http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ (26 ธันวาคม 2566) เวลา 10.00 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุย วิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏ สกลนคร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุย วิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุ ราษฎร์ธานี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 3. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดง การส่งเงินสมทบ และการนำส่งเงินสมทบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) พ.ศ. .... 4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพ ติดให้โทษในประเภท 2 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 พ.ศ. .... 5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษใน ประเภท 2 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 พ.ศ. .... 6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติด ให้โทษในประเภท 2 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. .... 7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือ มีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 พ.ศ. .... 8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการแจ้งข้อหาแก่ผู้กระทำความผิดฐานสนับสนุน ช่วยเหลือ หรือสมคบกันกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 9. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น รัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการ บริจาคให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา) 10. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงลดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดในพื้นที่ เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ พ.ศ. .... 11. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 12. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากร สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่สำเร็จรูปที่นำเข้ามาทั้งคัน (ฉบับที่ ..) 13. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (สินค้า รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน แบบประหยัดพลังงาน มาตรฐานสากล รุ่นที่ 1) เศรษฐกิจ-สังคม 14. เรื่อง การจัดตั้งมูลนิธิฝนหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ 15. เรื่อง ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตรา ค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสารและการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการ ยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีชมพู พ.ศ. .... 16. เรื่อง การกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินสำหรับระยะปานกลาง และเป้าหมาย สำหรับปี 2567 17. เรื่อง ผลการสำรวจความต้องการของประชาชน พ.ศ. 2567 (ของขวัญปีใหม่ที่ต้องการ จากรัฐบาล) 18. เรื่อง รายงานความก้าวหน้าการวิจัยพัฒนาและผลิตวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย
19. เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (ณ สิ้นไตรมาสที่ 4) 20. เรื่อง สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนพฤศจิกายน 2566 21. เรื่อง แผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568 - 2571) 22. เรื่อง การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2567 23. เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อขยายวงเงินค้ำประกันสินเชื่อโครงการค้ำประกัน สินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 10 24. เรื่อง การเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนย นมและครีม ปี 2566 เพิ่มเติม ต่างประเทศ 25. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานโครงการเข้าร่วมงาน The International Horticultural Expo (EXPO 2022 Floriade Almere) ณ ราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ 26. เรื่อง การยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยในการเข้าเป็น สมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co - operation and Development: OECD) 27. เรื่อง การจัดทำร่างแก้ไขข้อตกลงระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักร ไทยกับสำนักงานเพื่อการพัฒนาแห่งฝรั่งเศส (AFD) ว่าด้วยการจัดตั้งสำนักงาน AFDในประเทศไทย 28. เรื่อง การให้สัตยาบันต่อพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี (Kigali Amendment) 29. เรื่อง ผลการประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย ครั้งที่ 23 30. เรื่อง การเสนอชื่อผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานความร่วมมืออนุ ภูมิภาคแผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย - มาเลเซีย - ไทย (IMT - GT) วาระปี 2567-2571 แต่งตั้ง 31. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีระบบราง 32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี) 33. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) 34. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ 35. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการยางแห่ง ประเทศไทย 36. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 381/2566 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและ มอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติ ราชการแทนนายกรัฐมนตรี 37. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 382/2566 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและ มอบอำนาจให้ รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมาย ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
? กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ อว. เสนอว่า 1. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร พ.ศ. 2554 กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร รวม 13 สาขาวิชา ได้แก่ (1) การบัญชี (2) การศึกษา (3) เทคโนโลยี (4) นิติศาสตร์ (5) นิเทศศาสตร์ (6) บริหารธุรกิจ (7) รัฐประศาสนศาสตร์ (8) รัฐศาสตร์ (9) วิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ (10) วิทยาศาสตร์ (11) ศิลปศาสตร์ (12) เศรษฐศาสตร์ (13) สาธารณสุขศาสตร์ 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครได้เปิดสอนสาขาวิชาเพิ่มขึ้น 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 ได้มีมติเห็นชอบหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2565) และสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตรดังกล่าวด้วยแล้ว 3. อว. จึงได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ดังนี้ กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์มีปริญญา สองชั้น คือ (ก) เอก เรียกว่า ?วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?วศ.ด.? และ ?ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ปร.ด.? (ข) โท เรียกว่า ?วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?วศ.ม.? 4. ในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ครั้งที่ 6/2566 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2566 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 3. แล้ว สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ 2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ อว. เสนอว่า 1. โดยที่มาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2555 และมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2560 ได้กำหนดลักษณะ ชนิด ประเภทและส่วนประกอบของครุยวิทยฐานะ และกำหนดสีประจำสาขาวิชาสำหรับสาขาวิชา ตามลำดับ 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมการกำหนดครุยวิทยฐานะของมหาวิทยาลัย และกำหนดสีประจำคณะและวิทยาลัยแทนสีประจำสาขาวิชา ซึ่งอยู่ในคณะและวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี อว. จึงได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ขึ้น เพื่อกำหนดครุยวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยโดยแก้ไขข้อความ ?สีประจำคณะและวิทยาลัย? และเพิ่มเติมข้อความ ?มีแถบกำมะหยี่สีประจำคณะและวิทยาลัย ขลิบริมด้วยเส้นสีเงิน กว้าง 0.3 เซนติเมตร? และแก้ไขสีด้านในของผ้าคล้องคอทำด้วยผ้าหรือแพรสีแดงด้านขวา สีฟ้าด้านซ้าย และกำหนดสีประจำคณะและวิทยาลัยแทนสีประจำสาขาวิชา 3. ในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ครั้งที่ 11/2563 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2563 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 2. แล้ว สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา แก้ไขเพิ่มเติมการกำหนดครุยวิทยฐานะของมหาวิทยาลัย และกำหนดสีประจำคณะและวิทยาลัยแทนสีประจำสาขาวิชา ซึ่งอยู่ในคณะและวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ดังนี้ 1. กำหนดให้ครุยวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีสามชั้น ดังต่อไปนี้ (1) ครุยดุษฎีบัณฑิต ทำด้วยผ้าหรือแพรสีดำ เย็บเป็นเสื้อคลุมยาวเหนือข้อเท้าพอประมาณ หลังจีบและมีจีบที่หัวไหล่ ตัวเสื้อผ่าอกตลอด มีแถบกำมะหยี่ประจำคณะและวิทยาลัย กว้าง 7 เซนติเมตร เย็บติดเป็นสาบตลอดด้านหน้าที่สองข้าง ขลิบริมด้วยเส้นสีเงินกว้าง 0.3 เซนติเมตร แขนเสื้อกว้างและยาวตกข้อมือ ปลายแขนปล่อย ตอนกลางแขนทั้งสองข้างมีแถบกำมะหยี่สีประจำคณะและวิทยาลัย กว้าง 5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 35 - 40 เซนติเมตร ขลิบริมด้วยเส้นสีเงิน กว้าง 0.3 เซนติเมตร พับปลายแถบเป็นมุมแหลมจำนวนสามแถบติดเรียงกันระยะห่างระหว่างแถบ 3.5 เซนติเมตร ประดับตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยทำด้วยโลหะดุนนูนสีเงินสูง 5 เซนติเมตร บนแถบกำมะหยี่สีประจำคณะและวิทยาลัย ด้านหน้าอกทั้งสองข้าง มีผ้าคล้องคอทำด้วยผ้าหรือแพรสีดำเช่นเดียวกับเสื้อ ด้านนอกตอนปลายของผ้าคล้องคอขลิบริมด้วยกำมะหยี่สีประจำคณะและวิทยาลัย กว้าง 1.5 เซนติเมตร ริมหนึ่ง และขลิบริมด้วยกำมะหยี่สีประจำคณะและวิทยาลัย กว้าง 8 เซนติเมตร อีกริมหนึ่ง ด้านในของผ้า คล้องคอทำด้วยผ้าหรือแพรสีแดงด้านขวาและสีฟ้าด้านซ้าย (2) ครุยมหาบัณฑิต เช่นเดียวกับครุยดุษฎีบัณฑิต เว้นแต่แถบกำมะหยี่สีประจำคณะและวิทยาลัย และขลิบริมด้วยเส้นสีเงิน ตอนกลางแขนทั้งสองข้างมีจำนวนสองแถบ (3) ครุยบัณฑิต เช่นเดียวกับครุยมหาบัณฑิต เว้นแต่แถบกำมะหยี่สีประจำคณะและวิทยาลัยและขลิบริมด้วยเส้นสีเงิน ตอนกลางแขนทั้งสองข้างมีจำนวนหนึ่งแถบ 2. กำหนดให้สีประจำคณะและวิทยาลัย มีดังต่อไปนี้ (1) คณะครุศาสตร์ สีฟ้า (2) คณะนิติศาสตร์ สีขาว (3) คณะพยาบาลศาสตร์ สีเขียว (4) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สีแสด (5) คณะวิทยาการจัดการ สีชมพู (6) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สีเหลือง (7) วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว สีม่วง 3. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบ และการนำส่งเงินสมทบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบ และการนำส่งเงินสมทบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ร่างประกาศที่กระทรวงแรงงานเสนอ เป็นการขยายกำหนดเวลากรณีนายจ้างยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 โดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ออกไปอีก 7 วันทำการ นับแต่วันที่พ้นกำหนดวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการหักเงินสมทบไว้ (ปกติหากยื่นด้วยวิธีอื่น เช่น ยื่นที่สำนักงานประกันสังคม จะต้องยื่นในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการหักเงินสมทบ) สำหรับการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบสำหรับค่าจ้างตั้งแต่เดือนมกราคม 2567 ถึงเดือนธันวาคม 2567 เป็นระยะเวลา 12 เดือน โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป เพื่อให้การดำเนินการมีผลใช้บังคับต่อเนื่องกับประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) พ.ศ. 2565 (สำหรับการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบ สำหรับค่าจ้างตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 ถึงเดือนธันวาคม 2566 เป็นระยะเวลา 24 เดือน) ซึ่งจะสิ้นสุดระยะเวลาการขยายกำหนดเวลาการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในงวดเดือนธันวาคม 2566 และเพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนและรองรับความสะดวกในการประกอบธุรกิจของนายจ้าง รวมทั้งเพื่อประโยชน์ของผู้ประกันตนให้ได้รับความคุ้มครอง และส่งเสริมให้สถานประกอบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ตามโครงการ e - Payment ภาครัฐ ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Nation e-Payment Master Plan ตลอดจนให้การทำธุรกรรมทางการเงินทันสมัยและได้มาตรฐานสากล สอดคล้องกับนโยบายการดำเนินธุรกิจและการลงทุน (Business Enabling Environment: BEE) ของธนาคารโลก และเป็นการสนับสนุนให้นายจ้างทำธุรกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ร่างประกาศในเรื่องนี้ กระทรวงแรงงานได้ดำเนินการตามมาตรา 7 และมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยการขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e - Payment) ดังกล่าว จะทำให้สำนักงานประกันสังคมจัดเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมช้ากว่ากำหนด ทำให้กองทุนขาดโอกาสในการจัดหาผลประโยชน์ให้กองทุน อย่างไรก็ตาม การขยายกำหนดเวลาดังกล่าว จะทำให้ผู้ประกันตนได้รับประโยชน์ต่อการใช้สิทธิ เนื่องจากข้อมูลรายละเอียดการชำระเงินสมทบของผู้ประกันตนรายตัวจะลงฐานข้อมูลเป็นปัจจุบัน ทำให้ การตรวจสอบสิทธิสามารถทำได้รวดเร็ว และเป็นการดำเนินการตามโครงการ e - Payment ภาครัฐ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Nation e-Payment Master Plan ให้การทำธุรกรรมทางการเงินทันสมัยและได้มาตรฐานสากล สาระสำคัญของร่างประกาศ ขยายกำหนดเวลา กรณีนายจ้างยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 โดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e - Payment) ออกไปอีก 7 วันทำการนับแต่วันที่พ้นกำหนดวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการหักเงินสมทบไว้ สำหรับการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบไว้ สำหรับการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบ สำหรับค่าจ้างตั้งแต่เดือนมกราคม 2567 ถึงเดือนธันวาคม 2567 เป็นระยะเวลา 12 เดือน โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป 4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานอัยการสูงสุดไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงสาธารณสุขรับความ เห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย สาระสำคัญ ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ เป็นการออกกฎหมายลำดับรองเพื่อใช้บังคับแทนกฎกระทรวง (กฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 พ.ศ. 2563 กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2547 กฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ผลิต นำเข้า หรือส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 พ.ศ. 2562 และกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2560) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 แต่โดยที่พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ซึ่งบัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 แล้ว และให้บรรดากฎกระทรวงยังคงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประมวลกฎหมายยาเสพติดหรือจนกว่าจะมีกฎกระทรวงมาใช้บังคับ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องออกกฎกระทรวงในเรื่องนี้ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เช่น มอร์ฟีน โคคาอีน ฝิ่นยา หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 เช่น คีตามีน (ยาในกลุ่มยาสลบ) ซูโดอีเฟดรีน (ยาในกลุ่มยาแก้คัดจมูก) โดยในการขออนุญาตผลิต นำเข้า หรือส่งออกตามร่างกฎกระทรวงได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินการเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ของประเทศ การศึกษาวิจัยทางการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์เพื่อการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และเพื่อการผลิตเพื่อส่งออกหรือส่งออกตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด ดังนั้น ผู้ขออนุญาตผลิต นำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 จึงมีทั้งหน่วยงานของรัฐ อาทิ องค์การเภสัชกรรม มหาวิทยาลัย และบริษัทยาเอกชนซึ่งได้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยาแผนปัจจุบัน ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ได้ปรับปรุงเนื้อหาจากกฎหมายปัจจุบัน เช่น ปรับปรุงคุณสมบัติผู้ขอรับอนุญาตโดยแยกตามวัตถุประสงค์ในการขออนุญาต ปรับปรุงการยื่นคำขอทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก ปรับปรุงให้ผู้อนุญาตพิจารณาคำขอให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน (จากเดิม 45 วัน) กรณีไม่อนุญาตให้แจ้งผู้ยื่นคำขอทราบภายใน 15 วัน (จากเดิม 7 วัน) เพื่อให้การขออนุญาตและการอนุญาตเกี่ยวกับการผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพอันเป็นประโยชน์ในการควบคุมกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ให้มีคุณภาพ และป้องกันการนำไปใช้ในทางที่ผิด รวมถึงส่งเสริมการประกอบกิจการของผู้ประกอบการซึ่งคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดเห็นชอบด้วยแล้ว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบในหลักการ 5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตจำหน่ายซึ่ง ยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ สาระสำคัญ 1. ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ เป็นการออกกฎหมายลำดับรองเพื่อใช้บังคับแทนกฎกระทรวง (กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เกินปริมาณที่กำหนดไว้ตามมาตรา 8 (5) พ.ศ. 2551 กฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 พ.ศ. 2560 และกฎกระทรวงการอนุญาตจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 พ.ศ. 2563) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 แต่โดยที่พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ซึ่งบัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 แล้ว และให้บรรดากฎกระทรวงยังคงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประมวลกฎหมายยาเสพติดหรือจนกว่าจะมีกฎกระทรวงมาใช้บังคับ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องออกกฎกระทรวงในเรื่องนี้ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตให้จำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เช่น มอร์ฟีน, โคคาอีน, ฝิ่นยา หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 เช่น คีตามีน (ยาในกลุ่มยาสลบ), ซูโดอีเฟดรีน (ยาในกลุ่มยาแก้คัดจมูก), ไนตราซีแพม (ยาในกลุ่มยานอนหลับ) เพื่อควบคุมกำกับยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์ซึ่งใช้ในทางการแพทย์และอาจก่อให้เกิดการนำไปใช้หรือมีแนวโน้มในการนำไปใช้ในทางที่ผิดสูง โดยได้ปรับปรุงจากกฎกระทรวงปัจจุบัน ได้แก่ ให้ยื่นคำขออนุญาตทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก เพิ่มหน่วยกระจายยาซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่ได้รับอนุญาต ใบอนุญาตใช้ได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่ 2 นับจากปีที่อนุญาต (เดิมใช้ได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่อนุญาต) กำหนดให้การขออนุญาตจำหน่ายเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดในกฎกระทรวง อาทิ เพื่อการรักษาหรือป้องกันโรค เพื่อการวิเคราะห์หรือศึกษาวิจัยทางการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์ ดังนั้น ผู้ขออนุญาตจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 จึงมีทั้งหน่วยงานของรัฐ สภากาชาดไทย และภาคเอกชนที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล หรือให้ตั้งสถานพยาบาลสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ โดยผู้ขออนุญาตจำหน่ายสามารถจำหน่ายให้แก่ผู้ป่วยหรือสัตว์ป่วยที่มารักษากับโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลนั้น ซึ่งคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดเห็นชอบด้วยแล้ว ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าว 2. ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้เป็นการออกฎหมายลำดับรองซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายยาเสพติดที่มีผลใช้บังคับ (เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564) ภายหลังพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำ ร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ซึ่งจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 8 ธันวาคม 2566 อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขได้เสนอขอขยายระยะเวลาการดำเนินการออกกฎกระทรวงในเรื่องนี้ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2566 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามความในประมวลกฎหมาย ยาเสพติด ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ 6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. ....ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้ รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานอัยการสูงสุดไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานอัยการสูงสุดไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย สาระสำคัญ 1. ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ เป็นการออกกฎหมายลำดับรองเพื่อใช้บังคับแทนกฎกระทรวง (กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เกินปริมาณที่กำหนดไว้ตามมาตรา 8 (5) พ.ศ. 2551 กฎกระทรวงการอนุญาตจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่ง ยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 พ.ศ. 2563 กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2547 กฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. 2561 และกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2560) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 แต่โดยที่พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ซึ่งบัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 แล้ว และให้บรรดากฎกระทรวงยังคงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประมวลกฎหมายยาเสพติดหรือจนกว่าจะมีกฎกระทรวงมาใช้บังคับ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องออกกฎกระทรวงในเรื่องนี้ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เช่น มอร์ฟีน โคคาอีน ฝิ่นยา และวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 เช่น คีตามีน (ยาในกลุ่มยาสลบ) ซูโดอีเฟดรีน (ยาในกลุ่มยาแก้คัดจมูก) ประเภท 3 เช่น อะโมบาร์บิทาล (ยาในกลุ่มยานอนหลับ) เพนตาโซซีน (ยาในกลุ่มยาแก้ปวด) หรือประเภท 4 เช่น ไดอะซีแพม (ยาในกลุ่มยานอนหลับ) ลอราซีแพม (ยาในกลุ่มยาช่วยคลายกังวล) โดยในการขออนุญาตให้มีไว้ในครอบครองตามร่างกฎกระทรวงได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินการเพื่อผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 (มีลักษณะเป็นตำรับยา) เพื่อการบำบัดรักษาหรือป้องกันโรคให้แก่ผู้ป่วยหรือสัตว์ป่วยในทางการแพทย์ เพื่อการศึกษา วิเคราะห์ หรือวิจัยทางการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์ เพื่อประโยชน์ทางอุตสาหกรรม เพื่อใช้ประจำในการปฐมพยาบาลหรือกรณีเกิด เหตุฉุกเฉินในเรือหรือเครื่องบินที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศที่จดทะเบียนในราชอาณาจักร และเพื่อการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ดังนั้น ผู้ขออนุญาตให้มีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 และวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ประเภท 3 หรือประเภท 4 จึงมีทั้งหน่วยงานของรัฐ สภากาชาดไทย สถานพยาบาลและภาคเอกชนที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์ มีโครงการศึกษาวิจัย หรือการอุตสาหกรรม โดยร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ได้ปรับปรุงเนื้อหาจากกฎหมายปัจจุบัน เช่น กำหนดให้ผู้อนุญาตพิจารณาคำขอให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน โดยจะขยายระยะเวลาพิจารณาไม่ได้ (จากเดิมสามารถขยายระยะเวลาได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 30 วัน) กำหนดคุณสมบัติของผู้ขออนุญาต โดยแยกคุณสมบัติออกตามวัตถุประสงค์ของการอนุญาตครอบครองเพื่อให้เกิดความชัดเจน กำหนดให้ใบอนุญาตมีอายุจนถึงวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่สองนับจากปีที่ได้รับอนุญาต (จากเดิมกำหนดให้มีอายุถึงวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่ได้รับอนุญาต) เป็นต้น เพื่อให้การขออนุญาตและการอนุญาตเกี่ยวกับการมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 และวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ประเภท 3 หรือประเภท 4 สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพอันเป็นประโยชน์ในการควบคุมกำกับดูแลและป้องกันการนำยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าวไปใช้ในทางที่ผิด ซึ่งคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดได้เห็นชอบด้วยแล้ว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบในหลักการ 2. ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้เป็นการออกฎหมายลำดับรองซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายยาเสพติดที่มีผลใช้บังคับ (เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564) ภายหลังพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำ ร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ซึ่งจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 8 ธันวาคม 2566 อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขได้เสนอขอขยายระยะเวลาการดำเนินการออกกฎกระทรวงในเรื่องนี้ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2566 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามความในประมวลกฎหมาย ยาเสพติด ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ 7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้ 1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. และ สำนักงานอัยการสูงสุดไปประกอบการตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ 2. ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย สาระสำคัญ 1. ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ เป็นการออกกฎหมายลำดับรองเพื่อใช้บังคับแทนกฎกระทรวง (กฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 หรือในประเภท 5 พ.ศ. 2559 และกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2547) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แต่โดยที่พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ซึ่งบัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แล้ว และให้บรรดากฎกระทรวงยังคงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประมวลกฎหมายยาเสพติดหรือจนกว่าจะมีกฎกระทรวงมาใช้บังคับ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องออกกฎกระทรวงในเรื่องนี้ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็น การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่ง ยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 เช่น อาเซติค แอนไฮไดรด์ ยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 เป็นสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น เฮโรอีน) หรือประเภท 2 (ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น มอร์ฟิน โคเคอีน) โดยกำหนดวัตถุประสงค์และผู้มีอำนาจในการอนุญาตไว้แต่ละกรณี ได้แก่ (1) กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมีอำนาจออกใบอนุญาตนำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ในครอบครอง กรณีผู้ขออนุญาตมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ของทางราชการเพื่อการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ (2) กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยการเสนอแนะของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดมีอำนาจออกใบอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง กรณีผู้ขออนุญาตมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาวิจัย และเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์หรืออุตสาหกรรม และ (3) กำหนดให้เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยามีอำนาจออกใบอนุญาตนำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง กรณีผู้ขออนุญาตมีวัตถุประสงค์ที่นำไปใช้เป็นสารมาตรฐานในการตรวจวิเคราะห์ในปริมาณเล็กน้อย ดังนั้น ผู้ขออนุญาตตามร่างกฎกระทรวงนี้ในการผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดในประเภท 4 จึงมีทั้งหน่วยงานของรัฐ สภากาชาดไทย เอกชนที่เป็นนิติบุคคลและไม่ใช่นิติบุคคล ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ได้ปรับปรุงเนื้อหาจากกฎหมายปัจจุบัน เช่น ปรับปรุงอำนาจในการออกใบอนุญาต และคุณสมบัติผู้ขอรับอนุญาตโดยแยกตามวัตถุประสงค์ในการขออนุญาต ปรับปรุงการยื่นคำขอทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก กำหนดเพิ่มเติมระยะเวลาให้ผู้อนุญาตพิจารณาคำขอให้แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์ กำหนดเพิ่มเติมหน้าที่ผู้รับอนุญาตจำหน่ายต้องจัดให้มีการทำรายงานการจำหน่ายตามที่ได้รับอนุญาตต่อเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาภายใน 30 วันหลังจากที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ เพื่อให้การขออนุญาตและการอนุญาตเกี่ยวกับการผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย และมีไว้ในครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพอันเป็นประโยชน์ในการควบคุมกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 ให้มีคุณภาพและป้องกันการนำไปใช้ในทางที่ผิด รวมถึงส่งเสริมการประกอบกิจการของผู้ประกอบการ ซึ่งคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดเห็นชอบด้วยแล้ว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบในหลักการ 2. ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้เป็นการออกฎหมายลำดับรองซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายยาเสพติดที่มีผลใช้บังคับ (เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564) ภายหลังพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำ ร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ซึ่งจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 8 ธันวาคม 2566 อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขได้เสนอขอขยายระยะเวลาการดำเนินการออกกฎกระทรวงในเรื่องนี้ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2566 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามความในประมวลกฎหมาย ยาเสพติด ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ 8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการแจ้งข้อหาแก่ผู้กระทำความผิดฐานสนับสนุน ช่วยเหลือ หรือสมคบกันกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการแจ้งข้อหาแก่ผู้กระทำความผิดฐานสนับสนุน ช่วยเหลือ หรือสมคบกันกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ยธ. เสนอว่า พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง และมาตรา 11/7 วรรคสอง บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีหน้าที่ในการออกกฎกระทรวง กำหนดเกี่ยวกับการขออนุมัติ การอนุมัติ และการรายงานการแจ้งข้อหาแก่ผู้กระทำความผิดฐานสนับสนุน ช่วยเหลือ หรือสมคบกันกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 125 หรือมาตรา 127 แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด ประกอบกับกฎกระทรวงว่าด้วยการแจ้งข้อหาแก่ผู้กระทำความผิดฐานสนับสนุน ช่วยเหลือ หรือสมคบกันกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2565 ได้กำหนดให้การขออนุมัติแจ้งข้อหาในกรณีที่ศาลออกหมายจับแก่ผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 125 หรือมาตรา 127 ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบรายงานหัวหน้าพนักงานสอบสวนและให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนยื่นคำขออนุมัติแจ้งข้อหาแก่ผู้กระทำความผิดดังกล่าวต่อเลขาธิการ ป.ป.ส. หรือผู้ซึ่งเลขาธิการ ป.ป.ส. มอบหมายโดยเร็ว ซึ่งไม่สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 มาตรา 11/1 ประกอบกับมาตรา 11/6 ซึ่งบัญญัติให้เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. มีอำนาจในการจับกุม สอบสวน หรือควบคุมตัวผู้ถูกจับกุมซึ่งได้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ดังนั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. สมควรกำหนดให้เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. มีอำนาจยื่นคำขออนุมัติแจ้งข้อหาแก่ผู้กระทำความผิดดังกล่าวต่อเลขาธิการ ป.ป.ส. ก่อน และให้นำไปดำเนินการกับพนักงานสอบสวนต่อไปเพื่อให้การปฏิบัติงานของ เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. มีความต่อเนื่องทั้งการจับกุม สอบสวน ควบคุมตัว อันจะก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงว่าด้วยการแจ้งข้อหาแก่ผู้กระทำความผิดฐานสนับสนุน ช่วยเหลือ หรือสมคบกันกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2565 โดยเพิ่มบทบัญญัติในกรณีหลังจากศาลออกหมายจับแก่ผู้กระทำความผิดฐานสนับสนุน ช่วยเหลือ หรือสมคบกันกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดโดยกำหนดให้เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ยื่นคำขออนุมัติแจ้งข้อหาแก่ผู้กระทำความผิดดังกล่าวต่อเลขาธิการ ป.ป.ส. และให้นำไปดำเนินการกับพนักงานสอบสวนต่อไป เพื่อให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ซึ่งมีอำนาจจับกุม สอบสวน หรือควบคุมตัวผู้ถูกจับซึ่งได้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ดังนี้ กฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2565 ร่างกฎกระทรวงฯ ตามที่ ยธ. เสนอ หมายเหตุ ? ข้อ 1 การขออนุมัติแจ้งข้อหาในกรณีที่ศาลออกหมายจับแก่ผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติดฐานสนับสนุน ช่วยเหลือ หรือสมคบกันกระทำความผิด(มาตรา 125 หรือมาตรา 127 แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด) ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบรายงานหัวหน้าพนักงานสอบสวนและให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนยื่นคำขออนุมัติแจ้งข้อหาแก่ผู้กระทำความผิดดังกล่าวต่อเลขาธิการ ป.ป.ส. หรือผู้ซึ่งเลขาธิการ ป.ป.ส. มอบหมายโดยเร็ว คงเดิม ? ข้อ 1/1 การขออนุมัติแจ้งข้อหาแก่ผู้กระทำความผิดฐานสนับสนุน ช่วยเหลือ หรือสมคบกันกระทำความผิด (มาตรา 125 หรือมาตรา 127 แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด) หลังจากศาลออกหมายจับแก่ผู้กระทำความผิดดังกล่าวแล้วให้เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. สังกัดสำนักงาน ป.ป.ส. ยื่นคำขออนุมัติแจ้งข้อหาต่อเลขาธิการ ป.ป.ส. ก่อน และให้นำไปดำเนินการกับพนักงานสอบสวนต่อไป เพิ่มเป็นข้อ 1/1 9. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอดังนี้ 1. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา) 2. มอบหมายกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมขับเคลื่อนและสร้างการรับรู้และความเข้าใจมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคให้แก่ กสศ. รวมทั้งร่วมติดตามและประเมินประโยชน์ที่ได้รับจากมาตรการนี้และนำส่งข้อมูลดังกล่าวให้แก่ กค. เป็นรายปีจนสิ้นสุดมาตรการเพื่อประกอบการจัดทำรายงานเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับกับการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริงกับประมาณการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 สาระสำคัญ 1. ร่างพระราชกฤษฎีกาที่กระทรวงการคลังเสนอเป็นการขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา โดยให้หักลดหย่อนหรือ หักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่บริจาค (เดิมสิ้นสุดลงวันที่ 31 ธันวาคม 2566) สำหรับการบริจาคที่กระทำผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e - Donation) ของกรมสรรพากร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2572 โดยได้ปรับปรุงรายละเอียดสิทธิประโยชน์ รวมทั้งเพิ่มเติมการยกว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์สำหรับการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้า หรือการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการบริจาคให้แก่กองทุนดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อเป็นการจูงใจให้มีผู้บริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง อันจะช่วยลดภาระการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลในด้านการศึกษาและ ขจัดปัญหาความเหสื่อมล้ำทางการศึกษาของประชาชน ประกอบกับสำนักงบประมาณพิจารณาแล้วเห็นชอบด้วย และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นการล่วงหน้าร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว 2. กระทรวงการคลังได้จัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยมาตรการภาษีดังกล่าวทำให้สูญเสียรายได้ภาษีปีละประมาณ 50 ล้านบาท แต่จะเป็นการช่วยให้เด็กและเยาวชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และผู้ด้อยโอกาสได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม รวมทั้งเพิ่มโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา 10. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงลดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงลดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ สาระสำคัญ 1. ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ สืบเนื่องจากเมื่อปี พ.ศ. 2545คณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้จังหวัดชายแดนภาคใต้ประกอบด้วยจังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสตูล และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา (อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี และอำเภอสะบ้าย้อย) เป็นเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ และมีมาตรการสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจดังกล่าว โดยได้มีการออกกฎกระทรวงลดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ กำหนดให้ลดอัตราค่าธรรมเนียมลงกึ่งหนึ่งสำหรับการจดทะเบียน การขอตรวจเอกสาร การขอสำเนาเอกสารพร้อมคำรับรองและค่าธรรมเนียมอื่นที่เกี่ยวกับ ห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ และได้มีการออกกฎกระทรวงขยายระยะเวลาเป็นระยะ ๆ มาแล้วจำนวน 5 ฉบับ โดยฉบับล่าสุด คือ กฎกระทรวงลดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ พ.