คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน (ศตจ.มท.) และศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด กระทรวงมหาดไทย (ศตส.มท.) รายงานการประชุมกลุ่มจังหวัดเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์จังหวัด และการแก้ไขปัญหายาเสพติด ผู้มีอิทธิพล ความยากจน และนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงมหาดไทยในระดับพื้นที่ ในวันที่ 29 สิงหาคม 2548 ณ จังหวัดเชียงราย วันที่ 7 กันยายน 2548 ณ กรุงเทพมหานคร และวันที่ 9 กันยายน 2548 ณ จังหวัดขอนแก่น สรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
1. การนำเสนอผลการดำเนินงานของกลุ่มจังหวัด
1.1 การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด รวม 14 กลุ่มจังหวัดใน 3 ภาค ได้นำเสนอวิสัยทัศน์ ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด ซึ่งพบว่ามีความก้าวหน้าในการพัฒนากลุ่มจังหวัดมากขึ้นมีการกำหนดเป้าประสงค์ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล 9 ประการ จัดวางกลยุทธ์ในการพัฒนาให้ครอบคลุมและเหมาะสมกับพื้นที่ มีการหาจุดแข็งของแต่ละจังหวัดเพื่อเป็นเจ้าภาพ ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ โดยยึดศักยภาพของพื้นที่ ทรัพยากร ภูมิศาสตร์ เพื่อนำไปสู่การแข่งขัน ด้านการท่องเที่ยว การลงทุน ด้านพัฒนาการเกษตร และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นสำคัญ โดยมองมิติของภูมิภาค และการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย จากการชี้แจงของผู้ว่าราชการจังหวัดผู้แทนกลุ่มจังหวัด พบว่าการกำหนดตัวชี้วัดของกลุ่มจังหวัดในปีแรกได้รับการประเมินผลในระดับที่น่าพอใจ
1.2 การดำเนินการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดและผู้มีอิทธิพล ได้มีการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง จริงจัง โดยจังหวัดชายแดน มีการตั้งด่านสกัดกั้นการลักลอบนำเข้ายาเสพติดจากประเทศเพื่อนบ้าน มาตรการด้านการข่าว การค้าหาผู้เสพ/ผู้ติดนำเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา การดำเนินการยึดทรัพย์ การเพิ่มจำนวนและคุณภาพผู้ประสานพลังแผ่นดิน และแต่ละกลุ่มจังหวัดได้นำเสนอพื้นที่เสี่ยงที่เป็นจุดที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษในการนำเข้า การเคลื่อนไหวลำเลียง และข้อมูลการดำเนินการด้านการปราบปรามมีตัวเลขที่เฝ้าติดตามที่ชัดเจน แต่ยังต้องพัฒนาการบริหารการจัดการให้แน่นแฟ้นมากขึ้น และสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชนให้เป็นหมู่บ้านประเภท ก และ ข ให้ยั่งยืน
1.3 การดำเนินงานต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน ปัญหาหนี้สิน ที่ดินทำกิน และที่อยู่อาศัยเป็น 3 ปัญหาหลักของผู้มาจดทะเบียน การแก้ไขปัญหามีการแก้ปัญหาตามสภาพของปัญหาในภาพรวมไปได้ประมาณร้อยละ 30 ขณะที่การออกคาราวานแก้จน หลังจากที่นายกรัฐมนตรีเชิญนายอำเภอทั่วประเทศ มารับฟังการชี้แจงได้ลงพื้นที่ในระดับครัวเรือน พร้อมกันตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2548 ได้มีการตรวจสอบคัดกรองข้อมูลและให้ความช่วยเหลือ กำหนดให้แล้วเสร็จในสัปดาห์แรกของเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งจากการตรวจสอบจะมีผู้ยากจนที่ต้องเข้าไปให้การดูแลลดลงจากที่จดทะเบียนไว้ โดยเฉพาะด้านที่ดินทำกิน จะมีเกษตรกรที่ยากจนจริง ๆ ประมาณ 1 ใน 5 ของผู้มาลงทะเบียนเท่านั้น ในด้านอื่น ๆ จะจัด Supply ลงไปในพื้นที่ โดยการผนึกกำลังของส่วนราชการ องค์กรท้องถิ่น ภาคเอกชน ซึ่งจะประมวลรายงานให้ ส่วนกลางทราบเป็นระยะ ๆ ต่อไป
