สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566

ข่าวการเมือง Tuesday November 14, 2023 17:12 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

วันนี้ 14 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00 น. นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ กฎหมาย

                    1.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในสถาบันอุดมศึกษา
                    2.           เรื่อง           ขยายระยะเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22                                                   วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการ                                                  ประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562
                    3.           เรื่อง           (ร่าง) แผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด

พ.ศ. 2566 - 2570 ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558

                    4.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตาม                                                            พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
                    5.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตาม                                                            พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553
                    6.           เรื่อง           เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาขยายระยะเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่าง                                                  หนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำ                                                  ร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (พระราชบัญญัติ                                        รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และ                                        ที่แก้ไขเพิ่มเติม)

เศรษฐกิจ
                    7.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตาม                                                            พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542
                    8.           เรื่อง           รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย                                         ประจำปี 2565
                    9.           เรื่อง           มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2566/67 (เพิ่มเติม)
                    10.           เรื่อง           ข้อเสนอแนวทางการบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย
                    11.           เรื่อง           การปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ต่างประเทศ

                    12.           เรื่อง           การเสนองบประมาณและแผนการดำเนินงานประจำปี 2567 ขององค์กรร่วม

ไทย ? มาเลเซีย

แต่งตั้ง
                    13.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    14.           เรื่อง           การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ

และสังคม

?
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในสถาบันอุดมศึกษา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
                    1. รับทราบร่างกฎกระทรวงที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว                    รวม 3 ฉบับ และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้รวม 3 ฉบับ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
                    2. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ) รับความเห็นของสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ สคก.เสนอว่า
                    1. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ส่งร่างกฎกระทรวง                  รวม 3 ฉบับ ได้แก่
                              1.1 ร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด กระทรวง                  การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ....
                              1.2 ร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กระทรวง                การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ....
                              1.3 ร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงการจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ อว. โดยจัดตั้งคณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ และสำนักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพิ่มขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทการจัดการอุดมศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้พิจารณากลั่นกรอง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้พิจารณาเห็นชอบแล้ว และให้ส่ง สคก. ตรวจพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549 เรื่อง ขั้นตอนการแบ่งส่วนราชการภายในสถาบันอุดมศึกษา ที่กำหนดว่าเมื่อมีการจัดทำกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการภายในสถาบันอุดมศึกษาให้เสนอคณะกรรมการการอุดมศึกษาพิจารณากลั่นกรอง และเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมพิจารณา แล้วส่งให้ สคก. ตรวจพิจารณา
                    2. สคก. ได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวง รวม 3 ฉบับ ตามข้อ 1 เสร็จแล้ว และอว. (สำนักงานปลัดกระทรวง มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ) ได้ยืนยันให้ความเห็นชอบกับการแก้ไขเพิ่มเติมร่างกฎกระทรวง รวม 3 ฉบับดังกล่าวแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ รวม 3 ฉบับ มีสาะสำคัญเป็นการปรับปรุงการจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ อว. โดยจัดตั้งคณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ และสำนักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพิ่มขึ้น โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้*
มหาวิทยาลัย          กฎกระทรวงเดิม          ร่างกฎกระทรวงที่เสนอในครั้งนี้
มหาวิทยาลัย
ราชภัฏร้อยเอ็ด          1. สำนักงานอธิการบดี
2. คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์          1. สำนักงานอธิการบดี
2. คณะครุศาสตร์และการพัฒนา
3. คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
4. สำนักส่งเสริมวิชาการและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
มหาวิทยาลัย
ราชภัฏศรีสะเกษ          1. สำนักงานอธิการบดี
2. คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์          1. สำนักงานอธิการบดี
2. คณะครุศาสตร์และการพัฒนา
3. คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
4. สำนักส่งเสริมวิชาการและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
มหาวิทยาลัย
ราชภัฏชัยภูมิ          1. สำนักงานอธิการบดี
2. คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์          1. สำนักงานอธิการบดี
2. คณะครุศาสตร์และการพัฒนา
3. คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
4. สำนักส่งเสริมวิชาการและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
* ปัจจุบันมหาวิทยาลัยทั้ง 3 แห่ง ได้มีการเปิดการเรียนการสอนในคณะครุศาสตร์อยู่แล้ว โดยมีฐานะเป็นส่วนงานภายในของคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้จะเป็นการยกฐานะให้คณะครุศาสตร์กลายเป็นส่วนราชการในมหาวิทยาลัยทั้ง 3 แห่ง สำหรับสำนักส่งเสริมวิชาการและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ปัจจุบันมีการดำเนินการเป็นส่วนงานภายในของสำนักงานอธิการบดี

2. เรื่อง ขยายระยะเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22 วรรคสอง                   แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของ คค. ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
                    ทั้งนี้ คค. เสนอว่า
                    1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (28 กุมภาพันธ์ 2566) ให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานเร่งตรวจสอบกฎหมายในความรับผิดชอบของตนซึ่งมีผลใช้บังคับก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 ที่เข้าข่ายเป็นกรณีตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และเร่งดำเนินการจัดทำกฎหรือดำเนินการนั้น ภายในขอบเขตหน้าที่และอำนาจให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 กรณีที่ไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จครบถ้วนได้ทันภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ให้พิจารณาเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาออกไปอีก 1 ปี ตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยให้ระบุเหตุผลความจำเป็นของการขอขยายระยะเวลาดังกล่าวประกอบด้วย
                    2. การออกกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามพระราชบัญญัติ รวม 12 ฉบับ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ คค. อยู่ระหว่างดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย คค. จึงมีความจำเป็นที่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง รวม 136 ฉบับได้แก่
                              2.1 พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (อยู่ระหว่างดำเนินการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 3 ฉบับ ประกอบด้วย กฎกระทรวงจำนวน 2 ฉบับ และข้อบังคับ จำนวน 1 ฉบับ)
                              2.2 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. 2562 (อยู่ระหว่างดำเนินการออกกฎหมายลำดับรอง 1 ฉบับ)
                              2.3 พระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ. 2481 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (อยู่ระหว่างดำเนินการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 2 ฉบับ ประกอบด้วยระเบียบ จำนวน 1 ฉบับ และประกาศ จำนวน 1 ฉบับ)
                              2.4 พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 (อยู่ระหว่างดำเนินการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 9 ฉบับ ประกอบด้วย กฎกระทรวง จำนวน 7 ฉบับ และประกาศ จำนวน 2 ฉบับ)
                              2.5 พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 (อยู่ระหว่างดำเนินการออกกฎหมายลำดับ              รองประกอบด้วยกฎกระทรวง จำนวน 6 ฉบับ)
                              2.6 พระราชบัญญัติทางหลวงสัมปทาน พ.ศ. 2542 (อยู่ระหว่างดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองประกอบด้วยกฎกระทรวง จำนวน 2 ฉบับ)
                              2.7 พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม (อยู่ระหว่างดำเนินการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 3 ฉบับ ประกอบด้วย พระราชกฤษฎีกา 1 ฉบับ กฎกระทรวง จำนวน 1 ฉบับ และข้อบังคับ จำนวน 1 ฉบับ)
                              2.8 พระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 (อยู่ระหว่างดำเนินการออกกฎหมายลำดับรอง 1 ฉบับ)
                              2.9 พระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน                     พ.ศ. 2540 (อยู่ระหว่างดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองประกอบด้วย กฎกระทรวง จำนวน 2 ฉบับ)
                              2.10 พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (อยู่ระหว่างดำเนินการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 101 ฉบับ ประกอบด้วย พระราชกฤษฎีกา จำนวน 1 ฉบับ กฎกระทรวง จำนวน 6 ฉบับ ประกาศ จำนวน 9 ฉบับ ระเบียบ จำนวน 11 ฉบับ ข้อบังคับ จำนวน 15 ฉบับ และข้อกำหนด จำนวน 59 ฉบับ)
                              2.11 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ. 2558                    (อยู่ระหว่างดำเนินการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 5 ฉบับ ประกอบด้วย กฎกระทรวง จำนวน 2 ฉบับ ประกาศ จำนวน 1 ฉบับ และระเบียบ จำนวน 2 ฉบับ)
                              2.12 พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 (อยู่ระหว่างดำเนินการออกกฎหมายลำดับรอง 1 ฉบับ)
ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 โดยมีร่างกฎหมายลำดับรองที่อยู่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินการต่าง ๆ
                    3. โดยที่เนื้อหาและสาระสำคัญของกฎหมายแม่บทที่ให้อำนาจออกกฎหมายลำดับรองมีหลายประเด็นเกี่ยวข้องกับหน้าที่และอำนาจ ตลอดจนแนวทางปฏิบัติงานของ คค. ในด้านของคมนาคมและอาจ                 ก่อภาระแก่ประชาชน เช่น การกำหนดค่าธรรมเนียมการมีหรือวางทุ่นหรือเครื่องสำหรับผูกจอดเรือในน่านน้ำ แม่น้ำหรือทำเลทอดสมอจอดเรือใด ๆ การกำหนดอัตราค่าเดินทางและค่าธรรมเนียมสำหรับการเดินทางไปตรวจเรือนอกสถานที่ราชการ การให้ใบรับรองแทนให้แก่กรมประมง และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจดทะเบียนเรือประมงพาณิชย์ เพื่อทำการประมงนอกน่านน้ำไทย การรับจัดการขนส่งผ่านแพลตฟอร์ม การออกใบอนุญาตในการขนส่งวัตถุอันตรายของผู้ที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับ คค. มีกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบเป็นจำนวนหลายฉบับจึงต้องใช้ระยะเวลาในการพิเคราะห์บทบัญญัติของกฎหมายและสาระสำคัญของกฎหมายฉบับต่าง ๆ ว่าบทบัญญัติใดมีลักษณะเป็นไปตามมาตรา 22 วรรคสอง                        แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และกฎหมายลำดับรองบางฉบับอยู่ระหว่างการเตรียมข้อมูลเพื่อนำไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย และอยู่ในขั้นตอนการทบทวนตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องหรือการตีความบทบัญญัติของกฎหมายที่ยังไม่เป็นที่ยุติ ดังนั้น คค. ไม่สามารถออกกฎหมายลำดับรองได้ทันภายในระยะเวลาตามที่กำหนด จึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรองดังกล่าว ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ทั้งนี้ คค. ได้ดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองแล้ว จำนวน 634 ฉบับ