ศ. 2563 จะสิ้นผลใช้บังคับในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 กระทรวงพาณิชย์เห็นควรเสนอร่างกฎกระทรวงเพื่อขยายระยะเวลาการลดอัตราค่าธรรมเนียมลงกึ่งหนึ่งสำหรับค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน การขอตรวจเอกสาร การขอสำเนาเอกสารพร้อมคำรับรองและค่าธรรมเนียมอื่นที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ (ในท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดสตูล และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลาเฉพาะในท้องที่อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี และอำเภอสะบ้าย้อย) ต่อไปอีก 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569 (รายละเอียดคงเดิม) เพื่อเป็นการสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการสำคัญของรัฐบาล รวมทั้งช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการในด้านการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ และเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ ตลอดจนสร้างความสงบและมั่นคงในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว 2. กระทรวงพาณิชย์ได้รายงานประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่จะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยรายงานว่าการขยายระยะเวลาการลดอัตราค่าธรรมเนียมตามร่างกฎกระทรวงฉบับนี้จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้จากการจดทะเบียน รวมทั้งการขอตรวจเอกสารการขอสำเนาเอกสารพร้อมคำรับรอง และค่าธรรมเนียมอื่นที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนและบริษัทโดยเปรียบเทียบจากอัตราค่าธรรมเนียมในปี 2564 ถึงปี 2566 ของปริมาณคำขอจดทะเบียนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2566 ซึ่งรัฐสูญเสียรายได้จากการลดอัตราค่าธรรมเนียมทั้งสิ้น 4,959,150 บาท และมีประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับโดยจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและสนับสนุนการ ดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่องอันเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดผลดีแก่ประชาชนและผู้ประกอบการในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ สำหรับจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดสตูล และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลาเฉพาะในท้องที่อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี และอำเภอสะบ้าย้อย สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 1. กำหนดให้ลดอัตราค่าธรรมเนียมลงกึ่งหนึ่ง ทุกรายการที่ปรากฏในกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ลดอัตราค่าธรรมเนียม และยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน การขอตรวจเอกสาร การขอสำเนาเอกสารพร้อมคำรับรอง และค่าธรรมเนียมอื่นที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด พ.ศ. 25631 สำหรับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดสตูล และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลาเฉพาะในท้องที่อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี และอำเภอสะบ้าย้อย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569 (รวม 3 ปี) 2. กำหนดให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป 1 อัตราค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมฯ พ.ศ. 2563 ที่ได้ลดตามร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ เช่น 1. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน จาก 1,000 ลดเหลือ 500 บาท 2. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิบริษัทจำกัด จาก 500 บาท ลดเหลือ 250 บาท 3. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนบริษัทจำกัด จาก 5,000 บาท ลดเหลือ 2,500 บาท 4. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนควบห้างหุ้นส่วน จาก 1,000 บาท ลดเหลือ 500 บาท 5. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนควบบริษัทจำกัด จาก 5,000 บาท ลดเหลือ 2,500 บาท ฯลฯ 11. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว พร้อมเอกสารประกอบงบประมาณ และให้เสนอ สภาผู้แทนราษฎรต่อไป ตามที่สำนักงบประมาณ (สงป.) เสนอ ทั้งนี้ สงป. เสนอว่า 1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (12 ธันวาคม 2566) รับทราบผลการรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และให้ความเห็นชอบข้อเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และให้ สงป. ดำเนินการจัดพิมพ์ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และเอกสารประกอบงบประมาณ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 26 ธันวาคม 2566 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป นั้น 2. เพื่อดำเนินการตามนัยมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว สงป. ได้ดำเนินการ ดังนี้ 2.1 เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 77 วรรคสอง บัญญัติให้ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน และนำมาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอนเมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้ว รัฐพึงจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายทุกรอบระยะเวลาที่กำหนดโดยรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วย เพื่อพัฒนากฎหมายทุกฉบับให้สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป สงป. จึงได้เผยแพร่รายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ผ่านทางเว็บไซต์ของ สงป. (https:/www.bb.go.th) เรียบร้อยแล้ว 2.2 สงป. ได้จัดพิมพ์ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ดังกล่าว และเอกสารประกอบงบประมาณ รวม 37 เล่ม เรียบร้อยแล้ว สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ กำหนดให้ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เป็นจำนวนไม่เกิน 3,480,000 ล้านบาท โดยจำแนกตามประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้ 1. จำแนกตามกลุ่มงบประมาณ กลุ่มงบประมาณ จำนวน (ล้านบาท) 1. รายจ่ายงบกลาง 606,765.0 2. รายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ 1,150,114.0 3. รายจ่ายบูรณาการ 214,601.7 4. รายจ่ายบุคลากร 785,957.6 5. รายจ่ายสำหรับทุนหมุนเวียน 257,790.5 6. รายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ 346,380.1 7. รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 118,361.1 2. จำแนกตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ และรายการค่าดำเนินการภาครัฐสรุปได้ ดังนี้ ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบฯ ปี 67 จำนวน (ล้านบาท) 1) ด้านความมั่นคง 390,149.3 2) ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 393,517.9 3) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 561,954.2 4) ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม 834,240.6 5) ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 131,292.3 6) ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ 604,804.5 โดยมีรายการค่าดำเนินการภาครัฐ จำนวน 564,041.20 ล้านบาท เพื่อสำรองไว้เป็นค่าใช้จ่ายใน การรองรับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยมิได้คาดหมายสำหรับกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น การชำระหนี้ภาครัฐ และเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 12. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่สำเร็จรูปที่นำเข้ามาทั้งคัน (ฉบับที่ ..) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่สำเร็จรูปที่นำเข้ามาทั้งคัน (ฉบับที่ ..) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ทั้งนี้ ร่างประกาศที่กระทรวงการคลังเสนอ เป็นการขยายระยะเวลาการลดอัตราอากรหรือยกเว้นอากรสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่สำเร็จรูปที่มีสิทธิพิเศษและไม่มีสิทธิพิเศษทางศุลกากรภายใต้ความตกลงการค้าเสรี เฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่สำเร็จรูปที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท ที่นำเข้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ลงไม่เกินร้อยละ 40 ซึ่งเป็นมาตรการต่อเนื่องจากประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่สำเร็จรูปที่นำเข้ามาทั้งคัน ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2565 ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 และเป็นการดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้า ระยะที่ 2 (EV3.5) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 (เรื่อง มติการประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติครั้งที่ 1/2566) กระทรวงการคลังได้จัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยรายงานว่า การดำเนินการตามร่างประกาศดังกล่าว จะทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้ประมาณ 54.4 ล้านบาท (เฉลี่ยประมาณ 27.2 ล้านบาทต่อปี) ทั้งนี้ การสูญเสียรายได้อาจเพิ่มขึ้นมากกว่าประมาณการได้ ตามสัดส่วนการเพิ่มขึ้นของปริมาณ การนำเข้า แต่จะเป็นการส่งเสริมให้เกิดการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศและก่อให้เกิดการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย รวมทั้งเป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งนี้ ในการยกร่างประกาศดังกล่าว กระทรวงการคลัง โดยกรมศุลกากรได้ดำเนินการจัดประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรมสรรพสามิต สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ซึ่ง ร่างประกาศดังกล่าวเป็นร่างกฎที่ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบตามกฎกระทรวงกำหนดร่างกฎที่ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบ พ.ศ. 2565 และเป็นร่างกฎหมายที่ต้องตราขึ้นโดยรีบด่วนเพื่อประโยชน์สำคัญของประเทศเกี่ยวกับความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น การรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องตามที่เห็นว่าจำเป็นแล้วดังกล่าว จึงให้ถือว่าได้รับฟังความคิดเห็นโดยชอบแล้วตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 สาระสำคัญของร่างประกาศ 1. ขยายระยะเวลาการลดอัตราอากรหรือยกเว้นอากรสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่สำเร็จรูป เฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่สำเร็จรูปที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท ที่นำเข้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ลงไม่เกินร้อยละ 40 โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ประเด็น ประกาศ กค. ฯ สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าสำเร็จรูปที่นำเข้ามาทั้งคัน ร่างประกาศ กค. ฯ สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าสำเร็จรูปที่นำเข้ามาทั้งคัน (ฉบับที่ ..) 1. ประเภทรถยนต์ไฟฟ้า ? แบบแบตเตอรี่สำเร็จรูปที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท ? แบบแบตเตอรี่สำเร็จรูปที่มีขนาดตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไป และมีราคาขายปลีกแนะนำมากกว่า 2 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 7 ล้านบาท ? แบบแบตเตอรี่สำเร็จรูปที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท - ไม่มี - 2. หลักเกณฑ์และเงื่อนไข ? ใช้สิทธิพิเศษทางอากรศุลกากรภายใต้ความตกลงการค้าเสรีแล้ว ยังมีอากรที่ต้องชำระไม่เกินร้อยละ 40 ให้ได้รับยกเว้นอากร ? ใช้สิทธพิเศษทางอากรศุลกากรภายใต้ความตกลงการค้าเสรีแล้ว ยังมีอากรที่ต้องชำระมากกว่าร้อยละ 40 ให้ได้รับการลดอัตราอากรลงอีกร้อยละ 40 ? ไม่ได้ใช้สิทธิพิเศษทางอากรศุลกากรภายใต้ความตกลงการค้าเสรี ให้ได้รับการลดอัตราอากรลงเหลือร้อยละ 40 - คงเดิม - 2. การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่สำเร็จรูปที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท ตามข้อ 1. ผู้นำของเข้ารถยนต์ไฟฟ้าดังกล่าวต้องแสดงหนังสือรับรองการแสดงการได้รับสิทธิจากกรมสรรพสามิต 3. กรณีที่ผู้นำของเข้าไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่กรมสรรพสามิตกำหนด และ กรมสรรพสามิตได้แจ้งยกเลิกหรือเพิกถอนการได้รับสิทธิสำหรับของนั้นกับกรมศุลกากรแล้ว ให้ถือว่าของนั้นไม่ได้รับสิทธิลดอัตราอากรหรือยกเว้นอากรตามประกาศฉบับนี้ตั้งแต่วันนำของเข้า โดยผู้นำของเข้ามีหน้าที่ต้องแจ้งขอชำระและต้องชำระค่าภาษีอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ถูกเพิกถอนสิทธิ แต่ไม่ถูกตัดสิทธิพิเศษทางอากรศุลกากรในการลดอัตราอากรหรือยกเว้นอากรตามความตกลงการค้าเสรีที่ได้ยื่นไว้ขณะนำของเข้า 13. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (สินค้ารถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน แบบประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล รุ่นที่ 1) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาเป็นการล่วงหน้าแล้ว ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงการคลังเสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีท้ายกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2565 โดยขยายระยะเวลาการใช้บังคับอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้ารถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน (ประเภทที่ 06.01 และ 06.02) แบบประหยัดพลังงานมาตรฐานสากลรุ่นที่ 1 (ECO Car Phase 1) ในอัตราร้อยละ 14 ออกไปอีก 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 (หากไม่ขยายจะกลับไปใช้อัตราร้อยละ 25) ซึ่งเป็นการดำเนินการขยายระยะเวลาสิทธิประโยชน์ภาษีสรรพสามิตของรถยนต์ดังกล่าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 (เรื่อง มติการประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติครั้งที่ 1/2566) กระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพสามิตเห็นว่าการขยายระยะเวลาสิทธิประโยชน์ภาษีสรรพสามิต ของรถยนต์ดังกล่าว ไม่ก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ของรัฐตามมาตรา 32 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เนื่องจากการขยายระยะเวลาการใช้บังคับอัตราภาษีสรรพสามิตดังกล่าวจะทำให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมยังคงใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิต ECO Car และส่งผลให้กรมสรรพสามิตสามารถจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับ ECO Car รุ่นที่ 1 ได้ต่อไป รวมทั้งจะส่งผลให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมรถยนต์ดังกล่าวมีระยะเวลาในการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า (xEV) ตามนโยบายในการส่งเสริมให้รถยนต์แบบประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล (ECO Car) เป็น Product Champion ของประเทศไทย สาระสำคัญของร่างประกาศ แก้ไขเพิ่มเติมบัญชีท้ายกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2565 โดยขยายระยะเวลาการใช้บังคับอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้ารถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน (ประเภทที่ 06.01 และ 06.02) แบบประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล รุ่นที่ 1 (ECO Car Phase 1) ในอัตราร้อยละ 14 ออกไปอีก 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนี้ รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน กฎกระทรวงฯ (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2565 ร่างกฎกระทรวงฯ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (จ) แบบประหยัดพลังงานมาตรฐานสากลตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด 1) เครื่องยนต์เบนซินที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 1,300 ลูกบาศก์เซนติเมตร 2) เครื่องยนต์ดีเซลที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 1,400 ลูกบาศก์เซนติเมตร อัตราภาษีตามมูลค่าร้อยละ 14 (ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566) อัตราคงเดิม (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568) ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป เศรษฐกิจ-สังคม 14. เรื่อง การจัดตั้งมูลนิธิฝนหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2518 เรื่อง กองทุน ฝนหลวง และรับทราบการพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งเป็นมูลนิธิฝนหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ ต่อไป ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ สาระสำคัญ 1. เดิมคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (21 มกราคม 2518) เห็นชอบและอนุมัติให้ กษ. จัดตั้งกองทุนฝนหลวง1 ขึ้นตามพระราชกระแสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และให้นำเงินที่ได้รับจากการบริจาคฝากเข้าบัญชีกองทุนฝนหลวง รวมทั้งเงินที่จะเปิดรับบริจาคจากราษฎรทั่วไปด้วย โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบ ของ กษ. ส่วนการสั่งจ่ายเงินจากกองทุนฝนหลวงเพื่อใช้ในกิจการฝนหลวงให้อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการทำฝนหลวงเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสม 2. ต่อมาในปี 2557 กรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้ออกระเบียบกรมฝนหลวง และการบินเกษตรว่าด้วยกองทุนฝนหลวงและการบินเกษตร พ.ศ. 2557 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับ การบริหารจัดการกองทุนฝนหลวงและการบินเกษตร พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนฝนหลวงและการบินเกษตรเป็นผู้บริหารจัดการการใช้จ่ายเงินของกองทุน 3. ปัจจุบันกองทุนฝนหลวงมีเงินและทรัพย์สิน ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2566 จำนวน 33.59 ล้านบาท โดยกองทุนดังกล่าวได้มีการสนับสนุนเงินทุนช่วยเหลือเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการทำฝนหลวง ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณแผ่นดินได้ ทั้งนี้ ปัจจุบันภารกิจที่เกี่ยวกับฝนหลวงมีเพิ่มมากขึ้น แต่เนื่องจากกองทุนฝนหลวงและการบินเกษตร ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคล ทำให้ประสบปัญหาในการประสานงานและการทำธุรกรรมในเรื่องต่าง ๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและการบริหารงานที่มีรูปแบบเป็นมาตรฐาน คณะกรรมการที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิฝนหลวงในคราวประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2565 ได้ มีมติเห็นชอบให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กองทุนฝนหลวงและการบินเกษตร จัดตั้งเป็นมูลนิธิฝนหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ 4. ในการนี้ กษ. จึงได้มีหนังสือถึงสำนักงานองคมนตรีเพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูล ขอพระราชทานพระมหากรุณา และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ดังนี้ 4.1 ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กองทุนฝนหลวงและการบินเกษตร จดทะเบียนจัดตั้งเป็นมูลนิธิ และขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยชื่อมูลนิธิ ?มูลนิธิฝนหลวง? และรูปแบบเครื่องหมายมูลนิธิ 4.2 ขอพระราชทานกราบบังคมทูลเชิญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นองค์ประธานที่ปรึกษา ทั้งนี้ สุดแต่จะทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย 4.3 ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชบริพารในพระองค์ จำนวน 6 คน ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการมูลนิธิ และขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยรายชื่อคณะกรรมการมูลนิธิ 4.4 ขอพระราชทานพระมหากรุณาให้มูลนิธิที่ตั้งขึ้นอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ 4.5 ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้เงินกองทุนฝนหลวงและการบินเกษตร ในการจดทะเบียนจัดตั้งและดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ ซึ่งสำนักงานองคมนตรีได้มีหนังสือแจ้ง กษ. ว่า ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมตามที่ขอพระราชทานพระมหากรุณา 5. การจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิฝนหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 5.1 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนทุนการศึกษา การค้นคว้าวิจัย และพัฒนา เทคโนโลยี นวัตกรรม และกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติการฝนหลวงและการบินเกษตร 5.2 เพื่อเสริมสร้างการจัดการความรู้ ทักษะ ความชำนาญและแลกเปลี่ยน เรียนรู้ประสบการณ์ในภารกิจการปฏิบัติการฝนหลวงระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ 5.3 เพื่อพัฒนาและส่งเสริมบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการปฏิบัติการฝนหลวงทั้งภาครัฐและเอกชน ให้มีความรู้ ความสามารถ ตลอดจนมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน 5.4 เพื่อให้การสงเคราะห์ ช่วยเหลือ แก่หน่วยงานและเจ้าหน้าที่รวมถึง ครอบครัวของผู้ปฏิบัติงานในภารกิจการปฏิบัติการฝนหลวง ตลอดจนบุคคล องค์กร กลุ่ม ชมรม สมาคมและอื่น ๆ ที่มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานในภารกิจการปฏิบัติการฝนหลวง ให้มีสวัสดิภาพและคุณภาพในการปฏิบัติงานและดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม 5.5 เพื่อส่งเสริมและพัฒนา การดูแลรักษาและฟื้นฟูระบบนิเวศทางธรรมชาติให้มีความสมบูรณ์และยั่งยืน 5.6 เพื่อดำเนินการ หรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่น ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์ 5.7 ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด 1กองทุนฝนหลวงได้เปลี่ยนชื่อเป็น ?