สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566

ข่าวการเมือง Wednesday November 8, 2023 09:44 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

วันนี้ (7 พฤศจิกายน 2566) เวลา 09.00 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ กฎหมาย

                    1.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติ                                                  ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 หมวด 6 การอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรน้ำ                                                  สาธารณะ มาตรา 78
                    2.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 108 ปี สำนักงานการ                                        ตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ....
                    3.           เรื่อง           ขอปรับปรุงแก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ                                        ระหว่างประเทศ
                    4.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้อาวุธและยุทโธปกรณ์เป็นสินค้าที่ต้องห้าม                                        ส่งออกและห้ามนำผ่านราชอาณาจักรไปยังบุคคลหรือองค์กรที่กำหนด กรณี                                                  สาธารณรัฐเฮติ พ.ศ. ....
                    5.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตาม                                                            พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551
                    6.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติ                                                  ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560
                    7.           เรื่อง          ขอขยายระยะเวลาการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22                                         วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการ                                                  ประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ต่อคณะรัฐมนตรี (พระราช                                                  กำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม)
                    8.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการ                                                  ทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    9.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นใน                                                  ลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    10.           เรื่อง           การแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ                                         พ.ศ. 2565 (ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
                                        พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการ                                        หรือหน่วยงานอย่างอื่นหรือในระดับต่ำลงไปในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ                                                 พ.ศ. ....)
                    11.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความใน                                                  กฎหมายที่กระทรวงกลาโหมรับผิดชอบ

เศรษฐกิจ-สังคม
                    12.           เรื่อง           ขออนุมัติงบประมาณสำหรับงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปี                                                  งบประมาณ พ.ศ. 2567
                    13.           เรื่อง           ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 เรื่อง ขออนุมัติปรับเพิ่ม                                        ราคาน้ำนมดิบเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโคนม
                    14.           เรื่อง           ทบทวนการพิจารณาออกสลากการกุศล
                    15.           เรื่อง           มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2566/67
                    16.           เรื่อง           มาตรการรักษาเสถียรภาพราคามันสำปะหลัง ปี 2566/67
                    17.           เรื่อง           มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2566/67

ต่างประเทศ
                    18.           เรื่อง           รายงานผลการจัดสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาไทยตามกฎหมาย                                                  การค้าสหรัฐฯ มาตรา 301 พิเศษ ประจำปี พ.ศ. 2566
                    19.           เรื่อง           ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา ครั้งที่ 12
                    20.           เรื่อง           รายงานการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 16 การประชุมเจ้าหน้าที่                                                  อาวุโสสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 20 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    21.           เรื่อง           ร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 30
                    22.            เรื่อง           เอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีเอเปค และการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจ

เอเปคประจำปี ค.ศ. 2023

                    23.           เรื่อง           สรุปผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 43 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง
                    24.           เรื่อง           ร่างพิธีสารการเจรจาทวิภาคีไทยและติมอร์ - เลสเต เพื่อการภาคยานุวัติเข้าเป็น                                        สมาชิกองค์การการค้าโลกของติมอร์ - เลสเต
                    25.           เรื่อง           ผลการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 23
                    26.           เรื่อง           ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Minister: AEM)                                         ครั้งที่ 55 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    27.            เรื่อง           ขอความเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน

ครั้งที่ 29 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

                    28.           เรื่อง           การประชุมคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลในการจัดทำมาตรการที่มีผลผูกพัน                                        ทางกฎหมายระหว่างประเทศด้านมลพิษจากพลาสติก รวมทั้งสิ่งแวดล้อมทาง                                                  ทะเล ครั้งที่ 3 ณ สาธารณรัฐเคนยา
                    29.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหม                                                  อาเซียน ครั้งที่ 17 และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหม                                        ประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 10
                    30.           เรื่อง           การดำเนินการเพื่อเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

อินโด - แปซิฟิก เพื่อความเจริญรุ่งเรืองว่าด้วยความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทาน

                    31.           เรื่อง          ร่างความตกลงประเทศเจ้าบ้านระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและศูนย์                                                  อาเซียนเพื่อผู้สูงอายุอย่างมีศักยภาพและนวัตกรรม และร่างพระราชกฤษฎีกา                                                  กำหนดเอกสิทธิ์และความคุ้มกันสำหรับศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงอายุที่มีศักยภาพและ                                        นวัตกรรม พ.ศ. ....

แต่งตั้ง
                    32.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    33.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    34.           เรื่อง           การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                                                   (กระทรวงสาธารณสุข)
                    35.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงแรงงาน)
                    36.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                    37.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                    38.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (กระทรวงการคลัง)
                    39.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกระทรวงการ                                                  ท่องเที่ยวและกีฬา
                    40.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

                    41.           เรื่อง           การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการราช                                                  บัณฑิตยสภา
                    42.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาการศึกษา แทนกรรมการที่เป็นผู้แทน                                        องค์กรศาสนาอื่นที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ
                    43.           เรื่อง            แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาที่ดิน
                    44.           เรื่อง           แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
                    45.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์                                                  การเกษตร (ธ.ก.ส.)
                    46.           เรื่อง           คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (สำนักงานทรัพยากรน้ำ                                                  แห่งชาติ)
                    47.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และ                                                  เทคโนโลยีแห่งชาติ
?
กฎหมาย
1. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 หมวด 6 การอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรน้ำสาธารณะ มาตรา 78
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ดังนี้
                     1. เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำร่างกฎกระทรวงหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรน้ำสาธารณะ พ.ศ. .... ที่อยู่ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา ซึ่งเป็นกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 หมวด 6 การอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรน้ำสาธารณะ มาตรา 78 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
                     2. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย
                     3. ให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาดำเนินการว่า กฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามพระราชบัญญัติต่าง ๆ นั้น เป็นการกำหนดหลักการ วิธีการ และเงื่อนไขต่าง ๆ ในการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพหรือปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง หากไม่มีความจำเป็นอย่างแท้จริง ให้ดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองให้ทันภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากการเสนอขอขยายเวลาออกกฎหมายลำดับรอง จะทำให้การบังคับการตามกฎหมายไม่มีประสิทธิภาพ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     การขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ เป็นการขอขยายระยะเวลาในการออกกฎกระทรวงหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรน้ำสาธารณะ พ.ศ. .... ตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติ    (30 พฤษภาคม 2566) อนุมัติหลักการ และอยู่ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว แต่โดยที่การออกกฎกระทรวงในเรื่องนี้ตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2562 ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ (เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562) จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรองตามมาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป

2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 108 ปี สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน    พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 108 ปี สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว เป็นการกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคายี่สิบบาทเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสครบ 108 ปี สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ในวันที่       18 กันยายน 2566 เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และเผยแพร่พระเกียรติคุณให้แผ่ไพศาลไปทั้งภายในประเทศและนานาประเทศ      และเป็นที่ระลึกในโอกาสดังกล่าว ซึ่งกระทรวงการคลังได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกตามรูปแบบที่นำความกราบบังคมทูลประกอบพระบรมราชวินิจฉัยแล้ว สำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดทำเหรียญกษาปณ์ดังกล่าวมาจากเงินทุนหมุนเวียนการบริหารจัดการเหรียญกษาปณ์ ทรัพย์สินมีค่าของรัฐและการทำของ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    กำหนดชนิด ราคา โลหะ อัตราเนื้อโลหะ น้ำหนัก ขนาด อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด ลวดลาย           และลักษณะอื่น ๆ ของเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคายี่สิบบาท เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสครบรอบ 108 ปี สตง. ในวันที่ 18 กันยายน 2566

3. เรื่อง ขอปรับปรุงแก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    สาระสำคัญ
                    ร่างระเบียบที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศซึ่งกำหนดเพิ่มเติมให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นกรรมการและเลขานุการร่วมกับปลัดกระทรวงพาณิชย์ (เดิมปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นกรรมการและเลขานุการ) และอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการร่วมกับผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (เดิมผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ) เพื่อให้องค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ประกอบกับการปรับองค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศในครั้งนี้ จะทำให้การดำเนินการในเรื่องที่มีความจำเป็นเร่งด่วนและเรื่องที่ต้องมีการหารือเพื่อกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับการดำเนินนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศและสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันโดยเร็ว

4. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้อาวุธและยุทโธปกรณ์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามส่งออกและห้ามนำผ่านราชอาณาจักรไปยังบุคคลหรือองค์กรที่กำหนด กรณีสาธารณรัฐเฮติ พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้อาวุธและยุทโธปกรณ์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามส่งออกและห้ามนำผ่านราชอาณาจักรไปยังบุคคลหรือองค์กรที่กำหนด กรณีสาธารณรัฐเฮติ พ.ศ. ....            ที่คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี (คกอ.) คณะที่ 4 ตรวจพิจารณาแล้วตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ร่างประกาศที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติในหลักการและคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 ได้ตรวจพิจารณาแล้ว        เป็นการกำหนดให้อาวุธและยุทโธปกรณ์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามส่งออกและห้ามนำผ่านราชอาณาจักรไทยไปยังนาย Jimmy Cherizier หรือ Barbeque (ผู้นำกลุ่มแก๊งที่มีอิทธิพลที่สุดของเฮติ และผู้นำกลุ่ม ?G9 Family and Allies? ซึ่งมีส่วนร่วมในการโจมตีโดยกลุ่มติดอาวุธที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตของพลเรือน ในกรุงปอร์โตแปรงซ์ สาธารณรัฐเฮติ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2561 และเข้าขัดขวางการเคลื่อนย้ายเชื้อเพลิงจากสถานีเชื้อเพลิง Varreux ในวันที่ 11 ตุลาคม 2565) และไปยังบุคคลหรือองค์กรตามที่คณะกรรมการของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติกำหนด เพื่อให้เป็นไปตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ 2563 (ค.ศ. 2022) กรณีสาธารณรัฐเฮติ ซึ่งเป็นพันธกรณีที่ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ตามข้อ 25 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 เห็นชอบรับรองการดำเนินการตามข้อมติดังกล่าวแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างประกาศ
                    ร่างประกาศ พณ. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้อาวุธและยุทโธปกรณ์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามส่งออกและห้ามนำผ่านราชอาณาจักรไปยังบุคคลหรือองค์กรที่กำหนด กรณีสาธารณรัฐเฮติ พ.ศ. ....                     มีสาระสำคัญต่อไปนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
1. บทนิยาม          ? ?อาวุธและยุทโธปกรณ์? หมายความว่า (1) ยุทธภัณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมยุทธภัณฑ์ และ (2) อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน และวัตถุระเบิดตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน
? ?คณะกรรมการ? หมายความว่า คณะกรรมการของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (Committee of the Security Council) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่จัดตั้งขึ้นตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ 2563 (ค.ศ. 2022) เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2565
2. มาตรการ          ? กำหนดให้ ?อาวุธและยุทโธปกรณ์? เป็นสินค้าที่ต้องห้ามส่งออกและห้ามนำผ่านราชอาณาจักรไปยังนาย Jimmy Cherizier หรือ Barbeque และบุคคลหรือองค์กรตามที่คณะกรรมการกำหนด กรณีสาธารณรัฐเฮติ
3. วันที่มีผลใช้บังคับ          ? ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

5. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 จำนวน 4 ฉบับ ออกไป 1 ปี นับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
                    ทั้งนี้ สธ. เสนอว่า
                    1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (19 มกราคม 2564) ให้หน่วยงานของรัฐตรวจสอบกฎหมายในความรับผิดชอบของตนว่า มีกรณีที่ต้องมีการออกกฎหรือกำหนดให้รัฐต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อที่ประชาชนจะสามารถปฏิบัติตามกฎหมายหรือได้รับสิทธิประโยชน์จากกฎหมาย ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 หรือไม่ โดยให้มีการเร่งออกกฎหรือดำเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับสำหรับกฎหมายที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป หรือภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 สำหรับกฎหมายที่มีผลใช้บังคับก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (28 กุมภาพันธ์ 2566) ให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานเร่งตรวจสอบกฎหมายในความรับผิดชอบของตนซึ่งมีผลใช้บังคับก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 ที่เข้าข่ายเป็นกรณีตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ และเร่งออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อที่ประชาชนจะสามารถปฏิบัติตามกฎหมายหรือได้รับสิทธิประโยชน์จากกฎหมายนั้นได้ ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 หากไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จครบถ้วนได้ทันภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ให้พิจารณาเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาออกไปอีก 1 ปี โดยให้ระบุเหตุผลความจำเป็นของการขอขยายระยะเวลาดังกล่าวประกอบด้วย
                    2. พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้ออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 26 ฉบับ สธ. ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จำนวน 22 ฉบับ ขณะนี้ยังมีกฎหมายลำดับรองที่อยู่ในขั้นตอนการจัดทำร่างกฎหมายอีก        4 ฉบับ แต่โดยที่พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มฯ ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ มีผลใช้บังคับ การออกกฎหมายลำดับรองจึงต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรีในข้อ 1. สธ. จึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรองจำนวน 4 ฉบับดังกล่าว พร้อมทั้งได้ระบุเหตุผลความจำเป็นของการขอขยายระยะเวลาประกอบการพิจารณาด้วยแล้ว ดังนี้
สาระสำคัญของร่างกฎหมายลำดับรอง          เหตุผลความจำเป็นในการขอขยายระยะเวลา
1. ร่างระเบียบ คกก. นโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติว่าด้วยการเลือกและการแต่งตั้งที่ปรึกษา พ.ศ. .... อาศัยอำนาจตามความใน ม.6 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มฯ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกและการแต่งตั้งที่ปรึกษาใน คกก. นโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ                    ที่ผ่านมา คกก. นโยบายเครื่องดื่มฯ สามารถดำเนินงานตาม พ.ร.บ. ควบคุมฯ ได้ด้วยดี ไม่ได้มีอุปสรรคในการดำเนินงานแต่อย่างใด จึงมิได้เร่งรัดในการออกประกาศดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าร่างระเบียบดังกล่าวอาจไม่เข้าข่ายที่จำเป็นต้องเร่งรัดในการออกกฎตาม ม. 22 พ.ร.บ. หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 62 แต่เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ว่ากฎหมายลำดับรองที่ออกตามความใน ม. 6 แห่ง พ.ร.บ. ควบคุมฯ อาจเข้าข่ายตาม ม. 22 หรือไม่ เพื่อมิให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายแก่การบริหารราชการแผ่นดิน หรือต่อสิทธิของประชาชน หากออกกฎไม่ทันในกำหนดระยะเวลา กรมควบคุมโรคจึงได้มีหนังสือหารือประเด็นดังกล่าวไปยัง สคก. เพื่อที่จะได้นำมาปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป ขณะนี้อยู่ระหว่าง สคก. พิจารณาตอบข้อหารือดังกล่าว
2. ม. 26 (1) แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มฯ บัญญัติให้ผู้ผลิตหรือนำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัดให้มีบรรจุภัณฑ์ และจัดให้มีข้อความคำเตือนสำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตหรือนำเข้า ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ คกก. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประกาศโดยความเห็นชอบของ คกก. ได้แก่
          2.1 ร่างประกาศ คกก. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ....
          2.2 ร่างประกาศ คกก. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับข้อความคำเตือนของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ....                    โดยที่ พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มฯ ม. 26 (1) บัญญัติให้ผู้ผลิตหรือนำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัดให้มีบรรจุภัณฑ์ ฉลาก พร้อมทั้งข้อความคำเตือนสำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตหรือนำเข้า โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ คกก. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของ คกก. และประกาศ ใน รจ.
          ที่ผ่านมา สธ. ได้ออกประกาศ คกก. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับฉลากของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 58 แล้ว อย่างไรก็ตาม ประเทศสมาชิก WTO มีข้อห่วงกังวลเกี่ยวกับประกาศดังกล่าว ที่อาจส่งผลกระทบต่อการค้าของประเทศสมาชิกอื่น ดังนั้น ปัจจุบันจึงยังไม่มีการออกประกาศเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์และข้อความคำเตือน เพราะต้องศึกษากฎ ระเบียบ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งมาตรฐานสากล อย่างรอบคอบและละเอียดถี่ถ้วน ทั้งนี้ ได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาการออกร่างประกาศ ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวด้วยแล้ว พร้อมทั้งได้ศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้ข้อมูลทางวิชาการมาสนับสนุนการออกร่างประกาศทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว
3. ร่างระเบียบ คกก. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับการสนับสนุนเพื่อการบำบัดรักษาหรือฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. .... อาศัยอำนาจตามความใน ม. 33 แห่ง พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มฯ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือญาติ คณะบุคคลหรือองค์กรทั้งภาครัฐหรือเอกชนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการบำบัดรักษาหรือฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สามารถมาขอรับการสนับสนุนเพื่อการบำบัดรักษาหรือฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากสำนักงานคกก. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค สธ.           เนื่องจากต้องศึกษาแนวปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงงานวิชาการที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม และบูรณาการร่วมกับหลายหน่วยงานเพื่อหาแนวทางสนับสนุนการออกกฎดังกล่าวต่อไป เช่น คณะอนุกรรมการด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดทำร่างหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขอรับการสนับสนุนเพื่อการบำบัดรักษาหรือฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

6. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ออกไป 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    เรื่องที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอเป็นการขอขยายระยะเวลาในการออกร่างกฎกระทรวงกำหนดส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบและสารที่เกิดจากการเผาไหม้ของส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแจ้งและการออกใบรับรองและอัตราค่าธรรมเนียม พ.ศ. .... ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ซึ่งจะต้องดำเนินการออกกฎกระทรวงดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 19 มกราคม 2564 แต่โดยที่การออกกฎกระทรวงในเรื่องนี้จะต้องหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อยุติเสียก่อนในประเด็นเกี่ยวกับการกำหนดส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบและสารที่เกิดจากการเผาไหม้ของส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบที่อาจกระทบต่อผู้บริโภค อุตสาหกรรมยาสูบ และเกษตรกรผู้เพาะปลูกใบยาสูบ รวมถึงอาจกระทบต่อรายได้ของรัฐ จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป

7. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ต่อคณะรัฐมนตรี (พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
                    ทั้งนี้ กษ. เสนอว่า
                    1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (19 มกราคม 2564) กำหนดให้หน่วยงานของรัฐตรวจสอบกฎหมายในความรับผิดชอบของตนว่า มีกรณีที่ต้องมีการออกกฎหรือกำหนดให้รัฐต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 หรือไม่ โดยให้มีการเร่งออกกฎหรือดำเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 สำหรับกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (28 กุมภาพันธ์ 2566) ให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานเร่งตรวจสอบกฎหมายในความรับผิดชอบของตนซึ่งมีผลใช้บังคับก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562      ที่เข้าข่ายเป็นกรณีตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และเร่งดำเนินการจัดทำกฎหรือดำเนินการนั้น ภายในขอบเขตหน้าที่และอำนาจให้แล้วเสร็จไม่เกินวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 กรณีที่ไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จครบถ้วนได้ทันภายในวันที่                  27 พฤศจิกายน 2566 ให้พิจารณาเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาออกไปอีก 1 ปี ตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยให้ระบุเหตุผลความจำเป็นของการขอขยายระยะเวลาดังกล่าวประกอบด้วย
                    2. พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของ กษ. (กรมประมง) ซึ่งมีผลบังคับใช้อยู่ในวันก่อนที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ มีผลบังคับใช้ จะครบกำหนดระยะเวลาการดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566          โดยกฎหมายลำดับรองที่ต้องดำเนินการออกตามพระราชกำหนดการประมงฯ มีจำนวนทั้งสิ้น 213 ฉบับ ซึ่งปัจจุบันได้ประกาศใช้บังคับแล้ว จำนวน 206 ฉบับ และอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 7 ฉบับ ซึ่งต้องดำเนินการด้วยความละเอียด รอบคอบ ครบถ้วนในทุก ๆ ด้าน เช่น ข้อมูลทางด้านวิชาการ การรักษาความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ หรือการจัดระเบียบการประกอบอาชีพ รวมถึงเพื่อมิให้บทบัญญัติของกฎหมายสิ้นผลบังคับลงอันจะก่อให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายแก่การบริหารราชการแผ่นดิน โดยที่ผ่านมากรมประมงได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียและผู้ประกอบการรวมทั้งมีการเก็บรวบรวมข้อมูลทางวิชาการในบางส่วนแล้ว ซึ่งยังมีข้อโต้แย้งและข้อกังวลในการปฏิบัติและการบังคับใช้กฎหมายในบางเรื่องจึงยังไม่ได้ข้อยุติและควรดำเนินการอย่างรอบคอบ ด้วยเหตุนี้ กรมประมงจึงไม่สามารถดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองให้แล้วเสร็จภายในวันที่                27 พฤศจิกายน 2566 ได้ ดังนั้น กษ. (กรมประมง) จึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามพระราชกำหนดดังกล่าว ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566
8. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..)            พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจและหน้าที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (คณะกรรมการ ป.ป.ท.) ในส่วนที่เกี่ยวกับการคดีทุจริตต่อหน้าที่ที่ต้องดำเนินการแทนตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) มอบหมาย และส่วนการประพฤติมิชอบซึ่งเป็นหน้าที่และอำนาจโดยตรงของคณะกรรมการ ป.ป.ท. เพื่อให้เป็นไปตามการดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
                    2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติตามข้อ 1.
                    สาระสำคัญ
                    ร่างพระราชบัญญัติที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว ซึ่งเป็นร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภายังไม่ได้ให้ความเห็นชอบและตกไป เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 โดยปรับปรุงอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐในส่วนที่เกี่ยวกับการทุจริตต่อหน้าที่ที่ต้องดำเนินการแทนตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมอบหมาย และในส่วนการประพฤติมิชอบที่เป็นหน้าที่และอำนาจโดยตรงของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เช่น การเปิดเผยข้อมูลการดำเนินการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ การขอหมายจับและควบคุมตัวผู้ถูกกล่าวหา กำหนดหลักเกณฑ์การแต่งตั้งที่ปรึกษาเพื่อช่วยเหลือในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ ปรับปรุงขั้นตอนและระยะเวลาไต่สวนและวินิจฉัยชี้มูลความผิดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และแก้ไขเพิ่มเติมการกำหนดความผิดและโทษกรณีการเปิดเผยข้อมูลที่ได้มาเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติมาตรา 234 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานด้านการไต่สวนและการปฏิบัติต่าง ๆ ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐและสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐมีความชัดเจนยิ่งขึ้น

9. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไป
                    ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาที่กระทรวงการคลังเสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า ?เงินเดือน? และปรับเงื่อนไขการจ่ายเงินเดือนของข้าราชการ โดยสามารถแบ่งจ่ายเป็น 2 รอบ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป เพื่อเป็นการเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้แก่ราชการ รวมทั้งเป็นการเพิ่มอัตราเงินหมุนเวียนซึ่งจะช่วยเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้งเพื่อให้การเบิกจ่ายเงินเดือนของข้าราชการมีความคล่องตัว รวดเร็ว และสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน โดยเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตีรเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 (เรื่อง การปรับเงื่อนไขการจ่ายเงินเดือนให้แก่ข้าราชการ) ประกอบกับกระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) ได้กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และรายละเอียดในการจ่ายเงินเดือนของข้าราชการโดยแบ่งจ่ายเป็น 2 รอบ เพื่อรองรับการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวแล้วโดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นข้าราชการและลูกจ้างประจำที่อยู่ในระบบจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำของกรมบัญชีกลาง (e - Payroll) จำนวน 230 หน่วยงาน (ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการในพระองค์ ข้าราชการรัฐสภา ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา) ไม่รวมข้าราชการบำนาญ ข้าราชการการเมือง ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ข้าราชการในสังกัดองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร และข้าราชการส่วนท้องถิ่น มีวิธีการตามความสมัครใจ โดยข้าราชการหรือลูกจ้างประจำสามารถเลือกการรับเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำเป็นแบบจ่ายเดือนละ 1 รอบ หรือแบบจ่ายเดือนละ 2 รอบ ได้ ด้วยวิธีการยื่นแบบต่อส่วนราชการในกรณีที่เป็นข้าราชการสามารถยื่นแบบได้ตั้งแต่วันที่               1 - 15 ธันวาคม 2566 และมีผลในเดือนมกราคม 2567 และลูกจ้างประจำสามารถยื่นแบบได้ตั้งแต่วันที่ 1 - 15 กุมภาพันธ์ 2567 และมีผลในเดือนมีนาคม 2567
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป ดังนี้
พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเดือนฯ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม          ร่างพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเดือนฯ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
1. แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า ?เงินเดือน? (ร่างมาตรา 3)
? ?เงินเดือน? หมายความว่า เงินเดือนและเงินอื่นที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายประเภทงบบุคลากรที่จ่ายในลักษณะเงินเดือน          ? ?เงินเดือน? หมายความว่า เงินเดือนและเงินอื่นที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายเดือน หรือที่มีกำหนดจ่ายเป็นอย่างอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด โดยจ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายประเภทงบบุคลากรที่จ่ายในลักษณะเงินเดือน (เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566)
2. แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจ่ายเงินเดือนของข้าราชการ (ร่างมาตรา 4)
? การจ่ายเงินเดือนข้าราชการประจำเดือน ให้จ่ายในวันทำการก่อนวันสุดท้ายของเดือนสามวันทำการ สำหรับกรณีที่ต้องเบิกเงินจากธนาคาร ให้จ่ายในวันทำการสุดท้ายของธนาคารในเดือนนั้นสามวันทำการ ทั้งนี้ กรมบัญชีกลางจะกำหนดวันจ่ายเป็นอย่างอื่นก็ได้          ? การจ่ายเงินเดือนข้าราชการประจำเดือน ให้จ่ายในวันทำการก่อนวันสุดท้ายของเดือนสามวันทำการ สำหรับกรณีที่ต้องเบิกเงินจากธนาคาร ให้จ่ายในวันทำการสุดท้ายของธนาคารในเดือนนั้นสามวันทำการ ทั้งนี้ กรมบัญชีกลางจะกำหนดวันจ่ายหรือวิธีการจ่ายเป็นอย่างอื่นก็ได้ (เพื่อให้กรมบัญชีกลางจะได้กำหนดรายละเอียด หลักเกณฑ์ วิธีการจ่ายเป็นอย่างอื่นได้)

10. เรื่อง การแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 (ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการหรือหน่วยงานอย่างอื่นหรือในระดับต่ำลงไปในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ         พ.ศ. ....)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการหรือหน่วยงานอย่างอื่น หรือในระดับต่ำลงไป ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอและให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติแก้ไขเพิ่มเติมร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. และสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    สาระสำคัญ
                    ร่างพระราชกฤษฎีกาและร่างกฎกระทรวงที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญ ดังนี้
                    1. ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแบ่งส่วนราชการในระดับกองบัญชาการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ โดยตัดส่วนราชการสำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำซึ่งโอนไปเป็นส่วนราชการในพระองค์ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 และพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 ออก จึงคงเหลือส่วนราชการ จาก 31 หน่วย เป็น 30 หน่วย และเพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจของหน่วยงานเพื่อรองรับการปฏิบัติตามภารกิจ ได้แก่ หน้าที่และอำนาจของสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติและตามที่คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติมอบหมาย กำหนดเขตพื้นที่รับผิดชอบของกองบัญชาการตำรวจนครบาลในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และเขตพื้นที่รับผิดชอบจังหวัดต่าง ๆ ของตำรวจภูธรภาค 1 - 9
                    2. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการหรือหน่วยงานอย่างอื่น    หรือในระดับต่ำลงไป ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองบังคับการ โดยยุบเลิกหน่วยงานระดับกองบังคับการ        ในสังกัดสำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ จำนวน 3 กอง จาก 258 กอง คงเหลือ 255 กอง และระดับกองกำกับการ โดยยุบเลิกหน่วยงานระดับกองกำกับการ ในสังกัดสำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ จำนวน 12 กอง จาก 1473 กอง คงเหลือ 1461 กอง และเพิ่มเติมหน่วยงานที่มีระดับต่ำกว่ากองบังคับการ ซึ่งมิได้ปรากฏอยู่ในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเดิม แต่อยู่ในประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหน่วยงานและเขตอำนาจรับผิดชอบหรือเขตพื้นที่การปกครองของส่วนราชการ และระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้แก่ สถานีตำรวจนครบาล จำนวน 88 สถานี และสถานีตำรวจภูธร จำนวน 1,396 สถานี รวมจำนวน 1,484 สถานี เพิ่มหน่วยงานอย่างอื่นในระดับต่ำกว่ากองบังคับการ จำนวน 298 หน่วย รวมทั้งกำหนดเพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจของหน่วยงานระดับกองกำกับการให้ชัดเจนไว้ในร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ    พ.ศ. 2565 ได้บัญญัติไว้
                              นอกจากนี้ ได้เปลี่ยนชื่อหน่วยงาน เช่น สถานีตำรวจภูธรสาขลา ในตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการ สังกัดตำรวจภูธรภาค 1 (เดิม) เปลี่ยนเป็น สถานีตำรวจภูธรบ้านคลองสวน ในตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการ สังกัดตำรวจภูธรภาค 1 เพื่อให้สอดคล้องกับเขตพื้นที่รับผิดชอบ และปรับเปลี่ยนสายการบังคับบัญชา เช่น ตัดโอนศูนย์รับแจ้งเหตุและปฏิบัติการควบคุมสั่งการ ในกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว 1 ไปสังกัดกองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยวเพื่อเป็นศูนย์กลางในการรับแจ้งเหตุ รับเรื่องร้องเรียน ประสานงาน และให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อนักท่องเที่ยวทั่วประเทศ
ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 11 มาตรา 12 และมาตรา 162 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 โดยไม่มีการกำหนดตำแหน่งข้าราชการเพิ่มและไม่กระทบต่อค่าใช้จ่ายงบบุคลากรแต่อย่างใด

11. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในกฎหมายที่กระทรวงกลาโหมรับผิดชอบ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงกลาโหม รวม 21 ฉบับ ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    การเสนอเรื่องของกระทรวงกลาโหมเป็นการดำเนินการตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ซึ่งบัญญัติให้กฎหมายที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎหรือกำหนดให้รัฐต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อที่ประชาชนจะสามารถปฏิบัติตามกฎหมาย หรือได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายนั้นได้ หากมิได้มีการออกกฎดังกล่าวหรือยังมิได้ดำเนินการนั้นภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับและบทบัญญัติในเรื่องนั้นก่อภาระหรือเป็นผลร้ายต่อประชาชนให้บทบัญญัติดังกล่าวเป็นอันสิ้นผลบังคับ แต่ในกรณีที่บทบัญญัติในเรื่องนั้นให้สิทธิประโยชน์แก่ประชาชน ให้บทบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้โดยไม่ต้องมีกฎหรือดำเนินการดังกล่าว โดยระยะเวลา 2 ปีดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจะมีมติขยายออกไปอีกก็ได้แต่ไม่เกิน 1 ปี และต้องมีมติก่อนที่จะครบกำหนดเวลา 2 ปีดังกล่าว ประกอบกับมาตรา 39 (1) กำหนดให้ระยะเวลา 2 ปี ตามมาตรา 22 สำหรับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ให้นับแต่เมื่อพ้นกำหนด 2 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ (นับแต่วันที่    27 พฤศจิกายน 2564) ซึ่งการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติทั้ง 5 ฉบับ ได้แก่ 1) พระราชบัญญัติการเกณฑ์ช่วยราชการทหาร พ.ศ. 2530 2) พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 3) พระราชบัญญัติจัดระเบียราชการกระทรวงกลาโหม    พ.ศ. 2551 4) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการกระทำอันเป็นโจรสลัด      พ.ศ. 2534 และ 5) พระราชบัญญัติว่าด้วยการปฏิบัติต่ออากาศยานที่กระทำผิดกฎหมาย พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ ใช้บังคับ (ก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562) กระทรวงกลาโหมต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 แต่เนื่องจากเนื้อหาและสาระสำคัญของกฎหมายแม่บทที่ให้อำนาจออกกฎหมายลำดับรองมีหลายประเด็นเกี่ยวข้องกับหน้าที่และอำนาจของกระทรวงกลาโหมในด้านความมั่นคงและการก่อภาระต่อประชาชน เช่น การให้ใบอนุญาตแก่พาหนะซึ่งเป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์หรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกันเข้ามาในราชอาณาจักร ประกอบกับกฎหมายในความรับผิดชอบของกระทรวงกลาโหมมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้รักษาการและรักษาการร่วมจึงมีความไม่ชัดเจนของหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ รวมทั้งการพิจารณาจัดทำกฎหมายลำดับรองจะต้องมีการสอบถามความเห็นไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่สามารถออกกฎหมายลำดับรองได้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด กระทรวงกลาโหมจึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 21 ฉบับดังกล่าว ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่            27 พฤศจิกายน 2566

เศรษฐกิจ-สังคม
12. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณสำหรับงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ดังนี้
                      1. อนุมัติงบประมาณสำหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ภายในวงเงิน 217,628,959,000 บาท ประกอบด้วย
                                1.1 ค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว สำหรับประชาชนผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 47,671,000 คน วงเงิน 165,525,153,000 บาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 3,922,585,500 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.43 คิดเป็นอัตราเหมาจ่ายรายหัว 3,472.24 บาทต่อผู้มีสิทธิ ซึ่งครอบคลุมค่าใช้จ่ายของหน่วยบริการในส่วนเงินเดือนค่าตอบแทนบุคลากร
                               1.2 ค่าบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ประกอบด้วย ค่าบริการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ วงเงิน 3,413,391,000 บาท และค่าบริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี วงเงิน 603,704,700 บาท รวมวงเงิน 4,017,095,700 บาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 38,617,200 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.97
                               1.3 ค่าบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง วงเงิน 12,807,298,600 บาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 2,855,123,000 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 28.69
                               1.4 ค่าบริการควบคุม ป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง (DM/HT และจิตเวชเรื้อรังในชุมชน) ประกอบด้วย งบบริการควบคุมความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง วงเงิน 1,123,989,700 บาท และงบบริการผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน วงเงิน 73,626,000 บาท รวมวงเงิน 1,197,615,700 บาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 126,140,900 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 11.77
                               1.5 ค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่กันดาร พื้นที่เสี่ยงภัยและพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ วงเงิน 1,490,288,000 บาท
                               1.6 ค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิ ประกอบด้วย              (1) บริการด้วยทีมแพทย์ประจำครอบครัว วงเงิน 237,445,700 บาท (2) บริการที่ร้านยา วงเงิน 199,810,000 บาท (3) บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการนอกโรงพยาบาล วงเงิน 722,870,300 บาท (4) บริการสาธารณสุขระบบทางไกล วงเงิน 865,776,200 บาท (5) บริการด้านยาและเวชภัณฑ์สำหรับการจัดส่งยาและเวชภัณฑ์ไปยังผู้ป่วยที่บ้าน วงเงิน 32,945,500 บาท และ (6) บริการทันตกรรมเคลื่อนที่ วงเงิน 3,940,200 บาท รวมวงเงิน 2,062,787,900 บาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 1,873,933,600 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 992.26
                               1.7 ค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย
                                         1.7.1) ค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น                     วงเงิน 2,550,601,000 บาท ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 221,399,000 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 7.99
                                         1.7.2) ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน วงเงิน 2,760,554,000 บาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 1,494,908,000 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 118.11
                                         1.7.3) ค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพระดับจังหวัด      วงเงิน 530,712,000 บาท
                                1.8 เงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้รับบริการและผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการ วงเงิน 642,808,300 บาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 205,472,300 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 46.98
                               1.9 ค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สำหรับการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรครายบุคคลและครอบครัว สำหรับคนไทยทุกคนทุกสิทธิ จำนวน 66,339,000 คน วงเงิน 24,044,045,400 บาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 2,662,938,300 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 12.45 ซึ่งครอบคลุมค่าใช้จ่ายของหน่วยบริการในส่วนเงินเดือนค่าตอบแทนบุคลากร
                     2. สำหรับงบประมาณบริหารงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ วงเงิน 2,086,558,800 บาท นั้น คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้สำนักงบประมาณพิจารณาสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปี ให้ตามความจำเป็น เหมาะสม ประหยัดและสอดคล้องกับภารกิจการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
                     3. มอบหมายให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติดำเนินการและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้ประชาชนคนไทยทุกคนเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ในด้านบริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี บริการสาธารณสุขร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บริการสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน บริการสาธารณสุขร่วมกับกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพระดับจังหวัด และบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สำหรับการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรครายบุคคลและครอบครัว ตามมาตรา 18 (14) แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และควบคุมดูแลสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้บริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นไปตามการมอบหมายดังกล่าวด้วย
                      ทั้งนี้ สำนักงบประมาณมีความเห็นเพิ่มเติมว่า เนื่องจากปริมาณการใช้บริการและอัตราค่าใช้จ่ายในการให้บริการแก่ผู้ป่วยของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะค่าบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน และค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิ ดังนั้น เพื่อไม่ให้เป็นภาระงบประมาณแผ่นดินมากเกินไป จึงเห็นสมควรที่กระทรวงสาธารณสุขจะเร่งดำเนินการด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแก่ประชาชนทั่วไปโดยเร่งด่วน และพิจารณาให้ความสำคัญกับความพร้อมและศักยภาพของผู้ให้บริการสาธารณสุข จัดให้มีบริการที่มีคุณภาพแก่ประชาชน และมีการติดตามประเมินผลตามตัวชี้วัดที่สะท้อนถึงผลลัพธ์การให้บริการสาธารณสุข เพื่อให้มีความคุ้มค่าจากการใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนภายในประเทศ รวมถึงเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับประชาชนในท้องถิ่น และเห็นควรที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะพิจารณาให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นโดยเร่งด่วน พร้อมทั้งให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติบริหารจัดการและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณค่ารักษาพยาบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 หากมีงบประมาณเหลือจ่ายจากการดำเนินงานหรือมีรายได้สูงกว่ารายจ่ายสะสม ก็เห็นสมควรให้นำเงินดังกล่าวของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาสมทบกับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2527 เป็นลำดับแรก ทั้งนี้ ขอให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามนัยมาตรา 6 และมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 เพื่อให้ประชาชนคนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข ตลอดจนปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ

13. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 เรื่อง ขออนุมัติปรับเพิ่มราคาน้ำนมดิบเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโคนม
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2565 (เรื่อง ขออนุมัติปรับเพิ่มราคาน้ำนมดิบเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโคนม) จากเดิมเห็นชอบการปรับเพิ่มราคารับซื้อน้ำนมโคเป็น 20.50 บาท/กิโลกรัม เป็นปรับเพิ่มราคารับซื้อน้ำนมโคเป็น 22.75 บาท/กิโลกรัม (เพิ่มขึ้น 2.25 บาท) เพื่อให้เหมาะสม สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นของผู้ประกอบการตามมติคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม [คกก.โคนมฯ (ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน)] ในการประชุมครั้งที่ 4/2566 เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2566 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ

14. เรื่อง ทบทวนการพิจารณาออกสลากการกุศล
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอดังนี้
                    1. ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 ที่กำหนดว่าในกรณีวงเงินโครงการสลากการกุศล (โครงการฯ) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 คงเหลือจากที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการออกสลากการกุศล มอบหมายให้คณะกรรมการพิจารณาโครงการสลากการกุศล (คณะกรรมการฯ) พิจารณากลั่นกรองจากโครงการที่ขอรับการสนับสนุนเงินจากโครงการฯ (โครงการที่ขอรับการสนับสนุนเงินฯ) ที่ได้จัดส่งข้อเสนอมาแล้ว
                    2. มอบหมายให้คณะกรรมการฯ ดำเนินการพิจารณาการออกสลากการกุศลสำหรับโครงการฯ     ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 ที่มีวงเงินคงเหลือจำนวน 838.62 ล้านบาท ตามหลักการและแนวทางการออกสลากการกุศลของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 โดยให้มีการเปิดรับข้อเสนอโครงการที่ขอรับการสนับสนุนเงินฯ เพิ่มเติม ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการฯ มีอำนาจกำหนดวงเงินที่จะให้การสนับสนุนแต่ละโครงการรวมทั้งความจำเป็นและความพร้อมของการดำเนินโครงการ เพื่อให้เกิดการกระจายตัวของเงินสนับสนุนจากโครงการฯ และสามารถเบิกจ่ายเงินได้อย่างรวดเร็ว
                    ทั้งนี้ กค. มีความจำเป็นต้องขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวข้างต้น เพราะโครงการที่ได้จัดส่งข้อเสนอมาแล้วแต่ยังไม่ได้รับการสนับสนุนเงินจากโครงการสลากการกุศลที่เหลืออยู่นั้น ส่วนใหญ่ยังขาดความพร้อมและมีลักษณะโครงการที่ยังไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ประกอบกับมีหน่วยงานต่าง ๆ ได้แจ้งความประสงค์ที่จะขอรับการสนับสนุนเงินจากโครงการสลากการกุศลเพิ่มเติมไปยัง กค. (สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ) และสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินโครงการสลากการกุศลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์1 ตามที่กำหนดไว้และเพื่อให้หน่วยงานที่จะขอรับการสนับสนุนเงินจากโครงการสลากการกุศลเพิ่มเติมในครั้งนี้มีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการขอรับการสนับสนุนเงินจากโครงการสลากการกุศลอย่างเหมาะสม คณะรัฐมนตรีจึงเห็นควรให้ กค. เร่งประชาสัมพันธ์และชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการขอรับการสนับสนุนเงินจากโครงการสลากการกุศลให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่ประสงค์จะขอรับการสนับสนุนเงินจากโครงการสลากการกุศลได้รับรู้รับทราบอย่างถูกต้อง ชัดเจน รวมทั้งให้คณะกรรมการพิจารณาโครงการสลากการกุศลเร่งพิจารณากลั่นกรองโครงการที่ขอรับการสนับสนุนเงินจากโครงการสลากการกุศลภายในกรอบวงเงินที่เหลืออยู่ (838.62 ล้านบาท) ให้แล้วเสร็จโดยเร็วตามความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