1.4 ความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย ในแต่ละกลุ่มจังหวัดได้นำเสนอปัญหาความมั่นคงที่กระทบในภาพรวม โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนที่มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 3 ประเทศ ซึ่งกลุ่มจังหวัดทั้ง 3 ภาค ได้วางน้ำหนักเป็นประเด็นปัญหาที่มีความสำคัญสูง โดยได้ใช้การสานสัมพันธ์ตามแนวนโยบายของรัฐบาลกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างใกล้ชิด รวมทั้งนำเสนอปัญหาเฉพาะของพื้นที่ เช่น ปัญหาชาวม้งที่หลบหนีเข้ามาอยู่ ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ปัญหาการลักลอบเข้าเมืองทางจังหวัดตาก การแก้ปัญหาชาวม้งถ้ำกระบอก ที่จังหวัดสระบุรี ปัญหาแรงงานต่างด้าวในกลุ่มภาคกลางตอนล่าง ที่จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดชลบุรี
1.5 งานนโยบายเร่งด่วนสำคัญของรัฐบาล ได้นำเสนอแนวทางการดำเนินงานตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วง 6 เดือนหลังของปี ปัญหาเด็กและเยาวชน การค้ามนุษย์ การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดภาคเหนือตอนบน ที่จังหวัดเชียงราย และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การเตรียมการป้องกันอุทกภัยของทางภาคเหนือตอนล่าง การแก้ปัญหาภัยแล้งในจังหวัดอีสานใต้ และการทำฝายแม้วตามนโยบายของรัฐบาล
2. ปัญหา ข้อจำกัด ในการดำเนินการ
การดำเนินการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้สรุปปัญหาและข้อจำกัด ในการดำเนินการ ดังนี้
2.1 การพัฒนายุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดในปีที่สอง แม้จะมีการกำหนดวงเงินในการบริหารโครงการในกลุ่มจังหวัดร้อยละ 30 แต่ยังขาดการวิจัยและพัฒนาเพื่อศึกษา และเชื่อมโยงในภาพรวม หรือระดับหน่วยงานส่วนกลางลงมาศึกษาวิเคราะห์ให้ดังเช่น กลุ่มเชียงใหม่ หรือกลุ่มอันดามัน ที่มีการวิจัยเชิงวิชาการสนับสนุน
2.2 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (กบจ.) แต่ยังไม่ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารงานอำเภอแบบบูรณาการ (กบอ.) จึงทำให้มีการเชื่อมโยงการแก้ไขปัญหาเชิงนโยบาย ยังไม่ทอดยาวต่อไปยังระดับพื้นที่จริง ๆ ต้องใช้ทักษะการบริหารจัดการของนายอำเภอเป็นสำคัญ เช่น การแก้ปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการระดับพื้นที่อำเภอยังขาดความคล่องตัว ประกอบด้วย หน่วยงานในระดับอำเภอลดน้อยลง จากผลพวงการปฏิรูปราชการ 3 ปีก่อน
2.3 การบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ ยังไม่ครอบคลุมถึงการบริหารงานบุคคล ในส่วนของข้าราชการจากส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่จังหวัด/อำเภอ รวมทั้ง ยังมีส่วนราชการบางหน่วยงานไม่เข้าใจระบบจัดทำแผนงานและงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ทำให้การพิจารณาแผนงาน/โครงการ ยังไม่ตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด หรือกลุ่มจังหวัดเท่าที่ควร
2.4 การจัดสรรงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการได้รับล่าช้า ส่งผลถึงการเบิกจ่ายงบประมาณและการเบิกด้วยระบบ GFMIS ซึ่งเริ่มในปีนี้เป็นปีแรกยังประสบปัญหาทางเทคนิคกล่าวคือ มีเครื่องลูกข่าย (TERMINAL) อยู่จำนวนน้อย ไม่เพียงพอต่อการให้บริการส่วนราชการที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้ตัวเลขการเบิกจ่ายงบประมาณน้อย แต่ในทางปฏิบัติมีการดำเนินการในกระบวนการเบิกจ่ายแล้ว สำหรับโครงการขนาดใหญ่ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2548
2.5 ปัญหาการประนอมหนี้นอกระบบ ยังมีนายทุนไม่ให้ความร่วมมือ มีการข่มขู่ลูกหนี้ ศตจ. จังหวัด จึงดำเนินมาตรการทางด้านภาษีและขึ้นบัญชีเป็นผู้มีอิทธิพล และถึงแม้การเจรจาหนี้นอกระบบจะสำเร็จแต่ส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อ เนื่องจากธนาคารมีหลักเกณฑ์ที่เข้มงวด