3. เรื่อง (ร่าง) แผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด พ.ศ. 2566 - 2570 ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด พ.ศ. 2566 - 2570 ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 [(ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ)] ตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ (คณะกรรมการฯ) (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกรรมการ) เสนอ
                    โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการการทำงานและนำแผนปฏิบัติการดังกล่าวไปใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ โดยคำนึงหลักความประหยัดและความคุ้มค่า ตลอดจนสนับสนุนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ซึ่งรวมถึงภาคเอกชน ภาคประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการดังกล่าว สำหรับค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการภายใต้ (ร่าง) แผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด พ.ศ. 2566 - 2570 ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ดังกล่าว ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ในโอกาสแรกก่อน สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในปีต่อ ๆ ไป ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามภารกิจความจำเป็นและเหมาะสม เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี และ/หรือพิจารณาเงินนอกงบประมาณ รวมถึงรายได้ หรือเงินอื่นใดที่หน่วยงานมีอยู่ หรือสามารถนำมาใช้จ่ายสมทบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คณะกรรมการฯ รายงานว่า
                    1. ที่ผ่านมาได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด มาแล้ว 2 ฉบับ ต่อมาคณะกรรมการฯ เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาดำเนินงานแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด พ.ศ. 2562 - 2564 ไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 ซึ่งปัจจุบันสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินงานแล้ว กรมควบคุมโรค ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการฯ จึงจัดทำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ซึ่งเป็นแผนฉบับที่ 3 ที่มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) และแผนระดับที่ 3 ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ คณะกรรมการด้านวิชาการ ในคราวประชุมครั้งที่ 17/2565 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565 และคณะกรรมการฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2565 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2565 มีมติเห็นชอบในหลักการ          (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ด้วยแล้ว
                    2. (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ มีฐานะเป็นแผนระดับ 3 จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับหน่วยงานของรัฐ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ในการใช้นำไปเป็นกรอบ                 การดำเนินงานโดยส่งเสริมความร่วมมือของทุกภาคส่วนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถเตรียมความพร้อมและป้องกันควบคุมโรคติดต่อ ทั้งในระดับประเทศและระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ประชาชนมีความมั่นคงทางสุขภาพเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาความมั่นคงด้านต่าง ๆ ของประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป โดยมีสาระคัญสรุปได้ ดังนี้
                              2.1 วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์หลัก นโยบายการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายสำคัญ
หัวข้อ          สาระสำคัญ
วิสัยทัศน์          ประเทศไทยปลอดภัยจากโรคติดต่อด้วยระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อที่มีประสิทธิภาพทันต่อสถานการณ์ และได้มาตรฐานในระดับนานาชาติ ภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วน เพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนอย่างยั่งยืน
ตัวอย่างพันธกิจที่สำคัญ          ? พัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม ระบบข้อมูล เทคโนโลยี และโครงสร้างพื้นฐาน ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ
? กำหนดกลไกการพัฒนาระบบการจัดการภาวะฉุกเฉิน และการยกระดับการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคติดต่อ โดยการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ
? กำหนดนโยบาย แนวทางการพัฒนากำลังคนให้มีขีดความสามารถในการเฝ้าระวังเตือนภัย สอบสวนป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ และสร้างกลไกเชื่อมโยงเครื่อข่ายทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ
? พัฒนาระบบ กลไก และเครือข่ายในการสื่อสารความเสี่ยง และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในการสนับสนุนการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ และตอบสนองต่อการระบาดของโรค
เป้าประสงค์หลัก          ป้องกัน ควบคุม กำจัด กวาดล้าง และลดผลกระทบจากโรคติดต่อ ด้วยระบบการทำงานที่เข้มแข็งของเครือข่ายการทำงานทุกภาคส่วน รวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชน
ตัวอย่างนโยบายการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญ          ? เร่งรัดการกำจัดและกวาดล้างโรคที่เป็นพันธสัญญากับนานาชาติ และเป็นโรคที่ประเทศไทยสามารถควบคุมได้ระดับหนึ่งแล้ว เช่น โรคโปลิโอ โรคมาลาเรีย โรคเรื้อน โรคเอดส์ โรคหัด โรคพิษสุนัขบ้า และโรคเท้าช้าง
? พัฒนาระบบการป้องกันโรคติดต่ออันตรายเพื่อลดโอกาสการระบาดของโรคติดต่ออันตรายในประเทศไทยให้เหลือน้อยที่สุด
? ควบคุมโรคติดต่อประจำถิ่น เช่น ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ มือเท้าปาก วัณโรค ด้วยมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของประชาชนให้น้อยที่สุด
ตัวอย่างวัตถุประสงค์ที่สำคัญ          ? เพื่อให้ประเทศไทยมีระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ ที่มีประสิทธิภาพ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
? เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือโรคระบาด ในเขตพื้นที่จังหวัดและกรุงเทพมหานคร
ตัวอย่างเป้าหมายสำคัญ          ? ทุกจังหวัดมีแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาด ซึ่งผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและกรุงเทพมหานคร
? ประเทศไทยสามารถกำจัดกวาดล้างโรคติดต่อตามพันธสัญญานานาชาติ (โรคมาลาเรีย โรคโปลีโอ โรคหัด โรคเอดส์ โรคพิษสุนัขบ้า และโรคเรื้อน) บรรลุตามเป้าหมาย เช่น ทุกอำเภอไม่มีการแพร่เชื้อมาลาเรียภายในปี 2567 และไม่มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า ภายในปี 2568 เป็นต้น
? มีระบบปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินที่สามารถรับมือภาวะฉุกเฉินจากโรคติดต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
? มีการพัฒนาเครือข่ายภายในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
ตัวอย่างตัวชี้วัดตามเป้าหมายที่สำคัญ          ? จำนวนจังหวัดที่มีแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือโรคระบาด ในเขตพื้นที่จังหวัดและกรุงเทพมหานคร
? ร้อยละความสำเร็จในการบรรลุเป้าหมายกำจัดกวาดล้างโรคติดต่อตามพันธสัญญานานาชาติ
? ร้อยละของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องมีแผนเตรียมความพร้อมและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข รวมทั้งแผนประคองกิจการ (Business Continuity Plan) และฝึกซ้อมแผนร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
? ร้อยละของเครือข่ายระหว่างประเทศที่มีแผนงานโครงการความร่วมมือในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ
                              2.2 ประเด็นการพัฒนา ประกอบด้วย 5 ประเด็น ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ
ประเด็นการพัฒนา 1 : การพัฒนานโยบาย มาตรการ กฎหมาย และกลไกการบริหารจัดการการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ
เป้าหมาย          (1) นโยบาย กฎหมาย มาตรการที่เอื้อต่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อมีประสิทธิภาพ
(2) กลไกการบริหารจัดการในการเร่งรัด กำจัด กวาดล้างโรคติดต่อตามพันธสัญญานานาชาติ โรคติดต่ออุบัติใหม่ และการขับเคลื่อนการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อในระดับประเทศ และระดับจังหวัด
ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักและค่าเป้าหมาย          ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
? ภายในปี 2570 จำนวนกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรคติดต่อได้รับการพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 5 เรื่อง
? ภายในปี 2570 จังหวัดมีแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดในเขตพื้นที่จังหวัดหรือกรุงเทพมหานคร                  พ.ศ. 2566 - 2570 คิดเป็นร้อยละ 100
แนวทางการพัฒนา (กลยุทธ์)           กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนานโยบาย มาตรการ กฎหมาย ด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ เช่น ทบทวน ปรับปรุง และบูรณาการกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหลักเกณฑ์ด้านการเงิน การคลังที่เอื้อต่อการควบคุมโรค รวมทั้งพัฒนาคู่มือการปฏิบัติงานให้ทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาระบบและกลไกการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ เช่น พัฒนาระบบบริหารจัดการโรคติดต่อหรือโรคระบาดตามสถานการณ์ และพัฒนาระบบบริการพิเศษหรือเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับการป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ
กลยุทธ์ที่ 3 เสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่ เช่น พัฒนาระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่แบบบูรณาการทุกระดับ ภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว
กลยุทธ์ที่ 4 เร่งรัดการกำจัด กวาดล้าง โรคติดต่อตามพันธสัญญานานาชาติ เช่น ขับเคลื่อนและกำกับติดตามการกำจัดกวาดล้างโรคตามพันธสัญญานานาชาติ
โครงการหรือกิจกรรมสำคัญ          ประกอบด้วย 23 โครงการสำคัญ เช่น
? โครงการทบทวนและจัดทำแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อต่าง ๆ และกลไกการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการไปสู่การปฏิบัติ
? โครงการพัฒนากลไกการดำเนินงานและเสริมสร้างความเข้มแข็งของทีมปฏิบัติการสอบสวนโรคและภัยสุขภาพให้ได้มาตรฐาน
? โครงการส่งเสริมนโยบาย สิทธิการรักษาตามนโยบายรัฐ เพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ (Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP) สำหรับประชากรข้ามชาติและประชากรที่ไม่ใช่คนไทย
? โครงการพัฒนารูปแบบ วิจัย นวัตกรรม ด้านการป้องกันควบคุมโรคอุบัติใหม่
หน่วยงานรับผิดชอบ          เช่น กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงบประมาณ (สงป.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด และคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร
ประเด็นการพัฒนา 2 : การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และยกระดับการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ
เป้าหมาย          (1) โครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขมีความพร้อมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อมีอย่างประสิทธิภาพ
(2) ระบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมทั้งประชากรไทย และประชากรข้ามชาติ
(3) พัฒนาองค์ความรู้ วิจัย และนวัตกรรม ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ และนำไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักและค่าเป้าหมาย          ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัด เช่น
? ภายในปี 2570 ห้องปฏิบัติการเครือข่ายมีมาตรฐานความปลอดภัย และผ่านการรับรองระบบบริหารจัดการคุณภาพและความสามารถทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ตามมาตรฐาน ที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติหรือนานาชาติ คิดเป็นร้อยละ 100
? ภายในปี 2570 สถานพยาบาลมีการรายงานโรคติดต่ออันตราย หรือโรคระบาดเป็นไปตามบทบัญญัติภายใต้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 คิดเป็นร้อยละ 100
? ภายในปี 2570 ผลงานวิจัยและพัฒนาด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค และดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดต่อที่นำไปใช้ประโยชน์ คิดเป็นร้อยละ 80
แนวทางการพัฒนา (กลยุทธ์)          กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุข เช่น พัฒนาห้องปฏิบัติการและระบบเครือข่ายห้องปฏิบัติการเพื่อรองรับโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ โดยเชื่อมโยงผลการตรวจวินิจฉัยของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุขเข้าสู่ระบบเฝ้าระวังและระบบตระหนักรู้สถานการณ์ให้ได้โดยเร็ว
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาความเข้มแข็งของระบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม และดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดต่อ เช่น พัฒนาระบบการแจ้งเตือนภัยโรคระบาดที่รวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ (Real time)
กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้ วิจัย และนวัตกรรมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม และดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดต่อ
โครงการหรือกิจกรรมสำคัญ          ประกอบด้วย 21 โครงการสำคัญ เช่น
? โครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์ การคัดกรองผู้เดินทาง และยานพาหนะที่ช่องทางเข้าออกประเทศด้วยระบบดิจิทัล
? โครงการพัฒนาระบบข่าวกรองทางระบาดวิทยา
? โครงการพัฒนาศักยภาพการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ
? โครงการสนับสนุนการนำผลงานนวัตกรรม วิจัย การจัดการความรู้ ด้านการป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพไปใช้ประโยชน์
หน่วยงานรับผิดชอบ          เช่น สธ. กก. อว. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดศ. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงยุติธรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม                      และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ประเด็นการพัฒนา 3 : การยกระดับการจัดการภาวะฉุกเฉินจากโรคติดต่อ
เป้าหมาย          ระบบและกลไกการจัดการภาวะฉุกเฉินจากโรคติดต่อมีประสิทธิภาพและบูรณาการร่วมกับเครือข่ายสามารถเฝ้าระวัง ตรวจจับ ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินได้ทันต่อเหตุการณ์และฟื้นฟูสภาพได้รวดเร็ว
ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักและค่าเป้าหมาย          ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด ดังนี้
? ภายในปี 2570 หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องมีแผนเตรียมความพร้อมและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข และฝึกซ้อมแผนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 100
? ภายในปี 2570 ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขที่มีสมรรถนะผ่านเกณฑ์ที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 80
? ภายในปี 2570 จังหวัดมีการจัดทำแผนระดมบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขสาขาที่จำเป็นทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ในภาวะฉุกเฉินจากโรคติดต่อ คิดเป็น                   ร้อยละ 100
แนวทางการพัฒนา (กลยุทธ์)          กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือการระบาดของโรคติดต่อ เช่น                  การจัดทำแผนเตรียมความพร้อมและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข การเตรียมความพร้อมบุคลากร และการฝึกซ้อมแผนเตรียมความพร้อม
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาระบบบริหารจัดการควบคุมการระบาดของโรคติดต่อ เช่น พัฒนาศูนย์ปฏิบัติการและระบบบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน การจัดการข้อมูลภาวะฉุกเฉินอย่างเป็นระบบและทันสมัยเพื่อการตัดสินใจและสั่งการได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์
กลยุทธ์ที่ 3 เสริมความเข้มแข็งของระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยในสถานการณ์การระบาดของโรคติดต่อ เช่น พัฒนาศักยภาพของโรงพยาบาลภาครัฐทุกระดับให้สามารถรับ                ภาระดูแลผู้ป่วยจำนวนมากในสถานการณ์โรคระบาด รวมทั้งจัดให้มีสถานที่กักกัน และโรงพยาบาลสนามตามความจำเป็น
กลยุทธ์ที่ 4 เตรียมการฟื้นฟูหลังภาวะฉุกเฉินจากโรคติดต่อ เช่น พัฒนาแนวทางและแผนบริหารจัดการเพื่อการฟื้นฟูสุขภาวะของบุคคลที่ได้รับผลกระทบ
โครงการหรือกิจกรรมสำคัญ          ประกอบด้วย 13 โครงการสำคัญ เช่น
? โครงการพัฒนาแผนรับมือเพื่อตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข
? โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข
? โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพของศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขในทุกระดับรองรับการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุข
? โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน
หน่วยงานรับผิดชอบ          เช่น สธ. กระทรวงกลาโหม อว. ดศ. และกระทรวงมหาดไทย (มท.)
ประเด็นการพัฒนา 4 : การพัฒนากำลังคนและเครือข่ายความร่วมมือระดับชาติและนานาชาติ
เป้าหมาย          (1) การเตรียมกำลังคนด้านการป้องกันควบคุมโรคติดต่อให้ได้ตามมาตรฐาน ทั้งปริมาณและขีดความสามารถ (Capacity) รวมทั้งการระดมสรรพกำลังรองรับการระบาดของโรคติดต่อได้ทันท่วงทีและเพียงพอ
(2) เครือข่ายในประเทศและระหว่างประเทศมีความร่วมมือในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่ออย่างเข้มแข็ง และมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักและค่าเป้าหมาย          ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัด เช่น
? ภายในปี 2570 จังหวัดมีกำลังคนด้านการป้องกันควบคุมโรคติดต่อได้ตามมาตรฐานทั้งปริมาณ และขีดความสามารถ คิดเป็นร้อยละ 100
? ภายในปี 2570 จังหวัดมีฐานข้อมูลด้านการบริหารทรัพยากรบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญ และเครือข่ายการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ คิดเป็นร้อยละ 90
? ภายในปี 2570 เครือข่ายระหว่างประเทศมีความร่วมมือในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ คิดเป็นร้อยละ 100
แนวทางการพัฒนา (กลยุทธ์)           กลยุทธ์ที่ 1 จัดทำแผนกำลังคนด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ เช่น สรรหาบุคลากรในสาขาวิชาชีพที่มีความจำเป็นให้เพียงพอ
กลยุทธ์ที่ 2 เสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของเครือข่ายการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อ เช่น ส่งเสริมการประสานงาน และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครือข่าย รวมทั้งการสร้างชุมชนต้นแบบ
ด้านสุขภาพและการป้องกันควบคุมโรค
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศในการขับเคลื่อนการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ เช่น ส่งเสริมบทบาทของประเทศไทยในการดำเนินงานของศูนย์อาเซียนเพื่อการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคติดต่ออุบัติใหม่
โครงการหรือกิจกรรมสำคัญ          ประกอบด้วย 17 โครงการสำคัญ เช่น
? โครงการวิเคราะห์อัตรากำลังที่จำเป็นสำหรับการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ
? โครงการพัฒนาขีดความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุข และสมาชิกเครือข่ายในชุมชนท้องถิ่น เพื่อการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อ
? โครงการจัดเวทีระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ขายแดนและกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาสุขภาพแรงงานข้ามชาติที่อาศัยในพื้นที่ชายแดน
? โครงการพัฒนาโครงสร้างศูนย์อาเซียนเพื่อการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคติดต่ออุบัติใหม่ (ASEAN Center for Public Health Emergency and Emerging Infectious Diseases: ACPHEED)
หน่วยงานรับผิดชอบ          เช่น สธ. กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) อว. มท. และสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (สวช.)
ประเด็นการพัฒนา 5 : การพัฒนาการสื่อสารความเสี่ยงและระบบสนับสนุนการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ
เป้าหมาย          (1) การสื่อสารความเสี่ยงและการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ และครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย
(2) ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้องและมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด
(3) ระบบสนับสนุนการป้องกัน ควบคุม และดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดต่อมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักและค่าเป้าหมาย          ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด ดังนี้
? ภายในปี 2570 ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด คิดเป็นร้อยละ 80
? ภายในปี 2570 จังหวัดมีการขับเคลื่อนการสื่อสารความเสี่ยงด้านการป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพตามมาตรฐานสากล JEE/IHR (2005) 1 คิดเป็นร้อยละ 75
? ภายในปี 2570 จังหวัดมีการยกระดับความพร้อมของระบบส่งกำลังบำรุง (Logistics) คลังสำรองเวชภัณฑ์และวัคซีน ระบบบริหารจัดการข้อมูลคลังเวชภัณฑ์และวัคซีน ในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินขนาดใหญ่ โรคติดต่อหรือโรคระบาด คิดเป็นร้อยละ 90
แนวทางการพัฒนา (กลยุทธ์)          กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาระบบการสื่อสารความเสี่ยง เช่น พัฒนายุทธศาสตร์และแนวทางการเฝ้าระวังด้านสื่อสารและตอบโต้ข้อมูลข่าวสารเท็จ ข่าวปลอม ข่าวบิดเบือน
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น พัฒนาฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคให้สามารถเชื่อมโยงได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว มีความเป็นเอกภาพ รวมทั้งการเตือนภัยล่วงหน้าที่ทันเหตุการณ์ เพื่อขยายการใช้ประโยชน์ของข้อมูล
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาการจัดหาเวชภัณฑ์ วัคซีน และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น ปรับปรุงกลไกการจัดซื้อจัดหาเวชภัณฑ์ วัคซีน และวัสดุอุปกรณ์ในภาครัฐให้เพียงพอและทันเวลา
โครงการหรือกิจกรรมสำคัญ          ประกอบด้วย 21 โครงการสำคัญ เช่น
? โครงการความร่วมมือด้านประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนกับต่างประเทศ
? โครงการยกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดต่อของประชาชน
? โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศทางห้องปฏิบัติการ
? โครงการพัฒนากลไกการจัดซื้อจัดหาและสำรองวัคซีนในภาวะฉุกเฉินและการสำรองวัคซีนในระดับภูมิภาค
หน่วยงานรับผิดชอบ          เช่น สธ. กต. อว. ดศ. ทส. สำนักนายกรัฐมนตรี และ สวช.
                              2.3 การนำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ไปสู่การปฏิบัติ
                              (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ได้กำหนดกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ 4 ด้าน สรุปได้ ดังนี้
กลไกการขับเคลื่อน          รายละเอียด
(1) ด้านการบริหารจัดการ          จัดให้มีกลไกการขับเคลื่อนในระดับประเทศและจังหวัด โดยกำหนดกลไกสำคัญ เช่น
          (1) ใช้กลไกของคณะกรรมการฯ เป็นกลไกขับเคลื่อน
          (2) ให้เขตตรวจราชการของทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เป็นกลไกผลักดันนโยบายและยุทธศาสตร์จากระดับชาติสู่ระดับจังหวัดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม
          (3) จัดตั้งคณะกรรมการและคณะทำงาน เป็นกลไกในการประสานงานระหว่างหน่วยงานเพื่อให้การดำเนินงานแต่ละปีมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน
          (4) ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมกันทบทวนและยืนยันค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักในแต่ละปี และเมื่อกระทรวงที่เกี่ยวข้องรับรองตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักและค่าเป้าหมายแต่ละปีแล้ว ให้ดำเนินการถ่ายทอดตัวชี้วัดดังกล่าวไปยังส่วนราชการ/หน่วยงานในส่วนกลาง/ส่วนราชการในจังหวัด/ส่วนราชการท้องถิ่น ไปดำเนินการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อไป
(2) ด้านการบริหารจัดการงบประมาณ          การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ มีกลไกการบริหาร จัดการงบประมาณสรุปได้ ดังนี้
          (1) กลไกในภาวะปกติ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงานซึ่งเชื่อมโยงกับแผนปฏิบัติการฯ
          (2) กลไกกรณีฉุกเฉินหรือมีความจำเป็น เช่น กรณีส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจใดมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายงบประมาณนอกเหนือจากที่ได้รับการจัดสรรแล้วให้ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลางรายการเงินสำรองเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น หรือเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นในพื้นที่ใด ให้จังหวัด/กรุงเทพมหานคร หรือส่วนราชการที่มีเงินทดรองราชการ          ใช้วงเงินทดรองราชการในระหว่างที่ยังไม่ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่าย                 เพื่อดำเนินการช่วยเหลือโดยเร่งด่วนตามความจำเป็นและเหมาะสม
(3) ด้านการประสานความร่วมมือและประสานการปฏิบัติ          ได้กำหนดกลไกการขับเคลื่อนไว้ทุกระดับและทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดความร่วมมือแบบบูรณาการ ดังนี้
          (1) กลไกความร่วมมือภายในประเทศ ประกอบด้วย กลไกความร่วมมือทุกระดับ ได้แก่ ระดับประเทศ (ใช้รูปแบบของคณะกรรมการฯ เป็นจุดเชื่อมการประสาน) ระดับจังหวัด (ใช้รูปแบบคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดประสานงานกับคณะกรรมการฯ) และระดับชุมชน (ส่งเสริมบทบาทของอาสามัคร เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน ชมรมแม่บ้าน เป็นต้น ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่เพื่อการประสานงานสู่พื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม)
          (2) กลไกความร่วมมือระหว่างประเทศ หน่วยงานระดับกระทรวงที่เกี่ยวข้องผลักดันให้เกิดความร่วมมือระดับนานาชาติ โดยร่วมกันผลักดันให้ทุกภาคีมีพันธสัญญาร่วมในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสร้างความร่วมมือเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในระดับนานาชาติร่วมกัน
          (3) การประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน สนับสนุนให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการ การฝึกอบรม และพัฒนาบุคลากร การถ่ายทอดนโยบายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการประสานงานระหว่างกัน
          (4) การสร้างช่องทางการประสานงานที่รวดเร็ว เช่น Line Application ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับผู้บริหารของทุกส่วนราชการและระหว่างประเทศ
(4) ด้านการติดตาม การประเมินผลและการรายงานผล          จัดระบบการติดตามและประเมินผล ดังนี้
          (1) ช่วงต้นแผน ประเมินการนำไปใช้ การดำเนินการในหน่วยงาน (ระยะเวลา 1 - 2 ปี พ.ศ. 2566 - 2567)
          (2) ช่วงกลางแผน ประเมินความก้าวหน้าการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ (ระยะเวลา 2 - 3 ปี พ.ศ. 2567 - 2569)
          (3) ช่วงปลายแผน ประเมินผลสำเร็จของการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ (ระยะเวลา 1 - 2 ปี ท้ายแผน พ.ศ. 2569 - 2570)
                    3. สธ. ได้ดำเนินการเสนอ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ต่อสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งในคราวประชุมสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒนาฯ) เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2566 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          ข้อเสนอแนะ
(1) ประเด็นการพัฒนา          ? ควรสร้างองค์ความรู้ในการดูแลและป้องกันตนเองจากโรคติดต่อ รวมถึงสร้างจิตสำนึกเรื่องการป้องกันและการปฏิบัติต่อโรคติดต่อที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมกับคนทุกกลุ่มในสังคม และเพิ่มเติมบทบาทของภาคประชาสังคมและภาคส่วน             อื่น ๆ เพิ่มเติม อาทิ โรงเรียน โรงพยาบาลระดับชุมชน ผู้นำชุมชน เป็นต้น
? ควรพัฒนาแนวทางรองรับการบริหารจัดการกำลังคนในสาขาที่ขาดแคลนทั้งระบบที่ชัดเจน
? ควรมีแผนการบริหารจัดการวัคซีนและแผนการกำหนดแนวทางพัฒนาและ           การผลิตวัคซีนชนิดต่าง ๆ ของประเทศที่ชัดเจน
(2) การกำหนดตัวชี้วัด
          ควรเพิ่มเติมตัวชี้วัดที่วัดองค์ประกอบสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จของการบริหารจัดการโรคระบาดและโรคอุบัติใหม่ที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น การมีคณะกรรมการเฉพาะกิจหรือคณะทำงานที่พร้อมจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน และการมีงบประมาณเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินจากโรคระบาด เป็นต้น
(3) การพัฒนาฐานข้อมูล          ควรมีแนวทางจัดทำและเชื่อมโยงฐานข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการโรคระบาดเข้าด้วยกัน
(4) การขับเคลื่อนแผน
          ควรเพิ่มเติมบทบาทของภาคเอกชน หน่วยงานส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย ในการสนับสนุนเพื่อร่วมจัดการกับโรคติดต่อหรือโรคระบาดใหม่ให้มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น
(5) การผนวกรวมแผน
          เพื่อความเป็นเอกภาพและประสิทธิภาพในการทำงาน ควรพิจารณาผนวกรวม (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ และเผนปฏิบัติการด้านเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ พ.ศ. 2566 ? 2570 โดยคำนึงถึงโรคระบาดเดิม และโรคอุบัติใหม่ ที่ต้องการการรับมือที่แตกต่างกัน (สธ. แจ้งว่าได้มอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบของทั้งสองแผนให้บูรณาการและประสานงานเพื่อการดำเนินงานขับเคลื่อนแผนให้เป็นไปในทางเดียวกันด้วยแล้ว)
                    ทั้งนี้ สธ. ได้ดำเนินการปรับปรุง (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ตามข้อเสนอแนะของสภาพัฒนาฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งคณะกรรมการฯ ได้ให้ความเห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ที่ปรับปรุงดังกล่าวด้วยแล้ว เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2566
1 JEE/IHR ย่อมาจาก Joint External Evaluation on Core Capacities of IHR คือการประเมินการพัฒนาขีดความสามารถหลักตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ

4. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ออกไป 1 ปี นับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ
                    ทั้งนี้ รง. เสนอว่า
                    1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (19 มกราคม 2564) ให้หน่วยงานของรัฐตรวจสอบกฎหมายในความรับผิดชอบของตนว่า มีกรณีที่ต้องมีการออกกฎหรือกำหนดให้รัฐต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อที่ประชาชนจะสามารถปฏิบัติตามกฎหมายหรือได้รับสิทธิประโยชน์จากกฎหมาย ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 หรือไม่ โดยให้มีการเร่งออกกฎหรือดำเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับ สำหรับกฎหมายที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป หรือภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 สำหรับกฎหมายที่มีผลใช้บังคับก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (28 กุมภาพันธ์ 2566) ให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยเร่งตรวจสอบกฎหมายในความรับผิดชอบของตนซึ่งมีผลใช้บังคับก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 ที่เข้าข่ายเป็นกรณีตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ และเร่งออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อที่ประชาชนจะสามารถปฏิบัติตามกฎหมายหรือได้รับสิทธิประโยชน์จากกฎหมายนั้นได้ ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 หากไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จครบถ้วนได้ทันภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ให้พิจารณาเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาออกไปอีก 1 ปี โดยให้ระบุเหตุผลความจำเป็นของการขอขยายระยะเวลาดังกล่าวประกอบด้วย
                    2. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2541 ซึ่งบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้ออกกฎหมายลำดับรองในหมวด 13 กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง จำนวน 14 ฉบับ รง. ได้เสนอกฎหมายลำดับรองและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จำนวน 5 ฉบับ (เป็นระเบียบทั้งหมด) ยังมีกฎหมายลำดับรองที่อยู่ในขั้นตอนการจัดทำร่างกฎหมายอีก 9 ฉบับ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การเก็บเงินสะสมของลูกจ้างและเงินสมทบจากนายจ้างเข้าสู่กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง1 การออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 9 ฉบับ ในเรื่องนี้จะต้องมีการศึกษาผลกระทบให้เกิดความรอบคอบและจัดให้มีการทำประชาพิจารณ์ เนื่องจากลูกจ้างและนายจ้างนั้นมีภาระที่จะต้องส่งเงินสะสมและเงินสมทบให้แก่สำนักงานประกันสังคม และ/หรืออาจมีการส่งเงินให้แก่กองทุนอื่น ๆ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนการออมแห่งชาติ เป็นต้น และอาจมีภาระในด้านการสร้างหลักประกันอื่น ๆ ให้แก่ตนเองและครอบครัว ซึ่งล้วนแต่เป็นภาระในด้านการเงินของประชาชนทั้งสิ้น อีกทั้งยังต้องพิจารณาปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน เช่น อัตราค่าครองชีพที่สูงขึ้น อัตราหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น ผลกระทบจากราคาสินค้าในตลาดโลก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีข้อเรียกร้องต่าง ๆ ทั้งจากสภา สหภาพ สหพันธ์ด้านแรงงานต่าง ๆ ที่ต้องการให้รัฐสร้างรูปแบบการคุ้มครองแรงงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ข้อเรียกร้องให้มีกองทุนประกันความเสี่ยงกรณีการเลิกจ้าง แต่โดยที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำ                          ร่างกฎหมายฯ มีผลใช้บังคับ การออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 9 ฉบับดังกล่าวจึงต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรีในข้อ 1. รง. จึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 9 ฉบับ ดังนี้
                              2.1 พระราชกฤษฎีกาเกี่ยวกับการให้กิจการที่มีลูกจ้างน้อยกว่าสิบคนเป็นสมาชิกของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
                              2.2 พระราชกฤษฎีกาเกี่ยวกับการกำหนดเวลาเริ่มให้มีการส่งเงินสะสมและเงินสมทบให้แก่กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
                              2.3 กฎกระทรวงเกี่ยวกับการให้นายจ้างจัดให้มีการสงเคราะห์แก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงานหรือตาย
                              2.4 กฎกระทรวงเกี่ยวกับอัตราเงินสะสม และเงินสมทบที่จะต้องส่งให้แก่กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
                              2.5 ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเกี่ยวกับการให้ลูกจ้างที่มิได้อยู่ในบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 สมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
                              2.6 ประกาศหรือระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเกี่ยวกับแบบหลักเกณฑ์ และวิธีการยื่นขอเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขแบบรายการแสดงรายชื่อลูกจ้างและการออกหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนให้แก่นายจ้าง
                              2.7 ประกาศหรือระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเกี่ยวกับการนำส่งเงินสะสม เงินสมทบ และเงินเพิ่มเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
                              2.8 ประกาศหรือระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินเงินสะสมและเงินสมทบที่นายจ้างต้องนำส่งกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
                              2.9 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเกี่ยวกับแบบหนังสือกำหนดบุคคลผู้พึงได้รับเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง กรณีลูกจ้างตาย
1 กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงาน หรือตาย หรือในกรณีอื่นตามที่กำหนดโดยคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง

5. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553 ออกไป 1 ปี นับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ
                    ทั้งนี้ รง. เสนอว่า
                    1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (19 มกราคม 2564) ให้หน่วยงานของรัฐตรวจสอบกฎหมายในความรับผิดชอบของตนว่า มีกรณีที่ต้องมีการออกกฎหรือกำหนดให้รัฐต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อที่ประชาชนจะสามารถปฏิบัติตามกฎหมายหรือได้รับสิทธิประโยชน์จากกฎหมาย ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 หรือไม่ โดยให้มีการเร่งออกกฎหรือดำเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับสำหรับกฎหมายที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป หรือภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 สำหรับกฎหมายที่มีผลใช้บังคับก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (28 กุมภาพันธ์ 2566) ให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานเร่งตรวจสอบกฎหมายในความรับผิดชอบของตนซึ่งมีผลใช้บังคับก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 ที่เข้าข่ายเป็นกรณีตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ และเร่งออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อที่ประชาชนจะสามารถปฏิบัติตามกฎหมายหรือได้รับสิทธิประโยชน์จากกฎหมายนั้นได้ ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 หากไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จครบถ้วนได้ทันภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ให้พิจารณาเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาออกไปอีก 1 ปี โดยให้ระบุเหตุผลความจำเป็นของการขอขยายระยะเวลาดังกล่าวประกอบด้วย
                    2. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2554 ซึ่งบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้ออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 19 ฉบับ สธ. ได้ยกร่างกฎหมายลำดับรองและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วจำนวน 18 ฉบับ ขณะนี้ยังมีกฎหมายลำดับรองที่อยู่ในขั้นตอนการจัดทำร่างกฎหมายอีก 1 ฉบับ แต่โดยที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานฯ ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ มีผลใช้บังคับ การออกกฎหมายลำดับรองจึงต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำ                         ร่างกฎหมายฯ ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีในข้อ 1. รง. จึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 1 ฉบับดังกล่าว พร้อมทั้งได้ระบุเหตุผลความจำเป็นของการขอขยายระยะเวลาประกอบการพิจารณาด้วยแล้ว ดังนี้
สาระสำคัญของร่างกฎหมาย          เหตุผลความจำเป็นในการขอขยายระยะเวลา
   ร่างประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานจากผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. .... อาศัยอำนาจตามความใน ม. 14 แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้รับงานฯ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขให้ผู้จ้างงานสามารถเรียกหรือรับหลักประกันการทำงาน หลักประกันความเสียหายในการทำงานจากผู้รับงานไปทำที่บ้าน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้จ้างงานและผู้รับงาน กรณีที่งานที่รับไปทำมีมูลค่าสูงหรือมีปริมาณมาก เพื่อคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านมิให้ต้องเดือดร้อนในการหาหลักประกันเกินกว่าที่กำหนดและป้องกันมิให้ผู้จ้างงานแสวงหาผลประโยชน์จากหลักประกันโดยไม่สมควร              เนื่องจากมีผลกระทบต่อผู้จ้างงานและผู้รับงานไปทำที่บ้านซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ทำให้ต้องมีการพิจารณาให้รอบคอบและเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องแสดงความคิดเห็นอย่างครอบคลุม
    ระหว่างปี 2555 จนถึงปี 2559 มีการประชุมเพื่อพิจารณายกร่างประกาศฯ แต่ปรากฏข้อมูลเพิ่มเติมว่า ไม่มีประเภทงานใดที่ผู้จ้างงานมีการเรียกหรือรับหลักประกันในงานที่รับไปทำที่บ้านจากผู้รับงาน
    จากการสำรวจพบว่า งานที่รับไปทำที่บ้านมี 2 ประเภท ดังนี้
    (1) การเจียระไนอัญมณี ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการออกประกาศดังกล่าวโดยผู้จ้างงานมีข้อกังวลว่า หากมีการเรียกรับหลักประกันฯ จะทำให้มีผู้รับงานน้อยลง เป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้รับงานซึ่งมีรายได้น้อย กรณีผู้รับงานส่วนใหญ่เห็นว่า หากมีการเรียกรับหลักประกันฯ ในอนาคตอาจเปลี่ยนไปทำงานอย่างอื่น
    (2) ผลิตภัณฑ์เครื่องทองเหลือง เช่น พระพุทธรูป รูปปั้น ผู้จ้างงานทั้งหมดไม่เห็นด้วยกับการออกประกาศดังกล่าว เนื่องจากวัตถุดิบมีมูลค่าไม่สูงและผู้รับงานมีรายได้น้อย ถ้ามีการเรียกหลักประกันฯ อาจทำให้ขาดแคลนผู้รับงาน กรณีผู้รับงานส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยเพราะมีรายได้น้อย
    คณะกรรมการคุ้มครองการรับงานไปทำที่บ้านได้มีการประชุม ครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2559 และมีมติชะลอการออกร่างประกาศฯ เนื่องจากสถานการณ์ในขณะนั้น ผู้จ้างงานและผู้รับงานไปทำที่บ้านทำงานร่วมกันในลักษณะพึ่งพาอาศัย หากไม่มีการเรียกหรือรับหลักประกันฯ จะเป็นประโยชน์กับผู้รับงานมากกว่า แต่หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปหรือผู้จ้างงานมีความเห็นว่า จำเป็นจึงค่อยนำกลับมาพิจารณา