1 โครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาด้านการสาธารณสุข การป้องกันและบรรเทาโรคติดต่ออันตราย หรือการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม รวมถึงเป็นโครงการที่ก่อประโยชน์แก่ประชาชนและสังคมอย่างทั่วถึงในวงกว้าง โดยหน่วยงานที่จะขอรับการสนับสนุนจะต้องเป็นหน่วยงานที่ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากภาครัฐ หรือได้รับการจัดสรรแต่ไม่เพียงพอ และไม่มีการดำเนินงานซ้ำซ้อนกับโครงการที่เสนอขอรับเงินงบประมาณจากภาครัฐทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งไม่มีลักษณะเป็นเงินหมุนเวียนเพื่อใช้ในการบริหารจัดการหรือดำเนินกิจกรรมส่งเสริมทั่วไป และไม่เคยได้รับการสนับสนุนการออกสลากการกุศลมาก่อน

15. เรื่อง มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2566/67
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2566/67 และอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น 10,601.96 ล้านบาท ดังนี้
                    1. โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67 วงเงินจ่ายขาดรวมทั้งสิ้น 10,120.71 ล้านบาท จำแนกเป็น (1) ค่าฝากเก็บ 4,500.00 ล้านบาท (2) วงเงินชดเชย 2,177.01 ล้านบาท และ (3) กรณีมีการระบายข้าวโครงการฯ รัฐบาลจ่ายคืนและชดเชยให้ ธ.ก.ส. วงเงิน 3,443.70 ล้านบาท โดยใช้แหล่งเงินทุน ธ.ก.ส. และ ธ.ก.ส. ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป
                    2. โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2566/67 วงเงินจ่ายขาดรวมทั้งสิ้น 481.25 ล้านบาท โดยใช้แหล่งเงินทุน ธ.ก.ส. และ ธ.ก.ส. ขอรับจัดสรรงบประมาณจ่ายประจำปีต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2566/67 จำนวนทั้งสิ้น 2 โครงการ วงเงินรวมทั้งสิ้น 55,038.96 ล้านบาท จำแนกเป็น วงเงินสินเชื่อ 44,437.00 ล้านบาท วงเงินจ่ายขาด 10,601.96 ล้านบาท ดังนี้
                    1. โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67 (โดย ธ.ก.ส.)
                              (1) วิธีการ ธ.ก.ส. จ่ายสินเชื่อตามโครงการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร 3 ล้านตันข้าวเปลือก โดยกำหนดข้าวเปลือกที่เข้าร่วมโครงการฯ และวงเงินสินเชื่อต่อตัน ดังนี้ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 10,500 บาท ข้าวเปลือกปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 10,000 บาท
                              (2) ค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือก กำหนดให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวในอัตรา 1,500 บาทต่อตันข้าวเปลือก โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเองได้รับเต็มจำนวน สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกเข้าโครงการฯ ได้รับในอัตรา 1,000 บาทต่อตันข้าวเปลือก และเกษตรกรผู้ขายข้าวได้รับในอัตรา 500 บาทต่อตันข้าวเปลือก
                              (3) การระบายข้าวเปลือก กรณีที่มีการระบายข้าวเปลือกให้ ธ.ก.ส. สำรองจ่ายค่าขนย้ายข้าวเปลือกที่ ธ.ก.ส. ตามวงเงินที่สำรองจ่ายและชดเชยต้นทุนเงินให้ ธ.ก.ส.
                              (4) วงเงินงบประมาณ รวมทั้งสิ้น 44,557.71 ล้านบาท จำแนกเป็นวงเงินสินเชื่อ 34,437.00 ล้านบาท และวงเงินจ่ายขาด 10,120.71 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าฝากเก็บ 4,500.00 ล้านบาท วงเงินชดเชย 2,177.01 ล้านบาท และกรณีมีการระบายข้าวโครงการฯ รัฐบาลจ่ายคืนและชดเชยให้ ธ.ก.ส. วงเงิน 3,443.70 ล้านบาท โดยให้ ธ.ก.ส. ขอจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณต่อไป
                    2. โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2566/67 (โดย ธ.ก.ส.)
                              (1) วิธีการ สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกเพื่อจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 10,000 ล้านบาท คิดเป็นข้าวเปลือก 1 ล้านตันข้าวเปลือกและจำนวนสินเชื่อคงเหลือภายในระยะเวลาโครงการฯ ไม่เกินวงเงินสินเชื่อเป้าหมาย โดยคิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 4.85 ต่อปี (ปัจจุบัน MLR ร้อยละ 5.875 ต่อปี) โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกร ร้อยละ 3.85 ต่อปี
                               (2) วงเงินงบประมาณ รวมทั้งสิ้น 10,481.25 ล้านบาท จำแนกเป็นวงเงินสินเชื่อ 10,000.00 ล้านบาท และวงเงินจ่ายขาดเพื่อชดเชยดอกเบี้ย 481.25 ล้านบาท โดยให้ ธ.ก.ส. ขอจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณต่อไป

16. เรื่อง มาตรการรักษาเสถียรภาพราคามันสำปะหลัง ปี 2566/67
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสถานการณ์การผลิตและการตลาดมันสำปะหลัง ปี 2566/67 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และพิจารณาอนุมัติในหลักการ ดังนี้
                    1. มาตรการรักษาเสถียรภาพราคามันสำปะหลังของ ธ.ก.ส. จำนวน 2 โครงการ ประกอบด้วยโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมมันสำปะหลังและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปี 2566/67 ภายในวงเงิน 19,250,000 บาท และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกมันสำปะหลัง ปี 2566/67 ภายในวงเงิน 41,400,000 บาท รวมกรอบวงเงิน 60,650,000 บาท โดยค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นและเป็นภาระต่องบประมาณนั้น ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามผลการดำเนินงานจริงต่อไป
                    2. โครงการชดเชยดอกเบี้ยในการเก็บสต็อกมันสำปะหลัง ปี 2566/67 วงเงิน 300,000,000 บาท เนื่องจากที่ผ่านมาโครงการดังกล่าว ได้ดำเนินการโดยใช้จ่ายจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งสถานะเงินกองทุนรวมฯ ณ วันต้นงวดปีงบประมาณ 2567 มีเงินปลอดภาระผูกพัน จำนวน 2,816,082,502.28 บาท จึงเห็นควรให้กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายในใช้จ่ายจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ในโอกาสแรกก่อน หากไม่เพียงพอให้กระทรวงพาณิชย์เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
                    3. โครงการยกระดับศักยภาพการแปรรูปมันสำปะหลัง (เครื่องสับมันฯ) เห็นควรให้กรมการค้าภายในพิจารณาถึงอำนาจหน้าที่และภารกิจของหน่วยดำเนินการ และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่และภารกิจหลักให้เป็นผู้ดำเนินการ เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรด้านปัจจัยการผลิต ดำเนินการอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ลดภาระค่าใช้จ่ายและความซ้ำซ้อนในการดำเนินงาน
                    ทั้งนี้ เห็นควรให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดทำระบบหรือกลไกในการตรวจสอบที่มีมาตรฐาน เพื่อให้สามารถรวบรวมข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนไม่ซ้ำซ้อน และทันต่อสถานการณ์ โดยคำนึงถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ ทั้งในส่วนของข้อมูลด้านการลงทะเบียนเกษตรกร จำนวนเกษตรกร ปริมาณผลผลิตต่อไร่ จำนวนพื้นที่เพาะปลูก จำนวนสถาบันเกษตรกร ตลอดจนพิจารณาดำเนินการในพื้นที่ที่มีเอกสารแสดงสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินและตามกฎหมายอื่น รวมทั้งพื้นที่ที่มีเอกสารแสดงการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินที่หน่วยงานของรัฐออกให้เพื่อทำการเกษตร ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2556 และกำหนดมาตรการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดวางระบบการตรวจสอบย้อนกลับที่มาของมันสำปะหลังในพื้นที่ผิดกฎหมายหรือการลักลอบนำเข้ามาสวมสิทธิ์จากชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งการปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตล่อดจนจัดให้มีระบบการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ที่ได้รับจากการดำเนินการเพื่อให้มีข้อมูลในการบริหารงานอย่างถูกต้องครบถ้วนสำหรับประกอบการกำหนดนโยบายของภาครัฐที่เหมาะสมและยั่งยืน ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    นอกจากนี้ กระทรวงการคลังมีความเห็นว่าสำหรับโครงการในส่วนที่ใช้เงินทุนของ ธ.ก.ส. และรัฐบาลได้มีการชดเชยให้แก่ ธ.ก.ส. ในการดำเนินโครงการดังกล่าว เห็นควรให้ พณ. และ ธ.ก.ส. ร่วมกันพิจารณาอัตราการชดเชยให้สอดคล้องกับภาระต้นทุนของ ธ.ก.ส. ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างแท้จริง โดยอยู่ในอัตราที่เท่ากันกับอัตราการชดเชยของมาตรการที่มีการดำเนินการในลักษณะเดียวกันในสินค้าเกษตรอื่นและไม่ควรมากกว่าอัตราการชดเชยในอดีตที่ผ่านมาของโครงการในลักษณะเดียวกัน เพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณของภาครัฐในภาพรวมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ พณ. และ ธ.ก.ส. ยังควรมีการติดตามและตรวจสอบการใช้สินเชื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังอย่างแท้จริง

17. เรื่อง มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2566/67
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสถานการณ์การผลิตและการตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2566/67 และอนุมัติในหลักการมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2566/67 จำนวน 2 โครงการ ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ประกอบด้วย โครงการสินเชี่อเพื่อรวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปี 2566/67 ภายในวงเงิน 38,500,000 บาท โดยค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นและเป็นภาระต่องบประมาณนั้น ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งบประมาณรายจ่ายประจำปีตามผลการดำเนินงานจริงต่อไป สำหรับโครงการชดเชยดอกเบี้ยในการเก็บสต็อกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2566/67 วงเงิน 26,670,000 บาท เนื่องจากที่ผ่านมาโครงการดังกล่าว ได้ดำเนินการโดยใช้จ่ายจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งสถานะเงินกองทุนรวมฯ ณ วันต้นงวดปีงบประมาณ 2567 มีเงินปลอดภาระผูกพัน จำนวน  2,816,082,502.28 บาท จึงเห็นควรให้กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายในใช้จ่ายจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ในโอกาสแรกก่อน หากไม่เพียงพอให้กระทรวงพาณิชย์เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
                    ทั้งนี้ เห็นควรให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดทำระบบหรือกลไกในการตรวจสอบที่มีมาตรฐาน เพื่อให้สามารถรวบรวมข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนไม่ซ้ำซ้อน และทันต่อสถานการณ์ โดยคำนึงถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ ทั้งในส่วนของข้อมูลด้านการลงทะเบียนเกษตรกร จำนวนเกษตรกร ปริมาณผลผลิตต่อไร่ จำนวนพื้นที่เพาะปลูก จำนวนสถาบันเกษตรกร ตลอดจนพิจารณาดำเนินการในพื้นที่ที่มีเอกสารแสดงสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินและตามกฎหมายอื่น รวมทั้งพื้นที่ที่มีเอกสารแสดงการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินที่หน่วยงานของรัฐออกให้เพื่อทำการเกษตร ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2556 และกำหนดมาตรการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดวางระบบการตรวจสอบย้อนกลับที่มาของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ผิดกฎหมายหรือการลักลอบนำเข้ามาสวมสิทธิ์จากชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งการปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนจัดให้มีระบบการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ที่ได้รับจากการดำเนินการต่าง ๆ อันจะนำไปสู่การกำหนดนโยบายหรือปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวกับมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้มีความเหมาะสมและยั่งยืนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    นอกจากนี้ กระทรวงการคลังมีความเห็นว่าสำหรับโครงการในส่วนที่ใช้เงินทุนของ ธ.ก.ส. และรัฐบาลได้มีการชดเชยให้แก่ ธ.ก.ส. ในการดำเนินโครงการดังกล่าว เห็นควรให้ พณ. และ ธ.ก.ส. ร่วมกันพิจารณาอัตราการชดเชยให้สอดคล้องกับภาระต้นทุนของ ธ.ก.ส. ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างแท้จริง โดยอยู่ในอัตราที่เท่ากันกับอัตราการชดเชยของมาตรการที่มีการดำเนินการในลักษณะเดียวกันในสินค้าเกษตรอื่นและไม่ควรมากกว่าอัตราการชดเชยในอดีตที่ผ่านมาของโครงการในลักษณะเดียวกัน เพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณของภาครัฐในภาพรวมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ พณ. และ ธ.ก.ส. ยังควรมีการติดตามและตรวจสอบการใช้สินเชื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังอย่างแท้จริง

ต่างประเทศ
18. เรื่อง รายงานผลการจัดสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาไทยตามกฎหมายการค้าสหรัฐฯ มาตรา 301 พิเศษ ประจำปี พ.ศ. 2566
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบและมอบหมายตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอดังนี้
                    1.รับทราบผลการจัดสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ตามกฎหมายการค้าของสหรัฐอเมริกา (สหรัฐฯ) ว่าด้วยเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (กฎหมายการค้าสหรัฐฯ) มาตรา 301 พิเศษ ประจำปี                   พ.ศ. 2566
                    2. มอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการส่งเสริมการคุ้มครองและป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาให้มีประสิทธิภาพ ดังนี้
                              2.1 หน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมาย ได้แก่ กระทรวงกลาโหม (กห.) (กองทัพบกและกองทัพเรือ) กระทรวงการคลัง (กค.) (กรมศุลกากร) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) (กรมสอบสวนคดีพิเศษ) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กวดขันปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างจริงจังและเต็มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในท้องตลาดและช่องทางออนไลน์ และเร่งดำเนินคดีกับผู้ผลิตสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาต้นน้ำ การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในภาคเอกชน และการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ผ่านอุปกรณ์
หรือแอปพลิเคชันสำหรับการสตรีมและดาวน์โหลด
                              2.2 หน่วยงานภาครัฐปฏิบัติตาม ?แนวทางการจัดซื้อจัดจ้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software : ซอฟต์แวร์) และการใช้งานชอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์สำหรับหน่วยงานภาครัฐ? อย่างเคร่งครัด ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2564
                              2.3 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ร่วมกับกรมรัพย์สินทางปัญญาเร่งรัดการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. เพื่อนำไปสู่การออกกฎหมายให้เท่าทันกับสถานการณ์ และรองรับการเข้าเป็นภาคีความตกลงกรุงเฮกว่าด้วยการจดทะเบียนการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระหว่างประเทศ (ความตกลงกรุงเฮกฯ)ต่อไป
                              2.4 กรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) เร่งรัดการพิจารณากำหนดให้ตำแหน่งผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรเป็นตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษให้ได้รับเงินเพิ่ม
                              2.5 กรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับกรมบัญชีกลาง กค. พิจารณาแนวทางการขอหักเงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาที่ต้องส่งเข้าเงินคงคลังไว้เป็นค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรเพื่อช่วยสะสางงานค้างสะสม
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พณ. รายงานว่า
                    1. ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ได้จัดทำรายงานสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศคู่ค้าสำคัญภายใต้กฎหมายการค้าสหรัฐฯ มาตรา 301 พิเศษ (รายงานสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศคู่ค้าฯ) เป็นประจำทุกปีและประกาศผลในช่วงปลายเดือนเมษายน โดยแบ่งสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศคู่ค้า เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) ประเทศที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญามากที่สุด (Priority Foreign Country: PFC) (2) ประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ (Priority Watch List  : PWL)และ                  (3) ประเทศที่ต้องจับตามอง (Watch List: WL) นอกจากนี้ USTR ได้ จัดทำรายงานรายชื่อตลาดที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาสูง (Notorious Markets for Counterfeiting and Piracy: Notorious Markets) ด้วย โดยที่ผ่านมาระหว่างปี 2550-2560 ไทยถูกจัดอยู่ในบัญชี PWL มาโดยตลอด จนเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2560 USTR ได้ปรับสถานะของไทยให้ดีขึ้นจากบัญชี PWL เป็นบัญชี WL (คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการปรับสถานะดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2561)
1.          สถานะของไทยและประเทศคู่ค้าอื่นของสหรัฐฯ ประจำปี 2566
รายงาน/ประกาศ          รายละเอียด
การรายงาน Notorious Markets ประจำปี พ.ศ. 2565     ณ วันที่ 31 มกราคม 2566          USTR ได้เผยแพร่รายงานดังกล่าว โดยระบุให้ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ (MBK Center) เป็นตลาดที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาสูงในไทยเพียงแห่งเดียว
การประกาศสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศคู่ค้าฯ ประจำปี พ.ศ. 2566
ณ วันที่ 26 เมษายน 2566          USTR ได้ประกาศเรื่องดังกล่าว ดังนี้
-ไทยยังคงสถานะคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศคู่ค้าฯ อยู่ในบัญชี WL ร่วมกับประเทศอื่น จำนวน 22 ประเทศ เช่น สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน
- ประเทศที่อยู่ในบัญชี PWL จำนวน 7 ประเทศ เช่น สาธารณรัฐอาร์เจนตินา สาธารณรัฐชิลี สาธารณรัฐประชาชนจีน
                    3. พัฒนาการและความคืบหน้าการดำเนินการของไทย
                        สหรัฐฯ แสดงความพอใจต่อนโยบายและผลการดำเนินการด้านทรัพย์สินทางปัญญาของไทยที่สำคัญ ดังนี้
                              3.1 การแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยเจ้าของลิขสิทธิ์สามารถแจ้งไปยังผู้ให้บริการให้นำงานละเมิดลิขสิทธิ์ออกหรือระงับการเข้าถึงตามกระบวนการแจ้งเตือนและนำออกและการขยายอายุความคุ้มครองภาพถ่าย ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนำไปสู่การเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาว่าด้วยลิขสิทธิ์ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO Copyright Treaty: WCT) (สนธิสัญญา WCT) และเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองมาตรการทางเทคโนโลยี (Technological Protection Measures: TPM)        เพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ในยุคดิจิทัล
                              3.2 การจัดทำระบบฐานข้อมูลเครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์ของกรมศุลกากร (Thai Customs IPR Recordation System: TCIRs) เพื่อให้เจ้าของสิทธิสามารถยื่นคำขอแจ้งข้อมูลเครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์ผ่านช่องทางออนไลน์และเจ้าหน้าที่ศุลกากรสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในการยืนยันสินค้าละเมิดเครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์
                              3.3 การบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
ภายใต้กลไกการทำงานของคณะอนุกรรมการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาโดยมีรองนายกรัฐมนตรี     (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน (ในขณะนั้น) มีการบูรณาการร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ
                              3.4 การจัดทำบันทึกข้อตกลงเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการคุ้มครองและป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อระงับการจำหน่ายสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนอินเทอร์เน็ตและการร่วมมือกับสมาคมด้านการโฆษณาเพื่อไม่ให้การสนับสนุนเว็บไซต์ที่มีการจำหน่ายสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
                    4. ข้อกังวล/ข้อเสนอแนะของสหรัฐฯ สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          ข้อกังวล/ข้อเสนอแนะ
(1) การแก้ไข/ดำเนินการตามกฎหมายต่าง ๆ และการเข้าเป็นภาคีความตกลงระหว่างประเทศ
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2537
และที่แก้ไขเพิ่มเติม          - สนับสนุนให้ไทยเร่งแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติดังกล่าวเพื่อเตรียมการเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาว่าด้วยการแสดงและสิ่งบันทึกเสียงขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WPO Performances and Phonograms Treaty: WPPT)
- เน้นย้ำให้ไทยแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องต่าง ๆ เช่น ปัญหาและอุปสรรคในการจับกุมการลักลอบบันทึกภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์และการแอบอ้างสิทธิในการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์
พระราชบัญญัติสิทธิบัตร
พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม          สหรัฐฯ ยังมีข้อกังวลในประเด็นการปรับปรุงขั้นตอนการจดทะเบียนและการจัดการปัญหางานจดทะเบียนสิทธิบัตรค้างสะสมโดยเฉพาะในสาขายาเพื่อเตรียมการเข้าเป็นภาคีความตกลงกรุงเฮกฯ ซึ่งไทยอยู่ระหว่างการเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าว
พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551          การเปิดช่องให้กำหนดสัดส่วนระหว่างภาพยนตร์ไทยกับภาพยนตร์ต่างประเทศที่จะนำออกฉายในโรงภาพยนตร์ภายใต้พระราขบัญญัติดังกล่าว
(2) ประเด็นอื่น ๆ
เช่น การจำหน่ายสินค้าละเมิดเครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์และการขึ้นทะเบียน          - ให้มีมาตรการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาที่มีประสิทธิภาพและดำเนินคดีกับผู้ผลิตสินค้าละเมิด
- ให้มีระบบป้องกันข้อมูลสำหรับการขึ้นทะเบียนยาและเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพและเป็นความลับจากการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์โดยไม่เป็นธรรม
                    5. ข้อมูลเกี่ยวกับการกำหนดให้ตำแหน่งผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรได้รับเงินเพิ่มและการขอหักเงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาที่ต้องส่งคลังมาใช้เป็นค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ สรุปว่า
                              5.1 กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้พัฒนาระบบและนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรอย่างต่อเนื่องแต่เนื่องด้วยจำนวนคำขอรับสิทธิบัตรมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปีและประสบปัญหาการขาดแคลนและสูญเสียข้าราชการในตำแหน่งนักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรโดยเฉพาะในกลุ่มเภสัชภัณฑ์และกลุ่มไฟฟ้าและดิจิทัล ซึ่งแม้กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะได้รับอัตรากำลังสำหรับตำแหน่งนักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรระหว่างปีงบประมาณพ.ศ. 2559-2561 จำนวน 88 ตำแหน่งแล้ว แต่ไม่สามารถรักษาบุคลากรดังกล่าวไว้ได้เนื่องจากความยุ่งยากของงานและความแตกต่างระหว่างค่าตอบแทนในภาคเอกชนกับหน่วยงานราชการและระหว่างหน่วยงานราชการด้วยกันเอง โดยเฉพาะตำแหน่งวิศวกรหรือเภสัชกรในหน่วยงานราชการอื่นจะได้รับเงินประจำตำแหน่งเป็นรายเดือนเพิ่มเติม อีกทั้งมีความล่าช้าในการสรรหาผู้ปฏิบัติงานทดแทน เนื่องจากวุฒิการศึกษาของผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน จึงมีผู้สมัครน้อยและเมื่อบรรจุแล้วจำเป็นต้องใช้เวลาสั่งสมประสบการณ์ 2-4 ปี จึงจะสามารถปฏิบัติงานทดแทนผู้ปฏิบัติงานเดิมได้ประกอบกับการตรวจสอบคำขอรับสิทธิษัตรมีความละเอียดซับซ้อนและไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จสิ้นกระบวนการได้ในเวลาราชการปกติ ดังนั้น นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรจำเป็นต้องปฏิบัติงานนอกเวลาราชการเพื่อเร่งรัดสะสางงานค้างสะสม
                              5.2 การกำหนดให้ตำแหน่งผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรเป็นตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษให้ได้รับเงินเพิ่มและการขอหักเงินที่ต้องส่งเข้าเงินคงคลังไว้เป็นค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของผู้ตรวจสอบสิทธิบัตร สรุปได้ ดังนี้
ข้อเสนอ          รายละเอียดการดำเนินการ/ความคืบหน้า
การกำหนดให้ตำแหน่งผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรเป็นตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษให้ได้รับเงินเพิ่ม
(ตามข้อเสนอ 1.2.4)
          กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ขอความอนุเคราะห์สำนักงาน ก.พ. ให้พิจารณาตำแหน่งนักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรเป็นตำแหน่งที่ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการประชุมหารือร่วมกันและได้จัดทำข้อมูลประกอบการพิจารณาส่งให้สำนักงาน ก.พ. อย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันสำนักงาน ก.พ. อยู่ระหว่างพิจารณาปรับปรุงระเบียบดังกล่าว ซึ่งหากดำเนินการแล้วเสร็จสำนักงาน กพ. จะพิจารณาและประกาศให้ตำแหน่งนักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรเป็นตำแหน่งที่ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษต่อไป
การขอหักเงินค่าธรรมเนียม
การจดทะเบียนทรัพย์สิน
ทางปัญญาที่ต้องส่งเข้า
เงินคงคลังไว้เป็นค่าตอบแทน
การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ
ของผู้ตรวจสอบสิทธิบัตร
(ตามข้อเสนอ 1.2.5)          กรมทรัพย์สินทางปัญญาอยู่ระหว่างประสานกรมบัญชีกลาง กค. เพื่อขอหักเงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาที่ต้องส่งเข้าบัญชีเงินคงคลังในปีงบประมาณ  พ.ศ. 2567 เพื่อนำมาสนับสนุนค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการและเร่งรัดการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา    ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 4 วรรคสอง (2) ที่บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจกำหนดข้อบังคับอนุญาตให้หัวหน้าส่วนราชการใด ๆ หักรายจ่ายจากเงินที่จะต้องส่งเข้าบัญชีเงินคงคลังได้ในกรณีที่จำเป็นต้องจ่ายตามระเบียบที่ได้รับความตกลงจาก กค. และระเบียบ กค. ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อเสริมเงินงบประมาณ พ.ศ. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ 5 ที่กำหนดให้เงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้นำไปจ่ายเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการส่งเสริมและคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาได้

19. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา ครั้งที่ 12
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา ครั้งที่ 12 (12th Mekong - Ganga Cooperation Foreign Ministers? Meeting: 12th MGC FMM) (การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ) และเห็นชอบมอบหมายส่วนราชการดำเนินการและติดตามความคืบหน้าในส่วนของภารกิจที่เกี่ยวข้องตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ และให้ กต. รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กต. รายงานว่า
                    1. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศฯ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรมแมนดาริน     โอเรียนเต็ล กรุงเทพมหานคร โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐอินเดีย และรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เป็นประธานร่วมในรูปแบบการประชุมผสมผสานซึ่งก่อนการประชุมดังกล่าว ฝ่ายอินเดียได้ขอปรับแก้ชื่อการประชุม จาก การประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา ครั้งที่ 12 เป็น การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา ครั้งที่ 12 และชื่อเอกสารผลลัพธ์การประชุม จากเดิม คือ แถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา ครั้งที่ 12 เป็น แถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา ครั้งที่ 12 เนื่องจากผู้เข้าร่วมการประชุมทั้งหมดเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง -   คงคา ครั้งที่ 12 มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญของการประชุม
โครงการพัฒนาถนนสามฝ่ายเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมระหว่างอินเดีย - เมียนมา - ไทย          1) ความคืบหน้าของโครงการฯ เกี่ยวกับ (1) เส้นทางคาเลวา - ยาร์กี้ (ระยะทาง 112 กิโลเมตร) และเส้นทาง โมเรห์/ทามู - คาเลวา (ระยะทาง 160 กิโลเมตร) และ (2) ความท้าทายของการดำเนินโครงการฯ โดยเฉพาะปัญหาของระบบธนาคาร การปริวรรตเงินตรา1 การเข้าถึงพื้นที่ก่อสร้างฯ และความปลอดภัยของคนงานในเมียนมา รวมทั้งการเจรจาความตกลงยานยนต์ระหว่างอินเดีย - เมียนมา - ไทย และพิธีสารที่เกี่ยวข้องที่ยังคั่งค้าง
2) เร่งรัดการดำเนินโครงการฯ และสนับสนุนการขยายเส้นทางต่อออกไปยังกัมพูชา สปป. ลาว และเวียดนาม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก - ตะวันตก (East - West - Economic Corridor: EWEC) และไทยได้เสนอแนวคิดการสร้างทางรถไฟคู่ขนานกับเส้นทางถนนซึ่งอินเดียเห็นว่าสามารถดำเนินการได้หลังจากการก่อสร้างเส้นทางถนนเสร็จสมบูรณ์แล้ว
การทบทวนความร่วมมือที่ผ่านมา และการหารือเกี่ยวกับทิศทางในอนาคตของกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโข่ง - คงคา          1) บทบาทของอินเดียในฐานะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาของอนุภูมิลุ่มน้ำโขง ภายใต้นโยบายมุ่งตะวันออก (Act East Policy) ของอินเดีย ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือกับทุกประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยเน้นการเสริมสร้างความเชื่อมโยงทางกายภาพและดิจิทัล รวมถึงการเสริมสร้างศักยภาพ
2) ขยายระยะเวลาการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการของกรอบความร่วมมือกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา ครั้งที่ 12 จากเดิม (ค.ศ. 2019 - 2022) ออกไปจนถึง ค.ศ. 2024 เนื่องจากได้รับผลกระทลบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 และไทยเสนอให้เร่งรัดการเตรียมการยกร่างแผนปฏิบัติการฯ ฉบับใหม่ โดยสะท้อนประเด็นที่ความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์และความต้องการด้านการพัฒนาในอนุภูมิภาคฯ ที่สอดคล้องกับบริบทปัจจุบัน
3) การส่งเสริมความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ เช่น การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร การเสริมสร้างทักษะทางดิจิทัล วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดเล็กและขนาดย่อม (Micro, Small and Medium Enterprise: MSMEs) และการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม
4) ไทยเสนอแนวทาง ?READY? เพื่อขับเคลื่อนกอบความร่วมมือฯ            ในอนาคต ได้แก่ (1) ความยืดหยุ่น (Resilience) (2) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) (3) การปรับตัว (Adaptation) และการสร้างความหลากหลายของเศรษฐกิจ (Diversification) และ (4) การกำหนดให้ปี 2568 ซึ่งเป็นการครบรอบ 25 ปี ของการจัดตั้งกรอบความร่วมมือฯ เป็นปีแห่งการแลกเปลี่ยนลุ่มน้ำโขง - คงคา (MGC Year of Exchange) โดยเสนอการจัดทำภาพยนตร์และสารคดีร่วมกันซึ่งที่ประชุมสนับสนุนและมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสประเทศสมาชิกหารือในรายละเอียดต่อไป
5) ที่ประชุมได้รับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม จำนวน 1 ฉบับ คือ แถลงการณ์ร่วมฯ พร้อมด้วยเอกสารภาคผนวก 2 ฉบับ ได้แก่ (1) เอกสารแนวคิดเรื่องการฟื้นฟูกลไกประเทศผู้ขับเคลื่อนหลักและการกำหนดในแต่ละสาขาความร่วมมือของกรอบความร่วมมือฯ โดยไทยเป็นประเทศผู้นำด้านการท่องเที่ยว และประเทศผู้นำการขับเคลื่อนร่วมกับเมียนมา                  ด้านสาธารณสุขและการแพทย์แผนดั้งเดิม และ (2) เอกสารแนวคิดเรื่อง การจัดตั้งสภาธุรกิจกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา (ไทยได้เสนอเอกสารแนวคิดทั้ง 2 ฉบับ ต่อที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศฯ ครั้งที่ 11    เมื่อปี 2564) ทั้งนี้ สาระสำคัญของเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าวไม่แตกต่างจากร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2566 โดยมีการปรับแก้ไข ได้แก่ (1) การเปลี่ยนชื่อเอกสารผลลัพธ์ เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อการประชุมและผู้แทนเข้าร่วมการประชุมฯ และ (2) จำนวนสมาชิกสภาธุรกิจกรอบความร่วมมือฯ ซึ่งปรับลดลงจากประเทศละ 10 คน เป็นประเทศละ 5 คน
6) เป็นสักขีพยานการส่งมอบตำแหน่งประธานร่วมของกรอบความร่วมมือฯ ของฝ่ายประเทศลุ่มน้ำโขง จาก สปป. ลาว ให้แก่เมียนมาอย่างเป็นทางการ
ประโยชน์และผลกระทบ          การดำเนินการตามผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศฯ จะช่วยส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมระหว่างอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงกับอินเดีย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการพัฒนาการค้าและการลงทุนระหว่างกันอย่างยั่งยืน เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และกระชับสายสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของอนุภูมิภาคฯ กับอินเดียให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
                    2. กต. พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศฯ มีประเด็นของการดำเนินการที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับส่วนราชการต่าง ๆ ดังนี้
การดำเนินการที่สำคัญ          หน่วยงาน
ที่รับผิดชอบหลัก
กลไกความร่วมมือภายใต้กรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา
(1) การจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ฉบับใหม่ ทดแทนฉบับปัจจุบันที่จะสิ้นสุดในปี 2567 โดยไทยเสนอให้แผนปฏิบัติการฯ ฉบับใหม่สะท้อนประเด็นที่ประเทศสมาชิกให้ความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ร่วมกัน และความต้องการด้านการพัฒนาในอนุภูมิภาคฯ ที่สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ รวมทั้งแนวโน้มการพัฒนาของโลกในปัจจุบัน          กต.
(2) การผลักดันกิจกรรมและความร่วมมือในสาขาที่ไทยเป็นประเทศผู้ขับเคลื่อนหลัก (Lead Country) โดยไทยเป็นผู้ขับเคลื่อนหลักในสาขาการท่องเที่ยว และผู้ขับเคลื่อนหลักร่วมกับเมียนมา ในสาขาสาธารณสุขและการแพทย์แผนดั้งเดิม          กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.)
กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
(3) การส่งเสริมการสอดประสานระหว่างกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา กับกลไกความร่วมมือระดับอนุภูมิภาคและภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง          กต.
ความเชื่อมโยง
(1) การเร่งรัดการก่อสร้างโครงการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมระหว่างอินเดีย - เมียนมา - ไทย (โครงการถนนสามฝ่าย) ให้แล้วเสร็จและพิจารณาขยายโครงการฯ ไปยังกัมพูชา สปป. ลาว และเวียดนาม รวมทั้งการเร่งสรุปการเจรจาความตกลงยานยนต์ระหว่างอินเดีย - เมียนมา - ไทย และพิธีสารที่เกี่ยวข้อง          กระทรวงคมนาคม (คค.)
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.)
(2) การส่งเสริมการขนส่งทางทะเล
(3) การส่งเสริมการสอดประสานระหว่างความร่วมมือด้านความเชื่อมโยงภายใต้กรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา กับกรอบความร่วมมืออื่น ๆ
สาธารณสุข
การส่งเสริมความร่วมมือด้านสาธารณสุข ในฐานะที่ไทยเป็นประเทศผู้ขับเคลื่อนหลักในด้านนี้ โดยเฉพาะการวิจัยและการพัฒนาด้านการแพทย์การผลิตยาและวัคซีน การแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีในการรับมือและป้องกันโรคโควิด - 19 รวมถึงโรคระบาดอื่น ๆ ในอนาคต การเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่บุคลากรด้านสาธารณสุข และข้อเสนอของไทยในการส่งเสริมความร่วมมือด้านยาสมุนไพรการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตยา และอุตสาหกรรมสมุนไพร รวมทั้งความร่วมมือด้านการป้องกันโรค          สธ.
กระทรวงการอุดมการณ์ศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
การพัฒนาที่ยั่งยืน
(1) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอินเดียกับประเทศลุ่มน้ำโขงด้านการบริหารจัดการน้ำที่ยั่งยืนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ องค์ความรู้ ข้อมูล และแนวปฏิบัติที่ดีในการบริการจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ รวมทั้งการสนับสนุนการเสริมสร้างขีดความสามารถและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านดังกล่าว และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอินเดียกับคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง          สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)
(2) การส่งเสริมการเกษตรอัจฉริยะ ความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับใช้ในการเกษตร รวมทั้งการส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานทดแทน โดยเฉพาะพลังงานไฮโดรเจนสีเขียวและพลังงานแสงอาทิตย์          อว. กษ.
กระทรวงพลังงาน (พน.)
การค้าและการลงทุน
การส่งเสริมการค้าและการลงทุน โดยสนับสนุนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและขนาดย่อยในอาเซียน (MSMEs) ผ่านการประชุมภาคธุรกิจและการจัดตั้งสภาธุรกิจกรอบความร่วมมือฯ เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุน และการขยายเครือข่ายธุรกิจระหว่างประเทศสมาชิก รวมถึงการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน - อินเดีย มากยิ่งขึ้น          สศช.
กระทรวงพาณิชย์ (พณ.)
กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.)
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล
การส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล การสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และความร่วมมือที่เกี่ยวกับดิจิทัลด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะด้านความมั่นคงไซเบอร์ เศรษฐกิจดิจิทัล ความร่วมมือด้าน ICT/Fintech2 ระบบ e - Commerce3 และ e - Government          อว. ดศ. พณ.
กระทรวงการคลัง
ธนาคารแห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
การศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
การส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาค โดยเฉพาะทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผ่านโครงการความร่วมมือ โครงการฝึกอบรมและทุนการศึกษาต่าง ๆ รวมทั้งการพัฒนาความร่วมมือภายใต้กรอบอาเซียน - อินเดีย เช่น การนำเทคโนโลยีทางอวกาศมาใช้ในการจัดการปัญหาและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ          กต. อว. ดศ.
กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
การท่องเที่ยวและความร่วมมือด้านวัฒนธรรม
(1) การส่งเสริมการท่องเที่ยวและความร่วมมือด้านวัฒนธรรม และการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชน เช่น การท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาและประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยวอัจฉริยะ การท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ การบูรณปฏิสังขรณ์มรดกโลกและสถานที่เชิงประวัติศาสตร์ รวมทั้งการส่งเสริมกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่พิพิธภัณฑ์สิ่งทอพื้นเมืองเอเชียที่จังหวัดเสียมราฐ กัมพูชา ตลอดจนการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียกับอนุภูมิภาคฯ โดยไทยได้รับมอบหมายให้เป็นประเทศผู้ขับเคลื่อนหลักด้านการท่องเที่ยวด้วย          กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)
กก. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
(2) การผลักดันให้ปี 2568 เป็นปีแห่งการแลกเปลี่ยนลุ่มน้ำโขง - คงคา ในโอกาสครบรอบ 25 ปี ของการจัดตั้งกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและระหว่างประชาชน รวมทั้งการสร้างความตระหนักรู้ของกรอบความร่วมมือฯ แก่สาธารณชน โดยอาจพิจารณาจัดกิจกรรมและการจัดทำภาพยนตร์และสารคดีร่วมกัน          กต. วธ. กก. ททท.
1 ปริวรรตเงินตรา เป็นการแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลหนึ่งไปเป็นอีกสกุลหนึ่ง โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนด
2 Fintech คือ อนาคตของเทคโนโลยีการเงินและการธนาคารแห่งยุคดิจิทัล
3 e - Commerce คือ การดำเนินการซื้อขายสินค้าและบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ต หรือแบบออนไลน์