2.6 ปัญหาที่ดินทำกิน ส่วนใหญ่เป็นการบุกรุกที่สาธารณะ เขตป่าสงวน ป่าอนุรักษ์ ซึ่งไม่สามารถออกเอกสารสิทธิให้ตามความต้องการของคนที่ลงทะเบียน บางพื้นที่ไม่มี Supply และปรากฎผู้ลงทะเบียนไม่เป็นเกษตรกร และบางส่วนไม่ได้มีสภาพความยากจนจริงต้องคัดแยกกลุ่มให้ชัดเจน นอกจากนี้การจัดหาที่อยู่อาศัยให้กับคนจน มักอยู่ห่างไกลจากที่ทำกิน และมีจำนวนไม่เพียงพอ
2.7 สำหรับกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก กำลังประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำจากภาวะฝนแล้ง ทำให้ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค และภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเรื่องนี้คณะรัฐมนตรีได้กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาภัยแล้งและวิกฤตการณ์ขาดแคลนน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกหลายมาตรการ ทั้งโครงการเร่งด่วน โครงการระยะสั้นและระยะยาว
3. ข้อเสนอจากพื้นที่
กลุ่มจังหวัดทั้ง 3 ภาค ได้ให้ข้อเสนอแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลที่กล่าวมา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและบรรลุผล ดังนี้
3.1 งบประมาณในการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ ควรจัดสรรงบประมาณให้เป็นภาพรวมของกลุ่มจังหวัด เพื่อรองรับข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มจังหวัดและจังหวัด (Blueprint for Change) โดยแยกออกจากงบประมาณในส่วนของจังหวัดอย่างชัดเจน เพื่อเป็นการจูงใจและเป็นปัจจัยในการบูรณาการภายในกลุ่มจังหวัดให้เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง
3.2 ควรจัดตั้งศูนย์ประสานยุทธศาสตร์พัฒนากลุ่มจังหวัดอย่างเป็นทางการและถาวรและคัดเลือกเจ้าหน้าที่ที่มีสมรรถนะการทำงานสูงของกลุ่มจังหวัดมาปฏิบัติงานประจำที่ศูนย์นี้แบบเต็มเวลา
3.3 การบริหารการสั่งการจากส่วนกลางมายังผู้ว่า ฯ CEO มีจากหลายหน่วย ควรผ่านกระทรวงมหาดไทย เพื่อการประสานงานและบูรณาการ รวมทั้ง การจัดประชุม การอบรมสัมมนา ที่ต่างหน่วยต่างทำ ต่างกำหนด ต่างตรวจติดตาม (กระทรวงมหาดไทย ก.พ.ร. ก.พ. สำนักงบประมาณ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นเลขานุการของรองนายกรัฐมนตรีที่ดูแล Cluster)
3.4 การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดควรเน้นคุณภาพและการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน ผู้ประสานพลังแผ่นดิน และสมาชิก TO BE NUMBER ONE ให้มีความเข้มแข็ง สะท้อนสถานการณ์ที่เป็นจริงของหมู่บ้าน ก-ข-ค-ง และต้องประชาสัมพันธ์ รณรงค์แก่ประชาชน นักเรียน นักศึกษา ผู้ใช้แรงงาน เพื่อแสวงหาการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
3.5 ปรับปรุงระบบการข่าว โดยเฉพาะงบประมาณในการปราบปรามยาเสพติด จะต้องวางน้ำหนักภาคอีสานให้ทัดเทียมกับภาคเหนือ การจัดสุนัขตรวจให้มีจำนวนมากขึ้น
3.6 การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน กระทรวงการคลังควรพิจารณากำหนดแนวทางหลักเกณฑ์การให้กู้เงินกับผู้ลงทะเบียนให้มีความยืดหยุ่นกว่าเดิม เช่น กำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำ ระยะเวลาการผ่อนชำระนาน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ลงทะเบียนซึ่งประกอบอาชีพในลักษณะหาเช้า กินค่ำ สามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินได้โดยง่ายขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งมี 4 แนวทางช่วยเหลือกลุ่มลูกหนี้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ หรือไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ให้ชัดเจน
3.7 ควรกำหนดหลักเกณฑ์ในการช่วยเหลือปัญหาที่ดินทำกินให้เป็นการเฉพาะ โดยการบูรณาการแนวทางจากหน่วยที่รับผิดชอบ 7 หน่วยงาน เพื่อเป็นกรอบให้พื้นที่ปรับใช้
