คณะรัฐมนตรีพิจารณาบันทึกความเข้าใจร่วมกันเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความรู้และการเรียนรู้ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความรู้และการเรียนรู้ระหว่างกัน เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินกิจกรรมและความร่วมมือระหว่างกันต่อไป ทั้งนี้ สศช. ได้ประสานกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ได้พิจารณาความเหมาะสมของบันทึกความเข้าใจร่วมกันดังกล่าวแล้ว และไม่มีข้อขัดข้องประการใด
2. เห็นชอบโครงการพัฒนาคุณภาพบุคลากรของ สศช. ร่วมกับธนาคารโลก 3 ปี (พ.ศ. 2549 — 2551) และให้ปรับแผนการดำเนินงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ไปดำเนินการ ส่วนค่าใช้จ่ายที่จะต้องใช้ในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป ให้สศช. เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ทั้งนี้ กรอบความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารโลก ประกอบด้วย 7 สาขา ดังนี้
1. ความร่วมมือด้านความยากจน ภายใต้โครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาประเทศด้านการวิเคราะห์ความยากจนและติดตามประเมินผล (Country Development Partnership for Poverty Analysis and Monitoring CDP-PAM) โดยให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการ และการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากร
2. การวิเคราะห์เกี่ยวกับความยากจนและการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeast Economic Development Study: NEED) โดยการจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ แรงงาน การศึกษา และการใช้จ่ายของภาครัฐ
3. การสำรวจและการประเมินบรรยากาศในการลงทุน และประสิทธิภาพการผลิต (Investment climate and productivity survey and assessment) โดยประเมินบรรยากาศในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมถึงอุปสรรคต่อการค้าและการลงทุน
4. การวิเคราะห์เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะสนับสนุนการดำเนินงานของ สศช. ภายใต้แผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย โดยเน้นในเรื่องการหาแหล่งเงินทุนสำหรับโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure financing) ความร่วมมือในการวางแผนและนโยบาย และการมีส่วนร่วมของประชาชน
5. การสนับสนุนทางด้านวิชาการเพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและพัฒนาความร่วมมือในภูมิภาค ความช่วยเหลือนี้จะสนับสนุน สศช. ในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และการขยายตัวอย่างยั่งยืน รวมถึงการส่งเสริมการค้าและการลงทุนในภูมิภาค
6. ความร่วมมือในการเสริมสร้างศักยภาพของเจ้าหน้าที่ สศช. โดยแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติงานและแลกเปลี่ยนความรู้/ประสบการณ์ระหว่าง สศช. และธนาคารโลก ใน 3 สาขา ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม และการแก้ไขปัญหาความยากจน
7. ความร่วมมือในแผนงานและกิจกรรมที่จัดโดยสถาบันของธนาคารโลก (the World Bank Institute : WBI) หรือ the Global Distance Learning Network (GDLN) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และการฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ สศช.
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ตุลาคม 2548--จบ--
1. เห็นชอบให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความรู้และการเรียนรู้ระหว่างกัน เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินกิจกรรมและความร่วมมือระหว่างกันต่อไป ทั้งนี้ สศช. ได้ประสานกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ได้พิจารณาความเหมาะสมของบันทึกความเข้าใจร่วมกันดังกล่าวแล้ว และไม่มีข้อขัดข้องประการใด
2. เห็นชอบโครงการพัฒนาคุณภาพบุคลากรของ สศช. ร่วมกับธนาคารโลก 3 ปี (พ.ศ. 2549 — 2551) และให้ปรับแผนการดำเนินงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ไปดำเนินการ ส่วนค่าใช้จ่ายที่จะต้องใช้ในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป ให้สศช. เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ทั้งนี้ กรอบความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารโลก ประกอบด้วย 7 สาขา ดังนี้
1. ความร่วมมือด้านความยากจน ภายใต้โครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาประเทศด้านการวิเคราะห์ความยากจนและติดตามประเมินผล (Country Development Partnership for Poverty Analysis and Monitoring CDP-PAM) โดยให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการ และการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากร
2. การวิเคราะห์เกี่ยวกับความยากจนและการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeast Economic Development Study: NEED) โดยการจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ แรงงาน การศึกษา และการใช้จ่ายของภาครัฐ
3. การสำรวจและการประเมินบรรยากาศในการลงทุน และประสิทธิภาพการผลิต (Investment climate and productivity survey and assessment) โดยประเมินบรรยากาศในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมถึงอุปสรรคต่อการค้าและการลงทุน
4. การวิเคราะห์เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะสนับสนุนการดำเนินงานของ สศช. ภายใต้แผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย โดยเน้นในเรื่องการหาแหล่งเงินทุนสำหรับโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure financing) ความร่วมมือในการวางแผนและนโยบาย และการมีส่วนร่วมของประชาชน
5. การสนับสนุนทางด้านวิชาการเพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและพัฒนาความร่วมมือในภูมิภาค ความช่วยเหลือนี้จะสนับสนุน สศช. ในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และการขยายตัวอย่างยั่งยืน รวมถึงการส่งเสริมการค้าและการลงทุนในภูมิภาค
6. ความร่วมมือในการเสริมสร้างศักยภาพของเจ้าหน้าที่ สศช. โดยแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติงานและแลกเปลี่ยนความรู้/ประสบการณ์ระหว่าง สศช. และธนาคารโลก ใน 3 สาขา ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม และการแก้ไขปัญหาความยากจน
7. ความร่วมมือในแผนงานและกิจกรรมที่จัดโดยสถาบันของธนาคารโลก (the World Bank Institute : WBI) หรือ the Global Distance Learning Network (GDLN) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และการฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ สศช.
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ตุลาคม 2548--จบ--