20. เรื่อง รายงานการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 16 การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 20 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 16 การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 20 และการประชุมที่เกี่ยวข้องตามที่สำนักนายกรัฐมนตรี (นร.) โดยกรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กปส. รายงานว่า นายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยในการประชุมระดับรัฐมนตรีและระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และรองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ (นางสุดฤทัย เลิศเกษม) เป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่อาวุโสสารนิเทศอาเซียน เพื่อเข้าร่วมการประชุมสารนิเทศอาเซียน (ASEAN Ministers Responsible for Information: AMRI)      ครั้งที่ 16 การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสารนิเทศอาเซียน (ASEAN Senior Officials Responsible for Information: SOMRI) ครั้งที่ 20 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-23 กันยายน 2566 ณ นครดานัง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยมีผลการประชุม สรุปได้ ดังนี้
                    1. การประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 16 ประกอบด้วย การประชุมย่อย จำนวน 5 การประชุม ได้แก่ (1) การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสารนิเทศอาเซียน (2) การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสารนิเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา+3 (3) การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสารนิเทศอาเซียน - ญี่ปุ่น (4) การประชุมรับมนตรีสารนิเทศอาเซียน และ (5) การประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา+3 สรุปได้ ดังนี้
                              1.1 ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับหัวข้อ ?สื่อ: จากข้อมูลสู่ความรู้เพื่ออาเซียนที่ยืดหยุ่นและพร้อมตอบสนอง? โดยได้เน้นย้ำการยกระดับการดำเนินงานของสื่อในการปรับตัวใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างสังคมแห่งความรู้ ซึ่งประเทศไทยได้เสนอแนวคิด 3I (สามไอ) เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาประชาคมอาเซียน ได้แก่ (1) Informative การให้ข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์ (2) Intelligent การพัฒนาคนให้มีความฉลาดเท่าทันในการใช้สื่อ และ (3) Inclusive การส่งเสริมให้ข้อมูลข่าวสารเข้าถึงในทุกกลุ่ม เพื่อให้ประชาชนรู้เท่าทันสื่อให้มากยิ่งขึ้น
                              1.2 ที่ประชุมให้การรับรองเอกสารผลลัพธ์อย่างเป็นทางการจำนวน 5 ฉบับ* ดังนี้
                                        (1) แถลงการณ์วิสัยทัศน์ของรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนอาเซียน 2578: มุ่งสู่สารนิเทศอาเซียนที่พร้อมเปลี่ยนแปลง พร้อมตอบสนอง และยืดหยุ่น (Vision Statement by AMR-ASEAN 2035: Toward a Transformative, Responsive and Resilient Information and Media Sector) โดยเน้นย้ำบทบาทของสื่อจากการทำงานเชิงรับเป็นเชิงรุกไม่ใช่แค่ให้ข้อมูลข่าวสารแต่ให้ความรู้ ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เท่าทันสื่อ มีความสามารถแสวงหาความรู้ และปลูกฝังค่านิยมในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
                                        (2) ปฏิญญาดานังว่าด้วย ?สื่อ: จากข้อมูลสู่ความรู้เพื่ออาเซียนที่ยืดหยุ่นและพร้อมตอบสนอง? (Danang Declaration on ?Media: From Information to Knowledge for a Resilient and Responsive ASEAN?) โดยแสดงจุดยืนและความมุ่งมั่นของรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนในการสร้างสภาพแวดล้อมสำหรับสื่อในยุคดิจิทัล ผ่านการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์แยกแยะข้อมูลข่าวสารในยุคดิจิทัลได้
                                        (3) แนวทางการจัดการข้อมูลภาครัฐเพื่อต่อต้านข่าวปลอมและข้อมูลบิดเบือนในสื่อ(Guideline on Management of Government Information in Combating Fake News and Disinformation in the Media) โดยมีคู่มือแนวทางในการรับมือข่าวลวงซึ่งมีตัวอย่างการจัดการและต่อต้านข่าวลวงของรัฐบาลแต่ละประเทศ และนำเสนอแนวทางการพัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                                        (4) แผนปฏิบัติการคณะทำงานเฉพาะกิจอาเซียนด้านการรับมือข่าวลวง (Plan of Action of ASEAN Task Force on Fake News) โดยมีแผนงานโครงการและกิจกรรมเพื่อการรับมือข่าวลวง จัดทำขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ นโยบายและแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ รวมถึงแนวทางแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
                                        (5) แถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนครั้งที่ 16 และการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา+3 ครั้งที่ 7 (Joint Media Statement: 16th Conference of the ASEAN Ministers Responsible for Information & 7th Conference of the ASEAN Plus Three Ministers Responsible for Information) โดยได้เน้นย้ำถึงการใช้สื่อและสารนิเทศ ในการสนับสนุนประชาคมอาเซียนให้เป็นสังคมที่พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง ตอบสนอง และยืดหยุ่นโดยสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องไปยังประชาชน ตลอดจนการส่งเสริมความรู้สึกเป็นพลเมืองอาเซียน
                              1.2 การประชุมทวิภาคีระหว่างไทย-สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด) ได้ร่วมหารือกับนายเหวียน แม็ง ห่ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสารสนเทศ และการสื่อสารเวียดนาม ในประเด็นความร่วมมือด้านการต่อต้านข่าวปลอม และชื่นชมเวียดนามที่ริเริ่มจัดตั้งคณะทำงานรับมือกับข่าวลวงซึ่งเป็นโมเดลทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องในภูมิภาค โดยเสนอให้แลกเปลี่ยนการข่าวอาเซียนให้มากยิ่งขึ้นเพื่อให้ได้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือทั้งในห้วงปกติและภาวะวิกฤต
                              1.3 การประชุมทวิภาคีระหว่างไทย-ราชอาณาจักรกัมพูชา รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด) ได้ร่วมหารือกับนายเนตร พักตรา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสารกัมพูชา ในประเด็นความร่วมมือในการแก้ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่ประชาชนตกเป็นเหยื่อถูกหลอกลวง ทั้งนี้ ประเทศไทยได้เสนอให้ใช้กลไกความร่วมมือด้านสื่อที่ประเทศไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชาได้มีความร่วมมือกันผ่านรายการวิทยุระหว่างสองประเทศ (Twin Radio) เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนทั้งสองประเทศมีความรู้เท่าทันสื่อและมีแนวทางในการรับมือจากภัยการหลอกลวงทางออนไลน์
* คณะรัฐมนตรีมีมติ (18 กันยายน 2566) เห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์เพื่อรับรองในที่ประชุรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 16 จำนวน 5 ฉบับ และให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด) รับรองเอกสารผลลัพธ์ทั้ง 5 ฉบับ

21. เรื่อง ร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 30
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการต่อร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 30 (Joint Ministerial Statement of the 30th APEC Finance Ministers? Meeting) (ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ กค. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค (APEC Finance Ministers? Meeting : APEC FMM) เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปคเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านนโยบายของแต่ละเขตเศรษฐกิจภายใต้กรอบการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค (APEC Finance Ministers? Process : APEC FMP)
                    2. การประชุม APEC FMM ครั้งที่ 30 จะจัดขึ้นในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 ณ นครซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มีสาระสำคัญหัวข้อหลักของการประชุมคือการสร้างที่พร้อมเปลี่ยนแปลงและยั่งยืนสำหรับทุกคน (Creating a Resilient and Sustainable Future for All) โดยมีประเด็นสำคัญที่ต้องการผลักดัน ได้แก่ 1) เศรษฐศาสตร์อุปทานสมัยใหม่ (Modern Supply Side Economics) 2) การพัฒนานวัตกรรมและสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีความรับผิดชอบ (Responsible Innovation and Development of Digital Assets) และ 3) การเงินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Finance)
                    3. ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปคในการส่งเสริมความร่วมมือด้านการเงินการคลังระหว่างกันเพื่อขับเคลื่อนการเจริญเติบโตของภูมิภาคเอเปคอย่างครอบคลุมและยั่งยืน โดยมีประเด็นสำคัญ ได้แก่ วิสัยทัศน์สำหรับการมีส่วนร่วม การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของการเติบโตของเศรษฐกิจโลก เศรษฐศาสตร์อุปทาสมัยใหม่ การเงินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และสินทรัพย์ดิจิทัล
                     ทั้งนี้ ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองในระดับรัฐมนตรีของเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปค โดยมิได้มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งไม่มีการลงนามในร่างแถลงการณ์ร่วมดังกล่าว ดังนั้น ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

22.  เรื่อง เอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีเอเปค และการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคประจำปี ค.ศ. 2023
                    คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารจำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีเอเปค ประจำปี     ค.ศ. 2023 (ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ) และ (2) ร่างปฏิญญาผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ประจำปี ค.ศ. 2023 (ร่างปฏิญญาฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ กต. และกระทรวงพาณิชย์ (พณ.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก
                    2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร่วมรับรองถ้อยแถลงร่วมฯ
                    3. ให้นายกรัฐมนตรี หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีร่วมรับรองปฏิญญาฯ ประจำปี ค.ศ. 2023
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กต. รายงานว่าสหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค ปี 2566 และการประชุมอื่น ๆ         ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 11 - 17 พฤศจิกายน 2566 เช่น การประชุมรัฐมนตรีเอเปค ระหว่างวันที่ 14 - 15 พฤศจิกายน 2566 และการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคประจำปี ค.ศ. 2023 ระหว่างวันที่ 15 -17 พฤศจิกายน 2566 ณ นครซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ภายใต้หัวข้อหลัก ?สร้างอนาคตที่ยั่งยืนและยืดหยุ่นสำหรับทุกคน? ซึ่งในระหว่างการประชุมฯ จะมีการรับรองร่างเอกสาร จำนวน 2 ฉบับ (ตามข้อ 1) เพื่อใช้เป็นเอกสารผลลัพธ์ในการประชุมดังกล่าว โดยร่างเอกสารทั้ง 2 ฉบับ มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
                    1. ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ระดับรัฐมนตรีมีสาระสำคัญเพื่อทบทวนการทำงานของเอเปคในปีที่ผ่านมาและให้แนวทางสำหรับการดำเนินการต่อไป โดยมีหัวข้อ
                              1) การสร้างเชื่อมโยง (1) การส่งเสริมด้านการค้าและการลงทุนที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในภูมิภาคเอเปค เช่น MSME สตรี และกลุ่มอื่น ๆ ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจแต่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ (เช่น กลุ่มชนพื้นเมือง ดั้งเดิม ผู้พิการ และกลุ่มคนจากชุมชนชนบทและชุมชนห่างไกล) โดยใช้ความร่วมมือทางเทคนิคและการเสริมสร้างขีดความสามารถในอนาคต (เช่น การฝึกอบรม) รวมทั้งการสนับสนุนจากระบบการค้าพหภาคีที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎระเบียบ โดยมีองค์การการค้าโลกเป็นแกนกลางเพื่อให้สมาชิกเอเปคสามารถจัดการกับความท้าทายทางการค้าโลกในปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การหารือเพื่อให้มีกลไกระงับข้อพิพาทที่ทำงานได้ดี เต็มที่ และเข้าถึงได้ โดยสมาชิกทั้งหมดขององค์การการค้าโลก ภายในปี ค.ศ. 2024 (2) ความร่วมมือในการอำนวยความสะดวกของการไหลเวียนของข้อมูลและเสริมสร้างความเชื่อมั่นของธุรกิจและผู้บริโภคในการทำธุรกรรมดิจิทัล ผ่านความร่วมมือด้านกฎระเบียบสำหรับอินเทอร์เน็ตและเศรษฐกิจดิจิทัล ตลอดจนการคุ้มครองผู้บริโภคในระบบดิจิทัล และการส่งเสริมสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาผ่านนโยบายและโครงการที่ผลักดันนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์     (3) การเสริมสร้างระบบสาธารณสุข เพื่อป้องกัน เตรียมความพร้อม และตอบสนองต่อโรคระบาด
                              2) การส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (1) การบริหารจัดการเหตุฉุกเฉินเพื่อเตรียมความพร้อมของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ต่อภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (2) การทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุระบบการเกษตรและอาหารที่ยั่งยืน เป็นธรรม และยืดหยุ่น (3) ส่งเสริมการใช้เศรษฐกิจดิจิทัลเพื่ออำนวยความสะดวกให้เกิดการเติบโตที่ยั่งยืน ครอบคลุม และมีนวัตกรรม (4) การเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจสีเขียวผ่านข้อริเริ่มของเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปค และคำมั่น เรื่อง การปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ รวมถึงการปรับการดำเนินงานของภาครัฐให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (4) ภัยคุกคามร้ายแรงจากการทุจริต
                              3) เสริมสร้างที่ครอบคลุม (1) ส่งเสริม MSME เข้าสู่ตลาดโลก โดยการเพิ่มการเข้าถึงเงินทุน การพัฒนาโอกาส และเพิ่มการมีส่วนร่วมในตลาดภูมิภาคและตลาดโลก รวมถึงการบูรณาการในห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่มูลค่าโลก (2) การบูรณาการประเด็นเพศสภาพ ผ่านการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ เท่าเทียม และมีความหมายของสตรีในทุกเศรษฐกิจ เช่น ให้ความสำคัญของการลงทุนอย่างเพียงพอในโครงสร้างพื้นฐานด้านการดูแล (เช่น การเข้าถึงบริการสุขภาพ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการจ้างงานที่เป็นธรรม ฯลฯ) (3) การปรับปรุงคุณภาพของการศึกษาและอาชีวศึกษา ผลักดันการจ้างงานและการมีงานที่ดี โดยการสร้างทักษะใหม่และพัฒนาทักษะเดิมให้ดีขึ้น รวมทั้งส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต การฝึกอบรมเพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะ มีประสิทธิผล และคล่องตัว ซึ่งจะเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการที่ครอบคลุม (4) การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานที่เป็นธรรม โดยส่งเสริมให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานในภูมิภาคเอเปค และสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามความมุ่งมั่นระดับโลกเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์และ/หรือความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในหรือประมาณกลางศตวรรษ และผลักดันเป้าหมายใหม่ ๆ สำหรับเอเปคเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังงานรูปแบบใหม่
                    2) ร่างปฏิญญาฯ เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ระดับผู้นำที่เน้นย้ำความมุ่งมั่นในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ การสร้างสภาพแวดล้อมทางการค้าและการลงทุนที่เสรี การเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด การสนับสนุนแรงงาน และการเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม
                    ทั้งนี้ประโยชน์และผลกระทบ การดำเนินการตามร่างถ้อยแถลงร่วมฯ และร่างปฏิญญาฯ จะช่วยส่งเสริมความร่วมมือเพื่อการเติบโตที่เข้มแข็ง ยืดหยุ่น ยั่งยืนและครอบคลุมของเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปคและของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในภาพรวมซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการต่างประเทศของไทย รวมทั้งเป็นการสานต่อผลลัพธ์ของการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยเมื่อปี 2565 และสะท้อนบทบาทที่สร้างสรรค์ของไทยในการร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศเพื่อจัดการกับความท้าทายและส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมกัน โดย กต. แจ้งว่า ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ และร่างปฏิญญาฯ ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ประกอบกับไม่มีการลงนามในร่างเอกสารทั้ง 2 ฉบับ ดังนั้น ร่างเอกสารทั้ง 2 ฉบับ จึงไม่เป็นสินธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

23. เรื่อง สรุปผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 43 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบผลการประชุมสุยอดอาเซียน ครั้งที่ 43 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง (การประชุมสุดยอดอาเซียนฯ)
                    2. มอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบหลักนำผลการประชุมสุดยอดอาเซียนฯ ไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าต่อไป โดยให้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กต. รายงานว่า
                    1. การประชุมสุดยอดอาเซียนฯ ซึ่งมีปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (นายศรัณย์ เจริญสุวรรณ) ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้เป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว โดยมีสาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอาเซียนฯ เมื่อวันที่ 5 - 7 กันยายน 2566 ในหัวข้อหลัก ?อาเซียนเป็นศูนย์กลาง: สรรค์สร้างความเจริญ? โดยอินโดนีเซียได้เปิดตัวศูนย์ประสานงานอาเซียนเพื่อการควบคุมมลพิษจากหมอกควันข้ามพรมแดนอย่างไม่เป็นทางการในช่วงพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียนฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมของการเป็นประธานอาเซียนของอินโดนีเซียในปีนี้ ทั้งนี้ การประชุมสุดยอดอาเซียนฯ มีหลายประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ/ผลการประชุมสุดยอดอาเซียนฯ
ภาพรวม          (1) การประชุมสุดยอดฯ ครั้งนี้ประกอบด้วยการประชุมระดับผู้นำจำนวน 12 รายการ ได้แก่ การประชุมสุดยอดอาเซียนฯ (แบบเต็มคณะ และแบบไม่เป็นทางการ) กับคู่เจรจา (จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา แคนาดา) และสหประชาชาติ การประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสามและการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก โดยมีประธานาธิบดีอินโดนีเซียเป็นประธานการประชุมทั้งหมด
(2) ผู้นำอาเซียนและผู้นำคู่เจรจาได้เดินทางมาเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ยกเว้นเมียนมา ซึ่งได้รับเชิญในระดับที่ไม่ใช่การเมืองจึงไม่ส่งผู้แทนเข้าร่วม
(3) ที่ประชุมได้รับรองเอกสารผลลัพธ์รวม 23 ฉบับ
(4) อินโดนีเซียได้จัดกิจกรรมคู่ขนานเพื่อผลักดันความร่วมมือภายใต้มุมมองอาเซียนต่ออินโด - แปซิฟิก (ASEAN Outlook on the Indo-Pacific: AOIP)1 อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ยังมีพิธีลงนามร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างอาเซียนกับสมาคมแห่งภูมิภาคมหาสมุทรและกับองค์กรการประชุมหมู่เกาะแปซิฟิก รวมทั้งพิธีลงนามการภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเซอร์เบีย คูเวต และปานามา
สถานการณ์ในเมียนมา          ผู้นำอาเซียนทบทวนและมีข้อตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินการตามฉันทามติ 5 ข้อ2 เป็นหลักอ้างอิงในการแก้ไขวิกฤตการณ์ในเมียนมา สรุปสาระสำคัญ เช่น
(1) คงข้อตัดสินใจเกี่ยวกับการเชิญผู้แทนเมียนมาที่ไม่ใช่ระดับการเมืองเข้าร่วมการประชุมฯ
(2) เลื่อนให้ฟิลิปปินส์ขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนในปี 2569 แทนเมียนมา โดยหลังจากนั้น ให้ประเทศอื่น ๆ ดำรงตำแหน่งต่อจากฟิลิปปินส์ตามลำดับตัวอักษร จนกว่าจะมีข้อตัดสินใจเป็นอื่น ซึ่งจะส่งผลให้วาระการดำรงตำแหน่งของไทยเร็วขึ้น 1 ปี เป็นปี 2571
(3) ส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านของเมียนมาในการแก้ไขอาชญากรรมข้ามชาติที่เพิ่มขึ้น เช่น ยาเสพติดและการค้ามนุษย์
การเสริมสร้างประชาคมอาเซียน          รับทราบร่างวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ค.ศ. 2045 โดยร่างเอกสารดังกล่าวจะเป็นพื้นฐานในการจัดทำแผนงานทั้งหมดในปี 2568 รวมถึงให้ความสำคัญในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของอาเซียน ผ่านการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกระบวนการตัดสินใจขององค์กรต่าง ๆ พร้อมทั้งสนับสนุนด้านงบประมาณและทรัพยากรให้กับอาเซียนด้วย
ความร่วมมืออินโด - แปซิฟิก (AOIP)          (1) อาเซียนไม่ประสงค์ที่จะให้ภูมิภาคเป็นพื้นที่แห่งความขัดแย้งและการเผชิญหน้า โดยเชิญชวนให้ทุกประเทศร่วมมือภายใต้ AOIP
(2) สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และแคนาดาย้ำว่า อาเซียนคือหัวใจของยุทธศาสตร์อินโด - แปซิฟิก ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ได้มีการรองรับเอกสารเกี่ยวกับความร่วมมือภายใต้ AOIP กับจีน สหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ด้วย
ความร่วมมือ
ทางเศรษฐกิจ          (1) ความตกลงการค้าเสรี (FTA) การยกระดับ FTA ของอาเซียนให้ทันสมัย รวมทั้งการใช้ประโยชน์และยกระดับ FTA กับคู่เจรจา อาทิ ความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน - อินเดีย และความตกลงการค้าเสรีอาเซียน - ออสเตรเลีย - นิวซีแลนด์
(2) ความร่วมมือด้านดิจิทัล จะเริ่มในปี 2567 โดยไทยจะเป็นประธานการเจรจาและอาเซียนจึงได้ผลักดันความร่วมมือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและไอที พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการบ่มเพาะธุรกิจสตาร์ทอัพด้านดิจิทัล
(3) การสร้างเสถียรภาพทางการเงินการคลัง เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคีและการส่งเสริมความร่วมมือทางการเงิน เช่น โครงการริเริ่มตลาดตราสารหนี้เอเชีย การใช้เงินสกุลหลักในภูมิภาคในการทำธุรกรรม การชำระเงินข้ามแดน และการเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
การเติบโตที่ยั่งยืน          เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม เช่น
(1) การพัฒนาระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า อาเซียนและคู่เจรจาแสดงความพร้อมที่จะมีความร่วมมือกับสหรัฐอเมริกา ผ่านข้อริเริ่ม โครงการริเริ่มยานยนต์ไฟฟ้าสหรัฐอเมริกา - อาเซียน และในกรอบอาเซียนบวกสาม ซึ่งผู้นำได้รับรองแถลงการณ์ร่วมกันในประเด็นนี้
(2) ความมั่นคงทางอาหาร เป็นประเด็นที่อินโดนีเซียผลักดันอย่างมาก เนื่องจากทุกประเทศได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในยูเครน ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ย้ำถึงการขยายบทบาทขององค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสามให้ครอบคลุมธัญพืชชนิดอื่นนอกเหนือจากข้าวด้วย
(3) การรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อรับมือและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว3 การพัฒนาอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ และการส่งเสริมพลังงานทดแทน ทั้งนี้ อินเดียแสดงความพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการส่งเสริมวิถีชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ความมั่นคงของมนุษย์          (1) การพัฒนาทุนมนุษย์ คู่เจรจาพร้อมที่จะส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษาและการพัฒนาศักยภาพของการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและขนาดย่อยในอาเซียน (MSMEs) รวมทั้งผู้ประกอบการสตรี เช่น โครงการทุนการศึกษาอาเซียน - แคนาดา และการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาและโครงการเครือข่ายการแลกเปลี่ยนสำหรับนักเรียนและเยาวชนแห่งเอเชียตะวันออกญี่ปุ่น
(2) ความร่วมมือด้านสาธารณสุข ญี่ปุ่นและออสเตรเลียสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์อาเซียนด้านการรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่ ซึ่งไทยเป็นที่ตั้งของสำนักเลขาธิการและสำนักงานของศูนย์ฯ ในขณะที่อินเดียเชิญชวนให้อาเซียนใช้ประโยชน์จากศูนย์การแพทย์แผนโบราณระดับโลกที่องค์การอนามัยโลกกำลังจัดตั้งที่อินเดีย
สถานการณ์ระหว่างประเทศ          (1) ทะเลจีนใต้ หลายประเทศแสดงความห่วงกังวลต่อการดำเนินมาตรการของจีน      ทั้งในกรณีการออกแผนที่มาตรฐานใหม่ของจีนและย้ำถึงการแก้ไขข้อพิพาทโดยสันติวิธีและสนับสนุนการเร่งรัดการเจรจาจัดทำประมวลการปฏิบัติในทะเลจีนใต้ที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล
(2) คาบสมุทรเกาหลี ประเทศตะวันตกประณามการทดสอบขีปนาวุธของเกาหลีเหนือและเรียกร้องให้เกาหลีเหนือกลับสู่กระบวนการเจรจา เพื่อทำให้คาบสมุทรเกาหลีปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ ในขณะที่ญี่ปุ่นเน้นย้ำความสำคัญของการแก้ไขปัญหาการลักพาตัว
(3) สถานการณ์ในยูเครน สหรัฐอเมริกาและประเทศตะวันตกประณามการรุกรานยูเครนของรัสเซียซึ่งส่งผลให้เกิดวิกฤตอาหารและพลังงานโลก และเรียกร้องให้รัสเซียถอนทหารจากยูเครน รวมทั้งแสดงความห่วงกังวลต่อการข่มขู่ที่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์ โดยรัสเซียตอบโต้ว่า การแทรกแซงทางทหารของสหรัฐอเมริกาจะนำไปสู่การขยายตัวของกลุ่มก่อการร้าย เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในภูมิภาคแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง
เรื่องอื่น ๆ           (1) ไทยได้ขอรับการสนับสนุนจากประเทศสมาชิกอาเซียนต่อการสมัครสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ วาระปี ค.ศ. 2025 - 2027 ในฐานะผู้สมัครอาเซียน
(2) ลาวจะทำหน้าที่เป็นประธานอาเซียนปี 2567 ภายใต้หัวข้อหลัก (Theme) ?ASEAN: Echancing Connectivity and Resilience? โดยจะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567
ประโยชน์
และผลกระทบ          (1) ไทยได้ย้ำถึงประเด็นสำคัญที่อาเซียนควรเร่งขับเคลื่อนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในภูมิภาค อาทิ การส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพที่เอื้อต่อการค้าการลงทุน การเร่งปรับปรุง FTA ต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล การดูแลและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนและวาระความยั่งยืนและการเติบโตสีเขียว
(2) ไทยจะได้รับประโยชน์จากความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับคู่เจรจาในสาขาต่าง ๆ เช่น การค้าและการลงทุน การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การศึกษา เป็นต้น โดยการประชุมครั้งนี้คู่เจรจาของอาเซียนได้ประกาศให้การสนับสนุนทั้งด้านงบประมาณและทุนการศึกษาแก่ประเทศสมาชิกอาเซียน           ซึ่งประชาชนชาวไทยจะได้รับประโยชน์โดยตรง
                    2. กต. พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลการประชุมสุดยอดอาเซียนฯ มีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับส่วนราชการต่าง ๆ เช่น
ประเด็น          การดำเนินการที่สำคัญ          หน่วยงาน
ที่รับผิดชอบหลัก
การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 43 (แบบเต็มคณะและแบบไม่เป็นทางการ)
ภาพรวม          ประชุมรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม 11 ฉบับ เช่น
(1) ปฏิญญาจาการ์ตา ?อาเซียนเป็นศูนย์กลาง: สรรค์สร้างความเจริญ?
(2) แถลงการณ์ผู้นำว่าด้วยการจัดทำกรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน
(3) กรอบความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภาคทะเล
(4) ปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการในการตอบสนองต่อภาวะวิกฤต
(5) ปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการเป็นภูมิภาคที่มีภูมิคุ้มกันอย่างยั่งยืน          กต. พณ.
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กษ. กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ทส. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
เศรษฐกิจ          เร่งรัดให้อาเซียนยกระดับความตกลงการค้าเสรี (FTA) ของอาเซียนให้ทันสมัย โดยเฉพาะความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement) รวมทั้งการยกระดับ FTA กับคู่เจรจาของอาเซียน          พณ.
การประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 26
ภาพรวม          ที่ประชุมรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม 1 ฉบับ ได้แก่ แถลงการณ์ผู้นำอาเซียนบวกสามว่าด้วยการพัฒนาระบบนิเวศของยานยนต์ไฟฟ้า          พณ. กระทรวงคมนาคม (คค.)
กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
เศรษฐกิจ          เกาหลีใต้ประกาศเพิ่มการอุดหนุนในองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสาม (APT Emergency Rice Reserve: APTERR) เป็นสองเท่า และจะบริจาคข้าวเพิ่มเติมอีก 4,500 ตันภายในปี 2566          กษ.
          จีนเสนอจัดเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมและการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทานในภาคอุตสาหกรรมและดิจิทัล          พณ. อก. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.)
การประชุมสุดยอดอาเซียน - สหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 11
ภาพรวม          ที่ประชุมรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม 1 ฉบับ ได้แก่ แถลงการณ์ผู้นำอาเซียน - สหรัฐอเมริกา ว่าด้วยความร่วมมือต่อมุมมองอาเซียนต่ออินโด - แปซิฟิก          กต.