6. เรื่อง เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาขยายระยะเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาในการออกกฎตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
                    ทั้งนี้  มท. เสนอว่า
                    1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (28 กุมภาพันธ์ 2566) ให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานเร่งตรวจสอบกฎหมายในความรับผิดชอบของตนซึ่งมีผลใช้บังคับก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 ที่เข้าข่ายเป็นกรณีตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และเร่งดำเนินการจัดทำกฎหรือดำเนินการนั้น ภายในขอบเขตหน้าที่และอำนาจให้แล้วเสร็จให้ทันภายในวันที่                           27 พฤศจิกายน 2566 กรณีที่ไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จครบถ้วนได้ทันภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ให้พิจารณาเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาออกไปอีก 1 ปี ตามมาตรา 22 วรรคสอง ประกอบมาตรา 39 (1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยให้ระบุเหตุผลความจำเป็นของการขอขยายระยะเวลาดังกล่าวประกอบด้วย
                    2. โดยที่ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. .... เป็นกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ มีผลบังคับใช้ จะครบกำหนดระยะเวลาการออกกฎหรือดำเนินการตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 มท. อยู่ระหว่างดำเนินการทบทวนความเหมาะสมในการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมนียม และกำหนดแนวทางในการสร้างความรับรู้ ความเข้าใจให้แก่ประชาชน เนื่องจากได้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยให้แตกต่างกันโดยคำนึงถึงปริมาณสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ระยะเวลาการจัดเก็บ ลักษณะการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย รวมทั้งต้นทุนและความคุ้มค่าในการ เก็บ ขน บทบัญญัติของกฎหมายนี้ จึงเป็นกรณีที่สามารถกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันหรือสามารถยกเว้นค่าธรรมเนียมได้ ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (14 มีนาคม 2560) อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงฯ และให้ มท. สร้างความรับรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จึงมีความจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจพิเคราะห์บทบัญญัติของกฎหมายและตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา ดังนั้น มท. ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ทันภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 จึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายฉบับดังกล่าว ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

เศรษฐกิจ
7. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรอง จำนวน                  3 ฉบับ ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 ออกไป 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
                    ทั้งนี้ สธ. เสนอว่า
                    1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (19 มกราคม 2564) ให้หน่วยงานของรัฐตรวจสอบกฎหมายใน                     ความรับผิดชอบของตนว่า มีกรณีที่ต้องมีการออกกฎหรือกำหนดให้รัฐต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อที่ประชาชนจะสามารถปฏิบัติตามกฎหมายหรือได้รับสิทธิประโยชน์จากกฎหมาย ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 หรือไม่ โดยให้มีการเร่งออกกฎหรือดำเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับสำหรับกฎหมายที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป หรือภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 สำหรับกฎหมายที่มีผลใช้บังคับก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (28 กุมภาพันธ์ 2566) ให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยเร่งตรวจสอบกฎหมายในความรับผิดชอบของตนซึ่งมีผลใช้บังคับก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562              ที่เข้าข่ายเป็นกรณีตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ และเร่งออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อที่ประชาชนจะสามารถปฏิบัติตามกฎหมายหรือได้รับสิทธิประโยชน์จากกฎหมายนั้นได้ ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 หากไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จครบถ้วนได้ทันภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ให้พิจารณาเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาออกไปอีก 1 ปี โดยให้ระบุเหตุผลความจำเป็นของการขอขยายระยะเวลาดังกล่าวประกอบด้วย
                    2. พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2543 ซึ่งบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้ออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 47 ฉบับ สธ. ได้ยกร่างกฎหมายลำดับรองและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จำนวน 44 ฉบับ (เป็นกฎกระทรวง จำนวน 12 ฉบับ ระเบียบ จำนวน 6 ฉบับ และประกาศ จำนวน 26 ฉบับ) ขณะนี้ยังมีกฎหมายลำดับรองที่อยู่ในขั้นตอนการจัดทำร่างกฎหมายอีก 3 ฉบับ แต่โดยที่พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์                   แผนไทยฯ ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ มีผลใช้บังคับ ดังนั้น การออกกฎหมายลำดับรองจึงต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรีในข้อ 1. สธ. จึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 3 ฉบับดังกล่าว พร้อมทั้งได้ระบุเหตุผลความจำเป็นของการขอขยายระยะเวลาประกอบการพิจารณาด้วยแล้ว ดังนี้
กฎหมายลำดับรอง
ที่ สธ. ต้องออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองฯ          เหตุผลความจำเป็นในการขอขยายระยะเวลา
1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขอจดทะเบียน การออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียน และการเพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์พื้นเมือง พ.ศ. ....          กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้ยก                        ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวไว้แล้ว แต่คณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยให้ชะลอการออกกฎกระทรวงดังกล่าวไว้ก่อนเนื่องจากเห็นว่า
1. ยังมีข้อมูลในการศึกษาไม่เพียงพอว่าการยินยอมให้ประชาชนของรัฐอื่นมาขอจดทะเบียนสิทธิภูมิปัญญาที่อยู่ในประเทศของตนเพื่อแลกกับการให้ประชาชนไทยไปจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยของรัฐอื่นมีผลดีผลเสียหรือข้อได้เปรียบเสียเปรียบอย่างไร สมควรต้องออกกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวหรือไม่
2. ปัจจุบันยังไม่มีข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลประเทศอื่นในเรื่องต่างตอบแทนระหว่างกันกรณีต่างฝ่ายต่างยอมให้ประชาชนในประเทศของตนสามารถนำภูมิปัญญาในประเทศของอีกฝ่ายหนึ่งไปจดทะเบียนสิทธิภูมิปัญญาทางการแพทย์กับรัฐอีกฝ่ายหนึ่งได้
2. ร่างกฎกระทรวงการจัดทำแผนที่แนวเขตที่ดินกำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองสมุนไพร พ.ศ. ....          ต้องมีการลงพื้นที่เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบและรับฟังความคิดเห็นให้รอบด้าน และทำความเข้าใจกับคนในชุมชนที่อาจได้รับผลกระทบก่อนการกำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองสมุนไพรดังกล่าว จึงทำให้ไม่สามารถดำเนินการออกกฎกระทรวงได้ทันตามกำหนดเวลา
3. ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตจัดการบริหารพื้นที่คุ้มครองสมุนไพรหรือใช้ประโยชน์จากสมุนไพร พ.ศ. ....          สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดการบริหารพื้นที่คุ้มครองสมุนไพรหรือใช้ประโยชน์จากสมุนไพร พ.ศ. .... เสร็จแล้ว โดยแก้ไขชื่อร่างเป็น ?ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตจัดการบริหารพื้นที่คุ้มครองสมุนไพรหรือใช้ประโยชน์จากสมุนไพร พ.ศ. ....? ขณะนี้กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกอยู่ระหว่างดำเนินการเสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนาม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ซึ่งในกระบวนการดำเนินงานดังกล่าวอาจไม่แล้วเสร็จทันภายในระยะเวลาที่กำหนด

8. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ประจำปี 2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ประจำปี 2565 ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. พม. รายงานว่า พม. ได้จัดทำรายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ประจำปี 2565 ซึ่งเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 40 ที่บัญญัติให้ พม. จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับสถานการณ์ จำนวนคดี การดำเนินการของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และแนวทางการดำเนินงานในอนาคตเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์เสนอต่อคณะรัฐมนตรี โดยรายงานดังกล่าวสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
ประเด็น          ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
การจัดสรรงบประมาณ
การจัดสรร
งบประมาณ
          รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำหรับดำเนินการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ จำนวน 292.18 ล้านบาท
ด้านการดำเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย
1. สถิติการดำเนินคดี/ผู้กระทำผิด/ผู้เสียหาย          ? สืบสวนสอบสวนดำเนินคดีเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ จำนวน  253 คดี (เป็นคดีค้ามนุษย์ในรูปแบบค้าประเวณีและแสวงหาประโยชน์ทางเพศมากที่สุด จำนวน 205 คดี คดีรูปแบบบังคับใช้แรงงาน จำนวน 47 คดี และคดีอื่น ๆ จำนวน 1 คดี) เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ 34.57 (ที่มีจำนวน 188 คดี) เนื่องจากมีการเพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายในการสืบสวนเก็บพยานหลักฐานทางดิจิทัลมากขึ้นตามรูปแบบอาชญากรรมที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเป็นคดีที่มาจากการสืบสวนสอบสวนช่องทางออนไลน์ จำนวน 182 คดี เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ 70.09 (ที่มีจำนวน 107 คดี) ของจำนวนคดีค้ามนุษย์ในชั้นสืบสวนทั้งหมด
? ผู้กระทำผิดคดีค้ามนุษย์ จำนวน 548 คน (เป็นเพศชาย จำนวน 287 คน และเพศหญิง จำนวน 261 คน) เพิ่มขึ้นจากปี 2564  (ที่มีจำนวน 447 คน) เนื่องจากคดีค้าประเวณีออนไลน์และผลิตสื่อลามกอนาจารผ่านอินเทอร์เน็ต และในส่วนของผู้เสียหายจากคดีค้ามนุษย์ จำนวน 572 คน (เป็นเพศชาย จำนวน 218 คน และเพศหญิง จำนวน 354 คน) เพิ่มขึ้นจาก ปี 2564 (ที่มีจำนวน 424 คน) โดยส่วนใหญ่เป็นคนไทยที่เป็นผู้เสียหาย เนื่องจากถูกหลอกลวงไปทำงานนอกราชอาณาจักรไทยผ่านทางช่องทางธรรมชาติ
2. การดำเนินคดีใน            ชั้นศาล          การพิจารณาคดีค้ามนุษย์ของศาลยุติธรรม ในปี 2565 แล้วเสร็จ จำนวน 236 คดี (จากทั้งหมด 384 คดี) เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ 168.18 (ปี 2564 มีจำนวนคดีทั้งหมด 232 คดี พิจารณาคดีแล้วเสร็จ จำนวน 88 คดี) ซึ่งเป็นผลจากการมีข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์               พ.ศ. 2563 และระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาในระหว่างที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease: COVID-19)  พ.ศ. 2564 ที่เริ่มใช้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 (ซึ่งเป็นการนำวิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์มาปรับใช้กับกระบวนการพิจารณาต่าง ๆ ในคดีอาญาให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ในระหว่างที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้า เช่น การให้ใช้ลายมือชื่ออิเล็กหรอนิกส์ในเอกสารต่าง ๆ ได้การ ให้สามารถพิจารณาและอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คู่ความฟังได้ในลักษณะของการถ่ายทอดภาพและเสียงผ่านทางจอภาพหรือแอปพลิเคชันอื่น)
3. การดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์           ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ จำนวน 35 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 105.88 จากปี 2564 (ที่มีจำนวน 17 คน) เนื่องจากมุ่งเน้นดำเนินการสืบสวนขยายผลเชิงรุกในคดีเดิมจนสามารถดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องได้
4. การปราบปรามการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต          จับกุมคดีล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต จำนวน 482 คดี (คดีครอบครองสื่อลามกเด็ก จำนวน 265 คดี คดีล่วงละเมิดทางเพศเด็ก จำนวน 164 คดี คดีค้ามนุษย์ จำนวน 41 คดี และคดีอื่น ๆ จำนวน 12 คดี) เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ 510.01 (ที่มีจำนวน 79 คดี)
5. การยึด/อายัดทรัพย์สินจากการกระทำผิดคดีค้ามนุษย์          ตรวจสอบ ยึด อายัดทรัพย์สินผู้ต้องหา จำนวน 84 คดี เป็นเงินจำนวน 40.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 729.89 จากปี 2564 ที่มีคำสั่งยึดอายัด จำนวน 15 คดี เป็นเงินจำนวน 4.93 ล้านบาท
6. การเพิ่มประสิทธิภาพของผู้ปฏิบัติงานด้านการดำเนินคดีและการบังคับใช้กฎหมาย          พัฒนาศักยภาพของผู้บังคับใช้กฎหมาย เช่น การฝึกอบรมพนักงานสอบสวนและทีมสหวิชาชีพ จำนวน 4 โครงการ 12 รุ่น ผู้เข้าอบรม จำนวน 1,064 คน การจัดอบรมเพิ่มศักยภาพของพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับการสัมภาษณ์เชิงนิติวิทยาศาสตร์ (Forensic Interview) จำนวน 3 ครั้ง จำนวน 90 คน และสำนักงานอัยการสูงสุดฝึกอบรมวิทยากรด้าน Forensic Interview และอาชญากรรมต่อเด็ก เพื่อให้วิทยากรอัยการนำความรู้ไปเผยแพร่อบรมให้อัยการผู้ช่วย จำนวน 200 คน อัยการจังหวัด จำนวน 120 คน ทีมสหวิชาชีพ จำนวน 137 คน ตลอดจนในหลักสูตรการสร้างวิทยากรอัยการ (Train the Trainers) จำนวน 30 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 487 คน
7. การประสานความร่วมมือกับผู้รอดจากการค้ามนุษย์และภาคส่วนต่าง ๆ           แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจกำกับและติดตามการดำเนินงานช่วยเหลือและเยียวยาผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยมีผู้รอดจากการค้ามนุษย์ จำนวน                4 คน และตัวแทนภาคประชาสังคมมาร่วมเป็นคณะอนุกรรมการในระดับนโยบายเป็นครั้งแรก
ด้านการคุ้มครองช่วยเหลือ
1. การคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหาย          ? คุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และผู้เสียหายจากการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ จำนวน 444 คน เพิ่มขึ้น 90 คน จากปี 2564 (ที่มีผู้เสียหาย 354 คน) โดยมีผู้เสียหาย จำนวน 202 คน เข้ารับการคุ้มครองในสถานคุ้มครองของรัฐและเอกชน (สถานคุ้มครองของรัฐ จำนวน 170 คน และสถานคุ้มครองเอกชน จำนวน 32 คน) ทั้งนี้ เป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จำนวน 161 คน และผู้เสียหายจากการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ จำนวน 41 คน นอกจากนี้ ผู้เสียหาย จำนวน 242 คน ซึ่งไม่ประสงค์เข้ารับการคุ้มครองในสถานคุ้มครองจะมีเจ้าหน้าที่ซึ่งอยู่ในภูมิลำเนาของผู้เสียหายประสานติดตามให้ความช่วยเหลือให้สามารถเข้าถึงสิทธิตามกฎหมาย
? คุ้มครองผู้เสียหายในสถานคุ้มครอง ใช้ระยะเวลาโดยเฉลี่ยคิดเป็น 129 วัน ลดลงจาก 143 วัน ในปี 2564 และเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2561 ซึ่งมีระยะเวลาคุ้มครองโดยเฉลี่ยสูงถึง 288 วัน ลดลงกว่าร้อยละ 55 (159 วัน) ทั้งนี้ เนื่องจากประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินคดีที่รวดเร็ว ประกอบกับการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคลเพื่อการประเมินร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้เสียหายอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้เสียหายไม่ต้องอยู่ในสถานคุ้มครองนานเกินความจำเป็น
2. การขับเคลื่อนกลไกการส่งต่อระดับชาติและระยะเวลาการฟื้นฟูไตร่ตรอง          ขับเคลื่อนกลไกการส่งต่อระดับชาติ (National Referral Mechanism) และระยะเวลาการฟื้นฟูและไตร่ตรอง (Reflection Period) อย่างต่อเนื่องครอบคลุมทั่วประเทศ โดยได้จัดทำแนวทางการขับเคลื่อนสำหรับผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่และอบรมให้ความรู้กับผู้ที่มีหน้าที่คัดแยก จำนวน 2 รุ่น รวม 200 คน อีกทั้งได้มีการเปิดใช้ศูนย์บูรณาการการคัดแยกเป็นจังหวัดแรกที่จังหวัดสตูลโดยมีบุคคลที่อาจจะเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จำนวน 59 ราย ซึ่งผลจากการคัดแยกอย่างเป็นทางการ โดยทีมสหวิชาชีพไม่พบว่าเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
3. การคุ้มครอง
ช่วยเหลือที่คำนึงถึง
บาดแผลทางจิตใจ
ของผู้เสียหาย
          ? นำหลักการคุ้มครองช่วยเหลือที่คำนึงถึงบาดแผลทางจิตใจมาใช้ในการปฏิบัติงานภายใต้แนวทางขับเคลื่อนกลไกการส่งต่อระดับชาติโดยมุ่งเน้นให้ผู้ปฏิบัติงานให้ความสำคัญกับการคำนึงถึงบาดแผลทางจิตใจของผู้เสียหายเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะในช่วงคัดแยกบุคคลที่มีระยะเวลาของการฟื้นฟูและไตร่ตรอง 15 วัน เพื่อให้ผู้ซึ่งอาจเป็นผู้เสียหายได้รับการปฏิบัติและการบริการที่เหมาะสมจนกว่าจะพร้อมให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ต่อไป
? จัดอบรมหลักสูตรการคำนึงถึงบาดแผลทางจิตใจผ่านระบบ e-learning              แก่ผู้ปฏิบัติงานในส่วนกลาง จังหวัด และองค์กรภาคประชาสังคม จำนวน 90 คน เพื่อเตรียมความพร้อมการปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงบาดแผลทางจิตใจของผู้เสียหายในทุกขั้นตอนภายใต้กลไกการส่งต่อระดับชาติในระยะเวลาฟื้นฟูและไตร่ตรอง
4. การให้อิสระ
ในการเดินทาง
และการใช้เครื่องมือ
สื่อสารสำหรับผู้เสียหาย
กลุ่มผู้ใหญ่
          พัฒนาแนวทางการให้อิสระแก่ผู้เสียหาย โดยกำหนดแนวทางในการเดินทางเข้า-ออกสถานคุ้มครองและการเข้าถึงเครื่องมือสื่อสารสำหรับผู้เสียหายกลุ่มผู้ใหญ่ทุกราย เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้เสียหายได้มีทางเลือกในการรับการคุ้มครองอย่างปลอดภัย โดยมีการดำเนินงานสำคัญ เช่น การให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับสถานะผู้เสียหายต่างชาติเพื่อเตรียมความพร้อมในการเดินทางออกนอกสถานคุ้มครอง สำหรับผู้เสียหายที่เข้าเมืองผิดกฎหมายในสถานคุ้มครองของรัฐและเอกชนให้ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวเพื่อทำงานหรือกิจกรรมอื่น ๆ จำนวน 79 คน จำแนกเป็นสถานคุ้มครองของรัฐ จำนวน 72 คน และสถานคุ้มครองเอกชน จำนวน 7 คน และการประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างหน่วยงานภาคประชาสังคม ประเทศสิงคโปร์และสถานคุ้มครองไทยเพื่อกำหนดแนวทางให้อิสระแก่ผู้เสียหายที่เหมาะสมกับประเทศไทย
5. การมีส่วนร่วม
ขององค์กรภายนอก
ภาครัฐในการช่วยเหลือ
ทางด้านกฎหมาย          ? ร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อเป็นทางเลือกในการทำงานสำหรับผู้เสียหายกลุ่มผู้ใหญ่ที่พร้อมออกนอกระบบการคุ้มครอง โดยได้มีการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างงานผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์กับภาคเอกชนในเดือนธันวาคม 2565 เพื่อรับผู้เสียหายกลุ่มผู้ใหญ่จากการค้ามนุษย์ออกไปทำงาน โดยเริ่มนำร่องในสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จังหวัดปทุมธานี
? เปิดโอกาสให้องค์กรนอกภาครัฐ (เช่น องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน มูลนิธิพิทักษ์สตรี สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ) เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้กับผู้เสียหายในสถานคุ้มครอง เช่น การประเมินผลด้านสุขภาพและกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้เสียหาย  การให้คำปรึกษาด้านการคุ้มครอง
ด้านการป้องกัน
1. การป้องกันการค้ามนุษย์ในกลุ่มเด็กและเยาวชน
          ? ตรวจสถานประกอบการกลุ่มเสี่ยง จำนวน 941 แห่ง แรงงาน 30,597 คน (จากสถานประกอบการทั้งหมด 30,453 แห่ง แรงงาน 754,942 คน) พบการกระทำความผิด จำนวน 857 แห่ง ลูกจ้าง 27,989 คน ส่วนใหญ่เป็นความผิดฐานจ่ายค่าจ้างไม่ตรงกำหนด ทั้งนี้ ไม่พบการกระทำความผิดฐานใช้แรงงานเด็กหรือการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ
? ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับเด็ก เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565 ระหว่าง 21 หน่วยงาน เช่น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงมหาดไทย พม. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หอการค้าไทย สมาคมโรงแรมไทย มูลนิธิเพื่อความเข้าใจเด็ก เพื่อพัฒนามาตรการที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ และการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กทุกรูปแบบอย่างมีประสิทธิภาพ  ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยและสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยวไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ
2. การป้องกันการค้ามนุษย์
แรงงานไทย
ที่ไปทำงานต่างประเทศ/
แรงงานต่างด้าว
ที่ทำงานในประเทศไทย
          ? เฝ้าระวังและป้องกันผู้มีพฤติกรรมจะลักลอบไปทำงานต่างประเทศ                  ณ ด่านตรวจคนหางานทั่วประเทศ จำนวน 71,270 คน ระงับการเดินทาง จำนวน 383 คน และตรวจบริษัทจัดหางานให้คนไทยเพื่อไปทำงานต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตจาก รง. จำนวน 132 แห่ง โดยไม่พบการกระทำความผิด
? ตรวจสถานประกอบการ/นายจ้าง และแรงงานต่างด้าว จำนวน 33,980 แห่ง/ราย แรงงานต่างด้าว จำนวน 458,986 คน ได้ดำเนินคดีสถานประกอบการ/นายจ้าง จำนวน 1,093 แห่ง/ราย และดำเนินคดีแรงงานต่างด้าว จำนวน 2,222 คน โดยส่วนมากดำเนินคดีในข้อหาเกี่ยวกับการไม่มีใบอนุญาตทำงาน นอกจากนี้
จากการตรวจบริษัทผู้รับอนุญาตนำคนด่างด้าวเข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศที่ได้รับอนุญาตจากกรมการจัดหางานทั้งหมด จำนวน 263 แห่ง ไม่พบการกระทำผิด
3. การป้องกันการค้ามนุษย์
ในแรงงานประมง
          ตรวจเรือประมง ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า-ออก (PIPO) จำนวน 12,810 ลำ พบการกระทำความผิด จำนวน 63 ลำ ส่วนใหญ่เป็นความผิดเกี่ยวกับการไม่จัดเวลาพักระหว่างการทำงาน ไม่มีเอกสารการจ่ายค่าจ้างและไม่มีเอกสารสัญญาจ้าง
4. การพัฒนากลไก
การบริหารจัดการ
เพื่อป้องกันการค้ามนุษย์          ออกกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล  พ.ศ. 2565 เพื่อกำหนดให้นายจ้างจัดทำสัญญาจ้างและจัดทำเอกสารการจ่ายค่าจ้างและค่าทำงานในวันหยุดเป็นภาษาไทยและภาษาที่ลูกจ้างเข้าใจ และจ่ายค่าจ้างผ่านบัญชีธนาคารเท่านั้น รวมทั้งต้องจัดอาหารและน้ำดื่มที่ถูกสุขลักษณะและเพียงพอต่อการใช้ชีวิตบนเรือประมง
5. ความร่วมมือ
ในการป้องกันการค้ามนุษย์เพื่อให้สอดคล้อง
กับมาตรฐานสากล
          ส่งเสริมการนำแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices: GLP) ไปใช้ในสถานประกอบการ โดยมีสถานประกอบการเข้าร่วมและได้รับการส่งเสริม จำนวน 42,016 แห่ง และลูกจ้าง จำนวน 2.3 ล้านคน เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของแรงงานไม่ให้ตกเป็นผู้เสียหายจากการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ
                    2. แผนการดำเนินงานในระยะต่อไป