กองทุนฝนหลวงและการบินเกษตร? ภายหลังจากที่ได้มีการจัดตั้งกรมฝนหลวงและการบินเกษตรขึ้นเมื่อปี 2556 * ปัจจุบัน กษ. อยู่ระหว่างดำเนินการจัดตั้งมูลนิธิตามขั้นตอนของกฎหมาย แต่ยังไม่ได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ เนื่องจากต้องขอความเห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2518 (เรื่อง กองทุนฝนหลวง) จากคณะรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จก่อน 15. เรื่อง ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสารและการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีชมพู พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสารและการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระ ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีชมพู พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ทั้งนี้ คค. เสนอว่า 1. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ลงนามในสัญญาร่วมลงทุนฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี กับ บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอก โมโนเรล จำกัด (NBM) ผู้รับสัมปทาน เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2560 และกรณีโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช - เมืองทองธานี เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งมีระยะทาง รวมทั้งสิ้น 34.5 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งยกระดับตลอดสาย มีสถานีให้บริการ 30 สถานี โดยมีจุดเริ่มต้นบนถนนรัตนาธิเบศร์บริเวณระหว่างศูนย์ราชการนนทบุรีและทางแยก แคราย จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนติวานนท์ วิ่งไปจนถึงทางแยกปากเกร็ด แล้วเลี้ยวขวาไปตามแนวถนนแจ้งวัฒนะ ถนนรามอินทรา จนถึงแยกมีนบุรี แล้ววิ่งเข้าเมืองมีนบุรี ตามแนวถนนสีหบุรานุกิจ จากนั้นจะข้ามคลองสามวาและเลี้ยวขวาข้ามคลองแสนแสบและข้ามถนนรามคำแหง จนสิ้นสุดบริเวณทางแยกร่มเกล้า โดยมีศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าและอาคารจอดแล้วจร (Park and Ride) ตั้งอยู่บริเวณสถานีมีนบุรี 2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (ช่วงแคราย - มีนบุรี) มีกำหนดเปิดให้บริการเดินรถในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 โดย NBM จะเริ่มจัดเก็บค่าโดยสารในวันที่ 3 มกราคม 2567 ตามมาตรา 18 (13) แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 ซึ่งบัญญัติให้คณะกรรมการ รฟม. มีอำนาจหน้าที่ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการกำหนดอัตราค่าโดยสาร ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมการใช้ทรัพย์สิน การให้บริการและความสะดวกในกิจการรถไฟฟ้า ตลอดจนวิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร ค่าบริการและค่าธรรมเนียมดังกล่าว และกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสาร โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี 3. รฟม. จึงได้ยกร่างข้อบังคับฯ เพื่อกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร และ การกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีชมพู โดยในส่วนของอัตราค่าโดยสารเป็นไปตามวิธีการในสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ซึ่งกำหนดให้คำนวณจากอัตราค่าโดยสารพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงดัชนีผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) 3 เดือน ก่อนวันที่เริ่มให้บริการ (เดือนกันยายน 2566) โดยใช้ตัวเลขของสำนักงานนโยบายและธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นข้อมูลในการคำนวณอัตราค่าโดยสารแล้ว มีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้น 15 บาท สูงสุด 45 บาท (30 สถานี) และในคราวประชุมคณะกรรมการ รฟม. ครั้งที่ 10/2566 เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2566 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างข้อบังคับดังกล่าวแล้ว 4. อย่างไรก็ตาม ในช่วงระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2566 - 2 มกราคม 2567 คณะกรรมการ รฟม. จะประกาศยกเว้นอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีชมพู (ช่วงแคราย - มีนบุรี) เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2567 และเป็นการส่งเสริมการใช้บริการรถไฟฟ้า อำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร สนับสนุนกิจกรรมตามนโยบายของรัฐบาล ตามข้อ 11 ของร่างข้อบังคับฯ สาระสำคัญของเรื่อง ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสารและการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีชมพู พ.ศ. .... (ช่วงแคราย - มีนบุรี) มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าโดยสารโดยมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้น 15 บาท สูงสุด 45 บาท (30 สถานี) และกำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ สรุปได้ ดังนี้ 1. กำหนดนิยามที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุมการถ่ายระบบ ดังนี้ (1) ?ตั๋วโดยสาร? หมายความว่า บัตร เอกสาร วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงสิ่งอื่นใดที่ใช้แสดงถึงสิทธิเพื่อใช้บริการโดยสารรถไฟฟ้า (2) ?การเปลี่ยนถ่ายระบบ? หมายความว่า การเปลี่ยนเส้นทางรถไฟฟ้าจากสายหนึ่ง ไปอีกสายหนึ่งซึ่งอยู่ในความรับผิดขอบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยที่สถานีเปลี่ยนถ่ายระบบ โดยใช้ ตั๋วโดยสารเดียวกัน (3) ?สถานีเปลี่ยนถ่ายระบบ? หมายความว่า สถานีรถไฟฟ้าซึ่งคนโดยสารเปลี่ยนถ่ายระบบ (4) ?ส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบ? หมายความว่า ส่วนลดค่าโดยสารในกรณีที่มีการเปลี่ยนถ่ายระบบ 2. กำหนดหลักเกณฑ์ให้ครอบคลุมการให้ส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบแก่ผู้โดยสาร ในกรณีการเปลี่ยนถ่ายระบบระหว่างรถไฟฟ้าของ รฟม. (เช่น การเปลี่ยนถ่ายระบบจากรถไฟฟ้าสายสีม่วงมายังสายสีชมพู ณ สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี) โดยให้คนโดยสารได้รับส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบภายใต้การจัดเก็บค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียว และกรณีการเปลี่ยนถ่ายระบบระหว่างรถไฟฟ้าของ รฟม. กับรถไฟฟ้าสายอื่นนอกความรับผิดชอบของ รฟม. ให้คณะกรรมการประกาศกำหนดระยะเวลาสูงสุดสำหรับการเปลี่ยนถ่ายระบบ 3. กำหนดหลักเกณฑ์สำหรับรายการส่งเสริมการเดินทาง ส่วนลดกลุ่มบุคคล (เช่น เด็กนักเรียน นักศึกษา) ส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบ ตามประเภทผู้ถือบัตร การจัดโปรโมชั่น กิจกรรมการตลาด การจำหน่ายตั๋วรายเดือน ตั๋วเป็นชุด ตั๋วราคาพิเศษ ความร่วมมือกับพันธมิตร สวัสดิการพนักงาน สนับสนุนนโยบายภาครัฐ เป็นต้น โดยคณะกรรมการ รฟม. จะกำหนดอัตราค่าโดยสารต่ำกว่าอัตราค่าโดยสารหรือยกเว้นอัตราค่าโดยสารตามที่กำหนดในข้อบังคับ เพื่อส่งเสริมการใช้บริการรถไฟฟ้า เพื่ออำนวยความสะดวกแก่คนโดยสาร กิจกรรมตามนโยบายของรัฐบาล หรือเพื่อประโยชน์อื่นใดก็ได้ 4. กำหนดหลักเกณฑ์สำหรับสนับสนุนกิจกรรมพิเศษ (เช่น งานเฉลิมฉลองงานพระราชพิธี) โดยคณะกรรมการ รฟม. จะกำหนดอัตราค่าโดยสารต่ำกว่าอัตราค่าโดยสาร หรือยกเว้นอัตราค่าโดยสารตามที่กำหนดในข้อบังคับได้เป็นครั้งคราว เพื่อส่งเสริมการใช้บริการรถไฟฟ้า กิจกรรมตามนโยบายของรัฐ หรือในกรณีที่มี ความจำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ 16. เรื่อง การกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินสำหรับระยะปานกลาง และเป้าหมายสำหรับปี 2567 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป้าหมายของนโยบายการเงิน ประจำปี 2567 พร้อมข้อตกลงร่วมกันระหว่างคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในการกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินสำหรับระยะปานกลาง1 และเป้าหมายสำหรับปี 2567 ซึ่งกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินไว้ที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1 - 3 และเมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้วจะได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ในฐานะประธาน กนง. ได้ประชุมหารือร่วมกับ รัฐมนตรีว่า การกระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2566 และได้เห็นชอบร่วมกันในการกำหนด เป้าหมายของนโยบายการเงินสำหรับระยะปานกลาง และเป้าหมายสำหรับปี 2567 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อในช่วงที่ผ่านมาและแนวโน้มในระยะข้างหน้า ในช่วงที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อไทยที่อยู่ในระดับสูงได้ปรับลดลงต่อเนื่องตามแรงกดดันด้านอุปทานที่ทยอยคลี่คลายเป็นสำคัญ ได้แก่ (1) ราคาพลังงานที่ปรับลดลงตามราคาในตลาดโลก หลังผลกระทบของการหยุดชะงักของห่วงโซ่การผลิตโลกและความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนบรรเทาลง และ (2) ราคาเนื้อสัตว์ในประเทศ โดยเฉพาะเนื้อสุกรที่ปรับลดลงตามอุปทานที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อไทยในระยะต่อไปยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยอัตราเงินเฟ้อในปี 2567 อาจได้รับแรงกดดันทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานจากมาตรการทางเศรษฐกิจของรัฐบาล รวมถึงราคาอาหารสดที่ อาจได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลางยังมีความไม่แน่นอนจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะการทวนกระแสโลกาภิวัตน์ ภูมิทัศน์ด้านพลังงานและภูมิรัฐศาสตร์ และการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว2 2. ข้อตกลงร่วมกันในการกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินสำหรับระยะปานกลาง และเป้าหมายสำหรับปี 2567 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและ กนง. มีข้อตกลงร่วมกันโดยกำหนดให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1 - 3 เป็นเป้าหมายนโยบายการเงินด้านเสถียรภาพราคาสำหรับระยะปานกลางและ เป็นเป้าหมายสำหรับปี 2567 เนื่องจาก (1) เป้าหมายดังกล่าวเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับศักยภาพ และที่ผ่านมาสามารถยึดเหนี่ยวอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ได้ดีแม้ในช่วงที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง (2) การคงเป้าหมายเป็นการแสดงถึงความตั้งใจที่จะรักษาเสถียรภาพราคา อันจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อสาธารณชนและช่วยยึดเหนี่ยวอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางให้อยู่ในกรอบเป้าหมาย และ (3) ในช่วงที่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มกลับมาเคลื่อนไหวในกรอบภายใต้ความไม่แน่นอนสูง การปรับเปลี่ยนเป้าหมายอาจสร้างความสับสน ต่อสาธารณชนเกี่ยวกับแนวนโยบายในระยะข้างหน้าได้ ภายใต้สถานการณ์ที่พลวัตเงินเฟ้อได้รับผลกระทบจากปัจจัยที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง กค. และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะร่วมมือในการดำเนินนโยบายการคลัง และนโยบายการเงินให้มีความ สอดประสาน โดยมุ่งเน้นการเพิ่มผลิตภาพและสร้างรายได้ให้กับประชาชน ซึ่ง กนง. มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินนโยบายการเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาและดูแลให้อัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลางอยู่ในกรอบเป้าหมาย ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน 3. ข้อตกลงในการติดตามและรายงานผลการดำเนินนโยบาย รวมถึงการหารือร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนโยบายการเงิน กค. และ ธปท. จะหารือร่วมกันเป็นประจำและ/หรือเมื่อมีเหตุจำเป็นอื่น ตามที่ทั้ง 2 หน่วยงาน จะเห็นสมควร เพื่อให้การดำเนินนโยบายการคลังและนโยบายการเงิน เป็นไปในทิศทางที่ สอดประสานกัน และสามารถบรรลุเป้าหมายของนโยบายการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ กนง. จะจัดทำรายงานผลการดำเนินนโยบายการเงินทุกครึ่งปี ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับ (1) การดำเนินนโยบายการเงินในช่วงที่ผ่านมา (2) แนวทางการดำเนิน นโยบายการเงินในระยะถัดไป และ (3) การคาดการณ์สภาวะเศรษฐกิจในอนาคต เพื่อแจ้งให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทราบ รวมถึงจะเผยแพร่รายงานนโยบายการเงินทุกโตรมาสเป็นการทั่วไป อันจะช่วยเพิ่มการรับรู้ของสาธารณชนถึงแนวทางการตัดสินนโยบายการเงินของ กนง. ซึ่งจะช่วยเพิ่มความโปร่งใสและประสิทธิภาพของการดำเนินนโยบายการเงินในอนาคต 4. ข้อตกลงในการออกจดหมายเปิดผนึกของ กนง. ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเคลื่อนไหวออกนอกกรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน กนง. ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยในปี 2566 และ 2567 จะอยู่ในกรอบเป้าหมาย (ข้อมูล ธปท. ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเท่ากับร้อยละ 1.3) อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อในบางช่วงอาจผันผวนและเคลื่อนไหวออกนอกกรอบเป้าหมายได้จากปัจจัยชั่วคราวที่กระทบต่อพลวัตเงินเฟ้อ ดังนั้น กนง. จะติดตามและประเมินผลกระทบของปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างต่อพลวัตเงินเฟ้อไทยในระยะต่อไปอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ หากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนที่ผ่านมาหรือประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนข้างหน้าเคลื่อนไหวออกนอกกรอบเป้าหมาย กนง. จะมีจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อเป็นการสื่อสารและสร้างความเชื่อมั่นในการดูแลเสถียรภาพด้านราคาให้แก่สาธารณชน โดยจะชี้แจงถึง (1) สาเหตุของการเคลื่อนไหวออกนอกกรอบเป้าหมายดังกล่าว (2) แนวทางการดำเนินนโยบายการเงินในช่วงที่ผ่านมาและในระยะต่อไป เพื่อนำอัตราเงินเฟ้อทั่วไปกลับเข้าสู่เป้าหมายในระยะเวลาที่เหมาะสม และ (3) ระยะเวลาที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับเข้าสู่เป้าหมาย นอกจากนี้ กนง. จะมีจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทุก 6 เดือน หากอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยตามแนวทางข้างต้นยังคงอยู่นอกกรอบเป้าหมาย และจะรายงานความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาเป็นระยะตามสมควร 5. ข้อตกลงในการแก้ไขเป้าหมายนโยบายการเงินหากมีเหตุจำเป็น ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรหรือจำเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ กนง. อาจตกลงร่วมกันเพื่อแก้ไขเป้าหมายของนโยบายการเงินได้ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา 1เป็นช่วงระยะเวลาประมาณ 3 - 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการกำหนดอัตราเงินเฟ้อทั่วไป และสอดคล้องกับสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด 2เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นความพยายามในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์พร้อมกับการดูแลสิ่งแวดล้อม และการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติแทนการแสวงหาผลกำไรเพียงอย่างเดียว โดยตั้งอยู่บนฐานของการพัฒนาแบบยั่งยืนและคำนึงถึงความสัมพันธ์ของระบบนิเวศและเศรษฐกิจ 17. เรื่อง ผลการสำรวจความต้องการของประชาชน พ.ศ. 2567 (ของขวัญปีใหม่ที่ต้องการจากรัฐบาล) คณะรัฐมนตรีรับทราบข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากผลการสำรวจความต้องการของประชาชน พ.ศ. 2567 (ของขวัญปีใหม่ที่ต้องการจากรัฐบาล) (ผลการสำรวจฯ) ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ สาระสำคัญ 1. ดศ. โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ได้ดำเนินการสำรวจความต้องการของประชาชน พ.ศ. 2567 เกี่ยวกับของขวัญปีใหม่ที่ต้องการจากรัฐบาล เพื่อสะท้อนถึงความต้องการของประชาชนที่จะให้รัฐบาลดำเนินการ และข้อเสนอแนะของประชาชนต่อการบริหารงานของรัฐบาลเพื่อเป็นข้อมูลให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงสาธารณสุข สามารถนำไปใช้วางแผนและกำหนดนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งนี้ วิธีดำเนินการสำรวจความต้องการของประชาชน มีรายละเอียด ดังนี้ หัวข้อ วิธีดำเนินการ กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนทั่วไป อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ครัวเรือนละ 1 ราย จำนวนตัวอย่าง 6,970 ราย วิธีการเก็บข้อมูล (1) Stratified Three-stage Sampling1 (2) สัมภาษณ์ พื้นที่สำรวจ ทั่วประเทศ ระยะเวลาที่สำรวจ 3 - 8 พฤศจิกายน 2566 2. ผลการสำรวจความต้องการของประชาชน พ.ศ. 2567 (ของขวัญปีใหม่ที่ต้องการจากรัฐบาล) สามารถสรุปได้ ดังนี้ หัวข้อ ร้อยละ (1) เรื่องที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลดำเนินการช่วยเหลือเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ในปี พ.ศ. 2567 5 อันดับแรก (1.1) ควบคุมราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค 84.1 (1.2) ลดค่าไฟฟ้า/ค่าน้ำประปา 64.0 (1.3) แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ 39.8 (1.4) แก้ไขปัญหาน้ำมัน/แก๊สราคาแพง 37.5 (1.5) เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ/เงินเดือน 36.5 (2) ความพึงพอใจของประชาชนต่อผลงานของรัฐบาลภายหลังบริหารงานครบ 1 เดือน 5 อันดับแรก (2.1) การช่วยเหลือแรงงานไทยในอิสราเอล 61.0 (2.2) ลดค่าไฟฟ้า 60.8 (2.3) ลดค่าน้ำมัน 55.6 (2.4) การพักหนี้เกษตรกร 3 ปี 52.6 (2.5) ลดราคาสินค้าอุปโภค - บริโภค 52.1 (3) ระดับความเชื่อมั่นของประชาชนในการบริหารงานของรัฐบาล (3.1) มากที่สุด 11.5 (3.2) มาก 43.9 (3.3) ปานกลาง 35.4 (3.4) น้อย 7.2 (3.5) น้อยสุด 1.4 (3.6) ไม่เชื่อมั่น 0.6 3. จากผลการสำรวจข้างต้น สสช. จึงมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ได้จากผลการสำรวจข้างต้น โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 3.1 ควรเพิ่มมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยการกระตุ้นให้เกิดการจ้างงาน สร้างอาชีพให้กับประชาชนอย่างเร่งด่วน เช่น ส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ จัดหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำและเร่งรัดการใช้จ่าย/การลงทุนในหน่วยงานภาครัฐ เป็นต้น 3.2 ควรขยายระยะเวลา/จัดทำโครงการ/มาตรการที่ลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน เช่น การลดค่าน้ำ ค่าไฟ ลดราคาน้ำมัน แก๊สที่มีราคาแพง และจำหน่ายสินค้าอุปโภค - บริโภคราคาถูก (ธงฟ้า) เป็นต้น 3.3 ควรเร่งรัดการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร เช่น ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ปัญหาปุ๋ย/สารเคมี/ยาฆ่าแมลงมีราคาแพง และจัดหาตลาดรองรับผลผลิต เป็นต้น 3.4 ควรผลักดันมาตรการแก้ไขปัญหายาเสพติดเพื่อสร้างความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดีให้ประชาชนในทุกพื้นที่ เช่น การเพิ่มบทลงโทษผู้กระทำผิด และการนำผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดอย่างทันท่วงที เป็นต้น 3.5 ควรเพิ่มช่องทาง/บริการในระบบหลักประกันสุขภาพให้ประชาชนอย่างทั่วถึงและ เท่าเทียม ครอบคลุมทุกพื้นที่ เช่น การใช้บัตรประชาชน 1 ใบรักษาได้ทุกพื้นที่ ทุกโรงพยาบาล เป็นต้น 4. ดศ. (สสช.) เห็นว่า จากผลการสำรวจดังกล่าว (ตามข้อ 2.) ทำให้ภาครัฐได้รับประโยชน์ ดังนี้ 4.1 สามารถประเมินความคิดเห็น ความพึงพอใจของประชาชนต่อผลงานของรัฐบาลหลังบริหารงานครบ 1 เดือน และความเชื่อมั่นในการบริหารงานของรัฐบาล 4.2 เพื่อเป็นข้อมูลให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปวางแผนกำหนดนโยบาย ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน 1 วิธีการสุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ นิยมใช้เพื่อสำรวจกลุ่มตัวอย่างประเภทครัวเรือน เนื่องจากช่วยลดขั้นตอนและบริหารจัดการได้ง่าย มีวิธีการกำหนดพื้นที่เป็นลักษณะทางภูมิศาสตร์ออกเป็นพื้นที่ย่อย ๆ จำนวน 3 กรอบ คือ 1) กรอบพื้นที่ เช่น ภาค จังหวัด เขตการปกครอง ฯลฯ 2) กรอบครัวเรือน 