3.8 โครงการ SML มีข้อพิจารณาถึงการใช้เกณฑ์ประชากรไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ทำให้เกิดปัญหาในการทำประชาคมในบางแห่ง ควรกำหนดเกณฑ์เป็นรายครอบครัวแทนบุคคล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 กันยายน 2548--จบ--
1. การนำเสนอผลการดำเนินงานของกลุ่มจังหวัด
1.1 การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด รวม 14 กลุ่มจังหวัดใน 3 ภาค ได้นำเสนอวิสัยทัศน์ ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด ซึ่งพบว่ามีความก้าวหน้าในการพัฒนากลุ่มจังหวัดมากขึ้นมีการกำหนดเป้าประสงค์ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล 9 ประการ จัดวางกลยุทธ์ในการพัฒนาให้ครอบคลุมและเหมาะสมกับพื้นที่ มีการหาจุดแข็งของแต่ละจังหวัดเพื่อเป็นเจ้าภาพ ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ โดยยึดศักยภาพของพื้นที่ ทรัพยากร ภูมิศาสตร์ เพื่อนำไปสู่การแข่งขัน ด้านการท่องเที่ยว การลงทุน ด้านพัฒนาการเกษตร และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นสำคัญ โดยมองมิติของภูมิภาค และการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย จากการชี้แจงของผู้ว่าราชการจังหวัดผู้แทนกลุ่มจังหวัด พบว่าการกำหนดตัวชี้วัดของกลุ่มจังหวัดในปีแรกได้รับการประเมินผลในระดับที่น่าพอใจ
1.2 การดำเนินการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดและผู้มีอิทธิพล ได้มีการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง จริงจัง โดยจังหวัดชายแดน มีการตั้งด่านสกัดกั้นการลักลอบนำเข้ายาเสพติดจากประเทศเพื่อนบ้าน มาตรการด้านการข่าว การค้าหาผู้เสพ/ผู้ติดนำเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา การดำเนินการยึดทรัพย์ การเพิ่มจำนวนและคุณภาพผู้ประสานพลังแผ่นดิน และแต่ละกลุ่มจังหวัดได้นำเสนอพื้นที่เสี่ยงที่เป็นจุดที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษในการนำเข้า การเคลื่อนไหวลำเลียง และข้อมูลการดำเนินการด้านการปราบปรามมีตัวเลขที่เฝ้าติดตามที่ชัดเจน แต่ยังต้องพัฒนาการบริหารการจัดการให้แน่นแฟ้นมากขึ้น และสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชนให้เป็นหมู่บ้านประเภท ก และ ข ให้ยั่งยืน
1.3 การดำเนินงานต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน ปัญหาหนี้สิน ที่ดินทำกิน และที่อยู่อาศัยเป็น 3 ปัญหาหลักของผู้มาจดทะเบียน การแก้ไขปัญหามีการแก้ปัญหาตามสภาพของปัญหาในภาพรวมไปได้ประมาณร้อยละ 30 ขณะที่การออกคาราวานแก้จน หลังจากที่นายกรัฐมนตรีเชิญนายอำเภอทั่วประเทศ มารับฟังการชี้แจงได้ลงพื้นที่ในระดับครัวเรือน พร้อมกันตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2548 ได้มีการตรวจสอบคัดกรองข้อมูลและให้ความช่วยเหลือ กำหนดให้แล้วเสร็จในสัปดาห์แรกของเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งจากการตรวจสอบจะมีผู้ยากจนที่ต้องเข้าไปให้การดูแลลดลงจากที่จดทะเบียนไว้ โดยเฉพาะด้านที่ดินทำกิน จะมีเกษตรกรที่ยากจนจริง ๆ ประมาณ 1 ใน 5 ของผู้มาลงทะเบียนเท่านั้น ในด้านอื่น ๆ จะจัด Supply ลงไปในพื้นที่ โดยการผนึกกำลังของส่วนราชการ องค์กรท้องถิ่น ภาคเอกชน ซึ่งจะประมวลรายงานให้ ส่วนกลางทราบเป็นระยะ ๆ ต่อไป
1.4 ความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย ในแต่ละกลุ่มจังหวัดได้นำเสนอปัญหาความมั่นคงที่กระทบในภาพรวม โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนที่มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 3 ประเทศ ซึ่งกลุ่มจังหวัดทั้ง 3 ภาค ได้วางน้ำหนักเป็นประเด็นปัญหาที่มีความสำคัญสูง โดยได้ใช้การสานสัมพันธ์ตามแนวนโยบายของรัฐบาลกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างใกล้ชิด รวมทั้งนำเสนอปัญหาเฉพาะของพื้นที่ เช่น ปัญหาชาวม้งที่หลบหนีเข้ามาอยู่ ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ปัญหาการลักลอบเข้าเมืองทางจังหวัดตาก การแก้ปัญหาชาวม้งถ้ำกระบอก ที่จังหวัดสระบุรี ปัญหาแรงงานต่างด้าวในกลุ่มภาคกลางตอนล่าง ที่จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดชลบุรี
1.5 งานนโยบายเร่งด่วนสำคัญของรัฐบาล ได้นำเสนอแนวทางการดำเนินงานตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วง 6 เดือนหลังของปี ปัญหาเด็กและเยาวชน การค้ามนุษย์ การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดภาคเหนือตอนบน ที่จังหวัดเชียงราย และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การเตรียมการป้องกันอุทกภัยของทางภาคเหนือตอนล่าง การแก้ปัญหาภัยแล้งในจังหวัดอีสานใต้ และการทำฝายแม้วตามนโยบายของรัฐบาล
2. ปัญหา ข้อจำกัด ในการดำเนินการ
การดำเนินการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้สรุปปัญหาและข้อจำกัด ในการดำเนินการ ดังนี้
2.1 การพัฒนายุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดในปีที่สอง แม้จะมีการกำหนดวงเงินในการบริหารโครงการในกลุ่มจังหวัดร้อยละ 30 แต่ยังขาดการวิจัยและพัฒนาเพื่อศึกษา และเชื่อมโยงในภาพรวม หรือระดับหน่วยงานส่วนกลางลงมาศึกษาวิเคราะห์ให้ดังเช่น กลุ่มเชียงใหม่ หรือกลุ่มอันดามัน ที่มีการวิจัยเชิงวิชาการสนับสนุน
2.2 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (กบจ.) แต่ยังไม่ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารงานอำเภอแบบบูรณาการ (กบอ.) จึงทำให้มีการเชื่อมโยงการแก้ไขปัญหาเชิงนโยบาย ยังไม่ทอดยาวต่อไปยังระดับพื้นที่จริง ๆ ต้องใช้ทักษะการบริหารจัดการของนายอำเภอเป็นสำคัญ เช่น การแก้ปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการระดับพื้นที่อำเภอยังขาดความคล่องตัว ประกอบด้วย หน่วยงานในระดับอำเภอลดน้อยลง จากผลพวงการปฏิรูปราชการ 3 ปีก่อน
2.3 การบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ ยังไม่ครอบคลุมถึงการบริหารงานบุคคล ในส่วนของข้าราชการจากส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่จังหวัด/อำเภอ รวมทั้ง ยังมีส่วนราชการบางหน่วยงานไม่เข้าใจระบบจัดทำแผนงานและงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ทำให้การพิจารณาแผนงาน/โครงการ ยังไม่ตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด หรือกลุ่มจังหวัดเท่าที่ควร
2.4 การจัดสรรงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการได้รับล่าช้า ส่งผลถึงการเบิกจ่ายงบประมาณและการเบิกด้วยระบบ GFMIS ซึ่งเริ่มในปีนี้เป็นปีแรกยังประสบปัญหาทางเทคนิคกล่าวคือ มีเครื่องลูกข่าย (TERMINAL) อยู่จำนวนน้อย ไม่เพียงพอต่อการให้บริการส่วนราชการที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้ตัวเลขการเบิกจ่ายงบประมาณน้อย แต่ในทางปฏิบัติมีการดำเนินการในกระบวนการเบิกจ่ายแล้ว สำหรับโครงการขนาดใหญ่ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2548
2.5 ปัญหาการประนอมหนี้นอกระบบ ยังมีนายทุนไม่ให้ความร่วมมือ มีการข่มขู่ลูกหนี้ ศตจ. จังหวัด จึงดำเนินมาตรการทางด้านภาษีและขึ้นบัญชีเป็นผู้มีอิทธิพล และถึงแม้การเจรจาหนี้นอกระบบจะสำเร็จแต่ส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อ เนื่องจากธนาคารมีหลักเกณฑ์ที่เข้มงวด
2.6 ปัญหาที่ดินทำกิน ส่วนใหญ่เป็นการบุกรุกที่สาธารณะ เขตป่าสงวน ป่าอนุรักษ์ ซึ่งไม่สามารถออกเอกสารสิทธิให้ตามความต้องการของคนที่ลงทะเบียน บางพื้นที่ไม่มี Supply และปรากฎผู้ลงทะเบียนไม่เป็นเกษตรกร และบางส่วนไม่ได้มีสภาพความยากจนจริงต้องคัดแยกกลุ่มให้ชัดเจน นอกจากนี้การจัดหาที่อยู่อาศัยให้กับคนจน มักอยู่ห่างไกลจากที่ทำกิน และมีจำนวนไม่เพียงพอ