          สหรัฐอเมริกาเชิญชวนให้อาเซียนใช้ประโยชน์จากข้อริเริ่มในสาขาต่าง ๆ มูลค่า 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เช่น
(1) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาที่ยั่งยืน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
(2) การศึกษา อาทิ การเพิ่มเงินทุนเพื่อสนับสนุนโครงการ
(3) ความร่วมมือทางทะเล
(4) สาธารณสุข          คค. ดศ. กษ. สธ.
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงกลาโหม. (กห.)
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.)
การประชุมสุดยอดอาเซียน - จีน ครั้งที่ 26
ภาพรวม          ได้มีการรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม 2 ฉบับ ได้แก่
(1) แถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทางกับมุมมองอาเซียนต่ออินโด - แปซิฟิก
(2) แถลงการณ์ร่วมอาเซียน - จีน ว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านเกษตรกรรม          กต. กษ.

การเมือง
และความมั่นคง          ยินดีต่อการแสดงความพร้อมของจีนที่จะลงนามในพิธีสารแนบท้ายสนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยไม่มีข้อสงวน          กต.
          สนับสนุนการเร่งรัดการเจรจาจัดทำประมวลการปฏิบัติในทะเลจีนใต้ที่มีประสิทธิภาพมีเนื้อหาที่ครอบคลุม และสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ
เศรษฐกิจ          สนับสนุนการยกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน - จีน และการใช้ประโยชน์ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ จีนขอรับการสนับสนุนการเข้าเป็นภาคี RCEP ของฮ่องกง          พณ.
          จีนประกาศจะจัดสรรงบประมาณอย่างน้อย 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2568 เพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามความคิดริเริ่มร่วมเพื่อพัฒนาโครงการเสริมสร้างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมจีน - อาเซียน (Joint Initiative on Advancing the China - ASEAN Science, Technology and Innovation Enhancing Program)          อว.

1 AOIP ประกอบด้วย (1) ความร่วมมือทางทะเล (2) การเชื่อมโยง (3) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ 2573 และ (4) ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ
2  ฉันทามติ 5 ข้อ ประกอบด้วย (1) ทุกฝ่ายหยุดความรุนแรง (2) ทุกฝ่ายเจรจาอย่างสันติ (3) ให้มีทูตพิเศษเพื่อให้เกิดกระบวนการเจรจา (4) อาเซียนช่วยเหลือด้านมนุษยชน และ (5) ทูตพิเศษเข้าไปในเมียนมาเพื่อพูดคุยกับทุกฝ่าย
3 โครงสร้างพื้นฐานสีเขียว คือ ผสมผสานเชื่อมต่อกันระหว่างพื้นที่ว่างสวนสาธารณะ ต้นไม้บนถนน พื้นที่ชุ่มน้ำ ทะเลสาบ บึงน้ำ ลำคลอง และพื้นที่สีเขียวอื่น ๆ สามารถเป็นแหล่งอาหาร และพื้นที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนได้

24. เรื่อง ร่างพิธีสารการเจรจาทวิภาคีไทยและติมอร์ - เลสเต เพื่อการภาคยานุวัติเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของติมอร์ - เลสเต
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ  ดังนี้
                    1. เห็นชอบในสารัตถะของร่างพิธีสารการเจรจาทวิภาคีระหว่างไทยและติมอร์ ? เลสเต  เพื่อการภาคยานุวัติเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) ของติมอร์ - เลสเต (ร่างพิธีสารฯ)
                    2. มอบหมายให้เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำ WTO และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างพิธีสารฯ
                    3. หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างพิธีสารฯ ที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้ พณ. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก

25. เรื่อง ผลการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 23
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  (ASEAN Economic Community Council : AEC Council) ครั้งที่ 23 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. อินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม AEC Council ครั้งที่ 23 (การประชุม ฯ) เมื่อวันที่            3 กันยายน 2566 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยในส่วนของไทยมีรองปลัดกระทรวงพาณิชย์ (นายเอกฉัตร ศีตวรรัตย์) เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งผลการประชุมฯ เป็นผลลัพธ์สำคัญในการดำเนินงานของเสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่เสนอต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 43 มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
การผลักดันประเด็นสำคัญ
ด้านเศรษฐกิจของอินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียน
ให้บรรลุผลในปี 2566
          สามารถดำเนินการผลักดันเสร็จสมบูรณ์ จำนวน 11 ประเด็น เช่น          (1) การจัดทำกรอบการดำเนินงานด้านการอำนวยความสะดวกด้านบริการอาเซียน (2) การส่งเสริมการฟื้นตัวและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินและความยืดหยุ่น (3) การจัดตั้งหน่วยสนับสนุนความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ในสำนักเลขาธิการอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย
การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล
ของอาเซียน
          ให้ความสำคัญเรื่องเศรษฐกิจดิจิทัลในการขับเคลื่อนอาเซียนไปสู่กลุ่มประเทศดิจิทัลชั้นนำ โดยประกาศเริ่มต้นการเจรจาจัดทำความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน (ASEAN Digital Economy Framework Agreement: DEFA) และตั้งเป้าหมายการเจรจาให้แล้วเสร็จภายในปี 2568
การพัฒนาด้านความยั่งยืน
ของอาเซียน          รายงานความคืบหน้าการดำเนินการต่าง ๆ เช่น (1) แผนปฏิบัติการตามกรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนของอาเซียนที่จะนำแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้กับ 3 สาขานำร่อง ได้แก่ ภาคเกษตร พลังงาน และขนส่ง (2) ยุทธศาสตร์อาเซียนเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอนที่เน้นอุตสาหกรรมเป้าหมายการลดการปล่อยคาร์บอน 5 อุตสาหกรรม ได้แก่ ภาคพลังงาน (รวมภาคการขนส่ง) ภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ ภาคการเกษตร ภาคป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดินและภาคการจัดการของเสีย (3) แผนงานการลงทุนที่ยั่งยืนของอาเซียน      (แผนงานฯ) ซึ่งจะเป็นแนวทางช่วยกำหนดยุทธศาสตร์ที่ส่งเสริมการลงทุนสีเขียว การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนในการใช้ประโยชน์จากการลงทุนที่ยั่งยืน โดยตั้งเป้าสรุปเอกสารแผนงานฯ ในปี 2567
การจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนหลังปี ค.ศ. 2025          รับทราบแผนการดำเนินการในระยะต่อไปก่อนจะเสนอวิสัยทัศน์ฯ ให้ผู้นำรับรองในปี 2568

ทั้งนี้ พณ. ได้จัดทำตารางติดตามผลการประชุม AEC Council ครั้งที่ 23 โดยมีสาระสำคัญเป็นการสรุปประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับมติที่ประชุมในแต่ละเวทีเพื่อใช้ติดตามผลการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย
                    2. ในการประชุมฯ ได้มีการพิจารณารับรองและเห็นชอบเอกสารจำนวน 8 ฉบับ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2566 [เรื่อง การร่วมรับรองและให้ความเห็นชอบเอกสารผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจสำหรับการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) การประชุม AEC Council การประชุม ASEAN Summit และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ของ พณ.] และวันที่ 23 สิงหาคม 2566 (เรื่อง การขอความเห็นซอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม ASEAN Summit ครั้งที่ 43 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ของกระทรวงการต่างประเทศ และเรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์สำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 41 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ของกระทรวงพลังงาน) ได้แก่
                                        (1) ยุทธศาสตร์อาเซียนเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน (Development of ASEAN Strategy for Carbon Neutrality)
                                        (2) ปฏิญญารัฐมนตรีว่าด้วยกรอบการดำเนินงานสำหรับโครงการพื้นฐานด้านอุตสาหกรรม (Ministerial Declaration on the Framework for ASEAN Industrial Projects Based Initiative: AIPBI)
                                        (3) ปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการในการตอบสนองต่อภาวะวิกฤต (ASEAN Leaders' Declaration on Strengthening Food Security and Nutrition in Response to Crises)
                                        (4) กรอบความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภาคทะเลของอาเซียน(ASEAN Blue Economy Framework)
                                        (5) แถลงการณ์ผู้นำว่าด้วยการจัดทำกรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน (Leaders? Statement on the DEFA)
                                        (6) กรอบสำหรับการเจรจากรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน (Framework for Negotiating the ASEAN DEFA)
                                        (7) รายงานการศึกษากรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน (Study on the ASEAN DEFA)
                                        (8) ถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 41 ว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานที่ยั่งยืนผ่านการเชื่อมโยงระหว่างกัน (Joint Declaration of the 41st AMEM on Sustainable Energy Security through Interconnectivity)
                    3. พณ. แจ้งว่า ปัจจุบันอาเซียนให้ความสำคัญกับประเด็นเศรษฐกิจดิจิทัล โดยได้เริ่มการเจรจาจัดทำความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน ซึ่งจะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมทางการค้าภายในอาเซียนให้เอื้อกับการค้ายุคใหม่ที่ปรับเปลี่ยนไปสู่รูปแบบดิจิทัลมากยิ่งขึ้น เช่น การอำนวยความสะดวกในการค้าข้ามพรมแดนทางดิจิทัล พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การชำระเงิน และความปลอดภัยทางไซเบอร์ เป็นต้น และสนับสนุนการค้าสินค้าภายในอาเซียนให้เติบโตและขยายตัวเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการดึงดูดการค้าและการลงทุนทั้งภายในและจากภายนอกภูมิภาค และนำไปสู่การเป็นตลาดเดียวอย่างไร้รอยต่อในอนาคตซึ่งภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะต้องเตรียมพร้อมรองรับและปรับตัวในเชิงรุก ทั้งการปรับปรุงกฎระเบียบของภาครัฐ การเสริมสร้างทักษะ (upskill) และเปลี่ยนทักษะ (reskill)     ที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัลในภาคเอกชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และเป็นการสร้างโอกาสในการเป็นห่วงโซ่อุปทานด้านดิจิทัลในอาเซียนต่อไป

26. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Minister: AEM) ครั้งที่ 55 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน [ASEAN Economic Minister (AEM)] ครั้งที่ 55 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง1 ระหว่างวันที่ 19-22 สิงหาคม 2566 ณ เมืองเซอมารัง สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย) ตามที่กระทรวงพาณิชย์(พณ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. อินโดนีเซียได้จัดการประชุม AEM ครั้งที่ 55 และการประชุมที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่               19-22 สิงหาคม 2566 ณ เมืองเซอมารัง อินโดนีเซีย ซึ่งผลการประชุม AEM ครั้งที่ 55 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง เป็นผลลัพธ์สำคัญในการดำเนินงานของเสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่เสนอต่อที่ประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 23 และที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 43 โดยมีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้
                              1.1 ผลการประชุม AEM ครั้งที่ 55 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
การประชุม/การหารือ
ของรัฐมนตรีเศรษฐกิจ
อาเซียน          รายละเอียด
1) AEM ครั้งที่ 55
          - มีประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจที่อินโดนีเซียผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จในปี 2566 แล้ว 5 ประเด็น เช่น การจัดทำกรอบอำนวยความสะดวกด้านการบริการของอาเซียน
- จัดทำความตกลงกรอบเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียนและเสนอต่อผู้นำอาเชียนใน ASEAN Summit โดยตั้งเป้าหมายการเจรจาให้แล้วเสร็จในปี 2568
- จัดทำยุทธศาสตร์อาเซียนเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางคาร์บอนของภูมิภาคและการพัฒนาทักษะแรงงานใน                    5 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น ภาคพลังงานและการขนส่ง ภาคการเกษตร และภาคการจัดการของเสีย
2) คณะมนตรีเขตการ                ค้าเสรีอาเซียน ครั้งที่ 37

          พิจารณาความคืบหน้าในการเจรจาเพื่อยกระดับความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน โดยรับทราบว่ามีปัญหาสำคัญบางประเด็นที่ต้องหารือในช่วงการประชุม AEM อย่างไม่เป็นทางการในเดือนมีนาคม ปี 2567
3) คณะมนตรีเขตการลงทุนอาเซียน ครั้งที่ 26
          ยอมรับข้อสรุปในประเด็นสำคัญของร่างพิธีสารแก้ไขเพิ่มเติมความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน ฉบับที่ 5 โดยจะมีการลงนามในร่างพิธีสารดังกล่าวภายในปี 2567
4) ความตกลงหุ้นส่วน
เศรษฐกิจระดับภูมิภาค
(RCEP) ครั้งที่ 2
          เห็นชอบเอกสารสำคัญ 2 ฉบับ ได้แก่ เอกสารขอบเขตของหน่วยงานสนับสนุน RCEP   และเอกสารด้านงบประมาณที่จะสนับสนุนการดำเนินงานของ RCEP รวมทั้งเร่งรัดการปรับโอนพิกัดศุลกากรของตารางข้อผูกพันการลดภาษีให้เป็นระบบพิกัดศุลกากร 20222 ให้ครบทุกประเทศ
5) ประเทศนอกภูมิภาค
(12 ประเทศ)
          - ความคืบหน้าการลงนามพิธีสารฉบับที่ 2 เพื่อปรับปรุงความตกลงการค้าเสรีอาเซียนออสเตรเลีย ? นิวซีแลนด์
- สรุปแผนความร่วมมือด้านการค้า การลงทุนของอาเซียนกับคู่เจรา โดยเฉพาะความร่วมมือที่จะผลักดันประเด็นที่อาเซียนให้ความสำคัญ เช่น เศรษฐกิจดิจิทัล
6) สภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน          เน้นย้ำความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อผลักดันการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน การมุ่งสู่ยุคดิจิทัล การพัฒนาที่ยั่งยืน และการรับมือกับความท้าทาย
ด้านสาธารณสุขและความมั่นคงทางอาหาร
7) ผู้อำนวยการใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก          สนับสนุน MSMEs และStart up ในการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาเชิงพาณิชย์และการเปิดตัวระบบสืบค้นข้อมูลเครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร และการออกแบบผลิตภัณฑ์ของประเทศอาเซียน
8) เรื่องอื่น ๆ          การหารือทวิภาคีอย่างไม่เป็นทางการระหว่างประเทศไทยกับสหพันธรัฐรัสเซียเกี่ยวกับ
- แนวทางการผลักดันและอำนวยความสะดวกทางการค้าเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการค้า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2566
- ความเป็นไปได้ในการจัดประชุมคณะอนุกรรมาธิการด้านการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย - สหพันธรัฐรัสเซีย ครั้งที่ 5

ทั้งนี้ พณ. ได้จัดทำตารางติดตามผลการประชุม AEM ครั้งที่ 55 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง โดยมีสาระสำคัญเป็นการสรุปประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับมติที่ประชุมในแต่ละเวทีเพื่อใช้ติดตามผลการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย
                              1.2 เอกสารผลลัพธ์การประชุม โดยที่ประชุม AEM ครั้งที่ 55 ได้รับรองและเห็นชอบต่อเอกสารผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจ จำนวน 13 ฉบับ โดยมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมปฏิญญารัฐมนตรีว่าด้วยกรอบการดำเนินงานสำหรับโครงการพื้นฐานด้านอุตสาหกรรม3 จากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2566 (ไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้) ดังนี้
                                        1) ปรับเพิ่มเนื้อหาในส่วนของความปรารถนา โดยให้เพิ่มเติมประเด็นสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจในภูมิภาค
                              2) ปรับเพิ่มเนื้อหาในส่วนของเป้าหมายเชิงกลยุทธ์โดยให้เพิ่มเติมถ้อยคำในการสร้างห่วงโซ่อุปทานที่มั่นคงและยืดหยุ่น การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลและการพัฒนาที่ยั่งยืน และเสริมสร้างความเชื่อมโยงและความร่วมมือรายสาขาเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเทคโนโลยีข้ามพรมแดนและการเสริมสร้างขีดความสามารถ
                              3) ปรับเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนของหลักการชี้นำเรื่องการส่งเสริมแนวคิดความร่วมมือที่ได้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก
                              4) ปรับแก้ไขในส่วนการมอบหมายสำหรับดำเนินการต่อไปโดยมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียนหารือรายละเอียดเพิ่มเติมกับองค์กรรายสาขาที่เกี่ยวข้อง
1 คณะรัฐมนตรีมีมติ (15 สิงหาคม 2566) เห็นซอบเอกสารผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจของการประชุม AEM ครั้งที่ 55 จำนวน 13 ฉบับ
2 พิกัดศุลกากรเป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายทางการค้า จัดเก็บภาษีอากร และควบคุมสินค้าต้องห้าม ซึ่งประเทศไทยใช้พิกัดศุลกากร 2017 มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 ตามองค์การศุลกากรโลก และองค์การศุลกากรโลกได้จัดทำพิกัดศุลกากรฉบับใหม่ (พิกัดศุลกากร 2022) โดยเริ่มใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2566
3เพื่อเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการดำเนินการต่าง ๆ เช่น เสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว และยกระดับการค้าและการลงทุนภายในอาเซียน