3) กรอบรายชื่อสมาชิกในครัวเรือน 18. เรื่อง รายงานความก้าวหน้าการวิจัยพัฒนาและผลิตวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ (กวช.) เสนอความก้าวหน้าการวิจัยพัฒนาและผลิตวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย โดยวัคซีน COVID-19 ที่วิจัยพัฒนาโดยองค์การเภสัชกรรม ชื่อทางการค้า HXP - GPOVAC ได้รับการอนุมัติการขึ้นทะเบียนแบบมีเงื่อนไข (Conditional Approval) จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566 เรียบร้อยแล้ว สาระสำคัญ กวช. รายงานว่า 1. จากสถานการณ์การระบาดของโรค COVD-19 ที่เริ่มแพร่เข้าสู่ประเทศไทยตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม 2563 กวช. กระทรวงสาธารณสุข โดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (สวช.) ได้จัดทำแผน Blueprint เพื่อการเข้าถึงวัคซีนป้องกัน COVID-19 ของประชาชนไทย โดยใช้เป็นกรอบนโยบายในการบูรณาการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2563-25651 และได้รับความเห็นชอบจาก กวช. เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2563 โดย สวช. ได้ดำเนินการภายใต้แผน Blueprint มาตั้งแต่ปี 2563 สรุปได้ ดังนี้ 1.1 การจัดซื้อ จัดหาวัคซีน โดยจองล่วงหน้าจากบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า จำนวน 26 ล้านโดส ซึ่งลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 และมีการเจรจาขอซื้อวัคซีนเพิ่มเติมอีกจำนวน 35 ล้านโดส โดยแก้ไขเพิ่มเติมจากสัญญาเดิม ทำให้ไม่ต้องเสียค่าจองวัคซีนเพิ่ม รวมมีการจัดหาวัคซีนจากบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า รวมทั้งสิ้น 61ล้านโดส ซึ่งวัคซีนดังกล่าวได้นำมาฉีดให้ประชาชนไทยในปี 2564-2565 1.2 การทำความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อขอรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีน โดย อย. ได้ทำการประเมินและพิจารณาข้อมูลด้านคุณภาพของวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ที่ผลิตจากบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด พบว่า มีความทัดเทียมกับคุณภาพวัคซีนที่ผลิตจากประเทศอิตาลีที่ขึ้นทะเบียนไว้ ดังนั้น อย. จึงอนุมัติเพิ่มบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด เป็นสถานที่ผลิตวัคซีน COVID-19 ของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2564 และเมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ส่งมอบวัคซีนได้ครบถ้วน จำนวน 61 ล้านโดส ตามสัญญา (ตามข้อ 1.1) 1.3 การพัฒนาวัคซีนต้นแบบในประเทศไทยตั้งแต่ต้นน้ำ โดยหน่วยงานที่มีศักยภาพในประเทศได้ดำเนินการวิจัยพัฒนาวัคซีน COVID-19 ภายใต้แพลตฟอร์มเทคโนโลยีชนิดต่าง ๆ ซึ่งมีความสำเร็จและความก้าวหน้า สรุปได้ดังนี้ ชนิดวัคซีน ความสำเร็จและความก้าวหน้า (1) วัคซีนชนิด Inactivated recombinant viral vector vaccine วิจัยโดยองค์การเภสัชกรรม ซึ่งได้รับการอนุมัติการขึ้นทะเบียนแบบมีเงื่อนไข2 (Conditional Approval) เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566 โดยใช้ชื่อทางการค้า HXP-GPOVAC และใช้ในกลุ่มเป้าหมายสำหรับผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป (2) วัคซีนชนิด mRNA วิจัยโดยศูนย์วิจัยวัคซีนแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปัจจุบันอยู่ระหว่างรอการอนุมัติจาก อย. ให้ดำเนินการศึกษาวิจัยในมนุษย์ระยะที่ 2 (3) วัคซีนชนิด Protein subunit (Plant-based) วิจัยโดยบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ซึ่งได้รับอนุญาตให้ผลิตยาตัวอย่างเพื่อขอขึ้นทะเบียนตำรับยาตามแบบ ผ.ย. 8 เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2566 ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมการเพื่อทดสอบวัคซีนในมนุษย์ (4) วัคซีนขนิด DNA วิจัยโดยบริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด แม้ว่าจะไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จของการศึกษาวิจัยในมนุษย์ระยะที่ 1 แต่ยังสามารถใช้ศักยภาพของโรงงานผลิตวัคซีนเพื่อสนับสนุนการผลิตวัคซีนชนิด Nucleic acid3 1 คณะรัฐนตรีมีมติ (3 มีนาคม 2563) เห็นชอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2563-2565 โดยใช้เป็นกรอบในการขับเคลื่อนการพัฒนางานด้านวัคซีนเพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านวัคซีน ประชาชนทุกคนในประเทศเข้าถึงการป้องกันโรคด้วยวัคซีนที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง และเป็นธรรม 2 การอนุมัติการขึ้นทะเบียนแบบมีเงื่อนไข เช่น ผู้รับอนุญาตต้องติดตามความปลอดภัยผู้รับยาทุกราย ติดตามการศึกษาด้านข้อมูล ด้านคุณภาพ ด้านประสิทธิผล และความปลอดภัย และต้องยื่นขอรับหนังสือรับรองรุ่นการผสิตยาชีววัตถุทุกรุ่นการผลิตก่อนออกจำหน่ายหรือส่งมอบให้ผู้ใช้ 3 วัคซีนชนิด Nucleic acid (กรดนิวคลีอิก) เป็นวัคซีนชนิดที่กระตุ้นเซลล์ร่างกายให้สร้างแอนติเจน (สารก่อภูมิต้านทาน) โดยใช้สารพันธุกรรมโดยตรงไม่ต้องอาศัยพาหะ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ วัคซีนชนิด DNA และวัคซีนชนิด mRNA 19. เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (ณ สิ้นไตรมาสที่ 4) คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 (ณ สิ้นไตรมาสที่ 4) ตามที่สำนักงบประมาณ (สงป.) เสนอ สาระสำคัญ 1. ภาพรวมผลการเบิกจ่ายและผลการใช้จ่ายงบประมาณของประเทศวงเงินงบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 3,185,000.00 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 3,013,018.84 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 94.60 และมีผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้) จำนวน 3,173,344.60 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 99.63 โดยรายละเอียดแยกตามรายจ่ายประจำ/รายจ่ายลงทุน ปรากฏตามตาราง หน่วย:ล้านบาท วงเงินงบประมาณ วงเงินงบประมาณ พ.ร.บ.1 เป้าหมายตามมติคณะ รัฐมนตรี (27 กันยายน 2565)2 ร้อยละ เบิกจ่าย/ใช้จ่าย ร้อยละ สูง/-ต่ำกว่า เป้าหมาย ร้อยละ ภาพรวม 3,185,000.00 -เบิกจ่าย -ใช้จ่าย (ก่อหนี้) 2,962,050.00 3,185,000.00 93.00 100.00 3,013,017.84 3,173,344.60 94.60 99.63 50,967.84 -11,655.40 1.60 -0.37 รายจ่ายประจำ 2,520,329.10 -เบิกจ่าย 2,469,922.52 98.00 2,534,827.51 100.58 64,904.99 2.58 -ใช้จ่าย (ก่อหนี้) 2,520,329.10 100.00 2,561,566.54 101.64 41,237.44 1.64 รายจ่ายลงทุน 664,670.90 -เบิกจ่าย 498,503.18 75.00 478,190.33 71.94 -20,312.85 -3.06 -ใช้จ่าย (ก่อหนี้) 664,670.90 100.00 611,778.06 92.04 -52,892.84 -7.96 2. ปัญหาและอุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (ณ สิ้นไตรมาส ที่ 4) มีดังนี้ ปัญหาและอุปสรรค (1) รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณต่ำกว่าเป้าหมายการใช้จ่ายตามมติคณะรัฐมนตรี เนื่องจากในช่วงแรกของบปีงบประมาณ หน่วยรับงบประมาณมีการใช้จ่ายงบประมาณจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีก่อนแล้วจึงมีการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็นลำดับถัดมา (2) รายจ่ายลงทุนบางรายการที่หน่วยรับงบประมาณไม่สามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างได้ตามแผนที่กำหนดไว้เนื่องจากเกิดปัญหาในขั้นตอนกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง เช่น มีการปรับแบบรูปรายการ/ราคากลาง มีการยกเลิก การประกวดราคา จากกรณีมีผู้อุทธรณ์/ไม่มีผู้เสนอราคา เป็นต้น (3) รายการผูกพันใหม่ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่มีวงเงินเกิน 1,000 ล้านบาท บางรายการยังอยู่ระหว่างอนุมัติผลการจัดซื้อจัดจ้าง/ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง หรือยังไม่เข้าสู่กระบวนการ (4) มีหน่วยรับงบประมาณบางส่วน โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไม่รายงานผล หรือรายงานผลไม่ครบถ้วนตามระยะเวลาที่กำหนด ข้อเสนอแนะ (1) หน่วยรับงบประมาณที่มีผลการใช้จ่ายงบประมาณต่ำกว่าเป้าหมายตามมติคณะรัฐมนตรี ควรเร่งรัดดำเนินการก่อหนี้ผูกพันและเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานที่กำหนด เพื่อให้การบริหารงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ (2) หน่วยรับงบประมาณครรให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมโครงการก่อนขอรับการจัดสรรงบประมาณ รวมถึงจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์และศักยภาพ การดำเนินงานของหน่วยรับงบประมาณ (3) เห็นควรให้กรมบัญชีกลางสร้างการรับรู้/ความเข้าใจเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและ การบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ให้แก่บุคลากรของหน่วยงานในพื้นที่ รวมถึงพิจารณาปรับปรุงขั้นตอนกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและขั้นตอนการอุทธรณ์ผล เพื่อลดขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินการ (4) เห็นควรให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือรัฐมนตรีที่กำกับดูแลหรือควบคุมกิจการของหน่วยรับงบประมาณหรือรัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมาย ตลอดจนหัวหน้าหน่วยงานกำกับดูแลหน่วยรับงบประมาณโดยให้ความสำคัญกับการเร่งรัด ติดตาม และการรายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณระบบฐานข้อมูลแผน/ผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณ (BB EvMis) และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดทำงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (BBL) เพื่อ สงป. รวบรวมและจัดทำรายงานเสนอนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี และนำข้อมูลไปใช้ประกอบการจัดสรรงบประมาณต่อไป 1พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 2คณะรัฐมนตรีมีมติ (27 กันยายน 2565) เห็นชอบการกำหนดมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 20. เรื่อง สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนพฤศจิกายน 2566 คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนพฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้ สาระสำคัญ 1. สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าเดือนพฤศจิกายน 2566 ดังนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนพฤศจิกายน 2566 เท่ากับ 107.45 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2565 ซึ่งเท่ากับ 107.92 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงร้อยละ 0.44 (YoY) ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 และต่ำสุดในรอบ 33 เดือน สาเหตุสำคัญยังคงเป็นมาตรการภาครัฐด้านพลังงานที่ทำให้สินค้าในกลุ่มพลังงานปรับลดลง โดยเฉพาะราคาน้ำมันในกลุ่มดีเซล และแก๊สโซฮอล์ 91 นอกจากนี้ เนื้อสุกร ไก่สด และน้ำมันพืช ราคาต่ำกว่าปีที่ผ่านมา สำหรับราคาสินค้าและบริการอื่น ๆ ยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก สูงขึ้นร้อยละ 0.58 (YoY) อัตราเงินเฟ้อของไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ข้อมูลล่าสุดเดือนตุลาคม 2566 พบว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยลดลงร้อยละ 0.31 ซึ่งอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ โดยอยู่ระดับต่ำอันดับ 8 จาก 135 เขตเศรษฐกิจที่ประกาศตัวเลข และยังคงต่ำที่สุดในอาเซียนจาก 7 ประเทศที่ประกาศตัวเลข (สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย) โดยอัตราเงินเฟ้อของไทยเคลื่อนไหวในทิศทางที่สอดคล้องกับในหลายประเทศทั่วโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนนี้ที่ลดลงร้อยละ 0.44 (YoY) มีการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้ หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.87 (YoY) สาเหตุหลักยังคงเป็นสินค้าในกลุ่มพลังงานที่ราคาลดลงต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 เนื่องจากมาตรการภาครัฐทั้งค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันดีเซล และแก๊สโซฮอล์ 91 รวมถึงค่าโดยสารรถไฟฟ้า นอกจากนี้ ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องซักผ้า และเครื่องปรับอากาศ ราคาลดลงต่อเนื่อง สำหรับสินค้าที่ราคาสูงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2565 อาทิ แก๊สโซฮอล์ 95 E85 และ E20 น้ำมันเบนซิน 95 ก๊าซยานพาหนะ (LPG) ค่าโดยสารเครื่องบิน ค่ารถรับส่งนักเรียน เครื่องแบบนักเรียน แป้งทาผิวกาย ยาสีฟัน อาหารสัตว์เลี้ยง สุรา และเบียร์ หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.20 (YoY) ตามราคาสินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น อาทิ ข้าวสาร แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง (แป้งข้าวเจ้า ขนมอบ) ไข่ (ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่เค็ม) รวมทั้ง นมข้นหวาน นมเปรี้ยว และนมถั่วเหลือง ราคาเปลี่ยนแปลงตามการจัดโปรโมชัน ผักสด (คะน้า ขิง มะนาว ขึ้นฉ่าย มะเขือเทศ) ปริมาณผลผลิตยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติหลังจากบางพื้นที่เพาะปลูกประสบปัญหาน้ำท่วมในช่วงเดือนที่ผ่านมา และผลไม้สด (ทุเรียน แตงโม ส้มเขียวหวาน) รวมถึงกาแฟผงสำเร็จรูป กับข้าวสำเร็จรูป และอาหารเช้า ราคาสูงขึ้นเล็กน้อย ขณะที่สินค้าในกลุ่มอาหารสด ราคาลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยเฉพาะเนื้อสุกร และไก่สด เนื่องจากสต็อกคงเหลือมีปริมาณมาก นอกจากนี้ น้ำมันพืช เครื่องปรุงรส และมะขามเปียก รวมถึงผักและผลไม้บางประเภท อาทิ ต้นหอม แตงกวา ถั่วฝักยาว ลองกอง ชมพู่ มะม่วง ราคาปรับลดลง ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพฤศจิกายน 2566 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2566 ลดลงร้อยละ 0.25 (MoM) โดยหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.58 ตามการลดลงของค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภท ค่าโดยสารรถไฟฟ้า รวมทั้ง น้ำยาปรับผ้านุ่ม ผงซักฟอก สบู่ถูตัว ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว และโฟมล้างหน้า สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น อาทิ ค่าโดยสารเครื่องบินและรถจักรยานยนต์รับจ้าง เครื่องถวายพระ อาหารสัตว์เลี้ยง บุหรี่ และสุรา ขณะที่หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.23 สินค้าที่ราคาสูงขึ้น อาทิ ข้าวสาร ขนมอบ ไก่สด ปลาและสัตว์น้ำ (ปลาทู ปลาหมึก หอยลาย กุ้งนาง) เป็นช่วงมรสุมปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยลง ผักสด (คะน้า แตงกวา มะเขือ) ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกบางส่วนได้รับความเสียหายจากภาวะน้ำท่วม ในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับเกิดโรคใบหงิกในผักใบหลายชนิด รวมทั้ง ซีอิ๊ว ซอสหอยนางรม น้ำปลา อาหารโทรสั่ง (Delivery) ก๋วยเตี๋ยว และอาหารเช้า ราคาปรับสูงขึ้นเล็กน้อย สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง อาทิ เนื้อโค ไข่ไก่ และผลไม้สด (ส้มเขียวหวาน มะละกอสุก องุ่น) เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลของผลไม้หลายชนิด สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคเฉลี่ย 11 เดือน (ม.ค. - พ.ย.) ปี 2566 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 สูงขึ้นร้อยละ 1.41 (AoA) ซึ่งอยู่ในกรอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อปี 2566 (ร้อยละ 1.0-3.0) 2. แนวโน้มเงินเฟ้อ แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนธันวาคม 2566 มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องจากช่วงเดือนที่ผ่านมา ตามราคาสินค้าในกลุ่มอาหาร โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ และเครื่องประกอบอาหาร กลุ่มพลังงาน ทั้งค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิงในกลุ่มดีเซล และแก๊สโซฮอล์ รวมถึงสินค้าอุปโภคที่จำเป็นต่อการครองชีพอีกหลายรายการ และต้นทุน การผลิตที่ปรับลดลง จากมาตรการลดค่าครองชีพให้กับประชาชน ประกอบกับฐานราคาในช่วงเดียวกันของปี 2565 อยู่ระดับสูงมีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2566 อยู่ระหว่างร้อยละ 1.0-1.7 (ค่ากลางร้อยละ 1.35) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน สำหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2567 คาดว่าจะชะลอตัวต่อเนื่องจากปี 2566 โดยมีปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง อาทิ มาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐที่คาดว่าจะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มการปรับขึ้นราคาสินค้าสำคัญค่อนข้างจำกัด เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวทั้งเศรษฐกิจสหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่น และหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง อาจเป็นปัจจัยกดดันการบริโภคของประชาชนบางกลุ่ม สำหรับปัจจัยที่สนับสนุนให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับตัวดีขึ้น อาทิ ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำ และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง และเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากปี 2566 รวมถึงการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนที่เพิ่มขึ้นจากมาตรการของรัฐ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้อัตราเงินเฟ้อไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ อาทิ ความขัดแย้งทาง ภูมิรัฐศาสตร์ ค่าเงินบาทที่ผันผวน และมาตรการภาครัฐที่ส่งผลต่อราคาอาจมีหลากหลายรูปแบบ ด้วยเหตุผลตามข้างต้น กระทรวงพาณิชย์ จึงคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2567 จะอยู่ระหว่างร้อยละ (-0.3)-1.7 (ค่ากลางอยู่ที่ร้อยละ 0.7) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจของไทย และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนพฤศจิกายน 2566 ปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 55.0 จาก 55.8 ในเดือนก่อนหน้า ยังคงอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 12 (นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565) เป็นการปรับลดลงทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันและในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) สาเหตุมาจากการที่เศรษฐกิจฟื้นตัวไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลให้ประชาชนมีภาระหนี้สินมากขึ้น และสินค้าเกษตรบางรายการราคาลดลง อย่างไรก็ตาม ฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงปลายปีคาดว่าจะส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องปรับตัวดีขึ้น การส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่อง และมาตรการช่วยเหลือด้านหนี้สินจะส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นในระยะต่อไป 21. เรื่อง แผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568 - 2571) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568 - 2571) ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐเสนอ เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาจัดทำกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ และเพื่อให้หน่วยงานของรัฐนำไปใช้ประกอบการพิจารณาในการจัดเก็บหรือหารายได้ การจัดทำงบประมาณ และการก่อหนี้ของหน่วยงานของรัฐ ตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ ต่อไป สาระสำคัญของแผนการคลังระยะปานกลางฯ แผนการคลังระยะปานกลางฯ ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 สถานะและประมาณการเศรษฐกิจ ส่วนที่ 2 สถานะและประมาณการการคลัง และส่วนที่ 3 เป้าหมายและนโยบายการคลัง โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1. สถานะและประมาณการเศรษฐกิจ ในปี 2568 คาดว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.1 - 4.1 (ค่ากลางร้อยละ 3.6) และอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 1.5 - 2.5 สำหรับในปี 2569 และ 2570 คาดว่า GDP จะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 2.9 - 3.9 (ค่ากลางร้อยละ 3.4) และ ในปี 2571 จะขยายตัวร้อยละ 2.7 - 3.7 (ค่ากลางร้อยละ 3.2) สำหรับอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2569 - 2571 จะอยู่ในช่วงร้อยละ 1.5 - 2.5 2. สถานะและประมาณการการคลัง 2.1 ประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิปีงบประมาณ 2568 - 2571 เท่ากับ 2,887,000 3,040,000 3,204,000 และ 3,394,000 ล้านบาท ตามลำดับ 2.2 ประมาณการงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2568 - 2571 เท่ากับ 3,600,000 3,743,000 3,897,000 และ 4,077,000 ล้านบาท ตามลำดับ 2.3 จากประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิและงบประมาณรายจ่ายดังกล่าวในปีงบประมาณ 2568 - 2571 รัฐบาลจะขาดดุลงบประมาณจำนวน 713,000 703,000 693,000 และ 683,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.56 3.33 3.11 และ 2.92 ต่อ GDP ตามลำดับ 2.4 ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2566 มีจำนวน 11,131,634 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 62.44 ของ GDP และประมาณการสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP สำหรับปีงบประมาณ 2568 - 2571 เท่ากับร้อยละ 63.73 64.07 และ 63.61 ตามลำดับ 3. เป้าหมายและนโยบายการคลัง ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและสังคมเป็นวงกว้าง ปัจจุบันภาคเศรษฐกิจอยู่ระหว่างการฟื้นตัวเพื่อเข้าสู่สภาวะปกติ โดยเครื่องมือทางการคลังยังคงมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่องท่ามกลางความเสี่ยงจากความผันผวนในระบบเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในเกณฑ์สูง โดยเฉพาะแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในตลาดพันธบัตรที่สูงขึ้นจากการดำเนินนโยบายทางการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางทั่วโลกเพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจและชะลออัตราเงินเฟ้อที่เกิดจากการดำเนินมาตรการในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้ภาครัฐมีภาระต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ ประกอบกับการก้าวเข้าสู่มิติการพัฒนาประเทศอย่างรอบด้านภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ของชาติมหาอำนาจ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันพร้อมรับความเสี่ยงต่าง ๆ หรือสถานการณ์ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ควบคู่กับการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ภาครัฐจึงมีความจำเป็นในการดำเนินนโยบายการคลังเพื่อตอบสนองความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสม และทันการณ์ ดังนั้น ในการดำเนินนโยบายการคลังระยะปานกลาง ภาครัฐยังคงเสริมสร้างความเข้มแข็งเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนทางการคลังในอนาคต ภายใต้แนวคิด ?Revival? ที่มุ่งเน้นสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงการรักษาวินัยการเงินการคลัง (Fiscal Discipline) อย่างเคร่งครัด ให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพทางการคลัง (Fiscal Consolidation) ผ่านการสร้างความเข้มแข็งด้านการคลังในด้านต่าง ๆ ทั้งในส่วนของการพิจารณาจัดลำดับความสำคัญและความจำเป็น ความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และความครอบคลุมจากทุกแหล่งเงินในการใช้จ่ายภาครัฐ ควบคู่ไปกับการทบทวนและยกเลิกมาตรการลดและการเว้นภาษีให้มีเพียงเท่าที่จำเป็น การปฏิรูปโครงสร้าง และการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ รวมถึงการบริหารจัดการหนี้สาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดขนาดการขาดดุลการคลังและสร้างกันชนทางการคลัง (Fiscal Buffer) ในการบริหารจัดการพื้นที่สำหรับการดำเนินนโยบายที่จำเป็น (Policy Space) ท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระยะต่อไป สำหรับเป้าหมายการคลังของแผนการคลังฉบับนี้ รัฐบาลยังมีความจำเป็นต้องจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลในระยะสั้นเพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพและมุ่งเน้นการปรับลดขนาดการขาดดุลในระยะปานกลาง ทั้งนี้ หากในระยะต่อไป ภาวะเศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวได้อย่างเต็มศักยภาพ ภาครัฐสามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการคลังทั้งทางด้านรายได้ รายจ่าย และหนี้สาธารณะได้ เป้าหมายการคลังในระยะยาวจะกำหนดให้รัฐบาลมุ่งสู่การจัดทำงบประมาณสมดุลในระยะเวลาที่เหมาะสม หน่วย: ล้านบาท ปีงบประมาณ 2567 2568 2569 2570 2571 รายได้รัฐบาลสุทธิ 2,787,000 2,887,000 3,040,000 3,204,000 3,394,000 อัตราการเพิ่ม (ร้อยละ) 4.5 3.6 5.3 5.4 5.9 งบประมาณรายจ่าย 3,480,000 3,600,000 3,743,000 3,897,000 4,077,000 อัตราการเพิ่ม (ร้อยละ) 9.3 3.4 4.0 4.1 4.6 ดุลการคลัง (693,000) (713,000) (703,000) (693,000) (683,000) ดุลการคลังต่อ GDP (ร้อยละ) (3.64) (3.56) (3.33) (3.11) (2.92) หนี้สาธารณะคงค้าง 11,834,716 12,664,069 13,440,540 14,129,832 14,758,495 หนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP (ร้อยละ) 62.71 63.73 64.23 64.07 63.61 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) 19,022,250 20,049,451 21,112,072 22,252,124 23,409,234 หมายเหตุ: อัตราการเพิ่มของประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิปีงบประมาณ 2567 เทียบกับผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิ ปีงบประมาณ 2566 ในขณะที่อัตราการเพิ่มของวงเงินงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2567 เทียบกับกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย ปีงบประมาณ 2566 ที่มา: กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประโยชน์และผลกระทบ การจัดทำแผนการคลังระยะปานกลางฯ จะเป็นแผนแม่บทหลักให้หน่วยงานของรัฐนำไปใช้ประกอบการพิจารณาในการจัดเก็บหรือหารายได้ การจัดทำงบประมาณ และการก่อหนี้ของหน่วยงานของรัฐ ตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งภาคการคลังของประเทศในด้าน ต่าง ๆ โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพทางการคลัง (Fiscal Consolidation) เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนทางการคลังในอนาคต 22. เรื่อง การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2567 คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป สาระสำคัญ คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 ได้พิจารณาข้อสังเกตของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในการประชุม ครั้งที่ 10/2566 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 แล้ว มีมติเห็นชอบยืนยันการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2567 ตามมติคณะกรรมการค่าจ้าง เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 เนื่องจากสูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่คณะกรรมการค่าจ้างฯ ใช้ประกอบการพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2567 เป็นสูตรที่คณะกรรมการค่าจ้างฯ ได้เห็นชอบให้คณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดใช้เป็นหลักเกณฑ์การพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทุกจังหวัดอย่างมีหลักวิชาการบนพื้นฐานข้อมูลทางเศรษฐกิจที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ ดังนั้น การพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2567 ได้ผ่านกระบวนการพิจารณาจากกลไกไตรภาคีระดับจังหวัด และคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 ได้พิจารณาอยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาค และรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย เพื่อให้นายจ้างสามารถประกอบธุรกิจอยู่ได้ ลูกจ้างมีรายได้จากค่าจ้างที่เป็นตัวเงินเฉลี่ยต่อเดือนเพิ่มขี้น และการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจะไม่ได้ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ หรือมีผลทำให้ราคาสินค้าและอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อภาวะการครองชีพของประชาชนโดยทั่วไป โดยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2567 จำแนกเป็น 17 อัตรา ดังนี้ ลำดับ อัตรา ค่าจ้างขั้นต่ำ (บาทต่อวัน) จำนวน (จังหวัด) เขตท้องที่บังคับใช้ 1 370 1 จังหวัดภูเก็ต 2 363 6 กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร 3 361 2 จังหวัดชลบุรี และระยอง 4 352 1 จังหวัดนครราชสีมา 5 351 1 จังหวัดสมุทรสงคราม 6 350 6 จังหวัดขอนแก่น ฉะเชิงเทรา เชียงใหม่ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา และสระบุรี 7 349 1 จังหวัดลพบุรี 8 348 3 จังหวัดนครนายก สุพรรณบุรี และหนองคาย 9 347 2 จังหวัดกระบี่ และตราด 10 345 15 จังหวัดกาญจนบุรี จันทบุรี เชียงราย ตาก นครพนม บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ พังงา พิษณุโลก มุกดาหาร สกลนคร สงขลา สระแก้ว สุราษฎร์ธานี และอุบลราชธานี 11 344 3 จังหวัดชุมพร เพชรบุรี และสุรินทร์ 12 343 3 จังหวัดนครสวรรค์ ยโสธร และลำพูน 13 342 5 จังหวัดกาฬสินธุ์ นครศรีธรรมราช บึงกาฬ เพชรบูรณ์ และร้อยเอ็ด 14 341 5 จังหวัดชัยนาท ชัยภูมิ พัทลุง สิงห์บุรี และอ่างทอง 15 340 16 จังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน ระนอง ราชบุรี ลำปาง เลย ศรีสะเกษ สตูล สุโขทัย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี 16 338 4 จังหวัดตรัง น่าน พะเยา และแพร่ 17 330 3 จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา ทั้งนี้ คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 จะนำข้อสังเกตของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ปรับปรุงสูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรมต่อ ทั้งนายจ้างและลูกจ้างให้มากยิ่งขึ้น โดยให้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิเคราะห์และปรับปรุงสูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เพื่อจะได้ใช้เป็นสูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของคณะกรรมค่าจ้างต่อไป 23. เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อขยายวงเงินค้ำประกันสินเชื่อโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 10 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 [เรื่อง มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (Small and Medium Enterprises: SMEs) ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 10 (โครงการ PGS ระยะที่ 10)] ในส่วนของวงเงินค้ำประกันสินเชื่อจากเดิมวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ 50,000 ล้านบาท เป็นวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ 53,250 ล้านบาท (เพิ่มอีก 3,250 ล้านบาท) พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ สาระสำคัญ 1. เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 เห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ผ่านโครงการ PGS ระยะที่ 10 ตามที่ กค. เสนอโดยโครงการดังกล่าวเป็นโครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ผ่านการค้ำประกันสินเชื่อของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมชนาดย่อม (บสย.)1 ให้แก่สถาบันการเงินในการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ SMEs โดยมีวงเงินค้ำประกันสินเชื่อรวม 50,000 ล้านบาท2 และรัฐบาลรับภาระจ่ายชดเชยค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs และค่าค้ำประกันชดเชยตลอดทั้งโครงการรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 7,125 ล้านบาท 2. โดยข้อมูล ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2566 บสย. ได้มีการอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อตามโครงการ PGS ระยะที่ 10 ไปแล้วจำนวน 46,712 ล้านบาท สามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากระบบสถาบันการเงินได้จำนวน 73,964 รายและคาดว่าจะมียอดอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อเต็มวงเงินโครงการภายในปี 2566 โดยวงเงินงบประมาณในการดำเนินโครงการ PGS ระยะที่ 10 จำนวน 7,125 ล้านบาท ใช้ดำเนินโครงการไปแล้วรวม 6,597.50 ล้านบาท ทำให้ยังมีงบประมาณคงเหลือจำนวน 527.50 ล้านบาท (7,125 - 6,597.50) ซึ่ง บสย. เห็นว่า สามารถนำงบประมาณคงเหลือนี้มาขยายวงเงินค้ำประกันสินเชื่อตามโครงการได้อีกจำนวน 3,250 ล้านบาท3 3. โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ได้ส่งผลกระทบมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ทำให้ยังมีผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว ประกอบกับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาพลังงานที่ยังมีแนวโน้มผันผวน ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตและระดับราคาสินค้าทั่วไปปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการ SMEs มีกำไรลดลงและประสบกับปัญหาด้านสภาพคล่องและยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบสถาบันการเงินได้อย่างเพียงพอ เนื่องจากสถาบันการเงินเห็นว่าผู้ประกอบการ SMEs มีความเสี่ยงในการชำระหนี้คืนและมีหลักประกันไม่เพียงพอกับความเสี่ยงดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs และป้องกันความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้น กค. จึงเห็นควรขยายวงเงินค้ำประกันสินเชื่อโครงการ PGS ระยะที่ 10 เพิ่มอีก 3,250 ล้านบาท 4. กค. แจ้งว่า การเพิ่มวงเงินค้ำประกันสินเชื่อดังกล่าวไม่เข้าข่ายลักษณะของกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เนื่องจากเป็นการแก้ไขรายละเอียดโครงการโดยใช้งบประมาณคงเหลือภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณเดิมที่ได้รับอนุมัติไว้แล้ว รวมทั้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นยังคงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้เคยให้ความเห็นชอบไว้ (ตามข้อ 1.) 1 บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนามย่อม (บสย.) เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐภายใต้การกำกับดูแลของ กค. ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม พ.ศ. 2534 โดยรับโอนทรัพย์สิน หนี้สิน และความรับผิดชอบของกองทุนประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (กสย.) เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือธุรกิจ SMEs ผ่านกลไกการค้ำประกันสินเชื่อให้กับสถาบันการเงินในการอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่มีศักยภาพแต่ขาดหลักประกัน หรือหลักประกันไม่เพียงพอได้รับวงเงินที่เพียงพอกับความต้องการ 2 วงเงินค้ำประกันรวม 50,000 ล้านบาท คำนวณมาจากงบประมาณจากรัฐบาลสำหรับชดเชยค่าธรรมเนียมการ ค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs และชดเชยการจ่ายค่าประกันชดเชยจากรัฐบาล จำนวน 7,125 ล้านบาท โดยคำนวณจากร้อยละ 14.25 x 50,000 ล้านบาท 3 การขยายวงเงินค้ำประกันสินเชื่อตามโครงการอีกจำนวน 3,250 ล้านบาท คำนวณมาจากร้อยละ 16 x 3,250 ล้านบาท = 527.36 ล้านบาท (ปรับค่างบประมาณคงเหลือดังกล่าว ? 527.50 ล้านบาท) โดย กค. แจ้งว่า การปรับการคำนวณเป็นร้อยละ 16 เพื่อให้สามารถใช้งบประมาณที่คงเหลืออยู่ได้เต็มวงเงินสำหรับการค้ำประกันได้มากขึ้น (หากใช้ฐานการคำนวณเดิม คือ ร้อยละ 14.25 x 3,250 = 463.13 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ใช้งบประมาณคงเหลือ แค่เพียง 463.13 ล้านบาท ไม่เต็มวงเงินจำนวน 527.50 ล้านบาท) 24. เรื่อง การเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนย นมและครีม ปี 2566 เพิ่มเติม คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอดังนี้ 1. เห็นชอบในการอนุมัติเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนย ปี 2566 เพิ่มเติม ปริมาณ 10,031.55 ตัน ในอัตราภาษีร้อยละ 5 ตามมติคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม (คณะกรรมการโคนมฯ) ในการประชุม ครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2566 และเนื่องจากการขอโควตานำเข้านมผงขาดมันเนย ปี 2566 เพิ่มเติม เป็นการพิจารณาจัดสรรให้กับผู้ประกอบการตามความจำเป็นและเดือดร้อนจากการขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตจึงให้ยกเว้นการจัดสรรโควตาตามสัดส่วนผู้ประกอบการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2548 2. เห็นชอบในการเปิดตลาดนำเข้านมและครีม ปี 2566 เพิ่มเติม ปริมาณ 700.18 ตัน ในอัตราภาษีร้อยละ 20 ตามมติคณะกรรมการโคนมฯ ในการประชุม ครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2566 3. มอบหมายให้คณะกรรมการโคนมฯ เป็นผู้บริหารการจัดสรรโควตานำเข้านมผงขาดมันเนย นมและครีม ปี 2566 เพิ่มเติมดังกล่าวให้กับผู้ประกอบการตามความจำเป็นและเดือดร้อนจากการขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต โดยต้องนำเข้าให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 และต้องไม่กระทบต่อมาตรการและปริมาณการรับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกรและเดือดร้อนจากการขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต สาระสำคัญ ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติจัดสรรโควตานมผงขาดมันเนย เพิ่มเติม ตั้งแต่ปี 2548 มาแล้ว จำนวน 9 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (11 ธันวาคม 2562) เห็นชอบให้เพิ่มโควตา ปริมาณ 2,993.02 ล้านตัน ส่วนนมและครีมที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอขอให้เปิดตลาดนำเข้าโควตาเพิ่มเติมครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรก ซึ่งคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม (คณะกรรมการโคนมฯ) ในการประชุมครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2566 พิจารณาแล้วมีมติให้เปิดตลาดนำเข้าสินค้านมปี 2566 เพิ่มเติม [เฉพาะกรอบความตกลงองค์การการค้าโลก (WTO)] ดังนี้ หน่วย: ตัน ปริมาณเปิดตลาดนำเข้าตามข้อผูกพัน (1) รายงานการนำเข้าตามโควตา (2) ขอเปิดตลาดนำเข้าสินค้านม ปี 2566 เพิ่มเติม (เฉพาะกรอบความตกลง WTO) (3) รวมปริมาณ (1) + (3) นมผงขาดมันเนย 55,000 เฉพาะกรอบความตกลง WTO 39,220.48* เฉพาะกรอบความตกลง WTO 10,031.55 (ในอัตราภาษี ร้อยละ 5) เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต 65,031.55 นมและครีม 2,372.74 เฉพาะกรอบความตกลง WTO 1,729.07* เฉพาะกรอบความตกลง WTO 700.18 (ในอัตราภาษี ร้อยละ 20) เนื่องจากตั้งแต่ปี 2563 คณะกรรมการโคนมฯ ปรับหลักเกณฑ์การจัดส่วนให้กับผู้ประกอบการใหม่ที่รับซื้อน้ำนมดิบภายในประเทศ ร้อยละ 50 และผู้ประกอบการที่ไม่ได้รับซื้อน้ำนมดิบภายในประเทศ ร้อยละ 50 ซึ่งสัดส่วนที่แบ่งไว้กลุ่มละครึ่ง จึงไม่เพียงพอกับกลุ่มความต้องการผู้ประกอบการที่ไม่ได้รับซื้อน้ำนมดิบภายในประเทศ ประกอบกับตลาดขนมที่ใช้วัตถุดิบจากนมและครีม (โดยเฉพาะเบอร์เกอร์รี่) ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น 3,072.92 หมายเหตุ* ข้อมูลสะสมถึง ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2566 ซึ่งปริมาณดังกล่าว แม้จะยังไม่ได้นำเข้าเต็มตามโควตาแต่ปริมาณที่คงเหลือจะต้องนำไปจัดสัดส่วนให้กับผู้ประกอบการที่เหลือจนถึงสิ้นปี 2566 ซึ่งไม่เพียงพอ ต่อความต้องการ ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2548 สำหรับนมผงขาดมันเนยที่กำหนดให้การจัดสรรโควตานำเข้าให้กับกลุ่มนิติบุคคลที่ 1 (กลุ่มที่รับซื้อน้ำนมดิบ) จัดให้ร้อยละ 80 และกลุ่มนิติบุคคลที่ 2 (กลุ่มผู้ประกอบการทั่วไป) จัดให้ร้อยละ 20 ด้วย เพื่อให้สามารถจัดสรรได้ตามความจำเป็นและเดือดร้อนของผู้ประกอบการแทน ต่างประเทศ 25. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานโครงการเข้าร่วมงาน The International Horticultural Expo (EXPO 2022 Floriade Almere) ณ ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินงานโครงการเข้าร่วมงาน The International Horticultural Expo (EXPO 2022 Floriade Almere) ณ ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (เนเธอร์แลนด์) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง กษ. รายงานว่า 1. คณะรัฐมนตรีมีมติ (12 ตุลาคม 2563) อนุมัติในหลักการโครงการเข้าร่วมงาน The International Horticultural Expo1 (EXPO 2022 Floriade Almere) และให้ กษ. (กรมส่งเสริมการเกษตร) เป็นหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงานฯ ทั้งนี้ ให้ กษ. พิจารณาทบทวนการจัดทำตัวชี้วัดหรือหลักเกณฑ์ในการประเมินผลลัพธ์ของการเข้าร่วมงานในครั้งนี้ให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมและแสดงให้เห็นถึงความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ 2. เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทยได้มอบหนังสือจากกระทรวงเกษตร ธรรมชาติและคุณภาพอาหาร รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ เพื่อเชิญประเทศไทยเข้าร่วมงานมหกรรมพืชสวนโลก 2022 ณ เมือง Almere เนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน) ในขณะนั้น ได้เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทยเดินทางเข้าร่วมงานดังกล่าว (ระหว่างวันที่ 26 - 29 กรกฎาคม 2565) โดยได้เป็นประธานเปิดงานและร่วมกล่าวสุนทรพจน์ในงาน Thailand National Day เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2565 ร่วมกับผู้แทนการจัดงาน ภายในงานได้มีการแสดงศิลปวัฒนธรรม และจัดงานสัปดาห์ประเทศไทยเพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม การนวดไทยสินค้าและผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรโดยเฉพาะด้านสมุนไพร 3. สืบเนื่องจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติตามข้อ 1 กรมส่งเสริมการเกษตรร่วมกับหน่วยงานภาคีได้ดำเนินการในนามประเทศไทย (Team Thailand) โดยมีผลการดำเนินการสรุปได้ ดังนี้ 3.1 กรมส่งเสริมการเกษตรโอนจัดสรรงบประมาณให้กรมศิลปากรสร้างอาคาร Thailand Pavilion และสวนภายนอกอาคาร ภายใต้แนวคิด ?TRUST Thailand? เพื่อจัดแสดงสินค้าและบริการข้อมูลประเทศไทย 3.2 จัดนิทรรศการแสดงสินค้าพืชสวนไทยหมุนเวียน จำนวน 6 ครั้ง และนำเสนอสินค้าเกษตรไทยที่มีผลผลิตออกมาในช่วงเทศกาลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าเกษตร และนวัตกรรมทางด้านการเกษตร เช่น นิทรรศการกล้วยไม้และไม้ฟอกอากาศ นิทรรศการผลไม้ (ผลไม้อัตลักษณ์ภาคตะวันออก) นิทรรศการสมุนไพร 3.3 จัดนิทรรศการและให้ข้อมูลการท่องเที่ยวไทยและการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย แบบครบวงจรตลอดงาน 3.4 ศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีการผลิตสินค้าเกษตรที่ทันสมัย การตลาด และการศึกษาแนวโน้มความต้องการสินค้าของผู้บริโภคในเนเธอร์แลนด์ รวมถึงจัดประชุมเจรจาธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทยกับผู้ประกอบการจากเนเธอร์แลนด์ และประเทศอื่น ๆ ในการนี้ เกษตรกรไทยได้มีการเจรจาต่อยอดทางธุรกิจกับผู้ประกอบการจากเนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นผู้ผลิตและนำเข้าต้นไม้รายใหญ่จากประเทศไทย ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสนับสนุนการขยายตลาดส่งออกต่อไป 3.5 จัดทำเว็บไซต์ https://thailandfloriade2022.com/ ประกอบด้วย ฟังก์ชัน Virtual Reality ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย นิทรรศการใน Thailand Pavilion กิจกรรมการ Live สด สื่อความรู้และข่าวสารต่าง ๆ ที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดงาน EXPO 2022 Floriade Almere 3.6 จากความร่วมมือการสนับสนุนในนาม Team Thailand มีผู้เข้าชม Thailand Pavilion ตลอดระยะเวลาการจัดงาน 300,540 ราย เฉลี่ยวันละประมาณ 1,700 ราย และ Thailand Pavilion ได้รับรางวัล Bronze Award ประเภท Official Participants Competition In-door Presentation 3.7 จากการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคชาวเนเธอร์แลนด์และสหภาพยุโรปที่มาเยี่ยมชม Thailand Pavilion ในเรื่องความนิยมพืชสวนของไทย พบว่า (1) กลุ่มสินค้าผักและผลไม้ที่ผู้บริโภคชาวเนเธอร์แลนด์และสหภาพยุโรปนิยมบริโภคมากที่สุด ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าผัก ได้แก่ ผักชี ผักกาดฮ่องเต้ ผักกาดขาว พริก และกระเจี๊ยบเขียว ตามลำดับ และกลุ่มสินค้าผลไม้ ได้แก่ มะม่วง มะพร้าว เสาวรส ลิ้นจี่ และขนุน ตามลำดับ (2) กลุ่มสินค้าสมุนไพรที่ผู้บริโภคชาวเนเธอร์แลนด์และสหภาพยุโรปนิยมบริโภคชาสมุนไพรเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มที่ดับกระหาย และมีสรรพคุณทางยา (3) กลุ่มสินค้าพืชสวนที่ผู้บริโภคชาวเนเธอร์แลนด์และสหภาพยุโรปนิยมซื้อกล้วยไม้เพื่อใช้เป็นของขวัญสำหรับตนเองในโอกาสต่าง ๆ ทั้งนี้ ผู้เข้าเยี่ยมชมงานมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมในด้านการจัดแสดงนิทรรศการโดยขอให้มีกิจกรรมการชิมอาหารไทยบ่อยครั้งขึ้น และกิจกรรมสำหรับเด็กด้วย 3.8 จากการศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าชม Thailand Pavilion ซึ่งดำเนินการโดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้าชมส่วนใหญ่ประทับใจการจัดตกแต่งดอกไม้และการนำเสนอนิทรรศการภายในอาคารมากที่สุด รองลงมา คือ การตกแต่งอาคารและสวนภายนอก และนิทรรศการจัดแสดงอาหาร ตามลำดับ โดยได้รับประสบการณ์และความรู้ใหม่เกี่ยวกับประเทศไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 90.5 4. ประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการเข้าร่วมงานในครั้งนี้ เช่น (1) ด้านการค้า สามารถสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าเกษตรของไทยต่อนานาชาติ ทำให้เกิดการเจรจาธุรกิจและตกลงซื้อขายไม้ดอกไม้ประดับระหว่างเกษตรกรไทยและผู้ประกอบการชาวเนเธอร์แลนด์ (2) ด้านการเกษตร สามารถแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมและเป็นแหล่งผลิตอาหารที่ดี มีคุณภาพ มีอุตสาหกรรมอาหารที่มีความปลอดภัยและได้มาตรฐานสากล 1 เป็นงานมหกรรมพืชสวนโลกที่จัดขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างองค์การนิทรรศการนานาชาติ (Bureau of International Expositions : BIE) กับสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมงานและเป็นเจ้าภาพงานมหกรรมพืชสวนโลก ซึ่งรัฐบาลมอบหมายให้ กษ. เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการมาโดยตลอด 26. เรื่อง การยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co - operation and Development: OECD) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบต่อร่างหนังสือแสดงเจตจำนงของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co - operation and Development: OECD) (ร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ) และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขออนุมัติให้ สศช. และกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) พิจารณาดำเนินการโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก 2. อนุมัติให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงฯ 3. มอบหมายให้ สศช. และ กต. เป็นหน่วยงานประสานหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานในการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย และมอบหมายหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบตามตารางห่วงโซ่คุณค่าเงื่อนไขการเข้าเป็นสมาชิก OECD ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน Framework for the Consideration of Prospective Members รวมถึงการดำเนินการอื่นใดที่จะช่วยขจัดอุปสรรคและสนับสนุนกระบวนการเข้าสู่การเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทยในอนาคต เรื่องเดิม คณะรัฐมนตรีมีมติ (15 กุมภาพันธ์ 2565) เห็นชอบให้ กต. ศึกษาถึงความพร้อมและความเป็นไปได้ในการเข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิก OECD ตลอดจนประโยชน์ในการเข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิก OECD ที่ไทยจะได้รับ เนื่องด้วยการมีส่วนร่วมกับ OECD จะช่วยให้ไทยสามารถเข้าถึงองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีของ OECD ในการยกระดับมาตรฐานนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ของไทยให้ทัดเทียมสากล ซึ่งจะช่วยส่งเสริมพัฒนาขีดความสามารถและปฏิรูปกฎระเบียบภายในประเทศให้ดียิ่งขึ้น ตามที่ สศช. เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง สศช. รายงานว่า 1. ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติข้างต้น (15 กุมภาพันธ์ 2565) กต. ได้จ้างมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ศึกษาและวิจัยความเหมาะสมในการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของไทย โดยเมื่อเดือนกันยายน 2565 TDRI ได้เสนอรายงานผลการศึกษาดังกล่าว ซึ่งสรุปได้ว่า ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากการเข้าเป็นสมาชิก OECD แบบเต็มรูปแบบ (full member) อาทิ การปฏิรูปโครงสร้างหลายมิติและมีมาตรฐานเทียบเท่าสากล การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและโอกาสเข้าถึงตลาดประเทศสมาชิกมากกว่าเข้าร่วมในคณะกรรมการต่าง ๆ ในฐานะของประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก (non - member) 2. ต่อมาเมื่อวันที่ 24 - 27 เมษายน 2566 สศช. และ กต. ได้ประชุมหารือร่วมกับผู้แทน OECD เกี่ยวกับกระบวนการเข้าสู่การเป็นสมาชิกของไทย โดยผลการหารือได้ข้อสรุปว่า ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะเข้าเป็นสมาชิก OECD เนื่องจากมีการพัฒนามาตรฐานภายในประเทศมาอย่างต่อเนื่อง และมีความร่วมมือกับ OECD หลายด้าน โดยเฉพาะโครงการ Country Programme (โครงการ CP) ที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง1 ซึ่ง OECD มีท่าทีเชิงบวกต่อการเข้าเป็นสมาชิกของไทย 3. สศช. ร่วมกับ กต. จัดการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง [จำนวน 41 หน่วยงาน เช่น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สศช.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)] เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 เกี่ยวกับประเด็นความพร้อมและความเหมาะสมของประเทศไทยในการเข้าเป็นสมาชิก OECD เพื่อชี้แจงแนวทางในการขับเคลื่อนการเข้าเป็นสมาชิก พร้อมทั้งขอรับข้อมูลการประเมินความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกรอบการพิจารณาการเข้าเป็นสมาชิก OECD (Framework for the Consideration of Prospective Members) ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ข้อมูล ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะที่จำเป็นต่อการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นสมาชิก OECD โดยเฉพาะประเด็นการสร้างความร่วมมือกับประเทศสมาชิก OECD และการพิจารณาปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องตามมาตรฐาน OECD 4. สศช. แจ้งว่า กระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน (1) ขั้นตอนการสมัครเข้าเป็นสมาชิก ( 5 ขั้นตอน) (2) กระบวนการภาคยานุวัติ 5. กต. ได้จัดทำร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ ซึ่งมีสาระสำคัญที่แสดงถึงเจตนาฝ่ายเดียวอย่างเป็นทางการของประเทศไทยในการขอเข้าสู่กระบวนการภาคยานุวัติเพื่อเข้าเป็นสมาชิก OECD โดยมิได้มีเนื้อหาเป็นการทำความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับ OECD แต่อย่างใด ทั้งนี้เอกสารดังกล่าวระบุรายละเอียดในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 1) ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับ OECD ที่มีมาอย่างยาวนาน เช่น (1) การเรียนรู้และปรับตัวของประเทศไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานของ OECD (2) การเข้าเป็นภาคีตราสารทางกฎหมายของ OECD หลายฉบับ และ (3) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของ OECD ในหลายภาคส่วน ทั้งนี้ โครงการ Thailand - OECD Country Programme ระยะที่ 2 ที่ได้เริ่มดำเนินโครงการเมื่อเดือนมีนาคม 2566 จะเป็นการรักษาแรงขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างกันนี้ให้คงระดับต่อไป 2) การดำเนินการของประเทศไทยเพื่อเข้าเป็นสมาชิก ประเทศไทยจะเร่งกระบวนการปรับปรุงกฎระเบียบให้สอดคล้องกับมาตรฐาน OECD ปรับปรุงนโยบายประเทศเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ดีขึ้นด้วยการแข่งขันที่เท่าเทียมและโปร่งใส ทั้งนี้ ประเทศไทยมีความมุ่งมั่นและมีความพร้อมในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อการเข้าเป็นสมาชิก OECD โดยสมบูรณ์ 3) ผลประโยชน์ที่ OECD จะได้รับจากการที่ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก ประเทศไทยสามารถผยแพร่การดำเนินงานระดับโลกของ OECD เพื่อสร้างผลกระทบและเพิ่มการมีบทบาทของ OECD ในภูมิภาคอินโด - แปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงการกำหนดเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของ OECD ต่อภูมิภาคนี้ 6. แผนการขับเคลื่อนการดำเนินการของประเทศไทย สศช. ได้จัดทำห่วงโซ่คุณค่าเงื่อนไขการเข้าเป็นสมาชิก OECD เพื่อใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการดำเนินงานในการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย โดยยึดหลักเกณฑ์จาก Framework for the Consideration of Prospective Members2 รวมทั้งได้ระบุหน่วยงานหลักที่มีภารกิจสอดคล้องกับเงื่อนไขตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปรับมาตรฐานและการดำเนินการต่าง ๆ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน Framework for the Consideration of Prospective Members ให้ได้มากที่สุด ดังนี้ เงื่อนไขการเข้าเป็นสมาชิก OECD หน่วยงานหลัก (1) ความพร้อมด้านกฎหมายและกฎระเบียบตามมาตรฐาน OECD อาทิ การปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบภายในประเทศให้สอดคล้องกับตราสาร ทางกฎหมายของ OECD สคก. (2) ความมุ่งมั่นของประเทศในการปฏิบัติตามค่านิยม วิสัยทัศน์ และภารกิจของ OECD อาทิ ความพร้อมในการเปิดเสรีการลงทุนโดยตรง สิทธิแรงงาน เสรีภาพของสื่อมวลชน ภาพลักษณ์การคอร์รัปชัน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ยธ. (3) กลไกเชิงสถาบัน อาทิ ความพร้อมด้านการบริหารราชการแผ่นดินระบบราชการ การบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้า สำนักงาน ก.พ.ร. (4) ข้อมูลเศรษฐกิจหลักของประเทศ อาทิ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ การส่งออกและการนำเข้าสินค้าและบริการ อัตราการว่างงาน มูลค่าการลงทุนโดยตรงสะสม เป็นต้น สศช. (5) ความสัมพันธ์กับ OECD อาทิ การเข้าไปมีสถานะใน OECD Committee การเข้าเป็นภาคีตราสารทางกฎหมาย การมีส่วนร่วมในกลไกความร่วมมือต่าง ๆ ของ OECD กต. 1 ปัจจุบันได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการต่ออายุโครงการ CP ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับ OECD เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 [คณะรัฐมนตรีมีมติ (21 กุมภาพันธ์ 2566) เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวแล้ว] เห็นชอบเพื่อดำเนินโครงการ CP ระยะที่ 2 ใน 4 สาขาความร่วมมือ ได้แก่ (1) หลักธรรมาภิบาล (2) สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและขีดความสามารถในการแข่งขัน (3) ความครอบคลุมทางสังคมและการพัฒนาทุนมนุษย์ และ (4) การฟื้นฟูสีเขียว ผ่านรูปแบบความร่วมมือที่สำคัญ เช่น การจัดทำรายงานการศึกษาวิจัยร่วม การทบทวนนโยบายและบทวิเคราะห์อื่น ๆ การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการแบ่งปันข้อมูลทางสถิติในการวิเคราะห์ เป็นต้น [โครงการ CP ระยะที่ 1 สิ้นสุดลงแล้วเมื่อปี 2564 โดยได้มีการดำเนินโครงการรวมทั้งสิ้น 16 โครงการ เช่น โครงการ Improving Integrity and Governance in the Public Sector Designing Effective Anti - corruption Policies รับผิดชอบโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) โครงการ Implementing Regulatory Reform and Mainstreaming Good Regulatory Practice รับผิดชอบโดย สคก. โครงการ Supporting the Digital Economy รับผิดชอบโดย ดศ. และโครงการ Strategic Co-ordination and Monitoring รับผิดชอบโดย สศช. และ กต. เป็นต้น ทั้งนี้ สศช. เห็นว่า การดำเนินโครงการ CP ระยะที่ 1 กับ OECD ได้ช่วยยกระดับมาตรฐานภายในประเทศของไทยให้ทัดเทียมสากล พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน และการปฏิรูปกฎระเบียบภายในประเทศให้ดียิ่งขึ้น] 2 Framework for the Consideration of Prospective Members เป็นหลักเกณฑ์ที่ OECD จัดทำขึ้นเพื่อให้ประเทศที่สนใจจะเข้าเป็นสมาชิกใช้ประเมินความพร้อมในเบื้องต้น ประกอบด้วย 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ (2) สถานะความพร้อมของประเทศในการปรับมาตรฐานให้สอดคล้องกับ OECD (State of Readiness) (2) ความมุ่งมั่นของประเทศในการปฏิบัติตามคำนิยมและผลผูกพันประเทศสมาชิก OECD (County?s Commitment to OECD Values and Membership Obligations) (3) กรอบการบริหารภาครัฐและโครงสร้างเชิงสถาบัน (Institutional Framework) (4) ตัวชี้วัดภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญ (Key Economic Indicators) และ (5) การมีส่วนร่วมกับ OECD (Relations with OECO) 27. เรื่อง การจัดทำร่างแก้ไขข้อตกลงระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับสำนักงานเพื่อการพัฒนาแห่งฝรั่งเศส (AFD) ว่าด้วยการจัดตั้งสำนักงาน AFD ในประเทศไทย คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแก้ไขข้อตกลงระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับสำนักงานเพื่อการพัฒนาแห่งฝรั่งเศส (Agence Francaise de Developpement AFD*) ว่าด้วยการจัดตั้งสำนักงาน AFD ในประเทศไทย พ.ศ. 2566 (ค.ศ. 2023) (ร่างแก้ไขข้อตกลงฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างแก้ไขข้อตกลงฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและ/หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้ กต. สามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสม โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง รวมทั้งให้อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นผู้ลงนามในร่างแก้ไขข้อตกลงฯ [กต. แจ้งว่า ไม่ต้องใช้หนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers)] ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ เรื่องเดิม เดิมคณะรัฐมนตรี มีมติ (12 กันยายน 2520 และ 14 กุมภาพันธ์ 2549) รับทราบการลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลฝรั่งเศส พ.ศ. 2520 และเห็นชอบร่างข้อตกลงระหว่าง กต. และสำนักงาน AFD ว่าด้วยการจัดตั้งสำนักงาน AFD ในประเทศไทย (ข้อตกลงฯ) พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) เพื่อสนับสนุนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของฝรั่งเศสในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง รวมทั้งการดำเนินงานความร่วมมือไตรภาคีภายใต้แผนปฏิบัติการร่วมไทย - ฝรั่งเศส รวมทั้งเป็นการช่วยกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ซึ่งการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของสำนักงาน AFD ในประเทศไทยจะเป็นไปตามกรอบกฎหมายไทย และดำเนินกิจกรรมที่ไม่หวังผลกำไรในเชิงธุรกิจ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ต่างชาติของสำนักงาน AFD ประเทศไทย จะได้รับสิทธิพิเศษ เช่น (1) การอำนวยสิทธิพิเศษด้านการตรวจลงตราและการขยายระยะเวลาการพำนักเพื่อปฏิบัติหน้าที่ ณ สำนักงาน AFD ในประเทศไทย (2) การยกเว้นภาษีเงินได้ส่วนบุคคลในการปฏิบัติหน้าที่ และ (3) การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและพิธีการด้านศุลกากรสำหรับบริการและอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในประเทศไทย โดยข้อตกลงฯ สามารถแก้ไขได้โดยความตกลงระหว่าง 2 ฝ่าย ทั้งนี้ ได้มีการลงนามในร่างข้อตกลงฯ ฉบับนี้ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549 สาระสำคัญของเรื่อง 1. ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (14 กุมภาพันธ์ 2549) เห็นชอบข้อตกลงฯ พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) เพื่อสนับสนุนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของฝรั่งเศสในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในประเทศไทย ต่อมารัฐบาลฝรั่งเศสได้ควบรวมหน่วยงาน Expertise France (EF) (เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศของรัฐบาลฝรั่งเศส) เข้าเป็นส่วนหนึ่งของ AFD รัฐบาลฝรั่งเศสจึงได้เสนอร่างแก้ไขข้อตกลงฯ มีวัตถุประสงค์หลัก ได้แก่ (1) เพื่อรองรับการเข้ามาดำเนินงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของ EFในประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานของ EF ในประเทศไทยได้รับสิทธิประโยชน์ตามข้อตกลงฯ พ.ศ. 2549 ด้วย (2).เพื่อรองรับการเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ต่างชาติ (จากเดิมไม่เกิน 5 คน เป็นไม่เกิน 10 คน) สำหรับสำนักงาน AFD ประเทศไทย เพื่อรองรับการดำเนินการพัฒนาและวิชาการของฝรั่งเศสที่เพิ่มขึ้นในไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2. ร่างแก้ไขข้อตกลงฯ มีสาระสำคัญเป็นการปรับแก้และเพิ่มเติมหัวข้อตกลง พ.