ด้าน          แผนการดำเนินงาน
1. ด้านการดำเนินคดี
และการบังคับใช้กฎหมาย
          - เพิ่มความรวดเร็วและความถูกต้องในการสนับสนุนข้อมูลจากส่วนกลางให้กับเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการในพื้นที่
- ดำเนินการป้องกันเชิงรุก พัฒนาความรู้ความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการในการปฏิบัติต่อผู้เสียหายอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงบาดแผลทางจิตใจของผู้เสียหายเป็นหลัก
- เพิ่มความร่วมมือกับภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และผู้รอดจากการค้ามนุษย์ในการออกแบบนโยบายและขับเคลื่อนนโยบายที่สำคัญ
2. ด้านการคุ้มครอง
ช่วยเหลือ
          - อบรมให้ความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติงานที่คำนึงถึงบาดแผลทางจิตใจของผู้เสียหาย  เจ้าหน้าที่สถานคุ้มครองของรัฐและเอกชน รวมถึงผู้ปฏิบัติงานในการสัมภาษณ์  คัดกรอง คัดแยก
- พัฒนากรอบการประเมินสำหรับการให้อิสระในการเดินทางเข้าออกสถานคุ้มครองและการใช้เครื่องมือสื่อสารสำหรับผู้เสียหายกลุ่มใหญ่ รวมถึงพัฒนาขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐานในการคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายตามหลักการสากล
- แก้ไขปรับปรุงประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เพื่อกำหนดแนวทางและขั้นตอนการปฏิบัติ  ลดความยุ่งยากซับซ้อนในการเข้าถึงเงินกองทุนฯ ของผู้เสียหาย
3. ด้านการป้องกัน          - ปรับปรุงมาตรฐานการปฏิบัติงานการตรวจคัดกรองเบื้องต้นเพื่อแสวงหาข้อบ่งชี้สำหรับบุคคลที่อาจเป็นผู้เสียหายจากการแสวงหาผลประโยชน์ด้านแรงงาน  แรงงานบังคับหรือการค้ามนุษย์ด้านแรงงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- เพิ่มศักยภาพบุคลากรที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ 76 จังหวัด ให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสัญญาณหรือข้อบ่งชี้ของแรงงานในพื้นที่ที่อาจถูกบังคับใช้แรงงานและสามารถแจ้งเบาะแสเบื้องต้นให้กับหน่วยงานในพื้นที่ได้ตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน

9. เรื่อง มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2566/67 (เพิ่มเติม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2566/67 (เพิ่มเติม) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2556/67 สำหรับกรอบวงเงินที่รัฐต้องชดเชยค่าใช้จ่ายหรือสูญเสียรายได้ของหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ให้เป็นไปตามความเห็นของกระทรวงการคลัง โดยคำนึงถึงขอบเขตที่รัฐสามารถรับภาระได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เนื่องจากข้อจำกัดของกรอบวงเงินตามมาตรา 28 ดังกล่าว โดยค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นและเป็นภาระต่องบประมาณนั้น ให้ ธ.ก.ส. จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามผลการดำเนินงานจริงตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                      สาระสำคัญ
                     มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2526/27 จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 โดยมีรายละเอียดการดำเนินโครงการฯ ดังนี้
                      1. กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2556/67 ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ประมาณ 4.68 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ
                     2. วิธีการ กรมส่งเสริมการเกษตร นำข้อมูลรายชื่อเกษตรกรที่ผ่านการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2566/67 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ส่งให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำนักงานใหญ่ เพื่อดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกร ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
                     3. วงเงินงบประมาณ จำนวน 56,321.07 ล้านบาท จำแนกเป็น (1) งบประมาณ จ่ายขาดให้เกษตรกร แหล่งเงินทุน ธ.ก.ส. วงเงิน 54,336.14 ล้านบาท และ (2) ค่าใช้จ่ายดำเนินการ ธ.ก.ส. วงเงิน 1,984.93 ล้านบาท (ชดเชยต้นทุนเงิน ธ.ก.ส. ในอัตราร้อยละ 3.61 (ต้นทุนเงินถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก + ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน) และค่าบริหารจัดการ (รายละ 5 บาท)

10. เรื่อง ข้อเสนอแนวทางการบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติมอบหมายตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
                    1. ให้กระทรวงอุตสาหกรรม (สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย) ดำเนินการประกาศราคาน้ำตาลทรายภายในราชอาณาจักรตามอำนาจและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตามข้อเสนอแนวทางการบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายโดยด่วน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
                    2. ให้กระทรวงพาณิชย์ (กรมการค้าภายใน ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ) นำเสนอคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพิจารณาทบทวนมาตรการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าน้ำตาลทราย โดยกำหนดมาตรการให้สอดคล้องกับข้อเสนอของคณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย
                    3. ให้กระทรวงอุตสาหกรรม (สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย) และกระทรวงพาณิชย์ (กรมการค้าภายใน) พิจารณามาตรการกำกับดูแลให้มีน้ำตาลทรายในปริมาณที่เพียงพอสำหรับการบริโภคในประเทศ
                    สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
                    1. เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้น้ำตาลทรายเป็นสินค้าควบคุม ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้รับความเห็นของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ในการนี้ คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ได้ออกประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 67 พ.ศ. 2566 เรื่อง การกำหนดสินค้าควบคุมเพิ่มเติม ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2566 โดยกำหนดให้น้ำตาลทรายเป็นสินค้าควบคุม
                    2. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการได้ออกประกาศกำหนดมาตรการ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ 1) ประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 68 พ.ศ. 2566 เรื่อง การกำหนดราคาจำหน่ายน้ำตาลทราย ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 โดยกำหนดราคาจำหน่าย ณ หน้าโรงงาน ราคาน้ำตาลทรายขาว ไม่สูงกว่ากิโลกรัมละ 19.00 บาท และราคาน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ไม่สูงกว่ากิโลกรัมละ 20.00 บาท และ 2) ประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 69 พ.ศ. 2566 เรื่อง การควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งน้ำตาลทราย ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
                    3. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2566 รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์                          (นายภูมิธรรม เวชยชัย) ได้มีการประชุมหารือกับตัวแทนชาวไร่อ้อย ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นควรให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานร่วม เพื่อพิจารณาแนวทางการบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายให้มีปริมาณที่เพียงพอสำหรับการบริโภคในประเทศ มีราคาที่เหมาะสม เป็นธรรมต่อประชาชนผู้บริโภค โดยเกษตรกรชาวไร่อ้อยได้รับผลตอบแทนอย่างเหมาะสม เป็นธรรม สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตอ้อยแต่ละช่วงเวลา และผู้ผลิตสามารถผลิตน้ำตาลทรายตอบสนองความต้องการสำหรับการบริโภคในประเทศ รวมทั้งส่งออกเพื่อนำรายได้เข้าประเทศ
                    4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายภูมิธรรม เวชยชัย) มีคำสั่งกระทรวงพาณิชย์ที่ 877/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2566 โดยมีผู้แทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมการค้าภายใน กรมการค้าต่างประเทศ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย) และตัวแทนเกษตรกรชาวไร่อ้อย โดยให้จัดทำข้อเสนอแนวทางดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน และรายงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เพื่อพิจารณาต่อไป
                    5. เมื่อวันที่ 6 และวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 คณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ได้มีการประชุมหารือและพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตอ้อยและน้ำตาลทราย และมีมติเห็นชอบร่วมกันให้มีข้อเสนอแนวทางการบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ดังนี้
                              (1) ให้ปรับราคาจำหน่าย ณ หน้าโรงงาน ราคาน้ำตาลทรายขาว จากเดิม กิโลกรัมละ 19.00 บาท เป็น กิโลกรัมละ 21.00 บาท และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ จากเดิม กิโลกรัมละ 20.00 บาท เป็น กิโลกรัมละ 22.00 บาท สำหรับราคาจำหน่ายปลีกเห็นควรมีราคากำกับดูแลที่เหมาะสม
                              (2) มอบหมายสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ปรับปรุงแก้ไขประกาศสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดราคาน้ำตาลทรายภายในราชอาณาจักร ให้สอดคล้องกับข้อเสนอของคณะทำงานฯ ตามข้อ 5 (1)
                              (3) มอบหมายกรมการค้าภายใน ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) นำเสนอ กกร. พิจารณาทบทวนมาตรการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าน้ำตาลทราย รวมทั้งการกำหนดราคาจำหน่าย ณ หน้าโรงงาน และราคาจำหน่ายปลีก ตามข้อเสนอของคณะทำงานฯ
                              (4) มอบหมายสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย และกรมการค้าภายในพิจารณามาตรการกำกับดูแลให้มีน้ำตาลทรายในปริมาณที่เพียงพอสำหรับการบริโภคในประเทศ
                              (5) นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อเสนอของคณะทำงานฯ ต่อไป
                    ประโยชน์และผลกระทบ
                    การกำหนดราคาจำหน่ายน้ำตาลทราย ณ หน้าโรงงาน ราคาน้ำตาลทรายขาว ไม่สูงกว่ากิโลกรัมละ 21.00 บาท และราคาน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ไม่สูงกว่ากิโลกรัมละ 22.00 บาท และการมอบหมายหน่วยงานดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ตามข้อเสนอของคณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายที่ได้เสนอต่อกระทรวงพาณิชย์ ตามข้อ 5 จะทำให้น้ำตาลทรายมีปริมาณที่เพียงพอสำหรับการบริโภคในประเทศ มีราคาที่เหมาสม เป็นธรรมต่อประชาชนผู้บริโภค โดยเกษตรกรชาวไร่อ้อย ได้รับผลตอบแทนอย่างเหมาะสม เป็นธรรม สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตอ้อยแต่ละช่วงเวลา และผู้ผลิตสามารถผลิตน้ำตาลทรายตอบสนองความต้องการสำหรับการบริโภคในประเทศ รวมทั้งส่งออกเพื่อนำรายได้เข้าประเทศ