2.7 สำหรับกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก กำลังประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำจากภาวะฝนแล้ง ทำให้ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค และภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเรื่องนี้คณะรัฐมนตรีได้กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาภัยแล้งและวิกฤตการณ์ขาดแคลนน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกหลายมาตรการ ทั้งโครงการเร่งด่วน โครงการระยะสั้นและระยะยาว
3. ข้อเสนอจากพื้นที่
กลุ่มจังหวัดทั้ง 3 ภาค ได้ให้ข้อเสนอแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลที่กล่าวมา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและบรรลุผล ดังนี้
3.1 งบประมาณในการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ ควรจัดสรรงบประมาณให้เป็นภาพรวมของกลุ่มจังหวัด เพื่อรองรับข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มจังหวัดและจังหวัด (Blueprint for Change) โดยแยกออกจากงบประมาณในส่วนของจังหวัดอย่างชัดเจน เพื่อเป็นการจูงใจและเป็นปัจจัยในการบูรณาการภายในกลุ่มจังหวัดให้เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง
3.2 ควรจัดตั้งศูนย์ประสานยุทธศาสตร์พัฒนากลุ่มจังหวัดอย่างเป็นทางการและถาวรและคัดเลือกเจ้าหน้าที่ที่มีสมรรถนะการทำงานสูงของกลุ่มจังหวัดมาปฏิบัติงานประจำที่ศูนย์นี้แบบเต็มเวลา
3.3 การบริหารการสั่งการจากส่วนกลางมายังผู้ว่า ฯ CEO มีจากหลายหน่วย ควรผ่านกระทรวงมหาดไทย เพื่อการประสานงานและบูรณาการ รวมทั้ง การจัดประชุม การอบรมสัมมนา ที่ต่างหน่วยต่างทำ ต่างกำหนด ต่างตรวจติดตาม (กระทรวงมหาดไทย ก.พ.ร. ก.พ. สำนักงบประมาณ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นเลขานุการของรองนายกรัฐมนตรีที่ดูแล Cluster)
3.4 การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดควรเน้นคุณภาพและการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน ผู้ประสานพลังแผ่นดิน และสมาชิก TO BE NUMBER ONE ให้มีความเข้มแข็ง สะท้อนสถานการณ์ที่เป็นจริงของหมู่บ้าน ก-ข-ค-ง และต้องประชาสัมพันธ์ รณรงค์แก่ประชาชน นักเรียน นักศึกษา ผู้ใช้แรงงาน เพื่อแสวงหาการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
3.5 ปรับปรุงระบบการข่าว โดยเฉพาะงบประมาณในการปราบปรามยาเสพติด จะต้องวางน้ำหนักภาคอีสานให้ทัดเทียมกับภาคเหนือ การจัดสุนัขตรวจให้มีจำนวนมากขึ้น
3.6 การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน กระทรวงการคลังควรพิจารณากำหนดแนวทางหลักเกณฑ์การให้กู้เงินกับผู้ลงทะเบียนให้มีความยืดหยุ่นกว่าเดิม เช่น กำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำ ระยะเวลาการผ่อนชำระนาน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ลงทะเบียนซึ่งประกอบอาชีพในลักษณะหาเช้า กินค่ำ สามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินได้โดยง่ายขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งมี 4 แนวทางช่วยเหลือกลุ่มลูกหนี้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ หรือไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ให้ชัดเจน
3.7 ควรกำหนดหลักเกณฑ์ในการช่วยเหลือปัญหาที่ดินทำกินให้เป็นการเฉพาะ โดยการบูรณาการแนวทางจากหน่วยที่รับผิดชอบ 7 หน่วยงาน เพื่อเป็นกรอบให้พื้นที่ปรับใช้
3.8 โครงการ SML มีข้อพิจารณาถึงการใช้เกณฑ์ประชากรไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ทำให้เกิดปัญหาในการทำประชาคมในบางแห่ง ควรกำหนดเกณฑ์เป็นรายครอบครัวแทนบุคคล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 กันยายน 2548--จบ--