คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการอวยพร การจัดงานรื่นเริง และการให้ของขวัญเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ จำนวน 9 ฉบับ และเห็นชอบแนวทางปฏิบัติการอวยพรวันขึ้นปีใหม่ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
โดยมีสาระสำคัญคือ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ตรวจสอบและรวบรวมมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับเรื่อง การอวยพร การจัดงานรื่นเริงและการให้ของขวัญเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ จำนวน 9 ฉบับ ประกอบด้วย มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 23 ธันวาคม 2519, วันที่ 26 ธันวาคม 2521, วันที่ 13 พฤศจิกายน 2522, วันที่ 23 ธันวาคม 2529, วันที่ 27 ธันวาคม 2532, วันที่ 29 ธันวาคม 2535, วันที่ 23 ธันวาคม 2540, วันที่ 22 ธันวาคม 2541 และวันที่ 29 ธันวาคม 2541 โดยเห็นควรปรับปรุงมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว เนื่องจากมีอยู่หลายฉบับ และมีผลใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว บางฉบับมีความซ้ำซ้อน สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจึงได้นำแนวทางปฏิบัติของมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว จำนวน 9 ฉบับ มารวมไว้ในฉบับเดียวกันเพื่อความสะดวกในการถือปฏิบัติและใช้ในการอ้างอิงต่อไป ดังนี้
1. การไปลงนามถวายพระพรให้คงถือปฏิบัติตามประเพณีที่เคยปฏิบัติมา
2. ให้กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และข้าราชการการเมืองทุกตำแหน่งถือเป็นแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งขอความร่วมมือให้ประชาชนงดใช้สินค้าฟุ่มเฟือยและให้ใช้สินค้าไทย เช่น สินค้าจากโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) เป็นของขวัญปีใหม่ เพื่อเป็นการเสริมสร้างค่านิยม การอวยพรอย่างประหยัด นิยมไทย และเป็นการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของไทยสืบต่อไป
3. หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของ รัฐและเอกชน ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดไม่ควรต้องเดินทางไปอวยพรนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และผู้บังคับบัญชาของส่วนราชการต่าง ๆ เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ เนื่องจากเป็นการสิ้นเปลืองและไม่ประหยัด แต่เพื่อเป็น การรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี ถ้าประสงค์จะอวยพรในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ก็ขอให้ส่งเป็นบัตรอวยพร หรือบัตร ส.ค.ส. ไปแทนโดยอาจลงนามเป็นหมู่คณะก็ได้
4. การส่งบัตรอวยพร หรือบัตร ส.ค.ส. ให้คำนึงถึงการประหยัดและควรสนับสนุนการใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศไทย เช่น การใช้บัตรอวยพรที่ทำขึ้นเองหรือใช้วัสดุที่มีอยู่ตามธรรมชาติ หรือซื้อจากองค์การกุศลต่าง ๆ เป็นต้น
5. เพื่อให้สอดรับมาตรการประหยัด จึงควรงดการจัดงานรื่นเริงเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ หากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานเอกชน เห็นควรจะจัดงานรื่นเริงก็ให้ใช้ดุลยพินิจจัดได้เพียงเท่าที่เหมาะสมกับปกติประเพณี โดยคำนึงถึงความประหยัดและการบังเกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 ธันวาคม 2548--จบ--
โดยมีสาระสำคัญคือ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ตรวจสอบและรวบรวมมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับเรื่อง การอวยพร การจัดงานรื่นเริงและการให้ของขวัญเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ จำนวน 9 ฉบับ ประกอบด้วย มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 23 ธันวาคม 2519, วันที่ 26 ธันวาคม 2521, วันที่ 13 พฤศจิกายน 2522, วันที่ 23 ธันวาคม 2529, วันที่ 27 ธันวาคม 2532, วันที่ 29 ธันวาคม 2535, วันที่ 23 ธันวาคม 2540, วันที่ 22 ธันวาคม 2541 และวันที่ 29 ธันวาคม 2541 โดยเห็นควรปรับปรุงมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว เนื่องจากมีอยู่หลายฉบับ และมีผลใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว บางฉบับมีความซ้ำซ้อน สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจึงได้นำแนวทางปฏิบัติของมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว จำนวน 9 ฉบับ มารวมไว้ในฉบับเดียวกันเพื่อความสะดวกในการถือปฏิบัติและใช้ในการอ้างอิงต่อไป ดังนี้
1. การไปลงนามถวายพระพรให้คงถือปฏิบัติตามประเพณีที่เคยปฏิบัติมา
2. ให้กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และข้าราชการการเมืองทุกตำแหน่งถือเป็นแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งขอความร่วมมือให้ประชาชนงดใช้สินค้าฟุ่มเฟือยและให้ใช้สินค้าไทย เช่น สินค้าจากโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) เป็นของขวัญปีใหม่ เพื่อเป็นการเสริมสร้างค่านิยม การอวยพรอย่างประหยัด นิยมไทย และเป็นการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของไทยสืบต่อไป
3. หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของ รัฐและเอกชน ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดไม่ควรต้องเดินทางไปอวยพรนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และผู้บังคับบัญชาของส่วนราชการต่าง ๆ เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ เนื่องจากเป็นการสิ้นเปลืองและไม่ประหยัด แต่เพื่อเป็น การรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี ถ้าประสงค์จะอวยพรในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ก็ขอให้ส่งเป็นบัตรอวยพร หรือบัตร ส.ค.ส. ไปแทนโดยอาจลงนามเป็นหมู่คณะก็ได้
4. การส่งบัตรอวยพร หรือบัตร ส.ค.ส. ให้คำนึงถึงการประหยัดและควรสนับสนุนการใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศไทย เช่น การใช้บัตรอวยพรที่ทำขึ้นเองหรือใช้วัสดุที่มีอยู่ตามธรรมชาติ หรือซื้อจากองค์การกุศลต่าง ๆ เป็นต้น
5. เพื่อให้สอดรับมาตรการประหยัด จึงควรงดการจัดงานรื่นเริงเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ หากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานเอกชน เห็นควรจะจัดงานรื่นเริงก็ให้ใช้ดุลยพินิจจัดได้เพียงเท่าที่เหมาะสมกับปกติประเพณี โดยคำนึงถึงความประหยัดและการบังเกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 ธันวาคม 2548--จบ--