11. เรื่อง การปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณเสนอดังนี้
                    1. การปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                    2. ยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562
                    ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเรื่อง การปรับปรุงปฏิทินงบประมาณพร้อมแนวทางการจัดทำงบประมาณและยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 นั้น
                    สำนักงบประมาณขอเสนอ ดังนี้
                    1. การปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อให้การจัดทำพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เกิดประสิทธิภาพสูงสุดสอดคล้องตามนโยบายสำคัญของรัฐบาล ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว สำนักงบประมาณจึงเห็นสมควรปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 ในขั้นตอนการจัดทำงบประมาณและการอนุมัติงบประมาณ ดังนี้
                              1.1 การจัดทำงบประมาณ
                                        1.1.1 สำนักงบประมาณพิจารณารายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 7 ตุลาคม - 17 พฤศจิกายน 2566 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาให้ความเห็นชอบรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พร้อมแนวทางการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในวันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
                                        1.1.2 สำนักงบประมาณพิจารณาการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 22 - 24 พฤศจิกายน 2566 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และมอบให้สำนักงบประมาณไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 77 วรรคสอง ในวันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
                                        1.1.3 สำนักงบประมาณดำเนินการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน ถึง วันที่ 5 ธันวาคม 2566 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบผลการรับฟังความคิดเห็นฯ และพิจารณาให้ความเห็นชอบข้อเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และให้สำนักงบประมาณจัดพิมพ์ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และเอกสารประกอบฯ ในวันที่ 12 ธันวาคม 2566
                                        1.1.4 สำนักงบประมาณดำเนินการจัดพิมพ์ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และเอกสารประกอบฯ ระหว่างวันที่ 12 - 22 ธันวาคม 2566 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และเอกสารประกอบฯ และนำเสนอสภาผู้แทนราษฎร ในวันอังคารที่ 26 ธันวาคม 2566
                              1.2 การอนุมัติงบประมาณ
                                        1.2.1 สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 วาระที่ 1 ระหว่างที่ 3 - 4 มกราคม 2567
                                        1.2.2 สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 วาระที่ 2 - 3 ระหว่างที่ 3 - 4 เมษายน 2567
                                        1.2.3 วุฒิสภา พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 9 - 10 เมษายน 2567
                                        1.2.4 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี นำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ในวันที่ 17 เมษายน 2567 เพื่อประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป
                    2. ยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ในส่วนของคำแนะนำของคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย เรื่อง การรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องประกอบการจัดทำร่างกฎหมาย โดยให้มีการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เป็นระยะเวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน ถึง วันที่ 1 ธันวาคม 2566 ตามปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อประโยชน์สำคัญของประเทศเกี่ยวกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 สำนักงบประมาณจึงขอยกเว้นการ

ต่างประเทศ

12. เรื่อง การเสนองบประมาณและแผนการดำเนินงานประจำปี 2567 ขององค์กรร่วมไทย ? มาเลเซีย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบงบประมาณ จำนวน 5,375,000 ดอลลาร์สหรัฐ และแผนการดำเนินงานประจำปี 2567 ขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย (องค์กรร่วมฯ) ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ และให้ พน. รับความเห็นกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปดำเนินการอย่างเคร่งครัดต่อไปด้วย
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พน. รายงานว่า
                    1. กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2536) ออกตามความในมาตรา 5 และมาตรา 18 วรรคหนึ่ง (8) และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย ? มาเลเซีย พ.ศ. 2533 ข้อ 3 กำหนดให้องค์กรร่วมฯ เสนองบประมาณประจำปีหลังจากได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการองค์กรร่วมฯ แล้ว โดยให้เสนอต่อรัฐบาลแต่ละฝ่ายเพื่อให้เป็นไปตามความตกลงว่าด้วยธรรมนูญการจัดตั้งองค์กรร่วมไทย - มาเลเซียฯ พ.ศ. 2533 ก่อนวันเริ่มต้น
ปีงบประมาณไม่น้อยกว่าห้าเดือน (ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม ก่อนเริ่มปีงบประมาณนั้น) ทั้งนี้ ปีงบประมาณของ                              2. องค์กรร่วมฯ เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม และสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี องค์กร              ร่วมฯ ได้เสนอของบประมาณและแผนการดำเนินงานประจำปี 2567 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการองค์กรร่วมฯ แล้ว ในคราวประชุมครั้งที่ 142 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2566 สรุปได้ ดังนี้
                              2.1 งบประมาณปี 2567 รวมทั้งสิ้นจำนวน 5,375,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2566 จำนวน 375,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีรายละเอียดเปรียบเทียบกับงบประมาณปี 2566 ดังนี้
หน่วย : ดอลลาร์สหรัฐ
รายการ          งบประมาณ
ที่ได้รับอนุมัติ
 ปี 2566          งบประมาณ
ที่เสนอขอ
ปี 2567          งบประมาณ
เพิ่ม/(ลด)
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Operating Expenditure)          (USD 1: RM 4.20)
4,836,100          (USD 1: RM 4.20)
4,250,900
414,800
ร้อยละ 8.6
ค่าใช้จ่ายที่เป็นทุน
(Capital Expenditure)
163,900
124,100
(39,800)
(ร้อยละ 24.3)
รวม           5,000,000          5,375,000          375,000          ร้อยละ 7.5
ทั้งนี้ งบประมาณปี 2567 ที่เสนอขอในครั้งนี้สูงกว่างบประมาณปี 2566 ที่ได้รับอนุมัติร้อยละ 7.5 ซึ่งมีรายการค่าใช้จ่ายประจำปี 2567 ที่เพิ่มขึ้น/ลดลง/คงที่ สรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          รายการค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น          ? ค่าใช้จ่ายบุคลากร ประกอบด้วย เงินเดือนพนักงาน ค่าเบี้ยเลี้ยงและสวัสดิการ                 (อาทิ ค่าเช่าบ้าน ค่าปฏิบัติงานต่างประเทศ (Overseas allowance) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (EPF) กองทุนประกันสังคม (SOCSO) และระบบประกันการจ้างงาน (E/S)] รวมถึงค่าตอบแทนและค่าเบี้ยเลี้ยงคณะกรรมการองค์กรร่วมฯ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5)
          ? ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของคณะกรรมการองค์กรร่วมฯ และเจ้าหน้าที่ในการเข้าร่วมประชุมและค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นฐานของเจ้าหน้าที่มาเลเซีย 1 คน และคนไทย 3 คน
เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายการย้ายถิ่นฐานของเจ้าหน้าที่คนไทย 6 คนในปี 2566 (เพิ่มขึ้น                   ร้อยละ 23.2)
          ? ค่าบำรุงรักษาและซ่อมแซม อาทิ ค่าบำรุงรักษาสำนักงาน ยานพาหนะ อุปกรณ์และ                 สิ่งอำนวยความสะดวกภายในสำนักงาน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.1)
          ? ค่าบริการและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เนื่องจากฝ่ายบริหารองค์กรร่วมฯ ไม่มีแผนที่จะว่าจ้างที่ปรึกษาปี 2567 ส่งผลให้ค่าบริการและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในภาพรวมลดลง (ลดลงร้อยละ 3.2)
ค่าใช้จ่ายที่ลดลง          ? ค่าใช้จ่ายที่เป็นทุน เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงและอัพเกรดโครงสร้างพื้นฐาน                ด้านไอที และระบบเครือข่ายสำนักงานที่ลดลง และมีรายการเปลี่ยนรถยนต์ จำนวน                 1 คัน1 เฉพาะของรองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (Deputy Chief Executive officer : DCEO) ซึ่งใช้งานมากกว่า 8 ปี2 (ลดลงร้อยละ 24.3)
ค่าใช้จ่ายที่คงที่          ?  ค่าเช่า อาทิ พื้นที่สำนักงาน อุปกรณ์สำนักงาน อินเทอร์เน็ต คลังจัดเก็บเอกสาร
          ?  ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ซึ่งรวมถึงการฝึกสมรรถนะทางกาย (Physical training)
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่เกี่ยวข้อง และโปรแกรมฝึกงานของนักศึกษา
                              2.2 ที่มาของงบประมาณประจำปี 2567  จำนวน 5,375,000 ดอลลาร์สหรัฐ องค์กรร่วมฯ ได้เสนอขอใช้เงินที่ได้รับจากการขายปิโตรเลียม ส่วนที่เป็นกำไรในไตรมาสสุดท้ายของปี 2566 จำนวน 5,361,902 ดอลลาร์สหรัฐ และงบประมาณเหลือจ่ายของปี 2565 จำนวน 13,098 ดอลลาร์สหรัฐ
                              2.3 ประมาณการรายได้รวมขององค์กรร่วมฯ ในปีงบประมาณ 2567 จำนวน 612,900,000 ดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วย ค่าภาคหลวง จำนวน 202,800,000 ดอลลาร์สหรัฐ และปิโตรเลียมส่วนที่เป็นกำไร จำนวน 410,100,000 ดอลลาร์สหรัฐ
                              2.4 แผนการดำเนินงานในปี 2567 ประกอบด้วย ด้านการสำรวจและการประเมินผล ด้านการพัฒนาปิโตรเลียม และด้านการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย สรุปได้ ดังนี้


แปลง          ผู้ดำเนินงาน          ตัวอย่างกิจกรรมสำคัญ
A-18          Carigali
Hess
Operating
Company
Sdn. Bhd.          ? เจาะหลุมพัฒนา จำนวน 8 หลุม ประกอบด้วย การเจาะที่ (1) แท่น Bulan-B (BLB) จำนวน 1 หลุม (2) แท่นผลิต Bumi-B (BMB) จำนวน 3 หลุม และ (3) แท่นผลิต Bulan-D (BLD) จำนวน 4 หลุม
? รักษาระดับการผลิตก๊าชธรรมชาติที่เรียกรับสูงสุดในอัตรา 869                    ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
? ประสานงานกับบริษัท ทรานส์ไทย - มาเลเซีย (TTM) เพื่อให้การผลิตก๊าซเป็นไปตามสัญญาการซื้อขายก๊าซธรรมชาติ
B-17-01          Carigali -
PTTEPI
Operating
Company
Sdn.Bhd
          ? ดำเนินการเจาะหลุมพัฒนาตามแผนพัฒนาแหล่งในระยะที่ 6 จำนวน                17 หลุม ประกอบด้วย การเจาะที่ (1) แท่นผลิต Andalas-C (ADC) จำนวน 7 หลุม และ (2) แท่นผลิต Jengka-D (JKD) จำนวน 10 หลุม
? รักษาระดับอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติที่เรียกรับสูงสุดในอัตรา                    308 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
? ประสานงานกับบริษัท ทรานส์ไทย - มาเลเซีย (TTM) เพื่อให้การผลิตก๊าซเป็นไปตามสัญญาการซื้อชายก๊าซธรรมชาติ
? ซ่อมแซมหลุมผลิตเดิมและเจาะผนังหลุมเพิ่ม เพื่อรักษาอัตราการผลิตของหลุม
1ในปี 2566 มีรายการเปลี่ยนรถยนต์ของตำแหน่งผู้จัดการ จำนวน 3 คัน
2ตามนโยบายขององค์กรร่วมฯ ยานพาหนะที่ใช้งานมากกว่า 5 ปี จะมีการทดแทน ยกเว้นรถยนต์ของหัวหน้าเจ้าหน้าที่ ฝ่ายบริหาร (Chief Executive officer : CEO และ DCEO ที่อายุการใช้งานมากกว่า 7 ปี


แต่งตั้ง
13. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอแต่งตั้ง                     นายอรรถสิทธิ์ กันมล ผู้อำนวยการกอง [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (นิติการ) สูง] กองกฎหมายการบริหารราชการแผ่นดิน สคก. ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการร่างกฎหมายประจำ (นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) สคก. สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

14. เรื่อง การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นหลักการมอบหมายให้รัฐมนตรี เป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จำนวน 2 ราย ตามลำดับ ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ ดังนี้
                    1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายชลน่าน ศรีแก้ว)
                    2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