่ 11.2) (7) การเร่งรัดงบ SML โดยให้หมู่บ้านละ 200,000-300,000 บาท (มาตรการที่ 16) (8) การส่งเสริม OTOP ด้านการผลิตและการตลาดผ่านกิจกรรมและนิทรรศการต่าง ๆ (มาตรการที่ 18) (9) การเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง (Model Shift) (มาตรการที่ 19.2) (10) การเร่งรัดการเริ่มดำเนินการทุนการศึกษา 1 ทุน 1 อำเภอ รุ่นที่ 2 (มาตรการที่ 20) (11) การเร่งรัดทุน ICL (มาตรการที่ 21) (12) การเร่งรัดโครงการที่อยู่อาศัย (มาตรการที่ 24)
2.3 มาตรการที่มีลักษณะเป็นการดำเนินงานประจำของหน่วยงาน ประกอบด้วย
(1) เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้ผูกพันไว้กับรัฐบาล (มาตรการที่ 8)
(2) ปรับปรุงงบประมาณผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (มาตรการที่ 11.1)
(3) จัดระบบประชาสัมพันธ์และชี้แจงสาธารณะ (มาตรการที่ 12)
(4) เร่งรัดการเริ่มดำเนินการขยายบริการโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคให้ครอบคลุมมากขึ้น (มาตรการที่ 22)
(5) เร่งเปิดสนามบินสุวรรณภูมิ (มาตรการที่ 23)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 29 พฤศจิกายน 2548--จบ--
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้สรุปภาพรวมเศรษฐกิจภายหลังจากที่ รัฐบาลได้เร่งรัดการดำเนินการตามมาตรการเศรษฐกิจ ฯ รวมทั้งการรายงานผลการดำเนินของมาตรการที่สำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้
1. ผลของมาตรการต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจ ผลการดำเนินมาตรการเพื่อรักษาเสถียรภาพและสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2548 ได้ช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวในเดือนตุลาคมต่อเนื่องจากในไตรมาสที่สาม หลังจากที่เศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นต่อจากไตรมาสที่สอง การปรับตัวที่สำคัญ ๆ มีดังนี้
1.1 ภาพรวมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2548 อยู่ในเกณฑ์ดี อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในไตรมาสที่สามจะขยายตัวได้สูงกว่าครึ่งปีแรก (ครึ่งปีแรกขยายตัวร้อยละ 3.9) ซึ่งส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 3.5-4.5 เป็นร้อยละ 4.25-4.75
1.2 ดุลการค้าขาดดุลน้อยกว่าในช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากสามารถเร่งการส่งออกได้มากขึ้นและชะลอการนำเข้าอย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าการส่งออกในเดือนตุลาคมจะต่ำกว่าเป้าหมายก็ตาม โดยการส่งออกในเดือนตุลาคมมีมูลค่า 9,574 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.4 ขณะที่การนำเข้าอยู่ในระดับ 9,759.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ขยายตัวร้อยละ 18.3 ซึ่งเป็นผลมาจากการนำเข้าสินค้าทุนของโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ อาทิ การซื้อเครื่องบิน การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.1 ส่งผลให้ขาดดุลการค้า 185.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ ยอดรวมดุลการค้าในระยะ 10 เดือนแรกของปี 2548 ขาดดุลรวม 7,593 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งปรับตัวดีขึ้นจากช่วง 6 เดือนแรกที่ขาดดุล 8,153.5 ล้านบาท เป็นผลจากมาตรการขยายตัวของการส่งออกและการลดลงของการนำเข้าในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา (ก.ค. — ต.ค. 2548)
1.3 การส่งออกที่มีการขยายตัวที่สำคัญในช่วงเดือนตุลาคม การส่งออกสินค้าเกษตรที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นคือ มันสำปะหลัง ผักผลไม้ ไก่สดแช่แข็งและแปรรูปขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.5, 8.5 และ 16.2 ตามลำดับ สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมได้แก่ ยานยนต์และส่วนประกอบ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก อัญมณี เครื่องประดับ เครื่องสำอางและสบู่ขยายตัว ร้อยละ 40.2 , 16.3 , 20.5 , 20.3 และ 21.2 ตามลำดับ ส่วนข้าว ยางพารา น้ำตาล และกุ้งแปรรูปส่งออกได้ลดลง เนื่องจากผลผลิตในประเทศลดลง
1.4 การผลิตยังขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในหมวดอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ดัชนี ผลผลิตอุตสาหกรรม ผลผลิตพืชหลักในช่วงเดือนกันยายนยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 และ 3.0 ตามลำดับ ขณะที่ดัชนีกำลังการผลิต (Capacity Utillzation) เพิ่มจากร้อยละ 70.2 ในเดือนสิงหาคม เป็นร้อยละ 72.8 ในเดือนกันยายน โดยเฉพาะในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเลียม และยานยนต์ เพิ่มเป็น 93.3 88.1 และ 80.8 ตามลำดับ อัตราการว่างงานลดลงเหลือร้อยละ 1.3 ในเดือนกันยายน ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญ ๆ (เช่น ยางพาราและปาล์มน้ำมัน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.1 ในเดือนกันยายน ทำให้รายได้จากภาคเกษตรในช่วงดังกล่าวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 32.9 (เทียบกับการเพิ่มขึ้นทั้งปีร้อยละ 14.9 ในปีที่แล้ว)
1.5 การเพิ่มรายได้ประชาชนมีส่วนช่วยให้การใช้จ่ายภาคเอกชนยังคงขยายตัวได้ในระดับที่น่าพอใจ ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนในเดือนตุลาคมขยายตัวร้อยละ 0.8 ใกล้เคียงกับร้อยละ 1.0 ในเดือนกันยายน ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังคงขยายตัวต่อเนื่องเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเฉลี่ยในเดือนกันยายนขยายตัวร้อยละ 5.6 ตามลำดับ
2. ความคืบหน้าการดำเนินการและติดตามผลของมาตรการเศรษฐกิจ ฯ ที่สำคัญ
2.1 มาตรการที่เกี่ยวกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์และกฎระเบียบ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จเป็นส่วนใหญ่ ประกอบด้วย
(1) ปรับเพิ่มฐานเงินเดือนข้าราชการขึ้นร้อยละ 5 โดยยังคงเงินค่าส่วนเพิ่มที่รัฐบาลได้ปรับเพิ่มให้ก่อนหน้านี้แล้ว และรวมถึงการปรับฐานเงินเดือนของข้าราชการบำนาญร้อยละ 5 โดยมีผลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 เป็นต้นไป (มาตรการที่ 2) มีผลบังคับใช้ 1 ตุลาคม 2548
(2) สนับสนุนให้ภาคเอกชนปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้เหมาะสมกับภาวะค่าครองชีพและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายทั้งนายจ้างและลูกจ้าง รวมทั้งพิจารณาให้เหมาะสมกับระดับทักษะฝีมือ (มาตรการที่ 3) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2548 ส่วนร่างการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่อ้างอิงตามระดับฝีมือแรงงานใน 11 อุตสาหกรรม 30 สาขาอาชีพ ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ
(3) การใช้หลักฐานค้ำประกันจากธนาคาร (Bank Guarantee) มาค้ำประกันการส่งมอบงานของผู้รับเหมา (มาตรการที่ 9) มีส่วนราชการในส่วนกลาง 6 แห่ง ในภูมิภาค 13 แห่ง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 480 ล้านบาท
(4) อนุญาตให้ภาคธุรกิจสามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะและฝีมือแรงงานหักเป็นค่าใช้จ่ายก่อนชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล จากเดิม 1.5 เท่า เป็น 2 เท่า (มาตรการที่ 10) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2548 ซึ่งสถานประกอบการต้องยื่นหลักสูตรการฝึกอบรมมาขอความเห็นชอบจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อจะนำไปหักค่าใช้จ่ายได้ตอนยื่นแบบเสียภาษีเมื่อสิ้นปี
(5) ศึกษาแนวทางปรับโครงสร้างหนี้ประชาชน การกระตุ้นให้เกิดการขยายการลงทุนในภาคธุรกิจ และการประเมินมูลค่าของสินทรัพย์ในระยะยาว (มาตรการที่ 13) คณะรัฐมนตรีอนุมัติมาตรการต่อกระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2548
(6) มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพพิเศษ (มาตรการที่ 14) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2548
(7) ขยายการให้เบี้ยยังชีพคนชราผู้ยากไร้ 300 บาท/คน/เดือน ให้ครบทุกคน(มาตรการที่ 15) ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้จัดสรรงบประมาณให้แล้วจำนวน 906,359 คน เป็นเงิน 3,262.892 ล้านบาท
(8) เพิ่มงบประมาณในการจัดทำกิจกรรมด้านส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน (อสม.) ทุกหมู่บ้าน จาก 7,500 บาท เป็น 10,000 บาท (มาตรการที่ 17) กระทรวงมหาดไทยได้จัดสรรเงินให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้วจำนวน 82,039 ชุมชน/หมู่บ้าน เป็นเงิน 820.4 ล้านบาท
2.2 มาตรการที่มีความสำคัญสูงและต้องติดตามเร่งรัดหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย(1) การปรับราคาน้ำมัน การสนับสนุนการใช้ก๊าซ NGV แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล (มาตรการที่ 1,19.1) (2) การเพิ่มรายได้จากสินค้าเกษตร โดยการขยายตลาดต่างประเทศและส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ (มาตรการที่ 4) (3) การเร่งรัดการส่งเสริมการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังเพื่อให้มูลค่าการส่งออกทั้งปี 2548 สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 20 (มาตรการที่ 5) (4) การดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งต้นทางและปลายทาง (มาตรการที่ 6) (5) การดูแลระดับการเก็บสต็อกสินค้า โดยจัดระบบการรายงานสินค้าที่เก็บในสต็อกให้เหมาะสมกับระดับการผลิตและการบริโภค (มาตรการที่ 7) (6) โครงการจัดตั้งศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (มาตรการที่ 11.2) (7) การเร่งรัดงบ SML โดยให้หมู่บ้านละ 200,000-300,000 บาท (มาตรการที่ 16) (8) การส่งเสริม OTOP ด้านการผลิตและการตลาดผ่านกิจกรรมและนิทรรศการต่าง ๆ (มาตรการที่ 18) (9) การเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง (Model Shift) (มาตรการที่ 19.2) (10) การเร่งรัดการเริ่มดำเนินการทุนการศึกษา 1 ทุน 1 อำเภอ รุ่นที่ 2 (มาตรการที่ 20) (11) การเร่งรัดทุน ICL (มาตรการที่ 21) (12) การเร่งรัดโครงการที่อยู่อาศัย (มาตรการที่ 24)
2.3 มาตรการที่มีลักษณะเป็นการดำเนินงานประจำของหน่วยงาน ประกอบด้วย
(1) เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้ผูกพันไว้กับรัฐบาล (มาตรการที่ 8)
(2) ปรับปรุงงบประมาณผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (มาตรการที่ 11.1)
(3) จัดระบบประชาสัมพันธ์และชี้แจงสาธารณะ (มาตรการที่ 12)
(4) เร่งรัดการเริ่มดำเนินการขยายบริการโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคให้ครอบคลุมมากขึ้น (มาตรการที่ 22)
(5) เร่งเปิดสนามบินสุวรรณภูมิ (มาตรการที่ 23)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 29 พฤศจิกายน 2548--จบ--