27.  เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 29 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารในข้อ 2 และ 3 จำนวน 18 ฉบับ โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสารในข้อ 2  และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสารในข้อ 2.13 พร้อมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมอบหมายเป็นผู้ลงนามร่างเอกสารในข้อ 3 และให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมอบหมาย สำหรับการลงนามร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงอาเซียนตามที่กระทรวงคมนาคม (กค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของร่างเอกสาร
                    1. กระทรวงคมนาคมข้อเสนอร่างผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 29 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ต่อคณะรัฐมนตรี รวม 18 ฉบับ โดยแบ่งเป็นเอกสารที่รัฐมนตรีขนส่งอาเซียนจะร่วมกันรับรอง (adopt) จำนวน 17 ฉบับ และเอกสารที่รัฐมนตรีขนส่งอาเซียนจะลงนาม จำนวน 1 ฉบับ
                    2. สาระสำคัญของร่างเอกสารที่จะรับรอง จำนวน 17 ฉบับ ได้แก่
                              2.1 ร่างแนวทางสำหรับท่าเรืออัจฉริยะ (The Guidelines on Smart Ports) เป็นการกำหนดแนวทางการประเมินท่าเรือโดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ การกำหนดตัวชี้วัดประสิทธิภาพท่าเรืออัจฉริยะ และดัชนีความพร้อมด้านดิจิทัลและนวัตกรรมของท่าเรือ เพื่อนำไปเป็นแนวทางการพัฒนาท่าเรืออัจฉริยะในอนาคต โดยการจัดทำร่างแนวทางนี้ได้รับการสนับสนุนด้านเทคนิคผ่านความร่วมมือด้านการขนส่งระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น
                              2.2 ร่างข้อเสนอแนะเรื่อง การอำนวยความสะดวกการผลัดเปลี่ยนและส่งลูกเรือกลับสู่ภูมิลำเนา (Recommendations to Ensure Continuity of Port Terminal Operations during Crisis and Recommendations on Measures Pertaining to Issues on Crew Change and Repatriation during Crisis) เป็นการรวบรวมแนวทางปฏิบัติของประเทศสมาชิกอาเซียน ในการรับมือกับปัญหาและอุปสรรคด้านการเปลี่ยนถ่ายคนประจำเรือ และการรักษาความต่อเนื่องของธุรกิจท่าเรือเมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินที่ไม่คาดคิด อาทิ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งสอดคล้องกับเอกสารแนวทางการฟื้นตัวอย่างครอบคลุมของอาเซียน ซึ่งที่ประสุดยอดอาเซียนได้ให้การรับรองเมื่อปี 2563
                              2.3 ร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานสถานีอัดประจุสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าในอาเซียน (Policy Recommendations to Improve Electric Vehicle (EV) Infrastructure and Charging Stations in ASEAN) เป็นการรายงานข้อเสนอแนะแนวทางเชิงนโยบายเพื่อผลักดันการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าอย่างแพร่หลายและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าที่มีมาตรฐานระดับสากลและส่งเสริมระบบนิเวศ (Ecosystems) ยานยนตไฟฟ้าแบบบูรณาการในอาเซียน โดยได้รับการสนับสนุนการศึกษาผ่านแผนงานความร่วมมือด้านการขนส่งอาเซียน-สหรัฐฯ ภายใต้โครงการด้านยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle : EV)
                              2.4 ร่างเอกสารแนวทางการประเมินด้านความสามารถ/ประสิทธิภาพของท่าเทียบเรือคอนเทนเนอร์ในภูมิภาคอาเซียน (Guideline for Evaluation Capacity/Performance of Container Terminals in the ASEAN Region) เป็นการนำเสนอแนวทางการประเมินและกำหนดตัวขี้วัดความสามารถ/ประสิทธิภาพของท่าเทียบเรือตู้สินค้าในอาเซียน และระบุแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดเพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนพึงตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาขีดความสามารถของท่าเทียบเรือฯ ให้มีศักยภาพรองรับการแข่งขันในเวทีโลก
                              2.5 ร่างรายงานฉนับสมบูรณ์เรื่อง การพัฒนาขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางน้ำ ปี 2563-2564 (Completion Report of the Development of VTS Operator?s Capacity Programme (2020-2021)) เป็นการนำเสนอรายงานผลการฝึกอบรมบุคลากรด้านการควบคุมการจราจรทางน้ำของประเทศสมาชิกอาเซียน ที่มุ่งเน้นการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินเรือ และป้องกันมลพิษทางทะเลที่เกิดจากการชนกันของเรือในทะเล ตามมาตรฐานที่กำหนดของสมาคมประภาคารและเครื่องหมายทางเรือระหว่างประเทศ โดยการฝึกอบรมดังกล่าวเป็นโครงการภายใต้กองทุนเพื่อการรวมกลุ่มระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น
                              2.6 ร่างผลการศึกษาเรื่อง การจัดทำร่างยุทธศาสตร์อาเซียนว่าด้วยการขนส่งอัจฉริยะ (Building a Comprehensive Strategy for ASEAN Smart Mobility) เป็นแนวทางการกำหนด กลยุทธ์ของประเทศสมาชิกอาเซียนในการเปลี่ยนผ่านสู่การขนส่งในเมืองที่ยั่งยืน มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยนำระบบดิจิทัลและเทคนโลยีอัจฉริยะเข้ามาปรับใช้ มุ่งเน้นการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากภาคการขนส่งในภูมิภาค โดยการจัดทำร่างยุทธศาสตร์นี้ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนความร่วมมืออาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี
                              2.7 ร่างปฏิญญาร่วมว่าด้วยความร่วมมือที่ครอบคลุมเพื่อการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะระหว่างอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี (Joint Declaration on Comprehensive Cooperation for Smart Mobility between Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) and the Republic of Korea (ROK)) เป็นการส่งเสริมความเป็นกลางทางคาร์บอนในภาคการขนส่งและอุตสาหกรรมการคมนาคม การสนับสนุนการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการให้บริการด้านการเดินทางและขนส่ง การส่งเสริมความก้าวหน้าและประสิทธิภาพระบบขนส่งอัจฉริยะ การสนับสนุนและปรับปรุงการให้บริการการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ การพัฒนาระบบนิเวศอุตสาหกรรมการเดินทางและขนส่ง และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในเวทีความร่วมมือด้านการขนส่งระหว่างอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี
                              2.8 ร่างแผนปฏิบัติการหลวงพระบางภายใต้ความเป็นหุ้นส่วนด้านการขนส่งระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น (The Luang Prabang Action Plan under the ASEAN-Japan Transport Partnership (AJTP)) เป็นการกำหนดขอบเขตการดำเนินความร่วมมือด้านการขนส่งระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น ระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2567-2576) ครอบคลุมนโยบายด้าน (1) ความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทาน (2) การเพิ่มความเชื่อมโยงระหว่างผู้คน (3) การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และการขนส่งที่ยั่งยืน (4) การขนส่งที่ครอบคลุมและเข้าถึงได้ง่าย และ (5) การขนส่งที่ปลอดภัยและมั่นคง
                              2.9 ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 29 (The Twenty-Ninth ASEAN Transport Ministers Meeting (29th ATM) Joint Ministerial Statement) เป็นการรับรองแผนแม่บทว่าด้วยการจัดการการจราจรทางอากาศ ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 3 การรับรองพิธีสาร 3 ว่าด้วยความสามารถในการกำกับดูแลความปลอดภัยขององค์การบริหารการบินแห่งชาติของข้อตกลงยอมรับร่วมใบอนุญาตผู้ปฏิบัติหน้าที่ประจำเที่ยวบิน การรับรองรายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานสถานีอัดประจุสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าในอาเซียน การลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงอาเซียน ความคืบหน้าการดำเนินการและการมีผลบังคับใช้ของกรอบความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งฉบับต่าง ๆ ของอาเซียน การรับรองแนวทางท่าเรืออัจฉริยะ การรับรองร่างข้อเสนอแนะเรื่อง การผลัดเปลี่ยนและส่งลูกเรือกลับสู่ภูมิลำเนา ความคืบหน้าการดำเนินกิจกรรม/ความร่วมมือด้านการขนส่งระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา อาทิ นิวซีแลนด์ สหภาพยุโรป สหรัฐอมริกา จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี
                              2.10 ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียนจีน ครั้งที่ 22 (The Twenty-Second ASEAN-China Transport Ministers Meeting (22rd ATM+China) Joint Ministerial Statement) เป็นการแสดงความยินดีต่อกิจกรรม/โครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จในช่วงปี 2566 อาทิ การฝึกอบรมระดับภูมิภาคอาเซียนว่าด้วยความปลอดภัยในการเดินเรือเฟอร์รี่ ครั้งที่ 2 การสัมมนาว่าด้วยการเสริมสร้างศักยภาพของเจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางน้ำระหว่างจีน-อินโดนีเซีย โครงการฝึกอบรมขั้นสูงว่าด้วยการค้นหาและช่วยเหลือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและจีน และความก้าวหน้าการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านการขนส่งอาเซียน-จีน ปี 2564-2568
                              2.11 ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 21 (The Twenty-First ASEAN-Japan Transport Ministers Meeting (21st ATM+Japan) Joint Ministerial Statement) เป็นการแสดงความยินดีต่อการสถาปนาความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์แบบรอบด้านระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น ในโอกาสการเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี มิตรภาพอาเซียน-ญี่ปุ่น และครบรอบ 20 ปี ของแผนงานความร่วมมือด้านการขนส่งระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น ในปี 2566 การให้การรับรองผลลัพธ์การดำเนินโครงการต่าง ๆ ในปี 2565-2566 การให้การรับรองแผนปฏิบัติการหลวงพระบาง การให้ความเห็นชอบข้อเสนอโครงการใหม่ที่จะดำเนินการในปี 2566-2567 และความคืบหน้าการดำเนินการจัดทำร่างความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศในภูมิภาคระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น
                              2.12 ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียนสาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 14 (The Fourteenth ASEAN and Republic of Korea Transport Ministers Meeting (14th ASEAN+ROK) Joint Ministerial Statement) เป็นการแสดงความยินดีต่อผลสำเร็จของโครงการ/กิจกรรมภายใต้แผนงานความร่วมมือด้านการขนส่งระหว่างอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ปี 2564-2568 ที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ อาทิ ผลการศึกษาเรื่อง การจัดทำยุทธศาสตร์อาเซียนว่าด้วยการขนส่งอัจฉริยะ และความคืบหน้าการจัดทำความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี
                              2.13 ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมร่วมระดับรัฐมนตรีอาเซียนสาขาการขนส่ง-สาขาการท่องเที่ยว (Interface Meeting between ASEAN Tourism Ministers and ASEAN Transport Ministers Joint Ministerial Statement) เป็นการเสริมสร้างให้มีการดำเนินความร่วมมือระหว่างสาขาการขนส่งและสาขาการท่องเที่ยวของอาเซียน เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในภูมิภาค โดยเฉพาะการเชื่อมโยงการขนส่งทางอากาศ ทางทะเล และทางบก ผ่านรูปแบบการขนส่งที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมทรัพย์สินทางวัฒนธรรม ธรรมชาติ และมรดกของประเทศสมาชิกอาเซียน การใช้ประโยชน์จากช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมด้านการตลาดของทั้งสองสาขา การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน และการจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจร่วมระหว่างองค์การท่องเที่ยวแห่งอาเซียนและเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการขนส่งอาเซียน
                              2.14 ร่างรายงานฉนับสมบูรณ์เรื่อง โครงการฝึกอบรมระบบนำร่องเดินอากาศในอาเซียน (Final Draft - Project Report on the GNSS Implementation Plan Training in ASEAN (GIPTA)) เป็นการรายงานผลการฝึกอบรมบุคลากรในหน่วยปฏิบัติงานการนำร่องเดินอากาศของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือภายใต้กองทุนเพื่อการรวมกลุ่มระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น โดยมุ่งเน้นการใช้ระบบอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และคุ้มค่าต่อการลงทุน
                              2.15 ร่างแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านการบินที่ยั่งยืน (ASEAN Sustainable Aviation Action Plan: ASAAP) เป็นการกำหนดแนวทางการดำเนินการในระยะ 10 ปี เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในด้านต่าง ๆ ของอุตสาหกรรมการบินอาเซียนให้มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น รองรับการใช้เชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel: SAF) และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ โดยประเทศสมาชิกอาเซียนจะรายงานผลการดำเนินงานต่อที่ประชุมคณะทำงานด้านการขนส่งทางอากาศอาเซียน ปีละ 1 ครั้ง
                              2.16 ร่างแผนแม่บทว่าด้วยการจัดการจราจรทางอากาศ ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 3 (ASEAN Air Navigation Service Master Plan, Third Edition) เป็นการปรับปรุงข้อกำหนดแนวทางการดำเนินการเพื่อพัฒนาระบบการจราจรทางอากาศของประเทศสมาชิกอาเซียนให้มีศักยภาพสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันของโลก การลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และมุ่งเน้นให้เกิดความปลอดภัยในห้วงอากาศอาเซียน
                              2.17 ร่างพิธีสาร 3 ว่าด้วยความสามารถในการกำกับดูแลความปลอดภัยขององค์การบริหารการบินแห่งชาติ (Protocol 3 Safety Oversight Capabilities for National Aviation Administration) เป็นเอกสารแนบท้ายข้อตกลงยอมรับร่วมใบอนุญาตผู้ปฏิบัติหน้าที่ประจำเที่ยวบิน (ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Flight Crew Licensing: MRA-FCL) โดยการกำหนดคุณสมบัติขององค์การการบริหารการบินของประเทศสมาชิกอาเซียนในการกำกับดูแลความปลอดภัยการบิน สำหรับการดำเนินการเพื่อการออกใบอนุญาตผู้ปฏิบัติหน้าที่ประจำเที่ยวบิน (นักบิน) ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในอาเซียน และสอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ
                    3. สาระสำคัญของร่างเอกสารที่จะลงนาม จำนวน 1 ฉบับ ได้แก่ ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงอาเซียน (Memorandum of Understanding on the Development of ASEAN Highway Network) เป็นการปรับปรุงบันทึกความเข้าใจระดับรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงอาเซียน ซึ่งลงนามเมื่อปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) ให้มีข้อมูลโครงข่ายทางหลวงอาเซียนที่เป็นปัจจุบัน การกำหนดมาตรฐานและเกณฑ์การออกแบบทางหลวง ระบบหมายเลข และมาตรฐานป้ายบอกทางบนทางหลวงอาเซียนให้เป็นรูปแบบเดียวกัน และกำหนดขอบเขตความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาความเชื่อมโยงของโครงข่ายทางหลวงอาเซียนที่มีความปลอดภัย และส่งเสริมความคล่องตัวในเดินทางและการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยบันทึกความเข้าใจฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ประเทศสมาชิกมีการลงนามครบทั้งสิบประเทศ
                    4. ประโยชน์และผลกระทบ
                    ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าวข้างต้น เป็นเอกสารแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกอาเซียนในการดำเนินความร่วมมือด้านการขนส่งให้เป็นมาตรฐานสากลทั้งด้านการอำนวยความสะดวก ความปลอดภัย การรักษาความปลอดภัย การประหยัดพลังงาน การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งของอาเซียน ปี 2559-2568 และเป็นไปในทิศทางเดียวกับแผนยุทธศาสตร์เพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอนของอาเซียน ซึ่งที่ประชุมคณะมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ให้การรับรอง เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2566 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ตลอดจนสนับสนุนเป้าหมายบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ก่อนปี 2608

28. เรื่อง การประชุมคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลในการจัดทำมาตรการที่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศด้านมลพิษจากพลาสติก รวมทั้งสิ่งแวดล้อมทางทะเล ครั้งที่ 3 ณ สาธารณรัฐเคนยา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลในการจัดทำมาตรการที่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศด้านมลพิษจากพลาสติก รวมทั้งสิ่งแวดล้อมทางทะเล ครั้งที่ 3  รวมทั้งเห็นชอบต่อกรอบการเจรจาและท่าทีของประเทศไทย สำหรับการประชุมคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลฯ ครั้งที่ 3 ทั้งนี้หากมีข้อเจรจาใดที่นอกเหนือจากกรอบการเจรจาและท่าทีของประเทศไทย และไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย (Legally binding) ต่อประเทศไทย ขอให้เป็นดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเป็นผู้พิจารณา โดยไม่ต้องนำกลับเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณใหม่จนสิ้นสุดการประชุมคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลฯ ครั้งที่ 3 ณ สาธารณรัฐเคนยา ในวันที่ 19พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    องค์ประกอบคณะผู้แทนไทยที่จะเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลในการจัดทำมาตรการที่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศค้านมลพิษจากพลาสติก รวมทั้งสิ่งแวดล้อมทางทะเล ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 11 - 19 พฤศจิกายน 2566 ณ กรุงไนโรบี สาธารณรัฐเคนยา ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทย ผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งสิ้น 6 คน
                    กรอบการเจรจาและท่าทีของประเทศไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลฯ ครั้งที่ 3 เช่น  ดำเนินการให้สอดคล้องเป็นไปตามมติการประชุมสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 5 ช่วงที่ 2 (UNEA 5.2) ภายใต้ข้อมติที่ 5/14 ?ยุติมลพิษจากพลาสติก : ด้วยมาตรการที่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศ? (UNEA Resolution 5/14 ?End plastic pollution : Towards an international legally binding instrument?) โดยวิธีการจัดการตลอดวงจรชีวิต (Life cycle approach)ของพลาสติก และหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) รวมทั้งให้คำนึงถึงหลักการของปฏิญญาริโอว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา และพันธกรณีระหว่างประเทศของไทยในเรื่องที่เกี่ยวข้อง

29. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 17 และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 10
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหม เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ จำนวน 8 ฉบับ โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้กระทรวงกลาโหมดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
                    2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หรือผู้แทน ที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองและให้ความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ
                    ทั้งนี้ การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 17 และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 10 มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 ถึงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2566 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงกลาโหมเสนอร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 17 และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 10 ซึ่งจะมีการพิจารณาร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมฯ โดยแบ่งเป็นร่างเอกสารที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจะร่วมรับรอง (Adopt) จำนวน 5 ฉบับ อนุมัติ (Approve) จำนวน 2 ฉบับ และรับทราบ (Note) จำนวน 1 ฉบับ ดังนี้
                    1. ร่างเอกสารที่จะรับรอง จำนวน 5 ฉบับ
                              1.1 ร่างปฏิญญาร่วมจาการ์ตาของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ว่าด้วยสันติภาพ ความเจริญรุ่งเรือง และความมั่นคงของภูมิภาค มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์เชิงนโยบายของรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน เพื่อส่งเสริมการรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งรวมถึงประเด็นทะเลจีนใต้และสถานการณ์ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
                              1.2 ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ว่าด้วยบทบาทสตรี สันติภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค มีสาระสำคัญในการสนับสนุนให้สตรีมีบทบาทอย่างเต็มที่ เท่าเทียมและสำคัญในการมีส่วนร่วมและเป็นผู้นำในการสร้างสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคและการเป็นผู้สร้างนโยบาย และผู้ตัดสินใจในทุกระดับ
                              1.3 ร่างเอกสารแนวความคิดว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติด้านการป้องกันประเทศเกี่ยวกับมุมมองอาเซียนต่ออินโด - แปซิฟิก มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดขอบเขต รูปแบบกิจกรรม หลักการ และแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจรจาในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย
                              1.4 ร่างเอกสารแนวความคิดว่าด้วยการเสริมสร้างความประสานสอดคล้องของกิจกรรมความร่วมมือภายใต้กรอบการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนและการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา มีสาระสำคัญเป็นการจัดทำกรอบความร่วมมือ กำหนดแนวทางและหลักการเพื่อการทำงานร่วมกันและการส่งเสริมให้เกิดความสอดคล้องของกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนและรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา เพื่อพัฒนาความเป็นแกนกลางของอาเซียนและบทบาทนำของรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนด้านความมั่นคงในภูมิภาค
                              1.5 ร่างแนวทางปฏิบัติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต ในฐานะผู้สังเกตการณ์การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา รวมทั้งการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดแนวปฏิบัติสำหรับสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต ในการเข้าร่วมการประชุมและกิจกรรมต่าง ๆ  ของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนและรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจาในฐานะผู้สังเกตการณ์
                    2. ร่างเอกสารที่จะอนุมัติ จำนวน 2 ฉบับ
                              2.1 ร่างระเบียบปฏิบัติประจำโครงการอาเซียนอาวเวอร์อาย มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อรับมือกับกลุ่มแนวคิดหัวรุนแรง แนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง และการก่อการร้าย
                              2.2 ร่างเอกสารความร่วมมือระหว่างอาเซียน - สหรัฐอเมริกา เพื่อส่งเสริมขีดความสามารถของผู้นำรุ่นใหม่ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดรายละเอียดของโครงการ U.S.-ASEAN Emerging Defense Leaders Fellowship Program ที่เสนอโดยสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการตาม ASEAN-U.S. Strategic Plan (2021-2025) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการทหารของอาเซียนให้กับผู้นำกลาโหมรุ่นใหม่ ในปี พ.ศ. 2567
                    3. ร่างเอกสารที่จะรับทราบ จำนวน 1 ฉบับ คือ ร่างเอกสารเพื่อการหารือว่าด้วยการใช้ทรัพยากรทางทหารในการดำรงไว้ซึ่งความมั่นคงทางอาหารของภูมิภาค เป็นเอกสารเพื่อนำไปสู่การหารือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในอนาคตต่อการสร้างความตระหนักรู้และเตรียมความพร้อมต่อประเด็นความมั่นคงทางอาหารที่มีแนวโน้มเป็นภัยคุกคามในภูมิภาคผ่านการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดี โดยเฉพาะบทบาททางทหารในการรับมือกับปัญหาดังกล่าว
                    โดยร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 17 และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 10 เป็นการแสดงเจตนารมณ์เชิงนโยบายด้านความมั่นคงในการกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างกระทรวงกลาโหมประเทศสมาชิกอาเซียนและระหว่างกระทรวงกลาโหมประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ให้ครอบคลุมในทุกมิติ ในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ รวมทั้งเป็นการพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม ให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อภัยคุกคามด้านความมั่นคงของภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนอย่างยั่งยืน

