คณะรัฐมนตรีพิจารณาสัญญาความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศไทย-สาธารณรัฐเกาหลี ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติเห็นชอบดังนี้
1. ร่างสัญญาความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรา (Bilateral Swap Arrangment : BSA) ระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐเกาหลีฉบับใหม่
2. หากมีการเปลี่ยนแปลงในร่างสัญญา BSA ตามข้อ 1 โดยไม่มีนัยสำคัญให้กระทรวงการคลังสามารถดำเนินการได้โดยไม่จำเป็นต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
3. มอบหมายให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน เป็นผู้ลงนามในสัญญา BSA โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นผู้จัดทำความเห็นทางกฎหมายประกอบสัญญา BSA เมื่อมีการกู้ยืมจริง
ซึ่งสัญญา BSA มีความสำคัญ 3 ประการคือ
1.เป็นมาตรการป้องกัน (Preventive Measure) เนื่องจากเป็นกลไกที่ช่วยเหลือประเทศที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงินหรือขาดสภาพคล่องในระยะสั้น ซึ่งจะดำเนินการควบคู่ไปกับการเสริมสร้างระบบระวังภัยทางเศรษฐกิจของภูมิภาค (Regional Surveillance Mechanism)
2. เป็นมาตรการเสริมกลไกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (Supplementary to the IMF) กล่าวคือ ความตกลงทวิภาคีจะให้ความช่วยเหลือทางการเงินเสริมกับความช่วยเหลือจาก IMF
3. เป็นมาตรการเพิ่มเติม (Additional Facility) โดยประเทศคู่สัญญา BSA สามารถเบิกถอนเงินจำนวนหนึ่ง โดยไม่จำเป็นต้องผูกติดกับเงื่อนไขของ IMF
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังชี้แจงว่า ได้เสนอให้มีการจัดทำสัญญาความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศไทย-สาธารณรัฐเกาหลีฉบับใหม่หลังจากที่สัญญาความตกลงฉบับเดิมที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2548 หมดอายุลงตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2548 โดยการจัดทำสัญญาความตกลงดังกล่าว จะเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือของไทยในตลาดการเงิน การเสริมสร้างความร่วมมือทางการเงิน การช่วยเหลือซึ่งกันและกันของประเทศสมาชิกอาเซียน+3 และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนต่างประเทศต่อประเทศไทยถึงความแข็งแกร่งทางภาวะเศรษฐกิจที่มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสำรองให้เบิกจ่ายกรณีฉุกเฉินด้วย การจัดทำสัญญาความตกลงฉบับใหม่นี้ประเทศไทยและสาธารณรัฐเกาหลีได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันถึงการจัดทำสัญญาความตกลงร่วมกันแล้ว โดยได้มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในบางส่วนที่สำคัญคือ การเบิก-ถอนหรือการต่ออายุสัญญา BSA ให้ดำเนินการภายใน 2 ปี จากเดิม 3 ปี และการเพิ่มวงเงินเบิก-ถอนระหว่างกันสำหรับประเทศผู้ขอกู้ ที่ไม่ได้อยู่ในโครงการความช่วยเหลือทางการเงินของ IMF จากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 20 ของวงเงินเบิก—ถอนสูงสุด ทั้งนี้ สาเหตุที่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเนื่องจากสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นของประเทศสมาชิกอาเซียน จึงไม่มีประเทศใดเบิก-ถอนตามสัญญา BSA ในช่วงที่ผ่านมาและเพื่อให้สอดคล้องกับมติที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2548 จึงได้มีการทบทวนหลักการสำคัญของสัญญา BSA เดิม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--
1. ร่างสัญญาความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรา (Bilateral Swap Arrangment : BSA) ระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐเกาหลีฉบับใหม่
2. หากมีการเปลี่ยนแปลงในร่างสัญญา BSA ตามข้อ 1 โดยไม่มีนัยสำคัญให้กระทรวงการคลังสามารถดำเนินการได้โดยไม่จำเป็นต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
3. มอบหมายให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน เป็นผู้ลงนามในสัญญา BSA โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นผู้จัดทำความเห็นทางกฎหมายประกอบสัญญา BSA เมื่อมีการกู้ยืมจริง
ซึ่งสัญญา BSA มีความสำคัญ 3 ประการคือ
1.เป็นมาตรการป้องกัน (Preventive Measure) เนื่องจากเป็นกลไกที่ช่วยเหลือประเทศที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงินหรือขาดสภาพคล่องในระยะสั้น ซึ่งจะดำเนินการควบคู่ไปกับการเสริมสร้างระบบระวังภัยทางเศรษฐกิจของภูมิภาค (Regional Surveillance Mechanism)
2. เป็นมาตรการเสริมกลไกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (Supplementary to the IMF) กล่าวคือ ความตกลงทวิภาคีจะให้ความช่วยเหลือทางการเงินเสริมกับความช่วยเหลือจาก IMF
3. เป็นมาตรการเพิ่มเติม (Additional Facility) โดยประเทศคู่สัญญา BSA สามารถเบิกถอนเงินจำนวนหนึ่ง โดยไม่จำเป็นต้องผูกติดกับเงื่อนไขของ IMF
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังชี้แจงว่า ได้เสนอให้มีการจัดทำสัญญาความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศไทย-สาธารณรัฐเกาหลีฉบับใหม่หลังจากที่สัญญาความตกลงฉบับเดิมที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2548 หมดอายุลงตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2548 โดยการจัดทำสัญญาความตกลงดังกล่าว จะเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือของไทยในตลาดการเงิน การเสริมสร้างความร่วมมือทางการเงิน การช่วยเหลือซึ่งกันและกันของประเทศสมาชิกอาเซียน+3 และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนต่างประเทศต่อประเทศไทยถึงความแข็งแกร่งทางภาวะเศรษฐกิจที่มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสำรองให้เบิกจ่ายกรณีฉุกเฉินด้วย การจัดทำสัญญาความตกลงฉบับใหม่นี้ประเทศไทยและสาธารณรัฐเกาหลีได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันถึงการจัดทำสัญญาความตกลงร่วมกันแล้ว โดยได้มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในบางส่วนที่สำคัญคือ การเบิก-ถอนหรือการต่ออายุสัญญา BSA ให้ดำเนินการภายใน 2 ปี จากเดิม 3 ปี และการเพิ่มวงเงินเบิก-ถอนระหว่างกันสำหรับประเทศผู้ขอกู้ ที่ไม่ได้อยู่ในโครงการความช่วยเหลือทางการเงินของ IMF จากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 20 ของวงเงินเบิก—ถอนสูงสุด ทั้งนี้ สาเหตุที่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเนื่องจากสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นของประเทศสมาชิกอาเซียน จึงไม่มีประเทศใดเบิก-ถอนตามสัญญา BSA ในช่วงที่ผ่านมาและเพื่อให้สอดคล้องกับมติที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2548 จึงได้มีการทบทวนหลักการสำคัญของสัญญา BSA เดิม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--