ศ. 2549 (ค.ศ.2006) ดังนี้ ข้อ 1 สถานะของ EF ในประเทศไทย ข้อ 2 บุคลากรของ AFD ในประเทศไทย ข้อ 3 การผนวกอยู่ในข้อตกลงการจัดตั้งสำนักงาน ข้อ 4 การตีความเนื้อหาส่วนที่มีการแก้ไข ข้อ 5 การบังคับใช้ 3. เจ้าหน้าที่ต่างขาติของสำนักงาน AFD ประเทศไทย จะได้รับสิทธิพิเศษตามข้อตกลงฯ พ.ศ. 2549 ประกอบด้วย การอำนวยสิทธิพิศษด้านการตรวจลงตราและการขยายระยะเวลาการพำนักเพื่อปฏิบัติหน้าที่ ณ สำนักงาน AFD ในประเทศไทย และการยกเว้นภาษีเงินได้ ส่วนบุคคลสำหรับเจ้าหน้าที่ต่างชาติของสำนักงาน AFD ประเทศไทย ตลอดจนพิธีการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและพิธีการด้านศุลกากรสำหรับบริการและอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในประเทศไทย ทั้งนี้ หน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการได้ตามความตกลงดังกล่าวได้ โดยไม่ต้องออกกฎหมายเพิ่มเติม 4. ประโยชน์ที่จะได้รับ: การขยายความร่วมมือกับฝรั่งเศสเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมความสัมพันธ์ไทย - ฝรั่งเศส เพื่อกระชับความร่วมมือทั้งในระดับทวิภาคี ระดับภูมิภาค และระดับระหว่างประเทศ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หมายเหตุ: *AFD จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายมีสถานะเป็นส่วนราชการของรัฐบาลฝรั่งเศสมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เลขที่ 5 ถนนโรลองค์ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ดำเนินการภายใต้การกำกับร่วมของกระทรวงการต่างประเทศ (ฝรั่งเศส) และกระทรวงเศรษฐกิจ การคลัง และอุตสาหกรรมโดยประสานงานผ่านสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในประเทศนั้น ๆ ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในการดำเนินความร่วมมือของฝรั่งเศสในประเทศกำลังพัฒนาเพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ทางวิชาการ โดยปัจจุบันสำนักงาน AFD ในประเทศไทย ตั้งอยู่เลขที่ 388 อาคาร Exchange Tower ชั้น 35 ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 28. เรื่อง การให้สัตยาบันต่อพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี (Kigali Amendment) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการให้สัตยาบันต่อพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี (Kigali Amendment) และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการให้สัตยาบันต่อพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี (Kigali Amendment) ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ สาระสำคัญ สืบเนื่องจากการประชุมรัฐภาคีพิธีสารมอนทรีออล ครั้งที่ 28 ระหว่างวันที่ 10 - 15 ตุลาคม 2559 ณ กรุงคิกาลี สาธารณรัฐวันตา ที่ประชุมมีมติให้มีการปรับปรุงแก้ไขพิธีสารมอนทรีออล โดยเป็นการแก้ไขเนื้อหาพิธีสารมอนทรีออล (Amendment: ซึ่งจะมีผลใช้บังคับกับประเทศเมื่อให้สัตยาบันแล้ว) และการปรับปรุงข้อกำหนดการควบคุมเพื่อความเหมาะสม (Adjustment) ทั้งนี้ พิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี มีผลใช้บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 สรุปประเด็นสำคัญของการปรับปรุงและแก้ไขเนื้อหาพิธีสารมอนทรีออล ดังนี้ 1. การแก้ไขเนื้อหาพิธีสารมอนทรีออล (Amendment) (1) เพิ่มสารควบคุมกลุ่มใหม่ คือ สารไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) ในภาคผนวก F (Annex F) โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม 1 จำนวน 17 ตัว ได้แก่ HFC-134, HFC-134a, HFC-143, HFC-245fa, HFC-365mfc, HFC-227ea, HFC-236cb, HFC-236ea, HFC-236fa, HFC-245ca, HFC-43-10mee, HFC-32, HFC-125, HFC-143a, HFC-41, HFC-152, HFC-152a กลุ่ม 2 จำนวน 1 ตัว ได้แก่ HFC-23 (2) เพิ่มข้อกำหนดในการควบคุมการผลิตและการใช้สารไฮโดรฟลูออโร-คาร์บอน (HFCs) และสำหรับประเทศกำลังพัฒนา (Article 5 Parties) กลุ่ม 1 เช่น ประเทศไทย เป็นต้น กำหนดให้ปี พ.ศ. 2567 เป็นปีเริ่มต้นคุมปริมาณ (Freeze) การผลิตและการใช้สาร HFCs โดยไม่ให้เกินค่าพื้นฐาน (ซึ่งค่าพื้นฐานจะเท่ากับผลรวมของค่าเฉลี่ยของปริมาณการใช้สาร HFCs ในปี พ.ศ. 2563 - 2565 กับ 65% ของค่าเฉลี่ยของปริมาณการใช้สาร HCFCs ในปี พ.ศ. 2552 - 2553) โดยในปี พ.ศ. 2572 ลดปริมาณการใช้สาร HFCs ลง 10% ของค่าพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2578 ลดปริมาณการใช้สาร HFCs ลง 30% ของค่าพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2583 ลดปริมาณการใช้สาร HFCs ลง 50% ของค่าพื้นฐาน และปี พ.ศ. 2588 ลดปริมาณการใช้สาร HFCs ลง 80% ของค่าพื้นฐาน (3) รายงานปริมาณการใช้ และการผลิตสาร HFCs ประจำปีตามมาตรา 7 ของพิธีสารมอนทรีออลเพิ่มเติม ซึ่งจากเดิมที่มีการรายงานประจำปีเฉพาะการใช้สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน(Chlorofluorocarbons: CFCs) สารไฮโดรคลอโรฟลูฮอโรคาร์บอน (Hydrochlorofluorocarbons: HCFCs) สารฮาลอน (Halons) สารเมทิลโบรไมด์ (Methyl Bromide: CH3Br) ในภาคผนวก A, B, C และ E (Annexes A, B, C และ E) ของพิธีสารมอนทรีออล (4) จัดทำระบบการนำเข้าและส่งออก (Licensing System) ของสาร HFCs ภายในระยะเวลาไม่เกิน ๓ เดือน หลังจากพันธกรณีของพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี มีผลบังคับใช้ในประเทศ 2. การปรับปรุงข้อกำหนด (Adjustment) เกี่ยวกับกำหนดระยะเวลาในการควบคุมการค้าขาย สารควบคุมกับประเทศที่ไม่เป็นประเทศสมาชิก จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2567 29. เรื่อง ผลการประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย ครั้งที่ 23 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างบระเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้ 1. รับทราบผลการประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Rim Association: IORA)1 ครั้งที่ 23 2. มอบหมายส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามตารางติดตามความคืบหน้าการดำเนินการ สาระสำคัญของเรื่อง กต. รายงานว่า 1. ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ (นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว) ได้เข้าร่วมประชุม IORA ครั้งที่ 23 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2566 ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศศรีลังกาเป็นประธาน) โดยมีผลการประชุมที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1.1 ที่ประชุมฯ ได้รับรองร่างแถลงการณ์โคลัมโบ ค.ศ. 2030 และร่างวิสัยทัศน์สมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย ค.ศ. 2030 และสืบต่อไป เพื่อแสดงเจตนารมณ์ของประเทศสมาชิกในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันในการรับมือกับประเด็นท้าทายของโลกโดยที่ประชุมฯ ได้มีการเพิ่มเติมประเด็นในเอกสารทั้ง 2 ฉบับบางประการ ซึ่งมีสาระสำคัญไม่ต่างจากฉบับที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2566 สรุปได้ ดังนี้ ร่างเอกสาร ประเด็นเพิ่มเติม (1) ร่างแถลงการณ์โคลัมโบ ค.ศ. 2030 -ยืนยันความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของ IORA - เน้นย้ำความจำเป็นถึงการเสริมสร้างขีดความสามารถของสำนักเลขาธิการ IORA เพื่อสนับสนุนการดำเนินการ - ยินดีต่อการรับรองมุมมอง IORA ต่ออินโด-แปซิฟิกและการดำเนินการตามแผนงานร่วมกัน - รับทราบความคิดริเริ่มของบังคลาเทศต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เร่งด่วน (2) ร่างวิสัยทัศน์สมาคมแห่งมหาสมุทร อินเดีย ค.ศ. 2030 และสืบไป - เน้นย้ำมุมมอง IORA ต่ออินโด-แปซิฟิก ซึ่งที่ประชุมสภารัฐมนตรี IORA รับรองแล้วเมื่อปี 2022 - เพิ่มบทบาทสตรีในสภาธุรกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพและการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการสตรีในภูมิภาค - เพิ่มบทบาทของสภาธุรกิจ IORA ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค เพื่อสร้างการตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของ สภาธุรกิจ - ส่งเสริมให้มีประเทศผู้ประสานงานสำหรับประเทศหุ้นส่วนคู่เจรจา 1.2 ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมฯ โดยมุ่งเน้นการขับเคลื่อนความร่วมมือในกรอบ IORA เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและครอบคลุมในภูมิภาค เช่น ความสำคัญของการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการรักษาความปลอดภัย และความมั่นคงในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย รวมถึงการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว 1.3 ประเทศสมาชิกและประเทศหุ้นส่วนคู่เจรจาได้ให้ความสำคัญ ร่วมกัน 5 ประเด็น ได้แก่ (1) ความมั่งคั่งในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย (2) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการรับมือกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (3) การใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน (4) การรับรองสหภาพยุโรปเป็นประเทศหุ้นส่วนคู่เจรจาใหม่ และ (5) รับทราบกรณีศรีลังกาจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำ IORA ในปี 2567 2. กต. ได้กำหนดประเด็นการติดตามความคืบหน้าการดำเนินการของประเทศไทย สรุปได้ ดังนี้ ประเด็นติดตาม หน่วยงานรับผิดชอบ การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการสมาคม แห่งมหาสมุทรอินเดีย ฉบับที่ 2 (ค.ศ. 2022-2027) - สาขาความมั่นคงและความปลอดภัยทางทะเล - สาขาการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน - สาขาบริหารจัดการด้านประมง - สาขาการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ - สาขาความร่วมมือทางด้านวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - สาขาการท่องเที่ยวและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม - สาขาเศรษฐกิจภาคทะเล - สาขาการส่งเสริมบทบาททางเศรษฐกิจของสตรี - กระทรวงกลาโหม (กองทัพเรือ) - กระทรวงพาณิชย์ - กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง) - กระทรวงมหาดไทย (กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย) - กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) - กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม - กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) - กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) - กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง) - กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) (กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว) การเพิ่มความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นคาบเกี่ยวของสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดียและการเตรียมการเพื่อจัดตั้งคณะทำงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทส. 1 สมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย (IORA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2538 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย มีสมาชิก 23 ประเทศ และประเทศคู่เจรจาอีก 11 ประเทศ ครอบคลุม 6 สาขา ความร่วมมือ ได้แก่ (1) ความมั่นคงและความปลอดภัยทางทะเล (2) การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน (3) การบริหารจัดการประมง (4) การจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (5) ความร่วมมือทางวิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ (6) การท่องเที่ยวและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม และประเด็นที่ประเทศสมาชิกให้ความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ 3 ประเด็น ได้แก่ เศรษฐกิจภาคทะเล การส่งเสริมบทบาททางเศรษฐกิจของสตรี และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 30. เรื่อง การเสนอชื่อผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานความร่วมมืออนุภูมิภาคแผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย - มาเลเซีย - ไทย (IMT - GT) วาระปี 2567-2571 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อการเสนอชื่อนางสาวดวงฤทัย สุรศักดิ์จินดา เป็นผู้แทนประเทศไทยดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานความร่วมมืออนุภูมิภาคแผนงาน IMT - GT (Centre for IMT - GT Subregional Cooperation: CIMT) (ศูนย์ CIMT) วาระปี 2567-2571 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ และให้ สศช. รับความเห็นของสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย แต่งตั้ง 31. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งนายดรุณ แสงฉาย เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง เพื่อทดแทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ และขอลาออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2566 เป็นต้นไป โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน 32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 4 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้ 1. นางสุดฤทัย เลิศเกษม รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ 2. นางทัศนีย์ ผลชานิโก รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 3. นางมาลินี ภาวิไล ผู้ช่วยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 4. นายอุฬาร จิ๋วเจริญ รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 33. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง(กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอแต่งตั้ง นายรุ่งเรือง กิจผาติ นายแพทย์ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) (ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดี (ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง) กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง 34. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 3 ราย ดังนี้ 1. นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดี (นักบริหารระดับต้น) กรมชลประทาน แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง 2. นายวุฒิพงศ์ เนียมหอม รองเลขาธิการ (นักบริหารระดับต้น) สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง 3. นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดี (นักบริหารระดับต้น) กรมประมง แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหารระดับสูง) กรมประมง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เป็นต้นไป 35. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย ดังนี้ 1. นายเพิก เลิศวังพง ประธานกรรมการ 2. นายสมิทธิ ดารากร ณ อยุธยา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ผู้แทนผู้ประกอบกิจการยางซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการค้า) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2566 เป็นต้นไป 36. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 381/2566 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจ ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 381/2566 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 229/2566 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 13 กันยายน 2566 นั้น เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 (2) และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 และมาตรา 90 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 229/2566 ลงวันที่ 13 กันยายน 2566 ดังนี้ 1. การมอบหมายและมอบอำนาจให้ รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี - ให้ยกเลิกข้อ 1.1.4 2. การมอบหมายและมอบอำนาจให้ รองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี - ให้ยกเลิกความในข้อ 2.1.2 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?2.1.2 กระทรวงสาธารณสุข? 3. การมอบหมายและมอบอำนาจให้ รองนายกรัฐมนตรี (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค) ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี - ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6.1.3 ?6.1.3 กระทรวงยุติธรรม (ยกเว้น กรมสอบสวนคดีพิเศษ)? ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป 37. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 382/2566 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้ รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำ สำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 382/2566 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 253/2566 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้ รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2566 นั้น เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 จึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 253/2566 ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2566 ดังนี้ 1. รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) 1.1 ให้ยกเลิกข้อ 1.1.6 ถึง ข้อ 1.1.9 1.2 ให้ยกเลิกข้อ 1.2.4 1.3 ให้ยกเลิกข้อ 1.3.3 ถึง ข้อ 1.3.8 1.4 ให้ยกเลิกข้อ 1.4.7 2. รองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) 2.1 ให้ยกเลิกความในข้อ 2.1.4 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?2.1.4 คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ? 2.2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 2.1.5 ถึง ข้อ 2.1.7 ?2.1.5 คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ 2.1.6 คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ 2.1.7 คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น? 2.3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 2.2.5 ?2.2.5 คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์? 2.4 ให้ยกเลิกความในข้อ 2.3.3 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?2.3.3 คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ? 2.5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 2.3.4 ถึง ข้อ 2.3.8 ?2.3.4 คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ 2.3.5 คณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด 2.3.6 คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ 2.3.7 คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ 2.3.8 คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ? 2.6 ให้ยกเลิกความในข้อ 2.4.8 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?2.4.8 คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ? 3. รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ) 3.1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5.2.6 ?5.2.6 คณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปราม การค้ามนุษย์? 4. รองนายกรัฐมนตรี (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค) - ให้ยกเลิกความในข้อ 6.1 ถึง ข้อ 6.3 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?6.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้ - คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด 6.2 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้ 6.2.1 คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ 6.2.2 คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ 6.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ - คณะกรรมการพัฒนาระบบติดตามคนหาย และการพิสูจน์คนนิรนาม และศพนิรนาม 6.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้ 6.4.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ 6.4.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม 6.4.3 กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบ บูรณาการ 6.5 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 6.5.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมัน แห่งชาติ 6.5.2 กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติ ราชการในภูมิภาค? ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป