คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) ประธานกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์ธรณีพิบัติจากคลื่นใต้น้ำ รายงานผลการประชุมเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2548 ณ ห้องประชุมสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้
1. คณะกรรมการได้รับฟังข้อมูลทางวิชาการของการเกิดเหตุการณ์จาก นายสมิทธ ธรรมสโรช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี รวมไปถึงการดำเนินการของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับทราบถึงสภาพปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
2. คณะกรรมการได้วางกรอบการปฏิบัติงานและมีความเห็นร่วมกันว่าจะใช้เหตุการณ์นี้เป็นต้นแบบในการศึกษาเพื่อเสนอแนะการวางระบบการจัดการเผชิญเหตุภาวะวิกฤตขนาดใหญ่ เพื่อรองรับเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยแบ่งช่วงเวลาการศึกษาดังกล่าวออกเป็น 3 ช่วง คือ
- ช่วงก่อนเหตุการณ์และขณะเกิดเหตุการณ์
- ช่วงหลังจากเกิดเหตุการณ์ทันที
- ช่วงแก้ไขและบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากเหตุการณ์
3. คณะกรรมการเห็นควรให้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นคณะกรรมการเพิ่มเติมอีก 2 ท่าน ได้แก่
1) นายแพทย์ สุจริต ศรีประพันธ์ อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข
2) ดร.โกศล สุรโกมล ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารวิกฤติ
4. คณะกรรมการได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อศึกษารายละเอียดทั้งหมดรวม 6 คณะ คือ
1) คณะอนุกรรมการด้านการศึกษาข้อเท็จจริงการเกิดคลื่นใต้น้ำ มอบหมายให้ นายสมิทธ ธรรมสโรช เป็นประธานอนุกรรมการ
2) คณะอนุกรรมการด้านการฟื้นฟูช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับความเดือดร้อน มอบหมายให้ นาย สมใจนึก เองตระกูล เป็นประธานอนุกรรมการ
3) คณะอนุกรรมการด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัยและการจัดระบบสิ่งของบริจาค มอบหมายให้ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นประธานอนุกรรมการ
4) คณะอนุกรรมการด้านการแพทย์ การรักษาพยาบาล และการตรวจพิสูจน์ศพ มอบหมายให้ นายแพทย์ สุจริต ศรีประพันธ์ เป็นประธานอนุกรรมการ
5) คณะอนุกรรมการด้านการสาธารณูปโภค การสื่อสาร และสรรพกำลัง มอบหมายให้ พลเอกชาญ บุญประเสริฐ เป็นประธานอนุกรรมการ
6) คณะอนุกรรมการด้านการให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับพิบัติธรรมชาติ มอบหมายให้ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เป็นประธานอนุกรรมการ
5. คณะกรรมการได้กำหนดระยะเวลาการศึกษาให้แล้วเสร็จในวันที่ 10 มีนาคม 2548
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 มกราคม 2548--จบ--
1. คณะกรรมการได้รับฟังข้อมูลทางวิชาการของการเกิดเหตุการณ์จาก นายสมิทธ ธรรมสโรช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี รวมไปถึงการดำเนินการของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับทราบถึงสภาพปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
2. คณะกรรมการได้วางกรอบการปฏิบัติงานและมีความเห็นร่วมกันว่าจะใช้เหตุการณ์นี้เป็นต้นแบบในการศึกษาเพื่อเสนอแนะการวางระบบการจัดการเผชิญเหตุภาวะวิกฤตขนาดใหญ่ เพื่อรองรับเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยแบ่งช่วงเวลาการศึกษาดังกล่าวออกเป็น 3 ช่วง คือ
- ช่วงก่อนเหตุการณ์และขณะเกิดเหตุการณ์
- ช่วงหลังจากเกิดเหตุการณ์ทันที
- ช่วงแก้ไขและบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากเหตุการณ์
3. คณะกรรมการเห็นควรให้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นคณะกรรมการเพิ่มเติมอีก 2 ท่าน ได้แก่
1) นายแพทย์ สุจริต ศรีประพันธ์ อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข
2) ดร.โกศล สุรโกมล ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารวิกฤติ
4. คณะกรรมการได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อศึกษารายละเอียดทั้งหมดรวม 6 คณะ คือ
1) คณะอนุกรรมการด้านการศึกษาข้อเท็จจริงการเกิดคลื่นใต้น้ำ มอบหมายให้ นายสมิทธ ธรรมสโรช เป็นประธานอนุกรรมการ
2) คณะอนุกรรมการด้านการฟื้นฟูช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับความเดือดร้อน มอบหมายให้ นาย สมใจนึก เองตระกูล เป็นประธานอนุกรรมการ
3) คณะอนุกรรมการด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัยและการจัดระบบสิ่งของบริจาค มอบหมายให้ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นประธานอนุกรรมการ
4) คณะอนุกรรมการด้านการแพทย์ การรักษาพยาบาล และการตรวจพิสูจน์ศพ มอบหมายให้ นายแพทย์ สุจริต ศรีประพันธ์ เป็นประธานอนุกรรมการ
5) คณะอนุกรรมการด้านการสาธารณูปโภค การสื่อสาร และสรรพกำลัง มอบหมายให้ พลเอกชาญ บุญประเสริฐ เป็นประธานอนุกรรมการ
6) คณะอนุกรรมการด้านการให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับพิบัติธรรมชาติ มอบหมายให้ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เป็นประธานอนุกรรมการ
5. คณะกรรมการได้กำหนดระยะเวลาการศึกษาให้แล้วเสร็จในวันที่ 10 มีนาคม 2548
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 มกราคม 2548--จบ--