30. เรื่อง การดำเนินการเพื่อเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด - แปซิฟิก เพื่อความเจริญรุ่งเรืองว่าด้วยความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทาน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างความตกลงกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด - แปซิฟิก เพื่อความเจริญรุ่งเรืองว่าด้วยความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทาน และการเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงฯ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างความตกลงฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญก่อนมีการลงนาม ขอให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
                    2. อนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลงนามในร่างความตกลงฯ ในช่วงการประชุมระดับรัฐมนตรี IPEF ที่นครซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ ในกรณีมอบหมายผู้แทนให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้ผู้แทนดังกล่าวลงนามในร่างความตกลงฯ
                    3. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความตกลงฯ มีผลใช้บังคับ
                    4. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการจัดทำสัตยาบันสารของความตกลงฯ เมื่อกระทรวงอุตสาหกรรมได้มีหนังสือแจ้งยืนยันมายังกระทรวงการต่างประเทศแล้วว่า ได้ดำเนินกระบวนการภายในประเทศที่จำเป็นสำหรับการมีผลใช้บังคับของความตกลงฯ เสร็จสิ้นแล้ว
                    5. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการมอบสัตยาบันสารของความตกลงฯ ให้กับผู้เก็บรักษา (Depositary) ความตกลงฯ
                    ทั้งนี้ ประเทศหุ้นส่วนของกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด - แปซิฟิก (Indo-Pacific Economic Framework: IPEF) ได้สรุปผลการเจรจาร่างความตกลงฯ แล้ว โดยมีเป้าหมายที่จะลงนามร่างความตกลงฯ ในช่วงการประชุมระดับรัฐมนตรี IPEF ซึ่งสหรัฐอเมริกาจะเป็นเจ้าภาพขึ้นระหว่างวันที่ 13 - 14 พฤศจิกายน 2566   ณ นครซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา
                    สาระสำคัญ
                    1. ประเทศหุ้นส่วน IPEF ประกอบด้วย เครือรัฐออสเตรเลีย บรูไนดารุสชาลาม ฟิจิ สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย นิวซีแลนด์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ไทย สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ได้ร่วมเจรจาร่างเอกสารความร่วมมือที่ครอบคลุมทั้ง 4 เสาความร่วมมือมาอย่างต่อเนื่อง อันประกอบด้วยเสาความร่วมมือที่ 1 ด้านการค้า เสาความร่วมมือที่ 2 ด้านห่วงโซ่อุปทาน เสาความร่วมมือที่ 3 ด้านเศรษฐกิจที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเสาความร่วมมือที่ 4 ด้านเศรษฐกิจที่เป็นธรรม ซึ่งภายใต้เสาความร่วมมือที่ 2 ประเทศหุ้นส่วน IPEF ได้เจรจาจัดทำร่างความตกลงกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด - แปซิฟิกเพื่อความเจริญรุ่งเรืองว่าด้วยความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทานเสร็จสิ้นแล้ว และอยู่ระหว่างเตรียมการเพื่อร่วมลงนามก่อนที่จะดำเนินการให้ความตกลงฯ มีผลใช้บังคับต่อไป ซึ่งจะเป็นความตกลงภายใต้กรอบ IPEF ฉบับแรกที่เสร็จสมบูรณ์
                    2. ร่างความตกลงฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความโปร่งใสและความหลากหลายของห่วงโซ่อุปทาน สนับสนุนการจัดทำนโยบายทางการค้าและการลงทุนอย่างครอบคลุมในห่วงโซ่อุปทาน ส่งเสริมบทบาทของแรงงานในระบบห่วงโซ่อุปทาน สนับสนุนการรับมือกับวิกฤติต่าง ๆ ที่จะนำมาซึ่งปัญหาห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก ลดการบิดเบือนกลไกตลาด และสนับสนุนความร่วมมือด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทาน อาทิ การลงทุน วิชาการ โครงสร้างพื้นฐาน การเสริมสร้างขีดความสามารถทางอุตสาหกรรม และการเสริมสร้างความเชื่อมโยง เป็นต้น
                    3. ร่างความตกลงฯ ประกอบด้วยข้อบทที่ครอบคลุมความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ดังนี้ (1) การประสานความร่วมมือเพื่อสร้างความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทาน (2) การดำเนินการเพื่อสร้างความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทาน (3) การส่งเสริมความโปร่งใสด้านกฎระเบียบ (4) การดำเนินความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับด้านแรงงาน ได้แก่ การเสริมสร้างบทบาทแรงงาน การแก้ไขการปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายสิทธิแรงงานของประเทศนั้นในสถานที่ทำงานเฉพาะแห่ง (5) การจัดตั้งกลไกเพื่อกำกับดูแลการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับระบบห่วงโซ่อุปทาน ได้แก่ Supply Chain Council, Supply Chain Crisis Response Network และ Labor Rights Advisory Board (6) การกำหนดสาขาอุตสาหกรรมที่สำคัญหรือสินค้าหลัก (7) การติดตามและแก้ไขปัญหาจุดเปราะบางของห่วงโซ่อุปทาน และ      (8) การรับมือกับการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน
                    4. ร่างความตกลงฯ ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทที่จะทำให้เกิดพันธกรณีที่นำไปสู่การแก้ไขกฎหมายภายในประเทศเพื่อปฏิบัติตามความตกลงฯ รวมถึงไม่มีการใช้บังคับกลไกระงับข้อพิพาท และเป็นหนังสือสัญญาซึ่งมีขั้นตอนการลงนามและขั้นตอนการแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน (consent to be bound) แยกออกจากกัน โดยข้อบทที่ 21 ของร่างความตกลงฯ กำหนดให้ประเทศหุ้นส่วน IPEF ที่ลงนามแล้วให้สัตยาบันแสดงการยอมรับ หรือให้ความเห็นชอบความตกลงดังกล่าว ซึ่งความตกลงฯ จะมีผลใช้บังคับ 30 วันหลังจากวันที่ประเทศหุ้นส่วน IPEF ให้สัตยาบันอย่างน้อย 5 ประเทศ
                    ประโยชน์และผลกระทบ
                    1. การเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงฯ จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศหุ้นส่วน IPEF อันจะนำไปสู่การเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุนและก่อให้เกิดการเพิ่มมูลค่าการค้าและการลงทุนในประเทศไทยและภูมิภาค ทั้งในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรมที่สำคัญ และยังส่งเสริมการบริหารจัดการระบบห่วงโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และช่วยกระจายความเสี่ยงในการจัดหาแหล่งวัตถุดิบและวัตถุดิบทดแทน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงกรณีห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก รวมทั้งสนับสนุนการจัดการแก้ไขปัญหาการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานให้เป็นไปอย่างรวดเร็วผ่านการดำเนินการของกลไกที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังช่วยพัฒนาบทบาทและศักยภาพแรงงานและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของแรงงานในระบบห่วงโซ่อุปทาน
                    2. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยได้จัดทำรายงานผลการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับการดำเนินความร่วมมือด้านห่วงโซ่อุปทานภายใต้ IPEF และเห็นว่า ไทยจะได้รับประโยชน์จากเสาความร่วมมือที่ 2 ในการเข้าถึงข้อมูลและใช้ประโยชน์จากกลไกความร่วมมือต่าง ๆ โดยเฉพาะเครือข่ายแก้ไขปัญหาวิกฤติด้านห่วงโซ่อุปทาน การดึงดูดการลงทุนในสาขาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญหรือสินค้าหลัก และเป็นช่องทางสำหรับความร่วมมือเพื่อลดอุปสรรคทางการค้าต่อสินค้าส่งออกจากไทย

31. เรื่อง ร่างความตกลงประเทศเจ้าบ้านระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงอายุอย่างมีศักยภาพและนวัตกรรม และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเอกสิทธิ์และความคุ้มกันสำหรับศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงอายุที่มีศักยภาพและนวัตกรรม พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างความตกลงประเทศเจ้าบ้านระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงอายุอย่างมีศักยภาพและนวัตกรรม และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน สำหรับศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงอายุที่มีศักยภาพและนวัตกรรม พ.ศ. ....
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้มอบหมายเป็นผู้ลงนามในความตกลงประเทศเจ้าบ้านระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงอายุอย่างมีศักยภาพและนวัตกรรม
                    สาระสำคัญ
                    1. กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงอายุที่มีศักยภาพและนวัตกรรมจะเป็นผลงานหนึ่งที่เป็นรูปธรรม ในปี พ.ศ. 2562
                    2. ศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงอายุที่มีศักยภาพและนวัตกรรมจะเป็นศูนย์ความรู้ด้านผู้สูงอายุที่มีศักยภาพและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่จะสนับสนุนนโยบายผู้สูงอายุที่มีศักยภาพและผลการดำเนินการให้เกิดผล เสริมสร้างศักยภาพและอำนวยความสะดวกในการดำเนินความร่วมมือระหว่างรัฐสมาชิก องค์กรระหว่างประเทศ หรือหุ้นส่วนอื่น ๆ เพื่อบรรลุการมีผู้สูงอายุที่มีศักยภาพในอาเซียน
                    3. เอกสารความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์ฯ ได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านการพัฒนาสาธารณสุข ในที่ประชุม 14th ASEAN SOMHD ซึ่งได้มอบหมายให้แต่ละประเทศดำเนินการภายในประเทศสำหรับการลงนามเอกสารความตกลงการจัดตั้งศูนย์ฯ ต่อไป ทั้งนี้ ในการจัดตั้งศูนย์ฯ ระยะแรกรัฐบาลไทยจะให้การสนับสนุนพื้นที่สำนักงานในประเทศไทย และบริจาคเงินไม่เกิน จำนวน 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี เป็นระยะเวลา 5 ปี
                    4. ร่างความตกลงประเทศเจ้าบ้าน (Host Country Agreement: HCA) จัดทำขึ้นระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับ ศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงอายุที่มีศักยภาพและนวัตกรรม (ASEAN Centre for Active Ageing and Innovation: ACAI) มีสาระสำคัญเป็นการให้เอกสิทธิ์และความคุ้มกันแก่ ACAI รวมทั้งเจ้าหน้าที่ ACAI โดยมีถ้อยคำและบริบทที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับข้อกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น ร่างความตกลงประเทศเจ้าบ้านฯ จึงเป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญฯ ซึ่งจะต้องขอความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีก่อนการลงนามและดำเนินการให้มีผลผูกพัน แต่ไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญฯ ที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา

แต่งตั้ง
32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเสนอแต่งตั้ง นายสุทธิเกตติ์ ทัดพิทักษ์กุล ผู้อำนวยการกอง (ผู้อำนวยการระดับสูง) กองส่งเสริมการลงทุน 1 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการลงทุน (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

33. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอแต่งตั้ง นางนิพัทธา บรรจงลิขิตสาร ผู้อำนวยการศูนย์ (ผู้อำนวยการระดับสูง) ศูนย์นักบริหารระดับสูง สำนักงาน ก.พ. ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาระบบราชการ (นักทรัพยากรบุคคลทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

34. เรื่อง การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ การโอน นางสาวบุญศิริ จันศิริมงคล นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาจิตเวช) โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ กรมสุขภาพจิต และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

35. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงแรงงาน)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเสนอแต่งตั้ง นางสาวนันทินี ทรัพย์ศิริ ประกันสังคมจังหวัด (ผู้อำนวยการระดับสูง) สำนักงานประกันสังคมจังหวัดกาญจนบุรี สำนักงานประกันสังคม ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านประสิทธิภาพ (นักวิชาการแรงงานทรงคุณวุฒิ) สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2565 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

36. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายอุเมสนัส ปานเดย์ เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง

37. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายจำนงค์  ไชยมงคล เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง

38. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการคลัง)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง นางสาวขนิษฐา      สหเมธาพัฒน์ ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (นักวิชาการคอมพิวเตอร์ทรงคุณวุฒิ) กรมสรรพากร ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

39. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง จำนวน 2 ราย ดังนี้
1. นายมงคล  วิมลรัตน์  ผู้ช่วยปลัดกระทรวง (นักบริหารต้น) สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เลื่อนขึ้นดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหารสูง)  สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
2. นางสาววนิดา  พันธ์สอาด  รองอธิบดี (นักบริหารต้น) กรมพลศึกษา เลื่อนขึ้นดำรงตำแหน่ง              รองปลัดกระทรวง (นักบริหารสูง)  สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

40. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เสนอแต่งตั้ง นายอินทพร  จั่นเอี่ยม รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

41. เรื่อง การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางพวงเพชร ชุนละเอียด) เสนอรับโอน นายกฤษฎา คงคะจันทร์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง  (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวัฒนธรรม มาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการราชบัณฑิตยสภา (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

42. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาการศึกษา แทนกรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรศาสนาอื่นที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ดังนี้
                     1. รับทราบ นายชัชชวัสส์ เศรษฐี พ้นจากตำแหน่งกรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรศาสนาอื่นในคณะกรรมการสภาการศึกษา ตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
                     2. เห็นชอบแต่งตั้ง นางกัมเลช  มันจันดา เป็นกรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรศาสนาอื่นในคณะกรรมการสภาการศึกษา แทนกรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรศาสนาอื่นที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

43. เรื่อง  แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาที่ดิน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาที่ดินชุดใหม่ จำนวน 5 คน ดังนี้
                      1. นายสุรเดช เตียวตระกูล
                      2. นายสถาพร  ใจอารีย์
                      3. นายวีรชัย กาญจนาลัย
                      4. นายสมโสถติ์ ดำเนินงาม
                      5. นายวิชิต จรัสสุขสวัสดิ์
                        ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป

44. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) เสนอแต่งตั้ง  นายพิสิฐ  รังสฤษฎ์วุฒิกุล เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ แทน นางสุพัฒตรา ลิมปะพันธุ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่ง  เนื่องจากมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2566 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

45. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)                               คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง นายพีรพันธ์ คอทอง ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นกรรมการในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

46. เรื่อง คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ แต่งตั้งคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย (Thai National Mekong Committee : TNMC) โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป ดังนี้
                    องค์ประกอบที่เสนอแต่งตั้งใหม่
                    1. รัฐมนตรีที่กำกับ ดูแล สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ                    ประธรรมกรรมการ
                    2. เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ                              รองประธานกรรมการ
                    3. ปลัดกระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์                                        กรรมการ
                    4. ปลัดกระทรวงมหาดไทย                                                  กรรมการ
                    5. ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม                    กรรมการ
                    6. เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ                                        กรรมการ
                    7. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ                                                  กรรมการ
                    8. เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ                    กรรมการ
                    9. ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย                              กรรมการ
                    10. อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน                    กรรมการ
                    11. อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย                                        กรรมการ
                    12. อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ                                        กรรมการ
                    13. อธิบดีกรมชลประทาน                                                  กรรมการ
                    14. อธิบดีกรมเจ้าท่า                                                            กรรมการ
                    15. อธิบดีกรมประมง                                                            กรรมการ
                    16. อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา                                                  กรรมการ
                    17. อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ                                                   กรรมการ
                    18. อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ                                                   กรรมการ
                    19. เลขาธิการสำนักงานนโยบาย                                                  กรรมการ
                        และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                    20. ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน                     กรรมการ
                    21. ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ                               กรรมการ
                    22. เจ้ากรมอุทกศาสตร์                                                             กรรมการ
                    23. อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง                                         กรรมการ
                    24. นายสมเกียรติ ประจำวงษ์                                                  กรรมการ                                                 (ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการติดตามผลกระทบข้ามพรมแดน)
                    25. นายวิชัย ไชยมงคล                                                              กรรมการ
                         (ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวางแผนและกลยุทธ์)
                    26. นายทองเปลว กองจันทร์                                                   กรรมการ
                        (ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารจัดการน้ำ)
                    27. นายวรพล จันทร์งาม                                                    กรรมการ
                       (ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการองค์กรและสิ่งแวดล้อม)
                    28. รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ                               กรรมการและ                                                                                                                        เลขานุการ
                    29. ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ                              กรรมการและ                                                                                                                        ผู้ช่วยเลขานุการ
                    30. ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ                                         กรรมการและ                                                สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ                                         ผู้ช่วยเลขานุการ

                    หน้าที่และอำนาจคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย (คงเดิม)
                    1. กำหนดนโยบาย ท่าทีและบทบาทของประเทศไทยต่อพันธกรณี ตามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือการพัฒนาลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2538 และกรอบความร่วมมือกับองค์กรกลุ่มน้ำนานาชาติ
                    2. พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อแผนพัฒนาลุ่มน้ำ แผนงานและโครงการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง
                    3. เสนอแนะแนวทาง วิธีการในกระบวนการการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในลุ่มน้ำโขงของไทยให้สอดคล้องกับกระบวนการการมีส่วนร่วมของประเทศภาคีสมาชิกในลุ่มแม่น้ำโขงตามพันธกรณีของความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2538
                    4. การดำเนินงานประเมินผล และเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหา และข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้นภายใต้ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2538
                    5. มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานเพื่อปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทยมอบหมาย
                    สำหรับเบี้ยประชุมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย และคณะอนุกรรมการให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมคณะกรรมการ พ.ศ. 2547 โดยให้เบิกจ่ายจากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

47. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  จำนวน 22 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2566 ดังนี้
                    1. ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
                              1.1 นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม
                              1.2 ศาสตราจารย์บัณฑิต เอื้ออาภรณ์
                              1.3 ศาสตราจารย์ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช
                              1.4 นางภัทรพร วรทรัพย์
                              1.5 นายยุทธนา สาโยชนกร
                              1.6 รองศาสตราจารย์สาโรช รุจิรวรรธน์
                              1.7 นายสุทธิเกตติ์ ทัดพิทักษ์กุล
                              1.8 รองศาสตราจารย์คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ
                              1.9 นางรวีวรรณ ภูริเดช
                              1.10 นายวันชัย พนมชัย
                              1.11 ศาสตราจารย์อภิชาติ อัศวมงคลกุล
                    2. ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมิใช่ข้าราชการ
                              2.1 นายเกรียงไกร เธียรนุกุล
                              2.2 นายธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม
                              2.3 ศาสตราจารย์ประสาท สืบค้า
                              2.4 ศาสตราจารย์ปิยะมิตร ศรีธรา
                              2.5 รองศาสตราจารย์วีระพงษ์ แพสุวรรณ
                              2.6 ศาสตราจารย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล
                              2.7 รองศาสตราจารย์สุธรรม อยู่ในธรรม
                              2.8 นายสุเมธ ตั้งประเสริฐ
                              2.9 นายสุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ
                              2.10 นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์
                              2.11 นายอาทิตย์ นันทวิทยา
                              ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